ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เซนมาจากไหน

๑ พ.ค. ๒๕๕๒

 

เซนมาจากไหน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาเขามา เขามาแบบว่าบริสุทธิ์ใจ มาเปิดตัวเลย เขามาแบบเปิดตัวว่า เขาเรียนห้องเดียวกัน เรียนปริญญาเอก เขาจบมานานแล้วด้วย แล้วเขาก็เกาะกลุ่มกันอยู่ แล้วเขาก็อยากพ้นทุกข์มาก เราก็พูดทำนองนี้บอกว่า “โลกียปัญญา สิ่งที่เกิดเป็นปัญญา ทุกอย่างกระบวนการสิ้นสุดมันต้องเป็นสมถะทั้งหมดล่ะ” แต่ด้วยความเข้าใจผิด เพราะพวกเราคิดว่าวิทยาศาสตร์เรามีปัญญาใช่ไหม แล้วก็บอกมันเป็นธรรม เป็นธรรม

ไม่ใช่หรอก มันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ แล้วเขาก็พยายามจะให้เรายอมรับไง บอกว่าเขาไปดูจิต จิตเกิดแล้วดับ เราก็ถามกลับว่า เกิดแล้วดับแล้วได้อะไรมา? การเกิดและการดับพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ใครได้อะไรบ้าง?

“จิตเกิดและจิตดับ” คำว่าจิตเกิดและจิตดับไม่ใช่ด้วย! ความคิดเกิดความคิดดับ ไม่ใช่จิตเกิดจิตดับ จิตไม่เคยเห็น พวกนี้ไม่เคยเห็นจิต แต่ความคิดเกิดความคิดดับ ไม่ใช่จิตเกิดจิตดับ ไม่ใช่!

พอไม่ใช่ปั๊บ เขามั่นใจมากเพราะเราเข้าใจนะ พวกนี้มีการศึกษาระดับปริญญาเอก แล้วไม่ใช่คนๆ เดียว เป็นกลุ่มๆ จะบอกเป็นฝูงๆ ทีนี้เป็นฝูงมันก็ต้องปรึกษาหารือกัน พอปรึกษาหารือกันด้วยตรรกะ มันก็รู้ได้แค่นี้ใช่ไหม พอมีครูบาอาจารย์บอกให้ดูจิต

เราถามกลับ เซนมาจากไหน? การดูจิตใครเป็นคนสอน? ดูจิตนี้มาจากไหน?

เขาบอก มาจากสังฆราชองค์ที่ ๖

สังฆราชองค์ที่ ๖ มาจากไหน?

มาจากพระโพธิธรรม

พระโพธิธรรมมาจากไหน?

ตอบไม่ได้

ต้นกระบวนการของเซน เริ่มต้นเซน เขาถืออาจารย์ของเขาคือพระกัสสปะ เวลา พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ใช่ไหม ท่านเทศน์สอน พระจะเข้าใจหมดเลย แล้วมีอยู่คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าถือดอกไม้แล้วชูขึ้นมา แล้วท่านก็ดูพระว่าเข้าใจไหม? ทุกคนเงียบนิ่งงันหมดเลย พระสารีบุตรอยู่ในสังฆะนั้นด้วย แต่พระกัสสปะยิ้มขึ้นมา พระกัสปปะรู้ไงว่า “ดอกไม้มันก็อนิจจัง มันก็แปรสภาพเป็นธรรมดา” เขาถึงถือพระกัสสปะเป็นต้นกำเนิดของเซน ต้นกำเนิดของการดูจิต การพิจารณานี่ปัญญาวิมุตติ

พวกเรานะ แม้แต่ด็อกเตอร์หรือว่าคนมีการศึกษา เขาไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องศาสนาลึกซึ้ง อย่างเช่น เถรวาท หินยาน บอกว่า “พระพุทธเจ้าเป็นศาสดา อัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวาก็คือพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ” แต่มหายานนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาคือพระกัสสปะกับพระอานนท์ ด้วยความเห็นของเขา เพราะเขาคิดแบบโลก

ฟังนะ เขาคิดแบบโลก โลกเพราะอะไร? เพราะเถรวาทเรา มันมีใช่ไหม เพราะว่าพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ปรารถนาเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา พอปรารถนาท่านก็สร้างบุญญาธิการมามหาศาลเลย นี้พอเวลาตั้งเห็นไหม เวลาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมาบวช องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเลย “อัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวาเรามาแล้ว” ยังไม่ทันบวชเลย แต่พอสำเร็จเสร็จแล้วตั้งให้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา

พระติเตียนกันมากเลยว่า “พระพุทธเจ้านี่ลำเอียง” ลำเอียงเพราะอะไร ทำไมไม่ตั้งปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์ต้องอยู่กับพระพุทธเจ้ามาก่อน น่าจะได้เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา พระพุทธเจ้าบอกว่า “ไม่ใช่ เราตั้งตามเนื้อผ้า เพราะว่าเขาปรารถนาของเขามา พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ปรารถนาเป็นพระอัครสาวก”

เหมือนพระพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า มันต้องสร้าง พระโพธิสัตว์เห็นไหม ๔ อสงไขย สาวก-สาวกะ แสนเห็นไหม แล้วพระอัครสาวกต้องสร้าง คือเขาสร้างของเขามา พอเขาสร้างของเขามา ก็ตั้งตามเนื้อผ้า คือสมบัติของเขา

แล้วพอตั้งเสร็จแล้วเห็นไหม พระพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม เพราะว่าพื้นฐานในศาสนามันแน่นอยู่แล้ว มีเดียรถีย์ มีนิครนถ์ ทุกศาสนามีศาสดาหมดเลย พระพุทธเจ้าเผยแผ่เข้าไป มันก็มีแรงต้าน พอแรงต้านขึ้นมา พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเป็นกำลังที่เผยแผ่ศาสนา เหมือนเราสร้างบ้าน เราเป็นคนสร้างบ้าน แล้วพอสร้างบ้าน คนสร้างบ้านขึ้นมาให้เราได้อาศัย คนนั้นมีบุญคุณกับเราไหม?

แต่คนอาศัยอยู่ในบ้านไง พออาศัยอยู่ในบ้านปั๊บ เป็นผู้ที่จัดระเบียบเรียบร้อยว่าคนนั้นเป็นคนดี เห็นไหม พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นแขนซ้ายและแขนขวาที่เผยแผ่ธรรมมา พระกัสสปะกับพระอานนท์สร้างผลงานอยู่ในศาสนาเยอะ เราเห็นพระอานนท์จะเป็นพหูสูตรจะเก่งไปหมดเลยเป็นปัญญา

พระกัสสปะเห็นไหมถือธุดงควัตร นี้ทางเมืองจีน พวกทางมหายานนี้ จะว่าทางเมืองจีนไม่ได้ มหายานทั้งหมด เขามองตรงนี้ไง มองตรงว่า ผลงานในโลก ปัจจุบันนี้เขามองออกไง มองด้วยปัญญาโลก คือมองด้วยปัญญาเด็กๆ เขามองออกว่ามีผลงานในศาสนา

แต่เขาไม่มองแบบพระพุทธเจ้า ไม่มองแบบคนที่มีคุณธรรมในหัวใจ คนที่มีคุณธรรม เวลาพระพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมนะ เวลามีเหตุการณ์ พระพุทธเจ้าให้พระโมคคัลลานะจัดการ เนื่องจากด้วยมีฤทธิ์ด้วยเดช พยายามดึงมา ผู้ที่มีคุณธรรม เขามองผู้ที่ก่อร่างสร้างตัว มองผู้ที่สร้างศาสนามา แต่พวกเราไปมองที่ผลงานทางโลก นี้เราจะพูดถึงมุมมองความเห็นนะ

ทีนี้มหายานมาจากไหน เซนมาจากไหน? มาจากพระกัสสปะ พระกัสสปะกว่าจะตรัสรู้ขึ้นมาใครเป็นคนสอน? พระพุทธเจ้าสอน

พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

“สอนอริยสัจ”

พระกัสสปะ พูดถึงว่าพระพุทธเจ้าสอนจนเป็นพระอรหันต์แล้ว พอเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา ก่อนที่พระกัสสปะเป็นพระอรหันต์ อะไรที่ทำให้พระกัสสปะเป็นพระอรหันต์? นี้พอคำสอนของพระอรหันต์เห็นไหม ธรรมพูดไง พอธรรมพูดออกมาให้มันสละสลวย ให้มันเข้าใจได้ง่าย นี้พอเราไปยึดกัน ดูสิ เถรวาทพระอัครเบื้องซ้ายและเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของมหายานเห็นไหม เป็นพระกัสสปะกับพระอานนท์ มุมมองนะ

ทีนี้สิ่งที่พระกัสสปะเผยแผ่มาใช่ไหม คนที่ส่งต่อมา ส่งต่อมาด้วยปัญญาวิมุตติ มหายานเป็นปัญญาวิมุตติ ในการจะดูจิต ในการจะดูต่างๆ มันต้องให้ดูตามความเป็นจริง ถ้าเป็นความเป็นจริงนะ เช่น ปัจจุบันนี้การดูจิตของมหายานเขาเผยแผ่มานานมาก พอเผยแผ่มานานมาก อย่างที่เขาบอก เว่ยหล่างสังฆราชองค์ที่ ๖ เห็นไหม ที่ว่าเซนมาจากทางนั้นน่ะ แล้วเผยแผ่ไปทางญี่ปุ่น พวกที่เขาปฏิบัติจริง มันเป็นโวหาร มันเป็นคำสอนนะ

ดูอย่าง เว่ยหล่างสังฆราชองค์ที่ ๖ กว่าเขาจะเป็นสังฆราชขึ้นมาเห็นไหม เขาปฏิบัติ เขาเป็นคนตำข้าวอยู่ในสำนักปฏิบัตินะ แล้วเว่ยหล่างสังฆราชองค์ที่ ๕ เขาจะส่งต่อ คือเขาชราภาพแล้ว เขาจะขอให้คนที่รู้จริงสอนต่อไป เห็นไหม เขาเลยจะให้ตั้งโศลก ใครมีภูมิปัญญาเท่าไร ให้แสดงออกมาว่าใครมีภูมิปัญญามาก ถ้าภูมิปัญญาปั๊บ ภูมิปัญญาอันนั้น ภูมิปัญญา คำว่าภูมิปัญญา ไม่ใช่ดูเฉยๆ

ภูมิปัญญาปุ๊บ ชิงเชาว์ก็เลยเขียนไง เขาเขียนโศลกกันว่า ใครจะมีวุฒิภาวะ มีคุณธรรม ภาษาจีนนะ “กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส เราหมั่นเช็ดกระจกทุกวันๆ แล้วฝุ่นมันจะเกาะอะไร” ฝุ่นคือกิเลส ใครอ่านมันก็สุดยอด สุดยอดหมดเลย นี้เว่ยหล่างเขาเป็นคนอ่านหนังสือไม่ออก เขาเป็นคนตำข้าว เขาเข้ามาดู

“เขาดูอะไรกัน”

“เขาดูโศลก ชิงเชาว์เขียนไว้ กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส หมั่นเช็ดกระจกทุกวันๆ ฝุ่นจะเกาะอะไร”

คนที่เหนือกว่า วุฒิภาวะใจที่เหนือกว่า ถ้าอย่างนั้นเขียนให้ผมบ้าง ผมเขียนหนังสือไม่ได้ เขียนให้ผมที เขียนว่าไง

“กายก็ไม่มี กระจกก็ไม่มี แล้วฝุ่นมันจะเกาะอะไร”

เขาดูเฉยหรือเปล่า? เขาดูเฉยไหม? พอฝุ่นจะเกาะอะไร ไม่ได้เกาะ ฝุ่นไม่เกาะอะไรว่างหมด อ้าว ความว่าง

สังฆราชองค์ที่ ๕ มานะ มาเห็นเข้า เอารองเท้าลบทิ้งเลย ลบกายก็ไม่มี กระจกก็ไม่มี ลบทิ้งเลย เพราะอะไร? เพราะธรรมดาในสำนักต่างๆ มันก็มีการแข่งขัน กลัวจะมีปัญหากัน แล้วเสร็จแล้วเอาเว่ยหล่างเข้าไปสอน

“กายก็ไม่มี จิตก็ไม่มี แล้วใครพูด” ว่างหมดก็อนาคา

“กายก็ไม่มี กระจกก็ไม่มี ฝุ่นก็ไม่มี แต่ใครเป็นคนบอกว่าไม่มี”

นี่ไงเขาตำข้าวอยู่ สังฆราชเข้ามานะ เราอ่านหมด หนังสือพวกนี้เราค้นคว้าหมดแล้ว สังฆราชเข้าไปหาเว่ยหล่าง เคาะที่ครกตำข้าว ๓ ที ถ้าทางโลกนัดตี ๓ ให้เข้าไปหา ถ้าทางธรรม ๓ ก็สามขั้น เว่ยหล่างก็เข้าไปหา พอเข้าไปหาท่านก็เทศน์ซ้ำ สอนซ้ำ

“ไอ้ที่ว่ากายก็ไม่มี กระจกก็ไม่มี ฝุ่นก็ไม่มีน่ะ แล้วใครบอกว่าไม่มี”

พอถึงสิ้นสุดปั๊บ สิ้น! พอสิ้นก็ให้บาตร ให้ทุกอย่างไป ก็หนีไป หนีไปก็เผยแผ่ธรรมมา เผยแผ่พอถึงเวลาแล้วมันมีปัญหาก็เลยบอก ถ้ามีการส่งมอบอำนาจอย่างนี้ มันจะมีคนแย่งชิงกัน ก็เลยให้สิ้นสุด นี่พูดถึงมหายานนะ

แล้วนี่พูดถึงยกเข้ามาในปัจจุบันเรานี้ ปัจจุบันนี้ในการดูจิต หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนของท่านนะว่า

“ความคิดทั้งหมดที่ส่งออกให้ผลเป็นทุกข์ ต้องหยุดความคิด การหยุดความคิดก็ต้องใช้ความคิด จิตที่ส่งออกต้องใช้ความคิด”

หลวงปู่ดูลย์เป็นพระอรหันต์ไหม? เป็น

หลวงปู่ดูลย์ฝึกมากับใคร ?

หลวงปู่มั่นเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ดูลย์

หลวงปู่มั่นสอนอะไร?

หลวงปู่มั่นสอน “พุทโธ”

หลวงปู่ดูลย์ที่สอนดูจิตๆ ท่านฝึกมาจากใคร? หลวงปู่ดูลย์ฝึกมาจากใคร? หลวงปู่ดูลย์คิดขึ้นมาเองเหรอ หลวงปู่ดูลย์เคารพใคร?

เคารพหลวงปู่มั่น

แล้วหลวงปู่มั่นสอนอย่างไร?

เราจะบอกพระกัสสปะเคารพใคร? เคารพพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าท่านวางไว้เพื่อหลักการ เพื่อทั้งหมด เพื่อจริตนิสัยของสังคม ไม่ใช่ว่ามันจะมีชนิดเดียว นี้ก็เหมือนกัน ในปัจจุบันหลวงปู่มั่นท่านก็สอนเหมือนกัน หลวงปู่มั่นสอนมหาศาลเพราะว่าท่านสร้างบุญญาธิการของท่านมา แล้วหลวงปู่ดูลย์ ครูบาอาจารย์รุ่นนี้ก็ไปฝึกกับหลวงปู่มั่นมา

หลวงปู่ดูลย์คิดมาจากไหน หลวงปู่ดูลย์ดูจิตอย่างไร ?

