เทศน์บนศาลา

ธรรมเกิน

๑๕ ต.ค. ๒๕๕๕

 

ธรรมเกิน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม เรามีศักยภาพมาก เราเป็นสัตบุรุษ เราถึงตั้งใจฟังธรรม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีคุณค่ามหาศาล มีคุณค่ามาก แต่ผู้ใดจะได้ลิ้มรสของธรรมได้มากน้อยแตกต่างกัน ถ้าลิ้มรสของธรรมนะ ธรรมะ เห็นไหม เวลาถึงที่สุดแห่งทุกข์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์ เป็นที่สุดแห่งทุกข์ นั้นคือสุขสุดยอด คือสูงสุดของธรรม สูงสุดของธรรมคือวิมุตติ คือพ้นจากทุกข์ไป

ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาสิ่งนี้มา วางไว้ให้เรานะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ เห็นไหม แต่ทางโลกเขาปรารถนาจะร่ำจะรวย ปรารถนาจะมีทรัพย์สมบัติ ปรารถนาจะมีความสุขของเขา นั่นคือความปรารถนาของโลกเขา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามาเพื่อพ้นจากทุกข์ แล้วปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ วางศาสนานี้ไว้ให้กับสัตว์โลก เป็นอาจารย์ของเทวดาตั้งแต่พรหมลงมา เห็นไหม สัตถา เทวมนุสสานัง เป็นอาจารย์ของเทวดาของพรหมต่างๆ ปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ แล้ววางธรรมไว้ให้เราศึกษา

ถ้าเรา การศึกษานะ เห็นไหม ศาสนานี้มีคุณค่ามาก เราเป็นสัตบุรุษ เป็นผู้ที่มีวาสนาถึงได้ฟังธรรม ฟังธรรม ถ้ามีสติมีปัญญา ฟังธรรมแล้วมันเข้าใจไง ถ้าฟังธรรมนะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครแสดงก็แล้วแต่ นั้นคือสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นสาวกสาวกะ เป็นผู้ที่ได้ยินได้ฟังแล้วประพฤติปฏิบัติมีคุณธรรมมา เวลาแสดงธรรมออกมามันสะเทือนหัวใจของเราไหม ถ้ามันสะเทือนหัวใจของเรานะ แต่จิตใจเราหยาบ เราฟังไม่รู้เรื่อง ฟังไม่รู้เรื่องเพราะอะไร

เราฟังเพลง ฟังเขาติฉินนินทา ฟังเรื่องโลกๆ นะ ฟังแล้วมันซาบซึ้งใจ ฟังแล้วมันรับรู้เรื่องได้นะ แต่ฟังธรรมแล้วงงน่ะ ฟังไม่ออก ทั้งๆ ที่ภาษาเหมือนกัน ภาษาพูดนี่แหละแต่เราฟังไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจเพราะจิตใจของเรามันต่ำ จิตใจเรามันหยาบ มันฟังไม่เข้าใจ เห็นไหม ถ้ามันฟังไม่เข้าใจ แต่ทำไมมันฟังเสียงโลกเขา ฟังเสียงเขาคร่ำครวญ ฟังเสียงเขาติฉินนินทา ทำไมมันฟังออกล่ะ? มันฟังออกเพราะจิตใจมันชอบอย่างนั้นไง ถ้าจิตใจมันชอบอย่างนั้น เห็นไหม

ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐมาก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกนะ “ในบรรดาสัตว์สองเท้า เราตถาคตประเสริฐที่สุด” ประเสริฐเพราะอะไร ประเสริฐเพราะว่าท่านปรารถนามาเป็นพระโพธิสัตว์ แล้วประพฤติปฏิบัติมาจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ไป เห็นไหม สิ่งที่ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ววางธรรมและวินัยไว้ให้เราก้าวเดินตามไง

ถ้าในโลก เห็นไหม เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เราก็บอกว่าเราเกิดมาเป็นชาวพุทธ แล้วพอชาวพุทธเกิดมาเราก็ว่าสิ่งนี้มีคุณค่าๆ เวลาพ่อแม่สอนลูกนะ เจอพระให้ยกมือไว้นะ แล้วยกมือไหว้พระซะ ยกมือไหว้พระ แล้วถ้าพระประพฤติปฏิบัติเพื่ออะไร? เพื่อให้มีคุณธรรมในหัวใจ เราดูแบบอย่างที่ประพฤติปฏิบัตินะ พระท่านมีศีล พระท่านมีธรรม เห็นไหม พระมีศีลมีธรรมเป็นสมบัติ เราเป็นฆราวาสญาติโยม เราก็มีทรัพย์สมบัติ มีสิ่งชื่อเสียงเกียรติยศเกียรติคุณเป็นสมบัติ นี่โลกธรรม ๘

ถ้าเรามีสิ่งนี้ขึ้นมา แล้วถ้าจิตใจทุกคนมีศาสนา เป็นผู้ที่ให้อภัยต่อกัน เป็นผู้ที่มีจิตใจที่เป็นธรรม เห็นไหม จะเสียสละเจือจาน มีการจาคะ มีต่างๆ ในสังคม สังคมก็ร่มเย็นเป็นสุข ถ้าสังคมร่มเย็นเป็นสุขนะ นี่เราบอกเราเป็นชาวพุทธ พุทธศาสนาสอนให้เรามีความสุข เรามีความสุขกันในทางโลก

ศาสนามีคุณค่ามาก แล้วแต่ใครจะใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน คำว่า “ใช้ประโยชน์” จิตใจเข้าไปอิงในศาสนา แล้วเราก็ศึกษาของเรา เราก็มีพื้นฐานของเรา ถ้ามีพื้นฐานของเรา เห็นไหม ทาน ศีล ภาวนา ทานเราก็ได้ทำแล้ว สิ่งที่เราทานแล้วเรามีบุญกุศล เราทำหน้าที่การงานของเรา เราก็ประสบความสำเร็จในชีวิตของเรา แต่ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด เราเกิดมาจากไหน เกิดมาทำไม เกิดมาแล้วเวลาตายไปตายแล้วจะไปไหน เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนถึงไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พูดถึงอริยสัจ สัจจะความจริง แล้วสัจจะความจริงมันอยู่ที่ไหนล่ะ

สัจจะความจริงในสังคมก็เป็นประเพณีวัฒนธรรม ในสังคมเรานี่เป็นประเพณีวัฒนธรรม เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เราอยู่ในสังคมของชาวพุทธ ประเพณีธรรมของชาวพุทธเราก็เห็นกัน นี่เราเห็นสิ่งนี้ แล้วเราได้ศาสนาแค่นี้ แต่เวลาคนของเรามีความบีบคั้นในหัวใจ ใจของคนถ้ามันมีสิ่งใดมันบีบคั้นในใจของคนคนนั้น ถ้าคนคนนั้นมีอำนาจวาสนา สิ่งนั้นมันสะเทือนใจไง “เราจะมาเป็นมดแดงเฝ้าพวงมะม่วงอยู่นี่หรือ ทั้งที่มะม่วงเราก็ไม่ได้กิน เป็นมดแดงก็ไต่ไปไต่มาหวงแหนรักษาไว้”

นี่ก็เหมือนกัน เราเกิดมาเป็นคน เราทำหน้าที่การงานของเรา แล้วเราก็จะมาหวงสมบัตินี้หรือ เราจะมาหวงสมบัตินี้ สมบัติของเรา สมบัติของโลกนี่เราจะมาดูแลรักษามันใช่ไหม แล้วรักษาแล้วมันเป็นไปได้จริงหรือเปล่า เห็นไหม เราไม่พลัดพรากจากเขา เขาก็พลัดพรากจากเราอยู่แล้ว ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด เราต้องพลัดพรากจากเขาไปอยู่แล้ว เวลานาฬิกามันหมุนไป นาฬิกามันเดินไปนะ เวลามันเดินไป คนเราต้องพลัดพรากแน่นอน ถ้าพลัดพรากแน่นอน ถ้าคนมีสติปัญญามันจะคิดได้ไง ถ้ามันคิดได้ของมันนะ พอคิดได้นี่มันสะเทือนใจ สะเทือนใจแล้วเราจะไปทางไหนกันล่ะ

เห็นไหม ศาสนานี้มีคุณค่ามาก ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด แต่ใครเข้าได้มากได้น้อยแค่ไหนไง ถ้าเข้าได้มากน้อยแค่ไหนนะ เวลาเราอยู่ทางโลกกันนะ เราคิดว่าการประพฤติปฏิบัตินี้เป็นเรื่องที่แสนทุกข์แสนยาก ในการกระทำต่างๆ เรากลัวไปหมดเลย เราอยากจะมีความสุขๆ นี่กิเลสมันหลอก ความสุขๆ ความต้องการตามแรงปรารถนามันเป็นความจริงไหมล่ะ สิ่งนั้นมันจะเป็นความจริงของเราไหม ถ้าเป็นความจริงของเรา เราดูแลรักษาอย่างไร แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ มันจะชำระล้างจิตใจของเรา ถ้าชำระล้างจิตใจของเรา สิ่งที่พาเกิดพาตาย ถ้ามีหัวใจ มันมีจิต มันจะเวียนเกิดเวียนตาย ถ้าเวียนเกิดเวียนตาย เราจะทำอย่างไรให้มันพ้นจากทุกข์

เราเกิดมาเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอน เห็นไหม ดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียสละมาทุกๆ อย่าง ถ้าอยู่ทางโลกก็ได้เป็นกษัตริย์ เสียสละสิ่งนั้นออกมา

แล้วเสียออกมาแล้วจะเป็นพระพุทธเจ้าเลยเหรอ...มันก็ไม่ใช่ มันต้องมีการศึกษา มีการค้นคว้า มีการกระทำขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้าความเป็นจริง เห็นไหม ศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มา ๖ ปี สิ่งนั้นศึกษาแล้วมันไม่ใช่ความจริง มันก็ต้องทดสอบๆ ทดสอบจนถึงที่สุดแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ขึ้นมา ตรัสรู้ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เห็นไหม พอตรัสรู้ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง

เวลาเป็นกษัตริย์อยู่ในราชวัง มันต้องมีหน้าที่รับผิดชอบไปทั้งนั้น แล้วเวลาเสียสละออกมา เวลาไปประพฤติปฏิบัติ ชีวิตนี้มันพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย พลิกจากความเป็นอยู่อย่างนั้นมาเป็นทุคตะเข็ญใจ ได้สิ่งใดมาก็เสวยสิ่งนั้น แล้วพยายามประพฤติปฏิบัติน่ะ ในหัวใจมันต้องมีความบีบคั้นแน่นอน เวลาเราประพฤติปฏิบัติอยู่เพื่อจะพ้นจากทุกข์ๆ ในเมื่อธรรมะยังไม่เกิด มันจะมีความสุขมาจากไหน ถ้ามีความสุขมาจากไหน แต่มีความมุมานะ เห็นไหม

ดูสิ ปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากอยู่ เพราะปัญจวัคคีย์ก็อยากจะพ้นจากทุกข์เหมือนกัน แต่ไม่มีผู้สั่งผู้สอน นี่จะทำเอง ทำอย่างไรมันก็ไปไม่ได้ ความรู้สึกนึกคิดของเรานี่จะไปอย่างใด ความรู้สึกนึกคิดมันก็มี เห็นไหม ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ก็ทางวิชาการของเขา เขาสอนอย่างไรก็ทำอย่างนั้นน่ะ ทำตามเขาไปแล้ว แล้วเขาบอกว่าเรามีอำนาจวาสนาๆ

มันมีอำนาจวาสนาตรงไหนน่ะ มีอำนาจวาสนาตรงไหนในเมื่อหัวใจมันยังบีบคั้นอยู่ มันมีแต่ความทุกข์ความยากทั้งนั้นน่ะ มันบีบคั้นมานี่ แต่เวลาจะชำระล้างกันเองมันก็ต้องเป็นใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระล้างเสียเอง ถ้าชำระล้าง เห็นไหม บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณทำลายอวิชชาจนสิ้นไปในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่เสวยวิมุตติสุข

เวลาทุกข์ก็ทุกข์แสนเข็ญ เวลาจะปฏิบัตินี่ว่าแสนทุกข์แสนยาก แต่เวลามันเสวยผลล่ะ มันวิมุตติสุข สุขที่อันประเสริฐอันนั้นน่ะ เสวยวิมุตติสุขอันประเสริฐอันนั้นแล้วพยายามจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไง มาได้พระอัญญาโกณฑัญญะ “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” ได้ปัญจวัคคีย์มา นี่มีความพอใจ เพราะเวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว “จะสอนใครได้หนอ จะสอนใคร ใครจะรับสิ่งนี้ได้ ใครจะเข้าใจสิ่งนี้ได้” แต่เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์รู้ได้ พอรู้ได้ รู้เป็นความจริงได้ ถ้ารู้ความจริงได้มันก็มีพยานต่อกัน

แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไป นี่เทศนาว่าการมา มีผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์เป็นแสนเป็นล้าน แล้วเราน่ะ เราก็เห็นตัวอย่างอย่างนั้นอยู่เหมือนกัน เราเป็นชาวพุทธถูกไหม ทีนี้กาลเวลามันผ่านมา ๒,๐๐๐ กว่าปี ทุกคนก็บอกว่ากาลเวลามันผ่านไปแล้ว สิ่งนี้มันจะมีอยู่จริงหรือเปล่า

แล้วถ้าเรามีหัวใจอยู่ หัวใจมันมีทุกข์อยู่หรือเปล่า

หัวใจมันก็มีทุกข์อยู่ทั้งนั้นน่ะ ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง ท่านบอกทุกข์เป็นความจริงอยู่แล้ว แต่พวกเรานี่เราไม่ต้องการทุกข์ เราปฏิเสธทุกข์ เราอยากจะมีความสุข เราปฏิเสธความเป็นจริง พอปฏิเสธความเป็นจริงแล้วประพฤติปฏิบัติไปมันจะมีความเป็นจริงขึ้นมาจากหัวใจของเราหรือเปล่าล่ะ

แต่ถ้าเราเผชิญกับความจริง ทุกข์มันเป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง เราต้องเข้าไปสู่สัจจะความจริงอันนั้น แล้วสัจจะความจริงอันนั้นมันถึงจะเป็นความจริงกับเราไง นี่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ต้องรื้อสัตว์ขนสัตว์ตามความเป็นจริง ถ้าเป็นความจริง เห็นไหม สิ่งที่เป็นจริง ถ้ามันมีทุกข์บีบคั้นขึ้นมา ใครจะเข้าไปแก้ไขมันได้ล่ะ? เราต้องแก้ไขตัวเราเอง

ฉะนั้น เวลาศาสนานี้มีคุณค่ามาก แล้วใครจะใช้ศาสนาได้มากน้อยแค่ไหน นี่พูดถึงประเพณีวัฒนธรรมของเราชาวพุทธนะ เราทำบุญกุศลกัน เราศึกษาธรรมะกัน แล้วเราอยากจะประพฤติปฏิบัติ เราอยากจะพ้นจากทุกข์ ทุกคนอยากจะพ้นจากทุกข์ ดูทางโลกนะ ถ้าพ่อแม่เป็นผู้ที่มีศักยภาพ หาเงินหาทองเก็บไว้ให้มรดกลูก ลูกจะได้มรดกตกทอดนั้นมาเลย จะได้สิ่งนั้นมาเป็นสมบัติของลูกนั้นเลย ถ้าลูกคนนั้นเป็นผู้ที่ฉลาด เป็นผู้ที่รักษาได้ สมบัติมรดกตกทอดนั้นมันเจริญงอกงามขึ้นมา ถ้าลูกนั้นเสมอพ่อแม่ก็รักษาสิ่งนั้นไว้ได้ ถ้าลูกนั้นต่ำกว่านะ มรดกตกทอดอันนั้นใช้จ่ายจนไม่รู้จักบำรุงรักษา มันจะหมดไปนะ นี้เป็นมรดกของโลกที่เขายื่นให้กันได้ เห็นไหม

แต่ถ้ามรดกของธรรมล่ะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ อยากให้ทุกคนมีดวงตาเห็นธรรม อยากให้ดวงใจทุกดวงใจพ้นจากทุกข์ไป แล้วพ้นจากทุกข์ไปนี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น ถึงวางธรรมและวินัยนี้ไว้ เราเกิดมาเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา เราอยากประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันก็อยู่ที่อำนาจวาสนาของเรา ถ้าอำนาจวาสนาของเรานะ เราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงหรือเปล่า เรามีแก่ใจที่อยากจะได้ความเป็นจริงไหม

เราก็บอก เราก็ทำบุญกุศลของเรา เราทำของเราด้วยเต็มอำนาจวาสนาของเรา เห็นไหม ทุกคนเขาคิดแบบนั้นทั้งนั้นล่ะ ฉะนั้น เวลาปฏิบัติไป ถ้าธรรมมันขาด มันขาดที่ไหนล่ะ ธรรมะมีขาดมีเกินอยู่ไหน ธรรมะก็คือธรรมะไง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่เวลาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นล่ะธรรมแท้ๆ ธรรมแท้ๆ คือดวงใจที่มันเป็นธรรมธาตุ ธาตุของธรรม ถ้าธรรมเป็นธรรมธาตุแล้วมันเป็นวิมุตติสุข มันเป็นวิมุตติ วิมุตติมันก็มีสุขของมันอยู่ในธรรมชาติของมัน นี่ธรรมธาตุ ธาตุอันนั้นมันเป็นธาตุธรรม ถ้าเป็นธาตุธรรม สิ่งนั้นน่ะ ธรรมแท้ๆ มันอยู่ที่นั่น

ทีนี้เราอยากจะได้ลิ้มรสของธรรม เราก็มีแก่ใจเราจะประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าเรา อำนาจวาสนาของเราล่ะ ปฏิบัติไปมันขาดมันเกินอยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าธรรมมันขาด ธรรมมันขาดคือเราทำไม่ได้อย่างนั้นไง ดูสิ ดูการศึกษานะ ถ้ามีการศึกษานี่เขาวัดผลของเขาด้วยการสอบ ถ้าการสอบ ถ้าเขาสอบไม่ได้คะแนนที่เขาให้ผ่านก็ผ่านไม่ได้หรอก เห็นไหม มันขาด คะแนนมันขาดไป ถ้ามันไม่ผ่านก็ต้องซ่อม ซ่อมจนกว่ามันจะผ่านไปได้ นี้พูดถึงในการศึกษานะ การศึกษาของโลกเขาวัดผลของเขาอย่างนั้น

ในการปฏิบัติของเราก็เหมือนกัน เราเป็นชาวพุทธ เรามีอำนาจวาสนา เราอยากประพฤติปฏิบัติของเรา แต่คนที่จิตใจสร้างอำนาจวาสนาแบบนั้น นั่นน่ะธรรมมันขาด เวลาธรรมขาด ประพฤติปฏิบัติแล้วมันไม่ได้ผล เราปฏิบัติของเราด้วยความมุมานะของเรา มันทำไมไม่ได้ผลสักที เห็นไหม สติก็ขาดๆ เกินๆ เวลาเกิดปัญญาขึ้นมาก็เป็นปัญญาทางโลกซะ ปัญญาที่บอกว่าทำไปก็ไม่ได้ผล ทำไปแล้วมันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรกับเรา กึ่งพุทธกาลแล้วธรรมะมันก็ไม่มี เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ คนที่มาเกิดร่วมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นคือคนที่เขามีอำนาจวาสนากัน เราเกิดมาแล้วเราไม่มีอำนาจวาสนา...นี่เวลาจิตใจมันคิดแบบนี้ มันคิดด้วยการฟูมฟาย

ถ้ามันฟูมฟายในใจของเรา เห็นไหม ถ้ามันขาด จะทำสิ่งใดมันฟูมฟายในใจ ฟูมฟายอยู่ในหัวใจของเรา จะเดิน จะนั่งสมาธิภาวนา มันก็ไปทำให้เราน้อยเนื้อต่ำใจไปตลอด เห็นไหม เวลาธรรมมันขาด แล้วเวลาเราคิดของเราล่ะ ความรู้สึกนึกคิดแบบนี้ นี่มันขาดไป มันขาด มันบกพร่องไปในหัวใจ แล้วมันก็ไม่เป็นความจริงของเรามาสักที นี่ธรรมมันขาด เวลามันขาดนะ มันมีแต่ความเศร้า ปฏิบัติแล้วมันมีแต่ความทุกข์ ปฏิบัติแล้วมันไม่เห็นว่ามันจะมีความสุขมาจากไหนเลย

แล้วเวลามันตีโพยตีพายไปนะ ประชดประชันกับชีวิต ประชดประชันในการประพฤติปฏิบัติ เราจะไปประชดประชันกับมันทำไม ชีวิตของเราน่ะ เราเกิดมานี่เราสงสารหัวใจเราไหม หัวใจของเราที่มาเกิดเป็นมนุษย์นี่ เกิดมาเป็นเรานี่ มันมีคุณค่าไหม เราจะไปประชดประชันมันทำไม เราจะไปตีโพยตีพายให้หัวใจเรามันต่ำค่าไปทำไม ถ้าเราทำของเรา ถ้ามันขาดแคลน มันขาดที่มันไม่เป็นความจริงขึ้นมา เราก็พยายามขวนขวายของเราสิ ถ้าเราขวนขวายของเรา เพราะอะไร เพราะเรามีสติปัญญาใช่ไหม เรามีสติของเรา เรามีปัญญาของเรา

โลก เห็นไหม ดูสิ เขาตื่นโลกกัน เขาพยายามขวนขวายกัน พยายามจะมั่งมีศรีสุขของเขา เขาตื่นของเขาไป แล้วเขาได้อะไรมาน่ะ เขาวิดน้ำทะเลทั้งทะเลนะ เพื่อเอาปลาน้อยๆ ตัวหนึ่ง เขาก็ยังใช้ชีวิตแบบนั้นกันอยู่ เห็นไหม เราเป็นชาวพุทธ เราเกิดในสังคมของวัฒนธรรมของชาวพุทธ วัฒนธรรมของสังคมพุทธ มันมีบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เห็นไหม เราเป็นอุบาสกอุบาสิกา ถ้าเรามีความมุมานะ มีความตั้งใจของเรา เราบวชพระ เราเป็นภิกษุ สังคมเขาให้โอกาส สังคมเขาส่งเสีย สังคมเขาดูแล ถ้าสังคมเขาดูแล เราจะไปวิตกวิจารณ์เรื่องอะไรกับความเป็นอยู่อย่างนั้น

แต่โลกของเขา เวลาเขาต้องปรารถนาความมั่งมีศรีสุขอย่างนั้น เขาก็พยายามแสวงหาของเขา เราดูเขาใช้ชีวิตสิ แล้วเราจะใช้ชีวิตของเราอย่างไร ถ้าเราใช้ชีวิตของเรา เห็นไหม เราไม่ฟูมฟาย เราไม่ตีโพยตีพาย เราจะไม่ประชดประชัน เราจะไม่บีบคั้นหัวใจของเรา ถ้าเราไม่บีบคั้นหัวใจของเรานะ เรามีศรัทธามีความเชื่อ เรามีศรัทธาความเชื่อในพุทธศาสนานี้นะ

เวลาเขาเจริญศรัทธา ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎก เห็นไหม วินัยนี้บัญญัติไว้เพื่อคนที่ศรัทธาให้ศรัทธามั่นคงขึ้นไป คนที่ไม่ศรัทธาให้ศรัทธาในพุทธศาสนา แก้คนที่เก้อๆ เขินๆ ต้องบังคับไว้ ต้องส่งเสริม นี่ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาบัญญัติขึ้นมา บัญญัติเพื่อเหตุนี้ไง บัญญัติขึ้นมาเพื่อคนที่ไม่ศรัทธาให้ศรัทธา คนที่ศรัทธาแล้วให้เขาศรัทธามั่นคงขึ้นไป แล้วเขาพยายามขวนขวายของเขา แล้วเรามีศรัทธาไหม

เรามีศรัทธาของเรา เรามีความเชื่อความศรัทธาของเรา ถ้ามีความเชื่อความศรัทธาของเรา แต่อำนาจวาสนาของเรา ถ้าเรามีอำนาจวาสนาของเรา เราทำสิ่งใดมันต้องประสบความสำเร็จสิ มันจะประสบความสำเร็จกับเราถ้าเราทำตามความเป็นจริงของเรา ทีนี้พอเราทำของเราแล้วมันขาดๆ เกินๆ อย่างนี้ พอมันขาดขึ้นไปเราก็ต้องมีสติมีปัญญา มีความมุมานะของเรา ทำให้มันเป็นจริงขึ้นมา

เวลามันขาดขึ้นไปนะ เวลามันขาดหมายถึงว่า สมาธิก็ทำสมาธิไม่ตั้งมั่น เวลาใช้ปัญญาขึ้นมามันก็ขาดๆ เกินๆ...ขาดๆ เกินๆ มันก็ล้มลุกคลุกคลานไง ล้มลุกคุลกคลาน...วางไว้ วางไว้แล้วพยายามกำหนดพุทโธๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเราให้มันตั้งมั่นให้ได้ ให้มันอิ่มเต็มของมัน ถ้าจิตใจมันมีหลักมีเกณฑ์ของมันขึ้นมาแล้วมันพอทำของมันได้ เห็นไหม ถ้าพอทำของมันได้ มันก็จะเป็นประโยชน์กับเรา นี่เวลามันขาดนะ

