เทศน์บนศาลา

เสือกระดาษ

๒๓ ก.ย. ๒๕๕๕

 

เสือกระดาษ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมเนาะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมนะ ระหว่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ นี่ความเห็นชัดเจนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงเห็นโทษของกิเลส

เห็นโทษของกิเลสเพราะถ้ายังอยู่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ กำลังศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ความรู้ ความเห็น ความเข้าใจของเจ้าชายสิทธัตถะ นี่สิ่งใดที่มีการศึกษา สิ่งใดที่ค้นคว้าสิ่งนั้นมันเป็นสิ่งที่น่าสนใจ สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ เป็นความจริงไปได้ แต่มันไม่เป็น เห็นไหม ศึกษาปฏิบัติขนาดไหน นั้นเป็นเรื่องของกิเลส

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมด้วยอาสวักขยญาณ ด้วยวิชชา ๓ ด้วยสัจธรรมในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปลี่ยนแปลงจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากเจ้าชายสิทธัตถะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิด เห็นไหม เกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะที่สวนลุมพินี ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากเจ้าชายสิทธัตถะ นี่ได้เกิดอีกทีหนึ่ง เกิดในธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นขึ้นมา นี่เกิด ๒ หน เกิดหนหนึ่งเกิดมาในโลก เกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วพยายามรื้อค้นค้นคว้าในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดอีกหนหนึ่งเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แล้วเวลาปรินิพพาน เห็นไหม ตายไปจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นโลก แต่ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมอันนั้นประเสริฐ ธรรมอันนั้นไม่มีเวียนตายเวียนเกิด สิ่งที่เวลาในวันวิสาขบูชา วันเกิด วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานเป็นวันเดียวกัน วันวิสาขบูชา

ขณะที่ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา สิ่งที่ตรัสรู้ธรรมกับไม่ตรัสรู้ธรรม ความรู้สึกในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นมันแตกต่างมาก ความแตกต่างอันนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นโทษของกิเลส ถึงแสดงธรรมไว้ วางธรรมและวินัยนี้ไว้

สิ่งที่น่าสะพรึงกลัว จนเวลาเผยแผ่ธรรมมา ถ้าเป็นมหายานจะบอกว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือการเกิดและการตาย การเกิดและการตายนี้เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญมาก ฉะนั้น เขาจะพยายามประพฤติปฏิบัติของเขา รื้อค้นสิ่งนี้เพื่อให้พ้นจากกิเลสตัณหาความทะยานอยากไปได้

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เห็นโทษของกิเลสไง กิเลส เวลาที่มันครอบงำในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มันทำให้เราเคลิบเคลิ้มไปกับมันได้ขนาดไหน ทำให้เราติดพัน ทำให้เรามีความรู้สึกให้กิเลสมันมีอำนาจในหัวใจ ความรู้สึกเป็นอย่างไร

เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว เวลาฆ่ากิเลส อาสวักขยญาณทำลายอวิชชาในหัวใจ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ ในหัวใจจนสิ้นไปจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่เสวยวิมุตติสุข นี่มันสุขอย่างนี้สุขอย่างไร สุขที่กิเลสมันตามหาไม่เจอ พญามารค้นหาอย่างไรก็ไม่เจอ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติ เห็นไหม เวลาต่อสู้กับกิเลส กำลังภาวนาอยู่นี่ เทวดามาเป็นบุคลาธิษฐาน ดีดพิณ ๓ สาย ถ้าตึงไปมันก็ขาด ถ้าหย่อนไปเสียงมันก็ไม่ดัง นี่มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางๆ แล้วทางสายกลางของใครล่ะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาด้วยทางสายกลาง ด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยทางที่อาสวักขยญาณด้วยธรรมในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนี้มันมหัศจรรย์ขนาดไหน แล้วพอกิเลสมันตายไปแล้ว เห็นไหม เสวยวิมุตติสุขนี่ มันมีสิ่งใดที่จะมาเป็นเครื่องล่อ มันจะมีสิ่งใดที่จะมากระตุ้น มันจะมีสิ่งใดที่ทำให้เคลิบเคลิ้มกับโลกนี้ไปอีก? มันไม่มี เห็นไหม มันไม่มีเพราะได้ทำลายอวิชชา ได้ฆ่ากิเลส ได้ฆ่าเสือตัวเป็นๆ ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วยังมีชีวิตอยู่นะ ยังมีชีวิตอยู่ด้วยคุณธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ นี่วางธรรมและวินัยนี้ไว้

เวลาเราศึกษานะ ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราศึกษามา ถ้าเป็นทางโลก เวลากิเลสมันกลืนกินเรานะ ดูทางโลกสิ ทางโลก คนเราเวลามันโกรธ เวลามันมีความหลง เวลามันมีความโลภ ความโกรธ ความหลง แล้วมันทำลายชีวิตทั้งชีวิตนะ ชีวิตนี้โดนทำลายไปหมดเลย ด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม

ดูสิ นี่เสือ อวิชชามันกินหัวใจดวงนั้น แล้วมันทำลายทุกวิถีทาง ทำลายไป ทำลายความดีความงามในร่างกายของเราในจิตใจของเราให้อยู่ในอำนาจของมัน มันทำลายทุกอย่างเลย มันถึงน่ากลัว น่ากลัวแต่เขาไม่รู้เขาไม่เห็นของเขา นี่เขาอยู่กับเสือ อยู่กับพญามาร แต่เขาไม่เห็นโทษของพญามาร

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ จะกล่าวเตือนตลอดเวลาให้มีสติ ให้มีการจาคะ ให้มีการเสียสละเพื่อให้พ้นจากเงาของมัน ให้พ้นจากเงาของอวิชชาที่มันครอบงำในหัวใจนั้น ถ้าทำสิ่งนี้ได้ เห็นไหม จิตใจคนคนนั้นจะดีงามขึ้นมา ถ้าดีงามขึ้นมา สิ่งที่ดีงาม ดีงามในศีลธรรมจริยธรรม ถ้าศีลธรรมจริยธรรม สังคมใดมีศีลธรรมจริยธรรม สังคมนั้นจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ถ้าสังคมนั้นมีความร่มเย็นเป็นสุข นี่ความอยู่แบบโลกๆ ถ้าโลกเขาก็อยู่อย่างนั้นถ้ามีศีลธรรม

เวลาศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเพราะมีเครื่องอยู่เครื่องอาศัยไง จิตใจมันต้องอยู่กับโลกตลอดไป ถ้าจิตใจมันอยู่กับโลกตลอดไปมันมีแต่ความทุกข์ความยากนะ แล้วหาทางออกไม่ได้ แล้วมาศึกษาธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาแล้วเราต้องประพฤติปฏิบัติ เราต้องทำให้เป็นความจริงขึ้นมา...ทำความเป็นจริงอย่างใดล่ะ นี่เป็นความจริงขึ้นมาเราก็เข้าใจของเรา เห็นไหม

สิ่งที่การศึกษานะ ถ้าสิ่งที่มันมีชีวิต เราดูสัตว์เลี้ยงสิ สัตว์เลี้ยงที่มีชีวิตเราต้องดูแลมัน ถ้ามันขาดอาหาร มันขาดน้ำ ขาดต่างๆ มันก็ต้องตาย แต่สิ่งที่เป็นทางวิชาการมันเหมือนกับกระดาษ นี่มีวิชาการก็จดจารึกไว้ เราศึกษาอย่างไร เราทำอย่างไรมันก็จะอยู่กับเราตลอดไป ถ้ามันอยู่กับเราตลอดไป ศึกษาแล้วนี่เหมือนเสือกระดาษ มันไม่ใช่เสือจริงๆ

แต่เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเผชิญกับเสือจริงๆ มา เสือจริงๆ คือเห็นอวิชชา เห็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากตามความเป็นจริง แล้วขณะที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะที่เราต่อสู้กับมันมานะ มันทำให้เคลิบเคลิ้ม มันทำให้หลงใหล มันทำให้เชื่อถือมัน แล้วสิ่งนั้นก็เป็นธรรมๆ แต่มันเสร็จแล้วมันก็ไม่มีสิ่งใดเป็นธรรมสักอย่างหนึ่ง เห็นไหม

เวลาย้อนกลับมาฉันอาหารของนางสุชาดา แล้วมีความประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา เวลาฆ่ามัน ฆ่ามันด้วยวิธีใดล่ะ เวลาไปเห็นมัน นี่เวลาอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาที่ว่าเป็นพญามาร เป็นปู่ของกิเลสนี่ เวลาว่าอวิชชาๆ นี่เป็นยักษ์เป็นมารที่เขาเขียนไว้ตามจิตรกรรมฝาผนังว่าอวิชชามันน่าสะพรึงกลัว อวิชชานี่มันน่าหวาดน่ากลัวไปทั้งนั้นน่ะ

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเจอ ไปเจออย่างนั้นไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเจออวิชชานะ มันละเอียด มันลึกซึ้ง เห็นไหม จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลสน่ะ สิ่งที่มันอ้อยสร้อยอ้อยอิ่งในหัวใจน่ะ นี่พญามาร ความละเอียดอ่อนของมันไง แต่เวลาเราเห็นโทษของมัน เห็นไหม ว่าอวิชชาเป็นยักษ์เป็นมาร เป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว เราก็เขียนวาดรูปกัน คาดหมายกันว่ามันเป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว มันคงจะเป็นยักษ์เป็นมาร แต่ความจริงมันเป็นความอ้อยสร้อย เป็นสิ่งที่เป็นความเคลิบเคลิ้มหลงใหลในใจ นั่นน่ะ คือกิเลสอย่างละเอียดที่สุด

แต่ถ้ากิเลสอย่างหยาบๆ ล่ะ กิเลสอย่างหยาบๆ มันเป็นแบบใด

นี่กิเลสหยาบๆ นะ มันทำให้ชีวิตเราลุ่มๆ ดอนๆ นี่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ศาสนา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้คนพ้นจากกิเลสไปได้ แต่เราเกิดมาแล้วเรามีความมั่นใจขนาดไหน เรามีความเชื่อมั่นในความเป็นจริงขนาดไหน ถ้าไม่มีความเชื่อมั่นเป็นความจริง เราก็อ่อนแอ เราก็ว่าเราจะทำไม่ได้ๆ นะ

ขณะที่คนประพฤติปฏิบัติ ในสมัยพุทธกาลนะ เวลาเทวทัตบวชมาในพุทธศาสนา เวลาเทวทัตออกบวชนะ ออกบวชทั้งศากยวงศ์ ๖ องค์ ทั้งพระนันทะ พระอานนท์ ต่างๆ นี่บวชมา ๖ องค์ ประพฤติปฏิบัติไปถึงที่สุด ถ้าประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง นี่ชำระกิเลสได้ตามความเป็นจริง

แต่เวลาเทวทัตมาบวชแล้วก็ประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ได้สิ่งใดมา? ได้ฌานโลกีย์มา เห็นไหม พอได้ฌานโลกีย์มา นี่เสือเป็นๆ...เสือเป็นๆ นี่ไม่ได้ชำระล้างมัน แล้วมันครอบงำไง เพราะเทวทัตเห็นพระนันทะ เห็นพระอุบาลี เห็นพระต่างๆ นี่นางวิสาขา เวลามาเยี่ยมมาเยียนต่างๆ เขามีสัตตาหกาลิก สิ่งที่เป็นน้ำปานะต่างๆ มาถวาย ไม่เคยเห็นพระเทวทัตเลย พระเทวทัตก็ว่าทำไมเป็นอย่างนั้นๆ...นี่เสือมันเริ่มฟื้นตัวมาจากใจ

