ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

พุทธภูมิ

๒๔ เม.ย. ๒๕๕๓

 

พุทธภูมิ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๓

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ใครมาวัดวันนี้นะ แล้วเจออากาศอย่างนี้นะ โอ้โฮ น่าอยู่น่าดูเลย มึงมาตอนแดดดีๆ มีแม่ชีมา ๒ องค์ มาอยู่ ๑๐ กว่าวัน ก็มาลองไง แล้วเวลาจะกลับเราก็บอกว่าโยมมันร้อนเนอะ กรุงเทพฯมันก็ร้อนหลวงพ่อ แต่ แต่กรุงเทพฯมันไม่ร้อนเหมือนที่นี่ ที่นี่เวลาร้อนนี่มันแสบผิว กรุงเทพฯมันไม่แสบผิว เขาว่านะ มีคนมาลองอยู่หลายคน แล้วมาลองดูก่อน เพราะมันแสบผิว แต่เดี๋ยวต้นไม้มันจะโตขึ้นเรื่อยๆ พอต้นไม้มันบังหมดนะ ก็เหมือนเราเข้าป่า แล้วอยู่ใต้ร่ม ก็รอตอนนั้นนะ

ปัญหาเยอะมากเลย แล้วปัญหานี่  ถ้าจะตอบ มันก็ตอบยาวก็ได้ ตอบสั้นก็ได้ เดี๋ยวตอบก่อน เอาอันนี้ก่อน เคลียร์ไปเรื่อยๆ นะ มันมีอันหนึ่งอยู่ข้างหลัง  อันนี้น่าจะดี เพราะมันจะเป็นประโยชน์มาก ทีแรกว่าจะไม่ตอบนะ มันถามเรื่องพุทธภูมิ คิดว่าทีแรกมันจะเป็นเรื่องส่วนตัวเหมือนกัน ก็ไม่อยากจะยุ่ง

ถาม :  ปัญหาที่ ๓๖. ผู้ปรารถนาพุทธภูมิเห็นผิดได้หรือไม่ นมัสการหลวงพ่อให้ตอบปัญหานี้นะ ปัญหาผู้ที่กล่าวว่าปรารถนาพุทธภูมิแล้ว มีโอกาสเห็นผิดในเรื่องปฏิบัติได้หรือไม่

ตอบ : ได้หรือไม่  เพราะว่าเขาเห็นว่า  เพราะว่าเขาปรารถนาพุทธภูมิ แล้วเขาภาวนานี่เขาฟังเทศน์เราด้วย แล้วเขาบอกว่า เขาไม่นิยม เขานิยมการดูเฉยๆ เขาถึงบอกว่าการปฏิบัติของเรานี่ผิดหมด ฉะนั้นมันก็เลยบอกว่า นี่มันจะเป็นปัญหาที่ว่า มันเป็นปัญหาส่วนตัวก็ว่าจะไม่ตอบ แต่นี้ถามว่าผู้ปรารถนาพุทธภูมิ มีโอกาสเห็นผิดในการปฏิบัติหรือไม่ เรียนหลวงพ่อให้ตอบ เพราะว่าเขาเป็นผู้ที่ แบบว่าเวลาพูดแล้วนี่ ผู้ปฏิบัติกล่าววาจาพุทธภูมิท่านหนึ่ง มีคนติดตามเขามากไง คือมีคนเชื่อถือว่าอย่างนั้นเถอะ มีคนเชื่อถือว่าเขาปรารถนาพุทธภูมิแล้ว เขาเป็นหัวหน้า แล้วนี่มีความเห็นผิดได้หรือไม่  แต่ในความเห็นเขาว่า เขาเห็นผิด ในความเห็นเขานะ ทีนี้คำว่าปรารถนาพุทธภูมินี่มันก็เหมือนกับปิดว่า เขาพาไปทางที่ถูกได้ไง

ฉะนั้นตอนนี้ถ้าจะตอบปัญหานี้ เราต้องมาเคลียร์ปัญหากันก่อนว่า คำว่าพุทธภูมินี่หมายความว่าอะไร ถ้าบอกปรารถนาพุทธภูมิแล้วถูกหมด

คำว่าพุทธภูมินะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาพุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ เวลาปรารถนาพุทธภูมิมันก็เหมือนเราปรารถนาทำคุณงามความดี แล้วถ้าเราปรารถนาทำความดีนี่ เรามีกิเลสอยู่นี่ทำผิดได้ไหมล่ะ มันได้แน่นอนอยู่แล้ว แล้วยิ่งว่าคำว่าปรารถนาด้วยนี่ เพราะคำว่าปรารถนาพุทธภูมินี่ ถ้าพระพุทธเจ้ายังไม่พยากรณ์ มันยิ่ง.. เพราะคำว่าปรารถนาพุทธภูมิ เราเห็นคนทำความดีนี่เราก็ตั้งใจทำคุณงามความดี  เราตั้งใจปรารถนาดี คือตั้งเป้าเท่านั้นเอง เราตั้งเป้าว่าเป็นคนดี นี่ปรารถนาพุทธภูมิ

พอปรารถนาพุทธภูมิแล้วเป็นคนที่น่าเชื่อถือ เพราะเวลาเราทำปาฐกถา  จนเขาเชื่อถือนี่ แล้วบอกว่าจะทำผิดได้หรือไม่ ฉะนั้นถ้าบอกว่าทำผิดไม่ได้เลยนี่ ปรารถนาพุทธภูมินี่เป็นที่น่าเชื่อถือ แล้วเราจะเชื่อเขาตลอดไป เราจะให้เขาจูงไปหรือ เพราะคำว่า ต้องคิดว่าพุทธภูมิมันคืออะไร พุทธภูมิหมายถึงว่าปรารถนาพุทธะ พุทธภูมิ แต่มันยังแค่ปรารถนา แต่ตัวเองยังไม่ได้พุทธภูมิ ยังไม่ถึงตรงนั้น การปรารถนาคือการสร้างบารมีเท่านั้น

ฉะนั้นถ้าบอกว่าผิดได้ไหม ผิดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ว่าผิดได้ไหม ผิดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ผิดแน่นอน เพราะมันผิดแน่นอน แต่ถ้าพูดถึง เพราะว่าคำว่าผิดหมายถึงว่า ปรารถนาพุทธภูมิ ปรารถนาใช่ไหม มันยังไม่ใช่พระพุทธเจ้า ถ้าเป็นพระพุทธเจ้านี่ ขนาดพระพุทธเจ้ากว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ การปรารถนาพุทธภูมิคือการสร้างบารมี แล้วการสร้างบารมีมันก็มีการสร้างบารมีมาหลายชั้น หลายชั้นหมายถึงว่า ถ้าเริ่มต้นปรารถนาทำคุณงามความดี เพราะเรานั่งอยู่นี่ มีเยอะมาก มีเยอะมากหมายถึงว่า ทำไมเขาชอบ ชอบ เขาคิดอย่างนั้น เขาทำอย่างนั้น แล้วเวลาเขาภาวนาไปนี่ เวลาเขาทุกข์เขายากนี่

มีผู้หญิงคนหนึ่ง เขาบอกว่าเขาปรารถนาพุทธภูมิโดยความเข้าใจของเขาเลย แล้วเวลาทำอะไรนี่จะประณีตมาก พวกนี้จะมีแบบว่ามีบารมีมาก พอมีบารมีมากก็ทำไป ทำไป เสร็จแล้วนี่พอมาถึงวิกฤตไง คือสามีเสีย สามีเสียแล้วเขาก็ต้องเป็นหัวหน้าครอบครัว ก็ต้องหาเลี้ยงครอบครัวด้วย ต้องปฏิบัติด้วย สุดท้ายแล้วเขามีความทุกข์ เขามาปรึกษาเรา เราก็บอกว่าต้องลาซะ คือต้องลา คือว่าต้องไม่ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องให้หลุดพ้นไง พอให้หลุดพ้นเขาก็บอกว่า มันลาอย่างไรก็ลาไม่ได้

นี่เวลาคนไม่เป็นนะมันลาไม่ได้ เราบอกให้ลาพุทธภูมิ เขาบอกลาอย่างไรมันก็ไม่ได้ พอไม่ได้บอก เราให้ทำสมาธิ พอทำสมาธิไปแล้วนะ พอจิตมันสงบแล้วนี่ให้รำพึง ให้รำพึงในสมาธินี่ให้ลา ให้ลาคือว่าให้ปล่อย ให้แบบว่าไม่ปรารถนาต่อไป เพราะจิตใต้สำนึกคือว่าสิ่งที่เราสร้างมานี่ อย่างสมบัตินี่เราสร้างมาเยอะแยะเลยนี่ สุดท้ายเราจะสละทิ้งนี่ มันจะทำได้ไหม มันก็อาลัยอาวรณ์เป็นธรรมดา แต่นี่ทำคุณงามความดีมาเยอะไง แล้วคุณงามความดีมันเยอะนี่ ใช่ เป็นคุณงามความดีทางโลก ถ้าทำคุณงามความดีมาเยอะนี่ เราเสียดายนี่ เราก็ต้องสร้างคุณงามความดีไว้จนกว่าความดีนั้นจะเต็ม

