เทศน์บนศาลา

สำคัญผิด

๑๖ ต.ค. ๒๕๕๓

 

สำคัญผิด
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมนะ ตั้งสติ ตั้งสติไว้ เสียงจะมากระทบเอง เราต้องการความสงบนะ ฟังธรรมจิตเกาะไว้ จิตตั้งสติไว้เห็นไหม เสียงธรรมนั้นมาเองๆ แล้วจิต เราตั้งสติของเราไว้นะ เวลาสงบเราสงบที่จิตเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ การเกิดมาเป็นมนุษย์นี้มีคุณค่ามาก เวลาเกิดเป็นมนุษย์มีคุณค่าเพราะมีสติ เรารู้จักคุณค่าของการมีชีวิต

ดูสิ..เวลาเราเกิดจากพ่อจากแม่มาเห็นไหม พ่อแม่มีความเอ็นดู มีความรัก มีความผูกพัน พ่อแม่นะเวลาลูกเกิดมานี่จะมีความรู้สึก มันจะผูกพันมาก ฉะนั้นเห็นไหม ความผูกพันของชาติ ของตระกูล เราเกิดเป็นมนุษย์มีคุณค่าเห็นไหม มีค่าของน้ำใจ แล้วเราเกิดมาพบพุทธศาสนา

พุทธศาสนาสอนถึงความกตัญญูกตเวที สอนถึงความเป็นอยู่ในสังคมโลก สอนให้ทำคุณงามความดี เพราะคุณงามความดีทำให้เกิดสิ่งที่ดีๆ แล้วเราเกิดมาเป็นมนุษย์ถึงจะทุกข์จะยาก จะทุกข์จะยากนี้มันเกิดเพราะเวรเพราะกรรม แต่ถ้ามีสติมีปัญญา ทุกข์ยากขนาดไหนเราก็จะทำคุณงามความดีของเรา

ถ้าทำคุณงามความดีของเราเห็นไหม เพราะเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนถึงมีสติ สอนถึงคุณงามความดี เพราะเรามีหลักมีเกณฑ์ในหัวใจ แต่ถ้าเราเกิดมาเป็นมนุษย์เห็นไหม มันก็เกิดเพราะอำนาจวาสนานั่นแหละ ถึงได้เกิดเป็นมนุษย์ แต่ไม่ได้พบพระพุทธศาสนาเห็นไหม มีความเชื่อแตกต่างกันไป ความเชื่อนะ ความเชื่อที่แตกต่างกันไป เพราะการดำรงชีวิตตามความเชื่อนั้น ถ้าการดำรงชีวิตตามความเชื่อนั้น ความเชื่อนั้นเหมือนกับเข็มทิศชี้ให้ชีวิตเราไปตามนั้นเลย

แต่นี่เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ พบพุทธศาสนา พุทธศาสนา ศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้นะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้น ปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ กว่าจะปรารถนามาเป็นพระโพธิสัตว์เห็นไหม สร้างสมบุญญาธิการมหาศาล สร้างสมบุญญาธิการมหาศาลนะ เสียสละมาทุกสิ่งทุกอย่าง เสียสละมาตั้งแต่เป็นพระโพธิสัตว์ เสียมาทุกอย่างเลย เสียมาเพื่ออะไร เสียมาเพื่อความปรารถนาจะพ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกข์เพราะเป็นสยัมภูตรัสรู้เองโดยชอบ

แต่เราเป็นชาวพุทธ เราเกิดมาเป็นสาวก สาวกะ เกิดมาพบพุทธศาสนา เกิดมาพบนี่มีบุญมหาศาลเลย แล้วเวลาบุญมหาศาลนะ เราเกิดมาพบแล้วเราทำสิ่งใดต่อไป ถ้ามีสิ่งใดทำต่อไปเห็นไหม เราตั้งใจมาเพื่อประพฤติปฏิบัติกัน ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเพื่อให้ได้ลิ้มรสไง รสของธรรม ชนะซึ่งรสทั้งปวง เราเกิดมาตามสัมผัสทางโลก เราได้ลิ้มรสทางความเป็นอยู่ของโลกเขา ปัจจัยเครื่องอาศัยต่างๆ ปัจจัย ๔ ความเป็นอยู่ของโลกเขา สิ่งต่างๆ ที่มีความสุขเราก็แสวงหาได้ทั้งนั้นล่ะ มันเป็นความสุขจริงหรือเปล่าล่ะ

ความสุขถ้ามันเป็นสิ่งที่ตามความเป็นจริงเราก็หาได้ คนที่มีทรัพย์ขึ้นมานี่ เขาจะหาได้ทั้งนั้นน่ะ ยังมีทรัพย์ ถ้าเกิดไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ทรัพย์นั้นมันก็กลับมาทำลายเราอีกด้วย กลับมาทำลาย เราเอาสิ่งใดมา มันเป็นเวรเป็นกรรม มันทำเวรทำกรรมให้กับจิตของเราเอง แต่ถ้าเรามี เราเป็นชาวพุทธ พบพุทธศาสนา เห็นไหม ศาสนาสอนถึงการให้เสียสละ สอนถึงการให้รักษาคุณงามความดี

การเสียสละเห็นไหม เวลาพระเรานี่ “เสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เสียอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เสียชีวิตเพื่อรักษาธรรม”

เสียสละชีวิตเพื่อรักษาธรรมนะ ! พระพุทธเจ้าสอนขนาดนั้น สอนถึงเสียสละชีวิตเลยล่ะ แต่เรารักษาคุณธรรม รักษาคุณงามความดีของเรา แต่นี้คุณงามความดีของเรา ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา เราจะตั้งใจของเรา ทำคุณงามความดีของเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ มีคุณค่ามาก มีคุณค่าจริงๆ อย่าไปเสียใจ ! อย่าไปเสียใจ ! อย่าไปคิดถึงความทุกข์ความยากทาง..อย่างการประกอบอาชีพทางโลก หรือทุกข์ยากๆ ที่ความเป็นอยู่การดำรงชีวิตของเรา สิ่งอย่างนี้มันลุ่มๆ ดอนๆ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนะ เวลาไปเผยแผ่ พราหมณ์นิมนต์ไว้แล้วลืมใส่บาตร นี่เกิดทุพภิกขภัย ไม่มีอาหารจนข้าวยากหมากแพงเห็นไหม แล้วเขาก็ลืมใส่บาตรด้วย บิณฑบาตที่ไหนก็ไม่ได้เลย จนพระโมคคัลลานะเดือดร้อนมาก จะไปบิณฑบาตทวีปนั้น จะพลิกง้วนดินขึ้นมาฉัน อู๋....องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ให้ทำๆ พอไม่ให้ทำ พอออกพรรษาขึ้นมานะพวกเธอชนะแล้ว ! พวกเธอชนะแล้ว ! ชนะตนเองไง เวลาโดนบีบคั้น

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นไหม ดูสิ..เรานะ เราอยู่กับครูบาอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่เคารพรักบูชา แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ ฉันข้าวกล้องของม้านะ ชาวพ่อค้าม้าเขามาขายม้า ข้าวยากหมากแพงเขาเอาของมาด้วย ก็ให้พระเหมือนกัน แล้วด้วยความเคารพไง เคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วมันไม่มีอะไรเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องฉันแบบนั้น

ความรู้สึกในหัวใจมันก็บีบคั้นอยู่แล้ว ชีวิตเราก็ต้องลำบากอย่างนั้นเหมือนกันด้วย นี่ไง เราลำบากอย่างนั้น แล้วเวลาปฏิบัติมาเห็นไหม ปฏิบัติมาเพื่ออะไร ปฏิบัติมาเพื่อพ้นจากทุกข์ แล้วพระโมคคัลลานะ ปฏิบัติมานี่พ้นจากทุกข์ แล้วมีฤทธิ์มีเดช มีฤทธิ์มีเดชนี่ทำได้หมดเลย

ถ้ามีฤทธิ์มีเดชทำไม่ได้นะ แล้วทำไมพระโมคคัลลานะ เวลาสนทนากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ข้าพเจ้าจะทำอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะทำอย่างนั้น” นี่สนทนาอยู่กับใคร กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่เป็นจริง พระโมคคัลลานะทำไม่ได้นี่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปล่อยให้พูดอย่างนั้นไหม มันทำได้จริงไง ทำได้จริงไง ฤทธิ์เดชทำได้

เวลาประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติมาเพื่อพ้นจากทุกข์ เพื่ออริยสัจ เพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่ปฏิบัติมาเพื่อมีฤทธิ์มีเดช แต่คำว่า “มีฤทธิ์มีเดช” มันเป็นบุญกุศลของพระโมคคัลลานะ

พระสารีบุตรเห็นไหมปรารถนาเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา ความปรารถนาก็ต้องสร้างบุญกุศลขึ้นมาเห็นไหม ปรารถนามาเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา เบื้องซ้ายเห็นไหมมีฤทธิ์มีเดช เบื้องขวามีปัญญามาก

แล้วเวลาพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ๘๐ องค์เห็นไหม เอตทัคคะ ๘๐ อย่าง นี่ความเป็นไปของจิตที่มันพัฒนาของมันมาใช่ไหม สิ่งที่มันเป็นไปได้ เวลามันพ้นจากทุกข์แล้วยังมีฤทธิ์มีเดช แต่ของเราเห็นไหม เราเกิดมาทุกข์ๆ ยากๆ เกิดมามีแต่ความบีบคั้น เกิดมาพบพุทธศาสนาเหมือนกัน ศาสนานี่ ตัวอริยสัจนี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้เราประพฤติปฏิบัติ วางไว้ให้เรามีทางออกได้

แล้วเราเกิดมาเป็นมนุษย์น่ะ เห็นไหมเหมือนกับคนเป็นโรค คนเป็นโรคเขาต้องการยานะ เขาต้องการหมอรักษาเขา เขาอยากหายจากโรคนั้นแน่นอน เพราะโลกมันเจ็บไข้ได้ป่วย มันเจ็บคั้นนะ เรานะ เราเป็นโรคใจ ไข้ใจกัน แต่เราเพลินไป เรามองข้ามไป เรามองแต่ว่าเราแข็งแรง เรายังเป็นหนุ่มเป็นสาว เรายังทำอะไรได้อีก แก่ๆ แล้วค่อยปฏิบัตินะ

ปฏิบัติตอนนี้นั่งก็เจ็บปวดแล้ว ลุกก็โอย..นั่งก็โอยน่ะ แล้วยังว่ารออีกข้างหน้าอีกเห็นไหม ดูสิ..ดูกิเลสมันร้ายนัก มันปิดหูปิดตา ทั้งๆที่เข้ามานี่ เห็นไหม ใกล้เกลือกินด่าง เข้ามาอยู่กับศาสนานี่ เข้ามาประพฤติปฏิบัติ เข้ามามีครูบาอาจารย์ชักนำอยู่นี่ มันก็ยังผัดผ่อน เห็นไหม

ดูกิเลสสิ เวลาผลประโยชน์ เวลาไปเที่ยวไปทัศนาจร ทัศนศึกษา บอกว่า “แก่ๆ แล้วค่อยไปสิ” ทำไมมันอยากไปตอนนั้นเลยล่ะ เวลาสุขสบายของมัน มันเคยตัวมันจะไป แต่เวลาปฏิบัติมันไม่เอา ดูกิเลสสิเห็นไหม กิเลสในหัวใจของเรา นี่กิเลสนะ

คำว่า “กิเลส” ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชี้ถึงกิเลส ใครจะรู้จักกิเลสบ้าง ก็เป็นเรา เราคิดดี เราทำดี เราทำเพื่อประโยชน์ของเราเห็นไหม เราก็สะดวกสบายของเรา ไอ้พวกที่ทำๆ เขาก็ทุกข์ๆ ยากๆ เห็นไหม ก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นกิเลสไม่เป็นกิเลสหรอก เราคิดว่า เราคิดเราทำอย่างนั้นแล้วเราได้ประโยชน์

แต่ในธรรมนะเวลาทำเห็นไหม ครูบาอาจารย์เห็นไหม อย่าดูถูกความนิ่งอยู่ของพระอริยเจ้า เพราะท่านเห็นนะ ท่านรู้ของท่าน แล้วท่านรู้ถึงความคิดที่มันเกิดขึ้นมา แล้วพูดออกไปเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ มันไม่เป็นประโยชน์เลย มันไม่เป็นประโยชน์เพราะสิ่งใด เพราะว่า เขารับไม่ได้ เขารู้ด้วยกับเราไม่ได้ เราพูดสิ่งที่เขาไม่รู้ เราพูดสิ่งที่เขาไม่รู้น่ะ เขาไม่รู้อะไรกับเราเลย เหรอเลยนะ !

