เทศน์บนศาลา

นานาสาระธรรม

๑๖ ก.ย. ๒๕๕๓

 

นานาสาระธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต


เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


 

ตั้งใจฟังธรรมนะ ชีวิตของคนเรามันไม่แน่นอนหรอก เราอย่าคิดว่าเราจะออกพรรษาแล้วเราจะทอดกฐินกันนะ อนาคตนี่มันยังมีสิ่งใดๆ ไม่แน่นอนทั้งสิ้น ฉะนั้นวันคืนล่วงไปๆ เห็นไหม ชีวิตนี้มีคุณค่า ในปัจจุบันนี้เราทำสิ่งใด เราคิดคาดหมายไปแต่อนาคต ว่าออกพรรษาเราจะธุดงค์ นี่ไงเราประพฤติปฏิบัติกัน เราคิดแต่อนาคต แล้วปัจจุบันนี้รอวันไง รอวันแบบคนสิ้นท่า เห็นไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานะ นี่ ๖ ปี นั่นล่ะถึงจะบอกว่าไม่เป็นสาระ แต่ก็ยังมีความขยันหมั่นเพียร มีการกระทำด้วยบุญญาธิการ ด้วยการศึกษา ด้วยความขยันหมั่นเพียร เห็นไหม ขยันหมั่นเพียรทำทุกอย่าง ทำด้วยความสัจจะด้วยความจริง

แต่ของเรานี้ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา วางธรรมและวินัยไว้ เราจะเอาจริงเอาจังกันนะ เราเกิดมา เห็นไหม เราเกิดมาเป็นมนุษย์ในพุทธศาสนา เกิดมามีความทุกข์นะ เกิดมามีความทุกข์ แต่เพราะเรามีสติมีปัญญา

ขณะที่มีสติปัญญาเกิดมานี่ดูสิ ในครอบครัวๆ หนึ่ง พ่อแม่เวลามีลูกเกิดขึ้นมาก็ต้องมีความร่มเย็น มีการคาดมีการหวัง มีความสุขมีความปรารถนาทั้งนั้นแหละ แต่โดยสัจจะของโลก โดยสมมุติสัจจะ สัจจะเป็นความหวัง

ดูสิในครัวเรือนใด ถ้ามียังมีเด็กมีเสียงหัวเราะ มีเสียงเด็กเกิดใหม่ ครอบครัวนั้นจะยั่งยืน แต่ถ้าครอบครัวใดที่โรยรา มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ มีแต่โรยราไป

ฉะนั้นเวลามีมนุษย์เกิดขึ้นมา สังคมเขามีการคาดหมาย มีความหวัง แต่เราเกิดขึ้นมาแล้วนี่มันเป็นความจริงไหมล่ะ เกิดขึ้นมามันก็เป็นสมมุติสัจจะนั้นไง แต่ชีวิตความเป็นจริงของเราล่ะ...

เราเกิดมาเป็นมนุษย์ในพุทธศาสนา เห็นไหม เรามีการศึกษา มีประเพณีวัฒนธรรม เราถึงมีความเชื่อมีความศรัทธา พอมีความเชื่อมีศรัทธาแล้ว ถ้ามีการรื้อค้น มีการค้นคว้า มีการศึกษา... มีการศึกษาเห็นไหม

นี้เวลาครูบาอาจารย์เราท่านบวชมา เวลาบวชขึ้นมาแล้วทุกคนก็อยากจะไปสวรรค์ ทุกคนอยากมีความสุข อยากสมความปรารถนา แล้วพอมีความปรารถนานะ สิ่งที่ดีขึ้นมาๆ ก็จะไปพรหมดีกว่า... แต่ถึงจะไปพรหมขนาดไหน มันก็มีการสิ้นอายุขัย ถ้ามันมีการสิ้นอายุขัยแล้วไปที่ไหนล่ะ.. ก็ไปนิพพาน เห็นไหม

คนเราเวลาศึกษาไป เวลามีการค้นคว้าแล้ว มันมีความปรารถนาสิ่งใดที่ดีกว่า เราคัดเลือกเราแยกแยะ จะไปสิ่งที่ดีกว่านั้น สิ่งที่ดีกว่าคือทุกคนต้องปรารถนาแต่ความเจริญรุ่งเรือง ความที่ดีกว่า สิ่งที่ดีกว่า เห็นไหม นี่คือความปรารถนา

เราเกิดมาเป็นชาวพุทธในพุทธศาสนา เรามีการศึกษามีการค้นคว้า และได้ฟังธรรม สิ่งนี้ทำให้เรามีสติปัญญา.. ทำให้เรามีสติปัญญาว่าชีวิตนี้คือสิ่งใด นี่พูดถึงเรื่องศาสนานะ ศาสนาจะตอบสนองเรื่องชีวิต ว่าชีวิตนี้มาจากไหน.. เกิดมาทำไม.. เกิดมาแล้ว เวลาตายไปแล้วไปไหน.. นี่พูดถึงหลักของศาสนา !

แต่ถ้าเป็นลัทธิ หรือความเชื่อต่างๆ ลัทธิมันก็เป็นแค่ลัทธิเท่านั้นแหละ สิ่งที่เป็นความเชื่อ แต่จะเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริงยังไม่สามารถเข้าใจได้

แต่ในพุทธศาสนา.. ศาสนาสิ่งนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะเหตุใดล่ะ เกิดขึ้นมาได้เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ! ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่ เห็นไหม สาวก-สาวกะ... ทั้งๆ ที่มีหลักเกณฑ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ ยังออกนอกลู่นอกทางกันไป

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ไม่มีนะ ! ไม่มีธรรมวินัย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขายกย่องเยินยอปอปั้นว่าเจ้าชายสิทธัตทะมีความรู้เสมอเรา.. มีความรู้เสมอเรา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ปรารถนา เพราะมันเป็นข้อเท็จจริงในหัวใจ

นี่! คนที่มีสาระคุณ คนที่มีคุณธรรม คนที่สร้างสมบุญญาธิการมา มันแยกมันแยะ มันมีความเข้าใจได้ เห็นไหม นี่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา สิ่งที่ไม่มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พยายามรื้อค้นขึ้นมา ด้วยสัจจะด้วยความจริง มันมีสัจจะมีความจริงขึ้นมา เห็นไหม

เวลาจิตสงบขนาดไหนเป็นฌานสมาบัติไง อยู่กับอาฬารดาบส สิ่งนั้นมันก็เข้าใจได้.. คนที่ทำสมาธิ ทำฌานสมาบัติ ทำความสงบร่มเย็นของใจ จะเข้าใจเรื่องอย่างนี้ทั้งหมด ! มันจับต้องได้ ดูสิความรู้สึกนี่มันจับต้องได้ จับต้องด้วยอะไร จับต้องด้วยสติ.. สติปัญญานี่เรามีความรู้สึกได้ เราจับต้องของเราได้ เราสัมผัสของเราได้

ความสัมผัส.. ดูสิเวลาเราโกรธ เวลาเราโลภ เวลาเราหลง นี่เราก็เข้าใจได้ ! เราสัมผัสของเราได้ เพราะมันสัมผัสเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะว่าความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นเรา... พอความโกรธ ความโลภ ความหลงเป็นเรา เราก็เลยรวมเป็นอารมณ์ความรู้สึกอันนั้นไป เห็นไหม แต่เราก็เข้าใจได้ เราก็ได้สัมผัสเหมือนกัน แต่สัมผัสด้วยการขาดสติ สัมผัสด้วยอารมณ์ความรู้สึก สัมผัสด้วยสัญชาตญาณ ด้วยสัญญาอารมณ์

แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เห็นไหม มีสติปัญญาขึ้นมาแล้ว จิตสงบ.. มันก็รู้ว่าสงบ จิตเวลามันเป็นฌานสมาบัติ ก็รู้ว่าเป็นฌานสมาบัติ มันแตกต่างมันรู้เองได้ แต่ถ้าเราเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะต่ำต้อย นี่มันไม่รู้สิ่งใดเลย ไม่มีสิ่งใดเลย เป็นเรื่องไร้สาระด้วย การปฏิบัตินี้ ปฏิบัติด้วยความไร้สาระ ! ไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์ขึ้นมาเลย เพราะอะไร เพราะจิตใจมันไร้สาระ

เวลาคนมันจะดี มันจะดีที่หลักเกณฑ์ของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา เห็นไหม มันจะเป็นสาระขึ้นมาทั้งหมด สิ่งนี้เป็นสาระเพราะเหตุใด สิ่งที่เป็นสาระเพราะใจดวงนั้นมีคุณค่า.. มีคุณค่า เห็นไหม ใจดวงนั้นมีสติมีปัญญา มันคัดเลือกมันแยกแยะ มันเลือกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกไง

ถ้ามันเลือกสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกนะ ดูสิอย่างเช่นเชื้อโรค เราไม่ต้องการปรารถนาให้มันเข้าตัวเราหรอก เราต้องการแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์กับร่างกายนี้ นี่ทุกคนก็ปรารถนาอย่างนั้น เห็นไหม เจ็บไข้ได้ป่วย ก็หวังปรารถนายามาเพื่อรักษาร่างกายนี้ให้มันหายเจ็บไข้ได้ป่วย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตใจของเรามันสัมผัสได้ ว่าสิ่งใดเป็นคุณเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ แต่เพราะมันมีจิตใจที่มันอ่อนแอ จิตใจที่ไม่มีสติปัญญา ไม่มีอำนาจวาสนาบารมี มันถึงเป็นเรื่องไร้สาระ ทำแต่เรื่องไร้สาระ ! มันไร้สาระเพราะเหตุใด ไร้สาระเพราะว่าใจมันไม่มีหลักมีเกณฑ์ มันไม่รู้ว่าสิ่งใดดีหรือสิ่งใดชั่ว สิ่งใดเป็นประโยชน์กับเราหรือไม่เป็นประโยชน์กับเราไง เราเห็นประโยชน์แต่เปลือกๆ เห็นประโยชน์แต่ทางโลกไง

ดูสิเวลาทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ถ้าเราได้สมความปรารถนา ได้ตามกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สิ่งนี้มันว่าเป็นประโยชน์กับมัน เห็นไหม นี่ประโยชน์อย่างหยาบๆ แต่ความจริงมันสร้างเวรสร้างกรรมทั้งนั้นเลย ถ้าสร้างเวรสร้างกรรมขึ้นมา นี่ไงสิ่งนี้มันเหยียบย่ำหัวใจไง นี่เพราะว่าอะไร เพราะวุฒิภาวะต่ำ พอวุฒิภาวะต่ำ ก็เห็นผลประโยชน์แค่สัญญาอารมณ์ เห็นผลประโยชน์แค่ความนึกคิด มันไม่เห็นผลประโยชน์ของใจ ! ไม่เห็นผลประโยชน์ของใจ

เพราะถ้าเวลาใจมันละเอียดอ่อนนะ “มันเกิดมาจากไหน.. มนุษย์เกิดมาจากไหน” นี่ดูสิ มนุษย์เกิดมาจากเวรจากกรรมนะ เกิดมาจากเวรจากกรรมเพราะอะไร เพราะดูสิเวลาเกิดมาแล้ว เห็นไหม ในร่างกายเราก็มีสิ่งมีชีวิต ในร่างกายมนุษย์ก็เป็นสิ่งมีชีวิต เป็นธาตุ ๔ เราเกิดมานี้ได้ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕

ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ นี้... ธาตุ ๔ คือร่างกายของมนุษย์ไง แล้วเราเป็นมนุษย์นี่เป็นธาตุ ๔ เหมือนกัน แล้วธาตุ ๔ มันมาจากไหนล่ะ มันก็สืบทอดมาจากไข่ของแม่ สืบทอดมาจากสิ่งที่มีชีวิต

ถ้าสืบทอดมาจากสิ่งที่มีชีวิตนะ ดูสิธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ.. ดิน น้ำ ลม ไฟของโลก มันก็เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ดูสิเวลาฝนตกแดดออก ฝนนี่มันชะมันทำลายล้าง ทำจนดินถล่มจนเสียชีวิตไป

นี่ไงธาตุ ๔ เหมือนกัน ธาตุ ๔ จากข้างนอก เห็นไหม แต่ธาตุ ๔ ของเรานี้มันได้มาจากเวรจากกรรม แล้วจากเวรจากกรรมจากไหนล่ะ.. จากเวรจากกรรมจากพ่อจากแม่ไง ถ้าไม่มีพ่อไม่มีแม่ ไม่มีแดนเกิดแล้วเราเอาอะไรมาเกิด

นี่มันเกิดมานี้ ธาตุ ๔ ก็คือธาตุ ๔ แต่มันมีเวรมีกรรมของมันมา ถ้ามีเวรมีกรรมของมันนะ แล้วจิตใจนี้มันมาจากไหนล่ะ มันมาจากกรรม มาจากสิ่งที่สร้างกรรมมา เห็นไหม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเกิดนะ เวลาเกิดที่สวนลุมพินี “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เราจะไม่เกิดอีกแล้ว” นี่เพิ่งเกิด ! นี่ไงวุฒิภาวะ เห็นไหม ขนาดเพิ่งเกิดยังมีบุญกุศลขนาดนั้นนะ นี่สร้างสมบุญญาธิการมาสมบูรณ์ขนาดนั้น เวลาออกประพฤติปฏิบัตินี่จะไปกับเจ้าลัทธิต่างๆ ไปศึกษากับเขานี่ ๖ ปีนะ ทั้งๆ ที่มีสาระนะ จิตใจนี้เป็นหลักเป็นเกณฑ์

พระโพธิสัตว์.. พระโพธิสัตว์ เห็นไหม เวลาเกิดขึ้นมา นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้เองบอกว่า “โลกธาตุหวั่นไหวมีอยู่ ๓ คราว”

คราวหนึ่งคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิด..

