อสุภะ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
เทวดามี มันมี ๕ ขันธ์นี่แหละ แต่มันอยู่ที่ความถนัดของพระที่อธิบายไง หลวงตาท่านบอกว่ามีขันธ์ ๔ ไม่มีรูป เห็นไหม เวลาภาวนาไปแล้วมันจะเป็นอย่างนั้น (ตัดหญ้านี่ของใคร ตัดหญ้านี่ของเราหรือเปล่า เริ่มตัดหญ้าแล้วเนอะ คนงานมีเข้ามีออกอยู่เรื่อยๆ ไอ้นั่นมาใช่ไหม พวกนี้เขารู้เวลานะ เขารู้เวลา)
เกรียง สรรพสิ่งเป็นอนิจจัง มีคนเข้ามีคนออก มีคนหมุนเวียน เราจะย้อนกลับมาที่พวกเรา พวกเรายืนอยู่ห่างๆ นี่ดีมาก คนที่เข้าไปใกล้ชิดอยากจะมีอะไรแล้วมันไม่ได้ มันหลุดออกไป เขาเสียใจทีหลังนะ เราเสมอต้นเสมอปลายไง เพราะอะไร เพราะโต๊ะมันยังอยู่ได้ เห็นไหม ยังอยู่ได้จนป่านนี้ ถ้าเป็นคนอื่นเสร็จไปนานแล้ว เพราะความเสมอต้นเสมอปลายนะ
เขามาปรับทุกข์กันเยอะมาก คนโน้นมาปรึกษา คนนี้มาปรึกษา แล้วจะให้ออกหน้า มึงจะหลอกกูไปตายทุกทีเลย เวลากูออกไปแล้วไม่เห็นมีใครเอากับกูเลยสักคน
เวลาพูดธรรมะ เวลาเรามาทำงานทำการกัน เห็นไหม เราต้องการฟังธรรม การฟังธรรมนะ ฟังธรรมเป็นไม่เป็น ถ้าฟังธรรมไม่เป็น เราเอาความเห็นของเราเข้าจับ ความเห็นของเราไง ความเห็นของเราคือวิทยาศาสตร์ ในวิทยาศาสตร์มันเป็นเรื่องโลกนะ พื้นฐานของเรานี่นะ พื้นฐานของเรา มันสุตมยปัญญา การศึกษาเล่าเรียน
ถ้าเราไม่ศึกษาเล่าเรียน ดูอย่างภาษา เราไปอยู่ทางยุโรป เราต้องพยายามใช้ภาษาเขานะ แล้วภาษานี่จะเป็นประโยชน์ เห็นไหม ถ้าได้ภาษา เราจะได้ ภาษามันก็เหมือนเราเรียนบาลี เรียนบาลีเพื่อเป็นกุญแจไขเข้าไปในพระไตรปิฎก ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ เราได้ภาษาแล้ว เราจะได้ประโยชน์กับสังคมมาก ตัวภาษา เห็นไหม นั่นคือภาษาใช่ไหม
แต่เวลาเราศึกษา เราศึกษาสุตมยปัญญา เด็กมันต้องมีการศึกษา เด็กมันไม่มีการศึกษา เราอยู่ในสังคมโลกได้อย่างไร โลกนี้เจริญได้เพราะต้องมีการศึกษา คนเราฉลาดได้เพราะการศึกษา เมื่อก่อนเห็นไหม ใครรู้ข้อมูลข่าวสาร คนนั้นจะปกครองโลก เดี๋ยวนี้คิดใหม่แล้ว ข้อมูลข่าวสาร เดี๋ยวนี้ทันกันหมดนะ
ดูสิ อินเตอร์เน็ตมันเข้าไปค้นคว้าได้หมด แต่ปัญญาต่างหากล่ะ ปัญญาที่คนจะปกครองโลก คนจะใช้ข้อมูลข่าวสารนั้น ถ้าเราศึกษา เห็นไหม การศึกษาของเรานี่เป็นทางโลก ทีนี้ทางโลกของเรา เราศึกษา เราคาดการณ์ธรรมะ เราเอาความเห็นของเราเข้าไปจับ ถ้าเอาความเห็นเข้าไปจับ ทำอย่างไรนะ มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาของเรา ปัญญาของเรา ปัญญาของโลก มันเข้าได้แค่นี้ เข้าธรรมะได้เท่านี้
เวลาเราฟังธรรมๆ เห็นไหม หลวงปู่มั่นไปเทศน์ที่วัดเจดีย์หลวง เจ้าคุณอุบาลีไปบอกเองนะ หลวงปู่มั่นเทศน์มุตโตทัย เทศน์ของอยู่ใกล้ๆ ตัวเราทั้งนั้น ของในชีวิตประจำวันเรา แต่เรามองข้ามกัน ไม่มีใครเตือนไง เวลาครูบาอาจารย์มาสะกิดเรา ก็ความเป็นอยู่เรา การดื่ม การอยู่ การใช้ชีวิตประจำวันเราจริงๆ
ธรรมะก็พูดเรื่องชีวิตประจำวันเรา เอาเรื่องชีวิตประจำวันเราออกมาตีแผ่ ชีวิตประจำวันทั้งวันเลยนะ แต่เราไม่ได้สนเท่ห์สงสัยว่ามันเป็นไปเพราะอะไร เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดาไง ดูสิ ดูอย่างธรรมะนะ เวลาเรานั่งเรานอน มันก็ปวดขบ ปวดเมื่อยไปทั้งนั้น แต่ด้วยสัญชาตญาณ ด้วยการพลิกใช่ไหม ด้วยการหลบหลีกมัน
พอมีการหลบหลีกมัน เห็นไหม เราก็ไม่เห็นว่ามันเป็นโทษเลย แต่มานั่งภาวนา ทำไมมันเจ็บปวด เวลาเรานั่งภาวนา เราจะ.. มันก็เรื่องธรรมดาเรานี่แหละ เรื่องความขบความปวดความเมื่อยเรานี่แหละ ทีนี้พอความขบความปวดความเมื่อยนะ เวลาจะนั่งสมาธิกัน ทำไม่ได้แล้ว เดี๋ยวจะพิการ เดี๋ยวจะเจ็บไข้ได้ป่วย มันก็เป็นเรื่องธรรมดาเราอยู่นั่นน่ะ
ดูนักกีฬาสิ เวลาข้อเท้าพลิก เห็นไหม ข้อเท้าพลิก เขาต้องไปรักษาของเขา ต้องลงทุนลงแรงขนาดไหน เพราะเส้นมันพลิก เพราะเส้นต่างๆ ไอ้เราก็เหมือนกัน เห็นไหม มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรามองกัน เราไม่ได้เอามาตรึก มาเป็นธรรมะ เพราะอะไร เพราะจิตของเรามันคิดแบบโลกไง ถ้าคิดแบบโลก อยู่แบบโลก มันก็เป็นเรื่องของโลกๆ
พอเรื่องโลก ศึกษาธรรมะ ก็ศึกษาธรรมะโลกๆ แล้วก็มองคุณค่ากัน เห็นไหม มองคุณค่าว่า วัดไหนจะเจริญ ทุกคนพูดอย่างนี้นะ วัดพระนี้ไม่ดี ถ้าไม่ดีทำไมคนเข้าไปเยอะ คนเข้าไปเยอะ เอาคนวัดไม่ได้นะ เพราะคน วุฒิภาวะของคน วุฒิภาวะของโลก มันจะมีความรู้ขนาดไหน มันวุฒิภาวะของธรรมสิ
สิ่งที่ดีไม่ดี เราเอาธรรมะเข้าไปจับ ถ้าเอาธรรมะเข้าไปจับ มันจะเป็นประโยชน์กับเรา เราไม่ต้องให้เขามาหลอกลวงเรา ให้เราเคลื่อนไปกับเขา ฟังธรรมๆ เห็นไหม ฟังธรรม ถ้าฟังธรรม ฟังธรรมเพื่อธรรมะ ฟังธรรมเพื่อสัจธรรม มันจะมีคุณประโยชน์กับเรามาก มันได้ยินได้ฟังได้ยากนะ
คำว่าได้ยินได้ฟังได้ยาก เห็นไหม ดูสิ ซีดีเราแจกไปเยอะแยะเลย กลับไปบ้านเปิดซีดีก็ได้ แต่เปิดซีดี เห็นไหม พอฟังซีดี ดูหลวงตา เวลาท่านออกทีวีไป เห็นไหม ทุกคนอยากเห็นตัวจริง ทุกคนอยากเห็นตัวจริง มันฟัง.. ดูแต่ทีวี ดูต่างๆ นี่ก็เหมือนกัน การฟังธรรม ถ้าฟังธรรมในปัจจุบันธรรม เพราะการเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทวดาสำเร็จเป็นแสนเป็นหมื่นนะ สำเร็จเป็นแสนเป็นล้านตลอดไป
คนฟังธรรมน่ะสำเร็จมหาศาลเลย เพราะมันสะเทือนใจไง มันปกติมันสะเทือนใจ เพราะเราคาดไม่ถึงว่าสิ่งใดที่มันจะออกมากระทบเรา มันคาดไม่ถึงหรอก การฟังธรรมน่ะแสนยาก แต่ที่ฟังทางโลก มันเป็นสิ่ง ธรรมะที่การศึกษามา ธรรมะที่ในการอ่านหนังสือนี่ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะมันการศึกษาได้ เราก็เข้าใจได้ ครูบาอาจารย์ เวลาฟังเทศน์ ฟังเทศน์ทั่วๆ ไป ฟังแล้วเข้าใจได้เพราะมันเป็นภาษาสมมุติด้วยกันทั้งหมด แล้วเวลาเทศน์ พระป่านี่เป็นภาษาสมมุติไหม? ใช่! ภาษาสมมุติ แต่มันออกมาจากความรู้จริง มันออกมาจากความรู้จริง
อย่างที่ว่า เรื่องใกล้ตัวเรานี่แหละ เรื่องใกล้ตัว เรื่องความเป็นอยู่เราทั้งนั้น แล้วพอเรื่องใกล้ตัว เรื่องความเป็นอยู่ ด้วยความเคยชิน เห็นไหม เวลาผู้ที่ปฏิบัติใหม่มา จะขอมาอยู่วัดทุกคนเลย กินข้าวกี่มื้อ? เขาเข้าใจว่าอย่างมากก็ ๒ มื้อ ๒ มื้อนะ
พอบอกมื้อเดียวนะต่อรองแล้ว ต่อรองทุกคนเลย เพราะอะไร เพราะความฝังใจเราไง ว่าธรรมดาของเรา เราต้องกินข้าววันละ ๓ มื้อ เป็นเรื่องปกติธรรมดา พอเหลือ ๒ มื้อ มันมีความวิตกวิจารแล้ว แล้วถ้าเหลือมื้อเดียวล่ะ เขาคิดของเขาไปก่อน เห็นไหม โดยที่เขายังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติเลย ทั้งๆ ที่ศีล เวลาประพฤติปฏิบัติ พวกศีลธรรม มันมีอยู่แล้ว
แต่เวลาเราศึกษา เราศึกษาด้วยความเห็นของเรา เราเอาความเห็นของเรา แล้วเราคุ้นชินกับชีวิตประจำวันของเรา พอมาถือศีล พอถือศีล มาปฏิบัติไป พอคนมีร่องมีรอยนะ มันอดอาหารเอง มันผ่อนอาหารกันเองนะ มันจะผ่อนอาหารของมันกันเอง เพราะอะไร เพราะสิ่งที่มีคุณค่ารอเราอยู่ข้างหน้า
เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูด หลวงปู่มั่น เวลาเทศน์
นิพพานเอื้อมมือหยิบเอาได้เลย
เหมือนเอื้อมมือหยิบเอาได้เลย เพราะอะไร ท่านพูดออกมา เหมือนเอาสะพานทอดให้เราเดิน ก้าวเดินขึ้นไปเลย พอเทศน์จบสะพานนั้นก็หายไปด้วย นิพพานหายไปกับเราเลย เพราะเราคาดการณ์ไม่ได้ เราคาดการณ์ไม่ได้ สิ่งนี้
ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มันอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติ พื้นฐานของเรา จะก้าวพัฒนาขึ้นไป ผู้ใดด้นเดาธรรม ความด้นเดาธรรมมันก็ได้ธรรมะด้นเดา เห็นไหม สิ่งที่ความด้นเดา ครูบาอาจารย์ท่าน ประสบการณ์ของท่าน ท่านจะเทศน์ให้เราฟัง มันเป็นพัฒนาการของจิตเลย จิตมันจะพัฒนาการออกไป เห็นไหม
คำว่าพัฒนาการของจิต นี่สำคัญมากนะ เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูด ถ้าใจมันดีนะ ทำอะไรก็ดีไปหมด ถ้าใจมันดี พอใจดี เห็นไหม คำว่าใจดี ใจไม่มีมายา ไม่มีการฉ้อฉล ไม่มีสิ่งใด ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจนะ มันเห็นแล้วนะ อย่างครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ มองดูทีไรนะ ถ้าทางโลกว่าไร้เดียงสา แต่ถ้าธรรมะเรา เราว่ามันใสซื่อ ใสสะอาด
ความใสสะอาด สิ่งนั้นทำมา มันไม่กวนใครนะ แต่ถ้าคนมีกิเลส ทำอย่างไรมันหวังผล มันหวังต่างๆ มันมีการฉ้อฉล มันมองออกไปแล้ว มันไม่น่าไว้วางใจ ถ้าอย่างนั้น ความไม่น่าไว้วางใจ เห็นไหม ครูบาอาจารย์ที่เป็นสมมุติก็เหมือนกัน แต่ออกมาจากความไม่น่าไว้วางใจอันนั้น ถ้าความไม่น่าไว้วางใจอันนั้นมันก็เข้ามาถึงเรา เราก็อย่าทำใจเราให้เป็นสิ่งที่น่าไว้วางใจกับเราเอง
เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราต้องการทำใจของเราเองไว้ให้ไม่น่าไว้วางใจกับเราเอง มันจะไม่น่าไว้วางใจเลย ใจของเราเอง มันยังไว้ใจไม่ได้เลย มันคิด มันดิ้น มันรนของมัน เห็นไหม มันดิ้นรนของมันออกไปหาสิ่งที่มันพอใจของมัน
ความพอใจนะ คนเกิดคนตาย การเวียนตายเวียนเกิด ไม่ต้องไปทุกข์ร้อน ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร ดูใจเรานี่แหละ ดูใจเรา สิ่งที่มันซับสมมา สิ่งที่มันทำมาจนเป็นจริตเป็นนิสัย ถ้าจริตนิสัย มันทำของมันไป มันจะเข้าช่องทางนั้น ความช่องทางนั้น เราไม่ต้องไปดัดแปลงแก้ไขหรือบังคับมัน ไม่ต้องไปบังคับมันว่าจะให้เปลี่ยนเป็นช่องทางนี้ เพียงแต่ช่องทางนี้เป็นจริตนิสัยของเรา เป็นความชำนาญของเรา เราต้องทำให้มันถูกต้อง ทำให้ถูกต้องนะ
มีคนมาถามบ่อยมาก เมื่อวานก็มา บอกว่าเขาพุทโธไม่ได้ แล้วเขาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เขาใช้ปัญญาของเขา แล้วเขาคิดพิจารณาลมหายใจแล้วโยนกลับไปกลับมา โยนกลับไปคือการพิจารณากาย
เวลาเขาไปฟังเทศน์หลวงตานะ ว่าหลวงตากำหนดจิตอยู่กับการปฏิบัติใหม่ แล้วดูจิตอยู่ จิตมันเสื่อมไปปีกับหกเดือน เราต้องกลับมา กลับมาใช้คำบริกรรม ต้องมีพุทโธไง เท่านั้นน่ะตีรถมาหาเราเลย บอก แล้วหนูไม่มีพุทโธ หนูผิดไหม มันจริตไงถ้าจริตของเราใช่ไหม
ถ้าจริตของเรา เรามีความชำนาญของเรา ความจริตของเราตรงกับช่องทางของเรา บังคับให้ถูกต้องเท่านั้นเอง ทีนี้ถ้าจิตของเรา สติ ความคุ้นชินของเรา มันเป็นความที่ว่า เหมือน ถ้ามันเป็นนิสัยจริตของเรานี่นะ มันมาจากไหน มันมาจากใจ มันมาจากใจ ใจนี้มาจากไหน ปฏิสนธิจิตมันพาเกิดพาตายมา ถ้ามันตรงกับจริต มันก็ตรงกับกิเลส มันก็ตรงกับข้อมูลกับหัวใจ ถ้าทำไป มันก็จะไปชัก ไปกดถ่วง คือไปทำความสงบของใจ มันจะไปทำตามข้อมูลนั้น มันถึงจะได้ผลของมันตามความเป็นจริงไง
แต่ถ้ามันไม่ตรงนะ มันไม่ตรง เห็นไหม เห็นคนนั้น เหมือนอาหาร เราเห็นคนนั้นกินอาหารแล้วอร่อย คนนั้นทำอะไรแล้วดี เราก็อยากไปอร่อยกับเขา ไม่อร่อยเลย เพราะมันไม่ตรงกับจริตเรา มันไม่ตรงกับความชอบของเรา ถ้าตรงกับความชอบของเรานะ เราอร่อยของเรา เราดีของเรา จริตก็เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าพูดถึง ถ้าเรากำหนดพุทโธไม่ได้ ทำไมต้องกำหนดพุทโธ เราก็ไม่ต้องกำหนดพุทโธ เราไม่ต้องกำหนดพุทโธ
แต่! แต่ถ้าเรารักษาสติของเรา เราเป็นอานาปานสติกำหนดลมหายใจ เห็นไหม เราก็กำหนดความตาย เรากำหนดเทวดา เรากำหนดสิ่งต่างๆ ความกำหนดนี้มันก็เปรียบเทียบได้อันเดียวกับพุทโธนั้นแหละ มันอันเดียวกัน เพียงแต่ว่าสมมุติต่างกัน สมมุติว่าพุทโธ สมมุติว่าธัมโม สมมุติว่าสังโฆ สมมุติว่ามรณานุสติ มันเป็นสมมุติไง เริ่มต้นสมมุติไง
ทีนี้ถ้าเราไม่เข้าใจปั๊บ เราก็จะบังคับ พอบังคับปั๊บ มันทำให้เรานี่นะ มันจะตรงกับความชำนาญความคล่องตัวของเรา เรากลับบังคับจะให้เหมือนเขา ให้เหมือนเขา การกระทำมันก็เลยขัดแย้ง ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ขัดแย้งกับความชอบ ความชอบคือกิเลสไง ความชอบในหัวใจ ความอะไรต่างๆ ที่ฝังใจ สิ่งนี้มันฝังใจเราอยู่ เห็นไหม
