ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จุดยืนของจิต

๑๖ พ.ค. ๒๕๕๒

 

จุดยืนของจิต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราพูดถึงปัญหาไง เราพูดถึงการภาวนา ความจริงมันมีหนึ่งเดียว ถ้าความจริงมันมีหนึ่งเดียวนะ ถึงความจริงมันเป็นอันเดียวกัน นี้ความจริงถ้ามันหลายอัน มันจะขัดแย้งกันอย่างไร?

อันนี้เพียงแต่ว่ามันเป็นน้ำใจของครูบาอาจารย์ เวลาเราไปทำงานกัน หลวงตาท่านจะพูดบ่อยมากเลยว่า “บอกให้พวกเรารักกัน ให้หมู่คณะนี้รักกัน” อะไรในสังคมที่ท่านทำเอาไว้แล้ว ก็ให้ทำต่อไป ท่านทำไว้เป็นตัวอย่างเห็นไหม

ดูสิ ท่านบอกว่าชีวิตของท่านนั้น ท่านเสียสละเพื่อโลก เป็นคติเป็นตัวอย่าง เหมือนกับพระกัสสปะเลย พระพุทธเจ้าบอกว่า

“พระกัสสปะเอย เธอก็อายุปานเรา เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา ทำไมถึงต้องถือธุดงควัตร ทำไมต้องทุกข์ลำบากอย่างนั้น ผ้านั้นปะตั้ง ๗ ชั้น ๘ ชั้น”

จนพระพุทธเจ้าต้องขอแลกผ้าสังฆาฏิเลย นั่นแหละ พระกัสสปะบอกว่า

“ข้าพเจ้าทำเพื่อเป็นคติ ทำเพื่ออนุชนรุ่นหลังได้เป็นแบบอย่าง”

นี่ก็เหมือนกัน ในปัจจุบันนี้ ถ้าจริงๆ นะอย่างที่อยู่สุขสบาย เมื่อ ๒ วันนี้เราก็เห็น โยมเขาขอ ขอว่าจะทำที่นั่งให้สูงขึ้นมาหน่อยหนึ่งเพื่อให้หลวงตาได้นั่งสะดวกสบาย ท่านก็พูดตอบนะ ท่านบอกว่า “ขอบใจในเจตนาที่ดี ขอบใจในสิ่งที่คุณคิดเพื่อความสะดวกสบายของท่าน แต่เราขอให้เป็นเหมือนเดิมดีกว่า”

แต่เราคิดนะ โยมไม่ได้คิดกัน ความจริงมันต้องคิดออกแบบนะ ออกแบบว่าถ้านั่งแล้วเท้าอย่างนั้นปั๊บ ถ้านำอาหารเข้ามา ถ้ายกมันสูงขึ้น อาหารมันจะตักไม่ได้ ท่านบอกว่า “ขอบใจในเจตนาที่ดี แต่ขอให้เป็นแบบปกติ”

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ท่านทำเป็นคติตัวอย่าง ท่านบอกเลย บอกว่าให้พระนั้นรักกัน สิ่งใดที่ท่านทำแล้วให้ถือเป็นคติ แล้วรักษาไว้ทำไว้ ทำไว้คืออะไร? ก็คือจิตใจสาธารณะไง คือจิตใจที่เป็นสาธารณะ ที่ได้เห็นความสงบร่มเย็นของสังคม ให้มองแต่คุณงามความดีกัน อย่ามองในสิ่งที่บกพร่อง ทุกดวงใจนะมีความดีและมีความบกพร่องในจิตนะ

คนเรานะจริตนิสัยมันไม่เหมือนกันหรอก แต่ถ้ามองด้วยคุณความดีอันนั้น ทีนี้คำว่ามองด้วยความดี เราก็มองอย่างนั้น แต่เรามองลึกกว่านั้น ไม่ใช่มองลึกกว่าหลวงตานะ แต่ลึกกว่าที่สังคมมอง

คำว่าความดี ความดีคืออะไร? ความดี คือ สิ่งที่ทำคุณงามความดีกันที่เห็นกันว่าเป็นความดี ความดีนี้เป็นความดีของโลกไง ความดีของโลกกับความดีของธรรม ความดีของโลกก็คือการเมือง คือ นักการเมือง คือสิ่งที่ฉกฉวยผลประโยชน์ไง พยามยามทำความดีเพื่อให้สังคมยอมรับว่าเรามีคุณงามความดี แต่มันดีจริงหรือเปล่าไม่รู้?

ดูอย่างทางโลก ในวงราชการนั้นเขาต้องการผลงาน เขาต้องการสิ่งที่เป็นผลประโยชน์กับเขา อันนั้นคือความดีของเขา ความดีนั้นดีเพื่อผลงานของเรา ดีเพื่อตัวเราไง

ถ้าบอก หลวงตาบอกว่า ให้เรามาปฏิบัติความดีกันนะ มาทำความดีกัน มันก็ชิงดีไง แต่ถ้าเป็นความดีในศาสนาเห็นไหม ถ้าดีในศาสนา ลองดูสิศาสนาหลวงตาท่านทำเพื่อใคร? แล้วหลวงปู่ลีท่านทำเพื่อใคร? แล้วทำเพื่อใครมันคือความดีอันเดียวกัน ถ้าความดีอันเดียวกันมันก็เหมือนกัน แต่ความดีนั้นมันไม่เหมือนกัน คนมองไม่ออกแต่เรามองออก

ความดีไม่เหมือนกันมันมาจากตรงไหนรู้ไหม? มันมาจากตรงที่ใจไง มันมาจากความที่ขัดแย้งของเราก่อนไง มันมาจากผู้ที่แสดงออกนั้น มันไม่บริสุทธิ์ ถ้าผู้ที่แสดงออกบริสุทธิ์นะ ความดีจากใจที่มันบริสุทธิ์นะมันมีอันเดียว

ความดีจากใจที่บริสุทธิ์นั้นเป็นความดีแท้ หลวงปู่มั่นบอกเลยดีที่ไม่มีโทษ ความดีอย่างนั้นไม่มีโทษ คือเสียสละนี่เราทำเพื่อประโยชน์ เราจะไม่มีอะไรเลย แต่ถ้าความดีของเรานั้นมีโทษ เพราะดีคือมุมมองของเราไง ถ้ากูเห็นว่าดีถึงดี ถ้ากูเห็นว่าไม่ดีคือไม่ดี อย่างนี้มันดีของใคร?

ความดีอันนี้มันขัดแย้งกัน เพราะว่าถ้ามันเป็นความดีจริงนะ โธ่! หลวงปู่ลีท่านพูดประจำเห็นไหม เวลาที่เขาไปถามหลวงปู่ลีว่า เหตุการณ์ที่มีปัญหานี่จะให้ทำอย่างไร? หลวงปู่ลีนะท่านบอกว่า “ให้ฟังเพิ่นแม้” คือให้ฟังหลวงตาก็จบไง ง่ายๆ

ใครลองไปถามหลวงปู่ลีสิว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะให้ตัดสินใจว่าอย่างไร? ก็ฟังหัวหน้าสิ ก็ฟังหลวงตาก็จบ แล้วเวลามีคนบอกว่าให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ให้ทำในความดีของเขา ก็คือให้เอาหลวงปู่ลีมาเป็นประธาน เอาหลวงปู่ลีนั้นมาเป็นหลัก แล้วจะให้ทำอะไรตามความเห็นตามความดีอย่างที่เขาคิด

ความดีอย่างที่เขาคิดก็คือว่า ผลของการกระทำต้องอยู่ในกลุ่มของเขา นี่กลุ่มของเขาเห็นไหม ทำอะไรแล้วนี่ ในการกระทำเขาจะรวมกลุ่มกัน แล้วความดีนั้นมีขีดในกรอบแค่นี้นะ ความดีคือเราทำกันเองห้ามคนอื่นยุ่ง ถ้าคนอื่นเข้ามาแล้วความดีมันจะกระจาย ความดีมันจะแตกไปเห็นไหม เขาก็จะขีดความดีอยู่ในกลุ่มของเขา แล้วพออยู่ในกลุ่มของเขาปั๊บ แล้วความดีในกลุ่มของเขานั้นมันก็ไม่มีดีด้วย

ไม่มีดีเพราะอะไร? เพราะในมุมมองของเขา ในหัวใจของเขามันมีอะไรกันอยู่เห็นไหม “ความดีไม่แท้” ไม่ใช่ความดีแบบที่หลวงตาบอกว่าให้ทำความดี พอไม่ใช่ความดีแท้ปั๊บ ตัวเองถ้าพูดถึงนะ ในกลุ่มของเรานะ โอ้โฮ พระของเราต้อง ๔- ๕ องค์ เป็น ๑๐ องค์อย่างนี้นะ แล้วต่างคนต่างก็มีปัญญาทั้งนั้นเลย แล้วใช้ปัญญาตัดสินกันไปแล้วว่าเป็นความดี เรายังไม่กล้าทำเห็นไหม

พอไม่กล้าทำ ก็ต้องเอาหลวงปู่ลีมาเป็นหัวหน้า ไปขอหลวงปู่ลีท่านมาเป็นหัวหน้า หลวงปู่ลีท่านบอกว่า “ไม่” หลวงปู่ลีท่านหนีตลอด ท่านบอกให้ฟังหัวหน้า “ให้ฟังเพิ่นแม้ ฟังเพิ่นแม้” คือ ให้ฟังหลวงตาว่าท่านเห็นอย่างไร? ท่านทำอย่างไร? ให้ทำตามนั้น นี่ไง แค่นี้ง่ายๆ เรามองทีเดียวทะลุหมด มันของง่ายๆ

ให้ทำตามท่าน ทำความดีเพื่อความดี ให้รักษากัน นี่ของเขา เขาทำความดีเพื่อของเขา แล้วคนอื่นเข้าไปยุ่งไม่ได้ ถ้าคนอื่นไปยุ่งมันก็จะมีปัญหา พอยุ่งไม่ได้มันก็เป็นกรรมของสัตว์ใช่ไหม? อย่างเช่น ดูง่ายๆ เลย เวลาหลวงตาท่านทำ ท่านบอกเลย ท่านไม่เคยประชุมกับใครเลย ท่านไม่เคยปรึกษาใครเลย ท่านเดินจงกรม ท่านนั่งสมาธิภาวนา ท่านปรึกษาธรรมะ คือท่านใคร่ครวญว่าสิ่งนี้ดีหรือมีอะไรขัดแย้งไหม?

