บุคคลเป็นสัปปายะ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
เขาบอกว่าทำพุทโธ พุทโธ พวกพุทโธนี่โง่ ปฏิบัติพุทโธ ปฏิบัติอะไร ไอ้พวกสมถะนี้มันไม่มีปัญญาหรอก ฉะนั้นมันเลยเกี่ยวเนื่องมาจากพระที่แล้ว คือ โง่.. ทำสมาธิไม่ได้
เขาบอกว่าทำสมาธิแล้วโง่ไง เห็นไหม เขาบอกว่าทำสมาธินี่โง่ ไอ้พวกทำสมาธินี่โง่ เพราะไม่มีปัญญา แต่เราพลิกกลับเลยว่า ต้องฉลาด ถึงทำสมาธิได้ ถ้าโง่ทำไม่ได้หรอก ต้องฉลาด.. ฉลาดในอารมณ์ของตัวเอง ฉลาดกับความรู้สึก การควบคุมอารมณ์ของตัวเอง มันถึงจะทำความสงบของใจได้ แต่ถ้าโง่ทำไม่ได้หรอก
ถ้าโง่.. สัญญาอารมณ์นี่มันกระทืบตายห่า ว่างๆ ว่างๆ สัญญาอารมณ์มันสร้างความว่าง มันไม่ใช่สมาธิหรอก แต่ถ้าคนฉลาด สัญญาอารมณ์มันก็เลือกถูก
อย่างเช่นเราจะทานอาหาร เห็นไหม อาหารอะไรมันเป็นพิษ อาหารอะไรมันเป็นประโยชน์กับร่างกาย เราจะเลือกอาหารได้ นั่นมันต้องคนฉลาด มันถึงจะทานอาหารแล้วจะไม่มีอะไรตกค้าง แต่ไอ้โง่ๆ นั่น โอ้โฮ.. อะไรอร่อยมันกินหมด
ฉะนั้นที่เขาบอกว่า ทำสมถะแล้วโง่ แต่กูบอกว่า โง่.. ทำสมถะไม่ได้หรอก ไอ้ที่ทำนั่นมันเป็นไสยศาสตร์ มันเป็นเรื่องโลกๆ แล้วมึงบอกว่าโง่ๆ
มึงนั่นแหละโง่ ! เพราะมึงทำสมาธิไม่เป็นไง แล้วพอมาวันนี้ซ้ำอีก
โยม ๑ : เรื่องอะไรครับ
หลวงพ่อ : จะบอกว่า ต้นคด คือกิเลสคด ก็เลยเป็น ต้นคด ปลายตรงไม่มี โอ้โฮ.. พูดถึงที่มาเลยล่ะ พูดถึงการเกิด ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเกิดเลย ตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะ ๒๙ ปี นั้นก็คด คดเพราะอะไร คดเพราะว่ามันมีกิเลสครอบงำ
คดหมายถึงคลอง คลองนี่มันจะคดไปทางไหน น้ำก็ไปตามมันหมดเลย เราเกิดมา เรามีกิเลสมีมารคอยควบคุมใจเรา เราจะคิดอะไรนี่จะอยู่ในอำนาจเขาหมด ทีนี้จะทำให้มันตรงอย่างไร ต้นคดไง โดยพื้นฐานของเรา เรามีกิเลสกัน เพราะกิเลสนี้มันครอบงำเราอยู่
นี่ต้น ! ต้นคือจิตเราเลย คือสามัญสำนึก คือตัวภวาสวะ ตัวฐีติจิตนี้มันมีมารครอบงำอยู่ นี่คือต้น แล้วถ้าต้นมันคดอย่างนี้ โอ้โฮ... เมื่อคืนซัด เพราะมันคดอย่างนี้ไง แล้วพอไปศึกษาธรรมะแล้วอวดเก่งกันไง
เพราะต้นมันคด พอศึกษาธรรมะมาก็ศึกษาแบบคดๆ ไง ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้ามาแล้ว ก็มาเข้าข้างตัวเองไง แล้วอย่างนั้นมันจะเป็นจริงได้อย่างไร ไอ้พวกฉลาดๆ นี่ใครฉลาด... มันโง่ทั้งนั้น ! แล้วสรุปตอนท้าย เห็นไหม คนที่ฉลาดคือหลวงปู่มั่น
หลวงปู่มั่นเวลาสอนท่านสอนอะไร สอนพุทโธ เห็นไหม วางให้หมดไง แล้วทำมาสำนึก ทำจิตใจของเราให้มีหลักมีเกณฑ์ ให้มั่นคงก่อน คือต้นนี่ให้มันมีหลักมีเกณฑ์ ไม่ใช่มันจะเอาแต่สามัญสำนึก ทำเอาแต่ความพอใจของตัว
มีความพอใจ มีความชอบใจ นั่นคือถูก ถ้าไม่ชอบใจ นี่มึงผิด นี่มันคดตรงนี้ไง คดที่เข้าข้างตัวเองไง
แต่ถ้าเราไปทำพุทโธ พุทโธ ให้มันเป็นมัชฌิมา ให้มันเป็นหลักสัจธรรม มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เวลาทำสมาธิได้นี่ ไม่ใช่สัตว์.. ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน.. ไม่ใช่บุคคล..ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา.. ไม่ได้เข้าข้างใครเลย.. มันเป็นสัจธรรม เป็นพลังงาน
ตัวสมาธิคือตัวพลังงาน ถ้าตัวพลังงานมันมีสัมมาทิฏฐิ เห็นไหม โดยสามัญสำนึกของมัน พลังงานนี่เราจะไปใช้กับอะไรล่ะ
ต้น ! ต้นไม่คด.. พยายามสร้างต้นให้ดี ปลายมันก็จะตรง แต่ถ้าต้นมันคดขึ้นมาแล้ว ทีนี้ก็คดหมด ยิ่งเดี๋ยวนี้ยิ่งคดใหญ่เลย แล้วก็พูดพุทธพจน์ พุทธพจน์โดยความเห็นของกูนะ เพราะพุทธพจน์กับพุทธพจน์นี่เถียงกันทุกคนเลย
อ้าว.. แล้วพุทธพจน์นี่จะเถียงกันทำไมวะ ไอ้นั่นก็พุทธพจน์ ไอ้นี่ก็พุทธพจน์ ไอ้พุทธพจน์นี่มันเขียนหนังสือด่ากันเลยล่ะ นี่มันคดไง ! ทั้งๆ ที่ว่ามันอ้างพุทธพจน์ อ้างธรรมะพระพุทธเจ้า แล้วถ้าธรรมะของพระพุทธเจ้า แล้วมึงเถียงกันทำไม
แต่เวลาครูบาอาจารย์ของเราสิ อย่างเช่นหลวงตานี่ท่านก็เป็นมหาเหมือนกัน เวลาใครพูดพุทธพจน์หรือพูดธรรมะ ท่านฟังแล้วรู้เลย เออ.. ไอ้นี่พูดถูก ไอ้นี่พูดผิด แล้วพูดถูกพูดผิดก็เรื่องของเขา
เรารู้หมดนะ ผู้รู้จริงนี่รู้หมด เหมือนคนที่ทำงานเป็น เห็นไหม พอเห็นคนทำงานถูก อันนี้ใช้ได้ก็ว่าถูก แต่ถ้าคนทำงานผิด ก็ว่าอันนี้ผิด แต่ลองไปบอกเขาสิ ไอ้คนผิดมันบอกว่า กูนี่สุดยอดเลย.. กูเก่ง แล้วเราไปเถียงกับมันทำไม เราไม่ใช่หมาบ้าไปกัดกับมัน มันจะบ้าปล่อยให้มันบ้าไปคนเดียว เราไม่ไปบ้ากับมัน แต่เรารู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด
นี่อย่างนี้มันลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง คือเราไม่เอาตัวไปเป็นปัญหากับเขาไง เรารู้จริงของเรา แล้วอย่างถ้าเรารู้จริงแล้ว แล้วใครต้องการประโยชน์ล่ะ เห็นไหม อย่างหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเรานี่เขาก็ไปหากัน หลวงปู่มั่นอยู่หนองผือนี่นะ คนจะไปทำบุญนี่ต้องซื้อทางเข้าไปนะ เพราะมันเป็นคันนาไง มันไปไม่ได้ คนอีสานเขาเดินไปตามคันนา ไอ้คนเมืองไปเดินไม่เป็น ต้องนั่งเกวียน แล้วเกวียนนี่มันต้องบุกไปในนาเขา ก็ต้องจ่ายตังค์เพื่อซื้อทางนี้เข้าไป
นี่ใครเป็นประโยชน์ล่ะ ถ้าเรารู้จริงแล้ว คนที่ใฝ่หาประโยชน์เขาก็ต้องการหา เขาก็ต้องเข้าไปหา เห็นไหม เข้าไปฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ลูกหา เพื่อต้องการความจริงอันนั้น แต่นี่ไม่อย่างนั้นเลย
บุคคล ! พระพุทธเจ้าบอกไว้ไม่ให้เชื่อบุคคล ให้เชื่อธรรมะ ไม่ให้เชื่อบุคคล แต่เชื่อธรรมะๆ นี่เขาถึงว่า ธรรมะเป็นธรรมชาติไง.. ธรรมะเป็นธรรมชาติ
ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ พูดถึงธรรมชาติจริงๆ นี่ธรรมชาติจริงๆ นะ แต่ ! แต่ธรรมชาติมันแปรปรวน แต่ธรรมของพระพุทธเจ้ามันคงที่มันไม่แปรปรวน มันถึงไม่ใช่ธรรมชาติไง ในธรรมชาติมันมีสิ่งใดคงที่ แล้วมันเป็นธรรมได้ไหม
เพราะคำว่าแปรปรวนคือไตรลักษณ์ไง คำว่าแปรปรวน มันอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ แล้วกฎของไตรลักษณ์มันเป็นธรรมะไหม ธรรมะมันหมุนเวียนอยู่ มันเป็นธรรมะไหม...มันไม่เป็นหรอก ! แล้วว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ
แต่ ! แต่เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรมแล้ว เห็นไหม ท่านมองสภาวะข้างนอก นี่ไงสักแต่ว่า ไอ้สักแต่ว่าๆ นี้มันเป็นธรรมที่สอนโมฆราช แล้วสอนโมฆราชนี่มันก็เหมือนกับสอนพระอนาคา ว่าอย่างนั้นเลย คนที่มันกำลังจะสิ้นกิเลส จะสอนเรื่องสักแต่ว่า แต่คนที่ยังเพิ่งหัด มันสักแต่ว่าไม่ได้ มึงต้องหมั่นเพียร ความเพียรชอบ !
ความเพียร ความวิริยะอุตสาหะเป็นความเพียรชอบ สักแต่ว่า ! โอ้โฮ.. เกิดมาแล้วนอนตีแปลงเลย แล้วว่ากูจะเป็นพระอรหันต์ สักแต่ว่า.. สักแต่ว่า อย่างนี้อีกร้อยชาติ พุทธพจน์ ! พุทธพจน์นะ อย่าเถียงพุทธพจน์นะห้ามเถียง
ทีนี้พุทธพจน์นี่พระพุทธเจ้าท่านใช้กับใคร ใช้เวลาไหน เวลาที่พระพุทธเจ้าท่านเทศนาว่าการตั้งแต่เด็กๆ ใช่ไหม ตั้งแต่ผู้ที่ฝึกหัดใหม่ กับเวลาเทศน์เวลาสอนพระที่ปฏิบัติ ทีนี้ธรรมะของพระพุทธเจ้ามันมีหลายระดับ ทีนี้พอเราคิดก็คิดว่า ธรรมะพระพุทธเจ้าคือว่าสอนผู้ที่สิ้นกิเลส... ไม่ใช่หรอก ! พุทธพจน์พูดกับใคร พูดอย่างไร พูดเวลาไหน
ไปสังเกตได้ในพระไตรปิฎก ถ้าพระพุทธเจ้าได้พูดกับพระสารีบุตรนะ โอ้โฮ.. ธรรมะนี่สุดยอดเลย เพราะว่าพระสารีบุตรนี้ ปัญญาเป็นรองแค่พระพุทธเจ้าเท่านั้น แล้วพระสารีบุตรกับพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่แล้วจะถกธรรมะกันประจำ
ในพระไตรปิฎกลองไปอ่านสิ ถ้าเป็นว่า เอวัมเม สุตัง นี่พูดกับพระสารีบุตรหรือพูดกับใคร พระอานนท์จะบอกเลย อย่างเช่น ทุกกัณฑ์นี่พระพุทธพูดที่ไหน พูดกับใคร แล้วถ้าพูดอย่างนี้ คือ ธรรมะที่มีเนื้อหาสาระแตกต่างกัน
ข้าพเจ้าได้ยินมา เอวัมเม สุตัง พระอานนท์ได้ยินมาที่ตำบลไหนก็แล้วแต่ แล้วพูดกับใคร เอ่ยชื่อมาอย่างนี้ พูดกับชาวบ้านที่เขามา หรือพูดกับพราหมณ์ พราหมณ์ชื่อนั้นๆ ไอ้พวกนี้เป็นพวกสงสัย ถ้าเป็นพวกสงสัยนี่เราก็เคลียร์ พูดขยายความ แต่ถ้าพูดกับผู้ที่ปฏิบัติ ถ้าพูดกับใครที่ปฏิบัติอยู่แล้วกำลังติดพันอยู่นี่ โอ้โฮ.. ข้อมูลจะแตกต่างเลย
ทีนี้เวลามาถึงทางโลกนี่ว่า พุทธพจน์.. พุทธพจน์...