แล้วพูดถึงความดีจะเต็มนะ ต้องเจอพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าพยากรณ์ ถ้าพระพุทธเจ้าพยากรณ์นี่ อย่างนี่อย่างสมัยเรา พระพุทธเจ้านี่สมณโคดม ต่อไปพระศรีอริยเมตไตรย แล้วยังมีอนาคตวงศ์อีก ๑๐ องค์ คำว่า ๑๐ องค์นะดูสิ พระพุทธเจ้านี่ ๕,๐๐๐ ปี แล้วในช่วงที่เว้นระยะเวลาที่จะมีพระศรีอริยเมตไตรยมาตรัสรู้อีก แล้วอีก ๑๐ องค์ข้างหน้านี่ เฉพาะพระพุทธเจ้าที่พยากรณ์แล้ว พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้นี่ โอ้โฮ เรียงลำดับนี่อีกเยอะแยะเลย แล้วอย่างเรานี่ไปปรารถนาพุทธภูมินะ ยังจะต้อง อู้หู ไม่มีทางสิ้นสุดเลย

ก็เลยบอกว่าให้ลาซะ พอเขาบอกว่า เขาลาพุทธภูมินะ พอกำหนดสมาธิแล้วลา พอลาเข้าไปนี่ เขาบอกว่าเวลาภาวนาไปนี่พอจิตเขาสงบนะ นี่คนที่แบบว่าบารมีมีมาก พอจิตเขาสงบนี่เขาเห็นเป็นช้างทรงเครื่อง ช้างตัวใหญ่ทรงเครื่องนี่เดินเข้ามาหาเขาเลย แล้วหมอบลงต่อหน้านี่ทุกทีเลย แล้วก็บอกว่าให้บอกลา พอบอกลานะเขาบอกกับเราว่าพอจิตสงบเข้าไปแล้วนี่เห็นช้างทรงเครื่องเหมือนกัน แล้วเดินเข้ามาหาเขา แต่ช้างทรงเครื่องตัวนี้ เล็กลงเรื่อยๆ เรื่อยๆ จนช้างทรงเครื่องนี้เหมือนตัวเท่าหมูเลย เล็กลงเรื่อยๆ เห็นไหม เพราะว่าเขาพยายามจะลา เขาพยายามจะตัด เพื่อจะไม่ต้องให้ทุกข์ยากไปอีก

นี่พูดถึงพุทธภูมินะ ถ้าปรารถนาพุทธภูมินี่ ฉะนั้นคิดดูสิ ว่าเขาปรารถนาพุทธภูมิ เวลาจิตเขาสงบนี่ เขาเห็นช้างทรงเครื่องวิ่งเข้ามาหาเขาเลย เดินเข้ามาหาเขาเลย ให้เขาขึ้นนั่งตลอด แต่เขายังไม่ขึ้นนั่งเห็นไหม นี่ขนาดมีบารมีขนาดนี้ เขายังบอกว่าทุกข์เลย เราจะบอกว่า คำว่าปรารถนาพุทธภูมินี่ หลวงตาพูดอย่างนี้นะ เวลาปรารถนานี่หลายๆ ล้านเลยล่ะ จะรอดเหลือซัก ๑ หรือ ๒ หรือเปล่า คนปรารถนานี่เยอะมาก แต่หนทางที่จะไปนี่อีกยาวไกล เราจะบอกว่าพุทธภูมิกับปุถุชนนี่มีค่าเท่ากัน เพราะว่ามันเปลี่ยนแปลงได้ไง มันไม่มีอะไรจริง ไม่มีอะไรแน่นอนหรอก

คำว่าไม่มีอะไรแน่นอนนี่มันทุกข์ไหม แล้วทำความผิดได้ไหม แล้วเจตนาที่ว่าพิจารณาไปแล้วถูกผิดนี่ ผิดร้อยเปอร์เซ็นต์! โธ่ มันยิ่งหนักกว่านั้นนะ ยิ่งหนักกว่านั้นอย่างเช่นหลวงปู่มั่นนี่ ท่านปรารถนาพุทธภูมิเหมือนกัน เสร็จแล้วหลวงปู่มั่นท่านสละเห็นไหม ดูสิ เวลาเสียสละไปแล้วนี่ คู่ครองในอดีตชาตินี่มารำพันเลย นี่พากันมาสร้างบุญกุศลมา สุดท้ายก็มาเอาตัวรอดคนเดียว นี่แล้วทิ้งเขาอย่างนี้ หลวงปู่มั่นนี่เทศน์เลย

สิ่งที่ปรารถนาพุทธภูมิ เราสร้างบุญกุศลมาด้วยกันนั้นถูกต้อง เพราะการปรารถนาพุทธภูมิเราถึงได้สร้างคุณงามความดีมาด้วยกันใช่ไหม เพราะการสร้างคุณงามความดีใช่ไหม เราถึงได้เกิดดีมาร่วมกัน แล้วเกิดนี่ทุกข์ไหม แล้วทุกข์นี่เห็นไหม ปรารถนาพุทธภูมิไปถึงที่สุดไปเป็นพระพุทธเจ้า มันก็พระอรหันต์เหมือนกัน หลวงปู่มั่นท่านละเลย ละพุทธภูมิ แล้วประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ มาถึงในปัจจุบันนี้ท่านก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

คำว่าพระอรหันต์นี่มันเป็นบุญกุศล เห็นไหม เพราะพระพุทธเจ้าก็เป็นอย่างนี้ นี่ก็เป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ให้เทศนาว่าการให้ชื่น ให้รื่นเริง ให้ยินดี ในบุญกุศลนั้น นี่อดีตภรรยานี่พอรื่นเริงในบุญกุศล เห็นคุณนั้นก็เลยละ ก็เลยเคารพ ไม่น้อยเนื้อต่ำใจ เห็นไหม พอออกจากนั้นไปก็ไปเกิด ไปเสวยภพก็เป็นเทวดา พอเป็นเทวดาก็นึกถึงบุญถึงคุณเลยนี่ สิ่งที่ได้มา ได้มาเพราะเหตุใด 

แต่ทีนี้หลวงปู่มั่นนี่ท่านก็ไปแก้ครูบาศรีวิชัย ครูบาศรีวิชัยนี่ก็ปรารถนาพุทธภูมิ ทีนี้พอปรารถนาพุทธภูมิ ครูบาศรีวิชัยนี่ท่านมีปัญหามาก เห็นไหม โดนจับ   โดนสอบสวนเทศน์ไปตั้งกี่รอบ นี่มันก็ทุกข์ยากทั้งนั้นนะ แล้วทำสิ่งใดนะ เหตุที่เราไปศึกษามาแล้ว เหตุเพราะ ที่ครูบาศรีวิชัยนี่โดนจับ ก็เพราะไอ้เรื่องบวชพระนี่แหละ บวชพระนี่มันต้องเป็นปะขาวก่อนหรือเป็นอะไรก่อนนี่ แต่ท่านบวชเลยไง ท่านต้องให้อุปัชฌาย์กันก่อน แค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี่ เพียงแต่มันเป็นเรื่องทิฐิ เรื่องการเมืองในพระ คือเรื่องแบบว่า เรื่องผู้ปกครองไม่อยากเห็นลูกน้องมีชื่อเสียงว่าอย่างนั้นเถอะ เรื่องแค่นั้นเอง ทีนี้มันก็โดน

พออย่างนั้นปั๊บนี่มันก็เป็นสังคม สังคมนั้น เขาก็รวมตัวกันนะ ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นพระที่ดีมาก ท่านปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็สร้างบารมีของท่านนะ บารมีใหญ่โตมากมีคนศรัทธาเชื่อถือมาก พอเชื่อถือมากมันก็เป็นแรงไปขัด ไปเตะตาฝ่ายปกครอง ก็เท่านั้นเอง แล้วโดนจับแล้วโดนจับเล่า จนหลวงปู่มั่นท่านบอกให้ละซะ คือว่าจะเกิดอีก ก็จะเจอสภาพแบบนี้ เดี๋ยวจะเจอเรื่อยๆ เห็นไหม

ดูอย่างพระพุทธเจ้ากับพระเทวทัตสิ จะเจอมาอย่างนี้ตลอดไป ก็บอกว่าให้ละซะ ท่านบอกว่าละไม่ได้ ไม่เป็นอิสระกับตัวเองแล้ว แสดงว่าครูบาศรีวิชัยนี่พระพุทธเจ้าพยากรณ์แล้ว อนาคตก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้าไปข้างหน้า ฉะนั้นจะต้องสร้างบุญกุศลไปอย่างนั้น เห็นไหม นี่จะบอกว่าปรารถนาเป็นพุทธภูมิมีความผิดพลาดได้ไหม จะมีความผิดพลาดไปตลอด มีความผิดพลาดไม่ใช่มีความผิดพลาดธรรมดานะ มีความผิดพลาดจนแบบว่าละได้เลย คือไม่ต้องการพุทธภูมิเลย ว่าอย่างนั้นเถอะ

พุทธภูมินี่ละได้เลย ไม่เอาพุทธภูมิ เอาสาวกภูมิ เอาสาวก สาวกะ เอาภูมิของเรานี่ให้สิ้นกิเลสให้ได้ ไม่ต้องการปรารถนาเลย ฉะนั้นที่บอกว่า ปรารถนาพุทธภูมินี่ผิดได้ไหม แล้วพอปรารถนาพุทธภูมินี่ บุคคลคนหนึ่งปรารถนาพุทธภูมิ แล้วเป็นที่น่าเชื่อถือนี่ คำว่าน่าเชื่อถือนี่ใครเป็นคนบอกล่ะ  มันก็เหมือนนักการเมืองเห็นไหม ดูสิ เวลาไปไหนนี่เขาต้องสร้างภาพของเขา เขารักษาภาพของเขา เราก็เชื่อถือแต่ภาพของเขาข้างนอก แต่ความรู้จริงเขามีไหม ความรู้จริงเขามีหรือเปล่า แล้วความรู้จริงไม่มีนี่ ถ้าความรู้จริงเขาไม่มีนี่ เขาจะผิดพลาดได้ไหม ผิดพลาดร้อยเปอร์เซ็นต์