เวลาเราทำฌานโลกีย์ ทำความสงบของใจมันก็มีฌานโลกีย์ มันก็มีฤทธิ์มีเดชเหมือนกัน แต่เพราะเสือนี่มันมีอำนาจ มันกัดกินหัวใจไง พอมันกัดกินหัวใจนี่ “ทำไมเราไม่มีศักยภาพ ทำไมเราไม่เป็นที่น่าสนใจ ทำไม จะทำอย่างไร” เห็นไหม นี่คิดแสดงสิ่งที่ว่าเป็นฌานโลกีย์

ฌานโลกีย์ เห็นไหม พอมันเข้าฌานสมาบัติแล้วมันจะแปลงตนเป็นสิ่งใด ทำสิ่งใด ไปแปลงตัวเป็นงูไปพันบนศีรษะของอชาตศัตรู นี่ทำอย่างไรให้เขาเห็นความสำคัญของตนไง สิ่งที่ทำนี่โดยกิเลส เห็นไหม ดูเสือมันกัดมันกินนะ กัดกินคุณงามความดี กัดกินต่างๆ ในหัวใจ ทั้งๆ ที่ปฏิบัตินะ พอปฏิบัติขึ้นมา นี่สิ่งที่ปฏิบัติ แต่พอปฏิบัติแล้วมันเป็นฌานโลกีย์ ไม่ได้ไปทำลายสิ่งใดๆ เลย ถ้าไม่ได้ไปทำลายกิเลสสิ่งใดๆ เลย กิเลสกลับมาเพาะงอกงามในใจ

พอเพาะงอกงามในใจ นี่ไปหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะขอปกครองสงฆ์ ไปขอให้พระต้องทำให้เข้มแข็ง ต้องห้ามอยู่บนกุฏิ ห้ามฉันเนื้อสัตว์ ห้ามต่างๆ นี่เวลากิเลสมันกัดหัวใจ เสือตัวเป็นๆ นี่มันกัดกินในหัวใจ แล้วก็คิดตามมันไปไง แต่คิดตามไปแบบทางโลก ถ้าทางโลกมองด้วยถึงองค์กรของสงฆ์ ถ้าสงฆ์เคร่งครัด สงฆ์ทำสิ่งใดที่มันเพื่อการชำระกิเลสสิ่งนั้น โลกต้องมองว่าดีสิ ทำไมไปขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยอมให้ล่ะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “เป็นไปไม่ได้ เทวทัต แม้แต่พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของเรา เรายังไม่ให้ปกครองสงฆ์เลย แล้วท่านเป็นใคร”

แล้วเวลามาขอ เห็นไหม ขอพร ๕ ข้อ ต้องไม่ฉันเนื้อสัตว์ ต้องไม่อยู่ในกุฏิ ต้องอยู่โคนต้นไม้ตลอดไป นี่ต้องถือธุดงค์ตลอดไป

สิ่งนี้ ถ้าใครมีความมุ่งหมาย มีความมั่นใจ มีการกระทำ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนุญาต ให้อยู่ที่เจตนา อยู่ที่คนอยากจะทำ แต่พระบางองค์ ผู้ปฏิบัติบางองค์เขาไม่มีความเข้มแข็งได้ขนาดนั้น เขาไม่มีความสามารถจะทำได้ขนาดนั้น ถ้าเขามีความตั้งใจของเขา เขาบวชของเขาเพื่อสร้างบารมีของเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็อนุญาต ท่านอนุญาตเพื่อให้ทุกๆ คนมีโอกาสได้รับคุณประโยชน์จากพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่ามีแต่ผู้ที่ว่าจำเป็นว่าจะต้องเข้มแข็ง จะต้องทำอย่างนั้นถึงจะได้อยู่ในพระพุทธศาสนา แล้วถ้าทำไปแล้วคนมันจะน้อยลง

แต่ถ้าใครทำได้ล่ะ ใครทำได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็สาธุการ ท่านก็เห็นดีด้วยถ้าใครทำได้ ทำได้แล้วทำตามความเป็นจริง แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านอนุญาตนะ อนุญาตให้อยู่โคนไม้ได้ ๘ เดือน หน้าฝนนี่ไม่อนุญาต ให้เข้าที่ร่ม ให้เข้าอยู่ในที่มุงที่บัง

แล้วการไม่ฉันเนื้อสัตว์ ถ้าไม่ฉันเนื้อสัตว์นะ เวลาเราอดอาหารกันมันรุนแรงยิ่งกว่านั้นอีก เพราะไม่ฉันสิ่งใดๆ เลย อดอาหารเพื่อให้กิเลสมันยุบยอบตัวลง เวลาอดอาหาร ผ่อนอาหาร กับไม่ฉันเนื้อสัตว์ ฉันเนื้อสัตว์ นี่มันเป็นความเห็นของโลกไง แต่ถ้าเป็นความจริงน่ะ การอยู่และการกินมันเป็นเพราะให้ดำรงชีวิต ถ้าดำรงชีวิตนี้ไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เห็นกิเลส เห็นเสือที่มันกัดกินหัวใจ เห็นต่างๆ นี่เห็นมันมาหมดแล้วไง แล้วถ้าเวลาปฏิบัติไป เวลาฆ่ามันตายไปแล้ว ใช้ฆ่ามันด้วยวิธีการใดล่ะ? ฆ่าด้วยมรรคญาณ ฆ่าด้วยอริยสัจ ฆ่าด้วยสัจจะความจริงในหัวใจ

การอยู่การกินมันอยู่เพื่อดำรงชีวิต มันก็เป็นเรื่องธาตุ ๔ เรื่องปากเรื่องท้อง มันไม่สามารถชำระกิเลสได้หรอก คนเรากินอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ตลอดไปมันก็ชำระกิเลสอะไรไม่ได้หรอก แต่ดำรงชีวิตนี้ดำรงชีวิตไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติ ถ้าประพฤติปฏิบัติ ถ้ามีศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา ให้ศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา นั่นคือมรรคญาณ สิ่งนั้นล่ะที่จะไปชำระล้างกิเลส ถ้าสิ่งนั้นไปชำระล้างกิเลส มันอยู่ที่การอยู่และการกินไหมล่ะ

การอยู่และการกินมันไปเสริมและไปบั่นไปทอนกิเลสได้ เวลาไปเสริม เห็นไหม ถ้าเราฉันสิ่งใดๆ ที่โลกเขาฉันกันไม่ได้ เราก็ว่าเราเหนือกว่าเขา เราเก่งกว่าเขา เราดีกว่าเขา เห็นไหม ถ้าเราฉันที่ว่าแย่กว่าเขา เราว่าเราต่ำกว่าเขา เราด้อยกว่าเขา นี่ไง มานะ ๙

เราดีกว่าเขา สำคัญตนว่าดีกว่าเขา สำคัญว่าเสมอเขา...

เราเสมอเขา สำคัญว่าเสมอเขา สำคัญว่าสูงกว่าเขา สำคัญว่าต่ำกว่าเขา

เราต่ำกว่าเขา เราสำคัญว่าต่ำกว่าเขา สำคัญว่าเสมอเขา สำคัญว่าสูงกว่าเขา

นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฆ่าเสือตัวนี้มาแล้ว แล้วให้เสือตัวนี้มากินใครอยู่ได้อย่างไร

ฉะนั้น สิ่งที่เวลาเทวทัตขอพร ถ้ามองทางโลกๆ อืม! มันก็เคร่งครัดดี มันก็ปฏิบัติแล้วมันจะได้เป็นพระอรหันต์มากๆ ในพุทธศาสนา แต่มันทำไปแล้วมันอยู่ที่กำลังของคน คนมีกำลังมากน้อยขนาดไหน มีจริตนิสัยขนาดไหน ถ้าตรงจริตนี่มันปฏิบัติแล้วมันก็จะมีโอกาสที่จะผ่านสิ่งนี้ไปได้ แต่ถ้าคนเขาไม่ตรงจริตนิสัยของเขา ทำสิ่งใดมันก็ไม่เป็นประโยชน์ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามองแตกต่างกันเยอะมาก มองแตกต่างเพราะว่าอะไร เพราะว่าได้ชำระล้างกิเลสมาแล้วไง ไอ้เสือเป็นๆ ในหัวใจได้ฆ่ามาแล้ว

แต่เทวทัต ไอ้เสือเป็นๆ มันกัดกินหัวใจของเทวทัตไง พอกัดกินหัวใจของเทวทัต นี่อ้างสิ่งนั้นมาเพื่อแสดงว่า เราได้ขอทำสิ่งที่ดีงามแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อนุญาต ฉะนั้น เราจะทำของเรากันเอง...แยกสงฆ์ออกไป เห็นไหม แยกสงฆ์ออกไปว่าเราจะเหนือกว่า ทำดีกว่า สุดท้ายแล้วมันก็ไปไม่รอดหรอก ไปไม่รอด เพราะว่าถ้าแยกสงฆ์แล้ว เห็นไหม จิตใจที่มีคุณธรรมที่เป็นฌานโลกีย์นี่เสื่อมหมด เสื่อมหมดจนไม่มีอะไรสิ่งใดมีค่าในหัวใจเลย แล้วมันก็มีแต่ไฟเผาทุกข์ร้อนในหัวใจ เห็นไหม นี่ถ้าเสือมันกัดกินหัวใจนะ แล้วเสือเป็นๆ อย่างนี้ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชำระล้างมันมา

ฉะนั้น เวลาเรามาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม นี่เสือกระดาษ ถ้าเป็นเสือกระดาษ เห็นไหม เวลาพ่อแม่สั่งสอนลูก ลูกขึ้นมาก็ต้องทะนุถนอมเป็นเรื่องธรรมดา ทางวิชาการเรามีสิ่งใดเราก็จะมาสั่งสอน

นี่ก็เหมือนกัน เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นก็กิเลส นี่ก็กิเลส สิ่งไม่ดีไม่งามนี่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากไปทั้งหมด นี่ว่าเขียนเสือให้วัวกลัวๆ นี่มันเขียนเสือขึ้นมา จะศึกษาเสือเพราะว่าสิ่งนี้เป็นกิเลสๆ เราจะศึกษาของเรา เราจะเข้าใจกิเลสของเรา...มันเป็นเสือกระดาษน่ะ ถ้าเป็นเสือกระดาษ เราประพฤติปฏิบัติไป เวลาปฏิบัติเราก็จะปฏิบัติตามเสือกระดาษนั้นน่ะ ถ้าปฏิบัติตามเสือกระดาษ เราจะไม่รู้จักเสือจริงๆ เลย

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเป็นเสือกระดาษ เพราะอย่างเรา เห็นไหม คนที่อ่อนแอ คนที่ไม่เข้าใจสิ่งใดเลย ถ้าไปเผชิญเสือ เสือมันกินหมดน่ะ เสือมันเอาไปกินหมด ฉะนั้น เราต้องศึกษาถึงโทษภัยของเสือก่อน ถ้าศึกษาถึงโทษภัยของเสือ เราก็ศึกษาธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน นู่นก็กิเลส นี่ก็กิเลส เห็นไหม สิ่งใดก็เป็นกิเลสไปหมดเลย แล้วกิเลสแล้วเราชำระกิเลสไปได้อย่างไรล่ะ

นี่เวลากิเลสมันเอาสิ่งนี้มาอ้างนะ มันบอก ถ้าจะชำระล้างกิเลส เราก็รู้เท่าทันมัน เราประพฤติปฏิบัติ นี่ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าครูบาอาจารย์ของเราก็สอนให้พุทโธๆ ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิก็ต้องให้มีสมาธิขึ้นมา เพื่อจะเข้าไปเจอกับเสือเป็นๆ