แต่ความจริง พูดเพื่อเตือน เตือนให้ได้คิดขึ้นมา แต่ไม่ได้คิด คิดไม่ได้เพราะอะไร เพราะจิตใจมันเป็นหยาบ จิตใจมันเป็นโลกเห็นไหม นี่ไง เราศึกษาธรรมๆ ศึกษาธรรมะเพื่อเหตุใด ศึกษาธรรม มันมีโลกกับมีธรรมนะ มีโลก โลกคือโลกียปัญญา โลกคือสุตมยปัญญา โลกคือจินตมยปัญญา มันไม่เกิดภาวนามยปัญญา มันไม่เกิดธรรม ยังไม่เกิดธรรม แล้วมันไม่เกิดธรรมเราจะเข้าได้หรือไม่ได้

ดูเงินสิ เงินมีเงินเหรียญ มีเงินกระดาษ เดี๋ยวนี้มีเงินพลาสติก นี่ไงดูเงินมันก็แตกต่างกันเห็นไหม เงินเหรียญมันก็เป็นแร่ธาตุ เงินกระดาษมันก็เป็นด้วยกระดาษ เงินพลาสติก เขาจะรูดเอาเลย แล้วคนที่ไม่มี..ไม่มีเงินพลาสติก เอ..เงินพลาสติกมันเป็นไปได้อย่างไร นี่ไงคนที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น พูดอย่างไรเขาก็ไม่รู้หรอก นี่เขาไม่รู้ สิ่งใดที่เขาจะรู้ขึ้นมาได้ล่ะ ถ้าเขารู้ได้ขึ้นมานี่ มันต้องค่อยๆ ค่อยๆ เห็นไหมปูพื้นฐานกัน

เราเป็นชาวพุทธนะ เราจะศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาพุทธศาสนา ศึกษามาเป็นโลก โลกคือสุตมยปัญญา โลกคือปริยัติ ปริยัติคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปรัชญา เราศึกษากันด้วยปรัชญา เพราะเรารู้ด้วยไม่ได้ เห็นไหม ดูสิ เขาใช้เงินกัน เราใช้เงินกับเขา เงินมันหามาด้วยวิธีการใด แต่เราได้มาด้วยการให้ ด้วยการพ่อแม่ยื่นให้ เราไม่ได้มาด้วยการอาบเหงื่อต่างน้ำหาเงินมา ฉะนั้น เรามาศึกษาธรรม ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สุตมยปัญญาเราก็ศึกษา เห็นไหม เราก็ศึกษาก็เหมือนเงินที่พ่อแม่ให้

เพราะมันไม่มีการกระทำ เห็นไหม สุตมยปัญญาคือปริยัติ ปริยัตินี่คือโลก แล้วโลกเราพอศึกษาขึ้นไปแล้วเห็นไหม ศึกษาขึ้นมาด้วยปัญญาของเราเห็นไหม ด้วยปัญญาที่เราศึกษากันมา แล้วเรามีปัญญาชน เราไม่มีการศึกษาขึ้นมา มันยิ่งตีความ ยิ่งค้นคว้าได้ การค้นคว้าได้มันก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ โอ้โฮ..จินตนาการกันไปนะ แล้วพอจินตนาการไปนะ แต่! แต่มันมีฝ่ายปฏิบัติ มีครูบาอาจารย์ของเรื่องนี้ เพื่อประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ ปฏิบัติมาด้วยการรื้อค้น ด้วยตามความเป็นจริงขึ้นมา

การรื้อค้นตามความเป็นจริงขึ้นมา ความเป็นจริงจากไหน ความเป็นจริงก็ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยอำนาจวาสนาว่า เราอยากจะพ้นทุกข์ การที่พ้นทุกข์มันต้องพ้นที่ตัวจิตใต้สำนึก ตัวจิต ตัวที่ความลังเลสงสัย ก้นบึ้งของใจ มันไม่ใช่พ้นทุกข์ด้วยความคิด เราไม่ได้พ้นทุกข์ด้วยจินตนาการ เราจะไม่พ้นทุกข์อย่างนั้น

ถ้าเราจะพ้นทุกข์อย่างนั้น เรารู้อยู่ว่าเรายังมีความลังเลสงสัย เรารู้อยู่ว่าจิตใต้สำนึกเราไม่ยอมรับ สิ่งที่จิตใต้สำนึกไม่ยอมรับ ความเป็นใจของกิเลสมันมีตัณหาความทะยานอยากมันพอกพูนในหัวใจ แต่เพราะด้วยมีอำนาจวาสนานะ ถ้าไม่มีอำนาจวาสนา มันจะอยู่กับโลกๆ เขา

โลกๆ เขา คือเขาได้ตรึก เขาได้คิดพิจารณาของเขา เป็นจินตนาการของเขา เขาว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ แต่เพราะเราฝ่ายปฏิบัติมันเป็นธรรมขึ้นมามันเป็นปรัชญา เวลาพูดขึ้นมามันตีความกันได้ทั้งนั้น มันเป็นเรื่องโลกๆ โลกคุยกันไง เหมือนภาษาสังคม สังคมหนึ่ง เขาใช้ภาษานั้นเขาก็คุยกันรู้เรื่องในภาษาของเขา แต่เราไม่ได้มีการศึกษาในภาษาของเขา เราเข้าใจในภาษาของเขาไม่ได้ เขาคุยกันแล้วเราก็จะเข้าใจในภาษาของเขาก็ไม่ได้

ธรรมะก็เหมือนกัน เราภาษาโลกไง เราใช้ความรู้สึกของเราในทางโลก เข้าไปศึกษาในธรรม มันศึกษาขนาดไหน มันก็เป็นโลกียปัญญา โลก..เป็นโลกหมดเลย โลกทั้งละเอียด ละเอียดว่า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันเป็นปรัชญา ธรรมจริงๆ ไม่ใช่เป็นปรัชญา

ธรรมจริงๆ คือธรรมแท้ๆ ธรรมแท้ๆ คือแทงทะลุตลอดหัวใจ แทงทะลุเข้าไปถึงจิตใต้สำนึก แทงทะลุเข้าไปถึงกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ทำลายกิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งหมด แต่เพราะเราไม่รู้ เราไม่มีพื้นฐาน เราไม่รู้จักใจของเราเลย ใจเขาว่าเป็นนามธรรมๆ สิ่งที่เป็นรูปธรรมคือสิ่งจับต้องได้ สิ่งที่เป็นนามธรรมนี้จับต้องไม่ได้ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นไปแล้ว สิ่งที่เป็นนามธรรมนี้จับต้องได้ทั้งนั้นเลย

จับต้องได้วินิจฉัยได้ ใคร่ครวญได้ เป็นวิปัสสนาญาณ มันจะเป็นลักษณะการปฏิบัติอีกชั้นหนึ่งขึ้นมา แต่เรายังทำถึงสภาวะแบบนั้นไม่ได้ เราก็คิดๆ กันประสาเรา พอคิดประสาเรา เราก็ใคร่ครวญของเราไปนะ เป็นปรัชญาไปนะ โอ้โฮ.. เป็นนิยายธรรมะ แล้วเขียนจินตนาการกัน เป็นการเล่าเรื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็สมมุติกันขึ้นมา อารมณ์ความรู้สึกก็สมมุติตั้งขึ้นมา แล้วก็วาดภาพกันไป วาดภาพว่าเราทำได้เหมือนนะ เวลาเราศึกษาเป็นจินตนาการ จริงได้เหมือนด้วย ภาวนาก็ทำได้ จิตมันสร้างภาพได้ พอมีการสร้างภาพได้ พอมีการภาวนากันไปเห็นไหม

พอภาวนาไป เพราะเราขาดครูบาอาจารย์ แต่ในปัจจุบันนี้เรามีครูบาอาจารย์ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านรื้อค้นของท่านด้วยความทุกข์ความยากนะ ความทุกข์ความยากมันเป็นประสบการณ์ของจิต ถ้าจิตมันไม่มีประสบการณ์ของมัน มีนี่เป็นประสบการณ์ของมัน มันเอาอะไรมาเป็นหลักเกณฑ์ สิ่งที่เป็นหลักเกณฑ์ ดูสิ..ปรัชญานี่เห็นไหม ดูปรัชญา คำว่า “ปรัชญา” มันเป็นการตีความไป แล้วความลึกซึ้งของมัน แล้วเราเข้าใจถึงมัน มันมีอารมณ์ความรู้สึกนะ อารมณ์ร่วม

โอ้โฮ..ซึ้งใจมากๆ มันเป็นปรัชญา มันมีหลักเกณฑ์อะไรของมัน แต่เวลาถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมาเห็นไหม เรามีสติปัญญาของเราขึ้นมา เราฝึกฝนของเราได้ เราทำความสงบใจขนาดไหน ถ้ามันไม่เป็นความจริงขึ้นมา มันก็สงบได้จริงๆ สงบได้ มันก็เลื่อนลอย มันไม่มีหลักเกณฑ์ของมัน ถ้ามันมีหลักเกณฑ์ของมันนะ ถ้าเราปฏิบัติของเรา คนที่มาปฏิบัติเห็นไหม ครูบาอาจารย์ท่านมาปฏิบัติจนมีเหตุมีผลของท่านขึ้นมา จนเป็นที่เชื่อถือของสังคมใช่ไหม เราก็ปฏิบัติของเรา

ถ้าจิตนะ ถ้าไม่มีสติปัญญา ไม่มีความตั้งใจจริง ไม่มีอำนาจวาสนาขึ้นมา มันสำคัญผิดได้นะ เวลาจิตมันเป็นไป มันเป็นจินตนาการขึ้นมา มันเป็นความสำคัญผิด มันไม่ใช่เป็นความจริง ถ้าความสำคัญผิดเห็นไหม ดูสิเวลาจิตมันสงบขึ้นมา เวลาจิตมันสงบ จิตมันมีอาการของมัน เพราะคนเรานะดูสิ คำว่า “บริกรรม” ครูบาอาจารย์ของเรา พุทโธก็ได้ เป็นคำบริกรรมสิ่งใดก็ได้

ถ้ามีคำบริกรรม จิตมันก็เกาะคำบริกรรมไป จิตมันสงบเข้ามาได้ สงบเพราะเหตุใด สงบเข้ามา ดูสิ..รีไซเคิลน้ำ ถ้าน้ำเสีย ถ้าเราไม่มีการรีไซเคิลน้ำ น้ำนั้นเสีย ถ้าเราไม่มีการกำกับ น้ำนี่เป็นสารพิษนะ น้ำนี้มันมีความเป็นกรดเป็นด่างของมัน เราจะแก้ไขมันให้มันสะอาดขึ้นมาได้อย่างไร นี่จิตของเรามันเป็นอยู่อย่างนั้น

พอเป็นอยู่อย่างนั้น เราใช้บริกรรม “พุทโธๆๆ พุทโธไป” มันมีความสะอาดของมันได้ มันมีการกระทำของมัน มันมีหลักมีเกณฑ์ของมันขึ้นมา แล้วมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมานี่ มันเปลี่ยนค่าของมัน ถ้าเปลี่ยนค่าของมัน ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยชี้คอยแนะนะ เพราะมันเจอสิ่งใดไปแล้ว ความสำคัญผิดนี่ จิตมันสำคัญผิด พอจิตมันสำคัญผิดว่าสิ่งที่เป็นความผิดนั้นเป็นความจริง มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาได้ ความจริงคือความจริง ถ้าเป็นความจริงแล้ว มันจะไม่ค้านกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดูสิ..หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเรานี่เห็นไหม เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันจะเป็นความจริง ถ้าความจริงก็คือความจริง ความจริงมันเข้าได้ ความจริงมันอธิบายได้ ความจริงมันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน แต่ถ้ามันเป็นความสำคัญผิดนะ พอมันสำคัญของมันว่าผิดไง สิ่งนี้เป็นธรรม

ถ้าสิ่งนี้เป็นธรรม เป็นธรรมเพราะเหตุใดล่ะ เป็นธรรมเพราะความสำคัญผิดเพราะเรามีกิเลสใช่ไหม คนเราน่ะมีกิเลส มีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันทะยานอยากของมัน มันสร้างภาพของมัน มันสร้างค่าของมัน ถ้ามันสร้างค่าของมัน เวลาผิดแล้วนี่ ผิดมันผิดอยู่แล้ว เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

การปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านมีหลักมีเกณฑ์ของท่าน มันจะล้มลุกคลุกคลานมา กว่าเราจะทำความสงบของใจ ดูสิ..ใจของเรามันยังดิ้นรนขึ้นมาเห็นไหม เวลาดิ้นรนขึ้นมา เราเอามันไว้ไม่อยู่เห็นไหม พอเอาไม่อยู่ ครูบาอาจารย์ท่านจะช่วยนะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านจะช่วย ให้ทำอย่างนั้นๆ ให้อุบาย ให้ช่วยเหลือ ให้เราพอก้าวเดินได้ เปิดทางให้ๆ ให้จิตนี้พอจะก้าวเดินไป

แต่นี้เวลาครูบาอาจารย์จะเปิดทางให้นี่ เราก็ว่าเรามีปัญญามีปัญญา เราปฏิบัติของเรา เราทำของเราเห็นไหม นี่กิเลสนะ กิเลสกว่าจะเป็น กว่าจะสงบได้ กว่ามันจะปล่อยวางได้เพราะอะไร เพราะการปฏิบัติเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ว่า หญ้าปากคอก หรือการกระทำล้มลุกคลุกคลานเพราะอะไร เพราะเรามีหลักมีเกณฑ์ ปฏิบัติได้ยากนะ แต่พอมีหลักมีเกณฑ์

เขาเรียก “ภาวนาเป็นและภาวนาไม่เป็น” เวลาภาวนาไม่เป็นนี่ล้มลุกคลุกคลาน จับอะไรผิดหมดเลย จะทำสิ่งใดจะพุทโธก็พุทโธผิดๆ พุทโธด้วยพุทโธแต่ปาก พุทโธที่ไม่ได้ซึ้งใจ

เขาว่า “พุทโธ” เราก็พุทโธไปกับเขา เราจะทำเหมือนคนที่ยังไม่แน่ใจอะไรเลย พอแน่ใจทำอะไรสิ่งใด มันก็ทำด้วยความไม่มั่นใจ ทำด้วยความไม่แน่ใจตลอดไป แต่ถ้ามันมีความมั่นใจ มีความแน่ใจของมัน มันทำอะไรขึ้นมาเห็นไหม มันจะชัดเจนของมันขึ้นมา เริ่มต้นการกระทำมันจะผิดพลาดของมันตลอดไป

ถ้ามีความผิดพลาดอะไรต่างๆ ถ้ามันเกิดขึ้น เกิดความเห็นผิดเห็นไหม เริ่มต้นมันก็ผิด ผิดโดยกิเลสตัณหาของเราเอง ผิดโดยกิเลสมันหยาบ แล้วสิ่งที่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ “โลกกับธรรม” เราจะทำพัฒนาใจของเราสิ ที่เป็นโลกๆ นี่ เวลาเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นอริยทรัพย์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า สิ่งนี้จิตมันสามารถพ้นจากทุกข์ได้ แต่เวลาจะเผชิญกับความจริงเหมือนกับบาดแผล

