ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เข้าวัดได้อะไร

๒๖ เม.ย. ๒๕๕๒

 

เข้าวัดได้อะไร
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาเรื่องศาสนา เรื่องศาสนามันลึกซึ้งกว่าเรื่องอภิญญา เรื่องอภิญญา เรื่องฤทธิ์ เรื่องเดช มันมีจริงนะ แต่ในศาสนา ถ้าเราเอาตรงนั้นเป็นหลัก จิตใจของเราจะไปติดเรื่องอย่างนั้น เพราะก่อนหน้านั้น พวกฤๅษีชีไพรเขามีอยู่แล้ว แล้วพอติดอย่างนั้นปั๊บ เวลาเราทำอะไรกัน เราจะไปติดเรื่อง เราไปมองกันว่าเรื่องถือขลังมันเป็นเรื่องศาสนา ความจริงไม่ใช่

เรื่องถือขลัง เห็นไหม เรื่องหนังเหนียว เรื่องฟันไม่เข้า เรื่องต่างๆ มันเป็นเรื่องสัจจะ ถ้าจิตใจเคยมีสัจจะ จิตใจเคยมีความเข้มแข็ง มันจะมีประโยชน์มาก แต่ทีนี้ว่า เรื่องสนธินี่ รอดตายได้อย่างไร ไอ้เรื่องนี้มันเกี่ยวกับเรื่องศาสนานะ มันเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเพราะว่าอะไร เพราะว่าคุณสนธินี่เขาทำประโยชน์กับพุทธศาสนา เราโต้แย้งกับเขา เห็นไหม

ทางศาสนา แม้แต่พระเอง ถ้าเข้าไม่ถึงพระยังไม่เข้าใจเลย มีคนและพระถามมากนะ ว่าหลวงตาออกมาช่วยโลก ช่วยโลก มันไม่ใช่กิจของสงฆ์ เขาบอกว่ามันไม่ใช่กิจของสงฆ์ แล้วกิจของสงฆ์คืออะไรล่ะ กิจของสงฆ์ เที่ยวเรี่ยไร กิจของสงฆ์ เห็นไหม แจกซองขาว กิจของสงฆ์เหรอ

เมื่อก่อน ตอนหลวงตาออกมาช่วยชาติ พระที่ไม่เข้าใจบอกว่ามันไม่ใช่กิจของสงฆ์ กิจของสงฆ์ก็คือแจกซองขาวไง แจกซองขาวเป็นกิจของสงฆ์ เขาไม่เข้าใจนะ เขาไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจว่ามันเกี่ยวกับเรื่องศาสนา พอเกี่ยวกับเรื่องศาสนา เห็นไหม ทำไม ที่ว่าเวลาทำบุญๆ น่ะ

หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ท่านบอกว่า เราทำบุญปกติ เราเคยทำบุญกันมามากอยู่แล้ว เราทำบุญกันมามากอยู่แล้ว แต่เวลาเรามาทำบุญช่วยชาติ กู้ชาติน่ะ แต่เวลาทางโลก ถ้าเป็นกิจของสงฆ์ เราต้องทำบุญ สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างวัดสร้างวา เป็นกิจของสงฆ์ เป็นเรื่องไปใช้ในการสร้างวัด

แต่เขาลืมไป “เขาลืมไปว่าโบสถ์วิหารมันตั้งอยู่บนอะไร”

ดูสิ ดูพระเจ้าตากสิ ดูสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกสิ เวลากู้ชาติขึ้นมา ชาตินี้ กู้มาทำไม กู้ชาติมาเพื่อ ให้เป็นพุทธบูชา พระเจ้าตาก ประเทศไทยกู้ชาติมาถวายพระพุทธเจ้านะ เวลากู้ชาติมา อย่างพระเจ้าตาก พระพุทธยอดฟ้าฯ กู้ชาติมาเพื่อศาสนาไง

ดูอย่างเช่นทหารออกรบ เวลาทหารออกรบ

“ถ้าไม่มีอาณาจักรจะไม่มีพุทธจักร”

ทีนี้แล้วสนธิ เขาเกี่ยวกับศาสนา เกี่ยวกับศาสนาตรงไหน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราถามว่าชาติคืออะไร ชาติคือคนรวมกัน มนุษย์รวมกันขึ้นมามันถึงเป็นชาติ แล้วชาติมันจะเข้มแข็งด้วยอะไร

ถ้าเราไม่มีศาสนา ไม่มีศีลธรรม จริยธรรม มาหล่อหลอมน้ำใจ หล่อหลอมใจคนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แล้วท่านหล่อหลอมกัน ตัวหล่อหลอมนั้นคืออะไร คือตัวศาสนา ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แล้วสนธิเขาทำตรงนี้ เขาทำเพื่อประโยชน์ ใช่อยู่ มุมมองคนมันหลากหลายได้ เขาจะมองว่าสนธินี่หาผลประโยชน์ เขาจะไม่เชื่อใจว่าสนธิเขาทำอะไรก็แล้วแต่

ทีนี้ สนธิรอดตายด้วยอะไร หลวงตาท่านเล่าบ่อย มันมีอยู่คนๆ หนึ่ง เขากับเพื่อนโกรธกันมาก แล้วเขาบอกว่าเขาต้อง แบบว่าด้วยความอาฆาต ด้วยความโกรธ ด้วยความเจ็บช้ำน้ำใจมาก วันนี้ต้องฆ่าเพื่อนให้ได้ เพื่อนต้องตายวันนี้ ถ้าเพื่อนไม่ตายวันนี้ เขาอยู่ในโลกนี้ไม่ได้

เขาถืออาวุธเตรียมพร้อมเลยจะไปฆ่าเพื่อน พอเดินไป นี่หลวงตาท่านพูดนะ มีตัวตนจริงๆ พอจะไปฆ่าเพื่อน เดินไปๆ หลวงปู่มั่นโผล่ขึ้นมาเฉพาะหน้าเลย หลวงปู่มั่นโผล่มาเฉพาะหน้าเลย มาเฉพาะหน้าตัว เห็นด้วยตาเนื้อนี่เลย แล้วเรื่องที่หลวงปู่มั่นถามคนๆ นั้นว่า

“มึงจะไปตกนรกขุมไหน”

แต่ในใจเรานะ เราคิดนะ เพราะเราโกรธมาก เราจะไปฆ่าเพื่อน ด้วยความโกรธ โดยรุนแรงที่สุด ถ้าวันนี้ฆ่าไม่ได้ วันนี้ฆ่าเพื่อนนี่ไม่ได้เพราะมันหักหลังกัน ถ้าวันนี้ฆ่าเพื่อนไม่ได้นะ จะอยู่ไม่ได้ คือว่าแค้นขนาดนั้น คืออย่างไรวันนี้ เขาต้องตายเด็ดขาด

แต่พอไป ถ้าคนคิดขนาดนี้ได้อย่างนี้ เขาต้องทำความรุนแรงได้มหาศาลเลย แต่ด้วยบุญกุศล เดินๆ ไป จะไปฆ่าเขา เพราะมันบ้านนอกใช่ไหม ก็เดินไปตามชายป่า อยู่ดีๆ หลวงปู่มั่นโผล่ขึ้นมาเฉพาะหน้า แล้วหลวงปู่มั่นถามนะ ถามคนที่จะไปฆ่า “มึงจะไปตกนรกขุมไหน” เพราะถ้าไปฆ่าเขา มันคิดได้ เห็นไหม ไปฆ่าเขา หนึ่ง เราฆ่าคนตายก็ต้องหนี ถ้าไม่หนีก็ต้องโดนคดีอาญา แล้วฆ่าคนตายแล้วมันก็ต้องเสียใจ แต่ขณะที่โกรธ เห็นไหม ไปฆ่าเขา

เราจะบอกว่าหลวงปู่มั่นผุดขึ้นมาต่อหน้า มันเป็นไปได้อย่างไร? มันเป็นไปได้อย่างไร? ผุดขึ้นมาต่อหน้า แล้วพอเตือนสติ พอได้สติว่า ก้มลงเลยนะ ก้มลง เพราะคนๆ นี้เขามาเล่าให้หลวงตาฟังว่า เขาประสบกับตัวเขาเอง แล้วเขาจะมาเล่าให้หลวงตาฟังว่า เขาเห็นหลวงปู่มั่นมาพูดอย่างนี้จริงๆ

แล้วพอเขาเห็นหลวงปู่มั่น เขาก็คิด เขาก็เข้าใจว่าเป็นหลวงปู่มั่น เพราะตอนนั้นมันกำลังหน้าสิ่วหน้าขวาน พอเห็นหลวงปู่มั่นก็ก้มลงกราบหลวงปู่มั่น ก้มลงกราบที่เท้า พอได้สติกลับมา มองขึ้นมาไม่มีอะไรแล้ว

เราจะบอกบุญของคนมันเป็นอย่างนั้น บุญของคนนะ ถ้าคนๆ นั้นไม่มีหลวงปู่มั่นมายับยั้งไว้ คนๆ นี้จะต้องสร้างกรรม ต้องฆ่าคนตาย แล้วฆ่าคนตาย ครอบครัวต้องมีปัญหามาก ตัวเองต้องหนีคดี แล้วคนที่ตายไปแล้วก็มามีเวรมีกรรมต่อกัน

แต่พอเหตุการณ์เฉพาะหน้าทำให้อภัยให้ได้หมดเลย แล้วพูดอย่างนี้ไป ทางวิทยาศาสตร์เชื่อไหม จะย้อนกลับมาสนธิไง เรื่องสนธิมันต้องย้อนกลับมาที่นี่ ย้อนกลับมาว่าคนน่ะมันได้ทำอะไรไว้ ถ้าคนมันได้ทำคุณงามความดี

ความดี เราก็บอกความดีมันมีหลายหลาก ความดี เราคิดว่า ถ้าเราเป็นฝ่ายตรงข้าม ไม่ได้ทำความดีก็เป็นความชั่วของเขา คนชั่วคิดดีไม่ได้ คิดแต่เรื่องชั่วๆ คนดีคิดชั่วไม่เป็น คิดแต่เรื่องดีๆ แต่คนๆ หนึ่ง อย่างเช่นเรานี่ เคยคิดชั่วมา แล้วกลับมาคิดดีก็ได้ ไม่ใช่คนมันชั่วมันจะชั่วตลอดไป หรือดีแล้วดีตลอดไป

คนมันชั่วมานะ ถ้ามันได้ครูบาอาจารย์คอยพูดให้กลับใจได้ แล้วกลับชั่วจะเปลี่ยนเป็นดีได้นะ เพราะคนๆ เดียว ทุกคนจะบอกว่าสนธิเขามีอดีตไง เราบอกถูกต้อง ดูอย่างเทวทัตสิ เทวทัตนี่เห็นไหม เป็นคนจงใจนะ จ้างให้อชาตศัตรู ให้ส่งนักแม่นธนูไปฆ่าพระพุทธเจ้า แล้วส่งนักแม่นธนูไปฆ่าคนที่จะฆ่าพระพุทธเจ้าอีกต่อหนึ่ง ตัดตอน ๖-๗ ช่วงแน่ะ

แล้วพอ ๔ คนแรกจะไปฆ่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเทศน์ เทศน์จน ๔ คนนั้นบวช ๔ คนต่อไปจะไปฆ่าไอ้ ๔ คนที่ไปฆ่าพระพุทธเจ้า ยังไม่มาซะที ก็ตามไปดู ไปเจอพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเทศน์ให้บวช ๑๖ คนบวชหมดเลย เป็นพระอรหันต์หมดเลย

ตั้งใจจะไปฆ่าพระพุทธเจ้า ด้วยคำสั่งของอชาตศัตรู อชาตศัตรูได้รับคำสั่งมาจากเทวทัต เทวทัตคิดจงใจฆ่าพระพุทธเจ้าขนาดนั้น แล้วใครๆ ทำไม่ได้ ก็เลยผลักก้อนหินมาใส่ จนห้อพระโลหิต จนเทวทัต สร้างกรรมขนาดนี้ สร้างกรรมขนาดนี้นะ ทำสงฆ์ให้แตกแยก ยุแยงสงฆ์ให้แตกแยก จงใจฆ่าพระพุทธเจ้า จงใจทำทุกอย่างเลย สุดท้ายแล้วสำนึกได้

เราจะบอกคนชั่วจะเปลี่ยนใจไง หลวงตาพูดบ่อย เทวทัตยังกลับใจนะเว้ย เทวทัตยังกลับใจ คนชั่วกลับใจเป็นคนดีได้ไง สุดท้ายแล้วระลึกได้ว่าตัวเองมีโทษมีกรรมมาก ขอให้พระแบกหามไปขอขมาพระพุทธเจ้า พอข่าวไปถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอก มาไม่ถึงเราหรอกๆ แต่ด้วยความคิดถึงก็ไป พอไปถึงเท่านั้น ลงจากแคร่ เห็นไหม ดูดไปทันทีเลย พอดูดไปเข้าไม่ได้ คางมันคาดินอยู่ไง ถวายเลย ถวายพระพุทธเจ้า นี่คนชั่วยังกลับเป็นคนดีได้

แล้วประวัติเขามี ประวัติก็เรื่องของเขา แต่ในปัจจุบันนี้เราดูสิ เขาทำเพื่อประโยชน์ของใคร เดี๋ยวจะพูดหลังไมค์ให้ฟัง เยอะกว่านี้อีกเยอะเลย เพราะเขาทำดีขนาดนี้ พอทำดีขนาดนี้ ความดีของเขาคุ้มครองตัวเขา ความดีของเขาคุ้มครองตัวเขา ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ความดีของเขาคุ้มครองตัวเขา

แล้วนี่มาพูดถึงพวกเรา ถ้าพูดอย่างนี้ไป เราไม่อยากพูดตรงนี้ ถ้าตรงที่จะพูดต่อไป จะหาว่าพวกเรานี่เข้าข้างกันเองไง เขามีครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่ง แล้วครูบาอาจารย์ เขาเคารพบูชาของเขา แล้วครูบาอาจารย์ เห็นไหม อย่างพวกเรานี่มีครูบาอาจารย์ เป็นที่พึ่ง ดูสิ พระพุทธเจ้าสอนว่า

“ให้มีธรรมเป็นที่พึ่งเถอะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย”

นี่เขามีครูบาอาจารย์ของเขา เขามั่นใจครูบาอาจารย์ของเขา แล้วเวลาเขาไปกราบ เห็นไหม กราบครูบาอาจารย์ กราบหลวงตาอย่างนี้ เอาธรรมนำหน้าๆ ถ้าธรรมนำหน้าแล้ว ต้องชนะ

“ธรรมะย่อมชนะอธรรม”

แต่! ดูสิ โทษนะ เราไปดูไอ้พวกนิยายพื้นบ้านสิ พระเอกนี่ต้องโดนเขารังแกมันทั้งเรื่องเลย ธรรมชนะไง พระเอกจะโดนรังแกทั้งเรื่องเลย แล้วไปชนะตอนจบ เราจะบอกว่าธรรมะนี่ก่อนชนะไม่ใช่ของง่ายๆ เพราะกิเลสของคน ทิฐิของคนมันชนะคะคานกัน เขาไม่เห็นดีกับเราหรอก

แต่เราทำดีไปเถอะ ความดีต้องชนะ “ธรรมะย่อมชนะอธรรม”

ความดีต้องชนะความชั่ว แต่พวกเรามันหวั่นไหว พวกเราจิตใจมันไม่เข้มแข็ง พอทำความดีเข้าไป ทุกคนจะพูด ใครมาจะบอกเลย ทำบุญตลอดเลย ทำดีทั้งนั้นเลย ทำไมเห็นไม่ได้ดี คนมันไม่ได้ลืมไปนะว่ากรรมเก่ากรรมใหม่ เราทำอะไรของเราไว้ เราทำสิ่งใดของเราไว้บ้าง

เราจะบอกว่าเราเกิดมานั่งกันอยู่นี่ ต้นทุนไม่เท่ากัน แม้แต่พ่อแม่คนเดียวกัน ต้นทุนยังไม่เท่ากันเลย พ่อแม่คนเดียวกัน พี่น้องแต่ละคน เห็นไหม เพราะคำว่าพี่น้องแต่ละคน จิตของเขาสร้างของเขามา พอจิตของเขาสร้างของเขามา