แต่เวลาคนที่ไม่มีครูบาอาจารย์ ประพฤติปฏิบัติด้วยความรู้ความเห็นของเราเอง ก็ต้องว่า รู้ตัวทั่วพร้อม สิ่งนี้จะเป็นการฆ่าเสือ...มันเป็นเสือกระดาษ เอาอะไรไปฆ่ามัน เสือกระดาษนะ วาดเป็นภาพเสือแล้วไปเผาไฟ เผาจนหมดเป็นขี้เถ้าไปเลย มันก็ไม่ได้ชำระล้างกิเลสแม้แต่น้อย เพราะมันเป็นกระดาษ มันไม่ได้เป็นเสือจริงๆ มันจะไปฆ่าได้อย่างไร ในเมื่อมันไม่ได้เป็นเสือจริงๆ ใช่ไหม

ทีนี้เราเกิดมา มนุษย์มีกายกับใจ ถ้ามีกายกับใจ ความรู้สึกนึกคิดนี่เรื่องของหัวใจ แต่เรื่องของร่างกาย เพราะมันเป็นที่สถิตอาศัยของใจ ใจนี่มันอาศัยอยู่กลางหัวอกของมนุษย์ ฉะนั้น สิ่งต่างๆ มันก็อาศัยใจนี้เพื่อดำรงชีวิต เพื่อประกอบสัมมาอาชีวะ เพื่อดำรงชีวิตไว้เพื่อทำสิ่งใดก็อาศัยร่างกายเป็นเครื่องแสดงออก ฉะนั้น เรื่องของร่างกายมันก็เป็นเรื่องของร่างกาย ก็เรื่องของโลก

ถ้าเรื่องของจิตใจ ในเมื่อเราเกิดมามีกายกับใจ ฉะนั้น ใจมันปฏิสนธิในร่างกายนี้มันเกิดมาก็มีกายกับใจอย่างนี้ล่ะ นี่มันเรื่องของความรู้สึกนึกคิดมันก็มีของมันอยู่ ถ้ามีของมันอยู่ มันคิดอย่างใด มันทำอย่างใด มันคิดของมันไง

ทีนี้ พอคิดของมัน มันคิดถึงว่าเสือกระดาษๆ ถ้าเสือกระดาษ เราศึกษามานี่เป็นทางวิชาการ มันเป็นเสือกระดาษ แล้วความรู้สึกนึกคิดเรานี่ก็เป็นนามธรรม มันเป็นเสือกระดาษได้อย่างใดล่ะ...ความรู้สึกนึกคิดของเรามันก็เป็นเสือกระดาษ เสือกระดาษเพราะอะไร เพราะความรู้สึกนึกคิดนี้ สัญชาตญาณของมนุษย์มันมีของมันอยู่แล้ว

นี่เวลามันมีของมันใช่ไหม เรามีความรู้สึกนึกคิดใช่ไหม? มี เวลามีความรู้สึกนึกคิดแล้ว เราเอาความรู้สึกนึกคิดนี่ไปศึกษาสิ่งใด ในเมื่อธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มันก็เป็นเรื่องโลกๆ นี่ไง ถ้าเป็นโลกขึ้นมา ถ้าเราใช้ปัญญาขึ้นไปมันก็เป็นโลกียปัญญา ปัญญาเกิดจากสามัญสำนึก ปัญญาเกิดจากเวรจากกรรม คนที่สร้างบุญญาธิการมา ถ้าจิตใจของเขา เขานุ่มนวลของเขา ความรู้สึกนึกคิดของเขาก็นุ่มนวล ความรู้สึกนึกคิดเขาก็ละเอียดอ่อน แต่คนที่มันหยาบ เกิดเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่เป็นมนุษย์ที่ว่าจิตใจที่มันสร้างเวรสร้างกรรมมา เกิดมามันก็มีแต่ความหยาบกระด้าง ความรู้สึกนึกคิดก็คิดด้วยความหยาบกระด้างทั้งนั้นน่ะ

ถ้าความหยาบกระด้าง เห็นไหม สิ่งนี้มันก็เป็นเรื่องโลก โลกๆ ก็เกิดจากตรงนี้ไง เกิดจากเวรจากกรรม เกิดจากความรู้สึกนึกคิด แล้วเกิดจากเวรจากกรรม ความรู้สึกนึกคิดมันก็เป็นเรื่องโลกๆ...โลกๆ ก็เสือกระดาษไง ถ้าเป็นเสือกระดาษ นี่มันเผาอย่างไร เผาลนอย่างไรมันก็ไม่เจ็บช้ำหรอก เพราะกระดาษมันไม่มีความรู้สึกนึกคิด

ทีนี้ ความรู้สึกนึกคิด เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ศึกษาจากวิชาการมันก็เป็นเสือกระดาษอยู่แล้ว เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็รู้ตัวทั่วพร้อมๆ แล้วรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วจบได้อย่างล่ะ แล้วไปทำอะไร จะไปเจอเสือที่ไหนล่ะ? มันก็ไม่ได้เห็นเสือ มันก็ไม่รู้จักเสือไง มันก็ไม่รู้จักกิเลสตัณหาความทะยานอยากของตัวเลย

แต่ถ้าเสือกระดาษ เห็นไหม ศึกษานะ เสือมันมีเขี้ยว เสือมันมีเล็บ กรงเล็บมันมาตะปบ มันสามารถฉีกกะโหลกศีรษะของคนได้ นี่กิเลสเป็นแบบนั้น เราศึกษาหมดน่ะ เวลาศึกษาธรรม เวลาปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความเข้าใจของเราไง กิเลสมันเป็นแบบนั้น กิเลสมันเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง แล้วรู้เท่าทันแล้วมันก็ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่มันก็จะเอาเสือกระดาษไปเผา ถ้าเอาเสือกระดาษไปเผา พอเผาขึ้นมา สิ่งนี้มันก็ปล่อยวางหมด ปล่อยวางแล้วทำอย่างไร เราต้องเข้าใจหมด...เสือกระดาษทั้งนั้น!

ถ้าเสือกระดาษทั้งนั้น มันไม่เป็นความจริงไง

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้มาเป็นพระอรหันต์ก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ เป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ในเรื่องปริยัติ การศึกษา ศึกษาเป็นเสือกระดาษ ถ้าเรายังไม่มีวิชาการต่างๆ ใดๆ เลย แล้วเราจะไปต่อกรกับเสือ เราก็ไปเป็นอาหารของเสือเท่านั้นน่ะ ถ้าเราเป็นอาหารของเสือ เราก็ศึกษาทางวิชาการ เพราะเราเกิดมาเป็นสาวกสาวกะ เราศึกษา เราเกิดมามันมีทางวิชาการ มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางไว้แล้ว เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...

“ในบรรดาสัตว์สองเท้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด”

ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เผชิญกับกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ได้ทำลายชำระล้างกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจไปหมดแล้ว นี่วางธรรมและวินัยนี่ก็เป็นปริยัติ เพราะในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ...ปริยัติคือการศึกษา ศึกษานี่เป็นเสือกระดาษ...ใช่ เสือกระดาษแน่นอน ศึกษามานี่เป็นเสือกระดาษ ศึกษากับโลกด้วย จิตใจเป็นโลก ศึกษามาด้วยกิเลสด้วย ศึกษามาก็จำมา ศึกษามาก็สร้างค่ามา อย่าให้มันกินหัวใจของเรา

ศึกษามา เวลามีความรู้ๆ ความรู้แล้ววางไว้ ความรู้นี่ความรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความรู้นี้มันเป็นการศึกษามา เป็นการจำมา มันยังไม่เป็นความจริงของเรา เป็นความจำ ความจำจำเท่าไรก็ลืม ความจำจำมาแล้ว ถ้าเราไม่มีข้อเท็จจริงของเรา เราไม่มีองค์ความรู้ความเป็นจริงของเรา สิ่งนั้นมันเป็นการจำศัพท์นั้นมา แล้วอ้างอิง เวลาอธิบายว่ากิเลสจะเป็นแบบนั้น ในเมื่อกิเลสอวิชชามันเกิดแล้ว อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ นี่เป็นปัจจยาการของมัน มันจะแสดงตัวของมันอย่างนั้น แล้วเราก็สร้างภาพของเรา จิตใจเราเป็นอย่างนั้นๆ มันก็เลยกลายเป็นเสือกระดาษไปหมดเลย

เวลาบอกให้ปฏิบัติ พอเวลาปฏิบัติขึ้นมา ปฏิบัติแบบโลกๆ ก็ปฏิบัติแบบเสือกระดาษ ก็รู้ตัวทั่วพร้อม หลวงปู่มั่นท่านก็สอนรู้ตัวทั่วพร้อมเหมือนกัน ถ้ารู้ตัวทั่วพร้อม นี่เขาเรียก ถ้ามันรู้เท่า ถ้ามีสติปัญญาขึ้นมา มันเป็นสมถะ มันเป็นการทำความสงบของใจ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ

มันไม่เป็นสมาธิก็ต้องทำความสงบของใจเรานี่แหละ แต่การรู้ตัวทั่วพร้อม ถ้าความเข้าใจผิด เพราะเสือกระดาษ เพราะกระดาษเราจะจับมันเผามันก็เป็นเถ้าถ่านไป มันไม่กระเทือนหัวใจของเราหรอก ฉะนั้น พอเราบอกเรารู้ตัวทั่วพร้อมขึ้นมา เรายับยั้งไว้หมดเลย มันก็กลายเป็นวางยาสลบตัวเองไง...ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่มีสิ่งใดให้เห็นว่ามันเป็นโอกาสหรือเป็นการเผชิญหน้ากับกิเลสด้วยความเป็นจริงเลย

แต่ถ้าเราทำความสงบของใจนะ ปัญญาอบรมสมาธิ พอจิตมันสงบเข้ามาๆ นี่เราเข้าป่านะ นายพรานเวลาเข้าป่าไป แม้แต่เห็นรอยเท้าเสือก็ตกใจแล้วนะ เห็นรอยเท้าเสือ ถ้ารอยเท้าที่ตัวมันใหญ่ น่ากลัวมาก ฉะนั้น เขาต้องระวังตัวทันทีแล้ว เพราะเราเห็นเสือแล้ว เพราะเสือนี่มันเป็นอันตราย มันอาจทำลายถึงชีวิตของเราได้

เวลาเรากำหนดพุทโธๆๆ นะ พอจิตมันเริ่มสงบระงับเข้ามา จิตมันเริ่มสงบระงับเข้ามานะ มันจะเห็นรอยเท้าเสือ มันจะเห็นตามรอยเท้าไง รอยเท้าตามความเป็นจริง นี่มันไม่ใช่เสือกระดาษ เสือกระดาษเขาวาดไว้เป็นภาพ วาดไว้เป็นภาพเพื่ออธิบายให้ผู้ที่ศึกษา ว่าลักษณะของเสือมันเป็นแบบนี้ ลักษณะของเสือนี่มันมีโทษนะ ลักษณะของเสือมันเป็นนักล่า มันกินเนื้อ มันพยายามจะหาเนื้อคน เนื้อสัตว์ เนื้อต่างๆ เพื่อเป็นอาหารของมัน วิธีการที่มันจะกินเนื้อ มันจะล่า มันต้องสบโอกาส ถ้ามันล่าของมันนะ มันล่าแล้วถ้ามันตะปบด้วยกรงเล็บของมัน มันจะกัดที่คอ มันจะหัก มันจะทำ นี่สิ่งนี้สิ่งที่ทางวิชาการเขาเอาไว้ศึกษา