แล้วพุทธพจน์.. พุทธพจน์นี้ เป็นพุทธพจน์ของใคร นี่เวลาเขาพูด ก็พูดกันไปอย่างนั้น
อ้าว.. ว่ามา มีอะไรว่ามาเลย วันนี้ล่ะเจอแล้วพุทธพจน์จริงล่ะ มาเถอะ
โยม ๑ : ถามเลยครับไม่ต้องเกรงใจ ทุกคนอยากฟัง
หลวงพ่อ : เริ่มต้นเอาเลย
โยม ๒ : ไม่ทราบจะถามอะไร ตอนนี้ก็พยายามที่จะฝึกปฏิบัติอยู่ค่ะ แต่ว่าด้วยสุขภาพที่ไม่แข็งแรงของตัวดิฉันเอง จึงไม่สามารถที่จะไปปฏิบัติตามที่อื่น คือต้องฝึกด้วยตนเอง ไม่ทราบจะ...
หลวงพ่อ : ไปฝึกที่ไหนนะก็ฝึกด้วยตัวเองทั้งหมด โยมจะไปอยู่ที่ไหน ก็ฝึกด้วยตัวเองหมด ไปอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด เขาก็จัดที่ให้อยู่ แล้วก็มีหมู่คณะเป็นนักปฏิบัติด้วยกัน แต่ทุกคนก็ต้องปฏิบัติเอง ไม่มีใครปฏิบัติแทนใครได้เลยนะ
ทีนี้เวลาเราปฏิบัติเอง เราจะสุขภาพดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่ การปฏิบัตินี้ สุขภาพดีหรือสุขภาพไม่ดีมันก็อยู่ที่เรา เห็นไหม พออยู่ที่เราปั๊บ แล้วสุขภาพเราไม่ดี อย่างเช่นนะ เขามาถามว่า เวลานั่งสมาธินี่ต้องขาซ้ายทับขาขวา มือซ้ายทับมือขวา ต้องตั้งกายให้ตรงใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นแล้วคนพิการมันจะนั่งอย่างไรล่ะ คนพิการมันก็ทำไม่ได้น่ะสิ
ทีนี้เราจะบอกว่าท่านั่งสมาธินี่เป็นท่ามาตรฐาน ที่เวลาการนั่งสมาธินี้ทำให้นั่งได้นานที่สุด มาตรฐานคือว่ามันสมดุลของร่างกายไง แต่ถ้าเราไม่ได้ล่ะ เราเป็นคนแบบว่าข้อเท้ามันล็อกอย่างนี้ เราก็นั่งทอดอย่างนี้ก็ได้ เป็นไรไป
เพราะการนั่งทุกๆ อย่าง การกระทำทุกๆ อย่าง เขาทำเพื่อความสงบของใจเท่านั้น
ทีนี้เวลาคนปฏิบัติ เห็นไหม อย่างพวกเราพอปฏิบัติขึ้นมาแล้ว ต่างคนต่างมีประสบการณ์ของตัวเองใช่ไหม ก็ตั้งแล้วว่าคนนั้น ๕ นาที ๑๐ นาที ก็ตั้งนาฬิกาเลยนะ เดินจงกรมก็เอานาฬิกาตั้งเลยนะ เมื่อไรเข็มจะกระดิกวะ มันเลยภาวนาหานาฬิกา นี่จิตส่งออกไง
เวลาภาวนานะเอาธูปปักไว้ดอกหนึ่ง ให้หมดธูปดอกนี้ แล้วพอมันเดินจงกรมไปนะ มันมองแต่ธูปนี่ จิตมันไปอยู่ที่ธูปหมดเลย แล้วจะสงบไหมล่ะ เขาต้องมาอยู่ที่นี่นะ แต่มันไปอยู่ที่ธูปหมดเลย แหม.. ธูปเมื่อไรจะครึ่งดอก โอ้โฮ.. ได้ครึ่งดอกแล้วโว้ย อู้ฮู.. ๓ ใน ๔ ดอกแล้วโว้ย อู้ฮู.. เฮ้อ... หมดดอก สบาย ! มันก็เลยเดินจงกรมเอาธูปดอกนั้น
นี่ก็เหมือนกันเดินจงกรมเอาเข็มนาฬิกา แต่เราตั้งนาฬิกาไว้ คือตั้งแล้วก็ชั่งมัน ให้มันนั่งไปเลย พอนั่งไปแล้วมันได้ ๑๐ นาที ทีนี้พอเกิน ๑๐ นาทีนี้เราก็ได้กำไร ถ้าไม่เกินก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเราไปกังวล เห็นไหม
นี่เราจะเทียบตรงนั้น กลับมาเรื่องสุขภาพ สุขภาพนี่มันเป็นเรื่องของสุขภาพนะ เพราะเราไม่ได้ภาวนาเพื่อสุขภาพ เราภาวนาเพื่อจิต ทีนี้ถ้าจิตมันอยู่ในสุขภาพที่แข็งแรง มันก็ทำได้เข้มแข็ง แต่ถ้าจิตมันอยู่ในสุขภาพที่อ่อนแอ นี้มันก็อยู่ที่เรา ถ้ากรณีอย่างนี้ ถ้าคนเรานะไม่ได้อยู่ในสังคมปฏิบัติ แล้วสังคมปฏิบัติเดี๋ยวนี้นะมันเห็นแก่ตัว
สังคมปฏิบัติตั้งแต่สมัยหลวงปู่มั่นนะ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ท่านริเริ่มขึ้นมาแล้วนี่มันไม่มีใคร พอไม่มีใคร ใครจะไปทำอะไร ข้อวัตรปฏิบัตินี่ก็จะรู้ถึงหลวงปู่มั่นทั้งหมด พอรู้ถึงหลวงปู่มั่นทั้งหมดมันก็เป็นอย่างนี้ อย่างสุขภาพของคนมันแตกต่างหลากหลาย พอแตกต่างหลากหลายมา เห็นไหม
สมัยหลวงปู่มั่นนี่เราศึกษามาก หลวงปู่มั่นนะท่านจะดูแล พอดูแลขึ้นมานี้ ในพระที่ปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น จะรู้ถึงนิสัยใจคอกันหมด พระองค์ไหนฉันอะไรได้ พระองค์ไหนฉันอะไรไม่ได้ สุขภาพไง เพราะมันฉันเข้าไปแล้วมันเกี่ยวกับสุขภาพไง เขาดูแลกัน แบบว่าเขาเกรงใจกัน เขาเข้าถึงน้ำใจกันนะ นี่สมัยหลวงปู่มั่น
แล้วหลวงปู่มั่นท่านพยายามทำตรงนี้ขึ้นมา ทำให้สังคมของพระปฏิบัตินี้ถึงกัน รักกัน เข้าใจน้ำใจกัน แล้วมันจะมีคู่บัดดี้ มันจะมีคู่บัดดี้นะสมัยหลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้นจะเป็นบัดดี้กับหลวงปู่อ่อน หลวงปู่แหวนจะเป็นบัดดี้กับหลวงปู่ขาว นี่มันจะมี พอเราไปอยู่ทำอะไรก็แล้วแต่ เราจะมีเพื่อนสนิท มีคู่ซี้ จะไปไหน จะไปธุดงค์ด้วยกัน จะมีปัญหาอะไรก็ปรึกษากัน มันจะมีคู่บัดดี้นะ คู่ที่รักกันเองในพระสมัยหลวงปู่มั่น
ถ้าอย่างนี้ปั๊บ เพราะพวกเรานี่รู้ อย่างเช่นหลวงปู่ขาว เราไปกราบหลวงปู่ขาว แล้วก็ไปกราบหลวงปู่แหวน แล้วบอกหลวงปู่แหวนว่านี่ไปกราบหลวงปู่ขาวมา หลวงปู่แหวนว่า หา ! อะไรนะ ท่านว่าอย่างไร.. ท่านว่าอย่างไร เพราะท่านรักกัน
มันจะมีอย่างเวลาลูกศิษย์จะไปกราบ เวลาใครรักกับใครนี่เราจะอ้างเลยว่าเราลูกศิษย์องค์นั้น เพื่อจะขอความคุ้นเคย จะได้สิทธิพิเศษ
เขาจะรู้กัน เห็นไหม นี่เพราะอะไรล่ะ เพราะสังคมปฏิบัตินี่นะ ประสาเราว่า เพราะเรามีเป้าหมายเพื่อจะพ้นทุกข์ด้วยกัน ถ้ามีเป้าหมายที่จะพ้นทุกข์ด้วยกัน แล้วผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมา อย่างเช่นตอนโยมเรียนหนังสือมา พอมีรุ่นน้องมา เราก็อยากจะให้เป็นคนดีหมด
ทีนี้หลวงปู่มั่นท่านผ่านมาแล้ว ท่านก็ต้องการให้พระที่ปฏิบัติขึ้นมานี้ ให้ประสบความสำเร็จทั้งนั้น แต่นี้มันก็อยู่ที่คุณสมบัติ อยู่ที่ข้อเท็จจริงอันนั้น ทีนี้พออยู่ที่ข้อเท็จจริงอันนั้นปั๊บ นี่ตอนนี้เข้าตรงนี้แล้ว คนที่เขามีปัญหาสุขภาพล่ะ สิ่งไหนเขาบกพร่องล่ะ พระเขาจะดูแลกัน เพราะเราเคยอยู่ในหมู่คณะนะ
อย่างเช่นเราอยู่ด้วยกันอย่างนี้ คนๆ นี้เป็นไข้ป่า เขาจะดูแล เพราะถ้าไม่ดูแลกันแล้วจะดูแลใคร นี่ไง พระพุทธเจ้าบอกว่า ภิกษุ ถ้าเธอไม่ดูแลกัน ถ้าเธออุปัฏฐากภิกษุไข้ก็เหมือนอุปัฏฐากเรา ทีนี้พอพูดอย่างนี้ปั๊บ พระมันก็ถือเหรียญด้านเดียว กูภิกษุไข้ กูไม่สบาย จะต้องให้คนมาอุปัฏฐากกู อย่างนี้ก็ถีบทิ้งเลย
พระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าจะอุปัฏฐากเราให้อุปัฏฐากภิกษุไข้เถิด แต่ ! แต่ภิกษุไข้นั้นต้องเป็นผู้ที่อุปัฏฐากง่าย ภิกษุไข้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่เข้มแข็ง ภิกษุไข้นั้นจะต้องเป็นผู้ไม่เอาแต่ใจของตัว แบบว่าแนะนำสิ่งใดต้องทำสิ่งนั้น ถ้าภิกษุไข้เวลาพระอุปัฏฐากแล้วบอกว่าให้เช็ดตัวให้อะไร แต่ไม่ทำ อย่างนั้นไม่ต้องไปอุปัฏฐาก ให้ทิ้งเลย
คำพูดของพระพุทธเจ้านี้ เวลาคนพูดนี่ส่วนมากพูดเอาครึ่งเดียว เอาด้านเดียว ไม่พูดอีกด้านหนึ่ง เวลาศึกษาธรรมะนี่ศึกษากันด้านเดียว
เราศึกษามา แปลกนะ เราเห็นเขาศึกษาธรรมะกันแล้วเราแปลกใจ เพราะในอาบัติของพระนี้มันมีอาบัติ มีอนาบัติ เป็นอาบัติกับไม่เป็นอาบัตินะ แต่เวลามันศึกษากัน มันศึกษาอาบัติ ! อาบัติ ! อาบัติ ! แล้วมันก็อาบัติทั้งนั้นแหละ จับอาบัติกัน ไอ้นู่นก็ผิด ไอ้นี่ก็ผิด แล้วอนาบัติล่ะ มันมีข้อยกเว้นตรงนี้ไง
มันมีอนาบัตินะ ถ้าทำไม่ครบองค์ของมันไม่เป็นอาบัติ ในพระไตรปิฎกไปเปิดสิ มันมีอาบัติหมดเลย แล้วข้างล่างอนาบัติล่ะ เห็นหรือเปล่า ไม่เคยดูอีก นี่เวลาศึกษาพระไตรปิฎกก็คุยนัก พุทธพจน์ๆ นี่คุยนัก
พุทธพจน์ในประสาเรานี้มันต้องมา เหมือนกฎหมายแต่ละข้อนี่มันมีนิยามก่อนว่ามันเกิดเหตุอย่างนี้ มีผู้ทำความผิดอย่างนี้ พระพุทธเจ้าถึงเอาผู้ทำความผิดอย่างนี้เป็นเหตุ แล้วถึงจะบัญญัติวินัย บัญญัติวินัยเพื่อ.. เพื่ออะไรล่ะ เห็นไหม เพื่อความอยู่สงบของภิกษุ เพื่อแก้คนไอ้หน้าด้าน ไอ้พวกเก้อเขิน นี่เพื่ออย่างนี้ วินัยจะมีอย่างนี้ตลอด ถ้าเราศึกษานะมันจะคิดหมดเลย แล้วเราจะเห็นประโยชน์ไง แต่นี่มันไม่เอาอย่างนั้นเลย
ฉะนั้นเรื่องสุขภาพนี่อีกเรื่องหนึ่ง แล้วเรื่องสุขภาพนี้เราจะพูดอย่างนี้ นี่พูดออกมาเรื่องสุขภาพนะ ถ้าเราบอกว่าเราสุขภาพไม่ดี
โยม ๒ : ที่ถามนี่ความหมายคือหมายถึงว่า ไม่สามารถที่จะไปปฏิบัติหรือไปอยู่ตามสถานปฏิบัติทั้งหลาย คือไม่สามารถจะที่เดินจงกรมหรือทานอาหารที่ทางนั้นจัดให้อะไรอย่างนี้น่ะค่ะ หรือว่าไม่ได้อยู่ฟังครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอน
หลวงพ่อ : ใช่ เราคิดว่าบางคนมันมี เพราะเราเห็นนะบางคนนี่แบบว่า อย่างเช่นคนพิการ เห็นไหม ที่ตาบอดนั่นไง ปริญญาโทนั่นไง แล้วพอไปถามใครก็บอกว่าเขาสอนอยู่ธรรมศาสตร์นะ ชื่ออะไรนะลงข่าวเลยที่เขาตาบอด แล้วไปถามพระ พระก็บอกว่า กรรมเก่าๆๆ กรรมของมึงนั่นล่ะ เขาก็เลยน้อยใจ เริ่มเป็นนักศึกษานี่คิดเลย อะไรก็กรรม ถ้าอย่างนี้มันไปถามกัน เขาก็พูดอย่างนั้น คือเขาพูดแง่เดียวไง
