เทศน์บนศาลา

บริสุทธิ์ด้วยปฏิบัติ

๓๑ ส.ค. ๒๕๔๕

 

บริสุทธิ์ด้วยปฏิบัติ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๕
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

นั่งตามสบาย เราจะปฏิบัติบูชาไง พุทธ ธรรม สงฆ์อยู่ที่ใจ พระพุทธเจ้าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ ผู้รู้ไงชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เรามีคุณค่าของใจ ความรู้สึกของใจ ใจนี้มีคุณค่าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้รู้สัจธรรม มันเป็นผู้รู้โดยธรรมชาติของมัน แต่มันหมองไปด้วยกิเลสไง มันถึงไม่รู้สึกตัวมันเอง เราถึงต้องมาประพฤติปฏิบัติไง

มันจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการปฏิบัติ ใจนี้บริสุทธิ์ได้ ใจนี้สะอาดบริสุทธิ์ได้ เพราะใจนี้มันสกปรก ใจนี้มีอยู่ด้วยหัวใจ เรื่องของใจ เห็นไหม เพราะใจนี้มันสกปรก โดนปิดบังด้วยอวิชชา มันถึงหมุนเวียนตายเวียนเกิด แต่มันจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการประพฤติปฏิบัติ

เราจะปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นธรรมไง “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” เห็นธรรมในหัวใจของเรา เห็นสัจธรรมตามความเป็นจริง สัจธรรมที่เกิดขึ้นในหัวใจ มันเกิดตลอดเวลา แต่เราไม่เข้าใจ แล้วเราไปหาสัจธรรมกัน เราวิ่งหาสัจธรรมกันจากข้างนอก จากความรู้ต่างๆ นั้นมันก็เป็นความเห็นที่ถูกต้องอันหนึ่ง อันหนึ่งในสัจจะ ในการแสวงหา ในการศึกษาเล่าเรียน

ในการศึกษาเล่าเรียนเห็นไหม ในการปฏิบัตินี้บอกว่า “ผู้ที่จะปฏิบัติต้องเข้าใจ ต้องรู้จัก ต้องมีแผนที่เครื่องดำเนิน” สิ่งนี้ก็อ้างกันว่าต้องมีแผนที่เครื่องดำเนิน อ้างกันเห็นไหม ธรรมะนี้เป็นสัจธรรมความจริง แต่การอ้าง มันก็อ้างกาล อ้างเวลา อ้างว่าเราจะต้องมีแผนที่ก่อน เราจะต้องศึกษาเล่าเรียนก่อน ศึกษามาขนาดไหน ศึกษาไปมันก็ได้แต่กำแผนที่ไว้เฉยๆ

เราจะทานข้าว เราจะกินข้าวเข้าปาก เราตักเข้าปากเราก็รู้รสของอาหารวันนั้น ถ้าเราไม่ตักข้าวเข้าปาก เราจะไม่รู้รสของอาหารวันนั้นเลย วันนั้นก็เป็นอาหารของวันนั้น เห็นไหม เป็นสิ่งที่ว่าเราเห็นอยู่ เราถือแผนที่อยู่ เราถืออาหารอยู่ แต่เราไม่สามารถเปิบใส่ปากเราได้ นี่เพราะขาดการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัตินี้จะทำให้ใจนี้บริสุทธิ์ได้

ในการประพฤติปฏิบัติ เริ่มต้นจากทุกข์ๆ ร้อนๆ ขึ้นไป จากความบังคับตน บังคับตนนั้นทุกข์ร้อนมาก เพราะกิเลสไม่เคยโดนบังคับ กิเลสนี้เป็นสัจธรรมความจริงในหัวใจ แล้วอาศัยหัวใจนี้เป็นที่อยู่ที่อาศัย แล้วก็รังแกหัวใจอันนี้ตลอดเวลา ทำใจนี้ให้เดือดร้อน ทำใจนี้ให้เศร้าหมอง ทำใจนี้ให้ทุกข์ยาก เพราะกิเลสเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ เกิดในหัวใจแล้วก็ดับไป สร้างสมอกุศลความคิดใฝ่ต่ำของมันใส่ในหัวใจ แล้วให้เราประพฤติปฏิบัติเป็นวิบากกรรม ผลต่อเนื่องมาถึงใจดวงนั้น

ใจดวงนั้นต้องได้รับทุกข์ แต่ขณะที่จะกระทำไป ถ้าไม่เข้าใจเรื่องของความทุกข์ความยาก ก็ทำไปตามอำนาจของกิเลส เพราะไม่มีกำลัง สิ่งที่มีกำลังของเรา เราถึงต้องพยายามยับยั้งชั่งใจ ยับยั้งชั่งใจอันนี้ก็เป็นธรรมอย่างหยาบๆ เห็นไหม ธรรมอย่างหยาบๆ ที่เราจะยับยั้งชั่งใจของเรา ให้อยู่ในการปกครอง ให้อยู่ในอำนาจของเรา ถ้าอยู่ในอำนาจปกครองของเรา เราก็จะบังคับใจของเราได้ การปฏิบัติเริ่มต้นจากตรงนี้

ถ้าเราจะปฏิบัติ เริ่มต้นจากต้องบังคับตัวเองก่อน แต่มันบังคับตัวเองได้ไหม ตัวเองก็บังคับไม่ได้ แล้วจะไปบังคับหัวใจ หัวใจนี้อยู่ในร่างกายของเรา ยิ่งบังคับยากเข้าไปใหญ่ เพราะมันเป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งที่มันเป็นไปได้ ไม่มีวัสดุสิ่งใด ไม่มีอุปกรณ์สิ่งใดจะไปครอบงำสิ่งนั้นไว้ไม่ให้หมุนเวียนไป เป็นไปไม่ได้ ยับยั้งไม่ได้เลย ไม่มีสิ่งใด เว้นไว้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล คือความปกติของใจ ใจรู้คุณค่าของศีล สิ่งนั้นคือการประพฤติปฏิบัติ การทำความผิดศีลนั้น คือจิตนี้ล่วงพ้นออกไปจากศีล จากความบริสุทธิ์ของใจ ศีลเห็นไหม บริสุทธิ์ด้วยขั้นของศีล เพราะศีลถึงมีความปกติของใจ ถ้าใจปกติคือศีลนั้นบริสุทธิ์อยู่ ศีลถึงไม่ต้องขอบ่อยๆ ไง ศีลนี้วิรัติเอา เจตนาเกิดขึ้นมา ศีลนี้เกิดจากใจ เกิดจากความปกติของมัน นั้นเป็นศีลแล้ว

สิ่งที่เป็นศีลนี้บังคับใจ เริ่มมาจากตรงที่ว่ามีศีล มีศักดิ์ มีความจริง มีความจริงในหัวใจ ความจริงในหัวใจที่พยายามจะทำสิ่งนี้ให้ได้ พยายามบังคับใจของตัวเองให้อยู่ในอำนาจของเรา ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดสมาธิขึ้นมา สมาธิเกิดขึ้นจากอ่อนไปหาแก่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิแล้วแต่จะเกิดขั้นไหน แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติก็บอกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่แสนยาก

การทำความสงบของใจ ขณะที่จิตสงบขนาดไหน มันจะสงบจนกว่ามันจะปล่อยวางร่างกายนี้ มันยากขนาดไหน มันยากพอสมควร พอสมควรเท่านั้น ไม่ยากจนสุดวิสัยหรอก มันยากพอสมควรเพราะว่าเราบังคับตนได้ สิ่งใดเห็นไหม จุดไฟขึ้นมา ไฟเผาอะไรขึ้นมา มันต้องมอดไหม้เป็นธรรมดาของมัน

นี้ก็เหมือนกัน เราจะเผาอารมณ์ของมัน อารมณ์ที่มันเกิดดับ เกิดดับ ให้มันมอดไหม้ไป ให้มันเหลือแต่สิ่งที่เป็นธาตุรู้ไว้ สิ่งที่เป็นธาตุรู้ให้มันเหลือตะกอนนั้นไว้ในหัวใจ มันเป็นธรรมความรู้เฉยๆ นั้นคือสมาธิ มันเป็นไปได้ “สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง” สิ่งที่เป็นอนิจจังแล้วมันเกิดดับ มันเป็นอนิจจัง สิ่งที่เป็นวัตถุนี้เวลามันสลายไปแล้ว มันหมดไป

แต่อารมณ์ไม่เป็นอย่างนั้น เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับในหัวใจ เวลาคิดขึ้นมามันก็เกิดขึ้นมา ใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ นะ มันถึงว่าต้องเผาไง “เผา” คือว่าใช้ตบะธรรมแผดเผาสิ่งนี้ สิ่งที่มันเกิดแล้วเกิดเล่า “หญ้า” เห็นไหม สิ่งที่จะเป็นคุณประโยชน์ขึ้นมา ต้นข้าวนี้เราต้องหว่านต้องไถ ต้องพยายามสร้างสมขึ้นมา มันถึงจะได้ขึ้นมา แต่พวกหญ้าพวกวัชพืชนี่ไม่ต้องไปแสวงหามัน มันเกิดได้ตลอดเวลา มันเกิดของมันเองโดยมันมีเชื้อสายของมัน มันมีวัชพืชของมัน มันต้องเกิด

นี่ก็เหมือนกัน ในหัวใจของเรา เราจะทำใจของเราอย่างไรให้พ้นจากสิ่งที่มันทำลาย มันแผดเผาใจ สิ่งที่แผดเผาใจนี้คือตบะธรรม คือสัมมาสมาธิ ถึงต้องพยายามทำความสงบของใจ ถ้าใจสงบขึ้นมาได้ นี้คือการปฏิบัติ บริสุทธิ์ได้ด้วยการปฏิบัติ บริสุทธิ์ได้ส่วนหนึ่ง สิ่งที่ทำใจให้มีความสงบ ถ้าใจสงบขึ้นมาเห็นไหม สงบมากขึ้นๆ จนถึงปล่อยวางร่างกาย จิตสงบนี้ สัมมาสมาธินี้สามารถทำให้ใจกับกายแยกออกจากกันได้โดยธรรมชาติของเขา

โดยธรรมชาติของเขา คือจิตนี้จะไม่รับรู้เรื่องกายเลย มันจะว่างหมด มันจะปล่อยวางหมดเห็นไหม นั่นน่ะ จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่มันติดข้องไปด้วยกิเลสไง นี่มันถึงสำคัญ ถึงต้องมีปัญญา ปัญญาในการใคร่ครวญชำระกิเลส ปัญญาอันนี้เป็นปัญญาในการประพฤติปฏิบัติเท่านั้น ปัญญาในการประพฤติปฏิบัติ ที่เกิดมาจากเราสะสมขึ้นไป เราฝึกฝนของเราขึ้นไป เราฝึกฝนจนภาวนามยปัญญานี้เกิดขึ้น

เวลามันเกิดขึ้นมานี้ จะเห็นสภาวะที่มันเป็นไป มันจะหมุนออกไปขนาดไหน หมุนไปกี่รอบก็แล้วแต่จะมาชำระกิเลส มันจะมาชำระกิเลสด้วยความหมุนออกไป จับต้องสิ่งใดแล้ว ภาวนามยปัญญานี่มันจะหมุนออกไปแล้วทำลายกิเลส มันจะมีวงรอบของมันหลายวงรอบตลอดเวลา วงรอบหนึ่งเกิดขึ้นมามันก็หมดไป เพราะมันอยู่ในขั้นของ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา เหมือนกัน มันเกิดดับเหมือนกัน

แต่เกิดดับในการที่เราพยายามยกขึ้น เราพยายามแสวงหา เราพยายามจรรโลงสิ่งนี้ไว้ในหัวใจเพื่อให้มันเคลื่อนมาทำลายกิเลสในหัวใจ นี่ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นมาในภาคปฏิบัติ แต่ในภาคของการศึกษา ในภาคของความจำนั้น มันเป็นการศึกษาความจำ แล้วอย่าอ้างกาล ว่าต้องศึกษา ต้องรู้หมด

คนเราเกิดมา... สมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปศึกษามากับใคร ธรรมะนี้ไม่มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ศึกษาเอง ค้นคว้าเอง แล้วพยายามค้นคว้าขึ้นมาจนเป็นสัจธรรมความจริง แล้ววางธรรมไว้ วางธรรมคือปริยัตินี่ไง สิ่งที่เป็นปริยัติขึ้นมาเพื่อจะให้เราสืบกัน เราสืบต่อกัน เราสื่อความหมายกัน เราสื่อความหมายกันด้วยปริยัติ

แต่ในภาคปฏิบัติแล้ว การปริยัตินั้นเป็นความจำ ถ้าพูดออกมานี่เป็นปริยัติ จะรู้ว่าเป็นปริยัติเลย เพราะพูดมาจากความจำ มันไม่ซึ้งออกมาจากใจ สิ่งที่ออกมาจากใจเห็นไหม มันจะรู้ออกมาจากใจ แล้วพูดนี่แบบว่า “ต้อง” เป็นอย่างนั้น “จะ” หรือไม่ได้เลย “ต้องเป็นอย่างนั้น” สมาธิทำถึงที่สุดแล้วปล่อยกายได้เป็นบางครั้งบางคราว มันเป็นไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น แต่...แต่ไม่สามารถชำระกิเลสได้

