เทศน์บนศาลา

ใจครองธรรม

๑๔ ต.ค. ๒๕๔๕

 

ใจครองธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๕
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ธรรมะจะเข้าถึงใจได้ ได้ครองใจ ถ้าเราได้ครองใจ ใจของเรา เราจะได้ครอง ใจของเรา เราไม่เคยได้ครองใจ ใจมันเป็นไปตามธรรมชาติของใจ ธรรมชาติของใจ ใจหมุนเวียนไปนะ ใจนี้สำคัญมาก เพราะใจนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยตาย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จีรังอยู่ตลอดไป แล้วก็เวียนตายเวียนเกิด

การเวียนตายเวียนเกิด เห็นไหม มันถึงไม่มีใครครองมันได้ไง สิ่งนี้ไม่มีใครสามารถครองได้เลย ใจนี้ไม่มีใครสามารถครองได้ มันเป็นไปตามอำนาจของมัน อำนาจของกิเลสพาไป พาสิ่งที่หัวใจนี้เวียนตายเวียนเกิดไปตามอำนาจของเขา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม แต่กว่าที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีมาตั้งแต่ ๔ อสงไขย แสนมหากัป ตามเวียนตายเวียนเกิดมาในวัฏวนนี้ ๔ อสงไขย แสนมหากัป แล้วยังต้องมา ๑๐ ชาติ ๑๐ ชาติสุดท้าย ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี สั่งสมบารมีมาเป็นชีวิตจิตใจทั้งชีวิตเลย เพราะอะไร เพราะช่วงนั้นไม่มีศาสนา ศาสนายังไม่เกิดขึ้นมานี่มันไม่มีศาสนา ต้องบำเพ็ญบารมีมาเพื่อจะให้เข้าถึงศาสนา ตัวศาสนาคือตัวธรรมไง ศาสนธรรม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาถึงปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ที่ชำระกิเลสได้ ผู้ที่สิ้นกิเลสไปในหัวใจ หัวใจนั้นถึงจะมีความสุขจริง เป็นความรู้จริงตามหัวใจนั้น แต่ในเมื่อหัวใจของเราก็มีอยู่ แต่ใจของเราโดนขับไสไปด้วยกิเลส สิ่งที่เป็นกิเลสคือสิ่งที่อยู่ในหัวใจของเรา มันขับไสเราหมุนเวียนไป แล้วเรามีอำนาจวาสนา เราต้องมีอำนาจวาสนามาก เราถึงเกิดมาพบพุทธศาสนา

ในเมื่อพุทธศาสนามีการสอนเรื่องการพ้นออกไปจากทุกข์ สิ่งที่จะออกไปจากทุกข์ได้ต้องทำด้วยตัวเองไง การทรมานใจของตัว ใจต้องทรมาน ถ้าไม่ทรมานปล่อยตามใจแล้ว ใจนี้จะไปตามอำนาจของเขา ตามอำนาจของความคิด

เรามีโอกาส เราได้ประพฤติปฏิบัติธรรม เราสร้างสมของเรามา เพื่อจะทำคุณงามความดี มันก็ยังออกนอกลู่นอกทาง การประพฤติปฏิบัติเราไม่ได้ผล เพราะเหตุใด เพราะว่าเราไม่มีความจงใจ หลักของใจไม่ดี ถ้าหลักของใจไม่ดี การประพฤติปฏิบัติจะไม่สมความปรารถนา เพราะการกระทำนั้น ทำแบบลุ่มๆ ดอนๆ

เพราะศาสนานี้มีแล้ว เรามีหลักการ ศีล สมาธิ ปัญญา มคฺค อริยสจฺจํ มรรคเป็นเครื่องดำเนิน แต่มรรคเครื่องดำเนินมันเป็นมรรคหยาบ-มรรคกลาง-มรรคละเอียด ความที่จะเป็นมรรคขึ้นมาได้ เราต้องสะสม เราต้องศึกษา ศึกษาขึ้นมาให้มันเป็นมรรคจากภายนอกขึ้นมา

มรรคจากการศึกษา สุตมยปัญญา ปัญญานี้ศึกษาใคร่ครวญเข้ามาแล้วต้องเริ่มต้นดัดแปลงตน ถ้าจะดัดแปลงตนนะ เรามีอำนาจวาสนาไหม ถ้าเราไม่มีอำนาจวาสนา เราจะไม่มีความคิดที่จะประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติน่ะ หัวใจ ความคิดออกประพฤติปฏิบัติเป็นอำนาจวาสนามาก เพราะเป็นการงานที่ว่า เราจับไปในอากาศ สิ่งที่เป็นอากาศ จับไปเรื่องของใจเรื่องในนามธรรม เราพยายามทำใจของเราให้สงบขึ้นมา เราต้องทำความตั้งใจขนาดไหนกว่าจะให้ใจสงบได้

แล้วเรื่องของใจ คนจะไม่สนใจเรื่องของใจเลย เรื่องของใจ เห็นไหม สนใจแต่อารมณ์ของใจ ไม่สนใจตัวของใจ ตัวของใจ คือตัวธาตุรู้ คือตัวความสงบของใจ ใจถ้าจิตของคนเราสงบขึ้นมาได้ มันจะมีความสุขของมันในหัวใจ แล้วจะเป็นเครื่องยืนยันว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ว่า เราน่าพยายามแสวงหา แต่เราไม่เคยเจอเรื่องของใจ เราไม่เคยเห็นใจของเรา แต่เราเริ่มเห็นอารมณ์ของใจต่างหาก เราเห็นอารมณ์ของใจ อารมณ์ความคิดต่างๆ แล้วเราติดแต่อารมณ์ความคิดของเรา สิ่งที่เป็นความคิดนั้นน่ะกิเลสพาคิดทั้งหมดเลย สิ่งที่กิเลสพาคิดย้อนออกไป

แม้แต่ศึกษาธรรมก็เหมือนกัน เราศึกษาธรรมขึ้นมาเพื่อจะประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้ก็พาออกไป พาให้เราท้อถอยนะ น้อยเนื้อต่ำใจในอำนาจวาสนาของตัว ทำแล้วไม่สมความปรารถนา น้อยเนื้อต่ำใจ น้อยเนื้อต่ำใจแล้วมันก็มีแต่ความทอนอำนาจ ทอนกำลังใจของตัว ทอนความพยายามของเรา ความพยายามของเราพยายามตั้งใจขึ้นมา มันจะมีแต่อำนาจนี่ทอนกำลังออกไป น้อยเนื้อต่ำใจว่า เราทำไม่ได้ เราทำไม่สมความปรารถนา แล้วก็หาคิดแต่เรื่องอาการของใจอย่างเก่า เพราะคิดแต่ออกไปเรื่องภายนอก เรื่องสิ่งต่างๆ

ชีวิตนี้เหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์...ทั้งชีวิตเลย เป็นพระเตมีย์ใบ้ เป็นพระต่างๆ ที่ว่าสร้างสมบารมีขึ้นมา สะสมบารมีขึ้นมาทั้งชีวิต นี่ไม่มีศาสนา แต่ด้วยการขวนขวาย ทั้งชีวิตนั้นก็พยายามขวนขวายสิ่งนั้นมาทั้งชีวิตเลย

แล้วชีวิตของเรา เราเพลินอยู่ในโลกเขา เราอยู่ในโลก เราหมุนเวียนไปในโลก เราคิดแต่ในโลก มันเป็นความทุกข์ยาก ถ้าพูดถึงความทุกข์ยากนะ ทุกข์ยากมาก ชีวิตนี้ ถ้าเอาความทุกข์มาเทียบกัน สิ่งใดๆ ก็เป็นทุกข์ แต่ในเมื่อเป็นโลกแล้วเราก็ต้องว่าสิ่งนี้พอทนไป สิ่งที่ทนไป แล้วอยู่อาศัย ต้องการความสมความปรารถนา เรื่องการประกอบอาชีพทางโลก ต้องการสมความปรารถนา ต้องการให้มันสมบูรณ์ในความเป็นจริง มันก็เป็นเครื่องอยู่อาศัยอยู่อย่างนั้น คิดออกไปสิ่งต่างๆ คิดออกไปเรื่องของโลก หมุนเวียนไปในโลก หมุนออกไปในอารมณ์ของตัวเอง

ชีวิตเหมือนกัน ถ้าชีวิตทางโลกก็เป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง แล้วเราประพฤติปฏิบัติออกบวช ออกมาเพื่อให้เป็นพระเป็นเณร ก็ใช้ชีวิตเหมือนกัน แต่ชีวิตในศีลธรรม ศีลเป็นเครื่องบังคับให้เราอยู่ในศีลในธรรม ถ้าอยู่ในศีลในธรรม เราพยายามทำใช้ชีวิตของเราอยู่ในศีลในธรรมมันก็พอเป็นไปคือชีวิตนี้มันเป็นไปได้ ความอยู่ในชีวิตนี้ทั้งชีวิตเลย ถ้าเราอยู่ในศีลในธรรมนี่เราจะเป็นไปได้

ความเป็นอยู่ อันนี้มันทุกข์ ทุกข์ตรงไหน? ทุกข์ตรงใจมันส่งออกไง คิดออกไปแต่เรื่องภายนอก คิดออกไปแต่การสร้างโลก คิดว่าโลก ชีวิตของโลกจะมีความสุขกว่า ชีวิตของโลกจะมีสมความปรารถนา มันจะผ่อนคลายอัดอั้นตันใจในความคิดของตัว กิเลสในใจของตัวมันปิดกั้นใจของตัว แล้วมันคิดตามความปรารถนาออกไป มันก็คิดออกไปข้างนอก

ถ้ามันคิดออกไปข้างนอก ชีวิตเหมือนกัน ชีวิตทางคฤหัสถ์ ชีวิตของเพศนักบวช นักบวชนั้นก็ต้องสละ ความคิดของเราจะออกประพฤติปฏิบัติ คำว่า “โอกาสของเรา” เราสร้างโอกาสของเรา เราถึงจะออกมาประพฤติปฏิบัติ แล้วออกมาประพฤติปฏิบัติแล้วเราได้บวชได้เรียนขึ้นมา เพื่อจะศึกษาธรรม เพื่อจะให้ธรรมเป็นหัวใจของเรา เพื่อจะได้ครองใจไง

ใจเราไม่เคยครอง สิ่งนี้ขับไสตลอด ขับไสหัวใจให้หมุนเวียนออกไปจากภายนอก มันเป็นเรื่องที่อยู่ในหัวใจของเรา แล้วเราบังคับไม่ได้ เราไม่เคยบังคับเรา เราไม่เคยทำความสงบของใจของเราเข้ามาได้ ถ้าเราบังคับไม่ได้ สิ่งนี้จะเผาลนตลอดไป จะเผาลนใจให้ใจเร่าร้อนตลอดไป ถ้าใจเร่าร้อน อันนั้นเป็นความทุกข์โดยปัจจุบันทันด่วน สิ่งที่เป็นปัจจุบันคือความเผาลนของใจนั้นเผาตลอดเวลา แต่เราไม่สามารถดับได้

แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามศึกษามา สิ่งที่ว่าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วนะ บารมีเต็มที่จะเป็นตรัสรู้ธรรมแล้ว ก็ยังมาศึกษาอีก ๖ ปี พยายามค้นคว้าของตัวเอง นั่นน่ะมันก็เหมือนกับร้อนด้วยไฟเหมือนกัน ขณะที่พยายามประพฤติปฏิบัติอยู่นั้น ความเร่าร้อนของใจ กิเลสมันเผาใจแน่นอน จนกว่าอำนาจวาสนาบารมีออกมา ว่าสิ่งที่ศึกษา ไปศึกษากับเขามานั้นมันเป็นการวนอยู่ในโลกทั้งหมด มันเป็นโลกียะ เป็นเรื่องของโลก จะสงบแค่ไหน อาฬารดาบส อุทกดาบสสอนสมาบัติ ๘ มันก็เป็นสมาบัติ ๘ อยู่ในหัวใจอย่างนั้น มันก็เกิดดับๆ ในหัวใจ นี่มันวนอยู่ในโลก สิ่งนี้เป็นโลก โลกเพราะอะไร

เพราะในวัฏวนนี้จิตใจนี้วนอยู่ในวัฏฏะ ถ้าทำสมาบัติได้ ก็เกิดเป็นพรหม มันไม่ไปพ้นออกไปจากกิเลสได้ มันอยู่ในวังวนของโลก ๓ รูปโลก อรูปโลก ภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สิ่งนี้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นวัฏวนอยู่ในหัวใจอย่างนั้น เป็นเรื่องของโลกียะ เรื่องของโลกเขา เวียนไปเวียนมาอย่างนั้น ถึงว่าสิ่งนั้นมันเป็น มันพ้นไปไม่ได้