เราดูสิ พี่น้องเรา ๓-๔ คน เวลาเขาเกิดมากับพ่อแม่ พ่อแม่กำลังสดชื่น พ่อแม่กำลังชื่นบาน โทษนะ พ่อแม่ชอบเห่อลูกคนโต ลูกคนแรก พ่อแม่จะเห่อมากเลย ทีนี้ไอ้คนเกิดเป็นคนแรก พ่อแม่จะรักมาก ไอ้คนเป็นคนต่อๆ ไป รักอยู่นะแต่หายเห่อแล้ว พอหายเห่อนะ มันก็ไม่ได้โอ๋มาก เห็นไหม นี่ต้นทุนไม่เท่ากัน

ถ้าต้นทุนเท่ากันนะ แต่ถ้าเกิดเป็นลูกคนแรก พ่อแม่จะเห่อมาก แต่! แต่ในทางกลับกัน ถ้าเกิดเป็นลูกคนจีน พี่ใหญ่ พี่ใหญ่ต้องรับผิดชอบน้องหมด พี่ใหญ่เปรียบเหมือนพ่อแม่คนที่สอง ในประเพณีของคนจีน คนจีนถือว่าพี่ชายคนแรก ลูกคนโตจะต้องดูแลน้องๆ ทั้งหมด ลูกคนโตจะต้องรับผิดชอบชีวิตน้องๆ ทั้งหมด มันก็รับภาระมากเข้าไปอีก

คำว่าต้นทุนไม่เท่ากัน แล้วพอต้นทุนไม่เท่ากัน พวกเราต้นทุนไม่เท่ากัน หมายถึงว่าคนนี่ทำมา ทำบุญกุศลมา ต้นทุนไม่เท่ากัน มันจะย้อนกลับมาที่ความนึกคิด เรื่องจริตนิสัยความนึกคิดมุมมอง มุมมองอันหนึ่ง คนมองว่าแก้ไขได้ดีมากเลย บางคน มุมมองมันเป็นเรื่องปกติ บางคน มุมมองในแง่ลบ มุมมองอันนี้ อำนาจวาสนา

อย่างเช่นเทวทัตอย่างนี้ เทวทัตทำ นี่มุมมองผิด ทำมหาศาลเลย เพราะเทวทัตเกิดมา ในสถานะเดียวกับพระพุทธเจ้า เพราะสุปปพุธทะกับพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพี่น้องกัน เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เทวทัต พระพุทธเจ้า พระอานนท์ เกิดมาสถานะเดียวกัน คือเป็นลูกกษัตริย์เหมือนกันหมดเลย

พวกนี้ลูกกษัตริย์เท่ากันนะ แล้วพอลูกกษัตริย์ พระพุทธเจ้าออกมา พระพุทธเจ้าออกบวช พระพุทธเจ้าไปเป็นพระพุทธเจ้า พวกนั้นออกบวชตามมา พระอานนท์เป็นผู้อุปัฏฐาก ดูสิ อุบาลีเป็นช่างกัลบก เป็นช่างประจำตัวกษัตริย์พวกนี้ ออกบวชด้วย เกิดมาสถานะเดียวกัน

ทีนี้พอสถานะเดียวกันมาบวชแล้ว นางวิสาขา เวลาตกเย็นก็มาเยี่ยมพระใช่ไหม ก็มีน้ำปานะ มีไอ้โน่นมาถวายพระอานนท์ พระอะไร เทวทัตนั่งอยู่นั่น เอ๊ะ ไม่เห็นเทวทัตเลย มันคิดน้อยเนื้อต่ำใจไง แล้วทำอย่างไรจะให้เขาสนใจเรา สนใจเราก็มีปฏิบัติ แต่ยังไม่ถึงที่สุดใช่ไหม เพราะเริ่มมีฤทธิ์มีเดชแล้ว เพราะเหาะเหินเดินฟ้าได้ ทุกอย่างมีหมดแต่ไม่ได้แสดงออก

เพราะฉะนั้นถ้าเราจะให้คนเขาศรัทธาเรา เราต้องแสดงตรงนี้ออกไป พอแสดงออกไปก็ไปแสดงให้อชาตศัตรูดู อชาตศัตรูก็เชื่อ พอเชื่อเอาอยู่แล้ว เรื่องก็ขยายไปไกล เราจะบอก เริ่มต้นมาจากตรงนี้ไง เริ่มต้นมาจากสถานะ ชาติเกิดในปัจจุบันนี้เท่ากัน แต่เบื้องหลังไม่เหมือนกัน

เพราะเทวทัต พระพุทธเจ้าบอกว่า เทวทัตแต่เดิมเป็นชูชก เป็นอะไรมา คือว่าเวลาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า เขาก็สร้างกรรมของเขามาตลอด การสร้างมาตลอด เห็นไหม พอมาเกิด ชาติสุดท้ายก็เป็นเทวทัต พระพุทธเจ้าก็สร้างมาเป็นพระเวสสันดร สร้างมาตลอดเหมือนกัน พอมาเกิดเป็นชาติสุดท้าย ก็มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า เบื้องหลังมันเป็นคู่ที่ว่า คู่ที่ว่าส่งเสริมบารมีกัน ไม่มีมารก็ไม่มีธรรม ก็ส่งกันมาตลอด สุดท้ายก็มาเกิด ต้นทุนไม่เท่ากัน

พอต้นทุนไม่เท่ากัน มุมมองไม่เหมือนกัน พอมุมมองไม่เหมือนกัน ความพิจารณา การมองต่างๆ กัน ทีนี้พอเขามีมุมมองที่ไม่ต่างกัน ที่เขาทำคุณงามความดี ตรงนี้มันถึงบอกว่า ตามความเป็นประชาธิปไตย ความเห็นต่างได้ แต่ความเห็นต่าง เราต้องคุยกันด้วยเหตุด้วยผล แต่เหตุผลขนาดไหน เขาจะเชื่อหรือไม่เชื่อ รอดตายได้อย่างไร รอดตายด้วยความจริงใจของเขา

ทีนี้มันมองได้หลายแง่มุมมาก ถ้ารอดตายด้วยครูบาอาจารย์ท่านโอบอุ้มอยู่ เราก็เห็นด้วย แต่เราไม่กล้าพูด เพราะพูดแล้วเหมือนกับ พูดแบบว่าเอาดีเข้าข้างเดียวไง เราจะพูดแต่ความดีของพวกเรา ทีนี้ถ้าเรา ใจเราก็มีตรงนี้ด้วย แต่ทีนี้ถ้าเราพูดให้เป็นสาธารณะ เขารอดตายด้วยคุณงามความดีของเขา เขาทำดีของเขา ความดีคุ้มครองเขา เหมือนกับที่ว่า

“คนดีผีคุ้ม”

ทีนี้คนดีผีคุ้ม คนจะดีได้ ใครเป็นคนชักนำให้เขาเป็นคนดี แล้วครูบาอาจารย์ของเราชักนำให้เขาเป็นคนดี ครูบาอาจารย์เรานี่เป็นหลักให้ทำ เพราะเขามีความเชื่อมั่นในครูบาอาจารย์ของเราเขาถึงทำดีของเขา นี่มันก็ย้อนกลับมาทางพระพุทธเจ้า

“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”

แต่สิ่งที่เขาผิดพลาดมาแล้ว เขาพูดออกอากาศตลอด ว่าอดีตเขาก็ไม่ธรรมดา ถ้าเขาเป็นคนธรรมดา อดีตเขาธรรมดา เขาจะมองสังคมออกเหรอ เขาจะมองถึงสังคม มองถึงสิ่งต่างๆ เขามองได้ลึกซึ้งกว่าเรา เพราะเขาได้ผ่านประสบการณ์ของเขามาเยอะ อันนี้ในชาติปัจจุบัน

แต่พวกนี้เขาต้องมี อย่างที่ว่า ต้องมีการสร้างมา คนไม่สร้างมาเขาจะเสียสละขนาดนี้เหรอ เขาเสียสละมากนะ แต่ทุกคนก็ไม่เชื่อ ไอ้นี่มันก็เหมือน มันก็กรรมอีกแหละ บางคนไม่ทำอะไรเลยนะ พูดเฉยๆ หลอกเขา เขายังเชื่อเลย ไอ้นี่มันทำทั้งชีวิตเลยนะ เอาชีวิตทิ้งมาคนยังไม่เชื่อเขาเลย นี่ก็เหมือนกับกรรมของเขาเหมือนกัน แต่ทำดีของเขา เขาก็ทำดีของเขา

โยม : หลวงพ่อครับ ....เขาบอกว่าห้อยพระดี

หลวงพ่อ : ก็ตรงนี้ไง ที่เราไม่พูดเพราะว่าเขาเป็นลูกศิษย์หลวงตา เราก็เป็นลูกศิษย์หลวงตา แล้วลูกศิษย์หลวงตามาคุยกัน มายกกันเองนะ เราถึงไม่พูดไง เราไม่พูดตรงนี้เพราะเขาก็เป็นลูกศิษย์หลวงตา เราก็เป็นลูกศิษย์หลวงตา แล้วถ้าพูดไปก็เหมือนกับว่าเรายก ให้คะแนนพวกเรากันเอง เราถึงให้สังคมเขาพิจารณาดีกว่า

แต่เราเชื่อมั่นตรงนั้นเยอะมาก เพียงแต่ว่าเราพูดแล้วเราได้ผลประโยชน์ว่าอย่างนั้นเถอะ ถ้าเราพูดแล้วเราได้ประโยชน์ เนอะ เราถึง เราไม่พูด แต่ตรงนั้นเยอะมาก เยอะมากๆ แล้วเวลาทำ เดี๋ยวจะพูดให้ฟังว่า ท่านทำให้ทุกๆ คน แต่ทำแล้วคนที่ได้ผลมาก กับทำแล้ว คนที่ทำอยู่แล้วเหมือนกับจะไม่ได้ทำอะไรเลย ทำเพื่อเป็นให้เห็นว่าความเสมอภาคเฉยๆ

เพราะคนมันมีหลายหลาก คือคนเข้ามาเพื่อประโยชน์กับสาธารณะ เพื่อประโยชน์กับประเทศชาติ กับคนเข้ามาเพื่อประโยชน์กับตัวเขาเอง หลวงตาท่านดูออก หลวงตาท่านดูออกนะ แต่เวลาทำ ในภาพนี่ ก็ทำเหมือนกัน แต่ผลได้ไม่เหมือนกันนะ ผลที่ทำให้ได้ไม่เหมือนกัน เพราะคนๆ นั้นเห็นแก่ตัว แต่คนๆ นั้นเห็นกับผลประโยชน์สาธารณะ

ตอนเราอยู่กับท่าน สมัยนั้นยังไม่แบ่งการปกครองไง ไอ้การปกครอง อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อก่อนเราอยู่กับท่าน แปลกมาก พวกอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์หรือใคร เวลาไปพักที่วัดป่าบ้านตาด ท่านให้ไปจัดที่นอนที่หน้ากุฏิท่านเลย ใครก็แล้วแต่ที่ทำประโยชน์กับสาธารณะ ท่านจะส่งเสริมมาก

สมัยเราอยู่กับท่านนะ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ มาขอท่านไปสร้างบ้านพักให้พวกคนจนเมื่อก่อน แล้วเวลามาปรึกษางาน กลางคืนนอนอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด ท่านให้ไปนอนที่หน้ากุฏิท่านเลย มันเป็นเรื่องที่ประหลาด ทุกคนจะเข้าไปยุ่งกับท่านไม่ได้เลยนะ ท่านให้พวกนี้ไปนอนที่หน้ากุฏิท่าน ไปกางมุ้งไว้ที่หน้ากุฏิท่าน ไปนอนกับท่าน

ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังไม่มีใครรู้จัก เราอยู่กับท่านมานะ ท่านทำอย่างนี้มาตลอด ใครทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ใครทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ท่านจะเกื้อหนุนมาก แต่ถ้าใครเห็นแก่ตัวไปขอให้ท่านช่วย ท่านก็ทำให้ แต่จะได้ผลไม่ได้ผลนั่นอีกเรื่องหนึ่ง

ฉะนั้น เรื่องนี้รู้ๆ อยู่แล้ว อันนี้ แหม ถ้าพูดอย่างนี้ เพราะซีดีนี่เดี๋ยวมันจะแจกไป เขาจะบอกว่าพวกเรายกหางกันเอง อ้า นี่เรื่องสนธิเนอะ กลับมาเรื่องนี้แล้ว ไอ้นี่

ถาม : จะมีวันเปิดโลกธาตุอีกไหม?

หลวงพ่อ : มันมีตลอดไป เปิดโลกธาตุ มันเปิดอยู่แล้ว เพราะพระพุทธเจ้ามาเปิดโลกธาตุก็เปิดอยู่แล้ว ครูบาอาจารย์นะ ท่านมา ท่านเปิด ด้วยฤทธิ์นะ พระพุทธเจ้ายังมีหนหนึ่ง คำว่าเปิดอยู่แล้ว คือเปิดแบบพระอรหันต์ ถ้าองค์ไหนเป็นพระอรหันต์นะ มันรู้แจ้งสามโลกธาตุหมดแล้วคือไม่มีอะไรปิดบังพระอรหันต์ได้หมดเลย

จะมีวันเปิดสามโลกธาตุอีกไหม?

มีอยู่ทุกวินาทีของพระอรหันต์ แต่ไม่มีอยู่ในความเห็นของปุถุชนเราที่ตาบอด ฉะนั้น ในเมื่อมันเปิดอยู่แล้วสำหรับพระอรหันต์ แต่พระอรหันต์ สร้างบุญกุศลมามากน้อยแค่ไหน องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกองค์จะมีวันเปิดโลกธาตุที่ให้นรก สวรรค์ กับมนุษย์ เห็นกันโดยตาเนื้อ มองเห็นโดยชัดๆ อย่างนี้ ถ้าสร้างเป็น ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย จะมาเปิดอย่างนี้ให้ทุกคนเห็น

บุญของพระพุทธเจ้าเห็นไหม แล้วทำให้พวกที่เกิดพร้อม ที่ราชคฤห์ ที่เวลาพระพุทธเจ้าลงมาจากดาวดึงส์ ทุกคนจะเห็นด้วยกันหมดเลย หนหนึ่ง พระพุทธเจ้าทุกองค์ คำว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ เพราะว่าพระพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมามาก แต่พระอรหันต์ทุกองค์เปิดหมด แต่เปิดโดยส่วนตัวของพระอรหันต์องค์นั้น ไม่ได้เปิดให้ทุกคนได้เห็นไง เพราะบารมีไม่เท่าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้ากับพระสาวกพระอรหันต์ สะอาดบริสุทธิ์จากใจเหมือนกันหมด แต่คำว่าสาวก สาวกะ สาวก สาวกะเหมือนลูก ลูกได้รับความเลี้ยงดูเกลี้ยกล่อมมาจากพ่อแม่ พ่อแม่เลี้ยงลูกมา พ่อแม่จะมีอำนาจเหนือลูกใช่ไหม ลูกจะมีกำลังเหนือเท่ากับพ่อแม่ มันเป็นไปไม่ได้ พอเราโตขึ้นมาเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นปู่เป็นย่า พ่อแม่เราก็แก่เฒ่าชราภาพ ก็ต้องมีมากกว่าเรา

ทีนี้ไอ้เรื่องที่พูดมันเป็นเรื่องของวัฏฏะที่มันวนไป ที่มันแทนกันได้ แต่พระพุทธเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้ามีหนึ่งเดียว ทีนี้คำว่าเปิดโลกธาตุของพระพุทธเจ้า คือเปิดให้เห็นด้วยตาเนื้อเลย แต่ครูบาอาจารย์ของเรา อยู่ที่วาสนาไง

อย่างเช่นหลวงตา เวลาท่านเปิดโลกธาตุของท่าน ท่านทำเพื่อสังคมโลก แล้วมีคนเห็น ลูกศิษย์หลวงตา เป็นหมออยู่ที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เราไปอยู่ที่หัวหิน เขามาหาเลย เขามาปรึกษาเลย ว่าวันเปิดโลกธาตุ เขาไปที่บ้านตาด เห็นเทวดาเต็มไปหมดเลย เห็นด้วยตาเนื้อเลย

เราบอกว่า แล้วทำไมมึงไม่บอกหลวงตา ไม่กล้า กลัวหลวงตาเอ็ด มึงไปบอกหลวงตาเลย เขาเขียนจดหมายเลย เขียนจดหมายบอกหลวงตาเลยว่าเขานี่ บอกมึงเขียนไปบอกหลวงตา เขาก็เขียนไปรายงานหลวงตาเลยว่าวันเปิดโลกธาตุ เขาเห็นเทวดา บนหลังคาศาลาใหญ่ ศาลานี่เต็มไปหมดเลย เทวดาเต็มไปหมดเลย ด้วยตาเนื้อเขาเลย