นี้คำว่าดูจิตของหลวงปู่ดูลย์นี่ หลวงปู่ดูลย์ท่านชำนาญของท่าน พันธุกรรมทางจิต ท่านมีความชำนาญของท่าน แล้วท่านพูดของท่านถูกเพราะอะไร เพราะท่านบอกว่า “ให้ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต” เห็นอาการของจิต ไปดูที่หลวงปู่ดูลย์ฝากไว้สิ ข้อที่ ๓ ที่ ๔ ให้ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต เพราะอาการของจิต ความคิดกับจิตมันไม่ใช่อันเดียวกัน ถ้าคนเป็นเขาจะสอนเป็น

นี่บอกให้ดูจิตดูไปเฉยๆ ดูจนกว่าจะไม่มี เขาบอกว่าดูจิต เมื่อวานเขาพูดอยู่ดูจิต ดูจิตแล้วจะแบบพ้นทุกข์ได้ไหม? เราถามว่า แล้วดูจิต ดูแล้วมันได้อะไรขึ้นมา? ดูมันเกิด ดูมันดับ แล้วได้อะไรขึ้นมา?

ถ้าดูมันเกิดมันดับ มันก็เหมือนไฟฟ้าเปิดดับ โดยธรรมชาติของมัน ไฟฟ้ามันได้อะไรขึ้นมา คำว่าไฟฟ้า เราเป็นคนใช้ เราเป็นคนรักษานะ แต่จิตนี่มันมีตัวจิต มันมีความรู้สึก มันมีตัวภพ มันมีรากฐาน ปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตคือเรานี้มาเกิดเป็นมนุษย์ มาเกิดเป็นใคร ปฏิสนธิตัวนี้มันพาเกิดพาตายมา

พอเราเกิดเป็นมนุษย์แล้วเราถึงมีขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ใช่ไหม คือสัญชาตญาณมนุษย์ แล้วเวลาจิตถ้ามันตายล่ะ ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม พรหมมีขันธ์เดียว พอมันมีขันธ์เดียว มีผัสสาหาร ความผัสสาหารนี่เป็นอาหารของพรหม วิญญาณาหาร อาหารของเทวดา มนุษย์มีกวฬิงการาหาร อาหารเป็นคำข้าว แล้วมโนสัญเจตนาหาร อาหารของวัฏฏะที่หมุนเวียนกัน

แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นที่ว่าอาการของจิต อาการของจิต อะไรเป็นอาการของจิต?

นี้คำว่าดูจิตนี่นะ ของหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่า “ดูจิต”

หลวงตาท่านบอกว่า ท่านเคยดูจิต แต่ท่านใช้คำที่ว่า เราเคยกำหนดจิตไว้เฉยๆ ดูจิต ดูจิตทำสมาธิได้ไหม มันก็ทำได้อยู่ แต่เพราะเราดูจิต พอเรามาทำกลดหลังเดียวนี่ เสื่อมหมดเลย ตั้งแต่พอมันเสื่อม ทีแรกมันทำขึ้นไป มันโดยที่ว่าเราทำขึ้นมาด้วยความระมัดระวัง ด้วยความดีของเรา มันก็อยู่ได้ แต่พอมันเสื่อมใช่ไหม อนิจจัง พอมันเสื่อมทีเดียวเอาไม่ขึ้นเลย เอาไม่ขึ้นเพราะอะไร?

เพราะมันไม่มีจุดยืน คนเราไม่มีจุดยืน หลักของใจมันไม่มี ท่านจึงหาทางออกของท่าน ท่านถึงบอกว่า เอ๊ะ! เราขาดอะไรไป มันกำหนดดูจิตๆ มันก็สงบได้พักหนึ่ง แล้วมันก็ไหล เหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา แล้วครกมันกลิ้งทับเราตลอดเวลาเลย มันจะอยู่อย่างนั้นไม่ได้ เพราะมันขาดหลัก ท่านถึงบอกว่า “อย่างนั้นเราต้องกำหนดพุทโธ พุทโธ” ใช้คำบริกรรม จากบริกรรมพุทโธ ๓ วันแรกอกแทบระเบิดเลย เพราะมันเคยปล่อยสบาย

การดูจิตมันสบาย มันสบายเพราะอะไร?

เพราะมันไม่มีใครบังคับ มันปล่อยมันไป มันปล่อยมันไปเห็นไหม ท่านถึงบอกว่า พอกำหนดบังคับให้มันทำงาน มันอึดอัดมาก อกแทบระเบิดเลย แต่! แต่เพราะทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร?

เพราะจิตมันเคยสงบแล้วมันเสื่อม มันมีความทุกข์มาก พอมีความทุกข์มากขนาดไหน มันต้องฝืน ต้องพยายามกระทำ พอทำสิ่งนั้นมา พอมันฟื้นกลับมาเห็นไหม ตั้งแต่วันนี้ไม่เสื่อมเลย ไม่เสื่อมเพราะอะไร? ไม่เสื่อมเพราะมันมีจุดยืน มันมีที่ตั้ง มันมีที่การทำงาน

แต่ดูจิตเฉยๆ ดูจิต อย่างที่หลวงปู่ดูลย์ท่านดูนะ ในการพิจารณาของเรา หลวงปู่ดูลย์ท่านดูจิต ท่านใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ท่านบอกเลยนะ ให้ “ดู” หรือให้ “รู้” ตัวใหญ่ คำว่า “ดูและรู้” นี่ มันต้องดูบริหารแบบจัดการ

ถ้าเราดูบริหารจัดการเห็นไหม เราแยกแยะมัน อย่างปัญญาอบรมสมาธิ มันกำหนดดูจิต ตามสติ ตามความคิดไป แล้วพอตามความคิดไป ความคิดมันจะเห็นความคิดว่า ความคิดผิด ความคิดถูก ความคิดมันเผารนเรา ความคิด พอมันเห็น เห็นมันก็หยุด พอหยุดมันมีสติ มันมีความรู้สึก หลวงตาท่านเขียนไว้เล่มหนึ่งว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ” ปัญญาอบรมสมาธิคนเรามันเห็นถูกเห็นผิดเห็นไหม

จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันมีในหนังสือเราอ่านของหลวงปู่ดูลย์นั่นน่ะ ลูกศิษย์ไปหา พอดูจิตแล้วเข้าไปถึงบอกว่า “นี่ดูจิต ดูจิตแล้ว”

ท่านบอกว่า “ยังไม่ใช่ นี่อาการของจิต”

บอกว่า “เห็นจิตแล้ว พอดูจิตเห็นจิต” มีลูกศิษย์เยอะมาก

หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนอย่างนี้ ลูกศิษย์ของท่านแต่ละคน เวลาเข้าไปหาท่าน จะไปรายงานว่าเห็นจิตไง บอก “นี่ดูจิตจนเห็นจิต”

พอไปถึงท่านบอกว่า “ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่”

คำว่า ไม่ใช่ของหลวงปู่ดูลย์คือว่า อาการคือความคิดไม่ใช่ตัวจิต ไม่ใช่ ต้องดูให้ลึกไปกว่านั้น คำว่าดูลึกนี่ มันดูรู้ ดูแบบบริหารจัดหาร กับดูเพ่ง การดูเฉยๆ เป็นการดูเพ่ง เราดูเฉยๆ ดูอย่างเด็กเห็นไหม เรานั่งดูเด็กมันจะตกจากเก้าอี้ เด็กมันจะตกจากไหน เราก็นั่งดูมันเฉยๆ เด็กร้องไห้ตายเลย

เราดูเด็กนี่ เด็กมันจะมีอะไร เราต้องคอยดูแลมันไม่ให้มันตก ไม่ให้มันเจ็บป่วยใช่ไหม แล้วบอกให้ดูจิตเราก็ดูนี่ มาฝากเราไว้ เราก็ดู เราก็นั่งดูนะ ๑๐ ปีเราก็ดูได้ แต่มันเป็นอะไรไม่รู้นะ เราดู

ดูอะไร? ดูอย่างไร?

ถ้ามันดูอย่างนี้ปั๊บนะ ถ้าดูจิตอย่างมหายาน อย่างที่ว่าของพระกัสสปะเป็นต้น ของเซนนะ ต้นของความสว่างโพลง ต้นของความลัดสั้น แต่ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านเป็นพระอรหันต์มาจากใคร? มาจากพระพุทธเจ้า แล้วพอท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านสอนของท่าน เหมือนคนรู้ อย่างผู้ที่เป็นเจ้าของบริษัทสั่งให้ทำโครงการ สั่งเขาทำสิ เขาทำจนตายเลย เพราะเราสั่งคำเดียวใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกันเพราะอรหันต์พูด พระอรหันต์พูดน่ะ ท่านพูดของท่าน แต่เราเป็นใคร เราจะเอาคำพูดอย่างนั้นมาก็ไม่ได้

เราถึงบอกว่า อย่างถ้าเริ่มต้นการปฏิบัติ เราต้องสำนึกตัวเราเองก่อนว่าเราเป็นคนมีกิเลส เราเป็นปุถุชน เราจะแก้ไขของเรา เราไม่ใช่พระอรหันต์ คำพูดแบบนั้นเป็นคำพูดพระอรหันต์ อย่างที่ท่านบอกว่า “ทุกอย่างเป็นสักแต่ว่า ทุกอย่างเป็นสักแต่ว่า ทุกข์ก็เป็นสักแต่ว่าทุกข์”

“ชีวิตเรามันต้องตายเป็นธรรมดา ทุกอย่างเป็นธรรมดา”

มันธรรมดาจริงหรือเปล่า? อยากรู้นักธรรมดาจริงหรือเปล่า? มันพูดกันแต่ปากนะสิ

ถ้าธรรมดานี่มันต้องถอนสักกายทิฏฐิ มันต้องถอนอุปาทานในหัวใจ การถอนอันนั้นมันทำได้ยาก ถ้าทำได้ยากมันทำอย่างไรถึงจะเป็นการถอน ทำอย่างไรถึงเป็นความจริง

ทีนี้การดูจิต ถ้าอย่างที่เขาดูจิตที่เขาไปดูจิตกันนะ คำว่าดูจิต เขาดูจิตเฉยๆ นี่นะ เวลาไปพูดเขาไปถามหลวงตาอยู่ในหยดน้ำบนใบบัว ว่ามีนักภาวนาคนหนึ่ง ที่เขาบอกว่า “เขาดูจิตแล้วจิตเขาสงบ” เขาไปถามหลวงตา นักภาวนาชั้นเอก ดูจิตไง แล้วไปถามหลวงตาบอกใช้ได้ไหม ท่านบอกว่า “ใช้ได้ ใช้ได้” ดูจิตนี่เพราะว่าไปบอกว่าสงบหมด ว่างหมดไง

ท่านบอกว่า “ใช้ได้ นี่ดีนะเป็นคฤหัสถ์ ถ้าเป็นพระเราจะตีให้หลงทิศเลย” ไปเปิดดูสิ คำว่า “เป็นพระเราจะตีให้หลงทิศ” คำว่าเป็นพระมันวิวัฒนาการ มันพัฒนาได้ คำว่าคฤหัสถ์มันมีความสามารถได้เท่านี้ แล้วเขามีงานของเขา อาชีพของเขา เขาไม่ใช่นักภาวนาอาชีพ เขาไม่ใช่นักคนจะพ้นทุกข์

แต่ถ้าเป็นพระ เพราะพระบวชมาเห็นภัยในวัฏสงสาร เป็นพระจะต่อสู้กับกิเลส ทีนี้พอจิตมันสงบแล้วนี่ มันต้องออกทำงาน ถ้าดูจิตจนจิตมีพื้นฐาน แล้วเอาจิตนั้นให้เห็นอาการของจิต การเห็นอาการของจิต จิตเห็นความคิด เพราะอาการของมันคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้พอดูเฉยๆ ไม่ต้องดูมันก็หยุดได้ โดยธรรมชาติของเรา ความคิดทุกคนคิดหยุดหมดล่ะ มันก็หยุด ถ้าความคิดไม่หยุด เราก็อยู่กันไม่ได้หรอก นี้เพียงแต่มันคิดแล้วมันหยุดคิดโดยธรรมชาติ

แต่พอเราไปดูอย่างนี้ เราไปดู เราไปเห็น แต่ถ้าปัญญามันตามเข้าไป มันยิ่งเห็นชัดเข้าไปเห็นไหม มันเห็นชัดเข้าไป มันมีผลลัพธ์ รู้ถูก รู้ผิด พอมีผลลัพธ์ เหมือนเราเป็นเด็ก เราโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา เราแยกถูกแยกผิดเป็น เรารู้จักผิดจักถูก การบริหารจัดการในชีวิตเรามันจะดีขึ้น พอดีขึ้นนะ พอจิตมันสงบแล้วเห็นไหม จิตเห็นอาการของจิตไม่มีใครพูดถูก

จิตเห็นอาการของจิตอย่างไร? จิตเห็นความคิดอย่างไร?

จิตเห็นความคิด ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด แต่นี้ด้วยความเข้าใจผิดว่าความคิดคือจิต พอความคิดไม่มี อ้าว ว่าง ว่าง อ้าว ความคิดมันไม่มีบางทีเราอยู่เฉยๆ ความคิดมันหยุดได้ ก็เลยบอกว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ความคิดมันเกิดดับเป็นธรรมดา

ถ้าธรรมชาติ..เมื่อวานเราบอกเขาเลยนะ นั่งกัน ๔-๕ คน เราบอกว่า

การเกิดการตายเป็นธรรมชาติไหม? เป็น

แล้วนี่เกิดมาจากธรรมชาติใช่ไหม? ใช่

อย่างนั้นเราเป็นพระอรหันต์กันหมดแล้ว เพราะเราเกิดจากธรรมชาติ เราเกิดมาจากธรรม การเกิดและการตายเป็นธรรมชาติไหม แล้วธรรมะเป็นธรรมชาติ เราก็เกิดตายโดยธรรมชาติ เราเป็นธรรมะหรือยัง? การเกิดการตายในวัฏฏะ การเวียนตายเวียนเกิดเป็นธรรมชาติไหม? ถ้าเป็นเราก็เกิดในธรรมแล้ว เพราะเราเกิดมาแล้ว แล้วเราเป็นพระอรหันต์กันหรือยัง?

ยัง!

