ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คำอธิษฐาน

๔ ก.ค. ๒๕๕๓

 

คำอธิษฐาน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

อันนี้เขาถาม ๑๒๗ เขาถามธรรมดา เขาถามว่าเขาไม่เคยปฏิบัติเลย ๑๒๗

ถาม : เกล้ากระผมไม่เคยรู้จักพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นการส่วนตัว ถ้ามีความประสงค์จะไปปฏิบัติที่วัดป่าเขาแดงใหญ่ จะต้องแจ้งที่ไหน ต้องทำอย่างไร

หลวงพ่อ : อันนี้มันก็ต้องสุดวิสัยแล้ว หาเอาเอง

แล้วอันนี้ ๑๒๘

ถาม : ทำบุญแล้วอธิษฐานอย่างไรให้ได้บุญมากที่สุด กระผมทำบุญ ภาวนา ทำทาน ผมควรจะอธิษฐานหรือไม่ อย่างไร เพราะว่าตั้งแต่เด็กจนโต ก็มีแต่อธิษฐานว่า ขอให้ร่ำให้รวย ให้มีเงินมีทอง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ให้เจ้ากรรมนายเวร หรือว่าไม่ต้องอธิษฐานอะไรเลย ทำใจให้สบาย คิดอะไร

หลวงพ่อ : ไอ้อย่างนี้มันย้อนกลับมานะ มันย้อนกลับมาที่วุฒิภาวะของผู้ทำ ถ้าผู้ทำเริ่มต้นเห็นไหม ถ้าทำแล้วเหมือนกับการภาวนาทำสมาธิ ถ้าทำสมาธิไม่เป็นเห็นไหม ว่างๆ นะ ว่างๆ คือว่าไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าเป็นความจริงนะ สมาธิตั้งมั่น โอ้โฮ.. มีความสุขมากเลย

เรารู้จริงเลยเห็นจริงเลย ไอ้การที่ว่าไม่ต้องอธิษฐานอะไรเลยมันก็เป็นอย่างนี้ ถ้าไม่อธิษฐานอะไรเลยโดยไม่รู้ มันก็ไม่ได้อะไรเลยนะ ถ้าคนที่ไม่รู้ จับต้นชนปลายไม่ได้ เราไม่ได้ทำอะไรเลย ก็ไม่ได้อะไรเลย เราก็ต้องอธิษฐาน เริ่มต้นปฏิบัติเหมือนเด็กนะ เด็กต้องมีการศึกษาก่อน เด็กต้องมีวุฒิภาวะก่อน พอเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาแล้วก็ต้องให้ปล่อยวางสิ่งที่รู้มา

 

แต่เริ่มต้นปฏิบัติ บอกว่าเหมือนเด็กไม่ต้องทำอะไรเลย เด็กไม่รู้อะไรเลย แล้วเด็กเป็นพระอรหันต์หมดเลย แล้วเด็กไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ธรรมดานะ เขายืนยันว่าพระอรหันต์เหมือนเด็กๆ เลย เพราะเด็กมันไม่มีสังโยชน์ เด็กมันไร้เดียงสา มันยืนยันสองชั้นไง สองชั้นคือว่าตัวเองนะ โง่!! ไม่รู้อะไรเลย! แล้วยังยืนยันอีกนะว่า ความโง่นั้นเป็นพระอรหันต์ไง

พระอรหันต์จะไร้เดียงสา จิตไม่มีสิ่งใดๆ เลย คำถามนะ เวลาตอบเราจะตอบอย่างนี้ ถ้าตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง มันจะเป็นการยึดตกไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องอธิษฐานไหม? ทำบุญแล้วอธิษฐานอย่างไรแล้วได้บุญมากที่สุด? เราก็อธิษฐานถึงที่สุดแห่งทุกข์เห็นไหม ต้องอธิษฐาน

อธิษฐานคืออะไร อธิษฐานคือการเขียนโครงการ คนทำสิ่งใด ทำโครงการ เราต้องมีโครงการใช่ไหม เรามีโครงการเรามีพิมพ์เขียวใช่ไหม ขบวนการ องค์กรนั้นจะทำถึงที่นั้นได้หมดเลย เราเป็นหัวหน้าองค์กรนั้นเลย คิดเลยว่าจะทำอย่างนั้น แต่ไม่มีพิมพ์เขียว คิดอยู่คนเดียว หัวหน้าไง ลูกน้องมันไปคนละทางสองทางนะ งานนั้นไม่เสร็จหรอก

ฉะนั้นเริ่มต้นต้องอธิษฐานไหม “ต้องอธิษฐาน” พออธิษฐานปั๊บนะ เราจะมีความตั้งมั่น เพราะอะไร อย่างเราทุกคนภาวนาไป คนจะมาถามเรื่องภาวนาเยอะ พอจิตสงบนะ คนจะมาสะกิดทางโน้น คนจะมาสะกิดตรงนี้ เสียงจะดังที่นั่น เสียงจะดังที่นี่ อันนี้คืออะไร?

อันนี้คือเวรกรรมนะ ถ้านี่เวรกรรม ถ้าเราอธิษฐานถึงเจ้ากรรมนายเวรเห็นไหม ฉันจะทำคุณงามความดีนะ ฉันนั่งสมาธินะ ถ้าได้สมาธิขึ้นมา เราจะเอาสมาธิแบ่งบุญให้นะ มีเวรมีกรรมอยู่ก็ใจเย็นๆ ก่อนนะ อย่าเพิ่งมากวน ถ้าไม่มากวนใช่ไหม เราทำความดีเราจะได้คุณงามความดีขึ้นมา

แต่ถ้าเรายังไม่ทำอะไรเลยนะ ไม่ต้องอธิษฐานเลย เวรกรรมมาเลยนะ ภาวนานะ “ใครจะกระทืบหน้ากูก็เชิญเลยนะ” เราก็เลยไม่ได้อะไรด้วย ภาวนาก็ไม่ลง เจ้ากรรมนายเวรก็ไม่ได้ ไอ้เราก็ไม่ได้นะภาวนาไม่ได้สมาธิ

แต่ถ้าบอกว่า “ขออธิษฐานนะ เจ้ากรรมนายเวรขอให้ได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนะ อย่าเพิ่งมารังแกกันก่อนนะ ให้ภาวนาได้ก่อนนะ พอจิตสงบแล้วนะ อธิษฐานให้อีกชั้นหนึ่งนะ” โอ้โฮ.. ได้สองชั้นสามชั้น

ฉะนั้นคำว่าอธิษฐาน ต้องอธิษฐานไหม ก็ต้องอธิษฐาน อธิษฐานอย่างนี้แหละ อธิษฐานว่า เราเกิดมาแล้ว คุณงามความดี เพราะอะไร เพราะคนเรามันอย่างเช่น เรามีพ่อมีแม่ไหม มีปู่ย่าตายายไหม มีญาติพี่น้องไหม “มี”

จิตที่เกิดมามันมีเวรมีกรรม มันผลของวัฏฏะมันได้เกี่ยวพันกันมา มันมีเวรมีกรรมกันทั้งนั้น เจ้ากรรมนายเวรก็อย่างที่ว่า ขอก่อนเถอะ อธิษฐานนะ ขอให้เจ้ากรรมนายเวร ให้มีความเมตตา ให้เราได้ทำคุณงามความดีของเราก่อน แล้วสุดท้ายพอจิตสงบแล้ว เราอธิษฐานให้ เราแผ่ส่วนกุศลให้

