ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ภูมิจิต

๑๗ พ.ค. ๒๕๕๒

 

ภูมิจิต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราฟังเทศน์ครูบาอาจารย์มา แล้วบอกว่า “อย่างใดก็สักแต่ว่า อย่างใดก็สักแต่ว่า” พอมันฟังดูแล้ว มันเหมือนกับมันไม่เชื่อ คำว่าสักแต่ว่านี่นะพระพุทธเจ้าก็สอน

“เห็นให้สักแต่ว่าเห็น รู้ให้สักแต่ว่ารู้”

แต่คำสอนของท่าน สอนคนที่จิตมันสมดุลแล้ว จิตมันเป็นไป คือว่ามันเป็นไป มันถึงเวลาแล้วมันจะหลุดเลย

แต่เวลาถ้าเราทำแบบของเรานี่นะ ถ้ามันสักแต่ว่านี่ มันเข้ากิเลสไง หลวงตาถึงบอกว่า ต้องจริงจัง ต้องจริงจัง แล้วสักแต่ว่า อย่างเช่นปัจจุบันนี้การสอนของเรา การสอนแบบครูบาอาจารย์นี่บอกกายกับจิตนี้ไม่ใช่อันเดียวกัน

กายกับจิตนี้ มนุษย์มีกายกับจิต มันบอกถึงข้อมูลข้อเท็จจริง มนุษย์เรานี้มีจริงๆ ส่วนผสมของมนุษย์เรานี้ ตามศาสนาพุทธเรามีร่างกายกับจิตใจ แต่จริงๆ แล้วจิตใจกับร่างกายมันเป็นอันเดียวกัน ในปัจจุบันนี้มันเป็นอันเดียวกัน มันอันเดียวกันเพราะอะไร? มันอันเดียวกันนี่เพราะจิตมันโดนขังไว้นะ จิตนี้โดนภพชาติขังไว้ จิตนี้ไม่ใช่เป็นอิสระหรอก จิตนี้โดนภพชาติขังไว้เพราะอะไร

ถ้าภพชาติไม่ขังจิตไว้นะ เวลาเรานอนหลับไป เราฝันตายแล้ว พอเราฝันเรื่องต่างๆ จิตออกจากร่างไป แล้วอยู่ได้ไงคนตายแล้วฟื้น ทีนี้พอตายแล้วฟื้น นั่นน่ะหยุดไว้ชั่วคราว ฉะนั้นจิตกับกายนี้เป็นอันเดียวกัน เป็นอันเดียวกันโดยสมมุติ โดยกิเลสมันทำให้เป็นอันเดียวกัน เราจะรับรู้ได้ตั้งแต่ถ้าจิตเราระลึกดีนะ

เราจะระลึกตั้งแต่เราเกิดจนกว่าปัจจุบันนี้ แล้วอนาคตเรายังไม่รู้แต่ตายเราจะรู้ นี่ไงจิตมันโดนขังไว้เห็นไหม จิตมันโดนขังไว้ในร่างกายเรา ถ้าอย่างนั้นกายกับจิตนี่ มนุษย์บอกมีกายกับใจ ใจไม่ใช่เรากายไม่ใช่เรา นี่มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

จิตนี่มีสถานะ เพราะมันเกิดแล้ว เกิดมาเป็นเราไง พอมาเกิดเป็นเรานี่นะ สถานะของเราบุญกรรมมันพาเราเกิดมาแล้ว ถ้าบุญกรรมพาเราเกิดมาแล้ว มันก็คือเรา ถ้ามันคือเรา แต่ธรรมะที่รู้จริงพระพุทธเจ้าสอนไว้นี่มันเป็นความจริง

เห็นไหมอย่างที่พวกฤๅษีชีไพร เวลาเขาทำความสงบเขาเหาะเหินเดินฟ้าได้นี่เขาไปของเขาได้ เขาไปทั้งร่างกายก็ได้หรือถอดจิตไปก็ได้ เพราะจิตเขาทำความสงบเห็นไหม พอจิตเขาสงบปั๊บ เห็นไหมมันเป็นชาญโลกีย์ แต่เขาก็ไม่สามารถรู้ถึงจิตของเขา ไม่สามารถรู้สิ่งใดได้เลย เขาไม่สามารถรู้ได้แต่เขามีพลังงานเฉยๆ พลังงานมันเป็นสภาวะแบบนั้น

และถ้าบอกว่าสรรพสิ่งมันสักแต่ว่า สักแต่ว่ามันต้องให้คนมีพื้นฐานไง เหมือนกับเราเป็นผู้ใหญ่แล้วเราจะเข้ากรุงเทพฯ เราจะบอกเลยว่าเราจะไปที่ไหนนี่ เราจะบอกสถานที่ถูกต้อง เราจะอธิบายกันได้ เราพูดกันรู้เรื่อง เราจะเข้ากรุงเทพใช่ไหม? จะไปที่ไหนล่ะจะไปสนามหลวง จะไปถนนสายอะไร? จะไปขึ้นรถสายอะไร? นี่เราพูดกันได้

แต่ถ้าเราพูดกับเด็กเด็กไม่รู้เรื่อง เด็กที่มันเล็กเกินไปมันไม่รู้ มันไม่เข้าใจหรอก จิตของพวกเราเริ่มต้นมันเป็นอย่างนั้น เหมือนเด็กๆ นะ ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก ไม่เข้าใจสิ่งใดๆ เลย แล้วพอเป็นสักแต่ว่านี่ เด็กมันจะไม่ศึกษาแผนที่เข้าสนามหลวง เด็กมันจะไปสนามหลวงไม่ถูกเลย เพราะมันสักแต่ว่าไง

ทีนี้ถนนนี้ก็สักแต่ว่านะ สักแต่ว่าถนนไหน มันก็เข้าสนามหลวงได้นะ เด็กงงตายเลย ถ้าบอกว่าสนามหลวงเราเข้าไปเห็นไหม เราเข้าเพชรเกษม เราจะเข้าปิ่นเกล้าหรือเปล่า เราจะเข้าปิ่นเกล้าเราจะไปสายไหน เราลงไปแล้วเราจะชนสนามหลวงไหม ถ้ามันชนแล้วนะนั่นมันเป็นความจริงอันหนึ่ง เวลาเราก้าวเดินเป็นความจริงอันหนึ่ง

นี้สักแต่ว่า สักแต่ว่ามันเป็นจิตต้องมีสถานะ มีความที่ว่าประสาเราต้องเป็นสมาธิก่อน ถ้ามีสมาธิแล้วมีหลักเกณฑ์แล้วนี่ ถ้ามันเห็นได้สักแต่ว่าเห็นนี่มันช่วงอบรม แต่ถ้าเริ่มต้นของเรานี่เราต้องจริงจังจะสักแต่ว่าไม่ได้ ต้องจริง ต้องจัง ต้องขยัน ต้องหมั่นเพียร ต้องมีความเพียรชอบ ต้องมีความมุมานะ ต้องมีความอุตสาหะ

คำสอนว่า “สักแต่ว่า” แต่ถ้าเป็นธรรมจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ พระพุทธเจ้าก็สอน “ถ้าคนอื่นสอนผิดพระพุทธเจ้าก็ผิด” แต่กาลเทศะไง สอนตรงไหน ควรจะสอนควรจะเริ่มต้นอย่างไร? ควรทำตอนไหน?

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราเอาจริงเอาจังของเรานะ การกระทำของเราจะเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เพราะเราทำไม่จริงไม่จังขึ้นมา แล้วพอทำไม่จริงไม่จังขึ้นมาก็เป็นในปัจจุบันนี้ด้วย ในปัจจุบันนี้เราศึกษาธรรมกัน ทุกคนก็ศึกษาธรรมะกัน แล้วคนเข้ามาศึกษาธรรมะเห็นไหม โดยเอาปัญญาเข้ามาศึกษาธรรมะ มันก็เลยใช้ปัญญา โลกียปัญญา อย่างที่ว่าจิตมันไม่ถึง มันไม่เป็นไป

แต่เพราะด้วยความตรรกะ ด้วยความที่เราเข้าใจธรรมะนี่เราอธิบายธรรมะได้ชัดเจนมาก พอเราอธิบายธรรมะได้ชัดเจนมาก พอเราฟังเข้าไปแล้วนี่มันทำให้เราเชื่อถือนะ

แต่ถ้ามันต้องคนรู้จริง ถ้าคนรู้จริงฟังมันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้ามันจะเป็นไปได้นะ มันมีที่มาที่ไป สังเกตได้ไหมคนที่ภาวนาเป็น สังเกตครูบาอาจารย์ของเรา ที่เป็นครูบาอาจารย์เรา ท่านจะเก็บเล็กผสมน้อยนะ ท่านจะคอยตั้งสติ ท่านจะให้พวกเรานี่จริงจังนะ

แต่ถ้าพวกครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นที่ไม่จริงนี่ ท่านจะปล่อยไปตามเวรตามกรรม แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่จริงนะ มันเหมือนกับทางการแพทย์เลย การดำรงชีวิตของเรา ความเป็นอยู่ของเรา ถ้าเรามีเชื้อโรค โรคภัยไข้เจ็บเข้าถึงตัวเรา เราเจ็บไข้ได้ป่วยนะ นี่การภาวนาหัวใจมันสำคัญยิ่งกว่าร่างกายอีก ร่างกายนี่เห็นไหมเชื้อโรคมันยังแก้ไขกันได้

แต่ถ้าหัวใจ ถ้ามันไปติดภาพ มันพอใจสิ่งใด อย่างพระเห็นไหม พระเรานี่เวลากรรมเก่า มันให้ผลนะ ดูที่หลวงปู่มั่นท่านพูดว่า พระที่ทางมูเซอเห็นไหม ประเพณีมันแปลก มูเซอผู้หญิงเขาจะไม่ไปไหนนะ แล้วพระอยู่ที่นั่นไปเห็นเข้านี่ เขาเดินผ่านมา นี่เขาเดินผ่านมาเฉยๆ ตัวเองสรงน้ำอยู่ เห็นแล้วช็อกเลย พอช็อกหัวใจนี่มันไหวมากเห็นไหม นี่ๆ เวลากรรมมันมา

นี่สักแต่ว่าได้ไหม? ก็บอกสักแต่ว่าสิ นี่หลวงปู่มั่นบอกไม่ได้เลยนะไม่ต้องบิณฑบาต ให้เดินจงกรมเต็มที่เลย สุดท้ายก็ไม่ไหวให้หนีไป คือให้ไปที่อื่น พอหนีไปที่อื่น สิ่งที่ไม่เคยเป็นชาวเขา เขาไม่เคยลงจากบ้านจากภูเขา เขาก็ลงไปพอดี ไปเจอกันข้างล่างเรียบร้อย นี่มันไม่สักแต่ว่านะ ถ้าสักแต่ว่าปล่อยมันให้ได้สิ

นี่เวลากรรมมันให้ผลนะ มันให้ผลโดยที่เราไม่มีกำลังจะสู้มันได้เลย ฉะนั้นเราจะเริ่มจริงจังตั้งแต่ตอนนี้ เริ่มจริงจังตอนนี้แล้วทำของเราไป ดูอย่างร่างกายกับจิตใจนี่ ถ้าเวลาลมหายใจขาด ตอนนี้เห็นไหมดูสิ อย่างเช่นเราหรือใครก็ได้ที่ทำความชั่วไว้มากๆ พวกเราจะคิดเลยว่าทำไมทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แล้วคนมันชั่วขนาดนี้ ทำไมกรรมมันไม่ให้ผลมันสักที ก็นี่ไง ก็ลมหายใจนี่

สถานะนี้ ชีวิตนี้จิตกับกายยังเป็นปัจจุบัน ยังเป็นอันนี้อยู่ สถานะบุญเก่า คำว่าบุญเก่า คือเราเกิดมาเป็นมนุษย์นี่ กรรมพาเกิด บุญกรรมพาให้เรามาเกิด นี้ถ้าบุญเก่ากรรม ได้สถานะ เหมือนเรารับข้าราชการเลย ถ้าเรารับราชการปั๊บนี่ เราไม่มีความผิด เขาปลดเราไม่ได้หรอก นอกจากเราจะมีความผิด เขาถึงปลดเราออกจากราชการ

ทีนี้เอ็งเกิดแล้ว เอ็งเป็นคนคนนี้แล้ว เอ็งเกิดมาได้เอ็งรับราชการได้ไง ข้าราชการคือเราสอบเข้าได้ นี่ก็เหมือนกัน เราเกิดโดยกรรม กรรมทำให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ทีนี้เราทำชั่ว ข้าราชการที่มันคอรัปชัน ข้าราชการที่มันโกง ข้าราชการที่มันทำความเสียหายให้กับทางราชการเยอะแยะเลย ทำไมมันไม่ลงโทษล่ะ เพราะยังไม่ถึงเวลา เพราะทางราชการเขายังจับผิดมันไม่ได้

นี่ก็เหมือนกันคนที่ทำความชั่วมากๆ เห็นไหม แต่ในเมื่อมันยังมีลมหายใจ แต่ถ้าลมหายใจขาดจิตออกจากร่าง พอจิตออกจากร่างไปนี่กรรมให้ผลแล้ว กรรมจะให้ผลตอนนั้น แต่ในปัจจุบันนี้กรรมมันก็ให้ผล แต่กรรมให้ผลคำว่าตายไปนี่เห็นไหม พอลมหายใจขาด

พอจิตออกจากร่างไปนี่ มันเป็นเหมือนวิทยาศาสตร์ มันเป็นเหมือนอากาศ มันเป็นเหมือนอุณหภูมิ มันเป็นไปตามข้อเท็จจริงนั้น เวลากรรมของเราเป็นข้อเท็จจริงนั้น เราคิดเล่นๆ ของเรานะ มันมหัศจรรย์มาก เราคิดเปลี่ยนจากวัฏฏะนี้สิ

โลกมนุษย์นี่เห็นไหม คนเกิดมาต้องหาอาหาร นี่พรหม เทวดา นรกอเวจี เขามีไร่มีสวนไหม เขาต้องมีอาหารไหม อาหารของเขานะมันเป็นทิพย์ อาหารของเขานี่อย่างเทวดา อินทร์ พรหมนี่เห็นไหม กินวิญญาณาหารมันเป็นทิพย์

ดูสิอย่างวิมานมันมีขึ้นมาก็มีแล้ว มันเป็นของมัน แต่เราเป็นมนุษย์เราต้องมีบ้านมีเรือน มีที่อาศัย เราต้องทำไร่ทำสวน เราต้องหาอาหารของเรา อาหารของเรานี่เห็นไหม มันเป็นเพราะมีร่างกายเห็นไหมมันมีจิตใจ นี่ร่างกายที่จิตใจมันแสวงหามันต้องการ มันต้องการของมัน ร่างกายต้องการอาหารด้วยจิตใจก็แสวงหาด้วยมันมีการกระทำของมันขึ้นมา แล้วเราคิดนะโลกนี้เป็นจุดเล็กๆ นะ