ยังเพราะอะไร? ยังเพราะว่าการเกิดและการตายนี้มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นสายบุญสายกรรม ในเมื่อมีกรรมมันอยู่ กรรมมันก็ขับเคลื่อนไปอยู่ แต่ถ้าวิปัสสนาเข้าไปนะ อย่างที่ว่าถ้าวิปัสสนาเข้าไป ถ้าจิตมันสงบเข้าไปเห็นอาการของจิต เห็นจิตคือเห็นความคิด เราทุกข์อยู่เพราะความคิด แล้วความคิดมันประกอบด้วยอะไร? ความคิดมันคิดขึ้นมาได้ไง มันคิดมาจากภพ

ภพคืออะไร? ภพคือฐีติจิต ฐีติจิตมันคลุมด้วยอวิชชา ตัวอวิชชามันมีพ่อ มีแม่ มีปู่ ย่า ตา และยาย ปู่ของมันคือตัวอวิชชา ตัวพ่อตัวแม่ตัวกำลังหลักคือกามราคะ แล้วตัวลูกตัวหลานขึ้นมา ตัวความเห็นผิดในธาตุ ๔ เห็นไหม แล้วตัวเหลนของมันเลยนี่ สักกายทิฏฐิ ความหลงของมัน เวลามันถอนเข้าไป มันถอนเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป เวลามันถอนเข้าไป มันเห็นการถอน

พระกัสสปะเป็นพระอรหันต์นะ คนที่เป็นพระอรหันต์ไม่เห็นกระบวนการของการเป็นพระอรหันต์มันเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาได้อย่างไร? หลวงปู่มั่นท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านรู้จักการถอนของพระอรหันต์ถอนอย่างไร? แล้วท่านก็สอนของท่าน แต่มันเป็นจริตของหลวงปู่ดูลย์ท่านถนัดของท่าน แต่ความถนัดใช่ไหม ความถนัดแล้วนี่ ถ้าไม่มีข้อมูล ไม่มีการถอดถอน ครูบาอาจารย์ท่านจะปล่อยมาไหม? ท่านก็ต้องสอน ท่านถึงบอกหลัก หลักคืออริยสัจ ๔ หลักคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นไหม หลักคือมรรค ๔ ผล ๔

แต่กระบวนการกระทำของหลวงปู่ดูลย์ กระบวนการของท่าน ท่านถนัดของท่าน ท่านเป็นปัญญาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ ถ้าปัญญาวิมุตติแต่ถ้ามีคนสอนที่เป็นความจริง มันจะทำได้ถูกต้องตามกระบวนการของมัน ถ้ากระบวนการของมัน หลวงปู่ดูลย์ท่านพูดถูกหมดนะ เวลาหลวงปู่ดูลย์พูดน่ะถูก “ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิตแล้วพิจารณามัน” พิจารณาจนอาการของจิตเห็นไหม จนอาการของจิตกับจิต ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ เป็นพระโสดาบัน

แล้วพิจารณาซ้ำเข้าไป เป็นขันธ์อย่างกลางเห็นไหม ขันธ์อย่างกลางพอถอนขึ้นมาแล้ว กามราคะมันก็อ่อนตัวลง แล้วพิจารณาซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไปมันจะเห็นกามราคะ เพราะตัวจิตมันเป็นกาม ถ้าถอนตัวกามราคะ กามราคะมันถอนออกไปแล้ว ถอนกามราคะออกไปให้หมด เหลือแต่จิตล้วนๆ จิตล้วนๆ นั่นน่ะมันเป็นความว่างๆ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใสๆ ตรงนี้ที่ว่าหลวงปู่กิมเข้าไปถาม ถามหลวงปู่ดูลย์ อยู่ในหนังสือหลวงปู่ดูลย์น่ะ

“กิมเห็นอวิชชาไหม” “เห็นครับ”

“กิมเห็นจิตไหม พิจารณามัน”

ท่านใช้ว่าพิจารณามัน พิจารณามัน เห็นจิตไหม เห็นอวิชชาไหม เห็นจิต เห็นอวิชชา มันไปเห็นจิตเดิมแท้

ท่านไม่ได้บอกให้ดูเฉยๆ หลวงปู่ดูลย์ไม่เคยบอกให้ดูเฉยๆ หลวงปู่ดูลย์บอกว่าพิจารณามัน! พิจารณาจิต พิจารณาแยกแยะ ไม่ใช่ดูเพ่ง ดูเฉยๆ ไม่ได้พิจารณา

คำว่าดู ดูบริหารจัดการ กับดูแบบนักการภารโรง ดูของใคร ดูของใคร

ทีนี้เราบอกว่า เวลาเขาอธิบาย เขาพูดก็จริงอยู่ เวลาโยมมาพูดเห็นไหม พูดถึงกระบวนการ อย่างเกมฟุตบอล ทุกคนเห็นการเล่นของเกม เรารู้หมดเลย แต่ไม่สามารถยิงประตูได้ จะให้คะแนนได้ไหม?

นี่ก็เหมือนกันกระบวนการเขาเวลาพูดถึงธรรมะ ธรรมะจะเป็นอย่างนั้นๆ พูดได้ทั้งนั้นน่ะ แต่กระบวนการมันไม่มี ขณะจิตมันไม่มี ขณะจิตไม่มีคือว่ายิงประตูไม่ได้ คือไม่ถึงที่สิ้นสุดกระบวนการของการถอนกิเลส ถ้าไม่สิ้นสุดกระบวนการของการถอนกิเลส เราพูดธรรมะกันน่ะ พูดกันแจ้วๆ ธรรมะเราพูดแจ้วๆ พูดไปแล้วได้ประโยชน์อะไร?

เอาเทปเราไปฟังดีกว่า เทปเราก็พูดแจ้วๆ มันพูดแล้วไม่มีเหตุผลเห็นไหม หลวงตาท่านพูดอยู่ ถ้าเป็นธรรมนะเวลาเสียงออกมา ไม่ใช่เสียงเปล่าๆ นะ มันมีธรรมมากับเสียงนั้น แต่ถ้าเป็นโลกนะ มันเป็นเสียงที่ไม่มีคุณค่า แม้แต่พูดธรรมะอยู่ก็ไม่มีคุณค่า เพราะบอกว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นธรรม ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือธรรม

ถ้าธรรมชาติก็คือธรรม การเกิดการตายก็เป็นธรรมชาติ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติหมด แล้วธรรมชาติเป็นธรรมได้อย่างไร? ธรรมชาติมันแปรปรวน สัพเพ ธัมมา อนัตตา สภาวธรรมแปรปรวนตลอดเวลา

อกุปปธรรม ธรรมที่ไม่แปรปรวนเป็นอย่างไร?

ธรรมที่ไม่แปรปรวน ธรรมที่คงที่เป็นอย่างไร?

โสดาบันเป็นอย่างไร?

โสดาบัน สกิทา อนาคา เป็นอย่างไร?

ถ้าโสดาบัน ทำไมถึงเป็นโสดาบัน?

แต่นี่บอกดูไป ดูไป มันเป็นเอง เป็นโดยอัตโนมัติ ก็นี่ไง นั่งอยู่นี่เป็นพระอรหันต์หมดแล้ว ดูจิต ดูจิตเป็นพระอรหันต์หมดเลย พูดแจ้วๆ เลย บอกขณะจิต ขณะจิตก็มีนะ บอกขณะจิตเป็นอย่างนั้นๆ

พูดถึงขณะจิต ถ้าขณะจิตมีนะ คนเทศน์นี้รู้ เพราะคนเทศน์นะ หลวงตาท่านบอกว่ามหาเขียนนี่ ๙ ประโยค เป็นเจ้าคณะจังหวัดโคราชด้วย แล้วลาออกมาปฏิบัติ ๙ ประโยค ตอนที่มหาเขียนท่านบอกเลยนะ พอมหาเขียน ๙ ประโยคแล้วเวลาเผาแล้วเป็นพระธาตุ ท่านบอกว่า มันก็แปลกใจอยู่เพราะท่านพูดเอง ก่อนหน้านั้นเพราะมหาเขียนกับหลวงตาท่านเป็นนักเรียนรุ่นเดียวกัน ตอนที่หลวงตาเรียนมหาก็เรียนมาพร้อมกับมหาเขียน

แต่สุดท้ายแล้วหลวงตาท่านออกปฏิบัติก่อน ท่านเป็นมหา ๓ ประโยค แต่มหาเขียนเรียนต่อไปถึง ๙ ประโยค พอ ๙ประโยคก็เป็นฝ่ายปกครอง เป็นถึงเจ้าคณะจังหวัดนะ เขาก็มีตำแหน่งแล้ว แล้วก็ลาออก แล้วมาปฏิบัติ แล้วพอปฏิบัติปั๊บ มีอยู่คราวหนึ่ง ลูกศิษย์ของหลวงตาท่านทอดผ้าป่า ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงตาด้วย และเป็นลูกศิษย์ของมหาเขียนด้วย ก็เลยนิมนต์หลวงตาไปด้วย

หลวงตาท่านก็ไปร่วมทอดผ้าป่า ท่านไปนั่งฟังให้มหาเขียนเทศน์ไง เวลาโยมไปทอดผ้าป่าท่านก็เทศน์ธรรมดา ท่านนั่งฟังอยู่นะ ปริยัติหมดเลย คือความจำไง พูดจากเสียงไม่มีเนื้อธรรม ท่านฟังแล้วท่านก็เฉย เก็บไว้ในใจ เพราะเป็นเพื่อนกัน เป็นเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกัน แต่คนหนึ่งเรียนถึงมหา ๓ ประโยคออกปฏิบัติ อีกองค์หนึ่ง เรียนถึง ๙ ประโยคแล้วออกทำหน้าที่การงาน ตอนนั้นยังไม่มี แต่พอสุดท้ายแล้วท่านบอกไม่ได้คุยกันอีก ตายแล้วกลายเป็นพระธาตุ แล้วก็ถามลูกศิษย์ของท่าน ท่านบอกเอาเทปหลวงตาไปฟัง ฟังอยู่ตลอดเห็นไหม มีหรือไม่มี ฟังเทศน์รู้

อันนี้บอกว่าธรรมะเป็นธรรมดา แล้วก็กระบวนการมันเป็นไป แล้วกระบวนการเป็นไปนี่มันจะขัดแย้งกัน มันจะขัดแย้งกัน แต่ถ้าเป็นเหมือนการศึกษานี่ เวลาเราจบประถม จบมัธยม จบอุดมศึกษา จบด็อกเตอร์นี่ ข้อสอบอันเดียวกันไหม?

ไม่ใช่!

นี่กระบวนการของมันโสดาบันเป็นอย่างไร? แล้วคำว่ากระบวนการของมันโสดาบันเป็นอย่างไร?

เริ่มต้นการเทศน์ มันต้องเริ่มต้นละสักกายทิฏฐิอย่างไร? เริ่มต้นหลวงปู่มั่นเวลาท่านเทศน์ ครูบาอาจารย์หลวงตาเทศน์ สมัยเทศน์พระทุกกัณฑ์ ไปฟังได้เลย เริ่มปูพื้นฐานมา เพราะเวลาเทศน์นะพระเต็มวัด วุฒิภาวะของพระไม่เท่ากัน พระที่บวชใหม่ พระที่มาใหม่นี่ ถ้าทำความสงบของใจได้ ก็มีที่อยู่ที่กินแล้ว คือจิตคงที่แล้ว

แล้วพระที่ปฏิบัติมาเป็นพระโสดาบัน เขาก็ต้องการสูงขึ้นไป เขาจะฟังธรรมะที่สูงกว่าโสดาบัน ถ้าพระบางองค์ได้สกิทาคามี เขาจะฟังถึงขั้นของสกิทาคามี แล้วเขาจะได้ประโยชน์ขึ้นไป ถ้าเป็นพระอนาคาเขาจะฟังขั้นสุดท้าย เขาจะทำกระบวนการอย่างไร?

ถ้าเป็นพระอรหันต์ อย่างเช่น เวลาหลวงตาท่านเทศน์นะ ท่านจะพูดกับหลวงปู่ลี เวลาท่านเทศน์จบ ไปฟังเทศน์สิ “ลีเนาะ เป็นอย่างนั้นเนาะ” คือพระอรหันต์กับพระอรหันต์นั่งฟังเทศน์ด้วยกัน องค์ ๑ เป็นพระอรหันต์เทศน์ อีกองค์เป็นพระอรหันต์ด้วยกันนั่งฟังเทศน์ เพราะพระอรหันต์ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงตา ท่านเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน แต่ฟังเทศน์เป็นวิหารธรรม ฟังเทศน์เพื่อความสุขใจ เพราะเป็นฟังเทศน์เห็นไหม

แล้วพอเทศน์ขึ้นมา เริ่มต้นเทศน์ เพราะอะไร? เพราะพระอรหันต์นั่งอยู่นั้นด้วย องค์ ๑ เป็นพระอรหันต์เทศน์ อีกหลายๆ องค์เป็นพระอรหันต์ที่นั่งฟังอยู่ แล้วอีกหลายๆ องค์เป็นอเสขบุคคลที่นั่งฟังที่ยังต้องการธรรมะ ต้องการทางเดินที่จะสูงขึ้นไป

นั่นผู้เทศน์เห็นไหม เพราะว่าในสังคมนั้นมันหลากหลาย เริ่มต้นต้องปูพื้นฐานให้เหมือนกัน พื้นฐานเพราะว่าตัวเองผู้เทศน์เป็นพระอรหันต์ ผู้ฟังที่เป็นพระอรหันต์ หรือพระอเสขบุคคลที่นั่งฟังอยู่ด้วยกันน่ะ เขาก็ปฏิบัติพื้นเพมาเหมือนกัน ปฏิบัติเริ่มต้นมาเหมือนกัน ทุกคนจบด็อกเตอร์ ทุกคนจบการศึกษาสูงส่งมาขนาดไหน ทุกคนก็เรียนอนุบาล เรียนประถมมาเหมือนกัน นี้การเรียนประถม เรียนอนุบาลมา นี้เวลาพูดถึงประถม อนุบาล มันก็เหมือนกัน

นี้เริ่มต้นของผู้ปฏิบัติ เริ่มต้นของทุกคนมันก็ต้องวางพื้นฐานจากอนุบาลขึ้นมา เริ่มต้นจากทำความสงบของใจเข้ามา ทุกกัณฑ์จะบอกต้องทำความสงบของใจเข้ามา เพราะคำว่าความสงบของใจเข้ามา เหมือนนักเรียนอนุบาล เด็กเราส่งไปเรียนอนุบาล วันแรกๆ เลยนี่ไปทำไม ก็ไปอยู่ ไปกิน ไปนอน ไปฝึกร่างกาย พอโตขึ้นมาก็ให้หัดเริ่มเขียนตัวอักษร เห็นไหม

ความสุขของใจก็เหมือนตัวอักษร ถ้ามีตัวอักษรมันก็เขียนคำ ผสมคำขึ้นมาได้ ไม่มีตัวอักษรเลย เราจะสื่อความหมายกันอย่างไร? ถ้าจิตมันไม่สงบเลย เหมือนกับมันไม่ได้ตัวอักษรมา มันไม่เข้าใจถึงความจริง เห็นไหม เราจะบอกโลกียปัญญาไง

เวลาผู้ที่ปฏิบัติไม่ต้องพูดมาก ไม่ต้องพูดมากหมายถึงอะไร ?

เพราะว่าพระหนีจากโลกมาหมดแล้ว พระทิ้งโลกมาหมดแล้ว พอทิ้งโลกมาหมดแล้ว เริ่มต้นมันต้องทำความสงบของใจให้ได้ก่อน ความสงบของใจพื้นฐาน ถ้าไม่มีความสงบของใจนะ ความคิดทั้งหมดเป็นโลก เป็นโลกหรือเป็นกิเลสไง อย่างที่ว่า จะตรึกธรรมะ จะพูดธรรมะ นิพพาน นิพพานเลย ใครพูด นิพพานใครพูด

แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์พูดนิพพานนะ นิพพานของพระอรหันต์นะ พระอรหันต์รู้จักนิพพานด้วย แล้วพูดนิพพานให้ฟังชัดเจนมาก บอกจะเป็นอย่างนั้นๆ เป็นอย่างนั้นคือบุคลาธิษฐานคือสมมุติทั้งหมด แต่ความจริงคือใจของพระอรหันต์เป็นนิพพาน แต่คำพูดพยายามจะสื่อสมมุติมาให้ลูกศิษย์ลูกหาให้เข้าใจถึงนิพพาน แล้วถ้าลูกศิษย์ลูกหาทำเข้าไปถึงนิพพานแล้ว เอ๊อะ! เอ๊อะ! อันเดียวกัน

แต่ถ้าเป็นโลกพูดนะ นิพพาน นิพพาน คนพูดก็งง คนฟังก็งง แล้วคนพูดบอกนิพพานคราวนี้นะ คราวหน้าพรุ่งนี้พูดนิพพานใหม่ นิพพานเมื่อวานกับนิพพานนี้คนละนิพพานแล้ว เพราะมันพูดไม่เหมือนกัน นิพพานวันนี้พูดอย่าง ๑ พอพรุ่งนี้ มะรืนนี้ นิพพานเปลี่ยนใหม่แล้ว มันคนละพาน นิพพานของโลกไง นิพพานของโลกมันเป็นสมมุติ มันเป็นการตรรกะ ไม่เป็นความจริงหรอก

ฉะนั้นเวลาเทศน์เห็นไหม ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบเข้ามา จากโลกียะมันจะเป็นโลกุตตระ โลกุตตระหมายความว่าอย่างไร?