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสะสมบารมีมา สร้างสมบารมีมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบารมีเต็มมาต่างหาก ถึงสยัมภูตรัสรู้ด้วยตนเอง ต้องขวนขวาย ตรัสรู้ด้วยตนเอง พ้นออกไปจากกิเลสด้วยหัวใจของตัวเอง นั่นน่ะดับความร้อนของใจได้มันก็มีความสุขร่มเย็นในหัวใจ ในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมแล้ววางธรรมไว้

เราถึงว่ามีอำนาจวาสนา เราไม่ต้องไปขวนขวาย เราเองเราต้องย้อนกลับว่า อย่างพวกเราไม่เคยสร้างสมบารมีไว้หรือ ถ้าไม่เคยสร้างสมบารมีไว้ จะมีความคิดมีความฝักใฝ่ จะออกประพฤติปฏิบัติไหม เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ลึกลับมาก ลึกลับเพราะมันอยู่ในหัวใจของเรา แม้แต่โจรขโมยลักของเขา เราตามไปเรารู้ว่าใครเป็นใคร เราพยายามจับตัวขโมยได้ มันจะจบสิ้นกันตลอดไป

แต่เราจะยอมรับมันไหมว่าหัวใจของเรา มันมีความทุกข์อยู่ในหัวใจ มีอวิชชาอยู่ในหัวใจ ในหัวใจของเรามีสิ่งหนึ่งที่เราต้องเปลี่ยนแปลงได้ คนเราเกิดมาต้องตายหมด เจ้าชายสิทธัตถะเห็นยมทูตทั้ง ๔ เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันเป็นคติเตือนใจให้ออกว่า สิ่งที่เป็นตรงกันข้ามนี้ก็ต้องมี สิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันต้องมี สิ่งใดมีการเกิดขึ้นแล้วมันมีการดับสลายไป มันต้องมีฝ่ายตรงข้าม สิ่งที่ตรงข้าม ยังฉุกใจคิดได้ อย่างนั้นยังเป็นธรรมขึ้นมา

สิ่งที่เป็นธรรม เห็นไหม ในพระไตรปิฎกเวลาศึกษาไปแล้ว ไม่มีใครจะเชื่อนะ เวลาอย่างเช่นจะออกบวช มองไปนางสนมนี่นอนเหมือนซากศพ นั่นน่ะว่าเป็นไปไม่ได้ ผู้ที่ไม่เคยประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ไม่เคยใจสงบ ผู้ที่ไม่เคยวิตกวิจาร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะมีความทุกข์มาก มีการไตร่ตรองมาก มันเป็นคำบริกรรม มันเป็นการสิ่งที่ว่า ควบคุมใจอยู่แล้ว แล้วมาเห็นสภาวะแบบนั้น มันเบื่อหน่าย มันถึงจะหาทางออก ออกมาเพื่อจะแสวงหาของตัวเอง จนพ้นจากกิเลส จนมีธรรมในหัวใจ ฆ่าเชื้อในกิเลสออกไปทั้งหมดเลย แล้ววางธรรมไว้

เราต้องมีอำนาจวาสนา แล้วมีอำนาจวาสนาว่า เป็นสาวกะเป็นสาวกผู้ที่ว่าเดินตามก็จริงอยู่ สิ่งนี้เป็นเดินตามจริงอยู่ แต่เราไม่ต้องทุกข์ขนาดที่ว่า ต้องสร้างสมบารมีมาขนาดที่ว่า ต้องขวนขวายเอง เห็นไหม เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านะ ต้องสร้างสมบารมีมา แต่สาวกะ-สาวกผู้เดินตาม เป็นผู้ที่จะชุบมือเปิบ หมายถึงว่า ตำรับตำรา วิชาการมีอยู่แล้ว เราเพียงแต่เราทำตามสมให้จริงตามนั้น เราจะได้ธรรมตามนั้นแน่นอน

ถ้าเราเชื่อธรรม เราต้องเชื่อธรรม เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่หูตาสว่าง เราเป็นคนตาบอด ถ้าเราคนตาบอด จิตมันบอด มันบอดมันถึงว่า พยายามเถียงไง พยายามค้นคว้าหาทางออกของตัวเอง คิดว่าตัวเองรักตัวเอง ตัวเองเป็นผู้ที่รักตัวเองมาก สงวนตัวเองมาก จะหาความดีให้ตัวเอง เห็นไหม คิดแต่สร้างโลก คิดแต่เรื่องออกไปจากภายนอก

มันจะเป็นสร้างโลกไป มันก็เป็นของชั่วคราว สิ่งนั้นมันก็ต้องสิ้นสลายไปเป็นธรรมดา ชีวิตนี้ต้องถึงพลัดพรากเป็นที่สุด ชีวิตนี้ต้องตายเป็นที่สุด เราต้องตายจากโลกนี้ไปแน่นอน แล้วสิ่งที่เราไปสร้างนั้น คุณงามความดีเทียบค่ากันแล้ว สิ่งนั้นเป็นคุณงามความดีไหม

เรื่องของการสร้างโลก โลกียะ โลกียารมณ์ เรื่องของการสร้างธรรม เรื่องการสร้างธรรมดับการเกิด การแก่ การเจ็บ การตายในหัวใจของเรา ดับสิ่งนี้ได้ ไม่เกิดอารมณ์ ไม่เกิดไฟเผาตัวเอง สิ่งที่เกิดดับๆ มันเป็นไฟเผาตัวเอง นี้เป็นอาการของใจ เราเข้าถึงอาการของใจ แล้วเราจับอันนี้ไม่ได้ เราถึงต้องเป็นขี้ข้า

เราเป็นขี้ข้าของกิเลสในหัวใจของเรา หัวใจของเราเรียกร้องความช่วยเหลือ เรียกร้องความต้องการพ้นออกจากทุกข์นะ ใจนี่อยากบริสุทธิ์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่โดนบังคับขับไสแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นจะต้องการความเป็นอิสระเสรีภาพ ไม่มีใครอยากเป็นขี้ข้าหรอก

แต่เรื่องเป็นความจริงนี้ จิตนี้ หัวใจเรานี้ อยู่ใต้อำนาจของอวิชชา อวิชชานี้ขับไส แล้วบังคับขับไสให้เป็นไปตามอำนาจของเขา คิดก็คิดเพื่อความตัณหาทะยานอยาก สิ่งที่คิดนั้นต้องเป็นความคิด ความตัณหา ความทะยานอยาก อยากในหัวใจ มันอยากคิด สิ่งใดๆ มันอยากคิด อยากเห็น อยากจินตนาการ มันก็จินตนาการไปตามอำนาจของเขา สิ่งที่อำนาจของเขา จินตนาการไป แล้วเราก็เชื่อ แล้วเราก็พยายามย้ำคิดย้ำทำ ให้สิ่งนั้นเป็นเรื่องว่าเป็นไฟเผาใจ แล้วก็เผาอยู่อย่างนั้น แล้วคิดอยู่อย่างนั้น

ชีวิตนี้มันมีความพลัดพรากเป็นที่สุด ชีวิตนี้มีความตายเป็นธรรมดา สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ตายธรรมดา เราทำไมไม่แก้สิ่งนี้ ถ้าเราแก้สิ่งนี้ สิ่งนี้ดับไปในหัวใจแล้ว สิ่งต่างๆ นั้นมันมีอยู่โดยดั้งเดิม เห็นไหม เรื่องของโลกมีอยู่โดยดั้งเดิม โลกที่เขาเจริญกว่าเรานี้เขาก็มีอยู่โดยของเขาอยู่แล้ว ประเทศชาติที่เขาเจริญกว่านี้ เขาก็เจริญกว่านี้ แต่เจริญขึ้นมาแล้วเขาได้อะไรขึ้นมา เขาก็ต้องสร้างสมโลก แล้วเขาก็ต้องเวียนตายเวียนเกิด เขาก็ตายเกิดๆ มาใช้สมบัติเก่าเขา เขาก็ยังไม่รู้ตัวของเขาเลยว่าเขาทำอะไรของเขา สิ่งนั้นเป็นเรื่องของเขา เรื่องของเขานั้นเป็นเรื่องคติเตือนใจ

เรื่องของเรา เราต้องแก้ไขของเรา ย้อนกลับเข้ามาถึงหัวใจของเรา เราพอใจในความเป็นอยู่ของเรา พอใจในการประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้ามีความพอใจในการประพฤติปฏิบัติของเรา ความเพียรมันจะเกิดขึ้น สิ่งที่ความเพียรอันนี้ มันจะเริ่มชำระกิเลส ความแก้ไขกิเลสนี้มันต้องอาศัยความเพียร อาศัยความมีสติ แล้วย้อนกลับเข้ามาดูหัวใจของเรา ถ้าดูหัวใจของเรา

“ได้ครองใจ” ถ้าได้ครองใจ ใจมันจะสงบขึ้นมา เราจะได้ครองใจส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งเป็นการยืนยันว่าเราต้องทำได้ ถ้าเราทำสิ่งนี้ได้ ความทุกข์ดับลงชั่วคราว ความทุกข์ที่ไฟเผาหัวใจมันเผาตลอดไป เพราะมันเป็นฟืนเป็นไฟ มันเป็นกิเลส มันเผา

แต่ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา ฟืนไฟอันนั้นมันจะดับลง ความร้อนของไฟที่เผาใจอยู่ตลอดเวลา กับความร่มเย็นของใจ มันต่างกันโดยธรรมชาติอันนั้น นี้คือปัจจัตตัง ใจที่เข้าไปสัมผัส จะสัมผัสความเป็นจริงของใจ ใจสัมผัสความเป็นจริง ใจจะมีความสุขขึ้นมา

ความสุขพอ พอที่เครื่องอยู่อาศัย อาศัยความโลกนี้ไป มันจะสุขขึ้นมาขนาดไหนมันก็ตกอยู่ในวงของอนิจจัง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา” สิ่งนี้แปรสภาพตลอดเวลา

ความเห็นของเราก็แปรสภาพ เรา สิ่งใดที่เป็นของใหม่ คิดใหม่ เห็นใหม่ นี่เป็นของใหม่ มีแต่ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมไปตามความคิดนั้น ความคิดนั้นพอคิดบ่อยครั้งเข้าๆ มันก็เบื่อหน่าย แล้วก็มีความคิดใหม่ ความคิดใหม่ ของใหม่ขึ้นมา สิ่งใดเป็นของใหม่? มันไม่มีของใหม่ มันเป็นของเก่าทั้งนั้นล่ะ แต่มันปรุงแต่งใหม่ แล้วมันเอามาคิดใหม่ เริ่มต้นหมุนเวียนใหม่

ชีวิตนี้มีการเกิดมา มีการพลัดพรากเป็นที่สุด มันเกิดมันตายมาตลอด แล้วความคิดอันนี้ มันไม่เคยมีมาหรือ

ชีวิตนี้ก็เป็นของเก่า สิ่งที่เป็นของเก่า เวียนมาถึงปัจจุบันนี้ ปัจจุบันนี้แล้วเรามาพบพุทธศาสนา ในศาสนานี้สอนเรื่องการให้เราย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาๆ ให้เรื่องของใจ เราถึงได้เข้าใจไง ถ้าไม่มีศาสนาเราจะเข้าใจเรื่องของใจไหม? เราจะไม่เชื่อสิ่งใดๆ เลย ถ้ามันเป็นธรรม แต่ถ้าเป็นความกิเลสมันขับไส มันพยายามคิดออกมานี่จะเชื่อสิ่งนั้นหมดเลย

คนเรามันเกิดมา มันมาจากไหน? มันมาจากกรรม แม้แต่คนเราเกิดมายังมีสถานะไม่เหมือนกัน เกิดมาในพ่อแม่เดียวกันก็ยังมีความเห็น มีสถานะมีความคิดต่างๆ กันไป นี่กรรมมันขับไสมาขนาดนั้น ยังที่ว่าเกิดมาชาตินี้ชาติเดียว ใช้ชีวิตนี้ให้สมความปรารถนา อย่าให้มันทุกข์ยากจนเกินไปนักเลย

เวลามันทุกข์ยากนะ เวลาจิตมันคิดมันเผาลนใจ มันทุกข์ยากมาก มันอยากหาทางออก หาทางออกไป ออกไปไหน? ออกไปสู่อย่างนั้น ออกไปในวัฏฏะ มันออกไปในโลก มันก็เวียนไปเป็นโลกอย่างเก่า มันก็หมุนไปตามประสาโลกอย่างนั้น มันหมุนไปตามโลก มันก็เวียนไปตามโลก จิตนี้ก็หมุนตามไป เป็นขี้ข้าของกิเลสขับไสไป ไม่มีวันที่สิ้นสุด ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่มีต้นไม่มีปลาย ชีวิตนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย ขับไสไปอย่างนั้น แล้วชีวิตก็เป็นแบบนี้ เป็นทุกข์ร้อนอยู่อย่างนี้

เราจะเห็นความทุกข์แล้ว มันถึงว่าน่าสลดใจ สลดใจว่า คนเราเกิดมา มันก็มีสถานะเท่านั้น ถ้าเราทนสิ่งนี้ได้ เราทำสิ่งนี้ได้ มาประพฤติปฏิบัติมันจะไม่สมความปรารถนา มันก็ตัดรอนภพชาติให้สั้นเข้ามา ภพชาตินี้จะสั้นเข้ามาในการตัดรอนของการปฏิบัติธรรม

