ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ควาญช้าง

๓ พ.ค. ๒๕๕๒

 

ควาญช้าง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

แหม วันนี้ลาภ เราได้ลาภมากเลย ไม่อย่างนั้นมันไม่มีคนกลาง คุยกันไม่รู้เรื่อง วันนี้ แหม สุดยอดๆ สุดยอดเลย มันมีตัวอย่างไง เรามองมาตลอดนะ แต่บางทีเรื่องอย่างนี้มัน อะไรนะ เดี๋ยวพูดอย่างนี้ ถ้าองค์กรเราไม่เข้มแข็ง อยุธยานี่นะ เรามองแต่ว่าเราเสียดินแดน เสียดินแดน เพราะพม่าตีๆ แต่เราไม่ได้คิดเลยว่าพวกเราอ่อนแอก็มีนะ ในองค์กรของเรามันอ่อนแอ ข้าศึกมีกำลังขนาดไหนก็ตีได้หมด ในองค์กรของพวกเรา ตรงนี้มองเยอะมาก แต่มันจะทำได้อย่างไร

เวลาพูดถึงศาสนานะ ศาสนา ทุกคนก็หวังดีทั้งนั้นนะ หวังศาสนา เวลาพระพุทธเจ้า เราถึง เวลาคิดนะ เราคิดถึงพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าจะวางแผนอย่างไร? แล้วพระพุทธเจ้านี่ เห็นไหม พระเทวทัตไปขอปกครองสงฆ์ พระพุทธเจ้าไม่ให้นะ แล้วพระพุทธเจ้าบอกว่า แม้แต่สารีบุตรโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา เรายังไม่ให้เลย แล้วเทวทัตเป็นใคร จะให้เทวทัตปกครองสงฆ์ เราให้สงฆ์ปกครองสงฆ์กันเอง ให้สงฆ์ปกครองสงฆ์

๔ องค์ขึ้นไปเป็นสงฆ์ ให้สงฆ์ปกครองสงฆ์ ถ้าในสมัยปัจจุบันนี้คือการกระจายอำนาจ ไม่ให้อำนาจไปรวมไว้ที่ใคร ถ้าอำนาจรวมไว้ที่ใคร ศูนย์รวมอำนาจนั้น ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นที่ดีจะดีมากๆ เลย เห็นไหม ธรรมาธิปไตย อย่างเช่นคอมมิวนิสต์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ ถ้าคนผู้นำที่ดีนะ อย่างเช่น อย่างเมืองจีน เติ้งเสี่ยวผิงเขาเก่งมากในทางการบริหาร ในทางเศรษฐกิจ แต่เขาไม่เก่งทางการเมือง

เหมาเจ๋อตุงนี่เก่งทางการเมืองมากแต่บริหารไม่เป็น ฉะนั้นพอถึงเวลาเสร็จแล้ว พอสร้างสาธารณรัฐขึ้นมาได้นี่ บริหารไปไม่ได้ ทำอย่างไรก็บริหารไปไม่ได้ พอบริหารไปไม่ได้ก็มีปฏิวัติวัฒนธรรม ปฏิวัติซ้ำๆ การเมืองตลอด เอาการเมืองเลี้ยงไว้ พอเติ้งเสี่ยวผิงมา จะแมวขาวหรือแมวดำก็ต้องจับหนูได้ก็พอ ทำระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ ประเทศเจริญขึ้นมา

พอประเทศเจริญขึ้นมา เห็นไหม ตอนที่พอมาเปลี่ยนแปลงนี่ เขารื้อค้นใหม่หมด เขาพัฒนาของเขาใหม่หมด แต่เว้นไว้แต่ แต่พิพิธภัณฑ์ของเหมาเจ๋อตุง ใจคนเป็นธรรม บอก ถ้าไม่มีเหมาเจ๋อตุงก็ไม่มีสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉะนั้นเหมาเจ๋อตุงจะมีความผิดบ้าง เขาแบบว่า เขามองที่คุณงามความดีมากกว่า นี่การแนวคิดของเติ้งเสี่ยวผิงนะ เขาไม่ลบล้างหมดไง เขาไม่ล้าง เขาว่าอะไรเป็นความดีเขายอมรับ แต่คนเรามันดีหมดไม่ได้ คือเขาไม่มีความสามารถทางเศรษฐกิจ

แต่เติ้งเสี่ยวผิงเขามีความสามารถทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจีนที่ดีขึ้นมาได้ เพราะเติ้งเสี่ยวผิงเป็นคนวางรากฐานไว้ แล้วกว่าจะเริ่มต้นได้นะ เพราะว่าเริ่มต้นมา ไปสังคมนิยม แล้วไปพูดถึงเศรษฐกิจ เขาจะหาว่าลัทธิแก้ มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่ตรงข้าม แล้วเอาสิ่งที่ตรงข้ามไปบริหารองค์กรที่เขาเห็นตรงข้าม ทำยาก ทำง่ายไหม

นี่ไง ถึงบอกว่าธรรมาธิปไตย ถ้าเป็นธรรมนี่มันจะสุดยอดมาก ถ้าศูนย์รวมอำนาจ แต่ถ้า คนอย่างนี้มันจะหาได้กี่คน คนอย่างนี้จะหาได้ มันต้องมีบุญญาธิการมา มันต้องมีพื้นฐานของเขามา แต่ขนาดนี้ยังเก่งไปไม่ทุกด้านเลย มันก็เหมือน เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า รอบด้าน รอบด้าน แล้วคนจะหาคนรอบด้านอย่างนี้ มันเป็นไปได้ไหม เอตทัคคะยังแต่ละทาง ฉะนั้น เวลาปกครองสงฆ์ ให้สงฆ์กับสงฆ์ปกครองกันเอง

แล้วเวลาสงฆ์กับสงฆ์ปกครองกันเอง ในหมู่สงฆ์นั้น เวลาพระสารีบุตร เห็นไหม พวกวัชชีบุตร อะไร ที่บ้านเดิมพระพุทธเจ้าแล้วไปบวชให้ แล้วเกมาก เกมากนะ พอเกมาก คนมาฟ้องพระพุทธเจ้ามาก แล้วพระพุทธเจ้าบอกว่า

“สารีบุตร นั่นเป็นสัทธิวิหาริก” คือลูกศิษย์ของพระสารีบุตร พระสารีบุตรต้องไปจัดการ

“พระสารีบุตรบอกไปไม่ไหว ไปไม่ไหว นักเลงทั้งนั้นเลย ไปไม่ได้”

“สารีบุตร เธอเอาพระไป เอาพระไปที่มีจำนวนมากกว่า แล้วไปลงพรหมทัณฑ์ ไล่ออกจากหมู่บ้านนั้นให้หมด ไปลงพรหมทัณฑ์ด้วยธรรมวินัย”

เนี่ยเวลาพระพุทธเจ้าสอน เห็นไหม แม้แต่ให้สงฆ์ปกครองกันเอง สงฆ์ดีหรือสงฆ์เลว สงฆ์ไม่ใช่ดีหมดและเลวหมด ถ้าสงฆ์ไม่ใช่ดีหมดและเลวหมด ในหมู่สงฆ์นั้นมีสงฆ์ที่เลวกับสงฆ์ที่ดีปนกัน ถ้าสงฆ์ที่เลวมีอำนาจมากกว่า ในสังฆกรรม ถ้าพูดถึงสังฆกรรมนั้น ถ้าผู้ที่สงฆ์ที่มี สงฆ์ที่มีคะแนน สงฆ์ที่มีจำนวนมากกว่า เวลาโหวตไง เวลาประชุมสงฆ์ ญัตติ สงฆ์ต้องไม่ค้าน เป็นฉันทามติ ต้องหมด ใช่ไหม

ทีนี้เสียงส่วนใหญ่ดึงไป มันก็ไปหมด พอไปหมดปั๊บ ให้ค้านไว้ในหัวใจ เสียงเราส่วนน้อย เสียงอื่นส่วนน้อยหนึ่ง เมื่อไหร่ก็แพ้ พอแพ้แล้วถ้าเราพูดถึงธรรมวินัย พูดถึงความดี ไปพูดความดีในหมู่โจร มันก็มีปัญหาขึ้นมา ธรรมไง เวลาธรรมหมายถึงว่าไม่ให้มีความแตกแยก ให้สงฆ์ปกครองสงฆ์นะ แล้วไม่ให้สงฆ์แตกแยกด้วย ผู้ที่เป็นบัณฑิต ผู้ที่เป็นคุณงามความดี ผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ จะเห็นดีเห็นงาม เห็นตามธรรมวินัย

ถ้าเห็นตามธรรมวินัยนี่ สิ่งที่เขามีอำนาจมากว่า คำพูดอย่างนี้ ถ้าพูดถึงวิทยาศาสตร์นะ บอกว่าพระพุทธเจ้า (โทษนะ) เราไม่ได้คิด แต่เราคิดว่าโยมคิดไง ว่าพระพุทธเจ้านี่กะล่อน ทำไมบอกทำดีต้องได้ดี ก็อย่างนี้มันทำดีต้องเถียงไปเลยสิ ทำไมให้ค้านไว้ในใจ ให้ค้านไว้ในใจ เมื่อก่อนเราคิดอย่างนี้ไม่เป็นหรอก แต่เราเที่ยวธุดงค์มา เราเจอประสบการณ์นี้มามาก

เวลาสงฆ์ที่ไหนเขาทำ เขามีปัญหาขึ้นมา มีปัญหาคือว่าเขาเห็นผิด เราไปเจอบ่อย สงฆ์เห็นผิด หลายเรื่องเลย แล้วเวลานอกรอบนะ เวลาเราจะพูดเราพูดนอกรอบ พูดก่อนทำสังฆกรรม พูดนอกรอบนะ พูดนอกรอบเสร็จแล้ว เอาพระไตรปิฎกมาเปิดกัน เราถูกหมด เขาแพ้เราด้วยเหตุผลหมดเลยนะ แต่เวลาเข้าไปสังฆกรรมแล้ว เขาทำของเขาเฉยเลย

เขาบอกว่าเขาทำตามครูบาอาจารย์ที่เขาทำๆ กันมา อ้าว ทำมา อย่างนั้นเราก็โอเค เราก็ อยู่ในสังฆกรรมใช่ไหม เราก็ต้องแบบว่า ถ้าพูดไปสังฆกรรมนั้นมันเสียไป เห็นไหม อย่างเช่นลงอุโบสถ ถ้าเป็นนานาสังวาส เห็นไหม มหานิกายธรรมยุติต่างๆ เป็นอสังวาส รวมกันเป็นโมฆะ

ทีนี้ถ้าสังฆกรรม มันมีปัญหาขึ้นมา เห็นไหม มันจะเป็นโมฆียะ เป็นโมฆะ เพราะสงฆ์ไม่เป็นฉันทามติ ทีนี้ลงความเห็นอย่างนั้นเราก็ต้องเห็นด้วย พอเห็นด้วย เห็นด้วยคือว่าไม่ค้านไง เพราะการเห็นด้วยของพระคือการนิ่งอยู่ พอนิ่งอยู่แล้วเขาก็จัดการกันไป แต่ศีลนั้นมันจะมีกรรม หมายถึงว่ามันจะมีกรรมตกเนื่อง ตกผลึกในใจ เพราะเราทำกรรมใช่ไหม กรรมมันต้องมี

ทีนี้เราค้านไว้ในใจเพื่อไม่ให้มีกรรมอันนั้น เอาค้านไว้ในใจ บอกอันนี้ไม่เห็นด้วย เช่นอย่างการทำผิดครั้งนี้มันเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน เราไม่เห็นด้วยกับความผิดอันนี้ เราไม่ยอมรับ แล้วผลประโยชน์เราก็ไม่รับ ใครทำก็เป็นกรรมของเขาไป เราก็พ้น เห็นไหม ให้ค้านไว้ในใจ ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นคนรุ่นใหม่ ทำไมต้องค้านไว้ในใจ ก็ค้านมันเลยสิ จัดการเลย ให้สงฆ์นั้นมันสะอาดบริสุทธิ์