ธรรมะเวลาขาด มันขาดไปที่ไหนล่ะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันไปขาดที่ไหน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เป็นพระอรหันต์นะ มันไม่มีขาดแล้ว มันเป็นธรรมธาตุ มันสมบูรณ์บริบูรณ์ครบถ้วน แต่วางธรรมและวินัยนี้ไว้ จะรื้อสัตว์ขนสัตว์อยู่นี่ไง ทีนี้จิตใจของเรา อำนาจวาสนาของเราเองต่างหากล่ะ เราทำของเราแล้วมันขาดตกบกพร่องไป เพราะอะไร เพราะความเลินเล่อของเรา ความไม่จริงจังของเรา ความอ่อนด้อยของเรา ถ้าความอ่อนด้อยของเรา ความอ่อนด้อย ความเลินเล่อของเรามันจะสมบูรณ์มาได้ด้วยวิธีการใดล่ะ? มันก็สมบูรณ์มาได้ด้วยการฝึกหัด ด้วยการบ่มเพาะ ด้วยการสร้างสติปัญญาของเรา มันไม่เกิดลอยมาจากฟ้า มันไม่เกิดมาหรอก

ดูสิ ทางโลกเขา ถ้าใครขยันหมั่นเพียร แล้วพยายามทำหน้าที่การงานของเขา ถ้าเขาขาดตกบกพร่อง ผู้ที่เขามีหูมีตาเขาอยากช่วยเหลือนะ เขาอยากช่วยเหลือคนอย่างนั้น คนที่เขามุมานะของเขา เขาขยันหมั่นเพียรของเขา แต่เขาไม่สมบูรณ์ของเขา เขาคาดแคลนสิ่งใด คนในสังคมเขาจะช่วยเหลือเจือจานเพื่อให้คนคนนั้นประสบความสำเร็จ คนนั้นเขาทำได้เพราะเขาทำจริงจังของเขา แต่ถ้าคนขี้เกียจ คนเกียจคร้าน คนไม่เอาไหน จะทำสิ่งใดไม่มีใครเขาสนใจหรอก

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อหัวใจของเรา เราเกิดมามีความศรัทธาของเรา ถ้ามันขาดตกบกพร่องไป ถ้าเราไม่ขยันหมั่นเพียรของเรา ใครเขาจะดูแลให้เราล่ะ เราต้องมีสติปัญญาของเราสิ ถ้ามันขาดไปเราก็ต้องพยายามสะสม พยายามบำรุงรักษา พยายามทำของเราให้มันเป็นประโยชน์กับเราขึ้นมา เห็นไหม เวลาธรรมมันขาด

แล้วเวลาธรรมมันเกินล่ะ เห็นไหม มาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ ศึกษามาแล้ว ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้เป็นธรรมๆ นี่มันรู้โจทย์ก่อน มันรู้ของมันไปก่อน นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ไปหมด เข้าใจไปหมดน่ะ นี่เข้าใจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้เป็นธรรมๆ มันก็จินตนาการไป มันวาดภาพของมันไป นี่ธรรมมันเกิน เวลาธรรมมันเกิน เกินขึ้นมามันก็ไม่เป็นจริงขึ้นมาอีกล่ะ เพราะอะไร เพราะมันไม่เป็นจริงของเรา ถ้าไม่เป็นจริงของเรา มันไม่สมบูรณ์ ไม่พอดี

ถ้าไม่สมบูรณ์ ไม่พอดี ถ้ามันทำโดยความคาดหมายของเรา เห็นไหม ดูสิ รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ไปหมด เข้าใจไปหมดน่ะ ธรรมะเป็นแบบนี้ แล้วก็ว่างๆ สบายๆ สบายมากเลย...มันล้นไป มันเกินไป พอมันเกินไปมันก็ไม่เป็นความจริง พอไม่เป็นความจริงแล้วประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างไร

เวลามันขาด ใจของเรามันก็ไม่เป็นสมาธิ เวลาเกิดขึ้นมา ถ้าไม่มีสมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นมามันก็เป็นปัญญาน้อยเนื้อต่ำใจ ตีโพยตีพายไป ฟูมฟายไปกับใจของเรา แล้วก็เศร้าหมอง แล้วก็อับเฉา ทำแล้วก็คอตก แล้วมันไม่เป็นประโยชน์อะไรกับเราเลย ไหนว่าปฏิบัติธรรมแล้วมันจะเป็นประโยชน์ไง ไหนว่าปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าจะมารื้อสัตว์ขนสัตว์ไง เราก็เป็นสัตตะตัวหนึ่ง เราสัตตะเป็นผู้ข้อง เราสัตตะติดไปหมด แล้วเราจะปลดเปลื้องเราอยู่นี่ แล้วเราปฏิบัติ เราบอกว่าปฏิบัติแล้วจะสมบูรณ์ จะมีความสุข ทำไมมันขาดตกบกพร่องไปตลอดอย่างนี้ มันเสียอกเสียใจ เห็นไหม

การเสียอกเสียใจนี้มันเป็นเรื่องของกิเลส กิเลส พญามารมันอยู่ในจิตใจทุกดวงใจ ทุกดวงใจที่เกิดมามีกิเลสหมด ทีนี้กิเลสมันก็สงวนรักษาของมัน กิเลสมันจะทำให้เราทุกข์เรายาก ทำให้เราอยู่ในอำนาจของมัน จะทำคุณงามความดี ถ้ามันเปิดโอกาสให้ก็เพื่อที่ว่าเราทำแล้วประสบความสำเร็จนิดหน่อย แต่เวลามันรู้ว่าจะไปต่อสู้ ไปคัดค้านกับมัน มันออกกำลังทีเดียวล้มลุกคลุกคลาน จิต เห็นไหม การปฏิบัติมันถึงขาดตกบกพร่องตลอดเวลา

เวลาปฏิบัติไป เราบอกว่าเรารู้ธรรมะ เราศึกษาธรรมะ เพราะเราเป็นปัญญาชน เราศึกษาของเรามาแล้ว เราปฏิบัติแล้วเรารู้ไปหมด เราเข้าใจไปหมดเลย เข้าใจไปหมด เห็นไหม เข้าใจ กิเลสมันก็สวมรอย เวลาขาดตกบกพร่อง กิเลสมันก็บีบคั้น เวลาประพฤติปฏิบัติธรรม เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา กิเลสมันก็สวมรอย รู้ไปหมด พุทธพจน์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยไว้แล้ว จะแบกหามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้บนคอบนบ่าของเรา จะเป็นสมบัติของเราเลย แล้วมันเป็นจริงไหม? มันไม่จริง เพราะธรรมเกิน ธรรมเกินไป

ธรรมเกินไป จิตมันก็ไม่ลงสู่สัมมาสมาธิ จิตมันก็ไม่เป็นปัญญา ปัญญาที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ปัญญาพวกนี้มันเป็นปัญญาจำ ปัญญาที่มันสร้างภาพ นี่ธรรมเกิน เกิน ล้นไปเลย พอเกินไป เห็นไหม สิ่งที่มันเกิน มันเกินแล้วมันลงความจริงไหม มันไม่ลงความจริงเพราะอะไร ไม่ลงความจริงเพราะปฏิบัติไปแล้วมันไม่ได้ผลไง มันไม่เป็นการชำระกิเลส มันไม่ได้เป็นการสำรอกกิเลสออกไป

ไม่สำรอกกิเลสแล้วทำไมมันสบายๆ ล่ะ

สบายๆ เพราะมันเกินไง มันเกินไปมันก็ไม่เป็นความจริง ไม่มัชฌิมาปฏิปทา ไม่เกิดความรู้จริงขึ้นมาในหัวใจของเรา นี่ในการปฏิบัติแบบเกินนะ ถ้ามันเกินแล้วนี่ อำนาจวาสนาของคนแต่ละคน จิตใจของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน พันธุกรรมของจิตที่สร้างมาแตกต่างหลากหลาย เวลามันทุกข์มันยากนะ เวลามันขาดมันก็ตีโพยตีพายน้อยเนื้อต่ำใจ บีบคั้นหัวใจ กดถ่วงหัวใจให้เศร้าหมอง เวลาเราเชื่อของเรา เราศรัทธาของเรา เราปฏิบัติของเราด้วยความคาดความหมายของเรา มันก็เป็นธรรมะเกินไป

ทีนี้ในปฏิบัตินะ เวลาปฏิบัติของเรา ถ้ามันล้นน่ะ เวลาปฏิบัติถ้ามันล้นนะ เวลาปฏิบัติไป เห็นไหม นี่ปฏิบัติของเราไป พุทโธๆ หรือปัญญาอบรมสมาธิขึ้นไป ถ้าจิตมันสงบขึ้นมา จิตมันสงบของมัน มันรู้มันเห็นของมัน แต่รู้เห็นของมันโดยฌานโลกีย์ รู้เห็นของมันด้วยความไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา รู้ของมันโดยกิเลสมันพารู้ ถ้ากิเลสมันพารู้ มันก็ไปรู้ไปเห็นของมันขึ้นไปนะ นี่ล้น ล้นไปเลย “โอ้! นิพพานเป็นแบบนั้น”

ถ้านิพพานเป็นแบบนั้น มันไม่มีมูลค่าความเป็นจริง ถ้าไม่มีมูลค่าความเป็นจริง เห็นไหม ดูสิ ถ้าเป็นวัตถุเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มันจะมีมูลค่าตามความเป็นจริงของมัน นี่เหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติไป เพราะมันล้นไป ล้นด้วยอะไร? ล้นด้วยกิเลส ในเมื่อกิเลสมันเป็นพญามาร กิเลสมันเป็นเครื่องหลอกล่อ กิเลสมันพาหัวใจดวงนี้ให้รับรู้สิ่งต่างๆ ที่กิเลสมันให้รู้ ถ้ากิเลสให้รู้นะ พอจิตมันปฏิบัติไปมันจะไปรู้ไปเห็นอะไรของมัน แล้วว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ แล้วเอาสิ่งนั้นมาเป็นเครื่องมือในการแสดง เห็นไหม

ถ้าแสดง แสดงอะไร? แสดงว่ามันมีมูลค่าไง ว่ามูลค่าธรรมะเป็นแบบนั้น มันล้นไป มันไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริงเพราะมันไม่สมดุล มันไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา มันไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์กับดวงใจนี้เลย เห็นไหม ดูธรรมะมันล้น มันไม่พอดี

เวลาขาดมันก็มีความทุกข์ความยาก เวลามันเกินไปนี่เกินไปโดยมีสติปัญญาโดยพร้อมนะ ว่ารู้ตัวทั่วพร้อมนี่มีสติปัญญาสมบูรณ์มาก สมบูรณ์จนบังคับไว้จนจิตมันลงสู่สมาธิไม่ได้ ลงสู่สมาธิไม่ได้เพราะอะไร ลงสู่สมาธิไม่ได้เพราะความเกินของมัน ความเกินว่าสิ่งที่เป็นสมถะนี่ไม่มีประโยชน์ ถ้ามันลงสมถะอีกก็เป็นการตกอกตกใจ เป็นสิ่งที่เห็นเป็นโทษของมันไปซะ นี่มันเกินของมันไป มันก็เลยไม่ลงมัชฌิมาปฏิปทา

เวลามันล้นนะ...จิตใจของคน ถ้าจิตใจของคนที่สร้างมามีศรัทธาความเชื่อ เป็นสัตบุรุษ สิ่งใดที่เกิดขึ้นเขาต้องตรวจสอบของเขา เขามีความละอาย มีหิริโอตัปปะ มีความเกรงกลัว มีความละอายต่อบาป แต่ถ้าจิตใจมันด้าน เวลามันล้นไปน่ะมันสวมรอยว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ แล้วจำแม่นนะ จำธรรมะของครูบาอาจารย์มานี่มาเป็นนกแก้วนกขุนทอง เวลาแสดงออก เพราะจิตใจมันล้นไปแล้ว จิตใจมันล้นไป มันล้นของมันไปโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ไปรู้ไปเห็นสิ่งต่างๆ แล้วเวลาเอามาแสดงมันก็แสดงผ่านโดยแสดงผ่านธรรมของครูบาอาจารย์โดยเป็นนกแก้วนกขุนทอง มันไม่มีมูลค่าของมัน ถ้าไม่มีมูลค่า เพราะไม่มีมูลค่ามันถึงไม่มีข้อเท็จจริงในใจดวงนั้น ไม่มีข้อเท็จจริงในการประพฤติปฏิบัติ