ภพมนุษย์นี่เป็นจุดเล็กๆ เป็นภพเล็ก เป็นภพๆ หนึ่ง แล้วเทวดา อินทร์ พรหม เขาจะมีมากมายกว่าเราขนาดไหน คือจิตวิญญาณที่เขากินอาหารของเขา ที่วิญญาณเป็นคำข้าว กวฬิงการาหาร อาหารเป็นคำข้าว

อาหารของเขาคือวิญญาณาหาร อาหารของเทวดา อาหารของพรหมคือผัสสาหาร นี่กวฬิงการาหาร คำข้าวกับสิ่งที่จิตที่มันหล่อเลี้ยงนี่ มันเป็นไปของมันในธรรมชาติ มันเป็นความมหัศจรรย์แล้วเรื่องของวัฏฏะ

ทีนี้พอเรามาเกิดเป็นมนุษย์นี่มันมีร่างกายกับจิตใจ ร่างกายนี่มันบีบคั้น บีบคั้นว่ามันต้องใช้อาหารมันต้องใช้ปัจจัยเครื่องอาศัย บางคนนะเวลาทุกข์เวลายากเสียใจน้อยใจ จนทำลายตัวเอง ทำลายตัวเองเพราะอะไร? เพราะมันเสียใจน้อยใจที่ว่า เราหาสิ่งที่เป็นปัจจัยเครื่องอาศัยเราไม่สมบูรณ์

แต่ถ้าหัวใจมันมีหลักมีเกณฑ์นะ ถ้าหัวใจมีหลักมีเกณฑ์มันมีสติของมันเรื่องนี้เป็นเรื่องไร้สาระมากเลย เรื่องไร้สาระเพราะอะไรเพราะจิตใจของเราสำคัญมากกว่า จิตใจของเรานี่ ถ้าจิตใจของเรามันมีปัญญานี่มันหาทางออกได้ นี่เรื่องอาหารปัจจัยเครื่องอาศัยไง มันหาทางออกได้ ถ้ามันหาทางออกได้อย่างนั้นเห็นไหม

ทางออกนี่มันมาจากปัญญา มาจากสติ มาจากอำนาจวาสนา ถ้าอำนาจวาสนามันหยุดมันยั้งคิดเห็นไหม สติเห็นไหม หลวงตาท่านสอนประจำ สตินี่นะ ดูสิเวลาตัณหาความทะยานอยากมานี่ยิ่งกว่าสึนามินะ คลื่นล้นฝั่ง คลื่นมันซัดไปหมดเลย สตินี่กั้นได้หมดเลย สติยับยั้งได้หมดเลย

ทีนี้ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ เราตั้งสติของเรา ชีวิตของเรา เราจะแสวงหาสิ่งใด ดูสิดูอย่างพระพุทธศาสนาเรา เช่นปัจจุบันนี้ใครมาอยู่วัดเราเลี้ยงได้หมดนะ เรื่องปัจจัยเครื่องอาศัยเราหาได้หมดเลย แต่เวลาคนมาอยู่วัดแล้วนี่ เวลามีปัจจัยเครื่องอาศัย จิตใจมันดิ้นออกทางอื่น เอาจิตใจไม่อยู่ สติมันไม่อยู่ไง สติหรือปัญญามันควบคุมตัวเองไม่ได้

ถ้าสติปัญญามันควบคุมตัวเองได้นะ ปัจจัยเครื่องอาศัยแค่นี้ ทำไมเรายังผ่อนอาหารเลย เรายังผ่อนอาหารเลย ปัจจัยเรายังไม่ใช้มันเลย ถ้าไม่ใช้มันควบคุมใจได้ เราจะบอกว่าสติปัญญานี่มันมีคุณค่ามาก คุณค่าของมันนี่มันจะยับยั้งใจเรา มันจะควบคุมใจเรา ถ้าควบคุมใจเรานะ มันจะไม่อยู่ในอำนาจของกิเลส อำนาจที่มันต้องดิ้นรนของมันไป นี่เราอยู่ได้แล้ว นี่เห็นไหม

ถ้าสติมันดีขึ้นมา ทำสมาธิขึ้นมาได้ ถ้าจิตมันมีหลักมีเกณฑ์นะ หลวงตาท่านสอนประจำ “ถ้าใครทำสมาธิได้นะพออยู่พอกินไง” คำว่าพออยู่พอกินนะ ความสุขนะ ความสุขที่เงินทองข้าวของทุกอย่างหาซื้อไม่ได้ เราสัมผัสได้ด้วยจิตของเรา

ถ้าความสุขอย่างนั้นเราถึงพูดถึงผู้ที่เขาภาวนากันที่เขาสอนกันว่าสมาธิไม่มีความจำเป็น หรือว่าศีลสมาธิไม่จำเป็นใช้ปัญญาไปเลยนี่ เขาไม่เคยสัมผัสสมาธิเลยนะ ถ้าเขาเคยสัมผัสสมาธินะ เพราะพอตัวสมาธิตัวจิตมันสงบนี่แล้วปัญญามันก้าวเดินออกไปนี่มันมีความต่างมาก เราอธิบายบ่อยมากเลยว่า

“โลกียปัญญากับโลกุตรปัญญา”

โลกียปัญญานี่ทุกคนเคยสัมผัส ทุกคนมีอยู่ในตัวเราเองอยู่แล้ว เราไปตรึกในธรรมะขนาดไหนนะเราทึ่งเองไง เวลาเราซาบซึ้งนี้ เราทึ่งมากเลยนะ เราทึ่งความเห็นของเรา โอ้โฮๆ แล้วว่านี่เป็นธรรมะๆ เหมือน สามล้อถูกหวย สามล้อมันขี่สามล้อนี่นะ หาอยู่หากินก็ทุกข์ยากของเขาใช่ไหม? แต่พอมันถูกหวยขึ้นมานี่ค่ามันต่างไง สามล้อถูกหวย หมายถึงว่ามันได้เงินมาเป็นก้อนที่ว่ามันเป็นคราวเดียวนี่มันก็ตื่นเต้น

จิตของเรานี่ เวลาเราไปสัมผัส เวลาจิตเราพิจารณาไปเห็นไหม เราพิจารณาของเราไปมันซาบซึ้ง เหมือนสามล้อถูกหวย มันไม่เป็นความจริงหรอก ถ้าเป็นความจริง ถ้าจิตมันสงบนะ มึงดูสิเราจะมีฐานะขึ้นมาอย่างไร? เราต้องทำธุรกิจของเรา เราต้องมีสติปัญญาของเรา แล้วถ้ามันเป็นขึ้นมามันต่างกับ สามล้อถูกหวย คำว่า สามล้อถูกหวยนี่ มันได้รางวัลมา

แต่วิปัสสนาญาณของเรานี่มันจะถูกหวยได้ไหม มันจะลอยมาเองได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้ แล้วถ้ามันเป็นไปไม่ได้นะ อย่างนี้เราทำธุรกิจของเราเราทำหน้าที่การงานของเรานี่ถ้ามันไม่เป็นความจริงเราจะทำธุรกิจได้อย่างไร? เราจะได้ผลส่วนต่างของผลกำไรขาดทุนมาเป็นของเราได้อย่างไรมันเป็นไปไม่ได้เหมือนกัน

แต่ถ้าทำแล้วมันเป็นไปได้ มันได้ผลมาเห็นไหม การได้ผลมามันถึงไม่เหมือน ๓ ล้อถูกหวย เราถึงบอกผู้ที่สอนในปัจจุบันนี้นะ สอนโดยที่ว่าจิตนี้เข้าไม่ถึง จิตนี้ไม่เป็นจริง แม้แต่สมาธิยังรับรู้สมาธิเป็นจริงไม่เป็นจริงไม่ได้เลย

ถ้าเป็นจริงมันเป็นจริงได้นะจะไม่พูดกันแบบนั้นเลย จะบอกว่าไม่มีความจำเป็นนี่เป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย นี่แต่เขาก็พูดของเขา แล้วเขาว่าของเขา วันนี้มาก็พูดเห็นไหม พวกเขานี่สำเร็จกันมหาศาลเลย เขามั่นใจของเขานะ ไอ้เรานี่สังเวชมากๆ เลย

ดูสิดูในวงปฏิบัติเรานี่ เราทำเกือบเป็นเกือบตาย เราจะมีมรรคผลกันสักกี่คน มันจะมีสักกี่คน แต่มีได้ คำว่ามีได้ยอมรับว่ามีได้ แต่มันเป็นอริยทรัพย์ มันเป็นทรัพย์ที่มีประโยชน์มาก มันเป็นทรัพย์ที่ว่าเหมือนที่มาเห็นไหม อย่างเช่นเรานี่ เราเป็นชาวสวน เราอยากทำสวน แล้วเราไม่มีพันธุ์พืชเลยนี่ เรามีแต่ที่ดิน เรามีแต่น้ำเราก็พรวนดินทุกวัน แล้วเราจะเอาเมล็ดพันธุ์ที่ไหนไปทำสวนผัก เพราะเราไม่มี จะย้อนกลับมาที่จิต

ถ้าจิตของเรานี่เราไม่ได้สร้างของเรามา เราไม่ได้ทำของเรามา มันก็เหมือนกับเราไม่มีเมล็ดพันธุ์พืช เราขยันหมั่นเพียร ใช่เราขยันหมั่นเพียร แต่มันจะเดินต่อไปได้อย่างไร? ถ้าเดินต่อไม่ได้เห็นไหม เราถึงต้องพยายามตรงนี้ ถ้ายังเดินต่อไปไม่ได้ เราสร้างของเราขึ้นมาแล้วนี่ เราต้องน้อมไปๆ คือเราน้อมไปให้เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม

ถ้ามันน้อมไปได้นะ เราจะบอกว่ามันไม่มีเราก็พยายามแสวงหาไง ถ้ามันไม่มีนะ แต่ถ้ามันไม่มีนี่ เราต้องลงทุนลงแรงมากกว่าคนอื่น แต่คนที่เขามีของเขานี่มันก็เหมือนใครคนใดคนหนึ่ง อย่างเรานี่รับมรดกตกทอดมานี่ โอ้โฮ พ่อแม่ให้หมดเลย ทั้งที่ดินนะ ทั้งเมล็ดพันธุ์พืชนะ ทั้งปุ๋ยทุกอย่างพร้อมเลย อ้าว ถ้าเขาทำมาอย่างนั้นเขาปฏิบัติแล้วเขาได้ผลอย่างนั้นก็สาธุการเห็นดีเห็นงามไปด้วยเพราะว่าเขาสร้างของเขามา

แต่ถ้าของเรานี่เรามันจะทุกข์จะยากนี่มันสำคัญตรงนี้ด้วยนะ สำคัญที่ว่าของเรา เราสุขเราทุกข์ของเรา มีครูบาอาจารย์ท่านจะแนะนำสั่งสอนอย่างไร มันก็เป็นคำสอนของครูบาอาจารย์ เราฟังแล้วนะ เราเอามาคัดเลือกของเราจริงหรือไม่จริง

แต่ที่เราพูดอยู่นี่ เราฟังด้วยเซ้นส์ของเรา เราว่าอะไรที่มันไม่ถูกต้อง เราก็จะบอกว่าไม่จริงๆ ทีนี้คำว่าไม่จริงมันไปขัดแย้ง เวลาเราบอกหลวงตานะหลวงตาท่านจะบอก เวลาคนไปถามปัญหาท่าน “ท่านบอกเรื่องของเขาเรื่องของเรา” ท่านจะพูดอย่างนี้บ่อยว่า “เรื่องของเขา” คือท่านจะไม่ชี้ถูกชี้ผิด จะให้ใช้ปัญญาของเรากันเอง แต่ดุลพินิจท่าน ท่านรู้ท่านไม่ค่อยชี้

แต่เราแปลกเราสงสาร สงสารคนหลงผิด คนที่เสียเวลา เราสงสารคนนั้นมาก ฉะนั้น ถ้ามันหลงผิดหรือว่ามันเสียเวลาไปนี่ เราเสนอแนวทางนี้ เราถึงบอกเลยเห็นไหม เขาจะบอกว่า เขาจะกำหนดอย่างไรก็แล้วแต่นั่นมันเป็นความเห็นของเขา

แต่ถ้าเป็นของครูบาอาจารย์เราเห็นไหม อย่างเช่นปัจจุบันนี้ หลวงปู่มั่นท่านสอนพุทโธอยู่แล้ว ถ้าพุทโธไม่ได้ก็ปัญญาอบรมสมาธิ อย่างเช่นตอนเช้ามาถาม เขาจะถามเลยว่า

ปัญญาอบรมสมาธิกับดูจิต ที่เป็นสัมมากับมิจฉาต่างกันอย่างไร?