หนึ่ง เขาเป็นกำลังที่มากกว่า แล้วประสาเราเป็นจริตนิสัย คือนิสัยเขาเป็นอย่างนั้น นิสัยโจร มันก็คือโจร เวลาให้สงฆ์ปกครองแล้วนะ ธรรมวินัยยังบัญญัติไว้อีก ว่าเจอเหตุการณ์อย่างนี้ให้ทำอย่างนั้น เจอเหตุการณ์อย่างนั้นให้ทำอย่างนั้นนะ แล้วเราเอาตัวรอดได้ พอเอาตัวรอดได้ เห็นไหม ถ้าเราสะอาดบริสุทธิ์นะ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีลเราดี เห็นไหม ศีลที่สะอาดบริสุทธิ์ เห็นไหม

ในธรรม ศีลที่ดีจะเกิดในสมาธิที่ดี สมาธิที่ดีคือสัมมาทิฏฐิ จะเกิดปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าศีลไม่มี ศีลไม่ดี สมาธิเกิดมา มันก็เป็นมิจฉาสมาธิด้วย ปัญญาก็เกิดปัญญามันไปไม่รอดหรอก ทีนี้ถ้าคนผ่านประสบการณ์อย่างนี้หนึ่งคน หรือว่าพระพวกเรา ผู้มีบุญมาเกิด ว่าอย่างนั้นเลย ทำสิ่งที่ดีมาตลอดเห็นไหม มันจะพัฒนาให้จิตดวงนี้ มันเป็นผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์ แล้วมันพ้น พ้นจาก มันเห็นวิกฤติอย่างนี้ คนเห็นถูกเห็นผิดนะ

คนที่จะเป็นอาจารย์คน คนที่จะเป็นพ่อแม่คนนะ ลองผิดลองถูกมาทั้งชีวิต พระที่ประพฤติปฏิบัติมา แม้แต่สังคมสงฆ์มันยังมี ๒ ฝ่าย ๓ ฝ่าย มีความเห็นแตกต่าง ในการปฏิบัตินะ กิเลสกับธรรมในหัวใจ จะเห็นความแตกต่างอีกมหาศาลเลย ในการปฏิบัติ ทีนี้ความแตกต่างในใจ เราจะเอาสิ่งที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เอาความเห็นที่ดีงาม ชนะตัวเองมาตลอดไปนี่ มันผ่านวิกฤติมาจากสังคม จากความเป็นอยู่ อย่างพวกเราอยู่ ปัจจัยเครื่องอาศัย

อย่างของปัจจัย ๔ เราก็ว่าทุกข์ยากพอแรงแล้ว ไปปฏิบัตินะ เอาเข้าจริงๆ มันทุกข์ยากยิ่งกว่านี้อีก ทุกข์ยากอย่างนี้ มันไป เห็นไหม เวลาพระเทวทัตมาขอปกครองสงฆ์ ท่านบอกเลย แม้แต่พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เรายังไม่ให้เลย ทำไมเราจะให้เทวทัต เราไม่ให้หรอก แล้วเวลาเราให้ เราก็ให้สงฆ์ปกครองสงฆ์ การที่สงฆ์ปกครองสงฆ์เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะคน สงฆ์คือพระ จากคฤหัสถ์มาบวชมาเป็นพระ แล้วการบวชมาเป็นพระมันจะมีไปเรื่อยๆ

อย่างภิกษุณี นางภิกษุณี นางภิกษุณีในฝ่ายเถรวาทเราถือว่า ในเมื่อภิกษุณีมันขาดช่วงไป พอขาดช่วงไป มันไม่มีใครบวชต่อไปไง แล้วพระพุทธเจ้า อนาคตังสญาณท่านก็บอกแล้ว ภิกษุณีอยู่อีก ๕๐๐ ปีมันจะหมดไป คำว่าหมดไป คือว่าเหมือนกับ โทษนะ เหมือนไม่มีมนุษย์ มนุษย์จะเกิดเป็นมนุษย์อีกได้ไหม? มนุษย์นี่ เห็นไหม การสืบพันธ์ทำให้เราเกิดมนุษย์ต่อๆๆ ไป ไม่มีมนุษย์สืบพันธ์กัน จะไปเกิดเป็นมนุษย์ไหม?

ไม่มีพระที่เป็นสังฆกรรม บวชทำญัตติจตุตถกรรมให้เป็นสงฆ์ มันจะเป็นสงฆ์ขึ้นมาได้ไหม ทีนี้นางภิกษุณีมันไม่มีใช่ไหม? แล้วมันก็ขาดไปแล้วไง ทีนี้ให้สงฆ์ปกครองสงฆ์ เพราะสงฆ์มันจะมีพระบวชต่อๆ กันมา ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานจนป่านนี้มีพระบวชต่อมา อย่างลังกาไม่มีก็มาขอจากอยุธยา อยุธยาไม่มีก็จะขอจากลังกา มันมีพระบวชต่อๆ กันมา เห็นไหม สงฆ์ปกครองสงฆ์ หมายถึงว่าสงฆ์มันมีพระบวชใหม่ พระมันเป็นปัจจุบัน พระมันเป็น..

อย่างภาษาไทยเรานี่ ภาษาโบราณกับภาษาเดี๋ยวนี้ การเขียนก็ไม่เหมือนกัน ภาษาไทยเหมือนกัน มันก็ยังเปลี่ยนแปลงเลย สังคมมันวิวัฒนาการมาตลอดไง สงฆ์ปกครองสงฆ์ คือมันเป็นปัจจุบันตลอดไง ปัจจุบันที่สงฆ์ในสังคมนั้นปกครองสงฆ์สังคม แล้วสงฆ์สังคมนั้น อย่างเช่นเราเกิด เราเกิดมาเห็นไหม เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา แล้วพระพุทธศาสนา จะเกิดเป็นครูบาอาจารย์เรานี่ ตั้งแต่หลวงปู่มั่นมา ก่อนหลวงปู่มั่นขึ้นไปนะ เพราะผู้ปฏิบัติก็มี แต่ก็ปฏิบัติไปโดยศักยภาพของตัวเอง

แต่พอหลวงปู่มั่นท่านมาเกิดของท่าน แล้วท่านมาค้นคว้าของท่าน ค้นคว้าในตัวเองของท่าน แล้วท่านมาสอนพวกเรา สอนพวกต่อๆ กันมา เราเกิดในยุคทอง แล้วมันก็จะเสื่อมไปโดยยุคทอง พอยุคทองขึ้นมาใช่ไหม เราทองเต็มไปหมดเลย เวลายุคทองคือยุคธรรมะเจริญ ในภาคปฏิบัติเดี๋ยวนี้เด็กเกิดมา สังคมทุกอย่างอยากปฏิบัติหมดน่ะ แต่ก่อนหน้านั้นนะ พอบอกว่าปฏิบัตินะ ทุกคนบอกว่ามึงจะบ้าเหรอ ทุกคนกลัวบ้า ทุกคนกลัวผิดพลาด เพราะไม่มีใครรู้จริง

แต่เดี๋ยวสังคมปัจจุบันนี้ ตั้งแต่หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นมา แล้วครูบาอาจารย์ท่านฟื้นฟูมา สังคมปฏิบัติมันเจริญเฟื่องฟู พอเจริญเฟื่องฟู พอบอกปฏิบัติ เออ ทุกคนอยากปฏิบัติ ทุกคนอยากพ้นทุกข์ แต่ทำได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งนะ แต่มันเป็นประเพณีวัฒนธรรม ตกผลึกไปในใจคนแล้ว แล้วเราเกิดมายุคอย่างนี้ นี่ไง สงฆ์ปกครองสงฆ์ไง

เวลาเราพิจารณาของเรานะ เรานั่งภาวนาของเรา เราพิจารณาของเรา เราพิจารณาย้อนของเราไป แล้วภูมิใจนะ ภูมิใจว่า อื้ม ปฏิบัติจะทุกข์ขนาดนี้ ความเป็นอยู่เราก็ไม่ใช่สบาย ก็ทุกข์มาพอแรง แต่เวลาพูดถึงว่าเราเกิดมาในยุคทอง อื้ม เราเองก็มีบุญ มันจะยกตูดตัวเองนะ เอ็งก็ยังมีบุญนะ เอ็งเกิดมาเจออาจารย์ ถ้าเอ็งไม่เกิดมาเจออาจารย์นะ มึงตกทะเลแน่ๆ

เวลาเรานั่งทบทวนของเราเองนะ เรายังภูมิใจนะ ว่าเราเกิดมาในยุคทอง เราเกิดมาในยุคครูบาอาจารย์ ยุคที่เรามีโอกาสได้แก้ไข แล้วเราเกิด ครูบาอาจารย์ท่านแก้ไขของท่านมา เราจะพูดบ่อยมากว่า ท่านต้องสร้างบารมีของท่านมา แล้วท่านแก้ไข นี่วิกฤติในข้างใน สงฆ์ปกครองสงฆ์มันเป็นอย่างนี้ แล้วสงฆ์ปกครองสงฆ์

แล้วสงฆ์ส่วนใหญ่ ดูสิ พระพุทธเจ้าองค์เดียวนะ วางศาสนามาสองพันกว่าปี หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นนะว่าสององค์ แต่จริงๆ แล้ว หลวงปู่มั่นเป็นหลัก หลวงปู่มั่นที่วางรากฐานมานี่ ถ้าเป็นสงฆ์ทางอื่นเขา เขาก็วางแนวทางลัทธิที่เขาปฏิบัติทางอื่นเห็นไหม ที่เขาปฏิบัติกัน ในวงปฏิบัติเดี๋ยวนี้มันมีอีกกี่แนวทาง มันมีคนสอนอยู่อีกกี่ชนิด ชนิดอื่นๆ ที่ทำ ทำมา ผลมันอยู่ที่ไหน? ผลในการปฏิบัติมันอยู่ที่ไหน? แล้วใครได้ผลจริง?