โลกุตตระหมายถึงว่าจิต ดูจิต ดูจิต จนจิตมันสงบน่ะ ถ้าจิตมันสงบ ทำไมถึงสงบ สงบเพราะกิเลสมันยุบตัวลง สงบตัวนี่ กิเลส พอกิเลสมันยุบตัวลง กิเลสมันยุบตัว สิ่งนี้เห็นไหม เราจะบอกประจำว่า “ความคิดเรานะตัวจิตนี่มันมีเชื้อโรค มันมีอวิชชา”

อวิชชา คือ กิเลสตัณหาความทะยานอยาก ตัวจิตเหมือนเครื่องมือแพทย์ เครื่องมือการผ่าตัดมันติดเชื้อ แล้วเราจะรักษาไข้ เราเอาเครื่องมือที่ติดเชื้อไปผ่าตัด เราจะหายหรือเราจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น

ในการปฏิบัติธรรม จิตของเรายังมีกิเลส เพราะยังไม่สงบ พอยังไม่สงบ เอาความคิดไปตรึกในธรรม พอตรึกในธรรมมันจะเกิดการสร้างภาพ จิตนี้มันแปลก พอมันว่าง มันจะมีการสร้างภาพ พอสร้างภาพ ๑ มันก็ว่าเป็นโสดาบันที ๑ พอสร้างภาพครั้งที่สองมันว่าเป็นสกิทา สร้างภาพครั้งสาม นี่ไงมันติดเชื้อ เชื้อกิเลสอยากได้ธรรมะ อยากรู้ อยากเป็น อยากเก่ง พออยากตัวนี้มันเร่งเข้าไป พอเร่งเข้าไปเห็นไหม เพราะมันไม่สงบ มันถึงเอาเครื่องมือ เอาธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ติดเชื้อ แล้วไปผ่าตัดหัวใจ ไปสร้างภาพของตัว มันก็เลยหลงทางกันไป

แล้วโดยสามัญสำนึกของจิตที่เกิดเป็นมนุษย์ทุกคน เครื่องมือติดเชื้อหมด พอเครื่องมือติดเชื้อหมด มันเป็นเชื้อโรคเดียวกัน เชื้อตัณหาความทะยานอยาก เชื้ออยากได้ เชื้ออยากเป็น เชื้ออยากได้นิพพาน มันก็เลยพูดเหมือนกัน พอเหมือนกัน มันก็เป็นสายเดียวกัน

กระแสของมันตอนนี้ นิพพานของกิเลส นิพพานของโลกเยอะมาก

พอเรามาทำความสงบของใจเห็นไหม เราเอาเครื่องมือนั้นมาฆ่าเชื้อ เราเอาเครื่องมือแพทย์ฆ่าเชื้อกิเลสเราก่อน พอฆ่าเชื้อเห็นไหม ขันธ์ถ้าเป็นความคิด หลวงตาท่านพูดประจำนะ เราคิดว่า ปัญญาคือขันธ์ ๕ คือสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง

เวลาถ้าจิตมันสงบมีสมาธิมารองรับ มันก็เป็นสังขารนี่แหละ แต่มีสมาธิเพราะมันสะอาด ขันธ์เห็นไหม ขันธ์ ๕ มันสะอาด พอสะอาดขึ้นมา พอมันชำระล้างเห็นไหม เครื่องมือแพทย์ที่ไม่ติดเชื้อ แต่เดี๋ยวเดียวนะ เพราะเราไปใช้แล้ว มันไปสกปรก การแพทย์เขาผ่าตัดแล้ว เขาต้องทำความสะอาดตลอดไป เพราะถ้าเราใช้บ่อยครั้ง มันจะติดเชื้อ ก็ต้องมาทำความสงบอีก เห็นไหม สมาธิถึงทำกันตลอดไป

สมาธิความสงบต้องสำคัญตลอดไป ทำฆ่าเชื้อตลอด ฆ่าเชื้อแล้วผ่าตัด ฆ่าเชื้อแล้วผ่าตัดจนกว่าถึงที่สุด จนผ่าตัดจนโรคนั้นหาย ถ้าโรคหายมันถอน ถอนอะไร? เวลาเทศน์น่ะ คำว่าถอนคือขณะจิต เป็นโสดาบันเป็นอย่างไร? คนที่เป็นนะ ปิดอย่างไรนะ มันก็ฟังออก

หลวงตาท่านรู้อยู่เพราะท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเวลาท่านเทศน์นะ ท่านบอกว่า “เทศน์ถึงเหตุไม่เทศน์ถึงผล” เพราะคนมันจะจำไปเป็นประโยชน์ ฉะนั้นเวลาหลวงตาท่านเทศน์เห็นไหม ท่านบอกจิตท่านเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม จนนั่งตลอดรุ่ง จนถึงจุด ๑ จิตมันเกาะติด ตั้งแต่วันนั้นไม่เสื่อม คำว่าไม่เสื่อมคือโสดาบันนะ จิตมันเกาะติด พิจารณาเวทนา กลางคืนนั่งตลอดรุ่งพิจารณาเวทนา เวทนาเวลามันนั่งตลอดรุ่งใช่ไหม เวลานั่งไป ๒-๓ ชั่วโมง จิตมันลง ว่างหมดเลย

แต่จิตลงเป็นสมาธิ มันจะอยู่สมาธิตลอดไปได้ไหม? มันเป็นไปไม่ได้ มันต้องถอนออกมา นี่ขณะที่ถอนออกมา เที่ยงคืน ตี ๑ ตีสอง มันถอนออกมา มันจะเจ็บปวดขนาดไหน มันก็ต้องใช้ปัญญาไล่เข้าไปอีก เพื่อจะให้จิตเข้าเป็นสมาธิอีก เพราะเรานั่งที ๑๒ ชั่วโมง สมาธิคนลงถึง ๑๒ ชั่วโมงไม่มี สมาธิคนลงไปชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง มันต้องถอนเป็นธรรมดา

พอมันเข้าไป มันปล่อยเข้าไป มันก็มีความสุขมาก เวลามันถอนออกมา มันปล่อยออกมา มันจะไปรับรู้มันจะเจ็บปวดมาก มันจะมีความกระทบกระเทือนมาก พอกระทบกระเทือนมากปั๊บ จิตมันเข้าสมาธิแล้ว มันมีกำลังของมัน

พอมีกำลังของมัน มันก็ไล่ดูความเจ็บปวด ใครเจ็บ? อะไรมันปวด? ขันธ์มันยึดอย่างไร? พิจารณาเข้าไป พอมันพิจารณาเข้าไป มันก็ปล่อยอีกเห็นไหม ตทังคปหาน พอมันปล่อยมันก็สงบอีก สงบมันก็ลงไปอีก เดี๋ยวพอสงบ ๒-๓ ชั่วโมงมันก็ถอนอีก คืน ๑ ท่านบอกว่า “ท่านพิจารณาอย่างนี้ สองรอบ ถอนถึง ๓ หน ๔ หนทุกคืนเลย จนกว่าพระอาทิตย์ขึ้น”

การพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าเห็นไหม จนถึงที่สุดพอมันขาด ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ เวทนาเป็นขันธ์ ๕ ความเจ็บปวดเป็นเวทนา แล้วพอมันพิจารณาเวทนาจนมันปล่อยเวทนา มันขาดไปแล้ว ท่านพูดเองด้วยความมั่นใจมากนะ

“ต่อไปนี้มันจะเอาเวทนาหน้าไหนมาหลอกเราวะ เวทนาที่มันที่สุดของเวทนา ที่มันเจ็บปวดจนถึงที่สุด เราก็ได้ผ่านมาแล้ว ให้เวทนายิ่งๆ กว่าเวทนามา เราก็จะไม่หวั่นไหวเลย เพราะปัญญาได้ใคร่ครวญจนถึงที่สุด จนเวทนาขาดแล้ว”

นี่ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นเลย ขึ้นไปรายงานผล พอขึ้นไปรายงานผลด้วยความเคารพบูชาหลวงปู่มั่นมาก แต่เวลาพูดธรรมะ โอ้โฮ มันพูดด้วยเหตุด้วยผล พูดด้วยความจริงจัง นั้นเวลาโสดาบัน สกิทาท่านพิจารณาของท่านซ้ำจนมันปล่อยเหมือนกัน ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ขาดออกไป พอขาดออกไปนะ มันมีความสุขมาก แล้วก็ขึ้นไปรายงานท่าน รายงานท่านเสร็จท่านก็ว่า “เออ ถูกต้อง ถูกต้อง”

นี้คำว่าถูกต้อง ท่านก็จะพิจารณาต่อซ้ำ คืออยากจะได้สุขอย่างนี้อีกไง ก็ขึ้นไปหาท่านอีก เพราะอยากจะให้เป็นอย่างเดิมอีก “มันจะบ้าเหรอ มันก็มีหนเดียวเท่านั้นล่ะ”

คำว่าหนเดียวคือขณะจิตที่มันขาด แต่ผลข้างหน้ายังมีอีก แต่พอบอกหนเดียวเท่านั้น มันก็เลยคิดว่าหนเดียวจะไม่มีอีกแล้วไง ติดตรงนี้อีก ๕ ปี ทีนี้เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์เห็นไหม เวลาหลวงตาท่านเทศน์ ท่านเทศน์ของท่านเห็นไหม ท่านบอก “ท่านเคยติดสมาธิมา ๕ ปี” ท่านเน้นย้ำๆ เราตลอดเวลา

เวลาเราบวชใหม่ๆ เราฟังตรงนี้มาก ฟังตรงที่ว่า ประวัติหลวงปู่เทศน์ กับ หลวงปู่หลุย องค์ ๑ ติดสมาธิ ๑๗ ปี องค์ ๑ ติด ๑๑ ปี คำว่าสมาธิ เราเลยกลัวว่าสมาธิเป็นโทษมาก เวลาทำสมาธิแล้วมันจะติด

แต่สมาธิมันเป็นพื้นฐาน ถ้าไม่มีสมาธินะ โลกุตตรปัญญา ถ้าไม่มีสมาธินะ เราจะเป็นพระอริยบุคคลกันไม่ได้ มันจะเป็นโลกียปัญญา มันจะเป็นปัญญาของโลกๆ ตลอดไป มันเป็นเครื่องมือที่ เพราะกิเลส ใจเรามีเชื้อโรค ใจมันเป็นเครื่องมือที่ติดเชื้อ แล้วเครื่องมือที่ติดเชื้อจะผ่าตัด จะแก้ไข สิ่งที่ติดเชื้อให้หายจากเชื้อ เป็นไปไม่ได้

มันต้องทำความสงบของใจ ให้มันระงับเชื้ออยู่ชั่วคราว สมาธิคือระงับเชื้อลงชั่วคราว ไม่ขาด ระงับลง ระงับให้มีโอกาสได้พิจารณา ให้มีโอกาสได้เอาเครื่องมือนี้มาใช้ ถ้าเราใช้เป็น ใช้ถูกจังหวะ ใช้บ่อยครั้งเข้า เชื้อโรคมันจะจางลงๆ จนมันจะขาดไป พอขาดไปปั๊บ พระที่ท่านเป็นอริยบุคคล เวลาเทศน์ท่านจะบอกถึงตรงนี้ มันจะออก คนที่มีนะ ปิดบังขนาดไหน มันก็จะพูดถึงจังหวะ เหมือนจังหวะ เหมือนต่างๆ

แล้วนี่เวลาบอกว่า “มันเป็นอัตโนมัติ ลักษณะของนิพพาน”

ถ้าลักษณะของนิพพาน ผิดหมด แต่เวลาหลวงตาท่านพูดเห็นไหม ท่านบอกว่า “เหมือนกับแม่น้ำทุกสายไหลลงไปสู่ทะเล” นิพพานคือเสมอภาคไง เหมือนแม่น้ำทุกสาย แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง เวลาลงไปสู่ทะเลแล้ว น้ำในทะเลนั้นชื่ออะไร

เห็นไหม เวลาพระอรหันต์ท่านอุปมาอุปไมย มันฟังได้ แต่เวลาพระอรหันต์ดิบ “ลักษณะนิพพาน กว้างเท่านั้น แคบเท่านั้น สูงเท่านั้น ธรรมะเป็นธรรมชาติ”

มันฟังออกตรงนี้ ตรงที่แบบว่าขั้นตอนของมันน่ะ โสดาบันก็พูดผิด สกิทาคาก็พูดผิด อนาคาก็พูดผิด แล้วเวลาเน้นไปเน้นที่ขณะจิต เวลาพูดถึงขณะจิต เราไปขณะจิตเหมือนแบบว่าเราเป็นเชิงช่าง ช่างเห็นไหม เราเป็นช่างปูนหรือช่างไม้มันคนละชนิดกัน มันจะเข้าใจเฉพาะส่วนที่ตัวเองถนัด นี้พอส่วนที่ตัวเองถนัด ต่างคนต่างว่าสิ่งที่ตัวเองถนัดพูดได้

แต่เวลาเราสร้างบ้าน เราจะเอาอะไรลงก่อน เราจะเอาไม้ลงก่อน หรือเราจะเอาปูนลงก่อน พื้นฐานน่ะเราจะลงคานคอดินด้วยปูนหรือจะเอาไม้ลงก่อน นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติ โสดาบันน่ะสรุปกระบวนการของมันเป็นอย่างไร? สกิทาเป็นอย่างไร? อนาคาเป็นอย่างไร? นี้คำว่าขณะจิตเราเป็นช่างแต่เวลากระบวนการการก่อสร้างผิดหมด เอ็งเคยเห็นบ้าน เอาหลังคาลง แล้วเอาเสาชี้ขึ้นฟ้าไหม

คำเทศน์ของเขาเป็นอย่างนั้น แล้วส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้นเลย เป็นอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะให้พวกเราว่างกันก่อนไง ให้พวกเราสบายกันก่อนไง แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์นะ ท่านถึงบอกว่า “ต้องลำบากก่อน ถ้าใครมักง่ายจะได้ยาก ใครหมั่นวิริยะอุตสาหะคนนั้นจะเอาตัวรอด” ครูบาอาจารย์ของเราพูดอย่างนั้นเลย

แล้วฝ่ายมหายาน เซนก็เหมือนกัน เซนเวลาปฏิบัตินะ เขาเอาจริงเอาจังมาก แต่เวลาคำพูดเป็นโวหารเท่านั้น คือพูดแล้วไม่ให้ติด เหมือนที่ว่า “สว่างโพลงเห็นไหม ลัดสั้น สว่างโพลง”

แต่เวลาหลวงปู่มั่นท่านบอกเลยว่า “ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น” เวลาจิตมันสมุจเฉทปหาน ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น แปร๊บ! เป็นพระอรหันต์เลย แต่กว่างูมันจะคลอดออกมาจากแม่มันนะ กว่างูมันจะเลี้ยงตัวมันขึ้นมาได้นะ กว่างูมันจะโตขึ้นมานะ แล้วกว่างูมันจะแข็งแรงนะ

นี่เหมือนกัน จิตกว่ามันจะพัฒนาการของมันแต่ละชั้น แต่เวลาถึงที่สิ้นสุดกระบวนการของมันคือขณะจิตอันนั้นน่ะ ถูกต้อง

นี่อย่างบอกว่าดูจิต เมื่อวานเราถามเขา เขาว่าดูจิต ดูจิต เขายืนกระต่ายขาเดียว จะให้เราเห็นด้วยกับการดูจิตไง ว่าดูจิตถูก เราถามเขากลับว่า

“เซนมันมาจากไหน”

เราจะชักให้เห็นว่า “มาจากพระพุทธเจ้า” แล้วพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างใด?กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทุกๆ อย่าง จะบอกว่าเป็นพุทธศาสนา พุทธศาสนาจะบอกว่ามาจากพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าสอนอย่างไร? แล้วปัจจุบันนี้เขาสอนกันอย่างไร?

