ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะหมอ

๑๔ เม.ย. ๒๕๕๒

 

คณะหมอ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


หลวงพ่อ : มันไม่มีใครแก้หรอก แล้วอย่างที่ว่าน่ะ เขาอะไรนะ เขาเป็นหน่อของทางนู้นน่ะ ไอ้พวกนี้นะ อย่างพวกดอกเตอร์ พวกอะไร พวกป่าไม้ เวลาเขามาคุย เขาบอกว่าพวกโครงการราชดำริ พวกนี้ไม่รู้จักหรอก พอมันเข้าไปข้างในน่ะ พอเอ่ยชื่อเรา ข้างในน่ะ เขาฟังเทปทุกม้วนที่เรามี เทปหนังสือ ทุกม้วน ถึงหมด

โยม ๑ : ครับ.. แล้วก็เขาลงยากไหม เวลาจะให้อะไรเขานี่บางทีเขาไม่รับ

หลวงพ่อ : .. ไม่รับ

โยม ๑ : ต้อง.. จนเขาอยากได้เอง

หลวงพ่อ : โธ่.. ทุกคน อย่างเวลาพูดถึง เวลาราชวังเข้าไปหาหลวงตาไง เขาบอกว่าในหลวงนี่กลัวหลวงตามาก หลวงตาก็ตอบว่า “ทำไมต้องมากลัวเรา” เพราะในสมมุติราชานี่อันดับหนึ่งของในสมมุติ ใครจะใหญ่กว่ากษัตริย์ ในสมมุตินะ แต่ถ้าโดยธรรมะ ก็คือผู้อุปัฏฐาก ภิกษุมันถึงใหญ่กว่า ธรรมะมันสูงกว่าทุกๆ เรื่อง แต่ถ้าในสมมุติไง เรื่องสามัญสำนึกน่ะนะ ในสมมุติเราน่ะ เห็นไหม ราชาก็ต้องมาเป็นอันดับหนึ่งของประเทศใช่ไหม ถ้าอย่างนั้น ราชาเป็นอันดับหนึ่ง ท่านใหญ่สุด ในสมมุติท่านใหญ่สุด “แล้วมากลัวเราทำไม” เพราะว่าถ้าพูดถึงตามหลักแล้ว ดูพระเรา จะเป็นสมเด็จ จะเป็นพัดขนาดไหนก็แล้วแต่ เวลาในหลวงจะเสด็จ เห็นไหม ต้องไปนั่งรอเป็นชั่วโมงๆ น่ะ โอ้โฮ.. เป็นแถวเลย

แต่ถ้าโดยธรรม นี่ไง ถึงว่าเมื่อก่อนน่ะ ตอนที่อะไร ตอนที่ไทยช่วยไทยน่ะ ต่อรองกันเยอะนะ ต่อรองว่าจะอะไร จะให้สมเด็จไง ข้างในอยากให้มาก อยากให้สมเด็จ แต่ทางนี้เขามาต่อรองว่ามีอยู่ ๒ ประเด็น สมมุติถ้าบังคับให้มาหรือจะให้มา ต้องมี ๒ ประเด็นนี้ที่ไม่รับ

๑. ต้องไม่เข้าพระราชพิธี.. เพราะไปนั่งทีหนึ่ง ค่อนวันๆ มันไม่ไหว คนแก่

๒. ต้องไม่เป็นเถรสมาคมโดยตำแหน่งไง.. ถ้าเป็นสมเด็จนี่ต้องเป็นกรรมการเถรสมาคมโดยตำแหน่ง ถ้าโดยตำแหน่ง เข้าไปประชุม เข้าไปมันก็วงแตกน่ะสิ เพราะว่าเราพูดจริง เขาพูดไม่จริง วงมันจะเหลือได้ยังไง วงก็วงแตกใช่ไหม

ต่อรองอยู่ ๒ อย่าง เพราะข้างในในหลวงนี่ท่านพูดอย่างนี้

ท่านบอกว่า “ท่านอยากทำบุญกับหลวงตามาก เมื่อก่อนอยากสร้างโบสถ์ สร้างอะไรให้หลวงตา”

หลวงตาบอก “ไม่ได้” เพราะสร้างแล้ว.. ด้วยข้อเท็จจริงนะ การก่อสร้างนี่มันต้องมีพวกกรรมกรก่อสร้าง ต้องเข้ามาอยู่นี่ กว่าจะสร้างเสร็จ คนเข้ามาอาศัยวัดมาก มันจะอึกทึกครึกโครม พระก็ตายหมดแล้ว เราถึงจะได้โบสถ์หลังหนึ่งไง ท่านถึงบอกว่า “เหตุผลมันไม่สมควร ท่านไม่ยอมให้สร้าง”

อันนี้ ท่านก็อยากทำบุญใช่ไหม แล้วสิทธิการทำบุญนี่ ไอ้สมณศักดิ์ คนที่อนุญาตได้ก็คือในหลวงคนเดียว คือท่านอยากทำบุญตรงนี้ไง ท่านอยากทำมาก คือท่านอยากจะถวาย ท่านอยากถวายสมณศักดิ์น่ะ แต่ถ้าพระทั่วไปเขาวิ่งแข่งขันกันเพื่ออยากได้ตรงนี้ เห็นไหม

แต่ถ้าเป็นไอ้นั่นไม่เอา แต่เครื่องต่อรอง ต่อรองอยู่ ๒ ประเด็น ประเด็นว่า “จะต้องไม่เข้าราชพิธี” กับ “ไม่เข้าเป็น.. โดยตำแหน่ง ถ้าสมเด็จนี่ต้องเข้าไปเป็นกรรมการเถรสมาคม”

ทุกคนจะวิ่งเต้นเข้าไปตรงนี้นะ เพราะกรรมการเถรสมาคม ตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรีนะ เพราะอะไร กรรมการเถรสมาคมนี่ถือว่าคณะรัฐมนตรีประชุมนะ คณะรัฐมนตรีประชุมนี่ออกมาเป็นกฤษฎีกา ออกมาเป็นกฎหมายใช่ไหม เถรสมาคม มติเถรสมาคมนั่นน่ะคือกฎหมาย “กฎหมายพระ คำสั่งของพระ”

ทุกคนจะวิ่งเข้าตรงนี้มาก แต่ท่านขอปฏิเสธ ก็เลยคากันมา.. นี่พูดถึง

ไอ้พวกนี้ข้างล่างมันไม่รู้เรื่อง

นี่ว่า อีโก้ อีโก้น่ะ

เขาไม่รู้.. ใครไม่รู้นะ พอลองไปพูดสิ ไอ้พูดถึงเรานี่

โยม ๑ : เขาลงในพระอาจารย์เยอะ กลับไปนี้ไม่เคยฟังเทปใคร เอาซีดีพระอาจารย์ อุตส่าห์ไปซื้อโทรศัพท์มาอัดเอ็มพีสาม(MP3) ฟังอยู่น่ะครับ

หลวงพ่อ : ให้เขาฟัง..

เพราะวันนั้นมาเราพูดไปเรื่อยๆ เราพูดไปเรื่อยๆ

โยม ๑ : ๒ ชั่วโมงกว่านะพระอาจารย์

หลวงพ่อ : ถึงเหรอ?

โยม ๑ : เกือบ ๒ ชั่วโมง..

หลวงพ่อ : เพราะทีแรก เขามาตอนสาย พอมาถึงวัดเราให้ทานข้าวก่อน พอทานข้าวเสร็จแล้ว เขาบอกมาจากหมอธีระภัทร เรารู้แล้ว ทีนี้เรารู้แล้ว เราก็นึกว่ามันแบบว่ามันจะ.. เหมือนกับ (โทษนะ) คนป่วยมาหาหมอนี่เนาะ มันคุยกันโดยธรรมชาติ มันรักษาได้ง่ายไง

เขาบอก “ให้พูดมา”

“ไม่.. ไม่หรอก” แถไปเรื่อย

ต้องให้กูหาเอง ต้องให้แหย่ พอแหย่ ก็ออกไอ้ที่ว่าน่ะ แหย่ เราถึงเขียนไว้เลย เขียนที่หัวเรื่อง เห็นไหม “แก้ดูจิต” อันนั้นน่ะแก้ดูจิต แล้วเราเอาไว้ให้พวกไอ้...ฟัง เพราะพอเราให้ไปหาไอ้... วันนี้เราก็พูดตอนเช้าวันนี้ เพราะวันนี้คนฟังมันเยอะเต็มไปหมดน่ะ ก็ตรงนี้ว่าให้.. ว่าอะไรนะ..

ตามรู้จิตนี่มันรู้ไม่ทัน เรารู้ไม่ได้ รู้ยาก เราบอกความจริงคนที่ไม่เป็นน่ะพูดไม่ถูกหรอก การดูจิต-การรู้จิตอะไรนี่รู้ไม่ได้หรอก รู้ไม่ได้เพราะอะไร (โทษนะ นี่เป็นตัวอย่าง เดี๋ยวจะหาว่าพูดไม่ได้ว่า) อย่างนี้เลี้ยงมานี่ เด็กๆ มันรู้ตัวมันไหม พ่อแม่ต้องโอ๋มาตลอดใช่ไหม ต้องสอนมาใช่ไหม ต้องเป็นผู้ใหญ่แล้วถึงจะรู้ใช่ไหม

มันไม่รู้เพราะอะไร เพราะจิตเป็นเราไง กิเลสเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา ความคิดเป็นเรา จริงไหม ของทุกอย่างเป็นของเราหมดเลย เราจะรู้ตัวเองได้อย่างไร? มันเป็นไปไม่ได้ จิตเห็นอาการของจิต มันถึงจะโตขึ้นมา มันถึงจะทำได้ ทุกคนน่ะคิดว่าตัวเองถูกหมดล่ะ แต่นี่ทุกอย่างเป็นเราน่ะ ความคิดก็เป็นเรา ความคิดก็เป็นเรา ความสุข-ความทุกข์ก็เป็นเรา กิเลสก็เป็นเรา พอเป็นเราขึ้นมาน่ะ พ่อแม่บอกว่า “ไม่ใช่นะ คิดให้ดีนะ คิดผิด คิดถูกนะ”

“อ้าว.. ก็ความคิดเป็นเรา”

ที่เขาไม่รู้มันก็ตรงนี้ไง

ทีนี้เขาไปดูอยู่ๆ ก็บอกอย่างนี้ สมมุติว่าโยมพูดเรื่องตัวเองใช่ไหม แต่ลูกเกิดมาตัวเล็กๆ น่ะ บอกลูกบอกว่า “ให้ดูตัวเองสิ” แล้วมันจะดูตัวเองได้ไหม

โยม ๑ : ไม่ได้

หลวงพ่อ : มันจะโตขึ้นมาได้ไหม? ไม่ได้หรอก ถ้าพ่อแม่ไม่สอน เนาะ.. อย่างเรา ลูกเราเล็กๆ ใช่ไหม “อ้าว.. ก็เลี้ยงตัวเองสิ ดูตัวเองสิ” แล้วจะโตขึ้นมาได้ไหม เหมือนกันเลย

สองวันนี้พูดมาก เพราะเราพูด พูดแรงมาก (อะไรนะ ไอ้อะไร) ที่ว่ามหายานเขาบอกเลย ไปถามพระอรหันต์ไง “หิวก็กิน ร้อนก็อาบน้ำ” หิวก็กิน ร้อนก็อาบน้ำใช่ไหม หิวแล้วก็กิน พระอรหันต์นี่อยู่กันอย่างไร “อ้าว.. หิว.. หิวก็กินข้าว อ้าว.. ร้อน.. ร้อนก็อาบน้ำ”

เราก็คิดว่าเราก็ทำได้จริงไหม เราก็ทำได้ แต่ความจริงทำไม่ได้ ทำไม่ได้เพราะอะไร เพราะว่าพระอรหันต์ท่านฝึกจิตท่านจนรู้จริงแล้ว เหมือนผู้ใหญ่น่ะ เวลาหิวก็กิน ผู้ใหญ่หิวก็กินข้าว ร้อนก็อาบน้ำ ทีนี้พอเด็กขึ้นมานี่ มันแบเบาะน่ะ “จิตพัฒนาแล้ว” กับ “จิตไม่พัฒนา” คนไม่เข้าใจตรงนี้ไง

คนเข้าใจว่า ประชาธิปไตย “อ้าว.. เอ็งก็คิดได้ ข้าก็คิดได้” เสียงเดียว เสียงเดียวเท่ากัน แต่เท่ากันจริงหรือเปล่า แต่โดยประชาธิปไตยมันคือ ๑ เสียง เท่ากับ ๑ เสียง แต่เวลาเอ็งดูโหวตในสภาสิ อ้าว.. หัวหน้ามุ้ง เสียงกูคลุมลูก..

