ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ต้องละสมุทัย

๑๑ พ.ค. ๒๕๕๖

 

ต้องละสมุทัย
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๑๓๑๓. นะ

ถาม : ๑๓๑๓. เรื่อง “พิจารณาต่อไปไม่ถูก ขอความเมตตาครูบาอาจารย์แนะนำ”

เมื่อนั่งสมาธิจนสงบก็จะพิจารณาความละเอียดอ่อนของจิต เมื่อก่อนความคิดเข้ามาให้พิจารณาบ่อยๆ แยกค้นหาต้นตอสิ่งที่ทำให้ความคิดเกิดและก็ดับ ส่วนสัญญาอารมณ์หยาบไม่ค่อยเกิด ถ้าความคิดไม่รุนแรง และพิจารณาก็ดับทัน เดี๋ยวนี้ความคิดไม่ค่อยมีมา แต่ปัญหาคือ มันมีสัญญาภาพแทรกเข้ามาให้พิจารณาแทน และเกิดบ่อย มันมาแบบเหมือนเราจินตนาการ เหมือนเราดูหนังเพลินๆ เราไม่ได้อยู่ในเนื้อเรื่อง พอจับได้มันจะหยุดแบบไม่มีเหตุผล ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมัน แต่สิ่งที่พิจารณาจับร่วมได้มันมากับสัญญาอารมณ์เพลิดเพลิน ถ้าจับได้มันจะหยุดทันทีพร้อมกับลองคิดต่อเองก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ความคิด หลวงพ่อทำอย่างไรดี เมตตาแนะนำลูกศิษย์ด้วยค่ะ

ตอบ : อันนี้พูดถึงเวลาภาวนานะ ถ้าเราภาวนาเริ่มต้น เราจะภาวนาไม่ได้หลักไม่ได้เกณฑ์ แต่พอภาวนาได้หลักได้เกณฑ์ ได้หลักได้เกณฑ์แล้ว เราก็จะพยายามทำให้มันได้เหตุได้ผล ทีนี้เวลาภาวนาไปมันจะไม่ได้เหตุไม่ได้ผลตามสัจจะธรรม แต่มันได้เหตุได้ผลจากการภาวนา

ได้เหตุได้ผลจากการภาวนาหมายความว่า เวลาเราภาวนาไปนี่ เราเห็นผลงานของเรา เวลาเห็นผลงานของเรานะ เราเริ่มหัดภาวนา ถ้าเรากำหนดความสงบของเรา ถ้าจิตมันสงบ เวลาเราออกใช้ปัญญาไปนี่ มันจะเป็นเหตุเป็นผลของการภาวนา ถ้าเป็นเหตุเป็นผลของการภาวนา เราจะรู้ว่าสิ่งที่เราภาวนาไม่ได้ มันเป็นอย่างใด

แต่เวลาเราภาวนาได้ขึ้นมา เห็นไหม นี่มันปล่อยวางๆ แต่มันปล่อยวางแล้วนี่ทำไมมันไม่ถึงที่สุด ทำไมมันไม่ขาด ถ้ามันไม่ขาด เราก็มีความวิตกกังวล เห็นไหม เรายังมีความวิตกกังวลอยู่ว่าเราทำอย่างไร แล้วเราทำต่อไปอย่างไรจะให้มันจบได้ คิดแบบนี้คิดแบบโลกๆ

คิดแบบโลกๆ หมายถึงว่า โลกเวลาเราปฏิบัติกัน เห็นไหม เวลาเราศึกษาทางทฤษฏีเราก็ศึกษาทฤษฎี แล้วเราศึกษาทฤษฎีแล้วเราฝึกหัดปฏิบัติจนเราทำหน้าที่การงานได้ เราก็ทำหน้าที่การงานของเราได้แล้วมันจบ มันเสร็จ งานนั้นมันเสร็จ นี่คืองานของโลก งานของโลกทำแล้วมันเสร็จ

แต่งานของธรรม งานของธรรมถ้ามันจบ เห็นไหม คำว่า ภาวนาแล้วมันมีเหตุมีผลในการภาวนานั้น แต่มีเหตุมีผลในการภาวนานั้น แต่ทำไมมันไม่จบล่ะ มันยังไม่จบสิ้น ไม่จบสิ้นเพราะอะไร เพราะมันยังไม่ขาด เพราะมันไม่ขาด แล้วทำอย่างไรมันถึงต้องขาดล่ะ

ฉะนั้น เวลาการภาวนาเราบอกว่า มันต้องทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ สมุทัยนี่ต้องละ ถ้าสมุทัยต้องละ เวลาเราบอกต้องละสมุทัย สมุทัยคืออะไร สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ถ้าละสังโยชน์ ๓ ตัวนี้ เราจะเป็นพระโสดาบัน

เราจะเป็นพระโสดาบันปั๊บ เราก็ตั้งโจทย์ขึ้นมาเลย สักกายทิฏฐิ ทิฐิคือความเห็นผิด เราก็ทำใจเราให้เห็นถูก วิจิกิจฉาคือความลังเลสงสัย เราก็ไม่สงสัย สีลัพพตปรามาส เป็นการลูบคลำ เราก็จะไม่ลูบคลำ นี่ตัวสมุทัยเลยล่ะ เราบอก เราจะละสมุทัย แต่เราไปอยู่ในสมุทัยโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย ถ้าเราไม่รู้ตัว คำว่า “ไม่รู้ตัว” เพราะเหตุใด

สมุทัยคือ ตัณหาความทะยานอยาก ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่คือสมุทัย พอสมุทัย เห็นไหมบอกว่า สักกายทิฏฐิ เราก็บอกนี่ ตัณหา คือความอยากได้ เราก็บอกว่า เราไม่มีสักกายทิฏฐิ

วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เราก็บอกว่าเราไม่สงสัย เพราะเรามีเหตุมีผลในการภาวนาแล้ว นี่มันเป็นการไม่สงสัย ถ้าเป็นการลูบคลำ เราก็ไม่ลูบคลำ นี่เราก็คิดว่าเราเป็นสังโยชน์ นี่คือตัวสมุทัย ต้องละสมุทัย แต่มันเป็นสมุทัยโดยที่เราไม่รู้ตัว เป็นสมุทัยโดยที่ไม่รู้ตัวเพราะว่า ตัณหาความทะยานอยากมันมากับอวิชชาความไม่รู้ มันมากับความรู้สึกนึกคิดของเรา มันนอนเนื่องมาหมด มาหมดแล้วทำอย่างไรต่อไป นี่ไงคนถึงถามว่า เราภาวนาเราจะได้ผลอย่างไร ทำอย่างไรถึงได้ผล เห็นไหม นี่เวลาเริ่มต้น นี่ภาวนาที่มันมีข้อเท็จจริงของมัน

เวลาจิตมันสงบบ่อยๆ เราก็แยกจับค้นหาต้นตอแห่งความคิด ถ้ามันเกิดความคิดขึ้นมา เห็นไหม มันก็เกิดดับ พอมันเกิดดับ เราพิจารณาของเรา มันก็เริ่มต้นตั้งแต่ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนี้เป็นขันธ์ ๕ แต่ รูป รส กลิ่น เสียง ถ้ารูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นเรื่องภายนอกไง ถ้ามันเรื่องภายนอกถ้าเราพิจารณาภายนอก

เราจะบอกว่า การพิจารณาเริ่มต้นที่เราบอกเราจับแยกแยะได้ เราคิดว่ามันเป็นวิปัสสนาๆ อันนั้นมันเป็นสัญญาอารมณ์ต่างหาก ถ้ามันปล่อยสัญญาอารมณ์เข้ามา มันก็เป็นตัวของจิต ถ้ามันเป็นตัวจิตขึ้นมา จิตมันสงบแล้วมันเห็นของมันตามความเป็นจริง มันถึงเป็นตามความเป็นจริง ถ้าไม่ตามความเป็นจริง นี่คิดแบบทางโลกๆ