พอศึกษาขึ้นมา ถ้าเรามีทางวิชาการแล้ว ถ้าเวลาเราปฏิบัติล่ะ สิ่งที่เราปฏิบัติขึ้นมา เราก็ต้องกำหนด คนที่จะเข้าไปสู้กับเสือมันก็ต้องมีอาวุธ มันก็ต้องมีเครื่องมือ มันก็ต้องมีกำลังที่ว่าเราจะไปสู้กับเสือ แล้วเสือเป็นอย่างไร ก็ต้องฟื้นฟูตัวเราก่อน เห็นไหม คนที่จะไปสู้กับเสือมันต้องมีกำลังของมันขึ้นมา

ฉะนั้น จิตจะเข้าไปเห็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของตัว ถ้ามันเห็นกิเลสตัณหา นี่กิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันครอบงำอยู่นี่ ดูสิ เวลาคนที่นอนจมอยู่กับกิเลส คนที่ทางโลกที่เขาใช้ชีวิตของเขาหยำเป คนที่เขาทำลาย แล้วเวลามันให้โทษนะ เวลากิเลสมันให้โทษ มันบีบคั้นจนคนคนนั้นอยู่กับโลกไม่ได้ ต้องทำลายตัวเองเชียวล่ะ นี่โทษของมัน

ถ้ามันมีโทษขนาดนั้น แล้วเราจะไปสู้กับมัน เราจะเอาสิ่งใดไปสู้กับมัน

คนเรานะ เวลาคนที่เชื่อในพุทธศาสนาแล้วออกประพฤติปฏิบัติ ความรู้สึกนึกคิดมันก็เป็นอย่างหนึ่ง คนที่เขาอยู่กับโลก เขาบอกว่า เขาไม่เข้าใจ เขาเข้าใจไม่ได้เลยว่าคนทำไมต้องไปวัด ทำไมคนต้องไปประพฤติปฏิบัติ ทำไมคนต้องไปทรมานตน ทำไมคนต้องทำให้ตัวเองเดือดร้อน เขารู้ไม่ได้เลยว่าทำไมคนต้องทำให้ตัวเองเดือดร้อน เขาอยู่กันทางโลก เขามีความสุขของเขา นี่อยู่ทางโลก เห็นไหม ทำมาหากิน มีอยู่มีใช้มันก็เป็นเรื่องดีงามแล้ว...เขาเข้าใจไม่ได้ เห็นไหม

นี่เพราะเสือกินเขาหมดเลย กินทำลายหัวใจนั้น ทำลายโอกาสของเขา ทำลายโอกาสการเกิดเป็นมนุษย์แล้วพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีอะไรให้น่าสนใจเยอะแยะเลย แต่เขาไม่ได้สนใจเลย เขาสนใจแต่ความดำรงชีวิตของเขา นี่เสือมันกินหมดเลย แต่ถ้าจิตใจเราละเอียดอ่อน เราเกิดมาเราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน มนุษย์เกิดมาเขาทำหน้าที่การงานของเขา เขาประสบความสำเร็จของเขา ถ้าเขามีสติมีปัญญาของเขา เขาพยายามฟื้นฟูใจของเขา นั่นประโยชน์ของเขา

เราเกิดมาเราก็เป็นเรา ถ้าเราทำหน้าที่การงานทางโลกเราก็ได้ทำมาแล้ว เราทำหน้าที่การงานทางโลกมา นั่นคือโลกๆ ถ้าเรามีสติปัญญา จิตใจเราละเอียดอ่อนนะ นี่เราจะตายเปล่าหรือ การเกิดและการตายมันเป็นเรื่องสำคัญมากเลย เพราะการเกิดมา เกิดมาด้วยทรัพย์ การเกิดเป็นมนุษย์นี่ได้อริยทรัพย์มา ทรัพย์คือการเกิดเป็นมนุษย์ที่มีร่างกายและจิตใจนี้มา ถ้าได้มาแล้วนี่การเกิดนี้มีค่ามาก แล้วมีค่ามาก เราจะใช้ชีวิตของเราแค่เรื่องการหาอยู่หากิน หาเลี้ยงปากนี้เท่านั้นเหรอ เห็นไหม นี่จิตใจคนที่ละเอียดอ่อนเขาคิดของเขาได้ เขาก็หาทางประพฤติปฏิบัติของเขา

ถ้าเขาหาทางประพฤติปฏิบัติของเขา คนที่เข้าใจไม่ได้เขาเข้าใจไม่ได้ คนที่เข้าใจได้ เราเข้าใจได้ พอเข้าใจได้นี่เรามีโอกาส เราประพฤติปฏิบัติของเรา แล้วเรามาศึกษา ศึกษาขึ้นมา นี่ไง เสือกระดาษ

ศึกษาว่า เวลาผู้บวชใหม่ไปอยู่วัดก็ไปฝึกหัดข้อวัตร นี่เวลาเราอยู่ทางโลกนะ เราหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แต่เรื่องของใจมันก็คิดแต่เรื่องโลก คิดแต่วิชาชีพ เวลาเราไปอยู่วัด เห็นไหม นี่ผู้บวชใหม่ เวลาบวชใหม่เขาไปฝึกหัดข้อวัตร พอฝึกหัดข้อวัตร จับอะไรก็ผิดไปหมดเลย เพราะเราอยู่ทางโลก เราก็อยู่ของเรา เห็นไหม การอยู่การกินเราก็กินโดยธรรมชาติของเรา เวลาไปเป็นปะขาว ไปฝึกหัดข้อวัตร นี่ไม่ได้แล้ว การยืนดื่มน้ำก็เป็นอาบัติทุกกฎ ถ้าเป็นพระนะ เป็นปะขาวยังไม่เป็นอาบัติ ถ้าเป็นปะขาวยังไม่เป็นอาบัติเขาก็ต้องสอน เห็นไหม การดื่ม การอยู่ การกิน จะอยู่แบบโลกเขาไม่ได้เลย

ทำไมอยู่กับเขาไม่ได้ล่ะ ก็กินอยู่เหมือนกัน ทำไมอยู่ไม่ได้ล่ะ

นี่ไง เพราะการอยู่การกินไม่ได้ชำระล้างกิเลส แต่การอยู่การกินมันเป็นเครื่องพฤติกรรมที่มันแสดงออกมาจากใจ มันจะย้อนเข้าไปสู่ใจแล้ว ถ้าย้อนเข้าไปสู่ใจนะ ทำสิ่งใดมันก็อึดอัดขัดข้องไปหมดเลย แต่ถ้าเราฝึกหัดของเรา เห็นไหม มาเป็นปะขาว ผู้จะบวชไปวัดไปวา ไปฝึกหัดข้อวัตร ฝึกหัดข้อวัตรมันก็ดัดแปลงหัวใจ ถ้ามันดัดแปลงหัวใจ เห็นไหม

เราเวลาศึกษาขึ้นมา เสือกระดาษๆ เขาก็บอกว่า เสือกระดาษมันจะเป็นโทษอย่างนั้น เขี้ยวเล็บมันจะตะปบเหยื่ออย่างนั้น สิ่งที่มันหาเหยื่อมาเพื่อเป็นอาหารของมัน มันจะกินอาหารเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวไปหมดเลย นี่สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เราศึกษามา เห็นไหม ทีนี้ เวลาเราปฏิบัติล่ะ เวลาเราปฏิบัติขึ้นมามันเป็นความจริง

พอเป็นความจริงนะ เพราะถ้าจิตเราพุทโธๆ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ หรือสมาธิอบรมปัญญา ถ้าทำจิตเราสงบเข้ามามันเห็นร่องเห็นรอยไง เห็นรอยเท้าเสือ เสือตัวเล็ก เสือตัวใหญ่ เสือแม่ลูก เห็นไหม เราเห็นของเรา มันเสียว เวลาเข้าป่าไปเห็นรอยเท้าเสือน่ะ มันเสียว มันมีความสะเทือนใจ มันจะไม่ใช่เสือกระดาษแล้ว

แต่ถ้าเราศึกษามา เห็นไหม ศึกษามาแล้วเราว่าเราเข้าใจ นี่รู้โดยเป็นเสือกระดาษ รู้โดยโลก รู้โดยสัญชาตญาณ สัญชาตญาณประพฤติปฏิบัติไปแล้วรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วมันก็อยู่แค่นั้นแหละ มันไม่เข้าไปสู่ความจริง แต่ถ้าเราทำความสงบของใจ มันเห็นรอยเท้าเสือ เราตามรอยเท้านั้น ถ้าเรากำหนดพุทโธๆๆ จนจิตมันสงบได้ ถ้าจิตมันสงบได้ ถ้ามันออกรู้เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันจะเห็นตัวเสือ

ถ้าเห็นตัวเสือ เราจะต่อสู้กับมันอย่างใด เราจะวิปัสสนาอย่างใด

ถ้าวิปัสสนา เห็นไหม ถ้าเราไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันสะเทือนหัวใจมาก การสะเทือนหัวใจ เห็นไหม เพราะกิเลสมันอยู่ที่ไหน? กิเลสมันอยู่ที่ใจ แล้วถ้ามันพิจารณาไป เวลามันสะเทือนหัวใจ นี่ไง ถ้าคนทำความสงบของใจ เทวทัตเขาทำฌานโลกีย์ เขาทำความสงบของใจของเขา เขาเข้าฌานสมาบัติได้ เขาแสดงฤทธิ์แสดงเดชของเขาได้ เห็นไหม เป็นโลก โลกเพราะอะไร

เพราะฌานโลกีย์ เพราะมันเป็นเรื่องเกิดมาจากโลก เกิดมาจากใจไง เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์มีกายกับใจ แล้วถ้าเรื่องของใจ เรื่องของอำนาจของใจ ถ้าใจมีเข้าฌานสมาบัติ มันมีกำลังของมัน มันมีฤทธิ์มีเดชของมันได้ ถ้ามีฤทธิ์มีเดชของมันได้แล้วมันฆ่ากิเลสไหม? ไม่ได้ฆ่า ไม่ได้ฆ่าเลย

แต่ถ้าเราพุทโธๆๆ เข้าไป ถ้าจิตเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าจิตมันสงบแล้ว เห็นไหม เวลาจิตสงบมันมีความสุข มีความระงับในหัวใจที่สูงส่งมาก สูงส่งจนถ้าคนไม่มีหลักมีเกณฑ์จะนึกว่าสิ่งนี้เป็นนิพพานได้ แต่ความจริงมันไม่ใช่ เห็นไหม เราจะสู้กับเสือ ถ้าเราสู้กับเสือ ถ้าจิตมันสงบแล้ว นี่มันจะเข้าไปแสวงหาเสือ ถ้ามันแสวงหาเสือ มันก็พิจารณาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เพราะเสือในหัวใจมันก็อาศัยสิ่งนี้เหมือนกัน อาศัยกาย อาศัยเวทนา อาศัยจิต อาศัยธรรมหาผลประโยชน์ของมัน มันจะหาเหยื่อเพื่อจะเลี้ยงชีวิตของมัน นี่มันก็อาศัยสิ่งนี้