ทีนี้พอมัน.. เราไม่เข้าใจตรงวุฒิภาวะของจิต พอเราเด็ก “หิวก็กิน” แล้วเราก็คิดถึงเด็กแบเบาะอีกล่ะ เด็กแบเบาะมันนอนอยู่ในเบาะ ไม่มีใครดูแลมัน ธรรมชาติของมัน มันต้องขับถ่ายใช่ไหม พอหิวขึ้นมา มันหิวขึ้นมา ทีแรกมันก็เอามือล้วงขี้มันกินน่ะ เพราะมันเด็กมันไม่รู้เรื่องหรอก แล้วถ้าเราพูดอย่างนี้ปั๊บ เราก็ว่า “ทำไม่ได้หรอกๆ” แต่ถ้าเด็กไร้เดียงสามันต้องทำของมันโดยธรรมชาติของมัน.. ถ้าหิว หิวก็กินขี้ไง แต่ความคิดมันไม่ได้คิดอย่างนี้ไง

ทีนี้ วันนี้เขามาถามปัญหานี้ เราถึงบอกว่า เขาบอกมันแก้ยาก เราสงสารมากนะ สงสารเพราะอะไร สงสารเพราะว่าเราไปอ่านตำรา เราบอกนี่คือตำราทำกับข้าว นี่คือตำราทำกับข้าวนะ เวลาเราซื้อตำราไปทำกับข้าวใช่ไหม แล้วเราก็ทำ ซื้อตำรามาดู ไอ้นี่ก็ไปดูตำราทำกับข้าวไง แล้วก็คิดว่ากูทำเสร็จแล้วไง ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ทำ เอ็งดูตำรา กับข้าวจะเกิดขึ้นมาได้ไหม (หัวเราะ) เอ็งดูตำราเสร็จแล้ว เองก็ต้องไปหาใช่ไหม หาอะไรมาทำกับข้าว

นี่ก็เหมือนกัน พอพัฒนาจิต พอเอ็งดูตำราแล้ว.. ศีล สมาธิ ปัญญา สติก็ต้องหามา สมาธิก็ต้องหามา พอสติ-สมาธิจะหามาตรงนี้ก็เปลี่ยนแล้ว พัฒนาแล้ว ถ้าทุกอย่างเป็นเรา เราทำอะไรไม่ได้เลย ดูจิตอยู่มันก็ดูเรา แล้วมันไม่เห็นไง ทุกคนบอกว่า “รู้จิตทันจิตน่ะมันรู้ได้ยาก แล้วเบื่อหน่าย ไม่มีเวลา” เราบอกมันน่าสงสารตรงนี้ ตรงที่แบบว่า พอเราจะดูว่า ดูให้เห็น เราดูไม่เป็นนี่ เราดูไม่เป็น เราดูไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเราขาดสติ ถ้าเรามีสติขึ้นมา เราพัฒนาของเราขึ้นมา มันจะรู้ได้ สติเป็นเรา

ยิ่ง ๒ วันนี้เขาเอาอันนั้นมาให้น่ะ เอาหนังสือของ........มาเป็นตั้งเลย

โยม ๑ : ครับ

หลวงพ่อ : เราขีดเอาไว้เลย ผิดตรงไหนๆ แล้วตรงนี้ชัดเจนมาก

“สติจริง-สติจริงสติปลอม” เขาเขียนนะ “มีตัวสติจริง-สติตัวปลอม” เมื่อก่อนบอก “สติไม่ต้องฝึก” เดี๋ยวนี้มีสติจริง-มีสติปลอม เราบอกว่า “สติไม่มีจริงไม่มีปลอมน่ะ สติเป็นสมมุติ สติเป็นสมมุติ สมาธิเป็นสมมุติ ปัญญาเป็นสมมุติ ทุกอย่างเป็นสมมุติหมด”

อย่างที่พูดเมื่อกี้ ตำราทำกับข้าว ทำกับข้าวเราต้องมีภาชนะ เราต้องมีกะทะ เราต้องมีตะหลิว มันต้องมีทุกอย่างพร้อมถึงทำกับข้าวได้.. ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือทำกับข้าว ทีนี้ ไอ้พวกภาชนะทำอาหารนี่เรากินได้ไหม (หัวเราะ) เราต้องกินอาหารใช่ไหม ภาชนะทำอาหารเรากินไม่ได้หรอก ศีล สมาธิ ปัญญา มันก็เป็นเครื่องมือทำอาหาร มันถึงเป็นสมมุติ

เวลาจิตมันรวมตัวไปแล้ว มรรคญาณรวมตัวไปแล้ว มันเหลืออะไร? สิ่งใดที่เหลือมา เหลือสิ่งที่เป็นผลออกมา ถ้ามันติดในปัญญา ติดในสมาธิ ติดใน.. มึงมรรคสามัคคี มันจะรวมตัวได้อย่างไร?

ปัญญานี่สมมุตินะ อ้าว.. ปัญญาไม่สมมุติ มันต้องอยู่กับเราตลอดไปสิ แต่สมมุติ อย่าสมมุติแล้วรังเกียจว่าสมมุติไม่เอา ทิ้งมันไม่ได้นะ สมมุติต้องหา เงินนี่ก็สมมุติ แบงก์นี่สมมุติ เขาสมมุติขึ้นมาเป็นแบงก์ แล้วหาแบงก์ทำไม เราอยากได้แบงก์ไหม? อยากสิ.. เอาไว้ใช้ แล้วมันกระดาษ หาทำไม อ้าว.. ก็มันใช้ได้ เราได้แบงก์มาเพื่อเราจะไปหาแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่เราพอใจ ปัญญาก็เหมือนกัน ปัญญานี่เราแสวงหามา พอมันได้ประโยชน์ขึ้นมาแล้วมันถึงที่สุด มันปล่อยมา

กุปปธรรม-อกุปปธรรม.. กุปปธรรม คือสิ่งที่มันยังแปรสภาพอยู่ แบงก์นี่มันไปแลกเป็นสิ่งของได้ ปัญญาถ้ามันใคร่ครวญอยู่ มันใคร่ครวญมันใช้ปัญญาของมันอยู่ ปัญญา ทั้งปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา มันใคร่ครวญของมัน มันเป็นวิปัสสนาของมัน เวลามันทำลายของมัน แล้วมันเหลืออะไรหลุดออกไป ฉะนั้นต้องทิ้งตรงนี้ไง มันถึงเป็นสมมุติไง

ไอ้นั่นบอกว่า “สติจริง-สติปลอม”

กูว่า “สติอะไรของมึงจริงวะ? แล้วสติปลอมของมึงมันเป็นยังไงวะ?”

(หัวเราะ) เราถึงบอกคนไม่เป็นพูดอะไรก็ผิดหมดนะ.. แปลกฉิบหาย

โยม ๑ : แต่ท่านพระอาจารย์ให้สติเยอะครับว่า “ของจริงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข”

หลวงพ่อ : แน่นอน

โยม ๑ : ไม่มีอีดิต (Edit)

หลวงพ่อ : อันนี้มันเขียนมา พอเราไปดูแล้วมันถึงเห็นไง มันเห็นเพราะอะไรรู้ไหม เพราะเริ่มต้นมันปลอมใช่ไหม พอปลอม ผลของมันต้องปลอม พอผลมันปลอม อันนี้ที่เขาให้มานี่เขาเป็นอริยสัจ เขาเป็นหนังสือของเขา หนังสือที่เขาเทศน์อบรม แล้วโอ้โฮ.. เขาเขียนนะ (อะไรนะ) “ศึกษาจิต จิตเป็นของคู่ให้เป็นหนึ่ง” อะไรของเขาออกมา แล้วเราเอามาอ่าน โอ้โฮ.. มันเห็นเลยนะ เรามาดูเขา อ๋อ.. มันผิดมาหมดล่ะ เพราะมันผิด มันบอกว่า “สิ่งที่.. (อะไรนะ) ธรรมะเป็นธรรมดา ธรรมดาคือธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมชาติคือธรรมะ” เออ เขาว่างั้นนะ

กูบอกนะ งั้น.. (โทษนะ เปรียบเทียบ) อ้าว.. ลูกเราเวลามันโกรธ เด็กๆ ไร้เดียงสา เห็นไหม เวลามันโมโหเราเนาะ กระฟัดกระเฟียด มันดูน่ารักไหม เด็กๆ เนาะ กระฟัดกระเฟียดเลยนะ เวลามันโมโห เห็นไหม เป็นธรรมะไหม? เพราะเป็นธรรมดาของมัน เป็นธรรมชาติของเด็กที่โกรธจริงไหม อ้าว.. เด็กๆ เวลามันโกรธ มันอะไรน่ะ ไอ้พ่อแม่เห็นแล้ว มันยิ่งโกรธ เรายิ่งเห็นว่ามันไร้เดียงสา ก็ยิ่งน่ารักน่ะ

โกรธก็เป็นธรรมชาติ หลงก็เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมชาติอันหนึ่งของหัวใจ

ถ้าพูดถึงธรรมะเป็นธรรมดา โกรธก็ต้องเป็นนิพพาน หลงก็ต้องเป็นนิพพาน อ้าว.. มันเป็นอารมณ์ความรู้สึกอันหนึ่งใช่ไหม มันเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นอันหนึ่ง

เราถึงพูดกับโยมไงว่าธรรมะเหนือธรรมชาติ

โยม ๑ : อันนี้เป็นอะไรที่จับใจครับ

หลวงพ่อ : แล้วเขาพูดกันมาอย่างนี้ “ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมดาก็คือธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือธรรมดา ธรรมะคือธรรมดา” กูบอก โอ้โฮ.. นี่ผิดเว้ย

พระพุทธเจ้าสอนถึง “ปัญญาวิมุตติ” ที่เราใช้ปัญญากัน ใคร่ครวญกัน แต่มันต้องพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา แต่เราใช้ปัญญาใคร่ครวญเพื่อเป็นองค์นำ ปัญญาเป็นองค์นำ แต่มันก็พร้อมด้วยกระบวนการของมันทั้งหมด ถ้ามันไม่พร้อมด้วยกระบวนการของมันทั้งหมด มันเป็นมรรค ๘ ไปไม่ได้ ถ้าเป็น “เจโตวิมุตติ” องค์การนำคือกำลังของใจ คือสมาธิ แต่กระบวนการก็ต้องพร้อมด้วยมรรค ๘

ทั้ง ๒ แนวทางนี้ มันต้องพร้อมไปด้วย มรรค ๘ ทั้งหมด มันจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้

แต่ถ้าเป็นธรรมดา “ธรรมดาเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นธรรมดา” กูบอกว่าธรรมดาวิมุตติไม่มี กูไม่เคยเห็น ธรรมดาวิมุตติไง อยู่ธรรมดาๆ แล้ววิมุตติไป...ไม่มี.. มันต้องมีปัญญาวิมุตติ-เจโตวิมุตติ

พอมันพูดอย่างนั้นผิดปั๊บ แล้วมันก็พูดของมัน แล้วมันตอนท้ายมันตอบปัญหามาเรื่อยๆ พูดถึงขณะจิต เขาบอก “ขณะจิตเป็นอัตโนมัติ” นี่ไง ผลมันออกแล้ว “ขณะจิตเป็นอัตโนมัติ” นี่ไง เราบอกถ้าคนไม่เป็นนะ

ขณะจิตเป็นอัตโนมัติไม่ได้ ถ้าขณะจิตเป็นอัตโนมัติ “มหาสติ” สติที่มันรู้ทันอยู่ตรงไหน เป็นอัตโนมัติคือมันเป็นมันเองใช่ไหม แล้วถ้ามันเป็นไปเอง ของมันเราปล่อยให้เป็นไปเอง มันจะเป็นอะไร? มันก็เป็นผ้าอยู่วันยันค่ำน่ะ อ้าว.. ของนี่ทำเป็นอย่างอื่นไปได้ไหม อ้าว.. พูดถึงมันเป็นอัตโนมัติไง

เราบอกเริ่มต้นกระบวนการมันไม่ถูก แล้วพอมาระดับของปัญญามันก็ไม่ถูก ระดับเวลาจบกระบวนการคือตอบปัญหา ปัญหาที่สิ้นสุดกระบวนการที่จบ ก็จบไม่ถูกอีก แล้วมันผิดมาแต่ต้นนะ เริ่มต้นก็ผิด กลางก็ผิด สุดท้ายที่สุดก็ผิด.. ผิดหมดเลยนะ! เราดู เรา โอ้ย.. ผิดหมดเลยนะ โอ้ย.. เศร้าใจ นี่เห็นชัดเจนเลยนะ

เพราะว่าพอดีเพื่อนลูกศิษย์ ลูกสาวเขามีเพื่อนเยอะ แล้วเพื่อนๆ ลูกสาวเขาก็เป็นลูกศิษย์ไง เขาเห็นว่าแม่เพื่อนชอบธรรมะเขาก็ส่งมาให้ดู เขาอยู่กับเรา เขาเห็นเขารู้อยู่แล้ว เขาบอก “หลวงพ่อลองดูสิ” เอามาแล้วเอามาดู เพราะเมื่อก่อนเราอยากดูอย่างนี้ “อยากดูอย่างนี้” หมายถึงว่า ใน “ทางเอก” มันเป็นข้อเขียน ข้อเขียนเราเป็นคนเขียน เราสามารถจะเขียนด้วยทางวิชาการอย่างไรก็ได้ แต่ขณะที่เราตอบปัญหานี่มันเป็นปฏิภาณ ทีนี้ปฏิภาณมันต้องออกมาจากเราใช่ไหม พอเรามาดูนะ โอ้โฮ.. ชัดๆ เลย ผิดทั้งนั้นเลย แล้วพอดีลูกศิษย์มา ลูกศิษย์เราบอก ตอนนี้เขาเรียกเก็บซีดีคืนแล้วนะ ไปดูในเว็บไซต์สิ

โยม ๑ : ๑ ปีแล้วครับที่ฟังพระอาจารย์ ที่อาจารย์ ที่มานี่ก็ฟังมา หลังจากนั้นไม่เคยฟังอีกเลยครับ

หลวงพ่อ : ไม่เคยฟัง.. แต่ตอนนี้เขาเรียกเก็บแล้ว ทีแรกเขาเรียกเก็บซีดีแผ่นที่ ๑ ถึงแผ่นที่ ๖ ทีแรกเขานึกว่า แผ่นที่ ๑ ถึงแผ่นที่ ๑๖ แต่ลูกศิษย์ของเราที่เขามาฟังเรา เขาบอก “หลวงพ่อ.. ต้องเก็บทุกแผ่น” เพราะมันผิด มันก็ผิดหมด มันจะมีอันไหนถูก...ผิด!