ถ้าชอบมัน ถ้าตรงกับความชอบเรา แล้วเราปฏิบัติไป ตรงกับความชอบ มันก็เข้าหาเหตุหาผล ถ้ามันสงบเข้ามา เห็นไหม ความชอบ ความชอบของเราเป็นกิเลส แล้วมันเข้าไปมันเป็นสมาธิได้อย่างไร มันละเอียดเข้าไปได้อย่างไร มันละเอียดเข้าไปเพราะจิตมันเป็นเอง เราคาดหมายนะ สมาธิ เราเขียนหนังสือ สมาธิ
แต่เวลาจิตเป็นสมาธินะ มันไม่เกี่ยวกับหนังสือสมาธินั่นหรอก มันเกี่ยวกับจิตเราเป็น พอจิตเราเป็นๆ มันเป็นสมาธิ ขณะที่เรากำหนดพุทโธ กำหนดอะไรก็แล้วแต่ คำบริกรรม
คำว่าคำบริกรรมคือจุดยืนของจิต จิตต้องมีจุดยืนของจิต อากาศ เราจะหมายตรงไหนที่เป็นอากาศเป็นอวกาศ ตรงไหนเป็นเป้าหมายของเรา เขาก็มีเครื่องวัด เห็นไหม ละติจูดเท่าไร เขาคำนวณของเขาได้ เขาคำนวณของเขาได้เป็นทางวิชาการ แต่จิตอยู่ตรงไหน สิ่งที่เป็นผู้นำของจิตมันอยู่ตรงไหน
แต่พอเรามีสติขึ้นมา ถ้ามันสงบเข้ามา สติเราพร้อม มันอยู่ตรงไหนก็ได้ อยู่ตรงไหนก็ได้หมายถึงคนๆ นั้นนะ คนต่างคน ดูสิ บางคนกำหนดลมสติไว้ที่ปลายจมูก บางคนกำหนดสติไว้ที่กลางหน้าอก บางคนกำหนดไว้ที่ไหนก็แล้วแต่ เห็นไหม ถ้ามันสงบ ทำไมมันสงบได้ล่ะ
ที่ไหนก็ได้หมายถึงว่ามันตรงกับจริตอันนั้น แต่! แต่เรารู้ตัวตลอดเวลา เรามีความรู้สึกอยู่ เรามีสติอยู่ นั่นน่ะถูกต้องหมดเลย ขอให้มันมีสติ มีสติ มีความรู้สึกอยู่ แต่ส่วนใหญ่แล้ว เวลามันตกภวังค์ เวลาตกภวังค์เข้าไป เราจะขาดสติ มันหายไป มันแวบหายไปเลย
เราจะเถียงว่าเรามีสติ เราจะเถียงว่าเพราะอะไร เพราะเราไม่ทันไง เวลาจิตมันเป็นนะ มันแวบไปเลย แล้วมันหายช่วงไป เราไม่รู้เรื่องแล้ว มันไปหมดแล้ว พอไปหมดแล้ว เวลาเราสะดุ้ง หรือเวลาจิตเราฟื้นตัวกลับมา ขณะที่หายไปกับที่กลับมา เรารับรู้ได้แค่นี้
ขณะที่มันขาดช่วงไป เว้นวรรคไป เราว่าเรามีสติ ทุกคนจะเถียงอย่างนี้ ทุกคนจะเถียงว่าระหว่างเริ่มต้นกับสิ้นกระบวนการของมัน แต่ระหว่างเว้นวรรค เราจะหายไป นี่คือตกภวังค์ ทีนี้การตกภวังค์ เห็นไหม บอกตกภวังค์นี่ การตกภวังค์ ถ้าเรารู้ตัว เราตกภวังค์ เราแก้ไขไป เพราะการภาวนาของทุกๆ คน มันจะเป็นระยะผ่าน ระยะผ่านจาก เห็นไหม
เราจะบอกว่าปุถุชน พวกเราน่ะมีสมาธิอยู่แล้ว แต่เป็นสมาธิของปุถุชน ถ้าคนขาดสมาธิ ดูเด็กพิเศษ เห็นไหม เขาขาดของเขา เขาขาดแคลนของเขา จิตมันจะมีเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเรามีของเรา เรามีสติของเรา มันจะเข้าไปตลอด
ถ้ามีสติ มีผู้รู้ เวลาจิตมันสงบ จิตเป็นสมาธิ มันจะรู้ตัวตลอดเวลาไง สิ่งนี้ รู้ตัวตลอดเวลา เข้าไป มันจะรู้ของมันเข้าไปตลอดเวลา พัฒนาการอย่างนี้ มันเกิดจากความชอบใจ เกิดจากความพอใจ เกิดจากการกระทำที่ถูกต้อง ถูกต้องกับจิตดวงนั้น มันจะเข้าไปตามจิตดวงนั้น เราไม่ต้องไปฟัง ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น แล้วเวลาเปรียบเทียบ เวลาเราปฏิบัติ เรายังมีวิธีการ ที่ว่า เรามีอุบายไง ทำอย่างนี้แล้วมันคุ้นชิน
ความคุ้นชิน หลวงตาท่านเน้นตรงนี้มาก ความคุ้นชินนะ ฟังธรรม ฟังทุกวัน ฟังทะลุหูซ้ายออกหูขวา เห็นไหม พูดกล่าวธรรมจนปากเปียกปากแฉะนะ แต่จิตมันด้าน ความเป็นไปของจิตมันด้าน การกระทำของเรา ถ้าคุ้นชินมันจะมีโอกาสเป็นอย่างนั้น
ถ้ามีโอกาสอย่างนั้นเมื่อไหร่ มันเป็นอุบายที่เราแสวงหา เราหาทางออก คือเราเปลี่ยนแปลงไง คือเปลี่ยนให้มันสดให้มันใหม่ ให้เรามีสติพร้อม ตั้งใจทำของเราไป ถ้าจิตมันเป็นไปนะ มันจะสงบเข้ามาได้ พอสงบเข้ามาได้ เราสงบได้ เราใช้ปัญญาได้แล้ว
คำว่าใช้ปัญญา ปัญญามันใคร่ครวญ ปัญญามันก็เป็นสมถะอยู่ดีแหละ คือทำให้จิตสงบเข้ามามากขึ้นๆๆ ให้มันเข้มแข็งของมันขึ้นไป การใช้ปัญญาใช้ไปเลย การใช้ปัญญา เห็นไหม เว้นไว้แต่เวลาเราใช้ปัญญาไปแล้วมันคิดมากเกินไป แล้วเราถลำไป ตรงนี้ผิด เราถลำไปไง
พอเราใช้ปัญญาไปแล้ว มันก็บอกว่า เออ ใช้ปัญญา ใช้ความคิดน่ะดี มันไม่กดดันตัวเอง มันไป มันไม่กดดันตัวเอง แต่กิเลสมันก็เอาที่นี่เป็นทางออก มันไม่กดดันตัวเองด้วย มันคิดออกไป มันก็ทิ้งรากทิ้งฐานไง เราใช้ปัญญา เพราะปัญญาอย่างนี้ ผลของมันคือสมถะ ผลของมันคือให้การทำกำหนดพุทโธง่ายขึ้น
การทำสิ่งต่างๆ มันสะดวกขึ้น สะดวกขึ้นเพราะอะไร เพราะความชำนาญของเรา มันเป็นสมถะ แล้วมันใช้ปัญญาไปเรื่อย เราตามไปเรื่อย ใช้ปัญญาได้ ไม่ใช่รอถึงเต็มที่ ต้องจิตสงบเต็มที่ เราถึงจะใช้ปัญญา แต่เพียงแต่จิตสงบเต็มที่มันเป็นผลไง มันเป็นผลของการกระทำ
ดูอย่างเรา เราไปทำงาน เห็นไหม ระหว่างทดสอบงานลองงาน กับเขารับเราเข้าไปทำงาน ความรู้สึกของเราต่างกันอย่างไร เราไปทำงานใช่ไหม เขารับไว้ แต่เขาต้องทดลองงานเราก่อน ถ้าครบเวลาแล้ว จะรับไม่รับอีกเรื่องหนึ่ง เราทำงาน เราก็รู้ว่า ตำแหน่งหน้าที่การงานเราไม่มั่นคง แต่ถ้าเขารับเราเข้าทำงานแล้ว เห็นไหม งานนั้นทำตลอดไป
การฝึกใช้ปัญญา ถ้าเป็นสมถะ เห็นไหม มันทดสอบทดลองงาน ถ้ามันทำงานได้ มันทำของมันได้ ถ้าพอมันพิจารณาไปเรื่อยจนจิตมันละเอียดเข้าไป เพราะมันปล่อยวางเข้ามา มันชำนาญมากขึ้นๆ พอมันสงบเข้ามา มันออกไปจนเห็น มันเห็นมันรู้นะ เห็น การพิจารณานี่ มันจะรู้เลยว่ามันละเอียดอ่อนอย่างไร มันแตกต่างกันอย่างไร
พอมันแตกต่าง ถ้ามันได้งานของมัน คือมันจับต้องสิ่งใดได้ มันก็วิปัสสนาของมันไป มันเหมือนรับเข้าทำงาน คือว่าเป็นสมถะอย่างหนึ่ง วิปัสสนาอย่างหนึ่ง มันเป็นไป มันเป็นไปของมัน มันจะส่งเสริมของมันไป เราทำของเราไปเรื่อยๆ
ทีนี้เราศึกษากันมา แล้วฟังครูบาอาจารย์นะ เรากล้าพูดอย่างนี้เลยนะ ครูบาอาจารย์ถ้าภาวนาไม่เป็น พูดธรรมะตายตัว ตายตัวแบบว่าลอกตำรามาพูด จะต้องเป็นอย่างนั้นๆ มันลอกตำรามาพูด พอลอกตำรามาพูดนะ ต้องทำสมาธิ พอสมาธิ ทำความสงบของใจ ทำความสงบของใจแล้ววิปัสสนา วิปัสสนาไป
แล้วพอเราไปทำ เราไม่ได้ลอกตำรามาทำ เราทำโดยปกติของเรา พอจิตเราเป็นนะ พอจิตเราสงบปั๊บ เราเห็นกายบ้าง พิจารณาของเราบ้าง คนที่ลอกตำรามาพูด มันบอกนั่นเป็นโสดาบันแล้ว เพราะมันครบองค์ประกอบของตำรา ตำราบอกจิตสงบแล้วพิจารณาเห็นกาย พอปล่อยกาย เห็นไหม ปล่อยกายคือการปล่อยกิเลส แต่ถ้าคนปฏิบัติตามข้อเท็จจริงนะ เห็นกาย ใครเป็นคนเห็น จิตระดับไหนเป็นคนเห็น
อย่างเช่นเราปัจจุบันนี้ เราปฏิบัติ เรานั่งสมาธิไปนี่ จิตเราสามารถเห็นกายได้ พอเห็นกายแล้วพิจารณาไป มันก็ปล่อยกายได้ ปล่อยกายได้มันสมถะ สมถะเพราะอะไร สมถะเพราะสิ่งที่เห็น สิ่งที่เห็น จิตมันยังเข้าไม่ถึงหลักของมัน พอมันเข้าไม่ถึงหลักของมัน การเห็น มันเห็นโดยกิเลส มันกิเลสของเราด้วย มันอำนาจวาสนา มันเป็นการส้มหล่น เวลามันปล่อย มันก็ปล่อยธรรมดา
พอปล่อยธรรมดามันก็ว่าง ว่าง พอปล่อยว่างก็ ถ้ามันพัฒนาซ้ำเข้าไป พัฒนาซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไปๆ เห็นไหม ผู้ที่ครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านข้อเท็จจริงขึ้นมา ท่านจะคอยแนะคอยบอก คอยให้เราพัฒนาการ อย่าปล่อยๆ ถ้าปล่อยแล้วจิตมันจะเสื่อมได้ ถ้าเราทำอย่างนั้นเข้าจริง แต่ถ้าเป็นลอกตำรามานี่ พอลอกตำรามาก็เหมือนเรา เราทำทุกอย่างครบหมดแล้ว มันก็คือสำเร็จ มันก็คือเป็นไป มันถึงไม่มีใครเป็นไปเลย มันถึงเวลาปฏิบัติไป มันถึงมีความเสียหาย
สิ่งนี้เราศึกษาแล้วเราฟังไว้ แล้วเราพยายามทำของเราขึ้นมาให้เป็นประโยชน์กับเรา ถ้ามันเป็นประโยชน์กับเรานะ ความจริงของเรา เราเกิดขึ้นมานะ มันจะเป็นประโยชน์กับเรา มันจะเกิดมาจากการฟังธรรม การฟังธรรม การฟังแล้วตั้งหลักไว้ แล้วย้อนกลับมาที่นี่ การฟังธรรมนะ มันเป็นการเตือนใจ เตือนใจเราให้
ถ้าฟังธรรม เวลามันสะกิดใจเราไง ให้ใจเราขวนขวาย ให้เรามีหาทางออก เราพยายามหาทางออกของเรา งานสิ่งใด เห็นไหม งานทางโลก มันเป็นหน้าที่การงาน เราต้องทำนะ หน้าที่การงาน คนจะดีอยู่ที่ผลของงาน หน้าที่การงานของโลก แต่หน้าที่การงานของโลก เราเป็นชาวพุทธแล้ว หลวงตาท่านสอนอย่างนี้ คนมี ๒ ตา ตาหนึ่งคือตาโลกนะ หน้าที่การงานที่เราหามาเพื่อดำรงชีวิต
อีกตาหนึ่งไง อีกตาหนึ่งถ้าลืมได้นะ ลืมได้คือการเราเริ่มหัดฝึกหัดปฏิบัติของเรา ไม่มีหรอก ไม่มีทางใดเลยที่เราจะให้พ้นจากการครอบงำของกิเลสได้ ถ้าเราพ้นจากความครอบงำของกิเลสไม่ได้นะ เราจะต้องเวียนตายเวียนเกิด นี่ยังดี ดีเพราะว่า เราได้สร้างบุญกุศลมา ไม่สร้างบุญกุศลมา ฟังธรรมอย่างนี้ฟังกันไม่ออกหรอก แต่ถ้าเวลามันอ่านหนังสือให้ฟังน่ะชอบ เพราะมันเข้าใจได้ เห็นไหม
ถ้าเราฟังจนเข้าใจได้นะ ครูบาอาจารย์ท่านบอก ถ้าฟังธรรมนะ แล้วมันสะเทือนหัวใจ คนนั้นมีอำนาจวาสนา สะเทือนหัวใจ เวลามันทิ่มเข้ามาที่ใจ เห็นไหม ขนลุกขนพองเลย เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ ถ้ากิเลสมันอยู่ที่ใจ พอฟังธรรม พอมันสะเทือนหัวใจ มันเปลี่ยนแปลงอุดมคติ เปลี่ยนแปลงชีวิตเราได้ทั้งหมด ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา เห็นไหม เราจะมีเวลาแล้ว เวลาเราปฏิบัติขึ้นมา ทุกคนไม่มีเวลา ทุกอย่างมัน..
ไอ้อย่างนี้มันเป็นเวรเป็นกรรมของคนนะ เวรกรรมของคน ถ้าถึงที่สุดแล้ว ถ้ามันมีความตั้งใจจริง มันเปลี่ยนแปลงได้ มันเปลี่ยนแปลงไปให้เรามีเวลาประพฤติปฏิบัติ ถ้ามีเวลาประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม เวลาเทศนาว่าการ ให้คฤหัสถ์ เขาออกบวชเป็นพระเป็นสงฆ์ เขามีศรัทธาความเชื่อ เขาออกบวช บวชแล้วเห็นไหม ต้องพยายามประพฤติปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
ถ้าประพฤติปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เกิดในประเทศอันสมควร เหยียบแผ่นดินไม่ผิด เกิดในพุทธศาสนา ได้ออกประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราเกิดในพุทธศาสนา ไม่ได้ออกประพฤติปฏิบัติ คือเราไม่ได้ปฏิบัติเลย เราไม่ได้ลิ้มรสเลย
รสของธรรมชนะรสทั้งปวงนะ
สมาธิธรรม วิปัสสนาธรรม แล้วทำถึงที่สุด ทำถึงที่สุด มันเป็นความจริงขึ้นมา มันลึกลับมหัศจรรย์กว่านี้เยอะนัก ถ้ามันไม่ลึกลับมหัศจรรย์มากกว่านี้นะ แล้วทำไมคนเข้าถึงไม่ได้ แล้วคนพยายามจะให้เข้าถึง ให้เข้าถึงนี่มันมีพื้นฐานที่เราอยากจะเข้าถึง แต่เวลาเข้าถึงเพราะเราไปมองไง เห็นไหม
อย่างมหายานเขาบอกเลย นิพพานอยู่ในขี้ นิพพานอยู่ในนี่ เพราะให้เห็นของอยู่ใกล้ตัว ให้เห็นสิ่งที่เราทำได้ ถ้าเราทำได้ขึ้นมา เราทำของเรา เราตั้งใจทำของเรา บุญกุศลที่สร้างมา เห็นไหม สิ่งที่สร้างมา มันเป็นอำนาจวาสนาบารมี เรามีกำลังนะ ถ้าเรายังเป็นผู้ให้อยู่ได้ เรายังมีโอกาส เราเป็นผู้ให้ เป็นผู้ให้ดีกว่าผู้รับ
สิ่งที่รับขึ้นมา ผู้รับ เห็นไหม เพราะเขาต่ำต้อยกว่า เขาถึงต้องรับของเรา แต่ถ้าเป็นผู้ให้ แต่ถ้าบัณฑิต เห็นไหม การให้คือ การเสียสละ เพื่อสังคม เพื่อความเป็นไป สิ่งนี้เรายังมีโอกาสมากกว่าเขา เป็นผู้ให้ เพราะมีปัญญามันถึงจะให้ได้ มีปัญญานะ ถ้าไม่มีปัญญา ความตระหนี่ถี่เหนียว ความให้มันก็จะคิดคาดหวังผล
การคาดหวังผล เห็นไหม ดูสิ เราให้ ตอนเช้าเราทำบุญกุศลกัน แล้วเราลงทุนลงแรงกัน มันมีวิธีการเยอะแยะไปที่จะทำบุญ ทำบุญมีวิธีการเยอะแยะไป แล้วถึงที่สุดนะ ครูบาอาจารย์ท่านพูดบ่อยนะ จะทำบุญกุศลมามากมายมหาศาลขนาดไหน ถ้าไม่ได้ภาวนา
การภาวนาถึงที่สุด เวลาทำบุญ เขื่อนกั้นน้ำไว้ น้ำจะเต็มเขื่อนล้นเขื่อนมา ถ้าเราไม่มีพลังงานการไฟฟ้า ไม่มีการใช้ประโยชน์มัน น้ำนั้นมันจะเกิดอะไร น้ำนั้นก็เกิดเป็นบุญ ดูสิ เราเกิดมามั่งมีศรีสุข บางคนเกิดมาทุกข์ทนเข็ญใจ การเกิดมาเวียนตายเวียนเกิด สภาวะแบบนั้น นั่นเป็นอามิส
แต่ถ้าปฏิบัติมันทำให้พ้นทุกข์ได้ พ้นจากทุกข์เลย แล้วพ้นจากทุกข์มันเป็นความมหัศจรรย์ ดูสิ อย่างเมื่อกี้เขาถาม เห็นไหม
พระอรหันต์ มีกามราคะไหม?