โลกที่เขาเป็นกันอยู่นี่เขาให้เสือกิน เสือกินเขาแล้วเขายังไม่รู้ว่าเสือกินเขา เวลาเขาโลภ เขาโกรธ เขาหลงของเขา เกิดขึ้นมาในหัวใจของเขา เขาแสดงไปเต็มที่ของเขา เสือกินเขาแล้ว เสือนี้เป็นนามธรรม มันกินคนคนนั้น มันเอาจิตดวงนั้นไว้ในอำนาจของมัน แล้วจิตดวงนั้นถ้ามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจดวงนั้น มันต้องแสดงออกตามที่ความต้องการของเสือนั้น มันก็ทำลายทุกๆ อย่าง เห็นไหม ทำลายศีลธรรมจริยธรรมในหัวใจของเขา

แต่เวลาจิตเราสงบ เวลาเราทำพุทโธๆๆ จนจิตสงบของเราเข้ามา ถ้าเราจิตสงบไปเห็นรอยเท้า ได้เข้าใกล้ชิดมัน ถ้าเข้าใกล้ชิดมัน ถ้าเวลาจิตมันสงบแล้วมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แล้วถ้ามันสะเทือนหัวใจล่ะ นี่มันสะเทือนตัวเสือ ในเมื่อกิเลสมันเป็นนามธรรมที่มันอยู่กับหัวใจของเรา นี่กิเลสเป็นนามธรรม ถ้ากิเลสเป็นนามธรรม สิ่งนี้เป็นนามธรรม แต่เวลาเราจะไปสู้กับมัน เราต้องมีความจริงของเรา

เวลานายพรานเที่ยวป่านะ เขาเห็นเสือที่มันเป็นๆ เห็นไหม จะล่าเสือ จากการที่เขาศึกษามาในการบอกเล่าขึ้นมา แต่เวลาเขาเข้าไปเผชิญกับเสือนะ ถ้าเขายิงเสือแล้วเขาฆ่าเสือตัวนั้นไม่ได้ เสือนั้นบาดเจ็บ ถ้าเสือนั้นบาดเจ็บมันจะรุนแรงมากกว่านั้นอีก นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เวลาเราพิจารณาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นี่เราเห็นแล้ว ถ้าเราพิจารณาได้ไม่ได้

ถ้าพิจารณาของเรา เราตั้งกายพิจารณาให้มันเป็นไตรลักษณ์ ให้มันแปรสภาพของมันไป ถ้ามันแปรสภาพของมันไปนะ ถ้ากำลังของเราพอมันปล่อยได้ พอมันปล่อยได้ เห็นไหม เรากำราบเสือได้รอบหนึ่ง แต่ถ้าเราพิจารณาของเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถ้ามันดื้อดึงล่ะ ถ้าจิตมันเสื่อม จิตมันไม่มีกำลังของมัน นี่เราเห็นเสือ เราพิจารณาของเรา ถ้าเราพิจารณาของเรา นี่เรายิงมันแต่มันไม่ตาย มันเป็นเสือบาดเจ็บ นี่เสือบาดเจ็บมันทำลายเรา

พอจิตมันเสื่อมขึ้นมา เห็นไหม สิ่งนั้นมันเป็นโทษกับใจไง ถ้ามันเป็นโทษกับเรา เราจะต้องกลับมาทำความสงบของใจให้มากขึ้น แล้วเวลาเราต่อสู้กันน่ะมันมีเหตุมีผลในการกระทำ ถ้าใจมันพิจารณาของมันนะ มันมีเหตุมีผล มีการกระทำขึ้นมากลางใจ มันรับรู้ไง มันรู้ได้ที่ในความรู้สึกของเรา ถ้าความรู้สึกของเรานี่มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก การประพฤติปฏิบัติมันต้องมีเหตุมีผล มีการกระทำ

แล้วมีการกระทำ นี่เวลาบอกว่า กาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ เราก็พิจารณาของเราโดยที่เขาพิจารณาของเขาโดยที่ว่าถ้าเป็นเสือกระดาษนะ เขาพยายามเทียบเคียง จิตมันไม่ละเอียดอ่อนเข้ามา ถ้าเราพยายามเทียบเคียง เทียบเคียงกับอะไร? เทียบเคียงกับธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เทียบเคียงพยายามจะให้มันเป็นเสือกระดาษไว้ ถ้าเป็นเสือกระดาษ เห็นไหม มันมีรูปของมัน มันไม่เคลื่อนไหวของมัน มันมีการเปรียบเทียบของมัน จิตใจมันก็ละเอียดอ่อนเข้ามาไม่ได้

แต่ถ้าเวลาประพฤติปฏิบัติมันอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน นี่เวลาทำความสงบของใจ บางทีบางครั้งเราทำความสงบได้ง่าย บางครั้งเราทำสิ่งใดมันก็ประสบความสำเร็จ บางครั้งเราถูลู่ถูกังนะ ถ้าถูลู่ถูกังมันต้องย้อนกลับมาแล้ว ย้อนกลับมาดูศีลของเรา ย้อนกลับมาดูการประพฤติปฏิบัติของเราว่าการประพฤติปฏิบัติของเรามันเป็นจริงไหม การประพฤติปฏิบัติของเรามันได้ผลไหม ถ้ามันไม่ได้ผล เราต้องหาอุบาย หาวิธีการมาพลิกแพลง มันต้องมีอุบายไง

ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ในการประพฤติปฏิบัติเราต้องมีสติมีปัญญา อย่าทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่าทำสักแต่ว่าทำ ถ้าทำสักแต่ว่าทำ เห็นไหม กิเลสมันรู้เท่า นี่เสือมันกินก่อน เสือมันตะปบ มันเอาเหยื่อไปกินโดยที่เรายังไม่รู้สึกตัวเลย ในการปฏิบัติของเราเริ่มต้นก็อ่อนแอ เริ่มต้นก็ท้อแท้ เริ่มต้นก็ไม่มีกำลังใจสิ่งใดๆ เลย แต่ถ้าเราเข้มแข็งของเรา เรามีความตั้งใจของเรา ถ้ามีความตั้งใจ เรากระทำของเรา ถ้าทำแล้วมันยังไม่ประสบความสำเร็จ เราก็ต้องมีอุบายเปลี่ยนแปลงความรู้สึก อย่าซ้ำรอยเดิม นี่อุบายต้องพลิกแพลงไป

ถ้าพลิกแพลงไป การที่พลิกแพลงไป กิเลส เสือมันจะกินอีกแล้ว บอกว่าถ้าพลิกแพลงไปแล้วมันก็เหมือนกับว่าเราต้องย้ายต้นไม้บ่อยๆ ไม่ใช่เหรอ นี่เวลาครูบาอาจารย์สอนว่าปลูกต้นไม้ที่ไหนแล้วก็หมั่นรดน้ำพรวนดินขึ้นมาให้มันเจริญงอกงามขึ้นมา แล้วถ้าเราใช้อุบายมันก็จะย้ายต้นไม้ ต้นไม้ก็จะไม่เติบโตสักที ในการปฏิบัติมาสมาธิมันก็ไม่มั่นคง ปัญญามันก็ไม่ก้าวเดิน ไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์สักทีเลย...เสือบาดเจ็บ

เสือบาดเจ็บมันหันมาตะปบ พอเสือบาดเจ็บมันรุนแรง เห็นไหม มันต้องพยายามต่อสู้เต็มที่ เราก็ล้มลุกคลุกคลาน นี่ถ้าเสือบาดเจ็บ เราก็ต้องระวังมากขึ้น ถ้าเสือบาดเจ็บ เราต้องมีสติปัญญาดีขึ้น ถ้าเรามีสติปัญญาดีขึ้น การที่ว่าเราใช้อุบาย ทำอยู่อย่างนี้มีแต่ความทุกข์ความยาก ทำอยู่อย่างนี้มันไม่มีสิ่งใดที่เจริญงอกงามขึ้นมา แล้วถ้าเปลี่ยนอุบายไป เห็นไหม ถ้าอุบายใหม่

เวลาพระธุดงค์ออกวิเวกน่ะ ถ้าที่ไหนสถานที่มันสงัดวิเวกให้ประพฤติปฏิบัติที่นั่น แต่ถ้าคุ้นชินแล้ว ให้ย้ายสถานที่บ่อยๆ ให้ย้ายออกไปเปลี่ยนสถานที่ พอเปลี่ยนสถานที่ ดูสิ เราเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของเรา มันก็รู้สึกว่ามันตื่นตัว แต่ถ้าเราคุ้นชินกับมัน มันจะคุ้นชินของมัน ถ้าคุ้นชินกับมันนะ

แต่ถ้าเป็นข้อวัตรล่ะ ถ้าเป็นข้อวัตร การกระทำ เห็นไหม สิ่งที่เรากระทำตามเวล่ำเวลาขึ้นมา สิ่งที่จิตใจมันไม่ยอมทำ เราก็พยายามจะให้มันทำถึงเวลาไง ถึงเวลาต้องทำสิ่งนั้นๆ เพื่อรักษาข้อวัตร เพื่อดูแลใจของเรา ใจของเรานี่มันหันไปทางซ้ายหรือจะหันไปทางขวา เราจะขยับตัวไปทางไหน “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” นี่มันอยู่กับเราตลอดเวลาไง ถ้ามันอยู่กับเราตลอดเวลา เราจะทำอย่างใดที่จิตเราสงบมา สงบมาแล้วนี่เราถึงจิตเห็นอาการของจิต

ถ้าจิตเห็นอาการของจิต เห็นไหม เราก็จะได้จับเสือตัวนั้น ได้ต่อสู้กับเสือตัวนั้น ได้พิจารณาเสือตัวนั้นว่าเสือตัวนั้นมันให้โทษกับชีวิตนี้มามากน้อยแค่ใด ถ้าเราไม่เห็นเสือตัวนั้นมันก็เป็นเสือกระดาษ เป็นการคาดหมาย เป็นการเทียบเคียงกับสิ่งที่เราได้ศึกษามา มันมีของมันอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นความจริงนะมันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก จิตดวงนั้นจะแก้ไขจิตดวงนั้น เห็นไหม

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน กิเลสในหนังสือมันไม่มี กิเลสของคนอื่นก็ไม่เกี่ยวกับเรา ถ้ากิเลสของเรามันบีบคั้นหัวใจของเรา เราจะต้องเผชิญหน้ากับมันตามความเป็นจริง เราต้องเผชิญหน้ากับมันโดยข้อเท็จจริง ถ้าโดยข้อเท็จจริงน่ะ เราจะต้องแสวงหาของเราถ้ามันเป็นความจริงของเรา เห็นไหม เสือที่มันหลอกลวงเรา เงาของเสือ ถ้ามันกระโดดผ่านเราไปเราก็สะดุ้งแล้ว

แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะเราต้องจับมัน จับเสือตัวนั้น เราต้องปล้ำเสือตัวนั้น ต่อสู้กับเสือตัวนั้น ระหว่างธรรมกับกิเลสต่อสู้กัน เวลาพิจารณาไป เห็นไหม ถ้ามีสติมีปัญญา นั้นเป็นธรรม แต่ถ้าสติปัญญามันอ่อนลง นั้นมันเป็นสัญญา มันเป็นกิเลสแล้ว นี่ระหว่างกิเลสกับธรรมมันต่อสู้กันต่อเมื่อเราทำตามความเป็นจริงนะ แต่ถ้ามันไม่เป็นความจริง มันไม่มีการต่อสู้กัน มันเป็นเสือกระดาษ เป็นการจำมา เป็นทฤษฎี เป็นสิ่งที่เป็นโลก

การจินตนาการได้ไม่มีที่สิ้นสุด จินตมยปัญญาไม่มีที่สิ้นสุด ถ้ามันจินตนาการของมัน มันก็จินตนาการกันอยู่อย่างนั้น ถ้าจินตนาการอยู่อย่างนั้น ผลของมันคือเวลาภาวนาแล้วเหนื่อยหอบมาก ผลของมันคือไม่มีสิ่งใดเป็นข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงตกผลึกในหัวใจให้เป็นประสบการณ์ของใจที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา เพราะมันเป็นเรื่องโลก มันไม่ใช่ภาวนามยปัญญา

จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ถ้ามันภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นเป็นความจริง นั้นเป็นธรรม ธรรมกับกิเลสต่อสู้กัน ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่มันต่อสู้กับกิเลสอยู่อย่างนั้น มันพิจารณาของมันอยู่อย่างนั้น มันมีข้อมูลน่ะ มันได้ต่อสู้กัน มันได้ปล้ำกับเสือ ได้ทำความเป็นจริง แล้วถ้ามันปล้ำกับเสือ เสือชนะ หมายถึงว่าเอาเสือไว้อยู่ในอำนาจของเรา ในเมื่อธรรมมันชนะ มันก็ปล่อย พอมันปล่อยขึ้นมา อันนี้เป็นตทังคปหาน ปล่อยแล้วปล่อยเล่าๆ เพราะไม่ได้ฆ่าเสือตัวนั้นได้ตามข้อเท็จจริง

ถ้ามันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ นี่เสือมันบาดเจ็บ เสือมันแพ้กำลังของเรา มันก็ต้องร้องโอดโอยเป็นธรรมดา นี่ขณะที่เราพิจารณาของเราไป ถ้าพิจารณาแล้วมันดีขึ้นมา เห็นไหม มันปล่อยวาง มันทะลุปรุโปร่งหมด ถ้าทะลุปรุโปร่งมันเป็นความจริงขึ้นมา ความจริงอย่างนี้มันมีความเป็นจริง เห็นไหม

เสือมันมีชีวิต ในการปฏิบัติมันก็มีรสมีชาติ ในการปฏิบัตินะ เวลาเราปฏิบัติไม่ได้นี่มีแต่ความทุกข์ความยากทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นไป ถ้ามันเป็นสมาธิมันก็มีความสุข ถ้าพิจารณาไปมันปล่อยวางขึ้นมา เห็นไหม ความสุขนั้น...ทุกข์ควรกำหนด แล้วสุขล่ะ ความสุขคือการปล่อยวาง แต่เรามีสติ มันปล่อยวางแล้วเดี๋ยวมันก็เกิดอีก เพราะว่าเสือตัวนั้นมันยังไม่ตาย

ถ้าเสือตัวนั้นยังไม่ตาย เราต่อสู้มัน ถ้าเราชนะ มันปล่อยวางๆ แต่ถ้าเรากำลังอ่อนลง เสือบาดเจ็บนะ เวลามันกัดนี่รุนแรงมาก มันเอาชีวิต ฉะนั้น เวลาเราเสื่อมถอย เวลาเราจิตเสื่อม เวลาเราทำปฏิบัติไปแล้ว มันถึงท้อถอย มันมีแต่ความทุกข์ระทมในใจ ฉะนั้น เวลานักปฏิบัตินี่น่าสงสารตรงนี้มาก นักปฏิบัติถ้ากำลังเราไม่พอแล้วมีแต่ความอ่อนด้อย แล้วกิเลสมันตะปบเอาๆ มันมีแต่ความทุกข์ความยาก แล้วก็คิดสงสัย เอ๊! การปฏิบัติแล้วมันต้องมีคุณธรรมสิ การปฏิบัติแล้วมันต้องมีอำนาจวาสนาสิ ทำไมเราทุกข์เรายากขนาดนี้

มันเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้เพราะอำนาจวาสนาของคน เป็นแบบนี้เพราะว่ากิเลสมันมีอยู่กับใจดวงนี้มาแต่ไม่มีต้นไม่มีปลาย แล้วในปัจจุบันนี้เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา แล้วเรามีศรัทธาความเชื่อ เราออกมาบวช บวชขึ้นมานี่เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเพื่อชำระล้างกิเลส ถ้าเพื่อชำระล้างกิเลส ถ้าปฏิบัตินะ เราชำระล้างกิเลส ถ้ามีอำนาจวาสนา สิ่งที่มีคุณธรรมเสริมส่งขึ้นมา มันก็ประสบความสำเร็จ ปฏิบัติแล้วมันก็มีแต่คุณธรรม สิ่งที่มันชนะเสือๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุดถ้าเสือมันตาย มันขาด พอมันขาดขึ้นมานี่ เราพิจารณามันได้นะ เพราะมันขาดแล้วมันขาดอย่างใด

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ นี่กิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลอกลวงปลิ้นปล้อนขนาดไหน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เสวยวิมุตติสุข มันแตกต่างกันอย่างใด เวลาเราพิจารณาของเรา ถ้าเราพิจารณา มันปล่อยแต่มันไม่ขาด นี่จิตใจมันยังมีความสงสัย จิตใจมันยังสรุปของมันไม่ได้

แต่เราพิจารณาของเราถึงที่สุด เห็นไหม กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ เห็นไหม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ นี่สังโยชน์คือเสือ ถ้าสังโยชน์ ๓ มันขาดออกไปจากใจ นี่มันรู้มันเห็น มันพิจารณาของมันได้ไง สิ่งที่ว่าเรายังมีความสงสัย เห็นไหม ดูสิ เดี๋ยวเราก็มีกำลังเหนือมัน เดี๋ยวมันก็ตะปบเรา เอ๊! มันเป็นอย่างไร ถ้าเสือ เวลาตะปบนะ เลือดสาด มันตายเลย แต่เวลากิเลสมันตะปบหัวใจ มันถึงกับเอาเราไว้ในอำนาจของมัน แล้วมันบังคับให้ใจเราทำตามความพอใจของมัน

แต่เวลาเรามีกำลังขึ้นมา เราต่อสู้กับมัน เราแยกแยะมัน เห็นไหม ระหว่างกิเลสกับธรรมมันแยกแยะกัน ถ้าแยกแยะกัน มันทำลายถึงที่สุดเวลามันขาด เวลามันตาย โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล แต่ละขั้นตอนมันมีการต่อสู้ มันมีการกระทำ แล้วเวลามันขาด มันจะรู้มันจะเห็นของมัน มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ จิตใจมันมีขั้นตอนของมัน มีการกระทำของมัน แล้วมันเห็นของมันน่ะ มันเห็นของมัน มันทำของมัน เป็นประโยชน์กับใจดวงนี้นะ ถ้าเป็นประโยชน์กับใจดวงนี้ เวลาเราได้ฆ่าได้ทำลายแล้วนี่มันเห็นความที่ว่ากุปปธรรม อกุปปธรรม

กุปปธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา เวลาพิจารณาไปแล้วมันเป็นอนัตตา เดี๋ยวมันก็เจริญงอกงาม เดี๋ยวมันพิจารณาแล้วมันก็ปล่อยวางของมัน นี่สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มันก็เป็นความจริง เพราะมันเป็นอนัตตา เพราะมันเปลี่ยนแปลง นี่สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มันเป็นของมันอย่างนั้น เพราะมันเป็นอนัตตา แล้วเห็นมันเป็นความเป็นจริงทั้งนั้นแหละ

แล้วสิ่งที่มันเป็นธรรมล่ะ เป็นคุณธรรมที่มันเป็นอกุปปธรรมล่ะ

อกุปปธรรมมันไม่ใช่อนัตตา เพราะถ้ามันทำชำระล้างกิเลส มันได้ฆ่าทำลายแล้วมันถึงเป็นอกุปปธรรม ถ้าเป็นอกุปธรรมมันคงที่ของมัน คงที่ของมันเราก็รู้ของเรา เห็นไหม นี่เรารู้ของเรา เป็นความจริงของเรา ถ้าความจริงของเรา นี่ภาวนาเป็น พอภาวนาเป็นมันก็จะขยันหมั่นเพียรขึ้นไป นี่ต้องต่อสู้ ต้องพยายามให้จิตใจนี้มันสูงขึ้น ให้พิจารณาของมันซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถ้าจิตมันสงบขึ้นไปนี่มันเจอสิ่งที่ละเอียดกว่า

ละเอียดกว่าหมายถึงว่า เราฆ่าลูกเสือ แล้วเวลาเราไปเจอเสือที่มันอาวุโสกว่า เสือที่ประสบการณ์มันมากกว่า เห็นไหม ถ้ามันไปถึงปู่ของมันนะ มันจะเป็นเสือสมิงเลย เสือสมิงมันมีเล่ห์กลที่หลอกลวงเรา เรียกให้นายพรานลงมาให้มันกินได้เลย มันใช้กลลวงของมันจนนายพรานต้องลงมาดูให้มันตะปบกินได้ นั่นเสือสมิงนะ

แต่เวลาถ้าเสือมันอาวุโสขึ้นมา มันจะมีอุบายมากกว่า มันจะมีเล่ห์กลมากกว่า เราจะต้องตั้งสติมากขึ้น ทำความสงบของใจให้มากขึ้น ถ้าความสงบของใจมันมากขึ้นนะ ถ้าเราจับได้ เราเห็นเสือได้ ถ้าเราเห็นเสือได้ เราเห็นตามความเป็นจริง เสือที่มันมีชีวิตมันต่อสู้ กิเลสที่มันเป็นความจริงมันใช้เล่ห์กลของมันเบี่ยงเบน หลอกลวงให้เราเข้าใจผิด ทั้งๆ ที่เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาทำสมาธิเป็นสมาธิแล้ว เวลาเราจับมันได้มันเป็นขันธ์นะ ถ้าพิจารณากายมันก็เป็นธาตุ ๔ นี่เราก็จับเราก็ต้องของมันได้ นี่เราก็พิจารณาได้

ถ้าพิจารณาได้ เราพิจารณามากน้อยขนาดไหนก็แล้วแต่ ถ้าสมาธิมันอ่อนกำลังลงมันก็ท้อถอยออกมา ถ้าท้อถอยออกมา สิ่งที่มันละเอียดอ่อน มันหลอกลวง มันโน้มน้าว มันทำให้เราเข้าใจผิด เห็นไหม ทั้งๆ ที่เราว่าเรามีสติมีปัญญาที่เราจะต่อสู้กับมัน นี่สิ่งที่เป็นความจริงมันเป็นความจริงอย่างนี้ เวลาปฏิบัติมันจะมีความจริงของมัน ถ้าความจริงนี่มันแยกแยะของมัน มันพิจารณาของมัน มันพิจารณาไปแล้วมันก็เป็นสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา เหมือนกัน

ขณะที่สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มันเป็นระหว่างก้าวเดิน ถ้าจิตใจของเราเปลี่ยนแปลงขึ้นมา เราก้าวเดินขึ้นไปเพื่ออะไร ก้าวเดินไป เห็นไหม มีศีล สมาธิ ปัญญา มีความเพียรชอบ งานชอบ ระลึกชอบ ความชอบธรรม ถ้าเป็นความชอบธรรม เห็นไหม เวลาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ ถ้ามีความชอบธรรมมันก็เป็นความชอบธรรม ถ้ามันไม่ชอบธรรมล่ะ? มันก็เป็นอธรรม มันเป็นอกุศล มันไม่เป็นความจริงขึ้นมา ไม่เป็นความจริงเพราะมันไม่ชอบธรรม

ถ้ามันไม่ชอบธรรม ระหว่างที่มันเป็นความชอบธรรม คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เราพิจารณาด้วยความเห็นชอบ ความเห็นชอบพิจารณาไปแล้วมันก็เป็นธรรม พอเป็นธรรม แต่กำลังที่ใช้ไปแล้ว กำลังใช้มากขึ้น