อีกคราวหนึ่งคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้..

และอีกคราว คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงอายุสังขารจะปรินิพพาน.. โลกธาตุนี้ไหวหมดเลย นี่ผู้มีบุญมาเกิด ! คนมีอำนาจวาสนามาเกิด

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นมานี้ เห็นไหม โลกเขาร่มเย็นเป็นสุขไปด้วยอำนาจวาสนาบารมีของผู้มีบุญกุศล นี่จิตใจขนาดนั้นนะ ดูเวลาครองเรือนสิ อย่างเช่นนางพิมพา เวลาสามเณรราหุลเกิดแล้วนี่ โอ้โฮ.. มันทุกข์มันร้อน.. มันทุกข์มันร้อนนะ ละล้าละลังนะ เวลาจะออกบวช เวลาจะออกจากราชวัง ละล้าละลัง.. ละล้าละลังตลอดเวลา เพราะอะไร เพราะความผูกพันไง

ดูสิคนดี คนที่มีวุฒิภาวะมาเกิดขนาดนั้น เพราะคนรับผิดชอบไง รับผิดชอบมากนะ ต้องเสียสละนางพิมพา ต้องเสียสละสามเณรราหุลออกไป เพื่อออกไปหาโมกขธรรม เพราะจิตใจมันสร้างสมบุญญาธิการมา มันจะออกหาสิ่งที่เป็นสัจธรรม เห็นไหม จะออกค้นคว้าเพื่อความพ้นจากทุกข์ เพื่อพ้นจากการเกิดแก่เจ็บตาย

นี่ไง ความปรารถนาของใจมันปรารถนา รักก็รัก ห่วงก็ห่วงกันทั้งนั้นแหละ แต่เวลาจะออกไปนี่ละล้าละลัง เห็นไหม มันมีอารมณ์ความรู้สึกหลายอารมณ์ความรู้สึกไง อารมณ์ความรู้สึกหนึ่งก็อยากจะพ้นจากทุกข์ อารมณ์ความรู้สึกหนึ่งก็ไม่อยากเกิดแก่เจ็บตาย อารมณ์หนึ่งก็รู้สึกความผูกพัน นี่ละล้าละลัง

พูดถึงเวลาคนจะออกไปค้นคว้า นี่ความพร้อมของใจ คนที่มีสาระ คนที่มีความรับผิดชอบ มีทุกอย่างพร้อม แต่มันก็เป็นเรื่องของโลก มันเป็นเรื่องของโลกเพราะสร้างบุญญาธิการมาจากโลก นี่พระโพธิสัตว์ก็เคยสร้างสมบุญญาธิการมาจากโลก พระเวสสันดรต่างๆ ก็เกิดมาในโลกนี่แหละ... เกิดมาจากโลก เห็นไหม

เวลาสร้างสมบุญญาธิการมาจากโลก บุญสูงส่งก็มาจากโลกมาจากวัฏฏะ... จากวัฏฏะแล้วจะพ้นจากวัฏฏะ สิ่งใดจะพ้นจากวัฏฏะล่ะ เห็นไหม คนมีสาระ ทำสิ่งใดก็เป็นสาระ.. คนไม่มีสาระ ทำสิ่งใดก็ไร้สาระ..

นี่ขนาดมีสาระขนาดนี้ แต่ถ้ายังไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มันก็มีสาระ แต่มีผลใดที่เป็นสาระสิ่งใดล่ะ ก็ต้องออกไปค้นคว้า ออกไปศึกษา เพื่อจะให้เป็นคุณธรรมขึ้นมาในหัวใจ แล้วสิ่งที่จะเป็นคุณธรรมขึ้นมาในหัวใจได้ นี่ทดสอบมาทั้งนั้น ทดสอบมาทุกอย่าง คนมีสาระทำสิ่งใด ถ้ามันยังไม่เป็นสัจธรรม มันก็ไม่ได้ของมัน เห็นไหม ไม่เป็นจริงขึ้นมา

นี่ความจริง ! ความจริงก็คือความจริง ความปลอมก็คือความปลอม สิ่งต่างๆ ทำเหมือนกัน นี่ดูสิอย่างเช่นการกระทำที่ทางโลกเขาทำกัน เห็นไหม ทำเหมือนกัน แต่อันหนึ่งทำผิด อันหนึ่งทำถูก

อันนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อสิ่งนั้นยังไม่มี เพราะวุฒิภาวะของโลก เพราะวุฒิภาวะของการเกิดในวัฏฏะ บุญกุศลส่งเสริมมาขนาดนั้น ในผลของวัฏฏะ มันก็เป็นวัฏฏะ นี่จับสิ่งใดมันก็เป็นผลของวัฏฏะ

“ผลของวัฏฏะคือมันเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรเป็นความจริงสักอย่างหนึ่ง”

แล้วอะไรเป็นจริงล่ะ.. โลกมันเป็นจริงไม่ได้ สสารเป็นความจริงไม่ได้ แล้ววัตถุเป็นความจริงไม่ได้ แต่เราก็เกิดมาจากวัตถุ เกิดมาจากสสาร เกิดมาจากวัฏสงสาร มันก็อยู่ในวัฏสงสาร นี่ศึกษาขนาดไหนก็เป็นการศึกษาเรื่องของโลก เห็นไหม แต่นี่สาระ.. สาระคุณของผู้ที่มีบุญญาธิการ สาระคุณของผู้ที่ค้นคว้า สาระคุณของผู้ที่มีการกระทำ

คนมีสาระ ทำสิ่งใดก็เป็นสาระ มีสติปัญญา นี่สิ่งที่ไม่มี.. ไม่มีคือว่าสัจธรรมไม่มี จะทำความสงบของใจขนาดไหน มันก็เป็นฌานสมาบัติ เพราะมันเป็นเรื่องของโลก มันมีอยู่แล้วโดยดั้งเดิม จะทำสิ่งใดมันก็เป็นสมาธิ ปัญญาก็เป็นปัญญาโลกๆ ปัญญาก็เป็นปัญญาของโลก ปัญญาที่ศึกษามานี้ ศึกษามาเพื่อความพร้อมที่จะเป็นกษัตริย์

ปัญญาก็คือปัญญา ปัญญาโลกเทียบเคียงขนาดไหน มันก็เทียบเคียงแบบนั้นแหละ แต่เวลาย้อนกลับเข้ามาถึงใจ เวลาภาวนาขึ้นมาจากความจริง นี่สาระอันนี้สำคัญ ! นี่สาระของใจ ใจที่มีสาระ

ถ้าใจที่มีสาระ พอเวลาย้อนกลับมาถึงหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง นี่ตรัสรู้ เห็นไหม ย้อนกลับมาอานาปานสติ กลับมาทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบขึ้นมา มันมีความร่มเย็นขึ้นมาแล้วย้อนกลับ ย้อนกลับทวน กระแสกลับ เพราะมันไม่ส่งออก แต่ที่แล้วๆ มานี่มันส่งออกหมด

ส่งออกคือเวลาจิตมันสงบขึ้นมามันออกรู้ ออกต่างๆ เป็นนิมิต เป็นสิ่งต่างๆ มันเป็นเรื่องส่งออกหมดเลย มันไม่ทวนกระแส แต่เวลาอานาปานสติ เห็นไหม กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก และมีสติปัญญา... แล้วมีสติปัญญาเพราะเหตุใด สติปัญญาเพราะไปศึกษาไปค้นคว้า ถ้าเรามีความสงสัยที่ไหนที่จะมีสิ่งที่ดีกว่า เราไปพิสูจน์ตรวจสอบมาหมดแล้ว เห็นไหม

นี่ไงเพราะมันไปพิสูจน์ตรวจสอบมากับเจ้าลัทธิต่างๆ ใครที่มีคุณค่า ใครที่มีชื่อเสียงเกียรติศัพท์ เกียรติคุณขนาดไหน ก็ได้ไปศึกษามาหมดแล้ว นี่สิ่งที่ออกไปจากใจเรา มันถึงไม่มีสิ่งใดที่จะมีความลังเลสงสัยอีกแล้ว สิ่งที่อยู่ข้างนอก สิ่งที่อยู่กับผลของวัฏฏะ มันไม่มีสิ่งใดที่จะมีคุณค่าไปอีกแล้ว เพราะได้ไปศึกษาได้ไปตรวจสอบมาหมดแล้ว

นี่ย้อนกลับ... ย้อนกลับมาอานาปานสติ ย้อนกลับมาที่จิตสงบเข้ามา มันพึ่งอะไรก็ไม่ได้ มันต้องพึ่งหัวใจของเรา เห็นไหม ถ้าพึ่งหัวใจของเรา มันย้อนกลับมาที่ใจของเรา ถ้าย้อนกลับมาที่ใจของเรา นี่บุพเพนิวาสานุสติญาณ เพราะอะไร เพราะไม่มีปัญญา ไม่มีสิ่งใดค้นคว้า ไม่มีปัญญา สิ่งใดๆ ยังไม่เกิด

พอจิตเป็นอานาปานสติ จิตที่ไม่ส่งออก จิตที่มันมีสัมมาสมาธิ จิตที่มีกำลังของตัวเอง แล้วตัวเองรื้อค้นข้อมูลของตัวเอง นี่ไง มันถึงรู้ข้อมูลของตัวเองได้

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว กาฬเทวิลเป็นเพื่อนกับพระเจ้าสุทโธทนะ เขาก็ระลึกอดีตชาติได้เหมือนกัน กาฬเทวิลก็ระลึกอดีตชาติได้ ๔๐ ชาติ อนาคตได้ ๔๐ ชาติเหมือนกัน ไปนอนบนพรหมได้เหมือนกัน เห็นไหม แต่เขาทำสิ่งใดได้ล่ะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมานี่โลกธาตุหวั่นไหว

“เราเกิดหนหนึ่ง เราตรัสรู้หนหนึ่ง เราปลงอายุสังขารหนหนึ่ง โลกธาตุจะหวั่นไหว”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นมานี่โลกธาตุหวั่นไหว กาฬเทวิลนอนอยู่บนพรหมยังต้องลงมาดูเลยล่ะ “มันเกิดอะไรขึ้น มันเกิดอะไรขึ้น” สิ่งที่มันเกิดอะไรขึ้นนี้ เพราะเจ้าชายสิทธัตถะได้เกิดแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดแล้ว แต่ก็เขาขอมาดูพุทธลักษณะ กาฬเทวิลทั้งดีใจและเสียใจ ดีใจคือว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดแล้ว จะได้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปข้างหน้า แต่เสียใจนี้ เสียใจเพราะตัวเองจะหมดอายุขัย

นี่ไงเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำหนดอานาปานสติ.. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนอดีตชาติได้ กาฬเทวิลก็ทำได้ ! กาฬเทวิลก็ทำได้ เห็นไหม ทำได้แต่กาฬเทวิลไปไม่ได้ ไปไม่ได้เพราะอะไร เพราะนี่ไงมันไม่มีสาระคุณเท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีสาระคุณเท่ากับเจ้าชายสิทธัตถะ ! เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมา “บุญญาธิการ” การสร้างสมมาอันนั้นมันแตกต่างกัน

แล้วนี่โลกเขาก็มี สิ่งต่างๆ มันพิสูจน์ได้ มันตรวจสอบได้ ถ้ามันตรวจสอบนะ คือบุพเพนิวาสานุสติญาณ นี่ไงกาฬเทวิลก็ทำได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทำได้ แต่ยังไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ มันยังไม่เข้าถึง เห็นไหม

นี่ไงสาระอันละเอียด สาระที่เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าสาระอันละเอียดมันมีของใจขึ้นมา นี่สิ่งนี้ก็ไม่ติด คือมันไม่ใช่ไง มันไม่ใช่เพราะอะไร เพราะนี่ถึงรู้อดีตชาติขนาดไหน สิ่งต่างๆ นี้มันเป็นเรื่องผลของวัฏฏะ

สิ่งที่มี... คือจิตนี้เวียนตายเวียนเกิดเป็นผลของวัฏฏะ จิตนี่มันเกิดมันตาย มันมีเวรมีกรรมของมัน มันก็เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เกิดในนรกอเวจี เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นสัตว์นรก เกิดต่างๆ

นี่ไงของมันมี ! เพราะจิตมันเกิด.. เกิดในวัฏฏะ เห็นไหม นี่ผลของวัฏฏะ.. ของมันมี ! ของมันมี แต่พวกเราคนไร้สาระ ! ไอ้พวกไร้สาระไม่รู้สิ่งใดเลย มันอยากรู้อยากเห็น แต่อยากรู้อยากเห็นเพราะอะไร เพราะวุฒิภาวะมันไม่มี อยากรู้อดีตชาติ อยากรู้ต่างๆ แต่ไม่รู้ ! ไม่รู้