แต่หลวงปู่มั่นท่านไม่ได้ประกาศ ท่านไม่ได้บอกว่าผลมันอยู่ที่ไหน? เพราะท่านล่วงไปแล้ว แต่เราพูดทางวิชาการ ว่าเวลาหลวงปู่มั่นออกมาปฏิบัติ แล้วหลวงปู่มั่นสอนลูกศิษย์มา ผลมันอยู่ไหน ก็ผลมันอยู่ที่สอนต่อๆ กันมา แล้วที่พูดธรรมแล้วถึงที่สุด แล้วเวลาเผาแล้วกระดูกเป็นพระธาตุ กระดูกเป็นพระธาตุนี่มันเป็นผลทางวิทยาศาสตร์นะ เป็นทางวัตถุที่พิสูจน์กันได้ แต่ความจริงผลมันเกิดที่จากใจ

เพราะหลวงปู่มั่นท่านเป็นความจริง เวลาท่านสื่อธรรมกัน สื่อธรรมกัน มันอยู่ในสุ่ม อยู่ในกติกา อยู่ในศูนย์ที่ควบคุม อยู่ในศูนย์ที่ตรวจสอบกัน หลวงปู่มั่นตรวจสอบลูกศิษย์ ถ้าไม่ตรวจสอบลูกศิษย์ ท่านจะพูดบอก หลวงตาท่านเล่าให้ฟังประจำ

“หมู่คณะ จำท่านขาวไว้นะ ท่านขาวได้คุยกับเราแล้ว ท่านขาวได้ตรวจสอบแล้ว ให้จำท่านขาวไว้” เห็นไหม

หมู่คณะ สงฆ์ได้ตรวจสอบกันแล้ว ในสุ่มนั้น ในกติกานั้น ได้พิสูจน์กันแล้ว เห็นไหม มันสะอาดบริสุทธิ์อย่างนั้น ทีนี้สะอาดบริสุทธิ์อย่างนั้น จากหลวงปู่มั่นองค์เดียวแท้ๆ เลย วางรากวางเกณฑ์ วางหลักวางฐานมาถึงพวกเรา แล้วพวกเราประพฤติปฏิบัติ ในยุคทอง ยุคทองอย่างนี้มันเกิดขึ้นมา สงฆ์ปกครองสงฆ์ ทีนี้ถ้าสงฆ์ปกครองสงฆ์ขึ้นมาแล้ว มันเป็นประโยชน์ไหม สิ่งที่มันเป็นประโยชน์ นี่พระพุทธเจ้าวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างนี้

ทีนี้คนไม่เป็นไง เราไม่เป็นนะ ทุกคนน่ะคิด เพราะทุกคนพึ่งตัวเองไม่ได้ ทุกคนไม่รู้จักตัวเอง ทุกคนไม่มีหลักมีเกณฑ์ ก็คิดเลย ทุกคนคิดนะ เราจะส่งโลกนี้ให้คนรุ่นหลังด้วยทรัพยากรที่ดี เราจะส่งสังคมที่ดีกลับให้ลูกให้หลานเรา เอ็งส่งอะไรกัน? ส่งขี้ไคลไง ส่งขี้โลภ ขี้โกรธ ขี้หลงไง มึงส่งอะไรกัน? ถ้าส่ง เพราะเรามองไปอย่างนั้นใช่ไหม?

ถ้าเราจะส่งนะ เราจะส่งสังคมที่ดี ส่งทรัพยากรที่ดี ส่งโลกที่ดีให้แก่ลูกหลาน เราทำตัวดีก่อนๆ แม่ปูกับลูกปู ถ้าเราทำตัวดี เห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านทำเป็นตัวอย่าง คือตัวอย่างที่ดี มันถึงจะเป็นสิ่งที่ดีได้ มีอยู่องค์เดียวในจักรวาลนี้คือองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลานอน นอนสีหไสยาสน์ พระพุทธเจ้าไม่เคยนอนหงาย พระพุทธเจ้านอนสีหไสยาสน์

พระพุทธเจ้านี่พุทธกิริยานะ กิริยาของพระพุทธเจ้าจะสงบเสงี่ยมมาก จะนิ่มนวลมาก จะไม่มีขยับเลย แล้วมีอยู่องค์เดียว พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ยังทำอย่างนั้นไม่ได้เลย ละกิเลสได้แต่ละจริตนิสัยไม่ได้ กิเลสคือสันดาน สันดานชั่วของเรา เราละได้ แต่ความเคยชินของเราละไม่ได้ เพราะเราปฏิบัติมาอย่างนี้

เราถึงเห็นพวกทางโลก มีข้าราชการผู้ใหญ่หลายคนเลยอดบุหรี่ได้ แต่เขาต่อรอง ไม่ดูดก็ได้ แต่ขอคีบไว้เฉยๆ คีบไว้เฉยๆ ให้มันเคยชิน เห็นไหม ละบุหรี่ได้ แต่ขอคีบไว้หน่อยหนึ่ง มันความเคยชิน ความเคยชินมันละได้ยาก แต่ไอ้เรื่องกิเลสตัณหา ไอ้เรื่องไม่ทำนี่พอละได้ สาวกสาวกะทำได้อย่างนั้น มีอยู่องค์เดียว พระพุทธเจ้าองค์เดียวแท้ๆ เลย

ทีนี้พอตำราเขียนไว้อย่างนั้นว่าพระอรหันต์กิริยาต้องเป็นอย่างนั้น ก็คิดว่าพระอรหันต์คือพระพุทธรูปไง พระอรหันต์ต้องกระดิกไม่ได้เลย ถ้ากระดิกนี่เป็นปุถุชนหมด ทีนี้เป็นพระอรหันต์ไหม เป็นพระอรหันต์ไหม มันไปตรวจสอบที่หลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่น เวลาเทศน์น่ะ ไปหมด มือไป กระโถนน่ะกลิ้งไปเลย ไปหมด เวลามันไปหมด มันเป็นจริตนิสัย

อันนี้คนเขาบอก ถ้าเป็นพระต้อง นะโมตัสสะ ภะคะวะโตฯ แล้วก็นอนหลับกันเว้ย มันไม่ออกมาจากใจ ถ้าออกจากใจ ต้องปล่อยธรรมชาติของมันออกมา ถ้าปล่อยธรรมชาติของมันออกมา นี่ธรรม เห็นไหม นี่ธรรมเป็นใหญ่ ถ้าธรรมเป็นใหญ่แล้วกลัวอะไร เราพูดสัจธรรมนี่กลัวอะไร? ไม่เคยกลัวอะไรเลย นี่ไง สงฆ์ปกครองสงฆ์

เราจะบอกว่าสงฆ์ปกครองสงฆ์แล้ว พระพุทธเจ้าขนาดว่าไม่ให้ใครปกครอง ให้สงฆ์ปกครองสงฆ์ แล้วสงฆ์ที่จะปกครองมันเป็นยุคเป็นคราว ถ้ายุคที่สงฆ์ที่ดี ยุคที่สังคมที่ดี สังคมตั้งแต่หลวงปู่มั่นมาน่ะดีมาก ดีมากยิ่งเราเป็นคนที่ชอบศึกษา เราไปอยู่กับองค์ไหน เราจะพยายามจะถามแต่เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องอดีตไง

อดีตตั้งแต่สมัยหลวงปู่มั่นท่านเสียไปแล้ว สงฆ์พอพระปกครองกันเอง มันมีทางนครพนม หรืออย่างไรนี่ มันมีวัดๆ หนึ่ง แล้วแม่ชีหลง หลงว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วพระในวัดนั้นก็ไปกราบแม่ชีกัน ให้แม่ชีเป็นใหญ่ แล้วสงฆ์ก็ประชุมกันไง ให้หลวงปู่ฝั้นไปแก้ เขารักกันมากนะ หลวงปู่ฝั้นไปแก้ หลวงปู่ฝั้นไปนะก็ไม่ใช่ไปแบบว่าจะไปแก้เขานะ

หลวงปู่ฝั้นไป ก็เป็นพระธุดงค์ไปไง ไปถึงก็ไปขอพระ ไปขอพระก็ไปคุยกับพระในวัดทั้งหมดเลย ว่ามีความเห็น มีมุมมองกันอย่างไรไง สุดท้ายแล้วจับประเด็นได้หมดแล้วก็ไปประชุมสงฆ์ไง แล้วก็ถามแม่ชีภาวนาที่ว่า ภาวนาได้ ภาวนาได้ หลวงปู่ฝั้นชี้ให้ บอกแม่ชีนี่ภาวนาไม่เป็น ส่งออกหมดไง แล้วพอคิดไม่เป็นปุ๊บก็เป็นมติสงฆ์แล้ว มติสงฆ์ก็บังคับสงฆ์ ให้เจ้าอาวาสนั่น ให้มีความเห็นถูกต้องกลับมา แล้วโดยเจ้าอาวาสก็มีความเห็น

เราจำเนื้อหาสาระได้ แต่จำวัดกับสถานที่ไม่ได้ แต่มีจริง เราไปศึกษานะ เวลาพระเรา สมัยที่เป็นลูกของหลวงปู่มั่นทั้งหมด องค์ใดมีความเห็นทิฐิ มีความเห็นผิด มีความเห็นอย่างไรนี่ จะไปช่วยเหลือ จะเจือจานกัน จะแก้ไขกัน จะแก้ไข จะรักกัน จะคอยดึงชักนำ ให้เขามาถูกต้องให้หมด แต่ในปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว ไม่มีเพราะอะไร? ไม่มีเพราะกิเลส ทิฐิมันเกิดสูงมาก

สูงมากว่า เวลาไปนะ เอ็งลูกศิษย์ใคร แล้วอ้าง เห็นไหม อ้างว่าอาจารย์สอนอย่างนี้ อย่างที่พูดเมื่อกี้ เวลาเราพูดถึงประชุมสงฆ์ เขาบอกว่า เขาทำตามครูบาอาจารย์กันมา ครูบาอาจารย์ก็สาธุนะ หลวงตาท่านเป็นพระมหา ท่านเป็นมหา ท่านเรียนบาลีมา ทางตำรานี่ท่านรู้มาก ท่านไปอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นจะสอนอะไร? หลวงปู่มั่นเป็นพระอรหันต์ ท่านแน่ใจว่าหลวงปู่มั่นไม่ผิดหรอก

แต่ของเราก็ยังมีทางวิชาการ มันก็ไปเปิดพระไตรปิฎก เปิดพระไตรปิฎกมาจับ ไม่ผิดเลยๆ หลวงปู่มั่นทำถูกต้องหมดเลย อันนี้ก็เหมือนกัน ท่านเป็นถึงมหานะ ท่านยังมาตรวจสอบในพระไตรปิฎก ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งๆ ที่หลวงปู่มั่นพูดก็ลงใจแล้ว แต่ก็ดูให้มันแบบว่าชื่นใจ เพราะมันยิ่งดูมันยิ่งชื่นใจนะ อาจารย์เราก็พูดถูก พระไตรปิฎกก็บ่งบอกเหมือนกันเลย มันยิ่ง โอ้โฮ ชัดเจนนะ มันลงใจ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไง

แต่เดี๋ยวนี้เวลาพูดขึ้นมานะ อาจารย์สอนอย่างนั้น แล้วพระไตรปิฎกว่าอย่างไร มันขัดแย้งกัน ถ้าพูดถึงว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม มันจะขัดแย้งกับพระไตรปิฎกได้อย่างไร? อย่างเช่นเราเป็นคนที่ดี เราทำดีทั้งหมด ความดีเราจะขัดกับกฎหมายไหม เราทำดีหมดเลย มันจะขัดแย้งกับกฎหมายไหม เพราะกฎหมายบังคับไว้ไม่ให้คนทำชั่ว แล้วถ้าเราทำดีมันจะผิดกฎหมายไหม?