นี่มันต่างกันอย่างไร? มันต่างกันโดยที่เป้าหมายมันต่างกัน เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะกับหลวงตาหรือครูบาอาจารย์รุ่นใหญ่นี่ท่านอยู่ในสังคมมาก่อน ท่านฟังมา พวกนามรูปนี่มันเหมือนดูจิต หลวงปู่เจี๊ยะจะพูดประจำเลย บอกว่า

ดูจิตนี่ไปไม่รอด ไปไม่รอด เป็นไปไม่ได้ ครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงนี่ ท่านจะบอกว่าไปไม่ได้ แต่เดิมเราก็ไม่เข้าใจตรงนี้ เราก็คิดว่าการดูจิตคือการพิจารณา เพราะของเราเป็นการพิจารณาเป็นการใคร่ครวญไม่ใช่การเพ่งดู เราก็บอกว่าดูจิตนี่ถูก ดูจิตนี่ถูก เรานี่เถียงกับหลวงปู่เจี๊ยะมาเยอะมาก

แล้วพอเราออกมาสังคมนี่เราถึงมาเข้าใจไง อ๋อ การดูจิตของเขา ดูจิตคือมันเพ่งมันดูเฉยๆ แต่ถ้าการพิจารณาจิต เพราะเราพิจารณาจิต มันก็ย้อนกลับไปที่หลวงตาท่านบอกว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ” ถ้าปัญญาอบรมสมาธินี่กับดูจิตมันต่างกัน มันต่างกันตรงนี้ต่างกันตรงที่เริ่มต้น คนที่ดูนี่ดูเพ่ง เราดูเฉยๆ เห็นไหม

คำสอนเขาว่าให้ดูอย่ากดอย่าถ่วงคือดูให้มันเป็นไปเองไง ก็เหมือนเราดูอะไรได้ ให้มันเป็นไป แต่ถ้าเป็นการพิจารณานี่มันใช้อะไรดู เราดูแล เรารักษาเราดูแลมัน เห็นไหมเราดูแลด้วยสติด้วยปัญญานี่คือการพิจารณาเห็นไหม

แต่การดูเฉยๆ ใหม่ๆ เลยเขาพูดชัดเจนมาก ห้ามคิดเลย แล้วพอนานไปๆ เห็นไหม คนที่มีประสบการณ์ พอประสบการณ์มันเกิดขึ้นมานี่ มันก็จะเริ่มบ่ายเบี่ยงแล้ว แต่เดิมไม่ใช่เลยคำสอนแรกๆ เลย แหมเรานี่นะหูดีมาก แล้วจำแม่น ใหม่ๆ นี่ดูเฉยๆ แล้วพอดูเฉยๆ มันเป็นไปไม่ได้ ดูเฉยๆ ก็ไม่ถูกแล้วทำต่อไปก็ไม่ถูก ไม่ถูกเพราะอะไรรู้ไหม? ไม่ถูกเพราะคนสอนไม่รู้ ถ้าคนสอนไม่รู้ก็เหมือนเรานี่ เราคลำผิดคลำถูกไปด้วยกัน เราก็คลำทางไปแล้วเราก็สอนไป แล้วเราก็คลำทางไปด้วยกัน มันเป็นไปไม่ได้หรอก

แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิเราเข้าใจเรารู้ เรารู้ว่าเราจะทำความสงบ เรารู้ว่าเราจะทำสมาธิ เรารู้ว่าเราทำนี้ไม่ใช่วิปัสสนา มันไม่ข้ามขั้นตอนเห็นไหม เริ่มต้นถูกต้อง เราเข้าใจเรารู้ว่าเราจะทำความสงบของใจโดยใช้ปัญญาไล่เข้ามา ใช้ปัญญานี่พิจารณาความคิด เอาความคิดใช้ความคิดนี่เห็นไหม มันไล่เข้าไป ไล่เข้าไป คำว่าไล่เข้าไปนะ มันทันกันไงตามรู้ตามเห็น

เช่น เราคิดเรื่องสิ่งใดก็แล้วแต่ เราคิดหรือทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ที่มันผิดพลาดไป แล้วเรามาระลึกได้แล้วเราเสียใจตามรู้ตามเห็น ความคิดที่มันเคยคิดไป มันเคยทำสิ่งใดไปแล้ว เราไม่ทันมัน มันพลั้งเผลอทำไปแล้วแต่เราเสียใจทีหลัง

เราเห็นเสียใจทีหลังว่าสิ่งนี้เราไม่อยากทำ ไม่ควรทำเห็นไหม ตามรู้ตามเห็น ใหม่ๆ จะเป็นอย่างนี้เพราะความคิดเป็นเรา กิเลสเป็นเรา มันจะเร็วมาก แล้วพอเราตั้งสติ สติเราตั้ง สติเราพยายามแสวงหา ธรรมะเราพยายามแสวงหามา มันไม่ทันความคิดเราหรอก แต่เพราะความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะอุตสาหะ มันจะตามไปๆ ตามจนแบบว่าเหมือนกับเราเดินไป เงามันหนีไป ความคิดมันจะเร็วมากมันจะตามไป

พอตามไปๆ ตามจนเห็นร่องรอยกัน จนเห็นเหมือนกับว่าเห็นผลที่เกิดจากการกระทำของเราเห็นไหม ตามรู้ตามเห็น ฝึกฝนขยันหมั่นเพียร รู้เท่ารู้ทัน ตามรู้ตามเห็น รู้เท่ารู้ทัน รู้แจ้งแทงตลอด นี่ปัญญาที่เราฝึกเรียกว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ” มันมีปัญญาตัวนี้ มันมีสติตัวนี้แล้วมันจะตามรู้ตามเห็น

เวลาเราคิดเห็นไหม เดินจงกรมนี่ ถ้าเราทันปั๊บ มันจะหยุด ถ้าเราไม่ทัน เราไล่ไป แล้วก็กลับมาคิดละ คิดตามรู้ตามเห็นไงว่า ตอนเช้าทำผิดอย่างนั้น ตอนนี้ทำจิตอย่างนี้ มันก็จะเสียใจ เสียใจทำไมเราคิดได้ตั้งแต่ตอนเช้า ตอนเช้ามาคิดได้ตอนเพล ๔-๕ ชั่วโมง ๔-๕ ชั่วโมงผ่านไปแล้วเราถึงทันความคิดเรา

ทีนี้เราก็ฝึกให้มันเร็วขึ้นๆ ๆ เห็นไหม เร็วขึ้นนี่ปัญญามันไล่ไป สติมันตามทัน ถ้าตามทันเหนื่อยมาก เหนื่อยขนาดไหน เราหยุดบ้าง เราพักใช้พุทโธบ้าง หยุดบ้าง เหนื่อยบ้างแล้วตามไป ตามจนมันหยุดได้หมด มันหยุดได้หมดนะ พอหยุดมันจะรู้เลย หยุด เดี๋ยวก็คิดอีก หยุด เดี๋ยวก็คิดอีก เพราะมันเร็วมาก ตามไปๆ รักษาจนมันตั้งมั่นได้

นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ผลของมันเห็นไหมเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ดูสิอย่างเช่นเรานี่ เราตรึกเรื่องธรรมะ ตรึกเรื่องอะไรก็ได้ แล้วปัญญามันไล่ตามไป พอมันขบปัญหานี้แตก ปล่อยวางหมดเลย โล่งหมดเลย นี่เขาบอกว่าเขาได้ธรรมกันแล้ว แต่ของเรายังไม่ได้อะไรเลย เพราะตรงนี้มันจะหาจุด หาที่ตั้งหาจิตที่ตั้งมั่น หาเอกัคคตารมณ์ หาภพหาชาติหาที่เกิดของความคิด

ถ้าเราไม่รู้จักที่เกิดของความคิด เราจะไปทำลายมันได้อย่างไร? เพราะความคิดเป็นเงา ความคิดเกิดจากจิต ถ้าเราหาที่เกิดจากความคิดที่จิตไม่ได้ เราจะไปทำลายได้อย่างไร? เหมือนเช่นเราจะดับไฟนี่ เราหาสวิตซ์ไม่เจอเราดับไฟได้ไหม? ถ้าหาสวิตซ์ไม่เจอดับไฟไม่ได้หรอก เราจะดับไฟเราจะต้องรู้ว่าสวิตซ์อยู่ที่ไหนแล้วกดสวิตซ์ไฟก็ดับ

ถ้าเราจะทันความคิดเราต้องหาจิตให้เจอ ถ้าเราควบคุมจิตได้ความคิดสบายมาก ความคิดเกิดจากจิต นี่ไงปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าทำอย่างนี้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าดูเฉยๆ เห็นไหม เราเพ่งสิเราบอกให้ไฟดับแล้วก็เพ่งที่ดวงไฟ ไฟดับไหม? ดับ ถ้าเกิดไฟมันไม่พอ (หัวเราะ) ถ้าไฟมันไม่พอ แล้วมันจะดับได้

นี่ก็เหมือนกัน เราดูที่ความคิด ความคิดดับไหม? ดับนะ เพราะความคิดของเรานี่ มันไม่ใช่ตัวมันเอง ความคิดนี่ถ้าไม่มีจิตรับรู้นี่คิดไม่ได้ อย่างเช่น เราเห็นภาพสิ่งใดก็แล้วแต่ แต่จิตเราไม่รับรู้นี่ เห็นสักแต่ว่าเห็น เราเคยมองเห็นภาพแล้วเราไม่รู้จัก เราไม่รู้เรื่องภาพนั้น เราเคยเป็นไหม เป็นบ่อยๆ เลย

เราดูภาพอะไรก็แล้วแต่ หรือเราฟังเสียงนี่ เราฟังเสียงอยู่แต่เราคุยเรื่องอื่น เสียงเราก็ได้ยินนะ แต่เราก็ไม่พูดอะไรหรอก นี่ความคิดจากจิต ทีนี้ความคิดเกิดจากจิต ความที่เป็นความคิดเห็นไหม มันดับเองได้ ความคิดมันดับเองได้อยู่แล้ว ทีนี้ถ้ามันดับเองได้ มันก็เกิดดับ

แต่การเกิดดับนี้มันมาจากจิตมันไม่ได้เกิดจากความคิดเอง ความคิดเองมันเกิดเองไม่ได้ ความคิดมันเกิดจากพลังงานเกิดจากจิต แล้วเราไปดูที่ความคิดความคิดมันเกิด ความคิดธรรมดามันก็ดับเองได้อยู่แล้ว แล้วพอมันดับขึ้นมานี่ แล้วเอ็งเข้าถึงสมาธิไหม?

ตอนเช้าเราพูดคำนี้ออกไปเขายังบอกว่า เขาก็สอนอยู่ เมื่อก่อนไม่พูดอย่างนี้ เขาเรียกว่าอะไรนะ ของเขาเรียกว่า จริตทิฐิกับจริตตัณหา (ของเขานะ เขาว่า) ของเขาเขาคุยใหญ่ ยิ่งฟังยิ่งงงแต่ก็ฟัง เพราะอะไรเพราะเขาต้องการ เราสงสารคนนี้ คือคนนี้เขาเป็นนักปฏิบัติ แล้วคนคงจะเยอะ คงจะไปด้วยกันใช่ไหม แล้วเขาคิดว่าถูก-ผิด ทุกคนก็กลัวตัวเองผิด

๑. กลัวตัวเองผิด แต่เสียงส่วนใหญ่เขาทำกัน แล้วเขาเห็นว่าจากทางโน้น เขาทำคนเดียวเขากลัวเขาผิด ทั้งๆ ที่เสียงส่วนใหญ่ผิด

ประชาธิปไตย เสียงส่วนใหญ่มันยก ยกเอาแต่เห็นแก่ตัวมัน ไอ้เราจะยกเป็นธรรมแต่เรามีกี่เสียง เรายกทีไรก็แพ้ทุกที

ทีนี้เสียงที่เป็นธรรมมันแพ้ทำอย่างไร? นี่ถ้าจิตอย่างนี้มันละล้าละลังไง คือจะไปทางส่วนใหญ่หรือก็ผิด มาหาเราหรือ เราก็ว่าเราถูกแต่ทำไมมีอยู่คนเดียว(หัวเราะ) เอ๊ะ ทำไมมีอยู่คนเดียว มีอยู่คนเดียวนะ ถึงจะน้อยแต่ถ้ามันจริงนะ ดีมีค่ากว่าของที่ไม่จริงมากเลย เพียงแต่ว่าเรานี่พิสูจน์ได้ คนๆ นั้นพิสูจน์ได้

แล้วเขาบอกว่าทุกคนจะเถียงอย่างนี้ เวลาไปหาเขาแล้วนี่ เขาจะรู้วาระจิตหมดเลย จิตจะส่งออกอย่างไร เราบอกว่าเราไม่เชื่อหรอก เพราะธรรมชาติของจิต ธาตุรู้นี่พลังงานความร้อนมันจะคลายตัวตลอด จิตนี่ พลังงานไม่คลายตัวออกมาเราคิดไม่ได้ เราคิดนี่เพราะพลังงานมันคลายตัวออกมา แล้วพลังงานคลายตัวออกมามีพลังงานอันไหนที่ความร้อนไม่คลายตัวออกมา

ฉะนั้นกูชี้ดวงไหนก็คิดทุกดวง ถ้าเราเข้าใจถึงตัวพลังงานถึงตัวจิตนี่ ถ้าตัวพลังงานมันเป็นธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ แล้วพลังงานอันไหนไม่คิด ไม่มีหรอก นี่พลังงานตัวจิตมันคิดอยู่แล้วนะ ชี้ไปกี่คนก็ถูกหมด แล้วทุกคนไปทึ่งไง พอไปทึ่งเข้ามันเลย ของอย่างนี้ เราดูว่ามันหยาบมากนะ คือมันแบบว่ามันของเด็กเล่นเกินไป

ถ้าของจริงนะมันต้องหยุดได้ มันต้องทำใจได้ มันต้องพาชี้ให้ถึงที่เราจะออกจากกิเลสได้ นี่เป็นสัมมา สัมมาก็ผิดตั้งแต่เริ่มต้นเริ่มต้นที่ว่าตั้งเป้าผิด พอตั้งเป้าผิด ตอนนี้ ประสาเรานี่มันจะแก้ไขหรือมันจะทำให้ถูกต้องมันก็ทำไม่ได้ เพราะมันมีหลักฐานไปแล้วเหมือนตัวเองสร้างเหตุการณ์ขึ้นมาแล้วติดกับในเหตุการณ์ของตัวเองหนึ่ง อันนี้เป็นเหตุผลที่ ๑ นะ

เหตุผลที่ ๒ มันแก้ไขไม่ได้เพราะไม่รู้จริง ไม่รู้จริงไม่รู้จุดเริ่มต้นผิดตรงไหนถูกตรงไหนเลยแก้ไม่ถูกแก้ไม่ถูกหรอกเพราะตัวเองนี่ไม่รู้จริงแก้ไม่ถูก แต่คนที่รู้จริงนะเห็นหมดเลย เห็นหมดเลยว่าควรแก้อย่างไรควรทำอย่างไร ควรแก้อย่างไรถ้าควรแก้ แก้คือพุทโธ

แก้คือปัญญาอบรมสมาธิแก้คือต้องกลับมาที่ฐานให้ได้ แล้วพอกลับมาที่ฐานแล้วนี่พอถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ากลับมาที่สมาธิ กลับมาที่ฐานเป็นสมาธินี่ แล้วต้องให้มันเกิดปัญญาโดยโลกุตรปัญญา ถ้าเกิดโลกุตรปัญญาทำถูกต้องนั่นคือเข้าหลักอริยมรรค ทางแก้คือเดินให้เข้าถึงมรรคญาณที่ถูกต้อง นี่คือทางแก้

ถ้าไปแก้อย่างที่เขาแก้อยู่นี่วัวพันหลักนะ ไม่มีทาง เราเอาเวลาพิสูจน์เลย เป็นไปไม่ได้ ไม่มีทาง มีทางนะถ้าจะแก้นะ กลับมาที่ ศีล สมาธิ ปัญญา แก้ได้ ถ้าไม่กลับมาที่นี่แก้ไม่ได้ แก้ไม่ได้หรอก

นี้ที่มันเป็นอยู่นี่เพราะตัวเองแบบว่าไม่รู้จริงไง มันไม่รู้จริงมันก็จะเป็นวัวพันหลักไปอย่างนี้ ถ้าเป็นวัวพันหลักไปแล้ว มันก็จะอยู่ที่เวรที่กรรมนะ เวรกรรมของคน ความเป็นสัมมา ทีนี้คำว่าสัมมานี่ ประสาเราเริ่มต้น เราบอกว่าสักแต่ว่าเราก็ไม่เห็นด้วย แล้วที่เราพูดเราก็บอกว่านี่สัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ นี่เราอธิบายให้เห็นชัดเจน