นี่ไงทั้งๆ ที่ของมันมี... ของมันมีอยู่กับจิต เพราะจิตเกิดจิตตายนี้จิตได้สะสมมา สิ่งนั้นถ้าไม่สะสมมา มันจะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้อย่างไร พอมันเกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมาแล้ว ทำไมวุฒิภาวะมันแก่มันอ่อนแตกต่างกัน คนที่เขามีวุฒิภาวะของเขา เขามีจุดยืนของเขา เขาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ของเขา เขาเป็นสุภาพบุรุษ รู้เหตุผิดชอบชั่วดี รู้สิ่งใดเป็นคุณและไม่เป็นคุณ สิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ ไม่ใช่ไหลไปตามอารมณ์ความรู้สึก เป็นพาลชน ทำลายเขาไปทั่ว โดยที่ตัวเองไม่รู้จักตัวเอง เห็นไหม

นี่ไงสิ่งที่เป็นสาระและไม่เป็นสาระ มันแตกต่างกันตรงนี้ ! แตกต่างที่คนมีสาระเขามีหลักมีเกณฑ์ของเขา เขาเป็นสุภาพบุรุษ เขารู้ว่าสิ่งใดควรและไม่ควร สิ่งใดเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ถ้ามันเป็นประโยชน์ นี้มันเป็นประโยชน์กับใจเรา

นี่ไงของมีอยู่แต่เรารู้ไม่ได้ แต่ของมีอยู่ กาฬเทวิลรู้ได้ ของมีอยู่ เจ้าชายสิทธัตถะรู้ได้ แต่รู้ได้อย่างไรล่ะ ก็รู้ได้ด้วยผลของวัฏฏะ มันเป็นผลของวัฏฏะใช่ไหม

“การเกิดและการตายเป็นผลของวัฏฏะ”

สิ่งที่มีอยู่.. พอจิตมันสงบเข้าไป มันก็ไปเห็นข้อมูลของมัน มันไปรับรู้ของมันด้วย ! ด้วยข้อเท็จจริง ด้วยความเป็นจริง แต่เพราะมันมีข้อเท็จจริง ตามความเป็นจริงเป็นทางวิชาการไว้ ไอ้พวกไร้สาระมันก็เทียบเคียง นึกเคียง ว่าเอา คิดเอา คำนวณเอา แต่ไม่เป็นความจริง เพราะมันเป็นเรื่องที่ไร้สาระ

คนไม่มีสาระ ทำแต่เรื่องที่ไร้สาระ แต่ความจริงมีอยู่ พอความจริงมีอยู่ นี่คนหนึ่งเทียบเคียงกันได้ลำบาก เห็นไหม คนเทียบเคียงกันไม่เป็น เว้นไว้แต่ ! เว้นไว้แต่ครูบาอาจารย์ของเรา เว้นไว้แต่ผู้ที่มีสาระคุณ ผู้ที่มีสาระคุณก็ต้องย่ำตามรอยเท้าอย่างนี้มา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาเป็นพระอรหันต์ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าถึงจุดหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน !

ในเมื่อความรู้เสมอกัน ความรู้เท่ากัน พระอรหันต์ก็คือพระอรหันต์ สิ่งที่รู้เหมือนกันนี้ เห็นไหม ถึงบอกว่า “ผู้รู้จริงมี !” ผู้รู้จริง ผู้ทำตามความเป็นจริงนี้มี สิ่งที่กระทำมานี้เป็นบุพเพนิวาสานุสติญาณนะ

แล้วสิ่งที่ไม่ใช่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ตื่นเต้นไปกับสิ่งใด เพราะว่าสิ่งที่ตรวจสอบมากับโลก.. โลกนี้ได้ตรวจสอบ ได้ไปทดสอบกับเขามาทุกๆ สถานที่หมดแล้ว เพราะว่าเกจิอาจารย์ หรือผู้ที่มีความรอบรู้เป็นศาสดา เป็นเจ้าลัทธิต่างๆ นี่ไปศึกษามาหมดแล้ว เห็นไหม โลกมันถึงไม่มี !

การประพฤติปฏิบัติทางโลก มันเป็นการประพฤติปฏิบัติของผู้ไร้สาระ ! เพราะสาระคุณของเขาไม่มี ! จิตใจของเขาได้สร้างบุญกุศลมา ได้บำเพ็ญเพียรมา แต่ไม่เข้าถึงหลักการ มันถึงเข้าถึงสาระความจริงอันนี้ไม่ได้ แล้วกำหนดต่อไป จิตดึงกลับมาเพราะจิตมีเหตุมีผล มีสาระของจิตดวงนั้น

นี่ย้อนกลับมา... ย้อนกลับมาสู่ความสงบที่ลึกซึ้งเข้าไป สิ่งที่เป็นบุพเพนิวาสานุสติญาณ คือกระบวนการของจิตที่เป็นผลของวัฏฏะ ที่เป็นการเกิดและการตายมาตลอด เห็นไหม การเกิดและการตาย สิ่งนั้นเป็นอดีต แล้วปัจจุบันคือเราใช่ไหม ปัจจุบันคือปัจจุบัน นี่สิ้นสุดกระบวนการของข้อมูล ก็คือมาเป็นเรา แล้วอนาคตที่จะตายไปล่ะ

ถ้ากระบวนการของจิตมันไม่มีกระบวนการกระทำที่มันสิ้นสุดไป กระบวนการของจิตมันก็จะไปเกิดต่อไปข้างหน้า เพราะมันไม่มีสิ่งใดบุบสลาย จิตไม่เคยบุบสลายจิตเป็นจิต ! จิตเป็นจิต มีบุญกุศลเป็นสมบัติของจิตนั้น ถ้าจิตนั้นยังมีแรงขับ ยังมีอำนาจวาสนา ยังมีผลบุญผลกรรมอยู่ มันจะต้องไปตามกำลังของเขา นี่ไงถ้าไม่สิ้นสุด เห็นไหม จุตูปปาตญาณ เห็นจิต.. ถ้ามันเป็นตามกระบวนการของมัน ต้องไปตามชาติของมัน ตามแต่เหตุและผลของเขา

นี่มันเป็นข้อเท็จจริง ! ถ้าเป็นข้อเท็จจริง มันก็ไม่สิ้นสุด จากชาติหนึ่งๆ มันก็จะไปของมัน อนาคตจะมีของมัน ถ้ามันไม่มีสิ่งนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ไม่ได้ว่าพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ข้างหน้า อนาคตวงศ์จะมาอีก ๑๐ องค์

นี่แม้แต่พระพุทธเจ้า อนาคตมันก็มีของมันอยู่แล้ว ที่มีอยู่แล้วเพราะเหตุใด มีอยู่แล้วเพราะได้สร้างสมบุญญาธิการมาจนสมบูรณ์ของเขา แล้วสร้างมาจากไหน.. สร้างมาจากอดีต... สร้างจากอดีตมานี่คือการกระทำของเขา ถ้าอย่างนั้นนี่ดึงกลับ ! ดึงกลับ นี่ข้อมูลที่รู้นะ ข้อมูลที่เป็นผลของวัฏฏะ

ในเมื่อมีผลของวัฏฏะถึงเกิดมาเป็นเรา ผลของวัฏฏะทำให้จิตนี้มาเกิดเป็นปัจจุบัน แล้วอนาคตล่ะ อนาคตที่มันจะเป็นไป นี่คือสิ่งที่เป็นไป ! แต่ถ้าไม่ไปล่ะ.. ถ้าไม่ไปล่ะ... กระบวนการที่เขาสร้างสมมา นี่ย้อนกลับมาในปัจจุบัน มันแก้กันที่นี่

“นี่สาระที่แท้จริง ศาสนาพุทธอยู่ที่นี่ ศาสนาพุทธอยู่ที่การกระทำ”

พุทธศาสนาจะเกิด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรมที่นี่ ถ้าตรัสรู้ธรรมที่นี่ เห็นไหม นี่ย้อนกลับมาที่อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.. ในปัจจุบัน ทุกข์ มันเป็นความทุกข์ไหม จะดีจะชั่วขนาดไหน ถ้ามีการขับเคลื่อนไป มีการกระทำ มันมีผลตอบสนองทั้งนั้น นี่คือการหมุนไป เห็นไหม

แล้วย้อนกลับมาในปัจจุบัน มันมีเหตุใดมันถึงหมุนไปล่ะ เพราะมันมีภวาสวะ มันมีภพ มันมีฐีติจิต มันมีปฏิสนธิวิญญาณ มันมีอยู่ของมัน ของมันมีอยู่ทั้งนั้น มีอยู่ตั้งแต่กระบวนการที่เกิดตายมาเป็นพันธุกรรมแล้ว มีอยู่.. ถ้าไม่อย่างนั้นจะไปข้างหน้า มีอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ในจิตที่มันนิ่งอยู่ มีอยู่ในกระบวนการของมัน แล้วย้อนกลับมาทำลาย ทำลายที่สิ้นสุดกระบวนการทั้งหมด เห็นไหม นี่ไงทำลายภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายสิ่งที่อยู่ทั้งหมด พอทำลายแล้วจบสิ้นกระบวนการ พอจบสิ้นกระบวนการแล้ว...

“สิ่งนี้เป็นวิมุตติสุข เป็นสมบัติของผู้ที่มีการกระทำ” สิ่งที่มีการกระทำ นี่ความเป็นจริงมี เห็นไหม

นี่สาระคุณ ! สาระนะ สาระที่การกระทำ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำมา.. ทำมาจนเป็นศาสดาของเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วพบพุทธศาสนา เรามีความเชื่อมีความศรัทธา ถ้ามีความเชื่อความศรัทธา สิ่งใดที่เราทำนะ “มันเป็นนานาสาระธรรม”

นานาสาระ เห็นไหม ตั้งแต่เรามีความเชื่อมีศรัทธา พอมีความเชื่อความศรัทธา มันแสวงหามันค้นคว้า มีสติมีปัญญา มันจะเป็นสาระคุณทั้งหมด แม้แต่มีสติมีการเคลื่อนไหว เราฝึกสติของเรา เรามีการเคลื่อนไหว มีความรับรู้ เห็นไหม นี่ท่องบทสวดมนต์ ทำบุญกุศลต่างๆ นี่ถ้าเรามีสติ มันจะเป็นสาระคุณ !

นานาสาระ.. มันมีนานาสาระ ในการประพฤติปฏิบัติของคน ในจริตนิสัยของคน มันแตกต่างหลากหลาย ความแตกต่างหลากหลายนั้นอยู่ที่พื้นฐาน อยู่ที่การกระทำ

ดูสิจิตดวงหนึ่ง เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “จิตดวงหนึ่ง ถ้าเกิดตายเกิดตายชาติหนึ่งๆ ซากศพของเรานี้ จะเป็นชาติใดก็แล้วแต่ ถ้าเก็บไว้ โลกนี้ไม่มีบรรจุ โลกนี้ไม่มีที่รองรับเลย ” แต่นี่มันย่อยสลายหมด เห็นไหม ธาตุ ๔ เนื้อหนังมังสานี้มันก็แปรเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ มันก็เป็นธาตุดิน มันย่อยสลายไป

นี่ไง สิ่งที่จิตเกิดตายเกิดตายนี้ มันเป็นจริตนิสัยของแต่ละบุคคล ทีนี้ในการกระทำ ถ้ามีศรัทธาความเชื่อ แล้วศรัทธาความเชื่อนี้ เชื่อมากเชื่อน้อยแค่ไหน ศรัทธาจริต พุทธะจริต จริตของคนมันแตกต่างหลากหลาย นี้การกระทำที่มีจริตนิสัยแตกต่างหลากหลายนี้ มันก็ต้องมีสติปัญญา เพื่อย้อนกลับมาถึงใจของเรา เพราะใจของเรา สิ่งที่เป็นการกระทำทั้งหมด มันก็ออกไปจากใจ ถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญา การกระทำนั้นมันเป็นการสักแต่ว่า มันเหมือนกับวัตถุนะ

ดูสิชีวิตของมนุษย์ในโลกนี้ที่เขาไม่เชื่อศาสนา ที่เขาไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มี เขาไม่เชื่อมรรคผลนิพพาน เขาก็ใช้ชีวิตของเขา เหมือนกับสวะนะ เหมือนกับเศษสวะที่มันลอยไปตามน้ำ ผลของวัฏฏะที่มันจะหมุนเวียนของมันไป เขาจะเชื่อหรือจะไม่เชื่อนั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ชีวิตของเขาไง ชีวิตของเขานี่มันหมุนไปตามนั้น

แต่ถ้าคนเชื่อล่ะ... คนเชื่อแล้วมีครูมีอาจารย์ มีการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา การกระทำสิ่งใดเพราะเราเชื่อ เรามีเป้าหมาย เรามีจุดเริ่มต้น นี่ไงสาระมันเกิดที่นี่ ถ้าสาระเกิดที่นี่นะ เรามีสติมีปัญญา มีการกระทำ มีการแสวงหา แล้วการแสวงหานี้ ทางโลกเขาแสวงหาสิ่งใด เขาก็ได้ผลตอบสนองสิ่งนั้น ถ้าแสวงหาศัตรู เที่ยวทำร้ายคนอื่น เดี๋ยวเขาก็มีศัตรูของเขาขึ้นมา ถ้าแสวงหามิตร... แสวงหามิตรเขาก็พยายามจะรักษามิตรของเขา เขาทำของเขา ทำใจของเขา รักษาตัวของเราเพื่อประโยชน์กับสังคม เห็นไหม ...นี่แสวงหามิตร

ใครแสวงหาสิ่งใด มันก็ได้ผลตอบสนองสิ่งนั้น เราแสวงหามรรคผลนิพพาน เราแสวงหาสัจจะความจริง มันต้องแสวงหาบนหัวใจของเรา ตำรับตำราทางวิชาการ มันชี้เข้ามาที่ใจทั้งหมด พระไตรปิฎกทั้งตู้ชี้มาถึงในหัวใจของเรา ชี้เข้ามาถึงความรู้สึกของเรา ถ้าเราศึกษาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันก็กลับมาในใจของเรา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง มันจะได้มรรคผลเดี๋ยวนี้ไง

แต่นี้ดูสิมันมาบวชเป็นพระ มันจะประพฤติปฏิบัติ แต่หัวใจมันยังส่งออกไปเอาตำรับตำรา จะไปเอาสาระจากข้างนอก ! มันไม่ย้อนกลับมาที่นี่ !