ถ้าบอกว่า ใช่ มันเป็นกรรม แต่กรรมนี้มันเป็นกรรมเก่า มันเป็นกรรมที่มันส่งเสริมมา แต่กรรมนี้เป็นอจินไตย มันมีกรรมซับซ้อนกันมา ซับซ้อนเยอะแยะเลย แต่กรรมขนาดไหน คนที่เกิดมาแล้วมันทำความดีได้ทั้งนั้น คือโอกาสที่เราจะสร้างคุณงามความดีนี่มันมีเท่ากันไง จะตาบอด จะหูหนวก จะพิการขนาดไหน ก็มีสิทธิที่จะเป็นพระอรหันต์
บุคคลสุขภาพปกติ หรือบุคคลสุขภาพเป็นอย่างไรก็เป็นพระอรหันต์ได้ พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ง่อยเปลี้ยเสียขาเยอะแยะไป เขาเรียกอะไรที่เป็นตุ่มๆ เห็นไหม
ไอ้นี่มันกรณีหนึ่ง กรณีที่ว่าเราไม่มีโอกาสไม่มีอะไร อันนี้ประสาเรานะ เราพูดเราทายไว้เลย เราบอกไว้ก่อนเลย เวลาคิดเริ่มต้นให้คิดอย่างนี้ คิดว่าเราไม่มีโอกาส เรามีความจำเป็น เรามีทุกอย่าง มีหน้าที่การงานนี้มันรัดตัวหมดเลย นี่คือจิตใจตอนนี้นะ
แต่ถ้าคนเริ่มปฏิบัติ เริ่มใฝ่หา เริ่มทำตามความเป็นจริง แล้วจิตนี่มันน้อมเอียงไป ไอ้ที่ว่าไม่มีหน้าที่ ไอ้ที่ว่าทำไม่ได้ ทำไม่ได้นะมันทิ้งหมดเลยเพราะมันจะเอา ใจของคนมันเปลี่ยน แต่ตอนนี้นะ ไม่ได้หรอก ความรับผิดชอบก็มี ทุกอย่างก็มีหมดเลย ไปไหนไม่ได้เลย แต่ถ้ามันทำแล้วมันได้ผลของมันนะ นี่ไงเพราะกรณีอย่างนี้ เวลาเราปฏิบัติกันเราจะรู้
ไม่อย่างนั้นไอ้ที่ว่าอดอาหารๆ ไอ้ที่ว่าวิกฤติๆ นี่มันไม่ใช่ทำเพราะว่าซาดิสม์นะมึง มันทำเพราะมันเหมือนกับโยมทำงาน เห็นไหม เวลามันจะเสร็จ โยมจะรีบให้มันเสร็จไหม
จิตใจมันพัฒนาแล้ว พอมันภาวนาขึ้นไปแล้วมันจะมีผลของมันใช่ไหม อย่างเช่นเราทำสมาธินี่เราไม่เคยได้สมาธิเลย แต่พอจิตมันเริ่มลงนะ แหม.. เย็นเว้ย โอ้โฮ.. ไอ้ที่ยังไม่ได้เราอยากได้ไหม แล้วพออยากได้นี่โอ้โฮ.. มันทุ่มทั้งตัวเลยล่ะ
นี่ก็เหมือนกัน ไอ้ที่ว่า ทำไม่ได้ ทำไม่ได้นี่ ถ้าเราไม่มีผล เวลาปฏิบัติแล้วมันไม่มีผลตอบสนอง มันก็จะมีความรู้สึกอย่างนี้ แต่ถ้าเราปฏิบัติแล้วมีผลตอบสนอง เราเองนี่แหละมันจะขวนขวายเอง ไอ้ที่ว่าไม่ได้ๆ นี่นะ มันจะได้หมดเลย
โยม ๒ : ก็คือไม่ผิดใช่ไหมคะ ถ้าจะขนขวาย แล้วก็เรียนรู้ด้วยตนเอง
หลวงพ่อ : ไม่ผิด พระพุทธเจ้าเรียนมาจากใคร เรียนมาจากในป่าใช่ไหม พระพุทธเจ้าเรียนด้วยตนเองเลย แต่ครูบาอาจารย์ของเรา อย่างเช่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านก็เรียนด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ แต่ ! แต่ท่านก็มีตำรา เพราะพระไตรปิฎกมีอยู่แล้ว ท่านก็ปรึกษากับเจ้าคุณอุบาลี
เพราะว่าหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น คือจะบอกว่าไม่มีครู ครูสอนนะแต่ครูโง่กว่าลูกศิษย์ไง ครูโง่กว่าลูกศิษย์นะ เพราะอะไร เพราะถ้าเราสอนตามตำรานี่เราเปิดเลย เห็นไหม อย่างเช่นเราเป็นหมอ เป็นอะไรก็แล้วแต่ เวลาคนไข้มานะเปิดตำรา อย่างนี้โยมรักษาคนไข้ทันไหม
มันเป็นไปไม่ได้หรอก ใครมาหากูได้เลย กูไม่ใช่หมอนี่แหละ เดี๋ยวกูจะเอาตำรามาฝึกมึง แล้วกูซื้อไซริงค์มาเลย กูฉีดแม่ง กูทำได้หมดแหละ อย่างนี้มันเป็นไปได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้ นี่ครูโง่กว่าลูกศิษย์
ในเมื่อมีการศึกษามา เขาเรียนปริยัติมา เขารู้หมดแหละ แต่เวลาไปถามอะไรเขาตอบเราไม่ได้นะ ไปถามทีหนึ่งนะ บางทีถ้าคนที่เป็นสุภาพบุรุษนะ เขาจะบอกว่าไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ แต่ถ้าไม่ใช่สุภาพบุรุษนะ มันอวดรู้ อวดรู้แม่งก็จะเอาปัญหานี่มาตอบเรา นี่ครูโง่กว่าลูกศิษย์ไง
ทีนี้การปฏิบัติเอง ส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติเองนะ ปรัยัติ โดยข้อเท็จจริง ปริยัติทางวิชาการนี่พระพุทธเจ้าให้ศึกษานะ แล้วพวกเราก็ศึกษา เพราะถ้าไม่ศึกษาเราจะมีตู้พระไตรปิฎกไว้ทำไม นี่ตู้หนังสือเราเยอะแยะ เราจะมีไว้ทำไม เราก็มี
เวลาศึกษาก็ส่วนศึกษา อย่างที่ว่าไม้แก่ๆ นี่ไง ศึกษาก็ส่วนศึกษาสิ แต่ถ้าปฏิบัติแล้วนะ ไอ้นี่นะหลอกมึง วิชาการนี่หลอกมึง เพราะอะไร เพราะวิชาการนี่คือทฤษฏี พอปฏิบัติปั๊บนะภาพมันมาแล้ว มันสร้างภาพขึ้นจากทฤษฏีนั้นไง เป็นสัญญาอารมณ์
สัญญาอารมณ์คือการสร้างขึ้นมาจากจิต ! ไม่ใช่ความจริง
แต่ถ้าปฏิบัติแล้วนะ ปริยัติต้องวางให้ได้ แล้วต้องให้เกิดขึ้นมาตามข้อเท็จจริง อุณหภูมิพลังงานจะมีมากน้อยแค่ไหน ถ้ามันรู้ คือตามนั้น ถ้ารู้ตามนั้น นั่นแหละมันเป็นความจริง แล้วถ้าความจริงอันนี้มันเป็นขึ้นมาแล้วนะ มันจะกลับเข้าไปทางวิชาการนั้นว่าเหมือนกัน
แต่ถ้าตอนนี้ยังไม่มีหลักขึ้นมานะ มันเป็นความจำ ความจำนี่ เขาเรียกว่าสัญญาซ้อนสัญญา.. กิเลสซ้อนกิเลส.. ตัณหาซ้อนตัณหา
โดยสามัญสำนึกเราอยากได้ดีไหม นี่โดยธรรมชาติสามัญสำนึกของเรา คือเรามีกิเลส เรามีตัณหา เราอยากได้อยู่แล้ว แล้วพอเราไปรู้ไงว่าอยากได้อะไร เห็นไหม เราอยากได้อยู่แล้ว อยากได้นิพพาน.. อยากได้นิพพาน นิพพานนี่มันเป็นยังไงก็ไม่รู้ แต่กูอยากไป แต่พออ่านเข้าๆ เราสร้างจินตนาการ โอ้โฮ.. นิพพานเป็นเมืองแก้ว โอ้โฮ.. นิพพานเป็นความว่าง
ว่างคู่กับไม่ว่าง... แก้วคู่กับความเศร้าหมอง.. แล้วนิพพานเป็นของคู่เหรอ
นี่เวลาไปเรียนมามันเป็นอีกอย่างหนึ่ง ทีนี้เราพูดถึงว่าการปฏิบัติเอง คือมันต้องปฏิบัติเองเหมือนนักมวยไง อาศัยครูบาอาจารย์เป็นพี่เลี้ยง แล้วอย่างนี้เลย เห็นไหม มันอยู่ที่ผู้ปฏิบัติ อย่างเช่นนักมวยนะ เวลาขึ้นไปชกแล้วไปเจอคู่ต่อสู้ที่มันคนละรุ่น หรือคู่ต่อสู้ที่มันใหญ่กว่านี่ โอ้โฮ.. ไม่มีทางออกเลย
เวลาเราปฏิบัติขึ้นไปเจอกิเลสนี่หน้ามืดเลย เวลาอ่านหนังสือนี่แม่งรู้หมดล่ะ แต่เวลาไปเจอไอ้ความเห็นจากภายในนี่งงเลย แล้วจะทำอย่างไรล่ะ นักมวยน้ำหนักมันคนละรุ่น ทุกอย่างก็คนละรุ่น แล้วไปเจอกิเลส โอ้โฮ... อย่างกับยักษ์เลย แล้วจะสู้อย่างไร
ถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์ มันก็ต้องซัดกันอยู่อย่างนั้น ซัดกันจนกว่ามึงจะสร้างสถานะของมึงขึ้นมาจนแม่งมีความรู้ระดับยักษ์ คือแม่งมีความสามารถเสมอกันแล้วมึงค่อยสู้กันได้ แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์นะ เราเล็กกว่าก็จริงอยู่ แต่อาจารย์ของเรามีเทคนิค เพราะอาจารย์บอกไง เห็นไหม
นี่ที่เขาไปปฏิบัติกันเขาหวังตรงนี้ เพราะอะไร เพราะหลวงตาท่านพูดอยู่ ถ้าหลวงปู่มั่นอยู่นะ ตอนเห็นจุดและต่อมแล้วถ้าผมไปหาหลวงปู่มั่นนะ หลวงปู่มั่นชี้ทีเดียวผมจะเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่วันนั้นเลย แต่นี่เพราะหลวงปู่มั่นท่านนิพพานไปแล้ว
หลวงตานี่ท่านเผาศพหลวงปู่มั่นแล้ว แล้วท่านถึงกลับไปที่วัดดอยธรรมเจดีย์ ท่านถึงไปเห็นจุดและต่อมอันนั้น แล้วหลวงปู่มั่นท่านนิพพานไปแล้ว เผาไปแล้ว ไม่รู้จะถามหาใคร หลวงตาท่านต้องค้นคว้าของท่านเอง ลองผิดลองถูกอีก ๘ เดือน
นี่ท่านพูดเอง ถ้าหลวงปู่มั่นอยู่นะ เพราะว่าท่านได้ประโยชน์อย่างนี้มาตลอดไง สมัยหลวงปู่มั่นอยู่ ท่านบอกเลย เห็นไหม ลาหลวงปู่มั่นไปธุดงค์ ไปถึงยังไม่ทันไรเลย พอไปถึงตอนเย็น จิตมันมีปัญหาแล้ว เดินกลับมาถามปัญหา
ถ้าเราจะถกปัญหานี้เองนะ อย่างน้อยก็ ๒-๓ วัน บางทีเป็นเดือนนี่ยังเอาไม่ลงเลยความรู้สึกเรานี่ กลับมาหาอาจารย์ อาจารย์ซัดผลัวะ..เดียวเท่านั้นแหละ อืม.. จบ ได้เดินต่อไป
นี่เพราะหลวงตาท่านได้ประโยชน์จากหลวงปู่มั่นมามหาศาล แต่สุดท้ายแล้ววันที่หลวงปู่มั่นนิพพาน เห็นไหม เวลาหลวงปู่มั่นนิพพานแล้ว พระเขาดูแลกันไป เสร็จแล้วเขาก็แยกย้ายกันไปหมด พอไม่มีใครแล้ว สุภาพบุรุษไงไปนั่งอยู่ปลายเท้า นั่งร้องไห้อยู่คนเดียว
ดวงใจดวงนี้มันไม่เคยเชื่อใคร มันเคยเชื่อแต่อาจารย์เรา แต่อาจารย์เราก็ตายไปเสียแล้ว แล้วต่อไปถ้าดวงใจดวงนี้มันมีปัญหาขึ้นมา แล้วมันจะพึ่งใคร มันไม่มีที่พึ่ง !
โอ้โฮ.. ไปนั่งรำพัน นั่งร้องไห้นะ ร้องไห้จนเขาจะบิณฑบาต พอเขาบิณฑบาตกัน หลวงปู่หล้ามาสะกิด บิณฑบาตแล้ว.. บิณฑบาตแล้ว
เพราะอะไร เพราะเราเคยได้ประโยชน์มาตลอดไง พอสุดท้ายขึ้นมา เห็นไหม ไปเห็นจุดและต่อมที่วัดดอยธรรมเจดีย์ หันซ้ายหันขวา หันซ้ายหันขวาอยู่อีก ๘ เดือน ไปไหนไม่ถูกเลย ต้องสู้กับตัวเอง
ทุกคนต้องสู้กับตัวเองอยู่แล้ว แต่อาจารย์มีคุณประโยชน์อย่างนี้ แต่ต้องอาจารย์เป็นนะ ถ้าจานกระเบื้องนะ มันจะพามึงไปลง..