สมาธินี้ไม่สามารถชำระกิเลสได้ สมาธินี้ทำให้ว่าง ให้ปล่อยวางได้เวิ้งว้างขนาดไหน เดี๋ยวมันก็กลับมาเกิดอีก เพราะวัชพืชนั้นเราไม่ได้ทำลายมันด้วยภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาคือข่ายของปัญญา เราจะเกิดขึ้นได้ เราจะสะสมขึ้นมาได้ เริ่มต้นด้วยปัญญาเราใคร่ครวญไป เราใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ของโลกไปด้วยปัญญาของเรา ปัญญาญาณเกิดขึ้นเห็นไหม นี่ปัญญาญาณเกิดขึ้นในภาคของความสงบของใจ เพราะมันเกิดขึ้นจากเรา เกิดขึ้นจากสิ่งที่ว่าเป็นโลกียะ สิ่งที่เกิดจากเป็นเราเป็นโลกอยู่ เรื่องต้นของโลก เป็นเรื่องของโลกปัญญามันเกิดขึ้นนี่นะ นี่ข่ายของปัญญา

ปัญญาอย่างหยาบๆ ปัญญาอย่างกลาง ปัญญาอย่างละเอียด นี้เป็นในวงของสิ่งที่ว่าเป็นขั้นตอนหนึ่ง แล้วขั้นตอนสอง ขั้นตอนสาม มันก็มีอย่างกลาง อย่างหยาบ อย่างละเอียดเหมือนกัน เพราะมันต้องยกขึ้น ต้องวิปัสสนา ต้องพยายามใคร่ครวญเข้าไป เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป ต้องชำระกิเลสเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอน

เวไนยสัตว์ สัตว์ที่ควรแก่การประพฤติปฏิบัตินี้ ไนยสัตว์ที่มีการได้ยินได้ฟังอยู่นี้เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป ผู้ที่ทำได้แบบ “ขิปปาปัญญา” ทีเดียวผ่านพ้นไป นั่นเขาสะสมของเขา เขามีบารมีของเขา อย่างเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มัชฌิมายามเห็นไหม ถึงที่สุดคือจุตูปปาตญาณ กับบุพเพนิวาสานุสติญาณ กิเลสยังไม่ได้ทำลายเลย แต่ถึงญาณสุดท้าย อาสวักขยญาณทีเดียว ทีเดียวเท่านั้น เวลาญาณนี้เกิดขึ้น ทำลายตั้งแต่โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีทำลายไปหมดเลย

แต่ผู้ที่ไนยสัตว์ทำขึ้นมา ปัญญาต้องหยาบ กลาง ละเอียด ในหยาบ ในกลาง ในละเอียด ยังมีขั้นตอนที่จะยกขึ้นวิปัสสนาไป เพราะกิเลสนี้หลบซ่อนอยู่ในหัวใจ แล้วอาศัยหัวใจนี้สร้างความทุกข์ยากเห็นไหม เราถึงต้องประพฤติปฏิบัติ เราจะปฏิบัติกันให้มันบริสุทธิ์ผุดผ่องขึ้นมาในหัวใจ บริสุทธิ์ผุดผ่องเพื่อความสุขของใจนะ ใจทุกข์ยากอยู่นี้ เราก็ทุกข์ยาก ไม่ต้องมีใครบอกว่าทุกข์ยาก มันทุกข์ยากโดยสัญชาตญาณ โดยความรู้สึก

สิ่งที่เป็นความรู้สึกนี้ทุกข์ยากมาก แล้วทำไมไม่แสวงหา ไม่หาทางออก ถ้าเราแสวงหา หาทางออก เราพยายาม ต้องมีความจงใจ มีความอยากกระทำ เรื่องของโลกเขา เรื่องความสัมผัสของโลก โลกนี้คือความเป็นอยู่ของโลกเขา เป็นอยู่อย่างนี้โดยดั้งเดิม เราจะเกิดมาหรือเราจะไม่เกิดมาก็มีอย่างนี้ แล้วเราจะเกิดอีกต่อไปข้างหน้าก็ต้องมีแบบนี้ มีแบบนี้และจะทุกข์ร้อนไปเรื่อยข้างหน้า ยกเว้นไว้แต่เราสร้างคุณงามความดีไว้

เราสร้างบุญกุศลของเราเกิดขึ้นมานะ โลกจะร้อน แต่เราก็พอเป็นไปได้ อยู่ที่สัตว์ โลกจะร้อนขนาดไหน เวลาโลกจะวิกฤตขนาดไหน มันก็ต้องมีคนที่ได้ประโยชน์จากการวิกฤตินั้น มันจะมีคนได้คนเสียอยู่ตลอดไป นั้นเรื่องของโลก เรื่องของหมู่สัตว์ สัตว์สังคม เราก็อยู่ในสังคม เราก็เป็นเรื่องของโลกมาตลอด เราต้องวางโลกไว้ต่างหาก โลกส่วนโลก เราเกิดมาก็เป็นโลก ทุกคนเกิดมาจากโลก ทุกคนเกิดมาจากกาม

พระโมคคัลลานะเวลาพูดถึงเรื่องของกามเห็นไหม ในพระไตรปิฎกเรื่องของกาม เห็นว่ามีผู้หญิงเขาต้องการมาถวายกาม ไม่ยอม ไม่สนใจเขา เพ่งแล้วว่า พลั้งปากไปบอกว่าเป็นผู้ที่มีหนอนเจาะไช หนอนเน่าเสีย นั่นน่ะ จะเป็นอย่างนั้นโดยทันทีเลย แล้วพยายามจะช่วยเหลือขนาดไหนก็ช่วยไม่ได้ ต้องไปกราบทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าจะช่วยอย่างไร

พระพุทธเจ้าบอกว่านี้เป็นเรื่องของกาม กามมันเป็นเรื่องที่สกปรก แล้วพระโมคคัลลานะเป็นผู้ที่มีบุญกุศลมาก ทำแล้วมันถึงเป็นบาปอย่างมหาศาลไง แล้วจะทำอย่างไง กามนี่มีโทษขนาดนั้น มีความเศร้าใจ มีความเสียใจมาก แล้วบอกว่ามีโทษขนาดไหน ถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่าเรื่องของกามนี่ เห็นไหม เรื่องของกามนี้ เรื่องของโลกนี้

“เธออย่าว่าอย่างนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดจากกาม สัตว์โลกทั้งหมดเกิดขึ้นมาจากกาม” เกิดขึ้นมาจากกาม เห็นไหม นี้เป็นเรื่องของโลก เราก็มาจากกาม เรามาจากโลก เพราะเราเกิดมาจากพ่อแม่ ทุกคนเกิดมาจากพ่อแม่ทั้งนั้น ต้องมีพ่อมีแม่ออกมาเป็นเรา

แต่นั่นเป็นเรื่องของโลก เราเกิดขึ้นมาเป็นเราแล้ว เราจะใช้สิ่งนี้ไปเพื่ออะไร เราจะใช้สิ่งนี้ไปเพื่อหมุนเวียนไปในโลกเขา มันก็เป็นวัฏฏะ วนไปในโลกเขา ความทุกข์ในโลกนั้นทำไมไม่เพียงพอหรือ เราจะเสริมเข้าไปให้เป็นความทุกข์ในหัวใจของเรา มันจะคิดได้ต่อเมื่อคนเราใกล้จะสิ้นชีวิต ใกล้จะตาย ทุกคนจะเสียดายเวลา

เห็นไหมคนโบราณเราถึงบอกว่า “เวลาคนแก่คนเฒ่าให้เข้าวัด” เพื่อจะเตรียมตัว เตรียมตัว เพื่อหาสิ่งเครื่องดำเนินต่อไป หาสิ่งที่ให้หัวใจนี้ได้พึ่งพาอาศัยไป เพราะไม่มีที่พึ่งพาอาศัย

แต่เราผู้ที่ศึกษาธรรม ศึกษามาจากปัญญาอย่างโลกๆ นั่นแหละ ศึกษาธรรมมา ศึกษามาแล้วเพื่อประพฤติปฏิบัติ ขาดการปฏิบัติไม่ได้ ถ้าขาดการปฏิบัติค่าของน้ำใจไม่เกิด ค่าของน้ำใจไม่เกิด ค่าของมรรคก็ไม่เกิด ถ้าค่าของมรรคเกิดขึ้นมา มรรคนี่คือมรรคอาการของใจ ใจหมุนไปทางโลกนี้เป็นเรื่องของโลกทั้งหมด โลกพาเอาหัวใจเราไปกินทั้งวันทั้งคืน เราไม่รู้เรื่องของเราเลย เราเสพอารมณ์เห็นไหม ความคิดนั้นมันฉุดกระชากเอาธาตุรู้นั้นไปหมดเลย

นี่ไงธาตุรู้ “พุทโธ พุทธะคือธาตุรู้” ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ในหัวใจ แต่บางทีมันก็เบิกบาน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติจนจิตนี้สงบ เราก็มีความสุขมีความเบิกบานในหัวใจ แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไม่สมความประพฤติปฏิบัติของเรา ไม่สมดังใจเห็นไหม ตัณหาซ้อนตัณหา เราก็ทำคุณงามความดี เราก็ประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อจะทำคุณงามความดี แต่ทำไมมันไม่สมความปรารถนา

นั่นน่ะ การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมันก็อยากจะได้ส่วนหนึ่ง แล้วว่าสิ่งที่ไม่สมความปรารถนา ความอยากซ้อนเข้าไปต่างหากอีกส่วนหนึ่ง เราไม่รู้เลย นั่นนะกิเลสมันเสี้ยมอยู่ข้างหลัง กิเลสมันดัดหลังเราในการประพฤติปฏิบัติ มันออกมาในกิริยาของเขาทีเดียว นี่ไงกิเลสถึงได้เป็นสิ่งที่ฉลาดมาก กิเลสฉลาดในการเสี้ยมสอนในหัวใจให้ล้มลุกคลุกคลานไป แต่เรานี่โง่กว่ากิเลส แล้วเราว่าเราเป็นคนฉลาด ความฉลาดของเรานี่กิเลสพาใช้นะ

ความฉลาดของเราทั้งหมด ที่ว่าเป็นความฉลาดนี้ ต้องพยายามซื่อสัตย์บังคับตน เวลาเราจะปฏิบัติธรรม เราตั้งสัจจะ แล้วเราพยายามทำตามนั้นเพื่อไม่ให้ความที่ว่าเราฉลาดๆ ขึ้นมา มันจะตั้งสัจจะ จะไม่นอนทั้งคืน จะถือเนสัชชิกทั้งคืน จะเดินจงกรมทั้งคืนนั่นนะ เวลาตั้งสัจจะขึ้นมา กิเลสก็บอกว่า เดี๋ยวร่างกายเราจะอ่อนเพลีย.. ร่างกายเราจะพิกลพิการไป... นั่น ! จะออกทันที

เราถึงต้องพยายามใช้สัจจะของเรา ยับยั้งสิ่งที่ว่าเป็นปัญญาของเราที่จะเกิดขึ้น ปัญญาที่ว่าฉลาดๆ นี่กิเลสพาใช้ เราถึงต้องทำความสงบของใจ ถ้าทำความสงบของใจได้นั้น ใจมันเป็นอิสระขึ้นมา ไม่อยู่ในอำนาจของกิเลสชั่วครั้งชั่วคราว ถ้าไม่อยู่ในอำนาจของกิเลสชั่วครั้งชั่วคราวนี้ เราจะเริ่มยกขึ้นวิปัสสนา ถ้าไม่อย่างนั้นมันจะเป็นวิปัสสนาไปไม่ได้

มันเป็นเรื่องของโลกียะ จะทำขนาดไหนมันเป็นเรื่องของปัญญาอบรมสมาธิ อยู่ในแวดวงของปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาเราใคร่ครวญแล้ว... เราเข้าใจว่าเราใคร่ครวญ เราใช้ปัญญาแล้ว ความเข้าใจของเรานั้นคือกิเลส เห็นไหม กิเลสในหัวใจของเราบอก มันเสี้ยมออกมาว่า เราใช้ปัญญาแล้ว ปัญญาของเราได้ก้าวเดินออกไปแล้ว ชำระกิเลสออกไปจากใจแล้ว... เพราะมันเวิ้งว้าง มันปล่อยวาง นี้คือการมั่นหมาย

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” เราปฏิบัติธรรม หน้าที่ของเราคือหน้าที่ถากถางในหัวใจของเรา หน้าที่ของเราคือพยายามใช้ปัญญานี้ฟาดฟันกับกิเลส หน้าที่ที่จะเป็นผลนั้นเป็นหน้าที่ที่มัชฌิมาปฏิปทาสมควรแก่เหตุ แล้วผลจะเกิดโดยธรรมชาติของเขา เป็นปัจจัตตัง เราต้องฟาดฟันตรงนั้น ถ้าเราไม่ฟาดฟันตรงนั้น ๑.เราเข็นครกขึ้นภูเขา

เราพยายามสะสมศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมาในหัวใจ แล้วมันใช้วงรอบหนึ่งหมดออกไป แล้วเราก็ไม่สร้างสมขึ้นมา ครกนั้นก็ต้องไหลลื่นลงมาถึงตีนเขา แล้วถ้าเราได้สติ เรารู้ว่าสิ่งนี้เป็นสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มันเป็นวงรอบของสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายแปรสภาพทั้งหมด สภาวะที่เห็นนั้นมันก็อยู่ในสภาวะอันนั้น มันไม่สมุจเฉทปหานเห็นไหม มันต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่ามันจะขาดออกไป

นี้คือปัญญาที่เราจะใช้ ถึงต้องทำความสงบของใจ ถ้าใจสงบขึ้นมาจะเป็นประโยชน์ในการยกขึ้นวิปัสสนา ยกขึ้นวิปัสสนาด้วยเป็นคนมีอำนาจวาสนา ถ้าไม่มีอำนาจวาสนาจะจับสิ่งนี้ไม่ได้

กาย เวทนา จิต ธรรม นี้เป็นเรื่องของหยาบๆ กายหยาบๆ กายจากภายนอก สิ่งที่หยาบๆ ใช้ได้ประโยชน์ถูกต้อง ในขั้นของปัญญาอบรมสมาธิ ความเห็นของกาย เราดูถึงคนเจ็บไข้ได้ป่วยผู้เฒ่าผู้แก่เห็นไหม คนที่เป็นโรค คนที่เป็นภัยต่างๆ มันน่าสลดสังเวช เราไม่ได้เป็นแบบนั้น เราก็ไม่ได้มีความทุกข์ขนาดนั้น แต่มันก็เรื่องของร่างกายที่มันแปรสภาพเหมือนกัน ถ้าเราเห็นสภาวะแบบนั้นคือกายนอก

กายนอก กายใน นี้มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นโวหารก็จริงอยู่ กายนอก กายใน เพราะจิตนี้มันเป็นผู้รู้ ถ้ามันสืบต่อเข้ามา คนเราฉลาดขึ้นมา มีสติสัมปชัญญะ ไม่ลืมตัวนะ พิจารณากายนอกหรือกายในก็แล้วแต่ แต่เราใช้พิจารณาตลอดไปแล้วซ้ำอยู่ตรงนั้น การประพฤติปฏิบัติของเราต้องอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ แล้วพยายามใช้ปัญญาสติสัมปชัญญะ ยับยั้งแล้วสร้างสมคุณประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะย้อนกลับ มันจะสาวเข้าไปหาใจ

ถ้าสิ่งนี้สาวไปหาใจ ทีนี้สิ่งที่ว่ากายนอกกายในก็เหมือนกัน เหมือนกันเพราะจิตนี้เป็นผู้รู้ ผู้รู้กายนอกและกายใน มันจะพัฒนาจากกายนอกมาเป็นกายในได้เพราะว่าเราย้ำอยู่ แต่มันจะเป็นไปไม่ได้เพราะว่าเราปล่อยวาง เราพิจารณาแล้วเราปล่อยวาง นั้นมันก็เป็นขั้นตอนของแค่นั้น เพราะมันขาดวรรคขาดตอนจากหัวใจ ขาดวรรคขาดตอนจากการสืบต่อของใจที่เราพิจารณาจากกายนอก

ถ้าเป็นกายนอกก็ให้เป็นกายนอกไปก่อน แล้ววิปัสสนาเข้ามา พยายามใช้ปัญญาไล่ต้อนเข้ามา จากปัญญาอบรมสมาธิไล่เข้ามา ไล่เข้ามา จิตนี้สงบไปด้วย แล้วเกิดเห็นกายในด้วย ถ้าเกิดเห็นกายในนั้นคือว่าอำนาจวาสนาของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ คนเราประพฤติปฏิบัติส่วนใหญ่จะไม่เห็นกาย เห็นแต่เรื่องแปลกๆ เห็นแต่เรื่องผีสางเทวดา จะเห็นสิ่งนั้น และมันก็ให้เห็นนะ เห็นแสง เห็นอะไรนั้น ความเห็นอย่างนั้นมันเป็นความเห็นโดยที่จิตสงบแล้วเห็น

ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ แล้วแต่มันจะเกิด การเกิดขึ้นจากหัวใจนั้นเรารู้แล้วปล่อยวางไว้ สิ่งนั้นมันก็เป็นอนิจจัง สิ่งที่เราจะต้องการคือต้องการใจสงบ ถ้าใจมันสงบเข้ามานั้นมันเป็นประโยชน์ มันเป็นผล ผลในการประพฤติปฏิบัติ หน้าที่ของการประพฤติปฏิบัติของเราต้องพยายามฝึกฝนใจ แล้วดูใจของเราให้สงบเข้ามาให้ได้ ถ้าใจสงบเข้ามาได้... ความรู้ของใจ ใจนี้ไม่ต้องถามใคร มันจะเวิ้งว้าง มันจะมีความสุขในหัวใจนั้นโดยธรรมชาติของความสงบนั้น เพราะความสงบนั้น.. “ สุขใดเท่ากับความสงบนั้นไม่มี ”

สงบของสมาธิก็เป็นสงบของสมาธิ สงบของการชำระกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปก็สงบของการชำระกิเลสเป็นตอนเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป แล้วแต่อำนาจวาสนา อำนาจวาสนานั้นส่วนหนึ่ง แล้วอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าเราจะรอแต่อำนาจวาสนาแล้วเมื่อไรมันจะได้ประพฤติปฏิบัติ อำนาจวาสนาจะเกิดเมื่อไร อยู่ในกำมือ อยู่ในการปฏิบัติของเรา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติของเรานี้คืออำนาจวาสนา เพราะเราปฏิบัติบูชา ไม่มีสิ่งใดประเสริฐกว่าสิ่งนี้

เรื่องของโลกเขา เรื่องของการงานต่างๆ นั้น มันเป็นการงานตามสะสม เป็นการงานที่น่าสลดสังเวชมาก เพราะไม่มีวันจบสิ้น ทุกคนต้องเกิดแล้วสะสมทำหน้าที่การงาน แล้วทุกคนต้องตายไป แล้วงานมันหมดไปจากโลกนี้ไหม มันเป็นไปไม่ได้เลยที่งานจะหมดไปจากโลกนี้ เพราะคนเกิดขึ้นมาต้องอยู่ ต้องอาศัย แล้วสิ่งนั้นต้องบุบสลายต้องเป็นอนิจจัง ต้องแปรสภาพไปเป็นธรรมดา ต้องรักษาสิ่งนั้น นั้นเป็นการดำรงชีวิตเท่านั้นเอง

การดำรงชีวิตของเรา ทำไมพระถึงออกมาบวชเห็นไหม มีแต่บริขาร ๘ อยู่ในป่าในเขาทำไมอยู่ได้ล่ะ กลดหลังหนึ่งก็เหมือนกับบ้านเราหลังหนึ่ง อยู่ในป่าในเขาแค่กลดหลังหนึ่งกันแดดกันฝนได้ทั้งหมด ฝนจะตกแดดจะออกขนาดไหน เราก็มีแค่กลดหลังหนึ่งนี้เพื่อดำรงชีวิตอยู่ ดำรงชีวิตเหมือนสัตว์ป่า สัตว์ที่อยู่ในป่านี่เขาไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เขาก็ดำรงชีวิตของเขาได้ เห็นไหม

นี่พระก็เหมือนกัน พระเราเพื่อดำรงชีวิต เพื่อพยายามแสวงหา แสวงหาให้เข้าใจให้ดัดแปลงตน ความเห็นผิดที่ว่าเราต้องมีความสะดวกสบาย ถ้ามีความสุขสบายแล้วเราจะมีความสุขของเรา มันไม่จริง สิ่งใดสะดวกสบายนั้นมันเป็นอำนาจวาสนา อำนาจวาสนาของคนที่ทำมา มันจะมีคนมาช่วยเหลือ มีคนมาประคอง อย่างนั้นไปตลอด

แต่ถ้าเราไม่ได้สร้างของเรา ทุกข์ยากมาก... จะทุกข์ยากขนาดไหนมันก็เป็นสิ่งที่เรากระทำมา เราสร้างสมสิ่งนี้มา เราทำสิ่งนี้มา เป็นการกระทำของเรา มันเป็นเรื่องของกรรม กรรมของเราทั้งนั้น

นี้เราประพฤติปฏิบัติ เข้าป่าเข้าเขาไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ว่าเราก็อยู่ดำรงชีวิตอย่างนี้ได้ พระที่ดำรงชีวิตนะ ฉันก็ฉันวันละหนเดียว ไม่ใช่ว่าอย่างเราอยู่ในโลก เราวันละกี่หน แล้วเราก็ยังต้องหาธาตุอาหารให้ร่างกายมันพอเพียง มันกังวลวิตกกังวลตลอดไป นั่นน่ะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของโลก แล้วใจมันจะไปไหน มันก็ต้องอยู่ในเรื่องของโลกใช่ไหม

แต่ถ้าเราสละ ออกประพฤติปฏิบัติธรรม สิ่งนั้นเป็นเครื่องอยู่อาศัย โรคที่เป็นโรคเรื้อรังที่สุดในโลกนี้คือ “ โรคความหิว ” มันจะหิวตลอดไป วันหนึ่งๆ ต้องพยายามบำบัดความหิวของร่างกายนี่ตลอด โรคที่ไม่เคยหาย ไม่เคยหายเลยถ้ายังมีชีวิตอยู่ มันจะเป็นความหิว เกิดความหิวความกระหายในหัวใจ จะต้องมีตลอดไป มันต้องเยียวยารักษาไปเห็นไหม ยาของโรคเขาก็คืออาหาร อาหารเราก็ต้องแสวงหามา นั้นเพื่อบำบัดโรคหิว

แล้วเราประพฤติปฏิบัติธรรม เราก็ให้พอประมาณ ให้พอเราอยู่ได้ ให้พอเราอาศัยร่างกายนี้ประพฤติปฏิบัติ เราจำกัดโรคหิวนี้ เกิดขึ้นมามีกระเพาะ มีร่างกาย มันต้องใช้พลังงาน มันก็ต้องมีออกไป แล้วเวลาตายไป มันก็หมดไป โรคหิวนี้เวลาเกิดมา มันก็มีประจำธาตุขันธ์มา เวลาตายไปแล้ว โรคหิวมันก็จบสิ้นที่นี่ แต่กรรมสิมันไม่จบ ใจนี้มันไม่จบ มันไปอีกเห็นไหม

เกิดเป็นเปรตมันยิ่งหิวหนักยิ่งกว่านี้ไปอีก แต่ปากใหญ่ท้องใหญ่หาไม่พออยู่พอกิน ต้องแสวงหาส่วนบุญส่วนกุศลที่เขาอุทิศให้ตลอดไป นั้นยิ่งทุกข์ยากไป ทุกข์ยากไปเห็นไหม

ความหิวนั้น คือหิวของใจ แล้วไม่มีวันตาย คนเราหิวแล้วเวลามันตายไปมันก็จบสิ้น เพราะมันจบสิ้นเรื่องของร่างกาย ร่างกายคงที่ร่างกายนี้คือสิ่งที่ว่าต้องเข้าไปเยียวยามัน แต่เวลาใจมันตายไปแล้วเห็นไหมไม่มี เวลาหิวขึ้นมาตกนรกมันก็ไม่เคยตาย เวลามันโดนทำลายไป อยู่ในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกเวลามีสัตว์โลกตายไป เวลาโดนไฟเผาจนมอดไปก็กลับขึ้นมา ฟื้นขึ้นมามีรูปร่างคงที่เหมือนเดิม ไม่มีวันตายเพราะเป็นนามธรรม

สิ่งที่เป็นนามธรรมนั้นสำคัญ เวลาตกทุกข์ได้ยากนั้นสำคัญ “โลก” คือโลกของเรา กับโลกของเขา โลกของเขาทุกข์ยากกว่าเรา โลกของเรานี้เราเจือจานกันไป แล้วเราติดข้องสิ่งนี้ไป นั่นเป็นเรื่องของโลก เราถึงต้องเข้าใจสิ่งที่ว่า เราเข้าป่าเข้าเขาก็เพื่อเหตุนี้ ธุดงควัตรมาก็เพื่อเหตุนี้ เพื่อขัดเกลา

ธุดงควัตร ศีล ๒๒๗ ถ้าผิดจากศีลนี้ปรับอาบัติ ธุดงควัตรนี่ไม่ปรับอาบัติอยู่ที่ความสมัครใจ สมัครใจจะถือกี่ข้อก็ได้ ทำไปเพื่อการขัดเกลากิเลสของใจ ขัดเกลากิเลสของใจมันจะไม่ได้สมความปรารถนา ถ้าเราธุดงควัตรอยู่ที่ตามป่าตามเขายิ่งจะเป็นทุกข์ยากมากกว่านี้

นั่นน่ะพอเยียวยาอาศัยโรคหิวที่เป็นโรคปัจจุบันนี้ เยียวยาอาศัยเพื่อขอให้ร่างกายนี้ได้ประพฤติปฏิบัติ เวลาของเราไม่เสียไปกับการแสวงหาการหาอยู่หากิน เรื่องของโลก นั่นเรื่องของโลก ปล่อยเรื่องของโลกไว้ตามความเป็นจริง แล้วเราพยายามใช้ปัญญาตะล่อมเข้ามา มันก็จะมีความสนใจ ถ้าใจมีความสนใจ ใจเริ่มต้นตั้งความปรารถนาอยากจะทำ สิ่งนั้นถึงจะเป็นการกระทำ ถ้าใจไม่ปรารถนาเห็นเขาทำก็ทำตามเขา เห็นเขามีอะไรก็อยากมีกับเขา สักแต่ว่าทั้งหมด