แล้วเขาบอกว่าทำตามอาจารย์ แล้วมันผิดกฎหมาย มันดีหรือชั่ว อ้าว เขาไม่คิดไง แต่พูดถึงว่าเวลาพูด เห็นไหม มันย้อน ธรรมะมันไม่มีขัดแย้งกันหรอก เราทำความดีกัน มันจะขัดแย้งอะไรกัน อ้าว ทำดีก็ทำดี อ้าว เรามาวัด เราอยากมาทำดีกัน เรานั่งสมาธิหมดเลย ต่างคนหลับตาหมดเลย จะไม่รบกวนกันเลย เราทำดีนะ นี่ก็นั่งสมาธิเลย

ไอ้คนนี้มาถึง ทำความดีเหมือนกัน มาถึงก็มานั่งคุยกันขโมงโฉงเฉง ตั้งวงเหล้า เขาบอกเขาทำดีเหมือนกัน เขากินเหล้า กินเหล้าดีน่ะขัดแย้งไหม อ้าว เขาเข้าสังคมนะ เขาเข้าสังคม เขาประชาสัมพันธ์กัน เขากำลังมีความสุข กินเหล้าเมายากันน่ะ ก็ความดีของเขา แล้วความดีอย่างนั้นก็มาเทียบกับศีลสิ เห็นไหม ผิดแล้ว เขาผิดศีลแล้ว

นี่ไง ถ้าคนมันมีความคิดนะ เอามาเทียบได้ ทำตามอาจารย์ ใช่ ทำตามอาจารย์ ถ้าเป็นความดีจะไม่ขัดแย้งกัน แต่ถ้าไม่เป็นความดี ดีไม่จริง มันจะขัดแย้งกัน แล้วจะมีพระไตรปิฎกมันเป็นเครื่องตัดสิน ฉะนั้นเวลาใครถามว่าอาจารย์สอนๆ เราจะย้อนเลยว่า ถ้าในสมัยปัจจุบันนี้ ทุกคนอ้างว่าเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นหมด แล้วหลวงปู่มั่นสอนอย่างไร? เราก็รู้กันอยู่

หลวงปู่มั่นสอนพุทโธ หลวงปู่มั่นสอนใช้คำบริกรรม หลวงปู่มั่นสอนบอกว่าให้ทำความสงบของใจเข้ามา หลวงปู่มั่นบอก

“ดีใดที่ไม่มีโทษ ดีนั้นเป็นดีประเสริฐ”

ดีใดที่ไม่มีโทษ แล้วดีที่เขาสอนกันมันมีโทษไหม ดีที่มีโทษน่ะมันดีที่ผิด ดีแท้คือดีที่บริสุทธิ์ ดีที่ไม่มีโทษ สมัยหลวงปู่มั่นท่านก็สอนมาอย่างนั้น สมัยพระพุทธเจ้าสอนมาอย่างนั้น นี่พูดถึงสงฆ์ปกครองสงฆ์นะ แล้วในสงฆ์ปกครองสงฆ์ ถ้าสงฆ์มันดี แล้วสงฆ์ไม่ดีล่ะ สงฆ์ไม่ดีเขาก็มีปัญหากัน

ทีนี้เราเป็นชาวพุทธ เราเข้ามาในศาสนา เราต้องฟังหูไว้หูไง พระพุทธเจ้าสอนไว้นะ กาลามสูตร อย่าให้เชื่อแม้แต่เราพูด อย่าให้เชื่อครูบาอาจารย์พูด อย่าเชื่อ แต่ฟังไว้เป็นประเด็น ฟังไว้ องค์นี้ท่านว่าอย่างนี้ แล้วเราก็เอามาพิสูจน์กันไง นี่จากข้างนอกนะ ถ้าจากข้างในนะ เวลาภาวนาไปมันจะรู้หมด อันนี้สำคัญมาก เราถึงว่าดูองค์กรสงฆ์ แล้วโลกคิดกันอย่างนั้น

จำไว้เลย ดูเราไว้ เวลาใครมา เขามาอย่างไรเราก็รับรู้นะ บางทีเราสงสารมากนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะที่เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์สอน พระเรานี่นะ เขาเรียกว่าทำศรัทธาไทยให้ตกร่วง แบบเช่นพวกโยมนี่ศรัทธาในศาสนา แล้วเราไปทำอะไรหรือทำสิ่งใด ให้โยมไม่พอใจ โยมจะออกจากศาสนาไป คือไม่ศรัทธาในศาสนาอีก ถ้าทำศรัทธาไทยให้ตกร่วงเป็นอาบัติปาจิตตีย์ย์เลยล่ะ

ฉะนั้นคน เวลาคนมาวัดน่ะเขาศรัทธาไหม เขาอยากมาวัดไหม เขาก็อยากใช่ไหม เขาก็ศรัทธาใช่ไหม แล้วเราไปเอ็ดเขานี่เราเป็นอาบัติปาจิตตีย์หรือเปล่า ถ้าพูดถึงธรรมวินัยนะ ถ้าทำศรัทธาไทยให้ตกร่วง เขามีความศรัทธามาก แล้วเราไปทำให้เขาเสียใจ เขาประชดประชันไม่เข้าศาสนาเลย ทำศรัทธาให้มันเปลี่ยนไป แต่สำหรับเรานี่ เขามานี่เขามีความเห็นอันหนึ่ง ความเห็นของโลกๆ ไง เข้าใจว่าพระนี่เป็นบุคคลสาธารณะ

เวลาโยมมา พระต้อง โอ้โฮ ต้องบริหารจัดการ พระต้อง โอ้โฮ โยมน้ำกินอยู่นั่นนะ ห้องส้วมอยู่นั่นนะ อ้าว โยมร้อนไหม จะเอาพัดให้นะ อันนี้มันก็ไม่ใช่ เพราะถ้าเป็นพระ ใจที่สูงกว่าจะดึงใจที่ต่ำกว่าให้สูงขึ้น ถ้ามาวัดนะ “ดีใดที่ไม่มีโทษ” ในดีของเอ็งที่ศรัทธาก็ดีของเอ็งอยู่แล้ว แต่ดีของพระเขาต้องการความสงบสงัด วัตรปฏิบัติ ในวัดนั้นต้องการความสงบความวิเวก

ในวัดนั้นเขาต้องการคนที่มีสติ การเคลื่อนการไหว ขับรถเข้ามาให้ขับช้าๆ แล้วสังเกต พระยืนบนศาลาเต็มเลย ขับรถมาไม่เคยเห็น วนไปวนมา วนมาวนไป กูว่าพวกนี้มันจะบ้า ก็พระก็นั่งอยู่นี่ มันขับรถเข้ามานะมันก็วนมาแล้วก็วนออกไป มันก็หมุนอยู่นั่น มันต้องไล่ออก ไล่มันออกไป นี่ไง ไปวัดแล้วต้องทำศรัทธา ให้ตกร่วงมันจะศรัทธาไหม

เข้าวัดเข้าวามานี่ วัดนะ เราเคยเข้าแต่วัดปกติ วัดบ้านใช่ไหม วัดบ้านน่ะเขา วัดนะ วัดของเขานี่เขาหาผลประโยชน์ เขาที่วัดไปบริหารจัดการ เขาสร้างตลาดในวัดกันแล้ว เป็นที่จอดรถ ไอ้ความสงบสงัดเขาไม่ถือหรอก เพราะว่าอะไร เพราะตลาด ตลาดต้องการคน ให้คนเข้ามาพลุกพล่าน เพราะเขาทำตลาดนัดกันไง ถ้าเป็นวัดอย่างนั้นมันก็เคยชินใช่ไหม?

พอมาวัดป่า เข้าวัดอย่างนั้นเคยแล้ว ความเคยใจ วัดก็คือวัด วัดอื่นก็เป็นวัดอย่างนี้เว้ย กูไปวัดไหนๆ ก็มีแต่คนต้อนรับกูทั้งนั้น ทำไมกูมาวัดนี้ ทำไมไม่ต้อนรับกู กูนี่มันสุดยอดคน อ้าว มึงก็กลับบ้านมึงไปสิ มาวัด เราวัดใจเราก่อน

๑. เราเป็นคฤหัสถ์ ศีลเราศีล ๕

๒. ท่านเป็นพระ ท่านศีล ๒๒๗

ยิ่งท่านปฏิบัติด้วย ท่านต้องการความสงบของท่าน โดยวุฒิภาวะมันต่างกันราวฟ้ากับดินอยู่แล้ว ระหว่างพระกับคฤหัสถ์ คฤหัสถ์เข้าไปในวัด มันต้องรู้ฐานะของเราว่าเราเป็นใคร แล้วเราเข้าไปหาอะไร แล้วถ้าพระองค์นั้นเป็นพระที่ว่างเปล่า ไม่มีข้อวัตรปฏิบัติ เขาจะสื่อความหมายอะไรกับเราไม่ได้เลย ถ้าองค์นั้นเป็นพระที่จริง เขารู้ใจเราตั้งแต่เราเข้ามาในวัดแล้วนะ เขารู้ถึงความรู้สึกของเราเลยนะ

บางคนเข้ามา เคารพนบนอบเข้ามาดี ดีก็ดีเลย บางคนเข้ามาน่ะ “โอ้โฮ จะมาทำบุญนะ จะมาทำบุญ ทำไมไม่ต้อนรับฉัน” “บอกไม่รับ” “ไม่รับได้อย่างไร? ก็จะมาทำบุญน่ะ” นี่ถือสิทธิ์ตามเป็นชาวพุทธไง

มันการทำบุญน่ะนะ พระนี่มีสิทธิ์รับนะ มีสิทธิ์จะรับก็ได้ ไม่รับก็ได้ เวลาเรามาที่โพธาราม เขามาจะนิมนต์ไปฉันข้าว เราบอกไม่รับ เขาบอกเป็นอาบัติ เพราะโยมนิมนต์ ไม่รับกิจนิมนต์เป็นอาบัติ เราถามว่าเป็นอาบัติตรงไหน?

ในการปฏิบัติ ภิกษุจำพรรษาที่นี่หนึ่งพรรษา จะไปไหนโดยที่ไม่บอกลาอาจารย์ได้ ๑ เดือน คำว่าไม่บอกลานะ ถ้าภิกษุจำพรรษาที่นี่ ได้รับกฐิน จะไปไหนโดยที่ไม่บอกลาอาจารย์ได้ ๔ เดือน การที่เราจำพรรษาที่นี่ แล้วที่นี่มีพระอยู่ ๑๐ องค์ เวลาโยมเข้ามาจะมานิมนต์ไปฉันข้าว ใช่ไหม เราก็บอกว่ารับไว้ ๑๐ องค์ วันนั้นๆ

ทีนี้ภายในเดือนนั้น พระใน ๑๐ องค์นั้นจะไปไหนโดยที่ไม่บอกอาจารย์ก็ได้ การที่เขารับกิจนิมนต์ไว้ก็ขาดไปแล้ว นี่ไง แล้วทำบุญ กิจนิมนต์นะ คนที่รับกิจนิมนต์แต่ไม่ได้บอกกับอาจารย์ ในปาติโมกข์นะ เราเป็นอาจารย์ เราเป็นเจ้าอาวาส ภิกษุเข้ามาจะขออยู่อาศัยกับเรา ต้องขอนิสัย พอขอนิสัยเราแล้ว ไปไหนโดยที่ไม่บอกเราเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ไปค้างแรมในวิกาลไม่ได้บอก

ฉะนั้น ถ้าไปไหนไม่ได้ อยู่กับเรา ๑๐ องค์ก็ต้องอยู่กับเรา ๑๐ องค์ใช่ไหม เรารับกิจนี้ไว้ ๑๐ องค์ ๑๐ องค์นี้ก็ต้องไปฉันหมดใช่ไหม? ทีนี้ไม่บอกลาไง ไม่บอกลาไปเอง เป็นอาบัติ แต่ถ้าได้อานิสงส์ของการจำพรรษา ไม่เป็นอาบัติ ทีนี้กิจนิมนต์ถึงไม่มีความหมายไง ทีนี้ไอ้กิจนิมนต์ เวลาโยมมานิมนต์แล้ว เราไม่รับกิจนิมนต์ เราเป็นอาบัติๆ ไม่ใช่หรอก มันอยากได้ซองขาว ไม่มีหรอก กิจนิมนต์ มานิมนต์ จะรับก็ได้ ไม่รับก็ได้ ไม่มีความจำเป็นไม่รับ

อยู่ที่บ้านตาดมาไม่มีกิจนิมนต์เลย ใครนิมนต์ไม่ได้เลย อย่างนั้นวัดที่บ้านตาดเป็นอาบัติหมดทั้งวัดเลย ด้วยความเชื่อของสังคมวัฒนธรรม ว่าพระนี่ต้องมีความเมตตา เวลาเราทำบุญกุศล เราก็อยากได้พระมาฉันข้าว ทีนี้เราก็ไปนิมนต์พระต้องมา ไม่มาพระเป็นอาบัติ กูไม่รู้ว่าศาสนาพุทธหรือว่าศาสนาผีของมึง เพราะศาสนาอย่างนั้นมันเป็นความเข้าใจของสังคม โลกเป็นใหญ่ไม่ใช่สงฆ์เป็นใหญ่

ถ้าสงฆ์เป็นใหญ่ เราบวชใหม่ๆ นะ เราเป็นพระเพิ่งบวช เราไม่รู้อะไรเลย เราไปอยู่กับครูบาอาจารย์องค์ไหนนะ ไปฉันเราไปฉันมาทั่ว ไปฉันงานเจ้างานอะไรไปเห็นมาหมด เห็นแม่งรำ กินไก่กินเป็ดกินเหล้า ไปเห็นมาหมดเพราะ โทษนะ เราอยู่กับพระมา เราธุดงค์มา พระที่ฉลาดก็เยอะ หัวหน้าที่ดี พาเราไปที่ดี บอกผิดบอกถูกเราก็เยอะ พระที่โง่ พาเราไปสมบุกสมบัน พาไปให้เขาเหยียบย่ำก็เยอะ

บางทีไปฉันนะ ไปนั่งกับพื้นนะ ให้พวกมันเดินเหยียบหัวไปเหยียบหัวมา หัวหน้าโง่ไง เกรงใจเขาไง อยากได้ลาภจากเขา ทำเฉย ไอ้เรานั่งอยู่ข้างหลังก็ อื้ม หัวหน้ากูโง่ กูก็ต้องแกล้งโง่ไปด้วย เฉย ให้เขาเหยียบไปเหยียบมา เราผ่านสังคมอย่างนี้มาเยอะ สังคมที่หัวหน้าเป็นโง่ๆ พาเราไปเผชิญภัยก็มี หัวหน้าที่ฉลาดพาไปฉันนะ

“หงบนะ อย่างนั้นผิดนะ อย่างนี้ถูกนะ อย่างนั้นไม่ดีนะ อย่างนี้..”