เขาบอก พระอรหันต์มีกามราคะไหม? แสดงว่าต้องมีพระบอกว่ากามยังมีอยู่ แล้วเราได้ยินมาจริงๆ นะ ลูกศิษย์เขามาถาม บอกนี่
เขาบอกว่าเขาเป็นอนาคา แล้วเขายังมีฝักใฝ่เรื่องอย่างนี้อยู่ แล้วเขาไปถามอาจารย์เขา อาจารย์เขาบอกว่า พระอนาคาคิดเรื่องอย่างนี้ได้
งงไปหมดเลยนะ!! เพราะอะไร เพราะอาจารย์ คำพูดอย่างนี้ของพระนี่นะ เพราะอะไร เพราะพฤติกรรมของลูกศิษย์เป็นอย่างนี้ แล้วพฤติกรรมของลูกศิษย์เป็นอย่างนี้ปั๊บ ก็พูดเอาใจเขาไง พูดเอาใจว่า พระอนาคายังคิดเรื่องอย่างนี้ได้
พระอนาคาคิดเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะพระอนาคาข้ามโอฆะไปแล้ว พระอนาคาพิจารณากามราคะ สิ่งนี้เป็นกามราคะ พอข้ามกามราคะไป จิตมันเวิ้งว้าง จิตมันเป็นหนึ่งเดียว ถ้ายังติดอยู่ เห็นไหม ติดอยู่ ที่เวลาไปเกิด ไปเกิดสุทธาวาส ๕ ชั้น เพราะจิตมันไม่ฝักใฝ่
แต่ถ้าเป็นฤๅษีชีไพร ฤๅษีชีไพร พอทำจิตสงบขึ้นมา รักษาจิตนี้ไว้ตลอดเวลา ถ้าตายไปพร้อมกับความสงบ คือจิตเป็นหนึ่งก็เกิดเป็นพรหม แต่เป็นพรหมที่มี พรหมปกติ เห็นไหม พรหมพอมันหมดจากพรหมก็เวียนตายมาเกิด แต่พระอนาคาจะไม่มาเกิด พระอนาคาคิดเรื่องนี้ไม่ได้ ยิ่งพระอรหันต์ไม่ต้องพูดถึง
ยิ่งพระอรหันต์ไม่ต้องพูดถึงเลย ถ้าพระอรหันต์มีฝักใฝ่เรื่องกามราคะ การฝักใฝ่เรื่องกามนี่นะ สิ่งต่างๆ ที่มันชอบใจ มันมาจากไหน มันมาจากความรู้สึกความคิดใช่ไหม มันถึงเป็นความพอใจ แล้วเวลาจิตพระอรหันต์เขาน่ะ จิตที่มันสะอาดไปแล้ว กว่าที่มันจะออกมาคิด เห็นไหม เขาเรียกเสวยอารมณ์ สติมันมาพร้อมไง
เรื่องอย่างนี้มันเป็นเรื่องของปุถุชนใช่ไหม เป็นเรื่องของโลกใช่ไหม ไม่ต้องปุถุชน เป็นเรื่องของ อย่างนางวิสาขา พระโสดาบันก็ยังคิดเรื่องอย่างนี้ได้ สกิทายังพอคิดอย่างนี้ได้ แต่พอพระอนาคาขึ้นไปแล้ว มันคิดเรื่องอย่างนี้ไม่ได้ เพราะอะไรรู้ไหม
มันคิดเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะกว่าที่เราจะผ่าน เป็นขั้นของพระอนาคา มันได้ต่อสู้กับมันมาแล้ว ต่อสู้กับสิ่งที่เป็นสุภะ อสุภะ สิ่งที่เป็นสุภะ คำว่าสุภะ โดยสัญชาตญาณของกิเลส มันชอบความสวยงามทั้งหมด
ดูสิ ทางโลก เห็นไหม หลวงตาท่านบอกเลย ในวัด ตบแต่งให้มันสวยงาม ทุกอย่างตบแต่งให้มันสวยงาม ความฝักใฝ่ในความสุภะคือความสวยงาม คือความพอใจ ถ้ามีความสุขว่าที่ไหนมันมีความพอใจ มันมีความต้องการ มันก็เพื่อลงไปตรงนี้หมดเลย
แต่ถ้าเป็นอสุภะ พออสุภะ สัจธรรมมันถึงเป็นอสุภะ อสุภะไม่เกิดที่กระดาษนะ เขาพิมพ์หนังสืออสุภะกัน ก็มีแจกๆ กัน อสุภะอย่างนั้นมันเป็นรูปกระดาษ กระดาษอย่างนั้นมันไม่มีชีวิต มันไม่รับรู้หรอก อสุภะเกิดจากจิตสงบ จิตมันสงบแล้วจิตเห็นอสุภะ
พอเห็นอสุภะ เห็นอสุภะเพราะอะไร เห็นอสุภะเพราะจิตมันสงบ ใช่ไหม จิตเรานี่สงบ จิตเรามันมีพื้นฐาน เพราะจิตที่เห็นอสุภะได้นี่ อนาคามรรคมันต้องผ่านสกิทาคามีมา มันต้องเห็นกายกับจิตแยกออกไปเป็น กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส จิตที่มันปล่อยวาง ว่างๆ ติดอยู่ ๕ ปี แล้วมันออกแล้ว ออกรู้เห็นอสุภะ เห็นอสุภะนี่ จิตมันพิจารณาอสุภะ
อสุภะมันคิดพิจารณาที่ พิจารณาจากเริ่มต้น จากเห็น จิตไปเห็นอสุภะ แล้วพิจารณาจนชำนาญเข้าไป จนจิตนี่ละเอียดเข้ามาถึง อสุภะกับจิตมันเป็นอันเดียวกัน แล้วมันไปทำลายกันที่จิต เห็นไหม พอทำลายกันที่จิต จิตมันกามฉันทะ ทำลายกันที่จิตคือตัวจิตมันไม่มี
ตัวจิตคือตัวข้อมูล ปฏิฆะ กามราคะ มันไม่มี พอมันทำลายปั๊บ สิ่งที่ทำลายแล้ว ข้อมูลที่โดนทำลายแล้วในชั้นของอนาคามี แต่มันยังไม่ทำลายในขั้นของพระอรหันต์ ในเมื่อมันทำลายข้อมูล ทำลายหลักฐานทั้งหมดแล้ว เราไม่มีหลักฐาน ไม่มีสิ่งต้นขั้ว ไม่มีสิ่งใดเลย เราจะหาเชื้อไขมาจากที่ไหน มันหาไม่ได้ พอหาไม่ได้ก็ว่างๆ ว่างอยู่อย่างนั้น
แล้วพอว่างอย่างนี้ปั๊บ พระอนาคามี ถ้าเข้าใจว่าสิ้นสุดกิเลสแล้ว มันจะรักษาใจไว้ รักษาไว้มาก กลัวจะไม่ว่าง จะรักษาความว่างไว้ จิตเดิมแท้ผ่องใส ผ่องใสอยู่อย่างนั้น พอผ่องใสปั๊บ ความคิดที่ออกไปเรื่อง.. เพราะเราผ่านสิ่งที่เป็นสุภะ อสุภะมา
ในเมื่อผ่านที่เป็นสุภะ อสุภะมา เราทิ้งทำลายไปแล้ว เวลามันจะคิดออกมา ถ้ามันคิด ความคิดนั้นมันก็เป็นสุภะ อสุภะ ถ้ามันคิดเป็นสุภะ อสุภะ มันจะคิดออกไปทำไม เพราะมันเห็นโทษมันแล้ว มันทำลายมันแล้ว ทิ้งมันแล้ว นี่พูดถึงพระอนาคา ยิ่งพระอรหันต์ไม่ต้องพูดถึง ยิ่งพระอรหันต์นะ
ธรรมธาตุ ธรรมธาตุคือนิพพาน
เพราะนิพพานมีอยู่ จิตมีอยู่ใช่ไหม ว่านิพพานมีอยู่ เขาบอกว่าจิตมีอยู่ เราก็ต้องมีอยู่ จิตเรามีอยู่ พวกเรานี่ จิตพวกเรามีอยู่แล้ว ใช่! จิตพวกเรานี่มีอยู่ ทีนี้คำว่ามีอยู่ มีอยู่ในพุทธศาสนา พุทธศาสนาบอกว่าจิตนี่ไม่เคยตาย! จิตนี่ไม่เคยตาย! แต่มันโดนกรรมไง
เราสร้างเวรสร้างกรรม เรามาเกิดเป็นภพเป็นชาติ เกิดเป็นเดรัจฉาน เกิดเป็นเดรัจฉาน พระโพธิสัตว์นะ ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเกิดเป็นกวาง เกิดเป็นลิง เกิดเป็นกระต่าย เกิดหมด พระโพธิสัตว์ยังเกิดอีก ทีนี้พระโพธิสัตว์ยังเกิด เราเกิดใช่ไหม พอจิตที่มันมีอยู่ มันมีกรรมครอบงำอยู่ มันยังหมุนไปในวาระ
ในวาระอย่างเช่น แมลงวัน ๗ วัน เกิดเป็นนก นกอายุเท่าไร เกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์อายุเท่าไร จิตนี้มีอยู่ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนี้ สอนว่าจิตมีอยู่ แต่มันไม่อยู่คงที่ ไม่ใช่ว่าเราเกิดเป็นมนุษย์ชาตินี้ ชาติหน้าเราเกิดเป็นมนุษย์ จะทำดีทำชั่วก็เกิดเป็นมนุษย์ จะทำอะไร เกิดคงที่ไป ฮินดูเขาสอนอย่างนี้
ทีนี้ถ้าจิตที่มันมีอยู่ สิ่งที่มันเป็นไป เวลาเราชำระกิเลสไปแล้ว ชำระกิเลส พลังงานนี้มีอยู่ แต่ไม่มีอวิชชา ไม่มีกิเลสครอบงำ ทีนี้ไม่มีกิเลสครอบงำ มันก็เป็นอิสระ พอเป็นอิสระ เห็นไหม หลวงตาท่านพูดบ่อยนะ ท่านบอกว่า นิพพานสอนไม่ได้ จิตที่เป็นนิพพาน จิตนี้มันมีภพ ธรรม ธรรมธาตุมันละเอียดอ่อนมาก
ฉะนั้นนิพพานถ้าจะสอนก็ต้องเสวยอารมณ์ เสวยออกมาเป็นสื่อสาร เห็นไหม สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มันมีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คืออะไร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เห็นไหม สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง เห็นไหม รูปคืออารมณ์ มโนเจตนาหาร มันมีมโน
แต่เวลาพระอรหันต์มันทำลายไปแล้ว ทำลาย มโนวิญฺาเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ มันทำลายมโน คือทำลายภพทำลายชาติหมดแล้ว มันเลยเป็น ธรรมธาตุ
ฉะนั้นธรรมธาตุจะแสดงธรรม แสดงธรรมกับเทวดา อินทร์ พรหม สบายมากเลย แสดงธรรมจากตรงนี้ แต่ถ้าจะมาสื่อสารกับมนุษย์ มันต้องสื่อสารด้วยคำพูด
ทีนี้พอมันสื่อสารด้วยคำพูด สื่อสารด้วยกิริยาท่าทาง เห็นไหม ภาษาใบ้ แสดงกิริยา แสดงนี่ มันแสดงได้อย่างไร ถ้าไม่มีความคิดออกมา สมองสั่งให้การเคลื่อนไหว ทีนี้สมองสั่งให้การเคลื่อนไหว สิ่งนี้พอธรรมธาตุ จะออกมาเป็นรูปร่างขึ้นมา เห็นไหม ขันธ์ ๕ รูปคือฐานที่ตั้ง รูปคืออารมณ์ที่ยังไม่มีความคิด อารมณ์พลังงานน่ะคือตัวรูป
ตัวเวทนา เวทนา รับรู้ว่าจะพูดเรื่อง ถ้าจะพูดส่งเสริมคน คนนี้เป็นคนดี คนดี เห็นไหมนี่เวทนา สุขเวทนา ถ้าจะบอกว่า จะเตือนคนจะสอนคนใช่ไหม ทำผิดอย่างนั้นๆ จะเอ็ดเขานี่ ทุกขเวทนา เวทนามันจะเกิด รูป เวทนา สัญญา
สัญญานี่ข้อมูลที่จะพูดออกมา สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง เรื่องวิญญาณอารมณ์ความรู้สึกไป ถ้าธรรมธาตุมันจะเคลื่อนออกมาที่นี่ สติมันจะพร้อม พอสติมันพร้อมขึ้นมา เพราะการเคลื่อนไหวของธรรมธาตุ เวลาสติของเรา เห็นไหม สติปุถุชน เราต้องสร้างขึ้นมา
แล้วสตินี่สร้างยากมาก เดี๋ยวก็เผลอ เดี๋ยวก็ลืม เดี๋ยวก็ป้ำๆ เป๋อๆ สติน่ะ มันฝึกขึ้นไป พอสติมันเข้มแข็งขึ้นมา เราก็จะสร้าง ทำสมาธิได้ง่ายแล้ว เพราะดูสติ หลวงตาบอกประจำ สติ ถ้ามีสตินะ สมาธิมันจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะสตินี่เป็นตัวตั้ง ทำอะไรต้องมีสติตลอดเวลา จะวิปัสสนาก็ต้องมีสติตลอดเวลา สตินี่ต้องฝึกตลอด ฝึก เป็นสติ มหาสติ จนเป็นสติอัตโนมัติ จนถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์
สติกับจิตเป็นอันเดียวกัน อันเดียวกันเพราะอะไร เพราะตัวธรรมธาตุ ถ้ามันจะเคลื่อน พลังงานเฉยๆ พลังงาน นิพพาน จะออกมาเพื่อจะสื่อความหมาย จะสื่อความหมายกับสังคม มันจะสื่อออกมา มันออกมานี่มันพร้อม มันเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหว การเคลื่อน ที่มันจะเคลื่อนกับเสวยนี่ มันเคลื่อนออกมาพร้อมสติ ทีนี้พร้อมสติแล้ว จะคิดไปเรื่องอกุศล เรื่องสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เห็นไหม
พระอรหันต์ถึงคิดเรื่องกามราคะไม่ได้!! พระอรหันต์คิดเรื่องอกุศลไม่ได้!!
ไม่มีการคิดเบียดเบียนใครทั้งสิ้น เพราะการคิดเบียดเบียน กุศล อกุศล อกุศลคือสิ่งชั่ว แล้วพวกเรานี่ถ้ามีสติสัมปชัญญะ เราจะไม่ทำผิดกันเลย เรามีสติ เรามีความคิดเราจะไม่ทำความอะไรที่ผิดพลาดเลย เพราะความผิดคือบาปกรรม เราไม่ต้องการเสวยวิบากกรรมที่ชั่ว เราอยากเสวยวิบากกรรมที่ดี เราทำแต่บุญกุศล ถ้ามีสติพร้อมนะ
แต่ความดีพอสติมันขาดสติ เราไม่มีความดีไปบีบบังคับ เราก็หลงทำสิ่งใดๆ ไป นี่ปุถุชนนะ แล้วนี่สติมันพร้อมถึงเป็นพระอรหันต์ จะคิดเรื่องนี้ จิตของพระอรหันต์นะ ไม่คิดเรื่องอกุศล ไม่มี คิดอกุศลไม่ได้ แต่จิตพระอรหันต์นี่นะ เวลาจะสอน
เวลาจะสอน เขาเรียกอุบาย อุบาย เห็นไหม ดูสิ ดูในมหายาน ในเซน เวลายกขึ้นมาเลย ยกนิ้วโป้งขึ้นมานะ ลูกศิษย์เขายกขึ้นมา จับมือลูกศิษย์ลงนะ เอามีดฟันทิ้งเลย พระอรหันต์ทำอย่างนั้นได้อย่างไร พระอรหันต์ทำร้ายร่างกายคนแล้วน่ะ ถ้าเราคิดทางโลกนะ มีอยู่ในมหายาน อาจารย์ก็หนึ่งเดียวนะ เณรองค์นี้กำลังจะสิ้นกิเลส ไปถึงอาจารย์ อาจารย์ก็ยกมือนิ้วโป้งเลย หนึ่ง หนึ่งใช่ไหม
สามเณรมันก็ยกขึ้นมาเลย หนึ่ง พอหนึ่งนี้มันเป็นตัวตน อาจารย์จับลงเลยนะ จับลงเขียงเลย เอามีดสับ ฉับ! ขาดเลย ถ้าเป็นเรานะ โกรธตาย เจ็บตายเลย แล้วอาจารย์ก็ยกมือขึ้นมาอย่างนี้อีกหนึ่ง สามเณรก็ยกขึ้นมานะ มันไม่มีนิ้วๆ มันไม่มีนิ้วแล้ว นิ้วมันโดนตัดขาดไปแล้ว ตัดอะไรรู้ไหม ตัดเพื่อให้สะเทือนถึงใจ เพราะใจมันยึดมั่น ใจมันไม่เข้าใจ พอตัด โชะ! ขาด เราจะบอก พระอรหันต์ทำอย่างนี้ได้อย่างไร?
อาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ทำอย่างนี้ได้อย่างไร? ทำอย่างนี้ นี่มันเป็นรูปกาย ถ้าทำอย่างนี้ เพราะทำอย่างนี้เพื่อสะท้อนกลับเข้าไปถึงทิฐิมานะสะท้อนเข้าไปถึงในหัวใจที่มันเป็นอวิชชาอันนั้น ถ้าอวิชชานั้นมันโดน เพราะใจมันหมุนอยู่ไง
เหมือนกับในธรรมบทที่หลวงตาท่านพูดบ่อย เห็นไหม ที่ว่าพระนี่สงสัยเรื่องธรรมะ แล้วจะไปถามพระพุทธเจ้า เดินไป เห็นไหม เดินไปถึงกุฏิ ฝนมันตก น้ำเจิ่งนอง มันกระทบเป็นจุดเป็นต่อม แล้วมันก็แตก ก็ยืนดู จะไปถามพระพุทธเจ้า อวิชชามันอยู่อย่างไร มันทำอย่างไร พอเห็นเป็นจุดเป็นต่อม มันแตกปั๊บ แตก เป็นฟองน้ำขึ้นมาแล้วมันแตก เป็นฟองน้ำแล้วก็แตก ปัญญามันหมุนอยู่ ปัญญาเรากำลังแสวงหาอยู่ ทุกอย่างมันแสวงหาอยู่ พอไปเจอจุดกระทบปั๊บ ปิ๊ง! เดินกลับ ไม่ถามพระพุทธเจ้าเลย
ไอ้ตัดนิ้วนี้ก็เหมือนกัน อาจารย์ขึ้นมา ยกนิ้วโป้งเลย ลูกศิษย์มันก็ยกนิ้วโป้งเลย เอาลงเลยนะ มีดสับ พอมีดสับ มันต้องเจ็บปวดสิ แต่พอจิตมันหมุนอยู่ ทุกอย่างมันอยู่ข้างในหมด ร่างกาย เรื่องความรู้สึกจากภายนอกมันจะไม่มีเลย ทีนี้พออาจารย์ยกขึ้นมาอีก ลูกศิษย์ก็ยกขึ้นมา ไม่มี ไม่มีคือจบสิ้น
พระอรหันต์ไม่คิดอกุศล แต่ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติขึ้นไป แล้วมันจะได้เหตุได้ผล มันเป็นของที่หายาก แล้วกว่าสมดุล อย่างเช่นเราทำอาหาร เห็นไหมอาหารทุกอย่างเราต้องหามา เราจะทำแกงอะไรก็แล้วแต่ เราต้องมีวัตถุดิบ ไปหามา สรรพสิ่งมา แต่เวลาลงหม้อแล้ว กว่ามันจะสุก พอมันสุกปั๊บ จบเลย
จิตนี่ กว่าเราจะหาสมาธิมา กว่าจะมีปัญญาเกิดขึ้น กว่าเราจะฝึกฝนขึ้นมา กว่าจิตเราจะมีคุณประโยชน์ขึ้นมาขนาดนี้ แล้วจิตที่มันจะเป็นไป ครูบาอาจารย์หาตรงนี้มากนะ หลวงปู่มั่นเวลาสอนพระ หลวงตาท่านเล่าให้ฟังประจำ เวลาพระอยู่ในวัด องค์ไหนภาวนาดีนะ จะคอยถามว่าเป็นอย่างไร จิตเป็นอย่างไรๆ องค์ไหนภาวนาไม่ได้นะ ไม่ถาม
ถ้าไปถามเท่ากับไปกดดัน บางทีนะ บางที เราภาวนากันน่ะ บางทีเราภาวนากัน มันจะมีพัฒนาการดีมากเลย อย่างนี้หลวงปู่มั่นจะส่งเสริม จะพยายามหนุนขึ้นเลย แต่ถ้าบางคน ประสาเราแบบสุดวิสัย คำว่าสุดวิสัยคือว่าสร้างบุญสร้างกรรมมาอย่างนี้
ภาวนาในปัจจุบันนี้ก็มีวาสนาอยู่เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วไปบวชพระแล้วเจอครูบาอาจารย์ที่ดีแล้วพยายามประพฤติปฏิบัติ แต่อำนาจวาสนาไง เห็นไหม มันเข้ากับอภิธรรม พระอรหันต์ต้องสร้างมาแล้วแสนกัป