ธรรม เห็นไหม “กรรมดี” ผลของมันต้องให้เป็นคุณงามความดีกับใจ สิ่งที่เราสะสมขึ้นมา เราทำคุณงามความดีขึ้นมา เราศึกษาธรรมขึ้นมา เราควบคุมใจของเราขึ้นมา ใจมันต้องเป็นปกติ ถ้าใจมันปกติขึ้นมา นี่สะสมความปกติของใจ

“เนกขัมมบารมี” ออกบวชขึ้นมาถึงจะเป็นเนกขัมมบารมีหรือ? ใจมันต้องออกบวชใจด้วย ถ้ามันบวช ออกบวชแต่ร่างกาย หัวใจมันยังไม่ได้บวช มันเผาลนของเรา ถ้ามันปฏิบัติ มันมีศีลขึ้นมาในหัวใจขึ้นมา ความสงบของใจขึ้นมา นั่นน่ะ เนกขัมมบารมี มันไม่เผาลนใจ มันสงบเสงี่ยมในหัวใจของคนนั้น ใจนี้จะร่มเย็นเข้ามาๆ

บวชร่างกายแล้วก็บวชหัวใจ การบวชหัวใจ เห็นไหม บวชขึ้นมาให้พ้นจากกิเลสให้ได้ บวชให้มันพ้นออก มีความบริสุทธิ์ของใจ ถ้าใจนั้นมีความบริสุทธิ์ของใจ จะต้องมี มคฺค อริยสจฺจํ การแก้ไขมันจะเกิดขึ้นลอยๆ ไม่ได้ มันจะเป็นไปตามความนึกคิดของเราว่า อยากบริสุทธิ์ อยากจะมีความสุข แล้วมันจะเป็นสมความคิดของเรา อันนี้มันการคาดการหมาย สิ่งที่การคาดการหมายก็คาดหมายไปตามความเห็นของเรา ความเห็นของกิเลสก็คาดหมายไป คำว่าธรรม ว่าธรรม ก็ได้ยินอยู่ คำว่า “ธรรม” เป็นอยู่ แล้วเราประพฤติปฏิบัติธรรม ก็จะให้สมควรแก่ธรรม นั่นน่ะมันเป็นการคาดหมาย

ถ้าการคาดหมาย มันก็เป็นสิ่งที่ว่า เราจะมีอำนาจวาสนาไหม มันก็ตั้งประเด็นขึ้นมาให้เราคิดให้เราไตร่ตรองตามอำนาจของกิเลส มันก็ลังเลสงสัยเกิดขึ้นมา เราประพฤติปฏิบัติไปเลย วางไว้ เราต้องเชื่อ ในเมื่อเราเชื่อตัวเองไม่ได้ เราไม่คิดตามความเห็นของเรา เราต้องเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้เราก้าวเดินตาม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านพ้นไปก่อน รู้ธรรมอันนั้นก่อน ความสุขอันนั้นเกิดขึ้นมาก่อน แล้วเราผู้เดินตามขึ้นมา ประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าสมควรแก่ธรรมนี่ย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาตลอด ทวนกระแสตลอด ถ้าไปตามโลกมันก็ไปตามกระแสโลก โลกจะหมุนออกไปก็เรื่องของโลก แล้วก็หมุนออกไปก็เรื่องของโลก นั่นน่ะเราเห็นแต่อาการของใจ อาการของใจเกิดขึ้นอย่างนี้ เกิดขึ้นจากเรา แล้วก็เผาลนเราตลอดไป ไม่มีความสงบของใจเข้ามา

คำบริกรรมเกิดจากความคิด ถ้าอารมณ์มันเสวยอาการของใจนั้นเป็นความคิดทั้งหมด เพราะอะไร เพราะใจนี้มันไม่เคยเห็นธรรม ไม่เข้าใจคำว่าธรรม คำว่าธรรม ว่าธรรมที่ศึกษามาในปริยัตินั้น เราศึกษามา ศึกษามามันเป็นการคาดการหมาย แต่ความเป็นจริง ปัจจัตตังในหัวใจของเรา มันจะปล่อยวางสิ่งนี้ได้ ถ้าปล่อยวางสิ่งนี้ได้ เราเอาคำบริกรรมเข้าไปเปลี่ยนอาการของใจเลย จิตหิวโหย มันกินอารมณ์ตลอดเวลา ธรรมชาติของเขา มันต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว

ขันธ์กับจิตทำงานระหว่างกัน แล้วกิเลสอยู่ในส่วนนั้น ก็ยึดมั่นถือมั่นความเห็นของเรา สิ่งนี้ตลอดไปว่าสิ่งนี้เป็นธรรมชาติ แก้ไขไม่ได้มันเป็นธรรมชาติแล้ว เราก็พอใจ นี่เป็นความคิดยอมจำนนไง ความคิดนี้ กิเลสมันให้ยอมจำนน ยอมจำนนกับสถานะที่ว่า ธาตุขันธ์มันมีอยู่โดยธรรมชาติของเขา มันเกิดดับอย่างนี้ สิ่งนี้มันทำให้เป็นเรื่องสื่อความหมาย เป็นให้เรื่องของโลกนี่สื่อความหมายการเข้าใจกัน เรื่องของธาตุขันธ์ เรื่องของความคิด แต่สิ่งนี้เราพลิกขึ้นมาได้ พลิกจากเรื่องของโลกให้เป็นเรื่องของธรรมได้

ถ้าพลิกจากเรื่องของโลกมาเป็นเรื่องของธรรม เราจะเริ่มเห็นธรรมขึ้นมา ถ้าเราไม่พลิกจากเรื่องของโลก ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมชาติ สิ่งนี้เป็นเรื่องปกติที่อาการของมัน ยอมจำนนแล้วก็ไหลตามความคิดเห็นอาการของเรา นี่เราเป็นทาสของความคิด เราเป็นทาสของกิเลสตลอด เราถึงว่าไม่เคยได้ครองธรรมในใจ

ถ้าใจครองธรรมขึ้นมา เริ่มความเห็นต่างแล้ว ความเห็นต่างว่า สิ่งนี้มันเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งนี้เราต้องทำได้ เราทำคำบริกรรมของเรา เราสร้างคำบริกรรมของเราขึ้นมา เราตั้งคำบริกรรมของเรามาพร้อมกับสติ สติตั้งมั่น ถ้ามีสติอยู่ งานนี้เป็นงาน งานในการประพฤติปฏิบัติขาดสติไม่ได้เลย ถ้าขาดสติไปมันก็จะไปตามอาการของกิเลส เพราะกิเลสมันอยู่ในหัวใจ “อยู่ในหัวใจ” แล้วมันอยู่กับใจตลอดไป มันขับไสไปตามอำนาจของกิเลสอย่างนั้นตลอดไป สิ่งนี้มีอยู่ ถ้าสติเราอ่อนด้อยขึ้นไป นี้กิเลสก็ทำงานทันที ถ้ากิเลสทำงานมันก็ทำให้เราไม่สมความปรารถนา

คำบริกรรมของเรา เปลี่ยนอาหารของใจ ใจหิวโหยมาก ถึงได้อยู่กับธาตุขันธ์ สิ่งนี้กินอย่างนี้ตลอด เป็นอะไร กินอารมณ์เป็นอาหาร กินความคิดของเรานี่เป็นความคิดออกไป กินอาการของใจโดยธรรมชาติของเขา เห็นได้เท่านี้ ความเห็นของเราเห็นเท่านี้ แล้วก็คิดว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐเลอเลิศ มันเป็นความคิดหยาบๆ ในเมื่อเป็นความคิดหยาบๆ เพราะใจเรามันยังหยาบ ถ้าใจเรายกขึ้นละเอียดขึ้นไป มันจะเห็นว่า ความคิดอย่างนี้พลิกแพลงได้ ความคิดนี้ให้กำหนดพุทโธได้

ถ้ากำหนดพุทโธๆ คำบริกรรมอยู่ มันต้องอยู่ สิ่งนี้ต้องอยู่โดยสัจจะ ในเมื่อมีมืดมีสว่าง ในเมื่อมันมีความฟุ้งซ่าน มันก็ต้องมีความสงบของใจได้ ใจนี้จะสงบได้ ถ้ามีคำบริกรรม คำอาหารใหม่เข้าไป ไม่คิดตามอาการของใจเข้าไป ถ้าคิดตามอาการของใจนี้มันเป็นโลกียะ สิ่งที่เป็นโลกียะ เป็นหมุนออกไปตามโลก แล้วมันเป็นอาการที่ว่า มันเคยสัมผัสกันมาอย่างนั้น สิ่งนี้อยู่กับใจมาตลอดเวลา ใจเคยคิด เคยฟุ้งซ่านตลอดเวลาโดยธรรมชาติของเขา ธรรมชาติของเขาทำงานอย่างนี้ ทำมาตลอดเวลา แล้วเราก็เคยชินกับเขา สิ่งนี้มันเข้ากันได้ กิเลสกับใจนี้เข้ากันโดยธรรมชาติของเขา หมุนเวียนออกไปเลย

แต่คำว่าธรรม ว่าธรรม คำบริกรรม พุทธานุสติ เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งให้ใจเกาะเกี่ยวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทโธๆๆ เพื่อเป็นอาหารของใจ ให้ใจได้กินอาหารสิ่งนี้แทน ถ้ากินอาหารสิ่งนี้แทนขึ้นมานี่ อาการของใจมันต้องอิ่มเต็มได้ อิ่มเต็มด้วยคำบริกรรม บริกรรมพุทโธๆ ไปจนพุทโธเริ่มจะขาดหายไป

สิ่งที่จะขาดหายไป ขาดหายไปจนพุทโธกับใจนี้เป็นอันเดียวกัน สิ่งที่เป็นอันเดียวคือเป็นสัมมาสมาธิ จิตนี้สงบปล่อยคำบริกรรมพุทโธๆ ได้ เริ่มต้นต้องคิดขึ้นมาก่อน มันจะเป็นความคิด พุทโธเท่านี้หรือจะสามารถชำระกิเลสได้ พุทโธนี้แหละเป็นพุทธานุสติ

เวลากำหนดใจขึ้นมา ใจต่างหากเป็นผู้ที่ชำระกิเลส คำว่า “พุทโธ” นี้ เป็นอาการของใจ แล้วใจ พอเวลาสงบเข้ามาจะเป็นพุทโธโดยเนื้อหาสาระ ใจนี้เป็นพุทโธขึ้นมาโดยธรรมชาติของใจเลย ใจจะเป็นการปล่อยวาง ว่างทั้งหมด “สักแต่ว่ารู้” ถ้าปล่อยวางสิ่งต่างๆ ได้ ปล่อยวางแม้แต่คำว่าพุทโธ พุทโธนี้เป็นเครื่องอาศัยก่อน เป็นที่เกาะเกี่ยวไป เกาะเกี่ยวไปจนถึงเนื้อของใจ ถ้าถึงเนื้อของใจแล้ว ใจนี้จะเป็นพุทโธโดยเนื้อของใจ

พุทโธ ผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบาน หัวใจเป็นผู้ตื่น มันจะสว่างไสว มันจะรู้ของมัน ในหัวใจของมัน นี่ผู้ที่ตื่นจากกิเลส ตื่นจากกิเลส แต่ต้องชำระสะสางให้กิเลสตายออกไปจากใจ สิ่งที่ตื่นขึ้นมานี่เป็นอิสระเสรีภาพขึ้นมาชั่วคราว ชั่วคราวเพราะจิตสงบ เราต้องรักษาไว้ สิ่งนี้ต้องรักษาไว้ ถ้าไม่รักษาไว้มันเสื่อมสภาพโดยธรรมดาของมัน

เกิดขึ้นมาจากเรามีสติ แล้วเราพยายามกำหนดพุทโธขึ้นมา ตั้งสติ ล้มลุกคลุกคลานขนาดไหนก็ทำ เพราะเราจะครองธรรมในใจ เราได้ครองธรรมในใจ เราจะเป็นผู้ที่ว่ามีธรรมในหัวใจ สัมมาสมาธินี้เป็นธรรม เห็นไหม ธรรมส่วนหนึ่ง พุทโธๆ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ในหัวใจของเรา ถ้าหัวใจของเรา เราได้ครองใจของเรา ใจของเรา เราควบคุมได้ มันจะเริ่มเป็นการเป็นงานขึ้นมา

สิ่งที่เป็นการเป็นงานขึ้นมา สงบขึ้นมาเพราะเราใช้คำบริกรรมเข้ามาแล้ว มันสงบขนาดไหน เราต้องยกขึ้นวิปัสสนา ให้เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม สิ่งที่เป็นกาย เวทนา จิต ธรรมนี้เป็นเห็นสติปัฏฐาน ๔ ฐานที่ควรแก่การงาน