แต่เวลาโยมมาให้เราอธิบายต่อหน้านี่ เราอธิบายไม่ได้ อธิบายไม่ได้เพราะอะไร? เพราะเขาไม่มีตุ๊กตา เขาไม่รู้ว่าเขาถูกหรือผิดอย่างไร? อย่างเช่น เรานี่นะ โยมนี่นะกินอาหาร พออาหารเข้าปากไปนี่มันร้อนนะ เราก็คายออก แต่ถ้าเราไม่เคยกินอาหารเลย ร้อนเขาก็จะไม่รู้ว่าร้อน นี่ไงถ้าเขาไม่ได้ทำเลย เขายังไม่เริ่มต้นเลยแล้วเราจะชี้สัมมาและมิจฉาตรงไหน แต่ที่เขาทำอยู่อย่างนั้นมันมิจฉาอยู่แล้ว

นี้ถ้าสัมมา สัมมาก็ต้องตั้งสติ สติเริ่มต้นถ้ามีสัมมาตั้งสติ แล้วถ้าตั้งสติแล้ว ถ้ามันเกิดตามความเป็นจริงแล้ว ต้องปล่อยให้มันเกิดตามความเป็นจริง แล้วตั้งสติไป แต่ถ้าเราเป็นมิจฉาทิฏฐิเราตั้งสติ แล้วพอมันเกิดเหตุการณ์อย่างใด เพราะเราเป็นมิจฉาทิฏฐิ

เราถึงจะบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นผิด ทั้งๆ ที่มันเกิดตามข้อเท็จจริงนะ อย่างเช่นเรากำหนดอะไรก็แล้วแต่ ใครจะกำหนดสัมมาอรหัง กำหนดนามรูป กำหนดพุทโธ กำหนดอะไรก็แล้วแต่ ถ้าจิตมันมีนิสัยมันจะเห็นนิมิตของมัน

ฉะนั้นพอเห็นนิมิตแล้วทางนามรูปนี่ เขาบอกว่า เห็นนิมิตนี่ผิดหมดเพราะจิตมันตกไปอยู่สมถะ แล้วมันจะเห็นนิมิต เขาเรียกว่าผิดหมด ทั้งๆ ที่มันเป็นข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงตรงไหน? ข้อเท็จจริงเพราะจิตดวงนั้นมันมีข้อมูลอย่างนั้น มันสร้างเวรสร้างกรรมมาอย่างนั้น จิตดวงนั้นจริตเขาเป็นอย่างนั้น ถ้าจริตเป็นอย่างนั้น มันจะเห็นของมันต้องแก้ไขตามนั้นไง

นี่ไงเราจะบอกว่า ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราไม่รู้จริงแต่เราไปยึดกรอบไว้ไง ไปยึดกรอบว่านิมิตผิด การเห็นผิด ถ้าการเห็นนี่มันเป็นสมถะ ต้องให้จิตสงบแล้วพิจารณากายอย่างเดียว การพิจารณากายของเขา ใช้ปัญญาของเขา ปัญญาของเขาคือสัญญา ไม่เห็นนิมิตเขาใช้สัญญาของเขาไม่เห็นนิมิต

ถ้าเป็นสัญญาของเขานี่เขาคิดว่าเป็นปัญญา แต่พอมันจะเกิดขึ้นเพราะจิตมันสงบแล้วนี่มันจะเห็นข้อมูลเป็นของมัน ตามข้อเท็จจริงเขากับบอกว่าผิด ผิดเพราะอะไร? เพราะเขาไปยึดกรอบที่เขาศึกษามา

นี่ถ้าคนไม่เป็น คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ มันจะเห็นผิดอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นความจริงนะ เรากำหนดพุทโธ กำหนดนามรูป กำหนดอะไรก็แล้วแต่ เพราะนามรูปมาหาเราเยอะมากที่เห็นนิมิตนี่ พอเห็นนิมิตปั๊บ เขาผิดจากหลักคำสอนของเขา พอเห็นนิมิตเขาว่าเขาผิด พอเห็นนิมิตเขาจะทิ้งเลย พอนิมิตปั๊บเขาจะสลัดออก แล้วเขาจะใช้ปัญญา คือเหมือนกับว่าน้ำมันร้อน พอน้ำมันร้อนปั๊บ เขารีบเอาน้ำเย็นเทใส่น้ำร้อนเลย ให้น้ำร้อนมันเย็น

นี่ไง พอจิตเป็นน้ำร้อนตบะธรรม เรากำหนดพุทโธหรือกำหนดอะไรก็แล้วแต่ คือตบะธรรม คือจิตมันเปลี่ยนแปลงจากปกติ มันจะมีอุณหภูมิของมันคือมันจะร้อนขึ้น เขาเรียกตบะธรรม ตบะคือพลังงานของมัน

ทีนี้พอพลังงานของมันมีขึ้นมา พอพลังงานมันมีใช่ไหม? มันมีความรู้สึกอย่างนั้น มันมีกรรมอย่างนั้น มันก็ต้องเห็นไปตามนั้น พอเห็นไปตามนั้นโดยข้อมูลเขาว่าผิดไง ไอ้ผิดถูกนี่มันไม่ใช่ พลังงานนี่คือถูก พลังงานคือจิตมันเป็นสมาธิ จิตมันเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิปกติ เป็นอุณหภูมิที่มันมีอุณหภูมิขึ้นนั่นคือสมาธิ

แต่การเห็นนั้นมันเป็นกรรมเวรของจิต จิตแต่ละดวงมันสร้างกรรมมาอย่างนั้น มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น เหมือนเราเปรียบเทียบเหมือนผลไม้นะ ถ้าเราเอาเมล็ดทุเรียนมาปลูก ปลูกทุเรียนพอโตขึ้นมาก็ต้องเป็นต้นทุเรียน คนเขาปลูกเงาะเวลาโตขึ้นมาก็ต้องเป็นเงาะ มันเป็นธรรมดาของมัน

จิตนี้เขาสร้างเวรสร้างกรรมของเขามา มันเป็นเวรเป็นกรรมคือเป็นจริตไง จิตคึกคะนองเวลาจิตสงบปั๊บมันจะเห็นตัวเองขึ้นไปอยู่บนอากาศ มันจะเห็นตัวเองเดินจงกรมบนอากาศ เห็นตัวเองนั่งอยู่บนก้อนเมฆ แต่มันมีน้อย จิตที่เห็นจริงนะ แต่ส่วนใหญ่แล้วที่นิมิตที่เราเห็นเป็นภาพต่างๆ นี่ส่วนใหญ่จะเห็นเยอะ เห็นเยอะเพราะอะไร?

เห็นเยอะเพราะความจริงจริตมันเป็นอย่างนั้นก็มี แต่ความที่เป็นอุปาทานก็มี ความที่เป็นกิเลสตัณหามารมันสร้างภาพก็มี เห็นไหมตอนเช้าเราพูดเรื่องนิมิตเราจะอธิบายไว้เยอะเลย เพราะว่าการเห็นนิมิตนี่นะ มันเห็นได้ทั้งนั้นแต่ผิดถูกมันยังมีอีก เห็นผิด

ถ้ามันเห็นนิมิต ที่เราพูดว่าการเห็นนิมิตคือการเห็นนิมิตโดยจิตที่มันเห็น โดยข้อเท็จจริงโดยเวรโดยกรรมของเขา แต่จิตที่เห็นนิมิตโดยอุปาทานโดยจิตสำนึกว่ามันควรจะเป็นอย่างนั้นอันนี้ผิดหรือถูกมันตรวจสอบได้ง่ายๆ

ถ้ากลับมาที่พุทโธทุกๆ อย่างมันจะหายหมด มันจะหายหมดถ้าไม่เป็นความจริงนะ แต่ถ้าเป็นความจริงกลับมาพุทโธแล้วมันก็เห็นของมันอย่างนั้น ถ้าเห็นของมันอยู่อย่างนั้นแล้วเราค่อยถามค่อยแก้ไขมันต้องแก้ไข แก้ไขเพราะคนเรามันเป็นอย่างนั้นใช่ไหม

เหมือนเราเป็นโรคนี่ เราปฏิเสธโรคที่เราเป็นอยู่นี่ เราจะหายจากโรคนั้นไหม เราจะเป็นโรคอะไรก็แล้วแต่ เราต้องยอมรับความจริงว่าเราเป็นโรคนั้น แล้วเรารักษาตามอาการโรคนั้น ให้โรคนั้นหายไป พอหายแล้วร่างกายเราก็เป็นปกติ พอปกติเราก็ทำงานเห็นไหม

จิตเหมือนกัน เราถึงบอกว่าถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ จิตมันเห็นหรือมันรู้อะไรนี่ มันก็บอกว่าผิดผิดตั้งแต่ต้นเลยล่ะ แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นจริงนะ จิตมันเป็นอย่างนี้ พอจิตมันเป็นอย่างนี้ปั๊บนะ จิตมันเป็นอย่างนี้แล้วจะแก้ไขตั้งสติ พุทโธๆ เข้ามา

ถ้ามันเป็นนิมิตที่ไม่ถูกต้อง นิมิตที่มันหลอกมันจะหายไปเอง มันหายไปเองเพราะอะไรเพราะจิตมันกลับมาที่ตัวของมัน พลังงานมันกลับมาที่ตัวของมันเพราะพลังงานมันสลัดทิ้งทุกอย่างทิ้งเข้ามา

ถ้ามันสลัดทิ้งทุกอย่างเข้ามา ทีนี้มันจะอยู่อีกไหมมันเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าพูดถึงมันเป็นจริตของเขา เราสลัดอย่างไรก็แล้วแต่ เราสลัดออกมาแล้ว สลัดออกมาให้พุทโธๆ กลับมาที่เรา ภาพนั้นกลับชัดเจนขึ้น ภาพนั้นเป็นความจริงขึ้นมา ความจริงขึ้นมานี่เราก็วางได้ เรามีสติของเรา เราวางภาพนั้นได้ เราปล่อยวางภาพเราแก้ไขได้

ถ้ามันเป็นความจริงเป็นข้อเท็จจริงที่มันเกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาอย่างไรแล้ว เราต้องแก้ตามนั้น พอแก้ตามนั้นเห็นไหมศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าสมาธิมันเกิดขึ้นมาแล้วนี่ ถ้าสมาธิมันเกิดโดยธรรมชาติของมัน เราก็น้อมไปดูกาย เวทนา จิต ธรรม โดยกำลังโดยความเป็นไป โดยความเป็นไปเห็นไหมมันจะเกิดโลกุตรปัญญา

ถ้าเกิดโลกุตรปัญญาเขาจะไม่พูดอย่างที่เขาพูดกันเลย ถ้าพูดอย่างนี้สังเกตได้ไหม เวลาเราไปอ่านหนังสือธรรมะกัน หนังสือธรรมะในท้องตลาดนี่พวกเราอ่านกันแล้วจะเข้าใจ อ่านแล้วจะมีความรู้สึกผูกพันมากเลย

แต่เวลาเราอ่านธรรมะของครูบาอาจารย์ที่เป็นพระกรรมฐานเป็นครูบาอาจารย์นี่ เราจะอ่านไม่ค่อยเข้าใจ เราไม่เข้าใจเพราะอะไร เพราะมันเป็นโลกุตรปัญญาไง ปัญญาที่เราไม่คุ้นเคย ปัญญาที่เราไม่เคยได้สัมผัส โลกุตรปัญญานี่มันเป็นปัญญาของพระอริยเจ้า มันจะทำให้เราเป็นอริยภูมิขึ้นมา

แต่ปัญญาที่เราใช้กันอยู่นี่มันเป็นวิชาชีพ มันเป็นโลกียปัญญา คนไม่เข้าใจตรงนี้ ไม่เข้าใจว่า คำว่าเข้าใจนี้เราเปรียบเทียบให้เห็นนะว่าถ้าปัญญาอย่างนั้นมันเกิด ความรู้สึก ความเข้าใจ ความที่จิตมันจะผ่องแผ้วมันมากกว่าโลกียปัญญานี้หลายร้อยหลายพันเท่า

แต่นี่สังเกตไหม เวลาเขาพูดเรื่องปัญญานี่ เขาก็พูดเหมือนแลกเชอร์เหมือนอาจารย์สอนเด็ก เขาพูดแค่นี้ เวลาทำปัญญาของเขาก็เหมือนปัญญาที่ครูสอนเด็ก ไม่ใช่ๆ ปัญญาจริงๆ นะ โลกุตรปัญญาไม่เป็นอย่างนี้ ภาวนามยปัญญาไม่เป็นอย่างนี้ เราถึงเห็นความต่าง เราเห็นเยอะมาก

ความต่างจากคำสอนที่เขาสอนกัน ที่เขามาเล่าให้เราฟังนี่เราฟังทีเดียวเรารู้หมดนะ แล้วเราพยายามจะชี้ให้เห็นเท่านั้นเอง แต่ถ้าพูดไปแล้วก็เหมือนเราไปทำลายเขา นี่พูดถึงว่าสัมมาปฏิบัตินะ เขาถามถึงมิจฉาหรือสัมมาเราก็สังเวชมากนะ อยากจะสอนอยากจะบอกแต่มันก็เหมือนกับผู้ใหญ่สอนเด็ก วุฒิภาวะเขายังไม่มี

แล้วเขายังตื่นมานี่พูดไปนะพูดไปอย่างไรเขาก็ไม่เข้าใจ แล้วพอพูดไปแล้วนะสรุปแล้วคืออะไรรู้ไหม? หลวงพ่อมันก็เหมือนกันเลยไม่เห็นมีอะไรต่างเลย คือเราพูดเกือบตายนะ เหตุทั้งซ้ายทั้งขวานะ แต่สรุปเขานะ หลวงพ่อเหมือนกันเปี๊ยบเลย ไม่มีอะไรต่างเพราะวุฒิภาวะเขายังไม่มี อธิบายอย่างไร เราอธิบายเราจะพูดถึงขาวกับดำเลย แต่สรุปแล้วเหมือนกัน เทาๆ ไม่มีอะไรเลย

คนที่เป็นอาจารย์สอนคน มันจะเข้าใจตรงนี้ว่าจิตที่ยังไม่ถึง เห็นไหมหลวงตาเวลาท่านสอน

“ถ้าจิตสมาธิยังไม่มี หรือว่าจิตยังไม่เป็น ท่านจะไม่พูดเรื่องวิปัสสนานะ”

ท่านจะรอให้จิตเรามีพื้นฐาน จิตเราสงบก่อนท่านถึงจะให้พิจารณา ครูบาอาจารย์เรานี่จะไม่ให้พิจารณาตั้งแต่ทีแรก บอกต้องทำให้สงบก่อน พอจิตสงบมีหลักมีฐานแล้ว ท่านถึงสอนให้วิปัสสนาให้ถึงใช้ปัญญา

