เทศน์บนศาลา

สมาธิระงับกิเลส

๒๓ พ.ค. ๒๕๕๒

 

สมาธิระงับกิเลส
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟัง ทำความสงบ ฟังธรรม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “พุทธปัญญา” ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ สิ่งที่เป็นสัจธรรม สัจธรรมในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธปัญญานะ ศาสนาพุทธ ศาสนาแห่งปัญญา แต่ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นมามันเป็นความที่ละเอียดอ่อนมาก

สิ่งที่ละเอียดอ่อน มันเป็นสิ่งที่เข้ากับใจ ความรู้สึกเห็นไหม ความรู้สึกกับเรา กับข้อมูลต่างๆ ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึก แต่อารมณ์ความรู้สึกจะเกิดขึ้นมาจากสิ่งใดล่ะ เกิดมาจากความขัดแย้งใจ ความพอใจ ความลงใจ อารมณ์หลากหลาย อารมณ์แตกต่าง มันได้เสพสิ่งใด แล้วมันพอใจสิ่งใดในความรู้สึกอันนั้น

แต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับอารมณ์นั้นมันได้รับความกระทบ ได้รับความรู้สึกนั้น นี่พุทธปัญญา ปัญญาของจิตไม่ใช่ปัญญาของสมอง ไม่ใช่ปัญญาเกิดจากการคิดแบบโลก ปัญญาของจิตนะ สิ่งที่เป็นปัญญาของจิตนี้มันเป็นปัญญาที่ลึกลับ เพราะคำว่า ภาวนามยปัญญา

เราเป็นชาวพุทธกัน เราเป็นคนที่ประพฤติปฏิบัติกัน เรายังเข้าใจคำนี้ได้ยากนะ สุตมยปัญญา เราเข้าใจกันได้ในการศึกษา จินตมยปัญญาเราเข้าใจได้ แต่ภาวนามยปัญญานี่เราเข้าใจได้อยากมาก.. แล้วเราพยายามทำความเข้าใจกับเขา ทำความเข้าใจกับเขาไม่ใช่เรา เขาคืออาการของจิตไม่ใช่ตัวจิต ถ้าเป็นความเข้าใจของเราล่ะ ถ้าความเข้าใจของเรานะ เราถ้าเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมา มันชำระกิเลสในหัวใจกิเลสขาดเลย สิ่งที่เกิดขึ้นมา เราถึงต้องแสวงหา

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา แต่ปัญญาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระกิเลส กับปัญญาของเราที่เราใช้รื้อค้นเพื่อจะชำระกิเลสกัน มันกลับเป็นปัญญาของกิเลสไง กิเลสตัณหาความทะยานอยาก กิเลสเกิดขึ้นมาจากอวิชชา เราเกิดขึ้นมาเห็นไหม เราเกิดมาเป็นเรา จะเป็นพระ หรือเป็นคฤหัสถ์ เป็นใครก็แล้วแต่ การเกิดมาเพราะมีอวิชชาทั้งนั้น

ถ้ามีอวิชชาเป็นพื้นฐาน มีมารเป็นเจ้าเรือน สิ่งต่างๆ ความเกิดขึ้นมามันจะสะอาดบริสุทธิ์โดยร้อยเปอร์เซ็นต์ไป มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ทอดธุระนะ หมดอาลัยตายอยากเลย “จะสอนได้อย่างไร.. จะสอนได้อย่างไร..” จนพรหมต้องมานิมนต์ นี้เป็นบุคลาธิษฐาน

แต่ความจริงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ มันเป็นความจริงอยู่แล้ว เพราะพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ปรารถนาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา นางวิสาขาปรารถนาเป็นมหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐีปรารถนาเป็นมหาอุบาสก เป็นผู้อุปัฏฐาก สิ่งนี้มันปรารถนามาด้วยกัน

ความปรารถนานี่ ดูจักรวาล ดูความเป็นไปของจักรวาล ดูความเป็นไปของวัฏฏะ มันหมุนไปโดยธรรมชาติของมัน มันมีดิน มีน้ำ มีพืช มันก็ต้องเกิดเป็นธรรมดา ป่าเขามันก็มีเป็นเรื่องธรรมดา มันมีของมันเป็นธรรมชาติของมัน นี่คือผลของวัฏฏะ คือผลของการเกิดและการตาย

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม มันไม่ใช่ ! มันพ้นจากวัฏฏะ เราปรารถนาดีกัน เราปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ทุกคนปรารถนาอยากเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ก็สร้างคุณงามความดีไป ผู้ปรารถนาเป็นต่างๆ ก็ปรารถนาไป เราปรารถนาเป็นสาวก ปรารถนาเป็นผู้ที่พ้นจากกิเลส เราก็ต้องสร้างบุญญาธิการไป เราต้องสร้างของเราไปทั้งนั้น มันเป็นผลของวัฏฏะ มันเป็นผลของการกระทำ

ทีนี้สิ่งที่กระทำขึ้นมาแล้ว แต่ขณะที่เราจะพ้นจากกิเลส มันเป็นผลของวัฏฏะไม่ได้ ! ผลของวัฏฏะ วัฏฏะเป็นผู้ตอบสนอง ตอบสนองมันเป็นเรื่องของเวรกรรมไปสิ แต่ถ้ามันเป็นกรรมใช่ไหม ภาวนามยปัญญา สิ่งที่เกิดขึ้นมา มันจะชำระล้าง มันจะถอดถอนกิเลสออกไปจากใจ ถ้ามันถอดถอนกิเลสออกไปจากใจ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา.. แล้วปัญญาของใคร ปัญญาอย่างไร

ดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเจ้าชายสิทธัตถะออกจากราชวังไป ไปรื้อค้นด้วยศักยภาพของพระโพธิสัตว์นะ เวลาองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเกิดที่สวนลุมพินี “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เราจะไม่กลับมาเกิดอีก” เป็นราชกุมารเฉยๆ ทำไมกล้าเปล่งวาจาอย่างนั้น “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เราจะไม่กลับมาเกิดอีกเลย” ทั้งๆ ที่ยังเป็นราชกุมารนะ เดิน ๗ ก้าวแล้วประกาศเลย

สร้างสมบุญญาธิการ ศึกษามา พระโพธิสัตว์พร้อมมาแล้ว ชาตินี้เป็นสุดท้าย ยังจะต้องออกเห็นไหม ดูสิ พระเจ้าสุทโธทนะ ส่งไปศึกษา ส่งไปต่างๆ จนอายุครองเรือนเสร็จแล้วครองเรือน มันกระตุ้นไง เพราะอะไร เพราะบุญญาธิการที่สร้างมา นางสิริมหามายาก็ปรารถนามาเป็นพุทธมารดา สิ่งที่เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นญาติ ปรารถนามาทั้งนั้น

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสละราชวังออกไป พระเจ้าสุทโทธนะมีความทุกข์ไหม นี่เรื่องของโลกไง ผลของวัฏฏะไง ผลของการกระทำของการศึกษาไง การสร้างมาขนาดไหนแล้วเวลาพลัดพรากออกไป มันยังเป็นเรื่องของโลก มันยังเป็นความทุกข์เลย เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ยังไม่มีใครเข้าใจว่า ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริง

แต่ทุกคนเกิดมาแล้วเกลียดทุกข์ ปรารถนามีความสุขทั้งนั้น แต่ความสุขของใคร ? ความสุขของเรา เราปรารถนา เรามีตัณหาความทะยานอยาก สมปรารถนาสิ่งใดนั้นเป็นความสุขของเรา ดูสัตว์ ดูความเป็นไปของเขา ถ้าเขาสมความปรารถนาก็เป็นความสุขของเขา นี่ไง เราปรารถนาความสุขเกลียดความทุกข์ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม ทุกข์กับความสุขที่แท้จริงมันเป็นอย่างไร ยังไม่มีใครรู้จักมัน ยังไม่มีใครรู้จัก..

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหากับเจ้าลัทธิต่างๆ การแสวงหาการศึกษา เราไปศึกษากับเจ้าลัทธิ เจ้าลัทธิหมายถึงว่า ผู้ที่ประกาศตนว่าเป็นครูบาอาจารย์ แล้วครูบาอาจารย์สั่งสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูสิ เวลาไปศึกษากับอาฬรดาบส “ได้สมาบัติ ๘ เหมือนเรา สั่งสอนได้เหมือนเรา” สั่งสอนได้เหมือนเราเห็นไหม

สมาธิ สมาบัติ นี้มันเป็นประโยชน์ไหม ในศาสนาพุทธเรานะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษามากับเจ้าลัทธิต่างๆ มาหมดแล้ว แล้วเวลาสอนขึ้นมา “พุทธปัญญา” ศาสนาพุทธไม่ได้สอนเรื่องสมาธินะ สมาธิองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้สอน สอนเรื่องปัญญา แต่ปัญญาเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยติสุขแล้ว “เราจะสอนใครดีหนอ”

ย้อนถึงผู้ที่มีคุณ อยากจะสอนอาฬารดาบสก่อน ด้วยอนาคตังสญาณเล็งไป จะไปสอนเขา เขาก็ตายเสียแล้ว แล้วจะไปสอนใคร.. ไปสอนปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์มีคุณกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ๖ ปี อุปัฏฐากมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รื้อค้น รื้อค้นจากภายนอกพยายามประพฤติปฏิบัติ ทรมานตนต่างๆ

เวลารื้อค้นอย่างเต็มที่แล้ว ถึงที่สุด เพราะการทรมานตน การต่างๆ ก็ด้วยความเข้าใจของเราเห็นไหม ว่าเราไม่ดี สรรพสิ่งไม่ดีก็ต้องพยายามทรมานสิ่งไม่ดีให้มันดีขึ้นมา ดัดแปลงความไม่ดีให้เป็นดีขึ้นมา แต่เพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่มีธรรมะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ พยามยามทรมานขนาดไหน มันทรมานเรื่องของอาการของใจ ความคิดกับเรื่องของกาย เรื่องของกายเห็นไหม อาหารการกิน การอดนอน การผ่อนอาหารต่างๆ ทรมานเรื่องของกายทั้งนั้น มันไม่ได้มาทรมานเรื่องของใจเลย

เพราะใจเป็นความคิด ใจยังไม่เข้ากลับมาเป็นสัมมาสมาธิ กลับมาอานาปานสติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่โคนต้นโพธิ์ นี่ไง ปัจวัคคีย์ด้วยสังคมสมัยนั้น การต่อสู้ การชำระกิเลส ตบะธรรม คิดกันได้แค่นั้นไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาพิสูจน์แล้ว เพราะเป็นผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ นี่พิสูจน์แล้วว่ามันไปขนาดไหนก็แล้วแต่ มันเป็นความคิดกับเรื่องของกาย แล้วกิเลสอยู่ที่ไหน ถึงบอกว่า เราทดสอบมาหมดแล้ว เราถึงต้องกลับมานึกถึงตอนที่อยู่โคนต้นหว้า

ตอนที่อยู่ที่โคนต้นหว้า กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก นี่ไง การทรมานตนกับลมหายใจเข้าและลมหายใจออกต่างกันอย่างไร การทรมานตน การทรมานเฉยๆ การทรมานตนเพราะความเข้าใจของสังคม ความเข้าใจของเจ้าลัทธิต่างๆ เขาทำกันอยู่แล้ว เขาพยามต่อสู้เขาพยายามทำให้อุกฤษฏ์ขนาดไหน แต่เขาทำเสร็จแล้วเขาก็ปฏิญาณตนว่าเขาเป็นศาสดา เขาเป็นผู้ที่สั่งสอน เป็นเจ้าลัทธิต่างๆ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษามาขนาดไหนแล้ว ทรมานขนาดไหน กิเลสมันก็เบาตัวลงเท่านั้น แต่มันไม่สามารถที่จะชำระกิเลสได้ กิเลสยังเต็มหัวใจอยู่ ถึงบอกว่าศาสนาพุทธไม่ได้สอนเรื่องสมาธิ ! ไม่ได้สอน สอนเรื่องปัญญา สอนเรื่องปัญญาเพราะอะไร สอนเรื่องปัญญาเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทดสอบมาแล้ว แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ ด้วยกำลังของสมาธิ กำลังของสมาธิมันคิดเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นที่สุดแห่งทุกข์

เวลามาทรมานตนขนาดไหน มันก็ไม่สุด แล้วจะหาทางออกด้วยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็หาทางออกไม่ได้ กลับมาอานาปานสติขึ้นมาจนจิตมันสงบเข้ามา แล้วย้อนกลับมา บุพเพนิวาสานุสติญาณ ถ้าจิตมันเป็นกลางเวลามันเข้าไปแล้ว มันจะเห็นข้อมูลตามความเป็นจริงของมัน เหมือนกับทางวิทยาศาสตร์ การพิสูจน์ด้วยความร้อนด้วยวิทยาศาสตร์ต่างๆ ตามทฤษฎีที่ถูกต้อง มันต้องให้ค่าตามนั้น