เขาเขียนไปบอกหลวงตา หลวงตาตอบกลับมา เขาว่าอย่างนั้น เขาเอามาให้เราดูเลย “คนตาดี” คือมันเปิดอยู่แล้วสำหรับพระอรหันต์ แต่นี่ ผู้ที่เห็นด้วย ถ้าเป็นพระพุทธเจ้านะ พวกเราเห็นด้วยตาเนื้อเลย เห็นแบบวิทยาศาสตร์ ตาเนื้อ เห็นโดยเสมอภาคเลย

แต่นี่พระอรหันต์ บารมีของพระอรหันต์ใช่ไหม เห็นด้วยตาเนื้อเหมือนกัน เขาบอกเห็นทีแรกๆ เขาบอกช็อกเหมือนกัน ช็อกเลยนะ ที่บ้านตาด เปิดโลกธาตุนี่ เขาเห็นชัดๆ เลย เห็นแล้วนึกว่าตาฟาง ขยี้ใหญ่เลย ก็เห็นอยู่อย่างนั้น แล้วไม่กล้าบอกใคร ไม่กล้าบอกแม้แต่หลวงตา

แล้วมาถามเรา เราบอกว่าจดขึ้นไปเลย ขึ้นไปเลย เพราะเราเอง เราก็แบบว่าอย่างไรนะ เราเองเพราะเราอยู่กับครูบาอาจารย์มา พ่อแม่ทุกคนนะอยากให้ลูกเป็นคนดี อยากให้ลูกประสบความสำเร็จ แล้วหลวงตาท่านทำอะไรแล้ว ท่านก็อยากจะให้คนทำอะไรเพื่อประโยชน์บ้าง

ทีนี้พอมีคนเห็นอย่างนั้นปั๊บ มันก็แบบว่าเหมือนกับอุ่นใจ เชิดชู อบอุ่น ทำนองนั้นน่ะ พอเราบอกปั๊บ เขียนจดหมายขึ้นไปเลย หลวงตาก็ตอบกลับมาเลย “คนตาดี”

ไอ้พวกนี้คนตาบอด คำว่าเปิดโลกธาตุ มันเปิดอยู่แล้วสำหรับพระอรหันต์ ไม่ต้องว่า วันที่เปิดโลกธาตุจะมีอีกไหม มันไม่เปิดสามโลกธาตุเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ว่าอย่างนั้นเลย เพราะพระอรหันต์มันเปิดสามโลกธาตุหมด เพราะจิตมันเวียนตายเวียนเกิดในกามภพ รูปภพ อรูปภพ กามภพ รูปภพ มันก็เหมือนกับทวีปคนละทวีป

ถ้าเราอยู่ทวีปเอเชีย เราไม่เคยไปยุโรป เราไม่เคยไปออสเตรเลีย คนละทวีป เราจะสงสัยตรงนั้นไหม ถ้ายังสงสัยอยู่ เรายังมีสงสัยอยู่ เราจะเข้าใจเรื่องโลกนี้จบได้ไหม ไม่ได้ เราต้องเคลียร์พื้นที่ทั้งหมด จิตก็เหมือนกัน เป็นพระอนาคา กามภพไม่เกิด คือไม่เกิดในกามภพคือไม่เกิดอย่างไร แล้วสิ้นจากพระอนาคาไป ไม่เกิดในวัฏฏะเลย วิวัฏฏะเป็นอย่างไร มันรู้มันเห็นหมด

ถ้าไม่รู้ไม่เห็นหมด เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ฉะนั้นมันเปิดอยู่แล้ว สำหรับพระอรหันต์ เด็ดขาดเลย เพียงแต่ว่าพอมาทำ พระพุทธเจ้ามีในพระไตรปิฎก แล้วเวลาเราศึกษาพระไตรปิฎกกัน เราศึกษาแล้ว เราก็จะว่า มันจะจริงไปได้อย่างไรๆ

เหมือนกรณีสนธิ เรื่องบุญกุศลนี่นะ มันมีอะไรอีกลึกลับมหัศจรรย์มหาศาล มีอีกมากนะที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ วิทยาศาสตร์พิสูจน์เรื่องบุญกุศลอย่างนี้ไม่ได้ ไม่ได้หรอก นี่เราก็คิดกันไปอย่างนั้น

ดูอย่างจักรพรรดิ ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนนางแก้ว มันเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ในพระไตรปิฎกมันพิสูจน์เลยนะ ขุนคลังแก้ว จักรพรรดิทดสอบ ให้ไปกับขุนคลังสองคน นั่งเรือไป ไปกลางแม่น้ำ เอาทองๆ ขุนคลังแก้ว มามือเปล่าๆ จะเอาทองที่ไหนให้กษัตริย์ เอามือลงน้ำเลย เอาทอง ยกจากน้ำมา ทอง

ถ้าจักรพรรดิจะมีอย่างนี้ มีขุนคลังแก้ว แล้วจักรพรรดิ จักรมันจะหมุนในจักรพรรดินี่ แต่แล้วพอจักรมันเริ่มไม่หมุน จักรมันก็ต้องออกบวช ถ้าจักรพรรดิไม่ออกบวชนะ ทุกอย่างจะสูญไปเลย แล้วคิดดูซิมันจะมาได้อย่างไร เหมือนเหมืองแร่เราขุดไป เราอยากได้ทองคำ

เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะบอกเลย ท่านธุดงค์ไปที่ปราจีนฯ ไปกับหลวงปู่ลี(ท่านพ่อลี วัดอโศการาม) ไปกับหลวงปู่ลี แล้วท่านนั่งสมาธิไป ในพื้นดินท่านบอกเลยนะ มันเป็นเหมือนภูเขาเลยนะ ไม่ใช่ทองน้อยๆ ทองนี่เหมือนภูเขาเลย อยู่ในดิน แล้วพอท่านนั่งไปแล้วมันเห็น พอมันเห็นปั๊บ แล้วพอเห็น มันก็รู้แล้วใช่ไหม แล้วคนอื่น แบบว่า ถ้าบอกไป คนที่ไม่มีวาสนาไง ที่บอกว่าเรื่องของบุญน่ะ บอกว่าจะให้คนแบบที่มันมีทองคำ

คิดดูสิว่าทองคำเป็นภูเขาๆ อยู่ในดินนี่ เราจะขุดเอาไหม แล้วจะขุดเอา ถ้าคนมีบุญ คนนั้นจะได้สิทธิตรงนี้ แล้วตรงนั้นคนมันไม่มีบุญไง ไม่มีบุญนี่มันเลื่อนหนี ทองคำในภูเขาในดิน เป็นเหมือนภูเขาเลย มันเลื่อนหนี หลวงปู่เจี๊ยะบอกเอง แล้วหลวงปู่เจี๊ยะท่านอยู่ในป่า พอทองคำในดินมันเลื่อน ลองคิดดูสิว่า แผ่นดิน แล้วมันมีวัตถุอันใหญ่อย่างนั้นมันเลื่อนในดิน แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น

หูตั้งหรือยัง หลวงปู่เจี๊ยะบอกนะ ป่าไม้นี่มันลั่น เพ๊าะๆ ลั่นไปหมดเลย ป่าไม้นี่มันลั่นไปหมดเลยนะ ทองคำในดินน่ะ ทองคำภูเขาทองคำมันเคลื่อนหนี เพราะมันไม่ใช่บุญของผู้ที่จะไปแสวงหาอยู่ มันเคลื่อนหนี แล้วหลวงปู่เจี๊ยะ ท่านเห็นของท่านนะ เสียดายว่าหลวงปู่เจี๊ยะเสียไปแล้ว ถ้าหลวงปู่เจี๊ยะไม่เสียไปแล้วนะ ไปถามสิว่าพูดจริงไหม ว่าหลวงปู่เจี๊ยะพูดจริงหรือเปล่า

นี่หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังเอง มันเคลื่อนหนี พอมันเคลื่อนหนี เสียงมันดังใช่ไหม เสียงป่าไม้มันลั่นหมด พอมันลั่นหมดปั๊บ หลวงปู่เจี๊ยะก็ไปถามหลวงปู่ลี ว่านี่มันคืออะไร หลวงปู่ลีว่านี่มันไม่ใช่บุญของเขา นี่ไง บุญกรรมที่ว่านี่ไง ว่าสนธิมันรอดได้เพราะอะไร

หลวงปู่ลีบอกว่า มันไม่ใช่ของของเขา มันเคลื่อนหนี มันไม่ได้ เราเอามาไม่ได้ ถ้าเป็นของของเรานี่นะ เราทำอะไรเราก็ได้ ทั้งๆ ที่มันมีอยู่นะ มันเคลื่อนหนีไปๆ แต่พวกเรานี่ไปหาเหมืองแร่ทองคำกันนะ กะจะไปทำเหมืองแร่อยู่ในแอฟริกานี่

เรื่องอย่างนี้วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ไหม ทั้งๆ ที่เป็นแร่ธาตุนะ นี่แร่ธาตุนะ แล้วถ้าเป็นจิตนะ ธาตุรู้ ธาตุนามธรรม ลึกลับมหัศจรรย์กว่าเยอะเลย ลึกลับมหัศจรรย์กว่าไอ้แร่ธาตุที่มันเคลื่อนที่นี่อีก โอ๊ย หลวงปู่เจี๊ยะเวลาเล่าเรื่องนี้ เล่าเยอะ แต่มันต้องอารมณ์ดีๆ เวลาอารมณ์ดีๆ อยู่ด้วยกัน เดี๋ยวออกแล้ว ท่านไปเที่ยวมา ที่ไหนๆ ท่านบอก

อันนั้นเห็นไหม บุญไง แล้วทีนี้เราเข้าใจอยู่ว่าสนธิรอดตายเพราะอะไร ว่าสนธิรอดตายเพราะอะไรปั๊บ ว่ารอดตายเพราะว่าเครื่องรางของขลัง เดี๋ยวโยมก็จะวิ่งไปหากัน วิ่งไปหากันอะไรกัน แต่นะ เราเคารพบูชาครูบาอาจารย์เราได้ ไปดูนี่ ฟังให้ดีนะ หนังกำลังภายในมันเลยบอกเลยว่ากระบี่อยู่ที่ใจ ถ้าครูบาอาจารย์ของเรา พระของเราอยู่ที่ใจ มันคุ้มครองเราได้นะ

เราเคารพครูบาอาจารย์ของเรา ครูบาอาจารย์ของเรา เราเข้าใจว่าท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง เราเอามาไว้ในใจเราได้ เราเอาครูบาอาจารย์ของเรามาไว้ในหัวใจเราเลย แล้วเราจะทำดีทำชั่ว มันจะเตือนใจเราตลอดเวลา

เอาครูบาอาจารย์เรามาสถิตไว้กลางหัวใจเราเลย อันนี้สำคัญ แล้วจะเตือนเราตลอดเวลา แต่ครูบาอาจารย์เรา เราเคารพมาก แล้วถ้าใครจะมีอะไร เป็นรูปเคารพไว้บูชา ก็ตามโลก ตามสบาย ใครมีก็ได้ ไม่ใช่ว่าใครมีไม่ได้ มีก็ได้ ใครมีก็เป็นสิ่งดี สิ่งที่ดีนะ

เอาอันนี้ก่อน

ถาม : ๑. มีวิธีการอย่างไร ให้สติทันจิตได้ง่าย ปกติที่เคยนั่งสมาธิ จิตก็จะเป็นสมาธิได้ยาก เวลาเกิดสมาธิก็จะสั้นมาก มีสมาธิไม่กี่วินาทีก็หลุดแล้วค่ะ พอวิปัสสนาสติยิ่งไม่ค่อยทันจิตเลย

หลวงพ่อ : เริ่มต้น เราน่ะพอเข้าใจเรื่องธรรมะ เห็นไหม เราเข้าใจเรื่องธรรมะ เราก็อยากปฏิบัติ เราก็อยากจะได้ผล เวลาอยากจะได้ผล ได้ผลนี่คือความอยาก ความอยากความต้องการ ความปรารถนา ไม่ผิดนะ ถ้าความอยากนี่ผิดพระพุทธเจ้าเราเกิดมาไม่ได้หรอก

เพราะพระพุทธเจ้าเรานี่ เกิดมาด้วยความอยากเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าพระพุทธเจ้าไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อธิษฐานเป็นพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าไม่ได้ขวนขวายสร้างบุญญาธิการมา จะเกิดมาเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร พระพุทธเจ้าเกิดมาด้วยความอยากนะ แต่อยากแล้วเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นหรอก

พออยากแล้วนะ เห็นไหม พระโพธิสัตว์ ต้องสร้างบุญญาธิการ สร้าง เห็นไหม รื้อสัตว์ขนสัตว์ เป็นผู้นำสังคม แจกจ่าย เพื่อสร้างสถานะ สร้างบารมีขึ้นมา พอสร้างบารมีมา เขาเรียกว่าอธิษฐานบารมี บารมี ๑๐ ทัศของพระพุทธเจ้า จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องครบ ๑๐ ทัศ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ขันติบารมี อธิษฐานบารมี

“อธิษฐานบารมีคือเป้าหมาย คือเราตั้งเป้า”

ทีนี้การตั้งเป้ามันผิดไหม ไม่ผิด เราพูดบ่อยมากนะ ว่าเราตั้งเป้า อยากไปนิพพาน อยากทำคุณงามความดี เขาบอกค้ากำไรเกินควร ผิดๆ ไม่ผิด

“ถ้าเราไม่ตั้งเป้า เราจะเข้าสู่เป้านั้นได้อย่างไร”

ฉะนั้นพระพุทธเจ้ายังตั้งเป้าเลยว่าอยากเป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้สร้างสมมาเป็นพระพุทธเจ้า มันผิดตรงไหน แล้วเราอยากพ้นทุกข์ อยากไปนิพพาน มันจะผิดไปตรงไหน มันไม่ผิดหรอก

แต่ว่ามันผิด ผิดตรงไหน ผิดเวลาปฏิบัติไง ผิดเวลาปฏิบัติ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะปฏิบัตินี่ เหมือนทานข้าว เหมือนกินข้าว กินข้าวเรากินคำแรก กินคำแรกก็อิ่มเลย มันเป็นไปไม่ได้ กินคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ แล้วแต่คนกินมากกินน้อย คนกินน้อย ๕ คำ ๑๐ คำก็อิ่ม คนกินมากก็ ๑๐ คำ ๒๐ คำถึงจะอิ่ม

ทีนี้พอปฏิบัติ พอเริ่มต้นปฏิบัติก็อยากแล้ว อยากให้เป็นสมาธิ อยากให้เป็นวิปัสสนา มันผิดตรงนี้ไง ผิดพอเริ่มต้นปฏิบัติ มันก็อยากให้เป็น อยากให้ได้ มันยังไม่ได้ พอมันไม่ได้ หน้าที่เราก็ต้องตั้งใจทำไง เราก็ต้องตั้งใจของเรา

๑. ตั้งใจของเรา

๒. ทำความเข้าใจกับมัน

ถ้าเราทำความเข้าใจ เหมือนเราเป็นผู้ใหญ่ ถ้าเราเป็นผู้ใหญ่แล้วใช่ไหม เราเข้าใจ เปรียบบ่อยมาก เหมือนรถนี่ พอเราใช้รถ แล้วรถน้ำมันหมด ถ้าเราเป็นคนขับรถ เราเข้าใจ เราก็พยายามจะหาน้ำมันมาเติมรถก็ไปได้ แต่เราไปกับเด็กน้อย เด็กน้อยพอรถน้ำมันหมด มันไม่ยอมรับ มันจะเอารถให้ติดเครื่องได้ มันจะร้องไห้ของมัน มันจะไม่รับเหตุผล

อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราจะรับเหตุผลนะ ว่าการปฏิบัติมันไม่ใช่ของง่าย การปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติมันเหมือนกับเราหาเงินหาทอง เงินทองเราหา หาไม่ใช่ของง่าย แต่เงินมากเงินน้อยมันก็ต้องลงทุนลงแรงต่างกัน

ทีนี้ ถ้าเราทำ เราจะฝึกสติ เห็นไหม เราจะฝึกสติ เราจะทำสมาธิ

ฝึกสติสมาธิมันคืออะไร?