งานของเรา เราได้ครองธรรม “ใจได้ครองธรรม” ครองธรรมขึ้นมาเพราะใจมันจะเป็นธรรม สิ่งที่ใจ เห็นไหม เวลากำหนดพุทโธขึ้นมา เวลาจิตมันสงบเข้ามา มันเป็นสัมมาสมาธิ มันปล่อยสิ่งต่างๆ เวิ้งว้าง ว่างหมดเลย ว่างขนาดไหนมันก็เป็นสัมมาสมาธิ แต่กิเลสมันซุกอยู่ในความว่าง

“น้ำใสแล้วจะเห็นตัวปลา” ตามพระไตรปิฎกว่าไว้อย่างนั้น จิตนี้สงบแล้วเราจะเห็นกิเลส สิ่งที่เห็นกิเลส กิเลสมันเป็นน้ำที่ใสกว่า มันก็สงบเข้าไปในหัวใจเราแล้ว เราต้องพลิกแพลงเข้าไป “น้ำใสแล้วเห็นตัวปลา” กิเลสมันก็ใส ใสยิ่งกว่าน้ำนั้น ซุกอยู่ในนั้น เราต้องพลิกแพลง พลิกแพลง

“สติปัฏฐาน ๔” เห็นสติปัฏฐาน ๔ คือกิเลสมันอาศัยสิ่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย อาศัยสิ่งนี้ออกย่ำยีหัวใจ สิ่งที่หัวใจ หัวใจก็ไม่เคยเข้าใจสิ่งนี้เลย ให้ยึดมั่นถือมั่นสิ่งนี้เข้าไป แล้วก็ล้มลุกคลุกคลาน กลิ้งไปกับอารมณ์ความคิดนะ ความคิดกับหัวใจจะกลิ้งไปกับสิ่งนี้ สิ่งนี้จะหมุนเวียนออกไป ตามอำนาจวาสนาของเขา เขามีคิดขนาดไหน คนแต่สติสัมปชัญญะต่างๆ เรามีสติแล้วเรายับยั้งได้ เรามีความละอาย มีความคิด มีความเกรงกลัว เกรงกลัวในการประพฤติปฏิบัติ ในการทำความผิดพลาด

แต่เวลาเราเกรงกลัว เราเกรงกลัวเฉยๆ แต่เวลามันเกิดขึ้นกับเรา เราไม่สามารถยับยั้งได้เลย เพราะเขามีอำนาจเหนือกว่า สิ่งที่มีอำนาจเหนือหัวใจ มันถึงปกครองหัวใจของเรา จนพาเกิดพาตายมาทุกภพทุกชาติ ความเกิดความตายขึ้นมา เกิดตายมาตลอด นั่นเป็นการเกิดตายในสถานะของภพชาติ แล้วความเกิดความตายในความคิดล่ะ

สิ่งที่เป็นความเกิดความตายในความคิด ความคิดนี้เกิด อารมณ์นี้เกิดตลอด สิ่งที่เกิดเป็นอารมณ์ เห็นไหม เกิดเป็นอารมณ์ดีก็เกิดดี เกิดดีก็มีความสุข เกิดเป็นความอกุศล เกิดเป็นความคิดทุกข์ยากในหัวใจ เราก็มีความเร่าร้อนในหัวใจ สิ่งที่เกิดดับนี้เราก็สามารถแก้ไข ปลดเปลื้องความเกิดดับของใจ ใจมันก็สงบตั้งมั่นเข้ามา สงบตั้งมั่นเข้ามา บ่อยครั้งเข้าๆ จนเป็นสัมมาสมาธิ

สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธินี้ เราถึงต้องพยายามใคร่ครวญ เราพิจารณาเข้ามาแล้ว มันจะปล่อยวางขนาดไหนเข้ามา ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราความใคร่ครวญของจิต จิตใคร่ครวญความคิดของเรา ย้อนกลับเข้ามา มันจะปล่อยวางสิ่งนั้นเข้ามาๆ สิ่งนั้นปล่อยวาง แล้วจะเวิ้งว้างขนาดไหน

สิ่งใดถ้ามันจับต้องได้ สิ่งใดถ้ามันสะเทือนใจได้ สิ่งนั้นเป็นที่อยู่ของกิเลส สิ่งที่กิเลสอยู่คืออยู่ในหัวใจ หัวใจเป็นภวาสวะ สิ่งนี้จับต้องได้ ถ้าคนมีความคิดไตร่ตรอง มีความใคร่ครวญเสียหน่อยหนึ่งนะ จะเห็นตรงนี้ได้ ถ้าเห็นตรงนี้ได้ สิ่งนี้จับต้องได้ สัมมาสมาธิใครรู้สึก สิ่งที่เป็นความรู้สึกนี้ มันรู้สึกการปล่อยวางเข้ามาใช่ไหม แล้วเป็นหนึ่งเดียว จะไม่ให้ติดในสัมมาสมาธิ ถ้าติดในสัมมาสมาธินี่ ความสงบ ทุกคนสงบแล้วปล่อยวางเข้ามา เวิ้งว้างมาก มีความสุขมาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเรื่องความว่าง หัวใจว่างนั้นเป็นความสุข เป็นการพ้นจากกิเลส

กิเลสอยู่ในวงการประพฤติปฏิบัติ เราประพฤติปฏิบัติ เราว่าเราจะฆ่ากิเลส กิเลสมันก็ขับไส กิเลสมันก็เสี้ยมให้เราล้มลุกคลุกคลานไป เห็นไหม เราจะเป็นประโยชน์กับเราขึ้นมา ถ้าเป็นประโยชน์กับเราขึ้นมา ความปล่อยว่างเข้ามาขนาดไหน การปล่อยวาง มันเป็นสิ่งใดที่เป็นการบอกเหตุว่าเราได้ชำระกิเลสบ้าง...เราไม่ได้ชำระกิเลสเลย

สิ่งที่เราชำระกิเลสนี้ เราต้องพลิกแพลงขึ้นมา จนเป็นสติปัฏฐาน ๔ ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ๔ เห็นไหม กายก็ได้ เวทนาก็ได้ จิตก็ได้ ธรรมก็ได้ ธรรมารมณ์ ความคิด ความคิดที่มันปล่อยวางเข้ามานั้นปล่อยวางเข้ามาเฉยๆ ปล่อยวางเข้ามาจากโลกียารมณ์ ปล่อยเข้ามาจากอารมณ์ภายนอก ความคิดจากภายนอก ความคิดหยาบๆ ความคิดเรื่องของโลกมันก็คิดเป็นฟืนเป็นไฟเผาลนให้เราออกไปยุ่งเรื่องของโลก

แล้วเราใช้ความคิดเราย้อนกลับเข้ามาให้มันปล่อยวางสิ่งนั้นเข้ามา มันก็มีความสงบ มีความร่มเย็นของใจเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามา สิ่งที่มันปล่อยวาง มันเป็นสิ่งที่ละเอียดขึ้นมา ใจที่ละเอียดขึ้นมา มันจะย้อนกลับเข้ามา จับถึงขันธ์อันละเอียด ความละเอียดของใจ ใจ อารมณ์ที่ละเอียดจับสิ่งนี้ได้ นั่นน่ะธรรมารมณ์เกิดจากตรงนี้

ธรรมารมณ์เป็นธรรม พิจารณาธรรม ถ้าพิจารณาธรรม เราต้องจับสิ่งนี้ขึ้นพิจารณา พิจารณาใคร่ครวญว่า เราติดอะไร หัวใจนี่ติดในอะไร การเกิดและการตาย สิ่งนี้พาเกิดใช่ไหม อารมณ์ที่เกิดที่ดับอยู่ในหัวใจ สิ่งที่เกิดที่ดับในหัวใจ ทำให้ใจคิดตามออกไป เลยมีค่าไง

ตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่ความเป็นตัณหา ตัณหา เรารู้จักตัณหา เรารู้แต่สิ่งที่เป็นไปแล้ว ชื่อของตัณหานี้เป็นชื่อของตัณหา แต่หัวใจ อาการที่เป็นตัณหา เราไม่เห็น เพราะจิตมันรวมตัวกันแล้วมันก็เป็นตัณหา หมุนออกไปตามความเห็นของเขา สิ่งที่เป็นความเห็นของเขา นั่นน่ะเป็นตัณหาความทะยานอยาก จิตนี้อยู่โดยทรงตัวเองไม่ได้ ต้องดิ้นรนออกไปตามความขับไส ความด้วยตัณหาความทะยานอยากด้วยสมุทัย สิ่งนี้เป็นสมุทัย

สิ่งที่เป็นสมุทัยนี้เป็นเรื่องของกิเลสทั้งหมด สิ่งนี้ชำระสิ่งนี้ไง สิ่งที่เป็นตัณหาความทะยานอยากในหัวใจ เกิดขึ้นมาจากได้สัมผัส ได้ลิ้มรสในหัวใจ จิตนี้ออกไปกินขันธ์ ในธาตุในขันธ์นั้นสัมผัสกัน แล้วหมุนออกไป สิ่งที่หมุนออกไปนี้ ถ้าเราย้อนกลับเข้ามา มันจะแยกแยะสิ่งนี้เข้ามา ธรรมารมณ์ แยกธรรมารมณ์ออก ขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ พิจารณากาย กายไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่กาย พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณาได้ด้วยจิตมีความสงบก่อน

ถ้าจิตไม่มีความสงบ มันเป็นโลกียะ สิ่งที่เป็นโลกียะ มันก็ทำขึ้นมาแล้ว แค่ปล่อยวาง ความปล่อยวางของใจ ความปล่อยวางของใจนี่ได้ครองธรรมส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นธรรม ถ้าเป็นธรรมทั้งหมดต้องวิปัสสนา สิ่งที่วิปัสสนาก็ใช้สมถกรรมฐาน ความสงบของใจนี้เป็นวงของสมถะ วงของสมถะคือความสงบของใจ ในเมื่อวงสมถะนี้มันเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐาน

“กรรมฐาน” สมถกรรมฐานยกขึ้นวิปัสสนากรรมฐาน สิ่งที่เป็นวิปัสสนากรรมฐานต้องพยายามจับต้องสิ่งนี้ แล้วใคร่ครวญอาการของใจ ใจกับใจทำงานกันไง สิ่งที่ทำงานของใจจะมีความเหนื่อยมาก เราทำงานของเรา เราทำขนาดไหน เราก็ต้องลงทุนลงแรงตลอดไป อาการของใจ เห็นไหม ถ้าจิตสงบเราก็มีทุนรอน ถ้ามีทุนรอนเราทำขึ้นมา มันก็จะเป็นงานขึ้นมา

ถ้าจิตเราไม่สงบ ทำขนาดไหนมันก็เป็นโลกียะ สิ่งที่เป็นโลกียะมันเป็นสัญญา เราต้องกลับมาทำความสงบของใจ หาทุน หารอน แล้วเรากลับมาวิปัสสนา นี้ก็เป็นงานของใจ มันถึงว่า งานของเรา ความเพียรต้องเกิดจากตรงนี้ ถ้ามีความเพียรเกิดขึ้นมามันจะเป็นการงานสะสมเข้ามาในหัวใจ งานในการวิปัสสนาเกิดขึ้น

ถ้าวิปัสสนาเกิดขึ้นมานั้นเป็นปัญญา ปัญญาในการใคร่ครวญนี้คือปัญญาในการชำระกิเลส ปัญญาที่เราคิดกันทางโลก ทางโลกเกิดขึ้นมานั้นเป็นปัญญาในสัญญา สิ่งที่เป็นสัญญา มันก็คิดในโลก ในสิ่งที่ของที่มีโดยดั้งเดิม สัญญาหมายถึงว่าสิ่งที่มีอยู่เก่าแล้วเราคิดซ้ำขึ้นมา มันก็เป็นสัญญา สัญญาขนาดไหน ถ้าเป็นปัจจุบันมันก็เป็นปัญญาขึ้นมาได้ ถ้าเป็นปัญญาขึ้นมาได้ มันต้องมีสัมมาสมาธิ มันถึงเป็นโลกุตตระ

สิ่งที่เป็นโลกุตตระคือพ้นออกไปจากโลก ถ้าพ้นออกไปจากโลก มันพ้นออกไปจากกิเลส สิ่งนี้ต้องแยกเข้ามา พยายามพิจารณาเข้ามา ถ้าพิจารณาเข้ามาได้ ปัญญาจะเกิดขึ้นจากการวิปัสสนา วิปัสสนาถึงจะเป็นปัญญา ถ้าไม่มีวิปัสสนานี้มันไม่เป็นปัญญา แล้วปัญญาจะแยกออกไปๆ สิ่งที่แยกออกไป พร้อมกับซักฟอก ซักฟอกใจ ใจนี้สงบเวิ้งว้างขนาดไหน มันมีกิเลสควบคุมใจอยู่อย่างนั้นตลอดมาเข้ามา