อาจารย์ไม่เป็นมันไม่เคยรู้เคยเห็น เราไปบอกสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น นี่อย่างเช่นโยมมาที่นี่ แล้วโยมกลับไปบอกที่บ้านสิ บอกว่าโยมมาที่นี่ แล้วโยมไปคุยกับใครล่ะ ที่บ้านเขาไม่รู้กับเราใช่ไหม แต่เรารู้
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าพูดถึงคนเป็นนี่มันเห็นก่อน พอเห็นก่อนแล้วโยมไปถามว่า เอ้ย.. วันนั้นไปที่นั่นมา อู้ฮู.. มันเป็นอย่างนั้นๆ เออ... มันเป็นอย่างนั้นแหละ เขาเห็นกันแล้ว เขาเห็นอย่างนั้นแหละ นี่มันก็มีพยาน แต่ถ้าเรามาเห็นสภาพแบบนี้ แล้วเรากลับไปคุยที่บ้านสิ เขาไม่ได้มากับเรา เรามาคนเดียว ไปคุยเถอะ บอกแล้วบอกอีก มันก็นั่งจินตนาการกับเรา แต่จะรู้หรือไม่รู้นั่นอีกเรื่องหนึ่ง
นี่มันต้องรู้จริงไง ถ้ามันเป็นจริงนะ แล้วอริยสัจมีหนึ่งเดียว จะใครพูดจะอะไรก็แล้วแต่ ฉะนั้นเวลาหลวงตาท่านไปดูแลครูบาอาจารย์ หรือเวลาท่านไปฟังเทศน์ ตรงนี้ไง ! เราจะบอกเลยนะ ถ้าเอ็งเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี ถ้าเอ็งคำนวณไม่เป็นนี่เอ็งไปตรวจสอบบัญชีได้ไหม แล้วบอกว่าเป็นพระอรหันต์ แต่คำนวณผิดไปหมดเลย ทุกอย่างผิดไปหมดเลย แล้วว่าเป็นพระอรหันต์
นี่ไงอริยสัจมีหนึ่งเดียวไง แล้วการคำนวณอันนั้นต้องถูกต้องหมด
ฉะนั้นเวลาไปพูดว่าสถานะเรามีอย่างนั้นๆ แต่เวลาข้อเท็จจริงมึงพูดผิดหมดเลย อย่างนี้เราไม่เชื่อ เพราะอริยสัจมีหนึ่งเดียว ความจริงมีอันเดียว จะทำอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องเข้าสู่ความจริงอันนี้
โยม ๓ : หลวงพ่อคะ ถ้าอยากจะให้โยมพ่อโยมแม่ท่านเริ่มอายุมากแล้วค่ะ ก็มีให้ฟังซีดีสวดมนต์ฟังเทศน์ แต่ว่ามันก็...
หลวงพ่อ : มันต้องเป็นอย่างนั้น โทษนะ พ่อแม่แก่เฒ่าแล้วนี้มันก็เหมือนกับทารก เวลาแก่นี่กลับไปเป็นเด็กอีกทีหนึ่ง จริงๆ ความรู้ในสมองเขามีหมดแหละ แล้วยิ่งความรู้ในสมองมีนะ มันอย่างที่เขาว่า เฒ่าทารก.. เฒ่าทารก นี่ไม่ได้ว่านะเพียงแต่เปรียบเทียบ
ฉะนั้นอย่างที่โยมทำ เราก็ต้องเปิดสวดมนต์นี้ให้ฟัง กล่อมใจเขาไปก่อน แล้วพอกล่อมใจเขาไปก่อน ประสาเรานะ คนเรานี่นะเคยเคลื่อนไหวด้วยความสะดวกสบายตลอด แล้วถึงเวลาเคลื่อนไหวตัวเองไม่ได้ นี่มันอึดอัดไปหมดแหละ มันขัดข้องหมองใจไปหมด อะไรมามันขัดหูขัดตาไปหมด แต่ถ้าเขาปรับของเขาได้ ให้ฟังสวดมนต์นี้ พอเขาฟังสวดมนต์ แล้วเริ่มมีสวดมนต์เริ่มมีอะไรขึ้นมา แล้วใจเขาชักเริ่มเย็นลง นี้เราค่อยสอนพุทโธ
พุทโธอยู่ที่ไหน พุทโธนี่อยู่ที่ลมหายใจ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ พระพุทธเจ้าบอกว่าเป็นอานาปานสติ เราต้องเทียบอย่างนี้ เทียบบอกว่า เวลาสมัยโบราณเราเขาจะบอกว่า พ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย หรือใครที่ใกล้เสียชีวิตให้นึกถึงพระ ! ให้นึกถึงพระ ! ให้นึกถึงพระนะ
ความคิดมันฟุ้งซ่าน ความคิดของเรานี่มันไปตามกระแสของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แต่พอเราให้ความคิดนี้มาอยู่นึกถึงพระ ก็คือเอาความคิดนี้มาอยู่กับพระ มันก็เหมือนกับเรานึกพุทโธนี่แหละ
ถ้านึกถึงพระ เห็นไหม นึกถึงพระ นึกถึงคุณงามความดี เวลาตายไปนี่มันตายไปพร้อมกับความดีอันนี้ จะทำกรรมดีกรรมชั่วมานั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ขณะที่จิตนี้มีคำบริกรรม จิตมีที่เกาะอยู่ อย่างน้อยนะมันก็สงบเย็น
ถ้าพูดถึงไม่มีตรงนี้นะ คนเรานี่นะ ตอนนี้ทุกคนมันเคลื่อนไหวได้ มันก็ยังอุ่นใจนะ แต่ถ้าวันไหนบอกว่าเราพิการ เราขยับไม่ได้ ใจเราอยากจะไปส้วมเราก็ไปไม่ได้แล้ว ต้องให้คนอุ้มไปให้ มันอึดอัดไง มันจะอึดอัด มันจะมีความฟุ้งซ่าน ความดิ้นรนในหัวใจ ทีนี้ถ้าเรามีคำบริกรรม เห็นไหม จากความอึดอัดเป็นความโล่งโปร่ง เป็นความโล่งโถง
มันก็อย่างนี้แหละ แต่ ! แต่มันต้องใช้เทคนิค ใช้เทคนิคเห็นไหม มันเหมือนกับสอนโดยไม่ได้สอนไง เพราะถ้าไปสอนยิ่งไม่เอา เราต้องใช้เทคนิคไง ไม่ได้เปิดให้พ่อฟังนะ เปิดทิ้งไว้เฉยๆ เปิดทิ้งไว้นี่ทำไม ไม่ให้ฟังด้วย แต่ถ้าบอกฟังนะๆ ฮึ ! ไม่ฟัง โอ้โฮ.. ทิฐินี่ไม่ต้องห่วงหรอก ไม่มีทางหรอก ! ไม่ได้เปิดให้ใครฟัง เห็นอยู่ว่างๆ ก็เปิดทิ้งไว้
คนมันหิวมันจะกินเอง คนมันหิวมันกระหายน้ำนี่นะ กูไม่ให้มึงกินหรอกกูวางไว้ จะกินก็ได้ ไม่กินก็ตามใจ อย่างนั้นมันต้องกิน !
นี่กิเลสมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเราจะไปสอนเราจะไปอบรมนะ เขาจะต่อต้าน นี่วันนี้เดินผ่านมา เห็นขนมเลยซื้อมาแล้วเอาทิ้งไว้ที่บ้าน ไม่ได้เอามาฝากใคร แต่ถ้าเราซื้อมาให้ก็บอก ไม่ต้องซื้อมาหรอก โอ้โฮ.. มันเปลืองตัง ฮึ ! เดินผ่านมาเห็นขนม แล้วมันว่างๆ ก็เลยซื้อติดมือมา ก็เอาทิ้งไว้นี่แหละ
เขาก็รู้.... ความสามัญสำนึกของคนนี่รู้ แต่ความจริงมันเป็นความละอาย ก็คิดว่าฉันนี่เป็นพ่อ ฉันนี่เป็นผู้ใหญ่ตลอดไง เวลาลูกซื้อมาให้มันก็อายนะ แต่ถ้าลูกไม่ซื้อขึ้นมา มันก็มีน้อยใจ ทิฐินี่ไง นี่แหละการเอาพ่อเอาแม่นี้ยากที่สุด
โอ้โฮ..เป็นถึงนายกเลยนะ แต่พอกลับไปบ้าน นี่ก็ลูกกู เวลาอยู่ข้างนอกนี่เป็นนายกนะ ปกครองประเทศชาตินะ แต่กลับบ้านไปนี่ หนูน้อย พ่อแม่มันยังเห็นเป็นลูกอยู่วันยังค่ำ
กรณีอย่างนี้เราต้องเข้าใจเรื่องของใจ แล้วมันเป็นสูตรสำเร็จเลยนะ มันเป็นอย่างนี้ทุกๆ คน มันเป็นอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ แต่ถ้าพ่อแม่ที่ดี เห็นไหม พ่อแม่ที่ดีเขาเข้าวัดมาแล้วเขาจะเข้าใจเรื่องอย่างนี้ มันเหมือนกับหน้าที่ไง กตัญญูกตเวทีนี้เป็นหน้าที่ของลูก ถ้าลูกทำอย่างนี้ได้นี่เพราะพ่อแม่สอน
ถ้าพ่อแม่สอนลูกทำอย่างนี้ได้ มีความกตัญญู แล้วต่อไปนะลูกของลูกมันก็จะกตัญญูกับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่าง เรามีลูกมีหลานเราทำเป็นตัวอย่าง เห็นไหม นี่ปู่ย่าตายายต้องทำอย่างนี้ มันเท่ากับเราได้กตัญญูกับพ่อแม่ด้วย แล้วเราได้ฝึกให้ลูกหลานเราเห็นการกระทำอย่างนี้ด้วย
แล้วมันเป็นเนื้อแท้ เพียงแต่พวกเรานี่ได้แค่ทางทฤษฏี แต่ภาคปฏิบัติทำกันไม่ได้ อาย แต่ทฤษฏีนี่รู้กันไปหมดเลยนะ แต่ปฏิบัติไม่เป็น กรณีอย่างนี้เราเจอ แล้วเราเข้าใจ ฉะนั้นเวลาเทศน์ เห็นไหม จะพูดถึงเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูกับพ่อไง แล้วเวลามีลูก โอ้โฮ.. ลูกเกิดมานะบอกให้ปล่อยพ่อ แต่พ่อตายซะแล้ว
นี่มันเป็นเหมือนประสบการณ์ ใจที่ไม่ได้สัมผัสนี่มันไม่รู้หรอก ถ้าใจได้สัมผัสแล้วมันจะรู้ขึ้นมา อย่างนี้คือถ้ามันยังไม่มีลูกมีเต้านะ ธรรมดาถ้าเราลองมีลูกคนแรกนะเห่อฉิบหายเลย พอสักคนที่สองนี่ ลองมีสิ ลูกคนแรกนี่โอ้โฮ.. เห่อกันขนาดไหน แล้วพ่อแม่เราก็คิดอย่างนั้นแหละ
มันเป็นอย่างนี้เอง แล้วมันเป็นวัฏฏะ ผลของวัฏฏะ มันจะเป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วมันจะเกิดตายเกิดตายกันอยู่อย่างนี้ อารมณ์อย่างนี้มันก็เป็นอย่างนี้ แล้วนี่วัยรุ่นมันก็ไม่มี แต่พอมันมีขึ้นมามันก็จะรู้
นี่มันเป็นเรื่องของใจไง นี่เรื่องของโลกนะยังไม่ได้ปฏิบัตินะ แล้วปฏิบัติไปกว่าจะสงบหรือไม่สงบ พอสงบแล้วมันจะมีรากฐานของมัน ถ้าไม่สงบเป็นสัญญาอารมณ์หมด เป็นนิพพานสร้าง นิพพานของกูกูจัดการได้หมดเลย กูบริหารจัดการนิพพานเลย แต่ถ้าเป็นความจริง มึงบริหารจัดการไม่ได้ แต่ถ้าเป็นสัญญาอารมณ์นะ กูจะบริหารจัดการนิพพานเลย เดี๋ยวนิพพานจะตกใส่หัวกูเลย
คิดเอาเอง เออเอาเอง แล้วเขาก็อ้างว่าเป็นธรรมะ อ้างว่าในพระไตรปิฎกมี พระพุทธเจ้าสอน แล้วสังเกตได้ทุกแขนงทุกแนวทางเลย จะบอกว่า พระพุทธเจ้าเคยสอนไว้แล้วมันหายไป แล้วนี่เขาเพิ่งรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ทุกแนวทางเลย ! ของเดิมมันมีอยู่แล้ว แล้วมันหายไป นี่เรารื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
โยม ๑ : ฟังดูคุ้นๆ นะครับ
หลวงพ่อ : ทุกแนวเลยจะพูดอย่างนี้หมด ว่าของมันเคยมีอยู่ แต่คนมันมองข้ามกันไป แล้วผู้ที่มีบารมีมารื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ แต่เวลาหลวงปู่มั่นนะ หลวงปู่มั่นพูดไม่เหมือนใครเลย
หลวงปู่มั่นบอก พุทโธ พุทโธนี่เป็นพุทธภาษิต เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นพุทธภาษิต แล้วคำสอนแนวทางอื่นเป็นสาวกภาษิต ที่ปฏิบัติเป็นสาวกภาษิตคือพระที่เป็นลูกศิษย์คิดกันขึ้น แต่พุทโธ ธัมโม สังโฆ กรรมฐาน ๔๐ ห้องนี้เป็นพุทธภาษิต เป็นคำพูดของพระพุทธเจ้า !