ท่านสอนเราก็เยอะ สงฆ์ปกครองสงฆ์ ฉะนั้นสงฆ์ปกครองสงฆ์ อยู่ในสังคมสงฆ์ เรารู้เรื่องอย่างนี้แล้ว เวลาปฏิบัติ เวลาปฏิบัติยากกว่านี้อีก เวลาเราจะไปอยู่ที่ไหนนะ สังคมที่ดี เพื่อเป็นการประพฤติปฏิบัติเรานะ แล้วเวลาปฏิบัติไป ถ้าอาจารย์ไม่เป็นสอนไม่ได้ สมาธิมันยังไม่รู้เลย

แม้แต่ ถ้าคนไม่รู้จักสมาธินะ อย่างครูบาอาจารย์ หลวงตา ครูบาอาจารย์เราเป็นพระที่ดี ทำไมท่านไม่ให้พระไปไหนเลย ท่านไม่ให้มีกิจนิมนต์เลย ไม่ให้ทำงานเลย เออ ถ้าเป็นพวกเรานะ เอ๊ะ พระไม่ให้ทำงานเลย ไม่ให้ทำอะไรเลย พระมันจะฉลาดได้อย่างไร? มีแต่พระโง่ๆ น่ะสิ แต่ความจริงนะ พระของท่านนะ ไม่ให้ทำอะไรเลย ไม่ให้ทำงานเลย ให้หลับตาอย่างเดียวนะ พระของท่านกลับฉลาด

เพราะเราเที่ยวมาทั่วประเทศไทยนะ ทั่วประเทศไทยเหมือนกัน วัดแทบทุกวัดเลย บอกว่าจะสร้างพระ สร้างพระ สร้างไม่ได้ แต่วัดหลวงตานี่นะ ท่าน วัดป่าบ้านตาด เป็นการสร้างพระที่เป็นผู้นำ สร้างพระเหมือนโรงเรียนฝึกหัดครู ราชภัฏ เพื่อให้ออกไปเป็นครูสอนเด็ก ที่วัดป่าบ้านตาด ท่านจะฝึกพระให้เข้มแข็ง แล้วพระให้ยืนบนขาตัวเองได้ แล้วพระองค์นี้ไปอยู่ที่ไหนก็ได้ แล้วพระองค์นั้นจะสอนตัวเองได้แล้ว สอนคนอื่นได้ด้วย

แต่พระที่อื่นนะ ส่วนใหญ่แล้วนะ ถ้าหัวหน้าพาทำก็ทำตาม ถ้าหัวหน้าไม่อยู่นะเราก็ร้อง มอๆ มันตัดสินไม่ถูกเหมือนกันล่ะ นี่ไง คนมองมุมกลับหมดนะ โลกกับธรรมมองต่างกัน แต่ว่าที่อื่นนะ อุ๊ย จะสร้างผู้นำนะ จะสร้างพระวิปัสสนาจารย์ โอ๊ย เป็นรุ่นๆๆๆ เลย วิปัสสนาจารย์ สอนแล้วจะไปสอนคนอื่น มึงสอนตัวเองได้หรือเปล่า?

พระวิปัสสนาจารย์ มึงรู้ไหมสมาธิเป็นอย่างไร? มึงเคยทำใจมึงให้สงบไหม? แล้วบอกความสงบ พุทโธไม่ต้องทำใช้ปัญญา ใช้ปัญญา ปัญญาวิปัสสนา วิปัสสนาด้วยปัญญาไปเลย คิดแบบโลกๆ ไง ก็เราคิดทางวิชาการใช่ไหม? คนที่มีปฏิภาณไหวพริบ คนนี้มีสมอง คนนี้คิดเก่ง คนนี้มีปฏิภาณเก่ง คนนั้นมีปัญญาใช่ไหม?

อันนี้มันเป็นโลกียะปัญญา ปัญญากิเลส ปัญญาเอาไฟมาเผาตัว อยากรวย อยากใหญ่ อยากมีปัญญามาก อยากได้ด็อกเตอร์ อยากได้ศาสตราจารย์ทางวิชาการ ทำเกือบตาย ได้กระดาษมาแผ่นหนึ่ง ได้เป็นด็อกเตอร์ ยังไม่รู้จะไปทำอะไรกินเลย โง่ฉิบหาย นี่ไงโลกียปัญญา ปัญญาวิชาชีพ ทำศาสตราจารย์กันนะ ทำวิชาการนะ เสนอแล้วเสนออีกนะ เอากระดาษแผ่นหนึ่ง ได้ประกาศนียบัตรมาใบหนึ่งมาแขวนไว้บ้าน

แล้วทุกข์สุขยังไม่รู้ ยังไม่รู้ แต่ถ้ามานั่งหลับตา เห็นไหม เรานั่งหลับตา นั่งพุทโธๆ มันเป็นความสุขความทุกข์ในใจเรา มันจะเป็นโลกุตตรปัญญา ปัญญาของพระพุทธเจ้า ปัญญาของการภาวนามยปัญญา ปัญญาที่การชำระกิเลส มันไม่ใช่ปัญญาที่เราจะไปเถียงกัน มึงชนะมึงแพ้กูหรอก มึงเถียงกับกิเลสมึง ถ้าจิตสงบคือเถียงกับกิเลส เอากิเลสอยู่ในอำนาจของตัว พุทโธๆ มีสตินี่ มันเถียงกับกิเลสจนกิเลสมันยอมแพ้

พอกิเลสยอมแพ้นะ โอ้ ว่าง โล่ง ไม่มีกระดาษนะ ไม่มีใครรับรอง มันเป็นสันทิฎฐิโก มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสัจธรรม สัจธรรมที่เกิดขึ้นมาจากหัวใจ แล้วหัวใจมันมีสัจธรรม หัวใจที่มันรู้จริงขึ้นมา หัวใจนี่มันไม่รู้จักสมาธิเหรอ แล้วสมาธิที่มันเกิดขึ้นมาอย่างนี้ สมาธิมันเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นมาจากอะไร? เกิดขึ้นมาจากภาวะแวดล้อม

ภาวะแวดล้อมในวัด วัดที่เขาอยู่กันอย่างไร? วัดที่เขาอยู่กันด้วยความสงบ วัดที่เขามีศีลปฏิบัติ วัดที่เขาออกบิณฑบาต เขามีข้อวัตรของเขา เพราะเขารักษาหัวใจของเขา เขารักษาการเคลื่อนไหวของจิต รักษาการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไปของจิตอยู่ตลอดเวลา พอรักษาการเคลื่อนไหวของจิตอยู่ตลอดเวลา เวลาไปนั่งสมาธิขึ้นมามันก็ง่ายขึ้นมา ผู้นำเขาต้อง.. ตั้งแต่

หลวงตาท่านบอกอย่างนี้นะ ท่านไปวัดไหนนะ ท่านรู้เลย พระในวัดนั้นดีหรือไม่ดี ดูแค่ศาลา ดูแค่วัด รถวิ่งเข้าไปในวัด รู้เลย เออ เฮ้ย พระวัดนี้มีวัตรอยู่เว้ย เพราะอะไร? เพราะเขาเก็บกวาดสะอาดเรียบร้อย ศาลาดูเป็นที่เป็นทาง ถ้าเข้าไปในวัดนะ ยิ่งกว่าตลาดนะ วัดนี้ไม่มีพระ มีแต่คนหัวโล้นห่มผ้าเหลือง พระไม่มี เพราะมันไม่รู้จักข้อวัตรปฏิบัติของมัน มันไม่รู้ถึงหน้าที่ของมัน เข้าวัดไปมันก็รู้แล้ว คนที่มี คนที่ปฏิบัติ มันอยู่ตรงนี้ เพราะถ้าใครจะปฏิบัตินะ

คิดดูสิ เอ็งไปนั่งสมาธิแล้วเขาคุยกันลั่น เอ็งนั่งได้ไหม? เวลาเรานั่งสมาธิกันนะ ใครมาทำเสียงดังให้เรา เราก็รำคาญ เราก็หนวกหูพอแรงแล้ว แล้ววัดที่พระเขาประพฤติปฏิบัติกันมา เขาต้องการสงวนรักษาสิ่งนี้ แล้วเวลาโยมเข้ามา ก็อยากให้วัดเป็นตลาด แล้วตัวเองก็ติดว่าวัดคือตลาด แล้วเข้าวัดมาก็จะเอาแบบตลาดเข้ามา แล้วเข้ามาแล้วพระไม่รับก็จะไปเพ่งโทษพระไง แล้วบอกอย่างนี้ทำศรัทธาให้ตกร่วง ไม่ตกหรอก

เพียงแต่พระที่เขามีวุฒิภาวะเขาจะสอน ให้พวกเรานี่เจริญขึ้นดีขึ้น คำว่าเจริญขึ้นดีขึ้น เจริญขึ้นดีขึ้น ที่หัวใจมันรู้จักตัวมันเอง รู้จักพัฒนาขึ้น พอหัวใจพัฒนาขึ้น เห็นไหม มัน คนเราดีขึ้น คนเราเป็นคนดีนะ เครื่องใช้ไม้สอยเราจะสะอาดเรียบร้อยหมดเลย คนเราหัวใจไม่ดี เครื่องใช้ไม้สอย มันปล่อยอีเหละเขะขะตามธรรมชาติ

ถ้าคนเรานะ ถ้ามันเป็นคนที่ดี เครื่องใช้ไม้สอยมันจะสะอาด มันจะเก็บดี ดูอย่างคนเสียสติ คนบ้าสิ ดูเขาใส่เสื้อผ้าสิ ฝุ่นหนาเป็นคืบ โอ๊ย ฝุ่นหนาเป็นคืบยังไม่เป็นไรเลย สะอาด เรียบร้อย แล้วพูดประสาเรานะ นิพพานไง มันปล่อยวางได้ไง นิพพานของโลก มันเป็นนิพพานอย่างนั้น นิพพานแบบว่าพะรุงพะรังทั้งตัว นิพพาน ปล่อยวาง ไม่ติดอะไรเลยนะ นั่นไง นิพพาน

เดี๋ยวนี้นิพพานเป็นอย่างนั้นหมด ไม่มีเหตุไม่มีผล แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรานะ ทำความสงบอย่างไร? ใช้ปัญญาอย่างไร? วิปัสสนาอย่างไร? เอาชนะกิเลสอย่างไร? ฆ่ากิเลสอย่างไร? เป็นชั้นๆ เข้าไป แล้วพอมันสิ้นกิเลสนะ สติสัมปชัญญะพร้อมสมบูรณ์ ทุกอย่างอัตโนมัติหมดเลย นั่นนิพพานของ นิพพานจริง นิพพานจริงๆ นะ มันมีความรู้ มันมีของมันจริง

องค์กร เห็นไหม องค์กรที่มันเข้มแข็งขึ้นมา ดูนะ ดูนี่ แล้วโลก เราจะบอกว่าโลก เวลามองธรรม มองโดยโลกก็คิดแบบโลก แล้วคิดโดยโลกหมด แม้แต่พระนะ พระที่ยังไม่ปฏิบัติ ยังไม่ได้ถึงเหตุถึงผลก็มองในโลก คำว่ามองในโลกนะ มันก็มองไม่ออกว่า เราจะไม่อยากพูดคำนี้เลย แต่นี่มันเป็นบุคลาธิษฐานเปรียบเทียบ ว่าวิมุตติกับสมมุติมันซ้อนกันอยู่ จะว่าซ้อนกันอยู่ จะว่าวิมุตติโดนซ้อนอยู่ ไม่ได้ เพราะมัน..