นี่เราไปคิดว่ากำหนดพุทโธๆ แล้วมันต้องเป็นสมาธิเลย มันเป็นสมาธิโดยข้อเท็จจริงเลย แต่ในเมื่อเรายังกำหนดพุทโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราต้องเข้าใจว่า! เข้าใจว่า! ๆ เห็นไหม เข้าใจว่า! ต้องย้ำเลย เข้าใจว่า! เข้าใจว่าเราเกิดมาจากกิเลส พวกเราน่ะมีกิเลสเป็นพื้นฐาน กิเลสในพื้นฐานของใจเรานี่มันจะต่อต้าน

ดูสิมันคิดฟุ้งซ่าน มันคิดอยากได้ มันคิดอยากใหญ่ มันคิดไป มันเป็นกิเลสคิด แล้วพอเราตั้งสติ เรากำหนดพุทโธ นี่มันมาจากไหน เราเกิดมาอายุเท่าไร ตั้งแต่เกิดมาจนป่านนี้ แล้วเกิดมาตั้งกี่ภพกี่ชาติ เราอยู่กับกิเลสมันจนคุ้นเคย แล้วพอมันนึกพุทโธๆ มันเพิ่งนึกเดี๋ยวนี้เอง เพิ่งปฏิบัติเดี๋ยวนี้เอง

แล้วไอ้ที่คุ้นชินกับกิเลสมา ตั้งแต่ไม่มีต้นไม่มีปลาย กิเลสมันถึงสนิทกับใจเรามากกว่าพุทโธไง คุ้นเคยกับกิเลส นอนจมอยู่กับกิเลสตลอดเวลาเลย แล้วพอจะเอาพุทโธมา พุทโธจะไปสู้กับมัน มันก็ต้องตั้งใจ

พอเราทำความเข้าใจว่าจิตเราเป็นอย่างไร กิเลสมันเป็นอย่างไร กิเลสมันเป็นอนุสัย มันนอนเนื่องมากับใจ กิเลสกับใจเป็นเนื้อเดียวกัน มันเกิดตายมากันตลอด ธรรมะๆ เห็นไหม ธรรมะ เราเพิ่งศรัทธา เราเพิ่งขวนขวายค้นคว้า พอเราขวนขวายค้นคว้า เราพยายามสร้างขึ้นมา มันจะยากมันจะง่าย มันก็ต้อง..

ธรรมะ จะบอกไม่มีเลยก็ไม่ได้นะ เวลาธรรมะ เวลาครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติแล้ว ท่านจะบอกเลยว่าธรรมะ สิ่งที่จะสัมผัสกับธรรมะได้ก็คือความรู้สึก คือใจเท่านั้น อย่างอื่นไม่มี อย่างพระไตรปิฎกนี่เป็นกระดาษ กระดาษพิมพ์ตัวอักษรนะ พระไตรปิฎกไม่มีชีวิต พระไตรปิฎกไม่มีความรู้สึก

ความรู้สึกของธรรมะคือความรู้สึกจากใจของเรานะ เราไปอ่านพระไตรปิฎกขึ้นมา เรารู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด ในหนังสือ หนังสือรู้อะไร หนังสือมันมีชีวิตไหม หนังสือมันรู้อะไรด้วยกับเรา เราไปอ่านมาต่างหากใช่ไหม เราถึงรู้ เราจะบอกว่า ใจ ความรู้สึกของเราสัมผัสธรรม สัมผัสกับสมาธิสัมผัสกับสติ สัมผัสกับพุทโธ สัมผัสกับทุกอย่างเลย

ทีนี้สิ่งที่สัมผัส หมายถึงว่าสิ่งนี้มันถึงเป็นธรรม ธรรมหมายถึงว่าจิตที่มันมีอยู่ สิ่งที่มีโอกาสได้สัมผัสธรรม สิ่งที่โอกาสที่จะสัมผัส ที่มันรับรู้ได้ มันมีอยู่ นี่คือตัวธรรม ถ้าตัวนี้ไม่มี เวลานิพพานแล้วไปไหน เวลาเราสร้างขึ้นมา เราทำลายกิเลสหมดแล้ว เราฆ่ากิเลสหมดเลย

อย่างว่าพระอรหันต์ โลกธาตุเปิดตลอดเวลา แล้วเอาอะไรเปิด เอาอะไรรับรู้ล่ะ ก็ตัวจิตตัวนั้นไง ตัวจิตตัวนั้นรับรู้ แต่ในปัจจุบันนี้ กิเลสครอบงำมันอยู่ ที่เราพูดมานี่ เราให้ทำความเข้าใจว่า แต่เดิมจิตเรานี่มันไปดีก็ได้ชั่วก็ได้ มันเป็นสมบัติกลาง แล้วมันคุ้นเคย คุ้นชินกับกิเลสมากกว่า

แล้วปัจจุบันนี้ เราพยายามจะเอาธรรมะเข้าไป มันจะยากมันจะง่าย มันเป็นวิทยาศาสตร์ มันเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันเพราะว่ามันเป็นมาอย่างนี้ แต่มันมาที่พื้นฐาน พื้นฐานที่ว่า ทำไมพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา เป็นเพื่อนกันมาทุกภพทุกชาติ สร้างบารมีมาปรารถนามาเป็นอัครสาวก เพราะมันเป็นสิทธิ มันเป็นสิทธิที่จะอยู่ซ้ายและขวาสององค์ไง เป็นเพื่อนกันมาทุกชาติเลย พระโมคคัลลานะพระสารีบุตร

เราจะบอกว่า เวลามาปฏิบัติไง ทำไมพระโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์ไปก่อนล่ะ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรไปฟังพระอัสสชิมา ไปบอกพระโมคคัลลานะ ก็เป็นพระโสดาบันมาด้วยกัน ก็ลาสัญชัยมาอยู่กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนพระโมคคัลลานะ ๗ วันเป็นพระอรหันต์ เพราะพระสารีบุตรยังไม่ได้เป็น พระสารีบุตรยังไม่ได้เป็นนะ พระสารีบุตรมีปัญญามาก รับรู้อะไรมันยังใคร่ครวญอยู่

เราจะบอกว่า ขนาดที่ว่าตั้งอธิษฐานมาด้วยกัน สร้างบารมีมาด้วยกัน เวลาปฏิบัติแล้วยังได้ไม่เท่ากันเลย องค์หนึ่งไปทางหนึ่ง อีกองค์ไปทางหนึ่ง พระโมคคัลลานะไปทางฤทธิ์ พระสารีบุตรไปทางปัญญา เห็นไหม จิตแต่ละดวงมันไม่เหมือนกัน แล้วจิตของเรา เราสร้างมาแล้ว ถ้ามันมีเหตุอะไร

เราจะพูดอย่างนี้เลยนะ เราทุกคนเป็นญาติกันโดยธรรม ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน ทุกคนมีจิตเหมือนกัน แล้วทุกคนจะทุกข์จะยากก็เพราะทุกคนสร้างกิเลสมา ต่างคนต่างสร้างมาไง คือ เป็นสิ่งที่เราสร้างมาเอง นี่คือมรดกที่เราสร้างมา ไม่ได้มรดกจากพ่อแม่ด้วย มรดกจากเราสร้างมา อย่างชาติปัจจุบันนี้เราเป็นคนอย่างไร เราทำอย่างไร นิสัยใจคอมันจะตกผลึกลงมา พันธุกรรมทางจิต มันจะตกผลึกลงมาที่ใจ

พันธุกรรม ความชอบ ความไม่ชอบ ความจริตนิสัย มันตกผลึก ตกผลึก ตกผลึกมาในแต่ละภพแต่ละชาติ แล้วมันมาเป็นเราในปัจจุบันนี้ สิ่งนี้ใครสร้างมา แล้วจะไปน้อยใจกับใคร นี่ไง กัมมพันธุ กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ไง กัมมปฏิสรโณ กรรมเป็นเผ่าพันธุ์

“กรรมเป็นเครื่องให้เรามาเกิดในปัจจุบันนี้”

ใครเป็นคนทำมา เราทำเอง พอทำเองแล้ว เราจะมาปฏิบัติ เราจะบอกว่าเวลาคนที่ปฏิบัตินะ เขาปฏิบัติไป บางคนปฏิบัติง่ายรู้ง่าย มันจะสั้นมันจะยาว เราขยันหมั่นเพียร แล้วพูดไว้ตรงนี้เลย ให้เชื่อมั่นกับการปฏิบัติที่เราทำมานี่ถูกต้อง สิ่งนี้ ถ้าเรา เห็นไหม

มีวิธีการอย่างใดบ้างที่ให้สติทันจิตได้ง่าย?

ปกติจิตนี้นั่งสมาธิจิตก็จะเป็นสมาธิได้ยาก เวลาเกิดสมาธิมา สมาธิก็สั้นมาก มีสมาธิไม่กี่วินาทีก็หลุดแล้วค่ะ พอวิปัสสนา สติก็ยิ่งไม่รู้จักทันจิตเท่าไรเลย เห็นไหม ถ้าคนมีความคิดอย่างนี้ มันอยู่กับจิตตลอดเวลา อยู่กับจิตตลอดเวลา อยู่กับความคิดตลอดเวลา เพราะความคิดกับจิตมันคนละอัน แต่จิตไม่ใช่ความคิด ความคิดไม่ใช่จิต แต่จิตมันคิดบ่อย พอคิดบ่อยมันก็มีความน้อยใจ มีความครุ่นคิดหาทางออก พอไปเจอคนเสนอทางออกไง มีทางลัดสั้น มีทางสะดวก มีทางง่าย ไปทันทีเลยไง

เราถึงจะบอกว่า มันจะเกิดสิ่งใดขึ้นก็แล้วแต่ เราต้องมั่นคง อย่าไปเชื่อใครง่ายๆ ไอ้ที่ว่าสั้นๆๆ ไอ้ที่ว่าง่ายๆ เหมือนเรากันนี้ พวกเราเป็นผู้ใหญ่กันมา เราทำมาหากินกันมา มีคนมาเสนอเราบอกว่า ไม่ต้องทำกินเลย เอาอะไรไปขายแล้วได้ง่ายๆ มันก็แชร์ลูกโซ่ไง มันจะหลอกให้พวกเราเอาเงินไปให้มันไง อย่าเชื่อ! กาลามสูตร

พระพุทธเจ้าบอก “ไม่ให้เชื่อแม้แต่พระพุทธเจ้าพูด ไม่ให้เชื่อแม้แต่อาจารย์คนนั้นพูด”

ไอ้ที่ว่า คำว่าสะดวกเพราะมันสั้น อย่าไปเชื่อมัน เพราะถ้าเรา พวกเราทำมาหากินกันมา เราทำมาจะสะดวกสบาย จะทำมาง่ายๆ ไหม เราลงทุนลงแรงมาขนาดไหน ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมาจนท่านสิ้นกิเลส มีองค์ไหนบ้างที่บอกว่าไม่เอาตายเข้าแลกมา มีองค์ไหนบ้างที่บอกว่าธรรมะไม่อยู่ฟากตาย มีองค์ไหนบ้าง ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมะจริงๆ ครูบาอาจารย์ทุกองค์เลยบอกว่า

“โอ้โฮ สู้กับกิเลสนี่ทุ่มทั้งตัว”

ทุ่มทั้งตัว ไม่เห็นคนไหนบอกว่าง่ายๆ เลย ทีนี้พอเป็นฝ่ายมหายาน มหายานบอกว่าไปทางลัดทางสั้น เขาเองก็ไม่ง่าย เพราะในมหายานนะ พวกเซนน่ะ เขาทุ่มทั้งชีวิตทั้งนั้น เขาปฏิบัติกันนะ เขานั่งทีหนึ่ง ๑๐ วัน ๘ วัน เขานั่งกัน เขาต่อสู้กันรุนแรงมาก แต่คำพูดเขาพูดอย่างนั้นเอง บอกลัดสั้น ไม่ให้ติด เป็นคำสอน แต่วิธีการ เขาไม่ทำอย่างนั้นหรอก เขาทำจริงๆ นะ

เขาทำมากกว่าเราด้วย ไอ้ที่ว่าลัดสั้น ลัดสั้น ก็ไปอ่านสิ ในมหายาน ในพวกเซน ไปอ่านดูสิ เขาทำสั้นๆ ไหม มันมีอยู่ เราจำแม่นอยู่อันหนึ่งของญี่ปุ่น มันเป็นหมอรักษาคนไข้ แล้วก็ไปหาอาจารย์เซน อาจารย์เซนก็ถาม ตบมือข้างเดียวเสียงอะไร ตบมือข้างเดียวเสียงอะไร เขาเป็นหมอใช่ไหม เขารักษาคนไข้ไปด้วย

พอได้ยินเสียงน้ำตก น้ำตกมันดัง ซู่ๆ มันตกมานะ นั่นเสียงน้ำตก พอจิตมันกำลังครุ่นคิดอยู่ใช่ไหม พอเสียงน้ำตก ตบมือข้างเดียวคือเสียงน้ำตก มันอุปาทานคิดถึงเปรียบเทียบ มันก็ไปบอกอาจารย์เลย ตบมือข้างเดียวเสียงน้ำตกครับ ไม่ใช่ ก็กลับไปคิดอีก คิดอยู่อย่างนี้ ๑๗ ปี คิดหาคำตอบว่า ตบมือข้างเดียวมันมีเสียงอะไร ตบมือข้างเดียวมีเสียงอะไร

สุดท้ายแล้วนะ พอถึง มันครุ่นคิดอยู่ ครุ่นคิดอยู่ ก็เหมือนกับเรากำหนดพุทโธ เราตั้งใจ แล้วครุ่นคิดหาทางออก พอสุดท้ายแล้ว เขาไปถามอาจารย์เขา พอจิตเขาเป็นสมาธิแล้วนะ เขาไปถามอาจารย์เขาว่า ตบมือข้างเดียวเสียงอะไร เสียงอะไรเขาหาไม่ได้ อาจารย์บอกว่า โทษนะ นี่เรื่องจริง เราอ่านมา อาจารย์เขาบอกว่า ตบมือข้างเดียวไม่มีเสียงหรอก ไม่มี กูหลอกให้มึงคิดไง กูหลอกให้มึงหาคำตอบ

กูหลอกให้มึงหาคำตอบ เพื่อจะให้จิตมึงหาคำตอบ จิตมึงจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน ให้อยู่กับที่ไง อาจารย์ก็บอก เขาถามลูกศิษย์ไง ว่าตบมือข้างเดียวเสียงอะไร อ้าว ตบมือข้างเดียวเสียงอะไร เอ๊อะ ก็คิดเอาสิ ๑๗ ปี ลัดสั้นเหรอ สั้นไหม แต่มันบอกลัดสั้น ทางลัด สะดวก

เซนเขาไม่ลัด เขาทำจริงๆ นะ แต่คำสอนเขาสอนอย่างนั้น มันเป็นโวหาร แต่เราไปเอาโวหาร เหมือนอย่างพวกผู้ใหญ่เขาบอกไง ไอ้พวกไปเรียนเมืองนอกมา ไปจำแต่ไอ้สวะเขามา ไอ้ที่ว่าฝรั่งไม่เอา มันทิ้งแล้วไปจำมาง่ายๆ แต่ทางวิชาการแม่งไม่เอามา

นี่ก็เหมือนกัน ไปมหายาน เขาสอนกันนะ ก็เพื่อความหลุดพ้นนะ ไม่ได้ทำกับแบบเขาหรอก ไปเอาลัดสั้นมา ไปเอาสว่างโพลงมา แล้วมึงโพลงไหมล่ะ ไปเอาแต่เศษสวะเขามา แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่เอามา สิ่งที่เขาขยันหมั่นเพียรไม่เอามา

นี่พูดอย่างนี้ไปแล้ว นี่พูดไปเพื่อให้มั่นคง เพราะคำพูดนี่มันเหมือนกับเราทุกข์นะ แล้วพอใครจะมาจูงไปทางไหนก็จะไป แต่ขณะที่มัน ฝึกสตินี่ เวลาลูกศิษย์มาหา เขาบอกเขาทำสมาธิมาก เขาอยากได้สติมาก เราบอกเวลาโยมอยากได้ อยากได้แต่สมาธิ เวลาพระพุทธเจ้าสอนนะ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เราต้องย้อนกลับมาสิว่า ทำไมเราตั้งสติแล้วสติเราสั้น สติเราตั้งแล้วทำไมถึงไม่ได้ ใช่ไหม