แต่ทางกลับกันทางโลกใช้ปัญญาไปเลย โอ๊ย! ใช้ปัญญาสายตรง สมาธิเสียเวลามาก ไม่มีประโยชน์ นี่มันกลับกัน เป็นกับไม่เป็นมันต่างกันตรงนี้ พูดถึงพื้นฐานนะเอาเข้าปัญหาเลยปัญหานี้หน้าจะยาวพอสมควร

ถาม : ๑.พระอริยเจ้าที่บรรลุธรรมตั้งแต่โสดา ในศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนแล้วมาบรรลุพระอรหันต์ในศาสนานี้มีหรือไม่

หลวงพ่อ :มี แต่ตัวอย่าง เพราะเวลาอย่างเช่น นางวิสาขา และอนาถะนี่ ประสาเรานี่นางวิสาขาเขาได้โสดาบันในศาสนานี้ แต่เขาตั้งเป้าไว้ นี่มันก็เป็นเวรเป็นกรรมอันหนึ่ง เขาตั้งไว้เป็นมหาอุบาสิกาไง คือเขาอยากจะอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเป็นอุบาสิกา อนาถะตั้งปรารถนาไว้ว่าเป็นมหาอุบาสก

พระอานนท์เป็นพระโสดาบันเห็นไหมพระพุทธเจ้านิพพาน พระอานนท์ร้องไห้ พระโสดาบันนี่ คุณวุฒิของพระโสดาบันจิตสงบแล้ววิปัสสนาไปจนเห็นจิตใต้สำนึกมันปล่อย ปล่อยที่ว่าสักแต่ว่า สักแต่ว่า ปล่อยร่างกาย คำว่าปล่อยนี่มันเห็นโทษ อย่างเช่น เวลาพิจารณากายขึ้นมานี่พิจารณาออกไปแล้ว มันจะแปรสภาพ มันจะคืนสู่ธรรมชาติ มันจะเปื่อยมันจะเน่ามันจะพุพอง

มันจะเห็นบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้าจนมันคืนสู่สภาพเดิม สลัดทิ้ง สลัดทิ้งปั๊บ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ พระโสดาบัน ทีนี้พระโสดาบันนี่นางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน นางวิสาขามีครอบครัว นางวิสาขามีลูก ๒๑ คนเลย นี่พระโสดาบัน (หัวเราะ)

เราจะบอกว่า นางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน นางวิสาขาละธาตุขันธ์แล้ว นางวิสาขาก็ต้องไปเกิดเป็นเทวดา เป็นเทวดาพระอริยบุคคล เป็นเทวดาปุถุชน เทวดา อินทร์ พรหม มันมีทั้งปุถุชนกับเทวดาอริยภูมินะ เพราะว่ามันไปเป็นเทวดา พอพ้นจากหมดอายุขัยลงมาก็มาเกิดเป็นมนุษย์หรือภาวนาจากนั่นไป พอเกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมาก็มาปฏิบัติ

ในความรู้สึกเรานะ ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีมรรคมีผลนี่ เวลามาปฏิบัติในศาสนาพุทธ ในศาสนาของครูบาอาจารย์นี่ถึงเป็นขิปปาภิญญาไง ที่ปฏิบัติเร็วรู้เร็ว นั่งปฏิบัติปั๊บรู้เลย พวกนี้มีผลมาจากตรงนั้น แล้วอย่างที่ว่านี่ พาหิยะนี่ ที่ฟังทีเดียวเห็นไหม แต่นั่นไม่ได้อะไรเลยนะ

ตอนที่ไปปฏิบัติกันนี่ พระขึ้นไป ๕ องค์ องค์หนึ่งบอกว่า ขึ้นไปด้วยกัน สัญญากันนะขึ้นไปบนภูเขา ๕ องค์ แล้วสัญญากันว่า ให้เป็นพระอรหันต์แล้วค่อยเหาะลงมา ทำบันไดลิง ทำผะองขึ้นไปแล้วถีบทิ้งเลย องค์แรกสำเร็จพระอรหันต์เหาะลงมา องค์ที่ ๒ สำเร็จพระอรหันต์เหาะลงมา องค์ที่ ๓ ได้พระอนาคาตายบนนั้น อีก ๒ องค์ตายคานั้นไม่ได้อะไร ในตำราว่าไม่ได้อะไรเลย?

แต่พอมาเป็นพาหิยะนี่ มาฟังเทศน์พระพุทธเจ้าหนเดียวเท่านั้นเป็นผู้ที่ตรัสรู้เร็วที่สุด พั้บ! รู้เลยเป็นพระอรหันต์ทันทีเลย นี่ส่วนใหญ่นี่สิ่งนี้มี ตัวอย่างนี่ตอนนี้ยังนึกไม่ทัน ให้เอาตัวอย่างด้วย มีพระเพื่อนกันนี่เขาก็บอก เพื่อนเรานี่เขาไปพูดข้างนอกไง เขาพูดถึงตัวเรานี่ว่า เราได้อริยภูมิแต่ชาติก่อนโน้นแล้ว ก็ถามว่ามึงรู้ได้ไง เขาบอกเขาฟังเราพูดนี่แหละ เขาจับเอา จับเอาห่าอะไร

เพราะว่าประสาเรานี่ ถ้าพูดถึงว่า ถ้าเราพิจารณาด้วยเซ้นส์ของเราเองนะ ถ้าเป็นที่ได้มาแล้วนี่ ประสาเรานี่ รถเรา เราเข้าเกียร์ ๔ อยู่แล้วนี่ เวลาออกเกียร์ ๔ เหมือนเกียร์ ๔ อยู่เลย ถ้ารถเรายังเกียร์ว่างอยู่นี่ เราไม่ได้เข้าเกียร์ ๔ เราต้องออกเกียร์ ๑ ใช่ไหม?

ทีนี้เวลาปฏิบัตินี่มันมี เกียร์ ๑ เกียร์ ๒ เกียร์ ๓ เกียร์ ๔ไง คือว่ามีขั้นที่ ๑ ขั้นที่ ๒ ขั้นที่ ๓ ขั้นที่ ๔ ฉะนั้นขั้นที่ ๑ หมายถึงว่าไม่มีมาหรอก ถ้ามีมากูจะเข้าได้อย่างไร? ไม่มี สำหรับเราไม่มี แต่มีเมื่อก่อนสมัยที่เรายังเป็นวัยรุ่นอยู่ที่ยังพรรษาน้อยๆ อยู่ตอนที่เราเที่ยวธุดงค์ไปนี่ พระเขาเอาอันนี้มาพูด แล้วมันมาเข้าหูเรา เราก็ถามพระเอ็งฟังมาจากใคร ฟังมาจากพระอีกองค์หนึ่ง เราก็ถามพระองค์นี้ พระก็เพื่อนสนิทเราทั้งนั้นล่ะ เราก็ถามพระที่มา เอ็งรู้ได้อย่างไร? พระด้วยกันนะ คุยด้วยสุภาพบุรุษก็กูจับความเอาเอง เห็นเอ็งพูดกูก็จับเอาจับเอา นี่ด้วยเพื่อนสนิทนะเพื่อนสนิทกันมากเป็นพระด้วยกันนี่แหละ

นี่เราจะพูดว่ากรณีอย่างนี้มีคนสนใจมากว่าเป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกิทา เป็นพระอนาคาตั้งแต่ชาติที่แล้วนี่ แล้วมาเกิดในชาติปัจจุบันนี้ทำอย่างไร มันจะเป็นอย่างไร ทีนี้ตัวอย่างนี่ เรานั่งเวลาว่างๆ มันจะ ปิ๊ง! ขึ้นมาตัวอย่าง ตัวอย่างนี่เราพิจารณาของเราแค่นี้เอง เราพิจารณาว่าถ้าพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นขิปปาภิญญา

เราแปลกใจแต่หลวงปู่บัวนี่ หลวงปู่บัวหนองแซงตอนที่ท่านเป็นปะขาว ท่านเป็นหมอยาท่านถือศีล ๘ ตลอดนะ แล้วหลวงปู่เพ็ง ลูกชายเอามาบวชเห็นไหม ไม่ยอมบวชนะอย่างไรก็ไม่ยอมบวชทิฐิพอสมควร พอหลวงปู่เพ็งไปเอาหลวงปู่บัวมาบวชนี่ เอาหลวงปู่มาบวชพอบวชปั๊บนี่ก็มาหาหลวงตาด้วย มาหาครูบาอาจารย์ด้วย

แล้วหลวงตาไปบอกหลวงปู่เจี๊ยะว่า “พระองค์นี้กำลังพิจารณากายด้วยความชำนาญมาก” แล้วถึงที่สุดหลวงปู่บัวก็ผ่านไป ไอ้อย่างนี้มันต้องย้อนกลับไปดูอดีตชาติหลวงปู่บัว เราจับแต่ละองค์มาพิจารณานะ เราจะดูพิจารณาพระองค์นี้ เพราะว่านี้คือวิทยานิพนธ์แต่ละดวงจิต แล้ววิทยานิพนธ์นี่เราต้องศึกษา ศึกษามาเพื่อตาดำๆ เพื่อสั่งสอน เพื่อญาติโยม พวกลูกศิษย์ลูกหานี่

เพราะเขามาแต่ละคน จิตไม่เหมือนกัน ศึกษาครูบาอาจารย์เราแต่ละองค์สิ หลวงปู่คำดี หลวงปู่บัว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชอบ หลวงปู่แหวน หลวงตา หลวงปู่เจี๊ยะนี่ศึกษาสิ อ่านประวัติอ่านพฤติกรรมของท่าน อ่านจริตนิสัยที่ท่านจริงจังมั่นคงอย่างไร? แล้วท่านทำอย่างไร? เราศึกษาหมดนะ เราพยายามศึกษา ศึกษาเพราะอะไร?

เพราะนี่คือวิทยานิพนธ์ นี่คือทางวิชาการ วิชาการทางจิต เพราะท่านสำเร็จไปแล้ว ท่านได้นิพพานไปแล้ว ท่านได้เผาไปแล้วกระดูกของท่านเป็นพระธาตุหมด ต้องศึกษาแต่พวกเราไม่ได้คิดกันไง เรานี่คิดเรื่องนี้มาก แล้วเราศึกษาของเรา แล้วเราพิจารณาของเราตลอด

กรณีอย่างนี้เหมือนกัน ในวงการพระในฝ่ายปฏิบัตินะ เขาจะค้นคว้าเขาจะศึกษากันเป็นอย่างไรๆ เพราะทุกคนต้องการทางออก ทุกคนนี่ติดกิเลสตัณหาทะยานอยาก ปิดบังเอาไว้หมดเลย ทุกคนจะหาช่องรอดให้ได้ ทุกคนหาช่องรอดนี่ต้องทำให้สงบใจ แล้วหาทางออกให้ได้

ถ้าจิตมันรอดช่องรอดจากมารออกไปนะ เราจะพ้นจากทุกข์ อย่างการกระทำของเรานี่ ที่เรามานี่เพราะอะไร? เพราะเรามีศรัทธามีความเชื่อ เราถึงเอาเราเข้ามาเพื่อประพฤติปฏิบัติเพื่อหาทางออกไง แล้วอย่างที่ว่า เวลาหลวงปู่มั่นท่านพูดกับหลวงตานี่ “ปลาในสุ่มๆ” ร่างกายเรานี่เหมือนสุ่ม แล้วมันครอบจิตเราไว้นี่ ทำไมหาปลาไม่เจอ ทำไมหาจิตตัวเองไม่เจอ นี่ปลาในสุ่มนะ ปลาในสุ่มครอบเราไว้เลยนี่ จิตอยู่ในนี้แต่หาจิตตัวเองไม่เจอ

นี่คติธรรมนะ เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์จับ แล้วเอามาเป็นคติ แล้วเวลาเข้าทางจงกรม ตรึกมันตรึกอย่างนี้ขึ้นมา แล้วไล่มัน ไล่ความคิดเรานี่ ไล่มันเข้าไป จะหาปลาให้ได้ จะค้นหาใจให้เจอ จะให้เจอเป็นสมาธิ ใครเจอปลาตัวนั้นคือเจอภพเจอชาติของตัวเอง คือเจอฐานข้อมูล จะซ่อมคอมพิวเตอร์จะแก้ไขคอมพิวเตอร์ต้องไปแก้ที่โปรแกรมนั้น จะแก้ไขจิตต้องกลับไปแก้ที่ตัวจิตนั้น เพราะตัวจิตนั้นคือตัวฐานข้อมูล

ตัวจิตนั้น แล้วเขาบอกว่าไม่ต้องมีสงบ ไม่ต้องมีอะไรเลย มึงจะไปแก้คอมพิวเตอร์ที่จอภาพ ไม่ต้องเข้าไปที่เครื่อง กูจะดูมึงแก้ กูจะดูมึง นี่คำสอนมันฟ้องไง คอมพิวเตอร์เขาต้องแก้ที่เครื่องมัน แก้ที่โปรแกรมมัน เขาไม่ได้ไปแก้ที่ โอ้โฮ เวลาเขาพูด

ใกล้กายกับจิตนี่มันฟังออกนะ คำพูดนี่ใกล้กายกับจิตนะ คำพูดคำเดียวกัน ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมท่านพูดออกมาจากใจท่าน คำพูดของเราจำคำพูดเขามาพูด มันห่างไกลเราเป็นร้อยโยชน์ แค่ฟังคำพูดที่คนสอนนี่ ฟังออก ว่ามันพูดมาจากที่ไหน ถ้าเรารู้จริงจากฐานข้อมูล เราพูดจากข้อมูลของเรา แต่ถ้าเราครูพักลักจำ เราพูดจากที่เราเห็นมา

ถาม : อันนี้จะว่าพระโสดาบันในศาสนาพุทธองค์ก่อนแล้วมาบรรลุอรหันต์ในศาสนานี้ มีหรือไม่?

หลวงพ่อ : มี ต้องมี มีแน่นอนเพราะว่าวัฏฏะมันวนไปอย่างนั้น มี แต่ตัวอย่างขอเอาไว้ก่อน ติดตัวอย่างติดไว้ก่อน

ถาม : ๒. พระอริยเจ้าเบื้องต่ำจะยังมีความหลงผิดคิดว่าตัวเองบรรลุนิพพานได้หรือไม่แล้วจะยังสั่งสอนประชาชนผิดได้หรือไม่?