แล้วพอมาในปัจจุบันนี้ ลูกศิษย์กรรมฐานทั้งหมด ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นสอนอย่างไร? หลวงปู่มั่นให้ทำอย่างไร? แล้วหลวงปู่มั่น ผลงานของหลวงปู่มั่น ลูกศิษย์ครูบาอาจารย์ที่สายกรรมฐานพระอรหันต์กี่องค์? รวมทั้งหลวงปู่ดูลย์ด้วย หลวงปู่ดูลย์นี่เราเชื่อ เราเคารพ เพราะหลวงปู่ดูลย์ท่านปฏิบัติของท่านมา

แต่ในสมัยปัจจุบันนี้มันจะเป็นพวกปัญญาชน พวกมีการศึกษาไปปฏิบัติ สุกก่อนห่าม ขายก่อนซื้อ อยากได้ก่อนไง

แต่สมัยนั้นนะ สมัยหลวงปู่มั่น ใครเข้าไปนะ เริ่มต้นนะเป็นปะขาวก่อน หัดตัดเย็บผ้าก่อน ปูพื้นฐานก่อน นี่เริ่มต้นจากคนที่ไม่มีสิ่งใดเลยเข้ามาฝึกฝนขึ้นมา จนเข้มแข็งขึ้นมา แต่ในปัจจุบันนี้เป็นพระอรหันต์ก่อน แล้วค่อยมาบวช เป็นพระอรหันก่อนแล้วค่อยปฏิบัติ

มันกลับกันน่ะๆ แล้วอยากจะพ้นทุกข์ๆ ถามตัวเองน่ะรู้ ที่ดูจิตๆ น่ะ ถามตัวเอง เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะโดยปกตินะ คนที่ไม่ปฏิบัติ เวลาเขานั่งสบายใจเย็นๆ นั่งสบายใจ นั้นมันก็ดับ มันก็ว่าง แล้วมันได้อะไร?

แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธินะ ปัญญาอบรมสมาธิขึ้นมา ความรู้นี่สติมันตามความคิดไป จนความคิดมันจับความคิด เห็นความคิดแล้วปล่อยวางความคิด แล้วถ้ากำลังไม่พอ ความคิดมันเกิดขึ้นมามันยับยั้งความคิดได้ หยุด เอ๊ะ! เอ๊ะ! เอ๊ะ! ความคิดหยุดหมด

เพราะความคิดทุกอย่างเกิดจากรูป รส กลิ่น เสียง เกิดจากบ่วงของมาร รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มารมันเอารูป รส กลิ่น เสียง เอาความรู้สึกเรามาบูชาใจ พอบูชาใจ ใจมันก็จะเกิดการรับรู้ แล้วสติสัมปชัญญะถ้ามันทัน คิดดูสิ บ่วงนะ บ่วงรัดคอ รูป รส กลิ่น เสียง เสียงนินทา เสียงสรรเสริญ รูป รส กลิ่น เสียง ที่มากระทบเรามันสิ่งล่อทั้งนั้น

ถ้าเรามีสติยับยั้ง เรามีสติเห็นไหม กลิ่นหอม กลิ่นเหม็นก็คือกลิ่น กลิ่นอะไรก็คือกลิ่น มีสติรับรู้กลิ่น มันจะตื่นเต้นไปอะไรกับกลิ่น มีสติรับรู้กับเสียง เสียงนี้เขาชม เขาติฉินเขานินทามาตลอด

ถ้ามีสติสัมปชัญญะ มีจุดยืนนะ รูป รส กลิ่น เสียง นี่มันไม่ทำให้หัวใจนี้ไหวเลย หัวใจมันไหวเพราะตัวเองโง่ ตัวเองไม่รู้จักตัวเอง อะไรเข้ามาก็แบกรับ เพราะจิตนี้มันโง่ อะไรมาก็เข้าไปช้อนรับ ช้อนรับ แล้วช้อนรับมาก็ทุกข์ๆๆ แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะมันทัน มันหยุดได้เห็นไหม มันหยุดได้นะ มันพัฒนาไหม

ไม่ใช่ดูเฉยๆ ดูแล้วไม่รู้อะไรเลย มีเมื่อวานนี้มาด็อกเตอร์เหมือนกัน ที่ว่าไปหาแล้วว่า อะไรนะ จิตเกร็งไป กดจิต ทับจิต ต้องปล่อยให้จิตมันเป็นธรรมดา เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะกำหนดพุทโธ พุทโธ

เราจะบอกว่า จิตมันเหมือนกับความสกปรก เหมือนน้ำสกปรก พุทโธ พุทโธ เหมือนรีไซเคิลน้ำ อัดออกซิเจนเข้าไป พุทโธ พุทโธ เพราะคำว่าพุทโธ คำว่าพุทโธ พุทโธ เพราะพุทโธมาจากไหน

พุทโธมาจากวิตกวิจาร การนึกขึ้นจากจิต จิตนึกขึ้นมา ถ้าจิตไม่ตั้งใจนึกพุทโธ จะไม่เกิดคำว่าพุทโธ พอจิตมันนึกขึ้นมา ตัวจิตมันสกปรก พอนึกพุทโธ พุทโธจะเข้าไปหมุนในความรู้สึกของใจ พอมันหมุนเข้าไป มันทำความสะอาดของมัน พุทโธ พุทโธเห็นไหม แล้วพอพุทโธ พุทโธ เอ้ย! ทำไมมันว่างล่ะ

แล้วดูจิตมันว่างไหม?

มันว่างที่ความคิด มันไม่ได้ว่างที่ตัวจิต

แต่ถ้ามันพุทโธ พุทโธ ไปนี่มันจะว่างที่ตัวจิต ปัญญาอบรมสมาธิก็เหมือนกัน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะปัญญาอบรมสมาธิ เวลาความคิดมาจากไหน เราไปดูที่ความคิดใช่ไหม? พอความคิดมันหยุด ใครเป็นคนคิด?

แล้วเวลาหยุดแล้ว พลังงานที่มันหยุด มันหยุดไปไหน แล้วเวลามันคิด มันคิดออกมาได้อย่างไร? สติมันตามทันนะ มันเห็นความคิด เห็นจิตผู้ที่เสวยความคิด พอจิตผู้เสวยความคิด ถ้าเราผ่านกระบวนการของความคิด เรารู้ทันความคิดปั๊บว่าเป็นไฟ เป็นของร้อน มันปล่อย ปล่อยแล้วมันเหลืออะไร?

พอเราไปอยู่ที่นั่นปั๊บ พอมันเสวยพลังงานที่มันจะออกมารับรู้ ออกมาเสวย จิตเราจับได้เห็นไหม จิตจับได้ เราไล่เข้าไปถึงตัวพลังงาน พอตัวพลังงานมันอยู่ของมันเห็นไหม เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น พอพลังงานมันจะออก พอพลังงานมันออกมา พอมันเสวยปั๊บ ถ้าจับนี่ได้ปั๊บ วิปัสสนาเกิดตรงนี้ เพราะอะไร?

จิตเห็นอาการของจิต พลังงานเห็นความคิด คนเรานะ ตัวเรารู้จักความคิดของเรา เราบริหารความคิดของเราได้ คนนั้นมหัศจรรย์ขนาดไหน เวลาเราคิดขึ้นมา ความคิดมันคิดออกมา แล้วเราก็วิ่งเต้นตามความคิดนั้นไป แต่ถ้าพอสติมันย้อนกลับเห็นไหม ย้อนกลับความคิด ความคิดมันดับ ดับ

ถ้ามันทัน มันไม่ดับ มันมีกำลัง มันก็จะยื้อกำลังเราไป มันจะดึงให้เราไปร่วมกับความคิดไป ถ้ากำลังไม่พอ มันก็จะไปของมันสักพัก ๑ ถ้าสติทันมันจะหยุดได้แล้ว กลับมาแล้ว พอกลับมานี่ ไล่เข้าไปจนเห็นความคิดนี้ถูกผิด ถูกผิดมันก็ปล่อย ถ้าไม่เห็นความถูกผิดมันก็ดับเอง ดับเองมันก็ย้อนกลับไปที่ตัวจิต

เวลาพระสารีบุตรอยู่ถ้ำสุกรขาตา อยู่ที่เขาคิชฌกูฎนะ เห็นไหมที่พระสารีบุตรพัดพระพุทธเจ้าอยู่ แล้วหลานไปต่อว่า “ไม่พอใจสิ่งต่างๆ ไม่พอใจทั้งสิ้นเลย”พระพุทธเจ้าบอกว่า “ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์ความรู้สึกของเธอก็เป็นวัตถุอัน ๑” คำว่าวัตถุอัน ๑ นี่ไงพระอรหันต์พูด

ความคิดเราเป็นวัตถุไหม? ความคิดนี้เป็นนามธรรม เป็นวัตถุไหม? ไม่เป็นเพราะเราไม่เห็น แต่เวลาจิตมันเป็นนะ จิตมันเห็นเพราะตัวพลังงานมันเห็นเอง มันจับเอง จิตนี้มันจับเอง เพราะจิตมันละเอียดกว่าความคิดแล้ว ความคิดเป็นขันธ์ มันเป็นนามธรรม มันเกิดดับ สิ่งที่เกิดดับ ที่ว่าจับต้องไม่ได้

แต่ถ้าพอเราจิตสงบ เพราะมันเกิดจากปัญญาอบรมสมาธิเข้าไปแล้ว ตัวจิตนี่มีวุฒิภาวะที่สูงกว่า สิ่งที่มีวุฒิภาวะที่สูงกว่า มันจะย้อนกลับมาเห็นความคิด นี่ไงที่ว่าจิตเห็นอาการของจิต พอมันจับความคิดได้ นี่ไง มันถึงต่างกันที่ว่า ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนา ไม่ใช่ปัญญาเกิดจากสมอง สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา

ถ้ามันเกิดกระบวนการของการภาวนา เกิดกระบวนการของจิตสงบ แล้วกระบวนการของจิตสงบ มันเห็นของมัน มันจับต้องของมัน แล้วชัดเจนมาก ถ้าไม่ชัดเจนมากนะ ถ้าไม่ชัดเจนไม่รู้จริงนะ หลวงตาเวลาขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นซักทีเดียวนะ หลวงตาจะตอบไม่ได้เลย คนเรานี่มันทำกระบวนการทั้งหมด มันสิ้นกระบวนการจับต้องได้ชัดเจน ให้ใครถามเมื่อไหร่? ถามที่ไหน? ถามอย่างไร? กูตอบได้ตลอดเวลา

แต่ถ้าเราไม่เห็นจริงนะ เราไปฟังมา หรือเราไปเป็นตรรกะมา เวลาพูดพูดได้จริง แต่เวลาเอาจริงเอาจังขึ้นมานะ พูดไม่ถูก ยิ่งคนรู้ซักนะ สั่นเลย เพราะเราไปซักมาเยอะ เวลาเอาถึงความจริงนะ ไม่ใช่ ไม่ใช่นะ ไม่ใช่ ไม่ใช่ สั่นเลย เพราะมันตอบไม่ถูก แล้วไม่ใช่ตอบไม่ถูกนะ กลัวหมัดสอง คำตอบคำแรกก็ผิด ถ้าไปผิดคำที่สองถลำลึกไปกว่านั้นเยอะ เพราะคำแรกผิดแล้ว

ดูหลวงตาท่านไปถามหลวงปู่แหวนสิ ถามคำแรกตอบ ผลัวะ! ถามครั้งที่สองตอบ ๔๕ นาที ผลัวะ! “มหามีอะไรผิดค้านมา”

“ผมไม่ค้านหรอกครับ ผมหาฟังธรรมอย่างนี้ ธรรมที่ถูกต้องดีงามอย่างนี้ หาฟังธรรมอย่างนี้ เพราะไม่มีที่ค้าน แล้วค้านไม่ได้”

แต่ถ้าผิดนะค้านได้ ว่างคู่กับไม่ว่าง ธรรมชาติคือสิ่งที่แปรปรวน ธรรมะเหนือธรรมชาติ มันถึงพ้นจากวัฏฏะ ธรรมชาติคือวัฏฏะ พ้นจากวัฏฏะเป็นวิวัฏฏะ

วิวัฏฏะมันพ้นไปอย่างไร?

มันต้องมีสิ มีการเกิด ต้องมีการไม่เกิด เจ้าชายสิทธัตถะไปเที่ยวสวนเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ยังหาทางออกจนได้ ไอ้นี่ธรรมะพระพุทธเจ้าพูดอยู่ชัดๆ เลย มันยังเพ่งไปเอา แถไปเอา แถไปคนละเรื่อง

เราจะบอกว่าหลักของมัน ศาสนาพุทธเกิดจากพระพุทธเจ้า มหายานมันก็เป็นพันธุกรรมทางจิต เป็นความชำนาญ เป็นกระบวนการของเขา แล้วกระบวนการของเขามันก็มีถูกมีผิด เห็นไหมในมหายาน ดูอย่างวัชรยาน อย่างทิเบตเขาจะมีหมวกขาว หมวกเหลือง หมวกแดงเห็นไหม หมวกเห็นไหม เขายังแตกย่อยออกไป มันอยู่ที่กระบวนการมีหลากหลาย เป็นสิ่งต่างๆ

เถรวาทของเราก็เหมือนกัน ครูบาอาจารย์เห็นไหม หลวงปู่มั่นเป็นพ่อเป็นแม่มา พอออกมาเป็นลูกศิษย์ก็ออกแตกแขนงออกไป เพราะมันอยู่ที่ความชำนาญ อย่างเช่น หลวงปู่ดูลย์ท่านก็เป็นของท่านอย่าง ๑ แต่ของท่าน ท่านพูดถูกนะ หลวงปู่ดูลย์ถูก หลวงปู่กิมถูก แต่นอกนั้นลงมา มันสุกก่อนห่าม แต่อย่างของครูบาอาจารย์เรานี่ ประสาเราครูบาอาจารย์ของเราที่ถูกก็มี

แล้วอย่างกระบวนการในการปฏิบัติ เราเห็นใจตรงนี้มาก คนที่ปฏิบัติเหมือนคนทำงาน คนทำงานต้องมีความผิดเป็นธรรมดา คนฝึกงานที่ไม่ผิดเลย ไม่มี หลวงตาท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นเห็นไหม ท่านบอกท่านติดสมาธิ ๕ ปี หลวงปู่มั่นแก้ไขออกมา ครูบาอาจารย์ของเราแต่ละองค์ มันต้องมีการผิดพลาดมาทุกองค์

อย่างเรานี่นะ โดนกระทืบ โดนขยำมาเต็มที่ แล้วผิดมาเยอะมาก เพราะผิดมาเยอะมาก มันถึงมีประสบการณ์ไง เพราะตัวเองเคยผิดมา แล้วเวลาผิดเรามีความรู้สึกอย่างไร? เรายึดมั่นทิฐิมานะ เรายึดความเห็นของเราอย่างไร? แล้วถ้ามีคนมาบอกว่าผิด มันยิ่งยึดเข้าไปสองชั้นสามชั้น เพราะมันแรงทิฐิจะเอาชนะคะคานเขา

พอจะเอาชนะคะคานเขา แต่เวลาท่านถามมาตอบไม่ได้ ท่านถามมานี่เรางงนะ แต่ถ้าถามสิ่งที่เรารู้ เราตอบได้ พอท่านถามสิ่งที่เราไม่รู้นะ พยายามคิดอย่างไรก็ไม่รู้

แล้วเวลาปฏิบัติขึ้นมา เวลาครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติครบวงจร ท่านจะพูดถึงกระบวนการของมันถูกต้องหมด แต่ถ้าของเราปฏิบัติเป็นโสดาบัน เราก็จะรู้กระบวนการของพื้นฐาน แบบรถยนต์นี่เราเป็นช่างยาง เราจะเปลี่ยนยางเก่งมาก ช่างสีจะทำสีได้ ช่างเครื่องยนต์ทำเครื่องยนต์ได้ ช่างประกอบทั้งคัน ประกอบได้หมด

กระบวนการโสดาบัน สกิทา อนาคา มันเหมือนเป็นขั้นตอน ขั้นตอนเลย ถ้าเรากระบวนการของเรา เราบริหารได้ทั้งหมด รถทั้งคันเราประกอบได้หมดเลย รถทั้งคันเราจะรู้หมด กระบวนการของจิต เวลาพูดถึงช่วงล่าง โอ้โฮ เก่งมากเลย พอพูดถึงสี เอ.. สีเขาใช้อะไร? งงนะ งงแล้ว ตอบไม่ได้