เพราะว่าพุทธภูมินี่นะ มันเป็นไปได้เฉพาะฌานโลกีย์ ทำฌานโลกีย์นี่พุทธภูมิ แต่พอเข้าโลกุตตรธรรมนี่ ไม่รู้จักแล้ว เพราะรู้จักไม่ได้ พุทธภูมินี่ไม่เข้าโลกุตตรธรรม ไม่เข้าอริยสัจ เพราะเข้าอริยสัจแล้วมันจะเข้าโสดาบัน สกิทาคา อนาคาไปเลย ถ้าเข้าโสดาบัน สกิทาคา อนาคา ก็เข้าไม่ได้ เพราะปรารถนาพุทธภูมินี่ ถ้าเข้าอย่างนี้ปั๊บนี่มันขัดแย้ง มันแตกต่างกันไง ถ้าเป็นพุทธภูมินี่มันจะเกิดตายไปเรื่อยๆ เกิดตายเพื่อสร้างบุญบารมีไปเรื่อย เพราะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม แต่พอเข้าอริยสัจปั๊บ พอเข้าโสดาบันปั๊บนี่ มันอีก ๗ ชาติมันสิ้นนะ

นี่ปรารถนาพุทธภูมิมันเป็นอย่างนี้ ปรารถนาพุทธภูมินี่มันจะเป็นฌานโลกีย์ตลอด คือจะเป็นฌาน เป็นเรื่องของโลกๆ เป็นเรื่องของความเห็นของโลกไง มันจะไม่เข้าอริยสัจ เข้าอริยสัจไม่ได้ ถ้าจะเข้าอริยสัจได้ หลวงปู่มั่นนี่ต้องลาพุทธภูมิ พุทธภูมินี่มันกั้นเลยนะ มันกั้นไม่ให้เข้าอริยมรรค มันจะเป็นเรื่องโลก มันจะเข้าอริยมรรคไม่ได้  ถ้าเข้าอริยมรรคปั๊บมันก็จะไม่หมุนไปตามกระแสที่จะต้องสร้างบารมีไง มันแบบว่ามันจะจบกัน ทีนี้มันจะจบกัน มันทำไม่ได้ นี่พูดถึงข้อขัดแย้งมันเป็นตรงนี้

ฉะนั้นพุทธภูมินี่เยอะนะ พระเรานี่ ในวงการพระเรานี่รู้เลยว่าใครปรารถนาพุทธภูมิ หลวงปู่จามเห็นไหม หลวงปู่จามนี่ก็พุทธภูมิ หลวงปู่ศรีนี่ก็พุทธภูมิ แล้วพุทธภูมินะ เพราะหลวงตาท่านพูดไว้เอง หลวงตาท่านพูดกับหลวงปู่ศรีนะ เพราะหลวงปู่ศรีนี่ไปสร้างเจดีย์นะ โอ้โฮ มหัศจรรย์มาก ทีแรกหลวงตาท่านก็พยายามเหมือนกัน ท่านก็บอกว่า เห็นไหม ท่านบอกว่าท่านไปเยี่ยมหลวงปู่ศรี หลวงปู่ศรีนี่บารมีเยอะมาก ก็พยายามที่จะเอาแบบหลวงปู่มั่น ก็จะแก้ว่าอย่างนั้นเถอะ ก็บอกว่าพอไปถึง ท่านศรีไปไหน เพราะเราไปหลวงปู่ศรีจะหนีตลอด  ท่านบอกเลยนะแล้วท่านก็พูดเล่น ท่านบอกถ้าเจอนะเราจะขี้ไว้ แล้วเราจะเตะให้มันไปเลยท่านบอก นี่เวลาท่านพูด

นี่คำพูดอย่างนี้เป็นคำพูดของความปรารถนาดี คือปรารถนาดีว่าพุทธภูมินี่ยังต้องทุกข์ต้องยากไปอีกนะ อยากจะให้วกเข้าหาอริยสัจ ทีนี้พอไปพิจารณาดูแล้วนี่ หลวงปู่ศรีนี่บารมีท่านสร้างมาพอสมควรแล้ว ประสาเราว่าจะกลับไม่ไหวแล้ว พอกลับไปท่านก็พูดใหม่ แบบว่าหลวงปู่ศรี ท่านศรีนี่นะ มีบารมีนะ ใครจะสร้างอย่างนี้ก็ไม่ได้เหมือนกัน เวลาเห็นไหมท่านพูดตอนหลังนี่ เดี๋ยวนี้ท่านจะพูดว่าหลวงปู่ศรีนี่มีบารมีนะ การก่อสร้างอย่างนี้ คนไม่มีบารมีนี่ทำอย่างนี้ไม่ได้หรอก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะการก่อสร้างนี่สะอาดบริสุทธิ์ เพราะท่านไม่มีเลศนัยเลย ท่านทำด้วยบารมีของท่าน

นี่ไง เวลาไปนี่ ในวงการพระเขารู้กันว่าใครปรารถนาพุทธภูมิ พุทธภูมินี่มีบารมีอย่างไร แล้วถ้าเป็นสาวกภูมิผู้ที่จะสิ้นกิเลสนี่ มันจะมีความรู้ความเห็นอย่างใด ความรู้ความเห็นมันแตกต่างกัน เพราะพุทธภูมินี่มันเป็นเรื่องของการสร้างบารมี ประสาเราก็เหมือนกับนักการเมืองนี่แหละ การเสียสละ การช่วยเหลือเจือจานอย่างนี้ตลอดไป เพื่อสร้างบารมีไป แล้วนักการเมืองนี่  เดี๋ยวถึงเวลาวิกฤตขึ้นมา เขาก็ต้องพลิกแพลงเพื่อเอาตัวรอดใช่ไหม

พุทธภูมินี่มันก็มีโอกาส ก็ยังทำไมละพุทธภูมิได้ล่ะ ทำไมพลิกแพลงได้ล่ะ มันพลิกแพลงได้หมด ถ้าบอกว่าพุทธภูมิจะผิดได้ไหม ผิดร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ถ้าผิดร้อยเปอร์เซ็นต์เลย แต่ถ้าไม่ผิดล่ะ ไม่ผิดมันก็ต้องดันไปเรื่อยๆ อย่างนี้ ทำไปเรื่อยๆ พอทำไปเรื่อยๆ พอบารมีแก่กล้าขึ้นมานี่ มันไม่แตกต่างเห็นไหม เช่นหลวงปู่จามนี่

หลวงปู่จามเวลาท่านพูดถึงครูบาอาจารย์นะแปลกๆ เลยแหละ เห็นไหม เพราะหลวงปู่จามนี่เราฟังทีแรกมันก็แปลกๆ แต่หลวงตาท่านบอกว่า ถ้าหลวงปู่จามนี่เคยขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น สมัยที่หลวงปู่มั่นยังอยู่นี่ ไปพูดเรื่องฌานสมาบัตินี่ หลวงปู่มั่นยอมรับ

คำว่ายอมรับหมายถึงว่า ยอมรับความจริงว่านี่เข้าฌานสมาบัติได้จริง แล้วทำได้จริงนี่ แต่ถึงกาลเวลาเห็นไหม เพราะพระพุทธภูมิใช่ไหม จิตใจมันยังไม่เข้าถึงหลักเกณฑ์มากนี่ มันยังไขว้เขว ไขว้เขวเห็นไหม เวลาพูดถึงว่าความเป็นไปนี่ ต้องเป็นอย่างนั้น คือว่าพยากรณ์ผิดว่าอย่างนั้นเถอะ พยากรณ์ผิดนี่หลายข้อมาก แต่ถ้าเป็นความจริงนี้จะพยากรณ์ไม่ผิด มันจะละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ แล้วพยากรณ์จะชัดเจน ชัดเจนขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าบารมีแก่กล้าขึ้น นั่นพูดถึงพุทธภูมิ ฉะนั้นบอกพุทธภูมิผิดได้ไหม...ผิด นี่พูดถึงพุทธภูมินะ

แล้วไอ้นี่มันแค่ผู้ที่ปรารถนา คำว่าปรารถนาพุทธภูมินี่มันยังปรารถนา เพราะพุทธภูมินี่หมายถึงคุณงามความดี ใครจะปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ แล้วใครเปลี่ยนแปลงก็ได้ มันไม่มีอะไรผูกมัดว่าจะต้องถูกหรือผิดตลอดไป แต่เวลาถ้าเป็นสาวกภูมินี่นะ ถ้าเข้าถึง ถ้าเป็นสัมมาสมาธิก็ต้องเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าไม่เป็นสัมมาสมาธิมันก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิ ถ้าเข้าสาวกภูมิมันยังชัดเจนกว่า ชัดเจนกว่าเพราะอะไร เพราะมันเข้าอริยสัจ

เหมือนกับสูตรทฤษฎีนี่ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์นี่ถ้าพวกเราเรียนมาด้วยกัน รู้เสมอกัน มันก็ต้องเป็นทฤษฎีเดียวกัน

การประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าพูดถึงสัมมาสมาธิเข้าอริยมรรคนะ มันจะเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเข้าสู่สาวกภูมินี่ แล้วเข้ามานี่ มันชัดเจนกว่านี้เยอะมาก ฉะนั้นพอมันเข้ามาถูกต้องแล้วนี่ มันจะไม่มีความผิดพลาดไง ถ้าเป็นความผิดพลาดมันก็เป็นมิจฉา ถ้าเป็นความถูกต้องเห็นไหม มันก็เป็นสัมมา เพราะสัมมาสมาธินี่นะ สัมมาปัญญาต่างๆ นี่ มันจะเข้าไปสู่ความจริง 

ฉะนั้นถ้าสาวกที่ปรารถนาพุทธภูมินี่ก็คือไม่รู้อะไรเลย ถ้าเป็นพุทธภูมิที่บารมียังอ่อนอยู่ มันก็ฤๅษีชีไพรธรรมดานี่แหละ แต่ถ้าเป็นพุทธภูมิที่มีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา เห็นไหม นี่มันก็จะชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆ มันชัดเจนขึ้นมา แต่ถ้ามันไม่ใช่อย่างนั้น ถึงบอกว่า ถ้าสาวกปรารถนาพุทธภูมิแล้วผิดไม่ผิด...ผิด ปัญหาหนึ่งว่า พุทธภูมิผิดได้ไหม ผิดได้ ผิดได้ แล้วพุทธภูมินี่ละได้ แล้วถ้าปรารถนาพุทธภูมินี่มันยังไปอีกไกล แล้วสิ่งที่ทำนี้ถูกต้องไหม มันก็ดีงามอยู่ เพียงแต่ที่เวลาเขาพูดอย่างนี้ เราเข้าใจว่า พออ้างว่าเป็นปรารถนาพุทธภูมิ จะทำอะไรก็แล้วแต่ จะทำให้มีความเชื่อถือไง ต้องการความเชื่อถืออย่างเดียว

แต่ถ้าเป็นความจริงนี่ เราทำสิ่งใดผิดถูก ความผิดถูกอันนั้น ข้อเท็จจริงนั้นมันจะบอก ฉะนั้นจะปรารถนาอะไรถ้าเราเป็นคนดี ไม่ต้องแอบอ้าง ไม่ต้องแอบอ้างว่าเป็นพุทธภูมิหรือไม่เป็นพุทธภูมิ ถ้าเป็นนะพูดถึงเนื้อหาสาระนี่ มันจะเป็นโดยเนื้อหาสาระ แต่ถ้าแอบอ้างว่า นี่ปรารถนาพุทธภูมิแล้วจะชักนำกันไป เพราะเราเป็นคนแนะให้เขาชักนำ ฉะนั้นถึงบอกว่าปรารถนาพุทธภูมิหรือไม่พุทธภูมิ ผิดได้ทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นความจริงนี่มันไม่ผิด มันจะเป็นความจริงของมัน ฉะนั้นปรารถนาพุทธภูมิผิดได้ไหม ผิด ผิด

ถ้าเป็นพระพุทธเจ้านี่เราเข้าใจนะ พระพุทธเจ้านี่พวกเราเคารพมาก แต่ทีนี้พวกเรานี่เวลาศึกษากัน เราศึกษากันไปด้วยความอ่อนแอของใจ วุฒิภาวะของเราต่ำกันมาก ดู เช่นฝ่ายมหายานเห็นไหม เมื่อก่อนเราก็แปลกใจนะ เพราะเราศึกษาแล้วเราคิดคำนวณไม่ได้ อย่างเช่นพวกทิเบต เวลาเขากราบไหว้นี่เขานอนไปทั้งตัว ทั้งตัวนี่ เราก็ว่ามันเอามาจากไหน แล้วพอเราไปดูรูปจิตรกรรมฝาผนังไง ทางมหายานเขานี่ เขาจะมีรูปที่ว่าเวลา พระพุทธเจ้าเรา เจ้าชายสิทธัตถะ เวลาพระพุทธเจ้าจะพยากรณ์ไง พยายามจะทำทางถนนมาให้ท่านเดิน แล้วไม่เสร็จใช่ไหม พระพุทธเจ้ามาก็เลยนอนเพื่อให้ตัวท่านเป็นที่ให้พระพุทธเจ้าเหยียบย่ำไป พระพุทธเจ้าก็พยากรณ์ว่า นี่ต่อไปจะเป็นพระพุทธเจ้า ชื่อว่าสมณโคดมพระพุทธเจ้าเรานี่ ทีนี้พระพุทธเจ้าพูดอย่างนั้นปั๊บนี่ เห็นไหม นี่คือรูปแบบไง

ทีนี้ฝ่ายมหายานนี่เขาว่าพระพุทธเจ้าพยากรณ์ตรงนั้น มันเป็นรูปแบบใช่ไหม ฉะนั้นพอเป็นรูปแบบเขาก็เคารพศรัทธากัน ฉะนั้นไอ้เรื่องการนอนกับพื้น เราว่ามาจากตรงนี้ เรามองจากวัฒนธรรม จากสิ่งในพระไตรปิฎก ฉะนั้นถ้าพูดถึงพระพุทธเจ้านี่นะ พระพุทธเจ้าเวลาปรารถนาพุทธภูมิ พระพุทธเจ้าเสียสละเห็นไหม ดูสิเป็นเวสสันดรนี่ เสียสละลูกสละเมียสละทุกอย่างเลย การเสียสละเสียสละเห็นไหม เป็นวานร เป็นลิงเห็นไหม เสียสละชีวิตเพื่อจะจับระหว่างเขาสองข้าง ให้ลูกน้องเหยียบข้ามไปก่อน เห็นไหม นี่จะเป็นอะไรก็จะเสียสละมาตลอด

การเสียสละนั้นต่างหากถึงมีคุณมีผลในหัวใจ ไม่ใช่ว่าไปนอนอย่างนั้น ไปนอนอย่างนั้นมันเป็นชาติหนึ่งที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ ฉะนั้นไอ้นี่ปรารถนาพุทธภูมิก็เหมือนกัน ถ้าเรามองแต่รูปแบบ ถ้ารูปแบบมันก็เป็นอย่างนั้น แต่เนื้อหาสาระความจริง การเสียสละ การทำคุณงามความดีต่างหาก

ฉะนั้นทำคุณงามความดีแล้วนี่ มันถูกหรือผิด นี่มันเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ฉะนั้นถ้ามองแต่รูปแบบเห็นไหม เราบอกว่า พวกเราเชื่อถือศรัทธานี่ ถ้าพุทธภูมินี่ อู้หู ใหญ่มาก เวลาใครไปหาพุทธภูมินี่ โอ้โฮ คนนี้มีพระพุทธเจ้าซ้อนอยู่ข้างหลังองค์หนึ่งเลย มันไม่ใช่

ปรารถนาพุทธภูมิ ปรารถนาคุณงามความดี ปรารถนาทำให้พุทธะเรานี้สว่างไสวขึ้นมา ทำให้ความจริงในหัวใจเรานี่ดีขึ้นมา ไม่ใช่ปรารถนาพุทธภูมิแล้วมีพระพุทธเจ้ามานั่งซ้อนอยู่ข้างหลังเลย คนอื่นไม่มี เรามีคนเดียว ทุกคนต้องฟังคนที่ปรารถนาพุทธภูมิเป็นผู้นำนี่ ไม่ใช่ มันผิดพลาดได้ ทีนี้เวลาปฏิบัติไปแล้ว ถ้ามันเป็นความจริงนะ มันจะเห็นตรงนี้ เห็นจริตนิสัย

อย่างเช่นหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นนี่แก้มาหลายองค์ หลวงปู่เจี๊ยะเป็นคนเล่าให้ฟัง ว่าหลวงปู่มั่นนี่แก้ครูบาศรีวิชัยนี้ไม่ได้ แต่ที่แก้ได้ แก้หลวงปู่เสาร์ได้ แล้วแก้เจ้าคุณอุบาลีที่โบสถ์วัดเจดีย์หลวง เจ้าคุณอุบาลีก็ปรารถนาพุทธภูมิเหมือนกัน หลวงปู่มั่นก็แก้กลับมา หลวงปู่มั่นนี่แก้พุทธภูมิมาเยอะมาก ไอ้ที่ปรารถนาพุทธภูมินี่หลวงปู่มั่นแก้พุทธภูมิให้กลับมาสาวกภูมิ แล้วแก้เข้ามาแล้วตัวเองก็รู้จริงด้วย

ฉะนั้นถ้ามันเป็นความจริง ถ้าเป็นพุทธภูมิจริงอะไรจริงนี่ เพราะพุทธภูมิจริงนี่เขา ประสาเราว่าพุทธภูมิไม่รู้เรื่องโสดาปัตติมรรค ไม่รู้เรื่อง พุทธภูมิเข้าโสดาปัตติมรรค ไม่ได้ พุทธภูมิเข้าได้แค่ฌานโลกีย์ พุทธภูมิทำสมาธิได้ พอทำสมาธิปั๊บ พอเข้าสมาธิก็ดูเลย ดูเรื่องอดีตชาติ เพราะอดีตชาตินี่รู้ได้ ถ้าพุทธภูมิใช่ไหม ก็ทำจิตสงบเข้ามา แล้วก็ดูวาระจิต พอดูวาระจิตแล้วก็แก้ตามวาระจิตนั้น เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ไง ใครมีกรรมก็แก้กรรม เพื่อให้สัตว์นั้นมีความสุข เท่านั้นเอง