ฉะนั้นแต่ถ้าพอพูดถึง พูดถึงผู้ปฏิบัติขึ้นมา มันระดับของทานใช่ไหม ถ้าระดับของภาวนานะ โอ้.. ต้องอธิษฐานนะ ดูสิหลวงปู่มั่น เรายกประจำ หลวงปู่มั่นไปแก้หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่เสาร์ในประวัติหลวงปู่เสาร์ไง เมื่อก่อนนั้นประเพณีของทางอุบลฯ เห็นไหม ก่อนจะภาวนาต้องสวดมนต์สวดพรก่อน จะต้องตั้งคำ ต้องผูกสายสิญจน์ใช่ไหม แล้วสวดมนต์ว่า “ขอให้ธรรมมาสถิตอยู่ที่ตา ขอให้ธรรมมาสถิตอยู่ที่ใจ ขอๆๆ ” สวดที ๓ ชั่วโมง ๔ ชั่วโมง

หลวงปู่มั่นบอกไม่ต้องภาวนาเลย ไม่ต้องๆ คุยกันอย่างนี้ ๓ ปี กว่าจะแก้ทิฐิอันนี้ได้ เห็นไหม ถ้าภาวนาแล้ว ระดับของภาวนา เพราะว่า เราอธิษฐานคืออะไร เราอธิษฐานไปถึงเป้าหมายใช่ไหม แล้วที่เราทำอยู่นี้ทำอะไร เราทำไปสู่เป้าหมายใช่ไหม เราเขียนโครงการไปสู่เป้าหมาย กับเราทำโครงการที่เข้าถึงเป้าหมาย อันไหนมันดีกว่ากัน

นี่ก็เหมือนกัน อธิษฐานๆ อธิษฐานแล้วไม่ทำมันเป็นอย่างไร อธิษฐานมันเป็นแรงใจ เป็นความผูกพันเห็นไหม ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกัน เรื่องความรู้สึกที่เราขออภัยต่อกัน แต่เวลาเราภาวนาเราต้องการให้ใจนี้มันสงบเลย ถ้าเราต้องการให้ใจสงบเลย

ฉะนั้นเราถึงบอกว่า เวลาทำบุญแล้ว ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สูงสุดนะ สูงสุดบอกทำบุญแบบทิ้งเหว ทิ้งเหวนะ คือไม่ปฏิคาหก

ปฏิคาหก ผู้แสวงหาผู้ทำเห็นไหม สิ่งนี้ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เสียสละด้วยความบริสุทธิ์ ผู้รับรับด้วยความบริสุทธิ์ ผู้รับผู้บริสุทธิ์รับด้วยความบริสุทธิ์ รับใช้บริสุทธิ์ นี่คือบุญกุศลสูงสุด

แต่นี่มันหาได้ยากนะสิ หาได้ยากเพราะจิตใจเรามันวอกแวกวอแวเห็นไหม ฉะนั้นถึงที่สุดแล้วไม่อธิษฐานอะไรเลย ทุกคำอธิษฐานคือเป้าหมาย คือพิมพ์เขียว คือการขอเอา แล้วความจริงล่ะ

ฉะนั้นต้องอธิษฐานอะไร ทำบุญแล้วอธิษฐานอย่างไรให้ได้บุญมากที่สุด สูงสุดสู่สามัญไง เริ่มต้นต้องอธิษฐาน ต้องตั้งมั่น ต้องทำใจ พออย่างที่ว่า เด็กมันทำอะไรไม่ได้เลย แล้วบอกให้มันปล่อยวางเป็นพระอรหันต์เลยมันไม่มี

แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ใช่ไหม ต้องศึกษาต้องเล่าเรียน ต้องประพฤติปฏิบัติ พอถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์ ไม่อธิษฐานอะไรแล้ว จะอธิษฐานอะไร ไม่อธิษฐานเพราะอะไร ไม่อธิษฐานเพราะไม่มีเราไง ไม่มีตัวตนผู้อธิษฐาน พระอรหันต์ไม่มีเรานะ ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แต่มีธรรมธาตุ มีความรับรู้อยู่ แต่ไม่มี

แล้วผู้ไม่มีจะอธิษฐานให้ใคร หลวงตาท่านพูดประจำนะ เราตายไปแล้ว ใครมาทำบุญให้เรานะ ไม่ต้องมาทำบุญให้เรา เราทำพอแล้ว “เอ็งจะทำให้ใคร เอ็งจะทำให้สิ่งที่ไม่มีใช่ไหม เอ็งจะทำสิ่งที่ไม่มีผู้รับเหรอ พระอรหันต์ไปรับอะไรของเอ็ง”

นี่ก็เหมือนกันถ้าเราถึงที่สุดแล้วนะ ถึงที่สุดแล้วเราอธิษฐานให้ใคร ถ้าเราทำของเราได้แล้ว เราจะบอกว่า เพราะเวลาเราพูดบ่อย กับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติต้องอธิษฐาน ต้องตั้งมั่น ต้องประพฤติปฏิบัติเข้าไปให้ถึงที่สุด

พอตั้งมั่นแล้ว พอเราอธิษฐานสิ่งใดแล้ว เราก็ไปยึดมันใช่ไหม แต่ถ้าเราตั้งโครงการแล้ว เราทำไปให้ถึงที่สุด พอถึงที่สุดแล้ว โอ๊ะ!! รู้หมดเลย อันนี้พูดถึงทำอย่างไรให้ได้บุญมากที่สุด

ความเห็น เห็นความคิดอกุศล ๑๓๐ นะ หมายเลขเขาถาม เดี๋ยวจะไปตอบตามนั้น ถ้าไม่ตอบตามนั้น ทวงแล้วทวงอีก ทวงแล้วทวงอีก ฉะนั้นต้องบอกเลขเขาด้วย แล้วเดี๋ยวจะไปขึ้นว่า เลขนี้ตอบแล้วๆ เขาจะมาตามเลขนั้น

ถาม : ข้อ ๑๓๐ เห็นความคิดอกุศล เหมือนลอยอยู่ใกล้บ้างไกลบ้าง ปกติจะภาวนาพุทโธระหว่างวัน เมื่อนึกขึ้นได้เสมอๆ และหากเผลอมีความคิดอกุศล ก็จะพยายามนึกพุทโธให้ชัดเจนขึ้น และจะนั่งสมาธิก่อนนอนเกือบทุกวัน ทำมาแบบนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งระยะหลังเห็นว่า ความคิดอกุศลเช่น คิดว่าคนอื่น (บางที) เห็นเหมือนว่าลอยอยู่ใกล้บ้างไกลบ้าง แล้วก็จะเร่งพุทโธ เห็นแบบนี้ตอนนั่งสมาธิ และตอนพุทโธระหว่างวัน แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกครั้ง เรียนถามอาจารย์ค่ะ

๑.ปฏิบัติถูกไหม

๒.ถ้าถูกทางแล้วก็สงสัยว่า ถ้าทางถูกทำไมเห็นแบบนี้ กับความคิดที่เป็นกุศล

๓.ขอให้อาจารย์ช่วยแนะนำด้วย

หลวงพ่อ : เวลาปฏิบัติไป เราพูดบ่อย พูดถึงการปฏิบัติเห็นไหม การปฏิบัติแบบครูบาอาจารย์ของเรา หรือการปฏิบัติแบบพวกเรานี้ มันได้สัมผัส มันได้รับรู้ เขาเรียกว่าปัจจัตตัง