แต่ถ้าเป็นแนวทางอื่นนะ ว่านี่พระพุทธเจ้าเคยสอนไว้แล้วมันลืมไป แล้วเขามารื้อค้นขึ้นมา คือว่าเอาตัวเองเป็นประเด็น เอาตัวเองเป็นผู้ค้นพบ แต่หลวงปู่มั่นบอกว่า ไม่ใช่! เป็นพุทธภาษิต เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ! ของมีอยู่โดยดั้งเดิม แล้วเราแค่มารู้ นี่ของจริงพูด
คำนี้หลวงปู่มั่นพูดบ่อย พุทโธนี่เป็นพุทธภาษิต ไอ้คำสอนอื่นๆ เป็นสาวกภาษิต แล้วทำไมมันไพล่ไปเอากัน เพราะสาวกภาษิตมันจริงหรือปลอมก็ยังไม่รู้ แต่พุทธภาษิตของพระพุทธเจ้านี้ชัวร์ๆ พุทธภาษิตนี้พระพุทธเจ้าเป็นคนบัญญัติไว้เอง นี่แน่นอน ! แต่สาวกภาษิต คือพระสงฆ์ จะผิดหรือถูกยังไม่รู้ ! แต่พุทธภาษิตนี้ไม่ต้องพิสูจน์ ! มันเป็นของมันจริงๆ !
แต่ถ้าเป็นของพระพุทธเจ้าแล้ว กูไม่ดัง กูไม่เอา กูคิดเองใหม่
เราอยู่กับครูบาอาจารย์มา ครูบาอาจารย์ของเราเป็นของจริง เป็นของจริงนี่ไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา มีแต่ความเป็นธรรม มีแต่ความเป็นสาธารณะ ความเป็นประโยชน์ แต่ถ้าเป็นสาวกภาษิตคือไอ้พวกอยากดัง กูแน่ กูใหญ่ กูเป็น กูจะปกครองโลก
มึงโง่ฉิบหาย มึงจะตายอยู่แล้วมึงยังจะปกครองโลกอยู่อีกเหรอ
แต่ครูบาอาจารย์ของเราไม่เป็นอย่างนั้น ห่วงแต่ว่าศาสนทายาท ผู้ดำรง ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของศาสนา หลวงปู่มั่นนี่อู้ฮู.. เรื่องอย่างนี้เพราะเราฟังมาจากหลวงตาเยอะมาก หลวงปู่มั่นท่านจะห่วงมาก เหมือนเราห่วงลูกห่วงหลาน คือต้องให้มันยืนได้ ต้องให้มันสืบต่อกันไป ไอ้เราก็จะตายแล้ว
หลวงปู่มั่นท่านอยู่ป่าอยู่เขามาตลอดจนใกล้จะตาย หลวงปู่มั่นท่านว่า
หมู่คณะๆ ได้คิดอะไรบ้างหรือเปล่า ผมทำมาขนาดนี้จะมีใครคิดอะไรไหม
หลวงตาบอก คิด.. คิดอยู่ คิดอยู่เต็มหัวอก เพราะว่าคำสอนของหลวงปู่มั่นจะเป็นอย่างนั้นไง แต่ตอนนี้งานของตัวเองมันยังไม่จบไง
หลวงปู่มั่นท่านว่า เออ.. ถูกต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน เพราะถ้าเอาตัวเองรอด งานตัวเองจบแล้ว มันจะเข้าใจคำสอน เข้าใจสัจจะทุกอย่างเลย แต่ถ้าเรายังเอาตัวเองไม่รอด เราก็รู้ได้ในระดับความรู้ที่เรามี สิ่งที่มันลึกซึ้งกว่านั้นเรารู้ไม่ได้หรอก
ฉะนั้นคนที่จะจดจารึก ต้องเป็นผู้ที่เอาตัวรอดได้ก่อนแล้ว ฉะนั้นถึงบอกว่าใช่ ! งานที่จำเป็นนี้หลวงตาท่านถึงได้เต็มที่
แล้วตอนหลวงปู่มั่นท่านเพียบ ตอนที่ไปอยู่บ้านภู่ ตอนที่ท่านจะไปวัดป่าสุทธาวาส หลวงตาท่านก็หมุนเต็มที่ของท่าน ตอนนั้นท่านได้ ๓ ขั้นไง ท่านก็ยังไม่ทะลุ เห็นไหม ก็ขึ้นถามตลอด ท่านก็นอนแหมะ พอขึ้นมาก็ซัดกันตลอด ก็เอามาจนรอด พอรอดแล้วขึ้นมานี่โอ้โฮ... มันเป็นธรรม มันเป็นธรรมเหมือนกับพ่อแม่รักกัน โดยความรักของพ่อแม่นี้สะอาดบริสุทธิ์ ความรักของครูบาอาจารย์ กับลูกศิษย์ที่เป็นธรรม มันไม่มีซ่อนเงื่อน มันไม่มีแง่ปมสิ่งใด มันรักกันด้วยหัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์ แต่ลูกที่มันเกเร เห็นไหม มันหาว่าพ่อแม่มันไม่รักนี่มันแอนตี้ แล้วมันก็พยายามจะหาประเด็น คือจะข่มเหงคนอื่น
ลูกศิษย์ที่ไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ที่ไปอยู่กับครูบาอาจารย์ที่ไม่ได้รับคำชม ไม่ได้รับความเยินยอจากหลวงปู่มั่น ก็หาว่าไม่เป็นธรรม ไม่เป็นธรรม แล้วออกมาเขียนประวัติว่ากูแน่ๆ หลวงปู่มั่นว่ากูเก่ง หลวงปู่มั่นว่ากูเป็นอาจารย์หลวงปู่มั่น อู้ฮู... ทุเรศ ! ลูกอกตัญญู แค่นี้มันก็ไม่ได้แล้ว
เพราะความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี แล้วถ้ามันอกตัญญู มันก็เป็นเครื่องหมายของคนชั่ว ไม่ได้บอกว่าใคร แต่ถ้ามันอกตัญญูคือมันชั่ว คนชั่วมีคุณธรรมไหม
เลยไม่มีปัญหาเลยนี่
โยม ๑ : หลวงพ่อช่วยอธิบายคำว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ให้หน่อยได้ไหมครับ
หลวงพ่อ : ไอ้เรื่องนี้มันเป็นโดยสัจจะเลย มันเป็นโดยมาตรฐาน มันเป็นความจริงแท้ของมันอยู่แล้ว ศาสนาจะมีหรือไม่มีก็แล้วแต่ มีสิ่งใดคงที่... มันไม่มีสิ่งใดคงที่เลย ไม่มีสิ่งใดคงที่นะ
สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง... สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์.. สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
อนิจจังกับอนัตตาคนละเรื่องนะ ความไม่เที่ยงกับความเป็นอนัตตามันคนละเรื่อง ความไม่เที่ยงนี่เป็นความเปลี่ยนแปลงของมันนะ อนัตตานี่มันมีอยู่ เพราะมันแบบว่า ความไม่เที่ยงก็เหมือนสสาร เหมือนสสารเหมือนวัตถุคือมันไม่เที่ยง แต่ความเป็นอนัตตานี้ สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์
โยม ๑ : สิ่งไม่เที่ยงแล้วมันจะเป็นทุกข์ได้อย่างไรครับ
หลวงพ่อ : อ้าว... สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ เพราะอะไรล่ะ ถ้าเป็นทุกข์นะ ถ้าสสารมันไม่เที่ยง มันไม่ทุกข์หรอก อ้าว.. น้ำนี่กินหมดขวดแล้ว
โยม ๑ : แต่ก็ไม่เที่ยง น้ำมันจะทุกข์
หลวงพ่อ : อ้าว... แล้วมันทุกข์ได้อย่างไรล่ะ มันเป็นอนิจจังแต่มันไม่ทุกข์ไง มันก็เลยไม่เป็นอนัตตาไง
โยม ๑ : มันไม่เที่ยงแล้วมันจะทุกข์ได้อย่างไร
หลวงพ่อ : เออ.. เพราะมันไม่เที่ยงใช่ไหม มันไม่เที่ยงมันเป็นสสารมันก็ไม่ทุกข์ เราบอกว่ามันไม่ทุกข์... เราบอกว่ามันไม่ทุกข์... ถ้าเป็นวัตถุมันไม่ทุกข์ แต่ถ้าเป็นใจล่ะ
โยม ๑ : เราไปยึดมันถึงเป็นทุกข์
หลวงพ่อ : อ้าว... สิ่งใดเป็นอนิจจังสิ่งนั้นเป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะมันไม่สมความปรารถนา
เกิดแล้วก็ไม่อยากตาย เกิดแล้วก็อยากคงที่ เห็นไหม ถ้าเป็นสสารมันไม่ทุกข์ เพราะมันเป็นวัตถุมันไม่ทุกข์ แต่ธาตุรู้ว่ามันมีจิต พอมันมีจิต มันจะมีศาสนาหรือไม่มีศาสนา มันก็ทุกข์ของมันอยู่แล้ว
สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
ความทุกข์นี้เป็นอนัตตานะ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นอนัตตานะ อย่างเช่นเรานี่ ของที่รักมากพลัดพรากจากไปนะอู้ฮู.. เสียใจจนจะฆ่าตัวตายเลย เสียใจมากเลย แต่จับมันไว้ก่อน ผูกมันไว้เฉยๆ นะ พอเวลามันผ่านไป เวลามันรักษาแล้วนะ โอ้โฮ.. ถ้ากูฆ่าตัวตายนี่กูเสียดายแย่เลย เพราะกูจะหาใหม่
นี่มันเป็นอนัตตา เป็นทุกข์ไง ! ถ้าความทุกข์มันเป็นจริง มันต้องทุกข์กับเราตลอดไป ถ้าเรามีความทุกข์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว ความทุกข์อันนี้มันจะอยู่กับเรา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ตลอดไป ความทุกข์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นี้ พอกาลเวลาผ่านไป ความทุกข์นี้จะเจือจางไปไหม แล้วมันเป็นอนัตตาหรือเปล่า อนัตตาไหม
ถ้าไม่เป็นอนัตตา ความทุกข์มันจะอยู่กับเราตลอดไป ถ้าเราทุกข์แล้ว มันจะทุกข์ๆๆๆ ทุกข์จนทุกข์เลย แต่พอความทุกข์แล้ว สักพักหนึ่งพอมันหายไป กาลเวลานี่นะ พอไปเจอของรักใหม่นะ โอ้โฮ.. ถ้ากูฆ่าตัวตายไปนะ กูเสียดายน่าดูเลย เสียดายน่าดูเลยเพราะกูมาเจอใหม่นี่ไง แต่ตอนนั้นจะเป็นจะตายให้ได้เลย นี่เป็นอนัตตา
ทีนี้อนัตตาเป็นธรรมชาตินะ อนัตตาเป็นธรรมชาตินี้เพราะเราเห็น เราอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ไง แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ถ้าจะเป็นไตรลักษณ์นะมันไม่เป็นวิทยาศาสตร์ มันเป็นธรรม... เป็นธรรมคือเห็นโดยสัจจะ อย่างที่โยมถามเมื่อกี้นี้ มันยึดเพราะมันทุกข์ไง ไอ้อันนี้นะเราเอามาแซวประจำเลย ก็มันยึดก็มันทุกข์ไง.. ก็กูไม่ยึดกูก็ไม่ทุกข์ไง.. แล้วมันจริงหรือเปล่าล่ะ ไม่ยึดจริงหรือเปล่า
ไอ้ความยึดหรือไม่ยึดนี่นะ ถ้ากรณีอย่างนี้ มันก็เป็นกรณีหุ่นยนต์ในโรงงานโตโยต้าไง โรงงานประกอบรถยนต์ไง เห็นไหม ดูหุ่นยนต์สิ มันจับมาแล้วก็ประกอบแล้วมันก็ปล่อย แล้วมันก็จับแล้วมันก็ปล่อย กูไม่เห็นมันปล่อยอะไรเลย เพราะอะไร เพราะมันไม่มีชีวิตไง
นี่ไง ไปยึดมัน พอยึดมันแล้วก็ทุกข์ไง พอปล่อยมันก็ไม่ทุกข์ไง นี่เป็นวิทยาศาสตร์ไง เราไม่ต้องการให้มันยึด มันก็ยึดโดยตัวมันเอง โดยที่เราไม่รู้ตัว บอกว่าสิ่งนี้ไม่ดี.. สิ่งนี้ไม่ดี ไม่ดีอะไรทุกข์อยู่นี่ เราไปยึดมันเต็มๆ แล้ว เพราะอะไร เพราะเราไม่ทันมันหรอก มันยึดไปแล้ว แต่เรายังไม่รู้ว่ามันยึดนะมึง มันคิดไปแล้ว
นี่หลวงตาบอก กิเลสนะมันขี้รดหัวใจนะ แล้วมันก็ไปนอนหลับอยู่นะ กูเพิ่งมารู้ โอ้โฮ.. นี่กูคิดเนาะ แล้วกูเพิ่งทุกข์ แต่ไอ้กิเลสมันทำไปแล้ว
นี่ไงทุกข์ควรกำหนด... เราไม่เคยเห็นนะ สมุทัยควรละ.. ไอ้ที่พูดนี่พูดเชิงทฤษฏี ! เพราะยึดมันถึงทุกข์ไง โธ่.. เราภาวนามา เราถึงหัวเราะเยาะไอ้พวกที่ว่า แหม.. รู้เท่าแล้วมันปล่อย พอปล่อยแล้วมันไม่ทุกข์ มันเป็นสักแต่ว่า กูดูหนังดีกว่ามึงอีก ! หนังสารคดีเขาสอนกูเยอะ ดีกว่านี้อีก เขาทำให้ดูด้วย
นี่ไงเพราะเราไปรู้ทางทฤษฏีไง แต่ความจริงของเรายังไม่เกิดไง ถ้าความจริงของเราเกิด มันไม่ใช่ว่าไปยึดหรือไม่ยึดแล้วมันทุกข์หรอก มันอิ่มเต็มของมันนะ มันไม่ไปเอาอะไรเลย เห็นไหม ที่หลวงตาบอกว่า มันเก้อๆ เขินๆ มันอยู่ของมัน ต่างคนต่างอยู่ ต่างตนต่างเป็น ต่างคนต่างที่ไม่ได้สัมผัสกัน แต่ถ้ามันพุ่งออกไปแล้วนี่ไม่ทันหรอก ถ้าพลังงานนี้ได้กระจายออกไปแล้ว ไม่มีสิทธิที่จะทันมันได้
โยม ๑ : เพราะถ้าออกไปก็คือยึด ?
