ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ยืนยันว่าผิด

๒๙ ธ.ค. ๒๕๕๓

 

ยืนยันว่าผิด
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราบอกว่าภาวนาไม่เป็น ! ภาวนาไม่เป็นเพราะว่า.. จริงๆ เราไปคุยมาหมดแล้วล่ะ เรารู้หมดแล้วล่ะแต่เราไม่ค่อยได้พูด เราให้เกียรติทุกคน เพราะอย่างเราพูดเรื่องพระ พระนี่จากฝึกมาแต่ละองค์มันไม่ใช่ของง่ายหรอก มันยากมาก ฉะนั้นพอยากมากขึ้นมาเราก็ต้องปล่อยโอกาสให้ทุกคนได้ปฏิบัติ ให้ทุกคนได้พยายามเพื่อจะเอาตัวเองให้รอดให้ได้

ฉะนั้นการพยายาม การกระทำอยู่นั้นมันก็มีความผิดพลาดเป็นธรรมดา ความไม่รู้ความไม่เข้าใจนี้เป็นธรรมดา ฉะนั้นหลวงตาจะบอกว่า เวลาเรื่องของธรรมะนี่ “ผู้รู้มีอยู่นะ ! ผู้รู้มีอยู่ ผู้รู้จริงมีอยู่” นี้ผู้รู้จริงนี่รู้ แต่คนที่ปฏิบัติยังไม่รู้จริงก็เยอะ แล้วรู้เป็นบางส่วนหรือไม่รู้เลยก็มีเยอะ ฉะนั้นผู้ที่เขาจะปฏิบัติมานี่เขาถึงให้ปฏิบัติมา เพราะเหตุนี้เราถึงไม่ชี้ว่าคนนู้นถูก คนนี้ผิด เราไม่ค่อยพูดเท่าไร แต่จริงๆ ก็คือผิด ! ไม่รู้ !

แต่เวลาเขาอ้าง เวลาเขาอ้างนะ เมื่อวานไปที่นู้นก็เหมือนกัน เขาบอกเลยนะเขาบอกว่าพวกปฏิบัตินี่ผิดหมดแหละเพราะไม่มีการศึกษา ไม่ได้ศึกษาตำรามา.. กูบอกว่าตำรานี่ศึกษา ศึกษาตำรามานี่ตำราคือตำรา ตำราคือตัวอักษร แต่ในการปฏิบัติมันต้องมีวิธีการของมัน ถ้าไม่มีวิธีการเวลาศึกษาตำรามาแล้วต้องเป็นอย่างนี้ ต้องจำตัวอักษรห้ามขยับเลย ขยับคือเราเห็นต่างจากพุทธพจน์

ฉะนั้นมันเป็นไปไม่ได้หรอกมันต้องมีเทคนิคของมัน นี้พอมีเทคนิคของมัน พอเวลาเราขยับปั๊บมันเลยเถียงกันไม่ได้ไง เราพูดกันแบบว่าคนละเรื่องเดียวกัน พอมันฟังมันจะรู้เรื่องไปไม่ได้หรอก พวกที่ศึกษามานี่รู้ธรรมะไปไม่ได้ เพราะเขารู้โดยระบบ รู้โดยสูตรสำเร็จมา แต่สูตรสำเร็จที่จะเป็นได้นี่นักปฏิบัติมันต้องปฏิบัติของมันขึ้นมา แล้วปฏิบัติของมันขึ้นมาจนถึงที่สุดแล้วมันก็เป็นสูตรสำเร็จอันนั้นแหละ เพราะสูตรสำเร็จอันนั้นมันเป็นสูตรสำเร็จของพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าจะเป็นสูตรสำเร็จนั้น พระพุทธเจ้ามีวิธีการมีการปฏิบัติมา ฉะนั้นพระพุทธเจ้าถึงแบ่งปริยัติกับปฏิบัติมา

นี่พูดถึงเมื่อวานนะ เขาบอกเลยนะไอ้พวกปฏิบัตินี่ร้ายนัก ! เพราะเขาไปถาม เขาถามบอกว่า หลวงตาบอกว่าเป็นพระอรหันต์นี่ เขาบอกว่านั่นล่ะร้ายนัก เพราะว่าบอกว่าพระอรหันต์เพราะอยากได้ลาภ เพราะเขาไม่เชื่อเขาบอกพวกนี้พวกอยากได้ลาภ เราบอกว่าพวกนี้เขาพูดไปพูดด้วยความเห็นของเขา เพราะอะไรเพราะเขาไม่รู้จริง ถ้าเขารู้จริงการที่ได้มานี้ คำว่าได้ลาภมา ได้ลาภในการช่วยชาตินี่ ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ คำว่าได้มาด้วยความบริสุทธิ์เพราะเขาบอกว่าไอ้พวกไม่หยิบตังค์นั่นล่ะตัวร้าย ไอ้พวกไม่หยิบตังค์นั่นล่ะมันใช้ตังค์มากกว่า เพราะเขาเห็นว่าเป็นหมื่นๆ ล้านไง

แต่ไม่หยิบตังค์ การได้มาด้วยความสะอาดบริสุทธิ์นี่ยากมาก ยากอย่างไร ยากอย่างเช่น มีพระถือตังค์มาถวายท่าน ท่านก็ไม่รับ เพราะอะไร เพราะสังคมส่วนใหญ่เขามีใช่ไหมถือตังค์และไม่ถือตังค์ ทีนี้พอถือตังค์มาท่านบอกท่านไม่เอานะ ท่านมาท่านต้องการธรรม ท่านต้องการความบริสุทธิ์ไง ถ้าพระถือตังค์มาท่านไม่รับเลย ท่านให้เอากลับไปเลย แล้วตัวท่านเองท่านก็ไม่ได้เคยจับเคยถือเลย แต่ท่านมีคณะทำงานใช่ไหม

นี้เวลาเขาพูดไง เราบอกว่าการได้มาด้วยความสะอาดบริสุทธิ์นี่มันยาก นี้ว่า ๑. การที่หาเงินทอง หาปัจจัยเข้ามาค้ำชาติมันก็เรื่องยากอยู่แล้ว แล้วยิ่งให้มันถูกต้อง มันยิ่งยากเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง เราถึงบอกว่าสิ่งที่การกระทำแบบนั้นเขาก็ทำด้วยแบบว่าอุดมการณ์ อุดมคติ สละได้แม้แต่ชีวิต.. หลวงตาบอกว่าสละตายเมื่อตอนปฏิบัติรอบหนึ่ง แล้วก็มาสละตายตอนช่วยชาติเนี่ย

นี่ไงเสียสละขนาดนั้น มันถึงได้ทำด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ไง แต่เขาไม่เข้าใจของเขา ทีนี้พอไม่เข้าใจเขา ก็มองมุมมองของเขา เขาบอกว่าการทำนี้มันเป็นการทำเพื่อแรงปรารถนาอีกอันหนึ่ง คือว่ากิเลสว่าอย่างนั้นเถอะ นี่มุมมองของเขา

ฉะนั้นเวลาปฏิบัติขึ้นมา เวลาที่การศึกษาขึ้นมา.. ศึกษามานี่ศึกษามาต้องเป็นแบบนั้น แล้วก็เข้าใจสิ่งที่ศึกษามานี่ถูกต้อง.. ผิดหมด ! ผิดหมด ! ฉะนั้นเราบอกว่าผิดเพราะอะไร เราบอกว่าผิดเพราะคำพูดของเขามันฟ้อง อย่างเช่นเรานี่นะเราศึกษาทฤษฎีมาหมดเลย เก่งมาก แต่เราทำงานสิ่งนี้ไม่เป็น แล้วให้เราอธิบายถึงการทำงานสิ่งนั้นเราจะอธิบายถูกไหม เรารู้ทฤษฎีหมดเลย นี่การขับรถเรารู้หมดเลยแต่เราขับรถไม่เป็น แล้วเราไปขับรถสิ ขึ้นไปนี่ออกรถได้ไหม.. ไม่ได้หรอก

เราบอกว่าผิดเพราะว่าอะไร เพราะว่าหลวงปู่ดูลย์นี่ถูก เพราะหลวงปู่ดูลย์บอกว่าดูจิตนะ แล้วเราจะ... แล้วนี่เราทำโศลกแล้วนะ “ความคิดส่งออกทั้งหมด ผลของมันเป็นทุกข์” จิตส่งออกทั้งหมดนี่ผลของมันเป็นทุกข์ทั้งหมด มันเป็นกิเลส

จิตเห็นจิต ! จิตเห็นจิต ! ผลจากจิตเห็นจิตนี่เป็นวิปัสสนา มันเป็นสมถะวิปัสสนา นี่เราบอกว่าหลวงปู่ดูลย์ที่ถูกถูกเพราะว่า เวลาพูดถึงสมาธิท่านก็พูดถึงสมาธินะแต่ท่านไม่ได้พูดว่าสมาธิ