แต่เวลาเราซักฟอกด้วยปัญญา มันเป็นความซักฟอกด้วย แล้วมันปล่อยวางด้วย มันจะปล่อยวาง กายกับจิตนี้จะเวิ้งว้างออกมา ความเวิ้งว้างอันนี้เราจะเห็นคุณค่าของมัน ถ้าเห็นคุณค่าของการประพฤติปฏิบัตินี้ เราจะมีกำลังใจเกิดขึ้นในการวิปัสสนา

วิปัสสนาเกิดขึ้นมา เราก็ย้อนกลับมาให้ใจมีพลังงานแล้วพยายามวิปัสสนาซ้ำเข้าไปๆ สิ่งที่ซ้ำเข้าไป ซ้ำเพื่อจะให้มันเห็นผลไง ถ้าการซ้ำขึ้นมา มันปล่อยวางขนาดไหน มีความสุขขนาดไหน เราต้องการความสุขที่เป็นความจริง ความสุขอย่างนี้เป็นความสุขที่ว่า อยู่ในวงของวัฏฏะ

ความอยู่ในวงของวัฏฏะ มันสุขแล้วมันก็มีความทุกข์ได้ เวียนตายเวียนเกิดในวงของวัฏฏะ ในวงของสมมุติไง จิตนี้ยังเป็นสมมุติอยู่ มันยังเป็นสมมุติตลอดไป สิ่งที่เป็นสมมุติมันก็ไม่คงที่ สิ่งที่ไม่คงที่ ความสุขอย่างนี้ก็ไม่คงที่ ความสุขอย่างนี้เป็นความสุขเกิดขึ้นมาจากการวิปัสสนาแล้วปล่อยวาง มันไม่ได้ชำระกิเลส มันต้องพยายามใคร่ครวญเข้าไปจนกว่ากิเลสมันจะขาดออกไปจากใจ เป็นอกุปปธรรม สิ่งที่เป็นอกุปปธรรมนั้นเป็นความคงที่ของใจ

ได้ครองธรรม ครองอย่างนี้ ครองในหัวใจ ถ้าหัวใจครองธรรมขึ้นมาแล้ว มันจะเป็นสิ่งที่ว่า ยืนยันกับหัวใจดวงนั้น ใจทุกดวงใจสามารถทำสิ่งนี้ได้ เพราะใจทุกดวงใจนี้เป็นภาชนะใส่ธรรม

สิ่งที่เป็นธรรม เห็นไหม ธรรมนี้เกิดมาจากไหน? เกิดขึ้นมาจากเราทำความสงบของใจ เกิดขึ้นมาจากเราไตร่ตรอง เราใคร่ครวญขึ้นมา ฝึกหัดกัน ฝึกหัดด้วยมคฺค อริยสจฺจํ ฝึกฝนขึ้นมาในหัวใจของเรา เราสร้างสมหัวใจของเรา สิ่งนี้มีคุณค่าทั้งนั้น มีคุณค่ามหาศาล

เรื่องของโลกเขา เขาใช้เงินใช้ทองแลกเปลี่ยนกันได้ แต่ในเรื่องคุณธรรมในหัวใจนี้ ไม่สามารถใช้สิ่งใดๆ แลกเปลี่ยนได้เลย เกิดขึ้นมาจากใจดวงนั้น...

...ความทุกข์ในหัวใจ ใจดวงนั้นต้องพยายามประพฤติปฏิบัติมา เพื่อใจดวงนั้นจะพ้นออกไปจากทุกข์ ไม่มีใครสามารถทำแทนกันได้ ไม่มีในโลกนี้ ถึงต้องพยายามประพฤติปฏิบัติ แล้วถ้าใครประพฤติปฏิบัติ คนนั้นจะได้ธรรมขึ้นมาในหัวใจ

๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้เลย ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีจะต้องได้สิ่งนี้ขึ้นมา

สิ่งที่เป็นธรรมในหัวใจ ธรรมในหัวใจ คือมันพิจารณาแล้วมันปล่อยวางจนขาดออกไปจากใจ ใจจะมีสิ่งนี้ครองอยู่ในหัวใจ นั่นน่ะมันมีความอุ่นใจ

จากความว้าเหว่ จากความไม่มีหลักใจ ไม่มีที่พึ่งที่อาศัยเลย จนใจนี้มีที่พึ่งที่อาศัย

ใจเราเร่ร่อน เร่ร่อนมาตลอดนะ ไม่มีที่พึ่งที่อาศัย ไม่มีที่เป็นที่จุดหมายเป็นที่เริ่มต้นของใจได้เลย จนเกิดอกุปปธรรม อกุปปธรรมในหัวใจ มันเป็นจุด เป็นพื้นฐานที่เราจะอาศัยสิ่งนี้ก้าวเดินต่อไป ถ้าเราก้าวเดินต่อไป เราก็จะพยายามชำระกิเลสออกจากใจเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป กิเลสในหัวใจนี้ มันมีอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดอยู่ในหัวใจเราตลอดไป หัวใจทุกดวงใจจะเป็นแบบนี้

มรรค ๔ ผล ๔ เห็นไหม การชำระกิเลส มันถึงต้องพยายามทำขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป เพื่อเราจะให้เราได้ครองธรรมสมควรแก่ธรรม ให้เนื้อธรรมของใจเป็นธรรมล้วนๆ ในหัวใจ ไม่ให้มีความเร่าร้อน มีความทุกข์ยากไปตามความคิดของเขา

ฆ่ากิเลสให้ตายจากหัวใจให้หมดเลย ฆ่าลูก ฆ่าหลานให้ตาย ต้องย้อนกลับเข้าไปหาเรือนยอดของกิเลสให้ได้ เรือนยอดของกิเลสคืออยู่ในหัวใจของเรา สิ่งนี้ลึกลับซับซ้อนในใจนะ ถ้ามันไม่มี ไม่ใช่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา จะไม่มีใครรู้สิ่งนี้ได้เลย มันละเอียดลึกลับซับซ้อนมาก ถึงว่ามันลึกลับอยู่ในหัวใจ ถ้ามันลึกลับอยู่ในหัวใจ เราถึงต้องใช้ปัญญาอันละเอียดอ่อนไง ความคิดอันละเอียดอ่อน จนถึงว่า ย้อนกลับเข้ามาในหัวใจของเราได้ ทำความสงบของใจขึ้นมาตลอด พื้นฐานของใจสร้างสมขึ้นมา สร้างสมขึ้นมาเพื่อให้เป็นงานของเราไง

งานของเรา งานในการที่มีความสุขขึ้นมา เราต้องพอใจ มันมีความสุขขึ้นมา ความสุขอันนั้นเป็นเครื่องเสริมให้เรามีกำลังใจขึ้นมา กำลังใจกับการประพฤติปฏิบัติของเราจะก้าวเดินเข้าไปในหัวใจนะ

การเดินจงกรม การนั่งสมาธิภาวนาก็เพื่อให้ใจนี้สงบ ใจนี้สงบขึ้นมาแล้วให้ทำงานในการวิปัสสนาในหัวใจ วิปัสสนาด้วยปัญญาตลอด ปัญญาเป็นฝ่ายขุดคุ้ยหากิเลส กางข่ายของปัญญาออกแล้วจะหาสิ่งที่ว่า กิเลสอาศัยใจอยู่นี้อาศัยอยู่ที่ไหน จับกิเลสที่มันหลบซ่อนอยู่ในหัวใจให้เห็นตัวมันขึ้นมา จับกิเลสในหัวใจ พยายามขุดคุ้ยในสติปัฏฐาน ๔ นั้นล่ะ

กายอันหยาบ กายอันละเอียด เราจับต้องได้ มันจับต้องได้แล้ววิปัสสนาให้ได้ ถ้าเราจับต้องได้ พิจารณากายจนปล่อยวางกายเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ถ้ามันปล่อยวางแล้ว ว่าไม่มีสิ่งใด สิ่งความรู้สึกไง จิตนี้มีความรู้สึกอยู่ จิตนี้ยังเมื่อมีความสะเทือนกับสิ่งใด จับต้องสิ่งนั้นน่ะ สิ่งที่มีความรู้สึกอันนั้นน่ะ

ความรู้สึกมันไม่เห็นตัวมัน แต่มันคิดเห็นแต่อาการของใจที่เกิดขึ้น คืออารมณ์ความรู้สึก อารมณ์อันนั้น มันเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ว่ามันฟุ้งซ่านไง สิ่งนั้นมันเป็นโลกแล้ว โลกคือว่ามันออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ เห็นไหม เราต้องปล่อยวางเรื่องอาการของโลกเข้ามาเพื่อให้มันเป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรม พอจับสิ่งที่ว่าเป็นธรรมได้ สิ่งที่ว่าเป็นสติปัฏฐาน ๔ ได้ มันก็คิดเหมือนกัน คิดเหมือนโลกก็เหมือนกัน มันก็คิดด้วยอาการของโลก คิดอาการอย่างเก่า เพราะมันเป็นสังขารขันธ์

สังขารขันธ์ คือ การคิด การปรุง การแต่ง แต่มันมีสติ มีสมาธิเข้าไปควบคุมสิ่งนี้ สิ่งนี้มันถึงเป็นปัญญาเทียบเคียงไง ถ้าเป็นปัญญาเทียบเคียง เทียบเคียงเพื่อให้ย้อนกลับเข้ามา สิ่งนั้นเป็นภัย สิ่งนั้นดึงให้สิ่งหัวใจนี้ส่งออกไป ถ้าหัวใจคิดตามอาการของใจนั้น มันเคลื่อนออกมาจากฐานที่ควรแก่การงานแล้ว มันต้องย้อนกลับตลอด สิ่งที่ย้อนกลับคือทวนกระแสเข้าไปเพื่อจะจับต้องสิ่งที่มันกระทบกับใจได้ ถ้าจับต้องสิ่งกระทบกับใจได้ สิ่งนี้เป็นปัญญาเริ่มเกิดขึ้น

ปัญญาถ้ามันใคร่ครวญ มันจะเป็นปัญญาตลอด ถ้าเป็นปัญญาจากภายนอก เป็นปัญญาของโลก เป็นปัญญาของโลกียะ โลกียะกับโลกุตตระ เห็นไหม โลกียะฝ่ายต่ำ สิ่งที่มันเป็นโลกียะต่ำๆ ที่ว่าโลกียารมณ์ต่างๆ ที่เราปล่อยวางมา มันก็ปล่อยวางออกไป แต่ในเมื่อสิ่งที่สูงขึ้นไป ความเป็นโลกคือความเป็นสมมุติของเขา สิ่งที่เป็นสมมุติยังอยู่ในหัวใจ มีสมมุติบัญญัติไปตลอด จนถึงที่สุด จนพ้นจากสมมุติ พ้นจากสมมุติบัญญัติถึงจะเป็นวิมุตติ

ในเมื่อมันเป็นสมมุติบัญญัติขึ้นมาในหัวใจ ถ้ามันเป็นสมมุติมันก็เป็นเรื่องของโลก สมมุติขึ้นมาให้เราตื่นไง สมมุติขึ้นมา ให้กิเลสมันสมมุติขึ้นมา ให้เราเชื่อตามมันไป สิ่งที่เชื่อตามมันไป เราก็พยายามวิปัสสนา แล้วปัญญาก็ใคร่ครวญหมุนตามสมมุตินั้นออกไป สิ่งที่เป็นสมมุติ มันไม่เป็นปัญญาเพราะมันไม่เป็นการปลดเปลื้องความเห็นต่างๆ ให้หลุดออกไปจากใจ

มันเป็นสมมุติ มันก็เทียบเคียงกันไป แล้วมันหมุนออกไป เห็นไหม สิ่งนี้เราต้องปล่อย ปล่อยเพื่อให้มีความสงบของใจ ย้อนใจกลับมา ให้ทำความสงบของใจ ให้มันปล่อยวางสิ่งนั้น สิ่งนั้นปล่อยวางมันก็มีความสุข ความสุขเพราะมันปล่อยวาง ปล่อยวางแล้วมันก็ว่าง มันมีพลังงานเกิดขึ้น ความสุขอันนี้ แล้วเราถ้าใช้ปัญญาขึ้นมาใหม่ มันจะเป็นปัญญา

สิ่งที่เป็นปัญญา ความที่ว่าเราควบคุมได้ เวลาพิจารณาสิ่งใดต่างๆ แล้ว มันจะถอดจะถอน เหมือนถอดเสี้ยนถอดหนามออกจากใจ เสี้ยนหนามนี้ฝังอยู่ในหัวใจนะ มันเจ็บแปลบๆ อยู่ในหัวใจ เพราะมีเสี้ยนหนามปักอยู่ในหัวใจ แล้วปัญญานี้มันใคร่ครวญถอดถอนสิ่งนี้ออก สิ่งที่ความหลงผิด เพราะเราหลงผิด เราเห็นผิด เราถึงหมุนไปตามความเห็นผิด