หลวงพ่อ :อันนี้เป็น ๒ ปัญหานะ ปัญหา ๑ คือ พระอริยเจ้าเบื้องต่ำที่ยังมีความหลงผิดคิดว่าตัวเองได้บรรลุนิพพานได้หรือไม่ อันนี้เป็นข้อหนึ่งคือ ได้ แล้วจะยังสั่งสอนประชาชนผิดได้หรือไม่ อันนี้อีกข้อหนึ่ง เพราะการสั่งสอนนี่สั่งสอนโดยที่ไม่ผิดโดยที่รู้จริงโดยขั้นที่รู้ไม่ผิด แต่ขั้นที่สูงกว่าตัวเองยังหลงเป็นข้อแรก

ข้อแรกนี่หลงนะ พระอริยบุคคลขั้นต่ำหลงว่าตัวเองนิพพานได้หรือไม่? ได้ๆๆ ได้สิ ถ้าไม่ได้หลวงตาท่านไปแก้หลวงปู่คำดีทำไม ถ้าไม่ได้หลวงตาไปแก้หลวงปู่บัว ถ้าไม่ได้ทำไมหลวงตาไปแก้หลวงปู่ฝั้น เพราะคำว่าแก้คือพวกนั้นหลงใช่ไหม พระอริยบุคคลที่ชั้นต่ำ แล้วหลงตัวเองว่าบรรลุนิพพานทั้งนั้นเลยๆ หลงๆ แต่ไม่หลงในสิ่งที่ตัวเองรู้ แต่ที่ตัวเองไม่รู้นี่หลงแน่นอน หลง

ถ้าไม่หลงพระอนาคาไม่ติดในพระอนาคาใช่ไหม? หลวงตาไปแก้ใครบ้าง? ไปแก้หลวงปู่คำดี ไปแก้หลวงปู่บัว ไปแก้หลวงปู่ฝั้น แล้วหลวงปู่ตันไปหาประจำ นี่ไงคอยแก้ให้ไง คอยแก้เพราะอะไร? เพราะมีผู้ที่เป็นพระอรหันต์ที่เข้าใจได้มันเลยดึงได้

แต่ถ้าเรามีทิฐิว่าเราเป็นพระอรหันต์ มึงก็หลงอยู่นั่นล่ะ หลงอยู่ในความคิดอยู่นั่น หลง หลงว่าตัวเองนิพพาน หลง เพราะกิเลสมันละเอียดนะ กิเลสของโสดาบันนี่มันหยาบๆ มันหยาบๆ หมายถึงว่ามันเป็นข้อมูลดิบ คือจิตดิบๆ เห็นไหม เพราะเราเป็นปุถุชน แล้วเราทำความสงบ แล้วเราพยายามต่อสู้มัน เพื่อเป็นพระโสดาบัน นี่ดิบๆ เลยนะ

พอเป็นพระโสดาบันแล้ว ทีนี้พระสกิทานี่เราก็ยังอาจจะต่อสู้ได้ มันจะหลงน้อยหน่อยนะ พระสกิทานี่เพราะมันต่อสู้แล้ว มันเห็นภาพชัดเจน พอมันผ่านแล้วมันว่างหมด มันว่างหมดนี่ที่ว่าหลวงปู่มั่นมาให้หลวงตาออกไปพิจารณา นี่ก็ติดแล้วนะนี่ก็หลง นี่ก็ติด พระอริยบุคคลชั้นต่ำที่หลงว่าเป็นนิพพานนะ เยอะแยะเลย

แล้วหลงไม่ใช่หลงธรรมดาด้วยนะ เวลาหลงนี่มันจะเข้าข้างตัวเอง ถ้าฟังหลวงปู่มั่นเทศน์ หรือฟังครูบาอาจารย์เทศน์มันจะเทียบกันเลย เหมือนกูๆๆ เหมือนกูหมดเลย มันจะเอาเหตุผลนี้ว่าเหมือนกันหมด มันจะบังหมดเลย มันจะหาเหตุหาผลมารองรับความเห็นเรา มันจะหาเหตุหาผลมารองรับว่า อันนี้ก็ใช่ อันนี้ก็ถูก อันนี้ก็ดี

แต่ถ้าคนที่เหนือกว่าเขามีเหตุผลหักล้าง มีเหตุผลหักล้างที่เราเห็นว่าผิด ครูบาอาจารย์ที่จริงเห็นไหม มีหลวงตาไปแก้อยู่คนหนึ่งที่เมืองจันท์ นิพพานอะไรนิพพานดอนที่เป็นหมู่บ้านเขาว่าเขานั่งสมาธิเขาเห็นตรงนั้นไปเขาว่าเขานิพพาน หลวงตาท่านบอกว่า ให้กำหนดใหม่นะ ให้ทำอย่างนี้ๆ พอทำอย่างนี้ปั๊บ ตัวเองเห็นผิดไงก็มาหาหลวงตาอีก ไม่ใช่แล้วไอ้นิพพานที่เห็นนั้นผิด ของหลวงตาถูกกว่าเห็นไหม

เวลาจะแก้นี่มันจะต้องมีเหตุผลที่ดีกว่า แล้วมีเราต้องอย่าให้เกิดทิฐิ ถ้าเขาบอกว่าเขาติดแล้วเราบอกว่าอันนั้นผิด เขาก็บอกว่าผิดได้อย่างไร? ของเรามันทำมากับมือมันต้องถูกสิ มันก็เลยเกิดทิฐิยึดของตัวเองหนักขึ้นเป็น ๒ เท่า

ฉะนั้นเราจะแก้นี่ เราต้องคอยพูดให้เข้าใจ พูดว่าสิ่งที่เราทำมาแล้วนี่ก็สาธุ เพราะทำมาลงทุนลงแรงมาเก่งมากสุดยอดมาก อันนี้เอาวางไว้ก่อนแล้วลองทำอย่างนี้ดูบ้าง ลองเสนอเหตุผลอีกเหตุผลหนึ่งเข้าไป ให้เขาได้พิสูจน์

ถ้าเขาพิสูจน์แล้วนี่ติดอย่างนี้ก็มี แต่หลวงปู่คำดีท่านดีมาก ท่านไม่ได้ติดเรื่องอย่างนี้ ท่านรู้ว่าท่านยังไม่ถึงแต่ท่านไปไม่ได้ คนติดนี่มันมีหลายแง่มุมนะ บางคนนี่นะว่าตัวเองไปไม่ได้แต่ยังมีทางไปอยู่ก็พยายามจะไปให้ได้

แต่ของหลวงปู่บัวเห็นไหม ที่หลวงตาท่านมาเล่าให้ฟัง “อ้าว ให้เล่ามาสิ”

“อ้าว โสดาบันผ่าน สกิทาผ่าน อนาคาผ่านต่อไปสิ”

“ก็นึกว่าจบแล้วไง”

ก็นี่นิพพานไงเห็นไหม ไม่เข้าใจว่ายังไปได้อีกแต่ไปไม่ได้นั้นอันหนึ่ง แต่ตัวเองติดว่าอันนี้เป็นนิพพานไม่ไปอีกแล้ว ไม่ขวนขวายไม่ทำอะไรเลยนอนจมอยู่นั่น พอนอนจมอยู่นั่นต้องแก้อีกอย่างหนึ่ง

หลวงปู่ฝั้น นิพพานสว่างไสว “พุทโธสว่างไสว พุทโธผ่องใส” หลวงตาบอกผ่องใส คืออวิชชาไง ในธรรมะชุดเตรียมพร้อม ผ่องใสคืออวิชชา ความสว่างไสวเป็นอุปกิเลสทั้งหมด ไอ้นี่นิพพานเห็นไหม “พุทโธผ่องใส พุทโธสว่างไสว” นี่ก็ติดอันหนึ่ง

การติดนี่ไม่ใช่ว่าไม่เหมือนสวะลอยไปในน้ำ ลอยแล้วก็ไปติด ไม่ใช่ การติดนี่มันติดด้วยทิฐิมานะของตัว ติดโดยความเห็นผิดของตัว ติดโดยความเข้าใจผิด ติดโดยกิเลสมารเข้ามาหลอก โอ้ ไม่ใช่ไปบนถนนแล้วมีคนเอาก้อนไม้มาฝาก ไม่ติดไม่ใช่หรอก มันเห็นชัดๆ ว่าก้อนไม้มันขวางอยู่ มันก็ผ่านได้แต่ติดนี่ โอ้โฮ หลวงปู่มั่นถึงพูดไว้ว่า

“หมู่คณะให้ปฏิบัติมา ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ ถ้าติดถ้าภาวนามานะ แก้จิตมันแก้ยากนะ คนไม่รู้แก้ไม่ได้นะ ผู้เฒ่าจะแก้ให้ภาวนามา เวลาผู้เฒ่ายังมีชีวิตอยู่ให้รีบภาวนามา ผู้เฒ่าตายแล้วจะไม่มีใครแก้นะ”

ไม่ใช่ไปศึกษาตำรามาแล้วถือไม้เรียวมาเลย คอยจะมาแก้ ใครมาก็จะฟาดก้นๆ ไม่มีทาง มันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก

มันต้องเหมือนหมอนี่ เป็นโรคอะไร? โรคที่เหมือนกันเป็นต่างกัน เป็นเพราะเหตุผลอื่นเป็นเพราะเชื้อโรคมาจากที่อื่นแก้อย่างไร? เชื้อโรคนี้ไปติดเชื้อมาจากไหน ไม่ได้ติดเชื้อนี่เป็นขึ้นมาด้วยตัวเองเป็นอย่างไร?

นี่แก้จิต เวลาจิตมันติด ติดเพราะเหตุใด? ติดเพราะว่ากิเลสหลอกมึง ติดเพราะมึงสวมรอยว่ามึงจะเอาผล ติดเพราะเอ็งไม่รู้ เอ็งติดเรื่องอะไร? ที่บอกว่าติดร้อยเปอร์เซ็นต์ ติดเด็ดขาดติดทั้งนั้น

ถึงบอกว่าถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์นะ เวลาเราพูดถึงนะ เราจะโดนหลวงตาตอนอยู่กับท่าน ท่านซัดเราเต็มที่เลยนะ ถ้าพูดถึงทางโลกแล้วน่าจะเสียใจน่าดูเลยนะ แต่สำหรับเรานะ เราภูมิใจมาก เวลาเราคิดเราจะพูดกับโยม ฟังบ่อยมากเลยว่า เรานี่ภูมิใจตัวเองมากว่า เราเกิดมามีครูมีอาจารย์

ถ้าไม่มีครูมีอาจารย์ใครจะสอนกู ไม่มีทางโคตรเถียงเลยนี่ ไม่ลงใครหรอกมาเลย กูเถียงชนะหมด กูเถียงเอาชนะได้นะมึงแต่จิตกูแพ้ หลวงปู่เจี๊ยะจนร่ำลือถ้าใครไปหานะ โอ้โฮ ไอ้หงบเรานะ โคตรเถียงเก่งไอ้นี่เถียงเก่ง เถียงทีไรชนะหลวงปู่เจี๊ยะทุกที แต่หัวใจสู้ไม่ได้

แต่ถ้าเถียงนะหลวงปู่เจี๊ยะเถียงสู้ไม่ได้นะ เราเถียงเก่งมาก พระ...นี่ พระ...นี่ ...สึกไปแล้วนี่ ถามพวกนี้เป็นพยาน เพราะพวกนี้มันแอบฟังเวลาเราเถียงกับหลวงปู่เจี๊ยะ ไปถามไอ้...ได้เลย อาจารย์...ๆ เพราะพวกนี้เป็นเณร ตอนนั้นเราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ

ถ้าเถียงนะเถียงทั้งคืนเลย นี่ไม่ใช่เอาไม้เรียวมาจะแก้ง่ายๆ ถ้าหลวงปู่เจี๊ยะท่านไม่ใช่ของจริง เอาเราไม่อยู่ ท่านท้าเราประจำเลยนะ มึงทำอย่างนี้สิๆ ถ้าคนไม่เป็นเรายังพูดบ่อยเห็นไหม เราเคยพูดบ่อยเลยว่า ถ้าพระโมคคัลลานะไม่ใช่จริง พระโมคคัลลานะไม่สามารถกล้าพูดกับพระพุทธเจ้าบอกว่า ข้าพเจ้าจะพาพวกนี้เหาะไปบิณฑบาตในทวีปนั้น ข้าพเจ้าจะพลิกง่วนดินนั้นขึ้นมา

ถ้าคนจริงกับคนจริงคุยกัน คนจริงเขารู้มึงหลอกเขาไม่ได้ ถ้าคนไม่จริงมึงไปหลอกเขานี่คนไม่เป็นมึงไปหลอกเขา หลอกได้ทั่วประเทศไทย แต่ถ้าคนจริงมึงกล้าเข้าหาของจริงไหม? ถ้ามึงจริงมึงเข้าไปหาหลวงตาสิ ของจริงมันต้องเข้าไปหาของจริงแล้วของจริงจะชี้ถูกชี้ผิดมึง คุยโม้อยู่ทั่วโลกทั่วสงสารไม่เคยเข้าหาครูบาอาจารย์เลยไม่กล้าเข้าหาใครเลย มันเอาความจริงมาจากไหนความจริงของมันเองไง ถ้าความจริงมันต้องเข้าไปหาของจริง

นี่เวลาเราอ่านพระไตรปิฎกนะ เราถึงซึ้งพระโมคคัลลานะกับพระพุทธเจ้าเวลาพระโมคคัลลาพูดนะ โอ้โฮ แสดงปาฏิหาริย์ข้าพเจ้าแสดงเอง ข้าพเจ้าจะเหาะอย่างนั้นข้าพเจ้าจะทำอย่างนั้น ลองไม่จริงพระพุทธเจ้าเขกหัวแล้วมึงโกหก นี่พระพุทธเจ้าบอก “ไม่ได้เราจะทำเอง หน้าที่ของตถาคตไม่ใช่หน้าที่ของเธอ เธอห้ามทำ เราจะทำเอง” พระพุทธเจ้าบอกไง

ตอนแสดงปาฏิหาริย์เห็นไหม เธอห้ามทำ ไม่ให้ทำ มันเป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้า หน้าที่ของศาสดา ศาสดาจะชนกับลัทธิอื่น นี่ของจริงกับของจริงคุยกัน แหม มันซึ้งมากนะ มันซึ้งที่แบบหนึ่งคนจริงพูด สองอีกคนหนึ่งจริงแล้วรับฟังจริงแล้วยอมรับ แล้วนี่ก็ย้อนกลับมาหลวงตาเรากับหลวงปู่ขาว หลวงตากับหลวงปู่แหวน หลวงตากับครูบาอาจารย์เรานี่ เอ็งซึ้งไหม

เราถึงบอกว่า เวลาเราคิดถึง เรานี่ โห โดนมาสุดๆ แต่เวลามันปฏิบัติมาแล้วนี่ภูมิใจ ภูมิใจมากๆ เพราะถ้าไม่เจอครูบาอาจารย์นี่นะ เราไม่รู้อยู่ที่ไหน ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ยังจะหัวหกก้นขวิดอยู่ คำว่าหัวหกก้นขวิดที่ไหน หัวหกก้นขวิดเพราะอะไร? เพราะเราจะมีกิเลส เราจะมีทิฐิมานะของเรา เราจะมีความเห็นของเรา เราจะทำตัวของเราเหลวไหลไปแต่ความเห็นของเราที่มันจะพาเราทำ

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์นี่ เราก็ยังมีทิฐิของเรานี่แหละ ว่ากูเก่งกูแน่แล้ว กูจะลงเอาหัวฟาดดิน กูนี่กูก็นึกว่ากูเก่งนะ มึงจะตายห่าเปล่าๆ ยังไม่รู้ตัวนะ แต่นี่เพราะเรามีครูบาอาจารย์ไง คิดดูสิประสาเรานี่ แล้วโยมกับเรา เราก็เป็นลูกศิษย์หลวงตาด้วยกัน เราก็ลูกศิษย์อาจารย์เดียวกันนี่ แล้วเราภูมิใจไหม? แล้วเราจะทำไหม?