ปัจจัตตังคือแบบว่า เช่น รสอาหาร อาหารเราได้กินเราได้ลิ้มรสใช่ไหม แต่ถ้าเราไม่ได้กิน เราจะไม่ได้ลิ้มรสนั้น นี่ก็เหมือนกัน เวลาพวกที่ปฏิบัติกันโดยที่ไม่ได้ผล มันเป็นทฤษฎีไง มันเป็นการปริยัติ คือการศึกษา มันไม่ได้สัมผัสหรอก ถ้าได้สัมผัสแล้วมันจะเป็นอย่างนี้ไง ปฏิบัติแล้วถูกทำไมเป็นอย่างนี้ ก็เป็นอย่างนี้ไง

เราไปอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนเราจะร้อนไปด้วย เราไปอยู่ในอุณหภูมิที่เย็นเราจะเย็นไปด้วย จิตของเราถ้ามันไปสัมผัสสิ่งใดมันจะเกิดสิ่งนั้น ฉะนั้นเวลาพุทโธๆ เห็นความคิดเป็นกุศลไม่อกุศล มันเหมือนเรามีสติไง เหมือนกับมีสติ เห็นไหม เวลาเราโมโห เรามีอารมณ์ความรู้สึก ถ้าเราไม่มีสตินะ อารมณ์ความรู้สึกนั้นเป็นเรา เราโมโหเขาเต็มตัวเลย จะทำตามสิ่งที่มันโมโหโกรธาตามความรู้สึกนั้นเลย

แต่ถ้าเรามีสติ “หือ ใครโมโห โมโหเรื่องอะไร” เห็นไหม นี่พูดถึงเวลามีสติ เรายังรับรู้ได้ว่า ถ้าเราไม่มีสติโมโหคือเรา เราคือโมโห ทุกอย่างเป็นเราไปหมดเลย แล้วเราก็จะมีอารมณ์ร่วมไปกับเขา ทำตามที่ตามความรู้สึก แต่ถ้าเรามีสติปั๊บ เราจะรู้เลยว่า “ทำไมเราเป็นอย่างนี้นะ ทำไมเป็นอย่างนี้”

นี่ย้อนกลับมาที่พุทโธ ย้อนกลับมาที่พุทโธว่า ทำไมเวลาเราพุทโธไปแล้ว ทำไมเราเห็นความคิดอกุศลล่ะ เห็นไหมความคิดเป็นกุศล ความคิดอกุศล ก็ความคิดเราไง เป็นความคิดเรา แต่จิตมันเห็นไง จิตมันเห็นความคิดเราเห็นไหม แล้วพอจิตเห็นความคิดเราก็ไม่รู้ว่าเป็นความคิดเรานะ พอเห็นไปเป็นกุศลบ้างเป็นอกุศลบ้าง มันลอยมาใกล้ลอยมาไกล ลอยมาใกล้มันก็ได้คิด เราจะบอกว่า นี่ “ปัจจัตตัง”

เวลาเราสัมผัสสิ่งใดมันเหมือนที่เขากินอาหาร พอเรากินอาหารรสชาติเห็นไหม เข้มข้นเจือจาง ลิ้นได้สัมผัส นี่จิตได้สัมผัสไง แต่เวลาที่เราคิดอยู่นี้ จิตไม่สัมผัสเหรอ เวลาเราคิดอยู่นี้ มันเป็นปุถุชน มันเป็นสามัญสำนึก เวลาเราโกรธเราอะไร มันเป็นสำนึก

แต่เวลาถ้ามีสมาธิขนาดนี้ จะรู้ได้ขนาดนี้ ถ้ารู้ได้ขนาดนี้ก็ยังงงใช่ไหม แต่พอมีความชำนาญขึ้นไป มันจะรู้เลยว่า จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นความคิด จิตเห็นขันธ์ มันจะวิปัสสนา แล้วมันจะละเอียดเข้าไปนะ

ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด ขันธ์อย่างละเอียดสุด เวลามันเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคานะ มันยังละเอียดกว่านี้อีกเยอะแยะเลย มันจะเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปนะ พอเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป นี่เวลาปฏิบัติ เราถึงบอกว่า เราชอบเอาอย่างนี้มาเป็นบรรทัดฐาน ให้คนปฏิบัติได้ปัจจัตตัง ได้สันทิฏฐิโก ได้ความสัมผัส ได้ความรับรู้ว่าการปฏิบัติถูกผิดอย่างใด

ถ้าเป็นการปฏิบัติที่เป็นความถูกผิดที่ว่างเปล่า “ฮ้า ฮ้า ว่างๆ ว่างๆ ” คือมันไม่ได้สัมผัส เหมือนคนที่ไม่ได้รับรสอาหาร มันไม่รู้รสอาหารหรอก แต่เรามีการศึกษาใช่ไหม “เอ่อ...ต้มยำรสชาติเป็นอย่างนั้น ต้มจืดรสชาติเป็นอย่างนั้น” เราก็รู้ได้ เราก็บอก “ว่างๆ ว่างๆ ” แต่ไม่เคยกิน

ไม่เคยกินไม่เคยสัมผัสรู้ไม่ได้หรอก แต่พอมันจะกินเห็นไหม อาหารเวลาร้อน ร้อนจัดๆ เห็นไหม เราไม่รู้ว่าร้อน เราซดใส่ปาก โอ้โฮ.. รีบอยากคายทิ้งเลย เพราะมันร้อนมาก นี่ก็เหมือนกัน จิตมันไม่เคยสัมผัส ถ้าจิตมันเคยสัมผัสมันต้องรู้สิ นี่ไง การปฏิบัติมันเป็นอย่างนี้ แล้วเราบอก “นี่ถูก” แล้วเวลาถูกทำไม...

ถาม: ๒. ถ้าถูกทางแล้วก็สงสัยว่าทำไมเป็นแบบนี้ล่ะ กับความคิดที่เป็นกุศลทำไมเป็นแบบนี้ล่ะ

หลวงพ่อ : ก็เป็นแบบนี้ก็มันถูกไง ก็ถ้ามันไม่ถูกมันก็ไม่มีอะไรเลยไง พอมันถูกแล้ว ถูกหมายถึงว่า ทำมาถูกทาง แต่ยังงงน่าดูเลย งงมาก งงอีกเยอะมหาศาลเลย

ถูกทางหมายถึงว่าเราตั้งเข็มทิศไว้ถูก แต่พอตั้งเข็มทิศไว้ถูกแล้ว เราจะเดินทางไปสู่เป้าหมายนั้น ยังอีกไกลมหาศาลเลย แต่ถ้าตั้งเข็มทิศไม่ถูกนะ เราทำอะไรไปนะ เหมือนกับว่าเราตั้งเข็มทิศไม่มีช่องทางไปเลย เราจะล้มลุกคลุกคลานอยู่กับความรู้สึกเราอยู่นั่นแหละ แต่เราคิดว่านั่นคือการปฏิบัติ

แต่ถ้าเราตั้งเข็มทิศถูกทางเห็นไหม คำว่าถูกทาง มันไปสู่ทางสัมมาทิฏฐิ สู่ปัญญาชอบ สู่ความเป็นจริง แต่เราจะเดินอีกไกลเลย อย่างเช่นปัจจุบัน เราจะทำธุรกิจกัน เราจะมีธุรกิจของเราเอง แต่การที่เราตั้งเป้านั้นถูกไหม “ถูก” แต่กว่าที่เราจะทำสำเร็จอีกกี่ปี

อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้ามันถูกทางแล้วทำไมเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้ แต่พอมันเป็นอย่างนี้แล้วนะ เข็มทิศถูกทางแล้ว แล้วพอเดินไปมันจะมีอุปสรรคมีขวากหนาม ถ้ามีอุปสรรคมีขวากหนามนะ เราต้องตั้งพุทโธๆ ตั้งสติไว้ เหมือนกับรถ รถถ้ามันรถสมบูรณ์ รถไม่มีความบกพร่อง เราจะเดินทางด้วยความปลอดภัย ก่อนออกเดินทางไกลเขาต้องให้เช็คสภาพรถให้ดี ทุกอย่างให้มั่นคง แล้วการเดินทางนั้นจะปลอดภัย

นี่ก็เหมือนกัน ก่อนจะออกเดินทางมีสติ พุทโธๆๆๆๆ ตั้งสติไว้ อยู่กับเราด้วยความชัดเจน มันจะเจออุปสรรค อุปสรรคเจอแน่นอน คนปฏิบัติต้องมีอุปสรรคแน่นอน บางคนบอกว่า “โอ้โฮ..ไม่เคยมีอะไรเลย มานั่งไม่มีอุปสรรคอะไรเลย” ลองมานั่งดูสิสัก ๒ ชั่วโมงมีไหม มันปวดแล้ว มันมีความรู้สึกทั้งนั้น มันจะมีอุปสรรคทุกคน แต่ถ้าอุปสรรคนั้นเรามีสติ เรามีพุทโธอยู่ อุปสรรคนั้นมันก็เป็นแค่อุปสรรคให้เราแก้ไขผ่านไป

ฉะนั้น ถูกทางไหม “ถูก” แต่นี้เราคิดว่าถูกทางนี่ พวกนี้นะพวกปฏิบัติ ปัญญาชนคิดว่าถูกทางเหมือนสอบไง พอสอบเสร็จเขาก็ให้ใบประกาศ พอถูกทางเสร็จก็นิพพานมาเลยสิ “ถูกทาง” ไม่มีทางหรอก

นี่ไง “ถูกทางไหม” ถ้าถูกทางไม่เป็นพระอรหันต์ล่ะ ยังไม่เป็นหรอก อีกนาน แต่ถูกทางไหม “ถูก” ถูกแล้วมันต้องเดินไป

การปฏิบัติมันเป็นอย่างนี้ แล้วถูกทางๆ ทำไมไม่เห็นมีผลตอบสนองที่ดีเลย ถูกทางแล้ว ผลตอบสนองที่ดีหมายถึงว่า ขั้วบวกขั้วลบ เวลาสปาร์คมันจะมีไฟฟ้าเกิดขึ้น นี่ก็เหมือนกัน ถูกทางคือว่ากิเลสกับธรรมมันเริ่มสัมผัสกันแล้ว เห็นไหม มรรคญาณมันจะเกิด เราจะต้องขวนขวายมีการกระทำไป การกระทำมันต้องเริ่มต้นไปอย่างนั้น มันจะไปสู่เป้าหมายของมัน ฉะนั้นถ้าถูกทางแล้วทำไมมันเป็นอย่างนี้ล่ะ

เพราะว่าเป็นอย่างนี้ เราถึงได้บอกว่าถูกทางไง ถ้าไม่เป็นอย่างนี้เราบอกว่าผิด ไม่ได้เป็นอย่างนี้หมายความว่ามันไม่มีอะไรไง ว่างๆ ว่างๆ คำว่าว่างๆ นะ เหมือนเราเหมือนคนบ้า เอากระดาษขึ้นมาแผ่นหนึ่ง แล้วก็เขียนให้คะแนนตัวเองทุกวันเลยนะ ๑๐ คะแนนๆๆ เหมือนคนบ้า นี่ไงเวลาปฏิบัตินะ ว่างๆ ว่างๆ มันจะเอานิพพานไง ก็เอากระดาษขึ้นมาแผ่นหนึ่งไง ๑๐ คะแนนๆๆ ว่างๆ ทุกวันเลย ผิด! แต่ถ้าถูกนะ มันระหว่างกิเลสกับธรรม

ธรรมคือสติปัญญา ทำให้จิตมันพัฒนาขึ้นมา “กิเลส” กิเลสคือความสะสมของใจ ตัณหาทะยานอยากของใจ มันก็มีการโต้แย้ง นี่ไง ถ้าอย่างนั้นเราไม่สามารถให้คะแนนเราได้ บางวันภาวนาดี บางวันภาวนาไม่ดี การภาวนาไปแล้วมันจะมีอุปสรรคบ้าง มีความสะดวกสบายบ้าง มันมีอุปสรรค เราจะต้องมีการต่อสู้ไปตลอด

อันนั้นเราไม่มีสิทธิ์ให้คะแนนตัวเราเอง มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก เป็นปัจจุบัน มันเกิดขึ้นในขณะนั้นที่ไม่มีใครรู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นในการปฏิบัตินั้น

แล้วการปฏิบัตินั้นเราตั้งสติเห็นไหม อย่างที่ว่าเริ่มต้นเราต้องเช็คสภาพของเราให้ดี มีสติให้ดี มีสมาธิให้ดี แล้วบุกเบิกเข้าไป มันจะไปเจอสิ่งใด เจอสิ่งนั้นคือกิเลสของแต่ละบุคคล บุคคลใดมีกิเลสสิ่งใด สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นมาเผชิญหน้า สิ่งที่เผชิญหน้ากับเรานั้น นั่นเราต้องแก้ไขตรงนั้นเข้าไป แก้ไขตรงนั้นเข้าไป

ถ้าจิตใจเราอ่อนแอ เราเช็คสภาพรถเราไม่ดี รถเรานะมีปัญหาส่วนใดส่วนหนึ่งเพราะไปเจอของบรรทุกหนัก ไปเจอทางที่ไม่ราบรื่น รถเราจะมีอาการ รถเราจะออกไม่ได้ จิตถ้ามีสมาธิไม่ดี สติไม่ดี พอไปเจอกิเลสมันหลอกนะ นิพพานอยู่ที่ใต้ฝ่าเท้า นั่งลงก็นิพพาน ถ้าเชื่อก็นอนอยู่อย่างนั้น ตายห่าเลย เห็นไหม เพราะมันไปเจออุปสรรคแล้วมันแก้ไขไม่เป็น

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา รถเราเช็คสภาพดี มันจะมีอุปสรรคสิ่งใด พอเจอเหตุการณ์มันจะแก้ไขเลย “จริงหรือเปล่าๆ” มันจะถามเลย สิ่งที่รู้เห็นนะ “จริงหรือเปล่า นิมิตนี่คืออะไร เห็นนิมิตทำไมตกใจ นิมิตมันเกิดขึ้นมาได้เพราะเหตุใด ทำไมถึงเกิดนิมิต ทำไมเมื่อกี้มันถึงไม่เกิด” เกิดนิมิตมันเกิดเพราะเหตุใด พอมันแยกแยะเข้าไปนะ นิมิตมันจะหายไปทันที หายไปเพราะอะไร หายเพราะสภาพรถเราดี เจอหลุมเจอบ่อนะ มันผ่านไปๆ มันผ่านวิกฤตินั้นไป ผ่านวิกฤตินั้นไป