จิตเวลาสงบเข้าไป มันเข้าไปด้วยความเป็นกลาง คำว่าเป็นกลาง แต่ยังไม่มีศาสนาพุทธนะ ความเป็นกลางโดยธรรมชาติของมัน สภาวะแบบนั้น ดูสิ เราเอาไฟจี้เรา มันมีความร้อน มันต้องมีแผลเป็นธรรมดา นี่ก็เหมือนกัน ตบะธรรมมันเข้าไปถึงหัวใจ เข้าไป เพราะธรรมยังไม่เกิดขึ้น เข้าไปทำไม บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือข้อมูลของจิตที่ไปเห็นข้อมูลที่ได้สร้างมา เห็นหมดนะ ตั้งแต่พระเวสสันดรไปเลย

ข้อมูลที่เราทำมาๆ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ ถ้าข้อมูลนั้นเราเพ่ง เราดู เราเข้าใจ แต่เราไม่ได้ชำระล้างมัน มันก็เป็นข้อมูลธรรมชาติของมันอย่างนั้น เหมือนเราดูโปรแกรมเท่านั้นล่ะ มันเป็นสภาวะแบบนั้น แล้วเราแก้ไขสิ่งใด เพราะเราทำอะไรไม่เป็น ย้อนกลับมาถึงจุตูปปาตญาณ ถ้าโปรแกรมมันมีอยู่ ในเมื่อพลังงานมันมีอยู่ การมันขับเคลื่อนไปมันเป็นธรรมชาติของมัน

จุตูปปาตญาณ จิตถ้าไม่ชำระกิเลสมันต้องเกิดเป็นธรรมดา จิตเป็นกลาง เป็นกลางเพราะอะไร เป็นกลางเพราะมันหดสั้นเข้ามาโดยเห็นข้อมูลในหัวใจ โดยปกติของมัน แต่ยังไม่มีปัญญา อาสวักขยญาณที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา อาสวักขยญาณด้วยมรรคญาณ ความเพียรชอบ งานชอบ มรรค ๘ รวมตัวด้วยมรรคญาณที่เข้าไปชำระกิเลส ถอดถอนออกมา

เห็นไหม ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ปัญญาอาสวักขยญาณที่เข้าไปชำระกิเลส แล้วปัญญามันเกิดมาจากไหนล่ะ ปัญญามันเกิดมาจากจิต จากข้อมูลที่เป็นกลาง สิ่งที่เป็นกลางแล้วเข้าไปชำระ แล้วถอดถอนมัน พอถอดถอนมันไป พอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาโดยชอบ แล้วสิ่งที่เราศึกษามากับเจ้าลัทธิต่างๆ ที่ปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากเราอยู่ ความรู้ความเห็นของโลก มันเป็นความรู้ความเห็นของโลก มันเป็นความคิด มันเป็นความคิดที่จับต้อง เป็นที่พิสูจน์กันได้

แล้วสิ่งนี้มันเหนือธรรมชาติ เหนือทุกอย่างเลย แล้วมันจะสั่งสอนได้อย่างไร จะสั่งสอนเขาอย่างไร ทอดธุระเลย แต่สุดท้ายแล้วเพราะว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนมา ที่พุทธองค์ปรารถนามา ได้สร้างบุญญาธิการมาด้วยกัน ฉะนั้นก็ต้องทำไป ถึงบอกว่าภาวนามยปัญญามันละเอียดลึกซึ้งกับสิ่งที่เราจินตนาการ ที่เราคาดหมายกัน การจินตนาการ คาดหมาย มันเป็นจินตมยปัญญา

แล้วจินตมยปัญญาขึ้นมา สิ่งที่เราศึกษาธรรมขึ้นมา เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราบอกว่า “เราจะใช้ปัญญากัน ปัญญาสายตรง ต้องใช้ปัญญาอย่างเดียว” เราปฏิเสธการเป็นสมาธิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้สอนเรื่องสมาธินะ สอนเรื่องปัญญา แต่ปัญญานี่ปัญญาของใคร

ดูสิ เราเป็นคฤหัสถ์กัน ทางสังคมเขาถือศีล คนถือศีลถ้าไม่มีปัญญาเขาจะถือศีลของเขาได้โดยสะอาดบริสุทธิ์ไหม ถ้าเขามีปัญญาของเขา เขารู้จัก.. ไม่ใช่หลบหลีกนะ รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา การรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา คนเรามันถึงคราววิกฤตถึงคราวต่างๆ มันต้องมีความจำเป็น รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ศีลด่างพร้อย ศีลขาด ศีลทะลุ มันเป็นเวรเป็นกรรมที่มันเกิดขึ้นมา เราต้องใช้ปัญญาการหลบหลีก เห็นไหม

ดูสิ เราถือศีลขึ้นมา ชาวบ้านเขาติเตียน ชาวบ้านเขาต่อต้าน เราก็ใช้ปัญญาของเราทำของเราโดยที่ไม่ให้เขาเดือดร้อน ไม่ให้เขากระทบกระเทือนกับใคร แม้แต่ถือศีลก็ต้องใช้ปัญญา แต่ปัญญาของใคร ? คนถือศีลต้องใช้ปัญญามันเป็นของใคร มันก็เป็นปุถุชน มันเป็นคนหนาด้วยกิเลสทั้งนั้น แล้วปัญญาของคนหนา ปัญญาอย่างนี้มันเกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาล่ะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเทศนาว่าการนะ เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ ไม่ได้สอนสมาธิเลย ไปเทศน์ยสะ ยสะกำลังมีความทุกข์อยู่ จิตใจมันวนเข้ามา วนเข้ามา ไปเทศน์กับชฎิล ๓ พี่น้อง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนสมาธิชฎิล ๓ พี่น้องไหม ? ไม่ได้สอนเลย ไปขออาศัยเขาอยู่ เขาไม่ให้อยู่ ไม่ให้อยู่เพราะอะไร เพราะเขาว่าเขามีคุณธรรมเหนือกว่า ตบะธรรมนี่มันมีตัวมีตนอยู่ไหม ตัวเองมีทิฏฐิมานะ มีความเหนือกว่าก็ต้องว่าตัวเองเหนือกว่า

เอ๊ะ ! สมณะนี้ เวลาให้ไปพักอยู่ในโรงไฟไง “สมณะนี้มีความสามารถมากแต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา สมณะนี้เก่งมากแต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา” จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสลดสังเวชนะ “เธอไม่ใช่พระอรหันต์” ชฎิลพี่ ชฎิลคนโตยอมรับเลย พอยอมรับขึ้นมา เพราะอะไร เพราะความจริงมันเป็นความจริง จริงๆ

ตบะธรรมเห็นไหม บูชาไฟ พอบูชาไฟมันเป็นสมาธิ จิตมันตั้งมั่นแต่มันไม่มีปัญญา มันออกไม่ได้ไง สิ่งนี้เพราะเขาบูชาไฟอยู่แล้ว จิตเขามีหลักมีเกณฑ์ของเขาแล้ว ไม่ได้สอนสมาธิเลย เทศน์อาทิตตฯนะ

“ไฟเป็นของร้อน ตาเป็นของร้อน หูเป็นของร้อน ใจเป็นของร้อน ทุกอย่างเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะโทสะ ร้อนเพราะโมหะ ร้อนเพราะความโลภ ความโกรธ ความหลง”

สิ่งที่เป็นความร้อนเห็นไหม นี่ปัญญาเกิดหรือยัง ?

คนเรามันมีสมาธิมีพื้นฐานอยู่แล้ว ตานี่เป็นของร้อนนะ กระทบรูปมันเป็นของร้อนไหม ใจมันเป็นของร้อนไหม ทุกอย่างเป็นของร้อนหมดล่ะ แต่ของมันจะร้อน ร้อนอยู่นี่ เพราะอะไรเพราะบูชาไฟอยู่ จิตมันตั้งมั่น พอมีคนชี้ทาง จิตมันก้าวเดินออกไป นี่ปัญญามันเกิด ! ปัญญาจะเกิดได้ต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐาน ! สมาธิระงับกิเลส

พวกเราปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส กิเลสเต็มหัวใจ คิดสิ่งใดก็คิดบวกโดยกิเลสหมด คิดโดยตัณหาความทะยานอยาก คิดโดยความรู้สึกของเรานี่คือกิเลสทั้งนั้น ! แต่เอากิเลสไปตรึกในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วบอกว่า “ปัญญาๆ”

“ธรรมชาติของจิต” ธรรมชาติของจิตเห็นไหม “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับไปเป็นธรรมดา” พระอาทิตย์ขึ้นก็ต้องมีพระอาทิตย์ตก ความเกิดขึ้นโดยความทุกข์ สิ่งใดในโลกนี้เป็นอนิจจังทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด สิ่งคงที่ไม่มี มันมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งใดเปลี่ยนแปลงแต่เรารักเราสงวนของเรา เราไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ไหม ?

“โลกนี้สรรพสิ่งเป็นอนิจจังทั้งหมด สิ่งใดเป็นอนิจจังสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา”

ความเปลี่ยนแปลงความแปรสภาพ มันไม่มีอะไรคงที่หรอก ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสัจจะความจริง อารมณ์ก็มีการเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงหมด สิ่งที่คงที่ไม่มี ! สสารมันไหลเปลี่ยนแปลงไปตลอดธรรมชาติของมัน สิ่งนี้มันเป็นธรรมชาติของมัน

แล้วถ้าในหัวใจของเรา เรายึดมั่นสิ่งใด เรามีความพอใจสิ่งใด เราไม่อยากให้มันเปลี่ยนแปลง ถ้าเราสงวนรักษา เราต้องการให้มันเป็นอยู่กับเรา นี่มันขัดแย้ง จิตเราที่มันเป็นทิฏฐิมานะ ที่มันเป็นความเห็นของเรา มันเห็นว่าเป็นของเรา “สรรพสิ่งเป็นของเรา ความรู้ก็เป็นของเรา ศึกษาธรรมะก็เป็นของเรา..” ทั้งๆ ที่ไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษามาเราก็ว่าเป็นของเรา แล้วมันเป็นของเราจริงหรือเปล่าล่ะ

มันไม่จริงสักอย่างหนึ่งเลย ! มันไม่จริง แต่มันไม่จริงมันก็มีขัดแย้ง ขัดแย้งเป็นทุกข์ไหม มันมีความขุ่นใจ มีความหมักหมมในหัวใจ “สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา” สิ่งอนัตตามันเป็นทุกข์ เป็นทุกข์เป็นอนัตตาเพราะอะไร เป็นอนัตตาเพราะอนัตตามันแปรสภาพไง มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ความทุกข์ของเรานะ ความทุกข์ของเราที่มันเจ็บแสบปวดร้อนในใจ กาลเวลามันสมานนะ กาลเวลามันสมานแผลได้แต่ แต่... แต่สิ่งที่เป็นแผลเป็นในใจมันมีอยู่

ถ้าแผลเป็นในใจไม่มีอยู่ เราสร้างคุณงามความดีมา สร้างบาปกุศลมา ทำไมมันเป็นพันธุกรรมทางจิตล่ะ จิตนี้ทำไมมันสะสมมา บุพเพนิวาสานุสติญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับไปอดีต มันมีอะไรบ้างล่ะ การกระทำของเราอะไรก็แล้วแต่ สิ่งใดที่ทำไปแล้วเป็นกรรมทั้งหมด กรรมอันนี้มันเกิดจากเจตนา ใจเป็นคนคิด ใจเป็นประธาน ใจเป็นใหญ่ ใจคิดออกไป มาจากที่นั่น ผลก็ตอบสนองกลับไปที่ใจทั้งหมด

ใจนี้จะไปรับข้อมูลสิ่งต่างๆ ที่ได้กระทำ รับลงมาที่ใจนี้ทั้งหมดเลย ถ้ารับมาที่ใจขึ้นมา สิ่งนี้เป็นใจมันถึงเป็นจริต โทสะจริต โมหะจริต จริตของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน สิ่งนี้ไม่เหมือนกัน การที่มันจะชำระกิเลส การที่เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็ศึกษาโดยความคิด ศึกษาโดยสมอง ศึกษาโดยสัญชาตญาณ แล้วเราบอกว่าสิ่งนี้เป็นปัญญา.. ธรรมชาติของมัน มันเป็นอย่างนี้ของมันอยู่แล้วไง

ธรรมชาติของมัน มันขัดแย้งกับความเป็นไปของโลก ความคิดในธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของกิเลสมันขัดแย้งกับความคิดเรา มันขัดแย้งกับทุกๆ อย่างในที่มันเป็นไป เพราะสิ่งนี้มันเคลื่อนไปโดยธรรมชาติ ชีวิตนี้ ดูสิ อายุขัยได้มาสภาพของร่างกายต้องเสื่อมไปเป็นธรรมดา ชีวิตเรามันเป็นธรรมดาที่มันต้องเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงมันเป็นเรื่องจริง เป็นจริงตามสมมุติ สมมุติมันเป็นอย่างนี้จริงๆ เราเกิดมาจริงๆ มีชีวิตจริงๆ ทุกอย่างจริงๆ จริงตามสมมุติ มันเป็นความจริงของมัน

แล้วเราศึกษาขึ้นมาเราก็ว่าเรารู้แล้ว เรารู้โดยชิงสุกก่อนห่าม.. เรารู้โดยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้โดยการเปรียบเทียบ มันไม่เป็นความจริงขึ้นมา