ดูสิ หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ท่านบอกว่า “เดี๋ยวนี้ปฏิบัติพอเป็นพิธี” คำว่า “พอปฏิบัติเป็นพิธี” เขาปฏิบัติสำนักต่างๆ เห็นไหม เขาจะตั้งทฤษฎีของเขาขึ้นมาแล้วก็ปฏิบัติตามนั้น นี่รู้ตัวทั่วพร้อมๆ รู้ตัวไปหมดล่ะ นั่นล่ะตัวสมุทัยทั้งนั้นล่ะ มันสมุทัยทั้งนั้นเลย เพราะว่ามันสร้างขึ้นมา มันเป็นอย่างนั้น แล้วมันปล่อยวาง จิตมันดีๆ มันดีในสมุทัยไง มันดีในสมุทัยมันก็ดีแบบโลกๆ มันไม่ละเอียดเข้าไปถึงจนเข้าไปเจอข้อเท็จจริง

ถ้ามันเจอข้อเท็จจริง เห็นไหม เวลาเราภาวนากันนะ เวลาครูบาอาจารย์เราภาวนา ถ้าจิตมันสงบแล้ว ถึงออกไปใช้ปัญญา ถ้าจิตมันสงบแล้วออกใช้ปัญญา ใช้ปัญญาอย่างใด ถ้าใช้ปัญญาอย่างไร แต่เราใช้ปัญญากันอยู่อย่างนี้เราบอกมันเป็นปัญญาๆ เห็นไหม นี่ทุกข์ควรกำหนด ไหนเราบอกเราทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ นี่ต้องละสมุทัย แต่เราไม่เคยเห็นสมุทัย เรารู้จักสมุทัยไม่ได้ เพราะสมุทัยเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา นี่การที่ผลงานในการปฏิบัติก็เป็นเรา ถ้าเป็นเราขึ้นมาแล้วนี่ มันเป็นเราเพราะอะไรล่ะ มันเป็นเราเพราะว่าเราไม่มีปัญญาอันละเอียดจะรู้เท่า ถ้าไม่มีปัญญาอันละเอียดจะรู้เท่าพอภาวนาแล้วจะได้ผลๆ มันถึงไม่ได้ผลๆ

มันไม่ได้ผลเพราะอะไร เพราะว่าเราเองนี่รู้ คนภาวนามันรู้ รู้เพราะอะไร เพราะมันมีความค้างในหัวใจ มันมีความสงสัยลึกๆ นี่เวลาคนภาวนาไปแล้ว บอกพิจารณากายแล้วมันปล่อย พิจารณาเวทนาแล้วมันปล่อย ทุกอย่างมันปล่อย มันปล่อยแล้วมันเป็นผลหรือยังๆ นั้นล่ะความสงสัย

กรณีตัวอย่างนะ เวลางานศพหลวงปู่มั่น พอเสร็จจากงานศพหลวงปู่มั่น หลวงปู่เทสก์ท่านจะชวนหมู่คณะไปเที่ยวใต้ พอไปเที่ยวใต้นี่หลวงปู่จวนท่านก็จะลงใต้ไปด้วย พอหลวงปู่จวนท่านจะลงใต้ไปด้วยนี่นะ หลวงปู่ขาวบอกว่า ชวนหลวงปู่จวนไปอยู่ด้วย หลวงปู่ขาวชวนท่านอาจารย์จวนไปอยู่ด้วยที่ถ้ำกลองเพล

ทีนี้อาจารย์จวนก็จะลงใต้อย่างเดียวๆ จะลงแต่ไปใต้ เพราะธรรมดาพระธุดงค์ทั่วประเทศไทยกลับมาจากเชียงใหม่ไปธุดงค์มาแล้วทุกภาค ภาคใต้ยังไม่ได้ไปก็อยากไป ยังไงก็จะลงไปใต้กับคณะที่พอเผาศพเสร็จแล้วก็จะลงไปใต้ หลวงปู่ขาวใช้อุบายวิธีการขนาดไหน จนถึงที่สุดไม่ได้ หลวงปู่ขาวก็เลยบอกว่า “ท่านไปไม่ได้หรอก เพราะหลวงปู่มั่นฝากท่านไว้กับผม” หลวงปู่มั่นท่านฝากหลวงปู่จวนไว้กับหลวงปู่ขาว เพราะอะไร เพราะว่าเวลาภาวนาไปครูบาอาจารย์กับลูกศิษย์จะอยู่ด้วยกัน จะรู้จริตของแต่ละคนมันจะไม่เหมือนกัน

หลวงปู่มั่นเวลาท่านฝึกนะ ท่านฝึก ดูสิ เวลาหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชอบ ตามขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ เวลาตามขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่นะ “ไม่ใช่” หลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อน หลวงปู่ชอบท่านไปต่างหาก หลวงปู่ฝั้นไปกับหลวงปู่อ่อน เวลาไปกับหลวงปู่อ่อนนะ หลวงปู่ฝั้นไปพักที่วัดเจดีย์หลวง หลวงปู่มั่นท่านมารับหลวงปู่ฝั้นที่วัดเจดีย์หลวงเลย

เวลาไปถึงหลวงปู่ฝั้น “ท่านอาจารย์มาทำไมล่ะ” หลวงปู่มั่นก็บอกว่า “ก็มารับท่านไง” หลวงปู่มั่นท่านรู้ของท่านนะว่า หลวงปู่อ่อนกับหลวงปู่ฝั้นท่านขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ หลวงปู่มั่นท่านออกมาจากป่า ท่านมารับหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนเข้าไปภาวนาในป่า นี่ไปฝึกหัดอยู่ในป่า หลวงปู่ฝั้นท่านก็บอกว่าท่านอยากจะไปเที่ยวที่นั่น พระปฏิบัตินะพอไปเจอป่าเขา โอ้โห มันมีแต่ความแช่มชื่น มันอยากจะไปเที่ยว ที่ไหนที่มันเป็นป่าก็อยากจะไปวิเวก

พอเช้าขึ้นมา ท่านไปเอาบาตรกับหลวงปู่มั่น “จะไปไหน ที่นั่นไม่ดีหรอก ที่นี่ดี” พอหลวงปู่มั่นพูดอย่างนั้นก็ควบคุมใจตัวเอง ทีนี้มันควบคุมไม่ได้มันก็คิดอีก วันหลังก็คิดอีก พอไปรับบาตรตอนเช้า เพราะเช้าก็ต้องไปทำข้อวัตรแล้วไปเอาบาตรของหลวงปู่มั่นมาที่โรงฉันแล้วออกบิณฑบาต พอเช้าไป กลางคืนภาวนาก็คิดอีก เช้าไป หลวงปู่มั่นก็บอก “ที่อื่นไม่ดีหรอก ที่นี่ดีๆ” จนหลวงปู่ฝั้นท่านก็กลัวมาก ท่านก็ปฏิบัติของท่านๆ รักษาใจของท่าน แล้วคืนหนึ่งพอภาวนาไป จิตมันรวมลง มันสว่างไปหมดเลย

พอเช้าขึ้นไปจะไปรับบาตร พอเปิดประตู ธรรมดาหลวงปู่มั่นท่านจะอยู่ข้างในแล้วหลวงปู่ฝั้นท่านต้องเข้าไปเอาบาตร พอวันนั้นไปนะ พอขึ้นไปหลวงปู่มั่นยืนจังก้าเลย “จะไปไหน เห็นไหมบอก ที่นี่มันดีๆ เห็นไหม ที่นี่มันดีไหมๆ เมื่อคืนผมไม่ได้นอนทั้งคืนเลยนะ จิตเป็นอย่างไรผมก็คุมทั้งคืนเลยนะ” ท่านเฝ้ามองจิตหลวงปู่ฝั้นทั้งคืนเลย หลวงปู่ฝั้น โอ้โห ท่านก้มท่าน... โอ้โห มันซึ้งใจไง มันซึ้งใจ