“จิตส่งออกทั้งหมด ผลของการส่งออกเป็นทุกข์” จิตส่งออกทั้งหมด เห็นไหม ถ้าไม่ส่งออกมันก็เป็นสมาธิไง ไอ้จิตเห็นจิตนี่เป็นสมาธิก็ไม่เห็นหรอกต้องเป็นวิปัสสนา

จิตเห็นจิตเป็นมรรค ! ผลจากจิตเห็นจิตนี่เป็นมรรค.. ระหว่างสมถะกับวิปัสสนา หลวงปู่ดูลย์บอกว่า “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด แต่การหยุดคิดก็ต้องใช้ความคิด”

นี่นะหลวงปู่ดูลย์พูดอย่างนี้นะ แต่ไปดูพระองค์นี้พูดสิ “ห้ามคิด.. ห้ามคิด.. ห้ามคิด.. ห้ามคิด.. ดูจิตอย่างเดียวห้ามคิด ! ดูจิตอย่างเดียวห้ามคิด !” เห็นไหม ฟ้องไหม.. ฟ้องไหม.. มันฟ้องถึงการภาวนาไม่เป็น ! เพราะภาวนาเป็นนี่หลวงปู่ดูลย์ เห็นไหม หลวงปู่ดูลย์บอกเลย “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด แต่ก็ต้องใช้ความคิด”

นี่คนเป็น เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าคิดเท่าไรก็ไม่รู้ คิดแบบโลกๆ ไม่รู้หรอกต้องหยุดคิด พอมันหยุดคิดแล้วแต่ก็ต้องใช้ความคิด.. คำพูดแค่นี้มันบอกหมดเลยว่าภาวนาเป็นและไม่เป็น แต่ถ้าคนไม่เป็นนะคิดเท่าไรก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด ต้องหยุดคิดใช่ไหมห้ามคิด คิดไม่ได้ คิดผิด ! เถรตรงเพราะไม่เป็น “ง่ายๆ ห้ามคิด ! คิดยิงทิ้งเลย ห้ามคิด ! ห้ามคิด !” ตายห่าเลยห้ามคิด แล้วมันเกิดคิดอยู่ข้างในทำอย่างไรนี่ ข้างในมันก็คิดอยู่ ห้ามมัดขนาดไหนมันก็คิดแล้วทำอย่างไรล่ะ ทำอย่างไร.. ทำอย่างไรล่ะ ทำอย่างไร.. ก็ห้ามคิดแล้วทำอย่างไร

แต่ความคิดอันหนึ่งเป็นความคิดสกปรก ความคิดโดยสามัญสำนึกนี่กิเลสมันรวมมาด้วย เราดูจิตๆ คำว่าดูจิตนี่เราจะบอกว่าหลวงปู่ดูลย์ท่านพูดรวบรัด แต่ถ้าเป็นหลวงตาท่านบอกว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ” ใช้ปัญญาใคร่ครวญ ปัญญาใคร่ครวญ.. ปัญญาอบรมสมาธิ ! พอเป็นสมาธิแล้วถ้าเกิดปัญญา ถึงจะเป็นโลกุตตรปัญญา เหมือนหลวงปู่ดูลย์พูดเลย คิดเท่าไรก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด แต่ก็ต้องใช้ความคิด นี่วิปัสสนาวิมุตติ

คำพูดหลวงปู่ดูลย์นี่ชัดมาก เราไม่ค้านเลย แต่คำพูดของลูกศิษย์นี่ค้านหมด.. นี่ไงทฤษฎีที่จำมา เห็นไหม จำมาได้หมด จำมาทุกอย่างจำมาหมดเลย ทฤษฎีรู้หมดเลย แต่พอเวลาพูดพูดผิดหมด

ผิด ! ผิดเด็ดขาด ! แต่เราไม่เคยย้ำไม่เคยอะไร แต่ลูกศิษย์วงในจะรู้เพราะถ้าพูดถึงพระองค์นี้ลูกศิษย์เราจะรู้เลยเพราะเราไม่รับ เราไม่ยอมรับว่าถูก ถ้าพระองค์นี้ถูกนะตอนเกิดเรื่องนี่ ตอนเกิดเรื่องเขาโทรศัพท์มา ถ้าถูกมานี่เรา..อุบ

เพราะมีคนทำงานร่วมกันมันเบามันแรงตามมา แต่เรารู้ว่ามันไม่ถูก เห็นไหม เวลาประสานงานมาเราปิดหมด ปิดหมดเพราะอะไร เพราะถ้าประสานงานมาแล้ว เราจัดการเรื่องนี้ให้มันจบไป ไอ้เรื่องนี้มันก็เลยถือว่าถูกไปด้วยไง เรื่องนี้ก็ผิด ! เรื่องนี้ก็ผิด ! แต่เรื่องนี้จัดการจบแล้ว.. แต่เรื่องนี้อีกเรื่องหนึ่ง ผิด !!!

เรายืนยันด้วยข้อเท็จจริงนะ แต่พวกโยมนี่ พวกโยมนี่นะแยกถูกแยกผิดไม่เป็น แยกว่าอะไรเป็นความคิดของสามัญสำนึก อะไรเป็นความคิดของปัญญาอบรมสมาธิ สามัญสำนึกนี่เราไม่ต้องคิดอะไรเลยมันแล่นเอง ความคิดเรามันพุ่งเองนี่สามัญสำนึก ถ้าเราควบคุมมัน.. เราควบคุมมันด้วยสติปัญญานี่คือปัญญาอบรมสมาธิ พอมันจิตสงบนะ จิตสงบเพราะมันควบคุมพลังงาน พลังงานมันจะหยุดแล้วหยุดบ่อยๆ

หยุดบ่อยๆ นะ พอหยุดบ่อยๆ ก็แค่นั้นล่ะถ้าพูดถึงคนทำไม่เป็น แต่ถ้าพอหยุดปั๊บ หยุดนี่มันเป็นแบบว่าพลังงานที่เป็นพลังงานสะอาด พลังงานพวกเรานี่ พลังงานของเราสกปรกไปด้วยอวิชชา คำว่าอวิชชานี่ไม่ใช่สิ่งที่ว่ามันเป็นสุดวิสัย คือไม่ใช่สิ่งที่ว่าเราจะเอามันเป็นสิ่งที่แยกถูกแยกผิดได้ อวิชชาคือความไม่รู้เลย เหมือนกับนะเหมือนกับน้ำมันนี่เวลาจุดไฟมันก็ติด น้ำมันไม่รู้ว่ามันจะเป็นเชื้อไฟนะ แต่โดนไฟปั๊บมันจะติดทันทีเลย

อวิชชาก็เป็นแบบนั้น อวิชชานี่มันเกิดมากับพลังงานเราตลอดเวลา ฉะนั้นพลังงานนี้มันถึงสกปรกไง ที่ว่าพลังงานพวกเราสกปรก พลังงานของเราหมองไป นี่มันมีอนุสัยมันนอนเนื่องมา อนุสัยมันก็เหมือนน้ำมันเบนซินนี่พอจุดแล้วมันก็ติดเลย อนุสัยนี่มันคือน้ำมันนั้น พอมันติดมันก็ติดมาพร้อมกัน เห็นไหม อนุสัยมันนอนเนื่องกับความคิดมันนอนเนื่องมา ฉะนั้นความคิดอย่างนี้ถึงสกปรกใช่ไหม แต่พอเรามีปัญญาอบรมสมาธิเข้าไปบ่อยครั้งเข้าๆ ปัญญาอบรมสมาธิมันจะกรองตรงนี้ไง กรองจนพลังงานมันสะอาดไง

พลังงานสะอาดนี่มันเป็นพลังงานสะอาด ไม่ใช่พลังงานที่มันมีอวิชชามา นี้พลังงานสะอาดมีไว้ทำไมล่ะ พลังงานสะอาดก็คือพลังงานสะอาดไงแล้วทำอะไรล่ะ ก็พลังงานสะอาดไงก็จบ.. สมาธิคือสมาธิ เกิดปัญญาไม่ได้ สมาธิแก้กิเลสไม่ได้หรอก แต่ถ้าไม่มีพลังงานสะอาดตัวนี้นะ ออกมาเท่าไรก็เป็นพลังงานสัญชาตญาณทั้งหมด พลังงานสัญชาตญาณก็คืออวิชชาทั้งหมด โลกียปัญญาไง

แต่ถ้าคิดเท่าไรก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด แต่ก็ใช้ความคิด.. อันนั้นคิดอย่างไร แต่ถ้าคนภาวนาเป็นนะ เราถึงบอกว่าถ้าคนภาวนาเป็นมันรู้หมดไง เพราะเราเป็นใช่ไหม เราเป็นเราก็ต้องรู้ใช่ไหม ถ้าเราไม่รู้แล้วเราเป็นได้หรือเปล่า เราไม่รู้คือเราไม่เป็น ถ้าคนบอกว่าเป็นแล้วพูดอย่างนี้ผิดเอ็งเชื่อไหม คนบอกว่านี่เราภาวนาเป็น เราเป็นเจ้าของสวน สวนนี้ของกูนะกูปลูกมากับมือเลย แล้วต้นไม้ต้นอะไรบ้างล่ะ อืม.. ก็ไม่รู้ ใครเป็นเจ้าของสวน เราเป็นเจ้าของสวน เราปลูกต้นไม้ไว้เต็มสวนเลยแต่ไม่รู้ว่าต้นอะไร มันก็ไม่ใช่แล้ว