พออย่างนั้นย้อนกลับมาหลวงปู่มั่น ย้อนกลับมาครูบาอาจารย์เรา ธาตุขันธ์ทับจิต ธาตุขันธ์ ขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป เห็นไหม ความนึกคิด รูปเวทนา เวทนาน่ะ ความพอใจไม่พอใจ สัญญาคือข้อมูลของเรา สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง วิญญาณ ความคิด ความอะไรเรานี่มันธาตุขันธ์ทับจิต อยากได้สมาธิ อยากได้ มันก็เป็นอารมณ์ความรู้สึก พอคิดขึ้นมาแล้วมันก็ไปกดถ่วงจิต

เวลากินข้าว ธาตุ ๔ กินอยู่สุขสบาย ทำสบาย พอกินเสร็จแล้วก็นั่งสมาธิ พุทโธๆ แล้วก็นั่งหลับไง ธาตุขันธ์ทับจิต ถ้าจะให้ธาตุขันธ์นี่เบา เพื่อไม่ให้ธาตุขันธ์ทับจิต เพื่อให้จิต เวลาออกฝึกปฏิบัติแล้วจิตจะได้มีหลักมีเกณฑ์ จิตจะได้มีโอกาสไปประพฤติปฏิบัติ ถึงอดนอนผ่อนอาหารกันไง

เขาอดนอนผ่อนอาหาร ก็เพื่อจะให้ธาตุขันธ์มันเบา ธาตุขันธ์นี่กินเต็มท้องเลย แล้วก็พุทโธๆ แล้วก็นั่งสัปหงกแบบสับนกเลย แล้วก็บอกว่าจะเอาสมาธิ จะเอาสมาธิ แต่ไม่ได้ย้อนไปดูที่เหตุเลย เราสอนอย่างนี้ไปเยอะ แล้วคนไปทำตาม เราถามเขาว่าทำไมพระพุทธเจ้าให้ถือศีล ๘ ศีล ๘ ไม่กินข้าวเย็น ถ้าข้าวเย็นตอนเย็นไม่มีอาหารในกระเพาะ

อาหารในกระเพาะ ทางการแพทย์ มันจะย่อยอาหารอยู่ใน ๖ ชั่วโมง คิดดู เรากินสักทุ่มสองทุ่ม แล้วก็นั่งพุทโธๆ ไอ้กระเพาะมันก็ย่อยอาหารนะ ไอ้กูก็พุทโธๆ แล้วก็นั่งสัปหงก ถ้าจะให้มีสติ ถ้าจะให้มันมีสมาธิ เรา อาหารนี่ ถ้าเรากินอาหารเบาๆ อย่างพวกสลัด อย่างพวกผัก เห็นไหม พวกผัก พวกเนื้อสัตว์ พวกข้าว ให้พลังงานต่างๆ กัน

ถ้าเรากินเพื่อดำรงชีวิตของเรา กินเพื่อให้กระเพาะมันมีอาหารได้ย่อย เราไม่ต้องถือศีล โดยศีล ๘ ไม่กินอะไรเลย จะกินอะไรนะให้สังเกต เรานี่อยู่กับ.. กรรมฐานนี่ทุกคนมองข้าม ตักอาหารใส่บาตร ใส่บาตร อาหารมาน่ะ มันอยากตักทั้งนั้น พอตักขึ้นมาใส่บาตรแล้ว อะไรก็อยากตักๆ พอตักใส่บาตร แล้วพอจะฉัน ฉันไม่หมด

ไอ้อยากเมื่อกี้หายไปไหนไม่รู้ ไอ้อยากจะตักจะกิน พอกินเข้าจริงๆ กินไม่หมด กินไม่ได้ มันล้นคออยู่นั่นน่ะ มันตักด้วยความอยาก

๑. ตักด้วยความอยาก

๒. ตักแล้ว ถ้ามีสติบ้าง ได้พิจารณา

พระนะ ถ้าตักอาหารใส่บาตรแล้วไม่ได้ปฏิสังขาโย ฉันโดยไม่ได้พิจารณา เป็นอาบัติทุกกฎ เป็นอาบัติทันทีเลย ก็เพื่อจะ เห็นไหม หลวงตาท่านพูดประจำ ไปฟังในเทปสิ อาหารมันทับพระวัดป่าบ้านตาดตายหมดแล้ว อาหารการกินมันทับพระวัดป่าบ้านตาดตายหมดเลย เพราะมันเยอะมาก มันล้นมาก

พออย่างนี้ปั๊บ พอเรามีสติปั๊บ เขาเรียกผ่อนไง ในพระไตรปิฎกนะ ฉันอาหารแค่ ๗๕% แม้แต่มื้อเดียวนี่ ฉัน ๗๕% อย่าให้อิ่ม แล้วดื่มน้ำให้อิ่ม พอดื่มน้ำให้อิ่มแล้ว อาหารมันมีแค่นั้น เราล็อกมันไว้ พออาหารมันมีไม่มาก พอเรามาเดินจงกรมนะ พอบ่ายๆ มาเดินจงกรม มันเริ่มได้ดี

หลวงตาท่านพูดว่า ถ้าวันไหนอดอาหาร ๓ วัน ๔ วัน ความง่วงไม่มีเลย คนไม่ง่วงเลย มันจะสั้นไหมสติน่ะ มันจะนั่งตื่น นั่งตาเถ่ออย่างนี้ สติมันก็มาแล้ว พอสติมันมา เห็นไหมสติมันมา กำหนดพุทโธ เห็นไหม ไม่ต้องไปทุกข์ใจนะ คนนี่จะทุกข์มาก ว่าขนาดฉัน กินกันมื้อเดียว ก็กลัวโรคกระเพาะ แล้วยิ่งไปอดอาหาร โรคกระเพาะมันจะมาหาใหญ่

โรคภัยไข้เจ็บมันมีเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเรารักษามันเป็น มันก็หายได้ แต่โรคของกิเลสมันไม่เคยหาย เราจะรักษาโรคกิเลส เราจะต้องลงทุนลงแรงตรงนี้บ้าง ฉะนั้น เราแนะนำไปหลายคน แล้วหลายคนนะจะกลับมาบอกว่า เออ หลวงพ่อ ดีขึ้นตั้งเยอะแน่ะ ดีขึ้นตั้งเยอะเลย แต่เดิม ก็นั่งเสียอกเสียใจ นั่งสัปหงก นั่งงกๆ งันๆ นั่งทุกข์ยากมากเลย แล้วสมาธิก็ทำยาก อะไรๆ ก็ยากไปหมดเลย

เราเอง เราไม่เปิดทางให้โอกาสตัวเราเอง เริ่มตั้งแต่ความเป็นอยู่ ความเป็นอยู่ เราต้องรักษาของเรามาตั้งแต่ตอนนั้น เห็นไหม แล้วเวลาจะมาปฏิบัติ มันก็เริ่มโอกาส มันส่งมาตั้งแต่ตอนนั้น แล้วถ้ามันปฏิบัติแล้ว ถ้าจิตใจมันต่อต้าน บางทีจิตใจมันต่อต้านจริงๆ นะ อย่าว่าแต่ปฏิบัติเลย พระเรา เพื่อนพระมี หยิบพระปาฏิโมกข์ แล้วท่องปาฏิโมกข์นี่ ปากเน่าเหมือนนกกระจอกเลย ถ้าวางแล้วก็หาย พอหยิบขึ้นมาก็เน่า เป็นเรื่องแปลกมาก

แต่บางทีพระเรา ท่องปาฏิโมกข์ด้วยกันทุกองค์ การท่องปาฏิโมกข์มันจะฝึกสตินะ แล้วมันจะมีบุญกุศลมาก เพราะปาฏิโมกข์นี่เป็นวินัยของพระ แล้วเรามาสวดกัน เราจะบอกว่าเวลาหยิบปาฏิโมกข์ขึ้นมานี่ปากเน่า พอวางปาฏิโมกข์ก็หาย นั่นล่ะกรรมของเขา เห็นไหม กรรมของเขา ปาฏิโมกข์มันเป็นกระดาษอยู่ข้างนอก เป็นสมุดเล่มหนึ่ง มันจะมีเชื้อโรคอะไรจะทำให้ปากเน่าได้ ทำไมพอหยิบปาฏิโมกข์ทีไร ทำไมปากมันเน่า

และในปาฏิโมกข์เองก็เหมือนกัน มันมีอยู่ข้อหนึ่ง ข้อที่ว่าใครสวดปาฏิโมกข์อยู่ เขามีความหมั่นเพียรอยู่ พระองค์ใดไปพูดให้เขาท้อแท้ ไปพูดให้เขาไม่มีความตั้งใจ เป็นอาบัติด้วย ปาจิตตีย์เลย ทีนี้เพราะว่าอะไร พอความคุ้นเคยของพระไง

หลวงตาท่านบอกเลย วงการพระก็มีแบบว่าสนิทกันทางพระ เขาเล่นกันไง พอใครพูดอะไร ก็แซวเล่นอะไรกัน บางคนมันอาย มันก็ไม่กล้าทำ พอมันไม่กล้าทำ มันทำให้การทำความดีมันน้อยไป เห็นไหม กรรมมันตามมา

เพราะในปาฏิโมกข์ก็มี ในตัวปาฏิโมกข์เองก็มี โย ปน ภิกฺขุ ปาฏิโมกฺเข อุทฺทิสฺสมาเน เอวํ วเทยฺย ฯ พระสวดปาฏิโมกข์อยู่ พระพยายามหัดท่องปาฏิโมกข์อยู่ ไปพูดให้เขาท้อแท้ ไปพูดให้เขาไม่ตั้งใจ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะมันมีมาอยู่แล้วในสมัยพุทธกาล

ย้อนกลับมาที่ว่าทำไมสติมัน เราตั้งสติของเรา เราจะบอกว่าสิ่งที่เราพูดไปทั้งหมดมันเป็นพื้นฐานที่เราจะหาความสมดุลของการปฏิบัติก่อน แล้วพอปฏิบัติไปแล้ว มันก็ยังเป็นบุญเป็นกรรมของจิตแต่ละดวงที่มีสร้างมา คนสร้างมาจนเป็นจริตเป็นนิสัย ความชอบ

บางคนชอบพุทโธ บางคนพุทโธไม่ได้ มันพุทโธแล้วมันเครียด มันต้องใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญ ใช้ปัญญาตามความคิดไป เวลามันเป็นความคิด มันใช้สติตามความคิดไปเลย พอมันตามไป ความคิดมันจะหยุดได้

พอหยุด เอ๊อะ หยุด พอหยุดมันเห็นความหยุดปั๊บ สติมันตามไปเรื่อยๆ มันจะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา มันทำได้หลายวิธีการ ปัญญาอบรมสมาธิไง ใช้สติตามความคิดนี่ไป พอสติตามความคิดไป มันแยก เห็นความคิด มันมีถูกมีผิด มันจะหยุดได้

มีถูกมีผิด หมายถึงว่าคิดแล้วมันให้ผลเป็นทุกข์ คิดแล้วให้ผลเป็นทางบวก ทางบวกมันก็ไม่ถูก เพราะความคิดทำให้เราฟุ้งซ่าน ตามความคิดไป มันจะมีทางออกเอง แต่เริ่มต้นก็ดูตรงนี้ก่อนไง ดูตรงนี้ก่อน

แต่! แต่ในเมื่อมัน เรื่องการปฏิบัติ หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ คนที่ว่าทำงานแล้วทุกข์ๆ ยากๆ ยังไม่ได้ปฏิบัติอย่าเพิ่งพูดว่าทุกข์ยากนะ เพราะการปฏิบัตินี่ เอาชนะตนเอง เอาชนะกิเลสนะ ทุกข์มาก เพราะกิเลสมันรู้ทันทุกๆ เรื่องเลย แล้วเราทำอะไรมันก็รู้ทันหมดเลย

อย่างเช่นเราตั้งใจปฏิบัติ มันก็บอกว่า เออ ปฏิบัติ พอ ๕ นาที ๑๐ นาที มันก็แสดงตัวแล้ว ทำให้ง่วงเหงาหาวนอน ทำให้เบื่อหน่าย แล้วมันก็จะคิดวิตกกังวลไปเลยนะ มันจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ เป็นอะไร ไม่ต้องกลัวๆ โรคภัยไข้เจ็บมัน ไม่เป็นหรอก

มันจะเป็นอย่างไร มันจะเป็นอย่างไรต้องขอดูก่อน เราใช้บทเรียนนี้มา เราอดนอนด้วย เราอดอาหารด้วย ปฏิบัติอยู่นี่ เวลาความคิดมันขึ้นมา มันจะบอกว่ามึงตายแล้ว มึงเจ็บไข้ได้ป่วยตลอด เราจะพูดกับมันนะ เราพูดกับความคิดเราเอง

“กูจะขอดูว่าอะไรตายก่อน ถ้าจะตายขอดูว่าอะไรมันจะตายก่อน”

คือว่า เอากำปั้นทุบดินเลยไง ถ้ามันบอกว่ามันจะตายใช่ไหม เราก็อ่อนแอ เราก็จะไม่สู้ใช่ไหม เราบอกว่า ขอดูว่าอะไรตายก่อน คือจะขอดูความรู้สึกของมันเลยอย่างนี้ คือมันหลอกไม่ได้แล้ว คือเราไม่ให้ความคิดหลอกเราอีก ถ้าเราจะบอกว่ามันตายเพราะอะไร ทำไมมันถึงต้องตาย เราก็บอกว่า ก็มึงอดอาหารไง ก็มึงจะตายอยู่แล้วไง มันก็จะสร้างเรื่องอีกใช่ไหม

เราบอก มึงต้องตายนะ ขอดูอะไรตายก่อน จบเลย คือหักดิบเลย พอขอดูสิอะไรตายก่อน จบ! พอจบมันก็ไม่คิดเรื่องตาย ก็เดินภาวนาต่อ มันก็จะคิดนะ มึงตายๆๆ เพราะเราอดอาหาร อดรุนแรงมาก อดมาเต็มที่ อดจนแบบว่า.. ที่หลวงตาท่านบอกว่าท่านกินอะไรท่านก็ไหลออกหมดเลย เหมือนกัน พอกินอะไรเข้าไปมันไม่ย่อย กินข้าวเข้าไปมันก็ไหลออกเป็นข้าวเลยล่ะ เราเป็นอย่างนั้นมาจริงๆ แต่มันจะภาวนาน่ะ

ถาม : ๒. มีปัญหาเรื่องศีลข้อที่หนึ่ง ในแง่ของความรู้สึก ศีลก็ยังเข้าไม่ถึงใจค่ะ จะมีวิธีการอย่างไรปรับจิต

หลวงพ่อ : ข้อที่หนึ่ง ปาณาติปาตานะ ความจริงไม่น่ามีปัญหาเลย แต่มัน เอ็งจำได้ไหม อยู่ที่โพธาราม โยมเแก เขาบอกว่าเขาถือศีลสะอาดบริสุทธิ์นะ แต่เว้นไว้อย่างเดียว ตบยุงไม่เป็นอะไร เขาคิดของเขาเองนะ เขาบอกเขาถือศีลบริสุทธิ์ แต่เว้นไว้อันเดียว ตบยุง เว้นไว้แต่ตบยุง

ก็ถามเขา นี่เขาคุยกับเราด้วยความบริสุทธิ์นะ เขาบอก เขาเว้นไว้อย่างเดียว ตบยุง ถาม ทำไมถึงเว้นไว้ล่ะ อ้าว ก็ยุงมันมีเชื้อโรค มันมากัดเรา มันก็ให้เชื้อโรคกับเรา เราป้องกันเชื้อโรค เราไม่ผิด เออ เขามีความ นี่ไง มุมมองของแต่ละคน เราถามเขา ดีมากเลย เราจะเห็นทัศนคติของเขา เขาบอกว่าเพราะมันมีเชื้อโรค

ถ้าเป็นทางปกติ มันมากัดเราก็ไม่ว่า นี่มีเชื้อโรค ทำให้เราป่วยไข้ได้ เราตบมัน ไม่เป็นไร แล้วเขาก็ไม่กังวลนะ คนเราน่ะพอมันไม่กังวลปั๊บมันทำอะไรได้หมด พอมันไม่มีกังวลข้อนั้น เขาไม่มีอะไรเลย แต่ของเรา ศีลข้อที่หนึ่ง ปาณาติปาตา ไม่ต้องกังวล เราพูดอย่างนี้ ไม่ได้พูดให้คนไปฆ่าสัตว์นะ เราไม่ได้พูดให้ไปฆ่าสัตว์ แต่มันเป็นกรรมของสัตว์ มันมี กรรมของเขา กรรมของเรา มันมีทั้งนั้น