ถ้ามันซ้อนอยู่ มันต้องมีจริงสิ มันต้องเป็นโดยธรรมชาติสิ แต่นี่มันมีฐาน จิตที่มันจะเป็นวิมุตติได้ แต่มันยังไม่เป็นวิมุตติหรอก ฉะนั้นวิมุตติมันยังไม่มีในเราหรอก เรามีแต่สมมุติไง อย่างเช่นโบสถ์ อย่างนี้ เห็นไหม เวลาแล้วที่อื่นเขาบอกว่า ศาสนสถานของเขาคือที่อยู่ของพระเจ้า ที่อยู่ของพระเจ้า ตายตัวใช่ไหม?

อย่างโบสถ์ของเรา โบสถ์ของเรา เห็นไหม โบสถ์ของเราเป็นที่ทำวัตรสวดมนต์ตอนเย็น เป็นที่ภาวนาของญาติโยมที่ไปภาวนาในโบสถ์ก็ได้ เป็นที่บวชพระ เป็นที่บวชพระนี่สมมุติ เรื่องโลก สมมุติบวชพระออกมา แต่บวชออกมาแล้ว บวชออกมาแล้วเป็นพระหรือยัง เป็นพระโดยสมมุติไง แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา วิมุตติมันจะมีเอง โบสถ์นี่เป็นสมมุติ เราถึงบอกพระพุทธเจ้านี่ฉลาดมาก

ถ้าไม่มีโบสถ์ ไม่มีโบสถ์นะ โบสถ์นี่คือวิสุงคามสีมา เป็นที่ทำสังฆกรรมของสงฆ์ แล้วเวลาเราคิดทางโลกว่า พอวิสุงคามสีมา ไปขอวิสุงคาม วิสุงคามนี่ ตั้งแต่ผิวหนังยันไปลึกในโลก ก็ว่ากันไป นี่มันเป็นธรรมวินัยนะ ในศาสนาพุทธเรา ถ้าวิสุงคามสีมา ใครจะมาเวนคืนไม่ได้ ใครทำอะไรไม่ได้เลย ต้องออกกฎหมาย ออกกฎหมายอย่างเดียว นี่เป็นกฎหมาย

ศาสนาพุทธนี่เป็นศาสนาประจำชาติ มันมีกฎหมายตรงนี้ แล้วถ้าเป็นกฎหมายตรงนี้ ที่วิสุงคาม เวน เอาคืนไม่ได้ ถ้าจะเวนคืนได้ ต้องออกกฎหมายเฉพาะ นี่พูดถึงมองทางโลกไง มันขลังนะ โอ้ นั่นวิสุงคามสีมานะ เป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า ใครเอาคืนไม่ได้ ไม่ได้เลย มันขลังตามทางวินัยไง แต่ถ้าความจริง เวลาบวช วิมุตติมันอยู่ที่ใจ มันไม่ได้อยู่ที่โบสถ์ แต่คนเราไปบวชในโบสถ์ใช่ไหม? บวชออกมาเป็นสมมุติ เป็นสมมุติ เห็นไหม

เริ่มต้น พระที่ดี พระที่เป็น ที่มีคุณธรรม เขาจะมอง เขาจะรู้จักที่มาที่ไปไง ที่มาจากเริ่มต้นของมนุษย์ เราเกิดเป็นคน เราเกิดเป็นคนขึ้นมานี่ จิตมันมาเกิดมันไม่มีใครเห็น นี่ไม่มีใครเห็น พระพุทธเจ้าจะให้เห็นตรงนี้ ให้เห็นตรงนี้ก็ให้ทำสมาธิ ถ้าใครทำสมาธิขึ้นมา จะรู้จักจิตของเรา จะเห็นตัวของเรา แล้วตัวจิตตัวนี้มาแก้ไข พอมาแก้ไขนะ มาแก้ไข ที่ว่าเป็นไม่เป็นมันอยู่ตรงนี้

คนถ้าเป็นนะ คำว่าเป็นหมายถึงว่ามันรู้จักแยกถูกแยกผิด ถ้าคนเขาว่าภาวนาเป็นแล้วนะ มันเห็นผิดเห็นถูก คนเรามันเห็นผิดเห็นถูก มันจะเผลอบ้าง แต่ แต่ถ้าสติปั๊บมันจะรู้ถูกรู้ผิด คือแบบว่ามีจุดยืนที่เดินไปได้ว่าอย่างนั้นเถอะ คนภาวนาเป็นนะ ถ้าไม่มีใครสอนเลยนะ ก็สามารถเอาตัวรอดได้แล้ว คือว่ามันเดินทางถูกแล้ว มันสามารถช่วยเหลือตัวเองไปได้

แต่คนภาวนายังไม่เป็น มันเหมือนแยกถูก แยกผิดยังไม่ถูก ถ้าแยกผิดแยกถูกยังไม่ถูก มันแยกแล้วคือแยกมั่ว แยกมั่วมันก็ไปแบบมั่วๆ แต่ถ้ามันเป็นนะ มันแยกถูกแยกผิดถูก ถ้าแยกผิดแยกถูกถูก มันก็ยังผิดอยู่ เพราะมันยังไม่ถึงที่สุด คำว่าภาวนาเป็น แต่ยังไม่ถึงที่สุด คือยังไม่เป็นพระโสดาบัน แต่ถ้าเป็นพระโสดาบันนะ ตายตัวแล้ว

ทีนี้พอมันไป ไอ้ตรงแยกผิดแยกถูก ทีนี้แยกผิดแยกถูก เพราะอะไร? เพราะมันมีมิจฉากับกับสัมมาใช่ไหม? มิจฉาคือผิดสัมมาคือถูก ทีนี้แยกผิดแยกถูกนี่ เพราะสติเราไม่ดี หรือมุมมองเราผิดพลาด เห็นไหม เราจะบอกว่าแยกถูกแยกผิดถูกถูก แต่บางทีเรายังทำไม่ถูก เพราะว่าสติมันอ่อน สมาธิมันอ่อน มันเป็นไปได้ธรรมดา

ทีนี้ภาวนาเป็น มันพอก้าวเดินไปได้แล้ว นี่ครูบาอาจารย์ถึงว่าภาวนาเป็นไม่เป็น ท่านบอก เวลาครูบาอาจารย์ท่านจะพูดกัน นี่ภาวนาเป็นแล้วนะ ดูอย่างที่หลวงตาท่านพูด หลวงปู่เจี๊ยะท่านเล่าให้ฟังไง ว่าหลวงตาบอกไง บอกกับหลวงปู่เจี๊ยะ บอกว่าหลวงปู่บัวนี่พิจารณา พิจารณากาย การพิจารณากาย ขุดลอกกาย เก่งมาก เห็นไหม มันไปของมันได้

ทีนี้ไปได้แล้ว มันอยู่ที่วาสนา วาสนาของเราถ้าเข้มแข็ง เรามีความสนใจดี เราแก้ไขของเราดี มันจะประสบความสำเร็จเร็ว แต่ถ้าพูดถึง เราภาวนาได้แล้ว เราภาวนาเป็นแล้ว แต่มันต้องใช้เวลาระยะยาว หมายถึงว่าทำแล้ว มันยังสงสัยอยู่

ทำแล้วก็ มันจะจริงหรือไม่จริง คือว่าตัวเองปัญญาเยอะ ตัวเองน่ะขี้สงสัยมาก มันก็ต้องรื้อค้น ดูแล พิจารณา ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ แต่ผลจบเหมือนกันนะ ผลจบเหมือนกัน แต่ระยะก้าวเดิน ระยะการกระทำมันต่างกัน นี่พูดถึงการปฏิบัติข้างใน ถ้าปฏิบัติข้างในมันเห็นผิดเห็นถูก เห็นผิดเห็นถูกจากสังคม จากธรรมวินัยที่เราอยู่กันเป็นสังคม แล้วสังคมนี่มันจะเกื้อ มันจะเอื้อหนุนกัน ถ้าครูบาอาจารย์ที่ดี สังคมที่ดี มันจะเอื้อในการภาวนา

แล้วการภาวนานั้นน่ะ เรามั่นใจได้ว่าเราภาวนาแล้ว จะไม่มีใครเพ่งโทษ จะไม่มีใคร ประสาโลกนะ ไม่มีใครมาทำให้เราเสียเวลา แต่ถ้ามันไม่เอื้อต่อกันนะ เวลาภาวนาไปมันก็จะมีการเกาะ เกาะแกะอะไรกันมันก็ อันนี้มันอยู่ที่หัวหน้า มันอยู่ที่เวรกรรมด้วยนะ เวรกรรมที่เราเจอหมู่คณะดี สังคมที่ดี อันนี้พูดถึงความเอื้อจากข้างนอกนะ

แล้วถ้าความเอื้อจากข้างใน มีครูมีอาจารย์ หลวงตาท่านบอกนะ ถ้าหลวงปู่มั่นไม่นิพพานไปก่อนนะ เวลาธรรม เวลาแสดงธรรมให้ฟัง ธรรมะมาเตือน แสงสว่างที่รู้ว่าสว่างไสวนี่มันเกิดจากจุดละต่อม ท่านบอกถ้าท่านไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นชี้ ผลัวะ! เดียว

ทำไมต้องไปหาหลวงปู่มั่นล่ะ? พอธรรมมันเกิดขึ้นมาแล้ว ถ้าธรรมไม่เกิด ถ้าธรรมนี้ไม่มาเตือนนะ เวลาไปหาครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ก็ต้องพยายามพูดให้สติ ให้เราฉงนสนเท่ห์ ให้เราเข้ามาหาธรรมที่มาเตือน เพราะหาธรรมที่มาเตือนคือหาโจทย์ หาจำเลย ถ้าได้จำเลยแล้วนี่ พอธรรมมาเตือน เห็นไหม เตือนบอกว่า “แสงสว่างทั้งหมด มันมาจากจุดละต่อมนะ” ได้จำเลยแล้ว