อันนี้ก็เหมือนกัน นี่เขาบอกห้ามคิดๆ มึงเป็นเจ้าของสวน แล้วนี่ต้นไม้ต้นอะไรมึงยังไม่รู้เลยเหรอวะเนี่ย.. ชัดไหม ค่อยๆ พูดมา เราจะเคลียร์กันไง เราพูดกันโดยเป็นทางวิชาการ เราไม่ได้ว่าใครนะ อย่างที่เราพูดตั้งแต่ทีแรก เห็นไหม ว่าคนภาวนาเริ่มต้นมันก็มีผิดมีถูกเป็นธรรมดา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเมตตา ท่านพยายามช่วยเหลือ พยายามแยกแยะ พยายามชี้นำให้พวกเรานี้ถูกต้องมา นี่เป็นเรื่องของครูบาอาจารย์นะ

ฉะนั้นพอเป็นเรื่องของครูบาอาจารย์แล้วนี่ ครูบาอาจารย์ที่ผ่านมาก็รู้ว่าตัวเรานี่นะกว่ามันจะผ่านอะไรนี่มันยาก มันลำบาก มันทุกข์แค่ไหน แล้วถ้าคนอื่นมันจะทำได้ขนาดนี้ไหม แล้วถ้ามันมีความผิดพลาดสิ่งใดเราก็จะแก้ไขกัน

ฉะนั้นสิ่งนั้นมันเป็นเรื่องที่ว่าเราจะควบคุมไม่ได้ เราจะจัดการไม่ได้ นี้เพียงแต่ว่าธรรมดาเรารู้กันอยู่แล้วไง เพียงแต่เหตุมันเกิดเพราะ ๒ คนนี้ เพราะ ๒ คนนี้มายืนยันว่าถูกต้อง ! ถูกต้อง ! เราก็พยายามจะพูดให้ ๒ คนนี้เข้าใจ ถ้าถูกต้องเราก็จะบอกว่าถูกต้อง เราก็จะไม่ค้านหรอก เราก็จะให้ว่าถูกต้อง แต่ถ้าบอกว่ามันไม่ถูกต้องขึ้นมา เห็นว่าสิ่งนี้มันไม่ถูกต้องเป็นความถูกต้อง เราก็จะเสียเวลา เราก็จะทำอะไรที่มันอยู่ที่ความผิดพลาดอย่างนั้น เราถึงได้พูดออกมา

เพื่อนนี่มาบ่อยแต่ไม่เคยพูดให้ฟังเลย เพราะเราไม่ทำลายน้ำใจใคร ! เราไม่ทำลายน้ำใจใคร.. อาจารย์ของเขา พ่อแม่ของเราใครก็รัก ใครไม่รักพ่อแม่ของคนนั้น คนนั้นเป็นคนอกตัญญู คนนั้นเป็นคนที่ไม่ดี คนไหนรักพ่อแม่เราว่าคนนั้นเป็นคนดี ฉะนั้นพ่อแม่ของเราจะผิดจะถูกนั้นมันก็เรื่องของพ่อแม่เรา แต่ความกตัญญู ความเคารพอาจารย์เรา มันก็เป็นเรื่องของลูกศิษย์ มันเป็นเรื่องธรรมดา เราถึงไม่ทำลายน้ำใจ เราไม่บอกทำลายน้ำใจ

เราไม่ทำลายน้ำใจนะ แต่วันนั้นเหตุที่พูดเพราะเราจะยืนยันว่าถูกผิดนี่

โยม ๑ : หนูไม่รู้ว่ามันผิดอย่างไรค่ะ

หลวงพ่อ : อ้าว.. ก็โยมยังยืนยัน ยืนยันก็ต้องคุยกัน อ้าว.. ถ้าบอกว่าผิดแล้วไม่บอกว่าผิดอะไรนี่จับมันยิงเป้า ฆ่ามันทิ้งซะ ! ถ้าผิดก็ต้องบอกว่าผิด ถูกก็บอกว่าถูก ถ้าจะพูดกันโดยข้อเท็จจริงโดยเหตุผล แต่ถ้าโดยมารยาทสังคม มารยาสาไถยเราก็เอ้อ.. อ้า.. เอ้อ.. อ้า.. ถ้ามารยาทสังคมนะกูก็ทำได้ แต่ถ้าจะเอาข้อเท็จจริง ถ้าบอกว่าผิดจับไปยิงเป้า !

นี้โดยหลักมันผิด พอโดยหลักมันผิดนี่นะ เวลาสอนออกไปมันก็ทำให้ ประสาเราว่ามันก็เป็นอย่างนั้นล่ะ มันเป็นอย่างนั้น แต่ถ้ามันถูกนะ เวลามันถูกนี่จะทำอย่างไรก็ถูก แล้วพอคนถูกนี่มันจะสอนนะ ดูอย่างที่ว่าหลวงปู่เจี๊ยะ ขี้ ! ขี้ ! ขี้ ! ขี้ ! ยังสงบได้เลย บริกรรมขี้ ! ขี้ ! ขี้ ! ขี้ ! นี่ขี้เหม็น ! ขี้เหม็น ! ขี้เหม็น อู้ฮู.. จิตสงบได้นะคนเป็นสอน เพราะคนเป็นสอนเขามีอุบายไง

เหมือนเด็กนี่เราไปซ่อนอะไรไว้ เราต้องการให้เด็กหาสิ่งนั้นเจอ เห็นไหม เราก็จะออกอุบายว่ามันอยู่ตรงนั้นตรงนี้ ใกล้ๆ ตรงนั้นน่ะ มันไปหาๆ เดี๋ยวมันเปิดเจอพอดี แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าไปซ่อนไว้ที่ไหน ไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหนเลย แล้วก็บอกกันไป มึงไปหาของบนดวงจันทร์ แล้วก็อยู่บนโลกนี่มึงหมุนไปเถอะ ของมันอยู่ที่ดวงจันทร์นู้น มึงก็หาอยู่ในโลกนี่หมุนอยู่นั่นแหละ อู้ฮู.. ไปรอบโลก ๕๐ รอบมึงก็ไม่เจอหรอก

แต่ถ้าคนเป็นนะ.. จิตมันอยู่ที่นี่ แล้วมันจะมีอุบายวิธีการอย่างไรเข้าไปสู่จิตนั้น ถ้าเข้าไปสู่จิตนั้นก็คือกรรมฐาน ถ้าไม่ใช่กรรมฐาน ไม่มีฐานที่ตั้งแห่งการงานงานไม่เกิด.. งานที่เราทำอยู่นี้งานบนความคิด งานบนความคิดมันก็เป็นผลของความคิด เพราะอะไร เพราะอย่างที่ว่านี่เขาพูดอย่างนี้ทุกคน อู้ฮู.. ไปปฏิบัติแล้วสบาย ทำไมมันผิดได้อย่างไร.. ทำไมจะไม่สบายก็นี่มันความคิดน่ะ มึงคิดให้สบายก็สบาย แต่เราคิดสบายไม่ได้เพราะเราฝังใจใช่ไหม เราเจ็บช้ำ เราไม่คิดว่าสบาย

เขาบอกให้คิดเรื่องนี้สิ เห็นไหม ธรรมะเป็นอย่างนั้น โอ้โฮ.. ก็คิดเลย มันก็อันที่มึงทุกข์มาเมื่อกี้นี้แหละ.. ทุกข์เพราะความคิด ! ใช่ไหมเราทุกข์เพราะความคิดมาใช่ไหม ก็ไปตรึกในธรรมใช่ไหม ทุกข์เพราะความคิด ความคิดอย่างนั้นก็เพราะมีความคิด เพราะความคิดมันเป็นสัญชาตญาณ ความคิดมันเกิดจากจิตมันก็คิดใหญ่เลย มันก็คือความคิด ! เออ.. คิดแล้วสบายว่ะ เมื่อก่อนไม่เคยสบายอย่างนี้เลยนะ แหม.. ปฏิบัติแล้วมันสบ๊าย สบายเลยนะ นี่มันถูกต้อง.. ไม่ได้แก้ไขอะไรเลย

อันเดียวกัน ! อันเดียวกันกับความคิดนั่นล่ะ แต่เดิมเราคิดแต่เหตุแต่ผลที่มันเจ็บช้ำน้ำใจ แต่คราวนี้เรามาคิดเรื่องธรรมะของพระพุทธเจ้า เปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกจากความเจ็บช้ำน้ำใจมาคิดในธรรม พอมันคิดในธรรมแล้วมันก็เป็นธรรม มันเป็นธรรมไหม มันเป็นธรรมสิ เพราะมันเป็นสัจธรรม ก็เราไปคิดในสัจธรรมมันก็เป็นธรรมน่ะสิ.. เป็นธรรมที่ไหน เป็นธรรมที่ความคิด (หัวเราะ)