แล้วพอเห็นว่าไม่มีสิ่งใดขัดแย้งแล้วท่านทำเลย อย่างเช่นโครงการที่ออกมาช่วยชาติต่างๆ นั้น ท่านบอกว่าท่านไม่ได้ปรึกษาใคร แล้วถ้าเป็นความดีของโลกนะ สิ่งที่มีปัญหา เพราะว่าเขาอยากเข้ามาเป็นกรรมการกัน เขาอยากเข้ามา

ตอนที่เริ่มต้นโครงการช่วยชาตินะ เราก็คิดว่าเริ่มต้นด้วย ๔ ตันนั้นมันจะเป็นไปได้อย่างไร? แล้วก็ ๑๐ ตันอีก แล้วพอเวลาทำงานเห็นไหม เพราะตอนกระบวนการจัดงานมันเริ่มต้นจากการที่ท่านออกมาเป็นผู้นำ แล้วก็ยังไม่มีใครเข้าไปรับตรงนี้ไง แล้วท่านตั้งเลยบอกว่า “เงินนี้พวกเราแจกต้นได้ แต่ห้ามรับตังค์”

แล้วพอไปทำงานนี่ ทุกคนพอเจอแรงเสียดสี ท่านก็ออกชน ออกชนตลอดเลย คือว่าไม่มีใครออกไปรับตอนนั้น แต่พองานมันเดินไปแล้ว คณะกรรมการมาละ ทุกคนความดีมาแล้วเพราะอะไร? เพราะมันเห็นผลงาน มันเห็นความดี ความดีของท่านนั้น ท่านไม่ปรึกษาใครเลย

ถ้าปรึกษาทุกคนจะเหนี่ยวรั้ง ทุกคนจะไปไม่รอด แต่ท่านก็นำของท่านไป ท่านก็พยายามยืนถือธงของท่านไป ท่านพาของท่านไปได้ อันนี้คือความดีที่ไม่มีโทษ เพราะอะไร? เพราะหัวใจมันสะอาดบริสุทธิ์

แล้วความดีอย่างที่ว่านี่ มันคือความดีอย่างไร? แล้วอย่างที่เขาคิด เราเห็นความขัดแย้งนะ แต่ความขัดแยงนี้มันเป็นความขัดแย้ง เพราะในหัวใจของคนมันไม่สะอาด พอหัวใจของคนไม่สะอาด มันก็เป็นธรรมชาติอย่างนั้น

พอเป็นธรรมชาติอย่างนั้น แล้วพอดีว่าพวกที่ทำนี่ มันเป็นลูกศิษย์ หรือเป็นรุ่นหนึ่ง เป็นลูกศิษย์ของหลวงตา นี้หลวงตาท่านเป็นพ่อเป็นแม่ ถึงอย่างไรพ่อแม่ก็ไม่ทำร้ายลูก ถึงอย่างไรท่านก็นิ่ง หยุดช่วยชั่วคราว เสร็จแล้วพอสุดท้าย ช่วงนี้ช่วงท้ายของชีวิตไง

เวลาที่ท่านขึ้นไปเราคิดเลย เราเห็นเลยว่าท่านเอาศักยภาพของท่านเผื่อแผ่ให้กับลูกศิษย์ลูกหา ให้ลูกศิษย์ลูกหาได้มีจุดยืน ได้เป็นที่พึ่งอาศัยของสังคมไง ได้เป็นที่พึ่งอาศัยของสังคมก็ด้วยความปรารถนาดี แต่โดยข้อเท็จจริง สังคมจะได้พึ่งอาศัยจริงหรือเปล่า? อันนี้อีกเรื่องหนึ่ง แต่ด้วยความปรารถนาดีของพ่อแม่ ความปรารถนาดีของครูบาอาจารย์ ก็ต้องการให้ศาสนาให้สังคมนี้เข้มแข็ง เป็นเรื่องธรรมดาของพ่อแม่ที่จิตใจเป็นธรรม

ทีนี้พ่อแม่ทำให้แล้ว ลูกศิษย์ลูกหาจะสามารถรับ สามารถมีจุดยืน ขับเคลื่อนให้สิ่งนี้เป็นความดีแท้ได้แค่ไหน อันนี้เป็นมุมมองของเรานะ แต่อย่างที่ว่า ลองดูสิพระเราสี่ห้าแสนองค์ แล้วสังคมทั้งโลกนั้นพระจะมีเท่าใด ทีนี้เวลาที่ขับเคลื่อนไปของพระนั้น ทุกคนก็ต้องการให้พระดีทั้งนั้น อันนี้มันก็เป็นความคิดความเห็นนะ แต่ถ้าเรื่องที่เขาคิดเรื่องที่เขามอง เขาก็มองกันอย่างนั้น

ถ้าจะมองกันอย่างนั้นมันก็เป็นเรื่องของเขาแล้ว เพราะสิ่งที่มันเห็นนั้นมันเห็นชัดเจนมาก แล้วที่เห็นชัดเจนมากมันจะมาจากไหนล่ะ? มันก็มาจากการแสดงออก มาจากความจริงไง

ถ้าเป็นความจริงนะ โธ่ มีคนมาหาเยอะมากนะเวลาที่เราพูดอะไรออกไป เขาจะเก็บไว้ เขายังไม่มีความเชื่อมั่น พอไปเจอสิ่งอะไรที่มันคล้ายกัน เขาก็จะมาบอกว่าหลวงพ่อเหมือนกันเลย เราจะพูดคำนี้ประจำนะ ถ้าเราพูดความจริง เราพูดความจริงไป ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่ตาย เพียงแต่ว่าคนจะพิสูจน์ความจริงนั้นได้เมื่อไหร่เท่านั้นเอง

ความจริงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ตาย และความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว ถ้ามึงมีความจริงในหัวใจที่เป็นความจริงแท้ ทำไมมึงไม่กล้าพูด ต้องพูดความจริงออกไป แล้วยืนตามหลักความจริงนี้ แล้วพอถึงความจริงนี้มันจะพิสูจน์ได้นะ เขาถึงจะกลับมาเห็นว่าเรานี้จริง แต่ต้องใช้เวลามาก ต้องใช้เวลาพอสมควร แล้วความจริงนั้นได้เลย เต็มที่เลย

นี้ความจริงที่มันถึงที่สุดนะ แต่ของเราพวกเรานั้นมันมีความจริงอันหนึ่ง “คือจิต” จิตนี้เป็นความจริงอันหนึ่งนะ เพราะจิตนี้มันเวียนตายเวียนเกิดนะ จิตนี้มันมีจริงแต่มันโดนอวิชชาครอบงำอยู่ แล้วเพราะเรามีครูมีอาจารย์ใช่ไหม? เรามีศาสนาใช่ไหม? เรามีที่พึ่งใช่ไหม? เราถึงพยายามจะมาทำให้ความจริงของเรานั้นให้เป็นความจริงแท้

ความจริงของเราคือความจริงครึ่งหนึ่ง ๕๐ เปอร์เซ็นต์หมายถึงจิต จิตนี้มีอยู่นะมันเวียนตายเวียนเกิดแล้วใครจะทำลายมันไม่ได้ แล้วไม่มีใครสามารถทำลายมันได้ เว้นไว้แต่เฉพาะศาสนา ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไปทำลายอวิชชา สิ่งที่เป็นพญามาร สิ่งที่มันครอบงำจิตเห็นไหม

จิต คือ ความจริงแท้ แต่โดนครอบงำไว้ด้วยมาร ไอ้ตัวมารนี้โดนครอบงำไว้ แล้วมันมีมารมีทิฐิมานะ แล้วมาศึกษาธรรม ไอ้ตัวนี้ก็จะยิ่งเกิดทิฐิมานะ เกิดความอหังการ มันสังเกตได้นะ ในโลกนี้ของเทียม ของปลอมนั้นจะดูดีกว่าของแท้นะ ของแท้นั้นไม่น่าดูเลย แต่คุณภาพจะดีมาก แต่ของปลอมนั้นมันจะดูดีมากเลย

ของปลอมคืออะไรของปลอมคืออวิชชาไง ของปลอมคือเรื่องของหัวใจนี้ไง คือเรื่องของมารนี้ไง มันอยู่ในใจแล้วไปศึกษาธรรม พวกนี้จะพูดทางวิชาการเรื่องธรรมะได้ชัดเจนมากแล้วดีมากๆ เลย ความดีเขาพูดได้สวยงามมาก แต่ความจริงไม่เป็นความจริง แต่คนที่พูดความจริงนะ คำพูดนั้นจะไม่สวยงาม แต่มันมีเนื้อธรรมมันมีความรู้สึกที่มันทิ่มกิเลส ทิ่มหัวใจนะ นี่ความจริงแท้ แล้วความจริงแท้มันเป็นที่ครูบาอาจารย์ด้วย ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีหลักจริง ท่านจะเป็นหลักของเรานะ

นี่จะถามปัญหา

ถาม :ภาวนายุบหนอ พองหนอ จิตไม่สงบจะต้องเปลี่ยนกลับมาภาวนาพุทโธหรือไม่คะ แล้วต้องกำหนดที่ลมหายใจเข้าออก พร้อมด้วยคำว่าพุทโธด้วยหรือไม่?