โยม ๑ : คนกลุ่มหนึ่งอยู่กับเขาเยอะมาก

หลวงพ่อ : เยอะมาก.. แต่ถ้าพูดถึงนะ เราพูดอย่างนี้ แล้วถ้าคน.. เราพูดนี่เราไม่ใช่ลบล้างอะไรเนาะ เพียงแต่ว่าให้คนมันเข้าไปในทางที่ถูกเนาะ อะไรผิดอะไรถูกก็พูดไปตามความเป็นจริง เราไม่ได้ลบล้างอะไรเลยนะ แต่เราสงสารตรงนี้ สงสารคนที่เข้าไปแล้วมันเข้าไปติด

โยม ๑ : ก็ในแผ่นล่า(สุด)หรือหลัง ที่พระอาจารย์บอกว่า “ถ้าไปส่งเสริมในทางที่ผิดเราก็บาปด้วย”

หลวงพ่อ : อันนี้แน่นอน อันนี้มันอยู่ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าพูดเองไง ทีนี้คนอื่นมันไม่เห็น มันมีในพระไตรปิฎกนะ สมัยพุทธกาลมันเป็นแว่นแคว้นประเทศมันเล็ก ประชาชนเขาไปดักปลา เขาได้ปลาตะเพียนทองคำมา ทีนี้แว่นแคว้นมันเล็กใช่ไหม คนจนน่ะ ถ้าเอาเข้ามาแล้ว ปกติข่าวมันออกไป สมัยก่อนกษัตริย์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เขาตัดหัวได้หมดล่ะ ถ้าใครทำผิดก็ตัดหัวหมดล่ะ ทีนี้กูเอาของดีขึ้นมา ถ้าไม่บอกกษัตริย์ มันจะมีความเสียหายไง

ก็บอกว่า “ปลาทองคำจะเอาไปไหนไม่ได้ ต้องไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร” ก็เอาไปถวายพระเจ้าพิมพิสารที่ท้องพระโรง ปลาทองคำยังไม่ตายนะ เพราะพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน พอปลาทองคำมันไปถึงท้องพระโรง แล้วมันอ้าปากขึ้นมา โห.. เหม็นเลย เหม็นไปทั่วเลย พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบันยังไม่เข้าใจ บอกว่า “อย่างนี้ต้องไปถามพระพุทธเจ้า” เพราะพระพุทธเจ้านี่รู้ทุกอย่าง ก็ไปถามพระพุทธเจ้า (มันเข้าตรงนี้แล้ว) บอก “นี่เขาเอาปลามาให้ มันเป็นทองคำ เกล็ดเป็นทองคำหมดเลย แล้วเวลาอ้าปาก ปากเหม็นมากเลย”

พระพุทธเจ้าบอกว่า “อดีตชาติ ตอนอดีตชาติสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เขาเป็นพระ พอเป็นพระแล้ว พอไปศึกษาธรรมะแล้ว ทีแรกก็สอนธรรมะพระพุทธเจ้า พอสอนธรรมะพระพุทธเจ้าไปก็คนฟังก็ศรัทธา เชื่อมาก พอเชื่อมาก มันมีลูกศิษย์แล้ว มันก็อยากดังไง ก็เอาความเห็นผิดของตัวเองใส่เข้าไป บวกเข้าไป”

ท่านบอก “เวลาตายไปตกนรกอเวจี แล้วพอพ้นจากนรกอเวจีขึ้นมา มาเกิด จากนรกขึ้นมาๆ พอหมดอายุขัยขึ้นมา เป็นชั้นๆ ขึ้นมาๆ ก็เกิดมาเป็นปลา เป็นสัตว์เดรัจฉาน แล้วเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกล็ดเป็นทองคำ เพราะบวชเป็นพระ ทำประโยชน์กับศาสนา ไอ้ปากเหม็นน่ะ เพราะกล่าวตู่พระพุทธพจน์” ก่อนที่ปากจะเหม็นมันตกนรกอเวจีมาแล้วนะ นี่ไง ในศาสนา นี่อยู่ในพระไตรปิฎก ทีนี้เวลาอยู่ในพระไตรปิฎกมันเป็นเรื่อง เป็นสารคดี เป็นเรื่อง อันนี้ไอ้คนเรามันไม่เข้าใจ มันอ่านแล้ว มันเหมือนตำราทำกับข้าว ทำไม่เป็น

มันอ่านแล้ว “อืม.. ทำได้จริงหรือเปล่าวะ?”

ไอ้เราไปดู “โอ้โฮ.. ไอ้นี่น้ำพริกเว้ย ไอ้นี่อร่อยเว้ย ไอ้นี่ทำดีเว้ย”

เราอ่านตำรานะ แล้วเราใช้คิดตาม โอ้โฮ.. มันซึ้งมากไง เหมือนทำกับข้าวเป็น พอเห็นตำราใหม่ๆ อย่างนี้ “อื้อหืม.. อันนี้เป็นอย่างนี้ ไอ้นี่เป็นอย่างนี้”

นี่สอนให้คนอื่นผิดไง

โยม ๑ : ครับ

หลวงพ่อ : หลวงปู่ตื้อยังไม่ได้เลย.. หลวงปู่ตื้อนี่ขนาดว่าไปบอกลูกศิษย์ พอผิดขึ้นมา ขึ้นไป

บอกเลยว่า “ผมพูดอย่างนั้นผิด”

“โอ้ย.. อาจารย์ คำเดียวมันบอกเมื่อไรก็ได้”

“ไม่ได้!”

“เดี๋ยวท่านบอกต่อไป”

อันนี้อยู่กับหลวงปู่มั่นไง หลวงปู่มั่น ถ้าไม่เป็น ท่านไม่ให้สอนใคร ท่านไม่ให้บอกใคร แล้วเช่น มาหลวงตา เราอยู่กับหลวงตามา หลวงตาท่านอย่างไรก็แล้วแต่ ท่านไม่ให้ใครไปรับแขกแทนท่านเลย เพราะมันไม่เป็น มันไม่รู้ มันจะพูดได้อย่างไร เวลาจะไปหาหลวงตา หลวงตาจะเป็นคนรับแขกเอง ผิดถูกท่านจะวินิจฉัยเอง แล้วถ้าท่านเจ็บท่านป่วย ท่านไม่มีเวลา ท่านบอกให้กลับไปก่อน แล้วถ้ามีเวลาค่อยกลับมาใหม่

ท่านไม่บอกไปให้คนอื่นรับแทน...ไม่มี! ไม่มี!

อย่างนี้ นี่เป็นหมอ ให้รักษาอยู่ เวลาเราไปหา เราจะไปรักษา ไปทำฟันกับหมอ หมอบอกให้ลูกสาวทำให้แทน แล้วทำให้ได้หรือเปล่า? นี่เหมือนกัน ก็มันทำไม่ได้ แล้วไปหามัน แล้วมันทำอะไรได้ล่ะ มันก็ได้แต่ถอนฟันอย่างเดียวนั่นแหละ ถอนๆ ให้หมดเลย อ้าว.. ก็มาหา มากูก็ถอนล่ะ มันไม่เป็นน่ะ

นี่ถ้าพูดถึงปฏิบัติแล้วเราเข้าใจคำนี้แล้วนะ มันจะมีหลักมีเกณฑ์ ทำอะไรมันเป็นหลักเป็นเกณฑ์ เรายอมรับความจริงไง แต่ถ้าเป็นทางโลกน่ะ ทางโลกถ้าเราศึกษาแล้ว เราเรียนแล้ว ก็คือเรารู้.. ไม่ได้หรอก.. เรียนมานะเป็นวิชาการ วิชาการพอเรียนมาแล้ว ประสาเรามันดาบสองคมน่ะ

เรามีเพื่อนนะ เพื่อนเคยเรียนหมอแล้วไม่จบ แล้วมันคุยกันน่ะ กับเพื่อนน่ะ เรียนหมอแล้วไม่จบนะ มันบอกเลย “ห่า.. ลำบากฉิบหายเลย ไอ้บอกไม่รู้เหรอ กูก็เคยเรียนมา ไอ้บอกจะรู้ ก็รู้ไม่หมด” คือมันครึ่งๆ กลางๆ ไง มันครึ่งๆ กลางๆ เห็นไหม ไอ้ไม่รู้ เราก็เรียนพื้นฐานมา ไอ้พอเราจะรู้ให้จริง มันก็เสือกไม่รู้อีก

ถ้าทางวิชาการ มันครึ่งๆ กลางๆ มันทำให้เราละล้าละลัง.. วิชาการเป็นอย่างนั้น

โยม ๑ : พระอาจารย์ครับ ตกลงว่าถ้าสมมุติว่าปฏิบัติธรรมโดยไม่ต้องอ่านตำราเลยนี่ไม่มีปัญหาเลยใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : เรามีความเห็นอย่างนั้นนะ แล้วอุดมคติเราก็เป็นอย่างนั้น เพราะอะไร เพราะตอนที่เราบวชใหม่ๆ น่ะ เราไปในป่า ไปเจอมหาอุดรที่ว่า ๙ ประโยคที่เล่าให้ฟังน่ะ “หงบเว้ย.. มึงต้องเรียนก่อน” คือเขาเองเขาก็ปรารถนาดีไง เขาก็ให้ไปเรียนก่อน เวลาเข้าไปเรียนแล้วเราไม่เอา เพราะในใจเรานี่คิดไปบอกว่า “ความรู้ของเราทั้งหมดมันมาจากประสบการณ์จริงเราหมด” พอมีประสบการณ์จริงแล้ว เราจะไม่มีวุฒิ ไม่มีอะไรเลย

ขนาดเขาจะให้นะ เขาจะให้ ทุกคนเขาจะให้ ตอนเรามาอยู่โพธารามใหม่ๆ เขาจะให้นักธรรมเอกเลย

เขาบอกว่า “ถ้าไม่ให้นักธรรมเอกเรา เขาจะตั้งเราเป็นเจ้าอาวาสไม่ได้”

เราบอก “ตั้งไม่ได้ กูก็ไม่ต้องตั้ง”

คือในทางปกครองเขาจะให้ เหมือนอะไรนะ เหมือนกิตติมศักดิ์น่ะ เขาให้เองเลย เขายัดเยียดให้เลยนะ เราไม่เอา เราบอก “ตั้งอย่างนี้ ตั้งแบบว่ากูไม่มีวุฒินี่ ถ้าตั้งได้ก็ตั้ง ตั้งไม่ได้ก็ไม่ต้องตั้ง”

โยม ๑ : มันเป็นเพราะวาสนาเดิมด้วยหรือเปล่าครับ ที่ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่..

หลวงพ่อ : อันนี้เรายอมรับ แต่ไอ้อย่างนี้เรายอมรับไง แต่การกระทำของเรา เราต้องการกระทำให้เห็นว่าผู้ที่ปฏิบัติน่ะ เพราะว่าในสังคมเขาบอกว่า “ไอ้พระหลับหูหลับตา มันจะเอาปัญญามาจากไหน” ส่วนใหญ่โลกคิดกันอย่างนั้นไงว่า “พระนี่หลับหูหลับตา แล้วมันจะเอาปัญญามาจากไหน”

ดูสิ หลวงปู่หล้า เมืองลาว เห็นไหม ไม่เรียนหนังสือ เขียนหนังสือไม่เป็นนะ หลับตาอยู่นี่ มันขึ้นหมดเลยน่ะ จนอ่านในนั้นนะ อ่านในสมาธินะ สุดท้ายแล้วท่องปาติโมกข์ได้ เขียนหนังสือได้ เราจะพิสูจน์ไง เราจะพิสูจน์ว่าให้สังคมเห็นว่า.. เพราะอย่างที่เราพูดให้ฟังน่ะ

ดร. ........... มาหาเราน่ะ “พระอย่างนี้ฝึกยังไง” เพราะลูกศิษย์มาบวชอยู่กับเราใช่ไหม แล้วเขามาคุยกับเราหลายรอบ พอหลายรอบ ติดใจมาก เพราะอะไร การกีฬาแห่งประเทศไทยของประเทศไทยนี่ เพื่อสร้างบุคคลากรให้เข้มแข็งใช่ไหม ทีนี้ความเข้มแข็งทางร่างกายกับความเข้มแข็งทางจิตใจไง พอเขามาเห็นเรา เขาก็อยากจะได้พระอย่างนี้เพื่ออบรมสังคมไง

เขาบอก “พระอย่างนี้ต้องเรียนปริยัติก่อนค่อยปฏิบัติ หรือปฏิบัติก่อนค่อยเรียนปริยัติ”

บอก “ไม่ใช่ กูปฏิบัติของกูเอง”

เรามีความคิดอย่างนั้น แล้วเวลาเราคิด อย่างเช่น ในวงกรรมฐาน ถ้าวงกรรมฐาน วงในนะ เขาคิดกันอย่างนี้ แล้วอย่างนี้แล้วทำได้จริงด้วย อย่างเช่น หลวงปู่ฝั้นน่ะ หลวงปู่ฝั้นบอกเลยนะ “ปริยัติเราเรียนแล้ว พวกเรา พวกพระที่บวชน่ะเรียนทุกคนเลย เพราะว่าอุปัชฌาย์บอก เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ กรรมฐาน ๕ ปฏิโลม อนุโลม คือย้อนหน้าย้อนหลัง ทั้งพิจารณาไปและพิจารณากลับ”

เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี่ปริยัติ นี่ตัวที่ทำให้เราทะลุให้ได้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ถ้าจิตมันสงบ จิตมันพิจารณาได้นะ มันพิจารณาของมัน มันเป็นไตรลักษณ์เป็นธรรมนะ มันปล่อยได้ มันถอนได้