บาดแผลนี่ถ้าเราไม่ไปเขี่ยไม่ไปทำให้บาดแผลนี่มันขยายเปิดกว้างขึ้นมา ความบาดแผลนั้นมันก็เป็นบาดแผลเฉยๆ แต่พอเราจะรักษามัน เราต้องทำความสะอาด เราต้องทำความสะอาด เราต้องแกะต้องทำให้มันเปลี่ยนผ้า เลือดออกเลือดซิบๆ เหมือนกันเลยเห็นไหม นี่ก็เหมือนกัน เวลาจะเข้าไปสู่จิต เวลาจะเข้าไปสู่ความสงบ เราก็เข้าไปเผชิญกับกิเลส

พอเข้าไปเผชิญกับกิเลสสิ่งนี้มันก็มีความลำบากลำบนไปทั้งนั้นน่ะ พอสิ่งที่เป็นกิเลสมันก็ต่อต้านเราอยู่แล้วใช่ไหม แต่พอเราทำสิ่งใดไปนี่ มันเบี่ยงเบน เบี่ยงเบนเพราะเราอยากได้ อยากดี แล้วมันมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นไหม พอจิตเรามันเบี่ยงเบนไป เราสำคัญผิด พอคนสำคัญผิดขึ้นมานี่ มันไม่เป็นความจริง พอไม่เป็นความจริง มันก็พยายามจะรับรองความผิดนั้นไง พอมันสำคัญผิดไปแล้ว มันก็สร้างจินตนาการ สร้างความเป็นไปเห็นไหม

แต่เดิมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเทศนาว่าการไว้ในพระไตรปิฎก แล้วมันก็เลอะเลือนไป ไม่เคยมีใครเคยรู้เคยเห็น นี่มันจะเบี่ยงออกแล้ว มันจะเบี่ยงออก แต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นครูบาอาจารย์ของเราน่ะ ไม่เคยเบี่ยงเบนไปไหนเลย พุทธานุสติ ศีล สมาธิ ปัญญา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วางธรรมวินัยไว้ เราปฏิบัติไปแล้วมันเข้าสู่สัจจะความจริง แล้วจิตมันเป็นไปตามนั้น มันมีเหตุมีผลของมัน มันแยกแยะของมัน นี่เป็นไปตามความเป็นจริงนี่เป็นวิทยาศาสตร์เลย

วิทยาศาสตร์คือว่า มันมีเหตุมีผลของมัน มันมีการดำเนินการของมันเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป แต่เวลาเราสำคัญผิด สำคัญผิดเพราะมันไม่เข้าหลักเกณฑ์ใช่ไหม มันไม่เป็นความจริงเพราะเราสำคัญผิด พยายามหาเหตุหาผลมารองรับความเห็นผิดของตัว

แต่เดิมพระพุทธเจ้าเคยสอนไว้ ตั้ง ๒,๐๐๐ กว่าปีแล้วไม่มีใครสืบค้นได้ ถือว่าจริงหรือไม่จริง ในพระไตรปิฎกก็มี พระไตรปิฎกมันอยู่ที่การตีความ เขาจะตีความไปทางไหนก็ได้ พอตีความกันไปเห็นไหม เพราะตัวเองสำคัญผิด มันผิดโดยธรรมชาติเลย มันผิดโดยทางข้อเท็จจริงของมันอยู่แล้ว แต่เพราะความผิดโดยข้อเท็จจริง เพราะเราผิดเอง เราไม่ได้ทำให้มันถูกต้องเสียเอง

ในเมื่อเราผิดเอง แต่เราเข้าสู่ความถูกต้องไม่ได้ เราผิดเอง แล้วเราก็สำคัญผิดด้วย พอสำคัญผิด เราก็จะหาเหตุมารองรับความสำคัญผิดอันนี้ไง พอหาเหตุผลมารองรับความผิดอันนี้ มันก็ต้องหาเหตุผลโดยกิเลสใช่ไหม ทำไมไม่ไปหาครูบาอาจารย์ของเรา

เวลาปฏิบัติได้ถูกต้อง เวลามันผิด มันผิดก็คือผิด ผิดก็คือการปฏิบัติใครทำงานก็ต้องผิด แต่ผิดแล้วมีครูมีอาจารย์ จิตใจมันลงครูบาอาจารย์เห็นไหม ครูบาอาจารย์เคยสั่งเคยสอนกันตามจริตนิสัย ที่จะแก้ไขเราได้ ถ้ามันผิด ผิดเราก็แก้ไขให้มันถูก

ถ้ามันถูกขึ้นมานี่ก็ อืม... นี่ความจริงเป็นอย่างนี้ๆ มันก็ก้าวพัฒนาของมันไป แต่ในเมื่อจิตมันผิดอยู่แล้วใช่ไหม แล้วสำคัญผิด แล้วหาเหตุผลมารองรับความผิด พอรองรับความผิดนี่ สิ่งนี้พระพุทธเจ้าเคยบอก อยู่ในพระไตรปิฎก แล้วเลอะเลือนไป คำพูด นี่เป็นการเห็นผิดทั้งนั้นล่ะ

แต่ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติของเรา ที่เราเชื่อมั่นว่าเป็นครูบาอาจารย์ของเรา ไม่เคยพูดอย่างนี้ ไม่เคยพูดว่าสิ่งนี้เคยมีอยู่แล้ว ไม่มีใครเคยเห็นขึ้นมา ไม่มี ! ไม่มีหรอก ! แล้วพอมันเห็นผิด พยายามหาเหตุผลมารองรับใช่ไหม หาเหตุผลมารองรับ พอรองรับขึ้นมา ดูสิ ต้นไม้นี่เห็นไหม โดยทั่วไป ต้นไม้มันก็ขึ้นโดยธรรมชาติของมัน

แต่ผู้มีความเห็นผิดเห็นไหมบอกต้นไม้มันขึ้นอย่างนี้ มันเนิ่นช้า ต้นไม้นี่พลิกนะ เอารากขึ้น เอายอดปักดินมันจะเติบโตได้มันจะออกผลดี คนไปกันเยอะแยะเลยเพราะอะไร เพราะมันเป็นของแปลก นี่สิ่งใดที่มันเป็นปกติ เป็นของธรรมดานี่ทุกคนเห็นกันจนเคยชิน มันเป็นเรื่องปกติธรรมดา

แต่ถ้าสิ่งใดที่มันพลิกแพลงขึ้นมา ให้แตกต่างเห็นไหม พอความแตกต่าง แตกต่าง พลิกขึ้นมา ต้นข้าวๆ เขาต้องปีนขึ้นไปเก็บเม็ดข้าว มันเป็นจริงไหม ต้นไม้ต้องพลิกขึ้นมาเอายอดปักดิน เอารากขึ้น มันเป็นความจริงไหม มันไม่เป็นความจริง แต่สิ่งนี้มันเป็นวัตถุ มันเป็นสิ่งที่เป็นจริงไปไม่ได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่มีชีวิต เวลาเปลี่ยนแปลงขึ้นมามันก็เห็นภาพกันได้

แต่ความรู้สึกของใจล่ะ จินตมยปัญญา ความเป็นจินตนาการของมัน เห็นไหม ใครบอก สิ่งนี้เราเคย...สิ่งที่มันเป็นไปได้แล้วเราปฏิบัติ ปัญญามันพยายามหาเหตุหาผลมารองรับความเห็นผิด ความสำคัญผิด พอความสำคัญผิด วางหลักการไว้ แล้วมันก็แตกแขนงกันไป ว่าสิ่งนั้นถูกต้อง สิ่งนั้นดีงาม

ดีงามไม่ได้ เพราะสิ่งนี้มันเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ของคน อารมณ์ความรู้สึกของคนเห็นไหม แต่ตื่นวัวตื่นควายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง ตื่นคนนะเห็นไหมเวลาเขาปลุกม็อบ เวลาตื่นแล้วเขาควบคุมม็อบกันไม่ได้ ความเห็นของมันก็ออกไปนอกลู่นอกทาง เพราะอะไร เพราะหาเหตุหาผลมารองรับความเห็นผิด ความสำคัญผิดของตัว แล้วมันก็เป็นเรื่องของเวรของกรรม เป็นเรื่องของสังคมของโลก

แต่ถ้ามันเป็นเรื่องของเราล่ะ ! เวลาเป็นเรื่องของเราเห็นไหม สิ่งต่างๆ มันเป็นความจริง ไม่เป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงมันต้องย้อนกลับมาที่เรา เพราะมันเป็นอำนาจวาสนาของเรานะ เรามีครูมีอาจารย์ใช่ไหม เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไป นี่เราเปรียบเทียบกันได้ทั้งนั้นแหละ

ครูบาอาจารย์ของเราทำไมถึงเป็นครูบาอาจารย์เรา แล้วพระมาขอนิสสัย ทำไมต้องขอนิสสัย เรามีคุณงามความดีขนาดไหน พระขอนิสสัย พระ ๕ พรรษาขึ้น ถ้าต่ำกว่า ๕ พรรษาต้องขอนิสสัย ถ้าไม่ขอนิสสัยพ้นจากราตรีที่ ๗ ไปเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ขอนิสสัยเพราะอะไร เพราะมันยังเลี้ยงตัวเองไม่ได้เหมือนทางโลกเลย

โลก..ถ้าเขายังไม่บรรลุนิติภาวะนี่ เขาไม่มีสิทธิทำนิติกรรมทางกฎหมาย ต้องบรรลุนิติภาวะถึงจะมีสิทธิทำนิติกรรมทางกฎหมาย นี่ก็เหมือนกัน คำว่า “ขอนิสสัย” เราขอนิสสัย เพราะว่าอะไร เพราะว่าสิ่งนี้ สิ่งที่ว่า เรามีความผิดพลาดสิ่งใด เราทำสิ่งใดประสบการณ์ของจิตเราไม่มี ครูบาอาจารย์เราจะให้นิสสัยได้ต้องมีปัญญา ต้องมีความรอบรู้

ถ้ามีความรอบรู้นี่ คอยชี้ทาง คอยประคอง คอยบอกกัน แล้วจิตใจมันยอมรับไหมล่ะ ถ้ามันยอมรับสิ่งนี้ เห็นไหม ยอมรับสิ่งนี้ คือยอมรับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะสิ่งที่ทำนี่ทำตามธรรมและวินัย วินัยบังคับไว้อย่างนี้ บังคับว่า ถ้ายังไม่พ้นนิสสัยต้องขอนิสสัยไปก่อน แล้วถ้าพ้นนิสสัยแล้วเห็นไหม

ดูสิ..เราพ้นนิสสัยแล้ว เราอยู่กับครูบาอาจารย์ที่ท่านทำให้เราอบอุ่นหัวใจเห็นไหม จะพ้นนิสสัยก็จะขอนิสสัย ทำไมก็จะขอน่ะ ขอด้วยความลงใจ ขอด้วยความเคารพนบนอบ แม้แต่ว่าท่านล่วงไปแล้วเรายังคิดถึงท่าน ยังระลึกถึงท่านได้ สิ่งนี้มันเป็นความแสดงออกของหัวใจ ที่มันเปิดกว้าง

ถ้ามันเปิดกว้างขึ้นมา เราฟังธรรมเห็นไหม ครูบาอาจารย์ท่านจะชี้นำของเราน่ะ เราปฏิบัติไป คนที่ปฏิบัตินะ เรากำหนด พุทโธก็ได้ อานาปานสติก็ได้ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง ทำสิ่งใดก็ได้ ถ้าจิตมันมีการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นไปเห็นไหม มันต้องพัฒนาของมันเพื่อเข้ามาสู่ความถูกต้อง

ถ้าเข้ามาสู่ความถูกต้องนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนไว้แล้วอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แล้วศีล สมาธิ ปัญญา มรรคญาณ มันเป็นงานเพียรชอบ งานระลึกชอบ สติชอบ ปัญญาชอบ ความชอบธรรม เพราะเหตุใด ชอบธรรมเพราะมันเป็นความจริง

ทองจริงนี่มันทนต่อการพิสูจน์นะ มันยิ่งโดนไฟแผดเผาเท่าไรทองคำมันยิ่งสุกปลั่งขึ้นมา ถ้ามันเป็นศีล ศีลจริงๆ สติจริงๆ สมาธิจริงๆ มันพิสูจน์ได้ มันไม่ต้องหาเหตุผลอะไรมารองรับมันหรอก ว่าสติจะเป็นอย่างนั้น ความรู้สึกจะเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องหาเหตุผลสิ่งใดมารองรับมันอีกเลย เพราะถ้ามันมีความจริงแล้ว ความจริงมันรองรับด้วยตัวมันเอง มันจะมีคุณค่าในตัวมันเอง มันจะเป็นความจริงของมันขึ้นมาเอง

แต่ถ้ามันไม่เป็นความจริง เราจะเอาเหตุผลอะไรมารองรับขนาดไหนมันก็เป็นความจอมปลอมทั้งนั้นล่ะ เพราะมันจอมปลอม เราพยายามหาเหตุผลมารองรับเขาซะเอง เราไปหาเหตุผลมารองรับ เพื่อให้มันเป็นความจริงขึ้นมา เพื่อให้เรายอมรับสิ่งที่เราเห็นผิด เราสำคัญผิดไปอีก

แล้วพอเห็นสิ่งที่สำคัญผิด ทำไมต้องหาเหตุผลมารองรับ สิ่งที่มันเป็นความจริงมันมีเหตุผลอะไรมารองรับของมัน เพียงแต่ว่าครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเทศนาว่าการขึ้นมา เพราะเป็นประสบการณ์ความจริงของท่านใช่ไหม สิ่งที่เป็นประสบการณ์ความเป็นจริงนี่ ท่านอธิบายให้เราฟัง

ท่านอธิบายให้เราฟังแล้วเราปฏิบัติ มันจะไปสู่อันเดียวกัน ถ้าไปสู่อันเดียวกันเห็นไหม เวลาถึงที่สุดแห่งทุกข์เหมือนกันหมดแล้วนี่ เห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านบอก “นั่นๆ เป็นความจริงๆ” แล้วมันเป็นความจริงแล้ว ดูสิ..ครูบาอาจารย์เรา เรายังเคารพบูชา เราเคารพบูชาตามความเป็นจริงนะ นี่พูดถึงคำสั่งสอน