ถ้าไม่เป็นความจริงขึ้นมา ความรู้อย่างนี้ ปัญญาที่เกิดขึ้นมาอย่างนี้คือโลกียปัญญา โลกียปัญญาเพราะอะไร โลกียะเพราะธรรมดาของจิต จิตมันมีภวาสวะ มันเป็นภพใช่ไหม แล้วความคิดออกมาจากภพใช่ไหม แต่ไปศึกษาธรรมะของคนอื่นไง ไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปศึกษาธรรมะของครูบาอาจารย์ของเรา

แต่ในปัจจุบันนี้ เรานั่งสมาธิภาวนากันอยู่นี่ ฟังเทศน์อยู่นี่ ถ้าจิตเดี๋ยวนี้ ฟังเดี๋ยวนี้ มันเป็นปัจจุบันเดี๋ยวนี้ มันกระทบหัวใจเดี๋ยวนี้ แล้วหัวใจมันได้สะเทือนไหม ถ้ามันสะเทือนหัวใจนี้ นี่ไง การฟังธรรม การฟังธรรมที่ในปัจจุบันนี้ถ้าจิตมีพื้นฐานนะ จิตมีพื้นฐานกับสิ่งที่เข้ามา เหมือนกับเราเป็นไข้แล้วฉีดยาเดี๋ยวนั้น สารเข้ามาเดี๋ยวนั้นมันจะเกิดขึ้นมา นี่ปัจจุบันธรรม ! แต่ถ้าไม่มีปัจจุบันนั้นมันยังเกิดไม่ได้เพราะอะไร “จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่งนะ” ใจดวงหนึ่งของผู้แสดงธรรม ถ้าใจเห็นธรรมขึ้นมา มันจะเห็นสภาวธรรมของจิตเลย

จิตมันเปลี่ยนแปลงอย่างไร จิตนี้เกิดมาอย่างไร ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นมาจากไข่ของมารดาแล้วโตขึ้นมา วันคืนล่วงไปๆ เติบโตขึ้นมาเป็นอายุขัย แล้วอนาคตจะไปตายลงตรงไหน ! มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น แล้วเราก็ศึกษาธรรมว่านี่เป็นธรรมชาติๆ นี่เป็นความเป็นไป ธรรมชาติของจิตมันก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน

แต่ถ้าธรรมชาติของจิตอย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติของจิตใช่ไหม ธรรมชาติของจิต ใครเป็นคนคิด มารเป็นคนคิดใช่ไหม อวิชชามันครอบงำอยู่

ถ้าเราจะปฏิบัติ นี่มันเป็นการศึกษา “ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ” การศึกษามาเพื่อให้เรามีทางวิชาการให้เราเข้าใจ เราปฏิบัติกันเราบอกว่าต้องศึกษาก่อน ถ้าไม่ศึกษาปฏิบัติแล้วมันจะหลง มันจะเข้าไม่ถูกทาง พอศึกษาเข้าไปแล้ว ศึกษาขึ้นมาเพื่อปฏิบัติ ศึกษามานี่เราเป็นแนวทางศึกษา

ดูสิ ดูพระกรรมฐานเรา ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าเวลาบวชขึ้นมา ศึกษาแล้ว เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ กรรมฐาน ๕ อุปัชฌาย์ไม่บอกบวชพระไม่ได้ เพราะเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยหัวใจของมัน ถ้าจิตของเราติดใน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ติดในกายเราก่อน เพราะจิตใต้สำนึกมันติดในกาย กามราคะมันอยู่ที่ไหน สิ่งที่โอฆะในหัวใจมันอยู่ที่ไหน

สิ่งที่เป็นโอฆะขึ้นมา เกิดมาเป็นเด็กน้อยเด็กอ่อนขนาดไหน เรื่องกามเรื่องโอฆะมันอยู่ในใจของมัน ถ้าอยู่ในใจของมันเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ใช่ไหม กามคุณ ๕ ถ้าโลกเขาคือกามคุณ ๕ เป็นเรื่องคุณเพราะเราดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์ มนุษย์ต้องสืบพันธุ์กันไป สิ่งนี้มันเป็นธรรมชาติของมันใช่ไหม มันเป็นธรรมชาติของจิตอยู่แล้ว จิตมันมีของมันอยู่ในหัวใจของมัน ถ้าจิตมันมีอยู่ในหัวใจของมัน สิ่งที่เกิดขึ้นมา จิตมันหมุนไป มันเวียนไปตามธรรมชาติของมัน

มันติดในตัวเองโดยธรรมชาติของมัน ตัวเองมันติดตัวมันเอง เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจนี่ เราติดเราก่อนนะ เราไปมองแต่ว่า เพศตรงข้ามระหว่างหญิงกับชาย จะไปเป็นสภาคะ เป็นเพศตรงข้ามต่อกัน จะมีปัญหาต่อกัน สิ่งที่มันเป็นเพศตรงข้ามนะ มันเป็นเรื่องของกามราคะ แล้วกามฉันทะในหัวใจล่ะ สิ่งที่เป็นชีวิตขึ้นมามันเกิดขึ้นมา แล้วเราจะศึกษาขึ้นมา เราเป็นจริงตามสมมุติ

เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ถ้าในการเรียนการศึกษาในปริยัติ แล้วเราประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราแทงทะลุนะ ผิวหนังนี่ ถ้าผิวหนังของใครลอกนะ เห็นไหมเวลาพูดกรรมฐาน “ลอกผิวหนังออกมาสิเลือดสดๆ เลย เลือดจะเป็น..” มันเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นสัญญานั้น ถ้ามันเป็นตามความเป็นจริงนะเวลาจิตมันสงบขึ้นมา ผิวหนัง ดูสิ แยกขยายส่วน อุคคหนิมิต วิภาคะ ขยายส่วนเส้นขนเส้นผม ขนาดรูขุมขนมาขยายอย่างไร เห็นความมหัศจรรย์ของธรรมนะ สิ่งนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะเหตุใด

ถ้าจิตไม่มีพื้นฐานเป็นสมาธินะ สมาธิมันระงับกิเลสก่อน กิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันขัดแย้งกับธรรม ขัดแย้งกับตัวเองไม่พอนะ ยังไปขัดแย้งกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บังคับนะ ศึกษาธรรมมาแล้วปัญญาจะเกิดมานะ ท่องจำได้หมดเป็นนกแก้วนกขุนทองเลย นกแก้วนกขุนทองเห็นไหม มันบอกว่ามันเรียกแม่จ๋า เขาให้แต่อาหารมัน มันคิดว่าอาหารนั้นคือแม่จ๋านะ

นี่ก็เหมือนกัน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วิปัสสนาญาณ ปัญญามันเกิดขึ้น นี่ปัญญาของกิเลสหมดเลยเพราะเรายังไม่ระงับยับยั้งมัน สมาธินี่นะ เราจะไปยับยั้งกิเลสก่อน สมาธินี่ล่ะ “ศีล สมาธิ ปัญญา” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ไม่ได้สอนเรื่องสมาธิ แต่ ! แต่สมาธินี่เป็นพื้นฐานนะ เป็นพื้นฐานโดยสมัยพุทธกาลสมัยที่ครูบาอาจารย์เราประพฤติปฏิบัติ เรื่องสมาธินี่เขาฝึกฝนกันเป็นเรื่องธรรมดา ปัญจวัคคีย์ฝึกฝนอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ๖ ปี เป็นสมาธิไหม ดูสิ ดูชฎิล ๓ พี่น้องเขาบูชาไฟอยู่เป็นสมาธิไหม

แต่ขณะเวลาที่ไปสั่งสอนคนที่ไม่เป็นสมาธิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ตั้งแต่อนุปุพพิกถา ตั้งแต่ให้เราทำทานก่อนเลย ทำทานก่อน ทำทานผลของทานขึ้นมา มันจะได้บุญไปเกิดบนสวรรค์ ถ้าต้องมาอยู่บนสวรรค์อีกก็เป็นภพเป็นชาติ ถ้าเป็นสวรรค์แล้วให้ถือเนกขัมมะ ให้ออกบวช ให้ประพฤติปฏิบัติ จิตใจมันพัฒนาการของมัน ระงับกิเลสก่อน ! ระงับความอยาก ระงับตัณหาความทะยานอยาก ทั้งๆ ที่เราอยากพ้นทุกข์กันนี่แหละ

แต่อยากพ้นทุกข์ อยากทำคุณงามความดี เอาอะไรไปทำคุณงามความดี เอากิเลสหนาๆ เอาปัญญาดิบๆ อย่างนี้ไปทำคุณงามความดี เราไม่ระงับยับยั้งอวิชชา พอเรามาพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิขึ้นมา จิตมัน พุทโธ พุทโธ พุทโธเพราะอะไร เพราะความคิด จิตไม่ใช่ความคิด ธรรมชาติของมัน พลังงานเป็นพลังอันหนึ่ง เวลาเราศึกษา ศึกษาด้วยความคิด ความคิดมันสืบต่อเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ความคิดออกสัญญา ข้อมูล สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง แล้วสื่อความหมายกันด้วยขันธ์ ๕ นะ

ทีนี้แล้วขันธ์ ๕ มันเกิดมาจากไหนล่ะ มันเกิดมาจากตัวจิต แล้วเกิดมาจากตัวจิตสิ่งนี้ออกไปศึกษา ศึกษาธรรมะของใคร ออกไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขัดแย้งในตัวมันเองอยู่ก่อนแล้ว ไปศึกษาธรรมมาแล้วก็ต้องการให้เป็นความเห็นของตัว ต้องเป็นตามความเห็นของตัวนะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคิดรอบวงจรของการศึกษามาแล้วจะต้องให้ผลสิ !

จะต้องให้ผลสิ... แก้วจ๋าไง นกแก้วมันเรียกแก้วจ๋า เจ้านายก็ให้อาหารมัน

นี่เหมือนกัน เราศึกษารอบแล้วนะ ก็แก้วจ๋าไง ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าใจหมดแล้วไง เข้าใจแล้วจิตมันก็ปล่อย มันก็ว่าง เพราะอะไร เพราะมันได้อาหารไง มันได้ความคิด มันได้ตรึกในธรรม พอตรึกในธรรมเป็นสมาธิไหม ถ้ามีสติเป็นปัญญาอบรมสมาธินะ ตรึกในธรรม

เวลาพระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบัน ไปฟังพระสารีบุตร ที่พระสารีบุตรฟังมาจากพระอัสสชิ “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ย้อนกลับไปดับที่เหตุนั้น” พระสารีบุตรเป็นพระโสดาบันไปบอกพระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบัน

ทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อจะประพฤติปฏิบัติต่อ พระโสดาบันบวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ปฏิบัติ พระโมคคัลลานะนั่งสัปหงกโงกง่วง พระโสดาบันเห็นไหม นั่งสัปหงกโงกง่วง.. พระพุทธเจ้ามาโดยฤทธิ์เลย มาสั่งสอนต่อหน้าเลย ให้เอาน้ำลูบหน้า ให้แหงนดูดาว ให้ตรึกในธรรม ใช้ปัญญาตรึกในธรรม มันจะแก้ง่วงเหงาหาวนอน

การตรึกในธรรม แล้วเราตรึกในธรรม เป็นปัญญาอบรมสมาธิไหม การตรึกในธรรมมันทำให้จิตสงบได้นะ เราตรึกในธรรมแต่เราไม่ได้คิดว่ามันเป็นสมาธิไง เราตรึกในธรรมเราคิดว่าการตรึกนี้เป็นวิปัสสนาไง เพราะอะไร เพราะจิตเราไม่ได้ระงับกิเลสไว้ก่อน กิเลสมันตรึกด้วย ความรู้สึกมันตรึกด้วย เราคิดกันอยู่นั่น เราใช้ปัญญาขนาดไหน เราก็มีตัวตน สิ่งที่สกปรกกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ตรึกคิดนึกในธรรมไง ตรึกในธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ตัวจิตนี้มันตัวกิเลส !

แต่ถ้าเราพุทโธ เราตรึกในธรรม.. ตรึกในธรรมคือว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “การเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง” การเกิดสิ่งที่เกิดมันต้องตาย สิ่งที่เป็นคู่ตรงข้ามกับความตายมันก็มีอยู่ เราตรึกไง เราถามตัวเองว่าชีวิตนี้เกิดมาทำไม เกิดมาแล้วต้องตาย แล้วเกิดมาทำไม เกิดมาทุกข์มายาก แล้วเกิดมาจะพ้นจากความตายได้ไหม เราตรึกในธรรม ถ้ามันตรึกในธรรม มันสลดสังเวชขึ้นมา มันปล่อยเข้ามา พอมันปล่อยเข้ามา ผลของมันคือสมาธิทั้งนั้น !