สิ่งที่มีมูลค่า เห็นไหม ถ้ามีมูลค่าของมันน่ะ ดูสิ เวลามูลค่าของทางบัญชี มูลค่าในความเป็นจริงของมัน มูลค่าในทางบัญชีเขาคุมด้วยบัญชีว่ามีมูลค่าเท่าไร แล้วถึงเวลามูลค่าทางบัญชีมันมีเสื่อมสภาพ มันมีสิ่งที่วัตถุมันน้อย มูลค่าทางบัญชีมันเพิ่มขึ้น มันขาดทุนหรือกำไรทางตัวเลข มันขาดทุนหรือกำไรในทางบัญชี แต่ความเป็นจริงล่ะ ของก็มีเท่าเดิมนั้นน่ะ แต่มูลค่าทางบัญชีเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยทางบัญชี

แต่เวลาถ้ามูลค่าตามความเป็นจริงของมันล่ะ มูลค่าตามความเป็นจริงของมันคือธาตุนั้น วัตถุนั้นมีมูลค่าเท่าไรมันก็ตามความเป็นจริงของมัน ถ้ามีมูลค่าตามความเป็นจริงของมัน นั่นน่ะถึงจะเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ลงสู่ความเป็นจริง แต่ถ้ามันล้นนะ ธรรมะมันล้นนะ มันพูดของมันไปเกินมูลค่านั้น เกินที่ให้ชุมชนนั้น ให้นักปฏิบัตินั้น ให้เห็นวัดมูลค่านั้นไม่ได้ วัดมูลค่าไม่ได้เพราะมันล้นไปไง มันล้นไปเพราะความหน้าด้าน มันหน้าด้านเพราะอะไร เพราะมันหน้าด้าน มันไม่รู้จริงของมัน ถ้าไม่รู้จริงขึ้นมาแล้วมันพูดถึงมูลค่านั้นไม่ถูกต้อง

ฉะนั้น ถ้ามันเข้าสู่ตลาด เข้าสู่สังคมที่เขาวัดค่ากันด้วยทางบัญชี หรือวัดค่าด้วยทางมูลค่าตามความเป็นจริง สิ่งนั้นจะเข้าสู่ตลาดนั้น ตลาดนั้นจะไม่ยอมรับสิ่งนี้เลย เพราะมันเป็นธรรมะมันล้นออกไป นี่ไง ล้นออกไป

“ขาด” เพราะกิเลสมันเหยียบย่ำ

“เกิน” ก็กิเลสมันหลอกลวง

“ล้น” เพราะความพลั้งเผลอ ความที่ไม่มีหิริโอตัปปะ พูดออกไปโดยที่ไม่มีมูลค่าตามความเป็นจริง นี่เวลามันล้นออกไป มันล้นออกไปอย่างนั้นน่ะ

แล้วถ้าสิ่งที่เป็นความเป็นจริงล่ะ ความเป็นจริงนี่เราต้องตั้งสติของเรา เราต้องทำความสงบของเราเข้ามา ถ้าจิตใจมันสงบ ถ้าจิตใจไม่สงบ มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้น ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใครจะจำมาก็แล้วแต่ พูดสิ่งใดไปมันก็พูดโดยสัญญา พูดโดยสิ่งที่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบนั้น แต่มูลค่าตามความเป็นจริงในใจมันไม่มี

สิ่งที่เราศึกษามา เห็นไหม ดูสิ ในภาคปริยัติ ในทางวิชาการ สิ่งที่เป็นวิชาการน่ะ เราพูดทางวิชาการได้ทั้งนั้นน่ะ ดูสิ มีการศึกษา ดูทางเศรษฐศาสตร์ จะเอกทางไหนก็แล้วแต่ เราศึกษามาแล้วนี่เราศึกษามา นั่นน่ะมันเป็นความจำทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันเป็นการศึกษา ศึกษาก็เพื่อให้ฉลาด ให้รู้เท่า ให้รู้ทางทฤษฎีอย่างนั้น แต่เราได้ประพฤติปฏิบัติให้มันเกิดมูลค่าตามความเป็นจริงขึ้นมาบ้างหรือยังล่ะ

ฉะนั้น เราเรียนธรรมมา ดูสิ ถ้ามันเป็นปริยัติ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ การศึกษา เห็นไหม บอกโลกนี้จะเจริญด้วยปัญญาๆ...ใช่ แน่นอน เจริญด้วยปัญญา แต่ปัญญาอย่างนี้เวลาประพฤติปฏิบัติเขาจะมีประสบการณ์ของเขา ศึกษามาแล้ว จบมาแล้วทำงานได้หรือไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน เรียนปริยัติขึ้นมาแล้วเราปฏิบัติจะมีมูลค่าตามความเป็นจริงขึ้นมาหรือเปล่า

ถ้ามันไม่มีมูลค่าความจริงขึ้นมา เห็นไหม สิ่งที่พูดออกมาน่ะ จะต้องตามตัวอักษร จะต้องตามนั้น แล้วพูดตามนั้น แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมานะ ความจริงน่ะ ในการทำงานของเรา โดยหลักเราต้องทำงานทางวิชาการอย่างนี้ แต่ถ้าในเนื้องานล่ะ มันมีอุปสรรคล่ะ มันมีสิ่งใด เห็นไหม คนทำงานเป็นเขาทำงานเพื่อจะประสบความสำเร็จของเขา เขาจะทำก่อน ทำหลัง ทำสิ่งนี้ก่อน ทำสิ่งนี้หลัง มันทำได้ทั้งนั้นน่ะ อันนี้มันอยู่ที่อะไร? มันอยู่ที่จริต อยู่ที่ความชำนาญ ความชำนาญของคน เห็นไหม ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา

ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ เห็นไหม ดูสิ เราใช้ปัญญาของเรา เราพิจารณาของเราเข้าไป ถ้าคนไม่เข้าใจ คนอ่อนด้อย เขาบอกว่าสิ่งนี้เป็นปัญญา ปัญญานี้เป็นการชำระล้างกิเลส แต่ผลของมัน เห็นไหม ปัญญาอบรมสมาธิ มันไม่ใช่ปัญญามรรคญาณ ไม่ใช่ปัญญาอริยสัจ ไม่ใช่ปัญญาจากสัจจะความจริง ไม่ใช่ภาวนามยปัญญา มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นนี่เราเอามาใช้ไง ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเกิดสมาธิขึ้นมาแล้ว ถ้าเราใช้ปัญญาต่อไป ปัญญาต่อไป ปัญญาที่จะเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ปัญญามันต้องเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตตามความเป็นจริง

เพราะถ้าปัญญาที่มันเกิดเป็นภาวนามยปัญญามันต้องเป็นปัญญาที่ชำระล้างกิเลส ปัญญาที่จับกิเลสมาพิจารณา ถ้ามันจับกิเลสมาพิจารณาของมันตามความเป็นจริงของมัน ถ้าความเป็นจริงของมัน เห็นไหม สิ่งนั้นถึงจะเป็นการประพฤติปฏิบัติด้วยความพอดี ฉะนั้น เราพุทโธๆ ล่ะ พุทโธๆ นี่เราพุทโธของเราเพื่อให้จิตสงบ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ถ้าจิตสงบเข้ามา เห็นไหม มันจะไม่เป็นธรรมะที่ขาด ไม่เป็นธรรมะที่เกิน และไม่เป็นธรรมะที่ล้น

ถ้าธรรมะที่ขาดเพราะขาดแคลน ขาดแคลนมันก็มีความเศร้าหมอง มันก็มีความกดดันในตัวมันเอง แต่ถ้าธรรมะมันเกิน เกินเพราะมันขาดสติ เกินเพราะมันไม่เข้าใจธรรม มันก็เกินของมันไป ธรรมะถ้ามันล้น ล้นเพราะไม่มียางอาย มันล้นของมันไป ไม่มีสิ่งใดเป็นมูลค่า มันก็ว่ามูลค่าตามความเป็นจริงของมันด้วยความล้นของมัน มันไม่เป็นความจริงในมัชฌิมาปฏิปทา ในเครื่องดำเนินขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาจะมารื้อสัตว์ขนสัตว์นะ

แล้วเราก็เป็นสัตตะ เป็นผู้ข้อง แล้วเราก็อยากจะพ้นจากกิเลส เราอยากประพฤติปฏิบัติ เราเป็นนักรบ เห็นไหม ดูสิ ในป่าในเขา คุณภาพของไม้ คุณภาพของเนื้อไม้ ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่เป็นประโยชน์ขึ้นมามันจะมีสักกี่ต้น แล้วคุณภาพของไม้เบญจพรรณ ไม้ต่างๆ ขึ้นมาในป่านี่ นี่เหมือนกัน ในเมื่อสังคมของเราชาวพุทธ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่อยากจะพ้นจากทุกข์ตามความเป็นจริง มันจะมีอำนาจวาสนา มันจะมีจุดยืนมากน้อยได้แค่ไหน ถ้ามีจุดยืนมากน้อยแค่ไหน เราจะไม่ล้มเหลว เราจะไม่ล้มลุกคลุกคลาน เราจะไม่อ่อนด้อยไปกับสังคมเขา

เวลาไม้เนื้อแข็ง กว่ามันจะเกิดขึ้นมาได้ กว่ามันจะเติบโตขึ้นมาได้มันต้องใช้เวลาของมัน แต่ถ้าประโยชน์ของมันก็มหาศาล ประโยชน์ของมันก็มีคุณค่ามากกว่าไม้เบญจพรรณ ไม้ต่างๆ ที่เกิดในป่านั้น จิตใจของเรา ถ้าเราจะมีจุดยืนของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติของเรา เราต้องตั้งใจของเราให้มันตามความเป็นจริงไง

ถ้ามันขาด มันก็ไม่สงบ มันก็ไม่มีจุดยืน ถ้ามันเกิน มันก็ไม่เข้าสู่ความสงบ เพราะว่าอะไร เพราะว่าไปกลัวว่ามันจะสงบ เพราะว่าถ้ามันออกใช้ปัญญาไปมันจะเป็นการชำระล้างกิเลส ทั้งๆ ที่มันเกิน เกินอะไร? เกินจากสัจจะความจริง เกินจากธรรม พอเกินจากธรรมมันก็เลยไม่ได้ประโยชน์ แล้วไม่ได้ประโยชน์แล้วก็รักษากันไว้อย่างนั้นด้วยบอกว่า “ถ้าเป็นสมถะ ถ้ากำหนดพุทโธ ทำความสงบของใจ มันจะเป็นหินทับหญ้าๆ”

แต่เวลามันเกินไป ไอ้นั่นมันหญ้าทับหินน่ะ หินมันทับจนหญ้ามันงอกขึ้นมา หญ้ามันคลุมหินหมดเลย แล้วบอก ถ้าเป็นสมถะจะเป็นหินทับหญ้า เราใช้ปัญญาไปเลยมันจะหญ้าทับหิน หญ้ามันจะขึ้นปกคลุมหินจนไม่เห็นหินเลย เพราะอะไร เพราะคิดว่าถ้าลงสู่สมถะมันจะเป็นโทษ ลงสู่สมถะมันไม่ใช่เป็นปัญญา เพราะมันเกินไป มันไม่พอดี มันเลยเป็นหญ้าทับหิน นี่หินยังไม่เห็นเลย

ถ้าเป็นหินทับหญ้าก็ยังดี เพราะหินมันทับหญ้าไว้ หญ้ามันก็ไม่เจริญงอกงาม กิเลสมันก็สงบลง เพราะหญ้าคือกิเลส สิ่งที่เป็นป่ารกชัฏไม่เป็นประโยชน์กับใคร เห็นไหม หินทับไว้ไม่ให้มันเกิด พอไม่ให้มันเกิดแล้ว เพราะมันสะอาดบริสุทธิ์ มันมีที่ทำงาน มันได้ประโยชน์ของมัน เห็นไหม นี่เพราะธรรมะมันเกิน พอเกินไปนี่มันก็ไม่มัชฌิมาปฏิปทา แล้วถ้ามันล้นไป ล้นไปนี่มันออกนอกลู่นอกทางไปเลยนะ สิ่งที่เป็นประโยชน์ก็ไม่เป็นประโยชน์ ถ้ามันมีสติปัญญา มันจะเป็นประโยชน์กับเรา

ฉะนั้น ถ้าเราปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา ถ้ามันทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบเข้ามาบ้าง ถ้าเราฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าเราบอกว่าทำความสงบของใจ นักปฏิบัติโดยทั่วไปก็ละล้าละลัง เพราะทำความสงบของใจนี่มันทำไม่ได้ง่ายๆ แล้วพอทำไม่ได้ง่ายๆ ขึ้นมา แล้วเมื่อไหร่มันจะสงบสักทีล่ะ

ความสงบ เห็นไหม ดูสิ เราลุกเดินอยู่ เราวิ่งอยู่ เราเคลื่อนไหวอยู่ มันสงบไหม? มันก็ไม่สงบใช่ไหม ถ้าเรานั่งเรียบร้อยนี่สงบไหม? มันก็สงบแล้ว พอเรานั่งเรียบร้อยขึ้นมานี่เราก็มองเห็นภาพสิ่งต่างๆ ชัดเจนใช่ไหม จิต ถ้ามันฟุ้งซ่าน จิตที่มันคิดของมัน จิตที่มันดิ้นรนของมัน ทั้งขาด ทั้งเกิน ทั้งล้น มันล้มลุกคลุกคลาน มันไม่มีประสบการณ์ของมันเลย

กำหนดพุทโธๆๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ แค่มันนิ่ง พอแค่มันนิ่งนี่ เรามีสติปัญญา มันเทียบได้ อารมณ์ทุกข์เราก็รู้ว่าทุกข์นะ อารมณ์ที่มันแปรปรวนเราก็รู้ว่ามันแปรปรวนนะ อารมณ์ที่มันรู้ว่านิ่งเราก็รู้ว่านิ่งนะ พอมันนิ่ง ทีนี้ จิต ธรรมชาติของจิตเร็วกว่าแสง ธรรมชาติของจิต ความคิดนี้เร็วมาก ทุกอย่างเร็วมากไง ฉะนั้น เวลามันนิ่งขึ้นมา เราก็ไม่รู้ว่ามันนิ่งแล้วเป็นประโยชน์สิ่งใด มันนิ่งแล้วมันจะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เห็นไหม ถ้ามันนิ่งขึ้นมา นิ่งแล้ว พอนิ่งมันก็มีกำลัง นิ่งแล้วมันก็อิ่มเต็มของมัน

ฉะนั้น เราฝึกหัดใช้ปัญญา เห็นไหม เราเคลื่อนไหวอยู่ เราอาบเหงื่อต่างน้ำ เราแบกหามของอยู่ เราจะมองภาพสิ่งใดไม่ชัดเจน เรายืนอยู่ เรานั่งอยู่นิ่งๆ เราจะเห็นภาพสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน จิต ถ้ามันฟุ้งซ่านอยู่ มันคิดของมันอยู่ ตรึกในธรรมนี่มันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันก็ยังฟุ้งซ่านของมันอยู่ ถ้ามันหยุด เห็นไหม พอตรึกในธรรม ถ้าธรรมมันคิดพิจารณาอยู่นี่ ถ้าสติปัญญามันทัน มันปล่อย มันปล่อยนี่มันก็หยุด หยุดเดี๋ยวก็คิดอีกโดยธรรมชาติของมันเป็นแบบนั้น

ฉะนั้น ถ้าจะเป็นแบบนั้น เรารู้เราเห็นของเรา เราฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าปัญญาอบรมสมาธินี่มันใช้อยู่แล้ว แต่ถ้าทำความสงบของใจล่ะ ถ้าใจมันสงบแล้วนะ ถ้าใจมันสงบบ้างเล็กน้อย ถ้ามันสงบแล้วเราไปทำให้สงบมากขึ้น ขณิกสมาธิเป็นอุปจารสมาธินี่โอ๋ย! มันลึกมาก มันพุทโธๆๆ แล้วมันเร่ร่อน พุทโธๆๆ เราก็ต้องใช้เวลา ๑ วัน ๑ สัปดาห์ ๑ เดือน ๑ ปี ทำอยู่นั่นน่ะ แล้วพอทำมันก็ชินชา ความชินชานี่กิเลสมันก็จะเข้าแทรกตรงนี้ ความชินชา ความคุ้นเคย ปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล น้อยเนื้อต่ำใจน่ะ มันจะไปสู่ธรรมะขาดแล้ว

ฉะนั้น เราจะให้ฟื้นตื่นตัวตลอดเวลา เราพุทโธๆๆ ถ้าจิตมันสงบแล้วเราก็ฝึกหัดใช้ปัญญาได้ “ทำไมวันนี้พุทโธได้ ทำไมเมื่อวานพุทโธไม่ได้ ต่อไปจะพุทโธได้หรือไม่ได้” เห็นไหม มันเอาสิ่งนี้มาเตือนใจ ถ้าสิ่งนี้เตือนใจ พอมันเตือนใจมันก็ไม่คิดนอกเรื่อง เวลาจะพุทโธ พุทโธมันก็จะชัดเจนขึ้นมา ถ้ามันไม่ชัดเจน มันง่วงหงาวหาวนอน จิตมันตกภวังค์ จิตต่างๆ เราก็ใช้ปัญญาของเราพิจารณาของเราดู พิจารณาดูแล้วเราก็กลับมาพุทโธใหม่ เห็นไหม นี่มันใช้ปัญญาได้

เพราะการฝึกหัดใช้ปัญญานี่มันปัญญาในขั้นของสมถะ ปัญญาในการแหวกจอกแหน จอกแหนมันจะปิดน้ำ คือความรู้สึกนึกคิด คุณงามความดีที่มันจะเกิดขึ้นนี่จอกแหนมันปิดหมด เราใช้ปัญญาแยกแยะมันซะ ใช้ปัญญาแหวกจอกแหนออกเพื่อจะให้เห็นน้ำ นี่เรากำหนดพุทโธๆๆ เราใช้ปัญญาๆ ปัญญาก็แยกแยะ พุทโธลงไปถ้ามันสงบมันก็เข้าไปสู่น้ำ แยกจอกแหนมันก็เห็นน้ำ ถ้าเห็นน้ำแล้วนี่ เออ! สิ่งนี้มันมีอยู่จริง จิตถ้ามันสงบได้คือมันสงบได้

พอสงบแล้วนี่บอกว่าเมื่อไหร่จะสงบสักที มันจะแหวกจอกแหนให้หมดเลยนะ แล้วจะเอาบึงน้ำใสๆ เลย แล้วค่อยฝึกหัดใช้ปัญญา แล้วจอกแหนที่ไหนมันจะหมดล่ะ เพราะถ้ายิ่งบึงใหญ่ บึงกว้าง แหวกทางนี้มันก็โผล่ทางนู้น ไปแหวกทางนู้นมันก็มาโผล่ทางนี้ มันมีสิ่งตกค้างอยู่ มันเกิดตลอดเวลานะ ฉะนั้น เราก็ต้องฝึกหัดใช้ของเรา ฝึกทำของเรา ฝึกหัดใช้ปัญญา

ทุกคนจะบอกว่า “ถ้าทำความสงบของใจแล้วต้องรอให้ใจมันสงบก่อน แล้วกว่าที่มันจะสงบน่ะ เมื่อไหร่มันจะสงบสักที แล้วเมื่อไหร่จะได้ฝึกหัดใช้ปัญญา” นี่เราไปคิดกันอยู่อย่างนี้ เห็นไหม ถ้าคิดมาก น้อยเนื้อต่ำใจ ย้ำคิดย้ำทำ มันจะไปลงสู่ธรรมขาดน่ะ เพราะธรรมขาด พอธรรมมันขาด ขาดเพราะอะไร ขาดเพราะเราไม่ดูแลรักษา ขาดเพราะเราไม่ฟูมฟักใจของเรา ขาดเพราะไม่มีสติปัญญา

ถ้าเราจะเอายึดมั่นในปริยัติ ยึดมั่นในทฤษฎี ยึดมั่นโดยความรู้ของเรา มันก็จะเป็นธรรมเกินนะ เกินเพราะอะไร เพราะมันถลำไปไง จิตมันไม่ลงสู่สมาธิ จิตมันไม่ลงสู่ความสงบ จิตมันไม่ได้ใช้ปัญญาตามความเป็นจริง เรายึดมั่น ยึดมั่นพุทธพจน์ ยึดมั่นในสิ่งที่เราศึกษา ยึดมั่นในสิ่งที่เรารู้ ยึดมั่น เห็นไหม เพราะจิตมันเป็นนามธรรม จิตนี้มันเร็วมาก พอยึดมั่นมันก็ทะลุไปเลย ข้ามไปเลย “ว่างๆ สบายๆ” สบายๆ เพราะอิงไง อิงธรรมะของพระพุทธเจ้าไง

แต่ถ้าปฏิบัติโดยข้อเท็จจริงของเรา ปฏิบัติโดยข้อเท็จจริง ถ้ากิเลสมันหน้าด้านมันก็ทำให้ล้นไปเลย หลุดไปเลย แล้วก็พูดไม่มีขอบมีเขต ไม่มีมูลค่า ไม่มีสิ่งวัดสิ่งคำนวณว่าเท่าไร ไปตลอด ไปเรื่อยเปื่อยเลย นั้นเวลาปฏิบัติไป ถ้ามันล้นไปแบบนั้น ฉะนั้น สิ่งที่เราพุทโธๆ เวลาเราใช้ปัญญาของเราขึ้นมา ถ้ามันน้อยเนื้อต่ำใจมันจะเข้าไปสู่ตรงนั้นไง ไม่ขาดก็เกิน ไม่เกินก็ล้น แล้วพอดีอยู่ไหนล่ะ แล้วพอดี พุทโธๆ อยู่ก็ไม่ลงสักที ปัญญาอบรมสมาธิก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่นี่

ล้มลุกคลุกคลานเพราะงานที่ไม่เคยทำ งานทางโลก งานสิ่งที่เขาอาบเหงื่อต่างน้ำ เขายังต้องลงทุนลงแรงกันขนาดนั้น แล้วงานนี้งานรื้อภพรื้อชาติ งานที่จะทำลายอวิชชา ทำลายสิ่งที่เป็นพญามาร กิเลสอวิชชานี่พาจิตนี้เวียนตายเวียนเกิดมานี่กี่ภพกี่ชาติ แล้วเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วพุทธศาสนาสอนให้เราประพฤติปฏิบัติ สอนให้เราเข้าสู่ความจริง

โลกเขาเป็นชาวพุทธเขายังภูมิใจว่าเขาเป็นชาวพุทธ แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ถ้ามันไม่เป็นปัจจัตตัง ไม่เป็นสันทิฏฐิโก อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาไม่ได้ เราจะเป็นสาวกสาวกะได้อย่างไร ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริงขึ้นมา เห็นไหม เราจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลางหน้าอกของเราเลยนะ นี่พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานน่ะ

พุทธะมันเป็นแบบใด พุทธะที่มันเกิดขึ้นมานี่ ที่มันเกิดขึ้นมาแล้วมาทุกข์มายากอยู่นี่

ทุกข์ยากเพราะกิเลสมันครอบงำ ทุกข์ยากเพราะเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่เราก็วิตกกังวลของเรา แต่ถ้ามันมีอำนาจวาสนาของเรา เราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบระงับได้ จะหินทับหญ้า จะหญ้าทับหิน นั้นมันเป็นเรื่องจินตนาการของทางโลกเขา ถ้าเราเกิดขึ้นจริงมันก็เป็นความจริง ถ้าจิตมันมีหลักมีเกณฑ์ จิตมันพอมีหลักได้ เราฝึกหัดใช้ปัญญาเพื่อทำความสงบได้ง่ายขึ้น พอใจมันสงบขึ้นมาเพราะอะไร เพราะเรามีสติมีปัญญาของเราใช่ไหม มีสติปัญญาของเรา ผลงานของเรา นี่ไง โลกเขาใช้ศาสนากันได้มากน้อยแค่ไหน เรานี่ล่ะจะรู้จริง ถ้าจิตของเรามันเป็นจริงขึ้นมา เรารู้จริง

แล้วถ้าเราฝึกหัดใช้ปัญญา เวลาปัญญามันเข้าสู่ความสมดุลของมันนะ ปัญญาเข้าสู่ความพอดี มันเกิดรสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง ความสุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี จิตมันสงบ มันมีความสงบมันก็มีความสุขของมันแล้ว มันมีความสุข มีความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ฉะนั้น เวลาธรรมล้นมันล้นออกไป มันเลยสงบไป เพราะสงบแล้วมันไปรู้ไปเห็น มันเลยไป มันถึงไม่รู้จริงว่าสัมมาสมาธิเป็นแบบใด ถ้าสัมมาสมาธิ นี่สุขใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้าจิตสงบนะ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ แล้วถ้าจิตมันสงบ เราก็ว่าความสงบนี้เป็นนิพพาน

แต่ถ้าเรามีสติปัญญาของเรา ถ้าจิตสงบขนาดไหน สงบแล้ว เวลามันคลายตัวออกมามันก็เป็นธรรมดา นี่จิตสงบก็คือเข้าไปพักผ่อน พอออกมามันก็รับรู้เป็นปกติ จิตสงบเพราะมันวางธาตุวางขันธ์ ถ้ามันคิดถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร ขันธ์ ๕ ถ้าจิตมันเสวยอารมณ์มันก็ทุกข์ จิตเสวยอารมณ์มันก็เป็นปกติ ถ้าพุทโธๆ มันก็คิดน่ะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง มันคิดของมันไป เวลาเราคิดทั้งหมดมาคิดที่พุทโธ พุทโธๆๆ พุทโธมันสงบเข้ามาๆ เห็นไหม ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ กำหนดอานาปานสติ กำหนดสิ่งต่างๆ ถ้ากำหนดนั่นเป็นคำบริกรรม ถ้ามันสงบเข้ามาก็คือสงบ ถ้ามันคลายตัวออกมาเราก็ใช้ปัญญาของเรา