พุทธภูมิเข้าด้วยฌานโลกีย์ แต่พุทธภูมิเข้าโสดาปัตติมรรคไม่ได้ พุทธภูมิไม่รู้จักโสดาปัตติมรรค ฉะนั้นเวลาพูดถึงโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค พุทธภูมิไม่มีสิทธิรู้ ไม่มีสิทธิ พุทธภูมิจะไปรู้เอง ต่อเมื่อตัวเองเสวยชาติสุดท้ายเป็นพระพุทธเจ้า  แต่สาวก สาวกะนี่มันได้ยินได้ฟังพระพุทธเจ้ามานี่ เรียนตามไป แล้วทำตามไป พอทำตามไปนี่ พอคนทำได้แล้ว พุทธภูมิกับพวกเราที่ยังปฏิบัติใหม่ๆ นี่เหมือนกัน โง่เหมือนกัน คือไม่รู้เรื่องเหมือนกัน

พุทธภูมิก็โง่ ถ้าปฏิบัติยังไม่ถึงนะ สาวก สาวกะก็โง่ถ้ายังปฏิบัติไม่ได้ แต่พอเป็นโสดาบัน หายโง่ไปนิดหนึ่ง เป็นสกิทาคาหายโง่เยอะขึ้นมาหน่อย เป็นพระอนาคานี่ หายโง่ไป ๗๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นพระอรหันต์นี่ฉลาดหมดเลย ฉะนั้นพุทธภูมิกับสาวกสาวกะ โง่เหมือนกัน โง่ทั้งหมด ผิดพลาดได้ทั้งหมด ประสาเราว่าที่พูดนี่เขาเอามาหากินกัน ที่พูดนี่พอบอกว่าคนนี้ปรารถนาพุทธภูมิแล้วนี่ก็ไปหลอกลวงกัน ให้หาผลประโยชน์กัน ถ้าพุทธภูมิเป็นแล้วปรารถนาดี เราก็สาธุนะ ใครทำคุณงามความดีเราก็เห็นดีด้วยทุกคน แต่คนนี่เอามาแอบอ้างกันว่าเป็นพุทธภูมิ แล้วให้คนเชื่อถือศรัทธา

ที่เราพูดนี่เราพูดตรงนี้นะ แต่ถ้าเขาเป็นพุทธภูมิ เขาปรารถนาดี ทำคุณงามความดี เราสาธุนะ เราเห็นด้วย คนทำดีเราก็เห็นดีด้วย แต่ถ้าเป็นความดีนี่ ความดีกับความดีมันวัดกันได้ แต่ถ้าบอกว่าปรารถนาพุทธภูมิ แล้วเที่ยวจะพาคนอื่นออกนอกลู่นอกทางอย่างนี้  เราเห็นว่าผิดไง นอกลู่นอกทางอย่างนี้ พุทธภูมิพาเขาไปเห็นผิดได้อย่างไร สาวก สาวกะเขายังดีกว่า เขายังพาคนไปในทางที่ถูก แล้วตัวเองพาไปในทางที่ผิด มันเป็นอะไรล่ะ  คำว่าปรารถนาพุทธภูมิ ผิดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์!  แล้วโง่ดักดานด้วย

ถาม :  ปัญหาที่ ๔๓. ดิฉันเคยนั่งพุทโธ ตามลมหายใจคนเดียว โดยไม่ถามใครครั้งแรกเมื่อ ๒๐ ปีก่อน นั่งหลับตาพุทโธอยู่จนรู้สึกลอยได้ จึงลืมตาและเลิกทำเพราะกลัววิญญาณออกจากร่าง และต่อมาอยู่ๆ ก็เห็นผี ก็กลัว ผีที่เห็นคงมาขอส่วนบุญ แต่ไม่ได้ให้ไปเพราะไม่รู้ ให้อุทิศไปในปัจจุบันนี้ เขาจะได้หรือไม่คะ

ตอบ : ได้ ได้ อุทิศตอนไหนก็ได้ เรื่องของกรรมนะ กาลเวลาเห็นไหม เวลาพระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์นะ ลูกศิษย์ลูกหาประพฤติปฏิบัติกันไปนี่ พระพุทธเจ้าจะมาแก้นี่ ไปอย่างกับเหยียดคู้เลย จิตมันไม่มีเวลาไง เห็นไหม ดูสิ เวลาหลวงปู่มั่น ท่านบอกเวลาท่านอยู่ที่เชียงใหม่ เห็นไหม พอเวลาท่านรับแขก มันมีเทวดาจากเยอรมันมาฟังเทศน์ เห็นไหม เราก็ อู้หู เยอรมันนี่แม่งมาตั้ง ๑๒ ชั่วโมง ๑๕ ชั่วโมงนะ แล้วนี่มาได้อย่างไร แต่โดยฤทธิ์โดยจิตนี่ แค่เหยียดแค่คู้นี่ มาได้แล้ว

เหยียดคู้นี่นะ ไปโดยแค่เหยียดคู้นี่ จิตนี้เร็วมาก จิตนี้มันจะไปได้เร็วมาก  ฉะนั้นไอ้เราบอกว่า โอ้โฮ เทวดาจากเยอรมัน เทวดาจากอเมริกาจะมาฟังนี่ โอ้ มันต้องพรุ่งนี้เช้าถึงมาทัน เพราะ ๑๖ ชั่วโมง มาได้อย่างไร ไอ้คนก็งง ว่าเทวดามาฟังหลวงปู่มั่นได้อย่างไร ฉะนั้นก็ย้อนไปในพระไตรปิฎกเห็นไหม เวลาพระพุทธเจ้าจะไปแก้ใครนี่ มันอยู่กันนะ ดูสิชมพูทวีป ตั้งแต่ปากีฯนี่ อัฟกานิสถานนี่ แล้วก็อินเดียทั้งหมด นี่คือชมพูทวีป มันกว้างใหญ่ขนาดไหน มันเป็นชนบทประเทศนี่

แล้วเวลาพระอยู่ชนบทประเทศล่ะ แล้วเวลานั่งภาวนานี่ ติดขัดปั๊บ พระพุทธเจ้ามาเลย  มาโดยฤทธิ์ มาโดยฤทธิ์แค่เหยียดคู้นี่  พั้บ  อย่างนี้ก็ไปแล้ว แค่เหยียดคู้นี่ไปได้แล้ว

นั่นพูดถึงเราจะบอกว่าจิตนี้มันไม่มีกาลเวลา เรื่องของกรรมนี่ ใครมีกรรมต่อกันนะ มันถ้าไม่จบนะ มันไปเรื่อยๆ มันจะเกี่ยวกันไปเรื่อยๆ ฉะนั้นที่บอกว่า ๒๐ ปีนี่เล็กน้อยมาก เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วนั่งไปแล้วเห็นผี แล้วไม่ได้อุทิศส่วนกุศล ตอนนี้อุทิศได้ไหมคะ ได้ ตอนนี้อุทิศได้ เพราะกรรมนั้นมันยังอยู่ อุทิศได้เลย อุทิศไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อก่อนนะ โทษนะ เมื่อก่อนยังโง่อยู่ไม่รู้ใช่ไหม ตอนนี้ฉลาดแล้วอุทิศได้

ถาม :  ๒. เมื่อกลางเดือนมกราคมนี้มุ่งปฏิบัติ และอ่านหนังสือในแนวทางปฏิบัติ มีข้อข้องใจมากเหมือนกัน คือตอนนี้ปิดเทอม ได้ปฏิบัติ เมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ เนื่องจากปวดไมเกรนไปสองวัน แล้วต่อมาต้องทำงานบ้าน ดูแลลูกและหลานที่เขามาฝากเลี้ยงตอนปิดเทอม มีเสียงดัง ทำอะไรไม่ได้เลย ปฏิบัติบ้างหยุดบ้างจะได้ไหมคะ

ตอบ : เนี่ยเวลาเราปฏิบัติเห็นไหม หลวงตาจะบอกว่า ถ้าเราลืมตัว เราเผลอไผล เราทำอะไรไปนี่ เราไม่รู้สึกตัวเลย เราทำไปโดยสามัญสำนึกนี่เราทำได้ทุกอย่างเลย แต่พอเราทำคุณงามความดีนี่เห็นไหม นี่จะปฏิบัตินี่ มีทั้งหยุดเทอม มีทั้งปฏิบัติบ้างไม่ปฏิบัติบ้างนี่ จะทำได้หรือเปล่าคะ นี่พอเวลาเราจะทำอะไรปั๊บ เรากลัวผิดไง ถ้าเราไม่มีสตินะเราทำอะไรโดยสามัญสำนึกนี่ เราทำได้เต็มไม้เต็มมือ ทำได้ตลอดไปเลย เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด แต่พอเรารู้อะไรถูกอะไรผิดปั๊บนี่ กลัวละ นู่นก็จะผิดนี่ก็จะผิด

ทำความดีทำได้ตลอดนะ เรามีเวลาเท่านี้เราก็ทำเท่านี้ ถ้าเรามีงานบ้านมีอะไรนี่เราก็ทำงานบ้านของเรา เสร็จงานแล้วเราก็ภาวนาของเรา มันไม่ผิดหรอก เราทำอะไรไม่มีผิดหรอก ถ้าเรามีสติปัญญาเราทำได้ทั้งนั้น ทำตามหน้าที่ของเรา ไม่ผิด ทำไปเลย  มันจะมีข้อหลังนี่มันจะน่าคิดมาก