ในการประพฤติปฏิบัติจะทำความสงบของใจ นั่งก็นั่งไปกับเขานะ เว้นไว้แต่มีอำนาจวาสนา มันสงบแบบส้มหล่น มันสงบไปโดยที่มีอำนาจวาสนาอันนั้นเป็นไปได้ แต่ถ้าสักแต่ว่าทำกับเขาไป มันไม่เกิดประโยชน์กับเขา ไม่เกิดประโยชน์กับเรา เพราะไม่ตั้งใจเห็นไหม

ถ้าเราตั้งใจขึ้นมานี้ ความตั้งใจจะเป็นประโยชน์กับเรา ประโยชน์กับเราผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ใจนั้นจะสงบเข้ามาโดยคำบริกรรม จะสงบได้ด้วยธรรม

สิ่งนี้สงบได้โดยธรรมชาติของเขา มันสงบได้โดยแน่นอน แต่เพราะการบังคับแล้วกิเลสมันต่อต้าน ยิ่งถ้าเราเริ่มภาวนาใหม่ เราพยายามจะนั่งขึ้นมา มันจะต่อต้านมาก มันจะพยายามมีฤทธิ์มีเดช มันจะมีฤทธิ์มีเดชเหนือเรา จะทำให้เราล้มลุกคลุกคลานไปโดยที่จะไม่ได้ผลตามความเป็นจริง ถ้าเราไม่ได้ผลตามความเป็นจริงเราก็ท้อถอย เราก็ไม่อยากจะทำ แล้วก็เป็นความทุกข์ “ทำไมเราเกิดมาแล้วต้องทุกข์สองชั้นสามชั้น โลกนี้ก็ทุกข์แสนทุกข์อยู่แล้ว ทำไมต้องมาแสวงหาสิ่งนั้นอีก” นั่นเห็นไหมกิเลสมันพูดอย่างนั้น

แต่ไม่พูดถึงผลของมันที่จะได้รับ จิตนี้บริสุทธิ์ผุดผ่องจะมีความสุขมหาศาล วิมุตติสุขเกิดขึ้นมาจากการประพฤติปฏิบัตินี้ แล้วจะไหว้วานจากใคร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งต่อหน้าเรานะ เราจะขอให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าช่วยเหลือเราให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็เป็นไปไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะเทศนาว่าการ จะบอกวิธีการให้เราไปปฏิบัติเท่านั้น ต้องปฏิบัติเท่านั้น

ถ้ามีการปฏิบัติ คือการดัดแปลงใจ การกั้นเขื่อน การทำฝายเพื่อกักน้ำไว้ใช้ การกั้นค่าของน้ำใจ ใจนี้ปล่อยให้หมุนออกไป พยายามพุ่งออกไปตามกระแสของโลก ตามความเห็นของกิเลสที่มันหลอกใช้ ไม่เคยกั้นฝายกั้นเขื่อนไว้เพื่อเป็นค่าของน้ำใจ ให้น้ำใจนั้นทรงคุณค่าขึ้นมา เรากำหนดพุทโธขึ้นมา เรากั้นเขื่อนกั้นฝายขึ้นมาด้วยคำบริกรรมของเรา นั่นน่ะมันจะเกิดค่าน้ำใจ คือสัมมาสมาธิ จะมีความสุขมาก มีความสุขจริงๆ มีความสุขจนสามารถทำให้คนหลงใหลได้ว่าสิ่งนี้เป็นผลของการประพฤติปฏิบัติ

ถ้ามันไม่มีความสุขคนจะหลงได้อย่างไร มันจะมีความสุขมันจะเวิ้งว้างขนาดไหน มันจะมีความสุขมหาศาล แต่สัมมาสมาธิในพระไตรปิฎกไม่บอกว่าชำระกิเลส ปัญญาเท่านั้นที่ชำระกิเลส แต่ถ้าปัญญาไม่มีสัมมาสมาธิเป็นฐานขึ้นมา มันก็จะเป็นปัญญาโลก ปัญญาของโลก ปัญญาของเราที่หมุนเวียนในโลกนี้ ในโลกนี้มันก็เป็นโลกียะ ถึงต้องมีสัมมาสมาธิ แต่สัมมาสมาธิก็ไม่สามารถชำระกิเลสได้ เราต้องพยายามสร้างสม

นี่ไง การประพฤติปฏิบัติ มรรคจะเริ่มต้นเดินออกไป จะเดินออกไปอย่างไร คนจะเห็นมรรคอริยสัจจัง มรรคเดินออกไป ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นจากใจ เกิดขึ้นจากการใคร่ครวญจิต กับใคร่ครวญกาย ใคร่ครวญกับสิ่งนี้เท่านั้น เพราะกิเลสมันติดอยู่ที่นี่ สิ่งที่ติดอยู่ที่นี่ต้องใคร่ครวญที่นี่ ใคร่ครวญออกไป แยกแยะออกไป ให้มันเป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตา “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ต้องดับไป” เป็นไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย

สิ่งที่เป็นไตรลักษณ์มันเป็นธรรมชาติ เห็นไตรลักษณะ เห็นไหม เห็นไตรลักษณญาณ ผู้ที่จะเห็นธรรม จะทำให้เขาขึ้นมา ความบริสุทธิ์ของใจจะเกิดจากตรงนี้ เกิดในการประพฤติปฏิบัติ เราต้องมีกำลังใจของเราขึ้นมา ทำของเราได้ ใจนี้มันไปตามอำนาจของเขา ไปตามอำนาจของเขาทั้งวันทั้งคืน มันก็วนเวียนไปกับเขา ทำไมมันไปได้ล่ะ แล้วทำไมมันหยุดนิ่งไม่ได้ล่ะ มันต้องหยุดนิ่งได้ มันต้องทำสิ่งนี้ได้

สิ่งนี้มันเกิดขึ้นมา เพราะใจนี้เป็นความรู้สึกอยู่แล้ว แต่มันไปโดยที่เราไม่เข้าใจในเรื่องของธรรม ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของธรรม แล้วเราทำจนสมควรแก่ธรรม ถ้าสมควรแก่ธรรม ผลจะเกิดตามอำนาจ เกิดตามการกระทำอันนั้น สิ่งที่เรากระทำอันนั้น มันจะเป็นผลขึ้นมาจากใจนี้ ใจนี้เป็นเครื่องบอกว่า สงบขนาดไหน จะสร้างสมปัญญาได้ขนาดไหน มันจะบอกขึ้นมาที่ใจ เป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะหัวใจดวงนั้น

หัวใจดวงนั้นทุกข์ร้อนมาก เวลาทุกข์ร้อนก็เก็บไว้ในหัวใจ แล้วเวลาใครถามหาก็สบายดี.. สบายดี.. นั่นเห็นไหม เก็บไว้ในหัวใจ เวลาสุขก็เหมือนกัน มันจะสุขจากหัวใจนี้ก่อน ข้างนอกนี่คนอื่นจะเห็นว่าคนๆ นี้ไม่มีคุณค่าทางโลกเลย ไม่สนใจเรื่องของโลก เห็นแต่ว่าจะหาแต่การประพฤติปฏิบัติเพื่อจะเอาตัวรอดๆ นั้นเป็นสิ่งที่เขาว่า “โลกติเตียน” ติเตียนกันอย่างนั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกษัตริย์อยู่ เห็นไหม เป็นถึงกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง มันจะสร้างประโยชน์แก่โลกขนาดไหน ถ้าโลกมองก็ว่าสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่คิดอย่างนั้นเลย สิ่งนี้เราปกครองได้ สิ่งนี้เราทำได้ แต่เรื่องการเกิดและการตายเราไม่สามารถบังคับได้ ไม่สามารถปกครองการเกิดและการตายได้ แต่มันต้องมีสิ่งใด ถ้ามีการเกิดและการตาย มันต้องมีไม่เกิดและไม่ตายใช่ไหม

ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมถึงหาทางออกได้ล่ะ แล้วท่านก็บอกไว้ในพระไตรปิฎกหมดแล้ว แล้วเราก็ศึกษาสิ่งนั้นมา ทำไมไม่เอามาเคาะใจ ใช้ปัญญานี้เคาะหัวใจ ให้หัวใจมีความตั้งใจ มีความจงใจอยากจะออกประพฤติปฏิบัติ พยายามทำของเราขึ้นมา นั้นเพราะความจงใจขึ้นมามันก็กั้นเขื่อนกั้นฝายขึ้นมาในหัวใจ กั้นเขื่อนกั้นฝายกั้นขึ้นมาในหัวใจนั่นนะ ค่าของใจจะเกิดขึ้นมา ความสงบนี้เกิดขึ้นมาแล้วถ้าจับต้องความสงบนี้ได้ ความสงบนั้นยกขึ้นวิปัสสนา พยายามยกขึ้นมา

ใส่ใจในการที่มันออกเสวยอารมณ์ใหม่ เวลาสงบขึ้นมา มันเสวยอารมณ์ใหม่ มันจะเห็นตรงนั้นไง พยายามสังเกตว่ามันเสวยสิ่งใด มันจับต้องความรู้สึกอันนั้น นั่นน่ะคือขันธ์ ขันธ์ที่มันกระทบอยู่กับใจ จับต้องสิ่งนี้ได้แล้วมันจะเริ่มแยกแยะออกไป แยกแยะด้วยปัญญาญาณของเรา ด้วยปัญญาเห็นไหม

ปัญญาอย่างปัญญาอบรมสมาธิ เป็นปัญญาทำความสงบของเราเข้ามา แล้วปัญญาอย่างนี้มันเป็นปัญญาที่เราเห็นออก เราเคลื่อนไหวออกไปจากสัมมาสมาธิ จากความเห็นของเรา แล้วมันจะมีความผิดพลาด ความผิดพลาดถ้ามันใช้บ่อยขึ้นไปปัญญามันก้าวเดินออกไปแล้ว มันไม่สมควรกับมัน มันจะไม่ลงตัว พอไม่ลงตัวเราต้องปล่อย ปล่อยทำไม กลับมาทำความสงบของใจ ต้องกั้นเขื่อนกั้นฝายให้น้ำนั้นพอ

ถ้าน้ำนั้นพอมันก็เป็นพลังงานของน้ำนั้น มีพลังงานของน้ำนั้น พลังงานนั้นต้องใช้ด้วยปัญญา ปัญญานำพลังงานอันนั้นหมุนกระแทกกระทั้นกับเรื่องของกิเลสเข้าไป ชำระล้างกันอย่างนั้น จะปล่อยวางกันเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา มันจะปล่อยวางเป็นขั้นเป็นตอน ปล่อยวางนะถ้าปัญญาทัน ปัญญาทันสิ่งนั้น

สิ่งที่เป็นอารมณ์ เป็นความรู้สึกของเรา แต่เดิมมันเป็นไปโดยที่เราไม่เคยเห็น เราไม่เคยเห็นว่ามันทำงานอย่างไรของมัน แต่ในการวิเคราะห์นั้น คือการทำงานของขันธ์ มันทำงานขึ้นมาจากในหัวใจ สิ่งนี้มันเหมือนเครื่องยนต์กลไกเราดีๆ นี่เอง เครื่องยนต์กลไกมันต้องประกอบอุปกรณ์ของมันพร้อม เครื่องนี้มันถึงจะทำงานได้

นี้ก็เหมือนกัน ในเรื่องของขันธ์ พอทุกอย่างครบบริบูรณ์ของมัน มันก็ถึงจะหมุนออกไป ปัญญาของเราก็แยกแยะสิ่งนี้ย้อนกลับมา แยกแยะสิ่งนี้ย้อนกลับมา ย้อนกลับมา เพื่อจะให้มันเข้าใจตามความเป็นจริง การเข้าใจตามความเป็นจริงมันก็ปล่อยวางเป็นชั้นเป็นตอน ปล่อยวางเพราะมันเข้าใจแล้ว มันมีอำนาจ มันมีพลังงาน เดี๋ยวมันก็เกิดมันก็ดับอยู่อย่างนั้น มันไม่ทีเดียวขาดหรอก

ถ้ามันทีเดียวขาด มันต้องมีสิ่งบอกเหตุ สิ่งที่บอกเหตุเห็นไหม สิ่งที่บอกเหตุเวลาขาดออกไปสังโยชน์มันจะขาด เวลาขาดออกไป สมุจเฉทปหาน ขาดเพราะสังโยชน์ขาดออกไปจากใจ ถ้าสังโยชน์ไม่ได้ขาดออกไปจากใจเลยแม้แต่นิดเดียว นี้ไม่ถือว่าเป็นภาวนามยปัญญา จะเป็นปัญญาในการใคร่ครวญตลอดไป...