พระพุทธเจ้าต้อง ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย พระอรหันต์ต้องสร้างบุญญาธิการมา ไม่สร้างบุญญาธิการมา เชาวน์ปัญญาอย่างนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร เชาวน์ปัญญานี่เกิดขึ้นมา
เพราะเชาวน์ปัญญานะ ดูศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ต่างๆ เขาทำวิจัย ไอ้นี่มันเรื่องหยาบๆ มันเรื่องทดสอบ เห็นไหม มันเรื่องการทดสอบ ทดลอง เห็นไหม เหตุทางวิชาการ แล้วเวลาภาวนานะ จิตมันสงบนี่นะ กว่ามันจะยกขึ้น ทดสอบจิต ทดสอบจิต แล้วมันจะเอาปัญญาอันไหน
ดูสิ ทำไมมีสติ มีมหาสติ สติอัตโนมัติ สติมันต่างกันอย่างไร แล้วการทดสอบของจิต เวลามรรคญาณที่มันหมุน ธรรมจักรมันหมุน ปัญญามันหมุน มันหมุนอย่างไร ธรรมจักรมันหมุน เวลาปัญญามันหมุน หลวงตาจะบอกว่าปัญญาภาวนา ปัญญาติ้วๆๆๆ
ไอ้เราฟังนะ ติ้วๆๆๆ มันก็พัดลมน่ะสิ นึกไม่ออกหรอก คนไม่เคยทำ คนไม่เคยเป็น ไม่เคยเห็น พูดไม่ได้ๆ ปัญญาหมุนติ้วๆๆๆ ปัญญาที่มันหมุน มันหมุนอย่างไร นี่ไง ไม่มีอำนาจวาสนา มันจะมารู้ มันจะมาจับต้องความรู้สึกจากภายในอย่างนี้ได้อย่างไร
อารมณ์เรา เวลาเราโกรธ เราเสียใจ เรายังทำไม่ทันอารมณ์เราเลย เราเคยนะ เคยคิดนะ หลวงตาท่านพูดบ่อย สอนลูกศิษย์มาตั้งมากมาย ทำไมลูกศิษย์ไม่เคยมาพูดอะไรให้เราฟังเลย แหม สอนมาแล้วเหมือนเสียเปล่า ไอ้เราบอกเดี๋ยวขึ้นไป พอขึ้นไป ท่านถีบตกกุฏิมา เห็นไหม ทั้งๆ จิตเราตอนนั้นมันภาวนาแล้วดีมากๆ เลย
คำว่ากล้าขึ้นไปหา แสดงว่าเราต้องมีสิ่งใดเข้าไปให้ท่านตรวจสอบใช่ไหม เราก็เอาว่า คิดว่าตัวเองมันว่างอยู่แล้ว พอท่านเอ็ดลงมา นี่ไง เราบอกเราไม่ทันอารมณ์เรา ไม่ทันกิเลสเราไง พอท่านไล่ลงมาก็เสียใจ เสียใจ เสียใจก็เดินกลับไปที่ร้าน ไปนั่งตั้งแต่ทุ่มสองทุ่ม จนตีหนึ่งตีสองนะ
มันก็ยัง.. มันบ่นว่าเสียใจ เสียใจนะ แต่มันไม่เห็นเสียใจ เวลาเราเสียใจ เสียใจเป็นเรา เราก็เสียใจไปด้วย อารมณ์ไปหมดเลย ไม่ทันหรอก พอสติพอ เพราะเราภาวนาตอนนั้นเรามีหลักเกณฑ์ดีมากแล้ว พุทโธๆ เสียใจๆๆ
อ้าว เสียใจไปหมด เพราะหลวงตาไล่ลงมา เสียใจๆๆ จนมัน พอจิตมันสงบเข้ามา มันแยกไง ตัวจิตมันจับความเสียใจได้ พอจับความเสียใจได้ มันทึ่งมากนะ มันทึ่งมากเพราะก่อนขึ้นไป
ก่อนที่จะขึ้นไปหาท่าน เราภาวนาไปแล้วจิตมันปล่อยหมด มันก็ว่างหมด ความว่างหมดมันว่าง พอมันว่างปุ๊บ เราจะ.. ใจของเราขึ้นไปส่งผลงานด้วย สอง จะขึ้นไปขอคำชี้แจงการก้าวเดินต่อไป พอคำชี้แจงการก้าวเดินต่อไป ท่านแนะนำอะไรมา ไอ้ธรรมดา ไอ้คนรู้น้อยมันอยากจะอวดทุกคน
คนรู้น้อยมันชอบพูด ไอ้พวกรู้น้อยมันชอบเถียง มันก็จะเถียงนะ ท่านไม่ตอบ ท่านไล่ลงมาเลย เสียใจๆๆๆ พอสติมันทันนะ เสียใจคืออะไร มันถามตัวเองนะ เสียใจคืออะไรๆ เสียใจก็คือเวทนา เวทนามันเป็นความรู้สึกในใจนะ แล้วบอกทำไมมันว่างล่ะ ทำไมไม่มีล่ะ ทั้งๆ ที่มี แต่มัน สิ่งนั้นเป็นเรา เห็นไหม
เราถึงบอก เวลาเราสอนพวกโยม เพราะอย่างนี้ เราถึงบอกว่า เราไม่ทันความคิดพวกเราหรอก เราไม่ทันอารมณ์เราหรอก ถ้าทันปั๊บมันหยุดได้ ทันจนมีหลักมีเกณฑ์ มันเกิด จับมันได้ ถ้าจับมันได้ เอามาไต่สวนได้ เอามาไต่สวน นั่นน่ะคือวิปัสสนา
ถ้ายังจับไม่ได้นะ ธรรมะเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา ศึกษากัน รู้ไปหมด รู้ทุกเรื่องเลย รู้เพราะอะไร รู้เพราะเราตรึกในธรรมะของพระพุทธเจ้า แต่กิเลสมันเป็นเรา ถ้าเราจับกิเลสเราได้ เราตรึกในกิเลสเรา นั้นถึงเป็นสมบัติของเรา วิปัสสนามันเกิดตรงนี้
วิปัสสนาเกิดจากจิตสงบขึ้นมาแล้วมันจับได้ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เห็นกาย เห็นจิต ได้ทั้งหมด จับได้หมด ถ้าจับได้ ถ้าจับได้ นั่นถึงเป็นวิปัสสนาได้ ถ้าวิปัสสนาได้ขึ้นไป มันจะเป็นผลงานแล้ว เราเห็นความต่างเลย
ความต่างในการใช้ปัญญาที่เราตรึกปัญญากัน แล้วมันปล่อยวางมา เป็นสมถะ กับปัญญาที่มันจับขึ้นไป แล้วเราใคร่ครวญไป มันจะมีความต่างอย่างไร ถ้ามันต่าง มันเห็นความต่าง วิปัสสนาไป ทำของเราไป ใคร่ครวญของเราไป มันจะเห็นของมันนะ เป็นประโยชน์กับเรามหาศาล
ถ้าเป็นประโยชน์กับเรามหาศาล มันจะเห็นคุณค่าของธรรมะไง พูดถึงถ้าภาวนาได้ ภาวนาเป็นนะ มันพูดแล้วมันเข้าใจ ฟังธรรมๆ ฟังธรรมเพื่อให้มันสะเทือนใจเรา ให้มันสะเทือนใจ แล้วมันก็เทียบเคียงว่า เราได้ทำ แล้วมันเป็นอย่างนั้นไหม มันเป็นความจริงขึ้นมาไหม
ถ้าเป็นความจริงนะ สิ่งใดๆ ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเป็นที่พึ่งได้เลยนะ แม้แต่ร่างกายของเราเอง แม้แต่ความคิดของเราเอง เป็นของชั่วคราวเท่านั้น ของชั่วคราวมันเป็นวาระ เวลามันหมดวาระนี้ไป เวลาดำรงชีวิตใหม่ คือไปเกิดใหม่ เราจะได้วาระใหม่ ได้สิ่งสถานะใหม่
สถานะคือสถานะเราเกิดใหม่ แล้วในปัจจุบัน เราไปยึดกันไง ว่าสิ่งนี้จะเป็นที่พึ่งเรา ชีวิตปกตินะ ในครอบครัวเรามันก็เป็นเรื่องธรรมดา เราต้องดูแลกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ใจให้มันอิสระ พอใจเป็นอิสระ ใจมันแสวงหาทางออก อยู่ชีวิตประจำมันทำได้
เพราะในมหายาน ดูสิเว่ยหล่าง เป็นคนตำข้าวแท้ๆ เลย เป็นคนตำข้าวให้พระในวัดกินนะ แล้วถึงเวลาจะหาหัวหน้า เห็นไหม ชิงเชาบอกเลย กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส นี่พระที่ปฏิบัติจนมีศักยภาพในวัดนะ
เว่ยหล่างมันเป็นคนตำข้าว ผมก็อ่านหนังสือไม่เป็น นี่เขาทำอะไรกันนี่ พระก็บอกไม่รู้เหรอ นี่คือโศลก สังฆราชเขาให้หาคนที่รู้จริง เขาเขียนว่าอย่างไร อ่านให้ผมฟังหน่อยสิ กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส หมั่นเช็ดกระจกทุกวันๆ แล้วฝุ่นมันจะเกาะอะไร แหม ลูกศิษย์ก็ตบมือกันใหญ่ เฮๆ เลยนะ
เว่ยหล่างก็บอก เขียนให้ผมทีสิ ผมเขียนหนังสือไม่เป็น กายก็ไม่มี จิตก็ไม่มี แล้วฝุ่นมันจะเกาะอะไร ลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง เห็นไหม พอลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง สังฆราชเห็นเข้าให้ลบทิ้งๆ
เพราะอะไร ถ้าไม่ลบทิ้ง มันจะเกิดการอิจฉากัน อีกฝ่ายหนึ่งมีศักยภาพในสังคมสูงมาก แล้วอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนตำข้าว แล้วว่าคนตำข้าวถูก แล้วผู้ไม่มีศักยภาพทางสังคม เขาจะอยู่ของเขาอย่างไร ก็ลบทิ้งก่อน ลบทิ้งแล้วถึงเวลาก็เอา ตำข้าวอยู่ ก็ไปหาที่ตำข้าว เอาไม้เท้าเคาะ ๓ ที เคาะที่ครกตำข้าว ๓ หน ๓ หนก็อนาคา
แล้วเขาก็นัดว่าตีสามให้เข้าไปหา เข้าไปหาในห้องไง พอเข้าไปหาในห้องนะ
กายก็ไม่มี จิตก็ไม่มี แล้วฝุ่นจะเกาะอะไร แล้วอะไรไปบอกว่าไม่มี กายก็ไม่มี จิตก็ไม่มี ใครรู้ ใครรู้ว่ากายไม่มี
ถึงว่าปฏิเสธทุกอย่างเลย แล้วคนปฏิเสธ ใครเป็นคนปฏิเสธ กายก็ไม่มี จิตก็ไม่มี กายก็ไม่มี โพธิก็ไม่มี กระจกก็ไม่มี แล้วฝุ่นจะเกาะอะไร แล้วใครเป็นคนรู้ถ้ามันย้อนกลับเข้ามา นี่ไง ตัวอวิชชา ตัวภพ พอทำลายตรงนี้เสร็จปุ๊บ ก็ให้นั่นไป
เราจะอธิบายว่าคนตำข้าว เห็นไหม เราจะบอกว่าชีวิตของเรา ชีวิตประจำวันของเรา เราก็ปฏิบัติได้ แม้แต่ตำข้าวอยู่ เขาตำข้าวอยู่ เขาพิจารณาของเขา เขาใช้ปัญญาของเขา มันเทียบกันได้หมด ดูชีวิตประจำวันเราสิ เราทำหน้าที่การงาน ลองคิดนะ โทษนะ ไม่ใช่พูดว่าโยมนะ ถ้าเป็นเรานะ เวลาทำงานนะ
โอ้โฮ เราก็เหมือนควายเหมือนวัวเลย มันต้องเทียมแอกไปไง ทำงานเห็นไหม ก็เอาแอกแขวนคอไป แล้วก็ลากไป คิดสิ คิดได้ไหม เวลาทำงาน เหมือนวัวเหมือนควายเลย เอาแอกมาใส่คอ แล้วก็ลากกันไปๆ ไม่มีวันจบ สะเทือนใจไหม
คิดเป็น.. เป็นธรรมหมด คิดเป็น ความปัญญา ใช้ปัญญาเป็น เป็นธรรมทั้งนั้น เพราะปัญญาเกิดจากเรา พอธรรมะเกิดจากเราแล้วมันสะเทือนใจมาก มันสะเทือนเราเอง การสะเทือนเราเป็นสะเทือนกิเลส พอสะเทือนกิเลสปั๊บ มันก็เหมือนกับ ทำงานก็ทำไป พอทำงานเราก็ทำไป แต่ชีวิตเราล่ะ เราจะเป็นวัวเป็นควายเทียมแอกไปตลอดเหรอ
แล้วการเทียมแอกไป มันถึงที่สุดแล้ว แอกมันไปอยู่ที่ไหน มันปลดแอกไม่ได้ วัวควายมันเทียมอย่างไร อยู่ที่คน ใส่แอกมัน ปลดแอกมันเพื่อการไถหว่าน แต่กิเลสมันใส่แอกเรา เราไม่เห็น แล้วเราก็ลากไปทุกข์ไหม ลากไป ลากไปไหนเราก็ต้องลากมันไป ไม่มีวันจบ
แต่ถ้าเห็นมัน รู้มัน เราจะปลดจากมัน ปลดที่ไหน ถ้าจิตไม่สงบเข้ามาก่อน ไม่หยุดนิ่งขึ้นมาจะปลดมันไม่ได้ เครื่องยนต์ถ้ามันไม่ดับเครื่องเราจะซ่อมอย่างไร เราจะแก้ไขอย่างไร เครื่องยนต์ที่มันติดอยู่ ถ้าเครื่องยนต์ ดับเครื่องมันๆ พอดับปั๊บเราสามารถเปิดได้ เราสามารถเอาสิ่งใดที่ชำรุดเสียหาย เปลี่ยนอะไหล่มันได้
จิตถ้าไม่หยุดก่อน ไม่มีการหยุด ไม่มีสัมมาสมาธิ ไม่มีการหยุดยั้งมัน จะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงกันตรงไหน ถ้าการแก้ไขเปลี่ยนแปลง จิตต้องสงบก่อน ถ้าจิตไม่สงบก่อน เหมือนเครื่องยนต์ เราติดเครื่องเรามา แล้วมันชำรุดเสียหาย เสียงดังมากเลย รวนตลอดเลย เราก็รู้ว่ามันเสียหาย
นี่ก็เหมือนกัน ตรึกธรรมะๆ เครื่องมันยังหมุนอยู่ โน่นก็ผิด นี่ก็ผิด รู้ไปหมดเลย รู้ไปหมด โอ๊ย แหวนมันหัก ต้องถอดเปลี่ยนแหวน แต่เครื่องยังไม่หยุดนะ ตรึกในธรรมไง โลกียะปัญญา คำว่าโลกียะปัญญา รู้ถูกรู้ผิด เครื่องยนต์มันเสียหาย สิ่งใดๆ ในร่างกายมันชำรุดทรุดโทรม รู้ๆ แต่ยังซ่อมแซมอะไรมันไม่ได้ ยังแก้ไขสิ่งใดๆ ไม่ได้
แต่ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา จิตสงบแล้ว จะเปิดอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร เปิดตรงไหนออกมา กาย เวทนา จิต ธรรม เปิดมันออกมา พอเปิดออกมา จะซ่อมแซมตรงไหน การซ่อมแซม เห็นไหม วิปัสสนาญาณเข้าไปชำระมัน ชำระล้างมัน ด้วยปัญญา ปัญญาเข้าไปชำระมันสอดส่องมัน แก้ไขมัน
จนถึงที่สุดนะ จะเปลี่ยนตัวไหนก็ได้ เปลี่ยนอย่างไรก็ได้ เราเปลี่ยนของเราได้ ถ้าใจเราเป็นธรรมนะ แต่ทีนี้มันอยู่ที่วุฒิภาวะจริงๆ นะ ดูสิ คนมาอยู่วัดอยู่วา เขาว่าคนๆ นั้นไม่รับผิดชอบ คนๆ นั้นไม่สู้โลก ใครมันจะเก่งไปวะ สู้ไปเถอะโลก แบกไปเลย มหาราชนะ รัฐบุรุษ เยอะมาก ตายหมดแล้ว แล้วก็มาเกิดใหม่อยู่ตลอดไป ไม่จบหรอก
เราไม่ต้องให้มีชื่อฝากไว้ในแผ่นดินหรอก แต่เอาตัวเรารอดได้ เอาตัวรอดให้ได้ เห็นไหม
ชนะศึกใดหมื่นแสนคูณด้วยล้าน มีแต่เวรแต่กรรม
ชนะใจเรานี่สำคัญที่สุดเลย แม้แต่ชนะให้มันหยุดนิ่ง แค่หยุดนิ่งนะ พอใจใครหยุดนิ่งนะ จะกราบพระพุทธเจ้าเลย อื้อฮือๆๆ ถ้าใจหยุดนิ่ง แล้วถ้าใจที่วิปัสสนาไปนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราทำของเรา โดยที่มีครูบาอาจารย์ มีพระพุทธเจ้าสอน เรายังกระเสือกกระสนกันขนาดนี้
แล้วพระพุทธเจ้าไม่มีใครบอก
ดูหลวงปู่มั่นสิ หลวงปู่มั่นนะ มีตำรากางอยู่นะ ยิ่งอ่านยิ่งงงๆ แล้วหลวงปู่มั่นท่านก็ไปปรึกษาเจ้าคุณอุบาลี เจ้าคุณอุบาลี นักปราชญ์ของสังคมไทย นักปราชญ์ของสังคมไทยก็อยากหาทางออก เพราะหลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟัง
หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังเลย ว่าตอนขึ้นไปวัดเจดีย์หลวง หลวงปู่มั่นเป็นคนแก้เจ้าคุณอุบาลี เพราะปรารถนาพุทธภูมิมาด้วยกัน เจ้าคุณอุบาลีก็ปรารถนาพุทธภูมิ หลวงปู่มั่นก็ปรารถนาพุทธภูมิ แต่หลวงปู่มั่นลาพุทธภูมิตั้งแต่ออกประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ จนได้ไปเทศน์ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ครั้งแรก เทศน์มุตโตทัย
เจ้าคุณอุบาลีบอกเองว่า หลวงปู่มั่นเทศน์แบบมุตโตทัย อย่างน้อยต้องได้อนาคามี ประวัติหลวงปู่มั่นบอกอย่างนั้นมาตลอด คนที่มีหลักมีเกณฑ์แล้วกลับมาสอนเจ้าคุณอุบาลี เกิดตายมันทุกข์นะๆ ต้องการให้พระโพธิสัตว์สละ สละละโพธิสัตว์เพื่อหันกลับมาปฏิบัติ หลวงปู่เจี๊ยะเล่าเพราะหลวงปู่เจี๊ยะอยู่ในเหตุการณ์
หลวงปู่เจี๊ยะเป็นผู้อุปัฏฐากหลวงปู่มั่นสมัยที่อยู่เชียงใหม่ หลวงปู่เจี๊ยะเป็นผู้อุปัฏฐาก เถียงกันอยู่ในโบสถ์วัดเจดีย์หลวง เถียงกันทุกคืน เวลาพูดธรรมะกันน่ะ สององค์ใส่กัน นี่เป็นคำบอกเล่าของหลวงปู่เจี๊ยะ แล้วเป็นการ.. หลวงปู่เจี๊ยะอยู่ในเหตุการณ์ตลอด แล้ว นี่คือเหตุการณ์
แต่เวลาเรามาดูหนังสือ ดูหนังสือถึงหนังสือที่เจ้าคุณอุบาลีพูด ช่วงท้ายๆ ไง อยู่ในประวัติหลวงปู่แหวนไปเปิดได้ ประวัติหลวงปู่แหวนเล่มแรกนะ เล่มต่อๆ ไป ผู้ที่ไปจดจารึก หรือผู้ที่ไปพิมพ์ซ้ำ ส่วนใหญ่แล้วไปเห็นว่า นั่นก็ไม่ถูก นี่ก็ไม่ดี จะเอาแต่เรื่องกิเลส เรื่องความเห็นของตัวเข้าไปเปลี่ยนแปลง ให้ข้อมูลที่เป็นจริง เพราะอะไร เพราะเราเข้าไม่ถึงข้อมูลนั้น เราเข้าได้แต่ความเห็นของเรา เราจะเปลี่ยนแปลงให้มันเสียหายไปเอง
ประวัติหลวงปู่แหวนเล่มแรกเลย บอกว่าเรื่องเจ้าคุณอุบาลี เจ้าคุณอุบาลีเป็นคนเล่าให้หลวงปู่แหวนฟัง หรืออย่างไร ที่เขียนไว้ว่า เราไปเจอเข้า เจ้าคุณอุบาลีบอกว่าปริยัติกับปฏิบัติ เวลาไปถึงความจริงแล้ว ห่างกันแบบฟ้ากับดิน ผู้ที่เป็นนักปราชญ์ ผู้ที่วางรากการศึกษาของสังคมไทย
สังคมไทยตั้งแต่สมัย ร.๕ เริ่มต้องการให้สังคมไทยมีการศึกษา เพราะไปยุโรปมา เห็นไหม ประเทศชาติที่เจริญต้องมีการศึกษา แล้วพอการศึกษาสมัยโบราณ การศึกษานี่มันอยู่ในวัด การศึกษายังไม่เกิดขึ้น ร.๕ มาปรึกษากับสมเด็จมหากรมวชิโนรส เป็นคนวางรากการศึกษา แล้วก็ส่งต่อมา เพราะสมเด็จมหากรมวชิโนรส เจ้าคุณอุบาลีก็มาต่อ