แล้วเวลาเขาคิดว่าทุกข์ แล้วมันคิด มันทุกข์เพราะคิดนี่แล้วก็มาคิดธรรมะ พอคิดธรรมะแล้วมันก็จบ อ้าว.. กูคิดธรรมะแล้วไง แล้วก็เป็นธรรมแล้วไง แล้วอย่างไรต่อไปล่ะ.. ตอบไม่ได้หรอก ก็นี่ไงธรรมะเป็นธรรมชาติไง ธรรมะเป็นธรรมชาติเป็นสัจธรรมไง เพราะอะไร เพราะมันไม่มีเหตุมีผลไง อธิบายไม่ได้ว่าต้นไม้มันปลูกที่ไหน ต้นไม้นี่เขาต้องปลูกบนดิน บนแผ่นดินเขาไว้ปลูกต้นไม้ แล้วรดน้ำอย่างไร พรวนดินอย่างไร ต้นไม้มันถึงเจริญเติบโตขึ้นมา

แผ่นดินคืออะไร แผ่นดินคือจิต แผ่นดินคือภวาสวะ แผ่นดินคือภพ ! คุณงามความดีเกิดที่ไหน สมาธิเกิดที่ไหน สัจธรรมเกิดอย่างไรมึงบอกกูมาสิ สวนกูเต็มไปหมดเลย กูเก็บทุเรียนขายทุกวันเลย แต่ต้นไม้อยู่ไหน ไม่รู้.. ปล้นมาแน่ๆ เลย สงสัยไปเก็บสวนคนอื่น เขาปลูกไว้จนทุเรียนตกมาก็ไปเก็บมาขาย แล้วก็อ้างว่าทำสวนๆ

กรรมฐานเราตรวจสอบกันอย่างนี้ อย่างที่เมื่อกี้เขาพูด “สงบไม่รู้พูดได้อย่างไร” (หัวเราะ) ก็พูดอยู่นี่.. ไม่รู้พูดได้อย่างไร ก็พูดอยู่ทุกวัน.. จริงๆ นะเราฟังอยู่นะ เราอยากจะให้ใครย้อนกลับมาว่าเราพูดผิด เรารออยู่ รออยู่ว่าที่เราพูดออกไปนี่เขาบอกเลย “หงบพูดผิดอย่างนั้นๆๆ” กูอยากดูคนอย่างนี้ฉิบหายเลย กูรอคนอย่างนี้ ! นี้ไม่มีใครพูดว่าสงบพูดผิดเลย มีแต่สงบนักเลง สงบรุนแรง สงบโอ้โฮ.. สงบมันบ้า แต่มึงว่ากูบ้าเรื่องอะไรล่ะมึงไม่บอก มึงไม่บอกว่ากูบ้าเรื่องอะไร กูมีเชื้อบ้าอะไรวะ สุนัขบ้า หรืออะไรมึงบอกกูติดเชื้อบ้าเพราะอะไรมึงว่ากูมาสิ.. ไม่บอก แล้วก็บอกว่าไม่เป็นๆ

นี่เป็นหรือไม่เป็นเขาวัดกันตรงนี้ ใครจะพูดอย่างไรเชิญตามสบาย คำว่าเชิญตามสบายนี่เราบอกว่าคนนะถ้าวุฒิภาวะเขาไม่ถึง เขาฟังสิ่งนี้ไม่ออก พอฟังไม่ออกปั๊บ อย่างที่เขาว่านี่ไปเก็บสวนคนอื่น ไปขโมยทุเรียนเขามา นี่ว่าผิดพุทธพจน์อย่างนั้น ผิดตำราอย่างนั้น.. เราบอกว่าตำรานี่ใครเขียน นิยายธรรมะเขาเขียนกันทั่วไปหมด หนังสือธรรมะเขามานะ เราไม่ให้เข้าวัดเราเลยล่ะ ใครก็เขียน ใครก็เขียน

ถ้ามันคนเขียนจริง หนังสือหลวงตานี่เมื่อก่อนบ้านตาดเราอนุญาตหมดนะ เดี๋ยวนี้เราก็ต้องกรอง เพราะเดี๋ยวนี้เขาเอาเทศน์หลวงตาไปนะ แล้วเขาก็เอาไปแต่งกันใหม่ มีหลวงตาส่วนหนึ่ง แต่ก็มีความเห็นเขาบวกเข้าไปเยอะมาก ตอนนี้เริ่มไปกันใหญ่แล้ว แต่เดิมนี้ถ้าเกิดเป็นหนังสือหลวงตา พอเขาบอกหลวงตามหาบัวนี่ได้เลยนะ เดี๋ยวนี้หลวงตามหาบัวนี่ใครเป็นคนพิมพ์ แยกแยะแล้ว

ฉะนั้นมีอะไรให้พูดเลย.. มีอะไรให้พูดเลย ถ้ายังมีอะไรคาใจ พูด ค่อยๆ พูด ช้าๆ

โยม ๒ : ไม่มีอะไรถามคือผมอยากภาวนาครับหลวงพ่อ ทีนี้ผมก็อยากมาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อครับ ผมก็อยากจะยอมทิ้งทุกอย่าง แล้วก็อยากให้หลวงพ่อสอนว่าผมจะต้องเริ่มภาวนาอย่างไร ถ้าผมจะเดินผมจะเดิน ผมจะนั่ง ผมจะวางจิตอย่างไร เพราะผมอยากภาวนา

หลวงพ่อ : เราจะภาวนานี่ พูดถึงมันเริ่มทำของเรานะ อย่างโดยเริ่มต้นเวลาภาวนานี่โทษนะ การสอนภาวนานี่นะ ใครมาก็บอกหลวงพ่อสอนภาวนา อยากภาวนา ภาวนาไม่ถูก.. ใหม่ๆ มานี่นะก็ต้องสอน นี่พูดถึงใหม่ๆ นะกำหนดลม เห็นไหม หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ นี่สอนแบบอนุบาลมาก เด็กๆ มากๆ เพราะอะไรรู้ไหม

คำว่าเด็กมากๆ เพราะเด็กนี่นะเราสอนสิ่งที่ลึกลับเกินไป สิ่งที่ลึกลับเกินไปเขาก็จะทำไม่ได้หรอก แต่เวลาสอนเด็กอนุบาลนี่ อนุบาลสอนให้พอฝึกหัดให้เป็น แต่พอฝึกหัดเป็นแล้วมันจะมีขั้นตอนต่อไปอีกเยอะแยะมากเลย แล้วจะมีอุปสรรคมาก อย่างเช่น ! เช่นกำหนดพุทโธสอนเด็กๆ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ นี่มันเป็นการฝึกหัดให้มีเนื้องานขึ้นมา แต่สุดท้ายแล้วจะไปจนตรงที่นั่งหลับหมดเลย

แล้วถ้าเขานั่งหลับสอนเขาทำไม สอนให้คนมานั่งหลับสอนทำไม.. แล้วถ้าไม่สอนให้มันนั่งหลับนี่มันนั่งไม่เป็นเลย มันไม่รู้จักท่านั่งทำอย่างไร ก็สอนให้มันนั่งก่อน หายใจเข้านึกพุทนะ หายใจออกนึกโธนะ เสร็จแล้วไปหลับข้างหน้าหมดเลย เพราะอะไร เพราะว่ามันจะตกภวังค์หมด กว่าจะนึก พุทคำหนึ่ง หายใจทีหนึ่งนึกพุทนะ มันก็คิดไปถึงบ้าน ๒ รอบกลับมาโธ กว่าจะโธ เสร็จจะไป พุท อีกทีนะ มันไปกรุงเทพฯ กลับมาอีก ๕ รอบ

แต่ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็ไม่ได้ มันไม่ได้เพราะอะไร กว่ามันจะนึกพุทโธมันก็นึกไม่เป็นใช่ไหม มันนึกพุทโธไม่เป็นก็ว่าอะไร จิตมันเป็นอย่างไร เอ็งมีลมหายใจไหมล่ะ.. เอ็งมีลมหายใจไหมล่ะ ชัดๆ นี่ชัดๆ เห็นไหม ก็หายใจเข้า พุท ! เอ้อ.. หายใจออก โธ ! นี่.. จิตมันคุ้นเคยกับความคิดคุ้นเคยกับโลกมาตลอด มันไม่เคยคุ้นเคยกับธรรมะ

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน ธรรมะนี่เหมือนน้ำจืด ใสสะอาด มีคุณประโยชน์กับร่างกายมาก ลมหายใจเพียวๆ นี่มันคิดไม่เป็นนะ มันจับลมหายใจมา ลมหายใจเป็นอย่างไรวะ ลมหายใจเหมือนกับท่อออกซิเจนเลยเหรอวะเนี่ย โอ้โฮ.. มันคิดไปก่อน เห็นไหม นี่คิดเพียวๆ คิดสะอาดๆ คิดเนื้อๆ คิดไม่เป็นหรอก มันต้องไม่ไปแซงหน้ามันก็ถ่วงอยู่ข้างหลังอย่างนั้นล่ะ