สิ่งที่เขาประพฤติปฏิบัติกัน ผลของมันคือการระงับกิเลส สมาธิคือเครื่องยับยั้งกิเลส แต่มันเป็นมิจฉาสมาธิไง

พอมันยับยั้งกิเลส กิเลสมันมีความปล่อยวางของมัน ดูสิ ธรรมชาติของจิตมันหมุนไปแล้วมันต้องพักผ่อน เครื่องยนต์เห็นไหม เครื่องยนต์เครื่องใดที่มันติดแล้วมันไม่เคยดับ เป็นไปไม่ได้ ! เครื่องยนต์ถ้ามันติดแล้วมันไม่ดับ มันก็ต้องพังไป มันถึงเวลาแล้วมันต้องพัง เพราะเครื่องยนต์ต้องเสียหายไป เพราะมันจะติดอยู่ตลอดเวลาไม่ได้

แต่ตัวจิตมันเป็นมหัศจรรย์นะ “สันตติ” เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ เกิดเร็วมาก ความคิดมันเกิดดับตลอดเวลา นี่ไง เครื่องยนต์ที่มันติดแล้ว มันไม่เคยดับ แล้วดับไม่ได้ จิตนี้ไม่มีดับ จิตนี้ไม่มีดับ สิ่งที่ไม่มีดับ มันจะเป็นสันตติของมันตลอดไป สิ่งที่มันสันตติตลอดไป สิ่งนี้มันมีอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว สิ่งที่มันเป็นไป สิ่งที่มันตรึกในธรรม พอมันตรึกในธรรม ถ้ามันมีสติขึ้นมา มันหด มันปล่อยวางเข้ามา ตัวมันเองนะ พอมันปล่อยวางเข้ามา สติมันตามเข้ามา สติตามเข้ามา

การประพฤติการปฏิบัติที่ทำทั้งหมด ผลของมันเห็นไหม แดดออก ฝนตก มันได้ผลคืออย่างไร ธรรมชาติของจิตที่มันคิดมันฟุ้งซ่าน พอมันปล่อยวางแล้ว มันถึงที่สุดของมัน แล้วมันเป็นธรรมชาติของมัน มันต้องหยุดของมัน แต่หยุดโดยมิจฉาทิฏฐิ หยุดโดยที่เราไม่รู้จักมัน หยุดโดยที่เราเข้าใจว่านี้เป็นธรรมๆ ไง มันเลยค้างเติ่งกันอยู่อย่างนั้น

มันค้างเติ่งเพราะอะไร เพราะไม่ใช่สัมมาสมาธิ มันไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ศาสนาพุทธไม่ได้สอนเรื่องสมาธิ !

แต่เรื่องของสมาธิ เรื่องของจิตปล่อยวาง มันเป็นสัจธรรม มันเป็นความจริงของจิตอันหนึ่ง มันเป็นธรรมชาติของมันอันหนึ่ง มันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยวางโดยความโง่ มันปล่อยวางโดยความไม่รู้ตัว มันปล่อยวางโดยว่างเฉยๆ ไม่มีประโยชน์อะไรหรอก ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา “จะสอนได้อย่างไรหนอ จะสอนได้อย่างไรหนอ” เพราะอะไร เพราะจิตมันต้องปล่อยวางเข้ามาก่อน จิตมันต้องเป็นอิสรภาพของมัน จิตเป็นอิสรภาพของมันแล้วจิตเข้ามาถึงข้อมูล

ดูสิ จิตเวลาเป็นกลาง “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” พอจิตเป็นกลาง มันเข้าไปเห็นข้อมูลของจิต ขณะที่ข้อมูลของจิตมันไม่มีต้น มันเป็นอดีต มันไปไม่มีที่สิ้นสุด มันย้อนดึงกลับมา มันก็ไปอนาคต “จุตูปปาตญาณ” มันปล่อยวางขนาดไหน ปล่อยตามความเป็นจริง ถ้าปล่อยวางนะ กาฬเทวิลไม่ได้เป็นอะไรเลย

ขนาดที่ว่าประพฤติปฏิบัติอยู่รู้อดีตชาติได้ ๔๐ ชาติ อนาคตได้ ๔๐ ชาติ กาฬเทวิลเป็นอะไร ตายเปล่าไง

กาฬเทวิลขนาดไปนอนบนพรหมนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นมา เป็นเพื่อนพระเจ้าสุทโธทนะ มาขอดูว่าพระพุทธเจ้าเกิดจริงหรือเปล่า เพราะว่าเวลาพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ปลงอายุสังขารโลกธาตุจะหวั่นไหว พระอานนท์มากราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย “เห็นโลกธาตุนี้หวั่นไหว มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ คงจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นแน่นอน” ถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “มันเป็นอย่างนี้เองอานนท์ พระพุทธเจ้าเกิดหนหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสรู้หนหนึ่ง พระพุทธเจ้าปลงอายุสังขารหนหนึ่ง พระพุทธเจ้าปรินิพพานหนหนึ่ง โลกธาตุจะหวั่นไหว”

กาฬเทวิลอยู่บนพรหม เวลาที่พระพุทธเจ้าเกิด โลกธาตุหวั่นไหวไปหมด “นี้มันเกิดอะไรขึ้นมา” ก็ลงมาดูไง พอมาขอดู เพราะกาฬเทวิลทำสมาธิได้ทำสมาบัติได้ มนุษย์เราขึ้นไปนอนบนพรหมได้ ไปด้วยร่างกายมนุษย์นี่แหละ เพราะด้วยอำนาจของจิต อำนาจของจิตเห็นไหม นี่ไงสมาธิ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเรื่องสมาธิ.. ไม่ได้สอน กาฬเทวิลทำได้มาก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมอยู่แล้ว ของมันมีอยู่แล้วทั้งนั้น เพียงแต่ของมันมีอยู่ด้วยคุณภาพของจิต จิตที่มันมีความเข้มแข็ง มันทำของมันได้ แต่ไม่มีปัญญาไง

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ! ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิเป็นพื้นฐาน ไม่มีสัมมาสมาธิเป็นโลกียปัญญาทั้งหมด เป็นการตรึกเป็นการเอาธรรมของครูบาอาจารย์ เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรึกทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีธรรมอันนี้ เราจะทำอย่างไร

นี่ไง พอกาฬเทวิลลงมาดูนะ เห็นเลย ดีใจมาก ดีใจว่า “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดแล้ว เราทำด้วยความสงบของใจเรามีกำลังพร้อมเลย เรามีสมาธิพร้อมทุกอย่างเลย แต่ไม่มีคนชี้ทาง”

คนที่สร้างบุญญาธิการมามันจะเกิดเชาว์ปัญญา เกิดหิริโอตัปปะ หิริคือความรู้สึกตัว โอตัปปะมันเกรงกลัวสิ่งที่เราทำผิดทำพลาดไง มันรู้ตัวตลอดเวลานะ พอรู้ตัวตลอดเวลา เสียใจมาก ว่ากว่าองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจะออกบวช กว่าจะตรัสรู้ กาฬเทวิลต้องตายไปก่อนไง เห็นไหมตายเปล่า ! ทำสมาธิได้ ทำอะไรได้ก็ตายเปล่า ตายเปล่าเพราะไม่เกิดปัญญา

แต่เรานี่ เพราะเราเกิดมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว กาฬเทวิลนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ได้ออกบวช บอกว่าเสียใจมาก เกิดมาเป็นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน แต่ตัวเองต้องตายไปก่อน เพราะไม่ได้พบพระพุทธศาสนา เรานี่พบพุทธศาสนา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว วางธรรมไว้ กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง

ปัจจุบันนี้ศาสนาเจริญขึ้นมา เจริญมาก เจริญมากเพราะว่าครูบาอาจารย์ของเรารื้อค้นขึ้นมา ทำความจริงให้ปรากฏไง !

ความจริงในศาสนา มรรคผลนิพพานสิ่งที่มีอยู่ในศาสนานี้ ศาสนามีมรรคผลนิพพานมหาศาลเลย แต่ไม่มีใครทำความจริงให้ปรากฏขึ้นมา ครูบาอาจารย์เราทำความจริงให้ปรากฏ ความจริงที่ปรากฏขึ้นมามันต้องมีพื้นฐานมา พื้นฐานความจริงที่ปรากฏ มันปรากฏมาจากไหน ปรากฏมาจากหัวใจไง หัวใจที่มันขัดข้อง หัวใจที่มันมีสิ่งที่ทำให้ชักนำ ทำให้หลงไปในทางที่ผิด ชักนำในทางที่ผิดนะ

เราเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันก็มีความชักนำไป ความชักนำคือความเห็นของเรา ความเข้าใจของเรา ความชักนำที่ผิด มันก็เป็นเรื่องของโลกหมด เรื่องของโลกจะตรึกในธรรมขนาดไหน พิจารณาขนาดไหน มันเป็นสัญญา มันเป็นธรรมเกิดขึ้นได้ จิตของเราสงบขึ้นมาแล้วมันจะเห็นนิมิต ถ้าจิตไม่เห็นนิมิตมันสงบขึ้นมาแล้ว มันก้าวเดินต่อไปไม่ได้เพราะมันเป็นเหตุใด มันมีกำลังไหม ไม่มีกำลัง มีครูบาอาจารย์ของเรา ท่านเคยผ่านประสบการณ์ของท่านมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า “กรรมฐาน ๔๐ ห้อง” ขณะที่คนมีปัญญา คนที่สร้างพื้นฐานมา คนที่เขาทำความพร้อมของเขามาแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงปัญญาทันทีเลย แสดงปัญญาคือแสดงเรื่องอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ถ้าพูดถึงคนที่ยังไม่มีพื้นฐานอยู่ ต้องบอกว่าให้ทำกรรมฐาน ๔๐ ห้อง ให้ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบเข้ามา

ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการ ท่านจะพูดถึงเรื่องความสงบเป็นพื้นฐานเลย ทำไมเวลาเทศน์พระป่าเราเวลาเทศน์ไม่พูดเรื่องศีล เพราะศีลมันเป็นพื้นฐานที่เราเป็นพระ เราต้องมีศีลโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะศีลบังคับเราอยู่แล้ว เหมือนกฎหมาย เราเป็นชาวพุทธ เราเป็นชาวไทย กฎหมายไทยเราจะทำผิดกฎหมายไทยได้ไหม ถ้าทำผิดกฎหมายไทย ถ้าแอบทำมันก็ไม่มีใครรู้ใครเห็น แต่ถ้าทำเป็นโทษเป็นภัยขึ้นมา ถ้าเจ้าหน้าที่จับได้เราก็ต้องใช้กรรมนั้น

นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นพระอยู่แล้ว ศีลมันพร้อมอยู่แล้ว ศีลมันเป็นความปกติของใจ ศีลมันเป็นเครื่องกำหนดของใจ ถึงต้องทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบมีความสุข จิตสงบนะ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ถ้าเราไม่เข้าใจนะ ทุกคนจะติดว่าความสุขอันนี้เป็นมรรคผล มันเป็นมรรคผลเลยนะ เพราะมันอยู่ที่ความแก่อ่อนของภูมิปัญญา ถ้าความแก่มันจะเข้าใจนะ มันจะเข้าใจ มันเห็นว่ามันติดอย่างไร มันติดมันมีความสุขนะ มีความสุขขนาดไหน แต่มันจะเสื่อมไปเป็นธรรมดา

มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเพราะอะไร โลกนี้สรรพสิ่งเป็นอนิจจังทั้งหมด แม้แต่สมาธิก็เป็นอนิจจัง ความคิดเราก็เป็นอนิจจัง มันจะหมุนเวียนตลอดเวลา แต่ถ้ามันเสื่อมไป เราเสียใจ เราพยายามรักษาของเรา มันเป็นสมาธิขึ้นมาได้เพราะเหตุใด เหตุเพราะเรามีสติ เรามีความตั้งใจ เรามีความควบคุมในตัวเราเอง จะมีความควบคุมนะ

ดูสิ ขณะเราตบมือ ระหว่างมือสองข้างตบกันก็มีเสียงขึ้นมา จิตเวลากระทบจิต กระทบกับอารมณ์ของเรา จิตกระทบความรู้สึกของเรา มันเกิดอารมณ์ความรู้สึกไหม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รับรู้สิ่งใดๆ มันให้ผลที่หัวใจไหม มันให้ผลที่หัวใจ แล้วเราจะสำรวมระวังไหม เราจะสำรวมระวังอินทรีย์ของเราไหม สำรวมระวังอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งนี้ “รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมารเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร” มันบูชามารตลอดเวลา แล้วมารมันก็ชอบกินอาหารอย่างนี้ ชอบกินเหยื่อ ระหว่างเพศตรงข้ามมันชอบทั้งนั้น

เราต้องระงับยับยั้งมัน ยับยั้งมันแล้วกำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ ถ้าเรากินอาหารมากร่างกายมีกำลังมาก มันจะทำให้การปฏิบัติภาวนานี้ลำบาก ถ้าเราตัดทอนมัน เราผ่อนอาหารไป สิ่งต่างๆ มันจะทำได้ง่ายขึ้นมา แต่ผลตอบสนองข้างเคียง มันจะมีความทุกข์ไหม มันเป็นเรื่องธรรมดา เรายังไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เรายังไม่ถึงกับชราภาพ เรายังไม่เห็นถึงว่าความทุกข์มันจะตามเรามาหรอก กายนี้เสื่อมสภาพเป็นธรรมดา คนแก่คนเฒ่า ลุกก็โอย นั่งก็โอย ไม่ได้เป็นโรคอะไรเลย.. โรคชรา ความชราภาพไม่เที่ยง ร่างกายมันชราคร่ำคร่าไป ถึงตรงนั้นแล้วนะ เราจะไปแก้ไขอย่างไร