เพราะว่าเจ้าคุณอุบาลีเป็นผู้วางรากการศึกษาทางอีสาน วางไว้หมดเลยนะ ศึกษาทุกอย่างเลย สิ่งที่สร้างมา เห็นไหม แล้วพอมาประพฤติปฏิบัติ พอประพฤติปฏิบัติ ปริยัติคือการศึกษาเล่าเรียน กับภาคปฏิบัติที่การมาปฏิบัติเนี่ย ห่างกันแบบฟ้ากับดิน ผู้ที่แตกฉาน วางรากการศึกษา เป็นผู้ที่เข้าใจลึกซึ้งถึงสัจธรรมในทางการศึกษา แต่พอมาปฏิบัติ ทำไมมันห่างกันราวฟ้ากับดิน มันห่างกันราวฟ้ากับดิน
แล้วเราถึงบอกในปัจจุบัน ผู้ที่เป็นนักการศึกษา นักปราชญ์ในสมัยปัจจุบัน มันเทียบไม่ได้ มันเทียบไม่ได้หรอก เทียบไม่ได้ตรงไหน เทียบไม่ได้ตรงวาสนาบารมี เทียบไม่ได้ตรงปัญญาของจิต ปัญญาของจิต เจ้าคุณอุบาลี ท่านสร้างมาเป็นพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์นี่ปัญญาจะแตกฉานมากกว่าพวกเรา พวกสาวกสาวกะมหาศาลเลย แล้วเข้าใจ เข้าใจเรื่องนี้ลึกซึ้งอยู่แล้ว แล้วพอหลวงปู่มั่นไปพยายามเตือนไง พยายามเตือนเพื่อไปพยายาม เหมือนแก้ให้เปลี่ยนกลับมา อย่างเช่นหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นก็ไปแก้ เพราะถ้าหลวงปู่มั่นไม่แก้ เพราะหลวงปู่เสาร์ปรารถนามาเป็นพระปัจเจก มันก็จะไปต่อ มันก็จะไปต่อ หลวงปู่มั่นไปแก้ เห็นไหม
แก้ การเดินจงกรม การนั่งสมาธิภาวนา ไม่ต้องอ้อนวอน ไม่ต้องขึงสายสิญจน์ ไม่ต้อง บอกว่าธรรมมาสถิตที่ตา ธรรมมาสถิตที่ใจ สวดมนต์ ๕ ชั่วโมง เดินจงกรม มันเสียเวลา ให้เป็นปัจจุบันธรรม
ให้เป็นปัจจุบันธรรมเพราะอะไร เพราะหลวงปู่มั่นได้ลาโพธิสัตว์ของหลวงปู่มั่นก่อน แล้วหลวงปู่มั่นได้ปฏิบัติผ่านโสดาบัน สกิทา อนาคาขึ้นไปแล้ว เพราะยังไม่ได้ขึ้นเชียงใหม่ๆ ตอนนั้นได้อนาคา ออกจากถ้ำสาริกาไป
ออกจากถ้ำสาริกาไป ตัวเองมีรากฐานๆ รากฐานเพราะอะไร เพราะตัวเองลาโพธิสัตว์ แล้วตัวเองพิจารณาขึ้นมา แก้ไขของตัวเองได้แล้ว ไปแก้หลวงปู่เสาร์ แล้วไปแก้เจ้าคุณอุบาลี พระโพธิสัตว์เยอะ แต่ผู้ที่ได้โพธิสัตว์ กับผู้ที่ทำได้ ผู้ที่ทำได้ ทำได้ทำแล้ว เห็นผลแล้ว ถึงจะไปบอกได้
ถ้าไม่ทำได้เป็นผลได้ ไปแก้เจ้าคุณอุบาลี เจ้าคุณอุบาลีเป็นนักปราชญ์ จะยอมรับไหม เจ้าคุณอุบาลีเป็นอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงปู่มั่นนะ เป็นอาจารย์องค์หนึ่งในภาคปริยัติ เป็นที่ปรึกษา เพราะว่าพรรษาแก่กว่า ในเมื่อเป็นอาจารย์ของตัวด้วย เป็นนักปราชญ์ด้วย เป็นผู้มีปัญญาด้วย แต่เรื่องธรรมะไม่เกี่ยว เรื่องธรรมะเป็นความจริง
ธรรมะคือธรรมะ ธรรมะไม่มีอาวุโสภัณเต ภัณเตจะรู้ก่อนอาวุโสก็ได้ ภัณเตจะมีความเข้าใจ จะบรรลุธรรมก่อนอาวุโสก็ได้ บรรลุอาวุโสถึงได้เอามาแก้ไขกัน สิ่งต่างๆ จะบอกว่า สิ่งต่างๆ ที่เป็นปริยัติธรรม เห็นไหม ที่เราจะแก้ไขๆ ถ้าเรามีปัญญาของเรา เราความรู้ของเรา การแก้ไขของเรา มันก็ได้แค่นั้นล่ะ มันก็ได้เครื่องติด
เวลาเครื่องติดอยู่น่ะ โอ้ เครื่องหลวมแล้วนะ โอ้ ข้อเหวี่ยงก็ไม่ได้แล้ว รู้ว่าเสียไปหมดเลย นี่ไง เก่ง ธรรมะเป็นอย่างนั้นๆ รู้ไปหมด แต่ไม่เคยทำความสงบของใจเข้ามา แม้แต่สงบก็ไม่รู้ มันคนละเรื่องกันนะ ปริยัติเป็นปริยัติ ปฏิบัติเป็นปฏิบัติ ในเมื่อความรู้ของปริยัติ ความรู้ของความเข้าใจของเรา ความรู้ของกิเลส มันจะฆ่ากิเลสได้อย่างไร
แต่ถ้าจิตสงบเข้ามา ดับเครื่องแล้ว ดับเครื่อง แรงเหวี่ยงของเครื่องไม่มี ใช่ไหม เครื่องที่มันติดอยู่ มันมีพลังงานของมันใช่ไหม มันหมุนเข้าไป เราเข้าไป เราหยุดมันไม่ได้หรอก เวลากิเลส โลกียะปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นมา มันมีพลังงานของมันอยู่ใช่ไหม ถ้าเราไม่ทำความสงบของใจเข้ามา ไม่หยุดมันมา เราจะแก้ไขมันอย่างไร พอมันหยุดของมันแล้ว เราเปิดออกมา เราแก้ไขของเรา เพราะแก้ไขแล้วมันแก้ไข พอเปิดแล้ว ซ่อมแล้ว ทำดีแล้ว
ดีแล้วติดเครื่องใหม่ ได้บำรุงแก้ไขหมดแล้ว วิปัสสนาญาณไปชำระกิเลสไปหมดแล้ว สิ่งที่ชำรุดเสียหายได้ซ่อมแซมหมดแล้ว ติดเครื่องใหม่ โอ๊ย เครื่องแน่น เครื่องมีกำลัง เครื่องใช้ประโยชน์ได้มาก นี่ไง พอมันรู้จริงขึ้นมา มันจะเป็นประโยชน์กับมัน นี่พูดถึงเรื่องโลกนะ
เราศึกษากันอย่างไร ศึกษาแล้ว เก็บไว้เป็นความรู้ ใส่ลิ้นชัก แล้วล็อคกุญแจมันไว้ แล้วพุทโธเถอะ ภาวนา พุทโธให้มันรู้จริงขึ้นมา พุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พุทโธไม่ได้ บางคนพุทโธไม่ได้นะ พุทโธนี่มันศรัทธาจริต ถ้าพุทโธไม่ได้ก็อานาปานสติ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อะไรอันใดอันหนึ่ง
ต้องมีอันใดอันหนึ่ง คือว่าให้จิตมันเกาะไว้ ถ้าจิตไม่เกาะไว้มันเร่ร่อน พอมันเร่ร่อนนะ มันอ้างอิง ว่าง.. สบาย.. ทุกคนพูดอย่างนี้หมดนะ ว่าง..สบาย.. ผิด! แต่ถ้าว่างมีผู้รู้ มีความสติอยู่ ถูก! ถูก! เพราะความว่างนี่มันคาดหมายได้ เราจะคาดหมายสิ่งใดก็ได้ จินตนาการได้หมด แล้วยิ่งตำราพูดอย่างนี้นะ ยิ่งปฏิบัติมันเจริญอย่างนี้นะ นิพพานแจ้วๆๆ พูดได้ทุกคนน่ะ เพราะครูบาอาจารย์เราได้อธิบายไว้เยอะไง
ครูบาอาจารย์เราได้เทศนาว่าการไว้ อธิบายทางวิชาการไว้เยอะมาก แล้วเราก็ไปศึกษากันมา เราเรียนกันมา เราจะไม่รู้เหรอ พูดอะไรเข้าใจได้หมดน่ะ เข้าใจด้วยโลกียะปัญญา เข้าใจด้วยผิวเผิน เข้าใจด้วยสัญญาของเรา แต่ไม่รู้จริงหรอก อธิบายได้นะ ถามเขาจริงๆ ตอบไม่ถูก ตอบไม่ถูก เพราะมันรู้มาจากข้างนอกไง
เนี่ยเราถึงบอกว่า ถ้าครูบาอาจารย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติ เวลาพูด พูดโดยข้อมูลอย่างนั้นมันจะผิดอย่างนั้นนะ แต่ถ้าพูดจากครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงนะ เราจะได้ประโยชน์มาก เราเอาตัวเราเทียบตลอด เราบวชพรรษาแรก เข้มแข็งมาก เอาจริงเอาจังมาก แต่ตอนนั้นยังไม่เข้าหาครูบาอาจารย์ ทีแรกเลย เพราะคิดเอง สมัยพวกเราเป็นผู้เล็กผู้น้อยไง ว่าเราจะเข้าหาครูบาอาจารย์ เราต้องมีข้อวัตร คือเราต้องให้รู้บ้าง กลัวเข้าไปแล้วมันจะเสียโอกาส ก็ไม่ได้เข้า ก็ปฏิบัติกันกับพระทั่วๆ ไป
โอ้โฮ ถามปัญหาอะไรไปนะ ตอนที่เขาถามเราก็ไม่รู้นะ ฟังแล้วมันก็น่าทึ่ง มันก็งงอยู่ เพราะว่าเขาพรรษามากกว่า เขาเป็นพระผู้ใหญ่ที่เราคิดว่าน่าจะพึ่งได้ ฟังมันก็แปร่งๆ อยู่ แต่พอเราทำเต็มที่เราแล้ว เราอึดอัดเต็มที แล้วพอธุดงค์ไป ไปเจอหลวงปู่จวนก่อน เวลาท่านตอบมานี่ ถูกใจไปหมดนะ อวิชชาอย่างหยาบสงบตัวลง อวิชชาอย่างกลาง เห็นไหม เราคิดว่าจิตสงบแล้วมันไม่มีอวิชชา อวิชชาอย่างกลางเต็มหัวใจ อวิชชาอย่างละเอียดในหัวใจ ก้นบึ้งอีกเยอะแยะเลย
เถียงไม่ได้สักคำ ของเป็นนะ ฟันทีเดียวนะคอขาดเลย ธรรมะออกมานะ แบบกระดิกไม่ได้เลย ยอมจำนน เถียงไม่ขึ้นๆ แล้วมันเห็นโทษไง เห็นโทษกับที่ไปศึกษากับที่ไม่รู้นะ เรานี่มันก็เรรวนนะ มันก็ฟังหูหนึ่ง แต่กิเลสมันก็ไม่ลง มันค้านในใจ แต่มันจะไปถามใครก็ไม่ได้ ยิ่งอ่านหนังสือก็ยิ่งปวดหัว
เราปฏิบัติมา เราเอาประสบการณ์เราเทียบ แล้วพอออกจากหลวงปู่จวน เราเข้าบ้านตาดเลย แล้วพอเข้าบ้านตาดไปแล้วนะ มันรอดตายแล้ว เพราะเหมือนกับคนไข้มีหมอประจำตัวแล้ว พอเข้าบ้านตาดแล้ว เราไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ไปฝากให้ท่านดูแลใช่ไหม มีอะไรเราก็เข้าหาท่าน
เหมือนกับเราไปหาหมอแล้ว หมอก็รับประวัติคนไข้ไว้ ไปถามเมื่อไหร่ก็ได้ พอเข้าบ้านตาดไปแล้วมันก็สบายใจแล้ว แล้วทีนี้ก็เร่งเต็มที่เลย แล้วยิ่งครูบาอาจารย์ด้วยนะ ตอนเราทำอยู่ เราก็ทำประสาผู้ปฏิบัติใหม่ไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอเวลาเราปฏิบัติแล้ว มีหลักมีเกณฑ์แล้ว แล้วเรามาฟังเทศน์ท่านพูดถึงหลวงปู่มั่น
เวลาหลวงปู่มั่นดูแลพระ แล้วก็มาคิดถึงท่านดูแลพวกเรา ตอนนั้นมันก็โง่ ไม่รู้เรื่อง มีดี เรามีดีอย่างเดียว คือความบริสุทธิ์ใจ คือความตั้งใจจริง คือพูดกับท่านตรงๆ เหมือนคนแบบว่าซื่อบื้อ พูดตามที่รู้ รู้อย่างไรพูดอย่างนั้น ด้วยความ มันรอดมาได้ตรงนี้ จะพูดอะไรท่านพูดด้วยความจริงใจ คือรู้ก็เท่าที่รู้ เท่าที่พูดนั้น ไม่มีมารยาสาไถ มันถึงเป็นอย่างนี้มาได้ ตอบปัญหาเลยล่ะเนอะ
ถาม : เทวดามีกี่ขันธ์
หลวงพ่อ : ตามตำรานี่นะ ตามตำรา เทวดา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ นี่พระโสดาบัน นี้พระโสดาบัน นางวิสาขา เวลาตายไปแล้ว ถ้าเกิดเป็นมนุษย์อีกก็เป็นมนุษย์ ถ้าไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าจะพูดถึงมันมีขันธ์ ๕ คำว่าขันธ์ ๕ นี่นะ เพราะว่าเทวดามีรูป รูปคือรูปที่เป็นทิพย์ ถ้ารูปที่เป็นทิพย์ พอรูปที่เป็นทิพย์ เทวดาก็ต้องมีเวทนา มีความรู้สึก มีสัญญาข้อมูล มีขันธ์ ๕ เหมือนกัน
ตอนนี้แต่ถ้าพูดทางปฏิบัตินี่ ถ้ารูป คิดว่าร่างกายนี้ใช่ไหม ถ้าว่าร่างกายนี้เทวดาไม่มี เทวดาไม่มีร่างกายเนื้อ มีแต่กายทิพย์ ถ้ากายทิพย์ ถ้าคิดเป็นรูปได้มันก็เป็นรูป ถ้าเป็นรูป รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ขันธ์ ๕ แต่ขันธ์หยาบขันธ์ละเอียดไง แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ปฏิบัติอย่างหนึ่งหมายถึงว่าความเห็นนะ มันอยู่ที่ความถนัดไง พอความถนัดปั๊บบอกว่ารูปไม่มี เทวดามีขันธ์ ๔
เช่น หลวงตาท่านพูดบ่อยว่าจิตละเอียดเป็นขันธ์ ๔ ท่านบอกขันธ์ ๔ ในเทปจะมีบ่อย ขันธ์ ๔ คือไม่มีรูป จิตละเอียด มันอย่างนี้ เวลาพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ในคัมภีร์ เทวดามีขันธ์ ๔ หรือขันธ์ ๕ ล่ะ? ขันธ์ ๕ ทีนี้มันอยู่ที่ความถนัด หรือว่าอยู่ที่จริตนิสัยของคน
เหมือนหมอนี่แหละ หมอเรียนเฉพาะโรคมา เห็นไหม เฉพาะทางมา ถ้าหมอเฉพาะทางชำนาญคนละอย่าง เรามีพี่ชายเพื่อนอยู่คนหนึ่ง เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่ได้บวชนะ เขามาพูดให้ฟัง เขาเป็นหมอที่ชำนาญในการผ่าตัดสมองมาก ตอนนั้นเขาบอกในเมืองไทยมีอยู่ ๒ คน มีเขากับหมออะไร มี ๒ คน ในเมืองไทยที่ผ่าตัดสมองได้
แล้วเขาพูดเอง เวลาเขาพูดกับวงในนะ พูดกับพี่น้อง เขาบอกว่าเราเป็นหมอที่มีชื่อเสียงมาก ที่ผ่าตัดสมองได้ เขาพูดเล่นหรือพูดจริงก็ไม่รู้นะ แต่ให้กูฉีดยา กูฉีดยาไม่เป็น ฉีดยากันธรรมดา เขาทำจน ไม่ต้องฉีดยาไง ก็บอกให้เขาฉีดยา ฉีดยาปกติ เขายังบอกเขาไม่ถนัดเลย แต่ผ่าสมองนี่ เอามาเถอะ เท่าไรก็ผ่าได้หมด
แล้วเขาพูดนะ เขาพูดบอกว่าสมัยนั้น โรงพยาบาลมีเยอะใช่ไหม เราก็เข้าโรงพยาบาล ถ้าผ่าตัดสมองนะ เขาบอกเลย ในเมืองไทย เอ็งจะไปโรงพยาบาลไหนก็แล้วแต่นะ เขาต้องเรียก ๒ คนนี้เท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้จะมีมากขึ้น นี่มัน ๓๐ กว่าปีแล้วนะ เพราะเราบวชมา ๓๒ ปี
แต่ที่เขาเล่าให้ฟังตอนที่เรายังไม่บวช สมัยที่ยังไม่บวชเขาพูดให้ฟังอย่างนี้ เพราะพี่ชายเพื่อนไง ก็นั่งคุยกันๆ เขาเล่าให้ฟัง อะไรที่ฟังแล้วมันฝังใจมันจะฝังมาจนเดี๋ยวนี้ ตอนนั้นที่เขาพูดอยู่ เขาบอกว่าในเมืองไทยมีหมอที่ผ่าสมองเป็นอยู่ ๒ คน คืออะไร กับเขา ๒ คนเท่านั้น ที่ผ่ากะโหลก นี้เราพูดถึงความชำนาญ เห็นไหม ภาคปฏิบัติก็เหมือนกัน
ดูสิ ดูว่าพระพุทธเจ้าตั้งเอตทัคคะ องค์หนึ่งก็อย่างๆ แล้วดูนะ พระอนุรุทธะ พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอุบาลี เป็นเอตทัคคะทางวินัย พระอุบาลีเป็นคนถามขึ้นมาไง เพราะพระพุทธเจ้านิพพานแล้วไม่ใช่เหรอ นิพพานหรือยัง นอนนิ่งอยู่นี่ พระอนุรุทธะบอกยัง ก็นั่งกันอยู่นี่ พระอนุรุทธะบอกยัง
ตอนนี้พระพุทธเจ้ากำลังเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน เห็นไหม ก็นั่งคุยกันอย่างนี้ แต่ความชำนาญ ทีนี้ย้อนกลับมาที่เทวดามีกี่ขันธ์ แต่โดยหลักแล้ว ขันธ์ ๕ แต่ถ้าความชำนาญนะ เวลาเราพูดตอบปัญหาเราห่วงตรงนี้ ห่วงตรงที่ว่า อาจารย์นี้พูดอย่างนี้ อาจารย์นั้นพูดอย่างนั้น แล้วใครถูกใครผิดไง แต่เราไม่ได้พูดถึงความชำนาญเฉพาะทางไง
ถ้าความชำนาญเฉพาะทาง เห็นไหม ดูสิ เช่นหลวงปู่ชอบท่านก็สอนแต่เรื่องพิจารณากาย หลวงปู่ดูลย์ก็สอนไปอีกอย่างหนึ่ง เห็นไหม แต่สุดท้ายแล้วเป้าหมายคืออันเดียวกัน หลวงตาท่านสอนแบบเปิดกว้างมากเลย เพราะหลวงตาท่านผ่านมา
หลวงตานี่ เราได้ยินว่าหลวงปู่คำดีท่านพูดกับหลวงตาว่าเป็น ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นี่ได้ยินมาจากว่าพระพูดกันต่อๆ มานะ ว่าหลวงปู่คำดีท่านเป็นคนพูดเองว่าหลวงตาเป็นพระอรหันต์ประเภท ธัมมปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในธรรม
แล้วดูหลวงตาเทศน์สิ คำสอนหลวงตาจะกว้างขวางมาก แล้วใครฟังนี่จะได้ประโยชน์มาก แต่องค์อื่นไม่ถนัดไง พูดธรรมะได้เหมือนกัน แต่เฉพาะ หรือเฉพาะส่วน พูดได้เฉพาะตรงนั้นๆ แต่หลวงตานี่ โอเพ่น(Open)เลย ไปได้ทั่ว นี่ไง ความถนัด ฉะนั้น ตรงนี้เราฟังไว้ ถ้าครูบาอาจารย์ที่เปิดกว้าง ที่ได้กว้างขวางเทศน์ให้เราฟัง เราก็ฟังเป็นคติธรรมของเรา คติของเรา แล้วถ้าไปถามครูบาอาจารย์องค์ไหน ถ้าเป็นของจริงนะ ถ้าของไม่จริง เขาจำตำรามาพูด มันจะมีตรงนี้นิดหนึ่ง เวลาเรื่องธรรมะไง เทวดามีกี่ขันธ์ จบ
ถาม : มีการทำสมาธิแบบใด ที่ไม่ต้องเริ่มด้วย วิตก วิจาร หรือไม่คะ?