นี้พอหายใจเข้า พุท หายใจออก โธ บ่อยๆ พอบ่อยๆ นี่จิตมันเริ่มเกาะตรงนี้ปั๊บ มันไม่มีรสชาติอย่างอื่นนะ พอไปข้างหน้าปั๊บหลับ.. พอหลับเสร็จนะ เอาลมหายใจอย่างเดียวนะทิ้งพุทโธก็ได้ หรือพุทโธอย่างเดียวนะทิ้งลมหายใจก็ได้.. เพราะพุทโธกับลมหายใจนี่ พุทธานุสติกับอานาปานสติเราเอามาบวกกัน สติเราก็พยายามรับรู้ ๒ เรื่อง ๓ เรื่อง เห็นไหม มันก็ยาก

นี้คิด ๒ เรื่อง ๓ เรื่องนะ แต่ก่อนไม่รู้อย่างนี้เลยมันก็รู้แตกไปหมดเลย พอเราจะมารู้ชัดๆ เข้ามันยัง ๒ เรื่อง ๓ เรื่องอยู่.. ๒ เรื่อง ๓ เรื่องอยู่ ก็เพื่อจะให้จิตมันแสดงตัวออกมา ให้ภพให้สถานะเราเห็นไงว่าอะไรเป็นอะไร ที่ไหนมันเกิดอย่างไร ความคิดมันเกิดอย่างไร มันเกิดมาจากพลังงาน เกิดมาจากภพนี่แหละแต่เราไม่รู้จักมัน เราก็ว่าหายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ นะ แล้วมันก็หลับแน่ๆ พอหลับแน่ๆ ปั๊บนะ ก็ทิ้งอันใดอันหนึ่ง เห็นไหม

ให้เอาลมหายใจก็ได้ หรือพุทโธก็ได้ เพราะไม่อย่างนั้นมันแยกปั๊บมันก็จับปลาสองมือละ จับให้มั่นคั้นให้ตาย พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ.. พุทโธเร็วก็ได้ พุทโธช้าก็ได้ เพราะว่าเรานี่นะบางวันอารมณ์กระทบมันรุนแรงใช่ไหม มันนึกพุทโธไม่ได้หรอก พุทโธทีหนึ่งก็โอ้โฮ.. ไอ้นั่นว่ากู พุทโธนี้ก็จะไปล่อคนนู้น พุทโธมันก็ตัดเลย พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ โธ โธ โธ แต่ถ้าวันไหนนะอารมณ์เราสบายใช่ไหม วันนี้ อู้ฮู.. จิตใจดีมาก พุทโธ พุทโธ..

ฉะนั้นถ้าพุทโธ นี่พุทธานุสติ.. ถ้าลมหายใจอานาปานสติ ลมหายใจเข้ารู้ว่าลมหายใจเข้า ลมหายใจออกรู้ว่าลมหายใจออก เห็นไหม มันก็ชัดๆ กับลม จิตมันก็ไปเกาะ อันนี้มันก็จะไปตัดความตกภวังค์ได้ ตัดความง่วงเหงาหาวนอนได้ แต่เริ่มต้นมันก็ต้องมีสอนเป็นชั้นๆ ขึ้นมา แต่นี้เวลาเขาบอกว่านู้นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ดี ไม่มีอะไรดีสักอย่างหนึ่งเลย.. กลับไปบ้านนอนเถอะสบายที่สุด ดี.. มันไม่มีอะไรดีเลย ล้มตัวลงนอน คลุมผ้าห่มดีๆ โอ้โฮ.. สุดยอดเลย

แล้วก็นี่จุดขายของเขาก็คือว่าดูจิตมันสบาย ดูจิตมันอะไรก็ได้.. คำว่าดูจิตนี่มันดูเพ่ง หลวงตาท่านบอกว่า “เมื่อก่อนเรากำหนดไว้เฉยๆ ก็ดูจิตนี่แหละ จิตใจเราเสื่อมไป ๑ ปีกับ ๖ เดือน สุดท้ายแล้วเราไม่มีหลักเกณฑ์ เราก็หาทางของเรา อ๋อ.. เพราะมันขาดคำบริกรรม”

คำว่าคำบริกรรมนี่เหมือนเด็กหัดเดิน เด็กหัดเดินมันต้องมีสิ่งใดเกาะไปก่อน จิตใจเริ่มต้นตั้งตัวได้ จะตั้งไข่ได้มันต้องมีอะไรเกาะไปก่อน มันต้องมีคำบริกรรม ถ้าไม่มีคำบริกรรมนี่มันเหลวไหล เด็กนี่มันจะพัฒนาการของมัน มันต้องเดินได้โดยธรรมชาติของมัน แต่จิตนี้ไม่เหมือนเด็กนะ จิตนี้ยืนไม่ได้ ! เพราะอะไร เพราะเด็กนี่มันเป็นเด็กโดยไร้เดียงสา จิตนี้มันมีอวิชชาครอบงำมันอยู่

อวิชชา มาร.. มารมันอาศัยสิ่งนี้เกิดตายๆ มา ด้วยความสุขสบายมา อู้ฮู.. หลอกให้ร้องไห้ หลอกให้ทุกข์มา อู้ฮู.. สบ๊าย สบาย.. สบายมาทุกภพทุกชาติ มีอยู่ชาติหนึ่งมึงจะมาสู้กับกูนี่กูยอมมึงเหรอ กูหลอกมึงมาตั้งแต่สมัยไหนก็ไม่รู้ แล้วมีอยู่วันหนึ่งจะมาแข็งข้อ จะแข็งเมือง นี่มันเป็นไปไม่ได้

เด็กมันมีอะไรเกาะ มันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ไร้เดียงสา แต่จิตนี้มันโดนอวิชชาครอบงำอยู่ มันเป็นไปไม่ได้หรอก นี้พอเป็นไปไม่ได้นะ เวลากำหนดดูทำไมมันสบายๆ ล่ะ ก็อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ สบายที่ความคิด เพราะเป็นอาการหมด เขาจะบอกว่านี้เป็นอาการของจิตไม่ใช่ตัวจิต.. มึงบอกกูมาอะไรเป็นอาการ บอกอะไรเป็นจิต

อาการกับจิตมันเหมือนผลไม้ เปลือกผลไม้และผลไม้มันก็อันเดียวกันนั่นแหละ อ้าว.. ส้มกับเปลือกส้ม เอ็งซื้อส้มมาเอ็งไม่เอาเปลือก ซื้อส้ม ส้มแต่เนื้อ อ้าว.. ที่ไหนมีขาย ส้มปอกเสร็จแล้วใส่ขวดด้วย นี่เราพูดถึงโดยธรรมชาติใช่ไหม มึงซื้อส้มมามันก็ต้องมีเปลือกส้มมาทั้งนั้นแหละ มึงว่าอาการ นี่มึงก็เป็นอาการ ไอ้ที่ว่าอาการมึงกับอาการกูใครละเอียดกว่ากัน มาเถียงกันที่อาการแล้วนะ แล้วอันไหนเป็นอาการล่ะ

คำว่าอาการของจิตกับตัวจิต.. นี่เขาบอกว่าไปดูอย่างนั้นไปดูอาการ ดูอาการหมดไม่มีดูจิตหรอก เพราะ ! เพราะหลวงปู่ดูลย์พูดไว้เอง “จิตเห็นจิตไง” จิตเห็นอาการของจิตไง แค่นี้ก็ยังไม่รู้นะ ถ้าแค่นี้ไม่รู้ภาวนาไม่เป็น รู้ตรงนี้นะวิปัสสนาเป็น.. การวิปัสสนาคือจิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ! กาย เวทนา จิต.. จิตเห็นจิต เห็นไหม สติปัฏฐาน ๔ มีอะไร มีกาย มีเวทนา มีจิต ! มีจิต ! มีจิต ! แล้วก็มีธรรม จริงไหม ? แล้วจิตเห็นจิตก็เห็นสติปัฏฐาน ๔ ไง จิตเห็นจิตยังไม่รู้เลย จิตเห็นจิตนี่เป็นโจทย์นะ คนไม่รู้จักโจทย์มึงจะไปตอบปัญหาอะไร

เราไม่อยากพูดนะ พูดแล้วมัน อู้ฮู.. เดี๋ยวจะว่าขายกันขนาดนี้เชียวเหรอ คำสอนมันฟ้องหมดนะ คนนี่พูดออกมามันฟ้องหมด เพียงแต่ประสาเรานี่เราเห็นแก่สังคม เห็นแก่ผู้ที่ปฏิบัติ คนทำงานมันก็มีผิดเป็นธรรมดา ต้องให้ผู้ปฏิบัตินั้นมันพัฒนาของมันขึ้นมา แต่ถ้าเขาพัฒนาไม่ได้ เขามีแค่นี้ก็ อื๊อ ! กรรมของสัตว์ว่ะ..