เราไม่มีความปรารถนาจะทำลายใคร เราจะถือศีลของเราให้บริสุทธิ์ แต่ในเมื่อกรรมของเขามี มันจะเป็นสิ่งที่มันต้องเป็นไปตามนั้น ลูกศิษย์มาหาเยอะมาก เวลามานี่บางทีมันมาไง หลายคนมาก หลวงพ่อ ทำบุญ ทำไมล่ะ ชนหมาตาย ไม่สบายใจเลย ชนหมาตาย เราก็รู้ เราก็บอกเขากลับนะ บอกไม่ใช่หรอก หมามันมาชนรถมึงตาย หมามันวิ่งมาชนรถมึงตาย หมามันต้องใช้ค่าเสียหายมึง

เราพูดอย่างนี้ปั๊บ เราจะบอกว่ามันเกิดอะไรปั๊บ เราจะโทษแต่ตัวเราเองไง เราจะโทษว่าเราเสียหายอยู่คนเดียวไง เหมือนเราทำร้ายตัวเราเองไง เราตั้งใจที่สุดเลย อ้าว เราเป็นชาวพุทธนะ เรามีความตั้งใจจะทำร้ายใครไหม แล้วเหตุสุดวิสัยที่มันมีเกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาโดยที่เราไม่ตั้งใจเลย มันเป็นวาระของกรรม ถ้าวาระของกรรมมันเกิดขึ้นมา เราจะหลบหลีกอย่างไรก็หลบหลีกไม่ได้ มันต้องเป็นไปตามนั้น แล้วเราจะทุกข์ใจได้อย่างไร

ทีนี้ในศีล ๕ นะ ในศีล ๒๒๗ ของพระ ถ้าพระทำสัตว์ให้ตกร่วง ถ้าพระทำอุบัติเหตุ ทำให้สัตว์ตายไป พระก็ปลงอาบัติ ไม่ใช่ว่าถือศีล ๕ ถ้าทำให้สัตว์ตายไป มึงต้องโดนประหารชีวิต มึงต้องตายตามไปเลย มันก็ไม่ใช่ พระทำเป็นอาบัติแล้ว จะต้องมีบาปติดตัวไปตลอดชีวิตเลย ทำไมมีปลงอาบัติล่ะ คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เป็นธรรมวินัย เป็นกฎหมาย

กฎหมายข้อบังคับไม่ใช่ตัวศีล ตัวศีลคือความปกติของใจ ตัวกฎหมายข้อบังคับไม่ใช่ศีล เป็นข้อบังคับ ศีล ๕ มีข้อบังคับ ๕ ข้อ ศีล ๘ มีข้อบังคับ ๘ ข้อ ศีล ๑๐ มีข้อบังคับ ๑๐ ข้อ ข้อบังคับนั้น เราพยายามไม่ทำให้ก้าวล่วงข้อบังคับนั้น แต่เมื่อมันเกิดเหตุสุดวิสัย สิ่งที่ทำนั้น ด้วยความไม่ตั้งใจ ไม่ใช่ศีลขาด

เพราะองค์ประกอบของศีลมันไม่มี องค์ประกอบให้มันครบการกระทำผิดมันไม่มี ไม่มีเจตนา เราไม่มีเจตนาทำผิด แต่มันมีกรรม มันมีวาระของมันที่เกิดขึ้นมา ที่มันเป็นไปตามนั้น เราไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้ทำผิด เขาเรียกว่าศีลด่างพร้อย ศีลทะลุ ศีลขาด

ศีลขาด กูตั้งใจจะฆ่าไอ้สัตว์ตัวนี้ กูลุกขึ้นไปฆ่า ยังไม่ขาดนะ กูลุกขึ้นไปแล้ว กูไปถึง กูฆ่ามัน ยังไม่ตาย ยังไม่ขาดนะ กูฆ่ามัน แล้วมันตายคามือกู ศีลขาด! ครบองค์ประกอบว่าเราเจตนา เราเจตนา เราไปทำ ทำถึงสิ้นสุดกระบวนการของการกระทำนั้น ศีลขาด เราตั้งใจไปทำ แต่ยังไม่ได้ทำ คิดได้ กูกลับก่อน ไม่ได้ทำ ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ศีลไม่ขาดเหรอ นี่ถ้าพูดถึงศีลไง

ทีนี้ สิ่งนี้ ข้อที่หนึ่ง เราไปกังวลใจ พอกังวลใจ ถ้าเข้าถึงใจนะ เพราะศีล หลวงปู่ฝั้นท่านบอกนะ ศีล ๕ หัวหนึ่ง แขนสอง ขาสอง ศีล ๕ ศีล ๕ คือเรา ตัวมนุษย์นี่ไง แต่เราบอกว่าศีล ๕ คือ ๕ ข้อนั่นไง หลวงปู่ฝั้นท่านบอกว่ามนุษย์นี่เป็นศีล ๕ ศีรษะหนึ่ง แขนสอง ขาสอง ครบ ๕

เราทำดี ศีล ๕ มันปกติที่นี่ ทีนี้ศีล ๘ ศีลอะไรก็ ถ้าศีล เราเข้าใจ ศีละ ศีลคือความปกติ โดยปกติ แล้วเราถือศีล ดูสิ ที่นี่ไม่เคยให้ศีลใครเลย เพราะเราตรงนี้ ศีลมันเกิดจากที่ไหนรู้ไหม ศีลเกิดจากวิรัติเอา ศีล ๕ ไม่ต้องขอ

ถ้าศีล ๕ ต้องขอนะ พระพุทธเจ้าไปขอศีลใครๆ เพราะพระพุทธเจ้าไม่มีอาจารย์ คนให้ศีลพระพุทธเจ้าไม่มี แล้วพระพุทธเจ้าไปขอศีลจากใคร ใครให้ศีลพระพุทธเจ้า แต่นี่พระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะอำนาจวาสนาบารมีของพระพุทธเจ้าใช่ไหม พอท่าน พระพุทธเจ้า ท่านจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ใช่ไหม

พอจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ก็อย่างที่พูดเมื่อกี้ เรื่องสมาธิ เรื่องสติ เราต้องกลับไปดูเหตุ แต่นี่พระพุทธเจ้าบอกว่าอยากให้ทุกคนเป็นพระอรหันต์ อยากให้ทุกคนพ้นจากทุกข์ ทีนี้พ้นจากทุกข์ บอกให้มันทำพ้นจากทุกข์เลย มันก็พ้นไม่เป็น ใช่ไหม ก็ต้องวางเป็นระบบขึ้นมา ใช่ไหม

ทาน ศีล ภาวนา ท่านก็วางระบบขึ้นมาเพื่อให้เราปฏิบัติ แล้วเราก็ไปติดที่ระบบนั้นไง อ่านพระไตรปิฎกนี่กอดไว้เลยนะ กลัวผิดพระไตรปิฎก พุทธพจน์ๆ พุทธพจน์อะไร พุทธพจน์นั้นให้ผลประโยชน์ใครไม่ได้หรอก เอาพระไตรปิฎกมากอดไว้เลย กอดพระพุทธเจ้าไว้เลย แล้วให้เป็นพระอรหันต์ เดี๋ยวหนังสือเน่าคามือ มันต้องปฏิบัติไง

พอมันปฏิบัติ มันถึง ทาน ศีล ภาวนา ทีนี้เราจะให้ทำความเข้าใจเรื่องศีล ในแง่ของความรู้สึก ยิ่งในแง่ของความรู้สึกนี่ยิ่งสำคัญใหญ่เลย เพราะถ้าในแง่ของความรู้สึก พอรู้สึกปั๊บ มันไม่ปกติแล้ว มันเรรวนแล้ว ถ้ามันเรรวนน่ะ ใจ ศีลคือความปกติของใจ ศีลคือความนิ่งอยู่ของใจไง ใจที่ไม่ทำอะไรผิดเลย สะอาดบริสุทธิ์ นี่ไง ตัวศีล

ตัวศีลคือความรู้สึกที่นิ่งอยู่ แต่ทีนี้พอเราคิด เราคิดจะติเตียนใคร เห็นไหม คิดจะติเตียนใคร นี่ผิด! ผิดตรงไหน ผิดเป็นที่มโนกรรม มโนกรรมคือความคิด จิตเริ่มกระดิก จิตเริ่มคิด แต่ทีนี้วงการพระเรา ถ้าเราไม่ทำอาบัติด้วยปากว่าเขา ด้วยมือทำ ไม่ผิดหรอก ศีลไม่ผิด อาบัติทางจิตไม่มีไง อาบัติมีแต่การกระทำที่ผิด แต่อาบัติทางความคิดไม่มี

แต่ในทางปฏิบัติ มี เพราะการปฏิบัตินี่สำคัญมาก ความคิด เพราะเราคิดปฏิบัติ เราเอาความคิดอยู่ในปกติ นี่ในแง่ของความรู้สึก ในแง่ของความรู้สึกเราจะบอกว่า พยายามตั้งใจไว้ว่ามันเป็นอย่างนี้ ถ้าใครจะพูดให้ชัดเจนนะ มันเป็นจริต โทสะจริต โมหะจริต โลภะจริต ถ้าเป็นโลภะ โมหะ มันเป็นจริต

พอจริต มันจะเรรวน เราพูดไว้ เห็นไหม ที่ว่าแก้เครียด ความเครียดเกิดจากอะไร เกิดจากความวิตกกังวล ความเครียดเกิดจากความไม่ปกติของใจ ใจเรรวน ใจไม่คงที่ พอเรรวน ใจเรานี่ เราเริ่มสงสัย เราเริ่มลังเลสงสัย เราเริ่มมีความไม่แน่ใจไง ความเครียดตามมาเลย ถ้าเรามีความมั่นคงของเรา ความเครียดจะมาไม่ได้ ในแง่ของความรู้สึกไง

ถ้าในแง่ของความรู้สึก เราอยู่กับปกติ พออยู่กับปกติปั๊บนะ สิ่งที่ได้ทำมาแล้ว สิ่งที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว มันเป็นประวัติศาสตร์มันเป็นอดีตชาติ ตั้งแต่เกิดจากท้องพ่อท้องแม่ก็เป็นปัจจุบันอันนี้ ชาติปัจจุบันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นมา นิสัยเป็นอย่างนี้

ถ้านิสัยเป็นอย่างนี้ เราก็ย้อนกลับ เราก็เลือกบทธรรมในพระพุทธเจ้าไง ว่าโทสจริตแก้ด้วยเมตตา เห็นไหม แก้ด้วยเมตตา โลภจริต แก้ด้วยปัญญา แก้ปัญญา มีปัญญาอะไร โลภะ โมหะ แก้ด้วยปัญญาหมายความว่าหาเหตุผลกับมันไง หาเหตุผล หาเหตุผลว่าทำไมเป็นอย่างนี้ เราสงสัยเรื่องอะไร แล้วสิ่งที่สงสัยนี่ควรสงสัยไหม

สิ่งนั้นน่ะ เราจะพูดกับเด็กๆ บ่อยมาก บอกว่าให้มั่นใจในตัวเอง แล้วตัดสินใจทำอะไร เพราะตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งไป ถ้าผิด ผิดก็เป็นประสบการณ์ของเรา ถ้าเราตัดสินใจถูก ทำถูกต้อง เราก็ทำถูกต้องแล้ว ถ้าจิตมันอยู่กับปัจจุบันอย่างนี้ จะทำให้เรา จะพิจารณาสิ่งใด ทำสิ่งใด ด้วยไม่มีความลังเลสงสัย ไม่มีความวิตกกังวลไง

ผิดก็คือผิด ผิดก็ไม่เป็นไร ผิดก็ผิด อ้าว ใครมันไม่เคยผิดล่ะ ผิดก็ผิด ทีนี้เราไง โทษนะ ยิ่งพ่อแม่ด้วย พอผิด พ่อแม่ นี่ไง ผิดแล้วเห็นไหม ตัวเองก็ผิดก็เสียใจอยู่แล้วนะ พ่อแม่ยังกระหนาบมาอีกนะ โอ้โฮ ทำให้รวนไปใหญ่เลย นี่ไง ในแง่ของความรู้สึก เราจะบอกว่ามันจะถูกจะผิดนี่เพราะบางอย่างเราไม่เข้าใจ

ถ้าเราเข้าใจแล้วนะ ผิดก็คือผิด ไม่มีปัญหา ผิดก็แก้ไขได้ เราจะบอกว่าทุกอย่าง พระยังมีโอกาสให้ปลงอาบัติ ศีล เห็นไหม ในทางวัดบ้าน เห็นไหม เวลาศีลขาดเขาให้ต่อศีล คือให้ขอศีลใหม่

แต่สำหรับเราไม่ต้อง ศีลจะขาด เราก็วิรัติเอา คือนึก ตั้งใจ ตั้งใหม่ คือการตั้งใจถือศีล นี่แหละ วิรัติ ศีลเกิดจากการตั้งใจ เกิดจากการวิรัติเอา คิดเมื่อไหร่ก็ได้ เราจะเกิดตั้งใจเมื่อไหร่ก็ได้ ตั้งใจจะถือศีล แล้วมันจะผิดไปไหน มันไม่ผิดไปไหนเลย ในแง่ของศีลนะ

ถ้าอย่างนี้ปั๊บ ถ้าเรานั่งอยู่นี่เราถือ เราทำผิด เราตั้งใจเดี๋ยวนี้ เราตั้งใจจะไม่ทำผิดอีก จบแล้ว ไอ้สิ่งที่ทำไปแล้วก็แล้วกันไป จะทำให้เราไม่ต้องครุ่นคิดไง เรื่องของศีล นี่เดี๋ยวเราถามอีกนิดหนึ่ง เราก็มีอะไรในใจอยู่เหมือนกัน นี่เรื่องของศีล

เอานี่ก่อนเนอะ

ถาม : ผมเริ่มฝึกใหม่ครับ และจิตผม ผมอยากทราบวิธีการฝึกสติเบื้องต้น ที่สามารถใช้กับการทำงานและชีวิตประจำวัน

หลวงพ่อ : การฝึกใหม่นะ การฝึกใหม่หรือการตั้งใจ คน ๆนี้มีบุญมาก เพราะถ้าคนไม่ตั้งใจฝึกใหม่ทุกคนบอกว่า เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราต้องประกอบสัมมาอาชีวะ เราต้องประกอบด้วยชีวิตทางโลก เราก็คิดแต่ว่าเราจะหาสมบัติของเรา แต่ถ้าการ เราเป็นคนฝึกใหม่ ฝึกใหม่ เราเหมือนกับ เรารู้จักตัวเราแล้ว เรารู้จักตัวเรา

ถ้ารู้จักตัวเรานะ เราจะเห็นคุณค่าของหัวใจ เรามีหัวใจกัน ปฏิสนธิจิต เกิดในไข่ของมารดา ถึงมาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วมนุษย์ต้องมีหน้าที่การงาน เพื่อต้องประกอบสัมมาอาชีวะ พอประกอบสัมมาอาชีวะปั๊บ เราก็มองกันว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น มีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์ แต่พระพุทธเจ้าบอกว่าให้มองความสำคัญของจิตด้วย

มองความสำคัญทางจิต คือจิตนี่มันเป็นตัวสุขตัวทุกข์ สิ่งที่หามาเลี้ยงร่างกาย จิตใจมันมีตัณหาทะยานอยาก มันก็อยากได้ด้วย ถ้าอยากได้ด้วย สิ่งใดประสบได้มาแล้วประสบความสำเร็จ หรือได้มาด้วยความพอใจ มันก็ว่านี่มันพอใจของมัน มีความสุขของมัน คือเจือด้วยอามิส

แต่ถ้าเราฝึกฝนตัวเราเอง ถ้าจิตเราสงบขึ้นมา เราหาความสุขเอง หาความสุขได้จากความสงบของเรา เราจะหาความสุขได้ภายในตัวของเรา เราไม่ต้องหาความสุขได้จากอามิสจากภายนอก

ทีนี้คนถ้ามีความตั้งใจอย่างนี้ เห็นไหม เป็นคนขึ้นมาแล้ว ถ้าเป็นคนขึ้นมา เป็นคนตั้งใจจะฝึกใหม่ไง ถ้าเป็นคนตั้งใจจะฝึกใหม่ อ้าว จริงไหม แสดงว่ายังไม่ได้เป็นคน เพราะยังไม่ได้อยากจะฝึก พวกนี้ยังไม่เป็นคน ยังไหลไปตามกิเลส คิดแค่นี้