นี่เราเป็นลูกศิษย์อาจารย์ โยมก็เป็นลูกศิษย์อาจารย์ด้วยกัน เพราะอาจารย์เป็นสมบัติสาธารณะใครก็เป็นลูกศิษย์ท่านได้ แล้วเราเกิดมาเจอนี่เห็นไหมเทวดาอวยพรกัน ขอให้เราเกิดเป็นมนุษย์เถิดแล้วพบพุทธศาสนา แล้วปัจจุบันนี้เราก็เกิดเป็นมนุษย์แล้ว แล้วก็พบพุทธศาสนา แล้วเราก็เจอครูบาอาจารย์นี่

อ้าว ถ้าเรามีเหตุผลที่เหนือกว่า มีเหตุผลที่ลบล้างได้ เราถึงจะเป็นคนเก่ง นี่เหตุผลเราฟังไม่ขึ้นสักคน อันนี้พูดถึงว่าติดไหม? ติด ติดเด็ดขาด ติดอยู่อย่างนั้น เพราะกิเลสมันมีอย่างหยาบๆ มันก็หลอกหยาบๆ กิเลสละเอียด มันก็หลอกละเอียด

ดูสิดูหลวงตาเวลาท่านขึ้นไปถึงข้างบนแล้ว พระอนาคานะ แล้วเวลาเดินจนจิตสว่างหมดเห็นไหม ก็เจอจุดและต่อม ขนาดธรรมะบอกแล้ว ท่านยังงงเห็นไหม ยังเสียเวลา ขนาดธรรมะมาเตือนขนาดนั้นนะจี้ลงไปกลางหัวใจเลย แล้วเป็นอย่างนั้นจริงๆ เวลาเจอของจริงทำอะไรไม่ถูกมันช็อก มันช็อกไปเลยนะจะทันแค่ไหนก็ช็อกเพราะจิตมันเร็ว ช็อกไปเลยนะ พอช็อกเสร็จแล้วต้องมากำราบมันอีก ตอนกำราบนี่หาไม่เจอ

ท่านบอกถ้าหลวงปู่มั่นอยู่นะ เสร็จเลย หลวงปู่มั่นไม่อยู่ต้องหาเอง เราจะบอกว่าขณะที่เป็นพระอนาคา คำว่าพระอนาคานี่ มหาสติมหาปัญญาแล้ว แล้วกิเลสที่มันละเอียดกว่า มันยังหลอกพระอนาคาได้เลย แล้วเราเป็นใคร เราปุถุชนใช่ไหม? กิเลสไม่หลอกหรือร้อยเปอร์เซ็นต์ พระอนาคากิเลสมันยังหลอกได้เลย

แล้วไอ้พวกง่อยเปลี้ยเสียขา กิเลสไม่หลอกไม่มีทาง หลงอยู่แล้ว หลง ถึงเวลาพูดปฏิบัติผิดไหม? ผิดเลย แต่ผิดเพื่อจะถูกไง ไม่ผิดเลยจะเริ่มต้นที่ไหนกัน คนไม่เคยหัดฝึกหัดเลย มันจะทำอะไรเป็น คนจะเป็นขึ้นมามันก็ต้องฝึกหัดขึ้นมาทุกคน คนเริ่มต้นฝึกหัดมันจะถูกต้องดีงามไปที่ไหน ฝึกหัดจนคล่องชำนาญแล้วนั่นแหละถึงจะไม่ผิด

เริ่มต้นปฏิบัติก็กลัวผิดๆ กลัวผิดก็ต้องผิด เพราะเริ่มต้นฝึกหัด เริ่มต้นกระทำต้องผิดไปก่อน แต่ผิดเราก็รู้ว่าผิด ผิดเราก็ประคองไปว่าผิด ผิดเพื่อจะแก้ตัวเรา เราไม่ใช่ผิดเพื่อจะผิด เราผิดเพื่อจะถูกต้องผิดไปก่อน เพราะมันต้องผิดแน่ๆ ผิดเพราะอะไร? เพราะกิเลสมันดิบๆ เพราะอวิชชามันครอบงำอยู่มันไม่เปิดให้มึงทำหรอก ต้องสู้ไป ใครมาบอกไม่ให้ผิด ไม่ให้ผิด

พระพุทธเจ้าก็สอนไม่ได้ พระพุทธเจ้าต้องสอนอย่างนี้ ก็ต้องสอนจากปฏิบัตินี่ พระพุทธเจ้าบอกว่าให้มึงถูกเลย มาถึงมา กูตีตราให้มึงถูก ไม่มีๆ ผิดก็ต้องสู้นะ ต้องสู้ ใครมาก็นี่ ไอ้ที่เราพูดนี่เราก็เข้าใจนะ เวลาพูดนี่มิจฉา-สัมมาผิดถูกอย่างนี้ ทุกคนก็คิดว่าเรานี่จะชี้ถูกชี้ผิดได้ จริงๆ นะเราชี้ได้ แต่ผู้รับมันไม่เข้าใจเอง

ไอ้ผู้ที่รับมันไม่รู้กูชี้บอกแล้วมันยังไม่รู้ แล้วมันอยากให้กูชี้ให้มันเข้าใจ จริงๆ ที่เราพูดอยู่นี้ ก็ถูกผิดๆ นี่แหละ แต่ผู้ฟังมันไม่รู้ พูดอย่างไรก็ไม่รู้ จิตมันบอดต้องให้มันฝึกเอง ทำเองจนจิตมันใส จิตมันเข้าใจเองแล้วมันจะรู้ จิตมันต้องรู้เองเห็นเองจะบังคับให้รู้โดยที่ไม่ให้ผิดเลยเป็นไปไม่ได้

จิตดวงนั้นมันต้องฝึกของมัน มันต้องรู้ถูกรู้ผิดของมัน แล้วมันจะดีของมันขึ้นมา มันเป็นอย่างนี้โดยธรรมชาติ มันเป็นอย่างนี้โดยข้อเท็จจริง นี่ไปหาครูบาอาจารย์กัน ไปบวชใหม่ๆ ทุกคนบวชใหม่กิเลสทั้งนั้นล่ะ แล้วปฏิบัติก็ผิดหมด

แต่ถ้าปฏิบัติถึงจริงนะ เดี๋ยวจะเป็นโสดาบัน เดี๋ยวจะเป็นสกิทา เดี๋ยวจะเป็นอนาคา เดี๋ยวจะสิ้นกิเลสถ้าทำได้ มันต้องผิดมาก่อน มันก็ต้องสกปรกมาก่อนถึงจะสะอาดใช่ไหม? เริ่มต้นก็บอกไม่ให้ผิดเลยสัมมาทิฏฐิถูกต้องหมดเลย เอ็งเคยเห็นของสะอาดมาก่อนสกปรกไหม? ไม่มี มีแต่สกปรกแล้วไปหาสะอาด

เริ่มต้นกิเลสมันก็มีอยู่แล้ว เราบอกสะอาดเลยไม่ให้ผิดเลยให้ถูกหมดเลย นี่มันกลับกันไง อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ ที่เริ่มต้นสักแต่ว่า สักแต่ว่านี่เป็นคำพูดของพระอรหันต์ แต่พวกเรานี่กิเลสเต็มหัวจะบอกสักแต่ว่าไม่ได้ต้องจริงต้องจัง ให้มันรู้จริงเห็นจริงจนมันปล่อย แล้วจึงเป็นสักแต่ว่า

ถ้ามันรู้จริงเห็นจริงนี่ มันเป็นสักแต่ว่าโดยธรรมชาติเลย แต่ถ้าเรายังไม่เป็นสักแต่ว่ามึงบอกว่าสักแต่ว่านะ มึงหลอกตัวเอง แล้วมึงทำให้ตัวเองหลงผิดด้วย ต้องจริง จริงกับมันนะ แล้วจะยังสอนประชาชนให้ผิดได้หรือไม่? สิ่งที่รู้แล้วนี่ไม่ผิด อย่างพระอานนท์นี่เป็นพระโสดาบันนะ พระอานนท์นี่สอนถูก แล้วพระอานนท์สอนแล้วไม่กล้าสอนสิ่งที่เหนือกว่านั้น พระอานนท์นี่ใครเกินพระโสดาบันนี่พระอานนท์จะพาไปหาพระกัสสปะ พระอานนท์จะให้เอาครูบาอาจารย์มาเทศน์

ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้วนะ ขอให้เป็นพระโสดาบันเถิด เพราะเป็นพระโสดาบันแล้วนี่ นี่ถ้าเป็นอริยบุคคลสอนผิดได้ไหม? ไม่ได้เลย พระโสดาบันนะทำไมถึงสอนผิดไม่ได้เพราะความภูมิรู้ของพระโสดาบันนี่มันเปลี่ยนจากปุถุชนไปเป็นโสดาบันนี่ มันรู้ถูกรู้ผิดไง มันเปลี่ยนจากปุถุชน จากโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล ตอนนี้ที่มันเปลี่ยนแปลงไปนี่มันทำมา

ของที่ทำมาอย่างเช่น หมอที่เป็นหมอแล้ว เขาจะสอนคนให้ไปทำลายตัวเองให้ไปติดเชื้อได้ไหม ไม่ได้ เพราะหมอเขารู้อยู่แล้วว่าเชื้อโรคเป็นอย่างไรแล้วมันพ้นจากเชื้อโรคมามันเป็นอย่างไร?

นี่ก็เหมือนกันสอนสิ่งที่รู้ไม่ผิด พระโสดาบันส่วนใหญ่แล้วจะสอนไม่ผิดแล้ว แต่สอนไม่ผิดเป็นขั้นของพระโสดาบัน พระโสดาบันยังไม่รู้จักพระสกิทาพระอนาคา พระโสดาบันยังหลงอยู่ข้างบนนี่ พระโสดาบันนี่จะสอนไปข้างบนไม่ได้ พระโสดาบันที่ตัวเองหลงผิดอยู่ ตัวเองหลงผิดอยู่ ตัวเองก็ไม่รู้จะสอนเขาได้อย่างไร? ก็สอนสิ่งที่รู้นี่

นี่ถ้าพระโสดาบันหลงว่าตัวเองว่าเป็นพระอรหันต์นะ ก็นึกว่าพระโสดาบันเป็นพระอรหันต์ก็สอนว่านี่เป็นนิพพานๆๆ ก็สอนว่านี่คือนิพพาน คือเข้าใจผิดว่าโสดาบันเป็นนิพพานไง ก็สอนได้แค่นั้น แต่สอนผิดจากความจริงไหม “ไม่” ความจริงที่รู้แล้วนี่ไม่มีผิดเลยผิดไม่ได้ จะไม่สอนประชาชนผิดไอ้ที่สอนประชาชนผิดนี่คือปุถุชน ไอ้ที่สอนผิดๆ คือในหัวใจไม่มีเลย ถ้ามีมันไม่สอนผิด ไอ้ที่เราผิดๆ นี่เราบอกว่าผู้นั้นคือ สิบแปดมงกุฎด้วย ไม่ใช่ปุถุชนธรรมดา

แต่ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้วนะไม่มีผิด แต่ถ้าบอกผิดนั่นคือ สิบแปดมงกุฎ ใครว่าจะเป็นครูบาอาจารย์สูงส่งขนาดไหนเราบอกเลยว่า สิบแปดมงกุฎ

ถาม :การสวดมนต์นานๆ จะทำให้จิตสงบเป็นสมาธิได้หรือไม่? แสดงว่ามีตัวอย่างอย่างอื่นหรือเปล่า?

หลวงพ่อ :มี อันนี้จำแม่นเลย เพราะอันนี้มันกินใจเรามาตลอด การสวดมนต์นานๆ นี่มันอยู่ที่นิสัย แล้วถ้าสวดมนต์นานๆ เป็นสมาธิได้ทำไมเราไม่พาพระสวดมนต์ เราพาสวดมนต์เฉพาะวันพระวันปกติให้พระสวดมนต์เป็นส่วนตัว เพราะการภาวนานี่มันมีครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้นำอย่างเช่น สายหลวงปู่ฝั้น ท่านจะภาวนาท่านจะสวดมนต์แล้วนั่งสมาธิหลายๆ ชั่วโมง แต่เรามาอยู่กับหลวงตา หลวงตาท่านไม่เคยพาสวดมนต์เลย ท่านบอกว่าท่านนั่งตลอดรุ่งหรือบางองค์นี่ท่านนั่งทีหนึ่ง ๔ ชั่วโมง ๕ ชั่วโมง บางองค์จะนั่งได้เล็กน้อย

ถ้าเอามาภาวนาร่วมกันนี่ ไอ้ได้ประโยชน์คือได้ประโยชน์จากพระที่ภาวนาได้น้อย เพราะว่าเวลาเข้ามาภาวนาด้วยกันหมู่พระมันจะบีบบังคับ ให้ตัวเองไปไหนไม่ได้ก็ต้องทน แต่พระที่ภาวนาทั้งคืนนี่ เขาต้องระวังเวลาเพราะไม่ให้จิตลง เพราะถ้าจิตลงแล้วนี่เดี๋ยวจิตเลิก จะเลิกไม่ทันเขา

ถ้าพระเขาจะอ่อนน้อมถ่อมตนนะ คนภาวนาเป็นนี่ พยายามจะอ่อนน้อมถ่อมตน พยายามจะรักษา พยายามปิดวุฒิภาวะของตัวเองไว้ เพราะยิ่งปิดไว้แล้วนี่ มันจะรักษาง่าย ถ้าเราไปเปิดอะไรขึ้นมานี่มันจะเสื่อมเร็ว มันจะเสื่อมง่ายรักษายาก ฉะนั้นเขาจะปิดของเขาไว้ เขาจะมีความละอาย

นี่ครูบาอาจารย์ ท่านรู้อย่างนี้ปั๊บ ท่านถึงบอกว่าส่วนใหญ่จะให้ทำส่วนตัว ทีนี้การสวดมนต์นานๆ นี่จะดีไหม “ดี” ทีนี้มันอยู่ที่คน เพราะการสวดมนต์นี่ พุทโธก็เหมือนกับสวดมนต์นะ

พุทโธๆๆ นี่ก็เหมือนสวดมนต์นะ พุทโธนี่ นี้คำว่าพุทโธๆ นี่ มันเป็นคำบริกรรมมาตัดไง ทีนี้พอสวดมนต์นี่เห็นไหม อเสวนา จ พาลานํ ปณฑิตานญฺจ เสวนา นี่มงคล ๓๘ ประการก็สวดมนต์ไปด้วย มันก็เหมือนพุทโธแต่มันต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จิตมันสงบได้ไหม? “ได้”