หลวงพ่อ : มันยึดก่อนแล้ว มันยึดแล้วมันถึงไป
มารเอย... เธอเกิดจากความดำริของเรา ไม่ใช่ว่าคิดนะ ดำริ... พลังงานส่งออก พอจิตมันเคลื่อนพลังงานนั้นออกไป นั่นล่ะกิเลสไปเต็มตัวแล้ว กิเลสไปหมดแล้ว เอ็งบอก กูไม่ยึดนะ กูแค่รับรู้นะ นั่นแหละมันยึด !
ฉะนั้นสิ่งที่พูดนี้มันเป็นทฤษฏีไง แต่ถ้าเป็นการกระทำ เป็นความจริงนะ พอจิตมันสงบเข้ามา มันจะเลาะเข้ามา เป็นชั้นๆ เข้ามา มันจะรู้อย่างนั้น เห็นไหม ที่หลวงตาบอกว่า เข้าถ้ำ
ขันธ์อย่างหยาบ คือโสดาบัน ขาดออกไป...
ขันธ์อย่างกลาง.. เราถึงบอกว่าความคิดของคนเรานี้ เห็นไหม เราบอกว่าความคิดของเราที่ออกมาโดยสามัญสำนึกนี้ มันมีคัตเอ้าท์ให้ตัดได้ ๔ คัตเอ้าท์ มีสวิตซ์ให้ตัด ๔ สวิตซ์
ตั้งแต่เสวยอารมณ์ จิตหรือตัวภพ ตัวภพนี่คือตัวพลังงาน ตัวพลังงานเฉยๆ นี่คือตัวจิต นี่ถ้าทำลายตรงนี้จะเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้าพระอรหันต์ทำลายตรงนี้ไม่ได้ ทำลายภวาสวะ ทำลายภพไม่ได้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้
นี่ไง ถ้าพูดถึงละเข้ามาหมด ตรงนี้จะเป็นพระอนาคา ยังมีตอนี้อยู่ก็ไปเกิดเป็นพรหม นี่คือสวิตซ์หนึ่ง
แล้วเสวยอารมณ์ออกมาเป็นความคิด นี่ขันธ์อย่างละเอียดไง ตรงนี้เพราะกามราคะ นี่อีกสวิตซ์หนึ่งถ้าตัดได้ แต่ถ้าตัดไม่ได้นะ มันจะออกไปสู่อุปาทาน
อุปาทานเห็นไหม นี่ขันธ์อย่างกลาง ถึงอุปาทาน แต่ถ้าตัดตรงนี้ได้ก็อีกสวิตซ์หนึ่ง ถ้าตัดไม่ได้นะ กลับมาถึงสามัญสำนึก ความคิดปกติ นี่ตรงนี้ถ้าทันนะ นี่เป็นโสดาบัน แต่ถ้าไม่ทันนะ ออกเป็นปุถุชนเลย
ฉะนั้นความคิดของคน ที่จะออกมาจนถึงเป็นอารมณ์สามัญสำนึกนี้ มันผ่านสวิตซ์ ผ่านการตัดนี้ได้ถึง ๔ ขั้นตอน
แต่เราก็ไปบอกว่า ยึดก็ทุกข์ ไม่ยึดก็ไม่ทุกข์
โอ้โฮ.. มันไม่รู้สิ่งใดอย่างนี้เลย แล้วเวลาพูดออกมานี่เป็นสามัญสำนึก ว่ายึดก็ทุกข์ ก็คือพลังงานใช่ไหม คือความคิดใช่ไหม แล้วความคิดที่ตัดอย่างละเอียดๆ ข้างในจิตนี่อีกกี่ชั้น ไม่อย่างนั้นมันจะแบ่งอย่างไร ว่าอะไรเป็นโสดาบัน อะไรเป็นสกิทาคา อะไรเป็นอนาคา อะไรเป็นพระอรหันต์... แล้วมันแตกต่างกันตรงไหน
แต่เราบอกว่าความคิดนี่ยึดก็ทุกข์ ก็หุ่นยนต์ไง ! มันจับแล้วก็ปล่อย เวลาประกอบรถยนต์นี่มันจับ เห็นไหม พอส่งให้มันเสร็จแล้วมันก็ปล่อย แล้วเลื่อนมาก็ประกอบ แล้วมันก็ปล่อย อู้ฮู.. มันจับปล่อย จับปล่อยทั้งวันเลย มันต้องเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะเราไปคิดกันทางวิทยาศาสตร์ไง
แต่ถ้าเป็นความจริง ผู้หญิงเขาอยู่กับผู้หญิงด้วยกัน เขาก็มีอารมณ์ความรู้สึกอย่างหนึ่ง แต่ผู้หญิงมาอยู่กับผู้ชาย ก็มีอารมณ์ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง ผู้ชายกับผู้ชายอยู่ด้วยกัน ก็มีอารมณ์ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง
ฉะนั้นเราจะบอกว่า ยึดไม่ยึดนี้ มันยังมีความชอบ ความไม่ชอบ มีจริตมีนิสัย มีความเป็นไป อ้าว... ผู้ชายอยู่กับผู้ชายนะ เอ็งคิดอะไรกัน แล้วผู้ชายไปอยู่กับผู้หญิงล่ะ.. แล้วผู้หญิงอยู่กับผู้หญิงล่ะ อ้าว..ยึดหรือไม่ยึด อ้าว.. ก็คิดเหมือนกัน แต่ผู้ชายอยู่กับผู้ชายทำไมไม่ยึดล่ะ มึงทำไมไม่ยึดกัน อ้าว.. แต่ถ้าผู้หญิงอยู่กับผู้ชายแล้วทำไมมันเสือกยึดกัน อ้าว.. บอกว่ายึด ยึดแล้ว
เห็นไหม แค่นี้มันก็ตัวแปรเยอะแยะไปแล้ว แล้วยึดอะไรของมึง แล้วอยู่คนเดียวล่ะ อยู่คนเดียวล่ะ เสวยอารมณ์ไง พลังงานเอ็งออกไปยึดความคิดทำไม พลังงานนี่เอกัคคตารมณ์ แล้วออกมาสู่ความคิดทำไม เอ็งยึดความคิดแล้วนะ ไอ้บ้า ! ถ้าไม่ยึด ความคิดก็ไม่มี เป็นพลังงานเฉยๆ เออ... อ้าวยึดแล้วยึดตรงไหนล่ะ
มันเยอะแยะไปหมด ขั้นตอนมันหลากหลายมาก แต่นี่คนมันภาวนาไม่เป็นไง มันก็มองเป็นวิทยาศาสตร์ใช่ไหม ทุกข์มีเพราะยึด อ้าว กูก็ปล่อยหมดแล้ว ทุกอย่างกูปล่อยหมดเลย ถ้าปล่อยหมดแล้ว แล้วทำไมกูยังทุกข์อยู่ล่ะ...
ทุกข์สิ เพราะกูปล่อยแล้ว แต่กูไม่รู้ว่าปล่อยอะไร เวลาใครมาถามกูว่าปล่อยอะไร ก็ไม่รู้.. ก็กูปล่อยไปแล้ว แต่ความเจ็บช้ำน้ำใจไม่ได้ปล่อย ความเจ็บช้ำน้ำใจมันปล่อยไม่ได้ ยิ่งคิดมันยิ่งตอกย้ำมันยิ่งเจ็บ ไอ้ที่พูดนี่นะว่ายึดแล้วมันทุกข์ นี่มันพูดแบบพระพุทธเจ้า
ธรรมนี่นะ เวลาพระพุทธเจ้าพูดเราเข้าใจ เวลาพระพุทธเจ้าพูดนี่เขาต้องมีบุคลาธิษฐานคือมีวัตถุ บุคลาธิษฐานคือมีตัวอย่างให้เราเห็น ให้เห็นว่าความคิดนี้ ระบบทำงานมันก็เหมือนกับวัตถุนี่แหละ ถ้าพลังงานออกมาเสวยอารมณ์ ก็เหมือนกับยึดนี่แหละ... เหมือนกับยึดแต่ไม่ใช่ยึด มันเหมือนกับยึดนี่แหละ
ถ้ามันปล่อยอารมณ์เข้าไป เห็นไหม มันก็เป็นอิสระของมัน เขาเรียกว่าบุคลาธิษฐาน เป็นตัวอย่าง เป็นแบบอย่างให้เราเห็นได้ ว่าขบวนการการทำงานของจิตมันเป็นอย่างใด แล้วเรามีความเห็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า
ขบวนการทำงานเป็นอย่างนั้น แล้วขบวนการทำอย่างนั้น คือคนมีปัญญาอย่างนี้ ถ้าคนพิจารณาอย่างอื่น เขาก็ยึดเหมือนกัน แต่เขามีขบวนการของเขา ที่การปล่อยวางของเขาอีกขบวนการหนึ่ง คือจริตของเขา ความเห็นของเขามันแตกต่างกันไป แต่ผลของมันก็คือการไม่ยึดนั่นล่ะ แต่ไม่ยึดเพราะอะไร ไม่ยึดเพราะมีเหตุใด
เห็นไหม เราถึงบอกว่า นี่มันอยู่ที่การภาวนาเป็นหรือไม่เป็น ถ้ากูเป็นนะ มึงจะเอารถยี่ห้ออะไรมา ก็มาสิกูขับได้ทั้งนั้นแหละ แต่ถ้ากูไม่เป็น กูก็ขับไม่ได้สักยี่ห้อหนึ่งเลย ยี่ห้ออะไรกูก็ขับไม่ได้ เพราะกูขับรถไม่เป็น แต่ถ้ากูขับเป็นนะ มึงจะเอายี่ห้ออะไรมาก็ได้ กูขับแม่งทุกคันเลย นี่คนภาวนาเป็นไง
อารมณ์ความรู้สึก... ความคิดความแตกต่างหลากหลาย มันก็เหมือนรถ รถคนละยี่ห้อ รถคนละมาตรฐาน เห็นไหม ที่ว่ารถกำลังสูงกำลังต่ำ รถเล็กรถใหญ่ มันก็แตกต่างกัน วิธีการการขับ รถบรรทุก รถใช้งานในบ้าน รถแทรกเตอร์ รถมันก็มีขบวนการ รถมันก็มีความละเอียดแตกต่าง
แล้วความคิดของคนหยาบนะ อู้ฮู.. คิดด้วยอารมณ์รุนแรง แต่ความคิดคนละเอียดนะ ความคิดของคนที่สร้างรถ เห็นไหม รถไอ้นี่มันโรสรอยซ์ โอ้โฮ.. ต้องถนอมมันหน่อย แต่ของกูมันรถไถ ล้อมันใหญ่นะ มันบุกได้หมดแหละ
ไอ้กรณีนี้ ถ้ามันเห็นขบวนการของจิต มันเห็นขบวนการ มันเป็นสิ่งที่มีชีวิตไง อย่าคิดอะไรโดยที่ว่า เราจะบอกว่าไม่คิดไม่ได้นะ ถ้าบอกว่าไม่คิดนี่มันเป็นการทำให้ปิดกั้นไม่ให้ปัญญาเรากว้างขวาง ปัญญาของเรานี่มันจะกว้างขวาง ขั้นของปัญญาไม่มีขอบเขต เราจะคิดของเรา เราจะใช้จินตนาการของเรา...
จินตมยปัญญา มันไม่ใช่ความจริง
คิด.. พิจารณา.. ฝึกหัด.. ความตกผลึกของใจที่มันรับรู้ ครั้งแล้วครั้งเล่า ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ จิตมันจะพัฒนาของมัน.. พัฒนาของมัน แล้วมันมีกำลังของมัน มันมีความตั้งมั่นของมัน เดี๋ยวมันจะเป็นภาวนามยปัญญา ไม่ใช่จินตมยปัญญา มันจะเป็นภาวนามยปัญญา คือข้อมูลการกระทำของมัน เป็นความจริงของมัน
นี่เวลาเกิดอย่างนี้ นี่ขั้นของวิปัสสนาเกิดตรงนี้ไง
ไอ้ที่ว่าวิปัสสนา ในเว็บไซต์น่ะ ว่าผิดหมด ! ผิดหมด ! ผิดหมดเลย ! ผิดหมดเลย
สติปัฏฐาน ๔... โกหกหมด ! โกหก ! โกหก ! เพราะมันไม่มีตัวจิต มันไม่มีตัวพลังงาน การกระทำทุกอย่างต้องเกิดจากพลังงาน เกิดจากความรู้สึกของเรา ถ้าไม่มีความรู้สึก ทำงานไปก็เหมือนหุ่นยนต์ไง หุ่นยนต์...
นี่พูดถึงการปฏิบัติไป เวลาพูดก็พูดอย่างนั้นแหละ ถ้าเวลาอธิบายธรรมะ เราก็อธิบายอย่างนั้นแหละ แต่อธิบายเพื่อสภาวะของแบบว่า หลวงตาเรียกว่า แกงหม้อใหญ่ แกงหม้อใหญ่คือเจริญศรัทธา คือความมั่นคงของใจ แต่ถ้าเริ่มขบวนการของการทำงานแล้ว ต้องเข้ามาอย่างที่เราพูดนี่แหละ
ถ้าขบวนการของการทำงาน ขบวนการของวิปัสสนานะต้องเข้ามานี่แล้ว ถ้าไม่เข้ามาที่นี่นะ มันเป็นสัญญาอารมณ์ เป็นสามัญสำนึก เห็นไหม มันก็เหมือนกับความคิดโลกๆ เขาเรียกว่าความคิดโลกียปัญญา ความคิดทางวิชาการ ความคิดทางโลก แต่ถ้าความคิดทางธรรมล่ะ...