กิเลสมันก็อยู่กับจิตนั่นแหละ เวลามันพลิกแพลง การพลิกแพลงของมัน เพราะมันรักษาตัวของมัน เห็นไหม ถ้าเราจะสู้กับเสือ เสือที่อาวุโสมันมีเล่ห์กลของมัน คำว่า “เล่ห์กล” ถ้าเล่ห์กล เล่ห์เหลี่ยม การกระทำของมัน เพราะประสบการณ์ของมันมีสูงกว่า ถ้าประสบการณ์สูงกว่า เราจะมีกำลังมากน้อยขนาดไหน นี่เป็นการแยกแยะ เป็นการฝึกหัดตัวเราเองให้มีกำลังขึ้นมาเพื่อเสมอกัน เสมอกันก็ยันไว้ เห็นไหม เสมอกันก็สักแต่ว่า มันยังไม่มีความชนะคะคาน

แต่ถ้าเราฝึกหัดของเรา การฝึกหัดคือการปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณาของเราเพื่อประโยชน์กับใจดวงนี้ ถ้าใจดวงนี้มันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันพิจารณาของมัน นี่ผลของมันมันก็ต้องปล่อยวาง ผลของมันก็คือปล่อยแล้วปล่อยเล่าๆ ปล่อยแล้วปล่อยเล่านี่เราชะล่าใจไม่ได้เลย เพราะขณะที่เราสู้กับลูกเสือที่มันอ่อนวัย เรายังเคยผิดพลาดมาขนาดไหน สิ่งนั้นมันจะมาเป็นเครื่องการันตีให้จิตใจมันมีหลักมีเกณฑ์ เพื่อจะไม่ให้ละเอียดอ่อน

แต่ขนาดมีหลักมีเกณฑ์ขนาดไหน เวลาประพฤติปฏิบัติไป สิ่งที่ว่าเสือที่มันมีอาวุโส เสือที่มันมีประสบการณ์มากกว่า จิตใจที่มันละเอียดอ่อน กิเลสที่ละเอียดมากกว่ามันก็มีอุบายวิธีการที่จะทำให้เราล้มลุกคลุกคลานได้เหมือนกัน

สิ่งที่มันทำให้ล้มลุกคลุกคลานได้เหมือนกัน เห็นไหม เวลาเราพิจารณาไปแล้วนะ เวลาที่เราสู้มันไม่ได้หรือเวลาที่เราต่อสู้ไป เพราะหน้าที่การงาน คนทำงานต้องเหนื่อยต้องล้าเป็นธรรมดา ในการประพฤติปฏิบัตินะ เรากำหนดพุทโธๆๆ เวลาเราเหนื่อยเราล้า เรากลับมาทำความสงบของใจ ถ้าทำความสงบของใจนี่ พุทโธ หรือปัญญาอบรมสมาธิเพื่อความสงบระงับ นี่พุทโธๆ แล้วมันปล่อยวางได้ มันชุ่มชื่นได้ มันมีความสุขได้

แต่เวลาเราออกไปใช้ปัญญา เวลาจิตมันสงบแล้วเราฝึกออกไปใช้ปัญญา เวลาใช้ปัญญาขึ้นไป ถ้ามันเป็นงาน ทำงานแล้วมันแบกอาบเหงื่อต่างน้ำ มันเป็นความทุกข์ความยาก พอเป็นความทุกข์ความยากมันก็อยากจะกลับมาทำความสงบ กลับมาพักผ่อน มันไม่อยากไป ถ้ามันไม่อยากไป เพราะมันยังไม่เห็นผลงาน แต่ถ้าเรากลับมาทำความสงบของใจให้มันเข้มแข็งขึ้นมา แล้วเราออกให้ใช้ปัญญา ถ้าออกให้ใช้ปัญญา ถ้าปัญญามันแยกแยะได้ มันปล่อยวางได้ มันก็มีความสุข มันก็อยากทำ

ถ้ามันทำงานแล้วมันได้ผล มันอยากทำ ถ้ามันทำงานแล้วมันไม่ได้ผลนะ มันเบื่อหน่าย มันเฉื่อยชา มันอยากจะเข้ามาพักไง ทีนี้เข้ามาพักเราก็ต้องมีสติปัญญา ถ้าเราเข้ามาพัก มันเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิเป็นที่พักของจิต ถ้าสมาธิเป็นที่พักของจิต แล้วงานเราจะไม่เสร็จ ถ้างานเราไม่เสร็จ เห็นไหม ถ้างานเราจะสำเร็จได้เราต้องใช้ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค ถ้ามรรคมันรวมตัว มรรคมันมรรคสามัคคี มันถึงจะไปทำชำระล้างกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่ว่าเสือที่มันอาวุโสกว่า นี่เราต้องทำลายมัน

ฉะนั้น พอเราทำลายมัน เราใช้สติปัญญาปลุกปลอบใจของเราให้มีกำลังใจ ถ้าใจของเราทำงานแล้วก็เหนื่อยก็ล้า ทำสิ่งใดก็ไม่มีสิ่งใดประสบความสำเร็จ ทำสิ่งใดก็มีแต่ความทุกข์ความยากไปทั้งนั้นเลย ฉะนั้น พอทำไปแล้วมันก็มีแต่ความอ่อนแอทั้งนั้นน่ะ

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญานะ นี่ต่อสู้กับกิเลส กิเลสมันก็ทำให้เราหัวปั่นอยู่แล้ว แล้วจิตใจมันยังเสื่อม จิตใจมันยังทุกข์มันยากอยู่อย่างนี้ มีหมู่มีคณะ มีครูมีอาจารย์คอยให้กำลังใจต่อกัน เวลาธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เราเองใช้ปัญญาของเรา ใช้ปัญญาแล้วนี่ปัญญาเราอัดอั้น ปัญญาของเรามันตัน มันไปไม่ได้ นี่ปรึกษาหมู่คณะ ปรึกษาต่างๆ นี่วงกรรมฐานเราเขาจะมีการเกื้อกูลกัน เกื้อกูลกันด้วยประสบการณ์ เกื้อกูลกันด้วยปัญญา นี่ในวงกรรมฐานถึงจะรู้ว่าวุฒิภาวะ จิตใจของใครสูงส่งอย่างใด

เพราะถ้าจิตใจมันสูงส่ง มันได้ผ่านขั้นผ่านตอนมา มันได้ประพฤติปฏิบัติมา มันได้ชำระล้างกิเลสมาเป็นชั้นเป็นตอน เห็นไหม เขาจะบอกเรา สอนเรา หรือแนะเราให้เรามีวิธีการที่จะไปต่อสู้กับกิเลสของเราได้

แต่ถ้าเวลาเราธมฺมสากจฺฉา เราพูดเรื่องธรรมะ พูดเรื่องเสือเป็นๆ เขาพูดแต่เรื่องเสือกระดาษ เขาไปพูดแต่เรื่องสิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่เป็นรูปแบบ อันนั้นแสดงว่าเขาอยู่ปฏิบัติแบบโลกๆ แล้วเขาไม่สู่สัจจะความจริง นี่ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาฟังธรรม เวลาสนทนาธรรม มันจะรู้ได้เลยว่าเขาปฏิบัติโดยเสือกระดาษหรือเสือตัวเป็นๆ

ถ้าเสือตัวเป็นๆ มันจะล้มลุกคลุกคลาน ถ้าเราต่อสู้กับเสือ เห็นไหม บาดแผลเราเต็มตัว นี่ก็เหมือนกัน จิตที่มันต่อสู้ทำความสงบของใจเข้ามา จิตมันล้มลุกคลุกคลานมา จิตมันจะยืนตัวขึ้นมาได้ จิตมันจะมีปัญญาขึ้นมาน่ะ มันมีบาดแผลเต็มตัวมัน ถ้าบาดแผลเต็มตัวแล้วยังรู้จักประพฤติปฏิบัติรักษาบาดแผลนั้น แล้วยังต่อสู้ต่อไป จนชนะมาเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมา เห็นไหม

นี่สิ่งที่ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เพื่อเป็นมงคล เพื่อเป็นทางออก นี่ถ้ามีทางออกอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ของเราท่านมีวุฒิภาวะ มีการผ่าน มีการชำระล้าง มีการกระทำ มีการทำลาย เห็นไหม สิ่งนั้นท่านจะคอยบอกคอยแนะเรา

ฉะนั้น ถ้าเราปฏิบัติของเรานี่ คอยบอกคอยแนะนี้เป็นอุบายให้เราเอามาฝึกหัด เอามาใช้กับจิตใจของเรา ถ้าเราใช้กับจิตใจของเรา เราจะมีปัญญา เราจะมีอุบายวิธีการที่จะชำระล้างกับมันที่สิ่งที่เราสู้ไม่ไหว เราสู้ไม่ได้ ถ้าสิ่งนั้นมา เพิ่มกำลังขึ้นมา เพิ่มปัญญาเข้ามา เพิ่มต่างๆ เข้ามาชำระล้างต่างๆ เห็นไหม

จากที่มันสู้ไม่ได้มันก็ยันกันไว้ แล้วเริ่มต้นจะเป็นฝ่ายชนะบ่อยครั้งเข้าๆ มันจะปล่อยบ่อยครั้งเข้าๆ นี่พอปล่อยบ่อยครั้ง ไม่ชะล่าใจ กลับมาทำความสงบของใจแล้วพิจารณาต่อไปบ่อยครั้ง ถึงที่สุดเวลามันขาดนะ กายกับจิต เห็นไหม กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส แยกออกจากกันเด็ดขาด ความที่แยกออกจากกันเด็ดขาด เห็นไหม มันเวิ้งว้างไปหมดนะ

เวลาทรัพย์สมบัติ ใครมีทรัพย์สมบัติขึ้นมาเราก็ว่าเราเป็นคนที่มีฐานะ นั่นเป็นทรัพย์สมบัติทางโลก เพราะมีการใช้จ่าย แต่ถ้าใครพิจารณาของเราเป็นอกุปปธรรม อริยทรัพย์อย่างนี้จะใช้เท่าไรมันก็อยู่เท่าเดิม จะใช้มากขนาดไหนมันก็อยู่เท่าเดิม มันไม่มีสิ่งใดบุบสลายไป มันถึงเป็นอกุปปธรรม ฉะนั้น เวลากายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใจ มันมีอริยทรัพย์เพิ่มขึ้นมา นี่มันจะเวิ้งว้างไปหมด แล้วจิตของเราอ่อนแอ คำว่า “จิตอ่อนแอ” คือวุฒิภาวะมันอ่อน มันก็บอกว่านี้คือนิพพาน สิ่งที่เรารู้เราเห็นนี้เป็นความจริง แต่สิ่งที่เรารู้เราเห็นมันก็ติดอยู่ของมันแค่นั้นไง

แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยกระตุ้น คอยบอกว่า ไอ้พ่อเสือแม่เสือ ไอ้คอกเสือ เสือตระกูลนี้มันยังมีปู่มีย่ามันอีกนะ มันไม่ใช่มีลูกเสือ ๒ ตัวนี้ให้ฆ่ามันหรอก นี่ถ้าเรามีสติปัญญา เราออกฝึกหัดแล้วออกแสวงหานะ มันจะไปเจอกามราคะ ถ้าไปเจอกามราคะ นี่เสือหนุ่มๆ เสือที่มีกำลังมาก เพราะเสือหนุ่มๆ มันปกครอง มันจะขยายอาณาจักรของมัน มันจะเอาสิ่งนี้ไง