เขาศึกษากัน เขาศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ เขาศึกษามาเพื่อจะเข้ามาสู่ใจ เขาศึกษามาเพื่อค้นคว้าศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้มีสติปัญญาขึ้นมา เขาค้นคว้ากันที่นี่ !

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่ที่โคนต้นโพธิ์ ไม่มีตำรา ไม่มีธรรมะแม้แต่ตัวเดียว แต่ตรัสรู้ขึ้นมาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนี้ถ้าเราทำความเป็นจริงของเรา สติก็คือสติ ! สติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สอนไว้แล้ว ให้ตั้งสติ ! ตั้งสติแล้วพยายามค้นคว้าของเรา ถ้าเราค้นคว้าของเรา เรามีการกระทำของเรา เห็นไหม

“นี่สาระคุณเกิดที่นี่ ! นานาสาระธรรม !”

มันเป็นธรรมทั้งหมด สติปัญญาในการกระทำ ในการเคลื่อนไหว มันจะเป็นสาระทั้งหมดเลย แต่ในปัจจุบันนี้มันเป็นเรื่องไร้สาระ... “ไร้สาระธรรม” เป็นธรรมะที่ไม่มีสาระ ธรรมะที่ไร้สาระ !

การประพฤติปฏิบัติไม่ต้องทำสิ่งใด ให้เฝ้าถนอมรักษา ให้ดูแลใจไป รักษาใจไป.. รักษาใจไป แล้วรักษาใจนี้รักษาอย่างไร รักษาผู้รู้ รักษาใจนี้รักษาอย่างไร.. นี่ไง มันเป็นมารยาสาไถ มันเป็นเรื่องไร้สาระเพราะเหตุใด “มันเป็นเรื่องไร้สาระ” เห็นไหม

เวลาใครมีความทุกข์มีความยากขึ้นมา ก็ทำสบายๆ มันเป็นมารยาสาไถ มันเกิดมารยาสาไถเพราะเริ่มตั้งแต่เราไม่มีหลักเกณฑ์ของใจ เป็นมารยาสาไถเพราะมันไม่มีสาระ ความไม่มีสาระเพราะใจมันไม่มีสาระ ในเมื่อใจมันไม่มีสาระ แล้วศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ว่า “ธรรมะคือความว่าง ! ธรรมะคือความเบา ธรรมะคือความสงบ”

แล้วสิ่งนี้มันเป็นจริงไหม มันเป็นจริงที่ชื่อ ! ความจริงมันก็เป็นความจริง ความจริงมันจะเกิดขึ้นมาจากใจของผู้ที่มีสาระ เป็นที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์เรา อย่างนั้นเป็นความจริง ! ความจริงมันมีผลของมัน มีกิจญาณ มีสัจญาณ มีการกระทำที่เป็นผลขึ้นมาให้รับรู้ เป็นปัจจัตตัง คือรับรู้จำเพาะตน

ดูสิ ร้อนก็รู้ว่าร้อน หนาวก็รู้ว่าหนาว นั่นเขารู้โดยผิวหนังนะ แต่ความเป็นจริง เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าความรู้สึกของใจนี้มันมีกระบวนการของมัน มันรับรู้ของมัน แต่ไอ้นี่ว่า “ว่างๆ ว่างๆ”

ถ้าว่างๆ อย่างนี้ เริ่มต้นก็ปฏิเสธสติ ปฏิเสธสมาธิ ปฏิเสธปัญญา ปฏิเสธทุกอย่าง แล้วก็ทำไป อย่างนั้นมันเป็นการสร้างภาพ ! มันเป็นมารยาสาไถ ! ความเป็นมารยาสาไถ มายาภาพที่เกิดขึ้นมาของใจไง เห็นไหม นี่มันเป็นธรรมะอาบยาพิษนะ... อาบยาพิษเพราะอะไร เพราะมันไม่มีสิ่งใดตอบสนองใจตามความเป็นจริง มันถึงเป็นเรื่องไร้สาระ !

อวิชชานี้ร้ายมาก อวิชชาคือความไม่รู้ เห็นไหม มันไม่รู้สิ่งใด.. มันไม่รู้อะไรล่ะ.. มันไม่รู้จักตัวของมันเอง ไม่มีสาระอะไรเป็นประโยชน์เลย เห็นไหม เพราะความไร้สาระตั้งแต่เริ่มต้น แต่ไปรู้ธรรมะนะ ไปรู้ธรรมวินัยนะ ไปรู้ในตำรับตำรา เพราะอะไร เพราะสัญชาตญาณ

สัญชาตญาณเกิดจากจิต ความรับรู้เกิดจากจิต พอจิตนี้ออกไปศึกษาธรรมะ นี่ไงมันก็สร้างภาพขึ้นมา สร้างมารยาสาไถขึ้นมากับจิต นี่ไงมันถึงเป็นธรรมะที่ไร้สาระ ! ไร้สาระเพราะคนนั้นไร้สาระ คนนั้นไม่มีคุณค่า คนไม่มีคุณค่าเพราะมันไม่มีอำนาจวาสนาบารมี บารมีอ่อนแอมาก เหมือนกับมดแดงเฝ้าพวงมะม่วง มดแดงมันไต่อยู่อย่างนั้น แต่มันไม่เคยได้ลิ้มรสของมะม่วง

นี่ก็เหมือนกัน ว่าศึกษาธรรมะ.. ศึกษาธรรมะ ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติธรรมกัน แต่ไม่เคยเข้าถึงธรรมเลย พอเข้าไม่ถึงธรรม มันก็เหมือนกับมดแดงที่มันไต่มะม่วง แล้วมันก็หมุนไปหมุนมาอยู่อย่างนั้นแหละ

นี่ก็เหมือนกัน ว่าง.. ว่าง.. มีความสบาย.. ทำไมมันสบาย ปฏิบัติไปแล้วมันสบายล่ะ... เมื่อก่อนนี้เป็นคนที่ฉุนเฉียวมาก เป็นคนที่เลวร้ายมาก.. เดี๋ยวนี้ปฏิบัติแล้วเป็นคนดีหมดเลย..

นี่ไงเป็นคนดีเพราะอะไรล่ะ มันดีเพราะสังคมเขาเห็นสภาพแบบนี้ใช่ไหม มันสร้างมารยาขึ้นมา มันดีก็เป็นดีแบบโลกไง คนเราที่เกิดมานี้ เห็นไหม ดูสิดูเวลาจิตมันพาเกิด เกิดมาแล้วก็ได้สถานะภาพของมนุษย์นี้มา

สิ่งที่เป็นมนุษย์คือมนุษย์ไง ทุกคนเหมือนกัน เกิดมาเป็นคนเหมือนกันหมดเลย แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเทียบคนนะ

มนุสสเปโต คือมนุษย์เปรต...

มนุสสเดรัจฉาโน คือมนุษย์สัตว์..

มนุสสเทโว คือมนุษย์เทวดา...

เวลาการเกิดนี่เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่ความรู้สึกจิตใจมันแตกต่างกัน ความเป็นสัตว์มนุษย์.. ความเป็นเทวดาในมนุษย์.. ความเป็นเปรตในมนุษย์.. นี้มันเป็นที่ไหน มันเป็นที่หัวใจไง ! มันเป็นที่ใจไปคิดอย่างนั้น ใจทำอย่างนั้น ใจกระทำอย่างนั้น

นี่ไงเวลาเกิด เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน นี่ไงสภาวะการเกิดเกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน ทีนี้เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาเกิดมาเป็นพระอริยบุคคล เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคา มันก็เป็นเหมือนกัน แต่เหตุที่มันจะเป็นล่ะ

นี่ไงถ้ามันมีสาระคุณ คือคนเป็นมนุสสเทโว... แม้แต่เป็นมนุษย์ก็เป็นเทวดา เทวดาเขามีความเมตตา เทวดาเขามีหัวใจที่เป็นธรรม เขาทำไปเพื่อประโยชน์ของเขา เขามีสติปัญญาของเขา

แต่มนุษย์สัตว์ ! ดูสัตว์สิ เวลาสัตว์เดรัจฉาน.. มนุสสเดรัจฉาโน สัตว์ดีก็มี สัตว์กตัญญูก็มี สัตว์ที่มันทำร้ายคนก็มี นี่มนุษย์สัตว์.. แต่สัตว์มันจะดีขนาดไหน มันก็เป็นสถานะของสัตว์

จิตใจที่มันเป็นมนุสสเดรัจฉาโน มันไม่คิดถึงเรื่องที่เป็นคุณธรรม ที่พ้นจากความเป็นสัตว์ แล้วความเป็นสัตว์ เห็นไหม สัตว์มันทำร้ายกัน สัตว์มันปกป้องกันด้วยสถานะของสัตว์ แต่ธรรมนี้มันเหนือสัตว์ไง ! มันเป็นสัตตะผู้ข้อง แต่นี้ธรรมเป็นธรรมของมนุษย์ ถ้าเป็นมนุษย์ขึ้นมา มันจะมีสติปัญญา พอมีสติปัญญาขึ้นมาแล้ว มันจะเข้าไปสู่ธรรม..

ถ้าเข้าไปสู่ธรรม เห็นไหม นี่พอเข้าสู่ธรรม ถ้าจิตใจมันมีพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ พอมีการกระทำขึ้นมา การกระทำด้วยสมอง การกระทำด้วยคุณธรรม ถ้าการกระทำด้วยคุณธรรมนี้ ดูสิการเสียสละ การให้โอกาสคน การให้โอกาสนะ เดินสวนทางกัน ให้ทางกันนี่ก็เป็นบุญแล้ว

นี่ถ้ามันเป็นมนุษย์.. มนุษย์ที่มันมีวุฒิภาวะ มันทำสิ่งใดจะเป็นนานาสาระธรรม นานาสาระทุกสิ่งทุกอย่าง

“นานาสาระธรรม” มันเป็นธรรม เป็นคุณธรรม.. เป็นคุณธรรมให้จิตใจดวงนั้น จิตใจที่มีการแสดงออกอย่างนั้น มันมีสติปัญญา มันมั่นคงของมัน มันรู้ผิดชอบชั่วดี มันไม่บอกว่าว่างๆ ว่างๆ มันไม่ใช่เรื่องไร้สาระแบบที่กิเลสมันอ้างธรรม

ถ้าเป็นอย่างนั้น มันเป็นเรื่องไร้สาระ ที่กิเลสอ้างธรรมเพราะ ! เพราะไม่มีสติ ไม่มีสติแยกถูกแยกผิด ว่าสิ่งใดเป็นความผิด สิ่งใดเป็นความถูก แล้วเวลาสิ่งใดเป็นความผิดความถูกของสัตว์ มนุสสเดรัจฉาโน.. มนุสสเทโว สิ่งใดที่เป็นความผิดความชั่วของจิตใจ คือกิเลสตัณหามันอยู่ในหัวใจ การแสดงออกมานี้ เป็นมารยาสาไถ เป็นมารยาภาพที่การแสดงออก

แต่จิตใต้สำนึก จิตที่มันคิดเห็นแก่ตัว จิตที่มันคิดแต่ผลประโยชน์ จิตที่มันเสียสละ เห็นไหม นั่น.. มันเกิดจากตรงนั้น ถ้ามันเกิดจากตรงนั้น นี่เวลาทำสติ เวลามีสติปัญญามันจะเข้าถึงที่นั่น มันจะเข้าสู่ภวาสวะ เข้าสู่ภพ เข้าสู่ใจ

ฉะนั้น ถ้าเราประพฤติปฏิบัติโดยไร้สาระ มันเป็นธรรมที่ไร้สาระ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทางวิชาการมันมีอยู่... มันมีอยู่ เห็นไหม

นี่ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ๘... มันก็สร้างภาพทำให้เหมือน แต่มันไม่เป็นความจริง มันเลยเป็นธรรมะที่ไร้สาระ ! ไร้สาระเพราะคนๆ นั้นไร้สาระ แล้วถ้าคนๆ นั้นมีหมู่คณะ มีผู้นำที่ไร้สาระ กระบวนการของความไร้สาระ มันจะเป็นกระบวนการที่เป็นกระแสที่ใหญ่มาก เพราะเป็นกระบวนการที่ไร้สาระ ไม่มีสาระการตรวจสอบ ไม่มีสาระจากหัวใจที่แบ่งแยกถูกแยกผิด

เรื่องที่เป็นกิเลส มันชอบกิเลส จิตใจของคนที่เป็นกิเลส จิตใจของคนที่มีอวิชชาครอบงำอยู่โดยธรรมชาติ คนเกิดมาทุกคนมีอวิชชา คนเกิดมา แม้แต่เจ้าชายสิทธัตถะ เกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก็มีอวิชชาครอบคลุมมา “เวลาเจ้าชายสิทธัตถะมาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา นั่นได้ฆ่าอวิชชาจากวิชชา”