เอาความจริงล่ะ ความจริงถ้าจิตมันเป็นไปนะ เราต้องตั้งสติ เพราะในปัจจุบันนี้ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ สิ่งที่เกิดมาเป็นมนุษย์เรามีคุณค่าอยู่แล้ว เรามีคุณค่ามากๆ เลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาครูบาอาจารย์ของเราเห็นไหม เวลาวิปัสสนา เวลาใช้สติปัญญาแก้ไขหัวใจของเรา แก้ไขหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ของครูบาอาจารย์ของเรานั้น ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เห็นไหม เทวดา อินทร์ พรหมนะยังต้องมาฟังธรรมนะ มนุษย์มีคุณค่าอย่างนี้ไง

เวลามนุษย์ปฏิบัติขึ้นมานี่ ทำไม ครูบาอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปโปรดพระมารดาบนดุสิตเลย ไปเทศน์บนสวรรค์ยังได้เลย มันไปได้นะ มันไปได้ด้วยความจริงอันนั้น

แต่ในปัจจุบันนี้ ความเป็นมนุษย์ของเรานี่ มันมีคุณค่า มีคุณค่าเราอย่าปล่อยให้กาลเวลามันเสียไป อย่าปล่อยให้ชีวิตนี้ร่วงไปโดยเราไม่มีสิ่งใดติดไม้ติดมือไปเลย หลวงตาท่านเปรียบนะ เปรียบเหมือนเราเกิดมาชาติหนึ่ง เหมือนเราเข้าไปในห้างสรรพสินค้า ดู ห้างสรรพสินค้าสิ สินค้าเขามากมายขนาดไหน

แล้วเราออกจากห้างสรรพสินค้านั้นน่ะ เรามีอะไรติดมือเรามาบ้าง ชาติหนึ่งเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วเราตายไปนี่ ออกจากห้างสรรพสินค้านี้ไป ออกจากความเป็นมนุษย์นี้ไป เราจะมีอะไรติดมือเราไปบ้าง

ถ้ามันเตือนเรา เตือนสติเราเห็นไหม ปัจจุบันนี้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในห้างสรรพสินค้า แล้วเราจะหยิบจับสิ่งใด เป็นสมบัติของเรา หยิบจับสิ่งใด ที่มันพอเป็นคุณสมบัติของเรา แล้วเราออกจากห้างสรรพสินค้ามา เราจะมีสมบัติของเราไป เกิดเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง เราจะมีสิ่งใดติดหัวใจเราไป สิ่งที่เราศึกษามานี่ ศึกษาธรรมมานี่ เข้าใจๆ นี่เห็นไหม

ดูสิ..ปรัชญานี่เป็นปรัชญา เป็นวิชาการต่างๆ ศึกษามาแล้ว เวลาปฏิบัติต้องวางไว้ก่อน ถ้าไม่วางไว้นะ มันสร้างภาพ มันสร้างภาพนี่ไปนิพพาน นิพพานมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร นิพพานมีคุณค่าอย่างไร มันครบบริบูรณ์ของความเป็นนิพพาน หัวใจมันสร้างได้หมดเลย แล้วมันเป็นนิพพานจริงหรือเปล่า มันเป็นความจริงหรือเปล่าล่ะ

นี่ไงออกจากห้างสรรพสินค้ามา ออกมานี่ ออกมาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเขาจับนะ ว่า ไปขโมยสินค้ามา โดยที่มันไม่เป็นความจริง ถ้าเราเข้าไปห้างสรรพสินค้า เราต้องการสิ่งใด เราจ่ายเงินด้วยเรียบร้อย แล้วเราออกมานี่มีใบเสร็จพร้อม ถูกต้องตามกฎหมายหมดเลย ไม่มีใครมารื้อค้นสิ่งใดให้เราได้ แต่ถ้าเราออกมาจากห้างสรรพสินค้าโดยฉกลักมาเห็นไหม เขาตามมาจับนะ

นี่ก็เหมือนกัน เราสร้างภาพ ความเป็นมรรคเป็นผลขึ้นมา มันไม่เป็นความจริงแล้วไม่เป็นความจริงยังหาเหตุผลมารองรับตัวเองอีกนะ ความสำคัญผิด แล้วยังพยายามหาเหตุผลมารองรับความเห็นผิดของเรา ถ้าเป็นความเห็นถูกเราเผชิญหน้ากับสิ่งใดๆ ก็ได้ ตั้งสติๆ มันจะเป็นอย่างใดให้มันเป็นไป จะกำหนดสิ่งใดก็ได้ กรรมฐาน ๔๐ ห้องนี่ ให้จิตมันสงบ ให้สงบจากโลก

พอจิตมันเริ่มสงบจากโลกเห็นไหม มันจะมีโอกาสทางธรรมล่ะ โอกาสทางธรรมนะๆ เราติดข้องในจิตเราเอง คนที่ทำร้ายเรา คนที่ให้โทษกับเรา คือกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา สิ่งที่อยู่ในหัวใจของคนอื่นเขา เขาก็ให้โทษกับตัวของคนอื่น คนๆ นั้นไป

ความคิดเขาทำชั่ว เขาทำความเลวทราม เขาไปทำความเบียดเบียนเรา นั่นก็เป็นกรรมของเขา แต่ถ้าในทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นไหม คนที่เขาโกรธเรา เขาทำร้ายเรา ถ้าเราโกรธตอบ ก็คือเราโง่กว่า เราโง่กว่าเพราะอะไร เพราะเราตอบสนองเห็นไหม ตอบสนองเขา แล้วไปตามเขา นี่ก็เหมือนกัน สิ่งใดที่เขาทำมันเรื่องของเขา

ถ้าเรื่องของเรา เราต้องดูแลใจของเรา ถ้าดูแลจิตใจของเราเห็นไหม เราตั้งสติของเรา สัมมาอาชีวะเราก็ทำแล้ว ยิ่งพระนะ เราบิณฑบาตนะ เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง สิ่งต่างๆ นี่ เราศึกษาได้ เราดำรงชีวิตได้สะดวกสบายเลย เพราะผู้ที่เขาจะส่งเสริมยังมีอยู่มากมาย

ฉะนั้น พอได้ปัจจัยเครื่องอาศัยเราไม่ต้องไปทุกข์ร้อนกับเขาเลย เรามีโอกาสได้ภาวนาของเราเต็มที่ ถ้าเรามีโอกาสได้ภาวนาของเราเต็มที่ เราตั้งสติ ตั้งสติตลอดเวลา ผู้ปฏิบัติใหม่ตั้งสติตลอดเวลาพร้อมกับคำบริกรรม ให้จิตมันอยู่กับเรา อย่าปล่อย ปล่อยไม่ได้

ถ้าจิตปล่อยไปแล้วนี่ ดูสิ..วัวปล่อยมันเข้าป่าเข้ารกเข้าพงไปเลย แต่ถ้าวัวของเรา เราผูกเชือกไว้ เราผูกหลักไว้ ถึงมันจะดิ้นรน มันก็ดิ้นรนอยู่ที่เชือกนั้น ถ้าเรามีสติปัญญานี่ เรากำหนด พุทโธๆ ของเราเห็นไหม เราไม่ให้จิตมันไปตามอำนาจของมัน

ถ้าเรากำหนดน่ะ ลำบากไหม ลำบาก..สิ่งที่มันเคยสุขสบาย นี่มันคิดอย่างไรก็ได้มันนอน ความคิดของเรานี่มันเกิดดับๆ ในหัวใจที่มันหมุนอยู่นี่ มันทำโดยอิสรภาพของมัน ใช่ไหม พอมีสติบังคับ ดูสิ..ครูบาอาจารย์บอกว่า สติเห็นไหม ถ้ามีสติเหมือนกับ สติสามารถกั้นคลื่นของทะเลได้ กั้นทุกอย่างได้

ถ้าเรามีสตินี่ความคิดต่างๆ ที่มันรุมเร้า มันมีอยู่ในหัวใจเรานี่ มีสติอย่างน้อยมีสติมันยับยั้ง มันยับยั้งแล้ว มันไม่ไปกับมัน แต่นี่มันขาดสติ ดูสิ เวลาเราน้อยเนื้อต่ำใจ เราปฏิบัติมาแล้ว เรามีสิ่งใดมาหลอกลวง มันกระโจนไป ความคิดมันเผ่นออกไป มันกระโจนออกไป มันขาดสติไปหมดเลย แล้วก็เชื่อมันเห็นไหม นี่เห็นผิด !

เห็นผิดแต่ก็ยังไม่หาเหตุผลมารองรับความเห็นผิด เรายังไม่รู้สิ่งใดเป็นถูกหรือผิด แต่เมื่อเห็นผิดไปแล้วใช่ไหม ถ้าเราตั้งสติเราใคร่ครวญของเรา เราตั้งสติแล้วใคร่ครวญของเราเพราะเราเห็นผิดแต่เราไม่รู้อะไรผิดหรือถูก ถ้าเราตั้งใจของเรา เราตั้งสติของเรา เรากำหนดพุทโธของเรา เราให้มันมีหลักยึดของมัน ถ้ามันมีความสงบร่มเย็นเข้ามาเห็นไหม มันเห็นได้ เห็นได้ว่า

๑. ถ้ามันเป็นไปตามกำลังของกิเลส มันจะฉุดลากออกไป แล้วถ้าเกิดมีปัญญามันก็เป็นปัญญาจินตนาการ ปัญญาที่มันใคร่ครวญมา แต่ถ้ามันมีสติปัญญาเห็นไหม เวลาจิตมันเริ่มสงบขึ้นมา ถ้ามันเกิดปัญญาขึ้นมานี่ มันจะเกิดทะลุทะลวง มันจะเกิดความปล่อยวางเข้ามาทะลุ ทะลวงเข้ามา ความยึดมั่นของใจ

ถ้าใจมีความยึดมั่นของมัน มันเกิดปัญญาเข้ามาเห็นไหม มันลึกซึ้งๆ มันสะเทือนหัวใจนะ มันลึกซึ้งของมันมาก เห็นไหม มันจะเริ่มเห็นความแตกต่าง เห็นความแตกต่างเลย ถ้าจิตมันเริ่มสงบเข้ามานี่ มันจะเห็นคุณค่า ถ้าคนเห็นคุณค่าใช่ไหม เราเดินเข้าสู่ปากทาง ทางที่ถูกต้อง เห็นไหม เราจะขยันหมั่นเพียรของเรานะ

ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ โดยสัมมาอาชีวะ โดยความถูกต้องดีงามเห็นไหม ๗วัน ๗เดือน ๗ปี สิ่งนี้เราเตือนเราได้ เราจะทำอย่างนี้ไม่ได้หรือ เวลาเราเกิดตายในวัฏฏะนะ เราเกิดมาไม่มีต้นไม่มีปลาย การเกิดการตายก็เป็นอย่างนี้มาตลอด สิ่งที่เราได้เสพสัมผัสทางโลกนี่ เราก็เคยเสพสัมผัสมาแล้วกี่ภพกี่ชาติ มันก็เป็นของเดิมๆ นี่แหละ แต่! มันก็อยากของมันอยู่ตลอดไป มันก็อยากของมัน มันก็ปิดหูปิดตาเรา ปิดหูปิดตาเราให้เราเชื่อมันตลอดไป

ฉะนั้น ถ้าเราเห็นว่าสิ่งนี้ สิ่งที่ผลของวัฏฏะ กับความหมั่นเพียรของเรา มันมีคุณค่าสมพอกันไหม ถ้ามันมีคุณค่า คุณค่าๆ ของความอดทนของเรา คุณค่าของขันติบารมี คุณค่าของการที่พ้นจากทุกข์ เวลาทุกข์มันบีบคั้นนะ เราอยู่ทางโลกกันน่ะ เวลามีปัญหาขึ้นมา เวลาทุกข์มันบีบคั้นเห็นไหม ละล้าละลังๆ เลย จะไปทางไหนไปไม่ถูกเลย แต่ยังดี ดีที่เราเกิดมาพบพุทธศาสนา

พุทธศาสนาสอนให้รู้จักการเสียสละ การปล่อยวาง นี่มันยังพอผ่อนลมหายใจได้บ้าง แต่นี่พูดถึงทุกข์ของฆราวาส ทุกข์ของคฤหัสถ์เขานะ แล้วทุกข์ของพระล่ะ ทุกข์ของพระเวลาปฏิบัติมันไม่ได้ดั่งใจ ไม่ได้ดั่งใจเพราะอะไร เพราะเราคาด เราหมาย ว่าจะให้ได้ดั่งใจอย่างนั้นไง แต่ถ้าเราทำของเรานะ เราทำของเราด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย เวลาของเราบริหารได้ เราบริหารเวลาได้นะ

เพราะพระนี่ ข้อวัตรเราก็รู้ข้อวัตรอยู่แล้ว ข้อวัตรคืองานส่วนรวม แต่ตัวของเราล่ะ ตัวของเรา เวลาของเราล่ะ อย่างเช่นถ้าเราถือเนสัชชิกนี่ ๑๒ ชั่วโมง สบายๆ เลย ถ้า ๑๒ ชั่วโมงสบายๆ เราจริงหรือเปล่าล่ะ ถ้าเราจริงของเราขึ้นมานะ ๑๒ ชั่วโมงนี้ เหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่เขาวิจัยอยู่ห้องแล็ปของเขานะ

นี่ ๑๒ ชั่วโมงนี่ เราจะวิจัยหัวใจของเรา หัวใจของเรานี่มันจะผิดพลาดอย่างไร มันจะเป็นไปอย่างไร ในปัจจุบันนี้ความว่าเจริญเห็นไหม หลวงตาเทศน์ทั้งวันทั้งคืน มันเทียบเคียงได้ เวลาเทศน์พระนี่ มันเทียบเคียงได้ คำว่า “ฟังเทศน์ๆ” ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่น เห็นไหม หลวงตาบอกว่า หลวงปู่มั่นเวลาท่านเทศน์ “เทศน์ถึงที่สุดแห่งทุกข์หมดทุกๆ กัณฑ์เลย แต่มันถึงใจหรือไม่ถึงใจนั้นมันอีกเรื่องหนึ่ง”