อันนี้พูดถึงตำราทั้งหมด มันก็ชี้เข้ามาตรงนี้ ตำราที่เราไปเรียนทั้งหมดน่ะ มันก็ชี้เข้ามาที่นี่ ตำราทำกับข้าวมันก็ชี้เข้ามาทำกับข้าวนั่นน่ะ มันไม่ไปที่ไหนหรอก ทีนี้พอเราไปเรียนตำรากับข้าวเข้าไปแล้ว โอ้โฮ.. ติดเลยนะ “กูรู้มาก กูเป็นกุ๊กใหญ่ กูเป็นคนทำกับข้าวเก่ง” แหม.. ทำกับข้าว ทอดไข่ยังไม่เป็นเลย เวลาจะทอดไข่ต้องมาถามกูเลย “เอ.. ไข่นี่มันทอดยังไง”

“ก็ไหนว่ามึงเป็นเชฟใหญ่วะ ไอ้ห่า”

แต่เราไม่.. เราทำ.. เรามีความคิดอย่างนั้น แล้วเรามีความคิดอย่างนั้น มันก็เหมือนกับประสาเรา “สายเลือด” สายเลือดเราเกิดจากกรรมฐาน พอเราเกิดจากกรรมฐานนี่เราจะเอาตรงนี้เป็นตัวหลัก แล้วมันประสาเราด้วย เหมือนอย่างที่โยมพูดน่ะ มีส่วนมาก หมายถึงว่ามันสร้างมา อย่างนี้มันก็เป็นธรรมดา

แล้วอย่างครูบาอาจารย์ อย่างเช่น หลวงปู่ลีอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ท่านก็สร้างของท่านมาเหมือนกัน ถ้าไม่สร้างมาเป็นพระอรหันต์ได้ยังไง

โยม ๑ : ภูผาแดง

หลวงพ่อ : ใช่.. หลวงปู่ลี ผาแดง

ดูอย่างเช่น อาจารย์สิงห์ทองอย่างนี้ หลวงตาท่านพูดเลย เพราะอาจารย์สิงห์ทองท่านไปคุยกับหลวงตาแล้ว หลวงตาบอกให้อาจารย์สิงห์ทองเทศน์ให้ฟัง ท่านไม่ยอมเทศน์เลย อาจารย์สิงห์ทองไม่เคยเทศน์ ไม่เคยพูดธรรมะให้หลวงตาฟังเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าท่านถือว่า “อาจารย์ไง”

ความเคารพบูชามันก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่หลวงตาท่านก็อยากจะแบบดูปฏิภาณลูกศิษย์ เพื่อให้เป็นบุคคลากรไปข้างหน้าไง แต่ท่านไม่เคยเทศน์เลยนะ เพราะหลวงตาพูดเองว่า “อาจารย์สิงห์ทองไม่เคยเทศน์ให้เราฟังเลย” คือไม่เคยพูดธรรมะให้ฟัง.. ไม่ยอม ทั้งๆ ที่เวลาถ้าพูดเรื่องอื่นเก่งไง ถ้าพูดเรื่องทางโลก อาจารย์สิงห์ทองนี่..

โยม ๑ : คุยเล่นกับพระอาจารย์ตลอด

หลวงพ่อ : ใช่.. ตลกมาก

แต่เวลาธรรมะ หลวงตาพูดเอง เวลาให้พูดธรรมะ...ไม่.. มันเหมือนกับการเคารพไง มันเหมือนกับเราเคารพบูชาไง อย่างโยมนี่เจออาจารย์ เราจะพูดทางวิชาการ มันก็กระทบอาจารย์เราใช่ไหม ถ้าพูดถึงเราเคารพนอบน้อมนะ เรื่องเราคิดถึงเรา เรามีความ.. แต่เราจะไปคุยอวดทางวิชาการกับอาจารย์เรานี่เรากล้าไหม นี่ใจของคนที่มีคุณธรรมมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

นี่ถึงว่าการทำมา การปฏิบัติมา มันอยู่ที่เขาหากันไป

โยม ๑ : พระอาจารย์ครับ ปัญหาขอกราบเรียนหน่อยครับ

คือผมสงสัย เรื่องท่านพระโมคคัลลานะ

หลวงพ่อ : ว่าไป

โยม ๑ : พระโมคคัลลานะ ท่านมาตุฆาตใช่ไหมพระอาจารย์ แล้วท่านตัดนิพพานหรือว่าอีกพระพุทธเจ้าหนึ่ง

หลวงพ่อ : ไม่...ใช่.. ใช่..

โยม ๑ : คือผมไม่เข้าใจตรงนี้

หลวงพ่อ : ถ้าสมมุติชาตินี้นะ ชาตินี้ฆ่าพ่อฆ่าแม่ นี่อนันตริยกรรม.. อนันตริยกรรมปิดกั้นมรรคผล

อชาตศัตรูไง อชาตศัตรู พระพุทธเจ้าเสียดายมากเลย อชาตศัตรูนี่มีวาสนา อชาตศัตรูนะ ถ้าไม่ได้ฆ่าพ่อ อย่างน้อยโสดาบัน สกิทาคา อนาคาได้เลย เพราะศรัทธาพระพุทธเจ้ามาก พระพุทธเจ้าจะตายนี่นะ อำมาตย์รู้เลย บอกไม่ได้ ถ้าบอกว่าพระพุทธเจ้าตาย อชาตศัตรูช๊อกตายเด็ดขาด เคารพรักขนาดนั้นน่ะ คนที่รักขนาดนี้ มันต้องมีบุญมีกรรมมาต่อกัน ฉะนั้น ถึงเวลาจะบอก นัดกันเลยนะ เอาเรือขุดที่ว่า เรือขุดมาเลย มันผสมสมุนไพรไง เวลาสลบแล้ว ช๊อกแล้วเอาลงเลย ช๊อก.. เข้าไปรายงาน เตรียมทหาร เตรียมไว้พร้อมเลย ไอ้พวกสมุนไพร แล้วอำมาตย์เข้าไปรายงานว่าพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว.. ช๊อก พอช๊อกก็ลงแช่ ฟื้นมาช๊อก เอาลง.. แช่.. ฟื้นมาช๊อก เอาลง.. แช่.. ฟื้นถึง ๗ หนน่ะ ค่อยฟื้นขึ้นมาได้

โอ้โฮ.. รักพระพุทธเจ้ามากนะ เคารพมากเลย พระพุทธเจ้าบอก “เสียดายมาก” เสียดายที่ว่าได้ฆ่าพระเจ้าพิมพิสาร อนันตริยกรรมคือว่าฆ่าพ่อ ฆ่าพ่อชิงราชบัลลังก์โดยการยุแหย่ของเทวทัต ทั้งๆ ที่ใจไม่อยากทำ

เพราะตอนที่เทวทัตไปหลอกนะ บอก “ให้ฆ่าพ่อ”

“ฆ่าทำไม พ่อต้องให้อยู่แล้ว”

“รู้ได้ไงว่าพ่อจะให้ เกิดถ้าเราตายก่อนล่ะ ตายก่อนพ่อ ก็อดน่ะสิ”

ยุเรื่อยๆ ยุจนวางแผนฆ่าพ่อ นี่ถ้าไม่ได้ฆ่าพ่อ ไม่อนันตริยกรรม อย่างน้อยเลย โสดาบัน สกิทา ถึงอนาคา นี่พระพุทธเจ้าพูดเอง ทีนี้พอฆ่า เห็นไหม ปฏิบัติขนาดไหนก็ไม่ได้อะไร อนันตริยกรรม

แต่พระโมคคัลลานะไม่เป็นอย่างนั้น พระโมคคัลลานะ.. ตอนที่เราสร้าง อย่างพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเคยเป็นพระโพธิสัตว์มา สร้างบุญญาธิการมาเยอะ ต้องสร้างมาเรื่อย ทีนี้พระโมคคัลลานะก็เหมือนกัน ก็สร้างมาๆ แต่ชาติหนึ่งแม่ตาบอด แล้วเหลือลูกชายคนเดียว แม่ก็อยากให้ลูกมีครอบครัว อ้อนวอนให้พระโมคคัลลานะมีครอบครัวนะ พระโมคคัลลานะไม่เอา ไม่เอาเมีย ไม่เอา อยากจะอุปัฏฐากแม่ เพราะรักแม่มาก แม่อ้อนวอนขนาดไหน แม่อ้อนวอนแล้วอ้อนวอนอีก ตกลงก็ตามใจแม่ แม่ก็ไปหาภรรยามาให้ หาภรรยามาให้ หามาเอง แม่หามาเอง

พอหามาแล้ว เมียก็ต้องอุปัฏฐากแม่ไง ก็ไปได้เมียขี้เกียจน่ะ ก็เอาข้าวโรยบ้าง ว่าแม่ตาบอด แม่ทำอะไรนี่เป็นภาระไปหมดเลยน่ะ.. เป่าหูทุกวัน.. เป่าหูทุกวัน.. จนสุดท้ายนะ ใจมันก็โอนเอน ผู้ชายน่ะ ผู้ชายโดนเป่าหูทุกวันน่ะ โอนเอนๆ น่ะ

ตัดสินใจว่าบอกแม่ว่าเอาแม่ไปเยี่ยมญาติไง พอไปน่ะ ไปกลางป่า ตัวเองก็บอกโจรปล้นๆ ก็ทิ้งรถลงไป ปลอมตัวไปเป็นโจร เพราะแม่ตาบอด ไปเอาไม้มาทุบแม่ไง เพราะโจรมันปล้น พอทุบแม่ แม่บอก “ลูกหนีไป ลูกหนีไป โจรปล้นแม่” แม่ก็ยังรักลูกอยู่น่ะ ไอ้คำว่า “ลูกหนีไป” มันสะเทือนใจไง ก็บอก “เฮ้ย.. โจรถอย โจรถอย” เข้ามาอีกที กลับมาดูแลแม่ แล้วเอาแม่กลับ โดนทุบช้ำแล้ว มาระหว่างทางก็ตาย กลับมานี่ตกนรกอเวจี แล้วเศษของกรรม เศษของกรรม มันคนละภพคนละชาติไง

เศษของกรรม อย่างเช่น อนันตริยกรรม เราทำอย่างนี้ขึ้นมา มรรค ผลเราไม่ได้ แต่ถ้าพอเราทำดีที่สุด เราไปเกิดที่ดีได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วอันนี้มันจะฝังใจ คำว่า “เกิดที่ดี” เวลาทำไม่ดีจะเกิดตรงนั้นก่อน

อนันตริยกรรมมันปิดกั้นภพชาตินี้ อนันตริยกรรม ภพชาตินี้ ประสาเราว่า เราทำบาปหรือเราทำผิดไว้มหาศาลเลยน่ะ แล้วพอมันได้ต้องโทษแล้ว โดนโทษนั้นเสร็จแล้วมันก็พลิกมาดีได้น่ะ

โยม ๑ : ถ้ากลับมาเกิดทันอีกก็สามารถจะบรรลุได้

หลวงพ่อ : คนละชาติ

โยม ๑ : คนละชาติ

หลวงพ่อ : ใช่.. คนละชาติ

โยม ๑ : อย่างนี้ก็ไปหมด

หลวงพ่อ : แต่ชาตินั้นไม่ได้

โยม ๑ : ครับ.. ต้องอีกชาติ

หลวงพ่อ : ทีนี้ ของพระโมคคัลลานะนี่มันหลายชาติ มันไม่ได้ชาติเดียว มันยาวไกล เพราะมันต้องลงอเวจีไปแล้ว แล้วขึ้นมา

โยม ๑ : พระพุทธเจ้าคนละองค์

หลวงพ่อ : ไม่มีต้นไม่มีปลายน่ะ จิตไม่มีต้นไม่มีปลาย

เราพูดเรื่องนี้ นี่เดี๋ยวฟังอันใหม่น่ะ เมื่อวานซืนพูดตรงนี้ พอจิต เวลามันเกิดตายอย่างไร เราพูดถึงการดูกาย แล้วถ้าจิตมันเกิดตายนี่ นาย ก. นาย ก. ตายไป มาเกิดเป็น นาย ข. นาย ก. ทำความดีไว้มากเลย มาเกิดเป็นนาย ข. นาย ข. ได้ร่ำรวยมหาศาลเลย โอ้โฮ.. นาย ข. นี่เกิดมาดีมากเลย

นาย ก. ทำบาปไว้มาก ทำกรรมเวรไว้มากเลย พอเกิดเป็นนาย ข. ทุกข์จนเข็ญใจหมดเลย แล้วนาย ข. บอกว่า “ทำไมกูต้องมาเป็นอย่างนี้วะ?” เพราะอะไร เพราะจิตนาย ก. นาย ก. คือนาย ก. แต่จิตของนาย ก. จิตของเราคือเรา เราทำไปแล้ว เราตายไป ร่างกายนี่ทิ้งไปไปเกิดเป็นนาย ข. แต่จิตตัวนี้ยังเป็นนาย ก. อยู่ใช่ไหม พอมาเกิดเป็นนาย ข. ก็จิตนาย ก. มาเกิดเป็นนาย ข. นาย ก. มันก็เป็นสมุฏฐานของจิตอีกชั้นหนึ่ง เพราะนาย ข. เป็นเปลือกที่สูงขึ้นมา เหมือนเราเรียงอิฐขึ้นมา ทีนี้พอเกิดเป็นนาย ข. ผลอันนั้นขึ้นมา นาย ข. จะรับรู้ไม่รับรู้ก็แล้วแต่ แต่กรรมเก่ามันมาอย่างนี้

ตอนนี้เราจะพูดถึงไอ้นี่ไง พูดถึงพันธุกรรมทางจิต เวลาพูดถึงพันธุกรรมทางจิต จิตมันกลับมาอย่างนี้ปั๊บ พอเราพูดไปน่ะ โยมเขาบอกเขาคิดเลยนะ “ถ้ามันเป็นพันธุกรรม ก็แก้ไม่ได้สิวะ” เขาว่างั้นนะ (หัวเราะ)

เราอธิบาย พันธุกรรม คือพื้นฐาน คือสมุฏฐานของมัน แต่ในปัจจุบันนี้ ถ้ามันถึงปัจจุบัน แก้ปัจจุบันที่ปัจจุบันนี้แล้ว ถ้าเป็นปัจจุบันแล้ว ปัจจุบันนี้มาจากไหน? มาจากอดีต ถ้าปัจจุบันนี้แก้ไม่ได้ มันไปอนาคต ถ้าปัจจุบันนี้จบ ก็ลงที่ปัจจุบันนี้แล้ว สมุฏฐานนั้น เพราะอดีตมันจะส่งให้ปัจจุบันแก้ได้ง่ายหรือแก้ได้ยาก ปัจจุบันนี้มันอ่อนไหว ปัจจุบันนี่มันแข็งกระด้างขนาดไหน มันก็เหมือนวุฒิภาวะของจิตนี่ คือแก้ได้ มันแก้ที่ปัจจุบันนี่

อันนี้เพียงแต่ปัจจุบันของคนมันไม่เหมือนกัน อย่างคน ถ้ามันน้อย อย่างเราจะเติมน้ำ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เรามีแค่ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ เราต้องเติมอีก ๗๕ แต่บางคนน่ะมี ๕๐ เปอร์เซ็นต์ บางคนมี ๗๕ เปอร์เซ็นต์ เขาเติมแค่ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ เขาเต็มแล้ว อันนี้มันแข่งกันไม่ได้ไง อันนี้เราแข่งกันไม่ได้ เราถึงไม่ต้องมาแข่งกัน มันแข่งกันไม่ได้หรอก เพราะอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่เราทำมา จิตเรานี่ทำมาเอง

นาย ก. ทำมาแต่ชาติที่แล้ว ตอนนี้มาเป็นนาย ข. กันอยู่นี่ แล้วนาย ข. จะไปร้องไห้เสียใจอะไร ก็นาย ข. ก็เราทำมาเป็นอย่างนี้

จะรีบไปไหม?