วิชชาคืออะไร วิชชาคือมรรคญาณที่เข้าไปทำลาย พอทำลายสิ่งนั้นขึ้นไป นั่นไงถึงพ้นจากความไม่รู้ แต่นี้ความไม่รู้นี่อวิชชามันครอบงำในหัวใจ ศึกษาธรรม.. ศึกษาธรรมแล้วแอบอ้าง แอบอ้างเพราะอะไร เพราะจิตใจที่มันไม่มี สาระไม่มีคุณค่า มันไพล่ เห็นไหม ไพล่เป็นน้ำตาลเคลือบยาพิษ แล้วก็อ้างธรรมะ.. อ้างธรรมะ แต่ไม่มีสาระในใจ มันเป็นธรรมะที่ไร้สาระ

“แต่ถ้าคนที่มีอำนาจวาสนาในหัวใจ มันจะเป็นนานาสาระธรรม เป็นธรรมทั้งหมด ! เป็นธรรมทั้งหมดเพราะมันมีคุณธรรมในใจ”

มีคุณธรรมในหัวใจ เห็นไหม การกระทำของเรา การเคลื่อนไหวของเรามันจะเป็นธรรม.. ถ้าเป็นธรรมแล้ว ตั้งสติก็เป็นธรรม ทำสมาธิมันก็จะเป็นธรรม แม้ศึกษาธรรมขึ้นมา ก็ศึกษาขึ้นมาเพื่อสลดสังเวช

เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาพูดถึงธรรมะ นี่จะพูดถึงสัลเลขธรรม  สัลเลขธรรมนะ ด้วยความเอื้อเฟื้อ ด้วยความเผื่อแผ่ ด้วยความมักน้อย ด้วยมีการกระทำ เพราะอะไร เพราะมันขัดเกลาไง มันขัดเกลากิเลส

เวลาพูดสิ่งใด ทำสิ่งใด ทำเพื่อให้ตบะธรรมแผดเผากิเลส ถ้าแผดเผามัน นี่คือคนที่มีสาระ แต่เราดูคนที่มีสาระเป็นคนที่ทุกข์ยาก คนที่มีสาระไม่คลุกคลี คนที่มีสาระไม่มีสิ่งใดปรนเปรอ แต่เขามีตบะธรรม.. ตบะธรรมที่มันแผดเผากิเลสของเขา นั่นล่ะมันจะเป็นสาระ ! เป็นสาระตั้งแต่มีสติมีปัญญา เห็นไหม

พอมีสติมีปัญญา เราทำสิ่งใดจะไม่กระทบกระเทือนตัวเราก่อน เพราะเราจะหลบเราจะหลีก แล้วสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์กับหมู่คณะ เป็นประโยชน์กับสังคม ดูสิอย่างเช่นพระโพธิสัตว์ ความเป็นสาระที่จะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดทุกภพทุกชาติก็เป็นผู้ที่เสียสละ เป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์กับสังคม เพราะพระโพธิสัตว์มีสิ่งที่ทำขึ้นมา

พระโพธิสัตว์ พุทธภูมิ แต่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ มันก็เป็นปุถุชน มันก็มีถูกมีผิดได้... มันมีถูกมีผิด สิ่งต่างๆ นี้เป็นเรื่องของโลก เห็นไหม แต่ถ้าเรามีสาระของเรา มันเริ่มต้นจากเรามีสาระ มันถึงจะเป็นประโยชน์กับเรา แต่ถ้าเราไม่มีสาระนะ..

“ธรรมะไร้สาระ” เป็นคนไร้สาระ ทำแต่เรื่องไร้สาระ ปฏิบัติธรรมขึ้นมา ก็ไม่มีสาระสิ่งใดตกผลึกในหัวใจเลย มันสักแต่ว่า.. สักแต่ว่ากระทำ ไม่ได้ผลตามความเป็นจริง แต่ก็จะพยายามเทียบเคียงธรรมะนะ

แต่ถ้าเรามีสติของเรา เรามีปัญญาของเรา ใครจะทุกข์ใครจะยาก มันเป็นเรื่องของทุกๆ คนนะ แต่เรื่องของเรา เป็นเรื่องของเรา เราจะต้องมีสติของเรา มีปัญญาของเรา ถ้าเรามีสติปัญญา สิ่งนี้มันแก้ไขเรานะ มันมีการแก้ไข มีการกระทำ ถ้าเราแก้ไขเราได้ เรากระทำของเราได้ เห็นไหม นี่ตบะธรรมนะ ธรรมจะเกิดกับเรา !

ถ้ามีสติมีปัญญา เวลากิเลสมันเร่าร้อนขึ้นมา มันไม่ยอมใคร มันจะเอาแต่เอาชนะคะคานคนอื่น แล้วการเอาชนะคะคานคนอื่น มันเป็นผลของกิเลสทั้งนั้นเลย แล้วผลของกิเลส เอากิเลสไปแก้กิเลสมันจะเป็นไปได้ไหมล่ะ เขามีแต่เอาธรรมแก้กิเลส เห็นไหม

“นานาสาระธรรม” มันเป็นสาระทันทีถ้ามีสตินะ แต่ถ้าขาดสตินี่มันจะไป เวลาเราขาดสติ แล้วเรามาประพฤติปฏิบัติ เขาว่าเป็นธรรม... เขาว่าเป็นธรรมเพราะอะไร เพราะมันไม่มีเหตุมีผลใช่ไหม พอขาดสติ... ดูสิดูอย่างว่าวเชือกขาดนี้ใครควบคุมมันได้ มันจะไปตามแรงลม

ความรู้สึกความนึกคิดของใจ ถ้ามันขาดสติ สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้มันมีสิ่งใดเป็นประโยชน์กับมัน เหมือนว่าวที่เชือกขาด คือเราควบคุมไม่ได้ เราควบคุมสิ่งใดไม่ได้เลย ว่าวนี่พอเวลาเชือกมันขาดแล้วมันไปตามกระแสลม มันจะไปตกที่ไหนก็ไม่รู้

ความรู้สึกความนึกคิด ตรึกในธรรม ! ถ้าเราขาดสติ มันว่ามันเป็นพระอรหันต์ ว่าง.. สบายไปหมดเลย

“นี่เพราะมันขาดสติ มันเลยเป็นสิ่งที่ไร้สาระ”

แต่ถ้ามีสติล่ะ... พอมีสติขึ้นมานะ ทำอะไรก็จะเป็นความทุกข์ยากไปหมดเลย เพราะมันรับรู้ เห็นไหม ดูสิเราจะเอาว่าวขึ้นสู่อากาศ เรามีเชือกของเรา เราจะเอาตามใจเราไม่ได้หรอก ขนาดของเชือกมันสั้นมันยาว ความรู้สึกมันจะขึ้นสูงขึ้นต่ำ นี่เพราะเชือกเรามีสั้นหรือยาวเท่านั้น แรงลมมีมากขนาดไหน สิ่งนี้มันมีอุปสรรคไปหมด เห็นไหม แต่ถ้าว่าวเชือกขาด แล้วเราเอาว่าวโยนขึ้นไปบนอากาศ ไม่มีสิ่งใดตอบสนองกับผลประโยชน์อันนั้นเลย

นี่ไงผู้ที่ไร้สาระ ธรรมะไร้สาระ ! มันไม่มีสิ่งใดเป็นผลตามความเป็นจริง !

แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เห็นไหม พอเรามีสติก็ลำบากลำบนไปทุกอย่าง เพราะมันรู้เห็นหมด ทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์ เวลาเรานั่งสมาธิไป กำหนดพุทโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันจะลงพุทโธหรือไม่ลงพุทโธก็แล้วแต่ เรารับรู้ทั้งนั้นแหละ แล้วทุกข์ยากมาก มันไม่ได้ดั่งใจ มันเป็นของซึ่งหน้า เห็นไหม

พุทโธ พุทโธ พุทโธนี้ จนจิตมันมีสติปัญญาของมันขึ้นมา จิตละเอียดอ่อนมากน้อยขนาดไหน แล้วจับพลัดจับผลู สมาธินี่เข้าได้ยาก... เข้าได้ยากเพราะอะไร เพราะเรามีตัณหาความทะยานอยาก เรามีความไม่รู้จริงในหัวใจของเรา แล้วเราก็ทำโดยความไร้สาระกันมาตลอด เพราะสิ่งที่ไร้สาระมันสะดวกสบาย มันไม่มีสติควบคุม ! ไม่ต้องทำสิ่งใด ! แล้วมันจะหายไปเลย เป็นพระอรหันต์ ! ว่างหมดเลย... ไร้สาระ !

แต่ถ้าจะทำสาระ ทำให้มันเป็นความจริงขึ้นมา “นานาสาระธรรม” คือเก็บเล็กผสมน้อย การกระทำของเรานี้ มาจากการเก็บเล็กผสมน้อย

การเกิดเป็นมนุษย์นี้เพราะมีอริยทรัพย์เป็นทรัพย์สมบัติของเรา “ อริยทรัพย์ ” ทรัพย์ความเป็นมนุษย์นี้เป็นอริยทรัพย์ของเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ เราสร้างได้บุญกุศลมาขนาดนี้แล้ว พอเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว หาอยู่หากินทางโลกกันก็ลำบาก เวลาบวชเป็นพระเป็นเจ้าขึ้นมา เห็นไหม เราจะประพฤติปฏิบัติก็ลำบาก มันลำบากไปทุกอย่างเลย แต่ลืมไปว่าการเกิดเป็นมนุษย์นี้ เราได้สร้างบุญกุศลมาพอสมควรแล้ว

สิ่งที่สร้างบุญกุศลมาพอสมควรแล้วนี้ จะทำสิ่งใดเรามีสติปัญญาของเรา เรามีสติตั้งมั่น ทำสิ่งใดมันชัดเจนไง คนมีสติ เห็นไหม จับของร้อนก็รู้ว่าร้อน จับของเย็นก็รู้ว่าเย็น

จิต.. เวลาเรามีสติปัญญาขึ้นมา กำหนดพุทโธมันก็รู้ว่ากำหนดพุทโธ พอมันกำหนดไม่ได้ มันหายไปโดยไม่มีสติปัญญา เราก็รู้มัน.. นี่ถ้ามีสติ ทำสิ่งใดมันจะรับรู้ต่อหน้าชัดเจน !

ความเป็นไป... กำหนดพุทโธ พุทโธจะลงได้มากได้น้อย หรือมันลงไม่ได้ ถ้ามันลงไม่ได้นี้เพราะเหตุใด มันก็หาเหตุหาผลว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสอนว่ากรรมฐาน ๔๐ ห้อง ให้ทำศีล สมาธิ ปัญญา... ถ้าทำศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว เราก็เริ่มทำมา แต่ทำไมมันไปไม่ได้ มันไปไม่ได้เพราะกิเลสเราแก่กล้า กิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรานี้มันปิดกั้นทั้งหมด

ฉะนั้นทำสิ่งใดไป เห็นไหม ดูสิเขาโค่นต้นไม้ทั้งต้นเลย เขาจะเอามาสร้างบ้านสร้างเรือน กว่าเขาจะเลาะกิ่งของเขา เขาจะทำให้เป็นท่อนซุง กว่าเขาจะเลื่อยมาทำเป็นไม้พื้นไม้ใช้ประโยชน์ เขาต้องลงทุนลงแรงขนาดไหน

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราทำสมาธิ สมาธิจะมาจากฟ้า.. ทุกอย่างจะเป็นไปหมดเลย.. อย่างนั้นมันสร้างภาพหมดโดยความไร้สาระ มันไม่เป็นประโยชน์กับอะไรเลย เป็นประโยชน์อย่างเดียวคือหลอกตัวเอง.. หลอกตัวเองว่าตัวเองมีสมาธิ ! หลอกตัวเองว่าตัวเองมีปัญญา ! หลอกไปเรื่อยๆ เพราะความไร้สาระ มันเลยไม่เป็นสาระ เห็นไหม

แล้วกิเลสก็หลอกอีกชั้นหนึ่ง มันก็วังวนอยู่ในอวิชชา วังวนอยู่กับการอยู่ในกิเลส เพราะมันเกิดมาจากความไร้สาระ เกิดจากวุฒิภาวะของจิตอ่อนแอ แล้วเกิดในสังคมที่อ่อนแอ สังคมที่มีความมักง่าย สังคมที่ชิงสุกก่อนห่าม สังคมที่อยากได้สิ่งใดมาด้วยความง่ายๆ อย่างนั้นมันไม่มีในโลกนี้ แต่ก็สร้างกันว่ามี สร้างกันขึ้นมาว่าให้มันสมความปรารถนาของสังคมของเขา แต่มันไม่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริงนะ เราตั้งสติ ! เราต้องตั้งสติแล้วพยายามทำของเรา เราเกิดมาจากไหนล่ะ จิตปฏิสนธินี่มันมาจากไหน มันมาเกิดในไข่จนมาเป็นเรานี้มันมาอย่างไร เกิดก็ไม่รู้ว่าเกิด พอเกิดมาแล้วพ่อแม่ก็ตั้งชื่อให้ พ่อแม่เลี้ยงดูมา บวชขึ้นมาก็เป็นพระ พระไร้เดียงสา ! บวชเข้ามาแล้วก็ยังไร้เดียงสา ยังอ่อนแออยู่ แต่อวดรู้ ! อวดว่าเป็น !