“ไม่รู้ถามไม่ได้ ไม่รู้ตอบไม่ได้”

แต่ในปัจจุบันนี้เขาสอนกันอยู่ เขาสอนแบบรู้ แต่เราจับได้ประเด็น ๑ เรามองมานานแล้ว คือประเด็นไม่ค่อยเข้าหมู่ แยกตัวเองอยู่ตลอดเวลา คนส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเราปฏิบัติของเรา ด้วยที่ความไม่แน่ใจในตัวเรา เราจะไม่ค่อยกล้าเข้าสังคม จะแยกตัวเองอยู่โดด ๆ

กับอีกอัน ๑ รู้จริงเหมือนหน่อแรด เพราะมันมีหน่อเดียว หน่อแรดที่รู้จริงนี่ไม่อยากเข้าไปคลุกคลีในหมู่ แต่คนไปพึ่งพาอาศัยได้ คนมาถามปัญหาได้ คนจะมาอาศัยบำเพ็ญประโยชน์ได้มากไง รู้จริงก็ไม่อยากเข้าไปคลุกคลีในหมู่ เพราะในหมู่นั้นมันสกปรก

แต่ถ้าคนที่แบบว่ามันไม่จริง มันไม่กล้าเข้าหมู่ แต่รู้จริงนี่หมู่เข้าได้ตลอดเวลา แต่ไม่อยากเข้า พอเข้าไปแล้วมันสงสารเขานะ มันวุฒิภาวะ มันคนละชั้น พูดเหมือนกัน

ในวงกรรมฐานเขาเชื่อกันที่คุณธรรมนี่ ถ้าใครมีคุณธรรมเขาจะเชื่อเคารพศรัทธา แล้วพูดอะไรนี่เขาจะเชื่อฟัง อย่างเช่นเรา เมื่อก่อนนะ ไอ้โต เมื่อก่อนเราเหมือนกับว่าเข้าหมู่ไม่ได้ คือเหมือนแกะดำ แต่ตอนนี้นะ ชื่อเราขายได้แล้ว ใครๆ ก็อ้างชื่อเรานะ ว่าเราว่าอย่างนั้น เราว่าอย่างนั้น แต่เมื่อก่อนชื่อเรานะ เหม็น สกังค์เข้ากับใครไม่ได้เลย แต่เดี๋ยวนี้นะ “คำก็สงบ” “สองคำก็สงบ” ถ้าเป็นหน่อแรด แรดมีหน่อเดียว

แต่การไม่เข้าหมู่มันมี ๒ ประเด็น ประเด็น ๑ เราไม่กล้าเข้า วัวๆ นี่ แผลเยอะไม่กล้าเข้า กลัวอีกามันจิกเอา แต่ถ้าวัวนี่ไม่มีแผลนะ อีกามาเกาะได้เลย อีกาเกาะได้ บนหลังนี่มีหนอนให้กินด้วย แต่ถ้ามีแผลนะ กลัวมาก

นี่ความเห็นเรานะ เราจะสรุปลงแค่นี้ ใครมีอะไรสงสัย หรือใครมีอะไรโต้แย้งนะ ให้มีโอกาสพูด ใครมีอะไรสงสัยตรงไหนว่ามาเลย

โยม : เราก็ภาวนาพุทโธด้วยความเร็ว รู้ว่าหลับตา หรืออะไรแบบนี้

หลวงพ่อ :นี่ไงถ้าคำภาวนาพุทโธ คำเร็วหรือคำช้า มันอยู่ที่เราเห็นไหม เราถึงบอกว่า “พุทโธเหมือนกับนามรูป” แต่ทำไมเราบอกนามรูปไม่ถูกล่ะ นามรูปไม่ถูก เพราะกำหนดว่านามรูปคือวิปัสสนาสายตรงคือปัญญา คำว่าต้นมันคด แล้วพุทโธมันต่างกันตรงไหน มันต่างกันตรงนี้ไง ตรงที่แบบว่า มันช้าหรือมันเร็วล่ะ

ครูบาอาจารย์ที่ท่านจะสอน ท่านจะเมตตามาก ให้เรากำหนดพุทโธ คนที่มาปฏิบัติใหม่ๆ คนที่มาใหม่ๆ นี่มันจะปฏิบัติเป็นนามธรรม มันจับต้องได้ยาก ท่านถึงบอกว่า “ให้หายใจเข้านึกพุท ให้หายใจออกนึกโธ” นี่เปรียบเทียบก่อนนะ เดี๋ยวยังไม่ได้ตอบ นี่พูดถึงอารัมภบทก่อน “หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ” เพราะอะไร? เพราะลมหายใจมันมีอารมณ์กระทบความรู้สึก มันอุ่นๆ เห็นไหม แล้วให้นึก “พุท” เวลาออกก็นึก “โธ”

คือมันแบบว่า มันเป็นรูปธรรมที่เราจะฝึกฝน ที่มันจะจับต้องขึ้น ทำเป็นหลักเป็นเกณฑ์ เหมือนเป็นรูปธรรม “หายใจเข้านึกพุท แล้วออกโธ” (โทษนะ) ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ภาวนาไปแล้วหลับหมดเลย เพราะกว่าจะ “พุท” กว่าจะ “โธ” นี่ แล้วพุทโธมันถ่วงกัน เพราะลมหายใจเป็นอานาปานสติ กำหนดลมเป็นอาปานสติ กำหนดหายใจเข้า-ออก พุทธานุสสติคือกำหนดพุทโธ

แต่ผู้ที่ปฏิบัติใหม่เหมือนเด็กเราจะให้มันหัดเดินให้ได้ พยายามสอนให้มันเดินให้ได้ก่อน แล้วถ้ามันเดินได้นะ ทักษะเราค่อยสอนต่อๆ ไป นี่การภาวนาเขาสอนกันอย่างนี้ นี้พอพุทโธนี่ช้าหรือเร็วเห็นไหม ถ้าพุทโธช้าหรือเร็วนี่ พุทโธมันมีเสต็ปมากมายมหาศาลเลย พุทโธคำเดียวนี่

อย่างเช่น หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่คำดี ท่านจะบอกให้พุทโธเร็วๆ นึกพุทโธเป็นพุทธานุสสติ คือนึกในใจ พุทโธๆ อย่างนี้เร็วๆ ถ้าช้าๆ ไม่ได้ เพราะมันคิด พอพุทแล้วมันแวบ พุทโธคือพุทธานุสสติ พุทโธๆๆๆ แล้วอย่างเรา เราก็ใช้ เพราะหลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดอย่างนี้ เราทดสอบ เรามีหลวงปู่เจี๊ยะ เรากำหนดลมหายใจ ทีแรกกำหนดลมหายใจมา มาอยู่กับหลวงตา กำหนดลมหายใจมาก่อน พอมาหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะบอก “ไม่ได้หรอก ต้องพุทโธ พุทโธ”

เราเองเราเป็นนักศึกษา เราชอบ “ถ้าพุทโธของหลวงปู่เจี๊ยะจริงหรือเปล่า?”

แล้วท่านพูดก็พูดนะ ท่านพูดบอกว่า “พุทโธต้องเร็วๆ นะ แล้วพุทโธชั่วโมง สองชั่วโมง อย่าให้เป็นสมาธิ” ถ้าพุทโธสองสามชั่วโมง เป็นสมาธิมันจะเป็น ๕ นาที ๑๐ นาที ถ้าพุทโธสักครึ่งวันค่อนวันมันเป็นสมาธิ ๑๐-๒๐ นาที

ถ้าพุทโธไม่ต้องการสมาธิ พุทโธไปเรื่อยๆ มันจะเป็นเอง เราก็พุทโธๆๆ พุทโธตลอดนะ เป็นอาทิตย์เป็นเดือนเลย พุทโธแบบไม่ต้องการสมาธิ พุทโธแบบไม่ต้องการอะไร ต้องการพุทโธอย่างเดียว พิสูจน์

เวลามันลงนะ พุทโธๆ ปากพุทโธไป เวลาจิตมันลงนะ พุทโธมันส่วนพุทโธ อยู่ข้างบน มันผิวเผิน แต่จิตมันหมุนควงสว่านลงเหมือนเราโดดหอ วืด! วืด! โอ้โฮ นานมาก ถ้านานมากเหมือนเราตกจากที่สูง ทุกคนจะตกใจมาก แต่สำหรับเรา เรานักศึกษา เรามีสติ เราบอก “เชิญเลยครับ” พุทโธตามมันไป จนถึงที่สุดมัน กึ๊ก! ไปหยุดอยู่นี่ฐีติจิต ถึงก้นบึ้งของจิตเลยนี่ ๓-๔ ชั่วโมง แล้วมันก็ค่อยๆ ออกมา คลายความรู้สึกออกมา พุทโธไวๆ พุทโธ พุทโธ

นี้จะย้อนกลับมาที่นี่ ถ้าเราพุทโธนี่ คำว่าไวๆ หมายถึงว่า จิตของเรามันโดนกระทบรุนแรงหรือจิตของเรามันมีความรู้สึก คือว่าเราควบคุมไม่ได้ พุทโธๆ แต่ถ้าวันไหนจิตของเรามันอ่อนนุ่ม จิตของเรามันสมดุล เราไม่ต้องแรง ไม่ต้องเร็ว พุทโธปานกลางก็ได้ ถ้าวันไหนเราภาวนาดีแล้ว จิตของเรามันดีอยู่แล้ว คำว่าพุทโธนี่นะ มันเป็นคำบริกรรม คือจิตมันเป็นนามธรรม มันไม่มีที่เกาะ มันไม่มีที่พักอาศัย เราต้องเอาพุทโธนี่ให้จิตมันพักไว้ เหมือนบันได เหมือนที่พัก ให้จิตมันวางไว้บนนี้

ถ้าเราไม่มีอย่างนี้เลยนี่ จิตมันจะวางไว้ที่ไหน พุทโธ พุทโธ เหมือนภาชนะ เห็นไหม ไข่กับจานไข่ จิตนี้เหมือนไข่ พุทโธเหมือนจานไข่ พุทโธ พุทโธ ไข่กับจานไข่มันอยู่ด้วยกัน จนถึงที่สุดไข่กับจานไข่ พุทโธจนพุทโธไม่ได้ เราจะบอกว่าพุทโธช้าหรือพุทโธเร็ว เราเปรียบเทียบกับลูกศิษย์เยอะมาก บางคนจะบอกพุทโธเร็วๆ พุทโธเป็นแบบว่า

อย่างเช่น เขาสอนกัน อันนี้เราไม่ค่อยเห็นด้วย แต่ใครทำได้ก็ไม่ว่ากัน เช่น ก้าวเท้าซ้าย “พุท” เท้าขวา “โธ” เราบอกว่า รถมึงมีเกียร์ ๑ เกียร์เดียว มึงวิ่งทั่วประเทศไทยเลย รถกูมี ๕ เกียร์ มีเกียร์ ๑ เกียร์ ๒ เกียร์ ๓ เกียร์ ๔ พุทโธช้าก็ได้ พุทโธปานกลางก็ได้ พุทโธเร็วก็ได้ พุทโธถอยหลังก็ได้ แต่ถ้าพุทโธซ้าย-ขวา ซ้าย-ขวา รถมีเกียร์ ๑ เกียร์เดียว ติดเครื่องก็ใส่เกียร์ ๑ ปื๊ด! วิ่งทั่วประเทศไทยเลย รถพัง

เวลาเราพูดอย่างนี้ เราพูดเปรียบเทียบถึงปัญญาของเรา แต่ผู้ที่ใส่เกียร์ ๑ แล้วเขาไปได้ทั่วประเทศ กับถ้าเขาใส่เกียร์ ๑ ไม่ได้เลย รถเขาเคลื่อนไหวไม่ได้ก็ได้นะ

วาสนาของคนในการปฏิบัติมันหลากหลายเยอะมาก การปฏิบัติของผู้ที่ปฏิบัติเป็น ถึงไม่มีสูตรสำเร็จ แต่โดยหลักพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ความระลึกถึงความตาย ความระลึกคือจิตมันคิดถึง อย่างเช่น เรามีความกตัญญูกตเวที เราคิดถึงผู้มีบุญมีคุณ เราคิดถึงผู้มีพระคุณกับเรา จิตเราจะอบอุ่น ถ้าเราคิดถึงเห็นไหม สิ่งที่เราคิดถึงพุทโธ มันทำให้จิตมันมีที่พัก มีที่อาศัย

เริ่มต้นถ้าเราไม่มีพุทโธ เราไม่มีอะไรกันเลยนี่ เราจะเร่ร่อนไม่ได้ แต่นี้คำบอกว่า ช้าหรือเร็ว ถ้าพูดถึงใหม่ๆ นี่เร็วไว้ก่อน เพราะเร็วเพื่อจะดึง ตัวจิต คือ ตัวพลังงาน ธรรมชาติพลังงานมันไปหมด พุทโธๆ คือเอาพุทโธดึงพลังงานมาอยู่กับพุทโธ มันไม่ออกไป สิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุดคือจิต คือความคิด แล้วเอาความคิดนี้อยู่กับพุทโธๆ จนพุทโธนี่ สิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุด แล้วหยุดนิ่ง ฟังสิ มีกำลังขนาดไหน สิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุดแล้วมันหยุดอยู่กับพุทโธ จนมันเป็นพุทโธ มันเป็นตัวมันเองเลย

ถ้าใครสมาธิได้จะรู้จักตัวนี้ คนที่เทศน์นี่จะรู้เลยว่าคนนั้นภาวนาเป็นหรือไม่เป็น พูดตรงนี้พูดผิดพูดถูก ฟังออก ถ้ามันเป็นตัวมันเอง คือมันนึกพุทโธไม่ได้ มันเป็นพุทโธซะเอง เห็นไหม พุทธะผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน กิเลสล้วนๆ เลย ตัวอวิชชา

นี้ถ้าเร็วไว้ก่อนเพื่อจะยับยั้งเพื่อให้มันหยุดให้ได้ก่อน ถ้าเราไปช้ามันแบบว่า มันยื้อกัน มันจะคิดบ้าง แวบบ้าง แลบบ้าง พุทโธๆ แต่พอมันเหนื่อย คือจิตมันไม่ไปแล้ว แบบว่าเด็กมันชักอยู่ในโอวาท จิตมันชักพูดง่ายหน่อย ก็พุทโธสักปานกลาง แต่ถ้ามันแวบออกต้องใส่เข้าไปอีกนะ คือต้องเป็นและประสบการณ์ที่เราทำ มันจะรู้

แล้วโยมลองนึกพุทโธทั้งวันทั้งคืนสิ มันจะดีกว่าโยมไปพักผ่อนที่ไหน ไปเที่ยวที่ไหนมาหลายร้อยหลายพันเท่า แล้วถ้าจิตมันสงบนะ

“ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต”

แค่จิตสงบ แค่จิตมันเป็นไปนะ จะกราบพระพุทธเจ้า กราบแล้วกราบอีก กราบแล้วกราบเล่า สิ่งนี้พระพุทธเจ้าให้ไว้แล้วนะ มีคุณค่ายิ่งกว่าเงินทอง มีคุณค่ากว่าทุกๆ อย่าง

จะบอกว่าไม่มีสูตรสำเร็จ อยู่ที่วันไหนจิตฟุ้งซ่านมาก ต้องพุทโธเยอะๆ พุทโธไวไว จิตฟุ้งซ่านปานกลาง จิตอ่อนนุ่มไม่ฟุ้งซ่าน พุทโธนี่ช้าได้ เร็วได้ เทคนิคมันมีเยอะมาก นี่มันอยู่ที่นิสัย แล้วบางคนทำได้ บางคนไม่ได้ บางคนทำไม่ได้นะ พุทโธไม่ได้ ต้องใช้ปัญญาไป พุทธจริต จริตของปัญญาชน ส่วนใหญ่พุทโธไม่ได้ พุทโธต้องเป็นศรัทธาจริต คือมีความเชื่อมั่น ต้องมีหลักสูง ศรัทธาจริตพุทโธดีมากเลย