การประพฤติปฏิบัติมันจะมีเหตุการณ์ที่แก้ไขตรงนั้นไป จิตอย่างนี้มันจะไม่บอกว่านิพพานไร้เดียงสาหรอก มันจะไม่บอกหรอกว่า นิพพานเหมือนเด็กๆ เพราะเด็กมันไม่มีสังโยชน์ มันจะไม่มีอย่างไร มันเกิดมามันจะไม่มีอย่างไร คนมันเกิดมามันไม่มีสังโยชน์ มันเกิดมาอย่างไร จิตมันเกิดมามันมีกิเลสเต็มตัว นี่ไงเพราะอะไร เพราะมันไม่มีอุปสรรค

เห็นรถมานะ รถเวลามันแข่งกันเห็นไหม เวลามันเข้าเส้นชัย มันมีธงตราหมากรุกนะ เราก็นึกว่าตัวเองเข้าเส้นชัยทุกวันไง แล้วมันมีอะไรบ้าง ก็เลยกลายเป็นไร้เดียงสา ไร้เดียงสาเพราะไม่เคยมีอุปสรรค ไม่เคยผ่านอะไรเลย เห็นแต่รถเข้าเส้นชัย ธงตราหมากรุกมันโบก โอ้.. เข้าเส้นชัยแล้ว เข้าเส้นชัยแล้ว ก็เลยเด็ก ก็เลยไร้เดียงสาเลย เพราะไม่มีการกระทำ ไม่มีวิกฤติ ไม่มีการผ่านสนามการแข่งขันมา

มันผ่านสนาม มีการแข่งขันมา มันจะพูดอย่างนี้ได้อย่างไร สิ่งต่างๆ มันฟ้องหมดเวลาทำ แต่ว่าคำว่าถูก เราจะบอกว่า “ถูกๆๆ ” แต่เป็นการเข็มทิศที่ถูก เริ่มต้นที่ถูก เป็นทางไปที่ถูก แต่พอมันเกิดอาการอย่างนี้ขึ้นมา เพราะมันถูก เพราะมันถูกมันถึงมีการกระทำ เพราะมีการกระทำมันถึงมีรสของธรรม รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง รสสุข รสทุกข์ของเราเคยมา รสของสมาธิ รสของปัญญาที่มันมีการกระทำเห็นไหม นี่คือรสของธรรม แล้วธรรมที่ละเอียดขึ้นมามันจะเป็นชั้นๆ ขึ้นไป

ถาม : ๓.ขอให้อาจารย์ช่วยแนะนำให้ถูกทางด้วย

หลวงพ่อ : ถูกแล้ว แต่เราบอกว่าถูกแล้ว มันย่อมมีอุปสรรค คำว่าอุปสรรคนี้ ทำไมเราต้องมีอุปสรรคด้วยล่ะ ทำไมคนอื่นเขาไม่มีล่ะ มีทุกคนนะ เหมือนกับโยมหันหน้าเข้าหากันนะ แล้วระบายความทุกข์ใส่กันสิ รับประกันเลยว่า ฟังไม่ทัน แต่เวลานี้นั่งอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นมีใครทุกข์สักคนเลย เพราะเขาเก็บไว้ มารยาทไง

นี่ก็เหมือนกันทำไมคนอื่นเขาไม่มีอุปสรรคล่ะ “มี...มี” การปฏิบัติที่ไม่มีอุปสรรคไม่เคยเห็น มีทั้งนั้น แต่เขาไม่พูด เขามีความเข้มแข็ง เขาเก็บไว้ในหัวใจ แล้วเขาต่อสู้ของเขา กิเลสเรามันอ่อนแอไง มันน้อยใจไง “เออ ทำไมเรามีอุปสรรคล่ะ ทำไมคนอื่นไม่มีล่ะ” มีทุกคน มีทั้งนั้น เพียงแต่เขาไม่ได้พูดออกมา ลองให้พูดสิ ฟังไม่ทัน ฟังไม่หวาดไม่ไหว

ฉะนั้นถ้าเราคิดอย่างนี้มันก็ไม่น้อยใจใช่ไหม ถ้าเราคิดอย่างนี้เราน้อยใจนะ “โอ้ คนนั้นก็เทวดา คนโน้นก็เทวดา” มีเปรตอยู่คนเดียว โอ้โฮ.. เปรตนั่งอยู่นี่ ไอ้นี่เปรตอยู่คนเดียว ทุกคนเทวดาหมดเลย “โอ้.. เขามีความสุขหมดเลย กูทุกข์อยู่คนเดียว”

แต่ความจริงเทวดามันก็ทุกข์นะ แต่มันไม่พูด ฉะนั้นเราถึงบอกว่า ทำไมเขาถึงถูกทาง ทำไมเรา ถูกแล้ว แล้วการถูกนะ มันก็ต้องมีการต่อสู้ มีการกระทำ มันถึงเป็นความเพียรชอบไง

ความเพียร วิริยะ อุตสาหะ เป็นมรรคองค์หนึ่งนะ มรรค ๘ มีความเพียรชอบ ความเพียรชอบความขยันหมั่นเพียรชอบ ไม่มีความขี้เกียจชอบ ถ้ามีความขี้เกียจชอบมันไม่ใช่มรรค มันเป็นมิจฉา แต่ถ้าความเพียรชอบมันต้องมุมานะทุกอัน ทุกระดับเขามุมานะทั้งนั้น

ฉะนั้นถึงว่า ถูกๆๆ ถูกแล้ว ถูกแล้วหมายถึงว่าเราทำถูก มันมีเหตุมีผล มันเหมือนกับทำงานแล้วได้ผลตอบแทน ถ้าเราทำงานแล้วไม่ได้ผลตอบแทน เรายิ่งจะเสียใจ ถูกหมายถึงว่าทำงานแล้วมันมีผล คือมันมีผลตอบแทน มีความรับรู้เห็นไหม “เห็น” เห็นแล้วตั้งสติไว้ สิ่งที่เห็นนะ ความอกุศลมันลอยมา อกุศลเห็นมันลอยมา เหมือนคนเหมือนไปตรวจร่างกาย ไปตรวจร่างกายทุกปีเห็นไหม พอไปตรวจร่างกายแล้วมีโรคภัยไข้เจ็บอะไรไหม นี่ก็เหมือนกัน พอจิตมันดีขึ้นมาแล้วมันเห็นไง เห็นว่านี่อกุศลๆ มันก็เหมือนกับโรคภัยไข้เจ็บ

ถ้าเราไปตรวจร่างกายแล้วเราเห็นโรคภัยไข้เจ็บเห็นไหม เราก็ต้องมารักษา เราก็ต้องดูแลของเรา ฉะนั้นพอจิตมันสงบมันจะเห็นอย่างนั้น แล้วใครบ้างที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บในตัว ก็มี ถ้าอย่างนั้นเห็นกุศล อกุศลลอยมาใกล้ลอยมาไกล เราตั้งสติไว้ พุทโธๆ ไว้ มันจะหายไปเอง หายไปเพราะเหตุใด หายไปเพราะจิตมันสงบแล้วนะ ทุกอย่างมันสงบนิ่งหมด

แต่จิตมันสงบแล้วออกรู้ออกเห็น มันก็จะเห็นอาการอย่างนั้น ก็พุทโธต่อไป ตั้งสติต่อไป พุทโธๆๆ จนจิตมันสงบนิ่ง มันปล่อยวางหมด สิ่งต่างๆ ไม่มีอะไรเลย มีหนึ่งเดียวคือความรู้เด่น ความรู้เด่นอยู่อันเดียวเลย