ความคิดทางธรรมคือความคิดถอดถอนไง มันก็ละเอียดเข้ามาอีกชั้นหนึ่งแล้ว แล้วถ้าเป็นความคิดทางธรรมนะ มันเป็นจริงหรือมันไม่เป็นจริงนี่โอ้โฮ...
เราพูดบ่อย เราเคารพหลวงตานะ เคารพครูบาอาจารย์เรานะ เราเคารพอยู่ แต่ถ้าครูบาอาจารย์ท่านพูดถึงใคร นั่นก็เป็นเรื่องของท่านนะ แต่เราก็ต้องเอาหูกูนี่ กูเชื่อหูกูนี่ กูเชื่อประสบการณ์ของกูเอง ใครจะพูดอย่างไร สาธุ... ฟังไว้แต่ไม่เชื่อ ไม่เชื่อ ! เราเชื่อสิ่งที่เราตรวจสอบเอง อย่างอื่นกูไม่เชื่อ ใครจะดีใครจะเลว สาธุ.. เรื่องของเขาก่อน แต่ถ้าเราได้สัมผัสแล้ว เรารู้จริงแล้วนะ ใครจะพูดอย่างไร กูไม่ฟังมึงหรอก
อริยสัจมีหนึ่งเดียวพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้อันนี้เหมือนกัน พระศรีอริยเมตไตรยก็จะมาเอาอันนี้
ฉะนั้นกรณีอย่างนี้... ไอ้อย่างนี้พูดได้ เราพูดอย่างนี้ปั๊บนี่เราพูดเหมือนเซน เห็นไหม ถ้าเซนเขาบอกว่า ยึดก็ทุกข์ ที่เราพูดไง พระอรหันต์นะหิวก็กิน ร้อนก็อาบน้ำ แล้วเวลามาปฏิบัตินี่ก็เหมือนกับลูกเราที่เพิ่งเกิด หิวก็กินสิ.. หิวก็กิน.. กินสิ ก็กินขี้ไง มันจะนอนแช่ขี้อยู่ก็กินขี้
มันไม่มีวุฒิภาวะแล้วมันจะกินอะไร หิวก็กิน.. หิวก็กินก็แบบว่าเรามีเราก็กินได้ หิวเราก็กิน ร้อนก็อาบน้ำ แต่คนไม่เป็น เวลาหิวแล้วมันกินอะไรล่ะ... กินยาพิษไง !
ทีนี้เวลาพูด นี่ถ้าคนเข้าใจแล้วเวลาพูดมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ถ้าคนพูดอย่างนั้นปั๊บ ถ้าหิวก็กินมันก็อย่างที่ว่าแหละ รถยนต์กูก็หิวก็กิน น้ำมันหมดมันก็ไปไม่ได้
ฉะนั้นใครพูดอะไร ถ้ามันจำมาพูดนะมันก็พูดอย่างนี้ แต่ถ้าคนไม่จำมาพูดนี่มันมีเหตุมีผล ฉะนั้นคนฟังทีเดียวก็รู้เลย
นี่เวลาอย่างนี้นะบอกว่าความยึดไม่ยึดนี่มันเป็นเรื่องหยาบๆ แต่ถ้าเราสอน เราก็สอนอย่างนี้ แต่สอนอย่างนี้เราสอนใครล่ะ อย่างถ้าเราสอนเด็กๆ นะว่า เฮ้ย... อย่ายึดมันสิ เราก็สอนเด็กๆ ไปก่อน เห็นไหม ในการสอนนี่มันมีเด็ก แต่พอมันพัฒนาขึ้นมาล่ะ แล้วเวลาจะสอนสุดๆละเอียดๆ นี่เราต้องมาคุยกันตัวต่อตัวเลยล่ะ
คำพูดเหมือนกัน แต่เหตุผลไม่เหมือนกันหรอก เพราะอะไร เพราะเรามีความรับรู้ไง อย่างเช่นหลวงปู่คำดี นิมนต์หลวงตามาเลย พอหลวงตามานี่ปิดห้องคุยกันตัวต่อตัวเลย พอหลวงตาชี้ผลัวะ ! หลวงปู่คำดีว่า เออ.. รู้แล้วๆๆ รู้แล้วแต่นั่นยังไม่สำเร็จนะ รู้แล้วนี่คือรู้ทางเฉยๆ พอหลวงตากลับ หลวงปู่คำดีท่าน รู้แล้ว ! ก็จัดการเลย ซัดเลย ถ้าไม่รู้นี่มันไม่มีทางไปเลย
เหมือนที่หลวงตาขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น ขึ้นไปกราบแล้วกราบอีก หลวงปู่มั่นท่านก็นอนแหมะเลย หลวงตาขึ้นมา ลุกขึ้นมาก็ใส่ใหญ่เลย แล้วพอใส่จบก็ดูปฏิกิริยา อยู่ด้วยกันมานานจะรู้ หลวงตาบอกว่าถ้าไม่เข้าใจ มันจะอยู่นี่แหละไม่ไป ท่านต้องอธิบายรอบสอง ถ้ายังไม่เข้าใจก็ยังไม่ไป ต้องอธิบายรอบสาม แต่ถ้าอธิบายรอบแรกเข้าใจปั๊บ กลับ.. ลงเลย พอหลวงตาหันหลังลง หลวงปู่มั่นท่านก็นอนแผละ
มันรู้ไงว่าเราอธิบายแล้วเขาไม่เข้าใจ เราบอกแล้วเขารู้ไม่ได้ ก็ต้องอธิบายอีก... อธิบายอีก.. อธิบายอีก ถ้าเข้าใจแล้ว ก็ว่ารู้แล้วๆ พอรู้ทางไง พอรู้ทางลงแล้วก็ซัดต่อเลย
นี่เพราะเราปฏิบัติมา แล้วเวลาหลวงตาท่านเล่าท่านพูดถึงนี่เราเข้าใจเลย เพราะอาการอย่างนี้เราก็เคยถามครูบาอาจารย์เหมือนกัน พอขึ้นไปถามนี่.. ไปถามเพื่อจะ.. เพราะเราปฏิบัติมาแล้ว ทดสอบมาแล้ว ทำทุกอย่างพร้อมหมดเลย แต่มันไม่มีผล มันเป็นเพราะอะไรล่ะ.. มันเป็นเพราะอะไร
นี่ก็อย่างนี้ไง ยึดก็ปล่อย... กูก็ปล่อยหมดแล้ว โทษนะ กูถอดแม่งหมดเลย มันก็ยังไปไม่ได้ ! ก็ขึ้นไปถามเลย มันทำไมไปไม่ได้ล่ะ ถ้าคนมันเป็นนะ อ้าว.. ก็กลับมาทบทวนสิ ศีลเป็นอย่างไร.. กำลังมีไหม... ถูกต้องหรือเปล่า ก็ต้องมาทบทวน
โอ้โฮ... แล้วถ้าทำอย่างนั้นนะ มันเหมือนกับวิทยาศาสตร์ไง ดูสิอย่างเช่นหมอ คนไข้มาฉีดยาเข็มหนึ่งก็บอกหายแล้ว... แล้วถ้าคนไข้ไม่หายทำอย่างไรล่ะ กูก็ฉีดครบขบวนแล้ว กูก็ฉีดครบคอร์สหมดแล้ว อ้าว.. แล้วคนไข้ทำไมไม่หายวะ นี่ก็เหมือนกัน
โยม ๓ : ทำไม คือว่าก่อนปฏิบัติอย่างนี้ค่ะ สมัยก่อนอาจจะยึดหลายเรื่อง แต่พอปฏิบัติไปๆ ก็ปล่อยได้มากขึ้น มากเรื่องขึ้น แต่บางเรื่องที่ใจเรามันไปยึด... ยึดเหลือเกินนี้ มันเห็นว่ายึดแต่มันก็ปล่อยไม่ได้ ปัญญายังไม่เกิด แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ให้เพียรทำไปเรื่อยๆ อย่างนี้เหรอคะ
หลวงพ่อ : ก็ต้องให้กลับมาทำความสงบ อย่างเช่นอาหารนี่กินทุกวันๆ เห็นไหม บอกว่าอันนี้กินแล้วเบื่อ กินแล้วเบื่อ อ้าว.. เบื่อ เบื่อตอนกิน พอหยุดกินไปสักพัก กลับมากินมันก็อร่อยอีกแล้ว เพราะเราไม่มีเหตุผลตัดไง
แล้วทีนี้พอเราไม่มีเหตุผล ที่ว่าบางเรื่องเราพิจารณาได้ เพราะอะไร เพราะว่าสติปัญญามันพร้อม มันมีกำลัง เหมือนเด็กๆ ไง เด็กๆ นี่รู้ผิดรู้ถูกได้ระดับหนึ่ง ผู้ใหญ่นี่รู้ผิดรู้ถูกได้ระดับหนึ่ง เห็นไหม ถ้าคนเฒ่าคนแก่ รู้ผิดรู้ถูกได้สูงกว่าเรานะ เพราะเขาผ่านโลกมามาก
จิตมีกำลังหรือไม่มีกำลังไง ต้องกลับไปที่ทำความสงบ บางอย่างนี่ถ้าเราพิจารณาแล้วเราปล่อยไม่ได้ เรากลับมาที่ทำความสงบเลย ถ้าวันไหนจิตเรานิ่ง แล้วเราทำความสงบนะ ปัญหานี้เราใช้ปัญญานะ มันก็ปล่อยได้จริงๆ มันวางได้สบายๆ เลย แต่ถ้าวันไหนมันฟุ้งซ่านนะ เอ๊ะ... กูก็เคยเข้าใจแล้ว กูก็ปล่อยไปแล้ว เอ๊ะ.. ทำไมมันยังทุกข์อยู่อย่างนั้น เห็นไหม
กำลัง สมถะกับวิปัสสนา เหมือนมนุษย์มี ๒ ขา ซ้ายและขวาต้องเดินไปพร้อมกัน จะเดินขาใดขาหนึ่งไม่ได้ ฉะนั้นบางคนนี่คิดว่าต้องใช้ปัญญาๆ ปัญญานี่ปัญญาโจรเยอะแยะไปหมดเลยนะ ไอ้ที่บ้านเมืองมีปัญหาอยู่นี่ ก็เพราะไอ้ปัญญาๆ นี่ไง ไอ้คนโกงๆ เดี๋ยวนี้แม่งฉลาดทั้งนั้นนะ คนโง่โกงไม่ได้นะ ไอ้ที่บ้านเมืองมีปัญหาอยู่นี่ ก็เพราะไอ้ปัญญานี่แหละ แต่มันไม่มีศีลธรรม
นี่ก็เหมือนกัน เราว่ามันมีปัญญาๆ แต่เพราะมันมีกำลังไง จิตใจเราไม่เข้มแข็งไง ถ้าจิตใจเราไม่เข้มแข็งนะ ปัญญาจะมากจะน้อย มันไม่สำคัญเท่ากับจิตใจของเรานะ จิตใจเรายึดมั่น เรามั่นคงของเรานะ มีปัญญามากน้อยแค่ไหน มันก็คิดด้วยกำลังของเรานี่แหละ มันคิดได้หมดเลย
โยม ๓ : ต้องไปเพิ่มสมาธิ
หลวงพ่อ : ใช่ ! มันขาดตรงนี้ แล้วพอขาดตรงนี้ปั๊บนะ แล้วตรงนี้มันก็ขึ้นๆ ลงๆ กำลังของเรานี่ขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวคิดดี เดี๋ยวคิดได้ เดี๋ยวคิดไม่ได้อยู่อย่างนี้ เราก็ต้องฝึกให้มันแบบว่าชำนาญในวสี ชำนาญในการเข้าออก ชำนาญในการฝึกหัดไง อย่างเช่นงานที่เราทำทุกวันๆ นี่โอ้โฮ... คล่องหมดเลย หลับตาทำวู้บ... เลย
นี่ก็เหมือนกันเราทำบ่อยๆๆๆๆ บ่อยๆ จนถึงบ่อยๆๆๆๆ แล้วอย่าทิ้งนะ จนถึงที่สุดมันสมดุลของมันแล้วนะ มันจะให้ผล แต่ที่เขาทำกันไม่ได้เพราะว่ามันไม่สมดุลไง มันบ่อยๆๆ อยู่ เออ.. พักก่อน บ่อยๆๆ ไป แล้วเดี๋ยวก็พักก่อน มันไปไม่ถึงที่สักที
ทำไปเรื่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ ขยันหมั่นเพียร แล้วกรณีอย่างนี้มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน อำนาจวาสนาว่าเราสร้างมากสร้างน้อยไง ถ้าสร้างมากนะ พอถึงจุดหนึ่งนะมันขาดเลย ถ้าสร้างมาน้อยนะ ก็ทำเหมือนกัน เยอะกว่าเขาด้วย แต่ทำไมมันไม่ถึง มันอยู่ที่เบื้องหลังไง อยู่ที่พันธุกรรมของจิต จิตมันสร้างมามากหรือสร้างมาน้อย บางคนนี่พิจารณาไม่กี่รอบก็ไปแล้ว ไอ้กูนี่แม่งทำแล้วทำอีก แต่ไม่ไปสักที
ไอ้ของอย่างนี้มันจะน้อยเนื้อต่ำใจกับใครไม่ได้ เพราะมันเป็นผลของเรา คือพันธุกรรมของเราเอง จิตของเราเอง เราสร้างของเรามาเอง
โยม ๑ : แล้วจะทันกันไหมครับ
หลวงพ่อ : ถึงที่สุดเป้าหมายอันเดียวกัน
โยม ๑ : ทันใช่ไหมครับ
หลวงพ่อ : ทัน.. ถึงที่สุดแล้ว จบก็จบด้วยกัน จบที่นั่นหมด
โยม ๑ : แต่เมื่อไหร่เท่านั้น
หลวงพ่อ : เวลาพูดนี่เห็นไหม มันไปหมดเลย ถ้าไปไม่หมดมันก็ไม่ออก แล้วเมื่อคืนมันพูดแรง
โยม ๔ : สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เช่น เราจะอธิบายแบบปริยัติได้ไหมคะ หรือว่าจริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไร มันไม่ได้แยกกันเหรอคะ.....