ใคร่ครวญเรื่องของปัญญาหมุนไปในการวิปัสสนานั้นก็จริงอยู่ มันเป็นวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว แล้วมันปล่อยวาง มันปล่อยวางได้ตามความเป็นจริง ปล่อยวางได้ตามเป็นจริงแล้วเราก็ศึกษามาเห็นไหม ตำราจะกลับมาเป็นโทษกับเราก็ตรงนี้ โทษตรงที่ว่า พิจารณากายพิจารณาจิตเหมือนกันแล้ว ปล่อยวางตามความเป็นจริงแล้ว แล้วก็มีความสุข มันมีความสุขเกิดขึ้นมา การมีความสุขเกิดขึ้นมาเพราะมันปล่อยวาง อำนาจความสุขของการปล่อยวางนั้น มันจะลึกซึ้งกว่าความสุขของสัมมาสมาธิ

การปล่อยวางเพื่อเป็นสัมมาสมาธิส่วนหนึ่ง การปล่อยวางจากหัวใจที่มันปล่อยวางกิเลสออกไปจากใจเห็นไหม เป็นอีกส่วนหนึ่ง นั่นน่ะความเวิ้งว้างของมัน มันจะละเอียดลึกซึ้งมากกว่านั้น ถ้าเราซ้ำได้มันต้องซ้ำ เราอาศัยว่า...สิ่งนี้ยังเกิดอยู่ไหม สิ่งที่ว่าเป็นอารมณ์ความรู้สึกเกิด ถ้าสิ่งที่ว่าเป็นอารมณ์ความรู้สึกยังเกิดอยู่ เราต้องพยายามทำลายตรงนี้ให้หมดไป ทำลายไปเรื่อยๆ จนอารมณ์นั้นมันเกิดไม่ได้ ถ้ามันจับต้องได้มันต้องทำลายได้

ถ้ามันจับต้องได้ มันทำลายได้ นั้นคือว่ามันยังไม่สมุจเฉท ถ้ามันไม่สมุจเฉทปหาน มันก็เกิดดับอยู่อย่างนั้น มันก็ไม่มีสังโยชน์ขาดออกไปโดยสัจจะโดยความเป็นจริง ถ้าสังโยชน์มันขาดออกไป มันดับหมดเห็นไหม ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต นี้คือขั้นตอนหนึ่งในการจะทำความบริสุทธิ์ของใจ เกิดขึ้นจากภาคปฏิบัติ มันจะเป็น ขันธ์เป็นขันธ์ ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่จิต จิตนี้ไม่ใช่ขันธ์ ๕ แยกออกจากกัน พอแยกจากกันนี้มันจะสืบต่อได้อย่างไร ในเมื่อสติเราทัน สิ่งนี้จะเกิดอีกไม่ได้เลย

ถ้าจะเกิดอีก เราก็ต้องรู้ พอรู้สิ่งนี้ เราควบคุมสิ่งนี้ได้ สิ่งนี้อยู่ในอำนาจ เห็นไหม แต่เดิมความคิดของเรานี้ไม่อยู่ในอำนาจของเราเลย เราจะคิดขนาดไหน ความทุกข์ขนาดไหน มันไปกับเรา เรายับยั้ง เวลาผูกโกรธขึ้นมามันเป็นไปตามอำนาจของความคิดตลอดไป มันโกรธเขาไปแล้วยังไม่รู้สึกตัว มันยังไปได้เลย แต่ขณะที่ว่ามีสติสัมปชัญญะ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจนเห็นตามความเป็นจริง จนมันสมุจเฉทปหาน เวลามันจะกลับมามีความรู้สึกอีก มันจะมีพร้อมสติสัมปชัญญะ เราจะรู้ทันหมด สิ่งนี้รู้ทันเพราะมันขาดมี

สิ่งที่ขาดมีนี้คือขันธ์กับจิตนี้ขาดออกจากกัน แต่ก็มีอยู่อย่างนั้น สิ่งที่ขาดออกไปคือกิเลสเท่านั้น กิเลสที่ผูกมัดระหว่างขันธ์กับจิตนี้โดนทำลายออกไป แต่ขันธ์กับจิตนี้ก็อยู่คงเดิม มีอยู่คงเดิมคงเส้นคงวา คงที่ของเขา แต่กิเลสที่มันเคยใช้อยู่นั้น มันหลุดออกไปเห็นไหม นั่นน่ะเราก็มีความสุขพอสมควรในการประพฤติปฏิบัติ มีความสุขมาก

การประพฤติปฏิบัติของเราจะต้องเห็นตามสภาวะแบบนี้ “สีลัพพตปรามาส” ไม่เป็นการลูบคลำศีลเห็นไหม เวลาสังโยชน์ขาด สีลัพพตปรามาสขาดออกไป แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ในการประพฤติปฏิบัติของวงกรรมฐานนี้ ใครจะบอกว่าปฏิบัติด้วยสีลัพพตปรามาส ปฏิบัติด้วยการลูบคลำศีล ปฏิบัติด้วยการลูบๆ คลำๆ มันถึงปฏิบัติไม่จริง ต้องศึกษาเล่าเรียนก่อนแล้วถึงปฏิบัติจริง

ถ้าศึกษาเล่าเรียนมันจะไม่เป็นสีลัพพตปรามาสไปไหน จะศึกษาหรือไม่ศึกษาก็เป็นสีลัพพตปรามาสไปหมด เพราะจิตนี้มันมีกิเลสอยู่ กิเลสนี้มันเป็นสีลัพพตปรามาส มันเป็นความลังเลสงสัย สิ่งที่เป็นความลังเลสงสัยทำไมมันจะไม่เป็นสีลัพพตปรามาส มันเป็นสีลัพพตปรามาสก็ต้องให้เป็นสีลัพพตปรามาสไปก่อน

ในการยกขึ้นวิปัสสนาก็เหมือนกัน ถ้ามันจะยกขึ้นวิปัสสนา.. เป็นสัญญาก่อน ขณะที่จิตสงบแล้วจะเป็นสัญญาก่อน ก็ให้เป็นสัญญา เป็นสัญญาก่อนก็เป็นสัญญาได้ เพราะในสัญญาคือการเริ่มจุดประเด็นขึ้นมา ถ้ามันจุดประเด็นขึ้นมา มันก็จะมีสิ่งนี้เป็นการวิปัสสนา ถ้าไม่จุดประเด็นสิ่งนี้ขึ้นมา จิตนี้มันก็เวิ้งว้าง มันก็ว่างอยู่อย่างนั้น ความว่างนั้นมันจะอยู่ใน สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา คือมันจะเสื่อมสภาพไปโดยที่เราจะไม่ได้ประโยชน์กับมัน เราถึงต้องใช้สัญญา

สิ่งที่เป็นสัญญาก็ใช้ได้ ความใช้ได้นี้ ถึงจะเป็นสีลัพพตปรามาสก็ให้เป็นสีลัพพตปรามาสไปก่อน ถึงจุดหนึ่งแล้วมันก็จะไปทำลายสีลัพพตปรามาส พอทำลายสีลัพพตปรามาสออกไปจากใจ แล้วความลังเลสงสัยมันจะไม่มีหรือ ความลังเลสงสัยสิ่งที่สูงกว่า มี สิ่งที่เป็นกิเลสที่เหนือกว่าในหัวใจเราไม่รู้เราก็สงสัย แต่ความสงสัยนี้ไม่เป็นสีลัพพตปรามาส เพราะการประพฤติปฏิบัติของเรามันจงใจ เห็นไหม จงใจในการทำขึ้นไป

การทำขึ้นไปในความเห็นของเรา เราจะชำระปฏิบัติจิตของเราให้พ้น ให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง สิ่งนี้มันบริสุทธิ์ส่วนหนึ่ง มันปล่อยวางได้ส่วนหนึ่ง มันเข้าใจตามความเป็นจริงในอารมณ์ในตัวตนของเรานี้ส่วนหนึ่ง วิปัสสนาจนปล่อยวางไปแล้ว เราต้องทำความสงบของใจ จะมีสิ่งใดก่อกวนหัวใจก็ต้องทำเข้าไป มีความสุขขนาดไหน เราเก็บไว้ในหัวใจแล้วประพฤติปฏิบัติต่อไป เป็นผลงานของเรา สมบัติของเราเก็บไว้ในหัวใจ แต่โทษสมบัติสิ่งที่เป็นทุกข์ในหัวใจนั้นต้องพยายามแสวงหา

ทำความสงบของใจให้สูงขึ้น ใจจะมีความสงบสูงขึ้นๆ ถ้าเราก้าวเดินในการทำความสงบของใจ ศีล สมาธิ ปัญญา สิ่งที่เกิดขึ้น ปัญญาอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด จะเกิดขึ้นมาด้วยการที่เราใคร่ครวญ เราสะสมของเราทั้งนั้น นี้ก็เหมือนกัน เราพยายามทำใจของเราขึ้นไป เพื่อให้สูงขึ้นไป สูงขึ้นไปเพื่อจะไปชำระสิ่งที่ละเอียดในหัวใจ สิ่งที่มันเป็นกิเลสที่ละเอียดในหัวใจนี้ นี้คือการทำในเรื่องของอริยสัจ

สิ่งที่เป็นอริยสัจต้องกำหนดเข้ามาในเรื่องของกายของใจนี้เท่านั้น ในเรื่องของสรรพสิ่งข้างนอก สิ่งที่รับรู้ เวลาจิตมันสงบ แล้วมันรับรู้ต่างๆ มันจะรู้แล้วมันพยายามจะชักลากเราออกไป อันนั้นเราจะไม่ตามสิ่งนั้นไป สิ่งนั้นเห็นไหม ถ้าสีลัพพตปรามาสมันจะมีสิ่งนั้นเข้ามาหลอกลวง แล้วเราก็จะไม่สนใจ เราไม่เข้าใจ แต่ถ้าเราเคยวิปัสสนาจนสมุจเฉทปหานออกมาขั้นตอนหนึ่ง เราจะเข้าใจสิ่งนี้ แล้วเราจะย้อนกลับเข้ามา จะมีสิ่งใดก่อกวนเราก็จะย้อนกลับเข้ามา มันจะเดินได้ไง

“ผู้ที่ตีนเหยียบถึงพื้นแล้วจะเดินขึ้นฝั่งได้” ผู้ที่มีความรู้ความเห็น จิตปล่อยวางได้ส่วนหนึ่ง นี่ตีนถึงพื้นแล้ว ความประพฤติปฏิบัติมันก็ไม่เหนื่อยจนเต็มที่เกินไป แต่เดิมการจับต้องไม่ได้ ความลังเลสงสัยว่าตรงไหน เราจะฟันตรงไหน เราจะจดจ้องตรงไหน ปัญญาเรา เราจะฟาดฟันกับกิเลสตรงไหน มันจับต้องสิ่งนั้นไม่ได้ แต่ในเมื่อเราเคยประพฤติปฏิบัติมา เราเคยทำของเราขึ้นมาแล้วนี่ มันยกขึ้นของมันขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอน

ถ้ายกขึ้นมาได้ จากกายกับจิตวิปัสสนาเหมือนกัน สิ่งที่เป็นกายกับจิตนี้มันมีหยาบ มีกาย กายในกาย เวทนานอก เวทนาใน เวทนาในเวทนา ความขุ่นข้องของใจมันจะละเอียดขนาดไหน มันก็จะมีความรู้สึกเศร้าหมองอยู่ในหัวใจ มีความเศร้าหมองนะ วิปัสสนาเพราะมันติดข้องอยู่ มันเป็นสิ่งที่เกาะเกี่ยวอยู่กับร่างกาย วิปัสสนาจะจับได้ ถ้าจับได้ วิปัสสนาได้ วิปัสสนาได้ก็เป็นงาน ถ้าวิปัสสนาไม่ได้ มันก็ก้าวเดินไปย่ำอยู่กับที่อยู่อย่างนั้น ก้าวเดินไปซ้ำรอยเหยียบอยู่กับที่ แล้วมันก็จะอยู่อย่างนั้น มันจะไม่เป็นผลงานของเรา ไม่เป็นผลงานของจิต

จิตนี้จะพ้นออกไป จะบริสุทธิ์ผุดผ่องขึ้นมาต้องทำงานสิ่งที่ชำระกิเลส กิเลสฝังอยู่ที่ใจ ต้องชำระใจ ต้องเอาเนื้อของใจนี้มาไตร่ตรองกัน “เนื้อของใจ” ใจนี้เข้าไปในขันธ์ก็เป็นอารมณ์ของขันธ์ เห็นไหม เข้าไปในขันธ์เพราะใจนี้คือสิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ไม่รู้คืออวิชชา อวิชชานี้เคลื่อนออกมาก็เข้าไปในขันธ์ มันก็หมุนไปตามความไม่รู้ สิ่งที่รู้แล้วมันก็เป็นสิ่งที่รู้แล้ว วางไว้เข้าใจตามความเป็นจริง สิ่งที่ไม่รู้มันก็ยุแหย่ใจอยู่ วิปัสสนาสิ่งที่ไม่รู้นั้นแยกออกไป พิจารณากายนี้มันจะกลับไปคืนธาตุเดิมของเขา กลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ

แต่มันเริ่มต้นจะเป็นไป ถ้าพิจารณากาย.. การพิจารณากายแล้วแต่มันจะเป็นไป มันจะเป็นเรื่องลึกลับมหัศจรรย์ แล้วแต่ที่มันจะเกิดขึ้นมาในหัวใจ มันจะตื่นเต้นนะ ความที่ว่ามันตื่นเต้น เวลาเกิดเป็นกายขึ้นมาให้เอาไฟเผาขึ้นมา ไฟมันจะเผาพรึบ ภาพที่เห็นอยู่ สิ่งที่เห็นอยู่เป็นร่างกาย แล้วมันจะหายไป สิ่งที่หายไปเหมือนกับเราจับสิ่งของชิ้นใดอยู่ในมือ แล้วมันหายไปจากมือเรานี่ เราจะเกิดสภาวะแบบใด

เหมือนกับเขาเล่นกล สิ่งที่เล่นกลนั้นเป็นมายากล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากในหัวใจนี้มันไม่ใช่กล มันเป็นอำนาจของธรรม อำนาจของสัมมาสมาธิ อำนาจของปัญญาที่วิปัสสนาเข้าไป สิ่งนี้จะแปรสภาพ แล้วจะซ้ำๆ เป็นอย่างนี้บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้ง ด้วยอำนาจของปัญญา เหมือนเรากั้นฝายให้พอแรง อำนาจของน้ำนั้นเต็มที่ สภาวะสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นมา ซ้ำบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า

ต้องซ้ำบ่อยครั้ง ! ถ้าไม่ซ้ำบ่อยครั้งนั้นกิเลสมันหลอก หลอกในวงภาวนานี่ล่ะ จะหลอกให้เราผิดพลาดไป กิเลสจะไม่ให้เราสมความปรารถนา กิเลสจะต้องดึงฉุดกระชากความเห็นของเขาไว้ในเรือนของหัวใจนี้ ยับยั้งใจนี้ให้เป็นที่อยู่ของเขาตลอดไป

เราก็ต้องพยายามใช้ความละเอียดรอบคอบเห็นไหม ความละเอียดรอบคอบของเรา พยายามทำใจให้เป็นกลาง มัชฌิมาปฏิปทาถึงที่สุดแล้วมันจะทำลายกัน จิตเป็นจิต ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต กายเป็นกาย นี่แยกออกจากกัน ต้องแยกออกจากกันโดยธรรมชาติ จิตกับกายนี้แยกออกจากกัน โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ใจนี้เป็นใจ กายนี้เป็นกาย ปล่อยวางตามความเป็นจริง นั้นเป็นการบริสุทธิ์ผุดผ่องมาถึงครึ่งทาง

สิ่งที่มาถึงครึ่งทางเห็นไหม จิตนี้แบ่งเป็นสองส่วน อีกส่วนที่ส่วนสำคัญ มันอยู่ข้างหน้า อยู่ข้างหน้าที่เราจะเข้าไปผจญอยู่นี่ แล้วมันจะติดอยู่ตรงนี้ การติดอยู่ตรงนี้ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ศึกษามาจากทางโลกขนาดไหน มันก็มีความศึกษามามาก มันจะติดในความว่าง จิตกับกายนี้ไม่ใช่สิ่งที่เกาะเกี่ยวกันแล้ว มันจะว่างหมด มันจะเวิ้งว้าง โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง เหมือนกับไม่มี สิ่งใดในโลกนี้ไม่มี ราบไปหมดเลย ความข้องของใจไม่เกี่ยวกับสิ่งๆ ใดเลย นี่คือผล ผลของการปล่อยวางจิตกับกายแยกออกจากกัน จะปล่อยได้ว่างขนาดนี้

ถ้าว่างขนาดนี้มันจะไม่ติด มันจะเป็นไปได้อย่างไร คนเราต้องติดหมด พอติดสิ่งนี้ มันก็จะเวิ้งว้างอยู่อย่างนั้น ต้องออกหาไง ออกหาในสิ่งที่เป็นผลงานข้างหน้า สิ่งที่เราจะทำลาย ทำลายความบริสุทธิ์ของใจ ทำลายสิ่งที่มัวหมองให้มันบริสุทธิ์ในหัวใจ มันต้องพยายามจับต้องขึ้นไปข้างบนให้ได้ ถ้าจับต้องขึ้นไปข้างบนได้ มันจะเริ่มเคลื่อนจิตออกไป

ถ้าเคลื่อนจิตออกไป จะจับต้องในสิ่งใด แต่มันมืดไปหมด มันจับต้องสิ่งใดๆ ไม่ได้ เพราะว่าขันธ์มันละเอียดเข้าไปเรื่อย สิ่งที่ละเอียดเข้าไปเรื่อย มันถึงต้องสร้างมหาสติ มหาปัญญา

การสร้างมหาสติ มหาปัญญา มันก็ต้องมี หยาบ กลาง ละเอียด จากปัญญาอย่างหยาบๆ ว่าสิ่งนั้นมี สิ่งที่ความปกป้องหมองใจในหัวใจนั้นมี ถ้ามีปัญญามันก็กางออก สิ่งที่ปัญญากางออกเห็นไหม ค่าของใจมันกางออก เขื่อนของหัวใจมันกางออก ตีสภาวะน้ำออกให้เห็นปลาในน้ำนั้น ให้เห็นเชื้อโรคในหัวใจนั้น เชื้อโรคในหัวใจนั้นเป็นกามราคะ

สิ่งที่เป็นกามราคะนี้ปกคลุมใจอยู่ในหัวใจนั้น มันเป็นเชื้ออย่างมหาศาล เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดดับ เกิดดับกันอยู่นี้ ตัวขับไสใหญ่อยู่ที่นี่ โลภ โกรธ หลงไง นางราคะ นางตัณหา นางอรดี อยู่ที่ตรงนี้ !

การประพฤติปฏิบัติในการฟาดฟันกับกิเลส ตรงนี้เป็นจุดวิกฤตที่สุด เพราะทำตรงนี้ได้แล้ว มันจะผ่านสิ่งที่ว่า เราจะไม่ต้องเกิดในกามภพ ไม่เกิดในกามนี้อีกแล้ว แต่สิ่งนี้มันแนบแน่นอยู่ในหัวใจ เพราะหัวใจของสัตว์โลกเกิดตายมาในโลกนี้ตลอด

สิ่งที่เกิดตายในโลกนี้ สิ่งนี้เป็นธรรมชาติของใจ กิเลสก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่งในหัวใจเห็นไหม ธรรมชาติ สิ่งที่เราจะรู้ธรรมชาติ แล้วเราจะปล่อยวางธรรมชาติไว้ตามความเป็นจริง

ถ้าเราไม่รู้ธรรม สัจธรรม อกุศลธรรม ธรรมที่มันปักมาในหัวใจของเรา เราจะปลดเปลื้องสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมในหัวใจได้อย่างไร ธรรมที่ในหัวใจของเรามันปักมาขนาดนั้น เราต้องพยามยามย้อนกลับเข้ามา ข่ายของปัญญามันจะเกิดขึ้น เพราะเรามีปัญญา มีความจงใจย้อนกระแสของจิต ย้อนกลับ สิ่งที่ย้อนกลับนั้นจับต้อง ถ้าจับต้องนี้ได้เป็นขันธ์อันละเอียด ถ้าจับต้องกายได้ มันเป็นอสุภะ

สิ่งที่เป็นอสุภะเห็นไหม ทำไมมันเป็นอสุภะล่ะ สิ่งที่เป็นอสุภะเพราะอำนาจของธรรม แต่ในหัวใจนั้นมันเป็นสุภะ เราจะตั้งเป็นสุภะก็ได้ จบปกติมันเป็นสุภะเป็นความชอบใจ เป็นความสวย ความงาม ความติดข้องของใจโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่มันจะเป็นอสุภะเพราะว่าอำนาจของธรรม อำนาจของธรรมว่าสัจจะความเป็นจริง อำนาจของธรรมเห็นไหม สัจจะตามความจริงว่า สรรพสิ่งในโลกนี้ ร่างกายนี้มันเป็นอสุภะแน่นอน มันเป็นสิ่งที่เศร้าหมอง มันต้องเป็นของเน่าของบูดโดยธรรมชาติ

แต่เพราะกรรมรักษาไว้ กรรมไง กรรรมคือการกระทำของสิ่งที่มีชีวิตนี้ รักษาไว้ให้เรามีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ ธาตุไฟมันเผาผลาญร่างกายนี้อยู่ ร่างกายนี้มันถึงได้คงสภาพนี้อยู่ คนตายขึ้นไปแล้วไม่มีธาตุไฟเผาผลาญให้ร่างกายนี้คงสภาพอยู่นี้ จะต้องเน่าต้องบูดเป็นไปตามธรรมชาติ เอาศพของคนตายกับเราที่มีชีวิตอยู่นี้เทียบเคียงกัน มันจะเป็นสิ่งนั้น

การดำรงชีวิตอยู่เห็นไหม เราเห็นสัจจะตามความเป็นจริงก่อนที่เราจะตาย เราเห็นอสุภะด้วยอำนาจของธรรม ถ้าเราสร้างธรรมขึ้นมา เราจะเห็นเป็นอสุภะขึ้นมา มันก็จะสลดสังเวช สลดสังเวชว่าทำไมเราเข้าใจสิ่งที่ว่า ความหัวใจนี้มันถึงโง่เง่าเต่าตุ่นขนาดนั้น เข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สวยสิ่งที่งาม สิ่งนี้เป็นที่สวยที่งามเพราะมันเกาะเกี่ยว สิ่งที่มันเกาะเกี่ยวมันต้องรัก สมบัติของเรา เราว่าต้องเป็นของดี ของที่อยู่กับเราจะเป็นของดีทั้งหมดเลย

นี้ก็เหมือนกันเห็นไหม เรารักษาสงวนว่าของของเรา ร่างกายนี้เป็นของเรา สรรพสิ่งนี้เป็นของเรา สมบัตินี้เป็นของเรา ร่างกายนี้เป็นเรา ความคิดก็เป็นเรา ทุกอย่างนี้เป็นเรา แต่มันเป็นเราโดยสมมุติ สมมุติอยู่ในชีวิตนี้เท่านั้น แล้วมันจะตายไป เวลาตายไปแล้วเราก็หมดโอกาส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สอนคนตายนะ คนตายไปแล้วจะไม่มีโอกาสได้มีการประพฤติปฏิบัติเลย มันจะไปได้สถานะใหม่แล้วแต่เวรแต่กรรมที่สะสมไป

แต่คนเป็นอยู่นี้ มันจะมีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติ คนเป็นอยู่นี้ถึงจะย้อนกลับเข้ามาที่สภาวธรรมอันนี้ได้ ถ้าเราจับสภาวธรรมอันนี้ได้ เราจะก้าวเดินเข้ามาถึงสภาวธรรมสิ่งนี้ นี้คือสภาวธรรม สภาวธรรมเห็นไหม “ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ถึงจะเห็นอสุภะอสุภัง เห็นอสุภะด้วยอำนาจของธรรม มีอำนาจมาก แล้วพออำนาจมากมันก็จะเริ่มเข้าใจ เริ่มปล่อยวาง

ความเริ่มปล่อยวาง จิตนี้ละเอียดอ่อนมาก ยิ่งปล่อยวางยิ่งเวิ้งว้าง เวิ้งว้างจนถึงที่ว่าเราคาดหมายสิ่งใดไม่ได้เลย เวิ้งว้างขนาดที่ว่ามันเป็นจิตที่จะพ้นออกไปจากกิเลส แล้วจะสร้างสม การทำตรงนี้มันถึงต้องซ้ำ ซ้ำบ่อยครั้งบ่อยครั้ง เพราะการประพฤติปฏิบัตินี้กิเลสมันจะหลอกไปตลอด กิเลสอาศัยสิ่งนี้จะหลอก จะเอาเชื้อของธรรมเอาความของธรรมมาอ้างให้เราประพฤติปฏิบัติ แล้วหลงทางไป ถ้าหลงทางไปนี้อย่างน้อยเนิ่นช้า อย่างมากหยุดกับที่แล้วไม่ประพฤติปฏิบัติต่อ

มันต้องประพฤติปฏิบัติต่อด้วยการขุดคุ้ย ด้วยการถากกางสิ่งนี้ออกไปในหัวใจให้ได้ เป็นอสุภะก็ให้เป็นอสุภะ ให้มันรู้เข้าใจว่ามันเป็นอสุภะ แล้วปล่อยวางซ้ำเข้ามา ถ้าเป็นจิตเห็นไหม สิ่งนี้เป็นกามราคะมันฝังอยู่ที่ใจ สิ่งที่ฝังอยู่ที่ใจ...ทำไมมันถึงฝัง ฝังเพราะเป็นธรรมชาติอันหนึ่งที่มันฝังมา เป็นธรรมชาติอันหนึ่งเห็นไหม “ชีวิตนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย เกิดดับเกิดดับมาตลอด” เกิดดับมาในสถานะต่างๆ เกิดดับมาตลอด แล้วสิ่งนี้ก็ฝังมาตลอด