นี่ไม่มีการศึกษา ถ้ามีการศึกษา เห็นไหม บวชเข้ามาแล้วต้องมีการศึกษา... มีการศึกษาว่าสิ่งใดควรไม่ควร สิ่งใดเป็นหรือไม่เป็น นี่มันศึกษาได้ เพราะคนนี่มีหูมีตา คนนี่เป็นคนฉลาดนะ เห็นเขาทำก็รู้ว่าเขาทำ เห็นเขาทำแล้วเปรียบเทียบได้ ตำรับตำราก็มี ครูบาอาจารย์ก็มี แล้วส่งต่อกันมานี่มันก็ตรวจสอบทดสอบได้ทั้งนั้นแหละ สิ่งนี้มันทดสอบได้ ถ้ามีหูมีตา ถ้ามันอยากเอา ถ้ามันเป็นไปจริง มันต้องการเป็นสาระคุณนะ ต้องการสาระธรรม ต้องการสิ่งที่เป็นประโยชน์ มันศึกษาได้ทั้งนั้นแหละ

คนนี่เป็นคนฉลาด คนจริงๆ นี่รับรู้ได้หมดเลย หัวใจนี้ ถ้ามีสติปัญญา มันเก็บประโยชน์ได้ทั้งนั้นแหละ แต่มันจะเอาประโยชน์หรือจะเอาโทษล่ะ ถ้าจะเอาโทษ เห็นไหม คือเอาความมักง่าย เอาความพอใจของตัว มันก็เป็นเรื่องไร้สาระ มันเป็นเรื่องไร้สาระอยู่แล้ว แล้วจิตใจนี้มันเป็นกิเลสอยู่แล้ว มันเข้ากันง่ายเลย

แต่เวลาศึกษาธรรมขึ้นมา ศึกษาขึ้นมามันก็ขัดใจเราทั้งนั้นแหละ พระพุทธเจ้าสอนให้ถือศีล พระพุทธเจ้าสอนให้มีศีลขึ้นมาก่อน ศีลคือความปกติของใจ ถ้าใจมันปกติขึ้นมา ทำสิ่งใดขึ้นมามันก็เป็นประโยชน์กับตัวมัน

แต่ถ้ามันไม่เป็นปกติ เห็นไหม ดูสิอย่างเช่นข้าวเปลือก ทำไมเขาต้องมาสีก่อนล่ะ ทำไมเขาต้องเอาแกลบออก ทำไมเขาไม่กินทั้งแกลบล่ะ ทำไมเขาต้องสีข้าว ทำไมเขาต้องทำประโยชน์

นี่ก็เหมือนกัน ความคิดดิบๆ ความคิดโดยความไร้สาระ ไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์เลย มันเอาสิ่งนี้มา มันก็เหมือนกินข้าวพร้อมกับแกลบ กินข้าวเปลือกแล้วบอกว่าอร่อยมาก กินข้าวเปลือกนี้ กินแล้วอุดมสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ความเป็นจริงทางโลกนี้เป็นไปได้ไหม มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติ ในการที่มันจะบรรลุธรรม ในการที่เราจะพ้นจากทุกข์ นี่มันมีเหตุมีผลของมัน ข้าวเปลือกก็ต้องสีก่อน สีแล้วก็ยังกินไม่ได้ ต้องหุงมันอีก แล้วถ้าหุงไม่สุก สุกแล้วถ้าเกิดมันไหม้ อย่างนั้นมันก็กินไม่ได้... มันต้องเป็นข้าวสุกที่มันสวย ที่มันพอดีกับการกิน

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเรานี้ที่ควรแก่การงาน มันควรแก่การงานอย่างใด ทำอย่างใดมันถึงจะเป็นประโยชน์ เป็นสาระคุณขึ้นมา

มันมีขั้นมีตอนนะ พระพุทธเจ้าปฏิบัติมาก่อน พระพุทธเจ้าล้มลุกคลุกคลานมาก่อน พระพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มาทั้งนั้นแหละ สิ่งใดที่เป็นทางออก เห็นไหม พระพุทธเจ้าจะหาทางออกให้ได้ก่อน แต่ก็หาทางออกไม่ได้ จนย้อนกลับมา พระพุทธเจ้ามาแก้ที่ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง แล้ววางธรรมและวินัยไว้เป็นบุคลาธิษฐาน เป็นคำบอกเล่า เป็นแบบอย่าง

แต่เวลาทำจริงๆ ขึ้นมานี้ สติเป็นอย่างไร... สมาธิเป็นอย่างไร.. ปัญญาเป็นอย่างไร... ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบ่งปัญญาไว้ถึง ๓ อย่าง

สุตมยปัญญา คือการศึกษา… ทางวิชาการทางโลกนี้คือการศึกษา แต่สุตมยปัญญาฆ่ากิเลสไม่ได้ !

จินตมยปัญญา คือจินตนาการด้วยสมาธิ จินตนาการด้วยการสร้างภาพ ถึงจะจินตนาการด้วยการมีสติ มันก็ยังฆ่ากิเลสไม่ได้ ! แต่จินตนาการที่มีเหตุมีผล จินตนาการที่มีข้อมูลรองรับ ด้วยจิตที่มันสงบเข้ามา นั่นล่ะอย่างนั้นมันก็ฆ่ากิเลสไม่ได้ !

แล้วภาวนามยปัญญาเป็นอย่างไรล่ะ “ภาวนามยปัญญา ! ภาวนามยปัญญาที่ชำระกิเลส” นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบ่งปัญญาไว้ถึง ๓ ขั้นตอน ปัญญา ๓ ประเภท ! แล้วมันจะเข้าสู่ความจริงด้วยวิธีการอย่างใด

ฉะนั้นเราตรึกขนาดไหน เราคิดขนาดไหน มันก็เป็นจินตนาการทั้งนั้นแหละ มันเป็นไปไม่ได้หรอก ! เป็นไปไม่ได้ มันฆ่ากิเลสไม่ได้ !

นี่ไงเพราะความไร้สาระของจิต เพราะจิตไร้สาระ มันถึงเอาสิ่งต่างๆ ให้เข้ากับความพอใจของตัว อย่างนั้นมันก็ไม่มีอะไรเป็นสาระขึ้นมาเลย...

แต่เพราะเรามีครูมีอาจารย์ เห็นไหม เวลาเราบวชเข้ามาแล้ว เราจะต้องมีหูมีตา หูตานี่สำคัญมาก เพราะเรามาศึกษา เราจะมาแก้กิเลส เพราะกิเลสมันอยู่ที่ในใจของเรา ใจของเรานี้มันเอารัดเอาเปรียบ มันจะต้องการความสะดวกสบายของมัน ตามนิสัยของมัน ตามสันดานที่มันเกิดตายเกิดตาย เพราะผลของวัฏฏะมันเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้นพอเรามีสติขึ้นมา สติมันจับสิ่งใด พอมีสติแล้วจับสิ่งนั้นดู.. พอดูแล้วมันแก้ไข ขัดเกลา.. แต่ความแก้ไขขัดเกลานี้มันไม่ยอมรับหรอก มันไม่ต้องการ เห็นไหม นานาสาระคุณ ! นานาสาระธรรม !

มันจะเป็นประโยชน์กับเรานะ สาระคุณนี้เป็นคุณประโยชน์กับเรา ถ้าเป็นธรรม ก็เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ก็ไปสังเกตอย่างนี้ ไปประพฤติปฏิบัตินี้ก็ไปสังเกต ไปทดสอบแล้วปฏิบัติตาม แล้วมันได้ผลไหม.. ไม่ได้ !

นี่ก็เหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้ นี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นตามความเป็นจริง แต่มันเป็นตามความเป็นจริงของเราหรือเปล่าล่ะ เราไม่จริงเพราะเรามันไร้สาระไง

ใจเราไร้สาระเพราะใจเราไม่มีสมาธิ ใจเราไร้สาระเพราะใจเราไม่มีหลักมีเกณฑ์ เพราะมันไม่มีสาระสิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับมันเลย แต่มันว่ามันจะเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ได้เหมือนการถ่ายเอกสารเลย ได้ก๊อบปี้มาเลยว่าเป็นธรรม.. เป็นธรรม นี่มันถึงไร้สาระไง

แต่ถ้ามันจะเป็นคุณล่ะ.. ถ้ามันจะเป็นประโยชน์ล่ะ.. ถ้ามีสติขึ้นมา เห็นไหม พอจิตพุทโธ พุทโธ พุทโธ นี่มันมีการเปลี่ยนแปลง

จิตเร่าร้อน จิตทุกข์ยาก มันก็รู้ ถ้ามันเอาตัวจิตไว้ไม่ได้ ถ้ามันสงบเข้ามาไม่ได้.. ยิ่งปฏิบัติเท่าไหร่ก็ยิ่งร้อน มันก็ต้องร้อนอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ ดูอย่างเช่นนักกีฬาปฏิบัติใหม่ นักกีฬาฝึกหัดใหม่สิ เก้ๆ กังๆ ไปทั้งหมดเลย เหมือนคนจะทำไม่เป็นนะ แต่ถ้าเขาฝึกฝนของเขาไป เขาปฏิบัติของเขาไป เขามีความชำนาญ เขาทำของเขาได้ตามความเป็นจริง เขาจะเป็นเจ้าของแชมป์เลย เขาทำได้ตามความเป็นจริงของเขาเลย

อันนี้ก็เหมือนกัน เราพุทโธแล้วจิตใจมันลุ่มๆ ดอนๆ มันเป็นไปไม่ได้ขนาดไหนก็แล้วแต่ อันนี้มันเป็นเพราะกิเลสตัณหาของเรา แต่ไอ้พุทโธนี่ไม่ได้ทำลายเรา สิ่งที่เป็นสติปัญญาไม่ได้ทำลายเรา แต่สิ่งที่ทำลายเรานี้ เพราะความมักง่ายของเรา ! เพราะความไม่จริงไม่จังของเราเท่านั้นเลย แล้วยิ่งถ้าไร้สาระ มันไม่ยอมรับความเป็นจริง มันยิ่งไร้สาระยิ่งหมดหวังไปเลย

แต่นี้เพราะเรามีสาระ.. เรามีสติปัญญา เราพยายามทดสอบของเรา ตรวจสอบของเรา แล้วพยายามปฏิบัติของเรา มันจะเป็นประโยชน์กับเรา มันมีสติมา มีสติพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จิต.. ถ้ามีคำบริกรรม จิตมีการกระทำ มันเปลี่ยนแปลงของมัน เข้าไปสู่ความสงบของมัน ด้วยความสงบในตัวของมันนะ

แต่ในปัจจุบัน ในการประพฤติปฏิบัตินี้ เวลาเราพุทโธ เรามีสติปัญญา เราบังคับให้มันเป็นไปอย่างที่เราปรารถนา ถ้าเราบังคับให้เป็นอย่างที่เราปรารถนา อย่างนั้นมันไม่เป็น ! มันไม่เป็น นี้มันเป็นสัญญาอารมณ์เพราะมีการบังคับ มีการบังคับให้จิตเป็นอย่างที่เราสมความปรารถนา ด้วยคำบริกรรมแค่เพียงลูบๆ คลำๆ เห็นไหม

มันถึงไร้สาระตรงนี้ไง มันไม่มีสาระเพราะมันไม่เป็นความจริง ! แต่ถ้ามันมีสาระ.. ถ้ามันเป็นสาระ คือเราพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธเข้าไป พอพุทโธเข้าไปนี้ จากสัญญาอารมณ์เหมือนกัน จากจิตเหมือนกัน จากความคิดเหมือนกัน แต่เพราะเรามีความมุ่งมั่น เรามีสติปัญญาของเรา พอพุทโธ พุทโธ เห็นไหม พอจิตมันมีคำบริกรรม จิตมันก็มีที่เกาะ

มันก็เหมือนเด็กมันยังเดินไม่เป็น เวลามันจะเดินมันก็อาศัยเดินเกาะไปตามราวไม้ไผ่ ราวต่างๆ ที่เขาทำให้เด็กฝึกหัดเดิน

นี่ก็เหมือนกัน จิตมันพุทโธ พุทโธ พุทโธไป เห็นไหม คือมันเกาะคำบริกรรม ถ้าจิตมันเกาะคำบริกรรม นี่คือการสะสมของมัน แล้วพอเด็กมันเดินได้นะ มันจะไม่อาศัยราวไม้ไผ่ที่เขาทำไว้ให้เกาะนั้นเลย แต่ก่อนที่มันจะเดิน มันก็ต้องอาศัยราวนั้นเกาะไปก่อน เกาะฝึกหัดจนมันมั่นใจของมันว่า มันเดินได้นะ มันจะหัดปล่อยมือ แล้วมันจะเดินของมันไปเอง

พุทโธ พุทโธ พุทโธนี้ จิต... มันก็เกาะคำบริกรรมของมันไป จิตมันเกาะคำบริกรรมของมันไปบ่อยครั้งเข้า.. บ่อยครั้งเข้า จนมันมั่นใจว่ามันเดินได้เอง เห็นไหม มันเดินได้เอง ไม่ต้องอาศัยไม้นั้นเป็นเครื่องอาศัย

นี่ไงพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จนจิตมันเป็นอิสระของมันขึ้นมา จนจิตมันเข้าสู่ความเป็นสาระ เข้าสู่ความเป็นธรรม เป็นสาระธรรมของใจ มันรู้ของมัน ! มันรู้ของมัน โอ้โฮ.. มันจริงของมัน มันรับรู้ของมัน