ทีนี้ความรู้มันรู้แล้ว แต่ก่อนความรู้กับอารมณ์มันอันเดียวกัน เราโกรธๆ แต่พอ มันเริ่มแยกมันเห็น แต่เห็นแล้วมันยังงงเห็นไหม แต่เราพุทโธๆ จนมันเด่น พอเด่นมันเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา มันมีวุฒิภาวะขึ้นมา มันจะรู้มันจะปล่อยอย่างอื่นหมด ปล่อยอย่างอื่นหมด เวลามันคายออกมามันก็ความคิดเหมือนเดิมเห็นไหม มันเป็นวาระแต่ละวาระของความรู้สึกของความนึกคิด

มันจะพัฒนาอย่างนี้ แล้วพอไปนะ ที่เราพูดนี้แค่พื้นฐานนะ แค่หญ้าปากคอก แล้วพอภาวนาไปนะ มากไปกว่านี้นะ เราจะรู้ดีกว่านี้ ถูกทาง ถูกทางแล้วเป็นอย่างนี้ ถูกทางแล้วทุกข์ เหมือนเราไม่มีเงินเลย เราไปอยู่ไหน เราก็ตัวเปล่า เรามีเงินมีทองอยู่ในกระเป๋านะ เวลาเดินไปไหนเราก็กลัวคนลักคนขโมย

นี่จิตก็เหมือนกัน พอมันมีขึ้นมาอะไรขึ้นมานะ การรักษานี้ยาก เวลาทำสมาธินี่ก็แสนยาก แต่การรักษาสมาธินี้ยากกว่า แล้วรักษาจิตให้มั่นคงยิ่งยากกว่า เพราะอย่างนั้น ถูกต้อง แต่ถูกต้องแบบตั้งต้นนะ แล้วขยันไป แล้วที่พระกรรมฐานพระป่าเรานี้ติดครูติดอาจารย์ก็เพราะเหตุนี้ เหตุที่ว่ามีปัญหาแล้วอยากจะถาม จะถาม เหมือนคนไข้อยู่ใกล้หมอ หมอจะคอยดูแลมันจะง่าย

ไอ้นี่เวลาถามมา เวลาปฏิบัติถามมาได้ แล้วพอปฏิบัติไป ถามได้นะ เราก็จะตอบให้

ถาม : ข้อ ๑๓๑. การมีสติรู้ความคิด กับการบริกรรมพุทโธ โอ้โฮ.. อันนี้ยาวนะ “กระผมปฏิบัติโดยให้มีสติความรู้กล่าวคือ มีความคิดเกิดขึ้นก็ให้สติไปรู้ความคิด เมื่อความคิดดับลงก็ให้มีสติ ไปอยู่ที่อิริยาบถต่างๆ ของกาย เช่น ขณะที่รับประทานอาหาร ก็จะมีสติให้อยู่ที่ฟันอยู่ที่การเคี้ยว ถ้ามีความคิดเกิดขึ้นสติรู้ความคิด เมื่อความคิดดับ สติก็กำหนดที่ฟันที่กำลังเคี้ยวอาหาร

เช่น ในส่วนบริกรรมพุทโธนั้น กระผมจะพิจารณาใช้คำบริกรรมในขณะที่นั่งสมาธิในแต่ละวัน หลังการสวดมนต์เช้า-เย็นแล้วจะมีคำบริกรรมเรื่อยๆ ไป กำลังต่อสู้กับอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นอย่างรุนแรง หรือในกรณีที่จิตไม่สงบ เริ่มที่จะแส่ส่ายไปตามเรื่องราวต่างๆ กระผมมีบริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ จนจิตสงบลง จึงจะหันมาใช้สติสู้กับความคิดอย่างที่เคยทำ ซึ่งการปฏิบัติจะสลับกันไปแบบนี้ไปเรื่อยๆ จากที่กล่าวมากระผมมีคำถามที่จะถามหลวงพ่อดังนี้

๑. การปฏิบัติของผมเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องถูกทางหรือไม่ครับ ถ้ามีการปฏิบัติผิดพลาดอย่างไร ขอให้หลวงพ่อช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ

๒. มีอยู่วันหนึ่งในขณะที่นั่งเก้าอี้อยู่ เห็นขณะความคิดเกิดขึ้นมา จากนั้นอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามความคิด ก็จะเกิดขึ้นตามมาติดๆ ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยเห็นแบบนี้ จะมีสติรู้ความคิดเป็นระยะเท่านั้น ไม่ปะติดปะต่อกัน แต่คราวนี้เห็นในลักษณะที่ยืดยาวมีความต่อเนื่อง ผมจึงเข้าใจว่า การที่เรามีสติรู้ความคิด แต่ทำไมถึงมีอารมณ์ตามความคิดที่เกิดขึ้นได้อยู่นั้น มันเพราะว่าแท้จริงแล้วความคิดมันเกิดขึ้นแล้ว และอารมณ์ก็ตามมา ความคิดมันก็เกิดขึ้นตามมาแล้ว ซึ่งเรามีความรู้สึกเป็นเพียงผู้รู้เท่านั้น สติของเราไม่ไวพอที่จะรู้ทันความคิดขณะที่มันกำลังเกิด ดังนั้นเราจึงมีอารมณ์อยู่ในขณะที่ตามความรู้ความคิดของกระผม เช่นนี้กล่าวถูกต้องหรือไม่

๓. การที่จะมีสติที่ไวพอที่จะไปรู้เท่าทันความคิดในขณะที่เกิดขึ้นได้นั้นกระผมจะต้องฝึกปฏิบัติเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้สติมีความคล่องตัวและให้มีความชำนาญในการรับรู้

หลวงพ่อ : อ่านจบแล้วมันรู้เลยว่า การปฏิบัติอย่างนี้เห็นไหม เพราะเขาบอกว่าเขาดูความคิด แต่เขาไม่กล้าบอกว่าเขาใช้อภิธรรมไง เพราะว่าเขาว่า ๑. อภิธรรมด้วย ๒. กำหนดพุทโธด้วย

คำว่าอภิธรรมคือตามความรู้สึกตามความคิดไปมันเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเพราะว่า มันบอกเวลาเคี้ยวกินอาหาร การเคี้ยวกินอาหาร การเคลื่อนไหวตามไป พอมาพุทโธๆ มาใช้พุทโธบ้าง พุทโธเช้า พุทโธเย็น พอจิตมันเป็นพุทโธบ้าง มันถึงเห็น เห็นอารมณ์ไม่ปะติดปะต่อ เห็นอารมณ์ปะติดปะต่อ ตรงนี้เราจะพูดว่า เราเข้าใจผิดกันนะ พอเกิดอารมณ์ เกิดสิ่งต่างๆ ที่มันควบคุมไม่ได้ เราจะบอกว่าสิ่งนี้ไม่ถูกต้อง

แต่เพราะเราขยับไปตามความรู้สึก แล้วเราควบคุมได้หมด พอควบคุมได้หมด มันก็หยุดหมด พอหยุดหมดเราก็คิดว่านี่คือวิปัสสนา แต่ความที่ว่าเข้าใจผิด เข้าใจผิดตรงไหน เข้าใจผิดนะ อยู่ที่คำถาม คำถามว่า โดยปกติเขาจะดูความคิดความเกิดดับตามการเคี้ยวอาหารกัน รู้ตัวอยู่ตลอดเห็นไหม มันก็รู้แค่นี้