ถ้าพุทธจริต พุทโธๆ ก็พุทโธมันไม่มีอะไร พุทโธไม่ได้ พุทโธแล้วเครียด มันอยู่ที่จริตนะ ไม่ใช่ว่ามีอย่างเดียวหรอก ก็พุทโธไม่ได้ ก็พุทโธแล้วมันเครียด พุทโธมันไม่เอา พุทโธมันไม่ยอม มึงแน่จริง มึงคิดเก่ง มึงคิดไปเลย ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา พุทโธนี่สมาธิอบรมปัญญา ถ้าใช้ความคิดไปปัญญาอบรมสมาธิ

คำว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ” เราพูดบ่อย มีแม่ชีมาจากกระบี่เลย ดูจิต ดูจิตมา เราบอกว่า

“เฮ้ย เขาพิจารณาจิตนะ เขาไม่ใช่ดูจิต”

เหรอ กลับเลย รู้เลย เขาดูเพ่งอยู่จนเต็มที่แล้ว

เราบอกว่า “เฮ้ย เขาพิจารณาแยกแยะ ไม่ใช่ดูเฉยๆ”

“กลับๆ”

กลับเลย ได้เลยเห็นไหม เพราะเขาทำของเขาอยู่ ทีแรกเขามาถึง โอ้โฮ ดีมาก ดีมาก สว่างมาก สบายมาก

เราบอก “อีก ๑๐๐ ชาติก็อยู่แค่นี้” อีก ๑๐๐ ชาติเลย มันก็เหมือนกับน้ำในบึง เดี๋ยวตะกอนก็นอนก้นน้ำ พอใครไปกวนให้ขุ่น มันก็ขึ้นมา ไอ้บึงก็อยู่บึงอย่างนั้นน่ะ ไอ้จิตที่ว่า “เกิดดับๆ” ก็อยู่แค่นั้นน่ะ มันจะไปไหน น้ำในบึง ใครเดินผ่านไปมันก็ขุ่น พอสักพักมันก็จะใส เดี๋ยวใครลงมาก็ขุ่นอีกแล้ว เกิดดับไง เกิดดับ

เขาพิจารณานะ เราพิจารณาสิ น้ำในบึงนี้ทำไมถึงขุ่น? มันขุ่นเพราะมันมีอะไร? เราจะป้องกันอย่างไร? เราจะทำอย่างไรไม่ให้มีฝุ่น ไม่ให้มีตะกอนในน้ำนั้น เราจะทำอย่างไร? นี่พิจารณา

ถ้ามีการพิจารณา มีการแก้ไข มีการกระทำ เราจะสามารถป้องกันได้ ไม่ให้ขุ่นได้ แต่ถ้าเราดูเฉยๆ โดยที่ไม่ทำอะไรนะ ให้พูดอย่างไร เราก็ไม่เชื่อ ให้เอาปืนมาจ่อหัวก็ไม่เชื่อ ไม่เชื่อ แต่ถ้าพิจารณาแก้ไขดัดแปลง เชื่อ

คนเรานี่แก้ไขได้ พัฒนาได้ เจริญได้ ทำดีได้ แต่อยู่เฉยๆ ไม่มีดี อยู่เฉยๆ (โทษนะ) อยู่เฉยๆ มีแต่จะเลวลง เลวลง เพราะเวลาเราคุ้นเคย เคยชิน กิเลสมันจะอ้วนๆ อยู่เฉยๆ คือดีที่สุดคือขณะนี้ แล้วก็จะรอวันเสื่อมสภาพไป รอวันถดถอยไปเป็นธรรมดา เรื่องการพัฒนาขึ้นไม่มี มีแต่จะถอยลง

เห็นไหม หลวงตาท่านบอกว่า “ต้องไปวัด ต้องทำบุญ ถ้าไม่ทำบุญ ใจมันจะคิดบาป” ต้องทำบุญ ต้องทำดี ถ้าไม่ทำดีอยู่เฉยๆ ไม่ได้ ใจคนกิเลสมันฟุ้ง

ฉะนั้นบอกอยู่เฉยๆ แล้วมันจะดีขึ้นนะ ไม่เชื่อ! ไม่เชื่อ! ไม่เชื่อ !

นี่นั่งเฉยๆ หลับตานี่ แต่ความคิดมันไม่ได้เฉยนะ ความคิด ปัญญามันหมุนตลอด สติมันฝึกตลอด มันไม่ได้เฉยเลย มันทำงานตลอดเวลา มันเฉยไม่ได้ ใครเฉย?

หลวงตาท่านบอกเวลาปัญญามันหมุนเห็นไหม กินข้าวอยู่นี่ ปากมันเคี้ยวนะ แต่ปัญญามันหมุนนะ ขนาดกินอยู่นี่ ปัญญามันยังไม่หยุดเลย แล้วว่าอยู่เฉยๆ เป็นไปได้อย่างไร?

นี่มันอย่างว่าแหละสังคมเขา มันต้องเข้าไปหาครูบาอาจารย์ที่สังคมยอมรับ แล้วคุยกันอีกสักรอบหนึ่ง จบเลย แต่นี่ไม่เคยไปหาใคร ไปหาใครไม่ได้ สถาปนาตัวเองไง(หัวเราะ)

แต่ผู้ที่ปฏิบัตินี่ ธรรมะสถาปนาให้ สัจธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต แล้วสัจธรรมนี่มันจะกลัวใคร? ที่ไหน เมื่อไหร่ บอกกูมา จะกลัวใคร!

เมื่อก่อนเราพูดอะไร เรามีพยาน เรามีที่มา เมื่อก่อนกับไอ้โตนี่ พวกโยมที่มาโพธารามใหม่ๆ พอที่ไหนได้ฟังข่าวว่าเขาปฏิบัติผิด เห็นไหม ถามสิ เอารถตู้ออกเร็ว รถตู้ รถตู้ไป..มา ไปแก้เขาไง ไปแก้มาเยอะ แล้วไม่ได้ผล สุดท้ายเดี๋ยวนี้เลยไม่ไปไหนเลย คือถ้าเขารู้ถูกรู้ผิด เขาจะมาหาเราเอง

เมื่อก่อนถามสิเยอะมาก พระองค์ไหนภาวนาผิด ไปแล้ว ด้วยความคิดว่า เราไปพูดด้วยสุภาพบุรุษ พูดด้วย ธมฺมสากจฺฉา เขาจะได้มีสติสตัง เขาจะได้ทำคุณงามความดี แต่พอไปทำแล้วนะ มันเป็นมุมกลับ มุมกลับเหมือนกับว่าเราไปทำร้ายเขา เราไปรุกรานเขา เราไปรังแกเขา เขาคิดกันอย่างนั้นนะ

แต่เมื่อก่อนคิดว่าจะเป็นประโยชน์ นี่ถามสิ นั่งอยู่นั่นน่ะ “รถออก รถออกประจำนะ” พอข่าวมา “ที่ไหนภาวนาผิด” รถออก รถออก ไปทีแรกประสาเรามันยังเด็ก ความชำนาญยังไม่มี จนสุดท้ายเห็นไหม เขาหาว่าไปรุกรานเขา เขาหาว่าไปรังแกเขา เขาหาว่าไปทำร้ายเขา ตั้งแต่นั้นมาไม่ไปไหนอีกเลย

โยม :ก็พุทโธ พุทโธนะคะ หนูก็เกิดง่วงก็เลยพุทโธเร็วๆ แล้วก็ยังง่วงอีก

หลวงพ่อ :ง่วงอีกก็ลุกขึ้นเดินจงกรมก็ได้ เราจะพูดอย่างนี้นะ พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบัน เพราะพระสารีบุตรฟังจากพระอัสสชิไปแล้วไปบอกพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะไปฟังพระสารีบุตร แล้วพระสารีบุตรนี่เป็นพระโสดาบัน พระโมคคัลลานะก็เป็นพระโสดาบัน เราจะพูดคำนี้ให้ฟัง ให้พวกเราดีใจไงว่า “พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบัน แล้วไปบวชกับพระพุทธเจ้า แล้วก็ไปนั่งโงกง่วงนี่ไง” พระโมคคัลลานะไปนั่งหลับเห็นไหม แล้วพระพุทธเจ้าไปสอนไง

ไอ้ที่ว่าพุทโธแล้วมันง่วง พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบันนะ ขนาดเป็นพระโสดาบัน พุทโธ พุทโธ พุทโธ ก็ยังง่วงเลย พระพุทธเจ้านี่ไป คู้-เหยียดไปถึงหน้า ไปโดยฤทธิ์ไง

“โมคคัลลานะ ถ้าง่วงก็ให้ตรึกในธรรม”

“ถ้าง่วงก็ให้เอาน้ำลูบหน้า”

“ถ้าง่วงก็ให้แหงนหน้าดูดาว”

“ถ้าง่วงอีกอย่าง แล้วสุดท้ายถ้าง่วงนักก็นอนซะ ตื่นแล้วค่อยภาวนาใหม่”

นี่พระพุทธเจ้าสอนนะ เราจะบอกว่าความง่วง หรือจิตของเรามันกำลังทำงานแล้ว มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่นี้เราจะทำงาน เราจะต่อสู้ อย่างที่พูดตอนเช้า “เราก็ต้องผ่อนอาหารบ้าง” เราก็ต้องดูแลตรงนี้บ้างไง คือว่าเราต้องหาเหตุสิ หาเหตุไม่ทัน มันง่วง

อาหารนี่สำคัญมากนะ หลวงตาท่านพูดบ่อย “ถ้าเป็นข้าวเปล่าๆ ไม่ค่อยง่วงหรอก กับข้าวนี่พาให้ง่วงมาก”

เราอยู่ในป่าเมื่อก่อนนะ อยู่ในป่านี่คือจริงๆ มันจะมีพวกหน่อไม้ พวกใบหญ้ากิน เก็บกินกันกับเณร ไม่มีอะไรหรอก นี้มีอยู่วันหนึ่ง โยมอุปัฏฐากอาจารย์เขาเข้าไปอีสานน่ะ เขาเข้าไป เขาไปผัดข้าวกับน้ำมันพืช น้ำมันกับกุนเชียง แค่นั้น น้ำมันน่ะ เราฉันข้าวเข้าไปนะ มันแปลกเพราะเราอยู่ป่านานเป็นปีๆ พอมันฉันเข้าไป ขณะฉันตาปรือเลยนะ มันความรู้สึกเราเอง มันเห็นเลย ตาปรือเลย

ทีนี้พอหลวงตาท่านพูดมันซึ้งจริงๆ อยู่ป่ามันกินของธรรมชาติ กินข้าวเหนียวกับพวกหน่อไม้ เพราะเณรหาให้ คือของเกิดจากพื้นที่ เพราะเราอยู่ในป่า นี้พอพวกโยมเข้าไปเยี่ยมจะซื้อของเข้าไป ไปทำอาหารให้ฉัน ท้องเสีย ท้องนี้ถ่าย แปลกนะ เราเคยเจออย่างนี้มา แล้วเวลาพูดโยมไม่เชื่อหรอก

โยม : ถ้าหากว่าจะไม่ง่วง ถ้าเราจะดื่มกาแฟมันจะ..

หลวงพ่อ : ใช่ ไม่ ถ้าเราไม่มีผลกับร่างกายเราได้ เราดื่มกาแฟบ้างก็ได้ เพราะกาแฟนี่ประสาเรามันก็เป็นยาอันหนึ่ง ทีนี้มันจะต่อเนื่องได้แค่ไหนล่ะ ถ้าเราทำต่อเนื่อง เห็นไหม เราทำต่อเนื่อง เพราะพระนี่ ๒๔ ชั่วโมง ทางของภิกษุเป็นทางกว้างขวาง ๒๔ ชั่วโมง พระฉันเสร็จกลับไปภาวนาจนถึงพรุ่งนี้เช้า

ทางของคฤหัสถ์เป็นทางคับแคบเพราะมีหน้าที่การงาน จะภาวนาได้ตอนหัวค่ำ ก่อนนอนกับตื่นนอน แล้วกลางวันก็ต้องไปทำงาน ทางคฤหัสถ์เป็นทางคับแคบ คับแคบเพราะไม่มีเวลาปฏิบัติ

แต่ทางของสมณะเป็นทางกว้างขวาง ๒๔ ชั่วโมง ปฏิบัติตลอดเวลา นี้ปฏิบัติตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมงจะนั่งไหวไหม ทั้งวันๆ ทั้งคืน มันก็ต้องมีผ่อนคลาย มีข้อวัตร มีการหมุนเวียนให้เลือดลมร่างกาย พระพุทธเจ้าวางข้อวัตรไว้นี้ ถูกต้องแล้ว อย่างกลางคืนเห็นไหม ๔ ทุ่มถึงนอน นอนถึงตี ๒ ให้ลุก นอนแค่ ๔ ชั่วโมง แล้วตลอด ๒๔ ชั่วโมงทำตลอด แล้วถ้าถือเนสัชชิก เนสัชชิกตลอดเลย

ไอ้ง่วงนี่นะค่อยๆ หาเหตุหาผล เราหาเองได้ ดูท่านี้ สังเกต (โทษนะ) อย่างเช่น ของเรานี่ ถ้าวันไหนเราทำภาวนาไม่ได้นะ วันไหนเราภาวนาแล้วติดขัด เราจะทบทวนเลย วันนี้ตื่นนอนแล้วคิดเรื่องอะไร? แล้วขณะที่ออกไปบิณฑบาต ในสมองคิดเรื่องอะไรบ้าง? เวลาบิณฑบาตกลับมา มาแจกอาหารเสร็จแล้วนี่ฉันอาหารมีอาหารอะไรในบาตรบ้าง? คำแรกวันนี้ฉันด้วยอะไร? เอาอะไรใส่ปากเข้าไป คำที่สอง คำที่สาม คำที่สี่ ถึงอิ่มแล้วมันมีความรู้สึกอย่างไร? แล้ววันนี้ทำไมร่างกายเป็นอย่างนี้? เราทบทวนขนาดนี้นะ นี้เรื่องจริงไม่ใช่พูดเล่นๆ

เราอยู่ในป่าถ้าปฏิบัติแล้วมันติดขัดปั๊บ เราจะย้อนกลับเลย วันนี้ตั้งแต่เช้ามานี่ ผิดไหม? มีอะไรผิดบ้าง? แล้ววางอารมณ์อย่างไร? คิดอย่างไร? นี้เราจะบอกว่า ที่ว่าง่วงนี่ โยมต้องทบทวนว่าตั้งแต่เช้าวันนี้ ข้าวสองมื้อ สามมื้อ วันนี้เรากินอะไรบ้าง พรุ่งนี้เราเปลี่ยนเป็นสลัดอย่างเดียวได้ไหม? ผักอย่างเดียวได้ไหม? แล้วก็หาเหตุหาผล นี่การปฏิบัติ

วันนี้อาหารนี่ โยมมีสิทธิ์เลือก พระไม่มีนะ พระแล้วแต่บิณฑบาตได้นะ โยมนี่มีสิทธิ์เลือก แล้วเราจะกินอะไรก็ได้ แล้วเราหาอาหารที่กินแล้วร่างกายปลอดโปร่ง อาหารกินแล้วมันไม่เป็นไขมัน อาหารอย่างหยาบ สเต็ก อาหารอย่างกลางคือผัดผัก อาหารอย่างละเอียดคือผักล้วนๆ ผักนี่อาหารที่ไม่มีไขมันเลย อาหารอย่างละเอียด

อาหาร ๓ ชนิด เนื้อ ๓ อย่างกินได้หรือไม่ได้ อู้ย พระพุทธเจ้าวางไว้หมดเลย ไม่มีใครลอดช่องวินัยไปได้เลย ถ้ามันศึกษาธรรมวินัยจริงนะ แต่นี่มันศึกษาด้วนๆ แล้วก็บอกอันนี้ไม่เป็นอาบัติ อันนี้ไม่เป็นอาบัติ เพราะมันไม่รู้กฎหมายจริง ถ้ารู้จริงนะ มึงไม่มีทางลอดช่องพระพุทธเจ้าไปได้เลย พระพุทธเจ้าปิดไว้หมดแล้ว มีอย่างเดียว มึงศึกษาไม่ทั่วถึง

โยม : แล้วที่พระพุทธเจ้ากำหนดเนื้อ ๓ อย่างคืออะไรคะ?