ก็เหมือนเด็กของเรา เราพยายามจะให้มันเรียนหมอๆ มันทุกข์ขนาดนี้เพราะเรียนหมอ หนูเรียนอะไรจบก็ดีแล้วพ่อ ไม่ต้องเรียนหมอหรอก ไอ้เราก็หวังนะหมอๆๆ นี่ก็เหมือนกันหวังให้คนดีหมดเลย หวังให้คนภาวนาเป็นหมดเลย ไม่มีหรอก.. ประชากรส่วนไหนบ้างเขาจะเรียนหมอ อ้าว.. มึงจะเรียนอะไรก็เรื่องของเอ็งขอให้มีอาชีพก็พอ

นี่ก็เหมือนกัน คนปฏิบัติก็ปฏิบัติ แล้วมันจะคิดเข้ามาตรงนี้กันได้มากแค่ไหน ฉะนั้นสิ่งที่ปฏิบัตินี่ ถ้าเขามีคำบริกรรม ถ้าคนมันอยู่เฉยๆ แล้วบริกรรมใหม่ๆ นะมันก็ยุ่งมากเลย ทีนี้อย่างของเรานี่นะ อย่างของเรานี่เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ หลวงตาก็สอนว่าปัญญาอบรมสมาธิ คำว่าปัญญาอบรมสมาธินี้ไม่ใช่ดูจิตนะ ดูจิตนี่มันเหมือนกับเพ่ง ดูจิตนี้เป็นกสิณ เห็นไหม เราเพ่งกสิณ กสิณคือกสิณเขียว กสิณแดง กสิณคือเพ่ง ถ้าดูจิตเขาดูกันอย่างนี้คือดูจิต แต่ถ้าปัญญาอบรมสมาธินี่ เขาไม่ได้ดูอย่างนี้นะเว้ย.. อันนี้ประกอบไปด้วยอะไร อันนี้มันมีอะไร

ปัญญาอบรมสมาธิเพราะอะไร เพราะเวลาเราคิดนี่เราคิดมาจากเรื่องอะไร คิดมาทำไม คิดมากี่ร้อยรอบแล้ว ถ้ามันทันนะ มันทันมันก็หยุด หยุดบ่อยๆ นะ พอมันจะคิดนะ แน่ะๆๆ เรื่องนี้กูคิดมา ๕๐ ทีแล้ว มึงก็คิดอีกแล้ว คิดเรื่องเก่านี่แหละ.. นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ! มันมีเหตุมีผลของมันนะถ้าปัญญาอบรมสมาธิ เห็นไหม ปัญญาอบรมสมาธิจนบอก เฮ๊อะ ! มันจะหยุดเลยล่ะ แล้วไล่เข้าไปๆ มันจะทันเข้าไป

ปัญญาอบรมสมาธิ ! นี่ไงเปลือกไง.. อาการๆๆ นี่อันไหนเป็นอาการ แล้วอาการนี่อาการคนหยาบกับคนละเอียดมันเป็นอาการต่างกัน แล้วอาการตรงไหน.. อาการนี่มันจะมีตลอดไป เพราะอะไร เพราะมันมากระทบไง

พลังงานคือตัวจิต มันกระทบกับขันธ์ ๕ แล้วความคิดของคนมีตลอดไป แต่เพราะมีสมาธินะมันถึง.. เหมือนกันเหมือนกับจิตเรานี่เป็นเนื้อผลไม้ แล้วเปลือกผลไม้รักษามันอยู่ตลอดเวลา พอเราสงบถึงเนื้อผลไม้ เนื้อผลไม้มันมากระทบเปลือก กระทบขันธ์นี่มันรู้เลยขันธ์มันมี

นี่ไงจิตเห็นจิต ! วิปัสสนาเกิดตรงนี้ไง อาการว่าอาการ.. อาการนี่มันเป็นคำพูดของกรรมฐานเราว่านี้เป็นอาการของจิตนะ คำว่าอาการของจิตนี่เราจะรู้กันในหมู่ของเราเลย ถ้าบอกอาการของจิตแสดงว่าจิตเรายังไม่ละเอียดพอ จิตของเรายังไม่ละเอียดพอ จิตของเรานี่มันยังจับความคิดไม่เป็นมันถึงเป็นอาการ.. แต่พอจิตเป็นจิต พอเป็นสมาธิแล้วนี่ไม่ใช่อาการ นี่คือตัวจิต นี่คือตัวภพ ตัวภพคือกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ฐานตรงนี้ทำงานในออฟฟิศ ไอ้นี่ทำงานก็มานั่งทำ ใครก็มาทำงานที่นี่ แล้วงานจะเอาไว้ที่ไหนล่ะ

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันจะชำระกิเลส มันต้องดูฐานของมัน กรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน งานเกิดตรงนี้ งานเกิดตรงภวาสวะ งานเกิดตรงภพ งานเกิดตรงถอนกิเลส.. เราถึงบอกไง เราบอกเลยนะ เราจะตั้งบริษัท ทุกคนตั้งบริษัทหมดแล้วเสร็จหรือยัง ต้องจดทะเบียนใช่ไหม เราตั้งบริษัทเราต้องจดทะเบียน เราจะมีเงินหมุนเวียนในธนาคารเราต้องเป็นเจ้าของบัญชี.. จิตมึงอยู่ไหน จิตคือเจ้าของทะเบียน จิตคือเจ้าของบัญชี โอนเข้าโอนออกที่จิต เจ้าของบริษัทคือภวาสวะคือภพ นี่ไม่มีกันเลยนะมึง ดูจิตๆ คนหนึ่งมีกันอยู่ ๕-๖๐๐ บริษัทแต่จดทะเบียนไหนไม่รู้

ถ้ารู้อย่างนี้.. นี่คำพูดเขาพูดมาอย่างนี้ อย่างเช่น นี่เราจะยกหลวงปู่ดูลย์ตลอด เพราะหลวงปู่ดูลย์นี่เราไม่ได้ค้าน เราไม่ได้ค้านแล้วหลวงปู่ดูลย์พูดถูกหมด แล้วหลวงปู่ดูลย์จะบอกว่าการสอนจิต ดูจิตนี้ยากมาก.. ยากมาก แต่นี้พวกเรานี่มันแบบว่าเถรส่องบาตร เถรส่องบาตรคือทำสูตรสำเร็จ เห็นไหม เขาส่องบาตรเขาจะดูบาตรว่าบาตรนี้มันชำรุดอย่างไร ไอ้นี่เห็นเขาส่อง ถึงเวลามันก็ส่องเป็นพิธี ถึงเวลาเช็ดบาตรก็ต้องส่องทีหนึ่ง ส่องทำไมไม่รู้ ก็ส่องเพื่อให้มันจบไง ไม่ส่องมันไม่เสร็จ

นี่ก็เหมือนกัน ดูจิตๆ ไป ดูให้มันจบ แล้วจบอย่างไรล่ะ ไม่มีเหตุไม่มีผล แต่ถ้าปัญญาอบรมสมาธินี่มันมีเหตุมีผลมานะ อ้าว.. ก็ส่องบาตร อ้าว.. ก็ดูว่าตรงไหนชำรุดเสียหายจะแก้ไข.. ตามความคิด ไล่ความคิดเข้าไปด้วยสติ

โทษนะ ไม่ต้องโทษเราด่ามาตลอดอยู่แล้ว ด้วยมารยาท.. ก็มึงเหี้ยตลอด ! ก็มึงผิดตลอด ! แล้วมึง.. ด่าตัวเองใช่ไหม ก็มึงมันผิดตลอด มันก็หยุด.. หยุด พอหยุดไปเรื่อยๆ หยุดไปเรื่อยๆ นี่ปัญญาอบรมสมาธิ มันต่างกับดูจิตไหมล่ะ ดูเฉยๆ นี่นะเราดูนี่มันเหมือนกับคนใช้เนาะ เอาแตงโมเข้าตู้เย็นนะ ลูกสาวชื่อแตงโมไง อ้าว.. แตงโมเข้าตู้เย็นนะ ไปทำงานกลับมาลูกอยู่ไหนล่ะ อู้ฮู.. ผ่าท้องล้างสะอาดเลยอยู่ในตู้เย็น เปิดมาแตงโมอยู่ในตู้เย็น ลูกสาวทั้งคนอยู่ในตู้เย็น ซื่อขนาดนั้นเชียวเหรอ

เขาซื้อแตงโมมา จะให้เอาแตงโมนี่ไว้ในตู้เย็น ให้ผ่าแตงโมแล้วไปไว้ในตู้เย็น แต่บังเอิญชื่อลูกสาวเขาชื่อแตงโมด้วยไง คนใช้มันเอาลูกสาวมาผ่าแล้วใส่ในตู้เย็นเลย แม่กลับมานี่ช็อกตายเลย ดูจิตมันก็เหมือนกับผ่าแตงโมนั่นล่ะ ดูจิตๆ แต่ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ นี่ปัญญาอบรมสมาธิมันมีเหตุมีผล ไม่ใช่เอาแตงโมเข้าตู้เย็น แตงโมเขาเอาไว้กิน แล้วจิตของเราจะทำอย่างไรต่อไปล่ะ จะผ่าเข้าตู้เย็นเหรอ.. เสร็จแล้ว ทำเสร็จแล้ว

ทีนี้พวกโยมพิสูจน์ไม่ได้ เวลาพวกโยมไปภาวนา เห็นไหม ภาวนากันเพื่อจะให้สู่เป้าหมาย แล้วจะเอาอะไรพิสูจน์ล่ะ แต่ของเรานี่นะเราพิสูจน์เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราผิดมาก่อน.. เราผิดมานะ เราปฏิบัติใหม่ๆ นะเราก็อยากจะสะดวกสบายทั้งนั้นล่ะ เราก็ดูมหายาน ฮวงโปก็อ่านมาแล้ว เว่ยหลางก็อ่านมาแล้ว ทุกอย่างเราอ่านมาหมดแหละ แล้วตีความหมายคนละเรื่องกันเลย พอเราตีความหมายเราก็ตีความหมายไปอย่างหนึ่ง แต่เวลาไปรู้จริงนี่ โอ้โฮ !