หลวงพ่อ :นี่แสดงว่าได้ฟังข่าวมา โดยหลักนี่สอนกันอย่างนี้ แต่ถ้าพูดถึงไม่มีครูบาอาจารย์อธิบาย โดยหลักเราก็คิดว่าโดยหลัก อย่างเช่น เขาภาวนา พุทโธ พุทโธ นั้นเห็นไหมบางคนบอกว่าพุทโธนั้นไม่เห็นมีอะไรเลย? ทำไมต้องพุทโธด้วยล่ะ? แล้วพุทโธเพื่ออะไรล่ะ?

ถ้าพูดถึงเป็นวิทยาศาสตร์ เราจะอธิบายวันหนึ่งเลยนะ เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะธรรมชาติของจิตนั้นมันปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตนั้นโดยปรัชญาการของมัน ตัวจิตเดิมแท้นั้นมันคิดเองไม่ได้ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ เห็นไหมปรัชญาการของมัน มันพร้อมกับปรัชญาการ มันเป็นทฤษฎีสัมพันธ์ความสัมพันธ์ ความเกี่ยวเนื่อง สิ่งนี้มีถึงมีสิ่งนี้ ความรู้สึกเกี่ยวพันกัน มันละเอียดมาก

ปฏิสนธิจิตก็คือตัวเกิดตัวตายไง แต่พอมาเกิดเป็นมนุษย์เห็นไหม มนุษย์มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ คำว่าธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ก็คือสัญชาตญาณไง ขันธ์ ๕ คือความรู้สึก สัญชาตญาณความรู้สึก แล้วธาตุคือร่างกาย พอเกิดมาก็มีสภาวะแบบนี้ พอมาเกิดเป็นมนุษย์เราก็ได้สถานะอย่างนี้ ความคิดของเราจึงเป็นปกติอย่างนี้

ความคิดปกติความคิดโดยสัญชาตญาณนั้นเห็นไหม พอมีสัญชาตญาณเราไปศึกษาทางวิชาการ โดยวิชาชีพของใครก็จะมีมุมมองตามวิชาชีพนั้น ทางวิชาชีพเห็นไหมเป็นสมมุติทั้งหมด เพราะอะไร? เพราะเวลาตายไปหรือเวลาคนที่ภาวนาเป็นนะ เขาจะสื่อความหมายกับพวกเทวดา อินทร์ พรหมนั้น เทวดา อินทร์ พรหมในวัฏฏะนั้นจะสื่อภาษากันโดยภาษาจิต

ภาษาจิต คือ ภาษาความรู้สึก ความนึกคิด ไม่ใช่ภาษาพูดแบบเรา นี่ภาษาพูดแบบเรา เราได้ภาษาพูดใช่ไหม? เราได้ความเป็นอย่างนี้แล้วเราอธิบายพุทโธ พุทโธ เห็นไหม เราอธิบายกันเป็นสมมุติไง เป็นภาษาของมนุษย์ไง พุทโธนี้เป็นภาษาของมนุษย์นะ เรานึกกันเอาเป็นพุทโธใช่ไหม?

ทีนี้ทำไมถึงต้องพุทโธ? เพราะถ้าเราไม่พุทโธ สัญชาตญาณ ความคิดก็จะเป็นไปตามธรรมชาติของมัน ทีนี้เราก็เลยไปกำหนดอะไรก็แล้วแต่ อย่างเช่น ยุบหนอ พองหนอ เรากำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเห็นไหม

ทีนี้การกำหนดนี้เราคิดเอาเอง ว่าการกำหนด เราคิดของเราไปเอง เราคิดแล้วเราไม่มีรากฐาน ไม่มีที่มา แต่พุทโธนั้นเป็นพุทธานุสติ พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ มันเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน พุทธานุสตินี่มา พุทธานุสติ พอเรากำหนด พุทโธ พุทโธ ให้จิตมันมีที่เกาะ จิต สัญชาตญาณเห็นไหม สัญชาตญาณที่มันคิดอยู่นี่ ถ้ามันคิดอยู่มันก็เกี่ยวเนื่องของมัน มันก็วนเวียนของมันอยู่อย่างนี้ ให้มันนึก พุทโธๆ พุทโธๆ มันก็เป็นความคิดอันหนึ่ง

พอเป็นความคิดอันหนึ่ง แต่มันพยายามยับยั้งให้พลังงานทั้งหมดมาอยู่ตรงนี้ไง ให้อยู่กับพุทโธนี่ไง แล้วพุทโธๆ พุทโธๆ พุทโธๆ มันเป็นคำบริกรรม ถึงที่สุดแล้ว พุทโธๆ พลังงานที่มันส่งออกเห็นไหม โดยธรรมชาติพลังงานที่มันส่งออก อย่างดวงอาทิตย์มันกระจายออกไปหมด ความคิดมันก็กระจายไปหมดใช่ไหม พอพุทโธๆ เรารวมมันไว้ เรารวมพลังงานนี้ไว้ พุทโธๆ พุทโธๆ จนมันเป็นพุทโธเสียเอง มันเป็นพุทโธเสียเอง

มันเป็นพุทโธเพราะพลังงานมันไม่ได้ส่งออกแล้วมันมารวมตัว จนมันเป็นตัวมันเอง พุทโธมันเป็นสัญชาตญาณใช่ไหม พอมาเป็นพุทโธเสียเองสัญชาตญาณนี้มันก็ไม่มี เพราะจิตมันไม่ออก พอจิตมันไม่ออกไปโดยสัญชาตญาณ มันอยู่ด้วยตัวมันเอง นี่สมาธิมันเกิดอย่างนี้

พอสมาธิมันเกิดอย่างนี้ ตัวสมาธิมันเกิด มันก็แบบปฏิสนธิจิตไง อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ อวิชชามันเกิดจากอะไร? มันก็เกิดจากจิต นี้พอมันเกิดจากจิต มันเป็นปัจจยาการออกไป ทีนี้พอมันพุทโธ พุทโธ จนมันเป็นตัวมันเองเห็นไหม เนี่ย พุทโธๆ

เราถึงต้องที่เขาว่า “พุทโธ” ที่เขาบอกว่า พุทโธเป็นสมถะ พุทโธมันไม่เป็นวิปัสสนา ไม่เป็นปัญญา แต่ถ้าไม่มีพุทโธเราก็เกิดเห็นไหม ไม่ได้เริ่มต้นจากจิต ไม่ได้เริ่มจากที่ของมันที่จะก้าวเดินออกไป เราถึงพุทโธ ถ้าพุทโธแล้วมัน..

“การภาวนายุบหนอพองหนอ” มันสร้างอารมณ์เห็นไหม ยุบหนอพองหนอ หรือว่า “กำหนดนามรูป” มันเป็นอาการที่เคลื่อนออกไป พออาการที่เคลื่อนออกไป ธรรมชาติ ปัจจยาการและสัญชาตญาณ สัญชาตญาณมันเป็นสัญชาตญาณที่เราได้มาในสถานะที่เป็นมนุษย์ พอเรากำหนดเราก็อยู่ที่สถานะนั้นๆ

แล้วพออยู่ในสถานะนั้นๆ เราไปเข้าใจว่ากำหนดนามรูปเป็นวิปัสสนาสายตรง มันเกิดดับ พอมันดับแล้วมันเหลืออะไร? พอมันดับไปมันก็เหมือนกับเรา เราคิดแล้วเราหยุดคิด เวลาที่เราคิดเรื่องทุกข์นี่เราจะทุกข์มากเลย แต่เวลาเราหยุดคิดบางทีความทุกข์มันหายไปจากใจ แล้วใจเรายังอยู่ไหม? ใจเรายังอยู่

แล้วมันเป็นสมาธิไหมเพราะอะไร? เพราะเราไปคิดว่าตัวนี้เป็นวิปัสสนาไง เป็นการทำงานที่มันสิ้นสุดกระบวนการแล้ว เพราะเราเข้าใจว่ามันเป็นวิปัสสนา พอวิปัสสนา พอความคิดมันหยุดปั๊บ เราก็คิดว่า อันนี้เราทำงานจบกระบวนการแล้ว

แต่ความจริงแล้วยังเลย ยังเลยเพราะอะไร? เพราะมันยังไม่เข้าถึงจิตไงมันไม่เข้าถึงตัวของมันไง เพราะตัวจิต ตัวปัจจยาการ ตัวปฏิสนธิมันเป็นตัวมันอันหนึ่ง เป็นพลังงานอันหนึ่งเห็นไหม พลังงานจากตัวจิตนี่ พลังงานตัวนี้ มันเป็นธาตุรู้ มันอยู่ในใจของเรา มันเผาผลาญ มันมีชีวิตอยู่คือตัวจิต