ถาม :  ๓. ดิฉันปฏิบัติถึงความสงสัยในการนั่งปฏิบัติว่า ที่เราหยุดหายใจหรือหายใจลดลง ทิ้งพุทโธ เราปรุงแต่งให้เป็นไปเองหรือไม่ เพราะเราอ่านว่า ตัดวิตกวิจาร แต่เวลาที่เราตัดวิตกวิจารนั้น บางครั้งเราตัดหลังจากเราเผลอไป ไปคิดแป๊บหนึ่งว่าเราดึง กลับมาที่ลมหายใจ ดิฉันลืมพุทโธไปจับอยู่ที่ลมหายใจแทน การลืมแบบนี้แล้วเราต้องกลับมาเริ่มที่พุทโธตามลมหายใจหรือเปล่าคะ

ตอบ : นี่ข้อที่ ๓ นะ นี่เพราะว่า เราไปอ่านนี่เห็นไหม อย่างที่ว่าเวลาไม่รู้อะไร เราทำอะไรเราก็ทำด้วยความไม่รู้นี่ เราทำด้วยความปกติ พอเรารู้ว่าถูกหรือผิดนี่ เราก็เกร็งแล้ว พอเกร็งขึ้นมานี่ทำอะไรก็เกร็งไปหมดเลย อันนั้นอันหนึ่งนะ

สอง ในเมื่อข้อนี้บอกว่า การที่จิตสงบนี้ มันต้องตัดวิตกวิจาร คำว่าตัดวิตกวิจารนี่ นี่เห็นไหม การว่าตัดวิตกวิจาร นี่มันเป็นทางวิชาการ แต่ความจริงวิตกวิจารนี้จะเอาอะไรมาตัด วิตกวิจารมันอยู่ที่ไหน จะไปจับมันมาตัดหรือ เพราะเราก็รู้ว่าต้องตัดวิตกวิจาร  ใช่ไหม เราก็พยายามไปสร้างภาพกันไปว่าเป็นวิตกวิจารขึ้นมา แล้วเราจะไปตัดมันให้เป็นสมาธิ เห็นไหม เราไปสร้างภาพขึ้นมา ไม่ใช่ เรากำหนดพุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธไปเรื่อยๆ นี่ พอจิตมันละเอียดเข้ามานี่ มันจะตัดตรงนั้น มันจะรู้ของมันเอง

ทีนี้เราบอกว่า เราต้องตัดวิตกวิจารใช่ไหม เพราะเราไม่ตัดวิตกวิจาร แล้วเนี่ยเวลามันเผลอไปนี่ มันถึงไปตัดได้ตอนนั้น มันยิ่งแปลกนะเวลาเราเผลอไปแป๊บหนึ่งนี่เห็นไหม เผลอไปนี่ พอเผลอไปนี่ความว่าเผลอไปนี่นะ เพราะเราเกร็งเราทำนี่มันก็อยู่ของมันใช่ไหม พอเผลอไปนี่สติของมันเป็นไปเอง บางทีสิ่งนั้นมันจะลงสมาธิ เราจะรู้ไม่ได้เราคิดว่ามันเป็นเผลอไป เพราะอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่เหนือการคาดหมาย เราเคยรู้สึกอารมณ์ความรู้สึกปัจจุบันของเรา แต่เวลาจิตมันจะสงบ มันจะเข้าสู่สถานะของความสงบโดยข้อเท็จจริงของเขา เราไม่เคยสัมผัสอย่างนั้น พอไม่เคยสัมผัสอย่างนั้น อารมณ์ความรู้สึกอย่างนั้นมันจะแตกต่างกันไป เราก็ไปตกใจไปอะไรอีกอย่างหนึ่ง

ถ้าเราปล่อย เรามีสติ อะไรจะเกิดขึ้นก็ให้มันเกิดขึ้นไปตามนั้น อะไรจะเกิดขึ้นก็ให้เกิดขึ้นไปตามนั้น นั่นคือข้อเท็จจริงที่มันจะสัมผัส นั่นเป็นความจริงนะ แต่สิ่งที่เราบอก ว่ามันจะตัดวิตกมันจะตัดวิจารนี่ อันนี้อารมณ์สร้างหมดเลย หน้าที่ของเราคือพุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธไปเรื่อยๆ ฉะนั้นสิ่งอะไรจะเกิดขึ้นมานี่ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน เรากำหนดพุทโธ พุทโธไว้อย่างเดียวพอ เพราะกำหนดพุทโธ พุทโธไว้นี่ก็เหมือนกำหนดคำบริกรรมของเราไว้ จิตมันจะเป็นอย่างไร มันเป็นข้อเท็จจริงของเขา มันเป็นที่จริตนิสัยของจิตมันมีหลากหลายนัก พุทโธอย่างเดียว

ถ้าเราทำสมาธินะ แต่พอเราใช้ปัญญาแล้วนี่ เออ ถ้าเราจิตสงบแล้วเราออกมาใช้ปัญญา นั่นอีกเรื่องหนึ่ง เวลาเราใช้ปัญญาแล้ว ก็ใช้ปัญญาเต็มที่ไปเลย อย่างที่ว่า ทำไมมันเป็นอย่างนั้น ทำไมมันเป็นอย่างนั้น ไล่มันไปเลย เวลาใช้ปัญญามันเป็นอีกอย่างหนึ่ง เวลาทำกำลัง ต้องการกำลังนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง

 

ถาม :  ๔. ดิฉันนั่งถึงนิ่งมาก หายใจนิดหน่อยบางครั้งเหมือนหยุดหายใจ ความรู้สึกมีแต่หัวและหัวใจเต้นได้เด่นชัดขึ้นมา ดิฉันติดอยู่ตรงนี้คือจะกลับมาที่พุทโธใหม่ เพราะคิดว่าเรากลั้นลมหายใจเองมั้ง เพราะเราชอบว่ายน้ำแล้วกลั้นหายใจนานๆ ดิฉันจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราทำได้จริงหรือไม่ ตอนหายใจเบาๆ หรือหยุดหายใจ

ตอบ :  เนี่ยต้องหายใจ คำว่าหายใจกับกำหนดพุทโธนี่ กำหนดไปชัดๆ กำหนดไปเรื่อยๆ เวลามันเป็นนะ จะบอกว่ามันเป็นเหนือการคาดหมาย เหนือการคาดหมาย เวลามันเป็นนะ แต่เวลาผู้ชำนาญแล้วนี่ พอมันเป็นบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้านี่ ชำนาญในวสีนี่ เราจะจัดการได้ แต่ขณะที่เรายังไม่เป็นนี่ มันยังจัดการไม่ได้ มันจัดการไม่ได้หรอก ฉะนั้นเราจะต้องพุทโธหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ เพราะจิตมันเกาะอย่างนี้ไป จิตมันถึงจะแปรสภาพไป เหมือนกับเราทำอาหารนี่ ถ้าไฟมันยังมีอยู่อาหารจะมีโอกาสสุกนะ แต่ถ้าเราดับไฟเห็นไหม อาหารอยู่บนเตานี่ เราจะทำอย่างไรก็แล้วแต่มันไม่สุกหรอก เพราะมันไม่มีไฟ

นี่ก็เหมือนกัน พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไปเรื่อยๆ นี่ ไฟนี่ อุณหภูมินี่มันจะทำให้อาหารนั้นสุกได้ ฉะนั้นพุทโธ พุทโธไปนี่มันก็เหมือนพลังงาน เราพุทโธ พุทโธไปนี่มันจะทำให้จิตนี้สุกได้ ถ้ามันสุกคือจิตเข้าสู่สมาธิไง ทีนี้เราก็ไปห่วงว่าเราจะทำอาหารหรือเราจะไปดูที่ไฟ นี่มันก็เลยละล้าละลังใช่ไหม เรากำหนดพุทโธไปเรื่อยๆ กำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ กำหนดไปเรื่อยๆ มันจะเป็นของมัน พอเป็นปั๊บนะ แม่ครัวที่ชำนาญแล้วนี่เขาจะรู้เลยว่าเขาต้องติดไฟก่อน แล้วก็ทำอาหารของเขาไปนี่ เขาจะดูแลไฟ เขาจะใช้อุณหภูมิสูงต่ำนี่เห็นไหม ใช้ไฟแรงไฟอ่อนนี่ เขาจะหมุนของเขาเอง เพราะเขาชำนาญของเขา พุทโธหรือลมหายใจก็เหมือนกัน พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไปเรื่อยๆ นี่ เวลาไหนจะใช้ไฟอ่อนหรือไฟแก่ มันจะรู้ของมันเอง เราจะทำของเราชำนาญของเรา

ถาม :  ๕.บางครั้งดิฉันนั่งนิ่งๆ ได้แต่หายใจเบาๆ อันนี้ไม่สงสัยลมหายใจเพราะยังหายใจอยู่ (ถ้าหยุดเมื่อไหร่ก็จะตัดความสงสัยไม่ได้เลย) แต่มันมีอุปสรรคคือจะวูบไปตามเสียงที่ได้ยิน บางครั้งตกใจ ดิฉันก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ ทำอย่างนี้ทำไมถึงตกใจง่ายมากคะ ใจหายมากกว่าปกติค่ะ