ขนาดได้จำเลยแล้วยังสอบสวนจำเลยไม่เป็นนะ ถ้าหลวงปู่มั่นอยู่นะ ไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า “นั่นไง ก็จำเลยอยู่ที่นั่น จุดละต่อมเป็นจำเลยใช่ไหม? ก็ซักมันเข้าไปตรงนั้น ตรงนั้นทีเดียวก็จบ ท่านบอกถ้าหลวงปู่มั่นอยู่นะ ท่านไปหาหลวงปู่มั่น วันนั้นต้องสำเร็จเลย แต่เพราะหลวงปู่มั่นไม่อยู่ ต้องหาเอง ทั้งๆ ที่จับจำเลยได้นะ ธรรมะนี่มัดจำเลยมาให้เลย

ธรรมะมาเตือน คือว่าแสงสว่างทั้งหมดที่เห็นสว่างอยู่นั้นน่ะ มันมาจากจุดละต่อม เอาจำเลยใส่กุญแจมือมาเลย มายื่นให้เลยนะ นี่จุดละต่อม ยังแก้ไม่ถูกนะ เราบอกว่าถ้าการภาวนาข้างใน มีครูมีอาจารย์ คำพูดคำเดียวของผู้ปฏิบัตินี่นะ อาจารย์ที่เป็นฟังรู้หมด แต่ท่านจะตอบนี่นะ ตอบด้วยการให้เรามีความสะดุ้งใจ ตอบด้วยเหตุด้วยผล

การตอบนี่นะ มันทำให้คน ผู้ที่รับฟังไขว้เขวไปคนละทางได้เลย มันต้องตอบแบบว่า ประสาเรา เวลาตอบเห็นไหม ตอบว่าเราจะเริ่มต้นทำอย่างไร? เช่นอย่างว่าเราจะจับปลาๆ ปลาคือกิเลส เราจะจับปลา เราจะบอกว่าเอาเบ็ดไปตกปลา ไปตัดไม้มาสานเป็นสุ่ม ไปสุ่มปลา ไปตัดไม้มา แล้วไม้นี่ไม้นี่นะ เราก็เอาไม้นี่มาสุ่มเป็นลอบเป็นไซไปดักปลา เราจะเอาอวนเอาแหไปดักปลา อ้าว จะตอบอย่างไร?

นี่มันอยู่ที่พื้นที่ไง ถ้าเป็นเด็กในตลาดใช่ไหม ก็ต้องไปเอาแห ไปซื้ออวน เห็นไหม ถ้าเด็กอยู่ในป่า แล้วมึงไปซื้อที่ไหน บ้านมึงมีแต่ไม้ไผ่ ใช่ไหม มึงก็ตัดไผ่นะๆๆ เหลานะ การตอบ มันจะตอบเริ่มจากตรงไหน ต้องดูนิสัย ดูจริต ดูว่ามันควรจะเป็นอย่างไร? แล้วจับปลา จับปลามาได้แล้วนะ

จับปลามาแล้วนะ ถ้าเป็นคน เด็กมันดีเกินไปนะ จับปลาแล้วเอาปลาไปปล่อยนะ เสร็จอีก เฮ้ย เขาไม่ให้จับปลาไปปล่อย ไอ้นี่ ทำไปทำบุญนะ ไอ้นี่ เด็กไม่รู้ขึ้นมา ก็จับปลาแล้วไปปล่อย พอจิตมันสงบแล้ว โอ๊ย พิจารณาแล้วปล่อยวาง ว่าง มันจับปลาไปปล่อย ปลาแม่งลงน้ำไปเลย จับปลามาแล้วนะ มึงจะเอาปลาไปขัง จะเอาปลาไปทำอาหาร มึงจะเอาไป.. โอ้ จริตนิสัยนะ

พูดนี่เหมือนตลก แต่ความจริงมันตลกกว่านี้หลายเท่า ความจริงนะ ความจริงของจิตนี่มันตลกกว่านี้เยอะนัก มันดิ้นมันรนนะ มันแถนะ แล้วบางทีนะ ไม่ได้ทำอะไรเลย เขาบอกว่าใช่ ว่าใช่น่ะ มันตลกกว่านี้นะ เราฟังนี่ว่าตลก เพราะเราพูดถึงข้อเท็จจริง แต่เวลาเราเป็นไม่รู้หรอก

เวลาเป็น “อาจารย์ลำเอียง อาจารย์ไม่ยอมรับ อาจารย์ไม่ยอมรับสักที แหม ก็จับปลามาให้ดูทุกที” ก็ปลามึงปลาพลาสติก ปลามึงน่ะมันไม่ดิ้น ปลาเขามีชีวิตนะ มันอยู่ในน้ำมันดิ้นนะ ไอ้ของมึงน่ะ มันปลาพลาสติก ปลาตะเพียนเด็กเล่น เอาแขวนไว้เป็นพวง นี่อาจารย์ปลา อาจารย์ปลา เออ กูก็ว่าปลา เขาสมมุติว่าปลา แต่ไม่ใช่ปลา

เขาสมมุติว่าปลาให้เด็กมันเล่นแก้ร้องไห้มันไม่ใช่ปลาจริงๆ นะมึง ปลาจริงๆ นี่เวลาภาวนามา เพราะเราไปศึกษามามากไง เราไปเรียนตามตำรามามาก เป็นสมาธิแล้ว ว่างๆ โอ๊ย จับแล้วกลายเป็นอย่างนั้นๆ ปลาพลาสติกทั้งนั้น ถ้าปลาจริงนะมันจับมาอย่างนั้นไม่ได้ ปลาจริงมันมีชีวิต จับไม่ดีปลาช่อนลงน้ำมันลื่น หลุดมือไปเลย อันนี้มันปลาตาย มันเป็นปลาพลาสติก มันถือมาอวดมึงได้

ถ้าปลาจริงๆ นะ มันจับอยู่นี่ เมือกมันลื่น มันปิ๊ด หลุดมือไปเลย มึงจะเอาปลาอะไรมาให้กูดู ถ้าจับปลาได้นะ ปลาจริงกับปลาไม่มีชีวิต ปลาตาย ปลาพลาสติก มันคนละปลาเว้ย แต่เขาสมมุติว่าปลาเหมือนกัน นี่เวลามา เวลาลูกศิษย์มาน่ะ จริงๆ นะ คำพูดนี่มันบอกหมด แต่ลูกศิษย์จะบอกเลย

“หลวงพ่อนี่ลำเอียง ถ้ารักคนไหนก็ว่าคนนั้นใช่ ถ้าไม่รักก็ว่าไม่ใช่” อืม ก็นั่นก็มึงคิดน่ะ มันจะลำเอียงกับใคร เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะเดี๋ยวเราก็ตายแล้ว เราจะรักใครไม่รักใครก็ชีวิตเขานะ ชีวิตของคนๆ นั้น เราจะรักใคร เราจะดูแลใคร เราจะช่วยเหลือใครก็ชีวิตของเขา เราก็คือเรา เราอยู่ด้วยกันเป็นสังคมนะ เรามาเจอกันเหมือนสวะ ผลของวัฏฏะ เรามาเจอกันแล้วเราก็จะแยกกันไป เรามาเจอกันอยู่ชั่วคราว ผลของวัฏฏะ

เกิดมาแล้วก็มาเจอกันมาสัมพันธ์กัน เราจะเอาประโยชน์จากกันได้มากได้น้อยแค่ไหน แล้วเดี๋ยวเราก็ต้องแยกจากกันไป ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด อย่างเช่นการพูดกันอยู่นี่ สิ้นสุดพอเราจบแล้วก็ต่างคนต่างไป อยู่ที่อยู่ของตัว ก็กลับกันไป อันนี้แค่ชั่วคราว แต่จริงๆ แล้ว ถึงที่สุดแล้ว จิตก็ต้องจากกันไปโดยของจริง ไปตามบุญตามกรรมของจิตดวงนั้น แต่ถ้าจิตดวงนี้ เห็นไหม เราพูดเรื่องศาสนา แล้วองค์กรของเรานะให้เข้มแข็ง

เวลาองค์กรของเราเข้มแข็ง มีสังฆะ มีสงฆ์ที่ปกครองกัน ถ้ามันเข้มแข็ง แต่มันเข้มแข็งเป็นคราวเป็นกาลเพราะคนที่มีบุญนะ เวลาครูบาอาจารย์หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ เห็นไหม เวลาถ้าเกิดอธิกรณ์ที่ไหน ถ้าท่านไปตัดสินแล้วจะไม่มีใครกล้า ไม่มีใครกล้าฟื้นอธิกรณ์นั้นเลย เพราะท่านตัดสินด้วยสัจจะ ด้วยเหตุด้วยผล มันเถียงด้วยเหตุด้วยผลไม่ขึ้น

แต่ถ้าหลวงตานะ ท่านไปตัดสินที่ไหน เหตุผลมันไม่เหนือเขานะ รับประกันได้ว่าเอาเขาไม่อยู่หรอก อันนี้ก็เหมือนกันเราบอกว่าที่หลวงตาท่านไปตัดสินอธิกรณ์ทั้งหมด เพราะท่านมีคุณธรรมในหัวใจของท่าน ท่านพูดด้วยความจริงของท่าน คนเถียงไม่ขึ้น มันก็ดูเรียบร้อยดี แต่มันเรียบร้อยเพราะอะไร? เพราะมันเป็นบุญ เป็นบุญ เป็นบุญญาธิการของหลวงตา ท่านมีบุญครอบงำไว้ สังคมถึงได้ร่มเย็นเป็นสุขนะ เพราะคนมีบุญมาเกิด

อย่าคิดว่าสังคมมันจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป เห็นว่าคนอื่นทำได้ เราจึงทำได้ อย่าคิด อย่าคิดนะ อย่าคิดว่าเราจะมีความสามารถให้คนนับถือ ให้คนเชื่อฟังเราได้มากได้น้อยแค่ไหน ความที่เขาเชื่อฟังเราได้มากได้น้อยแค่ไหน นั่นสายบุญสายกรรม เห็นไหม สังคม ถ้าองค์กรมันเข้มแข็ง องค์กรเข้มแข็งศึกจากภายนอกมาไม่มีความหมายเลย

แต่องค์กรของเราอ่อนแอนะ ศึกจากภายนอกมานะ เห็นไหม ศึกจากภายนอก ถ้าเป็นการปฏิบัติ ศึกจากภายนอกคือสิ่งแวดล้อม องค์กรของเราคือหัวใจของเรา คือความรู้สึกตามความเป็นจริงในหัวใจของเรา เห็นไหม องค์กรของเราเข้มแข็ง ข้างนอกเข้ามานะ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันอยู่ข้างนอก มันเข้ามาทำอะไรเราไม่ได้หรอก

แต่ถ้าองค์กรข้างในเราอ่อนแอ มันเข้ามาทำลายเราได้สบายเลย รูป รส กลิ่น เสียง ติฉินนินทา มันจะเข้ามาในหัวใจเรา ทำลายหัวใจเรา หมดเลย ทำลายหมดเลย เห็นไหม องค์กรของเราต้องเข้มแข็ง สติปัญญาของเราเข้มแข็ง ปัญญาของเราเข้มแข็ง แล้วฝึกนะ ของอย่างนี้ฝึกได้ พูดถึง ฟังมาตลอด เรามองมาตลอด มองเรื่องนี้มาตลอด

อย่างที่พูดเมื่อวาน เห็นไหม เวลาเขามาพูดถึง เขามา เขามีการศึกษา แล้วบังเอิญ ลูกศิษย์มาที่นี่ แล้วเขาไปบอกกันมา เขาไปขอร้องเพื่อนๆ เขามา เพื่อนๆ เขาเรียนปริญญาเอกหมด จบปริญญาเอกมาด้วยกันหมด จบจากมหาจุฬาฯ แล้วพอมาก็พูดกับเราคำเดียวๆ เราก็พูดกับเขาอย่างนี้แหละ เขาก็บอก เขาพูด เรายังคิด แต่เรามาคิดมุมกลับ มุมกลับหมายถึงว่าเขาอาจจะรู้แต่เขาอาจจะลองภูมิเรา

เขาบอกเมื่อไหร่ชาวพุทธจะรวย? ชาวพุทธจะมีความสุขไง เราก็บอกรวยคืออะไร? บุญคืออะไร? เราย้อนกลับเลย มึงไปทำวิจัยเรื่องบุญก่อน ด็อกเตอร์ เพราะด็อกเตอร์ทั้งหมดเลย มึงทำวิจัยเรื่องบุญ มึงรู้จักบุญหรือเปล่า? มันพูดแบบว่าถ้าน้อยใจก็น้อยใจว่าด็อกเตอร์ยังไม่เข้าใจเรื่องบุญเรื่องบาป นี่มึงด็อกเตอร์อะไรของมึงวะ?