แล้วความคิดที่เกิดดับๆ นามรูปนี่ ถ้าเราพุทโธๆ มันก็เป็นอันเดียวกัน แต่พุทโธมันจะทวนกระแสมันจะย้อนกลับไปที่จิต แต่ถ้าเราพิจารณานามรูป มันพิจารณาตัวนี้ ให้ตัวนี้ดับ พอตัวความคิดดับ แล้วตัวจิตล่ะ

แต่ถ้า ตัวจิตดับเพราะความเข้าใจผิดใช่ไหม พอความเข้าใจผิดคือความคิดผิด พอความคิดผิดตัวนี้มันเลยไม่มีสติ ไม่มีฐาน ไม่มีตัวรองรับ มันเลยไม่เป็นข้อเท็จจริง ทั้งๆ ที่ตัวมันมีอยู่มันเป็นความจริงอันหนึ่ง แต่เพราะความเข้าใจผิดของเรา เราไปถึงตัวจิตนี้ไม่ได้ เราจึงเข้าถึงสมาธิไม่ได้

ทีนี้คำว่า “ยุบหนอ-พองหนอ” เรากำหนดมานานแล้วจิตมันไม่เป็นไป เราก็เปลี่ยนก็ได้ อย่างที่ว่า เปลี่ยนว่า ถ้า แล้วต้องกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออกพร้อมกับพุทโธด้วยหรือไม่ ถ้าเรากำหนดพุทโธๆ คำว่าพุทธานุสติคือไม่ต้องกำหนดลมหายใจ พุทโธๆ พุทโธๆ พุทโธๆ แล้วพอพุทโธ เวลาเราคิดหรือเรามีความรู้สึกกระทบรุนแรง เราจะพุทโธไวๆ ก็ได้ พุทโธๆๆๆ เร็วๆ เลยเพื่อจะให้มันหยุดได้ หรือเราจะทำช้าก็ได้

แต่ลมหายใจ เริ่มต้นจากคนภาวนาไม่เป็น หรือเราจะสอนใครก็แล้วแต่ เราจะบอกว่าให้ลมหายใจเข้านึก “พุท” ลมหายใจออกนึก “โธ” เพราะมันเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ชัดเจนไง “พุท-โธ” แต่ความจริง ลมหายใจเข้ามันก็เป็นอานาปานสติเหมือนกัน มันเป็นกรรมฐาน มันเป็นวิธีการทำความสงบอันหนึ่ง วิธีทำความสงบอันหนึ่งของกรรมฐาน ๔๐ ห้อง

ฉะนั้นลมหายใจเข้า พุท ลมหายใจออก โธ ก็ถูก แต่ถ้าพุทโธๆ พอลมหายใจเข้า เราต้องปล่อยลมหายใจ อยู่กับพุทโธอันเดียว หรือลมหายใจอันเดียว อันเดียวตลอดไปแล้วต้องทำตลอดไปเห็นไหม

เวลาเราเข้าใจผิดกัน โดยที่ว่าความจริงที่ไม่รู้จริง เราบอกพุทโธๆ แล้วพุทโธมันจะหายไป แล้วเราก็เข้าใจผิดกัน เราพุทโธๆ แล้วจะทำให้สติเราจาง เราอยากได้ผลไง

พุทโธๆ พุทโธๆ จนพุทโธเงียบไป ผิดหมดเลยนะ ความจริงต้องพุทโธชัดเจน พุทโธๆๆ ถ้าพุทโธแล้วจิตเราชัดเจน จิตมันจะสงบเอง เราพุทโธไว้ เหมือนกับหน้าที่สติของเรานี่ เราตั้งไฟไว้ แล้วเราต้องการต้มน้ำ หน้าที่เราต้องควบคุม แต่น้ำมันเดือดเองนะไม่ใช่เราสั่งให้เดือดนะ พุทโธ พุทโธ นั้นสติมันคุม จิตมันต้องเป็นสมาธิเองนะ ไม่ใช่เราสั่งให้เป็นสมาธิหรือเราเป็นสมาธิ

ถ้าเราเป็นสมาธิ มันมีสมาธิกับเราใช่ไหม ถ้าจิตมันเป็นสมาธิใช่ไหม ถ้าจิตกับเราเป็นสมาธิใครเป็นสมาธิ ถ้ามันเป็นสมาธิ คือตัวจิตมันเป็นสมาธิ แต่ถ้าเราเป็นสมาธิ เรากับสมาธิเป็นอันเดียวกันไหม? นี่เราคิดกันอย่างนี้ไง แต่พอพุทโธๆ พุทโธๆ ถ้ามันเป็นนะ เออะ! เออะ! นั่นคือจิตมันเป็นสมาธิ

ในปัจจุบันนี้นะ เราสร้างสมาธิกัน เราสร้างความว่างกัน ว่างๆ เราสร้างอารมณ์ไง ปฏิสนธิจิตแล้วความคิด จิตไม่ใช่ความคิด ความคิดไม่ใช่จิต แล้วเราใช้ความคิดนั้นคิดให้ว่าง ว่ามันเป็นความว่าง แต่ตัวจิตมันยังไม่เป็นสมาธิเห็นไหม เราคิดให้ว่างไง เราบอกว่าความคิด เราไล่ความคิด แล้วความคิดมันหยุด

ความคิดนี้หยุดหมด ความคิดนี้หยุดได้ พอความคิดนี้หยุดนะ ความจริง ความคิดมันคิดให้เป็นเรื่องเป็นราวไป แล้วเราก็คิดให้ว่าง มันก็ว่างโดยความคิด แต่ตัวจิตล่ะ แต่ถ้ามันเป็นปัญญาอบรมสมาธินะ มันเป็นความคิด ไล่สติไล่ความคิดไป ไล่ความคิดไป พอไล่ความคิดไป พอความคิดมันหยุดเห็นไหม สติมันเห็นความคิดดับ ความคิดมันหยุด แล้วใครเป็นคนหยุดคิด

ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ มันมีปัญญาไล่ความคิดไป แล้วความคิดนั้นหยุด ความคิดมันหยุด พอหยุด เออะ! เออะ! มันรู้ มันเห็นไง เหมือนเรา มือเราสกปรกแล้วเราล้างน้ำ แล้วมือเราสะอาด มือสกปรกเราก็รู้ว่ามือสกปรกใช่ไหม เราล้างน้ำแล้ว พอล้างน้ำเสร็จมือเราสะอาด เราก็เห็นมือเราสะอาดใช่ไหม จิตมันคิด มันก็รู้ว่าคิด คิดแล้วมันฟุ้งมันซ่าน คิดแล้วมันมีอารมณ์ในหัวใจ มันตามความคิดไปๆ

พอความคิดมันปล่อย ใครเป็นคนปล่อย? ใครเป็นคนปล่อยความคิด แล้วปล่อยความคิดแล้วมันอยู่ไหน? เห็นไหม นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ความคิดนี่มันคิดแล้วทุกข์ ทุกข์มากเลย มีสติตามความคิดไป ตามความคิดไป ใครเป็นคนให้ผลทุกข์กับเรา

ใคร! ก็ไอ้บ้านี้ไง ไอ้บ้านี้ที่คิด มันคิดเองแล้วมันก็ทุกข์เอง ไล่ไปๆ จนมันหยุดนะ ทำไมถึงหยุด? หยุดเพราะธรรมของพระพุทธเจ้า หยุดเพราะสติ หยุดเพราะมีสติ แล้วสติเราทำงาน หยุดเพราะสติทำงานไล่ตามความคิดไป แล้วความคิดมันหยุด หยุดแล้ว ใครเป็นคนหยุดความคิด? จิต

พอจิตมันหยุดแล้ว จิตมันเป็นอิสรภาพของมัน จิตมันเป็นตัวของจิตเอง แล้วตัวของจิตเอง เดี๋ยวก็คิดอีก ถ้าสติไม่ทัน พอมันหยุดปั๊บก็แป๊บ หยุดปั๊บคิดเลย แต่มันเห็นแล้ว มันรู้แล้ว แล้วต่อไปไล่เข้าไป มันก็หยุดบ่อย หยุดเร็วขึ้น หยุดระยะห่างของความคิดดีขึ้น มากขึ้นๆ จนตอนหลังนี่ สั่งให้คิดก็ได้ สั่งไม่ให้คิดก็ได้ สั่งได้เลย

ถ้าสติปัญญาทัน มันถึงเห็นจริงว่าความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน แล้วพอมันสงบบ่อยครั้งเข้าๆ จนมันมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นไป จนมันออกรู้ พอออกรู้อย่างที่ว่าพอความคิดเกิดขึ้น จิตกับความคิดไม่ใช่อันเดียวกัน แต่มันคิด มันไม่มีใครรู้ มันก็เป็นไปโดยธรรมชาติของมัน

พอสติมันทันขึ้นมาทุกอย่างมันทันขึ้นมา มันเห็นไง พอไปเห็น มันเห็นถึงเสวยอารมณ์ ถึงเริ่มต้นของจิตที่มันคิด เห็นการทำงานของจิตกับขันธ์ ถ้าเห็นการทำงานของจิตกับขันธ์ จิตกับขันธ์ ๕