ตอบ : นี่ โทษนะ เวลาเราไม่รู้คุณค่านะ เราเห็นอาหารที่เราไม่รู้ว่ามันมีสารพิษนี่เราจะกินได้เต็มที่เลย แต่ถ้าอาหารใดมีสารพิษนะ หรือว่ามันให้พิษแก่ร่างกายนี่ เราจะแยกแยะเราจะไม่กิน ทีนี้ก็เหมือนกัน เวลานั่งภาวนากันนี่เห็นไหม พระที่เวลาบอกว่าเมื่อก่อนนี้ไม่ค่อยฉุนเฉียว เวลานั่งพุทโธ พุทโธไปนี่พอจิตสงบแล้วทำไมมันฉุนเฉียว ผู้ปฏิบัตินี่ฉุนเฉียว เราบอกว่าจิตนี่ถ้ามันสะอาดแล้วนี่นะ เวลามันเลอะสิ่งสกปรกนี่มันจะเห็นได้ง่าย ชวนะนี่มันจะไว คนภาวนาจริงๆ นะมันต้องการความสงัด แล้วถ้าเราควบคุมสติไม่ได้นี่ พออะไรกระทบแล้วจิตมันจะพุ่งออกเหมือนกัน

ฉะนั้นเวลามันตกใจ ทำไมมันถึงใจหายแรงกว่าปกติ เอ้าเมื่อก่อนมันก็ตกใจมันก็ใจหายอย่างนี้แหละ แต่มันตกใจ ใจหายโดยธรรมชาติ ตกใจใจหายนี่มันก็เป็นธรรมดา แต่พอเวลาจิตมันสะอาดจิตมันดี เวลาตกใจ ใจมันหาย หายมากนะ แล้วเวลาสุขก็สุขมากด้วย แต่คนไม่เข้าใจ มันจะมาลงตรงนี้

ถาม :  ๖. วิธีแก้ไขข้อ ๕ ให้นั่งปฏิบัติ ให้ทรงตัวอยู่อย่างนั้น จะได้ก้าวหน้าขึ้นไปคะ  

ตอบ : ใช่

ถาม :  ๗.การนั่งปฏิบัติแต่ละครั้ง ดิฉันก็รู้สึกเฉยๆ นิ่งๆ ไม่เห็นว่ามันจะสุขตรงไหนเลย มีแต่ความสงบเฉยๆ ดิฉันทำอะไรผิดไปหรือไม่ ถึงไม่พบความสุขอะไรเลย เขาสุขอย่างไร ดิฉันรู้สึกว่าไม่เคยสุขเลยค่ะ

ตอบ : เนี่ยที่เขาบอกกันว่า เวลาปฏิบัติจะสุขมาก สุขมากนี่ นี่ปฏิบัติมาตั้งนานไม่เห็นสุขซักที แล้วความสุขมันเป็นอย่างไร เห็นไหมมันจะลงข้อนี้ เพราะเราไปคาดหมายในสิ่งที่ผิด เห็นไหมเวลาเราพูดถึงการปฏิบัตินี่ เวลาเราพูดถึงเห็นไหม เขาบอกว่าปฏิบัติไปแล้วสบายๆ นี่ เราจะบอกว่าไอ้เบิร์ดมันร้องสบายๆ เพลงมันร้องดีกว่าอีก คำว่าสบายๆ นี่ถามเขาจริงๆ ว่าเขาสบายจริงหรือเปล่า

ความจริงของใจนี้ ทุกข์มันเป็นอริยสัจ ทุกข์มันเป็นความจริง ทุกดวงใจนี่อมทุกข์ ในหัวใจทุกดวงใจนี่มีความทุกข์เป็นพื้นฐาน หัวใจมันอมทุกข์อยู่แล้ว แล้วเวลาปฏิบัติไปนี่ เพราะความอมทุกข์ไงโดยสามัญสำนึกของจิตของดวงใจทุกดวงใจ ทุกดวงใจมันก็อมทุกข์อยู่แล้วใช่ไหม มันก็มีค่าเท่ากับทุกข์

แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมานี่ เราก็บอกว่าเรามีความสุข มันมีความสุขเพราะอะไร เพราะเราจะให้เห็นแตกต่างว่าเรามีความสุข เราไม่ใช่ดวงใจอมทุกข์แบบพวกขี้ทุกข์ไง แต่ความจริงแล้วจิตใจทุกดวงใจมันทุกข์ทั้งนั้น แต่ทีนี้พูดถึงว่า เวลาที่ว่าไม่เคยเห็นความสุขเลยนี่ ความสุขมันคืออะไรล่ะ ความสุขมันคืออะไร ความสุขมันอยู่ที่ไหน เพราะมันไม่มีความสุขเห็นไหม เวลาปฏิบัติไปนี่เห็นไหม เวลาจิตมันใจหายวูบใจหายวาบนั้น นั่นล่ะอาการมันแตกต่าง พอมีอาการแตกต่าง เวลามันวูบไปเห็นไหม เวลามีความรู้สึก มันจะรู้สึกแตกต่างมากเลย

ฉะนั้น ถ้าจิตมันเป็นสมาธินี่มันจะสุขโดยตัวของมันเอง เวลาความสุขของตัวมันเองนี่ มันจะมีความสุขของมันนะ มันแปลกประหลาด มันไม่แปลกประหลาดได้อย่างไร หลวงตาท่านบอกเห็นไหม เวลาที่ท่านพุทโธ พุทโธไปนี่ เวลาจิตมันรวมนี่ มันเหมือนกับจอมแหเห็นไหม เวลาเราทอดแหไปนี่ เราดึงขึ้นมานี่แหมันจะย้อนกลับ เรารวบขึ้นมามันจะมาอยู่ที่จอมแหหมด จิตนี่มันรับรู้ออกไปทั่วหมด นี่ลองคิดสิ คิดถึงบ้านสิ คิดถึงทุกอย่างที่คิดถึงเดี๋ยวนี้สิ นี่มันก็แผ่ไปหมดเลย แล้วเราพุทโธ พุทโธ พุทโธ รวบมันกลับมาหมดเลยนี่ มันปล่อยหมดทุกอย่างเข้ามาหมดเลย เป็นตัวของมันเองนี่ โอ้โฮ มันซาบซึ้ง มันซาบซึ้งตรงไหน มันซาบซึ้ง ถ้าจิตมันสงบนะ โอ้โฮ มันมหัศจรรย์มาก มหัศจรรย์จนมันเป็นพยานกับจิตได้เลย มันเป็นพยานกับจิตว่าจิตเราเคยสงบอย่างนี้ โอ้โฮมีความสุขมาก

เห็นไหม สัมมาสมาธินี่คือตัวสุข ตัวของมัน สัมมาสมาธิถ้าใครเข้าบ่อยครั้งเข้า มันจะติดโดยตัวมันเอง ติดในสุขตัวมันเอง ถ้าสัมมาสมาธิไม่มีความสุข ทำไมเขาบอกว่าสัมมาสมาธิเป็นนิพพานได้ล่ะ จนมันเข้าใจว่า ที่ว่านิพพานสุข  วิมุตติสุข วิมุตติสุข พอมันสุขแล้ว นี่วิมุตติสุขมันเป็นอย่างนี้ มันเข้าใจผิดเลย เข้าใจผิดว่าสมาธินี้เป็นวิมุตติสุขเลย ถ้ามันเข้าใจผิดว่านี่เป็นวิมุตติสุข มันถึงไม่ออกใช้ปัญญาเลย ฉะนั้นนี่มันเริ่มเข้ามา อย่างที่ถามมาตั้งแต่ข้อ ๓ ข้อ ๔ นี่มันเข้ามาแล้ว มันจะเข้าสู่ตัวมันเอง ถ้าเข้าสู่ตัวมันเอง เห็นไหมพระพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว “สุขใดยิ่งกว่าจิตสงบไม่มี ความสุขสิ่งใดเท่ากับจิตสงบไม่มี”

จิตสงบนี้สุขมาก แต่ตอนนี้มันยังดิบๆ สุกๆ มันดิบมาตลอดใช่ไหม แต่มันกำลังจะสุก แต่เพราะเราตกใจ เราแปลกใจ เราไม่แน่ใจ มันเลยคลายตัวออกมา เห็นไหมพอมันเข้าไปนี่  มันรู้สึกว่ามันใจหาย ใจหาย นี่มันดิบๆ สุกๆ แล้ว มันยังไม่ทันสุก แต่มันเริ่มดิบๆ สุกๆ ทีนี้พอดิบๆ สุกๆ ก็เลยลังเลสงสัยว่า ไหนว่ามีความสุขไง ไหนว่ามีความสุขไง ก็เรายังดิบๆ สุกๆ มันก็เลยยังไม่สุข แต่ถ้ามันเข้าไปสุกจริงๆ เดี๋ยวมันจะรู้ว่า โอ้โฮ ถ้าไม่ โอ้โฮนะ ถ้าใครก็แล้วแต่ ทำจิตสงบได้สักหนเดียวนี่ ความสุขอย่างนี้มันไม่มีซื้อขายในท้องตลาด มันจะเป็นสมบัติของเรา สมบัติของเรา ทรัพย์สินของเรานี่ มันยังตกน้ำไฟไหม้ต่างๆ เห็นไหม บุญกุศลหรือสิ่งที่เป็นธรรมในหัวใจนี่ มันจะไม่มีใครมาช่วงชิง แย่งชิงไปจากเรา

ฉะนั้นพอมันอยู่ในจิตของเรานี่ พอมีความสุขของเรานี่ ถ้าเราทุกข์ยากนี่เราจะคิดถึงอันนี้ พอคิดถึงอันนี้ เวลาจิตนะมันออกจากร่างนี่ มันจะมาอยู่ตรงนี้ พออยู่ตรงนี้ปั๊บนี่เห็นไหม มันไปพรหมไง ใครเคยทำสมาธิได้ แล้วถ้าจิตมันรักษาของมันได้ เวลามันมีสิ่งใดกระเทือนปั๊บ มันจะวิ่งเข้ามาที่นี่เลย แล้วนี่จะไปเกิดบนพรหม จิตนี่จะไปเกิดบนพรหม ฉะนั้นความสุขนี่ สิ่งที่ว่าเขาสุข เขาสุขกัน เขาสุขเพราะจิตเขาสัมผัสนะ