หลวงพ่อ : ฮึ ! ไม่ใช่ๆ เวลาเราอธิบายนี่ มันมีโลกกับธรรมอยู่คู่กัน ต้องเข้าใจประเด็นนี้ก่อนนะ ประเด็นที่ว่าโลกกับธรรมนี่อยู่คู่กัน
โลกคือวิทยาศาสตร์ ถ้าเราอธิบายแบบโลกนี่มันเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างนี้ถูกต้อง แต่วิทยาศาสตร์แก้กิเลสไม่ได้ ที่เราพูดบ่อย เห็นไหม เราดูถูกมากนะ วิทยาศาสตร์นี่แก้กิเลสไม่ได้ เพราะวิทยาศาสตร์นี้เป็นสูตรทฤษฏีที่ตายตัว แต่กิเลสนี้มันเป็นสิ่งที่มีชีวิต มันกะล่อน มันปลิ้นปล้อน กิเลสนี่ปลิ้นปล้อน !
ฉะนั้นพอกิเลสปลิ้นปล้อน พอเข้าไปทางธรรมมันต้องปิดล้อมหมดทุกประตู ทีนี้พอจะปิดทุกประตู มันก็เป็นเหมือนกับความชอบ เหมือนกับรสนิยม กิเลสนี่เหมือนรสนิยมนะ รสนิยมของคนมีหยาบละเอียดแตกต่างกัน ทีนี้รสนิยมของคนไม่เท่ากันจริงไหม แล้วอย่างนี้เราจะอธิบายถึงรสนิยมได้อย่างไร รสนิยมของเรา สิ่งนี้เราก็พอใจ แต่คนอื่นเขาไม่พอใจกับเรา
แต่ถ้าเราอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ ค่าของมันเห็นไหม ถ้าอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ ทุกคนต้องยอมรับค่าวิทยาศาสตร์ จริงไหม ทีนี้ค่าวิทยาศาสตร์มันเป็นเรื่องโลก นี่พอเป็นเรื่องโลก มันถึงจะเข้าไปทำลายรสนิยมของคนไม่ได้ แต่รสนิยมของคน ถ้าคนมันพอใจ อย่างนี้ได้ ได้เป็นบางส่วน แต่บางส่วนนี่ก็เป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์คือมันเป็นกฎทฤษฏีที่ตายตัว หมายถึงว่ามันเป็นรูปธรรม แต่ความรู้สึกมันเป็นนามธรรม
ฉะนั้นเวลาอธิบายเราถึงบอกว่า อย่างที่เขาพูดกัน ถ้าจะพูดอย่างนี้นี่ก็ถูก ! ถูกทางทฤษฏี ถูกทางโลกไง แล้วเวลาอธิบาย ก็ต้องอธิบายทางนี้เพื่อเป็นรูปธรรม เพื่อให้สังคมจับต้องได้ ให้สังคมเห็นโครงสร้าง แต่ความจริงโครงสร้างฆ่ากิเลสไม่ได้หรอก
เราถึงบอกว่าวิทยาศาสตร์นี้ มันเป็นการที่ว่าทำให้ธรรมะนี้ชัดเจนขึ้น อธิบายธรรมะเป็นวิทยาศาสตร์ เวลาเราพูดก็บอกว่า กูนี่นะ ก็อธิบายธรรมะเป็นวิทยาศาสตร์นะมึง แต่วิทยาศาสตร์ฆ่ากิเลสไม่ได้นะมึง... ไม่ได้หรอกเว้ย.. แต่ก็ต้องอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อให้โลกเขารับรู้ได้ แต่พอเวลาทำเข้าไปถึงแล้วมันเป็นเรื่องธรรมนะ เห็นไหม
อย่างนี้เอ็งบอกว่าถูกไหม.. ก็ถูก ถ้าสอนผู้ปฏิบัติใหม่ก็ต้องสอนอย่างนี้.. นี่อย่างนี้ให้ถูกๆ แต่พอทำไป ทำไปแล้ว ถ้าคนมันเป็นนะ...
ดูสิ วิทยาศาสตร์มันเป็นอย่างนี้ เห็นไหม นี่รูป นี่กาย แล้วเวลาพิจารณาไปถ้าเป็นธรรมนะ อ้าว... ทำไมพลาสติกมันขยายได้ล่ะ ทำไมน้ำมันขยายได้... วิภาคะไง นี่อุคคหนิมิต พอวิภาคะมันขยายส่วน มันทำลายตัวมันเองแล้ว
แล้วถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ ทำไมทำลายตัวมันเองล่ะ? ก็ต้องทำลายตัวมันเองด้วยความร้อน ถ้าวิทยาศาสตร์นะ ก็เพราะความร้อนของมัน มันทำลายตัวมัน โอ้โฮ... อธิบายใหญ่เลย
ฉะนั้นที่บอกเป็นหรือไม่เป็น มันตรงนี้ไง ไอ้ที่มันตายอยู่นี่เพราะอะไร เพราะมันอธิบายธรรมะนี่เป็นโลก เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นสูตรตายตัว พอเป็นสูตรตายตัวนี่มันขยับไม่ได้ เห็นไหม โสดาบันอย่างไร สกิทาคาอย่างไร อนาคาอย่างไร มันทำลายจนเป็นพระอรหันต์อย่างไร
เยอะแยะไป ! โธ่.. หนังสือที่มันพูดๆ อยู่นี่ แหม...กูเห็นแล้วนะ ทุเรศฉิบหายเลยล่ะ
โยม ๔ : เหมือนกับปล่อยอารมณ์ ?
ที่ว่ายึดกับไม่ยึดอย่างไรก็ปล่อยไม่ได้ พอเอาอันอื่นมาปุ๊บอันเก่าก็ปล่อยเลย ..บังคับอารมณ์..
หลวงพ่อ : อย่างนี้ก็เปลี่ยนอารมณ์ไง เปลี่ยนอารมณ์ จับสิ่งนี้อยู่ วางสิ่งนี้แล้วมาจับสิ่งนี้
โยม ๔ : อารมณ์เก่าปล่อยทิ้งไปเลย แล้วไม่กลับไปดูอีกเลย
หลวงพ่อ : วางสิ่งนี้ เพราะนี่เป็นนามธรรม นี่คือจิต จิตมันแสดงตัวมันด้วยการ..
น้ำ... จะรู้ได้ต่อเมื่อมีสี จิต.. มันจะรู้ได้ต่อเมื่อมีความคิด ถ้ามีความคิดอยู่ มันอยู่ของมันอย่างไร พอเราเสวยอารมณ์ก็มีความคิดขึ้นมาแล้ว อย่างเช่นกินเผ็ดไง ซู๊ด... เผ็ดน่าดูเลย หรือกินร้อนไง แล้วถ้าไม่กินล่ะ... มันก็อยู่ของมัน มันก็มีของมัน !
โยม ๑ : กินน้ำลาย
หลวงพ่อ : เอ้อ.... มีทางออก เห็นไหม !
นี่ไงมันถึงซ้อนกันอยู่ โลกกับธรรมมันซ้อนกันอยู่ ตอนนี้ ในปัจจุบันนี้เขาอธิบายธรรมะเป็นโลกไง แล้วเขาก็ตื่นเต้นกันไง พอตื่นเต้นมันเลยทิ้งธรรมไปหมดไง ทิ้งสัจจะความจริงกันไง พอเอาธรรมะ เอาความจริง เอาเรื่องธรรมมาประกบคู่กันนะ ล้มกลิ้งเลย ฉิบหาย เผาบ้านตัวเองไปแล้ว แล้วกูจะอยู่ที่ไหนล่ะ ก็กูเผาบ้านกูไปแล้ว ทำอย่างไรล่ะ
ธรรมะเป็นธรรมชาติ... ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ เอ้อ.. กูเผาบ้านกูไปแล้ว แล้วก็บอกว่า เฮ้ย... บ้านกูอยู่นี่ อ้าว.. จริงเหรอ เลยไปไม่ถูกเลย
นี่ไงตรงนี้ไง เห็นไหม นี่คนไม่เป็นจะเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าคนเป็นเขาจะรู้ ว่าโลกก็คือโลก.. ธรรมก็ธรรม...
โยม ๔ : ตอนนี้โยมเลยเข้าใจที่โกรธ ที่ว่าติเตียนกันอยู่ แล้วอยู่ๆ ที่ว่า เขาปล่อยได้ แล้วอย่างนี้เขาก็ไปไม่ได้
หลวงพ่อ : ไปไม่ได้ ก็เพราะจิตนี่มันไปไม่ได้ ก็เหมือนกับ แหม... ใครมีปัญหากันนี่ทิ้งกันไม่ได้หรอก ถ้าบอกอโหสิกรรมต่อกัน..ทิ้ง เลิกกัน ! สบายใจ ไม่งั้นอู้ฮู...ไม่ได้หรอก ไม่ได้... ทิฐิ ! ความยึดนี่โอ้โฮ.. ร้ายกาจ
โยม ๑ : แต่ว่าผมว่า บางทีไม่ได้ปล่อย มันก็ยึดต่อเลย ที่มันเป็น มันเป็นอย่างนี้ครับ
โยม ๔ : ของเก่าถ้ามันยึด แล้วมันก็ปล่อยแล้ว
โยม ๑ : มันเพิ่ม มันไม่ได้ปล่อย
โยม ๔ : แบบคนที่ฆ่าตัวตาย ก็กำลังเศร้าเต็มที่เลย พอไอ้วันที่เวิลด์เทรดถล่มปุ๊บ อันนั้นหายเลย อ๋อ..เราก็เลยเข้าใจว่าไอ้ความยึดนี่มันร้ายนะ อย่างไรก็ไม่ปล่อย ใครมาบอกให้ปล่อย ก็ไม่ปล่อย
โยม ๑ : มันจะเพิ่ม
หลวงพ่อ : มันเป็นเวรเป็นกรรมนะ คนเรามีเวรมีกรรมต่อกันนะ เวลาเวรกรรมนี่เรียกสายบุญสายกรรม เวลากรรมมันให้ผล... อย่างที่ว่า พอมันหมดกรรมนี่ เฮ้อ ! เลิกกันได้นะ ถ้าไม่เฮ้อ ! นี่ยังอื๊ออยู่ แต่ถ้าวันไหน เฮ้อ ! เลิกเลย.. หมดเลย.. สบาย
สายบุญสายกรรม... หมดเวรหมดกรรมไง ถ้าไม่หมดเวรหมดกรรมนะ มีเศษมีเสี้ยว มันเหมือนก้อนกรวดในรองเท้า หินในรองเท้าเนาะ สะกิดอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าวันไหนออกแล้วนี่จบเลย มันเป็นความรู้สึก มันเป็นใจน่ะ
นี่ไงเวลาปฏิบัติมันมี อย่างทางโลก เห็นไหม เขาสร้างโลกกัน เราก็อยู่กับโลกอยู่กับวิทยาศาสตร์นี่แหละ เวลาเราพูดธรรมะนี่ โธ่.. เราก็พูดอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์นี่แหละ ต้องให้เห็นภาพชัดเจนเลย โอ้โฮ.. กูยกตัวอย่างขึ้นมาให้ทุกคนเห็นหมดเลย แต่นี่กูหลอกมึงนะ
นี่คือตัวอย่าง ! สินค้าตัวอย่าง ! แต่ถ้าความจริงนะ ปฏิบัติไปสิเดี๋ยวกูจัดการเอง แต่ถ้าไม่มีสินค้าตัวอย่างมาเลย... นี่ธรรมะเป็นนามธรรม แล้วเราจะสื่อกันอย่างไร เราจะสื่ออะไร ทีนี้พอเราสื่อออกมา แล้วคนไม่เป็นพอมันมาจับตรงนี้ปั๊บ มันก็บอกว่าตรงนี้เป็นธรรมแล้ว นี่คือแค่ตัวอย่าง... สินค้าตัวอย่างไม่ใช่ความจริง แต่ถ้าเราไม่เสนอตัวอย่างของธรรม
ฉะนั้นเวลาทำจริงๆ เห็นไหม เวลานิพพาน... ห้ามขยับเลยนะมึง ของจริงน่ะ ถ้าขยับผิดเลย นิพพาน ! นิพพาน ! ก็นิพพาน...
ถ้าอ้าปากมันเสวยอารมณ์ นี่มันเป็นสมมุติแล้ว แต่นี่บอกนิพพานนะ โอ้โฮ.. แม่งโม้ใหญ่เลยนะ โอ้โฮ... ไอ้นี่มันไอ้หม่ำไง นิพพานตลก !
ของจริงๆ นี่โธ่.. มันอยู่ที่พฤติกรรม ครูบาอาจารย์เราถึงเคารพกันมากไง ฉะนั้นเวลาพูดกัน พูดกันคำเดียว พล่ามๆๆ นั่นอะไร.. นิพพานอะไร... ไม่จริงหรอก
๑.ไม่จริง ๒. ถ้าไม่จริงเขา....
นี่มันยังดีนะ อย่างที่หลวงตาพูดนะเราก็คิดอยู่ หลวงตาบอก ผู้รู้มี คำว่าผู้รู้ มันเป็นเหมือนกับคัตเอ้าท์ไง เป็นการตรวจสอบสังคม เห็นไหม ให้สังคมมีหลักมีเกณฑ์ ถ้าไม่มีตรงนี้นะ เละเลย... ผู้รู้นี่แหละ ทำให้สังคมนี้เป็นปกติ ไม่ให้ตื่นไง แต่ถ้ามันเสนออย่างนั้นไป แล้วก็แห่กันไป แห่กันไป..
ผู้รู้เท่านั้นที่ยับยั้งได้ ถ้าไม่มีผู้รู้นี่ยับยั้งไม่ได้หรอก จะเอาข้อมูลสิ่งใดมายับยั้ง แล้วต่อไปมันก็จะน้อยไปเรื่อยๆ
มีอะไรอีกไหม ถ้าไม่มีจบแล้ว เอวัง