ถ้าเห็นปั๊บนี่ จิตเสวยอารมณ์ นี่ถ้าเห็น จิต จิต จิต ขันธ์นี้เป็นอาการ จิต ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต ไม่มีใครเคยเห็น ถ้ามีใครเคยเห็นนะ ใครเห็นจิตอาการของจิต นี่ เริ่มต้นโสดาปัตติมรรค มรรคญาณเกิดตรงนี้ โสดาปัตติมรรค มรรคเกิดตรงนี้ นี่งานชอบ เพียรชอบ ทุกอย่างชอบ ชอบธรรม พอชอบธรรมขึ้นมาแล้ว พอมันจับได้แล้ววิปัสสนาแล้ว จับความคิดนั้นแยกแยะเป็นกระบวนการได้เลย

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กระบวนการที่รวมแล้วเป็นอารมณ์ เป็นความรู้สึกเป็นความคิด จากที่เราว่าเป็นความคิดๆ แยกความคิด เอานามธรรมนั้นมาแยกออก แยกออกเป็นกองเลย เป็นความคิดคือรูป รูปคือมันคิดจบกระบวนการที่เป็นอารมณ์แล้ว แล้วในอารมณ์นั้นแยกออกมา มันมีข้อมูล มีสัญญา มีเวทนา มีสังขารปรุง มีความคิดปรุง กระบวนการมันมี

พอกระบวนการ จัดกระบวนการ แยกกระบวนการได้ นี่วิปัสสนาเกิดอย่างนี้ พอมีกระบวนการไปเห็นไหม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ มันปล่อย พอปล่อยในที่สุดก็ขาด นี่ พระโสดาบัน

เนี่ย ถึงบอกว่าเริ่มต้น พื้นฐานหลวงปู่มั่นท่านบอก “ต้นคดปลายตรงไม่มี” ต้นคดไงขึ้นต้นพวกเราก็คด คดโกงตัวเอง คดบอกว่าเราจะวิปัสสนาสายตรง เราจะใช้ปัญญา ทั้งๆ ที่กิเลสมันครอบงำให้เราใช้ แต่พอมาพุทโธๆ เขาก็บอกว่าพุทโธนี้ไม่ทำอะไร พุทโธมันเป็นสมถะ

ถ้าไม่มีพุทโธ ไม่มีสมถะ ครูบาอาจารย์เราไม่เป็นพระอรหันต์กันไปเยอะแยะหมดแล้วล่ะ มันมีของมันนะ กระบวนการของมันมี แล้วเวลาที่เราทำ กระบวนการก็มีจริงนะ แล้วเราทำเราต้องจริงจัง เวลาที่โยมทำปฏิบัติกันนี่มันยากมันง่ายก็แล้วแต่ เพราะโยมไปตั้งเป้า

ตั้งเป้านี่เราเห็นด้วยกับการตั้งเป้าแบบอธิษฐานบารมี ตั้งเป้าแบบพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีอธิษฐานบารมี ไม่มีการตั้งเป้านะ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เกิด อริยบุคคลต่างๆ ก็ไม่ได้เกิด เพราะเราไม่ได้ตั้งเป้า ถ้าตั้งเป้าแล้วเราต้องมีการกระทำ แต่ทีนี้การตั้งเป้าของเรานั้น เราสร้างภาพไง เราไปฟังเทศน์ฟังธรรมของครูบาอาจารย์ แล้วเราก็คิดว่าเราจะทำได้อย่างนั้น

มันเป็นความคิด มันไม่ใช่ความจริง แต่ถ้าเป็นความจริงนะ เราฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์แล้ว เราก็ฟังไว้เป็นคติแต่เวลาปฏิบัตินะ หลวงตาท่านสอนประจำ ในการปฏิบัติแล้ว โลกนี้เหมือนมีเราอยู่คนเดียว ไม่มีใครเลย มีเรากับพุทโธ คือเราไม่ต้องสนใจอะไรเลย ให้มันเกิดขึ้นตามข้อเท็จจริง

ถ้ามันยังไม่ได้เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริง เราต้องพยามยามขวนขวายของเรา แต่นี่เราไปรู้ผลไว้ก่อนแล้ว เราไปฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์ไว้แล้ว เราจะทำให้ได้อย่างนั้น แล้วก็สร้างอารมณ์ให้เป็นอย่างนั้น แล้วพยายามตั้งเป้าให้เข้าถึงตรงนั้น มันก็เหมือนกับพิจารณานามรูป นามรูปเกิด-ดับไง เห็นการเกิดการดับก็จบไง

นี่ก็เหมือนกัน เอาโครงสร้างเอาเทศน์ของครูบาอาจารย์มาเป็นเป้าหมาย แล้วก็ทำให้ได้อย่างนั้นไง มันก็เหมือนหนังตัวอย่าง เอาหนังตัวอย่างมาแล้วเราทำให้เป็นอย่างนั้น มันก็จะไม่เป็น ฉะนั้นเวลาทำแล้วมันต้องวางให้หมด

เวลาที่หลวงปู่มั่นท่านเทศน์ ท่านจะฉลาดมาก ท่านจะเทศน์แต่เหตุ ผลท่านจะไม่เทศน์ ถ้าเทศน์ผลแล้วเราจะเอาผลนั้นมาเป็นผลงานของเรา คือมันสร้างภาพ จิตมันสร้างภาพขึ้นมา ตอนนี้ในการปฏิบัติ มันเป็นจิตสร้างภาพทั้งนั้นเลย ฉะนั้นเวลาปฏิบัตินะ ของอาจารย์ให้ สาธุ! ยกไว้ในหัวเลย แล้ววางไว้แล้วเราปฏิบัติของเราไป

แล้วพอปฏิบัติไปแล้วมันจะเป็นเหมือนหรือไม่เหมือนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไม่เหมือนหรอก เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะว่าพันธุกรรมทางจิตมันไม่เหมือนกัน เราจะฟังขนาดไหน จะก็อบปี้ขนาดไหน ถ้าเป็นความจริงเกิดจากเรานะ จะไม่เป็นแบบอย่างครูบาอาจารย์เด็ดขาด เรากล้ายืนยัน เด็ดขาด!

แม้แต่คนเราที่เกิดมา คู่แฝดไข่ใบเดียวของแม่ ไข่นะเริ่มต้นมาจากต้นทุนในภพนี้เท่ากันเลย ก็เกิดมาจากไข่ใบเดียวกัน อยู่ในท้องด้วยกัน ออกมานิสัยยังไม่เหมือนกันเลย แล้วปฏิบัติไปยิ่งไม่เหมือนใหญ่ ทั้งๆ ที่ไข่ใบเดียวกันเลยนะ แต่จิตมันคนละดวง

พันธุกรรมทางจิต แล้วเวลาปฏิบัติจะให้เหมือนกัน อย่างที่เราฟังๆ เราฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ เราปฏิบัติมา เรามีประสบการณ์ทางนี้ อย่างเช่นเราดูประวัติ ปฏิปทามาก ปฏิปทาหลวงปู่มั่นอย่างหนึ่ง หลวงปู่ฝั้นอย่างหนึ่ง หลวงปู่ชอบอย่างหนึ่ง แล้วเราปฏิบัติไปแล้วอยากจะให้เป็นอย่างนั้น ไม่มีทาง ไม่เป็นหรอก คือต้นทุนต่างกันไง

คือ สาร สิ่งที่เราเอามาทดสอบทางวิทยาศาสตร์มันมาต่างที่ ความสะอาดบริสุทธิ์ไม่เหมือนกัน มันให้ค่าไม่เหมือนกันหรอก ทีนี้ในการปฏิบัติก็เหมือนกัน ฉะนั้นเวลาปฏิบัติแล้วเราถึงบอกว่า มีเรากับพุทโธเท่านั้น อย่างอื่นไม่ต้องยุ่งกับมันเลย แล้วให้มันเกิดเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง เป็นกับเราเท่านั้น อย่างอื่นปล่อยวางไว้เลย

ถาม : ขณะที่ภาวนาพุทโธ ต้องจับให้จิตอยู่กับจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายหรือไม่?

หลวงพ่อ : ต้อง ต้องเลยนะเราจะบอกเลย พุทโธหรือกำหนดสติ เป็นจุดยืนของจิต จิตนี้ต้องมีจุดยืนนะ อย่างเช่นคนเรานี่ จุดยืนคือว่าความคิดของเราต้นทุนของเรา คือว่าคนมีจุดยืน คนมีหลักเกณฑ์ ถ้าคนไม่มีหลักเกณฑ์ ก็จะเดินไปไม่ได้

การกำหนดพุทโธนั้นต้องอยู่จุดใดจุดหนึ่งหรือไม่? โดยส่วนใหญ่แล้ว มันจะอยู่ที่ปลายจมูก ปลายจมูกเพราะอะไรรู้ไหม? เพราะมันชัดเจนไง เวลาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แต่ไม่ต้องกำหนดลมหายใจเข้า พุทโธก็ได้ที่ไหนก็ได้ จุดใดจุดหนึ่ง หลวงตาท่านบอกว่าบางทีท่านตั้งไว้กลางอกเห็นไหม นึกพุทโธ นึกเอา นึกในหัวใจ นึกที่ไหนก็ได้ บางคนตั้งไว้บริเวณกลางศีรษะ ตั้งไว้ที่ใดที่หนึ่ง