เราเห็น ที่พระเทศน์ๆ กันอยู่ สังเกตได้ไหม พระที่ออกเผยแผ่ธรรมะ พวกเราชาวพุทธ เราก็ทำบุญกันเป็นปกติ แต่มีใครปฏิบัติบ้าง มีใครต้องการปฏิบัติเพื่อจะค้นหาความรู้สึกของใจกันบ้าง ในชาวพุทธนี่ แล้วพระที่ไปเทศน์ เทศน์ออกไป ก็เพื่อจะให้เขารู้จักตัวเขาเอง เขาจะได้ตั้งใจขึ้นมาค้นหาตัวเขาเอง ค้นหาตัวเขาเองคืออะไร คือความรู้สึก คือหัวใจ นั่นน่ะ

ถ้าค้นหาอย่างนั้น นั่นคือฝึกปฏิบัติของเขาขึ้นมา เขาจะได้อริยทรัพย์ ทรัพย์จากหัวใจของเขาขึ้นมา ฉะนั้น เริ่มต้น ตั้งใจว่าเป็นผู้ฝึกใหม่ แล้วตั้งใจว่าจะฝึก นี่ไง สมบัติเกิดแล้ว แล้วพอฝึกขึ้นไปแล้ว พอฝึกขึ้นไปแล้วนะ ก็จะมาอันเมื่อกี้ สติสั้น สมาธิสั้น พอฝึกขึ้นไปแล้ว เดี๋ยวจะรู้เลยว่าทุกข์

พอเอ็งเริ่มฝึกเดี๋ยวรู้เลยว่าทุกข์ เพราะมันเป็นงานที่ยากไง ไหนเขาว่าจะฝึกแล้ว ก็คนดีแล้ว บุญเต็มๆ เลย แต่ฝึกขึ้นมาแล้ว ทำไมนั่งปวด นั่งโอดโอย ก็จะเอาชนะตนเอง พอฝึกไปแล้ว เหมือนทำงาน อยากทำงานมากๆ พอได้งานทำแล้ว โอ้ ทุกข์น่าดูเลย อยากสบาย ไม่อยากทำงานแล้ว ต้องทำนะ

ถ้าพูดถึง ถ้าสมาธิสั้น ชีวิตประจำวัน เวลาทำงานนะ เราทำงาน อยู่กับงาน เอางานนั้นน่ะเป็นพุทโธแทน แต่พอเรามีเวลาว่าง เราพุทโธก็ได้ ใช้สติตามความคิดก็ได้ อันนี้ในครูบาอาจารย์เราบอกวัวผูก วัวหรือโคที่เราผูกไว้ เราผูกไว้ให้มันกินหญ้า เวลาเราจะใช้งานมันเราก็ไปแกะเชือกมาได้เลย

วัวปล่อยนะ วันๆ หนึ่งปล่อยใจคิดตามธรรมชาติของมัน ปล่อยให้มันฟุ้งไปตามเรื่องของมันนะ เหมือนวัว เราปล่อยมัน ปล่อยทิ้งไป มันก็หาหญ้าไปกิน อยู่ในป่าในเขา ตกเวลาพอจะปฏิบัติขึ้นมา วิ่งหาวัวนะ เฮ้ย วัวกูอยู่ไหนวะ วิ่งหาใหญ่เลย ไม่รู้มันอยู่ไหน มันไปซุกอยู่ต้นไม้ไหนก็ไม่รู้

ถ้าเรามีสติประจำโดยปกติ เราไม่ปล่อยวัวเราให้มันวิ่งไป ให้หาหญ้า เล็มหญ้ากินไปตามบุญตามกรรมของมัน เราเอาหญ้าให้มันกิน แล้วพุทโธไว้ เราตั้งสติไว้ เราตั้งใจรักษาจิตเราไว้ ว่าให้จิตมันออกไปตามอำนาจของมัน เห็นไหม เวลาเราจะปฏิบัติปั๊บ เออ วัวกูอยู่นี่ พุทโธๆ ต่อได้เลย เห็นไหม ครูบาอาจารย์ท่านทำอย่างนี้นะ แต่เราคิดว่า เราจะคิดกันนะ จริงเหรอวะ โอ๊ย จะอยู่กับพุทโธๆ ทั้งวันมันจะเป็นไปได้อย่างไรวะ

โอ้โฮ แค่พุทโธก็จะตายอยู่แล้ว ยังพุทโธทั้งวัน ไม่เชื่อๆ ก็ไม่เชื่อก็เลยไม่ได้อะไรกันอยู่นี่ไง ถ้าคนที่เขาเชื่อ แล้วเขาปฏิบัติมา เขาถึงได้ของเขา ก็เราไม่เชื่อ ไม่เชื่อก็ไม่มีไง ไม่มีก็ไม่ได้ไง แล้วก็บอก ทำไม ปฏิบัติอย่างไรถึงจะได้ล่ะ ทำอย่างไรถึงจะง่ายล่ะๆ มันไม่ได้เข้าไปซื้อของนะ เอาเงินไปวางแล้วก็เอากล่องมาเลยไง ธรรมะสำเร็จรูป ซื้อเอาเลย เอาเงินไปวางแล้วเอาของมา ไม่มีหรอก

ธรรมะเรามันต้องขวนขวายเอาอย่างนี้ มันเลยเผยแผ่หรือแสดงได้ยาก อย่างที่พูดตอนเช้า เราไปดูเมื่อวาน เห็นไหม ลักษณะของนิพพานจะเป็นอย่างนั้นๆ มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าลักษณะของนิพพานเป็นอย่างนั้นๆ พระพุทธเจ้าบอกก่อนมึงแล้ว พระพุทธเจ้าบอกนิพพานคืออะไร ไปค้นในพระไตรปิฎกสิ

“นิพพานคือนิพพาน”

นิพพานพอเข้าแล้วนิพพาน นิพพานคือนิพพานที่สามารถ ไม่ใช่สมมุติ ไม่ใช่บัญญัติ แล้วมึงจะบอกว่านิพพาน ลักษณะของนิพพาน นั่นสมมุติแล้วนะ มึงพูดถึงลักษณะ มึงสมมุติขึ้นมาพูด นิพพานมึงเลยเป็นนิพพานสมมุติไง มึงสมมุติว่านิพพานเป็นอย่างนั้นใช่ไหม นิพพานเป็นอย่างนั้นๆๆ เป็นอย่างนั้นมันต้องพูดออกมา

คำพูดนี่เป็นสมมุติ ของเขารู้จริง โอ้โฮ อย่างว่า ธรรมะเป็นอย่างนี้หนอๆ แล้วจะพูดออกมาอย่างไร ก็รู้ด้วยตนเอง รู้ด้วยปัจจัตตัง รู้ด้วยตนเอง ตนเองรู้เต็มที่เลย อ๋อ นิพพานเป็นอย่างนี้ๆ อ๋อ นิพพานๆ แล้วพูดกับใคร ก็พูดกับคนที่เห็น กับคนที่รู้เท่านั้น

ถ้าพูดกับคนอื่น ต้องสร้างตัวอย่างให้มันฟัง สมมุติ ต้องสมมุติขึ้นมาให้มัน ลักษณะของนิพพาน เขาว่านะ อ่านแล้วขำ มันก็เหมือน ถ้านิพพานก็ต้องว่า ลักษณะต้องกว้างต้องใหญ่ มันก็อันเดียวกัน นิพพานสมมุติไง สมมุติว่าเป็นนิพพานนะ

ผู้ที่ปฏิบัติใหม่นะ ตั้งใจ ปฏิบัติใหม่ คำว่าปฏิบัติใหม่ เห็นไหม เวลาเราไปฟังธรรมะ ใช่ไหม ธรรมะเขาบอกเลยนะ ลมพัดใบไม้ไหวก็เป็นธรรม ทุกอย่างก็เป็นธรรม จริงอยู่นะ ถ้าเวลาพระเขาเถียงกัน ในเซนน่ะว่า

เวลาลมพัด ธงมันโบก ธงมันไหวน่ะ เขาถามว่า มันเป็นเพราะมีธงหรือเพราะลม บางคนบอกเพราะลมพัด ธงมันถึงไหว พระอีกองค์ก็บอกไม่ใช่ เพราะมีธงมันถึงไหว บางคนบอก ต้องมีลมถึงไหว ระหว่างพระสององค์เถียงกันว่า ธงน่ะ ที่มันไหวอยู่นี่ เพราะธงหรือเพราะลม นี่ก็เหมือนกัน ใบไม้ไหวเพราะลมหรือเพราะใบไม้ ลมพัดใบไม้ไหวเป็นเพราะอะไร มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง

แต่ถ้าใจเราเป็นธรรม เราเห็นแล้วมันก็มองกันไป ใบไม้แก่มันก็ร่วงไป แต่ชาวสวนชาวไร่เขาอยู่กับมัน เขาก็ไม่ได้อะไรจากมันเลย เห็นไหม เพราะเขาไม่ใช้สติปัญญาไปใคร่ครวญ ถ้าเราใช้สติปัญญาไปใคร่ครวญ เราถึงบอกว่าอสุภะๆ ต้องจิตเห็น จิตสงบ จิตเป็นธรรม แล้วเห็นสรรพสิ่งเป็นสภาวธรรม ถ้าจิตเราไม่เป็นธรรมนะ ไปบอกมันเป็นธรรมๆ มึงไม่เป็นหรอก มันก็เป็นใบไม้ไหวอยู่อย่างนั้น มึงจะไม่ได้อะไรเลย

ถาม : การเมืองเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือไม่ เราได้อะไรจากการเข้าวัด

หลวงพ่อ : การเมืองเกี่ยวกับศาสนาหรือไม่ มันเกี่ยว เกี่ยวบ้าง แต่ความจริง เห็นไหม เขาบอกว่า พระนี่ห้ามเกี่ยวกับการเมือง แต่ในทาง ลังกา พระนี่สมัคร ส.ส. แล้วในทางการที่ทางวิชาการเขาบอกเลยนะ ตอนนี้ พันธมิตรเขาพูดประจำเลย บอก ส.ส. ในสภา ต้องให้เป็นพระทั้งหมด เพราะพระมีศีล ๒๒๗ เขาคิดว่าพระจะไม่โกหกไง ถ้าพระเข้าไปนั่งนี่เป็น ส.ส. หมด จะออกแต่กฎหมายที่ดีๆ ดีๆ ทั้งนั้นเลยไง

นี่เขาคาดหมายกับศาสนาไว้มากไง ทางโลกเขาคาดหมายกับศาสนาไว้มากนะ นี้เพราะเราฟังเขาอภิปรายอยู่ เขาบอกว่าการเมืองกับวัด อย่างพุทธทาส ที่เขาพูด เขาอ้าง นั่นแหละ ว่ามันต้อง พระนี่ต้องเกี่ยวกับการเมือง เกี่ยวกับเรื่องการเมือง แต่ไม่ใช่นะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะการเมืองมันเป็นเรื่องของผลประโยชน์

ถ้าที่ไหนมีผลประโยชน์นะ จะทำให้มีการขัดแย้ง แล้วศาสนาจะไม่มีเลย ศาสนาจะโดนทำลายหมดเลย ศาสนาจะโดนทำลายจากการเมือง ศาสนาต้องอยู่เหนือการเมือง การเมืองเป็นการเมือง ศาสนาต้องอยู่เหนือการเมือง การเมืองคือผู้ที่มีอำนาจ เขาศรัทธาในศาสนา เขาถึงเอาศาสนานั้นมาใช้บริหารจัดการให้เป็นประโยชน์กับบ้านเมือง นี่การเมืองเกี่ยวข้องกับศาสนาไหม มันเกี่ยวกันมาตลอด มันไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองเลย

เราจะบอกว่าศาสนานี้มันเกี่ยวกับการเมืองเพราะอะไร เพราะตอนที่เทวทัตจะล้มพระพุทธเจ้า เทวทัตจะเป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้ารู้ไว้ก่อน พระพุทธเจ้าบอกให้พระสารีบุตร ให้ในนครราชคฤห์นี่ ให้พระสารีบุตรประกาศก่อน ประกาศก่อนที่พระเทวทัตจะให้พระเจ้าอชาตศัตรูไปฆ่าพ่อ

พระพุทธเจ้าให้พระสารีบุตรประกาศในราชคฤห์ บอกว่า เทวทัตกับพระพุทธเจ้าคนละฝ่ายกัน ไม่เกี่ยวกัน ไม่เกี่ยวกัน พอไม่เกี่ยวกันก่อนปุ๊บ ประกาศไว้ก่อน ๗ วัน พอ ๗ วันเสร็จแล้ว ไอ้เทวทัตก็บอกให้อชาตศัตรูฆ่าพ่อ คือปฏิวัติ จะเอาสมบัติ ให้ฆ่าพระเจ้าพิมพิสาร อชาตศัตรูอย่างไรก็ไม่ยอมทำ บอกพ่ออย่างไรก็ต้องให้

เทวทัตบอกว่า รู้ได้อย่างไรว่าพ่อกับลูก ใครจะตายก่อน เดี๋ยวจะไม่ได้ ให้ฆ่าเลย พอฆ่าเลย อชาตศัตรูเป็นคนดีนะ แต่โดนยุ โดนหลอก ก็เอามีดซ่อนเข้าไป จะไปฆ่าพ่อ พอจะไปฆ่าพ่อ มหาดเล็กจับได้หมดเลย พอจับได้ว่าอชาตศัตรูพกมีดเข้ามาในราชวังทำไม จะมาฆ่า จะมาปฏิวัติ พอปฏิวัติ อำมาตย์ มหาดเล็กจับ จับแล้วสอบสวน

สอบสวนปั๊บมันก็แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งบอกว่าอชาตศัตรูได้รับการปั่นหัวมา ได้รับการส่งเสริมมาจากเทวทัต เทวทัตเป็นสงฆ์ เป็นพระในศาสนาพุทธ ให้จับพระในศาสนาพุทธไว้ทั้งหมด ให้จับพระทั้งหมดฆ่าให้หมด ในมหาดเล็กอีกฝ่ายหนึ่งบอกไม่ใช่ๆ ไม่ใช่ไม่ใช่เหรอ ไม่ได้ยินเหรอว่าพระสารีบุตรได้ประกาศไปแล้วว่าเทวทัตกับพระพุทธเจ้า พระในศาสนานี้ไม่เกี่ยวกัน มันอยู่คนละฝ่ายกัน

สองฝ่ายนี้เถียงกัน ตกลงกันไม่ได้ ถ้าตกลงกันได้วันนั้นนะ พระโดนจับฆ่าหมดเลย พอเถียงกันไม่ตกปั๊บ อำมาตย์ ๒ ฝ่ายนี้ก็บอกว่า อย่างนั้นไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารด้วยกัน พอขึ้นเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ก็เล่าเรื่องนี้ให้พระเจ้าพิมพิสารฟัง พระเจ้าพิมพิสารบอก แล้วเธอตัดสินกันว่าอย่างไร ก็ตัดสินกันเป็น ๒ ฝ่าย

ฝ่ายหนึ่งบอกให้จับพระให้หมดเลย อีกฝ่ายหนึ่งบอกไม่ให้จับ พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระโสดาบันไง ถึงชมพวกที่ไม่ให้จับว่าพวกนี้คิดถูก พวกนี้ยับยั้งได้ถูกแล้ว ถ้าไม่ยับยั้งไว้ ทำไปนี่หมดเลย ฆ่าพระหมดเลย แล้วพระเจ้าพิมพิสารก็บอกว่าไม่ผิด พวกพระไม่เกี่ยวข้อง เพราะพระพุทธเจ้ารู้อนาคต ประกาศไปแล้ว

สุดท้ายแล้วอชาตศัตรูอยากได้อะไรพ่อให้หมดเลย เพราะว่าเป็นพระโสดาบันไง แล้วมันเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรมด้วย ก็เลย อชาตศัตรูก็จับพ่อไปขัง ไปกรีดพระบาทจนตาย นี่ไง ถ้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะการเมืองเปลี่ยนแปลง พระไม่เหลือเลย ศาสนาไม่เหลือเลย

เพราะฉะนั้นเรื่องคติอันนี้ ในประเทศไทยถึงมี พ.ร.บ. สงฆ์ พระห้ามยุ่งกับการเมือง พระห้ามยุ่งการเมือง เพราะว่าไม่ต้องการให้พระมาเกลือกกลั้วการเมือง พอเกลือกกลั้วการเมือง แล้วพระ ศาสนามันจะล่มเร็วไง ถ้าการเมืองฝ่ายไหนขึ้น จริงไหม ก็จะทำลายฝ่ายตรงข้าม พระฝ่ายตรงข้ามก็จะโดนทำลายก่อน