หลวงพ่อ : เราจะตอบกลับนะ มีการทำสมาธิแบบใดที่ไม่ทำจากจิตเราไหม สมาธิเกิดจากธาตุอย่างอื่นเหรอ สมาธิเกิดจากวัตถุสิ่งใด สมาธิเกิดได้ที่จิตของคนเท่านั้นนะ ทีนี้สมาธิเกิดที่จิตของคนได้ เราไม่กำหนดขึ้นมา มันก็ต้องวิตก วิจารขึ้นมา ทีนี้คำว่าวิตก วิจาร วิธีการทำสมาธิแบบใดที่ไม่ต้องเริ่มต้นด้วยวิตก วิจารได้ไหม
เวลาเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เป็นวิตก วิจารไหม เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิคือใช้ความคิด อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ ถ้าเราไม่ตั้งใจกำหนดลมหายใจ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ มันเป็นบัญญัติของพระพุทธเจ้า ว่าปฐมฌานมันประกอบไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ปฐมฌาน เห็นไหม วิตก วิจาร จิตสงบขึ้นมาเป็นปฐมฌาน พอเกิด ปีติ เห็นไหม สุข ปฐมฌาน ทุติยฌาน จตุตถฌาน เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่นเป็นจตุตถฌาน ฌาน ๔
เวลาขึ้นไปมันจะแบ่งเป็นชั้นๆ ขึ้นไป แล้วมันมีหยาบมีละเอียดมาก ถ้าอธิบายปั๊บคนจะยึด ฉะนั้นเราใช้คำว่า คำถาม ขอถามกลับนิดหนึ่งว่า วิตก วิจาร มันเป็นสิ่งที่เราเข้าใจผิด หรือว่าเราเข้าใจว่ามันเป็นการที่ว่า ทำแล้วมันมีอุปสรรค มีอย่างไร ถ้ามีอุปสรรค เราเข้าใจว่า วิตก วิจารเป็นอุปสรรคกับเรา เราก็จะหลบหลีกว่าไม่อยากให้มีวิตก วิจาร แต่ความจริง ทำอะไรก็เป็นวิตก วิจารหมด
กำหนดลมหายใจ เรากำหนดลมหายใจ เป็นวิตก วิจารไหม เป็น ถ้าไม่มีวิตก คือว่าเราไม่รับรู้ วิตก วิจารหมายถึงการรับรู้ไง วิตกขึ้นมา วิตกหมายถึงว่าเหมือนกับเรารับรู้สิ่งใด นั่นคือวิตก เขาเรียกจิตมันรับรู้ มันแบก นี่ไง พระอรหันต์ ที่ว่าจิต หลวงตาท่านพูดมา ธรรมธาตุของท่าน เวลาท่านเสวยอารมณ์ เหมือนกับไปแบกท่อนซุง ท่านพูดบ่อยเมื่อก่อน เห็นไหม
เหมือนไปแบกท่อนซุง นี่จิตที่สะอาดแล้วนะ ความคิดมันหนัก ความคิดที่ออกมันเสวยอารมณ์ เหมือนเราต้องแบกท่อนซุง ท่อนซุงหนักไหม ทีนี้ความคิดของเรา เหมือนกับความคิดเราเป็นอันเดียวกัน มันก็คล่องตัวใช่ไหม แต่จิตที่เป็นธรรมธาตุ เวลามันจะออกเป็นความคิดที่ว่า ที่ขันธ์ ๕ ที่จะเอามาสื่อสารกัน มันเหมือนกับแบกท่อนไม้ท่อนซุงเลย
ทีนี้สติมันถึงพร้อมมาตลอดไง ทีนี้ปกติจิตเรา ปกติปุถุชนเรา เราจะทำสมาธิ ถ้าเราไม่วิตกขึ้นมา มันก็เหมือนกับเราไม่ได้ทำสิ่งนั้นไง ถ้าเราไม่ได้ทำสิ่งนั้น เราไม่ได้วิตกขึ้นมา เริ่มต้นของเหตุที่จะเป็นสมาธิไม่มี เราจะเป็นสมาธิไหม
ทีนี้คำว่าวิตก เราไม่ต้องไปคิดว่าวิตกมันจะเป็นอุปสรรคอย่างไร คือ เราเริ่มคิดนั้นคือวิตกขึ้นมา ความคิดทั้งหมด ถ้าพูดอย่างนี้เราก็ต้องมาบัญญัติศัพท์ ก็ต้องมาอธิบายศัพท์ ว่าวิตกมันคืออะไร วิจารมันคืออะไร วิตกคือความนึกขึ้นให้มี วิจารคือการแบ่งแยก นึกขึ้นมา นึกอะไร นึกพุทโธ วิจาร เห็นไหม วิตก วิจาร
วิตก วิจารมันเกิดมาจากไหน คนตายไม่มีวิตก วิจาร ศพไม่มีวิตก วิจาร วิตก วิจารเกิดจากจิตเรา ทีนี้เกิดจากจิตเรา มันจะต้องมีวิตก วิจาร กำหนดอะไร นั่นคือวิตกขึ้นมา ทุกอย่าง แบบใดที่ไม่ต้องเริ่มจากวิตก การเริ่มจากวิตก คือมันเป็นเรื่องที่จะต้องเป็นไป ทีนี้เราไม่เข้าใจว่าทำไมถึงว่าไม่ต้องการวิตก วิจาร เพราะเราเข้าใจว่าอย่างไร ถึง..(เขียนมาใหม่เขียนซ้ำมา เขียนมาอีกทีหนึ่งว่าที่ทำอะไรที่ไม่ต้องวิตก วิจาร ได้หรือไม่คะ)
วิตก วิจารหมายถึงว่า ถ้ามันวิตกจริต สิ่งใดที่เราไปวิตก คือไปกังวลกับสิ่งนั้น มันก็ให้โทษกับเรา วิตกจริต เห็นไหม บางคนวิตกจริตนะ อะไรก็แบกหมดเลย วิตกจริต เราจะไปแบกให้มันเป็นทุกข์กับเรา อันนั้นไม่ใช่ อันนั้นมันเป็นกิเลส กิเลสเพราะว่าเราไปทุกข์ร้อน
แต่ตอนนี้เราคิดถึงธรรมะ เราวิตกสิ่งที่มันจะเป็นปุยนุ่น วิตกขึ้นมาเพื่อเห็น หาเหตุหาผลไง พอหาเหตุผลน่ะ เรารู้ถึงเหตุผล เหตุผลคืออะไรรู้ไหม เราหาเหตุผลมา วิตกขึ้นมาๆ นึกพุท นึกโธ หรือว่าใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็วิตกขึ้นมา วิตกแล้วก็วิจาร วิตก วิจารคือว่าสิ่งที่คิด สิ่งที่เป็น เราคิดขึ้นมา เราอยู่กับมัน มันเป็นจริงหรือเปล่า มันไม่จริง
พอสิ่งไม่จริง ไม่จริงเรายึดทำไม เรายึดก็เป็นทุกข์ หรือเราไปคิดก่อน คิดว่ามันจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนี้ เราไปให้ค่าเอง คือเราหลงความคิดเราเองไง พอวิจารขึ้นมา พอมันเห็นโทษของมัน มันก็เริ่มปล่อยเห็นไหม ปล่อยหมายถึงว่า เราวิตก วิจาร หมายถึงว่า เหมือนน้ำ น้ำปกติมันมีอยู่ใช่ไหม เราเข้าใจว่าน้ำบริสุทธิ์นั้นคือน้ำบริสุทธิ์ใช่ไหม แต่เวลาเราคิดขึ้นมา น้ำนี่มันเป็นแกง เป็นน้ำแกง เป็นสิ่งต่างๆ เพราะมันมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมเข้าไปด้วย
น้ำแกง มันให้รสเผ็ด รสขม รสเปรี้ยว รสหวาน เห็นไหม อารมณ์ความรู้สึกเรา อารมณ์ปกติเรามันก็เป็นว่าให้โทษกับเราไง คิดว่าเขาว่าเรา คิดว่าเขาชมเรา คิดว่าเขาติเตียนเรา ทุกข์ละ แต่เราวิตกเหมือนกัน น้ำเหมือนกัน น้ำเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นน้ำสะอาด เห็นไหม น้ำที่ไม่มีรสชาติ น้ำจืดสนิทดี เป็นธรรมชาติ นี่ไง มันก็ต้องวิตก วิจารขึ้นมาเพื่อให้เป็นน้ำดี
ฉะนั้นถ้าเราไปวิตก วิจารว่าเป็นน้ำ ยิ่งเป็นน้ำกรดด้วยมันกัดหัวใจเลยนะ วิตกมันเป็นน้ำกรด วิตก ประสาเราแบบว่า เหมือนกับดำริ เหมือนกับความคิด ก่อนจะคิดมันต้องมีตัวนี้ แล้วถ้าเราไม่เอามัน มันจะทำอย่างไร เพียงแต่ว่าถ้ามันเป็นจริตของเราเองใช่ไหม ถ้าเราวิตกแล้วมันเป็นความทุกข์ วิตกแล้วเป็นความกังวล อันนั้นเราค่อยแยกแยะ
เราบอกเราไม่วิตกมัน เราจะนึกพุทโธเฉยๆ ไง ค่อยๆ ทำไป มันเป็นจริตนะ คำว่าจริตหมายถึงว่า ดูอย่างเรานี่ เราชอบไม่เหมือนกัน เราเห็นคุณค่าของไม่เหมือนกัน เราพูดบ่อยนะ บ้าห้าร้อยจำพวก ชมรมอะไรก็บ้าไอ้นั่นแหละ ชมรมนกเขาก็บ้านกเขา มันบ้า มันบ้าหมด แต่เวลาเข้าชมรมเขา เขาว่าดีหมดนะ เพราะเป็นความที่เขาชอบ ชมรมรถก็บ้ารถนะ รถใหม่ๆ เขาไม่ซื้อนะ จะซื้อรถเก่าๆ เอามาขับก็ขับไม่ได้ ไปไหนก็ไปไม่รอด แต่มันก็มีความสุขของมันนะ(หัวเราะ) บ้าห้าร้อยจำพวก ถ้าวิตกเกินกว่านั้นมันไม่ดี เราก็รักษาใจเรา
ถาม : หนูเป็นแม่บ้าน และเป็นผู้ดูแลเงิน เวลาหนูเอาเงินไปทำบุญโดยที่ไม่ได้บอกสามี แล้วสามีจะได้บุญไหม หลวงพ่อช่วยแนะนำวิธีทำบุญที่จะได้ทั้งคู่ด้วย
หลวงพ่อ : มันได้อยู่แล้ว เพราะ มันได้อยู่แล้วหมายถึงว่า เวลาเป็นสามีภรรยากัน เขาถือว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม บุคคลคนเดียวกัน แล้วเรา พอเราเอามาทำบุญ เขาได้บุญอยู่แล้ว แต่ถ้าได้บอกเขา แล้วเขาอนุโมทนาด้วย บุญมันเพิ่มมากขึ้นอีกเยอะเลย
นี้เพียงแต่ว่ามันเป็นปัญหาไง โทษนะ เรื่องสังคม คู่สร้างคู่สม โอ้โฮ รักกัน ทำอะไรเห็นดีเห็นงามกันหมดเลย คู่ทุกข์คู่ยาก ทำอะไรขาดตกบกพร่องก็ช่วยเหลือกัน คู่ทุกข์คู่ยาก คู่สร้างคู่สม คู่เวรคู่กรรม บางทีคู่เวรคู่กรรมนะ พูดแล้วไม่อายเลย แม่เรากับเตี่ยเราเอง แม่ชอบทำบุญมาก แต่แม่ทำบุญนะ
ทีนี้ความเห็นของเตี่ย เตี่ยเป็นคนดีนะ เตี่ยเป็นคนดีคนหนึ่ง คนซื่อที่ในตลาดโพธารามนี่เขารู้จัก เสียไปแล้ว เตี่ยเป็นคนซื่อ เป็นคนดีมาก แต่ไม่ทำบุญ เป็นประธานสร้างโรงเรียนนะ แต่ทำบุญไม่เอา ทีนี้พอแม่ทำบุญ พอแม่ทำบุญแล้ว ด้วยความคิดไง ความคิดแบบโลก ถ้าแม่ทำบุญแล้ว แม่ต้องเป็นคนดี อยู่ในบ้านต้องไม่บ่น ต้องไม่ว่าใคร
ทีนี้อยู่ในบ้านมันบ่นมันว่า เขาบอกว่าทำบุญแล้วเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร เขาขัดแย้งกัน ความขัดแย้งกันอย่างนี้ มันขัดแย้งโดย คนคิดดีเหมือนกันแต่คิดอยู่คนละทาง
ทีนี้เวลาเราทำบุญ เหมือนกันนะ พูดอย่างนี้แล้วเราพูดถึงข้อเท็จจริงนะ มีลูกศิษย์มาเล่าให้ฟัง ลูกศิษย์เราบอกเองว่าพ่อแม่เขาเองเลย เวลาเขามาทำบุญ โทษนะ เขาบอกเอ็งไปทำทำไม พระนี่นอนอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร คนจีนเหมือนกัน เอ็งไปทำบุญทำไม ด่าแล้วด่าเล่านะ แต่เขาศรัทธาเขามา
นี้เราจะบอกว่า ถ้าไปทำบุญอย่างไร ถ้าเขาพัฒนาแล้ว เราบอกด้วยกัน เห็นไหม อย่างเช่นเราป่วย ป่วยมากเลย ทุกคนก็อยากให้เราได้บุญใช่ไหม เราไปวัดไม่ได้แล้ว เขาก็จะเอาสังฆทานมาให้เราอธิษฐาน แล้วไปทำบุญให้ เพราะเราป่วย
ทีนี้ถ้าพูดถึงสามี ถ้าพูดถึงเขาไม่ป่วยหรอก นี่เราเปรียบเทียบให้เห็นเฉยๆ ว่าถ้าเขาร่วมด้วยอะไรด้วย มันก็ดีขึ้น ไอ้อย่างนี้มันอยู่ที่เรา เราต้องสังเกตสิ สังเกตว่าสามีเราเห็นดีกับเราไหม ถ้าสามีเห็นดีกับเรานะ ง่ายๆ เลย ถ้าสามีไม่เห็นดีกับเรา จะบอกเลยนะ เงินนี่หายากนะ เอาไว้ใช้จ่ายในบ้าน เอาไปทำบุญหมดเลย โอ๊ย ยุ่งเลยนะ อย่างนี้ก็เยอะ
มีพวกลูกศิษย์มาเล่าให้ฟังเยอะ แบบว่าจะทำบุญนี่ต้องเก็บไว้ต่างหากส่วนหนึ่ง แล้วเรามาทำบุญกัน ถ้าไม่อย่างนั้น ถามทำไมคิดอย่างนั้น วัดใจมันไม่เท่ากัน แล้วเราไปอยู่ด้วยกัน บางที เราเข้ามาธรรมะแล้ว พวกเรานี่เป็นลูกศิษย์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นชาวพุทธ
ทีนี้ถ้าเราเข้าใจเรื่องธรรมะแล้ว เราต้องเอาตรงนี้มาเปรียบเทียบ แล้วเราก็ดูสิ สามีก็ดูภรรยา ภรรยาก็ดูสามีว่าความเห็นตรงกันไหม ความเห็นความรู้สึกอันเดียวกันไหม ถ้าอันเดียวกันนะ พูดด้วยกัน ชัดเจนได้สบายเลย แต่ถ้าไม่ได้ ทำไปแล้วเขาวิตกกังวล เขามีความคิดอย่างไร เราก็ต้องใช้อุบายอย่างที่ว่า อุบายเราทำของเรา แล้วอุทิศให้เขา มันเป็น แล้วเวลาเขานะ เห็นไหม
หลวงตาพูดถึงบ่อย เห็นไหม ไอ้ลูกศิษย์หลวงตา เถ้าแก่ๆ ลูกชายลูกสาวไปเรียกร้องเท่าไรก็ไม่ยอมมาเห็นไหม พอเจอหลวงตาหนเดียวเท่านั้น เดี๋ยวนี้มาหาหลวงตาทุกวันเลย ลูกมาไม่ทันเลย แต่ก่อนเขาคิดอย่างหนึ่ง แต่พอเขาพัฒนาแล้วเขาคิดอีกอย่างหนึ่ง ไอ้ตรงนี้มันสำคัญนะ ใจคนนี่มันเปลี่ยนแปลงได้ มันพลิกแพลงได้
ใจนี่สำคัญมากเลย ใจถ้าเรายังดื้อ ใจยัง มารยังครอบงำอยู่นะ เราก็มีความคิดอย่างหนึ่ง ในการปฏิบัติก็เหมือนกัน พระปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าเรายังเห็นว่าเราทำถูกต้องดีงามอยู่ มรรคหยาบ ความดีเด็กๆ ความดีของเราดีทั้งนั้น ขยันหมั่นเพียรดีหมด แต่เวลามันพัฒนาขึ้นไปนะ เราไม่พัฒนาขึ้นไป เราจะทิ้งตรงนั้นไม่ได้ เหมือนเราติด
เรามาจากแพ เราจะขึ้นบก เราบอกแพเราดีมากเลย อุตส่าห์ผูกมาอย่างดีเลย แพนี้รักมากเลย กอดแพอยู่นั่นน่ะ ขึ้นบกไม่ได้ มรรคหยาบเป็นอย่างนั้นนะ มันพัฒนาของมันได้ มรรคหยาบมรรคละเอียด แต่! แต่อย่าให้กิเลสหลอกนะ เวลามันจะไม่เอาไหนนะ มันบอกว่ามรรคละเอียด คือมันยังไม่ทำอะไรเลยไง ทำข้อวัตรแล้วมันลำบากไง นอนสบาย นี่มรรคละเอียดไง มีการภาวนา โอ้ กิเลสมันพลิกแพลงมาก ไอ้เรื่องอย่างนี้นะมันมี
เวลาหลวงตาท่านเทศน์เราจะจำ จำแล้วเราสะเทือนใจ มันมีที่ว่า มีครอบครัวๆ หนึ่ง มีทำบุญกุศลกันมาก เป็นนายพราน นายพรานไงยิงสัตว์ มีครอบครัว แล้วทำบุญด้วยกัน ทุกคน ภรรยาทำด้วยความตั้งใจ สามีขัดแย้ง สุดท้ายแล้วภรรยามาเกิดเป็นลูกเศรษฐีที่อยู่บนปราสาท ๗ ชั้นไง แล้วสามีก็ไปเกิดเป็นนายพรานป่า เห็นไหม แล้วยิง แบบว่าหาเนื้อสัตว์เข้ามาขายในตลาด ภรรยาอยู่บนปราสาทชั้น ๗ เพราะเคยเป็นสามีภรรยากันมา รักมาก
เวลาเห็นสามีมา แอบบอกคนใช้เลย บอกว่าจะลงไปทำธุระส่วนตัว ลงไปถึง ภรรยาขอไปด้วย หนีกันไปเลย เคยเป็นสามีภรรยากันมา พูดด้วยความเห็นต่างกันนี่ไง ภรรยามาเกิดเป็นลูกเศรษฐี อยู่ปราสาท ๗ ชั้น สามีไปเกิดเป็นนายพรานป่า มี!