นี่พูดถึงว่าหลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ เห็นไหม คำสอนของหลวงปู่มั่นมันเป็นเฉพาะคน การปฏิบัติมันเป็นเฉพาะคน มันไม่มีปฏิบัติตามพิธีกรรม เห็นไหม บอกทำอะไรทำพร้อมกันเดินพร้อมกัน ไปเป็นแถวเป็นเหมือนกับลูกเป็ดแม่เป็ด เดินกันเป็นแถวอย่างนั้น มันไม่มีหรอก ไอ้นั่นมันฝึกทหาร เรื่องการปฏิบัติมันไม่มีอย่างนั้นหรอก การฝึกทหารเขาฝึกกันอย่างนั้น แต่การฝึกใจไม่มี ถ้าของมันไม่มี มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่มี นี่พูดถึงหลวงปู่ฝั้นนะ

เวลาหลวงปู่จวน ในนิมิตของหลวงปู่มั่นว่า หลวงปู่มั่นได้เอาหลวงปู่จวนขึ้นหลังแล้วขึ้นใส่หลังไป เห็นไหม นี่นิมิตของหลวงปู่มั่น แล้วหลวงปู่จวนท่านปฏิบัติของท่าน ท่านมีประสบการณ์อะไรของท่าน ท่านได้ถามปัญหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเห็นถึงความเป็นไปว่าจิตนี้คึกคะนอง จิตนี้มีฤทธิ์ จิตมีฤทธิ์เพราะอะไร เพราะเวลาจิตสงบนะ หลวงปู่มั่นกับหลวงปู่จวนเวลาจิตสงบแล้วมันจะขึ้นเป็นภาษาบาลี หลวงตาท่านบอกเลย เวลาจิตเราสงบนะ ธรรมมันเกิดเป็นภาษาไทย คือขึ้นมาเป็นภาษาไทย แต่หลวงปู่มั่นกับหลวงปู่จวนขึ้นเป็นภาษาบาลี พวกภาษาบาลีพวกนี้จิตมันจะมีฤทธิ์ พอมีฤทธิ์ขึ้นมานี่หลวงปู่มั่นท่านเห็นคุณสมบัติของจิต เห็นคุณสมบัติของคนว่ามีอำนาจวาสนาขนาดไหน

ฉะนั้น ถ้าคนที่มีอำนาจวาสนา มันต้องมีควาญประจำช้าง ช้างตัวไหนถ้ามันคึกคะนอง ช้างตัวไหนที่มีกำลัง ช้างตัวไหนที่จะใช้ประโยชน์ได้ ควาญประจำช้างนั้นต้องให้ทันช้างตัวนั้น ถ้าควาญช้างตัวนั้นคุมช้างตัวนั้น ฝึกหัดช้างตัวนั้นเป็นประโยชน์ขึ้นมา จะเป็นประโยชน์กับช้างตัวนั้นเองแล้วก็จะเป็นประโยชน์กับศาสนามาก

ฉะนั้นท่านถึงสั่งหลวงปู่ขาวไว้ว่า ฝากท่านจวนไว้ด้วยๆ ทีนี้พอหลวงปู่มั่นท่านฝากหลวงปู่จวนไว้กับหลวงปู่ขาว นี้ฝากไว้กับหลวงปู่ขาว หลวงปู่จวนก็อยากจะไปเที่ยวใต้ อยากจะไปธุดงค์ที่ภูเก็ต หลวงปู่ขาวท่านบอกว่าใช้อุบายก่อน เพราะว่าจะอ้างครูบาอาจารย์...

ในวงกรรมฐาน ในวงของครูบาอาจารย์ของเรานี่เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จะอ่อนน้อมถ่อมตน จะอ่อนน้อมจะถ่อมตน จะพูดสิ่งใดเป็นธรรม ไม่มีทิฐิ ไม่มีมานะที่จะพูดกดขี่กัน ไม่มีทิฐิไม่มีมานะที่จะพูดเอารัดเอาเปรียบกัน ก็พยายามใช้อุบายบอกว่า “พอเสร็จงานศพแล้วท่านจวนไปกับผมนะ ไปวิเวกกับผมนะ” หลวงปู่จวน “ไม่ จะไปภูเก็ต ไม่ จะไปภูเก็ต” จนสุดท้ายเหตุผลที่ยกมาแม่น้ำทั้ง ๕ แล้วก็เอาไม่อยู่ สุดท้ายหลวงปู่ขาวก็เลยพูดตรงๆ “ท่านไปไม่ได้หรอก หลวงปู่มั่นฝากท่านไว้กับผม” หลวงปู่จวนนี่คอตกเลย ต้องไปกับหลวงปู่ขาว

พอไปกับหลวงปู่ขาว พอหลวงปู่ขาวท่านสอนของท่าน ท่านพิจารณาของท่าน หลวงปู่จวนท่านไปหาหลวงปู่ขาว เวลาไปอยู่ที่ภูทอก อยู่ที่ถ้ำจันทร์ สมัยนั้นสหายเยอะมาก แม่ทัพภาค ๒ เขาไปขอร้อง เขาจะจับ ก็เลยเอาหลวงปู่จวนกลับไปอยู่ถ้ำกลองเพล พอเหตุการณ์เริ่มคลี่คลายเบาบางลง หลวงปู่จวนก็กลับมาภาวนาต่อที่ภูทอก ท่านพิจารณากามราคะ พิจารณาอสุภะ ท่านเอากระดูกช้างนะแขวนคอ แล้วท่านฉันหมาก แล้วท่านก็คายน้ำหมากออกมาท่วมตัวเลย เพราะท่านพิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะพอคนไปเห็นเข้า ไปฟ้องหลวงปู่ขาวว่า หลวงปู่จวนเสียสติไปแล้ว แต่หลวงปู่ขาวท่านบอก ท่านสอนเองๆ ขณะพิจารณาอสุภะ

เราจะบอกว่า ควาญประจำช้างควาญนั้นต้องมีปัญญามากกว่าช้างนั้น ควาญประจำช้างนั้นต้องมีปัญญามากกว่า ควาญประจำช้างนั้นต้องมีปัญญาต้องมีอุบายวิธีการ บอกให้ช้างนั้นพยายามฝึกหัดตัวเองขึ้นมา พอฝึกหัดตัวเองขึ้นมาจนถึงที่สุด หลวงปู่จวน “ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์” ไปฟังเทศน์หลวงปู่จวนสิ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์คือทุกข์ควรกำหนด เหตุให้เกิดทุกข์คือสมุทัย ทุกข์ดับนั่นคือนิโรธ วิธีการดับทุกข์ นี่มันจะมีสัจจญาณ กิจจญาณ มีกตญาณ นี่วงรอบของ ๑๒ หลวงปู่จวนท่านจะเทศน์อย่างนี้ประจำ

ฉะนั้นเวลาหลวงปู่จวนท่านไปหา ไปกราบหลวงปู่ขาว พาหมู่คณะไปกราบหลวงปู่ขาว ไปดูรูปสิ เวลาหลวงปู่จวนท่านไปกราบหลวงปู่ขาวนะ ท่านเอาหัวเข้าไปไว้ที่เท้านะ แล้วหยิบเท้าของหลวงปู่ขาวนะ ลูบหัวท่านๆ ท่านเคารพ ท่านบูชา ท่านซาบซึ้งบุญคุณหลวงปู่ขาวที่หลวงปู่ขาวเอาท่านไปชุบเลี้ยง เอาท่านไปดูแล ท่านซึ้งบุญคุณกัน นี่เห็นไหม ถ้าเป็นจริงมันเป็นแบบนี้ เป็นจริงเป็นแบบนี้หมายความว่า เวลาหลวงปู่ขาวท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านมีคุณสมบัติตามความจริงของท่าน ท่านถึงบอกวิธีการ บอกชี้นำทาง ทางที่ผู้ปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