ความเห็นผิดนั้น เห็นผิดในสิ่งใด เห็นผิดว่าสิ่งต่างๆ นี้เป็นเรา ความเห็นสิ่งต่างๆ นี้เป็นเรื่องของเรา มันความคิดเห็นความผิด มันเป็นเรามันก็ยึด สิ่งที่ยึดนั้นทำให้สิ่งที่ยึดแล้ว มันต้องยึด ยึดมันก็เป็นอัตตา อัตตาเป็นอะไร? เป็นกิเลส ยึดขนาดไหนมันก็ไม่เป็นไปตามนั้น ไม่เป็นไปตามความที่เรายึดหรอก มันเกิดดับต่างหาก

สิ่งที่เกิดดับมันเหมือนใหม่ตลอด นี้กิเลสบังตาไว้ บังตาเราให้ไม่เห็นตามความเป็นจริง ถ้าเห็นตามความเป็นจริง สิ่งนี้เป็นสมมุติ สมมุติก็แยกแยะออก ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าตามสมมุติ เห็นตามความเป็นจริง สมมุติ มันก็เป็นบัญญัติ เห็นตามความเป็นจริงเป็นสมมุติเป็นบัญญัติ บัญญัติของพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้อย่างนั้น เราเห็นตามความบัญญัติจริง

แล้วปัญญาล่ะ ปัญญาเราเกิดขึ้นมาเพราะเราเห็นตามบัญญัตินั้น เราถึงใคร่ครวญแล้วมันจะปล่อยวางสิ่งนั้น ถ้าปัญญาพอ ถ้ากำลังพอ จะปล่อยวางสิ่งนั้น

ธาตุเป็นธาตุ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต จะปล่อยวางๆ เป็นชั้นเป็นตอนๆ ปล่อยวางจนกว่าถึงที่สุดแล้ว จะปล่อยวางสิ่งนี้หลุดออกไปจากใจ หลุดออกไปจากใจ นั่นน่ะใจก็มีความละเอียดเข้าไปเป็นชั้นเข้าไป มีความละเอียดเข้าไป กิเลสมันก็หลอกละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปถึงที่ว่า เราจะทำอย่างไรให้พ้นออกไปจากกิเลส

“ใจได้ครองธรรม” จนความเป็นใจของเราตลอดขึ้นมา

นั่นน่ะใจที่เป็นความทุกข์เร่าร้อนของใจนี้ ทุกคนรับรู้อยู่ สิ่งที่รับรู้อยู่มันเผาอยู่ในหัวใจ จะอยู่บนที่ไหน จะมีความสุขขนาดไหน เราจะอยู่ในที่เราพอใจ เห็นไหม ไปอยู่ในห้องเย็นขนาดไหนมันก็ร้อนถ้าหัวใจมันร้อน ความเร่าร้อนในหัวใจนี้มันจะเป็นอยู่ แต่ความเป็นธรรมขึ้นมาในหัวใจ ถ้าใจปฏิบัติแล้วเป็นธรรมขึ้นมา มันจะยืนยันว่าเป็นความสุขในหัวใจส่วนหนึ่ง

แต่กิเลสในที่ละเอียดกว่านี้มันก็พลิกแพลง พลิกแพลงหลบซ่อนหาอยู่หากินในหัวใจนั้น พลิกแพลงแล้วหลบซ่อนอยู่ เราก็ต้องหลงไปตามอำนาจของกิเลส เพราะกิเลสเป็นเรา สิ่งที่กิเลสเป็นเรา กิเลสมันบอกว่า สิ่งนี้ปล่อยวางแล้ว เราภาวนาแล้ว ถึงที่สุดแล้ว เราจะเชื่อกิเลส แล้วเราจะรักษาใจไว้อย่างนั้น

สิ่งนี้ต้องรักษาไว้ ถ้าไม่รักษาไว้ มันก็กิเลสมันจะแสดงตัว ถ้ารักษาไว้ มันสงบตัวอยู่ นั้นคือ อำนาจของสมาธิ กดไว้เฉยๆ “หินทับหญ้า” เพราะกิเลสอย่างละเอียดมันอยู่ในหัวใจนั้น มันเป็นเชื้อฟืนอันนี้ ถ้าเราเชื่อจนกว่าเราหมดสิ้นหมดอายุขัยไป นี่มันยังต้องพาไปเกิด เกิดอีกโดยธรรมชาติของจิตดวงนั้น ยังมีเชื้อมีไขอยู่ในหัวใจ นั่นน่ะเราได้ครองธรรมส่วนหนึ่ง แต่มันก็เกิดในกระแสที่จิตนั้นมันเข้ากระแสแล้ว มันก็หมุนไปตามอำนาจของกรรมอันนั้น

แต่ถ้าเรามีโอกาสวาสนา เราไม่รู้ว่าเราจะไปเกิดอยู่ที่ไหนต่อไป ถ้าเรามีอำนาจวาสนา เราย้อนกลับเข้ามาวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนา มันต้องวิปัสสนา ต้องหาเหตุ สิ่งที่หาเหตุ ย้อนกลับ ย้อนจิตเข้ามา จะย้อนได้ต้องมีหัวใจเชื่อในธรรม เชื่อในธรรมว่า เราติดข้องสิ่งใดอยู่ สิ่งที่ติดข้องมันอยู่ที่ไหน อยู่ที่ไหน แล้วก็หันหัวใจกลับเข้ามา

ธรรมดาของใจ ภาวนาขนาดไหนขึ้นมา เวลาสงบขึ้นมาแล้ว ความสว่างของใจ มันสว่างออกไปข้างนอกหมดเลย รับรู้สิ่งต่างๆ รับรู้ออกไปจากภายนอก ไม่มีสิ่งใดย้อนกลับขึ้นมา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ว่า “ทวนกระแส” นั้นก็เป็นความจำ สิ่งที่เป็นความจำนั้นกิเลสมันไม่กลัวหรอก

สิ่งที่เป็นกิเลส กิเลสมันอาศัยความจำนั้น มันจะอาศัยความจำนั้นเป็นเหยื่อออกไปด้วยว่า เราได้พบเห็นสิ่งนั้นแล้ว แล้วเราหมุนออกไป มันก็เป็นสมมุติ เห็นไหม ถ้าเราพยายามย้อนกลับขึ้นมา ตั้งใจทำความสงบของใจ แล้วปัญญาใคร่ครวญว่า เราต้องทวนกระแส เราน่าจะย้อนกลับเข้ามาน่ะ มันเห็นคุณค่าในการย้อนใจกลับ ถ้าเห็นคุณค่าในย้อนใจกลับ มันก็ขุดคุ้ยหาได้ ถ้าขุดคุ้ยหากิเลส เจอกิเลสได้ นั้นคือวิปัสสนา

สิ่งถ้าเป็นวิปัสสนาขึ้นมา นั่นน่ะเห็นหน้าของกิเลส แล้วยกขึ้น ยกอสุภะ-อสุภังขึ้นมาใคร่ครวญกัน ใคร่ครวญในการต่อสู้ เห็นไหม ในการต่อสู้ ในการแยกแยะว่า สิ่งนี้มันเป็นความจริงไหม เราเห็นเป็นความเป็นจริงของเรา

กามราคะ คือ ความพอใจ กามฉันทะ ความพอใจของใจ ถ้าใจพอใจตนเอง พอใจตัวมันเอง เพราะตัวมันเองมีคุณค่า ถ้ามีคุณค่าขึ้นมาอย่างนั้นมันก็ยึดมั่นถือมั่นใจเป็นอย่างนั้น สิ่งที่เป็นใจเป็นอย่างนั้น มีคุณค่า มันพอใจแล้ว มันก็ออกหาเหยื่อของเขาไป นั้นเป็นเรื่องของกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะนี้รุนแรงมาก

กองทัพที่จะออกรบกัน แม่ทัพเป็นสิ่งที่ว่าควรยกทัพออกไปประหัตประหารกับข้าศึก นี้ก็เหมือนกัน โทสะ โมหะ อยู่ที่ตรงนี้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง สิ่งที่เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้จะเป็นสิ่งที่รุนแรงมาก ในเรื่องของหัวใจนะ เวลาโกรธขึ้นมานี่เป็นฟืนเป็นไฟ โกรธขนาดไหน

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม เวลาทำความสงบของใจขึ้นมาได้ ว่า “ละความโกรธได้ ละความโกรธได้”...ไม่จริงหรอก นั้นเป็นหินทับหญ้าไว้ ถ้าเราทำความสงบของใจ ใจมันสงบขึ้นมา เรารักษาหัวใจของเราได้ เรามีศีล มีธรรม เห็นไหม เราพยายาม มีศีล มีธรรมแล้วดัดแปลงตน ความดัดแปลงตนของเรา เราควบคุมใจของเราได้ เราว่าเราชำระความโกรธ

ความโกรธมันต้องเข้าไปเจอ อสุภะ-อสุภังนี่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันอยู่ตรงนี้ มันอยู่ตรงจิตใต้สำนึกนี้ สิ่งที่ตรงนี้เป็นตัวจิตใต้สำนึก ถ้าจิตใต้สำนึกนี้ไม่มีใครสามารถเข้าไปรู้ทันได้เลย ถ้าคนจะรู้ทันได้ คนจะละความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ ต้องจับกามราคะตัวนี้ได้ ถ้าจับกามราคะตัวนี้ได้ นั้นคือ ตัวสถานะของเขา ถ้าสถานะของเขานั้นเป็นที่เราจะเริ่มการต่อสู้กันแล้ว

ต่อสู้ระหว่างกิเลสกับธรรม ระหว่างธรรมที่เราสะสมขึ้นมา เราสร้างสมขึ้นมาให้เป็นธรรมในหัวใจ หัวใจนี้สร้างสมขึ้นมา ธรรมเกิดขึ้นมา สูงส่งขึ้นมา จนถึงเข้าไปเห็นหน้าของกิเลสแล้ว เราทำไมไม่แยกแยะกิเลส จับกิเลสมา ขึงกิเลส ขึงพืดออกไปให้เห็นความผิดของเขา

ความผิดของเขาคือใคร? ความผิดของเขาคือความผิดของเรา ความผิดในหัวใจที่มันสะสมมา สิ่งนี้เป็นความผิดคือตัวกิเลส สิ่งที่ตัวกิเลสคือตัวขับไส คือตัวขับเคลื่อนให้เคลื่อนที่ไปเป็นอดีตอนาคตไม่เป็นปัจจุบันเรื่องของตามความเป็นจริง ความเกิดและความตาย ความคาดความหมายต่างๆ ความพอใจสิ่งต่างๆ สิ่งที่เราพอใจเราคาดหมาย มันก็ต้องเป็นอดีตอนาคต ไปคาดหมาย มันไม่เป็นปัจจุบัน

ถ้าไม่เป็นปัจจุบัน คือตัวเริ่มต้นความรู้สึกตามความนึกคิดของความรู้สึกนั้นอยู่ที่ไหน ถ้าจับต้องสิ่งนั้นได้ นั้นคือความเกิดขึ้นมาจากในหัวใจ นี้คือตัวกามราคะ แวบนี้ขึ้นมาก่อน ถ้าแวบนี้ขึ้นมาแล้วมันก็เป็นไปตามอำนาจของสิ่งที่ว่าเป็นสิ่งที่ไฟติดเชื้อแล้ว มันก็เผาไหม้ไป เผาไหม้ในขันธ์ ๕ ของเรา เผาไหม้ในขันธ์อันละเอียดในหัวใจ สิ่งนี้ละเอียดอ่อนมาก ละเอียดอ่อนจนเราไม่สามารถจะจับต้องได้เลย แล้วเราแยกแยะเข้ามานี่ เราจับต้องสิ่งนี้...มันเป็นมรรคของบุคคลนั้น

สิ่งที่เราจับต้องไม่ได้นั้นเพราะกิเลสมันขับไส แล้วมันเป็นไปอยู่โดยธรรมชาติของเขา เขาใช้ของเขาโดยดั้งเดิมมาตลอดไป แล้วเรารื้อค้นเข้าไป รื้อค้นตั้งแต่เรื่องของมรรคหยาบๆ ความหยาบเข้าไปจนเข้าไปละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปจนความละเอียดนี้ไปจับต้องสิ่งนี้ แล้วคิดพลิกแพลงสิ่งนี้ได้ นั้นวิปัสสนา

ปัญญาต้องใคร่ครวญไป ใคร่ครวญในเรื่องความเป็นไปของเขา เห็นสถานะของเขา เห็นแล้วมันก็ต้องว่าสลดสังเวช สลดสังเวชแต่อำนาจกำลังไม่พอ มันก็ตัดไม่ขาดนะ เห็นสลดสังเวช แล้วก็ต้องตามความคิดอันนี้ไป อันนี้ก็ฉุดกระชากลากไป เราก็ตรวจสอบของเรา ตรวจสอบนะ ใคร่ครวญในหัวใจ หัวใจเป็นไปแบบนั้นมันสลดสังเวชไหม ทำไมกิเลสมันฆ่ายากขนาดนี้ กิเลสของเรานี่เราฆ่ายากมาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ธรรมนี้ลึกซึ้งมาก ลึกซึ้งเพราะมันลึกอยู่ในหัวใจ แล้วมันเรื่องของเรา เราจะฆ่าอย่างไร จะฆ่ากิเลสอย่างไร บางทีท้อถอยนะ นึกท้อใจว่าเราประพฤติปฏิบัติแล้วต้องมีความสุขขึ้นมา ความสุขต้องสะสมสั่งสมขึ้นมา ทำไมความสุขของเรามันไม่มี มันไม่สมความคิดของเราหนอ...มันไม่สมความคิดเพราะว่ามันทุกข์ดักหน้าอยู่