ถ้ารีบไป มาเลย

ทำไมวันนี้จะรีบไปล่ะ?

ธรรมดาไล่ยังไงก็ไม่ยอมไปน่ะ

วันนี้จะรีบไป

โยม ๒ : ไปหาญาติผู้ใหญ่

หลวงพ่อ : น่าน.. สงกรานต์.. มา

แล้วไอ้ ๒ คนนู้นล่ะ? เฝ้าบ้าน?

บังคับให้มันเฝ้าหรือมันเฝ้าเอง

โยม ๒ : เฝ้าเอง

หลวงพ่อ : มันเฝ้าเองเนาะ

นี่เขามาหลายที

โยม ๒ : ลูกชายไปเที่ยว

หลวงพ่อ : เวลาเขามากันทีเป็นครอบครัว ลูก ๓ มาทีหนึ่ง ๕ คน วันนี้มา ๓ หายไป ๒

อายุ วัณโน สุขัง พลัง เนาะ

โยม ๒ : ครับ

หลวงพ่อ : เอาล่ะ

เราน่ะ ติดพันกันอยู่ ส่วนใหญ่ที่มาที่นี่มันก็แบบว่าคนคุ้นเคยหมดน่ะ คนไม่คุ้นเคยเขาก็ไม่ค่อยได้มา ทีนี้เวลามาก็เก้ๆ กังๆ ไม่ค่อยกล้า

เอ้อ.. ไปได้

โยม ๑ : ผมมาทีไรก็อิ่มทุกครั้งน่ะครับ

หลวงพ่อ : มัน.. อย่างนี้ เวลาถามเนี่ย ถ้าพูดถึง ถ้าเราไม่มีหลักนะ งงเลยน่ะ

อ้าว.. อนันตริยกรรม มันฆ่าพ่อฆ่าแม่แล้วมันเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ แล้วทำไมท่านเป็นพระอรหันต์ล่ะ โธ่.. ไม่ใช่เป็นธรรมดานะ เวลาเราพูดอย่างนี้ เราพูดถึงสังคมสงฆ์เลย

สังคมสงฆ์ เห็นไหม เวลาพระพุทธเจ้าตั้งพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย-เบื้องขวา สงฆ์เขาบอก “พระพุทธเจ้าลำเอียง ทำไมไม่ตั้งพระอัญญาโกณฑัญญะ เพราะเป็นสงฆ์องค์แรกใช่ไหม” ทำไมไม่ตั้งพี่ใหญ่ ทำไมไปตั้งเกือบท้ายแถวนั่นน่ะ

พระพุทธเจ้าบอก “ไม่ใช่.. ตั้งตามเนื้อผ้า ตั้งตามของเขา”

(โทษนะ) เขาใส่เสื้อขาวมา ก็บอกใครใส่เสื้อขาว ผิดตรงไหน? ไอ้นี่ใส่เสื้อเทามาก็บอกใส่เสื้อเทา อ้าว.. ผิดตรงไหนล่ะ? คือเขาสร้างของเขามาไง คือตั้งตามเนื้อผ้า คือพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เขาปรารถนาเป็นพระอัครสาวก พอปรารถนาเป็นอัครสาวกแล้ว เขาก็สร้างบุญของเขามา สร้างของเขามา แต่ถ้าเราปรารถนาเป็นสาวกก็สร้างต่างหาก ปรารถนาเป็นพุทธมารดาอย่างนี้ เขาก็ต้องสร้างของเขามา ปรารถนาเป็นพุทธมารดา ต้องปรารถนานะ เพราะมีคนเดียว

พอเขาปรารถนา เขาก็สร้างบุญของเขามา ทีนี้พอมาปั๊บ ถึงเวลาปั๊บ เขาก็มาตำแหน่งเขา ประสาเราพระพุทธเจ้ามีสิทธิอะไร? พระพุทธเจ้าต้องตั้งตามนั้นใช่ไหม เขามาเอาตำแหน่งของเขาน่ะ แต่พระไม่เข้าใจไง ว่าพระพุทธเจ้าลำเอียง

โอ๋.. เราไปอ่านของอะไร ที่พวกนักวิจารณ์เขาเขียน เขาเขียนถึงสมัยพุทธกาล ว่าเขาไปเข้าใจผิดไง เข้าใจว่าพระอานนท์โดนกีดกัน โดนรังแก พอพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว สงฆ์ก็ปรับอาบัติพระอานนท์ ๒ ข้อ

ข้อ ๑. คือไม่นิมนต์พระพุทธเจ้าไว้

ข้อที่ ๒. คือเวลาตากผ้า ผ้าอาบพระพุทธเจ้า แล้วเหยียบ โดยที่เขามาไม่เห็นน่ะ

ทางพระอานนท์เขาเคารพพระพุทธเจ้ามาก แต่คนทำงานอยู่ มันวางของไว้ มันรีบทำงานน่ะ แบบไม่ได้ตั้งใจ ทีนี้พระ พอเห็นเขาก็เก็บไว้ในใจ พอพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว สงฆ์ประชุมกัน ปรับโทษอาบัติ ๒ ข้อ

พระอานนท์ เวลาท่ามกลางสงฆ์น่ะ บอก “ข้าพเจ้าไม่ผิด เพราะข้าพเจ้าไม่มีเจตนาทำผิดเลย ข้าพเจ้าไม่มีเจตนา ข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งใจ ข้าพเจ้าไม่ตั้งใจทำสิ่งใดๆ เลย แต่เพื่อความสงบสุขของคณะสงฆ์ ข้าพเจ้ายอมปลงอาบัติ ข้าพเจ้าจะปลงอาบัติ”

เพราะที่ไม่นิมนต์พระพุทธเจ้าไว้

โธ่.. พระอานนท์ร้องไห้ พอพระพุทธเจ้านิพพานน่ะ ร้องไห้เลย เพราะไปเกาะประตูร้องไห้อยู่ คิดดูสิ คนอยู่กันมาตั้ง ๒๕ ปี แล้วรักมาก ผู้ใหญ่ที่เราเคารพบูชาที่รักมาก ๒๕ ปี กำลังจะตาย เราจะเสียใจไหม

ไปเกาะประตูร้องไห้อยู่ พระพุทธเจ้าถาม “ภิกษุทั้งหลาย.. อานนท์อยู่ไหน?”

“อานนท์ไปเกาะกลอนประตูร้องไห้อยู่พระเจ้าข้า”

“ภิกษุทั้งหลายไปตามอานนท์มา.. ไปตามอานนท์มา..”

“อานนท์.. เราบอกเธอแล้วไม่ใช่หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา แม้แต่ตถาคตเกิดมาแล้วก็จะตายในคืนนี้ เธอจะเสียใจไปทำไม เธอได้ทำบุญกุศลไว้มากแล้ว ต่อไป เรานิพพานไป อีก ๓ เดือนข้างหน้า เขาจะมีสังคายนา เธอจะเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา” ท่านพยากรณ์ไว้หมดเลย

เพราะพอพระพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร ตัวเองยังอ้อนวอนให้อยู่

“อานนท์.. ช้าไปแล้ว เราเคยทำเป็นนิมิตหมายบอกเธอถึง ๑๖ หน เธอไม่นิมนต์เราเอง”

มารดลใจไง มารดลใจ แล้วนี่ไปปรับอาบัติเพราะไม่ได้นิมนต์ไง ทั้งๆ ที่ตัวเองก็อยากให้อยู่ ก็อยากนิมนต์ คืออยากทำน่ะ แต่วุฒิภาวะของคนมันตามเขาไม่ทันไง เด็ก-ผู้ใหญ่ไง ทีนี้มันไม่ได้ตั้งใจทำผิดใช่ไหม คนเราไม่เป็น มันทำอะไร มันก็ผิดเป็นธรรมดา แต่พอทำผิดไปแล้ว เหมือนกับให้ตำแหน่งอุปัฏฐาก พออุปัฏฐากไม่พอใจ ปรับอาบัติกูอีก (หัวเราะ)

โยม ๑ : พระอาจารย์ครับ ถ้าอย่างนั้น อาบัติอะไรครับที่ปรับ?

หลวงพ่อ : อะไร?

โยม ๑ : ที่ท่านพระอาจารย์บอกโดน..

หลวงพ่อ : เหยียบผ้าอาบ

โยม ๑ : เหยียบผ้าเป็นอาบัติอะไรครับ?

หลวงพ่อ : อาบัติทุกกฎไง

โยม ๑ : ทุกกฎ

หลวงพ่อ : ไอ้นี่เวลาตากไว้น่ะ เมื่อก่อนพระ เวลาเราตากผ้าเหมือนกัน ใครมาเห็นเราตากผ้า งงนะมึง เราตากกับพื้นนี่

โยม ๑ : เหมือนอินเดีย

หลวงพ่อ : เราอยู่ในป่าไง เมื่อก่อนเราธุดงค์ เวลาอยู่ในป่า มันจะเป็นลานหินหมด แล้วเวลาหินมันโดนแสง มันรับแสง มันโดนความร้อนน่ะ เวลามันยังร้อนอยู่ เอาผ้าวาง เดี๋ยวเดียวก็แห้ง เพราะเราเที่ยวป่ามา เราตากผ้านี่เราปูพื้นเลย

แล้วนี่ลูกศิษย์มันรับไม่ได้ เวลาลูกศิษย์มันมา มันชอบเก็บให้ เลยบอก “เฮ้ย.. กูวางไว้เอง” มันนึกว่าเราลืม เราทิ้งไว้ไง.. พวกรุ่นใหม่เขาต้องตากบนราวใช่ไหม เขาต้องทำให้เรียบร้อย ไปวางกับพื้น เขาบอกเขานึกว่าเราทิ้ง เฮ้ย.. ไม่ใช่หรอก นี่คือเทคนิคกู

โยม ๑ : การจะฟังในธรรมพระอาจารย์ พระอาจารย์ธุดงค์อยู่ในป่า ธุดงค์อยู่กี่ปีครับผม

หลวงพ่อ : ธุดงค์ ไม่ได้ธุดงค์ตลอด แต่ธุดงค์อยู่หลายปี ตั้งแต่ปีแรก ปี ๑ พรรษาแรกเลย ออกพรรษา เราออกปิล๊อกเลย เข้าพม่า

โยม ๑ : ปิล๊อก

หลวงพ่อ : ออกมา เข้าพม่าไปเลย ทีนี้มันไปไม่ได้ ไปติดชายแดนนั่นน่ะ ไปวนอยู่นั่นน่ะ เพราะเราไม่ได้พรรษา เราไม่กล้าเข้าไป เราไปกับพระองค์หนึ่ง ทีนี้พระองค์หนึ่ง พอไปแล้ว เขาคนพื้นที่ เขาไปบวชแล้วไปเจอพระที่เขาเคยค้าขายชายแดนไง เขาเข้าได้ไง เราไปกับเขา สุดท้ายแล้วเขาไม่จริง เราก็เลยแยกกัน พอแยกกันแล้วเราก็เที่ยวบริเวณนั้นน่ะ แล้วก็ออกมา

ออกมาจำพรรษาทีหนึ่ง เราออกมาแล้ว เราไปสกลฯ เลย ขึ้นไปเหนือ ไปงานหลวงปู่ฝั้น ไปเจอพระเป็นพันเลยอย่างนี้ “แล้วกูจะปฏิบัติยังไงวะ” ก็ยังกลับมาอีก สุดท้ายพอกลับมามันไม่มีใครสอน ก็วนเข้าไปอีก วนไปนี่ไปเจอหลวงปู่จวนแล้ว เพราะมันกำลังทุกข์ พอเจออาจารย์จวน พออาจารย์จวนเครื่องบินตก วิ่งเข้าบ้านตาดเลย พุ่งเข้าบ้านตาดเลย