ทีนี้เราปฏิบัติกัน เราปฏิบัติแล้วเรามีการศึกษา พอเรามีการศึกษาเราอ้างทางทฤษฏีทั้งนั้นล่ะ พอเราอ้างทางทฤษฏี เห็นไหม นี่เวลาเราพิจารณา เห็นไหม พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม เราก็บอกว่า เราก็พิจารณากายแล้ว คือเราทำตามสูตร เราทำครบกระบวนการตามสูตรแล้ว แล้วจิตมันก็ปล่อยจริงๆ นะ พอจิตมันปล่อย ปล่อยนี่เป็นโสดาบันไหม ถ้านี่เป็นโสดาบันไหม? ไม่เป็นหรอก ถ้าลองถามว่าอย่างนี้ใช่โสดาบันไหม “ไม่ใช่ ไม่ใช่เด็ดขาดเลย” ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะบอกว่า นี่ใช่โสดาบันไหม เอ็งก็สงสัยอยู่แล้วๆ ถ้าอย่างนี้ใช่โสดาบันไหม “ไม่ใช่” ไม่ต้องมาถาม “ไม่ใช่”

แต่ถ้าเป็นโสดาบันนะ ถ้ามันเป็นโสดาบัน โสดาบันเพราะอะไร ถ้าจิตสงบแล้วจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตตามความเป็นจริง ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตตามความเป็นจริง เราพิจารณาแยกแยะของเรา ใช้ปัญญาแยกแยะ นี่จะเป็นเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ เป็นจริตนิสัยที่หยาบหรือละเอียด มันจะแยกแยะของมัน พิจารณาของมัน

ถ้ามันปล่อยของมันแล้ว ปล่อยแล้วก็ยังสงสัยๆ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถ้ามันถูกต้องๆ มันจะลึกซึ้งเข้าไป มันจะปล่อยวาง มันจะละเอียดลึกเข้าไปๆ มันก็เป็นแบบนี้ เป็นแบบที่โยมถามนี่ เวลาพิจารณาไปแล้วมันปล่อย ค้นหาต้นเหตุทั้งหมดแล้ว มันก็ปล่อยวางหมด การเกิดดับ รู้เท่าหมดแล้ว สัญญาอารมณ์ที่หยาบๆ นี้รู้เท่าหมดเลย

ถ้ารู้เท่าหมดแล้วนี่ เวลาพิจารณาไปมันมีภาพ มีสัญญาแทรกเข้ามา อันนี้สัญญาแทรกเข้ามา ถ้ามันเป็นจริงมันจะมีอะไรแทรกเข้ามาได้ ถ้ามีอะไรแทรกเข้ามา อันที่เห็นอยู่อันเก่านั้นมันจริงหรือเปล่า

พอสิ่งที่แทรกเข้ามาแล้ว เวลาจับไปแล้วมันไม่มีเหตุไม่มีผล มันหยุดของมัน แล้วกำลังเราพอไหม ถ้ากำลังเราพอนะเราจับได้ ถ้าสิ่งที่มันแทรกเข้ามา เราจับสิ่งที่แทรกเข้ามา แล้วพิจารณาแทรกเข้ามานี่ จากสิ่งที่มันเป็นเปลือกๆ มันก็ละเอียดเข้ามา ถ้ามันแทรกเข้ามา ถ้ามันไม่มีเหตุไม่มีผล ไม่มีเหตุไม่มีผลเพราะจิตกำลังเราไม่พอ ถ้ากำลังเราพอ เราจับแล้วเราต้องแยกส่วนขยายส่วนได้ ถ้ามันเป็นอุคคหนิมิต มันก็เป็นวิภาคะ ถ้ามันแยกส่วนขยายส่วน ถ้ามันแยกส่วนขยายส่วนมันก็เป็นไตรลักษณ์

ถ้ามันเป็นไตรลักษณ์ ก็พิจารณาเป็นไตรลักษณ์แล้ว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายมันเป็นอนัตตา เป็นอนัตตามันเป็นอย่างไร มันพิจารณาของมันเข้าไป ถ้าพิจารณาเข้าไป เห็นไหม มันทำเข้าไป ถ้าสิ่งที่มันแทรกเข้ามามันเคยแทรกเข้ามา มันก็เป็นสังโยชน์ไง ถ้าเป็นสังโยชน์มันเป็นสมุทัย พอมันเป็นสมุทัย สมุทัยมันเป็นอย่างไร

ทีนี้พอเป็นสังโยชน์ เป็นสมุทัย พวกเราก็จะไปตั้งสังโยชน์สมุทัยเป็นวัตถุขึ้นมา พอเป็นวัตถุขึ้นมา เราก็จะไปฆ่ามันไปทำลายมัน เพราะละสังโยชน์ ๓ ตัว ถ้าละสังโยชน์ สังโยชน์มันเป็นแบบใด ทุกคนบอกว่าอยากละสังโยชน์ ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ใครละสังโยชน์ ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนให้ใช้สติปัฏฐาน ๔ แล้วพิจารณาไป

แต่เวลาเป็นพระโสดาบันขึ้นมา ละสังโยชน์ ๓ ตัว เป็นพระสกิทา ละสังโยชน์ ๓ ตัวแล้วกามราคะ ปฏิฆะอ่อนลง ถ้าพิจารณาจนเป็นพระอนาคา ปฏิฆะ กามราคะขาดไป ขาดไปนี่พระอนาคาละสังโยชน์ได้ ๕ ตัว แล้วสังโยชน์อย่างละเอียดนะ

สังโยชน์อย่างหยาบ สังโยชน์อย่างละเอียด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา นั้นสังโยชน์อย่างละเอียด ถ้าใครพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม จนละเอียดเข้าไป พิจารณาถึงที่สุดแล้วถ้ามันทำลายแล้ว มันทำลายสังโยชน์อย่างละเอียดขาดไป ถ้าสังโยชน์อย่างละเอียดขาดไป นี่พระอรหันต์ละสังโยชน์ ๑๐ ตัว

แล้วสังโยชน์มันอยู่ไหนล่ะ เพราะพระอรหันต์ละสังโยชน์ ๑๐ ตัว เราก็จะพยายามไปละสังโยชน์กัน ว่าสังโยชน์มันอยู่ที่ไหน จะไปละสมุทัยกัน แล้วสมุทัยมันเป็นอะไร? สมุทัยมันเป็นนามธรรม มันนอนเนื่องมา สมุทัย ตัณหาความทะยานอยาก มันนอนเนื่องมากับกระแสของจิต ถ้ามันนอนเนื่องมา ความคิดเราทั้งหมดมันก็มีสมุทัยเจือมาทั้งนั้นน่ะ นี่ความคิดอย่างหยาบ ความคิดอย่างกลาง ความคิดอย่างละเอียด มันก็มีสมุทัย สมุทัยอย่างหยาบ สมุทัยอย่างละเอียด เห็นไหม มันเป็นนามธรรม พระพุทธเจ้าถึงสอนให้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔

พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ถ้าสติปัญญามันเข้ามา เราพิจารณาไป สิ่งที่เป็นสมุทัยมันก็เบาบางลงๆ มันไม่ใช่ขิปปาภิญญา กิเลสมันก็ขาดไป ถ้ามันขาดไป มันเป็นจริงของมัน มันก็เป็นจริงของมัน

เราจะบอกว่า การปฏิบัตินี้มันเป็นเฉพาะ มันไม่มีใครทำเหมือนกัน มันไม่เหมือนทางวัตถุที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมสายการผลิตออกมาเหมือนกันหมดล่ะ นี่สายการผลิต เห็นไหม สายการผลิตพระโสดาบัน จะมีพระโสดาบันเป็นร้อยเป็นล้านเลย เพราะออกมาเป็นสายการผลิตนี้ สายการผลิตนี้จะเกิดสกิทา อนาคา พระอรหันต์ มันมีสายการผลิตที่ไหน เพราะอะไร