ดูไอ้นี่ก็เหมือนกัน ไอ้ที่ว่า พระที่ไปฉันในบ้าน แล้วสามีภรรยา เห็นไหม สามีเป็นนายช่างเจียระไน แล้วพอดีกษัตริย์ให้เจียระไน ก็เอาแบบแก้วผลึกมาให้เลยนะ ทีนี้มือทำอาหารอยู่ มันเปื้อนเลือด ก็รับแก้วนั้นแล้ววางไว้ แล้วทำอาหารนั้นเพื่อจะถวายพระ พอทำอาหารไป ทำอาหารอยู่ ไอ้นกกระเรียนมันเห็น เลอะเลือด มันก็นึกว่าเป็นอาหาร มันก็มาจิกกิน กินเข้าไปเลย พอกินเข้าไปเลย นายช่างก็ทำอาหารเสร็จถวายพระ จะมาดูแก้วนี้ ไม่อยู่แล้ว
ก็ไปปรึกษากับภรรยา เห็นไหม ไปปรึกษากับภรรยา บอกว่าเราอยู่กันสามคน สามีภรรยากับพระองค์นี้ แล้วเรารับแก้วผลึกอันนี้ไว้ แล้วแก้วผลึกนี้เป็นของราชา ถ้าเราทำหายโดนตัดหัว ปรึกษาภรรยาว่าจะเอากันอย่างไร ถ้าอยู่กันสามคน ภรรยาไม่ได้เอาไป สามีไม่ได้เอาไป ก็มีพระเท่านั้น ก็มีพระเท่านั้น
ภรรยานี่ใจสูงส่งนะ บอกอาจารย์ของเรานี่ดีมาก ไม่เชื่อว่าอาจารย์เอาไป ขอร้องไม่ให้สามีทำ สามีบอกไม่ได้ ถ้าเราเอาแก้วนี้มาไม่ได้ เราต้องตายกันหมด ทีนี้คนกลัวตาย ก็ถามพระ พระก็ตอบไม่ได้ ทั้งๆ ที่พระเห็นนะ เพราะพระนั่งอยู่ตรงข้ามใช่ไหม พอวางไว้ เห็นนกมากินพระก็เห็น แต่พระเป็นพระอรหันต์ พอพระอรหันต์ จะเอาชีวิต จะเอาตัวรอด กลัวเขาฆ่านกตายก็ไม่กล้าบอก ไม่บอก พอไม่บอกอย่างนั้น เขาเค้นอย่างไรก็ไม่ยอมบอก พอไม่ยอมบอกเอาเชือกมารัดคอ ถ้าไม่บอกต้องตาย รัดคอ เค้นเข้าไปเรื่อย จนถึงเต็มที่มันก็อาเจียนเป็นโลหิตเลย
พออาเจียนเป็นโลหิต นกตัวนั้นมันเห็นเลือด มันก็เข้ามากินอีก นายช่างกำลังโมโหอยู่ เตะนกตัวนั้นเลย พอเตะนกตัวนั้น นกมันโดนเตะทีเดียวมันก็ตายเลย พอตาย พระท่านเห็นใช่ไหม ท่านก็สะกิดเลย
เดี๋ยวๆๆๆ นกนั้นตายหรือยัง บอก ตายแล้ว มันยุ่งอะไรด้วยล่ะ
นกนั้นตายใช่ไหม ถ้าตายแล้วจะบอกว่าแก้วอยู่ที่ไหน
อ้าว บอกมาๆ อยู่ในท้องนกนั่น
พอเขาผ่าออกมา อยู่จริงๆ เสียใจ เสียใจว่าได้ทำร้ายอาจารย์
คติธรรมอันนี้ดีมาก พระอาจารย์องค์นี้ปฏิญาณตนตั้งแต่วันนั้นขึ้นมา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จะไม่ยอมเข้าชายคาบ้านใครอีกเลย บิณฑบาตตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้ไป จะไม่ยอมเข้าชายคาบ้านใครเลย เพราะมันมีแต่โทษกับโทษ ไม่มีอะไรขึ้นมาเลย แล้วไม่ยอมเข้าบ้านใครอีก ไม่ไปเหยียบบ้านใครอีกเลย พระองค์นี้ปฏิญาณตนขึ้นมา
แต่สามีสิ สามีก็เสียใจ เพราะอาจารย์ของตัว ตัวเคารพบูชา แต่ด้วยความกลัวตาย พอตายแล้วตกนรกอเวจี แต่ภรรยาห้ามแล้ว ห้ามอีกก็ไม่เชื่อ เพราะทำบุญกับพระองค์นี้มามาก ภรรยาไปเกิดบนสวรรค์ ดูสิ แตกกันไปหมดเลย นี่ไง ในครอบครัว
เราจะบอกว่า ถ้ามีทิฐิเสมอ เหมือนพระมีทิฐิเสมอกัน ความเห็นเสมอกันจะมีความสุขมาก ในครอบครัวเรา แต่! ความคิดเรา เรายังควบคุมไม่ได้เลย ความคิดเราเอง มันยังเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายตลอดเวลา แล้วผ่านความคิดของสามีภรรยา ลิ้นกับฟันมันต้องกระทบกันเป็นธรรมดา ลิ้นกับฟันมันต้องมีแน่ๆ มันมีอยู่แล้ว โยมต้องคุยกัน
ดูสิ ดูสมมุติว่าถ้ามันเป็นไป เพราะเขาเขียนว่าแนะนำวิธีทำบุญให้ได้ทั้งคู่ด้วย เห็นไหม ทั้งคู่ก็คู่ของโยมเอง โยมก็ต้องดูกัน ของอย่างนี้นะ ใจคนมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใจคนเหมือนช้างสารที่ตกมัน มันมีอำนาจมาก มันฟาดงวงฟาดงาใส่เราตลอดเวลา แม้แต่พระปฏิบัติ เห็นไหม เวลาตั้งใจนะ ถือธุดงควัตร เต็มที่เลยนะ เวลามันไปทุกวันๆ เข้า มันชินชาเข้านี่ ขอผ่อนข้อนี้ๆ จนไม่เหลือสักข้อ เพราะฉะนั้นต้องเอาให้จริง
ถาม : ตอนนั่งสมาธิแล้วฟังเทศน์ไปด้วย แล้วคิดตาม หรือให้ฟังเทศน์ ฟังเฉยๆ คะ
หลวงพ่อ : การภาวนานี่มันมีหลากหลายเนอะ ทีนี้การนั่งสมาธิ เวลาเราภาวนาส่วนตัวนะ ถ้าเราไม่ได้ฟังเทศน์ โยมเปิดวิทยุก็ได้ วิทยุหลวงตา ถ้าเปิดวิทยุหลวงตา วิทยุหลวงตานี่กลางคืนดีมากๆ นะ ดีมากๆ เลย เทศน์พระสมัยนั้นน่ะ ฟังสิ เพราะธรรมอันนั้นมันเป็นแบบว่ามีดเชือดโค มีดเชือดโคหมายถึงอาวุธที่ใช้งานได้ประโยชน์มาก
ถ้าจิตเราสงบนะ จิตเราดีนะ ฟังสิ มันสะเทือนใจมากนะ ฉะนั้นถ้าฟังธรรม เวลาเราฟังธรรม เราฟัง สิ่งนั้นเป็นประโยชน์ เราจะบอกเลยนะ ฟังเทศน์นี่นะเหมือนกับเราชุบมือเปิบเลย ผู้ที่จะเทศน์ได้นี่นะ จะต้องปฏิบัติมาแทบเป็นแทบตาย รอดตายมาถึงมาเทศน์ให้เราฟังนะ หลวงตาท่านบอกบ่อยนะ ๙ ปีในป่าเรา ใครมารู้มาเห็นอะไรกับเรา
๙ ปีในป่าของท่าน ท่านสมบุกสมบัน ท่านเอาชีวิตเข้าแลกมาตลอดนะ พอท่านเอาชีวิตของท่านแลกมาแล้ว ท่านถึงรู้จริงเห็นจริงมานะ แล้วท่านมาเทศน์อธิบายให้เราฟังว่า กิเลสมันหลอกอย่างไร กิเลสมันมีเล่ห์กลอย่างไร มันหลอกลวงเราขนาดไหน ท่านเอามาตีแผ่ให้เราฟัง ถ้าเราฟังอย่างนั้น ชุบมือเปิบจริงๆ นะ
เว้นไว้แต่เทศน์ที่ว่า ผู้ที่ไม่รู้จริง เอามาอ่านหนังสือ น่าเบื่อ กูอ่านเองดีกว่า กูอ่านเองมันส์กว่าเยอะเลย ทีนี้ถ้าเราฟังแล้ว เราต้องฟังเทศน์ แล้วเราต้องคิดตามไหม หรือเราฟังเฉยๆ มันอยู่ที่เทคนิคของเราไง ถ้าเราอยู่เฉยๆ นะ แล้วถ้าเราคิดตามไปนะ มันเหมือนกำหนดลมหายใจเข้าออก หรือกำหนดพุทโธ
ไปหาหลวงตา หลวงตาจะบอกว่าให้กำหนดลมไว้อยู่ที่ปลายจมูก อย่าตามเข้าและตามออก การตามเข้ากับตามออก เห็นไหม เวลาลมเข้า ลมเข้าลึกก็รู้ว่าลมเข้าลึก ลมออกลึก อันนี้มันเป็นคำโวหาร แต่เวลาปฏิบัติเรานะ กำหนดลมหายใจเข้าไป เราอยู่ที่ปลายจมูกใช่ไหม กระทบลมหายใจเข้า เราก็รู้ ตั้งสติของเราอยู่ที่ปลายจมูก กำหนดไว้เห็นไหม จุดใดจุดหนึ่ง
พอจุดใดจุดหนึ่งมันไม่เคลื่อน หลวงตาท่านเปรียบว่าเหมือนเรายืนเฝ้าที่หน้าประตู ใครจะเข้าบ้านเราเราก็เห็น ใครจะออกจากบ้านเรา เราก็เห็น ถ้าเราตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก ลมเข้าก็รู้ตลอดเวลา รู้ที่ปลายจมูก ลมจะเข้าก็ให้มันเข้าไป ออกก็ให้มันออกไป สติเราพร้อมอยู่ เห็นไหม สมาธิเป็นง่ายๆ นะ แต่เวลาลมเข้าเราก็ตามมันไปนะ
เวลาคนมาที่บ้านเรา มันมาน่ะมันจะเข้าห้องไหน มันเข้าครัวเราก็ตามไปครัวด้วย เราเปิดหน้าบ้านไว้โล่งเลยนะ ถ้าคนอื่นเข้ามาขโมยเกลี้ยงเลย
นี่ไง ถึงว่า ย้อนกลับมาที่ว่า ถ้านั่งให้ฟังเทศน์ไปด้วย ต้องติดตามด้วยหรือเปล่าคะ?
เราไม่ต้องตาม แต่มันมีกรณีพิเศษ กรณีพิเศษ เช่น เวลาท่านเทศน์อยู่น่ะ คำเทศน์ของท่านมันสะกิดใจเรามาก แล้วปัญญาเราเกิด ปัญญาเราเกิดคือว่ามันเห็นจินตนาการตาม อย่างนี้เราใช้ได้ มันจะบอกตายตัวไม่ได้ไง สังเกตได้ไหมเวลาหลวงตาท่านตอบปัญหา ท่านจะบอกว่าบอกทุกแง่ทุกมุมไม่ได้ ถ้าบอกทุกแง่ทุกมุมได้ เพราะด้วยความเคารพศรัทธาใช่ไหม พวกเราเคารพศรัทธาครูบาอาจารย์เราใช่ไหม
เราก็บอกว่าอย่างนี้มันเป็นแง่มุมอย่างนี้ เวลาพอเราไปสะเทือนใจปั๊บ ปัญญามันเกิดขึ้นมา คือเราถูกรางวัลที่หนึ่งเขาให้สิบล้าน บอกไม่เอาจะเอาล้านเดียว คือเวลาจิตมันเป็นไป มันจะกว้างขวางไง มันจะเป็นไป เห็นไหม ถึงไม่บอกทุกแง่ทุกมุม
คำว่าเวลาไม่บอกทุกแง่ทุกมุม เวลาเราไปกระทบ เราไปรู้สิ่งใด มันจะได้ประโยชน์ได้มากไง ได้มากกว่าได้ดีกว่า มันต้องให้เป็นปัจจุบันของเราไง เห็นไหม ครูบาอาจารย์ท่านถึงบอก ท่านไม่บอกทุกแง่ทุกมุม ทุกแง่ทุกมุมมันคือสูตรสำเร็จ คือกรอบ คือสิ่งที่เรายึดมั่น แล้วเราจะบังคับให้จิตเราเป็นอย่างนั้น แต่ในการปฏิบัติ มันจะไม่เป็นอย่างนั้นเด็ดขาด เราจะได้มากกว่านั้นก็ได้ เราจะได้น้อยกว่านั้นก็ได้ มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของเรา อยู่ที่ปัญญาของเรามันจะใช้ได้มากได้น้อยแค่ไหน อันนี้มันเป็นประโยชน์กับเรานะ
ฉะนั้นถึงบอกว่าเว้นไว้แต่ แต่เวลาฟัง เราฟังเสียง เสียงเหมือนพุทโธแทน แล้วถ้าอะไรที่มันกระทบใจ เพราะฟังเทศน์ เวลาฟังเทศน์ไป คำเทศน์ไหนที่มันสะเทือนใจเรา โอ๊ย เราจะขนลุกขนพองเลย แล้วก็ฟังไปนะ พอฟังเทศน์ครั้งใหม่นะ โอ๊ย ทำไมตรงนั้นเราไม่เคยได้ยินล่ะ พอฟังครั้งใหม่มันก็จะได้คำใหม่
เหมือนเราฟังเทศน์เลย ทำไมเราฟังเทศน์ครั้งที่แล้วเราไม่ได้ยินตรงนี้ ได้ยิน! แต่จิตมันพัฒนา จิตมันดีขึ้น มันจะรู้ดีขึ้น มันจะฟังดีขึ้น มันจะไปเอาสิ่งที่ดีขึ้น เป็นปัจจุบันตลอด ถ้าอย่างนั้นปั๊บ เวลาเราภาวนา เราฟังเทศน์ เราภาวนา มันก็เหมือนกับต้นไม้พลาสติกสิ ต้นไม้พลาสติกไม่ต้องรดน้ำ ไม่ต้องให้ปุ๋ย มันไม่ตาย
แต่ถ้าต้นไม้มีชีวิตนะ รดน้ำให้ปุ๋ยมันนะ มันโตขึ้น มันงอกงามขึ้น จิตเราภาวนาก็เหมือนกัน จิตเรามันมีชีวิต มันจะเอาสูตรสำเร็จ เอากรอบขนาดนั้น ต้นไม้พลาสติกใช่ไหม มันอยู่แค่ไหนแค่นั้นใช่ไหม วัดได้แค่ไหนก็แค่นั้นน่ะ อีก ๑๐ ปีวัดก็เท่าเก่าๆ แต่ต้นไม้มีชีวิตนะ ต้นไม้จริงๆ น่ะ เดือนเดียวมาวัดมันก็ผิดตาไปแล้ว มันโตขึ้นแล้ว
การปฏิบัติต้องเป็นต้นไม้แบบมีชีวิต มีสติไว้ตั้งไว้ พูดอย่างนี้แล้วเรา ประสาเรานะ เราสงสารมาก สงสารตรงไหนรู้ไหม พวกโยมนี่จะงง ถามอะไรหลวงพ่อตอบไปนอกเรื่องทุกทีเลย ถามอะไรอย่าง หลวงพ่อตอบอย่าง ไม่ใช่ตอบอย่างนะ เราเคยเป็นแบบโยมมาก่อน เราเคยมีอุปสรรคมาเยอะมาก แล้วเวลาเราไปยึดว่าอะไรที่เป็นกฎตายตัว อะไรที่มันเป็นอย่างนี้ แล้วมันกว่าเราจะมารู้นะ โอ้โฮ กว่าจะรู้กว่าจะปล่อย แล้วคำพูดอย่างนี้มันติดหมด ถ้ามีกิเลสมันติดหมด มันติดหมด
ทีนี้เวลาเราจะพูดอะไรแล้ว เราจะพูดอะไรเหมือนกับว่าเราห่วง เราห่วงโยมจะไปเสียเวลา โยมพอไปเจออะไรปุ๊บก็จะไปติดตรงนั้น เหมือนสวะ พ้นจากสิ่งติดพันอันนี้มันก็ไปติดพันข้างหน้า
แต่บางทียิ่งพูดก็ยิ่งงงจริงๆ เหมือนกัน เพราะหลวงตาท่านพูดอยู่ การปฏิบัตินี่ยากอยู่สองประเด็น ประเด็นหนึ่งปฏิบัติครั้งแรกนี่ ก่อนจะเป็นโสดาบันสมบุกสมบันมาก พอได้โสดาบันปุ๊บ สกิทา อนาคา ไปได้เรื่อยๆ แล้วมันจะไปยากช่วงสุดท้าย พอถึงอนาคาปั๊บแล้วมันจะขาดช่วงกัน
เหมือนเราจับเชือกเห็นไหม ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด เป็นเส้นเชือกเราสาวเข้ามา มันจะถึงปลายเชือกได้ พอถึงปลายเชือก มันจะไม่มีสาวต่อ มันหลุดแล้ว พอจิตมันพัฒนาเข้าไปนะ จนอนาคา มันจะตัดอสุภะ หมายถึงว่ามันจะตัดข้อมูล ปฏิฆะ กามราคะ
กามราคะนี่นะ สังเกตได้ไหม (โทษนะ นี่เป็นมุมมองของเรานะ) บางคนผู้ชายหล่อมากเลย ได้ผู้หญิงไม่สวยเลย บางคนผู้หญิงสวยมากเลย ได้ผู้ชายไม่เอาไหนเลย ทำไมเขาชอบของเขาอย่างนั้นละ นี่คือข้อมูลของเขา นี่คือความชอบของเขาใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน ปฏิฆะ มันก็คือข้อมูลของใจ มันจะเกิดจากเรานี่ เราชอบใคร พอใจใคร มันก็เกิดจากข้อมูลของเรา
ปฏิฆะ กามราคะ มันไม่เหมือนกันทุกคนนะ พอเรา ข้อมูลอันนี้ ระบบขันธ์ ๕ ไง ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด พอถึงขันธ์อย่างละเอียด แล้วมันทำลายหมด ทำลายข้อมูลนั้นหมดเลย จิตเดิมแท้นั้นผ่องใส ผ่องใสโดยอวิชชา ข้อมูลนี้ไม่มีแล้ว กามราคะไม่มีแล้ว แล้วมันขาดช่วงจากปลายเชือกนั้นไป
พอขาดช่วงจากปลายเชือกนั้นไป เห็นไหม นี่ไง ครูบาอาจารย์ เราเอาขี้ปากจากหลวงตามาพูดบ่อย เห็นไหม หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่คำดี หลวงปู่บัว ที่ว่าท่านติดอยู่นะ เพราะพอพ้นจากปลายเชือกนั้นไปมันก็ว่าง ว่างหมดเห็นไหม ว่างอยู่อย่างนั้น แล้วพอคุยธรรมะกันนะ ธัมมะสากัจฉา
เวลาหลวงตาท่านไปพูดนะ อ้าว ว่ามาเลย พิจารณากายปล่อยปั๊บ อ้าว โสดาบัน อ้าว พิจารณากายซ้ำมันแยก อ้าว สกิทา พิจารณาอสุภะ ปล่อยปั๊บมันก็เป็นอนาคา แล้วพิจารณาเศษส่วน เศษส่วนคือว่าข้อมูลในจิต ปล่อยหมดเลย แล้วก็ว่างเลย อ้าว ไปต่อสิ หมดแล้ว อนาคานี่มันมีลึกลับอยู่ เพราะอนาคา ๕ ชั้น พอถึงอนาคาแล้วมันจะมีข้อมูลของมันอีกแล้วล้างไปอีก เข้าใจผิดได้ พอเข้าใจผิดว่ามรรค ๔ ผล ๔ แล้ว แล้วมันจะไปคาอยู่อย่างนั้น นี่ไงมันว่างหมดๆ ความว่างไม่ได้กำจัด หลวงตาท่านมีประสบการณ์ท่านถึงมาสอนตรงนั้น
เนี่ยจะบอกว่าการปฏิบัติมันยากอยู่ ๒ ส่วน ประเด็นหนึ่งข้างต้นนี้กับครั้งสุดท้าย แล้วข้างต้นนี่คือพวกเราไง ข้างต้นๆ แล้วข้างต้นเราก็เป็นอย่างนี้มาก่อน สมบุกสมบันมากนะ เราสมบุกสมบันมาก่อน โอ้โฮ คือปฏิบัติไปนี่ ร้อยทั้งร้อยผิดหมด เห็นไหม
มีคนมาถาม เขาห่วงมาก ห่วงกลัวจะปฏิบัติผิด อย่างใดบ้างที่ปฏิบัติแล้วไม่เป็นสีลัพพตปรามาส เราบอกว่าสีลัพพตปรามาสทั้งร้อยเลย ทั้งร้อย! ทั้งร้อย!! ไม่มีไม่สีลัพพตปรามาสเลย คือไม่มีถูก! ผิดหมดเลย! เพราะพวกเรานี่เป็นปุถุชน พวกเรามีกิเลสในหัวใจไหม แล้วเราเริ่มที่จะบังคับบัญชามัน แล้วมันต่อสู้เรา มันเอาอะไรมาไม่ผิด ผิดทั้งนั้นแหละ
แต่พอผิดแล้วเราค่อยๆ หาไง ค่อยๆ หา เหมือนเขาขุด (ไอ้นี่เลย) ขุดโบราณคดีอะไรนั่นเลยล่ะ โอ้โฮ เขาต้องขัด เขาต้องค่อยๆ เขาต้องหาอะไรที่มันถูกต้องดีงาม อย่างที่ว่า หนึ่ง อยู่กับผู้รู้ สอง สติพร้อม จะไม่เสีย ความรู้สึกเรานี่รักษาไว้ แต่นี้พอเราไปเห็นนิมิต เราจะเห็นสิ่งใด ความรู้สึกนี้ไม่มีแล้วนะ เพราะความรู้สึกเรามันไปเห็นนิมิต มันไปรู้ที่ข้อมูลไง
ถ้าเราไม่มีสติไว้ พอรู้อะไรนี่ เรารู้ๆๆ เราเก่ง มันไปหมดแล้ว พอไปหมดแล้ว เราส่งออกแล้ว แต่ถ้าพอเรามีสติปั๊บนะ กลับมาที่พุทโธ กลับมาที่ตั้งนะ ภาพที่เห็น มันก็ดูเก้อๆ เขินๆ กับมัน มันก็เห็นอยู่ แต่ไม่รับรู้ แต่ถ้าจิตมันดีนะ มันหายหมดเลย ถ้าอยู่ที่นี่ พออยู่ที่นี่ปั๊บ เพราะเราทำอะไร ต้องถามว่าเราทำอะไร เราทำสมาธิ เราต้องการให้จิตสงบ สิ่งใดที่รู้เห็นมันปล่อยออกมา ก็เป็นตัวมัน ก็จิตสงบ
กำหนดพุทโธมันก็สงบ ถ้าอยู่กับผู้รู้ อยู่กับสติ ไม่มีเสีย แล้วพัฒนาตลอด
แต่โดยสามัญสำนึกของพวกเรา พอรู้อะไรนะ โอ้โฮ อยากรู้อยากเห็นอยากเป็นอยากไป กิเลสมันหลอก ยากมาก เพราะเราไม่เคยรู้เคยเห็น พอเราไปรู้ไปเห็น เราก็ว่าเรารู้เราเห็น มันยากตั้งแต่ตอนเริ่มต้น เริ่มต้นหนึ่ง แล้วก็ขั้นสุดท้าย เวลานั่งฟังเทศน์แล้ว ฟังเทศน์ไป ไม่ต้องตาม ถ้าเรา.. เพราะฟังเทศน์มันรู้อยู่แล้ว คำพูดน่ะ จับไว้ๆๆ แต่ถ้าเวลามันสะเทือนใจไง
โธ่ คำพูดนะ เทศน์ทั้งกัณฑ์เลยนะ บางคำมันสะเทือนใจมาก พอสะเทือนใจมาก ปัญญาเรามันจะหมุนไง ปัญญาเราจะหมุนแล้ว พอมันสะเทือนปั๊บ มันมีความคิด มีความรู้สึก ปัญญาเราจะหมุน พอปัญญาเราหมุน เราปล่อย เราตามสติไป ปัญญาเราหมุนรอบหนึ่งก็คือว่างานของเราเกิดแล้ว
คือแต่เดิมมานี่ เราขอเงินพ่อแม่ทุกวันเลย แบมือๆ แต่พอเราเป็นเอง เราหาเงินเป็น ต่างกันนะ ถ้ากรณีอย่างนี้ เราให้มันเคลื่อนไปได้ แต่กรณีเรา เราหยุดไว้ แต่! แต่เป็นเทคนิคนะ ลองกลับไป เอาใหม่ กลับไปฟังเทศน์แล้วตามไปเลย คิดตามไป ตามเทศน์ไป แล้วมันดีไหม แล้วก็อยู่เฉยๆ นี่มันดีไหม ถ้าตัวเองทดสอบได้แค่นี้ผลมันจะตอบตัวเองได้เลย ปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนเลย สันทิฏฐิโก ของคนๆ นั้นเลย
ถาม : การพิจารณาอสุภะ จะสามารถพิจารณาได้ตอนไหนครับ ต้องรอให้จิตเป็นสมาธิก่อนหรือไม่ครับ?