แต่ตอนนี้ที่เรายังขยับเขยื้อนของเราได้ เรายังแก้ไขเราได้นี่ เราทำของเราก่อน ทำของเรานะจนให้ใจมันสะอาดนะ สักกายทิฏฐิความเห็นผิดในกาย ความเห็นผิดในกาย สภาวะกาย ผู้ที่พิจารณา ถ้าจิตมันสงบไปแล้ว เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม วิปัสสนามันเกิดที่นี่ สิ่งนี้เป็นวิปัสสนา จิตสงบขนาดไหน มันระงับกิเลสไว้ พอระงับกิเลสไว้ จิตมันเป็นกลาง จิตมันเป็นกลางมันสามารถรื้อค้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรมานตนอยู่ ๖ ปี จิตมันเป็นเรื่องของความคิด เพราะความคิดคือเจตนาที่จะทรมานตนไง ทรมานคือทรมานกิเลส คิดว่ากิเลสมันอยู่ที่ลมหายใจ กลั้นลมหายใจจนสลบเลย คิดว่ากิเลสมันเกิดเพราะการกิน การอยู่ อดอาหารจนขนเน่าเลย ถ้าอะไรที่มันตรงข้าม คิดว่าจะทำแต่ไม่ได้คิดว่าไอ้ความคิด คิดจะทำดี ถ้าความดีมันเป็นความถูกต้องขึ้นมา มันจะละเอียดเข้าไป มันเหมือนกับเราร่อนของที่ละเอียดเข้าไป มันจะผ่านตะแกรงออกไป

ความคิดถ้าเราใช้บ่อยครั้งเข้า มันจะละเอียดลึกซึ้งเข้าไป ละเอียดลึกซึ้งเข้าไป ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันจะย้อนกลับเข้ามาจนสิ่งมันมีอยู่นะ ดูสิ เวลาพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก เราเห็นธรรมชาติของมันใช่ไหม ความคิดของจิต มันเสวยอารมณ์ ความคิด.. ความคิดมันไม่ได้เกิดเฉยๆ หรอก ความคิดมันต้องมีฐานที่ตั้งของมัน ความคิด.. ถ้าจิตมันสงบขึ้นมา มันเห็นจิตเสวยอารมณ์ เห็นพลังงานแล้วก็ความคิด “ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด” ถ้ามันเห็นตัวจิต มันจับความคิดได้

ความคิด.. เปลือกของจิต อาการของจิต ถ้ามันจับได้มันพิจารณาของมัน ความเห็นผิดตรงนี้ไง สักกายทิฏฐิความเห็นผิด ความเห็นผิดเพราะอะไร เพราะจิตที่มันเกิดมันตาย มันเวียนเกิดเวียนตายขึ้นไป มันเป็นไปตามกรรม มันเป็นไปตามสัญชาตญาณของมัน มันก็เป็นจิต เกิดตาย เกิดตาย เกิดตายตลอดไป จิตดิบๆ เห็นไหม

แต่พอเราทำความสงบของใจเข้ามา ความสงบของใจ พอจิตเป็นสัมมาสมาธิ เรามีสติยับยั้ง เรามีสติตามจิตเข้าไป มันหดตัวเข้ามาพร้อมกับมีผู้ดูแล มีผู้ควบคุมมัน เวลามันแสดงออก มันขยับออกไป พอขยับออกไป.. “จิตเห็นอาการของจิต ! ” จิตเห็นอาการของจิตเพราะอะไร เพราะสิ่งที่เป็นอาการ มันเป็นขันธ์ ๕ มันเป็นความคิด เพราะเราคิดอยู่กับมัน มันเป็นเปลือก มันเป็นวงนอก พอเป็นวงนอกแล้วเราอยู่กับมัน ศึกษาธรรม เราออกไปศึกษาธรรม ศึกษามันก็นอกไปอีกชั้นหนึ่ง นอกไปเป็นสัญญา นอกไปจากข้อมูลภายนอก

แต่พอเราใช้ปัญญาไล่เข้ามา มันหดเข้ามาถึงตัวจิต ถึงตัวจิตเห็นไหม นี่สัมมาสมาธิ ! ถ้าถึงตัวจิต เราทำบ่อยครั้งเข้าจนมีสติสัมปชัญญะ มีสติ เราทำจิตทำตลอดเวลา พุทโธ พุทโธก็เหมือนกัน มันจะเข้ามาที่ตัวจิต พอตัวจิตมันเป็นตัวของมันเอง นี่มันระงับยับยั้งกิเลสไว้ ! ตัวมันเองเป็นกลาง มีเสถียรภาพชั่วคราว เสถียรภาพชั่วคราว..

ทางโลกบอกเป็นหินทับหญ้า จะหินทับหญ้าก็ขอให้มันทับเถอะ หินทับหญ้าให้มันทับเถอะ เอ็งมีให้ทับรึเปล่า เอ็งมีหินมีหญ้าเหรอ หินเอ็งก็ไม่รู้จัก หญ้าเอ็งก็ไม่รู้จัก เห็นเขาพูดกัน หินทับหญ้าๆ ก็จำขี้ปากเขามาพูด

“หินทับหญ้า.. สมถะไม่มีความหมาย สมาธิไม่มีความจำเป็น.. มันเป็นหินทับหญ้า..”

หญ้ามึงก็ไม่รู้ว่าหญ้า ! หินก็ไม่รู้ว่าหิน ! นี่ไง หินก็คืออาการของจิต มันทุกข์ มันทับตัวเอง มันทับหัวใจเราตลอดเวลา อาการของจิตมันทับใจเรา มันทับด้วยความทุกข์ ความทุกข์ความร้อนมันทับอยู่ แล้วเราพยายามจะเอาหินออก ถ้ามันจะเอาหินออก พอมันเป็นกลาง มันก็เอาหินออกชั่วคราว ถ้าเอาหินออกชั่วคราวถึงเป็นหญ้ามันจะงอกขึ้นมา ถ้ามันเป็นหญ้า มันก็เป็นสิ่งที่มันไม่มีประโยชน์นะ

แต่ถ้ามันเป็นหน่อพุทธะล่ะ ถ้าเป็นปัญญาล่ะ หน่อพุทธะมันเกิด ถ้าหน่อพุทธะมันเกิด ปัญญามันเกิดขึ้นมา สิ่งที่ปัญญามันเกิด หินทับหญ้าก็ให้ทับมันไว้เพื่อไม่ให้กิเลสมันมีกำลัง “สมาธิเป็นเครื่องยับยั้งกิเลส” พอกิเลสมันสงบตัวลง โอ้โฮ! มีความสุขนะ ถ้าไม่มีความสุขนะ คนมันติดได้อย่างไร

ในการประพฤติปฏิบัติที่เขาทำกันอยู่ มันก็แค่นี้ แค่หินทับหญ้า ! จริงๆ แล้วการปฏิบัติเขาคือหินทับหญ้า ! แต่เขาคิดว่าเขาเป็นนิพพานกัน

แล้วเวลาเขาปฏิบัติขึ้นมา เพราะอะไร เพราะขั้นตอนของมันใช่ไหม ขั้นตอนของกิเลส ของสมาธิยับยั้งกิเลสมันเป็นกลาง พอมันเป็นกลางขึ้นมา มันจะมีขั้นตอนต่อไป ขั้นตอนต่อไป ถ้าจิตมันมีกำลังขึ้นมาแล้ว มันเห็นอาการ หินทับหญ้า หินคือความคิด หินคือสิ่งที่กดถ่วงหัวใจ หญ้านี้เปรียบเหมือนนามธรรม เปรียบเหมือนสิ่งที่มันโดนกดถ่วงไว้ในหัวใจ แล้วถ้ามันสงบขึ้นมานะ เวลาเอาหินออก หญ้ามันจะงอกขึ้นมา พอหญ้างอกขึ้นมา เราเห็น เราจับได้

นี่ไง จิตเห็นอาการของจิต ! ถ้าเห็นอาการของจิตเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมา เกิดวิปัสสนาญาณเพราะอะไร เพราะตัวหินกับตัวหญ้า ตัวความคิดกับตัวจิต ตัวความคิดกับตัวจิตนะ เพราะตัวจิตมันเป็นตัวพลังงาน ตัวความคิดคือตัวทิฏฐิมานะของเรา คือสิ่งที่มันสกปรกไปด้วยกิเลสไง กิเลสที่มันยับยั้งสักกายทิฏฐิที่ความเห็นผิด ตัวจิตตัวที่เป็นกลาง มันเห็นความคิด มันเอาความคิดมาไตร่ตรอง เอาความคิดมาใช้ นี่ปัญญามันเกิดตรงนี้ ! ปัญญาที่เป็นพุทธปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่มันเกิดขึ้นมา มันเอาสิ่งนี้มาไตร่ตรอง เอามาแยกแยะ เห็นไหม

ในรูปมันก็มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าเรามาแยกออกอารมณ์เกิดไม่ได้ ความคิดเกิดไม่ได้ว่างหมด ยิ่งว่างกว่านี้อีก ยิ่งว่างกว่าที่เราใช้ความคิดเข้ามา แล้วปล่อยวางเข้ามาเป็นพลังงานเฉยๆ นะ แต่เวลามันออกไปวิปัสสนา เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอยู่ที่ใจ แล้วตัวใจนี่มันได้ออกขยับ ได้ออกเคลื่อนไหว ได้ออกมาใช้มรรคญาณ มรรคเข้าไปทำความสะอาด เข้าไปทำความสะอาดตัวจิต ดูสิ ดูอย่างน้ำเสีย จะให้น้ำเสียเป็นน้ำสะอาดได้อย่างไร เขาต้องรีไซเคิลมัน เขาต้องทำความสะอาดของมันใช่ไหม เขาต้องกลั่นกรองมัน

จิตก็เหมือนกัน มรรคญาณมันเข้าไปกวน มันเข้าไปทำความสะอาดของจิต ทำความสะอาดของจิตทำบ่อยครั้งเข้า ทำบ่อยครั้งเข้า ความบ่อยครั้งเข้า ความรับรู้ ตัวจิตพอรับรู้พอพิจารณาไปมันตทังคปหานมันปล่อยวาง ปล่อยวาง มันปล่อยนะ มันปล่อย.. คุณภาพของน้ำมันจะสะอาดขึ้น เพราะคุณภาพของน้ำมันได้ทำความสะอาด คุณภาพของน้ำจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ คุณภาพของน้ำ

คุณภาพของจิต ! เพราะตัวจิตมันเป็นตัวกระทำ เพราะตัวจิตมันเป็นตัวปัญญา มันเป็นตัวกระทำที่มันเกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะมีสติปัญญาของมัน สติปัญญาเพราะอะไร เพราะการระงับยับยั้งมันจะเป็นประโยชน์ของมันขึ้นมา ถ้าไม่มีสมาธิสิ่งนี้เกิดขึ้นมาไม่ได้ !เพราะตัวสมาธิมันทำให้จิตนี้เป็นอิสรภาพเข้ามา มันเป็นกลางเข้ามา แล้วพอเป็นกลางเข้ามา มันถึงออกมันใช้ปัญญาได้ ใช้ปัญญาตัวนี้มันจะเป็นภาวนามยปัญญา ถ้าภาวนามยปัญญามันใคร่ครวญของมัน

ถ้าจิตโดยพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธนี่จิตสงบเข้ามาเหมือนกัน พอสงบเข้ามามันจะเป็นเจโตวิมุตติ เจโตวิมุตติเพราะอะไร เพราะ “สมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิ” สมาธิอบรมปัญญาเห็นไหม

ปัญญาอบรมสมาธิ คือ ใช้ปัญญาเข้ามา ใช้ใคร่ครวญเข้ามา มันจะหดสั้นเข้ามา หดสั้นเข้ามา จนมันเป็นกลาง มันเป็นสัมมาสมาธิยับยั้งกิเลสไว้ แล้วเรารู้นะ มีความสุขมาก แล้วออกวิปัสสนาไป มันมีการกระทำ การกระทำอันนี้มันแตกต่าง แตกต่างกับความคิดปกติ ! แตกต่างมาก มันจะเห็นเหมือนกับความลึกลับ ความลึกซึ้งของมันแตกต่างกันมาก

ถ้าพุทโธ พุท โธ พุทโธ จนจิตสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามา เวลามันออกรู้ ออกรู้ ออกเห็น มันจะเป็นภาพ มันจะเป็นภาพของร่างกาย เป็นภาพของสิ่งใด เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม

เห็นกาย การพิจารณากาย เห็นจิต จิตเศร้าหมองจิตผ่องใส เห็นธรรม ธรรมารมณ์ความกระทบความรู้สึก อารมณ์เห็นไหม ธรรมที่เกิดขึ้น

มันไม่ใช่ความคิดที่เราคิดกันอยู่นี้หรอก ! ความคิดที่เราคิดกันอยู่นี้เขาเรียกโลกียปัญญา ความคิดของสมอง ความคิดที่ว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา แต่ปัญญาของใคร ? ปัญญาของกิเลสกับปัญญาของธรรม ถ้าปัญญาของธรรมนะ มันละเอียดเข้ามา มันลึกซึ้ง ลึกซึ้งเพราะเราเป็นคนกระทำ แล้วจิตมันเป็นคนกระทำ นี่ปัญญาจากจิต

ปัญญาจากสมองนี่นะ ดูสิ พลังงานที่ออกมาจากสมอง ดูสิ สมองนี่เป็นศูนย์ประสาท ศูนย์ประสาท สมองโดยปกตินี่สมองก็มีอยู่โดยสมบูรณ์ สมองเวลาคนตาย ทำไมมันคิดไม่ได้ล่ะ เพราะไม่มีพลังงาน พอมีพลังงานขึ้นมา จากพลังงานขึ้นมา มันออกมาถึงสมองแล้วสมองใช้งานไป มันเร็วมาก มันเร็วมาก แต่เร็วมากมันก็เป็นปัญญาสมองใช่ไหม

แต่ถ้าเป็นปัญญาของจิตล่ะ จิตเป็นกลาง จิตเป็นหนึ่ง นี่สมาธิยับยั้งกิเลสไว้ ! แล้วมันเป็นหนึ่งมันไม่ส่งไปไหน มันปัจจุบันของมันออกมาเดี๋ยวนั้น ขยับตัวเดี๋ยวนั้นมันก็เป็นปัญญาเดี๋ยวนั้น ปัญญาที่มันไม่ต้องส่งต่อให้กับศูนย์ประสาท ให้กับสิ่งใดๆ ทำอย่างนั้น ทำงานต่อเนื่องเลย

มันเป็นมัน ! มันเป็นมันเดี๋ยวนั้น ปัจจุบันเดี๋ยวนั้น สมาธิมันเป็นมันเดี๋ยวนั้น แล้วมันใช้ปัญญาของมันเดี๋ยวนั้น มันแก้ไขของมันเดี๋ยวนั้น

แก้ไขเดี๋ยวนั้นขนาดไหน แต่กิเลสมันแก่นของกิเลส จะพิจารณาขนาดไหน มันปล่อยวางก็ชั่วคราวๆๆ มันปล่อยๆๆ แต่มันไม่ถอนรากถอนโคน ต้องซ้ำ ต้องพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงที่สุดนะ..

“กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕”

มันขาดเป็นธรรมดา ! มันขาดเป็นธรรมดา ! แต่ ! แต่คนที่ขาดจะพูดถูกต้องแล้วรู้ตามความเป็นจริง

แต่เราจำขี้ปากเขามา ขาด ขาด ขาด นึกว่าขาดไง ลองนึกว่าคำว่านึกกับจิตสิ จิตมันเป็นจิต พลังงานมันเป็นพลังงาน “นึกว่า” ก็เป็นความคิดวันยังค่ำ เราจะนึกว่า เราจะคาดการณ์ ผิดหมด ! ผิดทั้งนั้น เพราะมันเป็นความคิด มันเป็นอาการ มันไม่ใช่ตัวจิต ถ้าตัวจิตมันขาดมันขาดของมัน แล้วขาดอย่างไร ?

พระโสดาบันพระอริยะบุคคลพูดถูกนะ แต่ถ้าไม่ใช่พระอริยะบุคคลพูดเท่าไรก็ผิดเท่านั้น ! ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะมันนึกเอา คาดเอา หมายเอา

คาดเอาหมายเอาเพราะอะไร เพราะมันไม่ได้ยับยั้งไง มันไม่เกิดสมาธิ สมาธินะมันยับยั้งกิเลสไว้ก่อน มันต้องมีการยับยั้งชั่งใจ แล้วมันจะหมุนไปเป็นธรรมชาติของมัน ถ้าหมุนไปเป็นธรรมชาติของมัน คำว่าธรรมชาติไม่เกิดเองหรอก ถ้าธรรมชาติเกิดเองกาฬเทวิลเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว อาฬารดาบส อุทกกดาบส เข้าสมาบัติ ๘ เขาได้สมาธิอยู่แล้ว ถ้าเกิดโดยธรรมชาตินะคนทำสมาธิได้แล้วนะ เหาะเหินเดินฟ้าได้เป็นพระอรหันต์ไปหมดแล้ว มันเป็นไปไม่ได้ !

คำว่าธรรมชาติคือสัจธรรม ! สัจธรรมที่หัวใจมันสร้างขึ้น หัวใจเป็นผู้รื้อค้น ธรรมจักรที่มันจะเคลื่อน จักรที่จะหมุนไป ธรรมจักรจะเข้าไปชำระกิเลส กงจักรคือกิเลส กงจักรมันเอาสิ่งนี้มาทำลายเราตลอดเวลา แต่ถ้าธรรมจักรนะ มันจะเคลื่อน มันจะหมุนเข้าไป แล้วการหมุนนี้เราต้องบริหารจัดการไง เราต้องดูแลมัน เราต้องทะนุถนอม ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถึงต้องมีข้อวัตรปฏิบัติ ต้องมีความสงบสงัด ต้องมีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ ครูบาอาจารย์สำคัญมาก

ไม่มีครูบาอาจารย์มันคิดเข้าข้างตัวเอง ธรรมชาติของกิเลส กิเลสเข้าข้างตัวเองหมด สมาธิมันก็เรียกว่าเป็นสมาธิเทียมๆ สมาธิปลอมๆ ที่ว่าเป็นสมาธิๆ กัน มันเข้าใจว่าเป็นสมาธิแล้วยังดูถูกนะว่า สมถะไม่มีความหมาย

ถ้าไม่มีความหมาย มรรค ๘ มีไว้ทำไม สัมมาสมาธิ มรรค ๘ มันมีสัมมาสมาธินะ สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธิ มันเป็นความสุขอันหนึ่ง เป็นที่เราพักผ่อน เป็นที่เราสร้างกำลัง คนเรานะเราทำสิ่งใดก็แล้วแต่ มันต้องเหนื่อยล้าเป็นธรรมดา ใช้ปัญญานะจะเหนื่อยมาก ทำสมาธิก็ว่าเหนื่อยอยู่แล้วนะ ใช้ปัญญาจะล้ามากเลย งาน ดูสิ งานการบริหารเห็นไหม ผู้ที่รับผิดชอบบริหารองค์กร ต้องรับผิดชอบหมดล่ะ ต้องเพิ่มความเครียดมาก นี่เป็นเรื่องของโลกนะ

ถ้ากลับมาทำความสงบ มันจะมีความสุขขึ้นมา นี่เหมือนกันจิตที่มันเข้าไปละเอียดเข้าไป มันเข้าไปชำระกิเลส มันละเอียดกว่านั้น ละเอียดกว่านั้นเยอะมาก เยอะมาก นั้นมันเป็นโลกียปัญญา แต่นี่เป็นโลกุตตรปัญญา

โลกุตตรปัญญามันเป็นการรื้อถอนกิเลส พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาการมันเป็นไปแล้วถึงที่สุดมันเป็น พั้บ ! ขาดเลย สิ่งที่ขาดนะ ขณะจิตเห็นไหม ขณะจิตที่เกิดจากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชนที่ทำสมาธิได้คล่องแคล่ว แล้วจากโสดาปัตติมรรค คำว่าโสดาปัตติมรรค ฟังใครเวลาพูดธรรมะกัน ถ้าใครเห็นกายแล้วพูดถึงการเห็นถูกนะ มันจะพูดถูกถ้าเป็นโสดาปัตติมรรค

ถ้าพูดผิดนะ.. สัญญาทั้งหมด ! “เห็นกาย.. เห็นกาย..” มันเห็นนิมิต เห็นกายๆ นี่มันไม่ได้เห็นจากจิต แต่ถ้าเห็นจากจิตนะ มันไม่มีกาลเวลา มันเป็นขณะจิต มันเป็นปัจจุบันธรรมเดี๋ยวนั้น จิตเห็นเดี๋ยวนั้น จิตสัมผัสเดี๋ยวนั้น จิตกระทบกระเทือนเดี๋ยวนั้น จิตรับรู้เดี๋ยวนั้นแล้วสะเทือนหัวใจมาก แล้วพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันจะแปรสภาพนะ แปรสภาพจนคืนสู่ธรรมชาติของมัน

ถ้าพิจารณากาย กายจะย่อยสลายไป กายจะบุบสลายไป กายจะเปื่อยผุพังไป ผุพังไปแล้วเหลือสิ่งใด จิตพอมันผุพังไปต่อหน้าต่อตามันก็ปล่อยพั้บ พั้บ พั้บ ฝึกฝนไปอย่างนั้น จนถึงที่สุดนะปล่อยจนไม่มีสิ่งใดเลย จิตมันสะอาดขาดผลัวะ ! ขาดเพราะอะไร ขาดเพราะสังโยชน์ที่มันยึดรัดไว้ไง สักกายทิฏฐิ ทิฏฐิว่าจิตใต้สำนึกมันเป็นเรานะ

เราเป็นชาวพุทธบอกว่า ร่างกายไม่ใช่เรา.. จิตใจไม่ใช่เรา..

ใช่ ! มันจะไม่ใช่ได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้กายกับจิตนี้อยู่ด้วยกัน บุญกุศล บุญกรรม เพราะมีลมหายใจอยู่ มันยังอยู่กับเรา เรานอนหลับ จิตฝันไปขนาดไหน ออกไปมันต้องกลับมาที่นี่ กายกับจิตเป็นอันเดียวกัน ! เป็นอันเดียวกันมันเป็นความรู้สึกในหัวใจเรา กายกับจิตเป็นอันเดียวกัน แต่เวลาพิจารณาไป พอจิตมันสงบเข้าไป มันสงบจนถึงที่สุด มันปล่อยวางหมด จิตนี่นะ มันสักแต่ว่ารู้ ดับหมดเลย เรื่องของกาย ดับหมดเลย

จะเห็นว่าจิตกับกายแยกออกจากกันได้โดยสมถะ วิปัสสนาไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงที่สุด ถ้ามันขาด กายกับจิตแยกออกเป็นธรรมชาติเลย “กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์” นี่มันสังโยชน์ที่ร้อยรัด สิ่งที่ทิฏฐิความเห็นผิดจากจิตใต้สำนึก มันขาด ! จิตนี้เป็นอกุปปธรรมเห็นตามความเป็นจริง แล้วก้าวเดินต่อไปข้างหน้า พิจารณากายซ้ำขึ้นไปก็เป็นสกิทาคา อนาคาขึ้นไป มันเป็นวาระขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป

การพิจารณาของมัน มันมีเหตุมีผลทั้งนั้น การมีเหตุมีผลถ้าเป็นความจริงนะ เป็นความจริงมันสมาธิตั้งแต่พื้นฐาน สมาธิเห็นไหม ในวิสุทธิมรรค ถ้าพูดถึงโสดาบันสมาธิ ๒๕ % ถ้าเป็นสกิทาคาสมาธิ ๕๐ % ถ้าเป็นอนาคาสมาธิ ๗๕ % แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์สมาธิ ๑๐๐ % แต่ในการปฏิบัติ ๑๐๐ หมดเลย ๑๐๐ หมดเลยเพราะอะไร เพราะเราทำงาน เราทำงานเราก็ต้องทำไปทั้งนั้น เพียงแต่สิ่งที่เป็น ๒๕ หรือ ๕๐ % นี้ เขามาเปรียบเทียบกัน ถึงความลึกตื้น ความเป็นไปของจิตที่มันลงลึกไป แล้วปัญญามันก็ลงลึกไปคนละชั้นคนละตอน

ดูในมุตโตทัยของหลวงปู่มั่นสิ ธรรมะสถิตในหัวใจของใคร ถ้าสถิตในหัวใจของปุถุชนนะ ธรรมะนี้สกปรกไปด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งหมดเลย ธรรมะสถิตในหัวใจของพระโสดาบันนะ มีความสะอาดบริสุทธิ์ ๒๕ % ธรรมะสถิตในหัวใจของพระสกิทามีความสะอาด ๕๐ % ธรรมะสถิตในหัวใจของพระอนาคา ธรรมะนั้นจะสะอาดบริสุทธิ์ ๗๕ % ถ้าธรรมะสถิตในพระอรหันต์สะอาดบริสุทธิ์ ! เพราะไม่มีพญามาร ไม่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากมาแบ่งไปเลย

แต่ถ้าแบ่ง เป็นพระโสดาบันธรรมะสะอาดบริสุทธิ์ ๒๕ % ๒๕ % สักกายทิฏฐิไง ทิฏฐิที่เห็นผิดว่ากายนี้เป็นของเรา สักกายทิฏฐิเป็นของเรา จิตใต้สำนึกมันเห็น สมองมันจำ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ เราต้องตายแล้ว จิตต้องออกจากร่างไปเป็นธรรมดา

ขี้โม้ทั้งนั้น.. จิตออกไปแล้ว ออกอย่างไร ออกไปแล้วมันทุกข์ไหม จิตออกจากร่างไป ขันธ์ ไปกับเรา ดูสิ ขันธ์ ๕ ขันธ์กับจิตมันไปด้วยกัน แต่เวลาพระอรหันต์ตาย ขันธ์ไม่มี ! ขันธ์ไม่มีเพราะขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ พระโสดาบันขันธ์อย่างหยาบแยกตัวออกไป ขาดออกไป ถ้าไม่ขาดออกไปสังโยชน์ต้องอยู่ สิ่งที่มันขาดเพราะอะไร เพราะสังโยชน์เครื่องร้อยรัดมันไม่มี ทำเครื่องร้อยรัดจนขาดออกไป