เพราะสายการผลิตนะ แม้แต่โรงงานที่เขาผลิตสินค้า ถ้าวัตถุดิบมันสั่งมาจากที่แตกต่างกัน คุณภาพของวัตถุดิบมันไม่เหมือนกัน ออกมานี่รูปเหมือนกัน แต่คุณสมบัติไม่เหมือนกัน เพราะว่าวัตถุดิบที่มามันแตกต่างกัน นี่ขณะที่เป็นสายการผลิตนะ สายการผลิตนั้นเป็นอุตสาหกรรม แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติ มันไม่มี เพราะว่าจริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน เอตทัคคะ ๘๐ องค์ พระอานนท์ได้ถึง ๔ อย่าง ๕ อย่าง อันนั้นเฉพาะพระอานนท์ แต่อย่างองค์อื่นได้เอตทัคคะคนละทางๆ ไม่เห็นมีใครเหมือนใครเลย ไม่มีใครเหมือนใคร เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน สะอาดบริสุทธิ์เหมือนกัน แต่คุณสมบัติไม่เหมือนกัน

ถ้าคุณสมบัติไม่เหมือนกัน สิ่งที่การภาวนา จริตของคนก็ไม่เหมือนกัน ถ้าไม่เหมือนกัน สิ่งที่การกระทำเราต้องกระทำกับจิตใจของเรา ถ้าจิตใจของเรา เราภาวนาของเราเข้าไป นี่ที่ปฏิบัติยากๆ ปฏิบัติยากอยู่ตรงนี้ไง ตรงที่เวลาผู้ที่ปฏิบัติไปแล้ว นี่เราเป็นปัญญาชน พอปัญญาชนขึ้นไปนี่ เราอิงทฤษฏี อิงธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็จะทำให้เหมือน

ฉะนั้น เวลาในภาคปฏิบัติ เห็นไหม เวลาเราพูด ทุกคนจะบอกว่าพูดเหมือนกับการไม่เคารพบูชา แต่ความจริงเคารพบูชา เคารพบูชาอย่างสูงสุดเลย แล้วเคารพบูชาว่าตรงนี้มันเป็นประเด็นเลย ประเด็นที่ว่าให้พวกเราได้คิด แล้วให้พวกเราได้ปล่อยวาง ปล่อยวางสิ่งที่มันเป็นผลลบ สิ่งที่มันดึงให้เราต่ำ แล้วเราปฏิบัติตามข้อเท็จจริง

เวลาหลวงตาท่านจบเป็นมหา ท่านเรียนถึงเป็นมหานะ เวลาจะปฏิบัติขึ้นมา มีจิตใจอยากจะเป็นพระอรหันต์ อยากจะพ้นจากทุกข์ ศึกษาจนเป็นมหา นิพพานก็ต้องศึกษาแล้วธรรมดาพระไตรปิฎกศึกษาจบหมดแล้วล่ะ แล้วเวลาจะปฏิบัติขึ้นมา นิพพานจะมีจริงหรือเปล่า มันก็มีกิเลสละเอียดๆ มันกระตุ้นในหัวใจ มันจะมีจริงไม่มีจริง ปฏิบัติแล้วจะได้ผลไม่ได้ผล ถ้ามันสงสัยอย่างนี้ ต้องหาพระองค์ใดองค์หนึ่งเป็นผู้ชี้ขาดว่ามันมีจริงหรือมันไม่มีจริง ก็ไปหาหลวงปู่มั่น กว่าจะไปเจอหลวงปู่มั่น ไปเจอกับหลวงปู่กู่ที่หนองคาย ใครๆ เขาก็อยากให้อยู่ด้วย เพราะพระดี ใครๆ เขาก็อยากเอาไว้ด้วย

ท่านบอกว่า ในใจของท่าน ท่านปักธงแล้วว่าต้องไปหาหลวงปู่มั่น ฉะนั้นอย่างไรท่านก็ต้องไปหาหลวงปู่มั่น พอไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านมีอนาคตังสญาณเหมือนกัน ท่านก็รู้ของท่าน ท่านพูดกับหลวงปู่เจี๊ยะไว้แล้ว “มันจะมีพระหนุ่มๆ องค์หนึ่ง จะมาหาเรา พระองค์นี้จะเป็นประโยชน์มหาศาล”

เวลาหลวงตาท่านไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเดินจงกรมอยู่ที่บ้านโคก(อะไรนั่นล่ะ) ท่านเดินจงกรมอยู่ คือท่านรู้ ท่านรู้ของท่าน ประสาเราว่า ภาพแรก ความประทับใจ เห็นไหม ท่านมาเดินจงกรมอยู่ แล้วเข้าไป “มาจากไหนๆ” เสร็จแล้วขึ้นไปเทศน์ เวลาเทศน์จบแล้ว “มหาก็เรียนจบมาถึงมหานะ” พอเทศน์จบแล้ว นิพพานมันอยู่ที่ไหน มันลงใจแล้วล่ะ อืม! ไอ้สิ่งที่มันสงสัยในจิตใต้สำนึก มันสงสัยอยู่ลึกๆ ว่ามันมีจริงหรือไม่มีจริงนี่ มันลงแล้วล่ะ

ทีนี้พอลงแล้ว เห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านก็จะเริ่มวางพื้นฐานเลย ขนาดจบเป็นมหามานะ เวลาเราไปฟังเทศน์ เราฟังเทศน์กับเจ้าคุณ เจ้าฟ้าที่ไหนมาก็รู้จบหมดล่ะ จะมาฟังเทศน์พระป่านี่ฟังไม่รู้เรื่องเลย เห็นไหม คำว่า”ไม่รู้เรื่องเลย” คือพยายามจะลงไปตั้งใจฟังให้ได้ เวลาท่านพูดของท่านแล้ว เห็นไหม ท่านก็บอกว่า ท่านเรียนมาแล้วนะ เรียนถึงเป็นมหา ใครไม่เข้าใจก็ว่าพูดด้วยความไม่เคารพ ความจริงเคารพๆ

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติเราเรียนแล้วเราก็เรียนมา แต่ถ้าปฏิบัติ ถ้ายังเอาปริยัติมาเป็นพื้นฐาน เอาปริยัติอิงธรรมของพระพุทธเจ้า อิงวิชาการทั้งหมดเลย ทีนี้พอปฏิบัติไปวิชาการมันจะมาเทียบตลอด เพราะเรารู้อยู่แล้วล่ะ นี่ยังดีนะ มันไม่เป็นทางลบนะ ถ้าเป็นทางลบนะ มันภาวนาไปมันเกิดจินตนาการ พอมันเกิดจินตนาการแล้วมันก็เอาสิ่งที่เราศึกษามารองรับ มารองรับ “เอ้อ เป็นอย่างนั้นๆ” เพราะเราก็ทำมาเป็นอย่างนี้แล้ว แล้วทางวิชาการพระพุทธเจ้าบอกไว้ก็ตรงกันเปียะเลย เหมือนกันเปียะเลย สมุทัยทั้งนั้นน่ะ

เพราะนี่มันเป็นทฤษฏี นี่มันเป็นนามธรรมที่เราไม่เคยเห็นจริงเลย สมาธิเราก็ยังไม่ชัดเจนว่า ขณิกสมาธิขอบเขตมันแค่ไหน อุปจารสมาธิขอบเขตมันแค่ไหน อัปปนาสมาธิขอบเขตมันแค่ไหน แล้วเวลาสิ้นสุด อัปปนาสมาธิสูงสุดแล้วมันแค่ไหน แล้วต่อไปอย่างไร มันจะมีผลอะไรขึ้นมา ไม่มี ก็เคยมีแค่นั้นล่ะ สูงสุดก็มีแค่นั้นแล้วก็รอวันเสื่อม แค่นั้นเอง แต่เราออกใช้ปัญญาไปแล้ว ปัญญามันเป็นอย่างไร นี่ถ้าคนเป็นนะ

ฉะนั้น หลวงปู่มั่นท่านถึงพูดตรงนี้ไง ท่านบอก “มหา มหาเรียนมาจนเป็นมหานะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เทิดใส่ศีรษะไว้สูงสุดเลย” เพราะหลวงปู่มั่นท่านสมบุกสมบั่นมา ท่านรู้ถึงกิเลสมันจะเอาอะไรมาอ้างอิง กิเลสมันจะเอาอะไรมาตลบหลัง กิเลสนี่มันไปเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาตลบหลังเรา เพราะมันศึกษารู้กระบวนการมันทั้งหมดแล้ว ทางวิชาการกิเลสมันรู้หมดแล้ว เราเรียนมากิเลสมันก็อยู่กับเรา นี่อนุสัยนอนเนื่องไปกับจิต มันอยู่กับจิตเรานี่แหละ ทำอะไรกิเลสทำด้วย ศึกษาอะไรกิเลสศึกษาด้วย รู้อะไรกิเลสรู้ด้วย ถ้ามันรู้ด้วยมันก็เอาสิ่งนั้น เห็นไหม