ฉะนั้นเขาถึงห้ามว่าพระห้ามยุ่งกับการเมือง ในกฎหมายนะ แต่ในข้อเท็จจริง พระคือหัวคะแนนของนักการเมือง แต่นี่มันเป็นเพราะเขาทำกันเอง แต่ดูหลวงตาเราสิ หลวงตาเราท่านไม่ยุ่งเลย ท่านเพียงแต่เป็นคนเตือนสังคม คอยบอกสังคมว่าอะไรถูกอะไรผิด แต่ท่านไม่เข้าข้างใคร สังเกตได้หลวงตาท่านจะบอกว่าหมากัดกัน หมาเข้าถาน ท่านจะพูดอย่างนั้นตลอด เห็นไหม ท่านไม่ลงไปยุ่ง อยู่ฝักใฝ่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่บอกว่าใครถูกใครผิด แต่คนทำถูกคือถูก คนทำผิดคือผิด ไม่ยุ่งกับการเมือง

แต่ในสังคมของประเทศชาติ ในสังคมที่เป็นสังคมเชื่อถือ ก็คอยแนะคอยบอกเพื่อสังคม แต่ท่านไม่ได้ลงมาส่งเสริมใคร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่งเสริมใครให้ถูกต้อง ท่านไม่เคยส่งเสริมใครเลย เพราะพระที่ดีท่านจะรู้ว่าโลกนี้ สรรพสิ่งนี้ มันเป็นอนิจจัง สิ่งใดก็แล้วแต่ อำนาจ สิ่งใดก็แล้วแต่ ไม่มีสิ่งใดคงที่ ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นที่พึ่งได้เลย

ธรรมะเป็นที่พึ่ง ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรม ท่านจะเข้าใจเรื่องอย่างนี้ ถ้าเข้าใจเรื่องอย่างนี้แล้ว เราไปเกาะเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จะทำให้เกิดปัญหากลับมาในเรื่องของศาสนา พระองค์นั้นไม่มีปัญญาเลย แต่ถ้าพระองค์นั้นเป็นพระที่มีคุณธรรม พระที่มีปัญญามาก ดูสิ ดูหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น

ดูสิ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ผู้ที่ไปอุปัฏฐากไปสร้างเป็นใครบ้าง หลวงปู่เสาร์ ไปดูสิ ที่ไปสร้างอุบลฯ ไว้ ไปสืบดู เห็นไหม เจ้าจอมในราชวังทั้งนั้นเลย ทีนี้เกี่ยวกับว่าถ้าพูดถึงเรื่องศาสนา ผู้ที่มีอำนาจในสังคม ถ้าจิตใจเป็นธรรม จิตใจเชื่อศาสนา เขาจะทำให้ประเทศชาติเจริญนะ เพราะจิตใจเขาเป็นธรรมไง เขาจะไม่เอาเปรียบใครไง เขาจะทำให้ประเทศชาติเจริญนะ

ถ้าศาสนาอยู่ในหัวใจของนักการเมือง อยู่ในใจของผู้มีอำนาจ จะมีประโยชน์มากเลย แต่ทีนี้ว่าเราเอง เราเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับศาสนา ศาสนามันจะไม่มั่นคง ทีนี้ในกฎหมาย ในพ.ร.บ.สงฆ์ เขียนไว้ชัดเจนมาก พระห้ามยุ่งกับการเมือง แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว พวกนักการเมืองชอบไปยุ่งกับพระ เพราะพระนี่มีลูกศิษย์เยอะ อยากได้คะแนน นี่โดยกฎหมายอันหนึ่ง โดยข้อเท็จจริงอันหนึ่ง ต่อไปนะ

“เราได้อะไรจากการเข้าวัด”

วัดไม่มีนะ วัดไม่มีหรอก วัดประกอบไปด้วยอะไร วัดประกอบไปด้วยกระเบื้อง เหล็ก ปูน ที่บ้านเรามีไหม ที่บ้านเราก็มี ที่บ้านเราก็มีพร้อมนะ วัสดุก่อสร้างที่บ้านเราก็มี แล้วที่วัดก็มี แล้วอะไรเรียกวัด วัฏฏะนะ เราได้อะไรจากการเข้าวัดบ้าง หลวงปู่ฝั้นพูดชัดเจนว่า ไปวัดเพื่อวัดใจ เวลานั่งรถก็มีพุทโธกับใจ มีวัดอยู่กับใจ วัตรปฏิบัติ

ไปวัดนี่เขาให้เปรียบเทียบ เราอยู่บ้านเราทำอะไร แล้วมาวัด อย่างน้อยที่สุด ถ้าคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยนะ ให้ดูที่พระ เฮ้ย ทำไมพระฉันมื้อเดียวอยู่ได้วะ ทำไมเราโลภมากขนาดนี้ กิน ๓ มื้อ ๔ มื้อ แค่มาวัดนี่นะ มนุษย์นะ พระมาจากมนุษย์ที่โกนศีรษะ ห่มผ้าเหลือง เป็นศากยบุตร ท่านดำรงชีวิตของท่าน

ท่านฉันข้าวมื้อเดียว ท่านอยู่อย่างนี้มาเป็นสิบๆ ปี อยู่มาตลอดชีวิต ท่านอยู่ได้อย่างไร แล้วเราอยู่กันอย่างไร เรากินวันหนึ่ง ๔ มื้อ ๕ มื้อ ยังไม่พอ ยังจะกินอีก ได้เทียบหรือยัง นี่ไง มาวัดได้อะไร แค่มาเจอพระ แล้วเทียบว่า ดำรงชีวิตแบบพระ กับดำรงชีวิตแบบเรา มันต่างกันอย่างไร แล้วพระเป็นคนหรือเปล่า พระมีชีวิตหรือเปล่า แล้วเรามีชีวิตหรือเปล่า

ถามง่ายๆ เลยนะ มาวัดแล้วได้อะไร ถ้าคนฉลาดมาวัดนะ โอ้โฮ ได้ประโยชน์มหาศาล มหาศาลตรงไหน มหาศาลตรงให้เรารู้จักตัวเราเองไง แล้วเราเทียบสิ เทียบชีวิตเราที่บ้าน กับชีวิตพระ มันต่างกันอย่างไร แล้วทำไมท่านต้องอยู่อย่างนั้น

พระนี่มีชีวิตไหม พระอยากสุขสบายไหม พระอยากกินอิ่มนอนอุ่น เหมือนโยมไหม อยาก แต่กินอิ่มนอนอุ่นแล้วมันมีความสุขไหม มันไม่มี อดอาหาร อดทุกอย่าง ก็เพื่ออะไร ก็เพื่อเอาหัวใจ แล้วถ้าใจมันมีคุณธรรมขึ้นมา นี่ไงวัดไม่ร้างไง อย่างพวกโยมนี่นะ พวกโยม มีกายกับใจ แต่หัวใจร้าง หัวใจไม่มี เพราะไม่รู้จักใจตัวเอง

โยมถามกลับไปเลยว่าตัวเรา อ้าว นาย ก. อยู่ที่ไหน ใครเป็นนาย ก. ชี้ไปสิ อันนี้เป็นเนื้อ อันนี้เป็นหนัง อันนี้เป็นกระดูก อันนี้เป็นขน อันนี้เป็นลูกตา เอ๊ย ก. อยู่ไหนวะ ถามสิ ไอ้ ก. อยู่ไหน ไม่มีหรอก ส่วนประกอบของธาตุขันธ์ขึ้นมาถึงเป็นไอ้ ก. แล้วส่วนประกอบขึ้นมาที่เป็นไอ้ ก. มันก็เป็นสมมุติสิ แล้วไอ้ ก. มันอยู่ไหน

ลองทำนั่งสมาธิไปสิ พอจิตสงบเข้ามาน่ะ โอ๊ะ ไอ้ ก. มันอยู่นี่ ไอ้ ก. มันอยู่ที่ความรู้สึกชีวิตเราไง นี่ไง ไปวัดไง วัดใจ คือวัดไม่ร้างไง วัดร้างนะ ไปวัดที่วัดร้าง เข้าไปในวัดนั้นมีแต่โบสถ์วิหารเต็มไปหมดเลย ไม่มีพระ ไม่มีข้อวัตรปฏิบัติเลย

ส้วมนะ ปล่อยให้ขี้ล้นออกมาจากประตูเลย กลิ่นเหม็นออกมาตั้งแต่ยังไม่ทันเข้าส้วม นั่นน่ะไม่ใช่ วัดร้างเพราะอะไร เพราะไม่มีข้อวัตรปฏิบัติ กิจของสงฆ์คือกวาดลานเจดีย์ กิจของสงฆ์คือทำความสะอาดศาลา กิจของสงฆ์คือล้างส้วม กิจของสงฆ์คือรักษาสมบัติของสงฆ์ในวัดนั้นต้องทำความสะอาด นี่คือกิจของสงฆ์นะ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ เช้าบิณฑบาตเอาข้าวมากิน กิจของสงฆ์ ไม่ใช่ กิจของสงฆ์ กวาดลานเจดีย์ เก็บทำความสะอาดในวัด กิจของสงฆ์ นั่นวัดไม่ร้าง

นั่น ไปวัดถึงเห็นพระอยู่ในวัดนั้น ถ้าไปไหน วัดไหนไม่มีความสะอาด สิ่งใดๆ ไม่เคยทำเลย ทิ้งไปกองอีเหละเขะขะเลย แล้วเอ็งบวชมาทำไม ธรรมวินัยสอนไว้แล้ว ธรรมวินัยบอกกิจของสงฆ์คือทำความสะอาดวัดนั้น เดี๋ยวนี้ไม่ พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้สองพันกว่าปีไม่ได้ทำ ต้องไปเขียนขึ้นป้ายไง วัดพัฒนาตัวอย่างไง ต้องสร้างกฎขึ้นมานะ

พระต้องมีการศึกษา ต้องมี พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้สองพันกว่าปีแล้ว ถ้ามึงเชื่อพระพุทธเจ้า มึงฟังพระพุทธเจ้านะ มึงจะไม่เหลวไหลกันอย่างนั้น ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้า แล้วทำตามพระพุทธเจ้า ผู้ใดอยู่ถึงฟากตะวันตก ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า ปฏิบัติเหมือนพระพุทธเจ้า เหมือนอยู่ติดกับพระพุทธเจ้า ผู้ใดกอดพระพุทธเจ้าไว้ไม่ทำตาม

นี่บวชเป็นพระ โกนหัวห่มผ้าเหลือง ธรรมวินัยไม่สนใจเลย นั่นไปวัด ไปวัดคำว่าวัด วัดคือข้อวัตรปฏิบัติ ถ้าบอกว่าไปวัด โดยสามัญสำนึกนะ วัดก็คือโบสถ์วิหาร โบสถ์มันก็คือปูน ปูนที่บ้านเราก็มี ถ้าอิฐหินทรายเป็นวัดนะ บ้านเราก็มีอิฐหินทรายเป็นปูน คอนโดมิเนียมเราสูงกว่าวัดอีก โอ๊ย อยู่วัดได้

ไอ้นี่มันอยู่ที่ทัศนคติ อยู่ที่มุมมอง อยู่ที่ความคิด เพราะศาสนาพุทธนี่ศาสนาแห่งปัญญา แล้วปัญญานี่สอนหัวใจ ถ้าหัวใจของคนมีหลักมีเกณฑ์ ไปวัดนะ ดูครูบาอาจารย์เราบวชมาตั้งแต่เป็นเณร ตั้งแต่เณรนะ บวชมาตั้งแต่เด็กๆ อย่างหลวงตาท่านบวชมาตอนนี้เจ็ดสิบกว่าพรรษา เก้าสิบกว่าบวชมาเกือบร้อยปี อยู่เป็นพระมานี่เป็นร้อยๆ ปี ท่านมีความสุขอะไร แล้วเรามีความสุขอะไร แล้วเราอยู่เพื่ออะไร คิดสิ นี่มาวัด

มาวัดคือให้เรารู้จักตัวเอง มาฟื้นฟูความเป็นมนุษย์นี่ไง เราไม่ใช่คนนะ คนน่ะหมุนเวียนอยู่นั่นน่ะ คนมันคนไม่ทั่ว แต่ถ้าเป็นมนุษย์ สัตว์มนุษย์ มนุษย์เดรัจฉาโน สัตว์มนุษย์ มนุสสเทโว มนุษย์เป็นเทวดา มนุสสเทโว มนุสสเปโต มนุษย์เปรต ร่างกายเป็นมนุษย์แต่ความคิดมันเป็นเปรต ทำลายล้างเขาตลอด ถ้าอย่างนั้น มนุสสเทโว เห็นไหม ร่างกายเป็นมนุษย์ หัวใจเป็นเทวดา

เจือจาน เผื่อแผ่ ดูแล รักษา ช่วยเหลือ มนุษย์เทวดา มนุษย์ยังจำแนกแยกแยะกันอีกล่ะ นี่ไงธรรมะสอน ถ้าไม่มี พระพุทธเจ้าพูดไว้หมด จำขี้ปากพระพุทธเจ้ามาทั้งนั้นเลย ที่พูดนี่พูดจากขี้ปากพระพุทธเจ้า ไม่มีพระพุทธเจ้าเอาอะไรมาพูด พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎก เอาอะไรมาพูด นี่บัญญัติแล้ว เราศึกษาแล้ว

สิ่งนี้เราไม่ได้ว่าใครนะ เราพูดเพื่อให้สติ เพื่อให้ได้ระลึกรู้ ให้ได้คิด เพราะทางตะวันตก เขาบอกพวกเรา ทางเอเชียนี่โง่ฉิบหาย เรามีเพื่อนพระฝรั่งเยอะ เวลาคุยกัน ไอ้พวกบ้านมึงน่ะโง่ฉิบหายเลย เหมือนกับไอ้กบเฝ้ากอบัว เขาอยู่ถึงยุโรปนะ เขามาบวชกัน เขามาปฏิบัติกัน แต่มันก็ส่วนน้อย แต่เวลาเขาพูดกับเรา อย่างนั้นจริงๆ นะ เขาบอกว่าพวกมึง เขาว่าประเทศเราไง พวกมึงน่ะโง่ฉิบหาย คือเรามีอยู่กับศาสนาเราไม่เอา

คือเราอยู่กับทางวิชาการที่ในพระพุทธศาสนา แต่เราไม่ทดสอบ ไม่ค้นคว้า ไม่ทำให้เกิดขึ้น เราก็เลยไม่รู้อะไรเลย แต่ถ้า จะเกิดขึ้นรู้ เราน่ะมีพระเพื่อนฝรั่งเยอะมาก แล้วเวลาคุยกันนะ สู้เราไม่ได้สักคน หงายท้องหมดล่ะ หงายท้องเพราะอะไร เพราะว่าเรามีวุฒิภาวะ

อย่างที่เราอธิบาย มาวัดได้อะไร ปฏิบัติแล้วได้อะไร ใจคืออะไร ใจที่ปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไร ใจที่ยังไม่ปฏิบัติเป็นอย่างไร ขณะปฏิบัติเป็นอย่างไร ขณะปฏิบัติ จากที่เป็นปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามรรค สกิทาคาผล อนาคามรรค อนาคาผล อรหัตมรรค อรหัตผล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพานหนึ่ง

ระหว่างปฏิบัติ วิวัฒนาการของจิต มันพัฒนาอย่างไร ขั้นตอนที่มันเป็นไป มันเป็นอย่างไร นี่ศาสนา ตัวศาสนาอยู่ที่นี่ แล้วมันอยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจของผู้ที่ปฏิบัติ อยู่ที่ใจของผู้รู้จริง แล้วถ้าใจของผู้รู้จริงแล้ว มันทำไมอธิบายไม่ได้

มาวัด หลวงปู่ฝั้นพูดชัดเจนมาก มาวัดคือวัดใจ มาวัดความรู้สึกของเรา มาขึง เอาความรู้สึกเรามาเปรียบเทียบกับศาสนา เปรียบเทียบกับทรัพย์สมบัติ ว่าเราเป็นชาวพุทธ เรามีสมบัติจริงหรือเปล่า

มาวัดแล้วได้อะไร ได้อะไร ได้น้ำตา ร้องไห้ทุกวันไง อันนี้มาวัดแล้วได้น้ำตา เพราะโดนด่าก็ร้องไห้ เพราะทำผิดๆ มันเหมือนกับครูบาอาจารย์คอยบอกกัน คอยเตือนกัน จบแค่นี้ก่อนเนาะ เอวัง