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตที่จิตเป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะก็คือกามภพ สิ่งที่กามภพนะ สิ่งที่เป็นกามภพ สิ่งที่ในหัวใจ สิ่งที่มันเป็นเรื่องผูกพันในใจ สิ่งนี้มันเผาลนในใจนะ เพียงแต่ว่าพอเราพิจารณา กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส กำลังของธรรมมันมี พอกำลังของธรรมมันมี มันถึงไม่แสดงตัว พอมันไม่แสดงตัวมันก็เวิ้งว้างไปหมด เราก็เข้าใจว่ามันไม่มี เห็นไหม

แต่ถ้าเราใช้มหาสติ มหาปัญญา ออกพิจารณา มันจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมขั้นที่ละเอียด พอขั้นที่ละเอียด เห็นไหม พอจับได้ สิ่งที่เวลาเราจับไม่ได้ มันเหมือนมันไม่มีเลย แต่พอเราจับได้มันจะรุนแรงมาก เพราะเสือหนุ่มๆ เสือที่มีกำลังมาก มันจะต้องการอาหารมาก มันต้องการอาณาเขตของมัน มันต้องยึดครองหัวใจนี้

ถ้ามันยึดครองหัวใจนี้ ถ้าเรามีสติปัญญาจะเข้าไปพิจารณา นี่มหาสติ มหาปัญญา มันจะต้องต่อสู้กันด้วยที่ความละเอียดรอบคอบ ถ้าพิจารณาเป็นอสุภะ มันเห็นอสุภะ ถ้าอสุภะเพราะมีกำลัง เพราะมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มันเป็นอสุภะ อสุภะเพราะมีกำลัง มันก็เป็นอสุภะ

แต่ถ้าพิจารณาไปแล้วมันบอก อสุภะแล้วได้ปล่อยวางแล้ว ปล่อยวางแล้วไม่มีอะไรเป็นผลตอบแทน ไม่มีสิ่งใดเลย ถ้ามันไม่ปล่อยวาง เป็นอสุภะแล้วมันก็หาย หายแล้วมันจะทำอย่างไรต่อไป นี่เล่ห์กลของมัน อาณาเขตของมัน มันยึดของมันเพื่อไม่ให้เราทำงานเป็นประโยชน์กับเราไง

ถ้าไม่มีเชาวน์ปัญญาก็เข้าใจว่า เวลาเราต่อสู้กับเสือ เราเข้าถ้ำเสือ แล้วเราไปยอมจำนนกับเสือ ไปนอนอยู่กับเสือ นึกว่าเสือมันไม่ทำร้ายไง ถ้าเราไปยอมจำนนอยู่กับเสือ นี่ถ้าเสือมันหลอกเราไว้ มันจะเอาไว้ในอำนาจของมัน แต่ถ้าเราพิจารณาของเรา มันเป็นอันตราย มันไม่น่าอยู่กับมัน เห็นไหม นี่ถ้าเราตื่นตัวขึ้นมามันก็เป็นการต่อสู้กัน นี่เป็นกลอุบาย เป็นวิธีการที่เราจะพิจารณาของเราได้

ถ้าเราพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันปล่อยหมด เห็นไหม มันปล่อยหมดเลย มันไม่มีสิ่งใด เราไม่ได้ทำลายใคร มันต้องพิสูจน์เอาสิ่งที่ว่ามันชอบใจ มันเห็นว่าในถ้ำเสือมันมีกลิ่นมีต่างๆ ถ้าพิจารณาของเรา นี่มันมี ถ้ามันมีมันก็แสดงตน การกระทำของเรามันแสดงตน คือว่าแสดงตัวออกมา ถ้าแสดงตัวออกมา สิ่งที่เป็นกามราคะมันยังมีของมัน ถ้ามันปล่อยด้วยกำลังของสมาธิ มันปล่อยด้วยเล่ห์กลที่มันหลบหลีก มันไม่ได้ชำระล้างขาด

พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงที่สุดถ้ามันขาด เห็นไหม เราได้ฆ่าเสือหนุ่มๆ อาณาเขตของมัน เรายึดครองอาณาเขตของมันได้ ยึดครองภวาสวะ ยึดครองภพ ยึดครองใจ เอาใจกลับมาเป็นธรรม ถ้าเอาใจกลับมาเป็นธรรมนะ เราวางสิ่งนั้น เราพิจารณาซ้ำๆๆ มันจะยึดครองเข้าไปเรื่อยๆ นี่อนาคามี ๕ ชั้นไง ละเอียดเข้าไป ปล่อยวางเข้าไปๆ ถึงที่สุด เห็นไหม ปล่อยวางหมดเลย

จิตที่มันปล่อยวางหมดนะ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส ถ้าเป็นเสือสมิง มันจะไม่ให้เราเห็นตัวมัน มันจะใช้เสียงใช้ต่างๆ หลอกลวงเรา ถ้าเราจะจับมันได้ เราจะใช้สิ่งใด เพราะในอาณาเขตนี้ ในอาณาเขตของหัวใจเรา ถ้าเราได้ชำระล้างหมด มันจะพ้นจากอำนาจของเสือ ของอวิชชา ของสิ่งที่พญามารครอบครองใจดวงนี้

ถ้ามันเป็นจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส่ จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส มันเป็นความผ่องใสของมัน แล้วเราจะจับมันอย่างใด แล้วเราจะเห็นเสือตัวนี้ได้อย่างใด เสือตัวนี้ เห็นไหม ความเศร้าหมอง อวิชชาที่เป็นยักษ์เป็นมารไง แต่สิ่งนี้มันเป็นความผ่องใส ความนุ่มนวล ความละเอียดอ่อนของใจ เราต้องมีมหาสติ มหาปัญญาที่ละเอียดลึกซึ้งเข้าไปมันถึงจะไปจับสิ่งนี้ได้

ถ้าจับสิ่งนี้ได้นะ สิ่งที่เป็นเล่ห์กลของเสือสมิง มันมีใช้เวทใช้มนตร์ ใช้สิ่งต่างๆ เพื่อจะให้เราอยู่ในอำนาจของมัน ถ้าเราใช้ความละเอียดอ่อนลึกซึ้งของเรา พิจารณาแยกแยะของเรา เห็นไหม แยกแยะด้วยญาณ ไม่ใช่ด้วยปัญญา

นี่ปัญญาญาณอย่างหนึ่ง ด้วยความละเอียด เพราะว่ามันเป็นความผ่องใส ถ้าเราใช้ปัญญามากมันก็ส่งออก มันส่งออกมาเป็นสังขารเป็นความคิดความปรุงความแต่ง แต่ถ้ามันเป็นญาณหยั่งรู้ ญาณต่างๆ เข้าไป พิจารณาถึงที่สุด เห็นไหม ถ้าต่อสู้กัน ได้ทำลายกัน

คำว่า “ได้ทำลายกัน” มันจะมีความสมดุลของมัน ถ้าไม่ได้ทำลายกัน เราทำลาย แต่ทำลายผิดที่ ทำลายผิดสถานที่ มันทำลายคือมันส่งออก มันไม่ได้กลับเข้าไปทำลาย ไม่ทวนกระแสกลับเข้าไปทำลายจุดนั้น ถ้ามันทำลายจุดนั้นถึงที่สุดนะ เห็นไหม สิ่งที่ทำลาย จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ถ้าทำลายความผ่องใส ความเกิดขึ้นของที่อยู่อาศัยของเสือนั้น ทำลายทั้งเสือนั้น ทำลายสถานที่ทั้งนั้น นี่กิเลสสวะ อวิชชาสวะ ภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายสถานที่ ทำลายหมดเลย เห็นไหม

ถ้าทำลายหมด เราได้ทำลายถึงที่สุด นี่เสือเป็นๆ กิเลสตัวเป็นๆ ได้ทำลายลงท่ามกลางหัวใจ ถ้าทำลายท่ามกลางหัวใจหมดแล้วมันเหลือสิ่งใด ธรรมธาตุ ธาตุของธรรม ไม่มีสิ่งใด อ้างอิงสิ่งใดไม่ได้ ถ้าอ้างอิงสิ่งใด นี่ส่งออก ถ้าไม่อ้างอิงสิ่งใด แต่รู้ในสิ่งนั้น เห็นไหม

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ของเรา เวลากลับจากป่าจากเขาขึ้นมา ถ้าใครประสบความสำเร็จมา สิ่งนี้มีคุณค่า แล้วสิ่งนี้ในวงกรรมฐานถึงรู้ว่าใครมีจริงหรือไม่มีจริง ถ้ามันไม่มีจริง มันเป็นเสือกระดาษ

เสือกระดาษเป็นสิ่งที่จำมา เสือกระดาษไม่ทำร้ายใคร เสือกระดาษไม่มีพิษมีภัยกับใจดวงนั้น คำว่า “ไม่มีพิษมีภัย” คือมันไม่ทำลายชำระล้างกิเลส แต่มันเป็นการซ่อนเร้น เป็นการทำลายหัวใจดวงนั้นไม่ให้หัวใจดวงนั้นได้ประสบการณ์ความเป็นจริง แต่ถ้าครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เห็นไหม นี่เสือตัวเป็นๆ ทำลายกันมาเป็นชั้นเป็นตอนนะ

ในสมัยพุทธกาล มีพระธุดงค์องค์หนึ่งไปอยู่ในป่า ไปภาวนาของท่านอยู่ ไปเจอเสือ เสือมันคาบเอาไปกินนะ กินตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นมาถึงหัวเข่า ก็กำหนดจิตภาวนาของท่านอยู่ พิจารณา มันก็กินต่อไปเรื่อยๆ มันกินเข้าไปจนถึงเอว เห็นไหม นี่ขณะถึงเอว ใช้ปัญญาของท่านพิจารณาเดี๋ยวนั้นนะ ท่านพิจารณาของท่าน เห็นไหม พอพิจารณาของท่านถึงที่สุด ท่านทำลายเสือในใจของท่าน ท่านทำลายอวิชชาในใจของท่าน ท่านเป็นพระที่โดนเสือกินแล้วท่านสำเร็จท่ามกลางปากเสือเลยล่ะ นี่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ท่ามกลางปากเสือ

เห็นไหม ขณะที่เสือมันกัดตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นมาถึงหัวเข่า ขึ้นมาถึงเอวนี่ เราจะมีความเจ็บปวดไหม นี่เสือมันเคี้ยวกินน่ะมันจะมีความเจ็บปวดไหม ถ้ามันมีความเจ็บปวด ทำไมท่านตั้งใจของท่าน พิจารณาของท่านได้ล่ะ แล้วท่านสำเร็จท่ามกลางปากเสือนี่ เสือตัวเป็นๆ ไง

ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงมันเป็นเสือกระดาษ เสือกระดาษมันชำระล้างกิเลสไม่ได้ แล้วมันก็ไม่มีคุณธรรม แล้วมันพูดเป็นเรื่องโลกๆ...เรื่องโลกๆ เห็นไหม รู้ตัวทั่วพร้อม เป็นปัญญาทั่วพร้อม มีสติปัญญาพร้อม ถ้าทำสมถะแล้วจะไม่มีสติไม่มีปัญญา ปัญญาจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในเมื่อเป็นสมถะมันเกิดนิมิต จะติดนิมิต...ว่าเป็นการติดการข้องไปหมดเลย เพราะเขาต้องการเสือกระดาษด้วยความเรียบร้อยดีงามของเขา

แต่นักปฏิบัติของเรา เราต้องการเสือตัวเป็นๆ เราต้องการชำระกิเลสตามความเป็นจริง ถ้าเราชำระตามความเป็นจริง นี่มันไม่ใช่เสือกระดาษ เอวัง