แล้วจะสาวไปหาที่ไหน จิตนี้คืออะไร จะสาวออกไปว่าเกิดมาชีวิตนี้คืออะไร ชีวิตนี้ก็คือร่างกายกับจิตในปัจจุบันที่กำลังต่อสู้กันอยู่นี้ ชีวิตนี้คือการใคร่ครวญ ชีวิตนี้คือการประพฤติปฏิบัติที่เราสะสมขึ้นมา ชีวิตของโลกเขาเป็นชีวิตของโลกเขา ที่เขาดำเนินชีวิตอยู่ เราเข้าใจว่ามีความสุข เข้าใจว่ามีคุณค่าไง แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินี้เป็นผู้ที่ต่ำต้อยมาก การเป็นอยู่ก็ต้องอยู่ในศีลในธรรม ผู้อยู่ในศีลในธรรมนี่ก็ต้องประหยัดมัธยัสถ์อยู่ในศีลในธรรม เห็นไหมเป็นผู้ที่มีความทุกข์ ผู้ที่ว่าประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ที่ไม่มีค่า

แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าจิตใจนั้นประเสริฐ จิตใจนี้มีคุณค่ามาก จิตใจดวงนี้มันกำลังต่อสู้กับกิเลส กำลังฟาดฟันต่อสู้กับกิเลสโดยใช้ภาวนามยปัญญา ปัญญาในการทรงธรรมขึ้นมาเห็นไหม ธรรมฝ่ายมรรคที่สร้างสมขึ้นมา สิ่งนี้สร้างสมขึ้นมามันถึงเป็นปัญญาของธรรม ปัญญาของธรรมจึงเห็นสภาวะของอสุภะ เห็นความผิดแปลกไปจากที่กิเลสมันเห็น กิเลสในหัวใจเห็นเป็นของสวยของงาม ของที่น่ารื่นเริง ของที่ผูกพันใจไป มันต้องสิ่งนั้นแล้วสะสมสิ่งนั้น ต้องการรสชาติสิ่งนั้นตลอดไป

ตามรสชาติของสิ่งนั้นนั่นคือใจต้องการ ใจต้องการ.. ใจนั้นเป็นอะไร ใจนั้นเป็นกิเลสทั้งหมด สิ่งที่เป็นกิเลสเมื่อขับเคลื่อนไปๆ เขาทำงานของเขาอยู่อย่างนั้น แล้วเพราะด้วยอำนาจของธรรมนี้ย้อนกลับเข้าไป ปัญญาญาณนี้ย้อนกลับเข้าไปทำลายสิ่งนั้นออกไป แยกแยะสิ่งนั้นเข้าไป เห็นไหม แยกแยะเข้าไป แล้วมันเป็นการต่อสู้ที่รุนแรง ปัญญานี้ขนาดต่อสู้ขึ้นมา ข่ายของปัญญากางออกไปขนาดไหนก็แล้วแต่ อำนาจที่เราสู้ไม่พอมันจะล้มลุกคลุกคลานนะ แล้วมันจะมีปัญญาที่มันหลอก กิเลสมันจะหลอก สร้างสถานะหลอก หลอกว่าสิ่งที่เราสร้างสม ตั้งเป้าหลอกให้ปล่อยวางว่า “สิ่งนี้เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็นผลแล้ว เป็นผลแล้ว” แล้วมันจะหยุดอยู่ตรงนั้นน่ะ เข้าใจสิ่งนั้นชั่วครั้งชั่วคราว

แล้วเราสังเกตของเรา เราสังเกตคือเราทดสอบใจของเรา ใจของเรายังมีสิ่งที่หมักหมมอยู่ในใจ ถ้ายังมีสิ่งที่หมักหมมอยู่ในใจ การปล่อยวางนั้นมันปล่อยวางชั่วคราว มันปล่อยวางเพราะอำนาจของปัญญาเหนือกว่าเป็นขั้นเป็นตอน แต่ไม่มัชฌิมาปฏิปทา ถ้ามัชฌิมาปฏิปทามันจะรวมตัวกัน มรรคนี้สามัคคี มรรค ๘ ความดำริชอบ ความเห็นชอบ

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะเห็นตามความเป็นจริงว่ามรรคนี้สามัคคีอย่างไร จะสามัคคีตั้งแต่เริ่มต้นเข้ามา มันสามัคคีเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ถ้ามันสามัคคีคือความพร้อมของมันพอดีมัชฌิมาปฏิปทา ถ้าความพร้อมของเขาไม่พอดีเห็นไหม ถ้าสมาธิมากเกินไปก็ทำให้ปัญญาอ่อนด้อย ถ้าใช้ปัญญามากเกินไป ใช้ปัญญาใคร่ครวญออกไปมันก็ฟั่นเฟือน แล้วปัญญาของกิเลสมันก็หลอกอีกชั้นหนึ่ง

ปัญญาของกิเลสเห็นไหม ใช้ปัญญานี้เหมือนกัน แล้วก็ใช้ความใคร่ครวญ ใช้สร้างจินตนาการ ใช้สร้างภาพเหมือนกัน เพราะเราไม่เคยเห็น ผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินี้เป็นคนที่มีกิเลสในหัวใจทั้งหมด แล้วกิเลสในหัวใจนี้พยายามต่อสู้กับสิ่งที่มันฝังมาในหัวใจเห็นไหม สิ่งที่ฝังอยู่เป็นธรรมอยู่อันหนึ่ง เป็นธรรมเกิดกับใจ เกิดดับกับใจ กิเลสอยู่กับใจ เกิดกับใจดับกับใจ แต่ไม่ใช่ใจ เพราะเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่ง ผู้ที่รู้ธรรมตามความเป็นจริง ทิ้งธรรมชาติ ทิ้งสิ่งที่มันเป็นสัจจะ สิ่งที่เกิดดับในหัวใจนี้ มันเกิดดับแต่มันทำลายได้

มันทำลายได้จนมันปล่อยวางได้ ถ้ามันปล่อยวางได้เห็นไหม “เหนือธรรมชาติ แต่ตามสัจธรรมความเป็นจริง” ในอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หัวใจนี้เข้าไปอยู่ในอริยสัจ

ทุกข์เห็นไหม ทุกข์เพราะสิ่งนี้ สิ่งที่เราแสวงหาที่เราต้องการกันอยู่นี้ ทำให้ชีวิตนี้เป็นทุกข์ ชีวิตนี้เป็นทุกข์เพราะมีสิ่งนี้ มีรสชาติของสิ่งนี้เป็นเครื่องดำเนิน เราก็หลงใหลกับสิ่งนี้ไป ปรารถนาใคร่ครวญกันก็เพราะสิ่งนี้ เพราะสิ่งนี้มีอยู่แล้วเราก็อยู่กับโลกเขาไป นั่นน่ะมันถึงต้องติดข้องไปกับโลกเห็นไหม เราจะทำลายโลกเห็นไหม ทำลายกามภพ ทำลายความเห็นของใจที่เป็นความเห็นผิด ต้องย้อนกลับเข้ามาตลอด ย้อนกลับเข้าไปแล้วปัญญามันจะใคร่ครวญออกไป

ถ้าปัญญาใคร่ครวญออกไปตามความเป็นจริง แล้วมันฝึกฝน ฝึกฝนจนทำลายออกไป จนกิเลสที่มันเป็นแก่นของกิเลส สิ่งที่มันเป็นอำนาจเหนือใจนี้ มันเคยมีอำนาจเหนือใจ มีอำนาจเหนือกว่านี่ มันโดนบั่นทอนโดนทำลายออกไปเป็นครั้งเป็นคราว มันก็อ่อนตัวลงอ่อนตัวลง ธรรมนี้ก็เสมอตัวกัน ถ้าเสมอตัวกันปัญญาเริ่มใคร่ครวญเข้าไป มันจะเริ่มปฏิบัติง่ายขึ้น มันจะโดนหลอก โดนหลอกจนเราล้มลุกคลุกคลาน

โดนหลอกนะ กิเลสมันจะหลอก จะสร้างสิ่งสถานะหลอกในหัวใจว่าสิ่งนี้เป็นผล สิ่งนี้ทำแล้วได้ประโยชน์แล้ว ว่าเราทำปฏิบัติแล้ว เข้าใจแล้วแล้วปล่อยวางแล้ว เวิ้งว้างๆ เวิ้งว้างอยู่อย่างนั้น เวิ้งว้างมันก็เป็นความเวิ้งว้างของกิเลสที่มันสงบตัวลงเท่านั้น มันไม่ใช่สมุจเฉทปหาน ต้องเน้นว่าสมุจเฉทปหานเท่านั้น ต้องซ้ำอยู่ตรงนี้ ถ้าซ้ำอยู่ตรงนี้สมุจเฉทปหานได้เพราะอะไร เพราะตรงนี้เป็นเป้าหมาย เพราะเราซ้ำอยู่เห็นไหม

เรามีพลังงานอยู่ เราทำงานอยู่ งานคาอยู่ในมือของเรา เรากำลังกำงานนั้นอยู่ในมือนี่เราสามารถทำได้ ถ้าเราเข้าใจว่างานนั้นเสร็จแล้ว เราปล่อยงานนั้นออกจากมือเห็นไหม มือนี้ว่างๆ เวิ้งว้างว่างหมดเลย แล้วทำงานอะไรไม่ได้ ก็เคลิบเคลิ้มไปกับอำนาจของกิเลส แล้วเราก็ต้องจับไปที่งานนั้นใหม่ ถ้าเราทำสมาธิขึ้นมา มือนี้ก็ต้องกลับไปจับตรงงานนั้นน่ะ จับตรงงานนั้น จับตรงกามภพ จับตรงอสุภะนั้น จับตรงขันธ์อันละเอียดนั้น ต้องทำตรงนั้นเท่านั้น แล้วแยกแยะออกไปเรื่อย แยกแยะออกไปเรื่อย ทำอยู่ตรงนั้น เพราะเราเคยโดนกิเลสมันหลอกให้เราหลงไปทางอื่น ให้กิเลสมันมีอำนาจในหัวใจ ให้มันดำรงชีวิตอยู่ของมันได้ชั่วคราว เราก็เบนไปทางอื่นไป เราย้อนกลับมา

ทีนี้การต่อสู้ขึ้นมา กิเลสมันก็ต้องสงบตัว ต้องถอยร่นของมันตลอดไป เราทำลายจนมันขาด จนมันขาด มันทำลายออกไป อสุภะอสุภังขาดออกไปจากใจ ครืนออกไปจากใจ ใจนี้ล้นออกไปเลยนะ

สิ่งนี้ก็ต้องฝึก ต้องซ้อม ซ้อมมันเข้าไป เพราะในกามภพนี้มันมีส่วนที่ว่ามีความละเอียดสืบต่อกันไป ถ้าเราซ้อมเข้าไปแล้วมันจะปล่อยวางเป็นชั้นเป็นตอน ซ้อมกับสิ่งที่ว่าเราฝึกฝนออกไป นี่ตรงนี้ทำให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติติด ติดเพราะอะไร เพราะเราฝึกซ้อมเข้าไปอีก แล้วมันจะไปอ้างว่าเป็นมรรค ๔ ผล ๔ ไง

การที่เราซ้อมเข้าไปแล้วมันปล่อยวางซ้ำ ปล่อยวางซ้ำ ปล่อยวางซ้ำจนหมดขั้นของกาม สิ่งที่หมดขั้นของกาม จิตนี้มันจะเวิ้งว้าง จิตนี้มันจะไม่มีตัวรู้เลย มันจะปล่อยวางหมดเพราะอะไร เพราะว่าสิ่งต่างๆ เกิดจากตรงจุดนี้ จุดนี้มันปล่อยสิ่งต่างๆ มาหมดแล้ว เหลือแต่ตัวมันเองเห็นไหม มันก็ต้องว่าไม่มีสิ เพราะเราเป็นตัวของเราเอง

เรากำของอยู่ เราถือของอยู่ แล้วเราปล่อยวางของนั้นไว้หมดเลย ปล่อยวางแล้วมันก็ต้องไม่มี เพราะเราปล่อยวางหมดแล้ว ไม่มีสิ่งใดติดในตัวเราเลย ไม่มีสิ่งใดอยู่กับเราเลย เรานี้เป็นผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์

แต่ความสะอาดบริสุทธิ์ของใจเห็นไหม ธาตุรู้นั้นมันเป็นสิ่งที่ว่าฝังอยู่ในหัวใจ ใจตัวนี้จะกลั่นให้มันบริสุทธิ์ได้ จะบริสุทธิ์ตรงนี้ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์เบื้องบน ๕ ตัวอยู่ตรงนี้ทั้งหมดเลย รูปราคะ-อรูปราคะ รูปฌาน-อรูปฌาน ความว่างของใจเห็นไหม สิ่งที่ว่างเป็นอากาศธาตุ ว่างหมดเลย มันก็เป็นราคะ สิ่งที่เป็นราคะทำให้ติดได้ ใจนี้มาติดมาเสพอยู่กับตัวมันเอง โดยไม่รู้สึกตัวเลย สิ่งที่เป็นความว่างคืออรูปราคะ

“สมาบัติ ๘” สิ่งที่เป็นสมาบัติ ๘ เป็นความเวิ้งว้างอยู่ แต่เดิมประพฤติปฏิบัติเราต้องการความเวิ้งว้างมาก เราต้องการมาก เราต้องการสัมมาสมาธิมาก สิ่งนี้เป็นสัมมาสมาธิ แต่ทำไมเราต้องทำลายรูปราคะ อรูปราคะล่ะ ทำไมต้องทำลายสิ่งที่มันเป็นความว่าง สิ่งที่มันเป็นรูปฌาน รูปฌานในหัวใจนั้น เพราะมันเป็นสิ่งที่ติดอยู่ ใจนั้นมันติดอยู่เห็นไหม