ฉะนั้นเวลาฟังเทศน์นี่ ถ้าครูบาอาจารย์ท่านเทศน์รอบหนึ่ง กัณฑ์หนึ่ง เราก็ถือตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่ต้นจนจบมันก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เพียงแต่ว่าเราฟังไม่เข้าใจ เราฟังไม่เข้าใจ เห็นไหม ถ้าฟังเข้าใจ จิตของเราอยู่ในระดับไหน นี่เริ่มต้นจากทำสมาธิ ทำสมาธิขึ้นมาก่อน ให้มันมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมาก่อน

ปุถุชน กัลยาณปุถุชน ทำสมาธิแล้วเป็นกัลยาณปุถุชน เพราะมีกัลยาณปุถุชน เห็นไหม มันถึง..ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริงเห็นไหม มันจะเข้าสู่โสดาปัตติมรรค กัลยาณปุถุชนมันจะยกขึ้นสู่โสดาปัตติมรรค ถ้าเราใคร่ครวญตามความเป็นจริง มันจะถึงที่สุดมันจะเป็นโสดาปัตติผล

แล้วสกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อรหัตผล มันอยู่ที่เหตุและผล ถ้าเหตุและผลของมัน ถ้าจิตของเรา มันยังเข้าควบคุมไม่ได้ มันยังควบคุมไม่ได้มันเป็นโลกชัดๆ เป็นโลกชัดๆ เลย ตรึกในธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาเป็นจินตมยปัญญา มันไม่เป็นภาวนามยปัญญาขึ้นมาได้

มันจะไม่เป็นภาวนามยปัญญา เพราะอะไร เพราะมันมีตัวเรา มันมีความคิดของโลกบวกเข้าไป ทีนี้ถ้ามันมีความคิดของโลกบวกเข้าไปเห็นไหม เราจะต้องพยายามกรองตัวเราเอง กรองให้ความคิด ให้ปัญญาของเราเกิดขึ้นมา โดยความสะอาดบริสุทธิ์ โดยความไม่ใช่ตัณหาความทะยานอยากบวกเข้าไป

ฉะนั้นสิ่งที่จะกรองได้ก็ต้องสมถะ สิ่งที่จะกรองได้คือสัมมาสมาธิ คำว่า “สัมมาสมาธิ” นี่ เราพยายามกรองใจของเราให้มันสะอาดบริสุทธิ์ สะอาดบริสุทธิ์เห็นไหม “สะอาดบริสุทธิ์คือสัมมาสมาธิ” สิ่งที่มันเป็นสมาธิได้ เพราะกิเลสมันสงบตัวลง ให้จิตออกมาเป็นอิสรภาพได้ ถ้าสิ่งที่มันไม่เป็นสัมมาสมาธิ เพราะมันคิดบวกด้วยกิเลส คิดบวกด้วยตัณหาความทะยานอยากของเรานี่ มันถึงเป็นสมาธิขึ้นมาไม่ได้

ตัวสัมมาสมาธินี่เป็นตัวกรอง เป็นตัวสัจจะเลย สัจจะว่า ให้จิตนี่ไม่มีตัณหาความทะยานอยากนี้บวกกับความคิดเรา แต่เพราะสติ สมาธิมันอ่อน สมาธิมันเป็นไปไม่ได้ เวลาที่สมาธิเป็นไปได้นี่ เวลาจินตมยปัญญา จินตนาการได้ คาดหมายได้เห็นไหม มันเลยไหลออกไป แฉลบออกไป ออกไปว่าเป็นความว่างเป็นต่างๆ ความว่างมันยังไม่เกิด ความว่างตามความเป็นจริง

ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิ ความว่างมันว่างที่ไหน ใครรับรู้ความว่าง นี่เจ้าของสมาธิมี เจ้าของความรู้สึกนี้มี แล้วถ้าเกิดปัญญาขึ้นมานี่ มันชะล้าง มันชำระล้างอะไร ปัญญาที่มันเป็นมรรคญาณ ปัญญาที่เป็นความเพียรชอบ งานชอบ ปัญญาที่มันเป็นมรรคสามัคคี มรรครวม ปัญญามันเกิดขึ้นมา ปัญญาชอบ งานชอบ งานชอบงานในอะไร

งานของโลกเขา งานสัมมาอาชีวะ งานประโยชน์ของเขานี่งานชอบ แล้วงานของเรานี่นะ งานผู้ปฏิบัติ งานชอบ งานอย่างไร งานชอบงานไม่ชอบ มันมิจฉาสัมมาทั้งนั้นแหละ งานมันผิดพลาดไป งานเขาต้องย้อนกลับมา ทวนกระแสเข้ามาสู่ใจ ทวนกระแสเข้ามาสู่กิเลส

แต่ว่างานที่ส่งออกล่ะ จิตมันส่งออก นี่งานไม่ชอบ ถ้างานไม่ชอบมันก็เป็นความจริงขึ้นมาไม่ได้ มันเป็นความจริงขึ้นมาไม่ได้มันก็กิเลสตัณหาความทะยานอยากเห็นไหม มันก็เข้ามาในหัวใจของเรา

สิ่งนี้ถ้าเราปฏิบัติบ่อยครั้งเข้าเห็นไหม ความผิดพลาดในการกระทำมีทุกๆ คน แต่เพราะความขยันหมั่นเพียร แต่เพราะความมีสติปัญญา ด้วยความแยกแยะ ด้วยการไตร่ตรอง แล้วมันมีครูบาอาจารย์คอยชี้นำอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ครูบาอาจารย์ชี้นำตลอดเวลา

ถ้าเราปฏิบัติเห็นไหม ขอนิสสัยๆ กัน ครูบาอาจารย์ท่านจะชี้นำสิ่งนี้ได้ ถ้าชี้นำสิ่งนี้ได้เห็นไหม มันจะเป็นประโยชน์กับเราไหม อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

เวลาครูบาอาจารย์นะท่านพูดออกมานี่ แต่ความเห็นของเรา ความรู้ของเรา เราเห็นจริงไหม จริง เราเห็นจริงๆ แต่เป็นความจริงหรือยัง มันเข้าไปสู่.. มันได้พิสูจน์ตรวจสอบแล้วหรือยัง เราก็ยังไม่ได้พิสูจน์ตรวจสอบเห็นไหม เพราะมันเป็นความมหัศจรรย์นะ ธรรมกับโลกนี่ เวลาโลกมันเป็นความทุกข์ร้อนรน มันเป็นการเผารน แต่พอจิตมันเริ่มปล่อยวางขึ้นมานี่ เราบอกนี่นิพพานๆ ทุกคนคาดหมายอย่างนั้นหมด

แต่ถ้าไม่เป็นความจริงนะไม่ใช่อะไรเลย แค่ขบวนการของจิต จิตมันได้ปรับขบวนการของมันให้เข้าสู่ความสงบเท่านั้นเอง ขบวนการของมัน ดูสิ ระบบความคิดนี่ ถ้าเราจดจัดระบบความคิดให้มันเรียบร้อย ความคิดเราเป็นระบบขึ้นมา เราจะคิดได้สะดวกสบายขึ้น แต่ความคิดของเรานี่ เวลาความคิดเกิดขึ้น ระบบความคิดของเราขัดแย้งกันไปหมดเลย เรางงนะ ความคิดเราเอง เราก็งงกับความคิดเราเองนะ เอ..ความคิดมันเกิดขึ้นได้อย่างไร

ความคิดมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ความคิดอย่างนี้มันเกิดขึ้นมามันขัดแย้งกับความคิดเดิมอย่างไร ขัดแย้งกันไปหมดน่ะ เพราะระบบความคิดเรามันยังจัดระบบความคิดเราไม่ได้ แค่เราพิจารณาศึกษาธรรมะ เราแค่มาจัดระบบความคิดเราเท่านั้นน่ะ พอจะรวมความคิด อย่างนี้นี่นิพพานๆ เขาว่ากันน่ะ นี่ไงสำคัญผิด เพราะความสำคัญผิด ความเห็นผิด แล้วพยายามหาเหตุผลมารองรับความเห็นผิดอันนั้น มันก็เลยเตลิดเปิดเปิงกันไป

แต่ถ้าเป็นความถูกต้อง ความปรารถนาอย่างนั้นถูก ใช่..ในการประพฤติปฏิบัตินี่ ผู้ที่จะเข้าสู่สัจจะความจริง มันหาได้น้อยนัก คำว่า “หาได้น้อยนัก” เพราะอะไร เพราะความจริงในหัวใจ แต่หาได้น้อยนัก เราก็เป็นคนหนึ่ง อยู่ในจำนวนนั้นก็ได้ เราก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนน้อยๆ เพราะอะไร เพราะเราก็มีความรู้สึก เราก็มีหัวใจเหมือนกัน เราก็แก้ไขของเราได้เหมือนกัน

สิ่งนี้จะแก้ไขของเราเห็นไหม เราถึงตั้งสติ แล้วกำหนดของเรา ให้มันเป็นข้อเท็จจริง ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริงเห็นไหม นี่! มันรู้ของมันขึ้นมานะ ถ้ารู้ขึ้นมานะ เราจะหูตาสว่าง เราจะไม่เชื่อสิ่งใดโคมลอยอีกแล้ว เราจะหูตาสว่าง มันจะต้องมีเหตุมีผลของมัน ถ้ามีเหตุมีผล เหตุผลอันนี้เห็นไหม เหตุผลคือธรรม

ถ้าเราปฏิบัติขึ้นมาเป็นจริง สงบก็สงบขึ้นมาจริงๆ ถ้าสงบแล้ว เห็นไหม ถ้าจิตมันเกิดเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม โดยข้อเท็จจริงนะ มันสะเทือนหัวใจ แล้วเราจะแก้ไขอย่างนั้น พอแก้ไขอย่างนั้น นี่พอจิต พอมันใช้พลังงานแล้วนี่ มันเสื่อมค่าออกมา

ความเสื่อมค่าของสัมมาสมาธินี่ มันออกมาเป็นปกติ ปกติของปุถุชนนี่ไง ปกติโดยธรรมชาติของมนุษย์ เรามีความคิดอยู่แล้วใช่ไหม แล้วความคิดมันอยู่บนชีวิตของเราใช่ไหม มันไม่ได้หล่นหายไปไหนหรอก ความคิดเรามันไม่ได้หายไปไหนหรอก มันเกิดที่ใจน่ะ มันไม่ได้หายไปไหนหรอก

แต่เวลาจิตเป็นสมาธินะ แล้วเกิดโลกุตตรธรรมไง ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธินี่ มันสะอาดบริสุทธิ์ มันทำให้เราชำแรกความข้องใจของเรา แต่เพราะพอเราใช้ปัญญาของเราบ่อยครั้งเข้า สมาธิมันเสื่อม ความเสี่อมนะเสื่อมค่า ฐานไง สมถกรรมฐาน ฐานนี่มันออกมาสู่ปุถุชน สู่โลก ฉะนั้นความเห็นนี่มันถึงแตกต่างแล้ว ความเห็นนี่มันถึงเสื่อมออกมา

ฉะนั้น เวลาจิตเราสงบขึ้นมา แล้วเราใช้ปัญญาเรานี่ เราจะเห็นเลยว่า ปัญญามันคล่องตัวมาก แล้วมันจะรู้สิ่งใดที่ลึกซึ้งรสของมันนะ รสของโลกุตตรปัญญา มันชำแรก มันชำระความเห็นผิดของเรา มันแตกต่างมาก ความรู้สึกในรสของธรรม ในรสของสมาธิธรรมอย่างหนึ่ง เวลาเกิดปัญญาขึ้นมานี่ เกิดสัมมาสมาธิแล้วเกิดปัญญาขึ้นมาด้วยนี่ มันถอดมันถอน นี่รสชาติมันต่างกันมากเลย ความรู้สึกนี้มันจะฝังใจ แล้วอยากได้ ความอยากได้เวลาเราอยากได้แล้วปฏิบัติขึ้นมานี่

เพราะความอยากมันเป็นตัณหาซ้อนตัณหา ฉะนั้นเวลาปฏิบัตินี่เราควบคุมตรงนี้ยาก ฉะนั้น โดยจิตใต้สำนึกของคนมันมีตัณหาอยู่แล้ว มันมีความอยากโดยธรรมชาติอยู่แล้ว อันนี้เราจะปฏิเสธไม่ได้ มันมีโดยธรรมชาติของมัน นี่เราก็กำหนดพุทโธๆๆ อันนี้มันสงบตัวได้ พอสงบตัวได้มันก็เป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้าเรามีตัณหาซ้อนขึ้นมา

ซ้อนคือว่า ผลที่เคยได้ สิ่งที่เคยสัมผัส คือวิบากอันนั้น เราต้องการอันนั้นเห็นไหม อันนั้นมันตัณหาซ้อนตัณหา พอตัณหาซ้อนตัณหานี่ เราทำสิ่งใดก็ไม่ได้ ทำขนาดไหน พอมันทำเห็นความทุกข์ แล้วมันไม่ประสบความสำเร็จ เกิดเห็นโทษของมัน วาง...เอ้อ...ทำตามความข้อเท็จจริง จะเป็นอย่างไรก็เป็น เห็นไหม

เราตั้งสติของเรา หน้าที่ของเรา บริกรรมของเราไป มันก็เป็นอีก เป็นเพราะเหตุใด เป็นเพราะมันเป็นข้อเท็จจริงของมัน เหตุและผลไง ดูสิ เวลาพระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตกเห็นไหม มันเป็นข้อเท็จจริงของเขา เราห้ามสิ่งใดไม่ได้เลย แต่เวลาเราทำงานนะ เรายังไม่ต้องการให้เวลามันไป เราอยากให้มันช้า นี่ตัณหาความทะยานอยาก คือขวาง คือไปขัดแย้งกับข้อเท็จจริง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีสติ เรากำหนดพุทโธโดยสัจจธรรม พุทโธโดยให้มันเป็นข้อเท็จจริง ในเมื่อมันเป็นข้อเท็จจริง มันต้องเป็นสมาธิอยู่แล้ว ถ้าเหตุมันสมควรมันเป็นสมาธิอยู่แล้ว แต่นี่เพราะเรามีเหตุมีผล มีความต้องการอีก ก็มีตัณหาความทะยานอยากบวกเข้าไปไง มันก็ผิดพลาดไปทีหนึ่ง ถ้าเรากลับมาสู่ความเป็นจริง เดี๋ยวมันก็มาเป็นสัมมาสมาธิอีกหนหนึ่ง