ตัวอย่างอาจารย์สิงห์ทอง อาจารย์สิงห์ทองทีแรกท่านกะบวชพรรษาเดียว ขนาดบวชพรรษาเดียวนะ ประวัติของท่านในหมู่คณะครูบาอาจารย์คุยมาเยอะมากว่า อาจารย์สิงห์ทองบวชพรรษาแรก ท่านก็บอกว่าจะบวชพรรษาเดียว แล้วญาติพี่น้องบอกว่าเป็นไปไม่ได้

“ถ้าอาจารย์สิงห์ทองบวชได้นะจะให้ขี้บนที่นอนในบ้าน” อาจารย์สิงห์ทองก็ท้าพนันบวชพรรษาเดียว พอบวชพรรษาเดียวนี่ ไปสวดมนต์ สวดมนต์ทีไรจิตสงบทุกทีเลย สวดมนต์จิตมันลงได้ง่ายๆ เลย เหมือนสมาธินะไม่ต้องทำมันเป็นสมาธิเอง โอ้โฮ ถ้าอย่างนี้ก็ดีสิ

ท่านเล่าให้ฟังนะ ถ้าอย่างนี้ก็ดีสิ นี่ก็ “ตั้งสัจจะ” คนจริง ตั้งสัจจะว่าจะบวชตลอดชีวิต พอตั้งสัจจะว่าจะบวชตลอดชีวิต สวดมนต์เท่าไรจิตก็ไม่ลง ไม่ลงอีกเลย ทีแรกสวดมนต์นะ นี่ท่านเล่าเองนะ สวดมนต์นี่จิตมันลงเลย สมาธิทำไมมันง่ายอย่างนี้แล้วมันมีความสุขมาก ถ้ามีความสุขมากอย่างนี้นะ เราอยู่ได้ทั้งตลอดชีวิตเลย

ทั้งๆ ทีแรกจะบวชไม่ยอมบวชนะ บวชแล้วญาติพี่น้องท่านเป็นคนแบบคนเอาจริงเป็นลูกผู้ชายคนหนึ่ง ทีนี้ญาติพี่น้องท่านไม่เชื่อว่าจะบวชได้ ญาติพี่น้องถึงบอกว่า “ถ้าบวชได้จะให้มาขี้บนที่นอน” แล้วท่านเป็นคนจริงนะ นี่หลวงตาเล่าให้ฟังเอง ท่านก็กลับไปขี้ในที่นอนของญาติเหมือนกัน กลับไปที่บ้านนั้นแล้วก็ไปขี้เลยขี้ในบ้านนั้นเลย นี่เรื่องจริงของอาจารย์สิงห์ทองนะ นี่ในวงการพระ เข้าไปขี้ในที่นั้นเลยขี้รับท้าคำพนันไง พนันว่าอยู่ได้พรรษาหนึ่ง ถ้าอยู่ครบพรรษาจะให้ขี้บนที่นอน ออกพรรษาแล้วก็ไปขี้ขี้บนที่นอนเลย แล้วก็กลับมาภาวนาต่อ

แล้วพรรษาแรกนะ ท่านบอกว่า “สวดมนต์ก็จิตสงบง่าย สงบง่ายมากๆ เลย” พอสุดท้ายแล้วบอกว่า บวชตลอดชีวิต โอ้โฮ ภาวนายาก พอยากท่านก็เอาจริงเอาจัง จนท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว แต่นี่จริตนิสัยก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง อาจารย์สิงห์ทองนี่แหละสวดมนต์ๆ จิตลงเลย แล้วนิ่มๆ ง่ายๆ เลย เมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ทุกที ก็เลยคิดว่า โอ้โฮ ทำไมง่ายอย่างนี้ กูบวชตลอดชีวิตเลย สบาย

พอบอกว่า “บวชตลอดชีวิตเลยเท่านั้น เกลี้ยงเลย ไม่ลงอีกเลยกิเลสไง” อันนี้ถ้าเราแบบว่าโทษนะ ใช้ความเห็นเรา เราว่าบุญของท่าน ท่านต้องสร้างบุญมาเยอะ

เพราะว่าคนนะ ดูสิดูนิสัยเห็นไหม ว่าไม่อยากบวชแล้วญาติพี่น้องก็ยังว่าบวชไม่ได้เลย แล้วพอมาบวชปั๊บนี่เหมือนบุญไง บุญก็ล่อให้เป็นสมาธิง่ายๆ เพราะมีบุญใช่ไหม ก็ถ้าง่ายก็เอาเว้ย พอเอาตูมเท่านั้นติดกับแล้ว สึกไม่ได้เพราะตั้งสัจจะไงว่าจะอยู่ตลอดชีวิต พอตลอดชีวิตปั๊บตอนนี้เขาปล่อยธรรมชาตินะ โอ๊ยสมาธิลงยากแล้ว สู้กันเต็มที่ แต่เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะเราอยู่กับหลวงตาทั้ง ๒ องค์ชมอาจารย์สิงห์ทองมาก จะชมตอนเร่งความเพียร พระอยู่ด้วยกันเขาจะเห็นนิสัย

หลวงปู่เจี๊ยะท่านไม่ค่อยชมใครนะ ท่านบอกว่าอาจารย์สิงห์ทองนี่เดินจนทางเดินจงกรมเป็นเหวเลย หลวงตาก็ชม แสดงว่าท่านเอาจริงเอาจังกับตัวท่านเองมาก ท่านเป็นคนจริงพูดคำไหนคำนั้น ตลอดชีวิตแล้วก็ต้องมุมานะและเอาจริงเอาจัง จนถึงที่สุดท่านเป็นพระอรหันต์ไปแล้วนะ เพราะเราได้พระธาตุมาเอง

เราก็แปลกเขาไปงานของอาจารย์สิงห์ทองมาตอนนั้น เรายังไม่มาเขาก็เอากระดูกของท่านมาให้เรา พออยู่กับเรานะมันจะเป็นพระธาตุมาครึ่งหนึ่ง มันเป็นก้อนกระดูกนี่ ครึ่งหนึ่งเป็นแก้ว แล้วมันจะกินเข้ามาเรื่อยๆ จนเป็นแก้วหมดเลย เรานี่เก็บไว้กับเราเองอยู่ในมือเราเองเลยพระธาตุอาจารย์สิงห์ทอง เราให้แม่ไปแล้ว เดี๋ยวนี้ยังอยู่หรือเปล่าไม่รู้ เราให้ตั้งแต่พรรษาเรายังน้อยๆ มีอะไรมาไม่เคยเก็บให้คนอื่นหมด นี่ชัดเจนมาก แล้วเราอยู่อย่างนี้ กับครูบาอาจารย์

จริงๆ ประสาเราชอบอยู่กับคนจริงคนไม่จริงไม่ชอบ ยิ่งคนพูดไม่อยู่กับหลักกับลอยนี่ไม่เดินเฉียดใกล้เลยนะเรานี่ อย่าว่าแต่อยู่ด้วยเลย เฉียดเข้าไปใกล้ๆ กูยังไม่ไปเลย นิสัยมันเป็นอย่างนี้ นิสัยแปลก ถ้าใครจริงด้วยเคารพบูชามาก ถ้าใครไม่จริงก็ไม่เข้าใกล้ด้วยไม่เข้าไปใกล้เลย

นี่พูดถึงเห็นไหมการสวดมนต์นานๆ ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิได้หรือไม่ ตัวอย่างมีไปแล้ว แล้วมีตัวอย่างไหมมี จบนะอันนี้จบแล้ว อีกอันหนึ่ง

ถาม : ระยะนี้เห็นหลวงตาท่านไปวัดป่าสุทธาวาสบ่อยๆ ท่านจะสื่อหรือสอนอะไรครับ?

หลวงพ่อ : สื่อ สื่อจริงๆ เราก็ดูอยู่ เราดูทุกวัน เมื่อกี้ถ่ายทอดสดพระไปทำบุญ แล้ววันนี้ยังไม่ได้ดูตอนเช้าเลย เดี๋ยวต้องดูตอน ๓ ทุ่ม เพราะมันต้องทำวัตรแล้ว ทำวัตรแล้วท่านถึงจะมาออกไง เราดูตลอดเพราะว่าไปวัดป่าสุทธาวาสนี่เราจะบอกว่าอย่างนี้ เราดูสังเกตได้ตั้งแต่เมื่อก่อนร่างกายท่านแข็งแรง ท่านจะสงเคราะห์โลกมาก แล้วท่านจะวัดดูร่างกายของท่าน พอท่านไปที่เพชรบูรณ์ ไปส่งป่าไม้นั้นไม่ได้ ท่านบอกกับป่าไม้เลยว่า “เราจะมาไม่ได้แล้วนะ เพราะร่างกายเราไม่ไหว เราชราภาพเต็มทีแล้ว” แล้วท่านก็ตัดเห็นไหม

ท่านไม่ชอบให้ใครคนอื่นทำแทนนะ เพราะคนอื่นทำแทนไม่ได้หรอก คนเรานี่หัวใจไม่เหมือนกัน หัวใจของคนๆ หนึ่ง หัวใจของหลวงตาเป็นหัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ทำเพื่อโลกทำด้วยใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ให้เขาเป็นทาน ไม่ให้เขาด้วยหวังผล ไม่ให้เขาด้วยเห็นว่าเขาต่ำต้อย ไม่ให้เขาด้วยว่าให้เขาด้วยเสียน้ำใจ

แต่ถ้าฝากผู้อื่นไป คนอื่นจิตใจที่มีกิเลสนี่ กิเลสของคนนี่มันชอบอยู่บนหัวคน มันจะเหยียบย่ำคน มันจะเอาความดีความชอบ มันจะเอาทิฐิมานะ ท่านถึงไม่ให้ใครทำเห็นไหม รับแขกท่านก็รับเอง ทำอะไรท่านก็ทำเอง ท่านไม่ให้คนทำแทน เพราะคนอื่นทำแทนไม่ได้

ในหัวใจของคนๆ นั้นมันมีทิฐิมานะ มันมีการเอารัดเอาเปรียบกันอยู่ มันจ้องแต่จะเหยียบหัวคนอยู่มันไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย ท่านตัดเห็นไหม ทีนี้ท่านตัดขึ้นมาเรื่อยๆ เราจะเอาตรงนี้มาเป็นตัวอย่างไง แล้วตอนนี้ท่านไปวัดป่าสุทธาวาสบ่อยมาก ไปวันเว้นวันเลยไปเกือบทุกวันเลย

ไปอย่างนั้นเพราะอะไร? เพราะร่างกายของท่านตอนนี้ท่านรักษาของท่านเอง ในเวลาที่พักผ่อนของหลวงตาที่ดีที่สุดคือเวลาที่อยู่บนรถ ถ้าอยู่บนรถนี่ ในรถรถมันเคลื่อนไปแล้ว ความสะดวกของท่านคือท่านนอนในรถ ท่านพักผ่อน แต่ถ้าท่านลงจากรถมาแล้วนี่ ถ้าอยู่ที่กุฏินี่ คนนั้นก็เข้าไปหาคนโน้นก็เข้าไปหา แล้วนิสัยท่านรับผิดชอบด้วย

ฉะนั้นสิ่งที่หลวงตาได้พักผ่อนที่ดีที่สุดคือเวลาที่อยู่บนรถ ฉะนั้นอยู่บนรถนี่ ธรรมดาความผูกพันการช่วยเหลือสงเคราะห์นี่มันเป็นการให้ เป็นการที่เราช่วยเหลือเจือจานโลก แต่ทีนี้ว่าความรู้สึกความผูกพันนี่ ท่านจะผูกพันกับหลวงปู่มั่นมาก ทีนี้ความผูกพันกับหลวงปู่มั่นนี่เวลาท่านจะคิดไปไหน ความโน้มเอียงของความรู้สึกมันอยากจะไปวัดป่าสุทธาวาสไง ฉะนั้นเวลาจะไปที่ไหน? วัดป่าสุทธาวาสๆ

ทีนี้วัดป่าสุทธาวาสคือความผูกพันระหว่างพ่อกับลูก บุญคุณอันนั้นมันฝังหัวใจอันนี้ไง ทีนี้จะไปไหนมันไปทางไกลอย่างนี้ มันไปทางที่มันไปสงเคราะห์โลกนี่ ไปสงเคราะห์ คือไปให้คือไปเรื่องส่วนตัวของเรา ไปหาหลวงปู่มั่นไปวัดป่าสุทธาวาสเป็นเรื่องของตัวเราด้วย ตัวของครูบาอาจารย์ด้วย มันสัมพันธ์กัน ความเห็นเราเป็นอย่างนี้ ท่านถึงจะไปตอนนี้ไปวัดป่าสุทธาวาส

วันนี้ไปผาแดงมา แต่ไปผาแดงมาท่านจะไม่พูดท่านจะอยู่เฉยๆ ก็เก็บไว้ในใจ คือว่าท่านจะไปสิ่งที่ท่านผูกพัน แล้วอย่างที่ว่าท่านมาเขาใหญ่ เขาใหญ่เป็นวัดที่ท่านรับผิดชอบ ท่านจะมาของท่านเพื่อให้มันสำเร็จลุล่วงไป

ความผูกพันนะ เพราะความผูกพัน อย่างเช่น เรามีหมู่คณะมาก อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ถ้าคนไหนจริงจังเห็นไหม เราอยากเข้าใกล้อยู่ที่ความผูกพัน แล้วถ้าคนไหนที่รู้จักกันเพื่อนกันเหมือนกัน แต่นิสัยใช้ไม่ได้อย่างนี้ ไม่ผูกพันเลยไม่อยากไปสนไม่อยากไปยุ่ง แต่ก็รู้จักกัน นี่ ความผูกพัน

ความผูกพันนี่ถ้ามองอย่างนี้ เราจะมองแบบพระอานนท์กับพระพุทธเจ้า ความผูกพันความเคารพความบูชา แล้วใจที่เป็นธรรมนี่ใจของพระอรหันต์ ใจที่เป็นธรรมมันเข้ากับอย่างอื่นไม่ได้ แต่ครูบาอาจารย์ที่เหนือกว่ามันเข้าได้เต็มที่เลย แล้วนี่ก็อยู่เพื่อโลก อยู่เพื่อรอวาระสุดท้าย ถ้าวาระสุดท้ายของท่านก็จบ นั่นเป็นความผูกพันของท่าน

ลืมไปแล้วนะว่าจะพูดหลังไมค์เรื่องอะไร อันนี้พูดถึงหลวงปู่มั่นไปหาหลวงปู่มั่นจบแล้วปัญหาก็จบแล้ว ปัญหาหมดแล้ว มีอะไรอีกไหม ถ้าไม่มีจบนะ เอวัง