ถ้าเอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสร้างภาพ พอสร้างภาพขึ้นมา เพราะเรารู้อยู่แล้ว พอจินตนาการขึ้นมามันก็เป็นเหมือนกันหมดเลย ฉะนั้นหลวงปู่มั่นท่านเคยทุกข์เคยยากอย่างนี้มา ถ้าคนปฏิบัติไปแล้ว ถ้าคนยังไม่เชื่อนะมันต้องทุกข์ยากอย่างนี้ไปก่อน ทุกข์ยากไปอย่างนี้ ทุกข์ยากจนมันจนตรอก

คนปฏิบัตินี่มันไม่เชื่อใครหรอก คนภาวนานี่ทุกคนทิฐิสูงมาก พอทิฐิสูงนี่พอภาวนาไป มันก็บอก “ของเราใช่ๆ ครูบาอาจารย์นี่ไม่รักเราจริง ถ้าครูบาอาจารย์รักเราจริง ครูบาอาจารย์ต้องบอกของเราใช่สิ ไปถามทีไรหน้าหงายทุกทีเลย อาจารย์นี่ไม่รักเราจริง ถ้ารักเราจริงต้องยกก้นเราสิ อาจารย์ไม่เคยยกก้นเราเลย ไปทีไรโดนทุกที” ก็กิเลสมันเป็นแบบนี้ พอกิเลสเป็นแบบนี้...

สิ่งที่หลวงปู่มั่นบอกว่า “สิ่งที่ศึกษามาเรียนมานะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทิดไว้บนศีรษะ แล้วใส่ลิ้นชักไว้ แล้วล็อคกุญแจมันไว้ อย่าให้มันออกมา แล้วมหาภาวนาไปเถอะ ภาวนาไป” เพราะภาวนาไปเป็นการปฏิบัติแล้ว ถ้าปฏิบัติจริงนะ ถึงที่สุดแล้วการปฏิบัติเรา ปริยัติมันจะมาเหมือนกัน ถ้ามาถึงจุดแล้วมันจะเป็นอันเดียวกัน ถ้าเป็นอันเดียวกันให้มันเป็นตามความเป็นจริง

แต่ขณะที่เราไม่มีประสบการณ์อย่างนี้ พอเราปฏิบัติไป เรามีความสงสัยไหม คนปฏิบัติมีความสงสัยไหม? สงสัยทุกคน พอสงสัยแล้วมันก็จะไปลากเอาที่เราเรียนมา มารองรับ มันก็จะไปลากเอาที่เรารู้ไว้มาหนุน มาคอยลากไป กิเลสมันจะเป็นแบบนี้ แล้วมันเสียเวลาไหม

หลวงปู่มั่นท่านพูดไว้สุดยอด ท่านบอกว่า “ถ้าเราปฏิบัติไปพร้อมกับปริยัตินี่มันจะเตะมันจะถีบกัน คิดสิคนจะเตะจะถีบกัน” เหมือนพี่น้องอยู่ในบ้าน ๒ คน มันทะเลาะกันทุกวันเลย พี่น้อง ๒ คนทะเลาะกันในบ้านทุกวันเลย เวลามันทะเลาะกัน มันก็กระเทือนใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน กิเลสกับธรรมมันจะเตะมันจะถีบกัน เวลาปฏิบัติ ธรรมกับกิเลสมันทะเลาะกันอยู่อย่างนั้นล่ะ มันไม่สามัคคีกันเลย แล้วการปฏิบัติมันจะลำบากไหม

แต่ถ้าเราแยกเลย อ้าว พี่น้อง ๒ คนแยกกัน เอ็งก็ไปทำงานของเอ็งนะ พี่ก็ไปทำงานของพี่ น้องก็ไปทำงานของน้อง ไปทำงานเสร็จแล้วกลับมาคุยกันนะว่างานมันเป็นอย่างไร เออ อย่างนี้มันจะดีใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน ปริยัติเราก็เก็บใส่ลิ้นชักไว้ แล้วก็ลั่นกุญแจมันไว้ แล้วเราปฏิบัติไป ปฏิบัติไป ทำงานปฏิบัติไป ปฏิบัติไปจนถึงที่สุดแล้วมันมาเทียบปริยัติ เพี๊ยะ! นี่มันเป็นประโยชน์ตรงนี้ไง ถ้าเป็นประโยชน์ตรงนี้ปั๊บ เรานี่ผู้ถาม พวกนักปฏิบัติเรารู้แล้วจิตใจเราวางไม่ได้ เราวางไม่ได้ พอวางไม่ได้ปฏิบัติไปแล้ว นี่มันเป็นอย่างไรๆ

“นี่ต้องละสมุทัย ต้องละสมุทัย สมุทัยต้องละ”

การปฏิบัตินี่ละสมุทัย สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ต้องละ แต่เราไม่ได้ละ พอเราไม่ได้ละแล้วนี่ไม่สงสัยไม่ลูบคลำ ไม่สีลัพพตปรามาส ก็ไม่สีสัพพตปรามาสก็ธรรมเมาไง พอกินเหล้าเมาแอ๋ เออ...ไม่กินอีกแล้วล่ะ ใครกินเหล้าจบแล้วบอกว่าจะไม่กินเหล้าอีกแล้วล่ะ เดี๋ยวก็กินอีกแล้ว

นี่ก็เหมือนกันไม่สีลัพพตปรามาส ไม่ลูบคลำแล้วล่ะ ไม่ลูบคลำ ไม่ลูบคลำมันก็สงสัยอยู่นะ ทิ้งตรงนี้วางไว้ตรงนี้ เห็นไหม สิ่งที่เป็นปริยัติ

หลวงปู่มั่นบอกว่า “ใส่ลิ้นชักไว้ แล้วลั่นกุญแจไว้ อย่าให้มันออกมา แล้วเราปฏิบัติไป อย่าเอาตรงนี้มาเทียบเคียงเวลาปฏิบัติ แล้วปฏิบัติตามความเป็นจริงไป ถ้าตามความเป็นจริงไป สมุทัยต้องละ แต่เราจะไปละที่ไหนสมุทัยล่ะ ทุกคนก็ไปตั้งภาพเลยว่า สมุทัยเป็นอย่างนั้นๆ จะไปตั้งภาพเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้พูดอย่างนั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสติปัฏฐาน ๔ อริยสัจ กลับมาที่อริยสัจนี้ นันทิราคะพวกสมุทัยนี่ สิ่งที่ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตรงนี้ แล้วเราทำของเรา เราปฏิบัติของเราไป ถ้ามันเป็นจริงนะ มันจะเป็นจริงขึ้นมา พอเป็นจริงขึ้นมาก็จะเป็นจริง นี่ปฏิบัติแล้วมันจะเป็นแบบนี้ เป็นแบบนี้เพราะอะไร

เป็นแบบนี้เพราะว่าเราเอง เราสร้างอำนาจวาสนามานะ ถ้าไม่สร้างอำนาจวาสนามา เราก็จะโดนคนชักนำไป เรามองถึงสังคมปฏิบัติสิ ไปดูนะที่ปฏิบัติพอเป็นพิธี ตอนนี้การปฏิบัติกำลังขึ้นหม้อ แล้วก็สร้างทฤษฎีกันขึ้นมา แล้วก็ไปทำกันนะ ทำอย่างนั้นถ้ามันเป็นจริงนะ