เวลาเขาพูด เห็นไหม ลูกศิษย์ไปหาอาจารย์ ไม่พูดเรื่องอะไรเลย ภพชาติเป็นเรื่องสำคัญมาก ใครก็อยากจะรื้อภพรื้อชาติทั้งนั้นล่ะ พอรื้อภพรื้อชาติแล้วทำอย่างไร เรากลับไปนั่งสมาธิ เขาเข้าสมาธิกัน ๗ วัน ๘ วัน แต่พวกเรานี่เรียบง่ายไม่ต้องทำอะไรเลย นึกเอา

นี้เราพูดถึงถ้าทำให้ถูกนะ ทำให้ถูกเราก็พยายามทำความสงบของใจ พอทำความสงบของใจแล้ว เราออกใช้ปัญญา.. แต่นี้ความคิดที่ว่าเราคิดนี่เราไม่สงวนว่าห้ามคิดไง ให้คิด ! แต่พอคิดไปแล้วถ้ามันแบบว่า คนเรานี่นะถ้าพื้นฐานไม่ดี พอเราคิดมันเตลิดเปิดเปิง คิดไม่จบไม่สิ้น.. อันนั้นล่ะถ้ามีสตินะ ถ้ามันเตลิดเปิดเปิงนี่มันเตลิดเปิดเปิงแต่อาการความคิดนะ แต่ตัวจิตมันอยู่กับที่ เรารู้ว่า อู้ฮู.. ตอนนี้มึงคิดเรื่องอวกาศ คิดเรื่องจักรวาลอื่นแล้วนะ แต่มันก็ยังคิดอยู่นะ อ้าว.. มึงคิดได้มึงคิดไป แต่ถ้าเราไม่มีสตินะ เวลาคิดไปเรื่องอื่นมันช็อกนะ เฮ้ย.. คิดในโลกนี่สิ ทำไมมึงไปคิดเรื่องจักรวาล มึงไปไกลแล้ว

มันไปไกล มันไม่ไกลหรอก มันสร้างภาพให้เรากลัว ถ้ามีสติปั๊บนะ มึงจะคิดไกลคิดใกล้ขนาดไหนนะ เดี๋ยวมึงเหนื่อยมึงก็ต้องหยุด.. คิดไปนะ คิดไปนี่พอมันหยุดปั๊บ มันมีสติมันหยุดปั๊บ อ้าว.. ทำไมมันหยุดได้ล่ะ

นี่ไงจิต เห็นไหม ที่ว่าดูจิตๆ ถ้าจิตมันหยุดนี่จิตมันรู้ตัวมันเอง เวลาเป็นสมาธินะ เวลาไอ้พวกดูจิตเวลาเป็นสมาธินะ ว่างๆ สบายๆ ว่างๆ นี่เป็นความคิดไหม.. แต่ถ้าเป็นสมาธินะ เรานี่เป็นสมาธิ เราเป็นเอง.. จะพูดอย่างไร แต่ถ้ามันเป็นสมาธิไง นี่ไงมันเป็นสมาธิ พูดแจ้วๆๆ เลยว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ แต่ถ้าตัวมัน... นี่สมาธิ “โอ้โฮ.. อาจารย์ มันพูดไม่ได้เลย” นั่นล่ะใช่.. “อธิบายไม่ได้เลย มันลึกลับมหัศจรรย์” นั่นล่ะใช่.. แต่ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ นี่มันคนบ้า ไอ้พวกเก็บของอยู่ตามสี่แยกนี่ว่างๆ ว่างๆ

สบาย.. สบาย.. ก็สบายคนบ้า คนเราดีๆ นะ มีสติสัมปชัญญะพร้อมนะ ปฏิบัติเหมือนคนบ้า สบายๆๆ เนาะไอ้เบิร์ดไง เบิร์ดมันร้องสบายๆ นั่นไง ไอ้เบิร์ดมันร้องได้ตังค์ ไอ้นี่สบายๆ มีแต่เสียตังค์ ไอ้เบิร์ดมันได้ตังค์นะ เพราะคำนี้เรามาพูดบ่อย เพราะเราได้ยินไอ้เบิร์ดมันร้องสบายๆ แล้วมาเจอพวกนี้นี่ไอ้เบิร์ดมันดีกว่า สบายๆ ขายทีหนึ่งเป็นล้านๆ แผ่น ไอ้นี่สบายๆ ควักแต่ตังค์

ไอ้นั่นมันเป็นคำพูด คำพูดโวหารนี่ใครมันก็พูดได้ แล้วเขาพูด คนนี่นะตอนนี้มันมีลักษณะเขาเรียกว่า ๒ อารมณ์ เห็นไหม คนนี่มันเป็นคน ๒ อารมณ์ไง ทางแพทย์เขาเรียก ๒ บุคลิกภาพ เวลาเขาพูดเรื่องโลกเขาพูดเรื่องโลกนะ เวลาเขาพูดธรรมะนี่มึงตามจับเขาไม่ได้หรอก แล้วคนอย่างนี้มีเยอะเดี๋ยวนี้ มี ๒ บุคลิกภาพ เวลาไปพูดเรื่องธรรมะ โอ้โฮ.. พวกมึงฟังแล้ว.. แต่ความจริงไม่ใช่เลย โลกๆ ทั้งนั้นเลย แล้วพอเอ็งไปเอ็งก็เชื่อกันไง แต่สำหรับปฏิบัติเรานี่ไม่มีทาง

เป็นอย่างนั้นจริงๆ นะคนอย่างนี้มันมี เพราะมีพระเวลามีปัญหาขึ้นมา พอเขามีปัญหาปั๊บเขาจะอยู่ในบุคลิกภาพที่ว่าเป็นพระอรหันต์ มึงจี้กูอย่างไร มึงจะจับกูหัวทิ่มหัวตำกูก็พระอรหันต์ เฉย..เฉย.. งงนะปวดหัว พิสูจน์อย่างไรก็พระอรหันต์ทำอย่างไร แต่พออีกบุคลิกภาพหนึ่ง เบื้องหลังมันทำ...หมดเลย

คนอย่างนี้เยอะ แล้วอาจารย์ที่เป็นๆ อย่างนี้เราเห็นมาหลายคนไม่อยากพูด เป็นอย่างนี้เลย เวลาไปพูดนะ อู้ฮู.. พูดจนคนนี่เชื่อถือกันไปหมดนะ แต่พฤติกรรมเบื้องหลังที่เขาไม่เห็นนี่ โอ้โฮ.. เราว่า เฮ้ย! มันเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร แล้วอย่างพวกเรานี่นะ อย่างเราบุคลิกภาพเดียวใช่ไหม เวลาพูดมันหลุด เวลาพูดนี่ พูดปั๊บมันทิ่ม มันยอกใจตลอด เห็นไหม ภาพมันก็ไม่สวย แล้ว ๒ บุคลิกภาพนี่ โอ้โฮ.. เวลาพูดหน้าฉากนี่นะ อื้อฮือ.. พระอรหันต์ พอไปแล้ว มันอีกรูปหนึ่งเลย

ฉะนั้นเราถึงบอกว่าโยมจับไม่ได้ แต่ถ้าอย่างพวกเรานี่ไม่ได้จับตรงนั้น เราจับเหตุผลที่คำสอน หลวงตาบอกไม่รู้พูดไม่ได้ แม้แต่พูดธรรมะพระพุทธเจ้ายังผิดเลย ถ้าไม่รู้พูดไม่ได้ แต่ถ้ารู้นะพูดให้ผิดก็ถูก คนรู้นี่พูดให้ผิดก็ถูก พยายามจะพูดให้มันผิดๆ ไปนั่นล่ะ แต่มันผิดอย่างไร ข้อมูลมันออกมาจากความถูกอันนั้นถูกอยู่ดี หลวงตาบอกว่าบางทีครูบาอาจารย์ท่านจะกันไง ท่านพูดว่าเราไม่รู้ เราไม่รู้นะ พูดออกมาธรรมะทั้งนั้นแหละ ไอ้ไม่เป็นพยายามจะพูดธรรมะออกมานะกิเลสทั้งนั้น กิเลสทั้งนั้น