แต่พอมาพุทโธๆ พอพุทโธๆ เห็นอารมณ์ความรู้สึก แล้วมันปะติดปะต่อมากขึ้น มันแตกต่างกันตรงไหน แตกต่างกันที่ว่า อันหนึ่งไม่เป็นสมาธิอย่างที่เรา.. เราเคลื่อนไหว เรารับรู้ตัวเราตลอดเวลาเห็นไหม ทุกอย่างหยุดนิ่งได้ ทุกอย่างที่เราตามไปมันหยุดนิ่ง หยุดนิ่งในอะไร หยุดนิ่งในความสามัญสำนึกไง เหมือนกับเรากดความคิดเราไว้ไง มันจบมันก็จบแค่นี้ไง แล้วมีอะไรขึ้นมา ก็มีเรื่องธรรมดา

แต่ถ้าพุทโธๆ จิตมันสงบขึ้นมาเห็นไหม มันเห็นความคิดต่อเนื่อง เห็นความคิดต่อเนื่องเพราะอะไร เพราะถ้าจิตของคนมันแยก เวลาคำถามมันแยกได้นิดเดียวเลย ถ้าจิตไม่สงบเวลาพูดไป มันเป็นโลกียปัญญา คือปัญญาทางวิชาการ ปัญญาที่เราพูดกัน ปัญญาที่มารยาทสังคม เป็นมารยาทสังคมสัญญาอารมณ์ มารยาทสังคมคือเราควบคุมความคิดเราไง เราควบคุมมีสติควบคุมความคิด อันนี้มันเป็นมารยาทสังคมโลกๆ

แต่ถ้าเราทำสมาธิได้ พอมันมีสมาธิขึ้นมา พอจิตมันสงบขึ้นไป มันไม่ใช่มารยาทสังคมนะ มันเป็นข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงพอจิตสงบแล้วมันเห็นอาการของใจ จิตเห็นอาการของจิต ถ้าเห็นอาการของจิตเพราะถ้าไม่มีสมาธิจะเห็นอย่างนี้ไม่ได้ ถ้าไม่มีสมาธินะ เพราะไม่มีสมาธิโดยสามัญสำนึก ความคิดกับเราเห็นไหม เวลาโกรธเวลาหลง สัญญาเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา เรากับอารมณ์ความรู้สึกอันเดียวกัน มันจะเห็นได้อย่างไร

แต่พอไปสมาธิ สมาธิมันแยกมาบ้าง มันแยกมาบ้างเห็นไหม ขณิกสมาธิ ขณิกสมาธิชำระกิเลสได้ ขณิกสมาธิเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้พอมันพุทโธๆ พอมันเป็นขณิกะคือตัวมันเองมันหดตัวเข้ามา หดตัวเข้ามามันเห็นสิ่งที่เคยเป็นอันเดียวกัน มันแยกออกไปเห็นไหม มันแยกออกไปคืออารมณ์ความรู้สึกมันแตกต่าง พอมันแตกต่างขึ้นมา มันจะเห็นเลยว่า อ๋อ..อารมณ์มันต่อเนื่อง ความเห็นต่อเนื่อง มันก็มีเท่านี้

ถ้าเราพุทโธต่อไปเรื่อย การกระทำในการปฏิบัตินะ เวลาธรรมะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ทุกคนมีสิทธิ ทุกคนมีเสรีภาพ ทุกคนทำสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้” เพราะทุกคนมีจิต แต่เวลาภาวนาไปแล้วเห็นไหม จริตนิสัยคนมันแตกต่างกัน แล้วอำนาจวาสนาของคนด้วย

เวลาอำนาจวาสนาของคนมันแตกต่างกันเห็นไหม เวลาทำสมาธิแค่นี้ยังทำกันไม่ค่อยได้เลย แล้วทำไม่ค่อยได้ด้วยแล้วทำไม่ได้ด้วย แต่ถ้าพอมันทำได้นะ พอมันทำได้มันจะมีอาการ มีอาการอย่างที่ว่าเริ่มเป็น

เริ่มเป็นว่า เวลากำหนดพุทโธๆ ขึ้นมาแล้ว มันเห็นลักษณะ เห็นความคิดเห็นอะไรต่างๆ พอเห็นความคิดเพราะอะไรล่ะ เพราะจิตมันสงบ เห็นไหม เราถึงบอกสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ เห็นไหม ถ้าจิตเห็นกาย จิตเห็นเวทนา จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม พอจิตมันเห็น ถ้าจิตมันเห็น จิตมันเห็น แต่ถ้าในปัจจุบันมันไม่ใช่จิตมันเห็น เป็นสามัญสำนึกที่เรารับรู้

ถ้าสามัญสำนึกรับรู้นะ มันก็เป็นเรื่องโลกๆ คือโลกียปัญญา เราจะบอกว่า เวลาปฏิบัติไป จะทำอย่างไรต่อไป เห็นไหมจะทำอย่างไรต่อไป แล้วการปฏิบัติอย่างนี้ เราจะบอกว่า ที่คิดว่าเป็นปัญหาๆ มันจะไม่ใช่ปัญหา มันจะไม่ใช่ปัญหาเพราะว่า มันเป็นการเหมือนกับนักกีฬาเริ่มซ้อมเริ่มเก็บตัว เขาก็ต้องพยายามทำให้ร่างกายเขาแข็งแรงขึ้นมา ทีนี้มันยังไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นมาเลย

แต่ในขณะที่นักกีฬาขึ้นแข่งขัน หรือนักกีฬาต้องการเทคนิคต่างๆ ผู้สอนถึงจะสอนเทคนิคนั้นให้ เพราะฉะนั้น ถ้าจิตของเรา เราเริ่มภาวนา ร่างกายมันยังไม่แข็งแรง ทุกอย่างยังไม่แข็งแรง มันจะไปแข่งขันกับใคร มันจะไปฝึกเทคนิคเอามาจากไหน เพราะเรายังยืนตัวเองยังไม่ได้

ถ้ายืนตัวเองได้เห็นไหม ถึงบอกเราทุกคนมีสิทธิ์ มีสิทธิ แต่เวลากระทำ เวลาภาวนาได้ไม่ได้ สมัยครูบาอาจารย์ท่านเล่า สมัยหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นอยู่ที่หนองผือเห็นไหม เวลาท่านถามพระนะ “องค์นี้เป็นอย่างไรๆ ” องค์นี้เป็นอย่างไรท่านดูค่าของใจว่า องค์นี้ภาวนาแล้ว ถ้ามีโอกาสใช่ไหม ท่านจะถามเรื่อย “เป็นไง จิตเป็นไงต่อไป”

แต่ถ้าไปถามพระบางองค์ “จิตเป็นไง” ภาวนาไม่ได้ ภาวนาไม่ได้หมายถึงว่า ภาวนาแล้วมันไม่ได้ผลใช่ไหม ก็อยู่ด้วยกันนะ เพราะอะไร มันเป็นเรื่องสุดวิสัยไง เราถึงว่า อำนาจวาสนาอย่างพระอรหันต์เห็นไหม อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย นี้การสร้าง

๔ อสงไขยเป็นพระพุทธเจ้า ๘ อสงไขยเป็นพระพุทธเจ้า แต่อำนาจวาสนาบารมีแตกต่างกัน พระอรหันต์นี่หนึ่งแสนกัป ถ้าหนึ่งแสนกัปนะ ถ้ามันมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา พอภาวนาขึ้นมามันจะต่อเนื่อง พอต่อเนื่องครูบาอาจารย์จะส่งเลย