อันนี้ต่างหาก มันถึงจะออกไปใช้ปัญญา อันนี้ต่างหาก เวลามันออกพิจารณาสิ่งใด มันจะเข้าสู่กิเลส.. สู่กิเลสเพราะอะไร ดูสิเด็กที่มันเดินไม่ได้ หรือเด็กเวลาที่เขาเดินแล้วต้องอาศัยไม้ไผ่ ไม้ไผ่กับเด็กนั้นต้องอยู่ด้วยกันใช่ไหม

เวลาจิตนี่นะมันไม่แสดงตัวของมัน มันมีแต่ความคิด มันมีความคิดนะ... จิตมันมีความคิด “ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด” เพราะจิตมันเป็นพลังงาน จิตมันเป็นตัวจิต แต่ความคิดมันเกิดจากจิต แล้วมันไปด้วยกัน เหมือนเด็กเวลามันเดินไปไหนมันต้องมีราวเกาะเดินไปตลอด แล้วมันจะมีที่ไหนที่มีราวให้เกาะเดินไปทั้งประเทศล่ะ มันเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม

นี่พูดถึงวัตถุไง แต่ถ้าเป็นความคิดนี่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะมันมีพลังงานกับความคิดนี้ตลอดไป มันเป็นสอง มันขวางไปหมดไง มันขวาง... เพราะถนนหนทางนี้ เขาเอาไว้ให้รถวิ่งนะ เราจะไปขวางถนนไม่ได้หรอก รถมันจะชนเรา

นี่ก็เหมือนกัน ความคิดกับจิต มันเข้าสู่ธรรมะไม่ได้ มันขวางไปหมด ! แต่ถ้าเราพุทโธ พุทโธ พุทโธ เห็นไหม พุทโธจนจิตมันสงบ เหมือนมันปล่อยราว มันไปเฉพาะจิต คือจิตมันไปไหน มันไปโดยที่ไม่มีสิ่งใดขวาง พอจิตมันเริ่มสงบเข้ามา มันออกใช้ปัญญาของมัน มันเข้าสู่ธรรม เข้าสู่มรรค ๘ เห็นไหม

ดำริชอบ.. งานชอบ.. เพียรชอบ.. สมาธิชอบ.. นี่มันจะเข้าสู่กระบวนการตามความเป็นจริง ! ถ้ามันเข้าสู่กระบวนการตามความเป็นจริง นี้มันเพราะเหตุใดล่ะ ทำไมมันถึงเข้าสู่กระบวนการตามความเป็นจริง เพราะนานาสาระธรรมไง !

นานาสาระธรรมเพราะมีสติ มีปัญญา แล้วมีสติปัญญาในขั้นใด ปัญญาในขั้นของสมถะ ปัญญาในขั้นของการรักษาตัวเอง ถ้ามีสติมีปัญญารักษาตัวเอง จนตัวเองเป็นอิสรภาพ ตัวเองไม่มีสัญญาอารมณ์เป็นสอง ถ้าตัวเองมีสัญญาอารมณ์เป็นสอง สิ่งใดที่คิดขึ้นมา นี่คิดจากพลังงาน มันเลยไร้สาระ เพราะ ! เพราะสิ่งที่เป็นความคิดเกิดจากจิต แล้วมันคิดเรื่องธรรมะ คิดว่าว่าง.. คิดไปตามความพอใจ.. มันเลยไร้สาระเลย ! ไร้สาระเพราะไม่มีภวาสวะไม่มีภพ ไม่มีฐีติจิต ไม่มีเรา คือไม่มีบุคคล ไม่มีตัวจิต ไม่มีสิ่งใดให้เป็นเกร็ดประโยชน์ เป็นสาระ

ทั้งๆ ที่มันมี ! ความคิดทั้งหมดออกจากจิต เกิดจากเจตนา มีความคิดนี่เป็นเจตนาเจตสิกมันออกไปจากใจ... ออกไปจากใจ แล้วออกไปเป็นธรรมชาติ ออกไปเป็นสัญชาตญาณ ออกไปเป็นผลของวัฏฏะ ออกไปเพราะเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความคิด มันเลยเป็นเรื่องไร้สาระ !

ทั้งๆ ที่เกิดเป็นมนุษย์ ควรจะมีประโยชน์ การเกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นอริยทรัพย์ แล้วถ้าใช้ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ โดยสติปัญญา การใคร่ครวญ การรื้อค้นนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาตรัสรู้ขึ้นมา... สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม.. นี้ก็คือกายกับธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ นี่แหละ

ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เวลาจิตที่มันสงบแล้ว กลับมาวิปัสสนา กลับมาใช้ปัญญาใคร่ครวญในสติปัฏฐาน ๔ ก็ใคร่ครวญในกายในจิตเรานี่แหละ สิ่งที่เกิดมานี้มันมีคุณค่า แต่เราใช้กันไม่เป็น เพราะเราใช้กันด้วยมารยาสาไถ มันเลยเป็นเรื่องไร้สาระเลย ทั้งๆ ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นะ แต่เพราะมีครูมีอาจารย์ แต่เพราะมีการประพฤติปฏิบัติ แต่เพราะมีสติปัญญา นี่มันจะเป็นสาระขึ้นมาทันที ! เป็นสาระขึ้นมาทันทีเลย

แต่เป็นขึ้นมาเพราะด้วยความทุกข์ ความยาก ความเพียร ความเพียรชอบ ความวิริยะอุตสาหะของการกระทำ มีความวิริยะอุตสาหะขึ้นมา เห็นไหม มันถึงเป็นนานาสาระธรรม เก็บเล็กผสมน้อย นานาสาระ ทุกกิริยา ทุกอิริยาบถ ทุกการกระทำ มีสติปัญญาใคร่ครวญ นี้เป็นประโยชน์หมด

เวลาพระที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์นะ สำเร็จในท่านั่ง สำเร็จในท่าเดิน สำเร็จในท่ายืน สำเร็จในท่านอน เห็นไหม “ นี่อิริยาบถ ๔ ”

อิริยาบถนะ... นี่กิริยามารยาท อิริยาบถของเรานี้มันเป็นเรื่องเปลือกๆ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนานี้ เดินเคลื่อนไหวตลอด แต่จิตมันหมุนเข้ามา จิตมันมีสติปัญญาเข้ามา มันย้อนเข้ามาด้วยสติปัญญา มันเกิดปัญญาการใคร่ครวญ เห็นไหม

นี่ไงที่เขาเรียกว่า “งานภายใน คืองานของจิต”

เวลาจิตมันขยับ จิตมันก้าวเดินออกไป เวลาไม่เกิดปัญญา ปัญญาโดยสัญชาตญาณ.. ปัญญาจากสมอง.. ปัญญาโดยสามัญสำนึก.. มันเป็นโดยธรรมชาติของมัน นี่พลังงานที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด... ความคิดความนึกของเรานี้เร็วกว่าแสง ฉะนั้นความคิดเร็วกว่าแสง นี่สิ่งที่มันอยู่ในร่างกายของเรา ความคิดความรับรู้ต่างๆ พลังงานนี้มันเร็วมาก

ฉะนั้นเราศึกษาอย่างไร นี่เราถึงบอกว่า เวลาเราศึกษากันนี้ “จิตดวงที่ ๑ จิตดวงที่ ๒ ดวงที่ ๓” เราพยายามคิดเห็นให้มันเป็นเหมือนวิทยาศาสตร์ที่เราจับต้องเป็นสสาร เป็นวัตถุ แต่ความเร็วของจิตเร็วกว่าแสง ! เราถึงไม่เห็นความคิดเรา

ความคิดที่มันเกิดขึ้นมา มันคิดขนาดไหน เราคิดเปรียบเทียบในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป เลยกลายเป็นพระอรหันต์หมดเลย.. ว่างหมดเลย.. ทำสิ่งใดก็ได้หมดเลย.. เลยกลายเป็นธรรมะไร้สาระเลย

นี่ไง ทั้งๆ ที่มันมีสาระนะ ทั้งที่เกิดเป็นมนุษย์... อริยทรัพย์นี่มีสาระ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มีจิตนี้มีคุณค่ามาก แต่จะมีคุณค่าเพราะต้องประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง มีสติปัญญาของเราจริงๆ แล้วเกิดขึ้นมา มันเป็นสติปัญญาของจิตดวงนั้น

“จิตแก้จิต” จิตที่มีอวิชชา จิตที่มีตัณหาความทะยานอยาก มันก็ทำให้จิตนั้นเวียนตายเวียนเกิดไปตามวัฏฏะ เวียนตายเวียนเกิดไป.. นี่อหังการ์ ถือตัวว่าเป็นนักปราชญ์ มีความรู้ มีบุญญาธิการ เกิดตายทั้งนั้นแหละ ไม่รอดหรอก

แต่ถ้าเรามีสติปัญญาของเรา เห็นไหม ...อาบเหงื่อต่างน้ำ ทุกข์ๆ ยากๆ กันนี้ ดูสิผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะรักษาอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะควบคุมตลอด จะดูแลตลอด ถ้ามองทางโลก ก็ว่านี่เป็นคนทุกข์คนยาก เป็นคนที่ไม่มีความสุขประจำชีวิตเลย เพราะความสุขคือกามคุณไง ! “กาม” เห็นไหม

“รูป รส กลิ่น เสียงเป็นกามคุณ เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร” นี่คือความสุขหรือ? แต่โลกเขาว่านี่คือความสุข

ถ้าเราปรารถนาสิ่งใด แล้วสมความปรารถนา สร้างสภาวะสิ่งใดสมความปรารถนา สิ่งนั้นเป็นความสุขทั้งหมด นี่คือรูป รส กลิ่น เสียง นี่เป็นกามคุณ !

โลกเขามีความสุข แต่เวลาเราถือพรหมจรรย์ เราถือศีลใช่ไหมให้จิตตั้งมั่น ให้จิตเป็นหนึ่งเดียว ให้จิตกำหนดอานาปานสติ กำหนดพุทโธให้จิตมันตั้งมั่นขึ้นมา เราต้องควบคุมอินทรีย์ ต้องควบคุมทุกอย่าง แต่เขาบอกว่าเป็นคนขี้ทุกข์ขี้ยาก เห็นไหม

“แต่คนขี้ทุกข์ขี้ยากนี้ มันเป็นนานาสาระธรรม” มันจะเป็นคุณประโยชน์กับใจ เป็นคุณธรรมของเรา ถ้าเป็นคุณธรรมของเรา เห็นไหม

“ดอกบัวเกิดจากโคลนตม” อริยทรัพย์ อริยภูมิ จะเกิดจากหัวใจปุถุชน จะเกิดจากหัวใจที่มันทุกข์ยากนี่แหละ แต่เพราะมันมีสติมีปัญญา มีคุณธรรม มันถึงย้อนกลับมาตั้งสติปัญญา เพื่อจะหาอริยทรัพย์จากภายใน เพื่อจะหาคุณประโยชน์กับเรา ด้วยจิตแก้จิต เอาจิตเอาความรับรู้สึกของเรานี้ มีสติปัญญาเข้ามาใคร่ครวญในหัวใจของเรา นี่ไง นี่ปัญญาปัจจุบัน ไม่ใช่ปัญญาศึกษามาจากใคร

การศึกษา.. การศึกษาเป็นสุตมยปัญญา คือการศึกษาในภาคปริยัติ ศึกษามาเป็นวิธีการ เป็นแนวทางเท่านั้น แต่มันแก้กิเลสไม่ได้ ! อย่างเช่นคนไม่ใช่สัญชาตินั้น จะไปอยู่ในประเทศนั้นไม่ได้

ในเมื่อปัญญามันไม่ได้เกิดจากจิต ไม่ได้เกิดจากสัญชาติในหัวใจของเรา อย่างนั้นมันแก้กิเลสไม่ได้หรอก ! ดูสิ ลิขสิทธิ์จากชาติใดชาติหนึ่ง มันก็เป็นลิขสิทธิ์ของเขา แต่เราศึกษาได้ เราค้นคว้าได้ แต่มันจะเข้ามาแก้ไขนี่มันคนละรัฐ ฯ มันคนละประเทศ คนละฐีติจิต คนละฝ่าย มันจะเข้าถึงจิตเราไม่ได้เลย

แต่ถ้ามันเกิดจากจิตเราล่ะ คนในชาตินั้น.. คนในประเทศนั้น.. คนผู้มีสิทธิในชาตินั้น เขาทำสิ่งใดเขามีสิทธิตามชอบธรรมของเขา

จิต.. ถ้าเวลาปัญญามันเกิดจากเรา ถ้าเรามีสติปัญญาขึ้นมา เห็นไหม มีความสงบของใจขึ้นมา ถ้ามันเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมา นี่มันเกิดมาจากใจของเรา แล้วถ้ามันเกิดจากใจของเรา “นี่ไง ธรรมมันเกิดที่นี่ สาระเกิดที่นี่”

สาระคือข้อเท็จจริง ตามความเป็นจริง ถ้ามีสาระมีความเป็นจริง เห็นไหม มันจะเป็นประโยชน์กับใจดวงนั้น.. มีประโยชน์กับใจดวงนั้น แล้วมันเป็นปัจจัตตัง

เป็นปัจจัตตัง คือจิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าเป็นสมาธิ จิตฟุ้งซ่านมา ก็รู้ว่าฟุ้งซ่านมาตลอด เริ่มต้นมาไม่รู้สิ่งใดเลย ไม่รู้ขาวรู้ดำ ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ แต่เพราะมีสติมีคำบริกรรม มีการใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ด้วยความตั้งมั่น ด้วยความวิริยะ ด้วยความอุตสาหะ ด้วยการกระทำของเรา เห็นไหม