ทุกข์มากนะ ทุกข์ตอนเวลาจิตเสื่อมน่ะ พรรษาแรกเนสัชชิกไม่นอนเลย แล้วพอจิตมันเสื่อมนี่มันหมดเลย แบกบริขารน่ะ ถุงบาตรมันเป็นผ้า เห็นไหม แล้วมันทับ แล้วเดินไปมันหนักน่ะ มันเสียดสีน่ะ เลือดซิบๆ เลยนะ ปีนเขาไปนี่ไปเรื่อย คิดถึงตอนนั้นแล้วมันสะเทือนใจนะ มันแบบว่า ประสาเรานะ แบบว่า “คนไม่มีทางไป” ไม่มีทางไปเลย ถอยก็ไม่ได้ เพราะไม่ยอมถอย ข้างหน้าก็ไปไม่ได้ ไปไม่ถูก ไม่มีใครสอน

พูดถึงตอนนั้น ความรู้สึกนะ ท้อใจมากนะ เหมือนคนมืดแปดด้าน ถอยก็ถอยไม่ได้ ไอ้ไปข้างหน้าหรือ ไปถามใคร แหม.. ก็ตอบไปไหนมา สามวาสองศอก

อาจารย์ๆ ที่โยมพูดถึงเราไปครบมาหมดแล้วล่ะ เรารู้หมดน่ะ เหมือนเราถามปัญหามา มันตอบอะไรกูก็ไม่รู้ กูฟังไม่รู้เรื่องเลย ถอยก็ถอยไม่ได้ ไปข้างหน้าก็ไม่มีใครสอน ไปข้างหน้าก็ไปไม่ได้ แล้วจิตมันก็เสื่อมถอยหมดนะ โอ้โฮ.. แบกบริขารไป ทุกข์ฉิบหายเลย

ทีนี้พอไปถึงอีสาน ก็ไปเรื่อย สะเปะสะปะไปประสาพระธุดงค์นะ ไปเจอเพื่อนไง ไปเจอคนรู้จัก เขาพูดคำนี้ขึ้นมา เราถึงนึกถึงคุณเขาเลยล่ะ “ถ้ามึงมาภาคอีสานนะ มึงไม่เข้าไปภูทอก-ภูวัวนะ มึงก็ไม่เคยมาอีสาน” มันก็ให้เราสะเปะสะปะเข้าไปนู่นไง ไม่งั้นก็ไม่ได้ไปหรอก ตอนนั้นไปอยู่ที่สว่างฯ สมัยนั้นน่ะ อยู่ที่สว่างฯ วัดหลวงปู่บุญ แล้วไปเจอเขา เรามาจากภาคกลาง เราก็พูดอีสานไม่ค่อยได้ ก็ไปอย่างนี้ เขาก็บอกว่า “ถ้าเอ็งมาอีสานนะ เอ็งไม่ได้ไปภูทอก-ภูวัว เหมือนกับเอ็งมาไม่ถึงอีสานไง”

ใจมันไม่ดีอยู่แล้ว ก็ไปประสาเขาว่าว่าเรามาไม่ถึงอีสาน กูขอให้มันถึงหน่อยวะ สะเปะสะปะเข้าไป พอไปถึงที่นั่นน่ะ พอท่านเทศน์คืนนั้นน่ะ พอเทศน์คืนนั้น ประสาเราน่ะ จิตมันว่างหมด คือมันไปหน้าก็ไปไม่ได้ ถอยก็ถอยไม่ได้ ไปไหนก็ไปไม่ได้ แล้วก็บอกว่าไม่มีอวิชชา คือเราไม่มีอวิชชา คือมันปล่อยหมดไง นี่อะไรนี่ ไปถามใครก็ไปไม่ได้

พอเจอท่าน ท่านใส่เอาเลยนะ “ถ้าเราคุมจิตของเราได้ เราคุมจิตของเราได้ อวิชชาอย่างหยาบมันสงบตัวลง อวิชชาอย่างกลางท่านยังไม่เห็นมัน อวิชชาอย่างละเอียดในหัวใจท่านยังอีกเยอะแยะเลย” คือว่ามันเหมือนมีทางไป เห็นไหม คือมันจะไปข้างหน้ามันก็ไปไม่ได้ เพราะมันหลอกตัวเองไง

ตอนนั้นน่ะ จริงๆ เราถือหนังสือ...... เราถึงพูดกับโยมไง “ไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู คือกู” เพราะอะไร เพราะเราปฏิบัติเราถึงรู้ไง เพราะตอนนั้นอ่านหนังสือนี่แหละ อ่านหนังสือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องอวิชชา ถ้าอวิชชาดับคือพระอรหันต์ เขาเขียนอย่างนั้นว่า “อวิชชาไม่มี นี่คือพระอรหันต์”

แล้วเราก็คิดว่าอวิชชากูดับหมดแล้ว เพราะมันไม่มี

“ไม่มี” จะไปหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังก็ถอยไม่ได้ ไปไหนก็ไปไม่ได้ แต่กูก็ไม่รู้จะไปไหนน่ะ นี่อวิชชาอย่างหยาบๆ ไง คือถ้ามันฟุ้งซ่าน มันอยากจะสึก มันจะอยากจะอะไร มันก็ว่าไปอย่างนะ ไอ้นี่จะสึกก็ไม่อยากจะสึกนะ ไม่อยากอะไรทั้งนั้นน่ะ แต่ไปไหนก็ไปไม่รู้ ไปไม่ถูก แล้วไปถามอาจารย์น่ะ ถามองค์ไหนนะ (โทษนะ) แหม.. ก็ตอบไม่.. ตอบไปไหนมา.. ถามอย่าง แหม.. ตอบอย่าง ปวดหัวฉิบหาย

นี่เรื่องจริงนะ ประสบการณ์ชีวิตนะ

โยม ๑ : พระอาจารย์ถึงสอนลูกศิษย์ได้ตรงประเด็น ถูกจริต

หลวงพ่อ : ก็เรา.. ประสาเราเป็นมาอย่างนี้ อย่างที่หลวงตาท่านพูดน่ะ ท่านก็พูดอย่างนี้ ท่านบอกว่าสมัยท่านไปปฏิบัติใหม่ ท่านก็นักแสวงหาอาจารย์ เห็นไหม ก็อยากหาคนของจริง อยากหาคนบอก

ก็เราเนาะ “จูงกูทีสิ มึงพากูไปทีสิ”

แล้วพอบอกว่า “พาไปทีสิ”

“มึงมาสิ”

“ก็บอกกูสิ”

แล้วพอให้มา ให้กูโดดข้ามไปเหรอ? ไม่บอกวิธี ไม่บอกอะไรเลย

พอไปเจออาจารย์จวนท่านใส่พั๊วะๆ.. “อ๋อ.. เอ้อ.. อย่างนี้สิวะ”

ก็อยู่ที่นั่นเลย ลุยเลย ได้ขั้นหนึ่ง

เครื่องบินตก “โอ้โฮ.. ตายอีกแล้ว” เพราะเคยทุกข์มาแล้วรอบหนึ่งไง กูจะไม่ทุกข์รอบ ๒ อีกแล้วล่ะ กูเข้าบ้านตาด กูต้องเข้าบ้านตาด หักหัวเข้าบ้านตาดเลย ปีเครื่องบินตกนั่นล่ะ ตกปี (พ.ศ.) ๒๕๒๓ มั้ง ทำอะไรเรียบร้อยเสร็จก็ไป ปี(พ.ศ.) ๒๕๒๔.. ๒๕๒๓ นั่นเราก็เข้าบ้านตาดเลย

โยม ๓ : อวิชชาหยาบหมดนี่ได้อะไร?

หลวงพ่อ : ไม่ได้อะไรเลย

โยม ๓ : อ๋อ.. ไม่มีเลย

หลวงพ่อ : ถ้ามีเราจะหลงได้อย่างไร เราจะทุกข์ทำไม

โยม ๑ : ปรัชญา พระอาจารย์.. เป็นปรัชญา

หลวงพ่อ : เป็นปรัชญา ใช่.. เพราะอวิชชาอย่างหยาบ.. อวิชชาคือความฟุ้งซ่านไง คืออย่างพวกเรานี่ถ้ามันมีความคิดฟุ้งซ่าน มันมีอะไรในใจ มันก็คืออวิชชาหยาบๆ ทีนี้ไอ้ความฟุ้งซ่าน ไอ้ความคิดที่เราจะคิดไปทางโลก เราจะคิดไปเพื่อตัวตนเรานี่มันไม่มี แต่เราก็ไปไหนไม่ได้ คือความคิดเรานี่แหละ

เวลาเราพูด.. เมื่อ ๒ วันนี้มันมีมา ตอนนี้มีเยอะมาก นี่เป็นหรือเปล่าไม่รู้ล่ะ พอเราพูดอย่างนี้ปั๊บ อย่างที่โยมพูดว่า “พูดแล้วมันกินใจ” เขาก็มาหาเราเลยนะ.. เครียด! ทุกข์มาก ทุกคนทุกข์เพราะความคิดนะ ความฟุ้งซ่านนี่ทำให้เราทุกข์น่ะ ความคิดเรานี่แหละทำลายเรา เราถึงบอกความคิด คิดลบ ทำลายเรา คิดบวก ส่งเสริมเรา ความคิดเรานี่ทำลายเรา

ทีนี้พอถ้าเรามีสติปัญญาทันความคิดเรามันก็ปล่อยหมด นี่อวิชชาอย่างหยาบๆ คือจริงๆ เรารู้กระบวนการ เราควบคุมกระบวนการความคิดนี่ได้ เราบริหารจัดการมันได้ แต่ไปไหนไม่ถูกน่ะ แล้วให้เราไปอย่างไรน่ะ แต่ความคิดนี่นะ เราทันมันได้ เราหยุดได้ ความสงบทำให้มันหยุดได้

แล้วพอ เห็นไหม เดี๋ยวนี้ที่มาน่ะ “ว่างๆ ว่างๆ”

โยม ๔ : มันมีหลายแบบเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ : เดี๋ยวนี้ใครมาก็ “ว่างๆ ว่างๆ”

มึงจะว่างอะไรของมึง.. ไอ้ห่า!

คือเราเป็นมาหมดแล้วไง

๑. เราเป็นมาหมดแล้ว พอเราเป็นแล้ว ก็เมื่อก่อนเราปฏิบัติใหม่ ก็เป็นเหมือนพวกโยมปฏิบัติใหม่นี่แหละ แล้วเราก็อ่านตามตำรา แล้วเราก็ทำตามตำรานั้น แล้วเราก็ไปไหนไม่รอด

แล้วพอเราพูดนี่ถูกหมดน่ะ แต่เขาจะเชื่อ.. วุฒิภาวะของเขา เขาจะได้-ไม่ได้

อย่างพวกอภิธรรมที่มาหาเรา บางคน ๔๐ ปีนะ ปฏิบัติมาตั้งแต่.. บางคนนะอายุ ๗-๘ ขวบนะ ปฏิบัติมาจนอายุ ๔๐-๕๐ บางคนอายุ ๗๐-๘๐ ก็มี แล้วมาถามเรา เราพูดไปมันก็เหมือนกับเราขัดขากันเองไง เหมือนศาสนาพุทธนี่แบบว่าชี้จุดบกพร่องกันเอง มันก็ไม่สมควร

เราถึงถามว่า “โยมปฏิบัติเพื่ออะไร? ถ้าโยมปฏิบัติเพื่อว่าได้ปฏิบัติธรรมก็ถือว่าถูกแล้ว”

บอก “ไม่ใช่.. ปฏิบัติเพื่อจะพ้นทุกข์”

“ถ้าพ้นทุกข์ นี่ต้องเริ่มต้นใหม่ นี่ผิดหมดเลย”

ผิดเพราะอะไร? ผิดเพราะมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ผิดเพราะเป็นความเห็นผิด คนเรานี่มันตั้งเป้าหมายไว้ผิด มันจะไปถูกไม่ได้หรอก ดูสิ เราจะเลี้ยงร็อตไวเลอร์น่ะ แล้วเขาไปเอาหมาไทยมาให้ ไปเอาไอ้พันธุ์ทางมาให้ มันจะเป็นร็อตไวเลอร์ได้ยังไง? ตั้งต้น เป้าหมายเรา ร็อตไวเลอร์ใช่ไหม เป้าหมายเราตั้งไว้แล้ว แต่เราเดินผิด มันผิด

เป้าหมาย นี่ไง ปฏิบัติไง “ปัญญาเลย” ปัญญาอย่างที่ว่า.. เพราะเราเข้าใจกระบวนการของคนสอนนะว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ถ้าศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ก็ต้องใช้ปัญญาไปเลย

เราเปรียบกับพวกโยม เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือผ่าตัด เวลาเขาจะใช้สอย เขาต้องอบเพื่อฆ่าเชื้อ ถ้าเครื่องมือเราติดเชื้อแล้ว เชื้อเป็นเชื้อที่รุนแรงด้วย เอาไปผ่าตัดนะ แทนที่เราจะรักษาเขานะ พอผ่าตัดติดเชื้อนะ มึงแย่กว่าเก่าอีก.. กระบวนการความคิดของเรา ทั้งหมดนี่มันคิดโดยกิเลส มันมีเชื้อโรคเราบวก

กระบวนการความคิดที่เราคิด.. เครื่องมือทำอาหาร ที่บอกเครื่องมือทำอาหาร มีตำราอาหาร เครื่องมือทำอาหารพวกอุปกรณ์ทำอาหารมันมีสารพิษ ไปทำอาหาร อาหารนั้นก็ต้องมีสารพิษไปด้วย กระบวนการคิดของเรานี่มันมีอวิชชา เพราะคิดจากเรา เราเกิดมาจากอวิชชา มันต้องมีสารพิษโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว แล้วเอากระบวนการความคิด บอกว่า “ใช้ปัญญาเลย ปัญญาเลย” ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาที่เป็นวิปัสสนาสายตรง มันจะเป็นไปได้อย่างไร โดยข้อเท็จจริงมันเป็นไปไม่ได้ แต่มันไม่มีใครชี้ ไม่มีใครพูดอย่างนี้ให้ใครฟังไง