แต่ถ้าภาวนาแล้วมันภาวนาไม่ได้ พอภาวนาไม่ได้คำว่าสุดวิสัย เหมือนเราให้เด็กทำงานนะ เด็กมันทำงานไม่ได้เราจะฆ่าเด็กทิ้งไหม เด็กมันทำงานไม่ได้ก็ไม่เป็นไรใช่ไหม เด็กทำงานไม่ได้ แต่เขาอยู่ในบ้านเรา เราก็ปกครองดูแลเด็กนั้นไป จะบอกว่าพระที่ภาวนาไม่ได้ หรือภาวนาแล้วมันไม่เป็นไปว่าอย่างนั้นเลย มันไม่เป็นไป

แต่ก็พยายามฝึก ไม่เป็นไปเพราะไม่มีอำนาจวาสนาบารมี แต่การภาวนานี่คือการสร้างอำนาจวาสนาบารมี แต่มันยังไม่เป็นไป ไม่เป็นไปเหมือนกับเราเอางานของเรา ไปให้คนทำงานไม่เป็น ไอ้คนทำงานไม่เป็นมันก็จะทำไม่เป็นตลอดไป แล้วเราจะบังคับให้คนที่ทำงานไม่เป็นทำงานเป็น มันจะเป็นไปได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้หรอก นี้การภาวนาที่เขาภาวนายังไม่ได้ เราก็ต้องประคองไป รักษาไปให้เขาภาวนาไป นี่พูดถึงเวลาหลวงปู่มั่นท่านบริหารอยู่ที่หนองผือนะ

แล้วนี่สังคมโลก แล้วบอกว่าภาวนาถูกแล้วต้องเป็นพระอรหันต์เลย เราไม่ใช่ตัวรับประกันใครนะ “กูมีตราปั๊มอยู่อันหนึ่ง ใครมากูปั๊มให้หมดเลยล่ะนะ กูปั๊มให้เลย มาเล้ย ! มาเล้ย ! เดี๋ยวกูจะแสตมป์ให้หมดเลย” นี่เวลาคนคิดคิดกันอย่างนั้น ใครจะแสตมป์ให้เราไม่ได้ ใครจะประกันให้เราไม่ได้

แต่นี่ที่เราพูดนี้ เราคุยกันเราปรึกษากัน เพราะมันมีประสบการณ์เราก็มาแนะนำกันเท่านั้น แต่ความจริงเราก็ต้องสร้างเราขึ้นมา แล้วสร้างขึ้นมาสิ่งที่ทำมาว่าถูกๆ เวลาถูกนะ กรณีอย่างนี้ เวลาพวกเราปฏิบัติ ทางอีสานเขาเรียกว่า “สูตาย” เอาตายเข้าแลก สู้ตาย

“สูตาย” ในภาษาอีสานนะ “สูตายคือเอาความเป็นความตายเข้าแลกเลย” แล้วกรณีนี้ก็เหมือนกัน เวลาเราทำปั๊บ พอมีคนมาเสนอแนะ ที่สังคมมันปั่นป่วนอยู่นี้ เพราะมีการเสนอแนะ เสนอแนะว่าทางสะดวกทางสบาย ทางที่สะดวกสบายแล้วเขาแสตมป์ให้ว่าได้ผลไง มันสำคัญตรงนี้นะ สิ่งที่พูดนะ ถ้าเขาไม่แสตมป์ว่าต้องเป็นผลๆ อย่างนั้น ใครจะสอนวิธีไหนก็เรื่องของเขา เพราะเป็นทางวิชาการ

ทางวิชาการนะกว้างขวางมาก ใครจะสอนวิธีการอะไรก็ได้ถ้ายังไม่ได้พิสูจน์ แต่ในเมื่อได้พิสูจน์ว่า ทางวิชาการนี้ได้ผล ตรงผลนั้นเราต้องพิสูจน์กัน ตรงผลนั้น !! ตรงผลนั้นต้องพิสูจน์กัน จริงหรือไม่จริงล่ะ

แต่ถ้าเขาบอกว่านี่ทางวิชาการ นี่การปฏิบัติ แต่ใครๆ ทำไปอย่างนั้น นั่นอีกเรื่องหนึ่ง นี่ก็เหมือนกัน ในทางโลกทางวิชาการ ในการปฏิบัติใครจะทำอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าบอก นั้นเป็นผล ต้องพิสูจน์ !! ถ้าพิสูจน์ถูกต้องมันก็ถูกต้อง แต่ถ้าพิสูจน์ไม่ถูกต้องมันก็จบ

นี่พูดถึงทางโลก โลกเขาเป็นกันอย่างนั้น แล้วเสียงส่วนใหญ่ใช่ไหม สิ่งที่ปฏิบัติกันจนเคยชิน พอเคยชินสิ่งที่ไม่จริงกลายเป็นของจริง แล้วสิ่งที่จริงล้มลุกคลุกคลาน สิ่งที่จริงกลับล้มลุกคลุกคลาน สิ่งที่ภาวนามากว่าจะเป็นไปได้ จิตกว่าจะสงบได้ กว่าจะควบคุมตัวเองได้ เป็นเรื่องใหญ่มากเลย เป็นเรื่องใหญ่มากเพราะอะไร เพราะเราเอาจิตใจเราไว้ในอำนาจของเรา

โลกเขาอยู่กันด้วยความสะดวกสบายนะ เราเอาจิตใจไว้ในอำนาจของเรา นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าเป็นเรื่องใหญ่มาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า เวลาเกิดข้าศึกสงคราม ชนะศึกสงคราม คูณด้วยล้านคูณด้วยพัน สร้างเวรสร้างกรรมทั้งนั้น ชนะตนเองสำคัญที่สุด ดูสิดูอย่างกษัตริย์อย่างมหาราชที่เขารบกัน ถ้าตัวมหาราช ควบคุมใจตัวเองเท่านั้น ไม่เกิดสงครามเลย

สิ่งสงครามเกิด เกิดเพราะใคร เกิดเพราะกษัตริย์ เกิดเพราะมหาราชนั้นสั่งให้รบ แต่ถ้าเขาควบคุมใจเขาคนเดียวเท่านั้น ศึกสงครามจะไม่มีเลย ด้วยศักดิ์ศรีด้วยหน้าที่ด้วยแว่นแคว้นเล็กน้อย แต่ต้องการเห็นไหม เพราะจิตใจนั้นมีความต้องการแผ่นดิน ต้องการเป็นจักรพรรดิ ต้องการรวบรวมแว่นแคว้น นี่มีศึกสงครามทั้งนั้น

แต่ถ้ารักษาใจตัวเองแล้วนะ เรารักษาใจของเราได้หมด จะไม่มีการบาดหมางกันได้เลย ฉะนั้นการรักษาใจเห็นไหม การปฏิบัติมันเป็นเรื่องอย่างนี้ การปฏิบัติคือการชนะใจตัวเอง ทีนี้การชนะใจตัวเองมันถึงต้องมีอุปสรรค จะบอกว่าถูกไหม ถูก แต่อุปสรรคมีมากไหม มีมากเหลือเกิน มีมากเหลือเกินแล้วต้องต่อสู้ ต่อสู้ไปเพื่อประโยชน์กับตัวเอง เพื่อการกระทำของตน เพื่อหลักของศาสนา

แล้วถ้าใครรู้จริงแล้ว ศาสนานั้น มันเป็นสัจธรรม มันเป็นสันทิฏฐิโก มันจะกังวานกลางหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ...เอวัง.