ไม่ต้องบอกว่า “โอ้โฮ! ถ้ามันสงบๆ นี่แล้วเมื่อไหร่มันจะได้ใช้ปัญญาเสียที”

พอเราใช้ปัญญาไป พอเราฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ามีสติแล้วมีสติมีสมาธิพร้อม ปัญญามันจะแจ่มแจ้ง ปัญญามันจะถากจะถาง อู๋ย! มันมีรสชาติมากนะ พอมีรสชาติ มันติดใจ ติดใจก็คิด เห็นไหม เวลาเราใช้ปัญญามากๆ ก็บอกว่า ปัญญาพอมันมาก มันก็จะไปขาดหรือเกินน่ะ เพราะมันใช้ไปแล้วนี่มันเพลิดมันเพลิน เพราะคนมันไม่เคยไง

พอใช้ไปแล้วนี่โอ๋ย! ทีแรกก็ดี ใช้ๆ ไปแล้วมันเตลิดเปิดเปิงเลย แล้วจะกลับมาสงบอย่างไรล่ะ เห็นไหม กรณีอย่างนี้มันเป็นกรณีศึกษา ถ้าจิตมันไม่เคยสงบเลยมันก็สงบเป็นอย่างไรก็ไม่เข้าใจ พอสงบแล้วมันจะฝึกหัดใช้ปัญญา พอใช้ปัญญาไปแล้วมันก็ล้มลุกคลุกคลาน นี่การปฏิบัติมันเป็นแบบนี้ การปฏิบัติเริ่มต้นนี่มันแสนยาก แสนยากเพราะว่าไม่มีอะไรเป็นมัชฌิมาปฏิปทาสักอย่าง ไม่มีอะไรมีความพอดีสักอย่าง ทำสิ่งใดมันก็ขาดตกบกพร่อง...มันก็เป็นอย่างนี้จริงๆ น่ะ

เพราะงานที่เราจะเอาชนะตัวเราเอง งานที่เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นสติปัญญาที่เป็นนามธรรมที่จะเอาชนะเราน่ะ แล้วเราเกิดมาโดยอวิชชา เกิดมาโดยพญามาร แล้วพญามารมันอยู่ที่ในหัวใจของเรานี่ แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะสะดวกสบาย มันจะเรียบง่าย มันเอามาจากไหน มันเอามาไม่ได้ เราไม่มีอำนาจวาสนาเป็นแบบนั้น เราก็พยายามของเรา

มันจะผิดมันจะพลาดอย่างใด ถ้ามีอำนาจวาสนา ผิดพลาดอย่างใดมันก็เอาความผิดนั้นมาเป็นคติในใจ มาเป็นที่ว่าเราเคยทำแล้ว พอมีประสบการณ์แล้ว แล้วมีความชำนาญมากขึ้น ให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น ถ้ามันถลำไปด้วยปัญญาที่ว่าฝึกหัดใช้ปัญญามันถลำเข้าไปแล้วกลับมาพุทโธ กลับมาปัญญาอบรมสมาธิ พอมันถลำไปแล้วนี่มันจะกลับมาพุทโธนี่มันยาก มันยากเพราะอะไร เพราะมันเบื่อหน่าย เห็นไหม เราก็ต้องปลุกปลอบใจของเรา เราก็ต้องให้กำลังใจของเรา ให้ใจเรามันมั่นคงขึ้นมา เพราะใจมันมั่นคงขึ้นมามันก็พอทำได้ เห็นไหม เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ ใครทำความสงบของใจ จิตดีๆ นี่ถ้าบำรุงรักษาไม่เป็นนี่เสื่อมแน่นอน

สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง ทุกอย่างเป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา นี้สัจจะความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมไปแล้ว แล้ววางทฤษฎีอันนี้ วางธรรมอันนี้ไว้ให้เราศึกษา ถ้าเราศึกษา ถ้าเราไปรู้จริงขึ้นมามันก็เป็นอันนี้ แต่เป็นแล้วทำไมเราทุกข์ยากล่ะ เป็นอนิจจังแล้วทำไมมันทุกข์ล่ะ เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญมันก็ไม่ใช่ตั้งมั่น มันจะไปตั้งหลักเมื่อไหร่สักทีหนึ่ง แล้วเมื่อไหร่จะได้ก้าวเดินขึ้นไป เมื่อไหร่จะได้ไปฆ่ากิเลสซะบ้าง

มันก็เป็นจากตรงนี้ เป็นจากตรงที่การล้มลุกคลุกคลาน เป็นจากการภาวนาไม่เป็นนี่ ถ้ามันภาวนาเป็น...องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สอนพระอรหันต์หรอก ใครสำเร็จเป็นพระอรหันต์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาธุ! แล้วให้เป็นที่พึ่งที่อาศัยของหมู่คณะไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้สอนพระอรหันต์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไอ้พวกเรากิเลสหนาๆ นี่ ให้พวกเรามีความตั้งใจของเรา

ถ้าเรามีความตั้งใจของเรา เห็นไหม เพราะเราไม่ได้เป็นพระอรหันต์มาก่อน เราเป็นสาวกสาวกะ เราเป็นปุถุชน ถ้าปุถุชนน่ะ ในการกระทำ กิเลสมันขี่คออยู่ เราก็ต้องมีสติปัญญาของเรา มีความมั่นคงของเรา ถ้าทำความสงบนะ พุทโธก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ ถ้าจิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดใช้ปัญญาแล้วถ้ามันถลำมากเกินไปเราก็กลับมาทำความสงบของใจอยู่อย่างนี้ ฝึกฝนอย่างนี้มากขึ้นๆ

ความสมดุล ความพอดี เห็นไหม ดูสิ แม่ครัวชั้นเอกเขามีความชำนาญของเขา เขาฝึกมาจากไหน? เขาก็ล้มลุกคลุกคลานมาทั้งนั้นน่ะ เขาก็เป็นลูกมือของแม่ครัวคนเดิมมา ถ้าเขาเป็นลูกมือของแม่เขามา แม่เขาก็ฝึกหัดเขามาให้เขารู้จักมีวิชาการทำอาหาร แล้วพอเขาทำอาหารแล้วเขาก็มีปัญญาของเขา เขาก็มีเชาวน์ปัญญาของเขา ฝึกหัดของเขา มีความชำนาญของเขาขึ้นมา

จิตเราก็เหมือนกัน มันล้มลุกคลุกคลานอยู่นี่ ที่มันไม่เป็นประโยชน์อยู่นี่ ถ้ามันเสื่อม มันเจริญแล้วเสื่อม ถ้ามันใช้ปัญญาไปแล้วมันล้มลุกคลุกคลาน เราก็ฝึกหัดของเรา มันจะมาจากไหนล่ะ การปฏิบัติมันจะเอามาจากไหน? มันก็เอามาจากการฝึกหัดนี่ แล้วถ้าการฝึกหัด ถ้าจิตใจมันมีคุณภาพ มันเป็นสัตบุรุษ มันมีเหตุมีผล ถ้ามันผิดพลาดมันก็เอาความผิดพลาดนั้นมาเป็นครูเป็นอาจารย์สอนใจเรา ถ้ามันประสบความสำเร็จก็อย่าเห่อเหิม อย่าหลงเพลิน ถ้ามันประสบความสำเร็จ ถ้ามันสงบบ้าง มันใช้ปัญญาบ้างที่มันเกิดขึ้นมา ก็อย่าเห่อเหิมไปกับมัน สิ่งที่เกิดขึ้นมา สิ่งนี้เป็นรางวัล

เห็นไหม ทุกข์ควรกำหนด สุขเป็นรางวัล ถ้าจิตมันสงบก็เป็นรางวัลของเราในการปฏิบัติ มันต้องมีเครื่องพยุงหัวใจของเรา ถ้าใช้ปัญญามันแยกแยะของมัน มันปล่อยวางของมัน อันนี้ก็เป็นรางวัล เห็นไหม มันมีผลของมัน ธรรมะมันมีไง

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในเมื่อทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ สมุทัยคืออะไร

สมุทัย เห็นไหม ตัณหา วิภวตัณหา นี่สิ่งที่เป็นสมุทัย กิเลสตัณหาความทะยานอยากนี่เป็นสมุทัย สิ่งที่เป็นสมุทัยเพราะเราปฏิบัติขึ้นมานี่ เพราะมันมีตัวนี้มามันถึงทำให้เราขาด ให้เราเกิน ให้เราล้นอยู่นี่ แล้วถ้าขาด มันเกิน ล้น เพราะอะไร เพราะคน กิเลสตัณหามันไม่เหมือนกัน คนที่หยาบๆ นี่มันล้นไปเลย ไม่เป็นสัตบุรุษ ไม่ยอมรับความจริง ไม่มีเหตุมีผล แต่ถ้ามันขาดล่ะ เวลามันขาด เห็นไหม มันขาด มันเกิน มันเป็นเรื่องของสมุทัย แล้วถ้าสมุทัยนี่เราจะทำลาย เราจะทำลายสมุทัย

“ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ” ละมันด้วยวิธีการใด

ถ้าจิตมันสงบระงับขึ้นมา นี่จิตสงบ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ความเห็น การขุดคุ้ยหากิเลส บางคนว่า จิตสงบแล้วกายอยู่ไหน เวทนาอยู่ไหน จิตอยู่ไหน ธรรมอยู่ไหน...สงบก็คือสงบน่ะ ถ้าคนสงบแล้วถ้ามันไม่ออกค้นคว้า ไม่ออกพิจารณา เราต้องฝึกหัดใช้ปัญญาตั้งแต่ต้น ฝึกหัดใช้มัน ฝึกหัด ปัญญาไม่เกิดขึ้นเอง ปัญญาถ้าเกิดขึ้นเองเป็นปัญญากิเลสทั้งหมด

เวลาเราทำความสงบของใจ เวลาธรรมมันเกิดน่ะ นี่ไม่ใช่ปัญญา เรารู้เราเห็นนะ นี่มันเห็นภาพ เห็นต่างๆ เห็นสิ่งที่มันเข้ามาสำรอกความสงสัยของเรา มันคายความสงสัยออกได้นะเวลาธรรมเกิดน่ะ แต่เราไม่ได้บริหารจัดการ เราไม่ได้ใช้ความคิด เห็นไหม มันถึงเป็นปัญญาของกิเลสหมดไง

เวลาธรรมเกิดๆ หลวงตาท่านบอกว่ากิเลสเกิด เพราะเวลาธรรมมันเกิด มันเกิดแล้วมันอยากได้ เวลาธรรมมันเกิดขึ้นมาน่ะมันเกิดความชุ่มชื่น ธรรมเกิดเพราะอำนาจวาสนา ธรรมเกิดเพราะบุญ ธรรมเกิดเพราะเราทำดีของเรามา เวลามันเกิดขึ้นมา เห็นไหม มันเกิดขึ้นมานี่ธรรมเกิด พอเกิดแล้วมันมีความอยากได้ มีความอยากได้อยากดีอย่างนั้น เห็นไหม หลวงตาท่านบอก กิเลสเกิดต่างหากล่ะ แต่ในความเป็นจริง นั่นน่ะธรรมเกิด

ธรรมเกิด ไม่ใช่อริยสัจ สัจจะความจริงเกิด

ถ้าอริยสัจความจริงเกิด เราจะต้องมีสติปัญญาของเรา สติปัญญา ถ้ามันพิจารณาของมัน แยกแยะของมัน การขุดคุ้ยหากิเลส ถ้ามันไม่เห็นของมัน จิตสงบแล้วมันเฉื่อยชาหรือมันนอนจมอยู่กับมัน เห็นไหม อย่างนั้นเขาพอใจ แล้วเวลาเขาเกิดสัญญา เกิดการเทียบเคียง เขาว่านั่นใช้ปัญญาของเขานะ มันจะไปลงสู่ความเกินและความขาดอันนั้น ถ้ามันไม่สมดุล ไม่มัชฌิมาปฏิปทา มันจะไปลงสู่ความขาดและความเกิน

ถ้าความขาด ขาดจากการทำความสงบของใจ ขาดจากเริ่มต้น ขาดจากสิ่งที่ภาวนาไม่เป็น แต่เวลาภาวนามาเป็น เราภาวนาเป็น มันอยู่ความสมดุล มันถึงเกิดสมาธิ เวลามันเกิดสมาธิขึ้นมานี่แล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ามันออกใช้ปัญญา ถ้าไม่ออกใช้ปัญญามันก็ไม่เห็นกิเลส ถ้ามันไม่เห็นกิเลส ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ มันไม่ได้ละสมุทัย ถ้ามันไม่ละสมุทัย เห็นไหม ตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาคือความอยากได้ วิภวตัณหาคือความผลักไส ความที่ไม่พอใจ