ความทุกข์อันละเอียดไง จิตอันละเอียด ความเฉาความเศร้าหมอง ความผ่องใสในหัวใจ มันอยู่ในหัวใจ มันเกิดดับในหัวใจ สิ่งนี้ในหัวใจ เราก็พยายามว่า สิ่งที่ว่าเราจะต่อสู้กับกิเลสมันก็เลยเป็นภาระหนัก แต่ไม่ได้คิดเลยว่าสิ่งที่เราปล่อยวางมานี่ ความสุขโดยเป็นพื้นฐานมันอยู่ในหัวใจ ในหัวใจที่ปล่อยวางกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามามันมีความสุขอยู่

แต่ความสุขอย่างหยาบ ความคิดอย่างหยาบมันก็แก้กิเลสอย่างหยาบๆ สิ่งที่เป็นความหยาบๆ นั้นมันก็เป็นความสุขที่เราข้ามพ้นมา เราปล่อยวางมา มันอยู่เบื้องหลังเรา แต่เราต่อสู้กับกิเลสอยู่นี้มันเป็นความทุกข์เบื้องหน้าเรา สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเรา เราต้องต่อสู้ไป สิ่งที่ต่อสู้ต้องมีกำลังใจ แล้วแยกออกไปได้ ถ้าทำสิ่งนี้ได้ นั่นน่ะมรรคจะเริ่มเดินตัว ถ้ามรรคเริ่มเดินตัว มรรคนี้เริ่มเดินตัว จนเราทำขึ้นไป จนกว่ามรรคนี้จะมัชฌิมาปฏิปทา สิ่งที่เป็นปฏิปทานี้เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัตินะ ถ้าเรามีการประพฤติปฏิบัติ เรามีการทรงตัว พยายามสะสมขึ้นไปนี่มันจะสร้างสมมรรคขึ้นไปตลอด แต่ถ้าเราอ่อนด้อยขึ้นมา เรามีความน้อยเนื้อต่ำใจ มันจะคลายตัวออก สิ่งที่คลายตัวออกไป มันก็เป็นสมมุติอยู่อย่างดี สมมุติในการเกิดดับของใจ

สิ่งที่เป็นสมมุตินั้นก็กิเลสพาใช้ พาใช้เรื่องสิ่งนี้ สิ่งนี้ต้องต่อสู้กัน กิเลสมันก็ต้องหาทางออก หาทางจะเอาชนะเราตลอดไป เอาชนะเรานะ กิเลสของเราอยู่ในหัวใจของเรา ย่ำยีเราตลอดมา แล้วก็ต้องเอาชนะเราตลอดไป เราก็ต้องแพ้ แพ้กิเลส ถ้าเราแพ้กิเลส ความประพฤติปฏิบัติเราไม่ดำเนินต่อไป ถ้าเราไม่แพ้กิเลส กิเลสจะมีความคิดขนาดไหนมันเรื่องของกิเลส

ในเมื่อกิเลสในหัวใจเรามีอยู่ ก็ให้เขาอยู่ไปก่อนถ้าเรายังไม่สามารถชำระเขาได้ ถ้าเราจะชำระเขาได้ เรามีความเพียร มันก็เป็นการต่อสู้ ถ้าเรามีความเพียรอยู่ กิเลสสักวันหนึ่งต้องหลุดออกไปจากใจนี้แน่นอน ถ้าเรามีความเพียรอยู่ ความเพียรของเรา เราสร้างสมขึ้นมา ธรรมจะเกิดขึ้นแบบนี้ กำลังใจเกิดขึ้นมา เราก็สร้างสมของเราขึ้นไป มีความพอใจ มีการประพฤติปฏิบัติ พอใจทำ จะมากจะน้อยก็สะสมของเราขึ้นไป สะสมของเราจนถึงที่สุด

กิเลสนี้ทนธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้หรอก กิเลสไม่เคยกลัวสิ่งใดเลย กิเลสในหัวใจของเรา ไม่มีสิ่งใดชำระล้างกิเลสได้ ยกเว้นไว้แต่ มคฺค อริยสจฺจํ อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคนี้เป็นเรื่องความจริง แต่มรรคนี้มันก็เป็นสมมุติ สิ่งที่เป็นสมมุตินี้สร้างสมขึ้นมา สร้างสมขึ้นมาจนถึงที่สุดแล้ว มรรคนี้ถึงจะทำลายกิเลสออกไปจากใจ ทำลายเรื่องของกามราคะออกไปจากใจได้ ถ้าสิ่งที่ว่าออกไปจากใจได้ ใจนี้พ้นจากอริยสัจ

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคนี้เป็นอริยสัจ แล้วใจนี้ก็ผ่านอริยสัจมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ผ่าน เห็นไหม เวลามรรครวมตัวขึ้นมานี่สามัคคีหมด เกิดทีเดียวแล้วกลับมา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะเข้าใจสิ่งนี้ จะเห็นตามความเป็นจริงว่า จิตนี้พ้นจากอริยสัจ หลุดออกจากอริยสัจมาได้อย่างไร พ้นจากอริยสัจเห็นไหม

อริยสัจนี้ก็เป็น สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมที่เราต้องสะสมขึ้นมา สิ่งที่สะสมขึ้นมา พยายามสร้างสมขึ้นมา เราสร้างขึ้นมา ของเราขึ้นมา แล้วต้องรวมตัวทำลายกิเลสออกไป พ้นออกไป จิตพ้นออกมาจากนั้นได้อย่างไร นี่ความเห็นของใจ ใจจะพ้นออกมา เห็นตามธรรมชาติสิ่งนั้น นั้นน่ะเกิดขึ้นมาอย่างนี้ แล้วทำลายออกไป ใจนี้พ้นออกจากกามราคะไป พ้นออกไปนี้เป็นใจล้วนๆ

สิ่งที่เป็นใจล้วนๆ ใจล้วนๆ นี่หมองไปด้วยอวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชาคือตัวใจตัวนี้มันเป็นตัวอวิชชา มันถึงจะครองธรรมได้อย่างไร มันเป็นตัวอวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชานี้ปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามาทั้งหมดเลย แต่ไม่ปล่อยวางตัวเอง สิ่งที่ไม่ปล่อยวางตัวเอง ตัวเองก็ต้องเวิ้งว้าง ว่างไปหมด แต่ตัวเองนี้จะเห็นต่างๆ รู้ไปหมดนะ รู้เรื่องข้างนอก รู้ว่าสิ่งใดจะเป็นอย่างไร รู้จนสามารถหลอกให้ใจ หลอกให้ความเห็นนี้หลงไปได้ หลงว่าความว่างอันนี้เป็นสิ่งที่ว่า เป้าหมายของการประพฤติปฏิบัติ

ความว่างอันนี้ เป็นความว่างของอวิชชาต่างหาก ไม่ใช่ความว่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรารถนาในธรรม ถ้าเราปรารถนาในธรรม ความว่างอันนั้นต้องเป็นความว่างที่ไม่มีเจ้าของ เป็นความว่างที่เป็นความว่าง “สักแต่ว่ารู้” จะไม่มีเจ้าของ แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะรู้เองโดยสัจธรรม แต่ขณะนี้ความว่างโดนอวิชชายึดไว้ไง อวิชชายึดความว่างว่าเป็นเรา

สิ่งที่ว่าว่างๆ นี่คือตัวอวิชชาทั้งหมดเลย เพราะไม่ใช่ขันธ์ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ เป็นปัจจยาการ อวิชชานี้เป็นปัจจยาการ เป็นสิ่งที่หมุนออกไป อยู่ในตัวมันเอง สิ่งที่หมุนออกไปตัวมันเองนั้นมันเป็นความว่างอย่างใด เป็นความว่างตัวมันเอง มันมีของตัวมันเองอยู่ สิ่งที่ตัวมันเองอยู่นี่มันก็มีความยึดมั่นถือมั่น คือตัวอัตตา อัตตา-อนัตตาอยู่ตรงนี้ไง

สิ่งที่จะเป็นอนัตตา ต้องจับตัวอัตตาให้ได้ก่อน ถ้าจับตัวอัตตาให้ได้มันถึงจะเป็นงาน นี่ใจจะย้อนกลับเข้ามาดูสิ่งนี้ ถ้าย้อนกลับเข้ามาดูสิ่งนี้ถึงจะว่าเห็นอัตตาตัวจริง เห็นตัวใจที่ว่า เราปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามาหมดแล้ว แล้วทำไมเราไม่รู้จักตัวเราเอง

มันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา มันก็ยึดมั่นถือมั่นตัวมันเอง สิ่งที่ตัวมันเองนี่มันละเอียดอ่อนมาก ละเอียดลึกซึ้งมาก ธรรมะถึงได้ลึกซึ้งจริงๆ ลึกซึ้งตามแต่ว่าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติก็ขุดเข้าไปจนถึงตอของจิต สิ่งที่เป็นตอของจิตน่ะ แล้วจะไม่มีสิ่งพลังงานอะไรเป็นไปไม่ได้เลยที่พลังงานสิ่งนั้นจะย้อนกลับเข้ามาตัวเอง แต่พลังงานของธาตุรู้ พลังงานของจิตนี้ มันเป็นสิ่งที่มีชีวิตไง ธาตุที่มีชีวิต ธาตุสสารที่มีความรู้สึก

สิ่งที่มีความรู้สึกนั้นถ้าเราใคร่ครวญธรรมแล้วใช้ปัญญาใคร่ครวญ จะใคร่ครวญว่า เรานี้ส่งออก ถ้าใคร่ครวญแล้วมีความรู้ส่งออก มันจะย้อนกลับได้ สิ่งที่ย้อนกลับเข้ามานี่ ค้นคว้าแล้วหาสิ่งที่ย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาจับสิ่งนั้น ตัวของจิตเองนี้เป็นตัวพลังงานย้อนกลับ ทวนกระแสอันสุดท้าย ทวนกระแสอันที่สุดแล้วมันต้องเป็นตัวจิตทวนกระแสตัวมันเอง

จากเดิมจิตนี้ทวนกระแสจากผ่านขันธ์ ผ่านขันธ์เข้ามา กระทบกันระหว่างธาตุขันธ์ ปัญญาอย่างหยาบ เวลาปัญญาอย่างหยาบ เราก็ล้มลุกคลุกคลานมา แต่ด้วยความต่อสู้ของใจ ใจนี้พิจารณาแล้วปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา เห็นความคิดอย่างนั้น แล้วก็จะใช้ความคิดอย่างนี้เข้าไปจับ ไปทำงานตลอดไป เราเคยทำงานสิ่งใดมาด้วยอาวุธสิ่งใด เราก็คิดว่าอาวุธสิ่งนั้นจะใช้ได้ตลอดไป

อาวุธอย่างหยาบ อาวุธอย่างกลาง อาวุธอย่างละเอียด อาวุธอย่างละเอียดสุดเห็นไหม ธรรมาวุธ อาวุธอย่างละเอียดสุดนี้มันจะต้องเป็นตัวของเขาเอง เป็นตัวของธาตุรู้นั้นน่ะ แล้วพยายามมีปัญญาความเชื่อในธรรม แล้วย้อนกลับว่า สิ่งที่เป็นความว่าง ใครเป็นผู้รู้สึกความว่าง สิ่งที่ว่าเป็นของๆ เรา สิ่งที่คือเรา คือใคร

ย้อนกลับขึ้นมา ถ้าปัญญาญาณย้อนกลับขึ้นมานั้นจะไปเห็นตัวของจิตได้ ถ้าจับตัวของจิตได้ นั้นคือตัวสิ่งที่ว่ามันเป็นตัวอวิชชา สิ่งนี้เป็นปฏิสนธิจิต ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ค้นคว้าสิ่งต่างๆ แล้วย้อนกลับ

เวลาสัญญา สัญญาในการเกิดและการตาย การสะสมต่างๆ มันจะมีที่รับรู้ รับรู้อยู่ตรงนี้ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะต้องรื้อค้นถึงก้นบึ้งของการเกิดและการตาย จิตปฏิสนธิตัวนี้ ตัวพาเกิดและพาตายมาตลอด วิญญาณรับรู้ในขันธ์ วิญญาณสิ่งต่างๆ ในสมมุตินี้มันเป็นสถานะที่มนุษย์นี้รับรู้ มนุษย์นี้เกิดขึ้นมา ได้สิ่งนี้มาแล้วมันก็เป็นเรื่องของสิ่งที่ลอยอยู่บนเหนือน้ำ สิ่งที่เหนือน้ำคืออาการของใจ อารมณ์ความรู้สึกธาตุขันธ์นี้ สิ่งที่เหนือน้ำทั้งหมดเลย