ถ้าไม่มีจุดใดเป็นที่ตั้งเลยจิตมันเร่ร่อนอยู่แล้ว แล้วพอเรากำหนดที่ไม่มีจุดยืน มันก็เป็นการเร่ร่อนชั้นที่ ๒ อย่างนี้ยิ่งสบายใหญ่เลย เราว่า พุทโธ พุทโธไปเรื่อยๆ แล้วเราคิดพุทโธ จุดใดจุดหนึ่งเราต้องตั้งจุดยืนไว้ ตรงไหนก็ได้ เรานึกเอาตรงไหนก็ได้ ตรงไหนก็ได้ ถ้าไม่ตรงไหนก็ได้ เวลาเรากำหนดลมหายใจเข้านะ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ส่วนใหญ่ก็จะบอกให้ตามลมหายใจเข้าๆ ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า

“ถ้าตามลมหายใจเข้า มันก็เหมือนกับคนเข้าบ้าน เวลาคนเข้าบ้านเห็นไหม เราก็ตามเข้าไป แล้วพอเราตามเข้าไป ประตูบ้านเราไม่รักษา ขโมยมันก็เข้ามาอีก แต่ถ้าเรายืนเฝ้าที่ประตูบ้านเวลามีคนเข้าคนออก แล้วเราเฝ้าอยู่ที่ประตูบ้านเราก็จะเห็นใช่ไหม เราอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งอยู่ที่ลมหายใจนี่ อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เห็นไหม มันจะอยู่ของมันอย่างนั้น จุดใดจุดหนึ่ง เราจะปล่อยไม่ให้มีเลยมันก็เร่ร่อนนะสิ จุดใดจุดหนึ่ง

ทีนี้คำว่าจุดใดจุดหนึ่งมันก็แบบว่า ขึ้นอยู่กับความถนัด บางคนถนัดอยู่ที่กลางอก ตรงสะดือ ตรงไหนก็ได้ทั้งนั้น แต่จุดใดจุดหนึ่ง เพราะตามไปแล้วมันเคลื่อนไง มันเคลื่อนไปมาตามมัน เพราะจิตมันเคลื่อนอยู่แล้วใช่ไหม สมาธิคือหยุดนิ่ง ที่เราทำกันอยู่นี้คือเราต้องการความหยุดนิ่ง

สิ่งที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดคือจิต มันเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด สิ่งที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดแล้วมันหยุดนิ่ง ตอนนี้มันอยู่กับเรา เราว่ามันอยู่กับเราที่กลางอก แต่ความคิดมันหมุนไปเห็นไหม มันคือพลังงานทางธรรมชาติ ดูอย่างสายไฟสิ ไฟนั้นจะไปตามสื่อ ถ้าไม่มีสื่อไฟก็จะวิ่งไปตามนั้น นี่ จิตมันเคลื่อนอยู่แล้วใช่ไหม? แล้วความคิดเห็นไหม มันให้ข้อมูลเข้าไป คือว่าทั้งสื่อกับพลังงานนั้นไปด้วยกัน ความคิดกับจิตมันก็ไปด้วยกัน

ทีนี้ความคิดเห็นไหม เราพุทโธ พุทโธ ความคิดเราคิดให้หยุดได้แล้ว แต่พลังงานมันยังไม่หยุด พุทโธ พุทโธ จนสื่อก็หยุด พลังงานก็หยุดนิ่งเป็นอันเดียว แต่ก็ได้แป๊บเดียว เดี๋ยวก็ออกอีกแต่ถ้าเราคุมได้ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ค่อยๆ ทำ

ทีนี้พอเราทำแล้ว ไม่ใช่ว่าต้องให้เป็นอัปปนาสมาธิ ถึงจะพิจารณา พิจารณาได้เลย ฝึกใช้ปัญญาได้เลย เพราะปัญญาตัวนี้มันจะเข้าไปทำให้ทำสมาธิได้ง่ายขึ้น เพราะเราทำสมาธิแล้วเราก็จะมีความลังเลใช่ไหม พอทำสมาธิแล้วเราก็จะมีความวิตกกังวลใช่ไหม เราทำสมาธิแล้วก็จะมีความผิดความถูก นี่ปัญญาใคร่ครวญตรงนี้

เหมือนกับเราทำงานแล้ว แล้วผลงานจบแล้ว เราก็มาดูพิสูจน์ว่าผลงานของเราถูกต้องไหม มีสิ่งใดบกพร่อง แล้วเราแก้ไขตรงนั้นไง เราแก้ไขแล้วดูแลตรงนั้นให้งานมันดีขึ้น

นี่ก็เหมือนกันเรากำหนดแล้วการกำหนดนั้นมันผิดพลาดตรงไหน สมาธิเรามันมีจุดยืน มันมีความบกพร่องตรงไหน เรามาแก้ไขตรงนั้น เรามาทำตรงนั้น นี่ใช้ปัญญา ปัญญาพอมันเข้ามาดูแลแล้ว มันก็ทำให้เราทำสมาธิได้ง่ายขึ้น มันเป็นผลของความสงบ จิตมันสงบขึ้น ดีขึ้น ฉะนั้นถึงว่า ปัญญาต้องใช้ได้

ถาม :นิวรณ์ ๕ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเป็นอันตรายมากสำหรับนักฝึกหัดภาวนา แต่ทำให้มันไม่เข้ามารบกวนจิตใจยากมาก หลวงพ่อช่วยชี้แนะวิธี ชี้แนะแนวทางแก้ไข

หลวงพ่อ :นิวรณธรรมมันก็เป็นทางเดินของกิเลส เพราะว่านิวรณธรรม ๕ นั้นมันเป็นเครื่องกั้น ในธรรมะพระพุทธเจ้าสอนไว้เลย

“นิวรณ์เป็นเครื่องกั้นจิต เป็นสมาธิก็ไม่ได้ เป็นปัญญาก็ไม่ได้”

นิวรณธรรมเห็นไหม ง่วงเหงาหาวนอน ลังเลสงสัย อย่างนี้คือนิวรณ์ ดูอย่างพระเรา พระเราโดยปกติก็จะมีศีลอยู่โดยธรรมชาติ แล้วถ้ามันเข้าใจผิด เข้าใจผิดว่าตัวเองมันผิดศีล เวลาที่มานั่งความวิตกกังวลก็เกิดแล้ว นี่คือนิวรณ์ นิวรณ์คือเครื่องกั้นจิต ฉะนั้นพอพระเรามีปัญหาปั๊บ ต้องรีบปลงอาบัติเลย เราจะปลงอาบัติเราจะทำอะไรเพื่อจะตัด ปัญหาที่ว่าจิตมันกังวล

พอจิตเป็นกังวล เพราะธรรมชาติใช่ไหม เพราะจิตมันมีอวิชชา มันมีกิเลสอยู่แล้ว โดยธรรมชาติของมัน มันต้องหาเรื่องอยู่แล้ว แล้วทีนี้พอมีสิ่งใดที่เป็นเหยื่อของมัน เป็นเหยื่อเหมือนนิวรณ์ ความสงสัยไง จริงหรือไม่จริงไม่รู้แต่สงสัย เราสงสัยว่าเราถูกหรือเราผิด เสร็จแล้ว มันเปิดช่องแล้ว นิวรณ์เสียบเลย

ทีนี้นิวรณ์เสียบแล้ว เราก็ต้องตรวจสอบเราไง การแก้นะเราก็ตรวจสอบว่าเรามีอะไรผิดไหม? อย่างเช่นถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก่อนนั่ง เราใช้ตรงนี้ เราใช้บ่อยมาก เราจะสอนบ่อยมากเลยว่า ก่อนนั่งให้เราอธิษฐานเลย เขาเรียกว่า “วิรัติ”

อย่างเช่นนะ มันมีนะในพระไตรปิฎก มันมีชาวประมงไปหาปลาในท้องทะเล ทีนี้พอหาปลาก็ได้ปลามาเยอะมากเลย จึงเข้าฝั่ง พอเข้าฝั่งก็เกิดพายุ พายุพัดมาไง เขาก็วิรัติเดี๋ยวนั้น เพราะเขาเข้าใจเรื่องพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎกนะ คิดดูสิ ที่เขาทำประมงมา ที่เขาลากมา ที่เขาทำประมง เขาเอาปลามานี่ มีชีวิตตั้งเท่าไร เป็นร้อยเป็นพันนะฆ่าสัตว์ทั้งนั้น

แต่พอเขาเข้าฝั่ง พอพายุมา เขาวิรัติเดี๋ยวนั้นเลยว่า “ข้าพเจ้าขอถือศีล ๕” ด้วยความบริสุทธิ์ เขาตายเดี๋ยวนั้นเพราะพายุได้พัดจนเรือล่มไปหมด เขาได้ไปเกิดเป็นเทวดานะ กรรมที่สร้างมาจากการทำประมงนั้นอันหนึ่ง แต่ขณะปัจจุบัน ปัจจุบันที่เขากำลังจะตายเขาได้วิรัติขึ้นเดี๋ยวนั้นเลย แล้วเขาก็ตายเดี๋ยวนั้นเลย ศีลเขาสะอาดตรงนั้น เป็นเทวดาเดี๋ยวนั้นเลย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจะนั่งเราวิรัติตรงนี้ไง เราจะทำอะไรมาก่อนหน้านั้น ทำผิดมาบ้าง แต่ก่อนจะนั่งเราบอกเลยว่า “ข้าพเจ้าขอวิรัติ” คือว่าข้าพเจ้าขอถือศีลห้าด้วยความบริสุทธิ์เดี๋ยวนี้ แล้วนั่งไปเราก็ไม่ผิดศีลเลยแม้แต่นิดเดียว ขณะที่เรานั่ง เราไม่ผิดอะไรเลยใช่ไหม เพราะเรานั่งลงแล้วเราพึ่งวิรัติขอศีลเดี๋ยวนี้เลย