ถ้าสัมมาสมาธิหนหนึ่งเห็นไหม เราฝึกจนชำนาญ ชำนาญในวสีนะ ชำนาญจนทำได้มั่นคง พอสิ่งนี้มันมั่นคงขึ้นมา จะทำสิ่งใดสะดวกละ แต่นี้เพราะเราใจร้อน แต่นี้เพราะเราด่วนได้ เราต้องการให้มันเป็นไปตามความพอใจของเรา แล้วมันก็กลายเป็นวิทยานิพนธ์เลย สร้างภาพการกระทำว่า ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ แล้วก็จบกระบวนการของการปฏิบัติเลย เพราะอะไร เพราะเราสร้างภาพได้ เราทำของเราได้

ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่แล้ว ยิ่งครูบาอาจารย์ของเราปฏิบัติขึ้นมานี่ บอกถึงขณะจิต บอกถึงสิ่งต่างๆ เวลาสั่งสอนขึ้นมาเห็นไหม สั่งสอนบอกให้เป็นแนวทางเดิน ไม่ใช่สั่งสอนว่า เราไปยึดหรือไปฟังมาแล้วนั้นเป็นสมบัติของเรา

เป็นสมบัติของเรา มันก็ออกจากห้างสรรพสินค้าโดยที่ไม่ได้จ่ายตังค์ออกมานั้นน่ะ เขาตาม มันเป็นความทุจริต มันไม่เป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงนะ เงินทองเราก็หามาได้ด้วยความยากลำบาก สมาธิ สติสมาธิเราจะหามาแต่ละทีมันก็เป็นความยากลำบาก ถ้ามันสติมีสมาธิขึ้นมา นี่เงินทอง มันก็เข้าไปห้างสรรพสินค้า มันก็จับจ่ายใช้สอยของมันด้วยปัญญาของมัน ด้วยการแลกเปลี่ยนออกมา มันก็เป็นวิปัสสนา มันก็ได้ผลออกมา

พอผลออกมา ออกจากห้างสรรพสินค้ามามันมีใบเสร็จมาพร้อม มันมีทุกอย่างมาพร้อมนี่ ไม่มีความผิดสิ่งใด มันสะอาดบริสุทธิ์มาตลอด เห็นไหม เพราะการที่ว่า เราจะหาเงินทองขึ้นมานี่ มันเป็นภาระหน้าที่ของเรา แล้วเรามีเงินมีทอง เราจะจับจ่ายใช้สอยด้วยความถูกต้องดีงามอย่างนั้นทั้งหมดล่ะ

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เวลาเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่หนีไปไหนเลย ไม่เคยคลาดเคลื่อนกับมรรคญาณเลย ถ้ามันเป็นความจริงนะ แล้วเป็นความจริงเห็นไหม เรารู้ได้นี่มันเป็นข้อเท็จจริงของเรา แล้วข้อเท็จจริงเรามันจะย้อนกลับมาเป็น ข้อเท็จจริงที่มันรู้มันเห็นของมันเห็นไหม

ถ้าจิตมันสงบนะ ย้อนไปๆ ย้อนไปพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาโดยสัมมาสมาธิ แต่ในปัจจุบันนี้ เราก็พิจารณากาย เห็นไหม เวลาพุทโธๆๆๆ พุทโธขึ้นมานี่ มันมีความไม่สะดวก มันขัดข้อง เพราะว่ามันเคยชิน เพราะกิเลสมันตื่นแล้ว กิเลสมันรู้ตัวแล้ว มันก็ พุทโธไปกับเราด้วย เราก็พิจารณากายได้

ทั้งๆ ที่เราพิจารณากายเห็นไหม พิจารณากายให้มันสลดสังเวช ให้สลดสังเวชนะ พอสลดสังเวช เราพิจารณากาย พิจารณาเวทนา เราพิจารณาได้ทั้งนั้นล่ะ เราเอามาเป็นสิ่งที่ให้จิตมันได้ฝึกฝนเห็นไหม การฝึกฝนอย่างนี้มันก็เหมือนกับเรากำหนด พุทโธนี่แหละ พุทโธๆๆๆ นี่จิตมันบริกรรมพุทโธ จิตบริกรรมพุทโธเพื่อให้มันภาวนา บำเพ็ญเพียร ความบำเพ็ญเพียร เมื่อพุทโธๆๆ ไปนี่ก็เป็นการบำเพ็ญเพียร

แต่ถ้ามีพุทโธๆๆ แล้วนี่ กิเลสมันรู้เท่า กิเลสมันชักนำไปก่อนเห็นไหม เราก็ออกไปพิจารณากาย พิจารณาเวทนา มันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันก็เป็นการบำเพ็ญเพียรเหมือนกัน บำเพ็ญตบะบารมี เราก็ใช้ปัญญาของเรา ปัญญาอย่างนี้เห็นไหม ปัญญาแบบที่เราฝึกฝนของเรา ฝึกฝนกันด้วยปัญญาอย่างนี้

ถ้ามีปัญญาขึ้นไปเราเห็นโทษ เห็นโทษการผิดพลาด เห็นโทษโดยจิตของเรา เห็นโทษโดยกิเลสของเรา เห็นโทษทุกอย่าง พอมันเห็นโทษขึ้นมานี่มันก็สงบตัว มันสงบตัว เรากลับมาพุทโธ เห็นไหม เรากลับมาพุทโธใหม่เห็นไหม มันก็ส่งเสริมกัน มันก็ต่อเนื่องกัน พอต่อเนื่องกัน มันก็พัฒนาใจของเราขึ้นมา มันทำได้ทั้งนั้นแหละ

ถ้ามันทำขึ้นมาเห็นไหม ขั้นตอนของการฝึกฝน ขั้นตอนของการเข้าไปสู่ความสงบของเรา ขั้นตอนเริ่มต้น มันต้องพยายามค้น พยายามกระทำ ขั้นต้นเหมือนคนทำงานไม่เป็น คนทำไม่เป็นมันก็ผิดพลาดไปหมด แล้วทำอะไรผิดพลาดไปหมด ยังไม่ชำนาญในวสี แต่ถ้าคนเป็นแล้วนะ

ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นไปเห็นไหม เวลาท่านไปติดในสมาธิ เวลาปัญญามันหมุนๆ ออกไป เวลาเราบอก ถึงเวลาไปหาครูบาอาจารย์นะ

“มันบ้าสังขารๆ”

“อ้าว..ทำไม ไม่บ้าสังขาร มันก็ไม่ใช้ปัญญา มันก็ฆ่ากิเลสไม่ได้”

“นั่นน่ะ บ้าสังขาร”

มันต้องย้อนกลับมาพุทโธๆๆ ให้จิตมันสงบไง ฉะนั้นสิ่งที่มีความจำเป็นนี่นะ ความเป็นสัมมาสมาธินี่ มันต้องใช้ทุกที่นะ ยิ่งสตินะต้องทุกสถานเลย แล้วสติเวลาปฏิบัติไปนี่ คนที่ปฏิบัติตามข้อเท็จจริงนะ เวลาสติมันใช้ได้ แล้วเป็นประโยชน์กับโสดาบัน นี่โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค แต่เวลามันขึ้นไปอนาคามรรคนี่มันไม่เป็นสติแล้ว มันเป็นมหาสติ

สิ่งที่เป็นมหาสตินี่ มันจะเร็วมาก มันจะรู้เท่าทันทุกอย่างเลย มันจะรู้เท่าทันให้จิตมันเข้าสู่ความสงบนะ แต่มันไม่รู้เท่าทันกิเลสหรอก กิเลสมันยิ่งละเอียดเข้าไปใหญ่ กิเลสนะขั้นของโสดาบันน่ะ มันก็เป็นกิเลสหยาบๆ กิเลสดิบๆ นี่ เวลาสกิทาคานี่ กิเลสขั้นนี้ก็ขั้นอุปาทาน ในขั้นอนาคานี่กิเลสในปฏิฆะ กามราคะ กิเลสชั้นใน ในหัวใจนะ

แล้วไปเริ่มต้นของพลังงาน จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส นั่นน่ะตัวตอ ตัวกิเลสชัดๆ เลย สิ่งนี้เราจะต้องชำระล้าง ตามข้อเท็จจริงเข้าไป ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริง มันเป็นตามความเป็นจริงขึ้นมา มันจะรู้มันจะเห็นนะ แล้วมันเป็นความมหัศจรรย์

งานข้างนอก งานที่เขาประสบ พอทำงานแล้วเขาประสบความสำเร็จเห็นไหม เขาได้ผลตอบแทนมาตามเนื้องานนั้น แล้วเราทำงานโดยธรรม จิตใจมันทำงานนะ มันเกิดปัญญาขึ้นมานี่ เวลางานมันละเอียด งานละเอียดในหัวใจนี่ ปัญญาแต่ละขั้นแต่ละตอน มันมีความละเอียดลึกซึ้ง แตกต่างกัน

แม้แต่ปัญญาทางโลกเห็นไหม คำว่า “โลกียะปัญญา” กับ “โลกุตรปัญญา” มันก็มหัศจรรย์แล้ว เวลาพิจารณาไปโดยความที่ว่าไม่สำคัญผิดนี่ พอเราเข้าไปนี่มันจะมีสติปัญญา เวลาจิตมันสงบนะ พอมันไปเห็นกาย มันพิจารณากายของมัน พิจารณากายโดยข้อเท็จจริงที่เราเข้าไปทำงาน

แต่ถ้าเป็นการสำคัญผิดน่ะ เราดูเขาทำงาน แล้วมันเห็นชัดมากนะ ดูสิ ดูคนเขาทำงานอยู่ แล้วเราไปยืนดู เราไปดูงานเขา สิ่งนั้นน่ะเห็นชัด นี่สำคัญผิด ! สำคัญผิด ! ว่าเราได้ทำงานนั้น แต่ขณะที่คนทำงานนี่ เขาง่วนอยู่กับงานนี่ เขาไม่มีบุคคลที่ ๒ ไม่มีใครและสิ่งต่างๆมายุ่งกับเขาเลย นั่นน่ะเราอยู่กับงาน แล้วทำเนื้องาน สิ่งที่ทำเนื้องานนี่เป็นข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง งานมันจะจบขึ้นมาเพราะเราทำสำเร็จขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา

แล้วทำสำเร็จบ่อยครั้งเข้า ทำครั้งที่ ๒ ชำนาญมากขึ้น ทำครั้งที่ ๓ ชำนาญมากขึ้น เห็นไหม ขณะที่ทำงานแต่ละหน มันปล่อยวางแต่ละหนนี่ มันเป็นตทังคปหาน พอมันทำงานเสร็จก็คือจบ

เวลาพิจารณาไปนะ เวลาจิตเราสงบขึ้นมา เวลาพิจารณากายมันจะปล่อยวาง ปล่อยวางคือมันจบ งานจบแต่สังโยชน์ไม่จบ งานจบแต่กิเลสมันไม่จบ ถ้างานกิเลสมันไม่จบเราต้องซ้ำ พิจารณาซ้ำว่าทำงานนั้นจนมีความชำนาญ ชำนาญจนคล่องตัว คล่องตัวมาก คล่องตัวจนถึงที่สุดนะ มันจะแยกนะ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ นั่นน่ะงานจบ งานจบแต่กิเลสมันไม่จบนะ

แต่เวลาพิจารณาถึงเต็มที่เลยนี่ พอมันแยก แยกปล่อยงานไม่จบ เพราะมันมีสังโยชน์ร้อยรัดไว้ แต่ถ้ามันจะจบมันสมุจเฉทปหาน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แล้วจิตรวมลง จิตรวมลงสู่สัจจะความจริง สู่สัจธรรม นี่ไงพบสัจธรรม

นี่ไง “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธรรมจักรนะ “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” ท่านภูมิใจมากนะ ท่านภูมิใจมาก ภูมิใจว่า “สัจธรรม !” ที่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วว่า “ใครจะรู้ได้หนอ !”

จนว่าสิ่งนี้มันเป็นความลึกลับ งานของคนเวลาทำงานทุกคนจะบ่นว่าทำงานหนัก ทำงานหนักเหนื่อยยาก ลำบากเห็นไหม นั่นคืองานทางโลก แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาทางหัวใจนี่ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการว่า “จะสอนใครได้หนอ ! สอนใครได้หนอ !”