แล้วพอกระบวนการ ถ้าเป็นหมอ เขาไม่กล้าใช้หรอก ที่เครื่องมือผ่าตัดที่มันยังไม่ได้ฆ่าเชื้อ เขาไม่กล้าใช้หรอก แต่ทางปฏิบัติเขาใช้กัน “ใช้ปัญญาไปเลย ใช้ปัญญาไปเลย” มันก็คือเครื่องมือที่มันมีเชื้อ แล้วมันรักษาแล้วมันจะหายขึ้นมา มันจะเป็นไปได้อย่างไร ฉะนั้น พอเขาปฏิบัติไป อืม.. ปฏิบัติไปเถอะ นี่ที่เราบอกว่า “มิจฉาทิฐิ” ที่ว่าปฏิบัติโดยมิจฉาทิฐิไง

แล้วพอปฏิบัติไปนะ “สบาย ๆ ว่างๆ” ลมพัดมานี่ก็สบายๆ ลมพัดมาสบาย.. มันจะเป็นไปได้อย่างไง ไอ้บ้าเอ้ย! มันก็เป็นสามัญสำนึกที่เรารู้ๆ กันได้ แต่ความจริงมันเป็นไปไม่ได้ ถึงได้บอกว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด เริ่มต้นผิด ต้นคด “ต้นคดปลายตรง.. ไม่มี”

ถ้าจะต้นตรงนี่นะ เอาเครื่องมือนี้มาฆ่าเชื้อก่อน

เอาความคิด เอากระบวนการความคิดเราน่ะ มาทำให้ฆ่าเชื้อมันก่อน ทำให้หายฟุ้งซ่านก่อน

นี่พูดเมื่อกี้อย่างที่ว่า “หายฟุ้งซ่าน” ฟุ้งซ่านยังมีพิษอยู่เพราะอะไร ฟุ้งซ่านอยู่เพราะอะไร เพราะการฟุ้งซ่านมันปล่อยวางได้ด้วยสามัญสำนึกของมนุษย์ไง ความคิดนี่มันหยุดได้ ลมพัดมามันต้องหยุดได้ แดดออก พระอาทิตย์ขึ้นต้องตก ความคิดมีแล้วต้องดับ โดยธรรมชาติของมัน แต่ถ้าเรามีสติควบคุมมัน อย่างนี้ ดูสิ เรามีแผงโซลาเซลล์ไปกางเลย แล้วเก็บพลังงานเหล่านี้ เรามีพลังงานใช้แล้ว ถ้าเอ็งไม่มีโซลาเซลล์นะ แดดออกก็ออกไปสิ พอพระอาทิตย์ตกแล้ว “โอ๊ย.. กูก็ไม่มีอะไรเลย”

เอ็งมีสติตามความคิดไป.. เอ็งมีสติตามความคิดไป.. มีปัญญาตามความคิดไป.. พลังงานจะเกิดจากใจเรานี่ไง นี่ฆ่าเชื้อ เพราะมีพลังงานแล้ว เราได้พลังงานมาแล้ว นี่เครื่องมือเราสะอาดแล้ว เพราะถ้าเราคิดตามธรรมชาติของมัน นั่นคือพลังงานที่บวกกับกิเลสเรา แต่ถ้าพอเรามีแผงโซลาเซลล์ พลังงานเกิดจากใจเรา พลังงานเราฆ่าเชื้อแล้ว สมาธิเกิดแล้ว

ทีนี้เขา พอพูดอย่างนี้ปั๊บ พอจะมาทำสมาธิ จะมาทำสมถะ เขาบอกว่า “เสียเวลา” ไอ้ห่า.. ถ้าอบเครื่องมือเสียเวลาก็ต้องเสียเว้ย ถ้าเราจะอบเครื่องมือไม่เสียเวลาเลยนี่ มึงจะเอาเครื่องมือติดเชื้อไปใช้งานเลย มันเรื่องของมึงแล้ว

เขาพูดของเขา ประสาเขาว่าเป็นประโยชน์ของเขา แต่ถ้าเราดูแล้ว เราก็สงสาร เพราะเวลาเราพูดไป เขาจะเคลมว่า “เหมือนกันหมด” ทุกที เขาจะเคลมว่า “เหมือนกัน”

แต่ของเราว่า “ไม่เหมือน” เราจะไม่ยอมรับว่ามันเหมือน

โยม ๑ : แต่คนเขาก็ชอบทางโน้น เพราะมันสบาย

หลวงพ่อ : แต่กรรมฐานเราสอนอย่างนี้ “มักง่ายจะได้ยาก คนมุมานะบากบั่นจะได้ดี” เราอยู่อีสานเป็นอย่างนี้ อีสานเราโดนเต็มที่เลย พออีสานเราไปใหม่ๆ ใช่มะ เพราะมันประสาเรา เราไปใหม่ๆ ใช่ไหม

“นู่นเราก็ไม่เอา นี่ก็ไม่เอานะ”

โอ้โฮ.. ไปเจอเพื่อนเขาบอกเลย “ไอ้พวกมักง่าย” โอ้โฮ.. หงายหลังตึงเลย

เราคิดผิดนะ เราคิดว่า “เราสมถะ” เราสมถะ เราเรียบง่าย ทีนี้กิเลสมันก็เอาตรงนี้เป็นทางออกใช่ไหม อะไรก็จะเรียบง่ายๆ ไง เรียบง่ายจนไม่ดูแลบริขารของตัวนี่ พอเขาบอกว่า “ไอ้นี่มันมักง่าย” โอ้.. เราช๊อกเลยนะ ตั้งแต่นั้นมา เราต้องดูแล พอการดูแลขึ้นไป เห็นไหม นี่ผู้ที่วิริยะอุตสาหะ จะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร

ไอ้อย่างที่ว่า “อยากสะดวกสบาย” นั่นเป็นกิเลสทั้งนั้นเลย

“มักง่ายจะได้ยาก”

เหมือนลูกหลานเรา ถ้ามันเรียน เอาไปเรียน มันอยากเรียนที่ไหน เรียนจนหัวแทบระเบิดเลย แต่มึงต้องเรียนเพื่อเอาวิชาชีพมา.. ถ้ารักมากเลย อยากให้สะดวกสบาย มึงไม่ต้องเรียนน่ะ เดี๋ยวกูหาเงินให้ใช้เอง.. ได้อย่างไร? เหมือนกัน แต่ไม่มีคนพูดให้เขาฟังเอง โธ่.. ยิ่งลัดสั้นๆ

โธ่.. เพราะลัดสั้นน่ะ เราศึกษามาเอง เราศึกษามาพวกมหายาน หลวงตาท่านก็ศึกษาของท่าน ท่านบอกเลย พวกนี้พวกปัญญาวิมุตติ แล้วปัญญาวิมุตติ เวลาทำน่ะ มันวิกฤตเหมือนกันน่ะ เพราะเวลาเขาปฏิบัติเขาไม่ปฏิบัติอย่างนี้ อย่างที่ว่า เณร เห็นไหม อาจารย์บอกเลย.. อาจารย์.. เณรมันขั้นอนาคานะ เณรมันก็ให้อาจารย์.. อาจารย์มันก็จับมือลงมาเลย ฟันทิ้งฉับเลย ถ้าเป็นเราโกรธตายห่าเลย แต่ทีนี้พอมันฉับก็ขาด พออาจารย์เอาขึ้น จิตนี้หนึ่งเดียวไง พระอรหันต์ เณรก็.. ไม่มีนิ้ว คือว่าพอมันฟันปุ๊บ มันสว่างโพลงข้างในน่ะ

โธ่.. ในมหายานนะ เขาไปถาม “เวทนายังไง” เวลาไปถามอาจารย์ว่า “เวทนาคืออะไร?” เพราะมันสงสัยใช่ไหม อาจารย์นี่ผลักออกไปใช่ไหม ทีนี้เมืองจีน ประตูวัดมันสูง ขามันก็ขัดอยู่ใช่ไหม เขาก็เอาประตูนี่ปิด ผลัวะ! เลย ขาหักเลยน่ะ ผลัวะ! ขาหัก ถึงรู้ว่าเวทนาไง.. ก็ไปถามเวทนา เวทนา เล่นทีเดียวขาหักเลย

โธ่.. ไปอ่านนะ แล้ววิเคราะห์ดู โอ้โฮ.. เข้าใจผิดหมดเลยนะ

แต่เวลาเขาพูด เขาพูดอย่างนั้น “นิพพานอยู่ในขี้” เขาพูดแบบพวกหลักครูบาอาจารย์ เขาถอนอุปาทานไง มันเป็นโวหาร มันเป็นคำพูด แต่วิธีการปฏิบัติ เขาลงทุนลงแรงกันมากนะ

ทีนี้พอไปง่ายๆ.. “ดู.. ดู..” ธรรมดาวิมุตติกูไม่เคยเห็น กูไม่เคยเจอธรรมดาวิมุตติ กูไม่เคยเจอ มันเป็นคำพูด พอพูดแล้วคนก็เชื่อ แล้วคนก็ติด แล้วคนก็อยากได้ เพียงแต่ว่ามันพูดให้คนอยากปฏิบัติ เราเห็นดีเห็นงามด้วย คือดึงคนเข้ามาสนใจ พอสนใจ เพราะทุกคนกลัวทั้งนั้นน่ะ อย่างปฏิบัติ แล้วทุกคนเลย กลัวปฏิบัติแล้ว กลัวเจอผี กลัวจะลำบาก กลัวจะอะไร

แต่ถ้าเอามาปฏิบัตินะ..

โยม ๓ : หลวงพ่อเจ้าคะ.. เมื่อกี้หลวงพ่อบอกว่า “ก. กับ ข.” นะเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๓ : สมมุติว่า ก. มาดี มาเกิดในครอบครัวดี

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม ๓ : เจ้าค่ะ..

หลวงพ่อ : ว่าไป

โยม ๓ : แล้วอะไรจะเป็นสิ่งที่มาดลใจให้เขาเข้ามาหาธรรมะล่ะเจ้าค่ะ? บางคนทำไมมาดี แต่ไม่เอาเลย บางคนมา..

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๓ : .. ไม่ค่อยดีเลย แต่ก็อยากได้ธรรมะเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ : นี่คิดผิด คุณหญิง..... เขาไปขอหลวงปู่ขาว.. ......... ที่เสียไปน่ะ

โยม ๑ : ………..

หลวงพ่อ : เขาไปขอหลวงปู่ขาวไง บอกว่า “ชาติหน้า” เห็นไหม ขณะที่เขาปฏิบัติเขาเป็นคุณหญิงนะ ท่านผู้หญิงด้วย แล้วชีวิตเขาสุขสบายอยู่แล้ว แต่เขารู้เลยว่าเขาเข้าไปติดกับ เพราะเขาออกปฏิบัติไม่ได้จริง เขาไปขอพรจากหลวงปู่ขาวว่า “ชาติหน้าขอให้เกิดเป็นเด็กผู้ชาย แล้วเกิดอยู่ชายป่า อยู่กลางชายป่า ชายเขา เกิดอยู่กลางทุ่งไง”

พวกชาวนา เห็นไหม ครูบาอาจารย์เราส่วนใหญ่ก็ลูกชาวนา คนจนทั้งนั้นเลย เพราะพวกนี้ เพราะครอบครัวเขาจะให้บวชไง นี่ไง ถึงบอกว่า “เกิดเป็นลูกคนจนแล้วทำไมเขาใฝ่...” คำว่า “ที่เขาใฝ่น่ะ” บุญของเขาแล้วนะ ถ้าไม่ใช่บุญของเขา มาบวชก็สึก.. เรานี่จับลูกไปบวชเลย พอกลับบ้านมันก็สึกตามหลังมาแล้ว มันสึกนี่มันสิทธิของเราไง ถ้ากูไม่อยู่แล้ว กูสึกก็สึกทีเดียวเลย

โยม ๑ : ถึงตรงนี้ ขอถามนิดหนึ่ง ตรงส่วนใหญ่แล้วถ้าคนเสื่อมนี่พระอาจารย์ ส่วนใหญ่เขาสึกกันหมดแล้ว

หลวงพ่อ : แน่นอน เราเข้าใจ

โยม ๑ : พระอาจารย์ยังสู้นะครับ

หลวงพ่อ : นี่ทีนี้พูดถึงถ้านาย ก. เขาสร้างมาดีแล้ว เขาต้องฝักใฝ่เลย คำว่า “ดี” มันมีดีได้ตั้งหลายอย่าง คำว่า “ดี” ของเรานี่นะ คือดีก็ทำดี ทำดีของเขาน่ะ เขาสร้างบุญกุศล เขาเสียสละ เขาทำบุญของเขา ทำบุญนี่ก็ดีของเขา พอเขาเสียสละ เป็นบุญของเขา เวลาเขาเกิด เขาเสียสละตรงนี้ นี่สิทธิของเขาแล้ว เขาไปเกิดเขาจะรับตรงนี้ เขาเรียก “อามิส” ไง