มันบอกว่าบุญก็คือสิ่งที่ประสบความสำเร็จไง เราบอกมึงไปวิจัยเรื่องบุญก่อน กับโยมนี่ เทศน์ให้โยมฟังก็อีกอย่างหนึ่ง นี่จบด็อกเตอร์ทางพุทธศาสน์ แล้วมาไม่ใช่มาคนเดียว มาเป็นกลุ่มเลย เราถึงมองไง ว่าถ้าปัญญาชนในสังคมของพุทธเราอย่างนี้ แล้วมันจะเอาพุทธศาสนาเราไปทางไหน เราถึงเล่นแรงนะ แต่แรงประสาเรา แรงคำเดียว หัก! หักคอไก่ลูกเดียวเลย เป๊าะๆ คำไหนมาก็หักๆ หักแล้วอธิบายๆ เพราะเราไม่ใช่เจอชุดนี้ชุดแรก เราเจอมาเยอะมาก

แต่มันเป็นเวลาไง เวลาเจอพวกเรา คุยกับพวกเรา แล้วนักธรรมะนี่มันต้องปูพื้น พูดต้องเป็นร้อยๆ คำ เพื่อความหมายอันเดียว แต่ของเขานี่พูดคำเดียว หักเป๊าะๆ เลย ถือว่ารู้อยู่แล้ว อย่างเช่นหลวงปู่มั่นเวลาเทศน์ ถือว่าพระมีศีลอยู่แล้ว ศีลไม่ต้องเทศน์ ถึงความสงบเลย แต่ถ้าไปที่อื่นนะ ศีลห้า ศีลห้าหมายความว่าอย่างนั้นๆ ครึ่งวันนะ นั่งหลับ ยังไม่รู้ว่าทำอย่างไรเลย

แต่ของเราถือว่าพื้นฐานพวกเราชาวพุทธ ศีลห้าเป็นพื้นฐานของพวกเราชาวพุทธอยู่แล้ว พอมาก็พูดถึงทำความสงบของใจ แล้วทำไม่ได้ ทำอย่างไร? ตั้งสติอย่างไร? สู้มันอย่างไร? ทำอย่างไรให้ถึงที่สุดให้ได้ พอจิตมันสงบแล้ว ถ้าไม่สงบเราใช้ปัญญาใคร่ครวญมัน แบบถือศีล ต้องใช้ปัญญาเลย ทำสมาธิต้องใช้ปัญญา ปัญญาอย่างนั้นเป็นปัญญาเพื่อสมาธิ ไม่ใช่ปัญญาวิปัสสนา

ปัญญาอบรมสมาธิใช้ปัญญาไป ไม่ใช่ทำสมาธิห้ามใช้ปัญญาหรือให้ใช้ปัญญา ใช้ได้ทั้งนั้น แต่เวลามันพูดมันเป็นแบ่งแยกไง ว่าโลกียปัญญากับโลกุตตรปัญญา ปัญญาที่ใช้ความคิดอยู่นี้มันเป็นโลกียปัญญา คือปัญญาจากปุถุชน ปัญญาจากกิเลส ปัญญาจากสมมุติ ปัญญาจากเริ่มต้น ปัญญาจากเรา ต้องใช้ ถ้าไม่ใช้เลย ปัญญาเอาไว้ทำไม ปัญญาเอาไว้แต่จะไปคิดโจรกรรม จะไปปล้นเขาเหรอ

เวลาปล้นเขาเวลาฉ้อฉลเขา โอ้โฮ ปัญญาลึกซึ้ง วางแผน ๓ ชั้น ๔ ชั้น เวลาเพื่อทำความสงบของใจ ปัญญาไม่ยอมใช้ ใช้ไม่ได้มันผิด แต่เวลาไปฉ้อฉล โอ้โฮ ใช้กี่ตลบไม่รู้ ปัญญาใช้ได้ทั้งหมด แต่ปัญญาใช้เพื่อความสงบไง เป็นปัญญาอบรมสมาธิ แล้วสมาธิมันเกิดขึ้นแล้ว รู้เอง เอ๊อะ! เอ๊อะ! ใช้คำว่า เอ๊อะ เลยนะ เอ๊อะ โอ้โฮ เป็นอย่างนี้เหรอ นั่นน่ะมันเป็นสมาธิแล้ว พอเป็นสมาธิแล้วมันเป็นชั่วคราว เพราะมันเป็นอนิจจัง เดี๋ยวมันก็เสื่อม

เสื่อมก็สู้อีก สู้ทำ พอมันมั่นคงขึ้นมา แล้วปัญญามันเกิดมา เราเป็นคนเทียบเลย โอ้โฮ หลวงปู่มั่นไง พิจารณากายตลอดเลย พอออกมาก็เท่าเก่า พอลาพุทธภูมิแล้ว พิจารณากาย พิจารณากายเหมือนกัน เออ อันนี้ถูกต้อง อันนี้ใช่แล้ว มันต่างกัน ทำไมท่านพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ท่านยังบอกว่าอันนี้ไม่ใช่ อันนี้ไม่ใช่

พอลาพุทธภูมิแล้วนะ ไปพิจารณาทีเดียว เออ อันนี้ใช่ ทำไมรู้ล่ะ มันคนละปัญญาไง ปัญญามันแตกต่างกันมาก ทีนี้ปัญญาที่เราเกิดๆ ขึ้นมา มันเป็นปัญญาอันเดิมนี่แหละ ก็นี่ปัญญาไง ใช้ปัญญาแล้ว ปัญญา โอ้โฮ นี่ปัญญานะ เถียงแล้วเถียงอีก ปัญญานะ ก็ปัญญา ใช่ไม่ใช่ปัญญา แต่มันเป็นโลกียะหรือโลกุตตระมึงไม่รู้ ก็มันเป็นความคิด เป็นปัญญาไง พอมันไปเจอโลกุตตรปัญญา มันจะรู้เองเลย เหมือนหลวงปู่มั่นเลย เออ เออ เออ มันคนละอัน

แต่มันขึ้นมาจากจิตเรานี่แหละ มันวิวัฒนาการขึ้นมา มันสร้างขึ้นมา มันทำขึ้นมา มันไม่ได้มาจากฟ้าหรอก แล้วไม่ต้องไปเอาแบบว่า เหมือนกับปัญญาขาวกับดำ ไม่ใช่ มันเป็นอันเดิมนี่แหละ เพียงแต่มันแยกไปนี้มันก็เป็นโลกียะ มันมีตัวตนเรา มันมีสมาธิ พอมันกลับมาที่ฐานของจิตใช่ไหม เป็นสมาธิ มันแยกไปทางนี้เห็นไหม มันก็เป็นปัญญาทางดำ ปัญญาทางขาว

ถ้าปัญญาทางขาวมีสมาธิรองรับ มันไม่มีตัวตน ไม่มีเรายึดมั่นถือมั่น ให้เราออกไปทางนี้ พิจารณากาย โอ้โฮ มันคิดแล้วมันปล่อย ถ้าพิจารณากายทางนี้ พิจารณาแล้วกายของกู เออกูก็ดี เออ พิจารณาอย่างนี้ไปแล้วมันไม่ปล่อย มันยึด ถ้าพิจารณาไปอันนี้นะ เออ เออ ไม่ใช่ของเราเนอะ ทิ้งมันได้เนอะ เออ มันต่างกันน่ะ จริงๆ นะ มันเป็นอย่างนี้จริงๆ แต่พวกเราทำไม่ถึงจุดนี้ ก็เลยแยกไม่ถูกว่าขาวกับดำ แยกไม่เป็น แต่ถ้าทำเป็นนะ มันเป็นอย่างนี้จริงๆ

ฉะนั้นพออย่างนี้ เราถึงนั่งอยู่นี่ เราถึงฟังออกไง อันนี้พูดแล้วดำๆ ทั้งนั้นเลย ดึงหูไปดำๆ ทั้งนั้นเลยล่ะ แล้วก็จะบังคับให้เชื่อด้วยนะ ใครมาก็บังคับนะ ต้องใช่ๆ อื้ม ปวดหัวเลย เราคิดอย่างนี้ ถ้าเรานะ เราสอพลอเสียหน่อยหนึ่ง เราก็จะบอกว่าใช่ แล้วโยมก็จะว่า โอ้โฮ อาจารย์ดีมากเลยทำบุญกุศลใหญ่เลยนะ

แต่ในความคิดเรานะ เราเสียใจ เสียใจคือเราไปบอกให้เขาชะล่าใจ เราไม่ได้บอกเขาให้ตื่นตัว ถ้าเราบอกเขาว่าไม่ใช่ มันต้องทำไปอีก ให้เขาตื่นตัว ให้เขาไม่จมอยู่กับความคิดของเขา ให้เขาได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงไง เราถึงยืนกระต่ายขาเดียว “เฉย” บางทีก็เฉยนะ ถ้าคนมันไม่ เออๆ เฉย เราบอก “ใช่” ไม่ได้หรอก

ถ้าบอก “ใช่” ปั๊บ เราจะได้ลาภสักการะ เราจะได้รับความนับถือจากเขา แต่เป็นการ เราทำลายลูกศิษย์เราเอง เราทำลายโอกาสของเขา เราถึงไม่ยอมรับ ทั้งๆ ที่เรายอมรับแล้ว เราจะได้ผลประโยชน์ด้วย แต่เราไม่ยอมรับ เราพยายามจะเปลี่ยนให้เขาพิจารณามาทางขาวให้ได้ แล้วพอจะเปลี่ยนให้พิจารณาทางขาวปั๊บ ก็อย่างที่ว่า “หลวงพ่อลำเอียง หลวงพ่อไม่จริง หลวงพ่อเห็นแก่ลาภ” เออ เวลาไม่รับเขานะ เขากลับว่าให้แต่คำนินทาหมดเลย กับถ้าเรารับ เราได้แต่สรรเสริญหมดเลย ทำไมเราต้องเอาตัวเราแลกล่ะ?

เราไม่ได้เห็นผลประโยชน์ใครทั้งสิ้นนะ เราเห็นผลประโยชน์ของคนถาม เราเห็นผลประโยชน์ของคนที่มาคุยกับเราน่ะ เราไม่ได้เห็นผลประโยชน์กับเราเลย เพราะเราไม่ต้องการ เราไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น แต่เราต้องการให้ผู้ที่ปฏิบัติเขาได้พัฒนาจิตของเขา แต่มาหาเรา จริงๆ นะ มันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ จริงๆ ที่ว่า มาหาเรา จะได้รับความเห็นด้วยกับเรายากมาก มีแต่คอยทิ่มๆๆ

อ้าว ก็คนเลี้ยงช้าง มันจะมีแต่ปฏักอย่างเดียว ช้างนี่มันต้องลงด้วยปฏัก ช้างนี่ไม่มีอะไรมีแต่ปฏัก มาเถอะ ล่อปั๊กๆ ต้องสะกิดให้มันรู้ตัวตลอดเวลา เพื่อพัฒนาการของเรานะ เพื่อความดีของเราเนอะ

มีอะไรอีกไหม จบ เอวัง