ก็เพราะเป็นงานทางใจ งานในมรรคญาณ ใครจะรู้ได้อย่างนี้ เวลาเทศน์ธรรมจักรขึ้นมา พอเวลาพระอัญญาโกณฑัญญะ รู้ทัน รู้เท่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพยานนะ “สงฆ์องค์แรกเกิดขึ้นมาแล้ว”

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นมา สิ่งนั้นต้องดับไปเป็นธรรมดา” แล้วสิ่งใด ! สิ่งใด ! คืออะไรล่ะ สิ่งใด ! นี่คืออะไร

เราไม่เคยเห็นความสงบของใจ ใจไม่เคยออกพิจารณาต่างๆ มันจะมีสิ่งใด คำว่าเกิดดับๆ นี่มันเป็นภาษาพูด มันเป็นปรัชญา มันไม่ได้เป็นความจริงหรอก เกิดดับ มันมีอะไรเกิดดับ สิ่งใดเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเพราะอะไรล่ะ สิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น

ดูสิ..พระอัญญาโกณฑัญญะ ปัญจวัคคีย์อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ๖ ปี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่รู้..ไม่รู้ก็ไม่รู้ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปฏิบัติไป ปัญจวัคคีย์ก็ปฏิบัติไป มันก็เกิดดับอยู่อย่างนั้นล่ะ สมาธิก็คาอยู่อย่างนั้นล่ะ แล้วมันมีอะไรเป็นหลักเป็นเกณฑ์ล่ะ

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธรรมจักรเห็นไหม สิ่งที่ว่าพอจิตมันสงบแล้วเห็นไหม ญาณอุทปาทิ วิญญาณังอุทปาทิ วิชชาอุทปาทิ ความเป็นไปของจิต มีญาณ มีวิชชา มีความรู้ มีการกระทำ แล้วเราเข้าไปสู่ เห็นไหม เวลาอธิบาย

พระอัญญาโกณฑัญญะมีจิตใจที่ทำงานตามไปด้วย สิ่งที่มันตามไปด้วย งานมันเกิด สิ่งใดสิ่งหนึ่งมันเกิดขึ้น ปัญญามันเกิดขึ้น งานที่ถูกต้องมันเกิดขึ้น การกระทำของจิตที่ความเป็นจริงมันเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับเป็นธรรมดา ดับเพราะมันสิ้นสุดขบวนการของมัน มันก็จบ

พอมันจบขึ้นไป มันก็ “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอๆ” แล้วเรามีขบวนการอะไรเกิดขึ้น เวลาเราทำกันน่ะ เรามีขบวนการอะไรเกิดขึ้น มีแต่ความสำคัญมั่นหมายว่าเกิดขึ้น ความสำคัญให้เห็นขึ้นมาโดยจินตมยปัญญาเกิดขึ้น มันเป็นความสำคัญเกิดขึ้น มันไม่เป็นความจริงเกิดขึ้น

ถ้ามันเป็นความจริงเกิดขึ้น คนทำงานอยู่ในงานนั้น จิตทำงานอยู่ในวงของงานนั้น ไม่ใช่คนไปดูเขาทำงาน สิ่งที่คนไปดูเขาทำงาน เพราะเรารู้ว่าสิ่งนี้เป็นงาน แล้วเราทำของเราไม่ได้ เราไม่มีสมาธิ เราไม่มีกรรมฐาน เราไม่มีฐานที่ตั้งแห่งการงาน เราไม่มีที่ควรทำงาน

แต่เราไปเห็นว่าคนอื่นทำงาน คนอื่นทำงานแล้วเราก็บอกว่า สิ่งนี้เราไปรู้ไปเห็นเข้า เป็นความสำคัญผิดเห็นไหม มันชัดเจนคนสำคัญผิด มันจะผิดได้ตรงนี้ แต่ถ้าเป็นความจริง เราทำงานๆ เราไม่ต้องห่วงว่า เราจะรู้หรือไม่รู้ ถ้าเราทำงาน เราจะจดสถิติไปตลอดเลย ว่าทำอย่างนั้นๆ งานมันจะเสียหาย แต่ถ้าเราทำจนถึงสิ้นสุดกระบวนการของมันแล้วนะ เรารู้อยู่เข้ามาในหัวใจของเรา ถ้ามันลุกขึ้นมาตามความเป็นจริงเห็นไหม นี่..งานจบแล้ว

ถ้างานจบแล้ว มันจะเป็นความจริง มันจะเป็นขั้นเป็นตอนเป็นชั้น เป็นชั้นๆ ขึ้นไป จิตมันจะพัฒนาขึ้นมา ตามข้อเท็จจริง มันจะเป็นความจริงของมัน ถ้าความจริงอย่างนี้เกิดขึ้นเห็นไหม นี่ความเป็นจริงเกิดขึ้น มีการกระทำเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงเกิดขึ้นกับหัวใจ นี่ผู้ที่ปฏิบัติ แล้วมีใครรู้กับเราไหม มี ! มีครูบาอาจารย์จะรู้กับเรา

ถ้าเราปฏิบัติขึ้นมาขนาดไหน ถ้าเราไปถามครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์เฉไฉ หรือครูบาอาจารย์พูดผิดไปจากความเป็นจริงนั้น ครูบาอาจารย์ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีความรู้จริง แต้ถ้าครูบาอาจารย์รู้จริง เราพูดขนาดไหนนะ เวลาครูบาอาจารย์น่ะ

หลวงตาท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นเห็นไหม เวลานั่งตลอดรุ่งน่ะ เวลามันประสบความสำเร็จตามความเป็นจริง ขึ้นไปรายงานท่าน เห็นไหม “อืม...จิตนี้ไม่เกิด ๕ อัตภาพ” คือว่ามันไม่เวียนตายเวียนเกิดตลอดไป จิตนี้เห็นไหม ถ้าแก้ไขได้ ! ถ้าแก้ไขได้ ! นี่เห็นตามความเป็นจริงแล้ว นี่เป็นจริง ไม่ต้องพูดอะไรเลย รับรู้..รับรู้เลย รับรู้เพราะว่ามันเป็นความจริงอยู่แล้ว แต่เราทำไม่ได้ เราทำไม่ถึงความเป็นจริง

ถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์นะ แล้วปฏิบัติไม่ถึง มันสำคัญของมันไป สำคัญผิดไปเรื่อยๆ ถ้าสำคัญผิดแล้วแก้ไข เพราะสำคัญผิด ทุกคนมันมีโอกาสสำคัญผิดทั้งนั้นแหละ แต่มันสำคัญผิดแล้ว ถ้าเราพิสูจน์แล้วมันไม่ใช่ เราจะแก้ไขของเรา จะเป็นความถูกต้อง ถ้าสำคัญผิด แล้วเราพยายามหาเหตุผลมารองรับความผิดอันนั้น มันไถลออกไป ไถลออกไป

ถ้าเป็นเรื่องที่มันไถลออกไปเฉพาะบุคคลของเรา มันก็จบแค่นั้นนะ แต่ถ้ามันต่อเนื่องออกไปๆ มันก็เป็นความผิด เพราะขณะที่การกระทำนะ เราเองถ้าผิด มันก็เป็นบาปเป็นกรรมของเรานะ แต่ถ้าเราไปสอนคนอื่นให้ผิดตามเราน่ะ มันก็เป็นเวรเป็นกรรมอีกชั้นหนึ่ง เวรกรรมมันเกิดขึ้นได้

ถ้าคนทำคุณงามความดี มันก็ให้ผลในทางที่ดี ถ้าคนทำงานในทางผิดพลาด ในทางที่ชักนำให้เขาไปผิดพลาดมันก็เป็นทางที่ผิดพลาด เวรกรรมมันให้ผลของมันอยู่แล้ว สิ่งนี้เราปฏิบัติของเรา เราทำเพื่อคุณประโยชน์กับเราเอง ฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นคุณประโยชน์กับเราเอง เราต้องตั้งใจ ตั้งใจนะ ชีวิตนี้มีคุณค่ามาก คุณค่าของเรา เราจะต้องทำงานที่อยู่ในวงพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนถึงที่สุดแห่งทุกข์เห็นไหม งานนี้เป็นงานทางใจ

ถ้างานทางใจเกิดขึ้น งานทางใจเกิดขึ้นเห็นไหม มันจะเป็นผลตอบสนอง ถ้างานทางใจยังไม่เกิดขึ้น ชีวิตนี้เห็นไหม เราก็ต้องดำรงชีวิตไป มันเหมือนกับเราต้องดำรงชีวิตไป เพราะยังมีชีวิตอยู่ ชีวิตนี้ยังต้องใช้ปัจจัยเครื่องอาศัย เราก็ต้องดำรงชีวิตอยู่ อันนี้เป็นเรื่องของโลกๆ

แต่ถ้าหัวใจ ถ้ามันเป็นไปไม่ได้เห็นไหม มันยังเป็นไปไม่ได้ เราก็สร้างบารมีของเรา ภาวนานี่แหละ

“การทำทานร้อยหนพันหนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง มีศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับเกิดสมาธิขึ้นหนหนึ่งเห็นไหม มีสมาธิร้อยหนพันหน ไม่เท่ากับเกิดปัญญาขึ้นหนหนึ่ง”

“นี่ ทาน ศีล ภาวนา แล้วถึงที่สุดมันอยู่ที่การภาวนา”

ทีนี้การภาวนามันมีคุณค่าเท่ากับถือศีลร้อยหนพันหนน่ะ ถ้าเราทำความสงบของใจได้ นี่มีคุณค่ามากขนาดนั้น สิ่งนี้มีคุณค่ามาก มันจะทุกข์จะยากเราก็ต้องทำ ถ้าเราทำของเรา มันจะทุกข์จะยากทำขึ้นมาเพื่อเรา ถ้าทำได้ขึ้นมามันก็เป็นประโยชน์กับเราจริงไหม ถ้ามันเป็นประโยชน์กับเรา มันเป็นประโยชน์กับเราไม่เป็นประโยชน์ของใครเลย

เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเราได้มรรค ได้ผลขึ้นมานี่ เราจะไปแบ่งปันให้ใครล่ะ นี่เราจะแบ่งปันให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือ เราจะแบ่งปันให้ครูบาอาจารย์ของเราหรือ ไม่ต้อง แบ่งปันให้ใครไม่ได้ คุณงามความดีของเราน่ะเราจะแบ่งปันให้ใครไม่ได้เลย

คุณงามความดีของเราก็คือคุณงามความดีของเรา แต่ถ้าเราทำบุญกุศลเห็นไหม อุทิศส่วนกุศล อุทิศส่วนกุศลมันเป็นเรื่องอุทิศ ให้เขาร่มเย็นเป็นสุข แต่เวลาที่เราจะพ้นจากทุกข์ มันอุทิศให้ใครๆ ไม่ได้หรอก

แต่การกระทำมันบอกวิธีการเขาได้ ยิ่งคนปฏิบัติเป็นแล้วนี่ บอกวิธีการคนอื่น คนอื่นจะปฏิบัตินี่ เขาชี้นำได้เลย เขาจะเชื่อไม่เชื่อนี่อีกเรื่องหนึ่งเลย แล้วเขาไม่เชื่อด้วย เขาไม่เชื่อ เวลาพระสารีบุตรเห็นไหม เวลาพูดกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ ไม่เชื่อ ! ไม่เชื่อ ! องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย

พระพุทธเจ้า “เธอไม่เชื่อเหรอ”

“ไม่เชื่อ”

“ไม่เชื่อเพราะอะไร”

“ไม่เชื่อเพราะความเชื่อมันฆ่ากิเลสไม่ได้”

แต่สิ่งที่พระสารีบุตรเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระสารีบุตร ประพฤติปฏิบัติของท่าน แล้วท่านรู้ตามความเป็นจริงของท่าน เห็นไหม ท่านเชื่อความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงของท่าน แต่ท่านก็เคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะความรู้ความเห็นนี้ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สอนมา

ความรู้ความเห็นนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สอน แต่ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราทำเป็นของเราขึ้นมา เราทำให้มันเป็นขึ้นมานี่ มันเป็นความจริงขึ้นมา ไม่ใช่ความเชื่อ แต่ความเชื่อนี้เป็นศรัทธา ให้เราได้มาฟังธรรม แล้วพอฟังธรรมให้เราได้มาประพฤติปฏิบัติ ความเชื่อเป็นตัวชักนำเห็นไหม ถึงว่าต้องอาศัยความเชื่อไปก่อน ความเชื่อเป็นอริยทรัพย์ของมนุษย์ ถ้ามนุษย์ไม่มีความเชื่อ ไม่มีความเชื่อเห็นไหม ความเชื่อไม่มีหลักมีเกณฑ์ มนุษย์นั้นจะไม่มีจุดยืนเลย

เพราะมนุษย์นั้นมีความเชื่อ แล้วพยายามทำให้สิ่งที่เป็นความเชื่อนั้น ให้เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าความเชื่อนั้น คนนั้นจะมี “อุดมการณ์” คนที่มีอุดมการณ์เห็นไหม เขาจะเอาชีวิตของเขา ตั้งหลักในชีวิตของเขา ให้มั่นคงของเขา แล้วเขาทำได้ตามความเป็นจริงของเขา เพราะเขามีอุดมการณ์

นี่อุดมการณ์พอมันเป็นความจริงขึ้นมา ยิ่งมีอุดมการณ์มากขึ้น เพราะความจริงคือความจริง ไม่ใช่ความเชื่อแล้ว ฉะนั้นการกระทำของเรา มันต้องมีหลักมีเกณฑ์ หลักเกณฑ์นี้จะเกิดขึ้นมานะ มันก็น่าเห็นใจนะ บุญเก่า กรรมเก่ากรรมใหม่ กรรมเก่ามันให้มีทัศนคติ มีมุมมองที่ดี มีจุดยืนที่ดี กรรมใหม่ เห็นไหม เราเอาสิ่งนี้มา เพราะเราได้สร้างมา กรรมใหม่ของเรา คือทำในปัจจุบันนี้

ถ้าปัจจุบันนี้ทำดี มันก็เป็นความดีของเรานะ เป็นความดีของเรา แล้วความดีอันนี้ มันมีค่ากว่าเงินทอง เงินทองนะเป็นทรัพย์ภายนอก แก้วแหวนเงินทองนี้เป็นทรัพย์ที่หามา เป็นทรัพย์หามาเพื่อใช้สอย เพื่อดำรงชีวิตนี้ให้อุดม ให้มันสะดวกสบายขึ้นมา

แต่ถ้าได้ “อริยทรัพย์” ล่ะ ความสุขนี้เงินซื้อไม่ได้ ทุกอย่างแสวงหาไม่ได้ จะเกิดขึ้นมาจากดวงใจของเรา จากจิตของเรามันได้ปล่อยวาง จากจิตของเรามันได้ปล่อยวางเพราะมันมีสติสัมปชัญญะ มันจะเป็น “สัมมาสมาธิ” แต่ถ้าเป็น “ขิปปาภิญญา” เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ เวลามันปล่อยวางแล้วกิเลสขาดไปพร้อมกับปล่อยวาง

แต่สิ่งนั้นเขาต้องได้สร้างบุญกุศลมามหาศาล กรรมเก่าไง กรรมเก่าเขาต้องสร้างกุศลมหาศาล พอมาในปัจจุบันฟังเทศน์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ทีเดียว เป็นพระอรหันต์ก็มี