ฉะนั้นเพียงแต่ว่าเราสงสาร เราสงสารว่าพวกโยมนี่ไม่มีสิทธิวัดเขาได้หรอก แล้วถ้าไปพูดนะโดนต้อนตายเลย ใครมาก็ตายไม่ทันหรอก แต่เราไม่ต้องไปพูดกับเขา เราเอาสิ่งที่เขาพูดนี่จริงหรือเปล่า.. เราพูดถึงประวัติ เขามาขอประวัติเรา เราบอกประวัติกูไม่มีหรอก กูมีแต่ผลงาน มึงไปดูที่กูสอนดีกว่า เพราะเราไปเห็นคนเขาเขียนประวัติกันแล้วเราขยะแขยง

แปลกนะเราเห็นใครทำอะไรไม่ดีแล้วไม่อยากทำ.. หลวงตา เห็นไหม ท่านเขียนประวัติหลวงปู่มั่น ท่านบอกประวัติท่านไม่มีหรอก แต่คนพยายามจะจับคำพูดของท่านมาเรียบเรียงให้เป็นประวัติเอง แล้วพระมันก็นี่ ขี้หมูราขี้หมาแห้งมันก็มีประวัติ หมาก็มีประวัติ หมูก็มีประวัตินะตอนนี้ ไม่รู้ประวัติอะไรของมัน

ฉะนั้นมาขอประวัติเรานี่ไม่มี ตอนนั้นเราถึงบอกเรื่องของตรงนั้นเราไม่สนใจเลย เราสนใจที่ว่าผลงาน ถ้าผลงานเอาผลงานนี่ เห็นไหม ดูสิทางโลกเขาวัดกันที่ผลงานใช่ไหม ไอ้นี่ก็ผลงาน.. แล้วนี้เรามั่นใจมากเลย ห้ามคิด ! ห้ามคิด ! นี่แหม.. มึงจับกูไปฆ่าซะไอ้ห่า

เขาให้คิดได้ ไม่คิดมันจะมีดำริชอบได้อย่างไร มรรค ๘ มันมีศีล สมาธิ ปัญญา.. มรรคถ้ามันไม่คิดมรรคมันเกิดได้อย่างไร ถ้ามรรคมันไม่เกิดมึงไม่มีตังค์นี่มึงไปใช้หนี้อะไรเขา มึงจะใช้หนี้เขามึงต้องมีตังค์ มึงไม่มีตังค์มึงเอาอะไรไปใช้เขา แล้วห้ามคิดๆ นี่ไม่มีตังค์แล้วไปฆ่ากิเลสได้อย่างไร มรรค ๘ มีอะไรว่ามา แล้วบอกห้ามคิดๆ นี่มรรค ๖ น่ะมึงนี่ สมาธิก็ไม่ต้อง ปัญญาก็ไม่ต้อง มรรค ๗ ก็ไม่ได้ เดี๋ยวนี้มรรค ๖ แล้วนะ เดี๋ยวเหลือมรรค ๕.. มรรค ๘ ! มรรค ๘ ! แล้วก็ตัดไปเรื่อยๆ แล้วก็บอกสมาธิไม่ต้องทำ เหลือ ๗ แล้วนะ อันนี้ก็ห้ามคิด นี่เหลือ ๖ แล้วนะ แหม.. เดี๋ยวจะมาเหลือ ๕ เอ๊ะ.. พระพุทธเจ้าองค์ไหนไม่รู้

อันนี้มันความเห็นเรานะ ประสาเรานี่หลวงตาบอกว่าหลวงตาเคยสอนว่า “โลกนี้ของจริงกับของปลอมมันอยู่ด้วยกัน” เราจะบอกว่าให้ทุกคนเป็นของจริงหมดมันไม่มี นี้เพียงแต่เราพูดนี่เราพูดเพื่อประโยชน์กับผู้ที่ปฏิบัตินะ แต่เราไม่สามารถ.. พระพุทธเจ้าบอกไม่สามารถทำให้ทุกๆ คนเป็นคนดีได้หมดหรอก แล้วก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความเห็นเหมือนกันได้หมดหรอก

ฉะนั้นเราก็ยังยืนยันอยู่ ยืนยันเด็ดขาดแล้วจะพูดเมื่อไรก็ได้ แต่นี้เราจะพูดอย่างนี้ทีเดียว ยิ่งพูดนี่ยิ่งเจ็บน่ะสิ ยิ่งพูดมากก็เจ็บมาก.. นี้เพียงแต่เราเอาตรงนี้ แล้วทีนี้พอมาปฏิบัติถ้าหลวงพ่อถูก เขาว่าหลวงพ่อถูกหลวงพ่อดีอย่างนี้ ก็ต้องบอกมาสิชีวิตที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง แล้วจะทำให้ดีไปหมดเลย มันก็อยู่ที่ความสามารถเรานี่แหละ

ศีล สมาธิ ปัญญา ! นี้พอเราทำอย่างนี้ปั๊บเราก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ตรงนี้ ทีนี้พอเริ่มต้นจากตรงนี้ ทุกคนเราเริ่มต้นจากตรงนี้ใช่ไหม เราก็อยากเอาประสบการณ์ของเราเพื่อเป็นผลงานของเราใช่ไหม นี้ประสบการณ์ก็เป็นส่วนประสบการณ์ ผลงานก็คือผลงานสิ ผลงานอันนั้นมันเป็นอาชีพ มันเป็นหน้าที่การงาน ประสบการณ์นี่นะอย่างเช่นการศึกษา เห็นไหม เขาทำผลงานของเขาแล้ว แล้วผลงานนี่มีมากเลยทำวิทยานิพนธ์ แล้ววิทยานิพนธ์นี่เอาไปประกอบอาชีพด้วยเพราะมันสามารถทำได้ เพราะว่าอาชีพนั่นคือผลการปฏิบัติเราที่จะเป็นจริง

นี่ก็เหมือนกัน เราจะทำวิทยานิพนธ์ก็ทำวิทยานิพนธ์ให้มันจบไปซะ จะทำวิทยานิพนธ์ด้วย แล้วก็จะให้มันสำเร็จตรงนี้ไปด้วย เป็นวิทยานิพนธ์พร้อมกับพระอรหันต์.. กูก็อยากจะรอดูเหมือนกันล่ะ ทำวิทยานิพนธ์เสร็จแล้วก็เป็นพระอรหันต์พร้อมกันไปเลย

โยม ๑ : ไม่ใช่ค่ะ เพราะไม่อย่างนั้นที่ทำมันก็เหมือนเรื่องโกหกค่ะหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : อ้าว.. วิทยานิพนธ์ก็ส่วนวิทยานิพนธ์สิ จะไปโกหกในวิชาการโว้ย วิชาการก็ทำด้วยความคิด อ้าว.. ตามแต่เขาให้คะแนนจบก็จบ โอ้โฮ.. วิทยานิพนธ์ต้องมีเนื้อหาประกอบด้วยไง คือเป็นวิทยานิพนธ์พร้อมพระอรหันต์ด้วย ต้องมีองค์ประกอบด้วย

โยม ๑ : ก็ที่พวกหนูเรียนเขาแบบว่าต้องมีประสบการณ์ตรงก่อน คือเหมือนกับว่าเขาดันมาตั้งไอ้แบบนี้ขึ้นมา ทำให้ทุกคนก็รู้สึกว่ามันต้องทำแบบนั้นค่ะ

หลวงพ่อ : พูดไปพูดมาเดี๋ยวก็วนมาที่เก่าเนาะ ไม่เอา.. คือวนมา เราอยากจะให้แบบว่าไม่ต้องทุกข์ขนาดนี้ไง นี่เวลา.. เมื่อกี้ที่พูดอะไรนะ ภาษาจีนนี่อะไรนะ..

โยม ๑ : เหลาซิก

หลวงพ่อ : เหลาซิกเกินไป.. นี่มันเหลาซิก ! ซื่อ.. นี่เหลาซิกเกินไป ต้องประสบการณ์ด้วย ต้องความจริงด้วย โลกเขาไม่เหลาซิกขนาดนี้ โลกเขาไม่ซื่อขนาดนี้ไง.. เหลาซิกเกินไป ซื่อเกินไป.. คนซื่อเป็นคนดี เหลาซิก เหลาซิกนี่ทำงานไปแล้วเราทำงานไปไม่ได้ เรานักบริหาร ผู้บริหารเราก็ต้องบริหารให้เป็น นี่คือการบริหารนะ

นี่มันซื่อเกินไป อธิบายมาจนพอแรงแล้ว จบ !