แล้วตัณหา วิภวตัณหาล่ะ ความที่มันเป็นอุเบกขา ความที่มันอยู่เฉยของมัน...ความอยู่เฉยนั่นก็เป็นกิเลส พอจิตมันสงบเข้าไปแล้วมันก็เฉยของมัน มันก็ว่านี่เป็นธรรมๆ เพราะอำนาจวาสนา เห็นไหม พอมันมีกำลังขึ้นมาเราต้องฝึกหัด ต้องหมั่นเพียร ความหมั่นเพียรมันจะหล่อหลอม มันจะทะนุถนอม มันจะฝึกหัดให้ใจนี่หัดให้ออกใช้ปัญญาเป็น

ถ้าออกใช้ปัญญาเป็น เป็นเพราะอะไร เป็นเพราะมันไปเห็นไง เห็นกิเลส กิเลสเป็นนามธรรม กิเลสเป็นยักษ์เป็นมารไหม กิเลสเป็นเสือโคร่งเหรอ สิ่งที่ว่ากิเลสเป็นเสือโคร่ง เป็นยักษ์เป็นมารต่างๆ อันนั้นเป็นบุคลาธิษฐานให้เห็นโทษ โทษของเสือนี่มันกินคนนะ โทษของยักษ์นี่มันทำลายเขาไปหมดนะ เขาถึงบอกกิเลสเป็นยักษ์เป็นมาร

ยักษ์ก็มีกิเลสในใจยักษ์ ถ้ามาร เทพ ฝ่ายเทพ ฝ่ายมาร เขาก็มีกิเลสของเขา ฉะนั้น เรื่องนี้มันเรื่องบุคลาธิษฐาน เรื่องความเปรียบเทียบในใจ ถ้าใจเราเปรียบเทียบได้ เราประพฤติปฏิบัติได้ มันจะเป็นความจริงของเรา ถ้าความจริงของเราเกิดขึ้นมา นี่ไง สัจธรรมเกิดที่นี่ ไม่ขาด ไม่เกิน ไม่ล้น

ถ้าไม่ขาด ไม่เกิน ไม่ล้นนะ เราพิจารณาของเรา แยกแยะของเรา แยกแยะพิจารณาของเรา...ของเราๆ เราคือใคร? เราคือผู้รู้ผู้เห็น ถ้าเราคือผู้รู้ผู้เห็น มันเห็นกิเลสที่เป็นนามธรรม แต่เวลามันพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม เห็นไหม เวทนามันเกิดขึ้นเพราะอะไร เวทนากาย เวทนาจิต เวทนากายก็เกิดขึ้นจากกาย เวทนาจิตคือความเศร้าหมอง ความผ่องใส นี่เวทนาจิตมันเกิดขึ้นมา สิ่งที่ถ้าจับเวทนาได้ นี่กิเลสอาศัยสิ่งนี้

กิเลสมันคืออะไร? สมุทัย เห็นไหม ตัณหา วิภวตัณหามันเกิดขึ้นมา ถ้ามันสุขเวทนาก็พอใจ ถ้าทุกขเวทนาก็ผลักไส อุเบกขาขึ้นมานี่จับต้องอย่างไร เวทนามันจับต้องอย่างไร ถ้าจับต้องได้ นี่ไง ถ้าเราจับต้องเวทนา พิจารณาเวทนา สิ่งที่นามธรรม สิ่งที่พอใจและไม่พอใจ นั่นน่ะสมุทัย สิ่งที่สมุทัยนี่มันอาศัยสิ่งนี้มา สมุทัยมันอาศัยในกาย อาศัยเวทนา อาศัยจิต อาศัยธรรม แสดงออกของมัน มันเป็นนามธรรม ถ้าเราเห็นกิเลส เราจับต้องกิเลสได้ เราพิจารณาของเรา เห็นไหม ถ้าจิตไม่สงบ มันไม่เห็นอย่างนี้หรอก

จิตไม่สงบ เห็นไหม ทุกคนก็รู้ว่ากาย ทุกคนก็รู้ว่าอารมณ์ เดี๋ยวนี้จิตแพทย์เขารู้หมดล่ะ เขาจะขุดอย่างไรในเมื่อถ้าจิตมันป่วย นี่เขาก็รู้ของเขา มันเป็นนามธรรมเหมือนกัน แต่นามธรรมอย่างนั้นมันเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ มันเป็นเรื่องของโลก มันไม่ใช่เป็นเรื่องภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาที่มันไปรู้มันไปเห็น ที่กิเลสเป็นนามธรรมๆ เพราะจิตนั้นเป็นผู้รู้ จิตนั้นเป็นปกติ จิตนั้นมีสัมมาสมาธิ จิตนั้นฝึกหัดออกใช้ปัญญา ถ้าจิตนั้นออกฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากสัมมาสมาธิ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากภาวนามยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาจากสมอง ไม่ใช่ปัญญาจากสถิติ

ถ้าปัญญาจากสถิติ เห็นไหม ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมได้อย่างใด ทุกคนก็ไปจำมา ทุกคนไปจำมาก็จะทำให้เหมือน ทำให้เหมือนมันก็เป็นโลกไง มันก็เป็นสถิติไง นี่ถ้าธรรมะมันเกิน เกินอย่างนี้ไง

พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลทำตัวอย่างไร ก็ใช้รู้สึกความนึกคิดแบบนั้น แบบพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลทำทั้งหมดเลย แล้วมันเป็นจริงไหม แม้แต่เราจะใช้ปัญญาอย่างนั้น ว่าพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลท่านพิจารณาของท่านอย่างใด เราจะพิจารณาตามของเราไปตามที่ท่านเคยทำมา นั้นเป็นอุบาย นั้นเป็นคติธรรม แต่เวลามันเกิดขึ้นจริงมันไม่เกิดอย่างนั้นหรอก มันเกิดขึ้นจริง เวลาเกิดขึ้นจริงในหัวใจมันไม่เกิดอย่างนั้น มันจะเกิดเป็นสัจธรรม มันจะเกิดเป็นมรรคญาณในใจดวงนั้น แล้วมรรคญาณในใจดวงนั้นมันจะมีเหตุมีผลแตกต่างกับสิ่งที่เราศึกษามา

ศึกษาก็ศึกษา ดูสิ เราศึกษาทฤษฎีมา เราจำของเรามา เราตื่นเต้นมากนะ เวลาเรามีความรู้ขึ้นมา เราตื่นเต้นมากเลยว่าโอ้โฮ! เราฉลาดมาก เรามีความรู้มาก แต่เวลาเราไปทำงานประสบความสำเร็จ มันเป็นคนละเรื่องกันเลยไหม นี่เรามีการศึกษามา เรามีปัญญามา แต่เรายังไม่มีผลงานของเราไง ทฤษฎีนั้นเรายังไม่ได้ตรวจสอบ ไม่ได้ใช้ว่าทฤษฎีนั้น คำนวณนั้น ทำอย่างนั้น แล้วมันจะได้ผลความเป็นจริงอย่างไร นี่ก็เหมือนกัน เรามีคติธรรม ในสมัยพุทธกาลพระอรหันต์ทำตัวอย่างไร ปฏิบัติกันอย่างไร เราก็จะไปจำมา มันก็จะเป็นธรรมเกิน เกินเพราะมันไม่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริงล่ะ ความจริงที่จิตมันสงบขึ้นมา พอจิตสงบมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม คำว่า “เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม” มันเห็นโดยจิต ถ้าจิตปลอมก็เห็นสิ่งนั้นรางเลือน เห็นสิ่งนั้นไม่มั่นคง ฉะนั้น ฝึกหัดใช้ปัญญาก็ฝึกหัดใช้ปัญญาเพื่อจะให้จิตมันมั่นคง จิตมั่นคง จิตที่เห็นตามความเป็นจริง มันจะเห็นอริยสัจ เห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง กาย เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริง เพราะตามความเป็นจริงมันก็กระเทือนกิเลส เพราะกิเลสเป็นนามธรรม กิเลสก็อาศัยสิ่งนี้ออกไปหาผลประโยชน์ของมัน กิเลสก็อาศัยความรู้สึกนึกคิดของเรานี่ออกไปหาผลประโยชน์ของมัน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดกับพระอานนท์ เห็นไหม “อานนท์ รูปอันวิจิตร เสียงอันวิจิตร รูป รส กลิ่น เสียง อันวิจิตร ไม่ใช่กิเลส กิเลสคือความชอบและความไม่ชอบ คือตัณหาความทะยานอยากของคนต่างหากเป็นกิเลส”

รูป รส กลิ่น เสียง อันวิจิตร สิ่งที่ว่าเป็นวัตถุธาตุต่างๆ มันไม่เป็นกิเลสหรอก กิเลสมันไม่มีอยู่ในโลกนี้ กิเลสมันอยู่ในหัวใจของสัตว์โลก กิเลสมันอยู่ในนามธรรมไง อยู่ในหัวใจไง สรรพสิ่งในโลกนี้มันไม่เป็นกิเลสนะ มันเป็นวัตถุธาตุ มันเป็นของมันอยู่ธรรมชาติของมัน มันแปรปรวนไปธรรมชาติของมัน แต่เราต่างหากไปทุกข์ไปร้อนกับมัน เราต่างหากเป็นผู้เจ็บปวดแสบร้อนในใจของเรา ถ้าในใจของเรา กิเลสมันอยู่ที่นี่ เห็นไหม

ถ้ากิเลสอยู่ที่นี่ เวลาจิตมันสงบเข้ามา เวลาจิตสงบเข้ามาแล้วมันไปรู้เห็นตามความเป็นจริง จริงตรงไหน? จริงตรงที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมไปแล้ว ครูบาอาจารย์ของเราท่านผ่านตรงนี้มาแล้ว ถ้ามันรู้จริงขึ้นมา มันจะเป็นอันเดียวกันไง อันเดียวกันที่รู้จริง ไม่ใช่อันเดียวกันรู้จำไง ถ้ารู้จำ เพราะจำวิธีการ จำทฤษฎี จำตำรับตำราที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎกวางไว้ แล้วจำสิ่งนั้นมา รู้ไปทุกอย่าง แต่ไม่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริงนะ สิ่งนี้มันเป็นปริยัติ เห็นไหม ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เพราะมีการประพฤติปฏิบัติ เพราะมีการตรวจสอบ เพราะมีการกระทำ มันถึงจะเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าความจริงอันนี้มันจะเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นความพอดี ถ้าจิตมันพอดี มันพิจารณาของมัน นี่พิจารณาแล้วแยกแยะของมัน เห็นไหม นี่ฝึกหัดใจจนใจรู้เท่า

เวลาจิตมันเสื่อมก็รู้ว่าเสื่อม เวลาจิตมันพิจารณาของมัน มันก็รู้ว่าพิจารณาของมัน แล้วถ้าพิจารณาโดยความสมดุลของมัน มันก็รวมลง เห็นไหม กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ วางหมด วางได้หมดเลย แต่วางได้แล้วนี่มันมีผลตอบแทนอย่างใด เห็นไหม เวลาผลของการทำความสงบของใจ ถ้าใจสงบ ถ้าคนไม่มีวุฒิภาวะก็ว่านี่คือธรรม นี่คือนิพพาน

แต่ถ้าเป็นนิพพาน นิพพานอะไร นี่หินทับหญ้าๆ นี่ แต่ถ้ามันไม่มีปัญญาเลย มันไม่มีปัญญา ไม่มีการกระทำ มันจะหญ้าทับหิน หญ้ามันจะปกคลุมหินไม่เห็นหินเลย ถ้านี่หินทับหญ้า เห็นไหม เปิดหินมาก็เห็นหญ้า ถ้าหินทับหญ้า หินคือกำลัง หินคือสัมมาสมาธิ ถ้าเปิดหินขึ้นมามันก็เห็นสมุทัย ถ้ามีสมุทัย เราพิจารณาของมันให้เห็นโทษของมัน พอเห็นโทษของมัน เวลามันปล่อยวางล่ะ วางแล้วมันได้ชำระล้างไหม วางแล้วมันประสบความสำเร็จหรือยัง ถ้ามันยัง มันพิจารณาของมันอยู่อย่างนั้น แยกแยะของมันอยู่อย่างนั้น หน้าที่ของเรา เราจะให้ค่าไม่ได้ เราจะให้ค่า ให้คะแนน ให้ว่าประสบความสำเร็จตามความปรารถนาของเรา อันนั้นเป็นกิเลส อันนั้นน่ะมันจะลงไปสู่...