เวลาเราไปวัด เห็นไหม ระดับของทานก็ไปทำทานกัน นี่ก็ถือว่าปฏิบัติแล้ว ปฏิบัติแล้วก็เหมือนกับตุ๊กตา จัดแถวตุ๊กตา ทำอยู่อย่างนั้นน่ะ ตุ๊กตาไม่ใช่คน ไอ้นี่เราเป็นคน แล้วถ้าเป็นคนแล้ว เวลาครูบาอาจารย์ของเราตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นลงมา เวลาท่านสอน ท่านสอนส่วนตัว

อย่างเช่น หลวงปู่จวน ท่านเห็นแววของหลวงปู่จวน ท่านเห็นแววแล้วพอเห็นแววแล้วมันคิดหลายชั้นนะ เห็นแววหลวงปู่จวนว่าหลวงปู่จวนจิตนี้มันมหัศจรรย์ ถ้าจิตมหัศจรรย์แล้วใครจะคุม แล้วที่ว่าใครมันจะคุม แล้วตัวท่านมันถึงคราวต้องเสียไง มันถึงคราวท่านต้องตาย

เพราะท่านบอกเองว่า “หมู่คณะ ใครจะปฏิบัติให้ปฏิบัติมานะ แก้จิตแก้ยากนะ ผู้เฒ่าจะแก้หวะ ผู้เฒ่าจะแก้ นี่ผู้เฒ่าแก่แล้วนะ เดี๋ยวผู้เฒ่าก็อายุไม่เกิน ๘๐ นะ”

หลวงตาพูดประจำ ท่านก็นับเลยนะ ๗๐ ๗๑ ๗๒ ๗๓แล้วนะ ท่านนับมาตลอด ว่าไม่พ้น ๘๐ นะ ๘๐ ต้องตายๆ แล้วพอหลวงปู่จวนท่านยังภาวนา มันยังขึ้นมา คือคนเราก็รู้อยู่ว่า จิตมันมหัศจรรย์ แล้วตัวเองก็ต้องตายไปแล้วจะฝากใครไว้ จะฝากอย่างนี้ไว้กับใคร ก็ต้องฝากไว้กับคนรู้จริงสิ ถ้าฝากไว้กับคนรู้จริง

เพราะว่าหลวงปู่ขาวท่านได้คุยกันไว้แล้วว่า หลวงปู่ขาวนี่เป็นพระอรหันต์ ฉะนั้นท่านถึงฝากไว้ เพราะฝากไว้ จะไปไว้กับคนอื่นก็ไว้ไม่ได้ จะไปไว้กับใคร ถ้าไว้กับคนอื่นนะ เวลาหลวงปู่จวนท่านปฏิบัติขึ้นไป เห็นไหม มีปัญหาตั้งแต่เรื่องผู้ก่อการร้าย สมัยนั้นแถวนั้นสีแดงหมดเลย เวลาผู้ก่อการร้ายต่างๆ มีอะไรกระทบ เขาก็ไปฟ้องหลวงปู่ขาว หลวงปู่ขาวก็เรียกท่านออกไป ไปดูแล จะดูแลตั้งแต่ความเป็นอยู่ แล้วยังคอยบอกทฤษฎี ยังคอยบอกวิธีการ ยังคอยแก้ไข ยังคอยทำกัน เพื่อให้ขึ้นมา

เราจะบอกว่า เวลาปฏิบัติไปแล้ว มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฐิโก คือมันเป็นระหว่างดวงจิตของเรากับธรรม ถ้าเราไปเทียบกับคนอื่น เขาไม่ใช่เราและเราก็ไม่ใช่เขา ถ้าเราไม่ใช่เขา เราไปเทียบกับเขา เราฟังกันเป็นธัมมสากัจฉา เป็นอุบายเป็นวิธีการ แต่จะให้เหมือนกันไม่ได้ จะให้เหมือนกันมันไม่มี ถ้ามันไม่มี เราต้องปฏิบัติของเรา

ฉะนั้น เวลาปฏิบัติของเรา เราจะต้องสมบุกสมบั่นเข้าไปสู่ความจริงของเรา ถ้าเราสมบุกสมบั่นเข้าไปสู่ความจริงของเรา เห็นไหม เราพยายามทำของเรา เราอย่าเรรวน อย่าน้อยเนื้อต่ำใจ เพราะเราปฏิบัติมาขนาดนี้ ภาษาเรา เราว่า เราเข้ามาถูกทางแล้ว เราเห็นของเรา เรารู้ของเรา เราปฏิบัติของเรา

แต่! แต่ตรงนี้นะ เวลามีสัญญาแทรกเข้ามา ให้พิจารณาแทน ถ้าพิจารณาแทน ถ้าเราพิจารณาของเรานะ มันเป็นอย่างนี้ ถ้าเราเห็น รูป รส กลิ่น เสียง ใช่ไหมเราพิจารณาของเราอย่างนี้ แล้วถ้ามีปัญญามันปล่อยนะ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมารเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ถ้าเราปล่อย รูป รส กลิ่น เสียง เราปล่อยได้จากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน นี่มันเป็นขั้นหนึ่ง มันเป็นสิ่งที่ว่าทำสมาธิได้ง่ายกับทำสมาธิได้ยาก

ถ้ามันเข้าใจ รูป รส กลิ่น เสียง เสียงก็สักแต่ว่าเสียง รูปก็สักแต่ว่ารูป ทุกอย่างก็สักแต่ว่ามันปล่อยหมด นี่มันเป็นกัลยาณปุถุชน ถ้ากัลยาณปุถุชนเรารักษาจิตของเรา ทีนี้เวลาเราไปเห็นภาพต่อไปที่ละเอียด ถ้ามันเห็นกาย เห็นเป็นนิมิต เห็นเป็นต่างๆ เขาบอกว่าเห็นภาพแทรกเข้ามา ถ้าเห็นภาพแทรกเข้ามาพอเราพิจารณาไป มันหยุดโดยที่ไม่มีเหตุไม่มีผล ถ้ามันหยุดโดยที่ไม่มีเหตุไม่มีผล รูป รส กลิ่น เสียงที่เราเห็น มันเป็นสิ่งที่หยาบ สิ่งที่มันละเอียดขึ้นมา เรากำลังไม่พอ พอหยุดปั๊บมันจับไม่อยู่มันก็หายไป แว๊บ

แต่ถ้าเรามีสตินะ เรามีสติเราทำความสงบของเราให้มากขึ้น สิ่งที่มันแทรกเข้ามาก็จับสิ สิ่งที่หยาบใช่ไหม อย่างเช่น เปลือกผลไม้กับเนื้อผลไม้ เปลือกมันก็คลุมเนื้อผลไม้มามันก็เป็นผลไม้เดียวกันนั้นแหละ แต่มันเป็นเปลือก ถ้าเราลอกเปลือกแล้วมันก็เป็นเนื้อ ถ้าเนื้อกับเปลือกมันไม่ใช่อันเดียวกัน แต่มันก็เกี่ยวเนื่องกัน นี่ไงถ้าเราพิจารณาของเรา มันปล่อยเข้ามาแล้วถ้ามันมีอะไรแทรกเข้ามา แล้วถ้าจิตเราดีเราจับอันนั้น เวลาเปลือกเปลือกผลไม้ เราจับนะ จับไว้ได้ พอเนื้อไม่มีเปลือกเดี๋ยวมันก็เน่า

สิ่งที่เป็นรูปที่เคยเห็นมานี่ เราเห็นของเรามา เวลามันปล่อยเข้ามาแล้ว เวลามันมีอะไรแทรกเข้ามา เราก็จับไม่ได้ เราก็ต้องไม่ได้ แสดงว่าจิตเรากำลังไม่พอ จิตเราไม่มีกำลังพอ เราก็กลับมาทำความสงบให้มากขึ้น ถ้ามันจับได้ มันก็พิจารณาไป ถ้ามันแทรกเข้ามา มันไม่ใช่ความจริง มันก็จะเห็นสติปัฏฐาน ๔ เหมือนตามความเป็นจริง ก็พิจารณาซ้ำเข้าไปๆ สิ่งที่พิจารณามันรวมกันมา มันมากับสัญญาอารมณ์เพลิดเพลินเข้าไป ถ้ามีสติมันหยุดทันที แล้วลองคิดต่อเอง มันคิดไม่ได้