พิจารณาซ้ำไป พิจารณากายซ้ำไปแล้วเป็นพระสกิทาคา กามราคะปฏิฆะอ่อนลง พระอนาคา สังโยชน์ ๕ ตัวขาดไป พระอนาคา ๗๕ % แล้วพระอรหันต์ล่ะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูสิ รูปราคะ อรูปราคะ คือรูปฌาน อรูปฌานไง รูปฌาน อรูปฌานนี่เป็นราคะ จิตมันเกี่ยวข้องอยู่ ความเป็นราคะของมัน มานะ ความถือตัวถือตน เราต่ำกว่าเขา สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขา ทั้งๆ ที่เราต่ำกว่าเขา ไม่ต้องสำคัญมันก็ต่ำอยู่แล้ว ทำไมสำคัญอีกล่ะ ทั้งๆ ที่ความต่ำความสูงมันเป็นธรรมชาติอันหนึ่งเห็นไหม

แต่ความสำคัญของเรา ความสำคัญ ต่ำกว่าก็คือต่ำกว่า ก็กรรมของคนมันไม่เท่ากัน มันก็เรื่องธรรมดา จะสูงกว่า จะเสมอกันก็เรื่องสัจธรรม เรื่องสัจธรรมคือเรื่องเวรเรื่องกรรมไง นี้ทำไมต้องไปสำคัญอีก พอสำคัญขึ้นมามันก็มีความต่าง มีความต่างๆ สิ่งสังโยชน์ อุทธัจจะ อวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชา สิ่งต่างๆ มันเป็นไป นี่สังโยชน์เบื้องบน สิ่งที่มันต้องขาด มันต้องหลุดออกไป มันต้องขาดออกไป แล้วมันสะอาดบริสุทธิ์บริสุทธิ์อย่างไร

ความเป็นจริง ถ้ามีสมาธิยับยั้งไว้โอกาสการกระทำ โอกาสการปฏิบัติ มันจะก้าวเดินของมันออกไป แต่เราไปมั่ว ไปชิงสุกก่อนห่าม ตรึกในธรรม ผลของมันคือมันสงบเฉยๆ ผลของมันคือมันปล่อยวาง เหมือนเราทุกข์เราร้อน เราได้พักผ่อนเราก็สบายใจชั่วคราว

นี่ก็เหมือนกัน ปฏิบัติกันว่างๆ ว่างๆ ไม่มีอะไรเลย ! ไม่มีการเริ่มต้น ไม่มีการกระทำ ไม่มีผลพิสูจน์ของมัน รู้อะไร ? ถ้ารู้มันต้องรู้จริงสิ ! ความจริงมีหนึ่งเดียว ความจริงสองไม่มี

ถ้าความจริงหนึ่งเดียว อริยสัจเป็นอันเดียวกัน การจะประพฤติปฏิบัติทางไหนก็แล้วแต่นะ จะปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ ถึงที่สุดแล้วตอบสนองเหมือนกัน อันเดียวเหมือนกัน กินอาหารเขาว่า ใครกินอาหารชนิดอะไรก็แล้วแต่ อิ่มเหมือนกัน นั้นเปรียบเทียบ แล้วคนอ้างอันนี้มาก “อิ่มเหมือนกันๆ” เรานึกว่าอิ่มมันก็อิ่มนะ มันไม่อิ่มจริงหรอก ถ้ามันอิ่มจริงนะ จิตมันรู้ เวลามันตายมันรู้หมด ไม่ต้องตายก็รู้อยู่แล้ว

ของเรานะ ดูสิ ของเรา เราต้องมีเวรกรรมต้องใช้ต้องเป็นไป แล้วถ้ามันไม่มี มันรู้ชัดนะ มันรู้ชัดถึงว่ามีเป็นอย่างหนึ่ง ไม่มีเป็นอย่างหนึ่ง มันเห็นความต่างเลย นี่กิเลสมีเป็นอย่างหนึ่ง กิเลสไม่มีเป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ากิเลสมีแล้วเข้าใจว่ามันไม่มี ของมันมีอยู่แต่เราเข้าใจว่ามันไม่มี เราแกล้งแสวงหาว่ามันไม่มี

แต่ถ้าซื่อสัตย์นะ ของมันมีอยู่ใช่ไหม ในเมื่อมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจ รื้อค้น ตั้งใจดู มันจะไม่มีได้อย่างไร คนเราเป็นไข้ แล้วบอกเราไม่เป็นไข้ มันตัวร้อนผ่าวขนาดนี้บอกไม่เป็นไข้ ฉันสบายดีๆ กิเลสมันปัดออกไปตลอดเวลานะ มันจะไม่ให้เราเจริญงอกงามขึ้นมา

ในการประพฤติปฏิบัติ ถึงบอกว่าถ้าเป็นสมาธิระงับกิเลสไว้ก่อน พระโสดาบันนะสิ่งที่มันละเอียดขึ้นไปก็ต้องทำสมาธิขึ้นไป พุทโธขึ้นไปเพื่อระงับกิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างหยาบ เราฆ่ามันเลย การฆ่ากิเลสประเสริฐที่สุด การฆ่าความเห็นผิดในหัวใจประเสริฐที่สุด การฆ่ากิเลสตัณหาความทะยานอยากประเสริฐที่สุด แต่กิเลสตัวที่มันละเอียดกว่า มันก็ต่อต้านเรา มันก็ทำให้เราจำนนอยู่กับมันนะ

เราไปจำนนว่าเราได้ชำระกิเลสแล้ว สิ่งที่ชำระกิเลสแล้ว กิเลสมันก็หนเดียว หนเดียวของขั้นโสดาบันไง แต่ขั้นของสกิทาคา เรายังไม่เห็นหน้าจำเลยเลยนะ ไม่เห็นหน้าของผู้ที่กระทำผิดนะ เราถึงต้องทำสมาธิเข้าไป ทำจิตให้มันละเอียดเข้าไป สิ่งที่ละเอียดกว่า เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือต่างๆ ที่เขาใช้ เครื่องมืออย่างหยาบนะ เขาใช้แต่เฉพาะภายนอก เครื่องมือภายในนะ เวลาใช้กับภายในเครื่องมือต้องละเอียดอ่อนกว่านั้น

นี่ก็เหมือนกัน การแก้กิเลสที่ละเอียดกว่านั้น สมาธิมันต้องละเอียดขึ้นไปกว่านั้น แล้วปัญญามันจะละเอียดอ่อนกว่านั้น “มรรคหยาบ มรรคละเอียด” ความที่มันละเอียดเข้าไป มันละเอียดเพราะเหตุใด มันละเอียดเพราะจิตมันละเอียดขึ้น จิตมันมีหลักเกณฑ์มากขึ้น สติเราดีขึ้น แล้วพิจารณาของเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ มันถึงที่สุดนะ มันคืนสู่สภาพเดิมนะ พิจารณากาย มันจะคืนสู่ “ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ” สู่สภาพเดิมของเขา

จิตมันก็หลุดออกมาจากกาย กายแยกออกจากกันโดยธรรมชาติของมันเลยนะ แยกออกโลกนี้ราบหมดเลย ว่างหมดเลย… ติดอีก ! พอมันติดของมัน คิดว่านี้คือนิพพานๆ ไง มันจะมีความสุขของมัน ความสุขมาก คนรู้จริงเห็นจริง มันเหมือนป้ายรถเมล์ คนเคยผ่านเคยขึ้นป้ายรถเมล์ ขึ้นลงถูกต้องหมด คนไม่เคยขึ้นป้ายรถเมล์ มันจะไปลงเรือเมล์นู่น บอกเรือเมล์เป็นป้ายรถเมล์ พูดผิดพูดถูกเวลาเขาแย้งขึ้นมาก็พูดกลับไปกลับมา เพราะอะไร เพราะไม่แน่ใจตัวเองไง

แต่ถ้าเป็นความจริง เราเป็นคนขึ้นเองลงเอง เราเป็นคนจัดการเองทั้งหมด มันจะผิดพลาดไปไหน นี่ไง พอพิจารณาเข้าไป มันคืนสู่สภาพเดิมของเขา ว่างขนาดไหนนะ.. นี่ยืนรอรถเมล์ รถเมล์ไม่มาสักที ยืนแล้วยืนเล่า เออ ! นึกว่าไม่มีอะไรแล้วก็นอนหลับคารถเมล์ไง นี่ติดนะ มันติด รถเมล์มันเรืองแสงรถเมล์อยู่ในหัวใจของเรา เราต้องทำความสงบของใจมากกว่านั้นเข้าไป ค้นหารถเมล์นั้นให้ได้ ค้นหากิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้าค้นหาไปเจอนะ มันจะเป็นอสุภะเลย มันจะเป็นกามราคะ ทั้งๆ ที่จิตนี้แยกออก โลกนี้ราบหมดเลยนะ รวมพรั้บ หายหมด ว่างหมดเลยนะ กามราคะปฏิฆะอ่อนลง

แต่พอเข้าไปเจอรถเมล์ เจอกิเลส เจอกามราคะในหัวใจ มันจะรุนแรงมาก การพิจารณากามราคะนี่รุนแรงมากๆ เพราะสิ่งนี้มันทำให้กามภพไง ถ้ามันทำลายขึ้นมา มันเป็นพระอนาคา พระอนาคาจะไม่กลับมาเกิดในกามภพ ไปเกิดบนพรหม บนพรหม พรหมเขามีขันธ์เดียว ผัสสะหาร ถ้าเป็นเทวดาวิญญาณอาหาร ถ้าเป็นมนุษย์กวฬิงการาหาร สิ่งที่มันหยาบละเอียด มันเห็นหมดล่ะ มันเข้าใจหมด เข้าใจว่าอาหารในวัฏฏะ อาหารในโลกปัจจุบันนี้ อาหารของใจ อาหารของธรรมะ มันจะต่อสู้กันอย่างไร

พอถ้ามันออกรู้นะ ถ้ามันสมาธิยับยั้งกิเลส ถ้าไม่ยับยั้งกิเลส กิเลสเป็นสิ่งที่ละเอียด มันจะบอกนี่นิพพาน กิเลสละเอียดไง มันก็หลอกละเอียด นี่นิพพานแล้ว.. ว่าง..สบายมาก.. เพราะอะไร เพราะกิเลสละเอียดมันแสดงตัว แล้วเราไม่ได้ระงับยับยั้งมัน ถ้าเราระงับยับยั้งด้วยสมาธิ สมาธิของขั้นอนาคา เรายับยั้งมัน พอยับยั้งขึ้นมา จิตมันมีกำลังขึ้นมา พอกำลังขึ้นมา มันออกแสวงหา

เห็นรถเมล์นะ รถเมล์มันจะวิ่งชนเราอยู่ มันประจันหน้าอยู่กับเรา แต่มันเรืองแสงเราไม่เห็นมันนะ มันทับแล้วทับเล่า ถ้าเราไม่มีวุฒิภาวะเข้าไปจับต้องได้ มันเป็นนามธรรมที่เราจะไม่สามารถชำระกิเลสได้ ไม่สามารถชำระกามราคะในหัวใจได้ ถ้าจับรถเมล์ได้เห็นรถเมล์ได้มันสะเทือนหัวใจมาก การสะเทือนหัวใจนะ เพราะอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่เราจะชนะคะคานกัน

พิจารณานะ ถ้าพิจารณาเจโตวิมุตติเห็นกายเป็นอสุภะ อสุภะนะ พิจารณาจนถึงที่สุดแล้วมันปล่อยหมด ว่างหมดขนาดไหน ถ้ามันไม่มีเหตุมีผล กิเลสมันหลอกลวง กิเลสมันปลิ้นปล้อน มันเอาธรรมะ เอาความรู้ ความเห็นของเรา มาหลอกเราว่า สิ่งนี้เป็นธรรม ! สิ่งนี้เป็นธรรม ! แล้วว่าเหตุผลมันมีแล้ว ทุกอย่างมีแล้ว เพราะเราปฏิบัติมาตั้งแต่โสดาบัน สกิทาคา มันมีเหตุมีผล นี่ก็มีเหตุมีผล

แต่มันเหตุผลกิเลสสร้าง ! มันไม่ใช่เหตุผลตามสัจธรรม ถ้าเห็นเหตุผลตามสัจธรรมนะ มันจะเป็นมหาสติ มหาปัญญา สติปัญญาจะจับต้องตรงนี้ไม่ได้ มันจะต้องเป็นมหาสติ มหาปัญญา เพราะมันเร็วขึ้น สายบังคับบัญชาของจิตกับขันธ์มันละเอียดขึ้น มันสั้นขึ้น มันไวขึ้น มันเร็วขึ้น พอมันเร็วขึ้น สิ่งนี้กิเลสธรรมดามันก็ละเอียดอยู่แล้ว แล้วนี่กิเลสมันเข้าไปตั้งแต่ลูกมัน หลานมันเข้าไป ตอนนี้จะเป็นพ่อของมัน เป็นแม่ทัพ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดจากตรงนี้ เกิดจากกามราคะ

สิ่งใดที่ไม่ได้ดั่งใจขัดข้องหมองใจ เกิดโทสะ เกิดโมหะ ความหลง หลงก็แสวงหาเพื่อมัน ความโลภ โลภก็เพื่อสนองตัวมัน เพราะมันเป็นกามฉันทะอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ถ้าพิจารณากามราคะขึ้นไป ให้มันคลายตัวของมันขึ้นมา ให้เห็นสัจจะความจริง เห็นสัจจะความจริงเพราะจิตมันเป็นสมาธิ จิตมันมีหลักของมันได้ มันพิจารณาของมันได้ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่านะ ด้วยมันเป็นอสุภะ อสุภะ มันปล่อยบ่อยครั้งเข้ามันจะหดสั้น หดสั้นเข้าไปถึงตัวจิต แล้วไปทำลายกันที่จิต ไม่ใช่ทำลายที่อสุภะ !