เวลาจิตไม่สงบก็รู้ว่าไม่สงบ แต่พอจิตเริ่มสงบเข้ามา มันเริ่มพิจารณาด้วยการใช้ปัญญา นี่มันแยกแยะได้ อย่างเช่นคนเรานะตาบอด เวลาเขาบอกสิ่งใดขนาดไหน ว่านั่นเป็นแสงสีเสียงอย่างใด เราก็ไม่รับรู้ไปกับเขา แต่เขาบอกก็ฟังเขาไว้

จิตมันไม่เคยสงบ มันมีแต่ความฟุ้งซ่าน ถ้าจิตเวลามันเริ่มสงบเข้ามา นี่มันรับรู้ได้ มันเปิดตาได้ ถ้ามันเปิดตาได้นะ ถ้ามันไม่ใช่คนตาบอด มันก็เห็นไปทุกอย่าง รับรู้ไปทุกอย่าง

จิต ! จิตถ้ามีกำหนดพุทโธ พุทโธจนจิตเป็นสมาธิ คือมันได้สัมผัส เห็นไหม นี้มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก ถ้าจิตมันเป็นปัจจัตตัง คือสงบก็รู้ว่าสงบ พอสงบขึ้นมาแล้ว มันใช้ปัญญา มันใคร่ครวญสิ่งใด นี้มันแตกต่างหลากหลาย ถ้ามันแตกต่างหลากหลาย นี่ไงสาระมันเกิดแล้ว ! สาระตามความเป็นจริงมันเกิด

แต่สาระที่เกิดขึ้นมาก็ไม่รู้ ปฏิบัติใหม่ไม่รู้ เพราะมันยังไม่มีความชำนาญ เราก็ต้องมีสติปัญญาของเรา เรากำหนดพุทโธบ่อยครั้งเข้า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ เห็นไหม ถ้าพุทโธ พุทโธจนจิตมันลงดิ่งจนอัปปนาสมาธิ มันสักแต่ว่าเลย คิดไม่ได้ ทำสิ่งใดไม่ได้ แต่รู้อยู่ชัดเจนมาก !

นี่ถ้าคนทำเป็น ถ้ามีสาระขึ้นมามันจะรู้ นี่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มันจะรู้เรื่องของสมาธิ ! แล้วถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจนมีความชำนาญนะ ถ้าจิตชำระกิเลส จิตวิปัสสนาจนสติปัฏฐาน ๔ แก้ไขจิตของเราเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมา เวลาไปฝึกไปทำสมาบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทำสมาบัติ สมาบัติกับสมาธิแตกต่างกันอย่างไร นี่ชัดเจนมาก !

เพียงแต่ว่าสิ่งนี้มันเป็นสาระที่มีคุณประโยชน์ มันเป็นสาระของใจที่สัมผัส ฉะนั้นคนที่ไม่มีความชำนาญ ฌานกับสมาธิแตกต่างกันอย่างใด แล้วทำไมครูบาอาจารย์ของเราถึงใช้แทนกัน..

“คำว่าฌานก็คือสมาธิ สมาธิก็คือฌาน” แต่ความจริงไม่ใช่ ! ความจริงไม่ใช่ !

นี่เวลาครูบาอาจารย์ท่านว่า หลวงตาท่านพูดบ่อย “ไอ้ฌานๆ แชนๆ อะไรนี่อย่ามาพูดกับเรา... อย่ามาพูดกับเรานะ ไอ้ฌานๆ แชนๆ นี้ เพราะเราไม่ได้ปฏิบัติเอาฌาน เราปฏิบัติเอาสมาธิ”

เพราะสมาธินี้มันมีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ฉะนั้นพอเป็นสมาธิแล้วจิตมันตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่น จิตมันมีกำลัง.. จิตตั้งมั่น คำว่าจิตตั้งมั่นนี้อะไรตั้งมั่น ตั้งมั่นคือต้นเสาใช่ไหม เอาเสามาตั้งมั่นมันก็เป็นเสา มันไม่มีชีวิตหรอก

แต่จิตเวลามันตั้งมั่น นี้มันรู้ตัวของมัน เวลาขณิกสมาธินี่มันชัดเจนของมัน แล้วเวลาอุปจาระ พอชัดเจนแล้วออกไปมีกำลัง ถ้าอัปปนาขึ้นมานี่โอ้โฮ.. ร่มเย็นเป็นสุข มันเป็นเรื่องที่ลึกลับมหัศจรรย์มากเลย

นี่ไงนี่มันรู้ของมัน เพราะจิตมันมีชีวิต จิตมันเป็นธาตุรู้ มันรับรู้สึกของมัน เป็นสมาธิ มันก็ต้องรู้ว่าเป็นสมาธิ... ไม่เป็นสมาธิ มันก็ต้องรู้ว่าไม่เป็นสมาธิ..

แต่พวกไร้สาระ พวกธรรมที่ไร้สาระก็ว่า “ว่างๆ มีความสบาย อู้ฮู.. สบายน่าดูเลย นะ ว่าง.. อู้ฮู.. มีความสุขมากเลย” แต่มันไม่มีสาระ เพราะไม่มีกำลัง จิตมันถึงมีกำลังไม่ได้

เหมือนเราเข้าใจว่าเรามีเงินล้านหนึ่ง แต่มันไม่มีเลย เงินล้านนี้คือคิดกันเอาเอง แต่ถ้าเรามีเงินหนึ่งล้านนี่นะ เงินหนึ่งล้านนั้นจะทำประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน คิดเอาสิ.. แต่คนที่ไม่มีเงินหนึ่งล้าน แต่คิดว่าตัวเองมีเงินหนึ่งล้าน อย่างนั้นคือคนไร้สาระ ธรรมะไร้สาระก็เป็นแบบนั้น ว่า “ว่างๆ.. สบาย... ว่างๆ.. สบาย...” แต่ไม่มีเงินจริง

แต่ถ้าคนที่มีสาระนะ “นานาสาระธรรม เก็บเล็กผสมน้อย”

“นานาคือทุกกระเบียด ทุกสติ ทุกการเคลื่อนไหว.. สาระ คือสติปัญญา.. นี่ธรรม คือสัจธรรมตามความเป็นจริง”

ถ้ามันมีสาระ มีการกระทำ จิตเป็นขณิกสมาธิก็รู้ สงบแล้วใช้ปัญญานี่ทะลุปรุโปร่ง แค่เป็นสมาธินะ ความเห็นเรานี้จะแตกต่างกับปกติ

ความเห็นปกติคือความเห็นของสมอง มันมีกิเลสปิดตาไว้ มันจะมองคิดสิ่งใดด้วยวิทยาศาสตร์ ด้วยสมอง ด้วยการศึกษา ด้วยทางวิชาการ แต่พอเรากำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ พอจิตเรามีกำลังเป็นสมาธิ นี่เราจะคิดโดยธรรม

“ธรรมะเหนือโลก เหนือวิทยาศาสตร์ เหนือทางวิชาการ”

ดูสิเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่เป็นธรรม เราศึกษามาแล้ว เราก็ว่าเราเข้าใจซาบซึ้ง แต่พอจิตเราเป็นสมาธิ เป็นขณิกสมาธิ คือเราตรึกในธรรมข้อเดียวกัน จิตมันจะมีความรู้ความเห็นที่สะเทือนหัวใจ

ถ้าจิตมันมีขณิกสมาธิ เราจะใช้ปัญญาพิจารณาทางโลก ทางชีวิต ทางความเป็นอยู่ของโลก ความเป็นอยู่ของสังคม นี่มันก็ทะลุปรุโปร่ง.. มันทะละปรุโปร่งเพราะอะไร เพราะจิตมันมีกำลัง จิตมันมีความเป็นเอกเทศ ความเป็นเอกเทศคือไม่มีผลของวัฏฏะ

ผลของวัฏฏะ คือผลของเวรของกรรม.. ผลของวัฏฏะ คือผลของความชอบใจ ไม่ชอบใจ.. ผลของการเข้าข้างฝักฝ่าย

แต่ถ้าจิตมันเป็นสัมมาสมาธิ.. “สัมมา คือไม่มีตัณหาความทะยานอยาก.. สัมมาสมาธิคือไม่มีสมุทัยในสมาธินั้น” แต่ถ้าเป็นเรื่องของโลก ถึงจะมีความสงบขนาดไหน มันมีตัณหา มีฝักฝ่าย.. ฝักฝ่ายผลของวัฏฏะ การใคร่ครวญประโยชน์นั้น การใคร่ครวญสิ่งใดนั้นจะไม่ชัดเจน จะใคร่ครวญตามจริตนิสัยของแต่ละบุคคล

แต่ถ้าจิตดวงใด ถ้าจิตมันมีความสงบ จิตมันมีขณิกสมาธิ มันใคร่ครวญสิ่งใด ด้วยจิตที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นสิ่งที่เป็นสัจธรรม มันไม่มีฝักไม่มีฝ่าย การไม่มีฝักไม่มีฝ่าย เวลาพิจารณาสิ่งใดแล้วมันเห็นไปตามข้อเท็จจริง

จิตไม่มีฝักไม่มีฝ่าย มันถึงไม่มีผลประโยชน์กับความรู้สึกนึกคิด พอจิตไม่มีผลประโยชน์กับความนึกคิด จิตไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย ความพิจารณาของมันเลยชัดเจน แล้วพอมีความชัดเจน ผลที่จิตมันพิจารณาชัดเจนนี้ เหมือนกับเครื่องเรดาร์ เรดาร์จับสิ่งใดได้ ค่าตามความเป็นจริงมันจะให้ผลตามความเป็นจริง

จิต.. ถ้ามันมีสัมมาสมาธิ มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ เวลาพิจารณาสิ่งใด มันจะมีค่าตามความเป็นธรรม ! มันไม่ใช่มีค่าตามความเป็นวิทยาศาสตร์ มันไม่ใช่มีค่าตามวัฏฏะ ตามความเห็นความรู้สึกความนึกคิด ความพอใจและไม่พอใจ จิตมันมีกำลังของมัน เห็นไหม มันพิจารณาสิ่งใด มันจะมีความรู้สึก มันจะมีความสุข

“นี่ไง ! นี่ไงนานาสาระธรรม”

เริ่มต้นจากนานาสาระธรรมนะ ! แล้วมันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จิตมันจะมีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันจะปล่อยวางเข้ามาเป็นอิสรภาพของมัน แล้วพอมันปล่อยวางเข้ามาบ่อยครั้งเข้า นี่จากขณิกสมาธิเป็นอุปจารสมาธิ นี่เป็นขั้นของสมถะนะ !

นี่ไม่ได้วิปัสสนาอะไรเลย นี่แค่เพราะมีนานาสาระธรรม กับเก็บเล็กผสมน้อย มันก็จะเป็นพื้นเป็นฐาน เป็นหลักเป็นเกณฑ์ ให้จิตนี้มีกำลัง ให้จิตนี้มีวิวัฒนาการ ให้จิตนี้พัฒนาของมันขึ้นไป

พอพัฒนาขึ้นไป จนสงบบ่อยครั้งเข้า จนสงบบ่อยครั้งเข้า ถ้ามีสติปัญญานะ มันจะไม่หลงตัวมันเอง แต่ถ้าไม่มีสติปัญญานะ พอพิจารณาบ่อยๆ พอมันสงบแล้วก็ว่า “เอ้อ.. นี่นิพพาน ว่าง... สบาย” เห็นไหม นี่ไงมันยังมีการก้าวเดินไป

นานาสาระ คือเราต้องมีสติ ต้องมีปัญญา ต้องมีการแยกแยะ ดูสิทางโลกเขาประกอบธุรกิจกัน เขาต้องทำการวิจัยตลาด เขาต้องมีการประชุม เขายังต้องทำด้วยความรอบคอบ เขาถึงทำแล้วไม่มีความเสียหาย

อันนี้เราปฏิบัติธรรมนะ การปฏิบัติธรรมนี่นะ มันเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาเลิศจากจิต ปัญญาที่เกิดจากจิตที่เป็นสัมมาสมาธิที่สะอาดบริสุทธิ์ แล้วจึงเกิดภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ มันลึกลับซับซ้อนกว่าปัญญาที่เขาทำธุรกิจกันอีกหลายเท่านัก

ปัญญาทางธุรกิจ ปัญญาที่เขาทำการค้า ปัญญาเพื่อทางโลก เขายังต้องใช้ปัญญา เขายังต้องหาข่าว เขายังต้องหาข้อมูลข้อเท็จจริงของเขา เขายังรอบคอบขนาดนั้น ไอ้เราประพฤติปฏิบัติธรรมกันนะ “ธรรมะเหนือโลก” คือมันจะฆ่ากิเลสเลยแหละ แต่เราทำให้มันไร้สาระ ก็เลยเป็นธรรมะไร้สาระ

แต่ถ้ามันจะเป็นสาระ เราจะล้มลุกคลุกคลานขนาดไหน เราจะต้องมีสติ เราจะต้องมีความมุมานะ เราจะต้องมีความบากบั่น มันจะเป็นประโยชน์กับเรา

นี้คือธรรมจริง ! ธรรมจริง คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แล้ววางธรรมและวินัยไว้ เราเป็นสาวก-สาวกะ เราต้องทำความเป็นจริง เราอย่าทำเข้าข้างตัวเอง แล้วอย่าตามกระแสที่เขาไร้สาระกัน

เดี๋ยวนี้เป็นธรรมะไร้สาระ... " ธรรมะไร้สาระ " เอวัง