มันเป็นสิ่งที่เวิ้งว้าง มันเป็นรูปของจิต ถ้าเป็นกายคือกายขั้นสุดท้าย กายอันละเอียดที่สุด เป็นรูปของกาย เป็นรูปของจิตที่มันคงอยู่ในหัวใจตัวนั้น มันปล่อยวางสิ่งอื่นหมดแล้วเหลือแต่ตัวมันเอง นั่นน่ะถ้าปฏิบัติผิดพลาดเข้าไป มันจะไม่เข้าไปจับต้องสิ่งนี้ มันจะเข้าใจว่าเพราะเราได้การฝึกฝนกับเรื่องของกามราคะ มันปล่อยมาแล้ว มันเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา เราก็จะอ้างผลตรงนั้นว่า เราปล่อยมาจนครบองค์ประกอบของการประพฤติปฏิบัติธรรม เป็นอริยสัจคือปล่อยวางหมดแล้ว กิเลสมันเสี้ยมสอนขนาดนั้น กิเลสมันละเอียดอ่อนขนาดนั้น

อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา มันไม่รู้สิ่งใดเลย แต่มันก็ปรุงมาในหัวใจ ไม่รู้จัก รู้แต่ความรู้สึกของมัน ไม่รู้ในเรื่องสัจจะความเป็นจริงเห็นไหม เราต้องพยายาม พอเข้าใจว่าสิ่งนี้ผ่องใส สิ่งนี้เศร้าหมอง สิ่งที่เป็นความว่างนี้มันต้องรักษา ผู้ที่ปฏิบัติขึ้นมานี่พยายามทำสมาธิขึ้นมา ทรงสมาธิไว้ ชำนาญในวสี ทำงานตลอดแล้วจะรักษาสิ่งนี้ไว้ พอมันเป็นความว่าง เดี๋ยวมันก็มีการเกิดดับในหัวใจ

สิ่งที่เศร้าหมอง สิ่งที่มันเป็นจุดเป็นต่อมเกิดในหัวใจนี้ มันเกิดได้อย่างไร เกิดความลังเลสงสัย เกิดว่าสิ่งนี้คืออะไร นี่ข่ายของปัญญาย้อนกลับ ถ้าข่ายของปัญญาย้อนกลับจับต้องตรงนี้ได้ จับต้องตรงนี้ได้คือจับต้องตัวจิตได้ ตัวจิตแท้ๆ โดยที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งใดเลย ตัวที่ปล่อยวางทุกอย่างมาหมดแล้ว เหลือแต่ตัวเองล้วนๆ ตัวเองล้วนๆ นั่นนะปัญญาญาณ ถ้าย้อนกลับปัญญาขึ้นมา ญาณของปัญญาจะย้อนกลับ

แต่ถ้าปัญญาอย่างหยาบมันก็ทำถึงตรงนี้ไม่ได้ ปัญญาอย่างขันธ์ใช้ประโยชน์ตรงนี้ไม่ได้ ปัญญาอย่างขันธ์ว่าละเอียดแล้ว ละเอียดเป็นชั้นๆ เข้าไปนะ แต่ปัญญาญาณนี้มันเป็นญาณหยั่งรู้ ย้อนกลับเข้าไปถึงจุดที่มันเป็นการเริ่มต้นของความรู้สึกนั้น แล้วทำลายกันตรงนั้น จบสิ้น.. จบสิ้นของการประพฤติปฏิบัติ

การประพฤติปฏิบัติต้องให้จิตนี้เพื่อความบริสุทธิ์ของใจ ใจนี้เศร้าหมองไปด้วยกิเลส กิเลสในหัวใจนี้มีมากมายมหาศาล แล้วในการประพฤติปฏิบัติของเรา มันเป็นงานที่ว่าทำจบแล้วจบกัน จะทุกข์ยากขนาดไหน มันสมควรทุกข์ยาก เพราะทุกข์ยากแล้วมันจบสิ้นกัน

งานของโลกเห็นไหม ชีวิตนี้ไม่เคยดับ จะเกิดตาย เกิดตายตลอดไป แล้วจะต้องทำงานอย่างนี้ตลอดไป งานที่เราสร้างขึ้นมานี่เราก็ว่าเป็นงานที่ทุกข์ยาก ที่เราต้องมาอาบเหงื่อต่างน้ำแบกหามทำกันอยู่นี่ เป็นงานประกอบสัมมาอาชีวะ แล้วเราก็ต้องมาเกิดมาสร้างกันอยู่อย่างนี้ตลอดไป

ชีวิตนี้เราต้องการสิ่งนี้ไหม ถ้าชีวิตนี้ต้องการสิ่งนี้ เราก็ไม่ต้องประพฤติปฏิบัติ เราเชื่อกิเลส กิเลสมันก็จะพาให้เราอยู่กับสิ่งนั้น แต่ถ้าเราจะไม่ต้องเกิดไม่ต้องตายอีกเลย แล้วมันมีสิ่งที่รับรู้อยู่ คือหัวใจที่รับรู้อยู่ ผู้รู้ที่โดนทำลายนั้น นั่นนะมันมีความสุขในหัวใจไง หัวใจพ้นออกไปจากสมมุติทั้งหมด เป็นวิมุตติล้วนๆ ในหัวใจนั้น ในหัวใจนั้นจะมีความสุข นั่นน่ะแล้วมันเป็นความสุขเห็นไหม

นี่บริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างนี้ บริสุทธิ์ในหัวใจ บริสุทธิ์เกิดขึ้นมาจากการประพฤติปฏิบัติ ต้องประพฤติปฏิบัติ

ถ้าไม่ปฏิบัตินี้ สิ่งนี้มันจะเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ ถ้าเกิดขึ้นมาลอยๆ นั้นก็เรื่องของกิเลสมันคาดฝัน กิเลสมันจะฝัน มันจะคาด มันจะหมาย ฝันเลยนะว่าจะเป็นอย่างนั้น ความคาดความหมาย ใจมันจะหมายไปว่า เมื่อนั้นเราจะเป็นไปตามความเป็นจริง ธรรมเราจะรู้ขนาดนั้น เราสะสม เราศึกษามา แล้วมันก็คาดหมายไปตามความคาดหมาย แล้วมันจะสมใจไหม มันจะไม่สมใจ เพราะชีวิตนี้วันเวลาจะล่วงไปๆ ชีวิตนี้พอเวลาล่วงไปนะมันจะหมด มันจะตายลง สิ่งที่ตายลงเราก็จะคิดว่า ถึงเวลามันจะตายขึ้นมา แล้วเราไม่ได้ชำระกิเลสเลย เพราะเราจะมีความกังวลกับสิ่งต่างๆ มาก เราจะทุกข์ร้อนกับสิ่งต่างๆ เราจะยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งต่างๆ แล้วเราก็ต้องพลัดพรากจากมันไปด้วยความทุกข์ร้อนอันนั้น แล้วความทุกข์ร้อนนั้นติดกับดวงใจไป เพราะมันเป็นขันธ์

สัญญาความจำได้หมายรู้ ขันธ์คือสังขารขันธ์ คือความคิด ความปรุง ความแต่ง มันเกิดดับ เกิดดับอยู่กับจิต มันก็ต้องตายไปกับจิตนั้น แต่เราประพฤติปฏิบัติ เราทำลายสิ่งนี้ขาดออกไปจากจิต ขาดออกไปจากจิตเป็นชั้นเป็นตอน มันก็ยังมีอยู่เพราะมันยังมีธาตุขันธ์อยู่ แต่เวลาตายออกไปแล้ว ขันธ์ตัวนี้มันจะไม่ไปกับจิตนี้ จิตนี้จะเป็นจิตล้วนๆ เห็นไหม จิตล้วนๆ ที่ไม่มีสิ่งใด ไม่มีธาตุขันธ์กับสิ่งนั้นเลย

เว้นไว้แต่เวลาออกไปแล้ว เว้นไว้แต่เวลากลับมาเห็นไหม ผู้ที่ว่าบริสุทธิ์ไปแล้ว ผ่านสมมุติก็ผ่านขันธ์ตรงนี้ ผ่านขันธ์ตรงนี้เข้ามาได้ ถ้าผ่านขันธ์เข้ามาเพื่อสื่อความหมายกับผู้ที่จะเข้าปัญญาญาณ จะไม่สื่อความหมายกับสิ่งที่ว่าเป็นหยาบๆ อย่างเรา หยาบๆ เราสื่อความหมายไม่ได้เห็นไหม

เวลาเรานอนหลับไป เวลาเราฝันถึงครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์มาสอนเราในฝันเห็นไหม เวลานั่งสมาธิภาวนา ถ้าใจเราสงบขึ้นมา ผ่านตรงนั้นได้ ใจที่บริสุทธิ์จะผ่านตรงนี้กลับมาสื่อความหมายกัน สื่อความหมายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

แต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็นโลก ไม่เป็นประโยชน์กับการประพฤติปฏิบัติ มันเป็นประโยชน์กับโลกเขา คนดีก็เป็นคนดี คนชั่วก็เป็นคนชั่ว คนดีอยู่ในโลกเขาจะไม่เป็นประโยชน์ได้อย่างไร มันเป็นประโยชน์แต่เป็นประโยชน์โลก ประโยชน์โลกมันก็เป็นการสะสมอำนาจวาสนาไป แล้วมันก็ต้องทิ้งไว้กับโลกเขา แล้วก็ตายไป

แต่เวลาประพฤติปฏิบัตินี้มันเป็นสมบัติส่วนใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะมีธรรมอันนี้ในหัวใจ แล้วจะเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์มหาศาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้องค์เดียวสอนสัตว์โลกไว้มหาศาลเลย ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ตรัสรู้ธรรม ผู้ที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปจะมีไหม จะไม่มีเลย ผู้ที่ทำได้ก็จะเป็นแค่พระปัจเจกพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรมเท่านั้น แต่สาวก สาวกะ ผู้ที่เดินตามจะไม่ได้ธรรมอย่างนี้

เรามีธรรมอยู่ในหัวใจของเรา เราถึงศึกษา เราถึงพยายามอยากประพฤติปฏิบัติในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือมีอำนาจวาสนาในหัวใจ หัวใจมันเปิด มันมีธรรม ธรรมคือมันเปิด มันยอมรับความเป็นจริง ยอมรับสิ่งต่างๆ ว่ามีความเป็นจริง ถ้ากิเลสมันมีอำนาจเหนือหัวใจ มันไม่มีธรรมในหัวใจ ธรรมนี้จะอ่อนลง แล้วมันจะไม่เชื่อไง

ความไม่เชื่อของใจนั้นคืออำนาจของกิเลส ถ้าความเชื่อของใจนี้คือธรรม ศรัทธาความเชื่อเห็นไหม ธรรมในใจของเรา มีธรรมในใจของเราแล้วเราจะสืบต่อไป ประพฤติปฏิบัติของเราเพื่อจะให้ถึงที่สุด ถ้าถึงที่สุดได้... คนนั้นมีอำนาจวาสนา ถ้าถึงที่สุดไม่ได้ก็เป็นการประพฤติปฏิบัติเพื่อปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ไว้แล้ว ผู้ที่จะทำบุญกุศลอย่างประเสริฐที่สุดคือการปฏิบัติบูชา เพราะปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็เท่ากับบูชาเรา เพราะผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้รู้คือเรา “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” ทำลายผู้รู้นี้ทั้งสิ้น ทำลายผู้รู้จนผู้รู้นี้ไม่มี ผู้รู้นี้ไม่มี เห็นไหม ผู้รู้นี้โดนทำลายไป นั้นคือถึงซึ่งวิมุตติ แต่เราปฏิบัติเพื่อผู้รู้ เพราะเรายังต้องเกิดต้องตายในวัฏฏะ สัจธรรม.. ผู้รู้นี้คือปฏิสนธิวิญญาณ

“จิตปฏิสนธิ” จิตปฏิสนธิวิญญาณนี้ไม่ใช่วิญญาณในขันธ์ ๕ จิตปฏิสนธินี้คือตัวผู้รู้โดยอวิชชาปกคลุมอยู่ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติไปแล้ว ทำลายวิญญาณตัวนี้ออกไป ทำลายขันธ์อันละเอียด ขันธ์สุดยอด ขันธ์อันที่เป็นปัจจยาการของใจออกไปจากใจ วิญญาณของใจไม่มี เป็นสักแต่ว่าธรรมธาตุ เป็นสักแต่ว่าธาตุรู้อันนั้นมันบริสุทธิ์ผุดผ่องเห็นไหม วิญญาณในขันธ์ ๕ ไม่เกิดกับใจดวงนั้น นั้นเป็นการทำใจให้บริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างนี้

ผู้ที่จะบริสุทธิ์ได้ ด้วยการปฏิบัติเท่านั้น การปฏิบัติบูชาถึงเป็นผลประโยชน์กับเรามหาศาล เราปฏิบัติบูชาขึ้นมาเพื่อให้ใจหมุนไปถ้ามีวิญญาณอยู่ ถ้าไม่มีวิญญาณอยู่ก็จบสิ้นในการประพฤติปฏิบัติ “ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ทำงานแล้วงานนี้มีการจบสิ้น งานนี้เป็นงานอันประเสริฐ เอวัง