แต่ของเรานี่มันเริ่มดิบๆ สุกๆ เพราะว่าจิตมันเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลง สัมมา สมาธินี่ หลวงตาท่านบอกว่า ทอดแหไปแล้วเราสาวแหเข้ามานี่ เหมือนจอมแหนี่เห็นไหมมันรวบเข้ามา ความรู้สึกของเรามันแผ่ซ่านออกไป เรากำหนดพุทโธ หรือเรากำหนดลมหายใจนี่ ให้จิตมันเกาะเกี่ยวอยู่ตลอดเวลา ด้วยสติด้วยคำบริกรรมนี่ พอมันชัดเจนเข้านี่ เท่ากับมันหดตัวของมันเองเข้ามา หดตัวของมันเองเข้ามา นี่มันจะเข้าสู่ตัวของมันเอง เข้าสู่จิตสงบ ถ้าเข้าสู่จิตสงบเห็นไหม สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบนี้ไม่มี

แต่ของเรามันยังเข้าไม่ถึงฐานอันนี้ ยังต้องถามอยู่ไง แต่ถ้าเข้าถึงฐานปั๊บนะจะรู้เลย ไม่ต้องบอก ไม่ต้องบอก ไม่ต้องบอก กลัวเขาบอกด้วย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะบอกมามันจะผิด ถ้าเราเคยทำถูกต้องแล้วนะ คนบอกมามันจะผิด มันจะไม่ซาบซึ้งเหมือนจิตเราเป็น จิตเราเป็นเองเราจะรู้เองเลยว่า อู้หู มันมีความสุขขนาดไหน ฉะนั้นถ้าบอกว่าจิตสงบมีความสุข มันจะซึ้งมาก ฉะนั้นที่บอกว่า สุขที่เขาสุขกันนี้มันสุขอย่างไร นี่ปฏิบัติมาขนาดนี้ไม่เคยสุขสักที จะได้อยู่แล้ว จะได้ความสุขอยู่แล้ว จะได้ความสุขเพราะทำได้ไง เพราะหนึ่งทำได้

เพราะคำถามนี่มันพูดถึงอาการของใจที่มันละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ ละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ แล้วถ้าละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ นี่ คำถามนะถ้าไม่มีการปฏิบัติจริง คำถามนี่มันถามจากตำรา ถามจากหนังสือที่อ่านมานี่มันไปอีกอย่างหนึ่ง อันนี้ถามออกมาจากภาคปฏิบัติ ถามออกมาจากการที่เราปฏิบัติเห็นไหม จิตมันวูบก็รู้ว่ามันวูบ จิตมันตกใจก็รู้ว่าตกใจ จิตมันหาย ลมหายใจมันหาย มันใจหาย เวลาหายใจนี่หายใจด้วยเข้าออก เวลาใจมันหาย หายจากความรู้สึก หายไปนี่ นี่อย่างนี้มันเป็นการปฏิบัติ เพราะมีการปฏิบัติขึ้นมา มันถึงมีผลตอบสนองมา แต่ในเมื่อมันยังไม่สุข เพราะเรายังเข้าไม่ถึง ความสุขไม่ต้องไปหามันไม่มี

แต่ถ้าเราเข้าถึงตัวของจิตสงบเอง ตัวของมันเองมันละทิ้งทุกๆ อย่างมา มันสงบในตัวของมันเองไง สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ไอ้นี่มันเป็นเวทนา มันเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นขันธ์ เป็นอาการของใจ พอมันทิ้งทั้งหมด มันกลับไปสู่ตัวของจิต เห็นไหม ไปสู่ตัวของใจ นี่ตัวของใจ จิตคือความรู้สึกเฉยๆ ความรู้สึกในตัวของมันเองคือวิญญาณแล้ว ความรู้สึกสุขทุกข์นั่นคือเวทนาแล้ว ความรู้สึกเปรียบเทียบคือสัญญาแล้ว ความคิดคือสังขารแล้ว แล้วก็มีวิญญาณรับรู้ เห็นไหมนั่นคือขันธ์ ๕ นั่นคือธรรมชาติของมันที่มันออกรับรู้ เวลามันหดตัวเข้ามาเป็นตัวของมันด้วยคำบริกรรม ด้วยลมหายใจ เห็นไหม นั่นล่ะ นั่นคือตัวของมันเอง ตัวของมันเองคือตัวสุข แต่เราไปหาสุข สุขอยู่ที่ไหน...ไม่อยู่ แต่ตัวมันเอง

เวลาปล่อยเข้ามานี่จิตสงบ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี พอจิตมันสงบเข้ามาก็คือตัวมันเองคือตัวสุข ตัวมันเองคือตัวสงบ แล้วที่บอกว่า สุข สุขอยู่ไหน สุขอยู่ไหน ก็ไปหานายทองสุขไง นายทองสุขก็วิ่งหามัน แล้วตะครุบเงาไปเรื่อย แต่ทิ้งหมดเลยไม่หาใครเลย กลับมาเป็นตัวของมันเองนี่ นั่นล่ะคือตัวสมาธิ นั่นล่ะคือตัวสุข สุขมันอยู่ที่นั่น ฉะนั้นว่าปฏิบัติมานี่ถูกต้อง นี่พูดถึงในการปฏิบัติเห็นไหม ให้เปรียบเทียบ ให้เปรียบเทียบว่านี่ถ้าปฏิบัติมา เห็นไหมนี่สาวก สาวกะ ไม่ใช่พุทธภูมิเลย ยังรู้เหตุ มีเหตุมีผล แล้วพุทธภูมินี่มันจะเอาเหตุเอาผลอะไรมา ถ้าพุทธภูมิมันเป็นแค่สัญญา เป็นแค่ความจำ เป็นแค่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นคือปรารถนาพุทธภูมิ แล้วพุทธภูมิมันเปลี่ยนแปลงได้ แล้วมันไม่รู้สิ่งใดผิดสิ่งใดถูก เพราะมันไม่มีข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ แต่ในปัญหาที่ ๔๓. เห็นไหม นี่เรื่องการปฏิบัติ เขาปฏิบัติของเขามา เขาปฏิบัติของเขามาเห็นไหม นี่สาวกภูมิ สาวก สาวกะ ผู้ได้ยินได้ฟัง นี่สาวกไม่ใช่พุทธภูมิ แต่ทำไปทำไปเห็นไหม นี่มันจะรู้ จิตมันจะดิบๆ สุกๆ มันก็รู้ของมัน แล้วเวลาถ้าความสุขที่จิตสงบมันก็รู้ของมัน

นี่สาวกภูมิแต่ถ้าทำตามพระพุทธเจ้า ทำตามอริยสัจ ทำตามสัจจะความจริง อันนี้เป็นข้อเท็จจริง อันนี้เป็นความจริงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ เกิดขึ้นจากความจริง ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความจำ แต่พุทธภูมินี่มันเกิดจากความจำเกิดจากต่างๆ แตกต่างกันมาก

ฉะนั้นให้ยึดตรงนี้ ให้ยึดความจริงที่เกิดขึ้นมาจากเรา นี่พูดถึงว่าปรารถนาพุทธภูมิผิดหรือไม่ผิด ผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ เวลาปฏิบัติผิดหรือไม่ผิด ผิด ผิดแต่มีการปฏิบัติอยู่นี่มันมีการแก้ไข มันมีการปฏิบัติอยู่ มันคัดเลือกอยู่เดี๋ยวมันจะไปสู่ทางถูกต้อง ดีงาม ทีนี้การปฏิบัติสำคัญกว่า สิ่งต่างๆ เขาพูดไปนี่มันเป็นคำเล่าลือ เป็นการเมือง เป็นสิ่งที่เป็นกระแส มันเป็นโลกธรรม ไม่ใช่เป็นความจริง

ในการปฏิบัติจิตได้สัมผัส จิตเราปฏิบัติ เรากำหนดของเรานี่ อันนี้เป็นความจริง ฉะนั้นปฏิบัติเห็นไหม ปริยัติคือการศึกษา ศึกษาเหมือนทางวิชาการ ศึกษาอย่างไรก็ได้ จินตนาการอย่างไรก็ได้ ทำวิจัยอย่างไรก็ได้ แต่วิจัยแล้วมันเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริงนั้นอีกเรื่องหนึ่ง วิจัยนี่ถูกต้อง แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมานี่ไม่ใช่วิจัย ถ้ามันไม่ถูกต้องก็ทุกข์เท่านั้นล่ะ หัวหกก้นขวิดไป พุทโธขนาดไหนก็หัวหกก้นขวิด แต่ถ้ามันถูกต้องขึ้นมา มันจะเป็นประโยชน์กับเราเห็นไหม

นี่ถ้าเป็นปฏิบัติเห็นไหม เป็นสาวก สาวกะ มีพระพุทธเจ้าแล้ว มีธรรมวินัยแล้ว  มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเราแล้ว เราปฏิบัติตามความเป็นจริงแล้ว มันจะเป็นสมบัติของเราเพื่อประโยชน์กับเรานะ เอวัง