ทำบุญอย่างนี้ ทำบุญคือได้บุญตอบสนอง

เวลาเรา.. เวลาวิทยาศาสตร์เขาบอก “นี่เขามาให้นะ เขาเสีย เพราะเขาเป็นคนให้ เขาไม่ได้อะไรเลย” แต่ความจริงเขาได้หมดแล้ว เพราะนี่คือวัตถุ แต่นี่มันจะมาได้เพราะเจตนาที่เราอยากบริจาคใช่ไหม มันก็ฝังกับใจเราไป แล้วเจตนานี้มันเกิดขึ้นมา มันเป็นทิพย์ มันอยู่กับใจ พอไปมันก็ไปข้างหน้า ถ้าเราเสียสละจนเป็นความเคยชิน พอเราไปเกิดเป็นนาย ข. ทำกินก็สมบูรณ์ ทำกินเกิดวิกฤตคนก็มาช่วย เรามีปัญหาขึ้นมา คนนั้นจะพอดีเลย คนนี้จะ.. จังหวะมันจะมาจัดให้เสร็จหมดล่ะ

นี่พูดถึงบุญไง บุญที่เห็นชัดๆ

แต่ถ้าบุญที่เขาว่าอยากจะใฝ่น่ะ มันบุญอีกชั้นหนึ่ง

พระพุทธเจ้าบอกพระอานนท์เลย “อานนท์เธอบอกพวกคฤหัสถ์เขานะ อย่าบูชาเราด้วยอามิสนี้เลย ให้บูชาด้วยการปฏิบัติบูชา” เพราะการปฏิบัติบูชา คือการฝึกความรู้สึก ฝึกจิตเราเลย พอฝึกอันนี้ไว้ พอมันได้ฝึกไว้แล้ว มันลงที่นี่แล้ว

แล้วพอไป.. บุญมันมี.. อู้หู.. หลวงตาบอก “ห้างสรรพสินค้า มันมีหลากหลายไม่ใช่ทำบุญแล้วมันจะ..” นี่คิดพวกนี้ เราจะบอกเลย พวกนี้มีกรอบวิทยาศาสตร์อยู่ในหัว พอคิดอะไรก็คิดตายตัวไง

โยม ๓ : คือคิดไปถึงอีกช็อตหนึ่งเจ้าค่ะว่าทำยังไงลูกถึงจะเข้ามาปฏิบัติ

หลวงพ่อ : อยู่ที่ใจเขาไง

โยม ๓ : เพราะเขาได้เข้ามาศาสนาตั้งแต่เด็ก แต่ว่าเขายังไม่เริ่มปฏิบัติ

หลวงพ่อ : ไม่เริ่มปฏิบัติเพราะอะไร เพราะมัน.. เนอะ.. นั่งแล้วก็ปวด นั่งแล้วก็ทุกข์ ใครจะไปทุกข์วะ? ทุกข์ก็ไม่เอา เราก็บอกว่าเราพูดไง นี่เขามานั่งกัน เขาปวด เขาทุกข์น่ะ ไอ้คำว่า “ปวด” ว่า “ทุกข์” มันเป็นอาการเฉยๆ เวลาจิตมันปล่อยวางแล้ว ปวด-ทุกข์มันไม่มีหรอก แต่กระบวนการของปวด ปวดหรือไม่ปวดมันก็ต้องผ่านไป ไม่ใช่ผ่านไปแล้ว ปวดจะอยู่กับเราตลอดไป

อย่างเช่น เราปุถุชน เวลาปวด เวลาทุกข์ขึ้นมานี่เราก็เดือดร้อนนะ แต่เวลาหลวงตาบัวเวลาท่านปวดนะ “เข่าเว้ย.. เอ็งจะปวดเอ็งก็ปวดไปนะ ข้าจะเทศน์” (หัวเราะ) ท่านว่านะ คนละเรื่องนะ “ปวดเอ็งก็ปวดไปเถอะ ข้าจะเทศน์”

ปวดไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ปวด ถ้าเป็นพระ ถ้ากระบวนการเราจบแล้ว ถ้าเราทำกระบวนการของเราได้ เราผ่านขั้นตอนการปวดไปแล้วนะ พวกเราจะมีความสุขมากเลย คือมันจะมีอะไรขึ้นมา นี่เรารู้ทันหมดน่ะ มีอะไรมาก็เออ.. ก็เป็นสัจจะความจริงอย่างนี้ ใจเราจะมั่นคง มีแต่ความสุขมากนะ

ไอ้นี่เวลาปวด โอ้โฮ.. มันจะวิ่งไปหาหมอ โอย.. ตายเลย เพราะปวดเป็นเราเหมือนกัน อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ว่าปวดเป็นเรา แต่ถ้าเป็นอริยบุคคลนะ ปวดไม่ใช่เรา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕.. ขันธ์ ๕ ก็เวทนาไง ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ แต่มันอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ใช่ของเรา เวทนาปวด ปวดมันมีกับเรา แต่ไม่ใช่ของเรา แต่ตอนนี้ปวดเป็นเราหมดเลย

นี่พูดถึง ถ้าเราจะเริ่มภาวนา เราจะเห็นคุณค่าของมันไง ทรัพย์-อริยทรัยพ์

เมื่อวานพูดถึง เขาถามปัญญานี่เหมือนกัน ถามถึงปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าวัด เราบอกว่าพ่อแม่ มันมี.. ในพระไตรปิฎกก็มี อย่างแม่พระสารีบุตร พระสารีบุตรกว่าจะเอาแม่ได้ เห็นไหม แล้วดูอนาถบิณฑิกเศรษฐีเอาลูก จ้างลูกเข้าวัด จ้างเข้ามาก่อน พอได้เงินทุกวัน เอาทุกวันเลย พอได้ทุกวันเลย ทีนี้เอาแล้ว “มาแล้วต้องให้ได้ธรรมะวันละข้อ” พอวันละข้อ มันต้องคิด ต้องจำ พอมันต้องคิด ต้องจำ ใจมันบริหารงานแล้ว พอมันคิด มันจำปั๊บ มันจะเอารางวัลให้เยอะขึ้น พอคิด พอจำมาได้เป็นประโยคปั๊บ พอปิ๊ง! พระโสดาบันเลย ตั้งแต่วันนั้นไม่เอาสตางค์ สตางค์ไม่เอา ไปหาพ่อ ไม่เอาสตางค์

“พ่อ บอกมาเอาสตางค์” อายพ่อเลย

เวลามันเป็นขึ้นมาแล้ว เห็นไหม

ทีนี้ กรณีอย่างนี้มันอยู่ที่ดุลยพินิจ อยู่ที่ความฝักใฝ่ ไอ้พวกนี้มัน.. ประสาเรา ถ้าตอนนี้นะ ธรรมดาของโลกนะ โลกมันก็ต้องคิดมีครอบครัวเป็นธรรมดา แต่พอมีครอบครัวไปแล้วนะ พอเป็นอย่างนี้ปั๊บนะ ก็จะมาคิดเสียดายทีหลัง มันเป็นไปตามวัย แต่วัยอย่างนี้คิดเลย “อยากจะปฏิบัติมาก”

ลูกศิษย์มา คิดอย่างนี้มากเลย

เราบอก “คนมาวัดนี่มีบุญมากเลย”

“หลวงพ่อ.. ผมมีบุญ ทำไมผมพลาดไปมีลูกอย่างนี้ล่ะ?”

“อ้าว.. ก็นั่นมันกรรมน่ะ ถึงเวลาเอ็งคิด เอ็งสติเอ็งยับยั้งไม่พอไง”

แล้วพอจะมาปฏิบัติแล้วนี่ก็ลูก ต้องดูแลรักษา ไอ้นี่ต่อไปมันก็จะไปคิดอย่างนั้นน่ะ นี่กิเลสมันบังไว้อย่างนี้ กาลเวลามันจะบังเราไว้ โดยธรรมชาติ พวกเราก็ต้องมีครอบครัวเป็นธรรมดา พอมีครอบครัวไปแล้ว พอไปเจอปัญหาขึ้นมาแล้ว.. แหม.. ไปเสียดายทีหลังอีกแล้ว

อันนี้ พวกนี้เราผ่านมาแล้ว ก็อยากจะบอกเขา แต่เขาก็อยากทดสอบเอง มันเป็นไปตาม.. นี่ไง ธรรมะเป็นธรรมดา นี่เป็นพระอรหันต์หมดแล้ว เพราะมันเป็นธรรมดาของเขา เพราะเขายังไม่ได้สัมผัส เขาก็อยากลอง ไอ้เรามันผ่านมาแล้ว ก็อยากจะบอกเขา นี่พ่อแม่ลูก ตรงนี้ กลับบ้านก็เถียงกันนะ ไอ้นี่พูดไปอย่าง ไอ้พวกนั้นคิดไปอีกอย่าง เถียงกันแน่ๆ เลย

ฉะนั้น เวลาลูกศิษย์เรา บางทีมันมีครอบครัวหนึ่งเขาพาลูกมา นานๆ มาวัดทีหนึ่ง เขาพยายามจะให้ลูกประเคนอาหาร ลูก.. “ทำไมต้องกูคนเดียววะ ทำไมไม่ให้พ่อแม่.. ” มีปัญหาแล้ว เราเข้าไปหา เขาจะเริ่มเสียงดังแล้ว เขาจะกลับบ้าน ลูก “กลับบ้านๆๆๆ” เราบอก “เฮ้ย.. มึงกลับไม่ได้แล้ว มึงต้องอยู่นี่ก่อน เพราะถ้ามึงกลับไปแล้ว มึงไม่มีกรรมการ”

อ้าว.. แล้วคุยกันเลย พ่อแม่เขามีความปรารถนา อยากจะให้ลูกได้ประเคน ได้บุญเยอะๆ ไอ้ลูกก็แบบว่าทำไมพ่อแม่ไม่ช่วยกันทำ เพราะพ่อแม่เขาคิดว่าไม่เป็นไร เราบอกเลย มุมมองมันต่างกัน มุมมองของพ่อแม่ พ่อแม่ไปทำอยู่แล้ว ก็อยากให้ลูกได้ ไอ้ลูกก็บอกว่าพ่อแม่ก็ทำบ้าง คือว่าเขาประเคนอยู่ แต่เขาไม่ต้องเขาคนเดียว มันเหมือนกับเราโตแล้วน่ะ แล้วพอเข้าไปทำน่ะ กูอายเว้ย กูอยากเป็นอิสระเว้ย

เราจะบอกว่ามุมมองมันหลากหลาย เราปรับจน เออ.. เข้าใจกันหมด อย่างนั้นกลับได้แล้ว ไม่งั้นกลับไปบ้านทะเลาะกัน ๒ ฝ่าย คือมันคนละมุมมอง แล้วปะทะกัน แต่พอเวลาแล้ว เราจูนเลย มุมมองผู้ใหญ่เป็นอย่างนี้ มุมมองของเด็กเป็นอย่างนี้ คือไม่มีอะไรเสียหายเลย ต่างคนต่างหวังดี พอเข้าใจปั๊บ กลับบ้านได้ แต่ถ้าไม่มีกรรมการนะ มันพูดกันไม่เข้าใจหรอก เราเข้าใจตรงนี้ แต่พวกโยมไม่เข้าใจ ประสบการณ์ชีวิตเขามีน่ะ เขามอง มุมมอง ประสบการณ์ชีวิตยังน้อยมาก ทุกคนเก่งหมดน่ะ แต่พอไปประสบการณ์ชีวิตนะ เดี๋ยวจะงงเลยน่ะ เดี๋ยว..

โธ่.. โลกนะ โลกข้างนอกนี่ ขนาดเราเอง เราไม่ไปยุ่งกับเขา เขายังมายุ่งกับเราเลย เดี๋ยวคนนู้นก็มา เดี๋ยวคนนี้ก็มาอย่างนี้ เราไม่อยากยุ่งกับเขา เขายังมายุ่งกับเรา เรื่องของโลก อันนี้มัน.. เราเกิดมาในวัฏฏะเป็นอย่างนี้

อาทิตฯ(อาทิตตปริยายสูตร) ไง “ตาเป็นของร้อน รูปเป็นของร้อน โทสัคคินา โมหัคคินา” นี่ก็เหมือนกัน “โลกเป็นของร้อน” ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะโทสะ ร้อนเพราะโมหะ “โทสัคคินา โมหัคคินา” ไฟราคะ ไฟโมหะ มันเผาตลอดเวลา มันเป็นของร้อน แล้วอะไรเป็นที่พึ่ง

โธ่.. ลูกศิษย์มานะ สงสารพวกมึงฉิบหายเลย เขาทำงาน เขาเครียดมากเลย กูบอกแก้ได้อย่างเดียว คือธรรมะ นี่เหมือนกัน อยู่ในนี้ “ธรรมะแก้เครียด”.. ธรรมะเท่านั้นแก้เครียด แก้ความทุกข์ แก้ทุกอย่างเลย แล้วพอทุกข์ขึ้นมานะ ก็อยากจะหาอะไรไปแก้ ไปหาวัตถุ ไปหาสิ่งของมาแก้...ไม่มีทาง! ไม่มีทาง! เพราะมันไม่ใช่ธรรมะโอสถ ไม่ใช่ยาแก้โรคนี้.. ไม่มี! โรคกิเลสแก้อย่างเดียว คือธรรมะ แก้โรคกิเลสอย่างเดียว.. อย่างอื่นแก้กิเลสไม่ได้ วัตถุแก้กิเลสไม่ได้! สรรพสิ่งแก้กิเลสไม่ได้! ไม่ได้! ธรรมะอย่างเดียว!

ทีนี้พอธรรมะอย่างเดียว พวกเราก็มองพระไง พระที่ไม่ดีๆ เราก็มองข้ามกันไป มันสำคัญตรงนี้ สำคัญตรงผู้สื่อธรรม ไอ้คนสื่อธรรมมันไม่สามารถสื่อให้เราเข้าใจได้ เขาก็เลยมองข้ามธรรมะกันไป แต่ถ้าคนสื่อธรรมได้ มันมีของมันได้ แล้วเป็นประโยชน์มันได้

เดี๋ยวเราเอาหนังสือให้ดู.. มา.. เอวัง