หลวงพ่อ : มันจะเป็นอย่างนั้นน่ะ ตามหลักมันเป็นอย่างนั้น จิตต้องเป็นสมาธิก่อน ทีนี้ถ้าจิตเป็นสมาธิก่อน เวลาเราพูด เราพูดส่วนใหญ่ใช่ไหม การพิจารณาอสุภะ ส่วนใหญ่แล้ว การพิจารณาอสุภะ ปุถุชนเขาพิจารณากัน ลูกศิษย์ ผู้ปฏิบัติใหม่เขาพูดอย่างนั้น ลูกศิษย์หลายคนนะ โทษนะ เวลาคุยกับเรา เขาแบบว่า เขากามราคะ เขาวิตกจริตไง เจอผู้หญิงนี่สวยไปทั้งนั้น พอสวยปั๊บ เขารักษาตัวใช่ไหม เขาก็พิจารณาเป็นอสุภะ ว่าในร่างกายมนุษย์มันมีแต่ของสกปรกทั้งนั้น เขาก็รักษาตัวเขาได้ดีนะ พอรักษาตัวดี เห็นไหม
เราจะบอกว่า เวลาพิจารณาอสุภะ ถ้าพิจารณาอสุภะ เรามาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ปุถุชน หรือว่าเราคิดเอง คิดเพื่อเหนี่ยวรั้งใจเรา แต่มันไม่เป็นอสุภะในธรรม ถ้าอสุภะในธรรม มันจะไปเกิดขั้นอนาคามี ขณะการพิจารณากายของพระโสดาบัน การพิจารณากาย เราจะเน้นประจำว่า การพิจารณากายเป็นไตรลักษณ์ การพิจารณาอสุภะ จิตมันละเอียดกว่านั้น ละเอียดกว่านั้น เพราะพิจารณาอสุภะนะ
ดูสิ ในประวัติหลวงปู่ชา ในประวัติของอาจารย์จวน เห็นไหม ที่เวลาพิจารณาอสุภะ ต้องเอากระดูกช้างแขวนคอ แล้วเคี้ยวหมาก เห็นไหม ให้ลงมา ตอนพิจารณาอสุภะนะ นี่เป็นธรรมะนะ ไม่ได้พูดสิ่งที่ไม่น่าฟัง เป็นธรรมะ เวลาพวกเรามีเพศสัมพันธ์กันไป นั่นเป็นเฉพาะส่วนนะ
แต่เวลาพิจารณาอสุภะ เหมือนเราไปอยู่ในอารมณ์นั้นตลอดเวลา อยู่อารมณ์นั้นตลอดเวลานะ เราไปเผชิญหน้ากับมันนะ ผู้ที่พิจารณาอสุภะอยู่ พอถึงพิจารณาอสุภะปั๊บ มันเป็นเรื่องของกาม กามล้วนๆ เลยล่ะ ต่อสู้กับกามนี่ ถ้ามีประสบการณ์จะรู้ ถ้าใครผ่านอสุภะมา ถ้าผ่านอสุภะ ถ้าไม่ผ่านอสุภะมา มันก็หลอกอยู่ตลอดเวลา
นี่คล้ายๆ ว่า เราจะพูดถึงว่า คำว่าอสุภะ อสุภะของเรา เราพูดเป็น ๒ กรณี กรณีหนึ่งเราเอามาใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับปุถุชน พูดได้ แต่ถ้าพูดถึงคำว่าอสุภะ เหมือนกับทางวิชาการ ทางวิชาการศัพท์มันบอกถึงหลักการอันนี้ แต่เวลาศัพท์อย่างนั้น เรามาใช้ในพื้นฐาน ในเรื่องปกติธรรมดา มันต่างกันตรงนี้ไง
เราถึงว่า ถ้าพิจารณาอสุภะ เราพูดอย่างนี้เพราะว่าเราเทศน์ไว้เยอะ ถ้าเราพูดขัดแย้งกัน มันจะไปแบบว่า ธรรมะนี่นะ มันจะไม่มีขัดแย้งกัน มันจะไปทางเดียวกัน เหมือนแม่น้ำมันจะไหลลงทะเลไปเหมือนกัน นี่เราพูดเรื่องอสุภะ การพิจารณากาย กับการพิจารณาอสุภะต่างกัน เราพูดไว้เยอะมาก เพราะเราเป็นคนอธิบายเอง
เพราะเรื่องนี้เราเห็นถึงพวกนักปฏิบัติ เวลาเขาคุยกันในสังคมโลก เขาคุยกันแบบว่า เหมือนกับ เหมือนแบงก์เลย แบงก์ใบนี้ร้อยบาท แบงก์ใบนี้ห้าร้อยบาท แบงก์ใบนี้พันหนึ่ง แบงก์ร้อย แบงก์ห้าร้อยแบงก์พันมันมีค่าต่างกันหมดใช่ไหม มันจะมีค่าเท่ากันได้อย่างไร
นี่ก็เหมือนกัน การพิจารณากาย เพราะการพิจารณากาย สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในกาย พิจารณาเห็นกาย มันไม่ใช่อสุภะหรอก มันเห็นกายนะ พอเห็นกายขึ้นไป เราพิจารณาไป กายมันจะเป็นวิภาคะ วิภาคะนี่คือการแยกส่วนขยายส่วน มันเป็นไตรลักษณ์ มันยังไม่เป็นอสุภะ อสุภะมันหนักหนากว่านี้
เวลาพิจารณากาย พิจารณากายจนเห็น กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันแยกเป็นพระโสดาบัน พิจารณาซ้ำเข้าไปๆ ถ้าจิตมันสงบ พอจิตมันละลายลง น้ำเป็นน้ำ ดินเป็นดิน ไฟเป็นไฟ ลมเป็นลม มันจะคืนสู่สภาพเดิมของเขา กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส ถ้าพิจารณาอย่างนี้ปุ๊บ พิจารณากายอย่างนี้ไป แล้วพอจิตเป็นกระจกใส นี่เป็นสกิทา
แล้วถ้ายกขึ้นไป ถ้าพิจารณากายอีกนะ นี่แหละอสุภะ ถ้าเจอสุภะนะ มันเยิ้มไปหมด อสุภะ พอถึงเวลาอสุภะ อสุภะเพราะ อะไร อสุภะเพราะเป็นธรรม แต่จิตโดยสามัญสำนึก หลวงตาท่านพูดไว้นะ เราฟังเทศน์แล้ว โอ้โฮ สุดยอด ประสบการณ์ของจิตแต่ละดวงนะ หลวงตาพิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะจนไม่มีเลยนะ ว่างหมดเลย อย่างนี้ ถ้าเป็นธรรมดา ทุกคนก็บอกว่าเราพิจารณาอสุภะจนปล่อยหมดแล้ว ทั้งๆ ที่กิเลสมันหลอก
พอกิเลสมันหลอกปั๊บ หลวงตาท่านนี่ประสบการณ์ของท่านเอง เห็นไหม บอกแล้ว ผู้ที่ไปปฏิบัติธรรมมา แล้วมีประสบการณ์อย่างนี้ ท่านจะเอามาเทศน์ให้เราฟัง ชุบมือเปิบเลย ถ้าพิจารณาอสุภะจนว่างหมด ว่างหมดเลย ด้วยวุฒิภาวะของท่านที่ท่านมีบารมี
ว่างแบบนี้ไม่เอา ว่างแบบนี้ไม่มีเหตุมีผล
นี่กิเลสมันหลอก ถ้าเราชะล่าใจ พอว่างอย่างนี้ปั๊บเราก็จะปล่อย พอปล่อยจิตมันก็จะเสื่อม เสื่อมก็ออกมามันก็ยังมีกามอยู่อย่างเดิม ทีนี้จิตมันกำลังดีอยู่ เหมือนเรานี่ เงินเต็มเลย เราใช้ประโยชน์ เราจะซื้อของเป็นประโยชน์ได้ เราก็เผลอไง ใช้เงินจนหมดเลย เงินไม่มีจะไปซื้ออะไร การภาวนาที่ดีอยู่ ปัญญามันหมุนอยู่ มันหมุนขึ้นมาจนกิเลสมันหลบ มันว่างไปหมดเลย เพราะพิจารณาอสุภะจนไม่มีอะไรเลย
พอไม่มีอะไรเลย ด้วยปัญญานะ ด้วยคุณสมบัติของท่าน ท่านบอกว่าเอาสุภะ เอาความสวยความงาม สิ่งที่สวยที่สุด สวยที่สุดก็อย่างที่เรา เสปคเราที่ว่ายอดที่สุด ที่เราชอบที่สุด เอามาแนบกับจิตไว้ หลวงตาท่านบอกท่านทำอย่างนี้ เอาสุภะ เอาสิ่งที่เราเคยว่าสวยว่างาม ที่เราชอบมากเลย เอามาแนบกับจิตไว้ แนบไว้อย่างนั้น แนบไว้ แล้วท่านเดินจงกรมอย่างนี้อยู่ ๒-๓ วัน
พออยู่ ๒-๓ วัน จิตน่ะ คนเรามันมีเชื้ออยู่แล้ว มันมีกามราคะอยู่ในใจอยู่แล้ว แต่เพราะเราใช้ปัญญา เราใช้วิปัสสนาไป ด้วยธรรม ด้วยสมาธิด้วยธรรม มันมีกำลังมากกว่า มันกดอันนี้อยู่ในหัวใจ กิเลสมันหลบเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของเรา มันก็ว่างหมด ทีนี้พอเอาอสุภะ เอาความสวยความงามมาแนบกับมันไว้ อ้าว ก็เชื้อ ก็ของที่มันชอบ แต่ด้วยกิเลสนะ ด้วยธรรมที่เราสร้างมา มันก็ยังหลบอยู่นะ
ท่านเดินจงกรมอยู่ ๓ วัน พออยู่ ๓ วัน ของมันชอบอยู่แล้วใช่ไหม มันก็แสดงตัว พอแสดงตัวขึ้นมา ท่านพูดในเทป เห็นไหม
นี่ไง ไหนว่าหมดแล้วไง ไหนว่าว่างหมดไง ถ้าว่างหมดทำไมมันยังมีความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมาอีก
พอมีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านก็วิปัสสนาต่อไป เวลาเราวิปัสสนา เราใช้ปัญญามากๆ เห็นไหม เราใช้ปัญญาไปมากๆ ขึ้นไป พิจารณากายคือมันปล่อยหมด เราก็ว่าชำระกิเลสแล้ว แต่! แต่ถ้าเป็นคนที่ปฏิบัติเป็นนะ เขาเรียกว่าขณะจิต
ขณะจิตที่เปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระโสดาบัน ขณะจิตของพระโสดาบันขึ้นเป็นพระสกิทา ขณะจิตของพระสกิทาเป็นพระอนาคา ขณะจิตของพระอนาคาเป็นพระอรหันต์
ขณะจิตนี่ คนไม่รู้คนไม่เห็น พูดไม่เป็น พูดไม่ได้ ตำราจะบอกไว้ขนาดไหนนะ พูดผิดพูดถูก พูดพลั้งๆ เผลอๆ แต่ถ้ามันขณะที่คนเป็นนะ เป็นโสดาบันอย่างไร พิจารณากายปล่อยกาย สังโยชน์ขาดอย่างไร พอมันขาดมันปล่อยหมด พอมันปล่อยหมด มันก็ว่างของมัน ว่างของมันในขั้นของโสดาบัน แต่ขั้นของสกิทามึงยังไม่ได้ทำ ก็ยกขึ้นไปเป็นชั้นๆ ขึ้นไป
พอท่านเอาแนบไว้ เห็นไหม เอาอสุภะมาแนบไว้ พอแนบไว้มันแสดงตัว พอแสดงตัว อยู่นี่ไง อยู่นี่ไง ไหนว่าไม่มี เราจะบอกว่าการปฏิบัติ เวลาธรรมะนะ เวลาปัญญาของเรา สมาธิของเราเข้มแข็ง กิเลสมันซุกอยู่ในใจเราหมด มันหลบ มันแอบ มันซุก คนไม่ภาวนา นึกว่าภาวนาไปแล้วมันจะมี เหมือนกับเราทำงาน ทุกคนจะให้คะแนน ทุกคนจะชม อู๊ย เก่งๆๆ ไม่มีทาง
กิเลสมันขุดหลุมล่อมึงไว้ข้างหน้า ดักไว้เต็มไปหมดเลย เพราะมันไม่ยอมตาย เพราะมันจะเอาหัวใจของเราเป็นที่อยู่ของมัน นี่เห็นไหม เพราะการปฏิบัติถึงขั้นอสุภะนี่นะ ถ้าการปฏิบัติ คนปฏิบัติถึงอนาคามันสุดยอดจริงๆ สุดยอดคนแล้ว ถ้าพูดถึงผ่านตรงนี้ได้แล้ว ไม่กลับมาเกิดในกามภพอีกแล้ว ถ้าทำไม่ได้ เผลอไม่เข้าใจก็ไปเกิดสุทธาวาส แล้วจะสุขไปข้างหน้า คือเป็นพระอรหันต์ไปโดยไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
แต่ถ้าพิจารณาต่อไป บวชเป็นพระอนาคาแล้ว พิจารณาต่อไป ถึงที่สุดแล้ว จบสิ้นกระบวนการ นิพพานหนึ่งเดียว ปัจจุบันไม่มีเอนเอียงไปทางสิ่งใดๆ เลย มันเป็นของมันได้ ฉะนั้นถึงว่า พิจารณาอสุภะนี่ เราจะพูดกับพวกเรา พวกเราเป็นนักปฏิบัติเริ่มต้นไง เอามาใช้เป็นอาวุธ เอามาใช้เพื่อควบคุมใจเรา เพื่อควบคุมใจเรา ใช้ได้ เอามาใช้ได้ แต่ถ้าให้เป็นความจริงเขาว่าขั้นอสุภะ ไม่ใช่!
ถ้าขั้นอสุภะต้องมหาสติ มหาปัญญา ผู้ที่เจริญอนาคามรรค ต้องมหาสติ มหาปัญญา ขณะที่เราพิจารณาอยู่ข้างล่างนี่นะ พิจารณากาย กายกับจิตมันจับต้องกันได้ พอมันขาดไป ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ กาย เราเห็นผิดในกาย จิตมันก็พ้นออกมาจากอริยสัจ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต
จิตเป็นจิต จิตอารมณ์ของขั้นปุถุชน เป็นจิต แต่สิ่งที่หลุดออกไป สิ่งที่รวมลง หลวงตาถามบ่อย เวลาใครไปถามปัญหา เวลามันปล่อยแล้วมันเป็นอย่างไร มันรวมลงอย่างไร จิตมันปล่อย มันปล่อยความเห็นจากข้างนอกเข้ามาเป็นอิสรภาพ เป็นความสะอาดอย่างไร พอความสะอาดนี่ขั้นของโสดาบัน อกุปธรรม ไม่เสื่อมสภาพนี้อีกแล้ว
แล้วพิจารณาต่อไปเป็นสกิทา เป็นสกิทามันพิจารณาอย่างไร ขณะจิตมันมี ขณะจิตที่มันเป็น แล้วพอมันขึ้นไปถึง พอมันเป็นอสุภะ สิ่งนี้เป็นอสุภะนะ มหาสติ มหาปัญญา สติปัญญาต้องควบคุมต้องดูแล เราพูดไปเพราะมันเป็นคำถาม แต่ถ้าพูดถึงนะ ถ้าใครที่เขาไม่ได้ปฏิบัติ หรือว่าเขาเป็นคนนอกมาฟังใหม่ๆ เขาจะบอกว่าเรานี่โอ้อวดไง
เพราะพระเขาคุยกันนะ พระที่มาอยู่กับเราบางองค์บอก หลวงพ่อพูดอะไรก็พูดแต่นิพพานๆ เพราะหลวงพ่อมีหลวงพ่อก็พูดได้ล่ะสิ เหมือนกับตัวเองพูดได้อยู่คนเดียวก็พูด เหมือนกับพูดเหยียบย่ำเขา พูดอวดตัว พูดว่าเหนือกว่า แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นไหม ความจริงเราบอกถึงกระบวนการในการปฏิบัติของมัน
ถ้าไม่บอกอย่างนี้ บางทีมันไม่บอกนะ เราทำขึ้นไปแล้ว เราเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นๆ ทุกคนจะสวม เคลมว่าเราเป็นๆๆๆ กิเลสมันเป็นอย่างนั้นนะ
ฉะนั้นเวลาใครมาปฏิบัติเราจะบอกว่า จิตจะละเอียดขนาดไหนก็แล้วแต่ ต่อไปมันจะละเอียดกว่านี้เยอะๆ แล้วพอละเอียดก็ร้อง โอ้โฮๆ ทุกคน มันจะละเอียดไปเรื่อยๆ มันจะละเอียดของมันไป
แล้วย้อนกลับมาว่าคนเวลาปฏิบัติที่เขาเป็นกัน ที่ว่าสิ่งที่เขาเป็น มันเป็นสูตรสำเร็จ เขาไม่เป็นอย่างนั้นหรอก ปัญหาหมดแล้ว ใครจะถามปัญหามีไหม จบปัญหาแล้ว หมดแล้ว ถ้ามีปัญหามันจะอธิบายไปเรื่อย ไม่มี จะกลับเนาะ เอวัง