ไอ้ที่ผิดมาแล้วเป็นธรรมดา ไอ้ที่ผิดพลาดมาข้างหน้านั้นเราไม่สนใจ เราจะตัดนิวรณ์อันนี้ไง ที่บอกว่าวิธีแก้นิวรณ์ คือปัจจุบันนี้เราสะอาดบริสุทธิ์เด็ดขาด แต่อดีตที่ทำมาแล้วนั้นเป็นเรื่องอดีต ปัจจุบันนี้เราจะปฏิบัติเดี๋ยวนี้ เราบอกเราวิรัติขอถือศีลบริสุทธิ์เดี๋ยวนี้ แล้วนั่งเดี๋ยวนี้เลย ไอ้ที่ทำมานั้นมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัดเดี๋ยวนี้เลยแล้วเอาเดี๋ยวนี้

ศีลนั้นเกิดได้ตั้ง ๓ ทาง อาราธนาศีลเห็นไหม ขอนี้คืออาราธนาศีล แล้วก็วิรัติศีลที่เกิดขึ้นมา เราแบบว่าคือเราขอศีลโดยตัวเราเอง แล้วก็ศีลโดยที่ว่าเป็นโสดาบัน สกิทา อนาคา ศีลโดยธรรมชาติไง โสดาบัน สกิทา อนาคา นี้คือศีลโดยจิตเลย จิตเป็นศีลโดยอัตโนมัติ แต่ในขณะที่เรายังไม่เป็น ถ้าเป็นโดยทั่วไปก็ต้องขอ แต่เราไม่ต้องขอเราวิรัติเดี๋ยวนั้น แล้วแก้ไขตรงนี้ได้ เห็นไหมคนฉลาดหาทางออกด้วยวิธีนี้ ไม่ให้มันมา

ปัจจุบันไงเราอย่าว่าชาตินี้เราทำผิดมานะ เราเคยทำผิดมาตั้งแต่อดีตชาติเยอะแยะ จิตทุกดวงนะทำดีมาและทำชั่วมา ไม่มีจิตดวงใดไม่เคยทำดีและทำชั่วมาเลย ไม่พ้นสักดวงเดียวทุกดวงใจ

พระพุทธเจ้าก่อนที่จะปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ก็เคยตกนรกอเวจีมาทั้งนั้น จิตทุกดวงเคยเวียนในวัฏฏะมาทุกๆ ดวง ไม่มีจิตดวงไหนเลย ถ้ามันมีจิตดวงใดที่ว่าทำดีมาตลอดมันต้องขีดเส้นได้ ขีดเส้นเลยว่าชีวิตเรานั้นจะราบรื่นจะดีงาม จะไม่มีข้อบกพร่องเลย

ดูพระพุทธเจ้าสิ พวกเวรัญชพราหมณ์ที่นิมนต์ไว้ นิมนต์ไว้แล้วเกิดข้าวยากหมากแพงแล้วลืมใส่บาตร ๓ เดือน ไม่มีอะไรกินเลย พระพุทธเจ้านะ พระอานนท์ไปบิณฑบาต แล้วพอดี พ่อค้าวัวพ่อค้าม้าซึ่งเขามีม้ามาขาย ทีนี้เขามาเขาก็มีเสบียงมาด้วย เสบียงของเขานั้นเขากินข้าวกล้อง

เมื่อเขาเห็นพระมา เขาก็ใส่บาตร เขาจะให้พระเท่ากับข้าวกล้องให้ม้า ๑ ตัว พระองค์หนึ่ง เขาก็ให้ข้าวกล้องจำกัดที่เขาจะให้ม้ากินแต่ละวัน ให้พระองค์หนึ่งได้เท่านั้น พระอานนท์ได้ข้าวนั้นมา ภิกษุทำอาหารให้สุกเองไม่ได้ ภิกษุหุงหาอาหารจะเป็นอาบัติปาจิตตีย์ พระอานนท์นะรับข้าวกล้องมา ข้าวนั้นดิบๆ อยู่ เอาข้าวกล้องมาปั๊บ เอาน้ำพรม แล้วก็บด บดให้เป็นแป้ง พอเป็นแป้งเสร็จก็ถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าฉันอย่างนั้นนะ ๓ เดือน พระพุทธเจ้านะ

เวลาที่พระพุทธเจ้าจะนิพพาน ที่ว่าบอกพระอานนท์ว่า “อานนท์เรากระหายน้ำเหลือเกิน” ให้พระอานนท์ไปตักน้ำ พระอานนท์ไม่ยอมตัก ไม่ยอมตัก แล้วพอจะตัก น้ำนั้นก็ใสได้ด้วยบุญ พระอานนท์ถามพระพุทธเจ้าเลยสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เคยเกิดได้เกิดขึ้นแล้ว น้ำขุ่นๆ พอตักมากลับใส นั่นก็เพราะด้วยอำนาจบารมีของพระพุทธเจ้า แล้วทำไมน้ำมันขุ่น ขุ่นเพราะเราเคยเป็นพ่อค้าโคต่าง

พ่อค้าโค จูงโคเกวียนไปชาติหนึ่ง แล้วโคมันจะกินน้ำ ท่านเห็นว่าข้างหน้ามันเป็นคาราวาน มีเกวียนเดินข้ามไปก่อนหน้านั้น น้ำมันก็เลยขุ่น ด้วยความปรารถนาดี ก็เลยดึงไว้ ดึงไว้ยังไม่ให้กิน ให้ไปกินน้ำใสๆ ข้างหน้า นี่กรรมนั้นตามมา

บอกว่าถ้าคนเราไม่เคยทำผิดมาเลย โอ้โฮ ชีวิตของเราก็จะไม่มีวิบากเลย จะไม่มีอะไรมากระทบกระเทือน จะมีความความสุข สุขตลอดเลย แล้วมีชีวิตไหนมีอย่างนี้บ้าง แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังเป็นแบบนี้ มีชีวิตไหนบ้างที่ราบเรียบไม่มีทุกข์เลย มีชีวิตไหนอยากดูนัก

ฉะนั้นถึงบอกว่าจิตทุกดวงนั้นมีดีมีชั่ว คือเราพลาดพลั้งมาแล้ว อย่าว่าชั่วเลย เราเคยทำผิดมาแล้ว ความผิดอันนั้นมันจะให้ผล ช้าหรือเร็ว แล้วชีวิตทุกคน มันมีสิ่งนี้มา เราทำดีทำความผิดพลาดกันมาทุกดวงใจ แล้วพอมาในปัจจุบัน อันนี้มันจะให้ผล แล้วให้ผลมาตลอดเวลา

ฉะนั้นก็ย้อนกลับมาที่นิวรณธรรม มันมีๆ แล้วมันมีอย่างนี้ด้วย คนที่จริตจิตใจอ่อนแอด้วย จิตใจอ่อนแอ เกิดอะไรขึ้นนิดหน่อยมันก็ฝังใจ แล้วก็คิดอยู่แต่อย่างนั้น แต่ถ้าจิตใจที่เข้มแข็งนะ อะไรที่มันหนักหนา มันก็จะตัดได้ สิ่งใดที่ทำแล้วกระเทือนใจก็ตัดได้ ตัดเลย จะทำแต่ความดีตัดอันนั้นไว้เลย แต่พวกเรามันอ่อนแอเองของอะไรที่ไม่ดีชอบคิดกัน ชอบไปเหนี่ยวมันมา อะไรที่ดีๆ ไม่ค่อยคิดไง คิดตัดมันให้ได้ พอตัดได้แล้วเดินจงกรมไป มันจะเป็นอย่างไรให้มันเป็นไป

ทำมานะเวลาที่เราทำเราเดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน เดินอยู่อย่างนั้น ได้ไม่ได้ก็ช่าง ถ้าพูดถึง ถ้าจิตมันตกนะก็เดินเอาให้ครบเวลาไง เดินให้ครบเวลาที่เราทำงาน ไม่หนีซ้ำอยู่อย่างนั้น พอซ้ำไป ซ้ำๆๆๆ อย่างนั้น ถ้ากิเลสเผลอนะ ใช้คำนี้เลยนะ พอกิเลสเผลอมันวูบลงก็จะสุขมาก นี่กิเลสเผลอ กิเลสมันเผลอแป๊บหนึ่ง ให้มึงได้สงบไง ไม่ใช่ความสามารถของเราหรอก แต่กิเลสมันเผลอ พอกิเลสมันรู้ตัวนะ โอ๊ย ฟุ้งซ่านอีกแล้ว โอ๊ย อดอีกแล้ว ทีแรกกิเลสมันเผลอก่อน แต่พอเราชำนาญแล้วเดี๋ยวจะควบคุมกิเลสได้ ควบคุมมันได้เลย แล้วเอาชนะมันได้ อยู่ที่ความเพียร ความจริงของเรา เอาจริงๆ