เพราะกิเลสมันเป็นพญามาร พญามารนี่มันผลักไสอยู่แล้ว ไม่ขาดก็เกิน ยังดีไม่ล้น ถ้าล้นนี่คือไม่มีสติปัญญาเลย ล้นคือพูดโดยความไม่มีเหตุผล รับรู้โดยความไม่มีเหตุผลเลย แต่ถ้ามันขาดมันเกินนี่มันยังมีโอกาสที่จะได้แก้ไขมีความเพิ่มเติม ฉะนั้น สิ่งที่มันพิจารณาของมันไปแล้วเราจะให้ค่ามัน เราจะให้ค่ากำหนดสิ่งให้เป็นไปตามที่เราปรารถนา มันเป็นไปไม่ได้

ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติของเราไป ใช้ปัญญาของเราไป มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ กับสมาธิอบรมปัญญา ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญามันจะแก่กล้า ปัญญามันจะแยกแยะ ปัญญามันจะรอบตัว แล้วพอมันพิจารณา มันโดยปัญญาไปแล้ว ถ้ามันปล่อยวางลงก็วางลงสู่สมาธิ วางลงสู่กำลังอันนั้น ถ้าใช้ปัญญาไปอยู่ ถ้าไม่มีสมาธิ ไม่มีความมั่นคง มันจะรวมลงไม่ได้ มันจะปล่อยวางไม่ได้

ถ้าเราใช้ปัญญาของเราไป นี่ปัญญาอบรมสมาธิ กับปัญญาวิมุตตินี่ ปัญญาที่ใช้ในการชำระล้างกิเลส ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ผลของมันคือสมถะ หินทับหญ้า แต่เวลาเราหงายหินออก เพราะปัญญาอันนั้นมันจะมาหงายหินออก พอหงายหินออกมันก็เห็นหญ้า พอเห็นหญ้ามันก็ถากถางหญ้า พอถากถางหญ้า เห็นไหม ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ กับเป็นปัญญาญาณ ปัญญาญาณที่มันเกิดขึ้นจากที่มันมีสมาธิของมัน มีสมาธิ มันเกิดปัญญาญาณขึ้นมามันก็เป็นธรรมจักร พอธรรมจักรมันก็พิจารณาของมันไป นี่คือปัญญาวิมุตติ นี่คือปัญญาอบรมสมาธิอย่างหนึ่ง ปัญญาที่เป็นมรรคญาณอย่างหนึ่ง

แล้วถ้าปัญญาที่มันพิจารณาไป เพราะมันพิจารณาแล้วมันปล่อยๆ มันปล่อยขึ้นมานี่จนกว่ามันถึงที่สุด เวลามันขาดล่ะ เวลามันขาด ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติมันรู้มันเห็นของมันชัดเจนของมัน ถ้าชัดเจนของมัน เห็นไหม มันไม่ขาด ไม่เกิน ไม่ล้น มันพอดี แล้วพอมันพอดี มันถึงที่สุดแล้วมันขาด นี่สังโยชน์ขาด

ถ้ามันเป็นเจโตวิมุตติล่ะ เจโตวิมุตติ เห็นไหม เวลาจิตมันสงบแล้วถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้ามันเป็นเจโตวิมุตติ เจโตวิมุตตินี่จิตเวลามันลงสู่สมาธินี่โอ๋ย มันมีความสุข มีความสงบ แล้วมีความสุขนี่เวลามันไปรู้ไปเห็นต่างๆ มันจะล้นเอานะ ถ้าสติไม่รอบคอบ เพราะมันเป็นเจโต เพราะมันเป็นกำลังของจิต มันจะรู้มันจะเห็นของมัน

พอรู้เห็นของมัน พอมันเห็นกายล่ะ เห็นกายมันเป็นภาพ เห็นกายมันเป็นนิมิต เห็นกายที่มันรู้มันเห็นน่ะ แล้วพิจารณาให้มันเป็นไตรลักษณ์ล่ะ สิ่งนั้นมันต้องย่อยสลายไง ถ้าเป็นกาย กายนี้มันคงที่ไหม กายนี้มันสวยงาม สิ่งที่เราพอใจไหม? มันไม่มีสิ่งใดพอใจสักอย่างเลย ถ้ามันแปรสภาพล่ะ มันแปรสภาพ มันก็คือมันจะเสียรูปทรงของมันไป ถ้าเสียรูปทรงของมันไป ถ้ามันมีกำลังของมันมาก มันจะย่อยสลายเลย มันจะคืนสู่สัจจะความจริงของมันเลย มันเห็นขนาดนั้นนะ ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินี่กำลังของจิตมันรู้มันเห็นของมัน มันพิจารณาของมันไป มันจะเป็นความจริงของมัน ถ้าความจริงของมัน นี้คือการวิปัสสนา นี้คือเหตุผลของมันตามความเป็นจริง

แล้วถ้ามันพิจารณาไป พอมันมีกำลังของมัน มันพิจารณาแล้วมันเป็นไตรลักษณ์ไปแล้ว มันปล่อยหมดแล้ว ปล่อยอย่างไร เห็นไหม นี่ไง ถ้าให้คะแนนตัวเอง ถ้าให้ความสำคัญกับตนเอง มันก็ว่านี่เป็นผลๆ นะ นี่มันจะขาดแล้ว ขาดอะไร? ขาดจากความเป็นธรรม ขาดจากความเป็นมัชฌิมาปฏิปทา มันจะธรรมขาด

ถ้ามันธรรมขาดแล้ว ถ้ามันพิจารณาของมัน มันปล่อย แล้วมันรู้มันเห็นของมัน พอปล่อยกายแล้วเห็นเป็นความว่าง ปล่อยกายแล้วต้องมาพิสูจน์ตรวจสอบ...อันนั้นมันล้น มันไม่พอดี ถ้ามันทั้งขาดและล้น ทำอย่างไรให้มันสมดุลล่ะ ทำอย่างไรให้มันพอดีล่ะ ถ้าไม่พอดี ถ้ามันขาดก็คือประสบการณ์ของเราทำแล้วมันไม่ได้ผล คือพิจารณาแล้วมันปล่อย แต่มันไม่สรุป มันไม่เป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรมมันจะเผชิญหน้า มันจะรู้ต่อหน้า ถ้ามันจะรู้ต่อหน้า ถ้ามันขาดไปแล้วมันขาดไปโดยธรรมขาด ขาดไปโดยกิเลส ขาดไปโดยความไม่รอบคอบ ถ้าขาดอย่างนี้มันมีผลตอบแทนอย่างไร มันมีผลตอบสนองกับจิตอย่างไร

มันขาดก็คือขาดน่ะ มันเก้อๆ เขินๆ น่ะ...ขาดแล้วมันไม่มีผลตอบว่าขาดน่ะ แล้วขาดอย่างไร? ก็ธรรมขาดไง มันธรรมขาด ไม่ใช่ธรรมะพอดี

ถ้าธรรมะพอดีนะ มันก็ต้องพิจารณาอีก ธรรมะพอดีใช่ไหม พอจิตมันไม่มีเหตุมีผลตอบสนองมัน มันก็ต้องเอาสิ่งนั้นขึ้นมา ถ้ามันเห็นกายก็จับกายขึ้นมาพิจารณา ถ้ามันไม่เห็นกาย ไม่เห็นก็น้อมไป น้อมคือรำพึง รำพึงคือคิดในสมาธิ

เขาบอก “สมาธิคิดไม่ได้นะ เจโตวิมุตตินี่จิตมันคิดไม่ได้”

คิดไม่ได้มันเกิดปัญญาได้อย่างไร ปัญญาที่เกิดในสัมมาสมาธิ ปัญญาที่เกิดในสมาธินี่เขาเรียกรำพึง มันมีรำพึงของมันไง ถ้าปัญญาสามัญสำนึก ปัญญาของเรา นี่สิ่งที่เกิดขึ้นมาเราว่าเป็นปัญญาๆ นี่คือสัญญา นี่คือสามัญสำนึก นี่คือโลกียปัญญา ปัญญาที่เกิดจากสัญชาตญาณ แต่ถ้าจิตมันสงบไปแล้ว เวลาเรารำพึงไปน่ะมันเกิดปัญญาในสมาธิ สมาธินี่เกิดปัญญาได้ ถ้าเกิดปัญญา มันเกิดสมาธิไม่ได้ มันจะเกิดมรรคได้อย่างไร

ถ้ามันเกิดมรรคขึ้นมา มันพิจารณาของมันไป ถ้าจิตมันสงบแล้ว แล้วเราปล่อยวางหมดแล้ว ปล่อยวางหมดแล้วนะ นี่น้อมรำพึงไป รำพึงไปที่กาย ถ้ามันเห็นกายไม่ได้ก็รำพึงไปที่เวทนา รำพึงไปที่จิต ถ้ามันรำพึงเห็นกายไม่ได้ มันรำพึงในตัวมันเอง ถ้ารำพึงถึงตัวมันเอง มันก็จะเห็นตัวมันเอง ตัวจิตผ่องใส ตัวจิตเศร้าหมอง ตัวจิตรำพึง ตัวจิต นี่รำพึงได้ ถ้ารำพึงไปที่ธรรม

รำพึงคือการชักนำจิตให้ทำงาน รำพึงคือการให้จิตออกทำงาน

ไม่ใช่ให้ว่ามันพิจารณาแล้วปล่อย พอปล่อยแล้ว พิจารณาแล้วมันเป็นไตรลักษณ์ แล้วมันก็ไปสู่ฐานของมัน แล้วก็ไปนอนจมอยู่นั่น แล้วเดี๋ยวพอกิเลสมันฟื้นตัวมา ล้มลุกคลุกคลานเลย เห็นไหม ถ้ามันขาด มันก็ไม่เป็นความจริง ถ้ามันเกินก็เป็นสูตรสำเร็จ ถ้ามันล้น นั่นจับต้นชนปลายไม่ถูกเลย เราก็ต้องฝึกหัด ทำแล้วทำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงที่สุดนะ เวลามันเป็นจริงขึ้นมาน่ะ ถ้ามันเป็นความพอดี มัชฌิมาปฏิปทา มรรคสามัคคี มรรค ๘ มันรวมตัวอย่างใด มรรค ๘ นี่มันรวมตัวอย่างใด มรรคนี่ สัจธรรมนี่ มันสมุจเฉทปหานอย่างใด มันย้อนกลับมาทำลายจิตอย่างใด มันทำของมัน เห็นไหม

เวลาทำของมัน นี่สังโยชน์ขาด พอมันขาดไปนี่มันรู้ว่ามันขาด นี่ยถาภูตํ เกิดญาณทัสสนะ เกิดญาณหยั่งรู้ โสดาบันต้องไปถามใคร โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี นี่ต้องไปถามใคร? ก็ถามใจตัวเองน่ะ ถ้าใจตัวเองทำความเป็นจริง มันเกิดขึ้นที่กลางหัวใจ เห็นไหม จากใจโง่ๆ ใจที่ล้มลุกคลุกคลาน ใจที่เราไม่มีกำลัง ทำปฏิบัติไป ถ้ามันเป็นธรรม มันเป็นธรรมที่ไหนล่ะ

มันเป็นธรรมเพราะเรามีครูบาอาจารย์เป็นผู้ตรวจสอบไง เราจะรักษาศีล เราก็ต้องมีศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เป็นตัววัดว่าศีลเราสะอาดบริสุทธิ์หรือไม่ ในการประพฤติปฏิบัติน่ะ ครูบาอาจารย์ของเรามี ผู้รู้จริงมี หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านส่งทอดๆ กันมา ความเป็นจริงยังมีอยู่ ถ้าความเป็นจริงยังมีอยู่ สิ่งนี้มันตรวจสอบได้ทั้งนั้นน่ะ

ฉะนั้น สิ่งที่ตามความเป็นจริง มันจริงของใคร

ถ้ามันเป็นมัชฌิมาปฏิปทา มรรคญาณมันเกิดขึ้นแล้วมันทำลายตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งนั้นเป็นความจริง มีมูลค่า มันมีมูลค่าของมันนะ มันมีมูลค่า มีราคา เห็นไหม โลกเขาวัดกัน มูลค่า มรรค ผล นิพพาน มูลค่านี่จนโลกนี้คำนวณไม่ถูกน่ะ คำนวณราคามันไม่ได้ คำนวณผลประโยชน์มันไม่ได้ แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเขาจะรู้จริงของเขา เขาจะเป็นสมบัติส่วนตนของเขา ธรรมะส่วนบุคคล ธรรมะกับใจดวงนั้น

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปรินิพพาน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาธรรมของท่านไป เรากำลังประพฤติปฏิบัติกันอยู่นี่ เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ ศาสนาพุทธมีคุณค่ามาก ศาสนาพุทธมีราคามาก แล้วราคาที่โลกเขามีมูลค่าเขาวัดกัน เราไม่เอา เราจะเอามูลค่าตามความเป็นจริงของเรา เอามูลค่าในหัวใจของเราให้มันเป็นสัจจะความจริงกับใจของเราเอง นั้นจะเป็นประโยชน์กับเรา เอวัง