ของเรานี่เราถูลู่ถูกังมาขนาดนี้ เทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราก็เปิดพระไตรปิฎกนะ ในสมัยปัจจุบันนี้ ทางวิชาการพระไตรปิฎกเขาแปลแล้วเขาเรียบเรียงอยู่ในคอมพิวเตอร์มหาศาลเลย เราศึกษาเราฟังได้ แต่กิเลสเรามันไม่ฟังด้วย กิเลสเรามันจะไปยึด มันจะไปสำคัญผิดเลยว่า เรารู้ เราเห็น เราฉลาด เราเข้าใจสิ่งนั้น

ฉะนั้นเวลาเราศึกษามาแล้ววางไว้ เวลาเราปฏิบัตินะ “ปริยัติเป็นปริยัติ ปฏิบัติเป็นปฏิบัติ” ที่มันจะมีปัญหากันยุ่งอยู่นี่ เพราะปริยัติกับปฏิบัตินี้มารวมกัน

พอเวลาปฏิบัติ ปฏิบัติในเชิงปริยัติ เวลาปฏิบัติเขากลัวผิดกลัวถูกก็ยึดปริยัติไว้ เวลาศึกษาปริยัติก็อยากปฏิบัติ เพราะปริยัติบอกว่า ศึกษาแล้วต้องปฏิบัติ เราก็อยากปฏิบัติเห็นไหม เรารวมกันไง หลวงปู่มั่นท่านถึงบอกกับครูบาอาจารย์ของเราว่า

“สิ่งที่ได้ศึกษามานี่ คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีคุณประโยชน์มหาศาล เป็นสิ่งที่เราเคารพบูชา แต่ในการปฏิบัตินี่ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องวางไว้ก่อน”

เพราะธรรมของเรา ความจริงของเรามันยังไม่มี ถ้าความเชื่อนี่ ความเชื่อเห็นไหม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเอามาคลุกเคล้ากัน เวลาปฏิบัติไป มันจะทำให้เราไม่มั่นคง มันจะทำให้เราโลเลด้วย แต่ถ้าเราวางไว้ก่อน แล้วเราพิสูจน์ตามความเป็นจริง เหมือนขึ้นเขา เราจะขึ้นเขานี่เราปีนเขาให้ถึงสุดยอด ให้ถึงยอดเขา เราจะรู้ความจริงของเราเลย

แต่เวลาเราอยู่ที่ตีนเขาจะปีนขึ้นสู่เขา เราก็ว่า ยอดเขาจะเป็นอย่างนั้น ทุกอย่างจะเป็นอย่างนั้น ตามตำรา จะขนของขึ้นไปบนยอดเขาด้วย นั้นมันจะทำให้เราละล้าละลังพะวักพะวงอยู่ แล้วของที่จะขนขึ้นไปนี่ มันจะลำบากมาก มันจะหนักมาก เพราะการขึ้นเขา เขามันสูงชัน แล้วยังจะแบกของขึ้นไปด้วย

แบกคือแบกความรู้ไง แบกคือแบกปริยัติน่ะ แบกความรู้ความเห็น แบกว่า สิ่งนี้เป็นธรรมๆ เราจะแบกไปด้วย การขึ้นเขานั้นพะรุงพะรังแล้วยากมาก เราวางทุกอย่างไว้ สิ่งที่ ของที่เป็นพะรุงพะรังน่ะวางไว้ตีนเขา เราจะขึ้นเขาน่ะ เราจะขึ้นไปตัวเปล่าๆ มันจะเบา แล้วมันจะขึ้นสู่ยอดเขา พอขึ้นไปถึงยอดเขาได้ เข้าไปถึงยอดเขาได้ สิ่งที่เราจะแบกขึ้นไปไม่ต้องแบก มันรู้แล้ว มันรู้จริงบนยอดเขานั้น ว่าความเป็นจริง มันเป็นแบบนี้ แต่อยู่ที่ตีนเขานะมันจะแบกความรู้ว่าทำวิธีการขึ้นยอดเขาน่ะ แบกขึ้นไปด้วยไง เห็นไหม มันพะรุงพะรังอย่างนี้

ปริยัติ วิธีปฏิบัติที่มันมีปัญหาเพราะ ปริยัติปฏิบัติมันมาคลุกเคล้ากัน แต่ปริยัติวางไว้ แล้วปฏิบัติขึ้นไป พอมันรู้จริงมันก็เหมือนกัน ไปถึงยอดเขา พอไปถึงยอดเขาแล้ว บนยอดเขา เรารู้เราเห็นของเราหมดเลย แต่ขณะที่ความรู้ที่เราศึกษาก็ศึกษายอดเขานี่ แล้วเราจะแบกความรู้ความเห็น ความรู้ความเห็นมันถ่วงไว้ไง ความรู้ความเห็นทำให้เราลำบากลำบน ความรู้ความเห็นของเราน่ะ มันทิฏฐิมานะ

สิ่งที่รกรุงรังในหัวใจ สิ่งที่ทำ เห็นไหม เราก็ต้องพุทโธๆๆๆ เพื่อให้จิตสงบ แล้วก็วางความรู้ทุกอย่าง วางไว้ที่ตีนเขา วางให้ได้ๆ แล้วถ้าจิตมันสงบแล้ว ตัวเปล่าๆ เราจะปีนเขาของเรา เราจะขึ้นเขาของเรา สู่ความเป็นจริงของเรา มันจะเป็นความจริงของเรา แล้วสู่ข้อเท็จจริง มันเห็นเลยชัดเจนมาก เป็นปัจจัตตังๆ เป็น สนฺทิฎฺฐิโก นี้พูดถึงในแนวทางปฏิบัตินะ

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ แล้วถ้าปฏิเวธรู้แจ้งแล้วจบ จะไม่มีการโต้แย้ง

สิ่งนั้นมันเป็นกรรมของสัตว์ สัตว์ วุฒิภาวะของสัตว์ เขารู้ได้แค่นั้น มันก็เรื่องแค่นั้น เหมือนเด็กๆ เด็กๆ ผู้ใหญ่จะเอาเหตุผลของผู้ใหญ่พูดให้เด็กรู้ขนาดไหน เด็กมันก็รู้ได้แค่เด็ก แต่เด็กเวลามันโตเป็นผู้ใหญ่แล้วนี่ มันฉลาดกว่าผู้ใหญ่นั้นก็ได้ วุฒิภาวะเขาเป็นเด็ก เห็นไหม กรรมของสัตว์

ในเมื่อกรรมของสัตว์เขาเป็นอย่างนั้น เขาพัฒนาของเขาไม่ได้ แต่ถ้าเราเป็นคนที่มีอำนาจวาสนา เราก็เป็นสัตว์ตัวหนึ่ง ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ กิเลสในหัวใจ เต็มหัวใจทุกดวง ฉะนั้นเรามีจุดยืนของเรา เราจะเป็นเด็ก เราก็ต้องพิสูจน์ของเรา เราต้องพิสูจน์ของเรา พิสูจน์ขึ้นมาในภาคปฏิบัติประสบการณ์ตรง คือการพิสูจน์ตามความเป็นจริง

ถ้าความเป็นจริงมันเกิดขึ้นตามความเป็นจริงนั้น จะเด็กจะผู้ใหญ่รู้อันเดียวกัน ถ้าเด็กเขาปฏิบัติได้จริง มันก็รู้อันเดียวกับผู้ใหญ่รู้ แต่นี้ถ้าเด็กมันปฏิบัติไม่ได้จริงเห็นไหม วุฒิภาวะอย่างนั้น เวลาพูดออกไป ความเห็นของเขา เห็นไหม นี่ กรรมของสัตว์ !

ในเมื่อกรรมของสัตว์ นี่เวลาครูบาอาจารย์พูดกันนี่ เข้าใจกันได้ง่ายๆ ธรรมะนี่ เราออกไปในระดับนี้ ถ้ารับได้มันส่งต่อไป เหมือนน้ำหนักไง เด็กรับของน้ำหนักได้แค่ไหน ถ้าเราให้ของขนาดนี้ เขารับได้ เราให้ของน้ำหนัก เพิ่มมากขึ้นๆ เขาจะรับได้ตลอดไป แต่ถ้าเขารับสิ่งนี้ไม่ได้ แล้วเขารับไม่ได้ ถ้ารับไม่ได้ด้วย เป็นภาระหนักเกินไปด้วย นี่จิตเขาอ่อนแอเกินไป

ถ้าจิตอ่อนแอครูบาอาจารย์ต้องดู ดูว่ามันควรไม่ควร ให้น้ำหนักจนเกินไป จนเขารับไม่ได้มันก็จะไม่เป็นประโยชน์กับเขา เขาจะรับของเขา แต่ถ้าให้น้ำหนักของเขาพอปริมาณของเขาแล้วเขาก็พัฒนาของเขาขึ้นมา มันจะเป็นประโยชน์กับเขาเห็นไหม นี่การปฏิบัติ !

ในภาคปฏิบัติ ปริยัติศึกษาแล้ว ไม่ใช่ปฏิเสธปริยัติ ปริยัติต้องศึกษา พอศึกษาแล้วนี่เวลาปฏิบัติต้องวางให้ได้ ถ้าวางไม่ได้ วางปริยัติไม่ได้นะมันเป็นความสำคัญผิดเลย แล้วเวลาสำคัญผิดแล้วนะเวลาจะหาเหตุผล ก็หาเหตุผลจากปริยัตินั้นน่ะมารองรับ

แต่ในภาคปฏิบัตินะ เวลาถ้ามันเป็นความจริงนะ เวลาเอาความจริง เอาความรู้จริงมารองรับ แล้วความรู้จริงมันใช้ได้ทุกวินาที เหมือนกับมีด เหมือนกับเครื่องมือที่เราถืออยู่นี่ ถ้าเกิดเหตุการณ์ เราทำได้ตลอดเวลา

สิ่งของที่เป็นเครื่องมือเราเก็บของเราไว้ในตู้ เวลาเราจะใช้เราต้องไปเปิด เราต้องแกะออกมาจะใช้ นี่ก็เหมือนกัน เวลามีปัญหาขึ้นมานี่ ในตู้พระไตรปิฎกต้องรื้อค้นของมัน นี่ปริยัติ แต่ถ้าเป็นปฏิบัติตามความเป็นจริง มันรู้จริงในใจนะ จิตพระอรหันต์นะ พระอรหันต์หลงในอะไร ในมิลินทปัญหา พระอรหันต์หลงในสมมุติบัญญัติ พระอรหันต์ไม่หลงในอะไร พระอรหันต์ไม่หลงในอริยสัจ ในข้อเท็จจริง

ฉะนั้นสิ่งที่ไม่หลง คือมันอยู่ในใจนั้นตลอด ความรู้ ความเห็น หรือคำถาม จิตนี้มันจะตอบได้ตลอดเวลา เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง อริยสัจ พระอรหันต์ไม่หลงในอริยสัจ แต่พระอรหันต์หลงในสมมุติบัญญัติ สมมุตินี่พระอรหันต์หลงได้ เพราะสมมุตินี่มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะเราไม่รู้ทันสมมุติหรอก

สมมุติภาษานี่ ภาษาทุกภาษาเราไม่รู้กับเขาหรอก สมมุติบัญญัตินี่พระอรหันต์ไม่เข้าใจได้ แต่ “พระอรหันต์ไม่เคยหลงในสัจธรรมเลย ! ” ฉะนั้นถ้าจิตมันรู้จริง มันมีข้อเท็จจริงของมันเห็นไหม มันจะไม่หลงสิ่งใดๆ เลย มันจะรู้ตัวของมันตลอดเวลา แล้วมันจะมีความจริงของมันตลอดเวลา นี่เวลาปฏิบัติไปเห็นไหม

ฉะนั้น เรื่องของปริยัติมันก็เป็นสมมุติบัญญัติ สมมุติบัญญัติ หลงได้ ผิดพลาดได้ แต่ข้อเท็จจริงนี้ไม่มีทางผิดพลาด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงกับข้อเท็จจริงจะรู้กัน สิ่งที่เวลาสำคัญผิดแล้วนี่ เอาหาเหตุผลมารองรับความผิดนี่ เห็นไหม นั่นน่ะมันสมมุติบัญญัติ !

แล้วผู้ที่ฟังมันก็เป็นเรื่องโลกๆ เห็นไหม มันก็เข้าใจได้ แต่ถ้าเป็นความจริง เอาข้อเท็จจริงมายืนยันกัน คนที่รู้จริงเห็นจริง ยืนยันกันที่ข้อเท็จจริง ฉะนั้นทางโลกเขารู้กับเราไม่ได้ เขารู้ข้อเท็จจริงอย่างนี้ไม่ได้

ความที่ข้อเท็จจริงนี้ มันเลยเป็นสิ่งที่ว่า เข้าถึงได้ยากแต่ถ้าเป็นความ “สำคัญผิด” แล้วหาเหตุผลมารองรับความผิดนั้น มันเข้าได้ง่าย เข้าได้ง่ายแล้วคนเข้าชอบด้วยเพราะมันรู้ได้

แต่ข้อเท็จจริงมันจะรู้ได้ต่อการปฏิบัติเท่านั้น ข้อเท็จจริงเราจะรู้ได้ต่อเมื่อ “เรามีสติ เรามีสมาธิ แล้วเราเกิดปัญญา” ขึ้นมา แล้วปัญญานี้มันใคร่ครวญอย่างไร ! แก้ไขอย่างไร ! สมุจเฉทปหานอย่างไร ! ขาดออกไปอย่างไร ! สังโยชน์ขาดออกไปเป็นชั้น เป็นตอน โสดาบันเป็นอย่างไร ! สกิทาเป็นอย่างไร ! อนาคาเป็นอย่างไร ! พระอรหันต์เป็นอย่างไร !

“คนรู้กับคนรู้ เขาคุยกันชัดเจนมาก” คนที่มีกึ๋นนะ แล้วกึ๋นเล็ก กึ๋นใหญ่ กึ๋นครบกระบวนการนี่ สิ่งนี้หลอกไม่ได้ ! หลอกใครไม่ได้หรอก แล้วผู้รู้มีจริง ! ความจริงในโลกนี้มี ! ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติจริงมี ! สิ่งนั้นมันเลยเป็นสัจจะกับโลก เอวัง