สิ่งที่อยู่ใต้น้ำ สิ่งที่ไม่มีใครเห็นเลย นั้นคือตัวจิตปฏิสนธิจิตตัวนี้ ตัวนี้ สิ่งที่รับรู้ต่างๆ จะสะสมข้อมูลระหว่างภพชาติไหนก็แล้วแต่ จะต้องกลั่นกรองย่อยสลายมา แล้วจะต้องไปสะสมไว้อยู่ที่จุดนี้ตลอดเลย แล้วผู้ที่รื้อค้นเข้าไปถึงจุดนี้ถึงจะเห็นว่า จิตนี้เคยเกิดและเคยตายมากี่ชาติ จะภพชาติไหนจะย้อนกลับได้หมด ย้อนกลับคือไปเห็นข้อมูลเดิมของตัวของจิตแล้ว เห็นข้อมูลของจิตว่า จิตตัวนี้เคยเกิดและเคยตาย เคยสะสมสิ่งใด แล้วย่อยสลายข้อมูลนั้น กลับมาอยู่ที่ตัวจิตนี้หมดเลย นี่สิ่งนี้จะแสดงตัวออกมา ผู้ที่เห็นความเกิดและความตาย ตัวนี้ต่างหากเป็นตัวพาเกิดและพาตาย เกิดในสวรรค์ เกิดในนรก เกิดในอินทร์ในพรหม ตัวนี้พาเกิดทั้งหมด

แล้วเรารื้อค้นจนถึงที่สุดแล้ว มันถึงสลดสังเวชไง อ๋อ! อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะมืดมนอนธการ ถึงได้เวียนตายเวียนเกิด ถึงเป็นทาสของอวิชชา ถึงว่ากิเลสพาจิตดวงนี้เวียนไปในวัฏฏะไง แล้วย้อนกลับเข้ามาด้วยปัญญาญาณ พลิกคว่ำสิ่งนี้หมดเลย สิ่งนี้พลิกคว่ำสลายออกไปหมด จากสิ่งที่ว่าเวิ้งว้างเป็นความว่าง จะไม่มีสิ่งใดว่างอีกเลย ความว่างอันนี้เป็นสาธารณะ ความว่างนี้ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ผู้ใดเป็นเจ้าของความว่าง ผู้นั้นเป็นสิ่งยึดมั่นถือมั่นในความเป็นอัตตาในหัวใจ

สิ่งที่ว่าว่างๆ นั้นเป็นแค่สมมุติ สมมุติที่ว่าให้ใช้ชื่อว่าสิ่งนี้เป็นความว่าง เป็นความว่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า ธรรมะที่แล้วคือความเวิ้งว้าง คือความว่าง หลุดพ้นออกไปจากกิเลสทั้งหมด เป็นธรรมอันนี้ เป็นสาธารณะ เป็นสิ่งที่ว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นเจ้าของ จิตดวงนั้นเป็นผู้รับรู้เอง รับรู้แต่ไม่มีสิ่งต่างๆ ไปยึดมั่นถือมั่น ไม่มีสิ่งต่างๆ ไม่ใช่มรรค ไม่ใช่สิ่งต่างๆ มรรคนี้เป็นทางเดินต่างหาก

สิ่งที่เป็นอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคนี้เป็นเครื่องมือ เป็นปัญญาญาณที่จะชำระกิเลสออกไป ฆ่ากิเลสตายมาเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จนถึงที่สุดแล้วได้ครองธรรม ได้ครองใจ ใจนี้เป็นสมบัติ เป็นสมบัติของใจดวงนั้น ใจดวงนี้เป็นสมบัติผู้ที่ว่าประพฤติปฏิบัติแล้วแต่บุคคล

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ไปแล้วก็จบไป แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีองค์เดียวเหรอ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากมายมหาศาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องปล่อยเรื่องของกิเลส จนว่างจนพ้นออกไป อัครสาวกต่างๆ สาวกะ-สาวกผู้เดินตามต่างๆ ก็ต้องทำใจแบบนั้น ประพฤติปฏิบัติ ชำระล้างหัวใจออกไปอย่างนั้น ได้ครองธรรมโดยไม่มีเจ้าของ เป็นสาธารณะเป็นความเป็นจริงของเขา จะไม่ผ่องใสจะไม่เศร้าหมอง จะไม่เป็นสิ่งใด จะไม่กลับมาอีก ใจดวงนั้นจะไม่กลับมาเป็นความทุกข์อีกเลย ใจดวงนั้นเป็นผู้ที่พ้นออกไปจากกิเลส

ในการประพฤติปฏิบัติ ในการสะสมของใจ นั่นน่ะใจถึงเป็นสิ่งที่ประเสริฐ อย่าเห็นสิ่งต่างๆ มีคุณค่าเหนือใจ ถ้ามีคุณค่าเหนือใจ ใจนี้มันถึงเป็นประโยชน์ไง แต่ถ้าพูดถึงผู้ที่หยาบ เขาก็ไม่เชื่อหรอก เขาไม่เชื่อว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นคุณค่าของใจจริงหรือ...ก็นึกเอาสิ นึกเอา คิดเอา จินตนาการเอา ให้ใจมีความสุข มันก็ต้องมีความสุขตามอำนาจของใจ

นั่นน่ะเวลากิเลสมันหยาบ มันคิดขนาดนั้นนะ ถ้าใจมันมีอำนาจจริง เราต้องนึกสิ่งใดแล้วสมความปรารถนา นั่นน่ะเวลาคิดเรื่องกิเลส มันจะเป็นเรื่องของกิเลส ถ้าคิดเป็นเรื่องของธรรม มันจะเป็นแบบนั้นได้อย่างไร ในเมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ในเมื่อเราเกิดมาแล้ว เรามีความรู้สึก ความรู้สึกมันก็เวียนไปตามความคิดของกิเลสอันนั้น แต่เพียงแต่เราเชื่อธรรมขึ้นมา

เวลากิเลสมันมีอำนาจมันกัดเรา กัดเราให้เจ็บให้ปวด เห็นไหม เราจะประพฤติปฏิบัติธรรม เราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราจะประพฤติปฏิบัติ แล้วทำให้สมความเป็นจริงขึ้นมา มันก็มากัด กัดให้เราพ้นออกไป กัดให้เราไม่เชื่อไง กัดไม่ให้เชื่อว่าถ้าใจมีอำนาจจริง ใจต้องเป็นไปตามความรู้สึก ตามความคิดได้ ถ้าความคิดได้

เพราะกรรมมันปิดบังไว้น่ะ เราสร้างกรรมดี กรรมดีไปชนะกรรมชั่ว ลบล้างความชั่ว กรรมชั่วคือความไม่เข้าใจในหัวใจนั้น ด้วยมคฺค อริยสจฺจํ กรรมดีอันนั้นไปลบล้างความชั่วออกไปจากใจ ลบล้างความชั่วออกไปจนใจมันเปิดเผยออกมา

สิ่งที่เปิดเผยออกมานั้นมันถึงจะเห็นคุณค่าไง ถ้าใจเปิดเผย เปิดกิเลส เพิกกิเลสออกไปจากใจ ใจมันจะโดนเปิดเป็นความมืดที่ว่าความมืดในหัวใจนั้นจะเปิดให้สว่างขึ้นมาๆ ความเข้าใจของใจมันถึงจะเห็นคุณค่าของใจ ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่มีอำนาจวาสนา ความเชื่อนี้เป็นอำนาจวาสนาแล้ว เราต้องคิดตรงนี้ก่อน คิดว่าเราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เราอยากจะเอาตัวเรารอดขึ้นมานี่ เรามีอำนาจวาสนาแน่นอนอยู่แล้ว แล้วทำอย่างไรจะให้ถึงที่สุดของเรา ถึงที่พึ่งของเราได้ตามความเป็นจริง

มันต้องมีความมุมานะไง มันถึงต้องมีความอุตส่าห์พยายาม ความอุตส่าห์พยายามเป็นความดี เป็นความเพียร ความเพียรของเราเกิดขึ้นมาเพราะเราตั้งใจ ถ้าเราตั้งใจความเพียรก็เป็นของเรา ถ้าเราไม่ตั้งใจ มันเหลาะแหละ เดินจงกรมก็สักแต่ว่าเดินจงกรม นั่งสมาธิก็สักแต่ว่านั่ง สติไม่มี ถ้าไม่มีสติ ความเพียรนั้นไม่เป็นความเพียร แล้วเราก็ทำของเรา ไหนว่า ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีจะเป็นประโยชน์กับเราไง ธรรมต้องถึงได้ ถ้าทำสมควรแก่ธรรม

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ธรรมาวุธจะเกิดขึ้น ปัญญา ธรรมาวุธนี่ เป็นปัญญาธรรมเกิดขึ้นมาในหัวใจ แล้วเราจะเริ่มแยกแยะออกไป แยกแยะออกไป ค้นคว้าออก เห็นไหม ค้นคว้าจนกว่าจะจับต้องสิ่งต่างๆ แล้วเพิกถอนออกไป นั่นน่ะสิ่งที่เป็นประโยชน์ ใจจะเป็นประโยชน์เป็นประโยชน์ตรงนั้น เป็นประโยชน์ตรงที่ว่า มันได้ทำความเป็นจริง แล้วมันเปิดเผยออกมาตามความเป็นจริง

แต่ถ้าเราคิดเอา อ้างเอาไง กิเลสอ้างเล่ห์ อ้างจะเป็นประโยชน์กับตัว อ้างว่าถ้ามันเป็นจริง มันไม่เป็นความสมความปรารถนา แล้วก็คิดคาดหมาย พอคาดหมายทำไม่สมความปรารถนา แล้วก็เลิก

“สิ่งนี้ทำแล้ว เราได้พิสูจน์แล้ว ไม่มีหรอก อย่าไปเชื่อ เราไม่เชื่อ เราไม่เชื่อเพราะเราทำแล้ว เราทำไม่ได้”...ถ้าเราคิดอย่างนั้น นั่นน่ะกิเลสกัด กัดเอาเจ็บปวดแสบร้อน เพราะจะกัดเอากาลเวลาของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะเรื่องของกาลเวลา คือใจจะทรงคุณงามความดี ตัดทอนคุณงามความดีของใจ ตัดทอนเวล่ำเวลาของใจไง

อกาลิโก ไม่มีกาลไม่มีเวลา ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จะต้องได้รู้ธรรมตามความเป็นจริง

ใจได้ครองธรรมนะ ได้ครองธรรม ได้ครองจริงๆ เราได้ครองธรรม ธรรมนี่ ใจนี่มันเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ประเสริฐจริงๆ แล้วใจดวงนี้เป็นภาชนะอย่างเดียวที่จะไปรับธรรมอันนี้ ธรรมอันนี้ ดูสิ มรรค ๔ ผล ๔ ความละเอียด ความหยาบ ความละเอียดในหัวใจ มันเพิกถอน เปิดไปเป็นชั้นๆ เข้าไป เปิดที่ไหน? มันก็เปิดที่ใจสิ หัวใจมันมืดบอดแล้วมันเปิดที่นั่นๆ

ภูเขาเลากา บ้านเรือนบ้านช่องต่างๆ เซฟที่เก็บเงินเก็บทองจะว่า จะไปเก็บเรื่องมรรคผลนิพพานไม่มี ไม่มีสิ่งใดๆ จะเก็บสิ่งนี้ได้เลย แต่สิ่งนี้หัวใจเท่านั้นสัมผัสสิ่งนี้ได้ แล้วเราเปิดมาในหัวใจของเรา เราเปิดขึ้นมา นั่นน่ะได้ครองธรรม “ใจได้ครองธรรม” ได้ประสาอย่างนั้น เราถึงจะต้องเห็นคุณค่าของใจ ถ้าใจเรายังมีอยู่ มีลมหายใจอยู่ ผู้ที่มีลมหายใจเข้าและลมหายใจออก

ผู้นี้ผู้มีเวลายังเป็นประโยชน์กับเรา “อกาลิโก” กาลยังเป็นของเราอยู่

แต่ถึงเวลาแล้วถ้าเราปล่อยให้ชีวิตเราสิ้นไปแล้ว หมดโอกาส สิ่งที่หมดโอกาสมันก็ต้องตายไปโดยกรรม กรรมจะเวียนไปตามธรรมชาติของกรรมนั้น แล้วเราก็เวียนตายเวียนเกิดไปตามภพชาติ ทุกข์ร้อนไป พบพุทธศาสนาแล้ว ไม่ได้ผลจากในศาสนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้ให้เราสาวกะ-สาวก บริษัท ๔ ที่เชื่อมั่นในธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมนั้นจะอยู่ในหัวใจของธรรมดวงนั้น เอวัง