ฉะนั้น อย่างคำว่าพุทโธ ทำไมต้องพุทโธ? พุทโธเพราะว่าครูบาอาจารย์ของเราท่านเคยผ่านมา แล้วท่านซื่อสัตย์ใช่ไหม ท่านบอกว่าสิ่งนี้มันเป็นสมถะ มันเป็นสมาธิ ก็ต้องห้จิตมีสมาธิก่อน จิตมีจุดยืนก่อน แล้วปัญญานั้นจะตามมาทีหลัง แต่พวกเรานี่ปฏิบัติกันไม่เป็น ก็บอกแล้วว่าสมาธิมันไม่ใช่ปัญญา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา คนเราจะพ้นกิเลสได้ด้วยปัญญา เราก็คิดกันว่าเราใช้ปัญญากันไปเลย แต่! แต่ไม่รู้หรอกว่าเราใช้ปัญญาของกิเลส ไม่ใช่ปัญญาของธรรม

ปัญญาของกิเลสคือความคิดจากเรา ทั้งๆ ที่เราตรึกธรรมะของพระพุทธเจ้า แต่เรามีอวิชชา ฐานข้อมูลเราสกปรก แล้วเราจะเอาฐานข้อมูลที่สกปรกของเราไปคิดธรรมะ อย่างไรก็แล้วแต่มันก็สกปรก มรรคสามัคคีไม่ได้ มัคคะรวมตัวไม่ได้ เพราะอะไร เพราะมันไม่สะอาดบริสุทธิ์พอ ไม่สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสตัณหาความทะยานอยากอวิชชาของเรา มันไปทำให้ข้อมูลธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นสกปรกไปด้วย

แต่ถ้าเรามาทำความสงบของใจ ทำฐานข้อมูลให้สะอาด ทำสมาธิทำฐานข้อมูลให้สะอาด แล้วมันสะอาดไม่ได้ เพราะมันเป็นสมาธิ แต่มันสะอาดได้ชั่วคราว มันสะอาดบริสุทธิ์แบบที่ว่าจะให้ไม่สกปรกอีกเลยไม่ได้ แต่มันสงบตัวลงได้ มันสงบตัวลงเป็นสมถะ สงบตัวลงเป็นสมาธิ พอมันสงบตัวลง มันไม่มีความสกปรกนั้นเข้ามาบวก มันก็เป็นปัญญาเป็นโลกุตรปัญญา เป็นปัญญาของธรรมะ สัจธรรมไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้าที่เราไปคิดกันขึ้นมา มันเป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นมาจากจิต

พอสัจธรรมที่เกิดขึ้นมาจากจิต มันเกิดชั่วคราว คำว่าชั่วคราวเพราะถ้าจิตมันเป็นสมาธิอยู่ มันสงบอยู่ มันก็เป็นสัจธรรม แต่พอสมาธิมันจางลง สมาธิมันอ่อนลง กิเลสเรามันก็ผุดก็โผล่ขึ้นมา มันก็คิดก็บวกเข้าไปในธรรมะ อันนี้ก็เลยทำให้เป็นปัญญาที่ไม่สะอาดบริสุทธิ์ เราก็ต้องกลับมาที่พุทโธๆ นี่ครูบาอาจารย์เราที่ภาวนาเป็นท่านเคยทำท่านเคยผิดพลาดมา แล้วเคยฝึกฝนมาจนถูกต้องมา แล้วเอาความถูกต้องมาวางไว้ให้พวกเราก้าวเดิน

แต่พวกเรานั้นไปฟังนักปราชญ์ นักปราชญ์บอกว่า “นี่มันไม่ใช่เป็นปัญญา มันเป็นสมถะ มันไม่มีประโยชน์ เอาปัญญากันเลยๆ” เห็นไหม ปราชญ์ไงปราศจากปาดจนไม่มีอะไรเหลือในตัวเลยไง แต่เราไม่คิดถึงครูบาอาจารย์ของเรา ครูบาอาจารย์ของเรานั้นท่านรู้จริง แต่! แต่เวลาที่อธิบายให้ฟังมันเหมือนประชาธิปไตย เสียงส่วนน้อยไงพูดปากเปียกปากแฉะนะ แต่เวลาที่พวกกิเลสมันคุยกันกิเลสมันมีจำนวนมาก มันพูดเหมือนกันเปี๊ยบเลยว่า “สมถะไม่มีประโยชน์อะไรให้ใช้ปัญญาไปเลย”

คำว่าปัญญาก็ไม่รู้ว่าปัญญาของใคร แต่ถ้าเป็นปัญญาในศาสนา ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร ปัญญารอบรู้ในความคิด ความคิดเขาว่าใช้ปัญญาๆ ไป เขาว่าใช้ความคิด ความคิดเห็นไหมคือสังขาร แต่ปัญญาของพระพุทธเจ้าเป็นปัญญาที่รอบรู้ในตัวมันเอง ปัญญาที่รอบรู้ความคิด ปัญญาที่ลึกซึ้งกว่าปัญญาที่เขาคิดกันว่าเป็นปัญญาๆ กันไง

พระพุทธเจ้าต้องการปัญญาที่รอบรู้ในกองสังขาร แต่เราใช้สังขารไปรู้เรื่องโลก เราใช้สังขารโดยออกรับรู้เรื่องข้อเท็จจริงจากโลก แต่เราไม่ได้คิดว่าปัญญาที่มารู้ข้อเท็จจริงในสังขารในความคิด นี่ปัญญามันคนละชั้น แต่ก็ไม่มีใครชี้ ไม่มีใครบอกไง มันเลยทำไปแล้วมันถึงไม่ได้ผลไง เราถึงบอกว่า “ความจริงหนึ่งเดียว” ถ้าความจริงหนึ่งเดียว ความจริงอันนี้มันเกิดความจริงที่มันรอบรู้ในกองสังขาร จิตนั้นจะสะอาดบริสุทธิ์ จิตมันไม่ใช่ทำลายใคร จิตมันจะไม่แย่งชิงความดีความชอบของใคร

ความดีความชอบจากข้างนอกนะมันไม่มีหรอก มันเป็นเรื่องของการทำขึ้นมาเพื่อเป็นบาทเป็นฐาน มันเป็นการฝึกใจเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ข้อวัตรปฏิบัติเพื่อคุณงามความดีของเรา ถ้าเราทำจริงของเราก็จะเป็นความจริงของเรา

นิวรณธรรม ตั้งสติ แล้วนิวรณธรรมนะ พอเราจะแก้นิวรณ์นะ มันก็เป็นนิวรณ์อีกตัวหนึ่ง นิวรณ์ที่ละเอียดกว่าไง เราจะแก้นิวรณ์ที่หยาบ เราเจอนิวรณ์ทีนี้ก็ตั้งสติเลยตั้งสติยับยั้งหมดเลย ตั้งสติแล้วตัด แล้วต้องเอาปัญญาไปลบล้าง เอาปัญญาที่ละเอียดดีนี่เห็นไหม

บอกว่าเวลาจิตมันสงบแล้วใช้ปัญญาได้ๆ จิตมันเคยสงบ จิตมันมีฐานนี่ เอาเหตุผลนั้นไปลบล้าง ลบล้างว่ามันเป็นไปได้ จิตมันเคยสงบได้ จิตมีหลักฐานได้ แล้วเวลาสิ่งที่มันฟุ้งซ่าน สิ่งที่มันคิด สิ่งที่ง่วงเหงาหาวนอนมันคือนิวรณ์ทั้งนั้น มันเป็นนิวรณ์ มันเป็นอาการของจิต จิตที่มันมีแล้วมันเป็นจริตนิสัย

มันเหมือนเชื้อโรค ทุกคนเป็นโรคหลากหลาย โรคของใคร โรคหนัก โรคเบาเห็นไหม โรคที่พอรักษาหาย จิตที่มันไปยึดติดไง มันไปยึดติดลึก ร่องของจิตมันลึก ร่องของจิตมันตื้น มันก็จะแก้ได้ยากได้ง่ายต่างๆ กันไป ฉะนั้นมันไม่มีสูตรตายตัวไง การปฏิบัติไม่มีสูตรตายตัวนะ แต่มันทำของมันได้ มันทำได้ มันแก้ไขได้ ทำได้ ตั้งใจตั้งสติแก้นิวรณ์นะพุทโธก็จบแล้ว

ไอ้นี่จุดยืนของจิต จุดยืนของจิตนั้นเราเอามาใช้บ่อยมากเลย เพราะเราคิดว่าที่เขาสอนกันนั้น เขาสอนกันไม่ให้มีจุดยืน เราเปรียบเทียบเหมือนการเล่นว่าว การเล่นว่าวนั้นต้องมีเชือกมีว่าวมีลมมีผู้เล่น แต่เวลาไปเห็นคนอื่นเล่นว่าวเขาก็จับว่าวขึ้นมา ไม่มีเชือกนะแล้วก็ร่อนขึ้นไปบนอากาศ มันเป็นไปไม่ได้หรอก

จุดยืนคือครบกระบวนการของมันเห็นไหม ต้องมีผู้เล่นต้องมีเชือกสำหรับบังคับ พอว่าวกินลมแล้วจะอยู่ข้างบน สมาธิก็เหมือนกันจิตที่มันตั้งมั่น มันก็มีประโยชน์ของมัน แต่ทีนี้เราเห็นเขาเล่นว่าวเราก็จะทำตามเขา เราจับว่าวแล้วเราก็ร่อนขึ้นไปบนอากาศ เป็นไปไม่ได้หรอก เพราะไม่มีจุดยืนไง ไม่มีผู้เป็นเจ้าของ ไม่มีผู้รับรู้ จะต้องมีจุดยืนและนี่นิวรณธรรมนะ

มีอะไรอีกไหม ถ้าไม่มีก็จบแล้วนะ เอวัง