หลวงพ่อ : เนื้อ ๓ อย่างคือว่าสิ่งที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ว่าเขาฆ่าเฉพาะเราไง อย่างเช่น อย่างเรานี่ โยมนิมนต์เราไปฉันที่บ้าน “หลวงพ่อ นิมนต์ไปที่บ้าน พรุ่งนี้ฉันแกงไก่” โอ้โฮ เจาะจงแล้ว ถ้าพรุ่งนี้พอไปถึงบ้าน โยมฆ่าไก่แกงไก่ให้เราฉันนะ คำแรกก็ปาจิตตีย์ คำที่สองก็ปาจิตตีย์ ทุกคำกลืน แต่ถ้านิมนต์ “หลวงพ่อนิมนต์พรุ่งนี้ฉันข้าวที่บ้าน อะไรไม่รู้”เนื้อ ๓ อย่าง เห็น ได้เห็น รู้ว่าเขาทำเพื่อเรา ฉันก็เป็นอาบัติ เขาเจาะจงก็เป็นอาบัติ

ฉะนั้นเราจะบอกเลยเห็นไหม บอกว่า “เนื้อที่ตลาดเขาค้าขายให้พระหรือเปล่า” แล้วเวลาบอกว่า “เวรอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน” ไอ้คนทำมันอยากรวย มันทำของมันเอง กูมีหน้าที่กินเฉยๆ กูไม่ได้ยินไม่ได้ฟัง เนื้อที่ไหนบ้างเขาบอกขายให้พระ ตลาดนี่เขาบอกวันนี้ฆ่าไก่เพื่อขายให้พระ มีที่ไหนบ้าง เขาไม่ได้เจาะจงขายให้พระสักคน เขาขายให้โยม แล้วโยมไปซื้อมา ด้วยปฏิคาหก ด้วยบุญกุศล ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แล้วโยมซื้อของโยมมา แล้วโยมมาทำของโยม นี่บุญของโยม

ปฏิคาหกผู้รับรับด้วยความบริสุทธิ์ รับแล้วก็ฉันด้วยความสบายใจ ใครจะบอกว่า “เวรอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน” เออ กรรมของมึง มึงคิดไปเถอะ มึงคิดของมึงไป กูไม่เกี่ยว เนื้อ ๓ อย่าง รู้ เห็น เขาฆ่าเจาะจงเพราะเรา ไม่รู้ไม่เห็น เรื่องของโลกเขา คนที่เขาทำ เขาอยากมั่ง อยากมี เขาอยากมีฐานะ เขาทำของเขา เขาเลือกอาชีพของเขา เขาทำของเขา ด้วยความเห็นของเขา นานาจิตตัง ทุกคนมีความคิดหลากหลาย แล้วแต่คนจะเลือก

ความเห็นประโยชน์จากโลกนี้โลกหน้า แล้วแต่คนจะเห็น ถ้าคนมีความรู้สึก มีความนึกคิด เขาเปลี่ยนแปลงความเห็นของเขา เห็นไหม เวลาฟังธรรมเปลี่ยนอุดมคติ เปลี่ยนโปรแกรม คนนั้นเปลี่ยนชีวิตเลย เยอะมาก พอไปวัดไปฟังธรรมแล้วเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนชีวิตของตนเป็นชีวิตใหม่เลย แล้วนี่เราเปลี่ยนของเราได้ไหม? เปลี่ยนตรงนี้เปลี่ยนจากง่วงให้หายง่วง พอแล้ว

ง่วงนี่มันต้องกลับมาดูที่เรา แล้วถ้าดูที่นี่จบแล้วนะ ตอนนี้เป็นที่จิตแล้ว จริตนิสัยของคน ทำไมบางคนปฏิภาณไหวพริบดีมาก ทำไมคนมีความรู้มีปัญญา บางคนทำไม อันนี้กรรมบุญของเขา เวรกรรมของแต่ละจิตไม่เหมือนกัน มันยังมีเวรกรรมของจิตอีกนะ

ฉะนั้นเวลาครูบาอาจารย์ที่เป็นท่านสอน โอ้โฮ บางคนเห็นไหม บอกคำเดียวก็ฟัง บางคนจ้ำจี้จ้ำไชๆ มันยังไม่ฟังเลย ทำไมมันต่างกัน มันอยู่ที่เราสร้างมานะ อยู่ที่อำนาจวาสนาของเรา บางคนไม่ต้องสอนนะครูพักลักจำ เห็นเขาทำ ไอ้นั่นก็ดี ไอ้โน่นก็ดี อยากทำตาม ไม่ได้สอนมันยังเอาเลยนะ บางทีสอนแทบเป็นแทบตาย มันไม่เอา ถ้าคนฉลาดคนดีนี่ โอ้โฮ ที่ไหนมีดีศึกษาหมด เก็บมาเป็นความรู้เราหมด นั่นเป็นภูมิปัญญาของเขา

พุทโธช้า พุทโธเร็ว แล้วพอเวลาใครจะพูด เรื่องของเขา ใครบอกต้องเป็นอย่างนั้นๆ สูตรสำเร็จ ไอ้คนนั้นแบบว่าวิทยาศาสตร์ ปล่อยมันไปเลย ต้องเป็นอย่างนั้นๆ ไม่ใช่ เพราะถ้าปล่อยอย่างนั้นนะ มรรคหยาบฆ่ามรรคละเอียด มรรคมันจะละเอียดลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วถ้าจิตของเราดีขึ้น มันจะวิวัฒนาการ ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์คือเจาะจงแค่นี้ ตายตัวแค่นี้ มันจะพัฒนาไม่ได้

เหมือนพลาสติก แต่ใจเราไม่ใช่พลาสติก ใจเราเป็นนามธรรม ที่มันวิวัฒนาการ มันพัฒนาการของมัน ฉะนั้นการปฏิบัติถึงไม่มีสูตรตายตัว มันจะลึกซึ้งอ่อนละเอียด ลึกซึ้งดีขึ้น พัฒนาขึ้น วิวัฒนาการขึ้น จนเป็นปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล มันจะวิวัฒนาการของมัน ฉะนั้นไม่มีอะไรที่คงที่ตายตัว จำไว้

ถ้าใครสอนแบบว่า ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนั้นนะ มึงกลับไปสอนบ้านมึงไป

โยม :(เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ :อยู่เฉยๆ อยู่กับจิตเฉยๆ อาการของจิตมี ถ้ามันอาการของจิต ไม่หมุนหรอก ต้องไม่หมุนหรอก อาการของจิตมันหมุน ถ้าหมุนปั๊บอยู่เฉยๆ อยู่กับพุทโธ อยู่กับอะไร ตั้งสติไว้ เดี๋ยวมันจะผ่อนคลายแล้วจะหยุดไปเอง แต่ถ้ามันหมุนปั๊บนะ อยากรู้ทำไมถึงหมุน มันจะหมุนเร็วขึ้นอีก ๒ เท่า มันเป็นอะไร? ทำไมมันเป็นอย่างนี้? อู๋ย มันจะติ้วๆๆ เลยนะ

ตั้งสติไว้เลย มึงจะไปไหน ไปให้เต็มที่มึงเลย กูอยู่ของกูอย่างนี้ ประสาเราว่ากิเลสมันหลอกเราไม่ได้นะ มันนึกว่าไอ้นี่หลอกไม่ได้เว้ย กูก็ไม่รู้จะหลอกทำไม กูก็หยุดไง ถ้ากิเลสมันบอก กูหลอกไอ้นี่มันเชื่อกูนะ โอ้โฮ ติ้วๆ อยู่เฉยๆ ตั้งสติไว้

หลวงตาสอนประจำว่า อยู่กับผู้รู้ อยู่กับสติ ไม่มีเสีย มันจะเกิดอะไรให้มันเกิดไปมันแหย่เรา กิเลส มันจะเห็นแสง เห็นพุ่งไปใหญ่เลยนะ ถ้าตามไปนะ ก็แค่นั้นแหละ แต่มันไม่มีวันจบหรอก ไหลไปอย่างนั้น แต่ถ้าเรากลับมาที่ผู้รู้นะ เราไม่ไปนะ จบหมดล่ะ ผู้รู้กับสติอยู่ด้วยกันนะ ทุกอย่างจบหมด เพราะทุกอย่างเกิดจากจิต สิ่งที่รู้มันไปจากไหน? มันไปจากผู้รู้ ผู้รู้นี่สร้างภาพ แล้วก็กลัวภาพที่ตัวเองสร้าง แล้วก็กลัวอยู่นั่นน่ะ กลับมาที่ผู้รู้นี่ จบ

แต่มันกลับไม่ได้ เพราะว่าธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ส่งออก แต่ถ้ามีสติ ธรรมะทวนกระแสกลับเข้ามา อยู่กับผู้รู้ อยู่กับสติ มันจะเกิดอะไรขึ้นนะ พุทโธ พุทโธ อยู่กับผู้รู้ ตั้งใจ มั่นใจ ค่อยๆ หายไป หายไป

จำตรงนี้ไว้เลย ไม่ต้องไปตกใจ ไม่ต้องไปตื่นเต้น อย่าไปตกใจ อย่าไปอะไรทั้งสิ้น ของทุกอย่างไปจากจิต ของทุกอย่างมาจากความรู้สึกเราทั้งนั้น ของคนอื่นมันของข้างนอก ทุกอย่างเกิดจากจิต แล้วเรารักษาจิตเราแล้ว รักษาจิตแล้วมึงกลัวอะไรในโลกนี้ เทวดา อินทร์ พรหม ยังต้องมาฟังเทศน์เลย นี้ไปหาเทวดากัน จะไปกราบเทวดากัน เทวดามันกลับวิ่งมาหาครูบาอาจารย์เรานะ

อยู่กับผู้รู้ โธ่ สังเกตได้ไหม เกิดวิกฤติต่างๆ เขาอยู่กับจิตของเขานี่ ทุกอย่างดับหมดเลย วิกฤตินั้นหายหมดเลย เวลาเกิดวิกฤติเขาต้องการคนกล้า ต้องการคนจริง

ถ้าเกิดอาการขึ้น รู้กับสติจริงขึ้นมา ไม่มีอะไร ดับหมด เด็ดขาด

กล้าพูดมากเลยนะ แต่เวลาคนที่ไปทำนี่จิตอ่อนแอ พอโดนภาพ โดนความรู้สึกยุแหย่หน่อยเดียวนี่ ตื่น! ไปกับเขา นี่ไงที่หลวงตาท่านบอก “กระต่ายตื่นตูม เห็นไหม พอลูกตาลตกใส่ก้านตาล ฟ้าถล่มๆ วิ่งไปเรื่อย” พญาราชสีห์คือพระพุทธเจ้า

“หยุด หยุด หยุด”

“ฟ้าถล่ม”

“ถล่มที่ไหน ไปดู”

กลับมาลูกตาลมันตกใส่ แต่ไอ้กระต่ายมันบอก ฟ้าถล่ม มันพาสัตว์ขาหัก พาสัตว์ตกเหวตายอื้อเลย นี่เหมือนกัน เกิดจากจิตไง แล้วจิตก็วิ่งออกไป เกิดจากจิต จิตนี่ กิเลสมันเป็นกระต่าย มันก็พาจิตนี่ออก กลัว รู้ รับรู้ วิ่งออกไป วิ่งออกไป ตายหมดนะ กลับไปดูไปหาลูกตาลไม่เจอ ถ้ากลับไปที่จิตนะ เห็นลูกตาล อ๋อ ไม่มีอะไร ทุกอย่างเกิดจากจิตเรา อย่ากลัวผี อย่ากลัวทั้งสิ้น

ผีตัวแรกคือตัวเรานี่ ตัวจิตเราเองนี่ ผีบ้านผีเรือนดี ผีป่าซาตานเข้ามาหาผีตัวนี้ไม่ได้ ผีบ้านผีเรือนไม่รักษาบ้าน ไม่รักษาเรือนตัวเอง ปล่อยให้ผีป่ามันเข้ามาไง ผีบ้านผีเรือน ตัวจิตของเราให้มั่นคง อยู่กับพุทโธ ผีบ้านผีเรือนมันเฝ้าเรือนดี ผีป่าเข้ามาไม่ได้ ผีป่าจะเข้ามาทำลายไม่ได้ ขอให้มีสติ ขอให้มีพุทโธ ผีเรือน ตัวเรานี่ เจ้าเรือนให้มั่นคง รับประกันได้ อะไรเข้ามาหาเราไม่ได้เลย

โยม : หลวงพ่อคะ หนูเคยนั่งเริ่มแรกก็คือพุทโธ พุทโธ

หลวงพ่อ :พุทโธ พุทโธนี่นะ เราพูดตรงนี้นิดหนึ่งให้มีความมั่นใจว่าเราทำอะไรไง ถ้าพุทโธ พุทโธ เด็กเล่น ทำสักแต่ว่า มันก็จะไม่ได้พุทโธอะไร พุทโธนี่เราแบบว่า ตีเหมือนกับว่า พุทโธสะเทือนสามโลกธาตุ หลวงตาพูดขนาดนี้นะ

“พุทโธคำเดียวสะเทือนสามโลกธาตุ”

สะเทือนที่ไหน สะเทือนที่จิต เพราะจิตมันเกิดตายในสามโลกธาตุนี้ พอกระเทือนหัวใจ คำว่าพุทโธมันมีคุณค่ามาก เราก็ตั้งใจพุทโธ ตั้งใจทำ คือต้องตั้งใจตั้งสติทำ พุทโธ พุทโธ แล้วเราบอกเราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เราทำดี คือมีเป้าหมาย ไม่ใช่พุทโธเลื่อนลอย พุทโธต้องมีเป้าหมาย มีจุดเริ่มต้นแล้วมีที่ดี แล้วถ้าเจอพุทโธนะ เจอตัวเรานะ เจอใจเรานะ

จริงๆ นะ จิตสงบนะ เดี๋ยวจะวิ่งมาหาเลย “หลวงพ่อ หลวงพ่อนี่เป็นอย่างไร?” ทั้งๆ ที่ไปรู้ ก็ยังไม่รู้เลยนะ มันมหัศจรรย์จนเราคาดการณ์ไม่ถึง แต่ถ้าเป็นที่เราคาดการณ์ได้ สมมุติหมดเลย แต่ถ้าเราคาดการณ์ไม่ได้ ถ้าเป็นความจริงนะ มันเหมือนกับเราไม่รู้อะไรเลย เอ๊ะ! เอ๊ะ! นั่นน่ะของจริง ถ้าเราชัดเจน สร้างภาพหมด ของจริงมันจริง จริงๆ

แต่ถ้าเป็นอย่างนั้น เป็นวิทยาศาสตร์เลย ก็อปปี้ทั้งนั้น ของเทียม มันทำให้เหมือนไง กลัวจะไม่เหมือนด้วยนะ เดี๋ยวสมาธิกูไม่เหมือนเขา ต้องให้เหมือนเปี๊ยบเลย ก็อปปี้เขามาทั้งหมดเลย ไม่มีจริงสักอย่าง อยากให้เหมือน ทำไปเลยของใครของมัน ลิ้นใครลิ้นมัน สัมผัสรสใคร สัมผัสรสมัน ใจของใครได้สัมผัสแล้ว ใจทุกดวงดีหมด เนาะ เอวัง