หาที่ลงใจ

ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมปรารถนาความพ้นทุกข์เป็นที่สุด การแสวงหาครูบาอาจารย์ที่รู้จริงเห็นจริงภาคปฏิบัติหรือหาที่ลงใจ เพื่อสั่งสอนอบรมชี้มัคโคทางพ้นทุกข์ให้ จึงจำเป็นและสำคัญมาก แต่กลับหาได้ยากที่สุด ท่านพระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต ได้เมตาตอบโดยยกพระวินัย และยกหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สอนพระทุกองค์ให้ภาวนา ส่วนปริยัติที่ศึกษามาให้เก็บไว้ก่อน ท่านเน้นสอนทำสมถ–วิปัสสนาให้เป็นความจริงขึ้นมา

การภาวนาล้วนมีอุปสรรค ติดและหลงได้ตั้งแต่เริ่มฝึกหัดจนถึงที่สุดแห่งธรรม เช่น การตกภวังค์หรือตกหลุมอากาศ ซึ่งแก้มาทุกวิธีแล้ว ไม่สำเร็จ การภาวนาก็จะสูญเปล่า จึงจำเป็นต้องพึ่งครูบาอาจารย์ชี้แนะ เพราะธรรมะอยู่ฟากตาย วิบากกรรม คือ ผลของการกระทำ หากทำจริงจังอย่างมีสติปัญญาย่อมได้ผลจริง เป็น ปจฺจตฺตํ สนฺทิฏฺฐิโก จิตใจก็เข้มแข็งรองรับอารมณ์กระทบและปล่อยวางได้ดี ฉะนั้น นักภาวนาควรคบบัณฑิต โดยยึดคติ ล่วงทุกข์ด้วยความเพียร และยึดครูบาอาจารย์ที่ภาวนาจริงจัง จิตเจริญหรือเสื่อม ท่านสู้อย่างเดียว

นอกจากนี้ ท่านพระอาจารย์ยังเมตตาตอบปัญหาพระติดต่อสีกา ปัญหาครอบครัวเพื่อชักเข้าสู่ธรรม สิ่งใดทำแล้วเสียใจ สิ่งใดทำแล้วไม่ดี สิ่งนั้นไม่ควรทำเลย ให้แก้ด้วยศีล ด้วยธรรม อันเป็นทางสว่าง และที่สุดให้มาภาวนา สมดังบทธรรม บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม


ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ทางสว่าง

๑๔ ก.ค. ๒๕๕๗

ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ศีล-ธรรม

๑๙ ก.ค. ๒๕๕๗

ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

หาที่ลงใจ

๒o ก.ค. ๒๕๕๗

ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

วิบาก

๒๗ ก.ค. ๒๕๕๗

ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

หลุมอากาศ

๒ ส.ค. ๒๕๕๗