ทำลายที่จิตเพราะจิต อสุภะ มันจะเข้าถึงตัวมันเอง รวมตัวมันเอง แล้วมันทำลายตัวมันเอง สิ่งทำลายแล้วมันเหลืออะไร ? มันเหลืออะไร ? มันเหลือสิ่งที่มันกามราคะที่เป็นข้อมูลของมันนะ เป็นขันธ์อันละเอียดมันทิ้งเข้ามา พิจารณาซ้ำอีก ถ้ามันติดนะ มันติดเพราะว่าพิจารณาซ้ำนี่ก็คิดว่าเป็น มรรค ๔ ผล ๔ ไง มรรค ๔ ผล ๔ พอได้ทำแล้วพิจารณาจนอสุภะจนมันทิ้งมันหมด เพราะอสุภะมันทิ้งมันครืนในหัวใจ คำว่าทิ้งนะ บาดแผลนี่ลึกซึ้งมาก แผลของใจมันลึกซึ้งมาก แล้วเราถมให้เต็ม เราถมให้หายขึ้นมา มันเป็นความมหัศจรรย์เลยนะ

สิ่งที่มันไม่น่าจะเป็นไปได้ ภูเขาทั้งลูก ลูกใหญ่ๆ มาก เราสามารถทำให้เป็นพื้นที่ราบได้ นี่ไง พอจิตขึ้นมา มันมีความต้องการ มันมีความหมักหมมในหัวใจของมัน มันมีโอฆะในหัวใจของมัน แล้วมันเรียบมันสะอาดของมันได้ มันแปลกประหลาดมหัศจรรย์มาก แล้วเราพิจารณาของเราซ้ำเข้าไปก็เลยคิดว่านี้เป็นนิพพาน มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ เราไปมหัศจรรย์กับสิ่งที่เห็น สิ่งที่เห็นเราพิจารณาของเราไปซ้ำแล้ว มันเป็นเศษส่วนที่เหลือมันจะซ้ำเข้าไปๆ ถึงที่สุดนะมันปล่อยหมด พอปล่อยหมด เราเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นนิพพานอีกแล้ว “เราเข้าใจว่า ! เราเข้าใจว่า !”

เพราะสิ่งที่เป็นมรรคญาณมันละเอียดกว่านั้นเยอะ ละเอียดกว่านั้นเยอะ ตัวจิตเห็นไหม ตัวจิตตัวปฏิสนธิจิต มันจะเข้าใจตัวปฏิสนธิจิต ตัวเห็นความที่จิตมันเกิด เกิดอย่างไร ปฏิสนธิที่จิต ตัวนี้ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้เป็นผู้ข้ามพ้นจากกิเลส” ปฏิสนธิจิต จิตผ่องใสๆ อะไรมันผ่องใส เพราะมันปล่อยหมด ว่าง.. ใส.. ใสหมด

ตัวใสมันก็ตัวมันเอง ความใสความสะอาดนั่นล่ะคือยอดของกิเลสเลย มันละเอียดลึกซึ้ง มันหลบซ่อนมา มันปฏิบัติมาถึงที่สุดแล้วมันเข้าไป นี่ไงที่ว่าสมาธิ ๑๐๐ % ไง สมาธิ ๑๐๐ % อรหัตตมรรค สิ่งที่เป็นอรหัตตมรรคใช่ไหม อรหัตตมรรค อรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ อรหัตตผลก็เป็นพระอรหันต์สิ ไม่ใช่ ! อรหัตตมรรค อรหัตตผลมันเป็นกระบวนการของการฆ่ากิเลสในขั้นสูงสุด ในขั้นของจิตเดิมแท้ ในขั้นของสิ่งที่มันเป็นไป

สิ่งที่เป็นไป มันใช้ปัญญาอย่างที่เราใช้ปัญญากันอยู่ไม่ได้ ! ปัญญาที่มันใช้ชำระกิเลสมาแล้วเครื่องมือหยาบๆ นี้จะใช้กับปัญญาอย่างนี้ไม่ได้ มันเข้าไปไม่ถึงจิตเดิมแท้ มันเข้าไปถึงความสะอาดบริสุทธิ์นี้ไม่ได้ ความสะอาดบริสุทธ์ของกิเลสนะ ความสะอาดบริสุทธิ์ของอวิชชา สิ่งที่อวิชชา ถ้าจิตมันละเอียดเข้าไป มันจับต้องสิ่งนี้ได้ มันกลืนตัวกัน มันทำลายตัวมัน จิตเป็นมัธยัสถ์ จิตที่เป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันทำลายตัวมันเอง พอมันทำลายตัวมันเอง อาสเวหิ จิตตานิ วิมุตจิง สูติ อาสวะสิ้นไป อาสเวหิเห็นไหม

สิ่งที่เป็นทางวิชาการ.. จะเที่ยวนิพพาน จะเข้านิพพาน..

ใครไปเข้า ? เข้ามันก็ไปขวางเขาอยู่ สิ่งที่ไปเข้ามันเป็นหนึ่ง มันจะเข้าไปได้อย่างไรในนิพพาน อะไรจะเข้านิพพานล่ะ แต่ถ้ามันทำลายตัวมันหมด ตัวมันเป็นนิพพานได้ ตัวมันเป็นนิพพานแต่มันเข้านิพพานไม่ได้ แต่ตัวเป็นนิพพานแล้ว อะไรมันไปเข้านิพพาน สิ่งนี้มรรค ๔ ผล ๔ อรหัตตมรรค อรหัตตผล สิ่งที่เข้ารวมตัวกันแล้วทำลาย เพราะตัวมันจบสิ้นกระบวนการไป นี่ธรรมธาตุ สิ่งที่เป็นธรรมธาตุ มันจะไม่มีสิ่งใดอีกแล้ว มันจะไม่กระทบสิ่งใดเลย

เวลาเราพูดกัน เสียงกระทบหู หรือสิ่งต่างๆ มันกระทบตัวจิต มันมีมานะ มีตัวตน มีตัว มีภพ มีสถานที่ตั้ง แต่พอมันพ้นทำลายหมดแล้ว มันมีอะไร มันมีอะไร มันไม่มีอะไร มันก็เป็นวิมุตติ วิมุตติออกไป แต่วิมุตติมันเป็นธรรมธาตุอันหนึ่ง มันพ้นออกไปจากวัฏฏะ สิ่งที่พ้นออกไปจากวัฏฏะ นี่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ภาราหเว ปัญจขันธา ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี่เป็นภาระ แต่ตัวจิตเป็นภาระไหม ? ตัวความรู้สึกเป็นภาระไหม ?

เพราะพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ ดูสิ นี่สอุปาทิเสสนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ที่มีชีวิต พระอรหันต์ที่ตาย พระอรหันต์ที่มีชีวิตกับพระอรหันต์ที่ตายต่างกันตรงมีชีวิตกับมีเศษส่วนเท่านั้นเอง มันไม่มีสิ่งใดอยู่แล้ว แต่เพราะขณะที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา จิตมันถึงที่สุดแล้วมันมีร่างกายนี้อยู่ มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เห็นไหม ขันธ์ ๕ ! ขันธ์ ๕ เป็นภาระ นี้ขันธ์ ๕ มันสืบต่อกับเราได้ ขันธ์ ๕ ก็เป็นเรื่องของโลก โลกที่จะสื่อสัมพันธ์กัน

ธรรมะจากใจของครูบาอาจารย์ มันสื่อสัมพันธ์ออกมาจากขันธ์ ๕ นี้ ! แต่ตัวใจมันเป็นวิมุตติลงไป มันเป็นคนละเรื่องกัน แล้วมันเสวยอารมณ์อย่างไร มันติดต่อกันอย่างไร มันออกมาอย่างไร เพราะมันกระบวนการสิ้นสะอาดหมดแล้วนะ กระบวนการจิตที่มันสิ้นกระบวนการ ที่มันสะอาดหมดแล้ว มันเห็นมันทำของมา มันถึงขมวด

แต่ถ้าเป็นธรรมะเลื่อนลอย มันจะอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์เลย ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าต้องเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นรูปธรรม เป็นวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติแล้วเป็นวิทยาศาสตร์ ต้องพิสูจน์ได้ ก็พิสูจน์ได้นั่นไง มันถึงเป็นกรอบ เพราะพิสูจน์ได้ คำว่าวิทยาศาสตร์มันเป็นรูปธรรม มันเป็นสสารที่เขาจับต้อง มันเป็นรูปธรรม มันไม่ใช่นามธรรม

สิ่งที่เป็นนามธรรมแล้ว แล้วมรรคญาณที่มันเกิดขึ้น มันเป็นมรรคญาณ มันเป็นสิ่งที่ทำลายนามธรรม ทำลายภพ ! ทำลายภพ ทำลายชาติ ทำลายสภาวะ ทำลายอนุสัย สิ่งที่อนุสัยมันนอนเนื่องมากับใจ “มารเอย...เธอเกิดจากความดำริของเรา เราจะไม่ดำริเจ้าอีกแล้ว เจ้าจะเกิดในหัวใจของเราอีกไม่ได้เลย” นี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเยาะเย้ยมารนะ สิ่งที่เยาะเย้ยมาร

การกระทำมาถ้าเป็นความจริง ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา.. ภาวนามยปัญญาถึงที่สุดมันจะทำลายทั้งหมดนะ ทำลายสัจจะ สัจจะเห็นไหม อริยสัจจะ นี่เวลาพ้นออกไป พ้นออกไป ถึงสัจจะ ถ้ามันเป็นสัจจะ มันเป็นสมมุติบัญญัติ มันเป็นสมมุติทั้งนั้น บัญญัติก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง ชีวิตนี่ก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง แต่จริงตามสมมุติ แล้วเราทำได้จริง มันพ้นออกไปจากสมมุติเป็นวิมุตติ

แต่ถ้าเรายังทำไม่ได้จริงนะ จะบอกว่าเป็นวิมุตติมันก็เป็นสมมุติ เพราะเราพูด เพราะสมมุติมาจากเราไง บอกว่าสรรพสิ่งเราทิ้งได้หมด ก็เราอยู่นั่น นั่นล่ะตัวกิเลส นั่นล่ะตัวภพ สิ่งที่ตัวภพ ถ้าเราทำความจริงของเรา เราปฏิบัติของเรา มันจะเห็นขึ้นมากับเรานะ สันทิฏฐิโกความจริงที่จับต้องได้ ความจริงที่จิตมันเป็นนะ ความจริงหนึ่งเดียวที่จิตมันเป็น

ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ของเรา ธรรมสากัจฉา เอตัมมังคละมุตตะมัง เวลาครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นท่านยังมีชีวิตอยู่ เวลาครูบาอาจารย์ท่านออกประพฤติปฏิบัติมา ท่านจะมากราบไหว้ครูบาอาจารย์ของท่าน เพราะอะไร เพราะเหมือนเรา สิ่งนี้เราได้จากใครมา สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติมา ได้จากครูบาอาจารย์ที่รื้อค้นของท่านมา เราจะระลึกถึงบุญถึงคุณท่านมาก ระลึกถึงบุญถึงคุณ เราจะไปกราบไหว้บูชาท่านเป็นครั้งคราว

แล้วเวลาพระออกมาจากป่ามาเจอกัน จะพูดถึงวิทยานิพนธ์ ประสบการณ์ชีวิตของแต่ละบุคคล บุคคลคนไหนจะมีความถนัดทางไหน เขาจะพูดถึงความประพฤติปฏิบัติของตัวเองถูกต้องแล้วดีงาม แต่ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านถนัดอีกทางหนึ่ง แล้วเวลาคุยกัน มันเป็นวิทยานิพนธ์ มันเป็นเรื่องสิ่งที่น่าฟัง สิ่งที่แสวงหา วงกรรมฐานเรามันถึงตรวจสอบกัน ทดสอบกัน มันถึงมั่นคงมาจนถึงปัจจุบันนี้ แล้วปัจจุบันนี้การประพฤติปฏิบัติของเรา ต่างคนต่างแยกตัวกันออกไป ไม่ถือนิสัย ไม่มีครูบาอาจารย์เป็นหลัก

ถ้ามีครูบาอาจารย์เป็นหลักนะ ครูบาอาจารย์ท่านจะดูแลเรา ความกตัญญูกตเวที เรามีสายไง เรามีสายมีสืบต่อกันมา มีต่อตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย รุ่นหลวงปู่มั่น รุ่นครูบาอาจารย์เรา แล้วก็รุ่นพวกเราต่อไปจะเป็นที่พึ่งของสังคม ถ้าเป็นที่พึ่งของใจได้ ใจมีหลักมีเกณฑ์เราต้องพึ่งเราให้ได้ก่อน อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นพึ่งแห่งตน ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนะ มีครูบาอาจารย์คอยบอกคอยแนะวิธี เราก็ต้องเอาจริงเอาจัง มีตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แล้วตนถ้าพึ่งตนเองได้แล้ว จะเป็นที่พึ่งของหมู่คณะ เอวัง