ความคิดคือสัญญา ความคิดคือเราอยาก ความคิดมันก็เหมือนที่ว่า หลวงปู่มั่นท่านบอกกับหลวงตา ความคิดอย่างนี้เพราะเราศึกษามา เรามีข้อมูล เราก็คิดของเรา เราต้องการให้มันเป็นกระบวนการ เวลาเราปฏิบัติขึ้นมา เราก็อยากให้เป็นกระบวนการ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอริยสัจ เป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เวลานิโรธก็ต้องมีมรรค มันเป็นกระบวนการเราจะคิดให้มันเป็น มันไม่เป็นหรอก

เวลามันเป็น มันเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบันนะ เดี๋ยวก็เห็นกายรูปนี้ พอเห็นกาย คราวนี้เห็นกาย พอจะพิจารณากาย นั่งไปนานๆ มันไม่เห็นกายแล้ว มันปวด มันเป็นเวทนา เวทนาเกิดเราก็จับ สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม อะไรเกิดขึ้นมา ถ้าเราเป็นจับหมดเลย จับแล้วพิจารณาเลยๆ เพราะมันเกิดในปัจจุบัน

ฉะนั้นถึงบอกว่า ถ้าจะลองคิดต่อ มันก็คิดไม่ได้ ถ้าเราคิดต่อไปมันก็ไม่ใช่ความคิด ความคิดมันเป็นสัญญามันเป็นเรื่องหยาบ ฉะนั้นเราต้องวางตรงนี้ไง เราต้องวางสิ่งที่เรา

เวลาเราออกมาไตร่ตรองนะ เวลาเราใช้โลกียปัญญา เราพิจารณาเปรียบเทียบอย่างนี้ เราเทียบเคียงกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของครูบาอาจารย์เราได้

แต่เวลาเราปฏิบัติขึ้นไปนี่ ถ้ามันเริ่มต้น เราก็เทียบเคียงอย่างนี้เข้าไปได้ แต่พอมันจะเป็นจริงนะ เรามีสติ แล้วอยู่เฉพาะหน้า สิ่งใดเกิดขึ้นมาจับสิ่งนั้น ไม่ใช่ว่ามันแทรกเข้ามานี่เราไปแบ่งแยกว่า อันนั้นจริง อันนี้ปลอม “ไม่ใช่” ปัจจุบันต่อหน้านะ ถ้ามันขึ้นมาปลอม เราก็จับให้ได้ถ้ามันปลอมนะ พอจิตมันสงบมันเห็น มันก็จับ จับหมายความว่า มันเอาสติจับได้แล้วพิจารณาได้ ถ้ามันปลอมมันก็จะย่อยสลายไป มันก็เป็นความจริงชัดขึ้นมาๆๆ

ไอ้นี่เราไปบอกว่า มันปลอม มันปลอมหรือมันจริงล่ะ เรามันมีสัญญาคือว่า เราไปยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าอันนี้จริง อันนี้ปลอม อันนี้มันไม่มีเหตุไม่มีผล เราเลยไม่เจริญก้าวหน้า

แต่ถ้ามันเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบันนะแล้วเราพิจารณาไป ถ้าพิจารณาไปนะ พิจารณาของเราไป ต้องละสังโยชน์ นี่สิ่งที่ต้องละสังโยชน์ สิ่งที่เราพิจารณาไปคือปัญญามันแยกแยะแล้ว มันเป็นไตรลักษณ์ต่อหน้าแล้ว เวลาพิจารณาไป เวลามันปล่อย วับ! หายหมดเลย ถ้ามันปล่อย นี่คือตทังคปหาน มันปล่อย พิจารณาไปแล้วมันก็ปล่อย มันปล่อยหมดมันก็เด่นชัด จิตก็เด่นชัดๆ นี่มันปล่อยๆ

พอมันปล่อยอย่างนี่ ถ้ามันปล่อยอย่างนี้ มันพิจารณาซ้ำไปๆ แล้วถ้ามันถึงที่สุด เห็นไหม เวลามันถึงที่สุดเวลามันขาด เวลาที่ว่า ต้องละสังโยชน์ๆ เวลามันขาด มันขาดเลย พอมันขาดนี่มันเห็นชัดๆ เลยว่าสังโยชน์มันขาด แล้วเราบอกว่า เราจะละสังโยชน์ แล้วสังโยชน์มันอยู่ไหน อะไรเป็นสังโยชน์ ก็ความสงสัย ความสงสัยความลูบคลำคือสังโยชน์ ก็มันสงสัยนี่

ความสงสัยความลูบคลำ ทำสักแต่ว่า จับจดๆ อยู่นี่ คือตัวสังโยชน์ แล้วเราจะไปละสังโยชน์กันที่ไหน เพราะมันจับจดอยู่ๆ มันปล่อยไม่ได้ อ้าว! ก็มันจับจดอยู่ ก็ตัวมันเองนั่นเป็น ก็เราจับจดอยู่นี่ไง ไอ้นี่เป็นไอ้นั่น ไอ้นั่นเป็นไอ้นี่ ไอ้นี่เป็นไอ้โน่น โอ๊ย! ไอ้โน่นเป็นอย่างนี้ ไอ้นี่เป็นอย่างนั้น นี่คืออะไร นี่สังโยชน์ แล้วไปละกันที่ไหน “ต้องละ” ทีนี้ไปละที่มัน มันก็จับจดอยู่ ก็ไม่จับจดละ ทิ้งเลย พอมันปล่อยหมดมันก็นอนบนหมอนไง พอมันปล่อยแล้วมันก็นอนแผ่สองสลึงไง อ้าว จะละตรงไหนล่ะ ต้องละแล้วละตรงไหนละ

ทีนี้พระพุทธเจ้าถึงสอนไง สอนเป็นอุบาย กาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาซ้ำไปๆ ซ้ำไปเรื่อยๆ ต้องละสังโยชน์ แต่ไปละกันอย่างไร เห็นไหม ครูบาอาจารย์ท่านสอนอย่างนี้ พิจารณาซ้ำเข้าไปๆ จนถึงที่สุดแล้วถ้ามันขาด พอขาดแล้วเห็นเลย สังโยชน์ขาดไปเลย ดั่งแขนขาดนะ ตัดแขนทิ้งเลย เหมือนเราตัดมือเราทิ้งเลย เรารู้ไหมว่ากิเลสมันขาด แน่นอน ทีนี้ซ้ำเข้าไป

นี่พูดเปรียบเทียบให้เห็นเยอะ เพราะคนที่อยู่ในสภาวะแบบนี้แล้วถามปัญหานี้ ถามมาเยอะ ถามมาเยอะนะ เวลาภาวนาพอพิจารณากายแล้วมันปล่อย แล้วทำอย่างไรต่อไป มันก็เหมือนกับเราทำงาน พอทำงานเสร็จแล้วนี่แล้วมันไปอย่างไรต่อ แล้วอย่างไรต่อ แล้วทุกคนที่ถามมานี้มันไม่ใช่เด็กๆ ปัญญาชนทั้งนั้นน่ะ มันก็เหมือนว่า เอ๊ะ เราทำแล้วทำไมเราไม่รู้เรื่อง เราทำแล้วเราทำอย่างไรต่อไปๆ ก็ต้องทำซ้ำเข้าไปๆ ถึงเวลาจบนะ เวลางานมันจบ เขาว่างานทางโลกจบ งานทางโลกจบคืองานมันจบอย่างนั้น แต่จริงๆ งานมันไม่จบเพราะมันต้องใช้ต่อเนื่องกันไป

แต่งานทางธรรม เวลาปล่อยวางๆ มันตทังคปหาน แต่เวลามันขาด มันจบ มันจบเพราะอะไร กุปปธรรม อกุปปธรรม มันจะเป็นอกุปปธรรม สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมที่เป็นกุปปธรรม สัพเพ ธัมมา อนัตตา เวลามันพ้นจากความเป็นอนัตตา เพราะอนัตตาแล้ว พอไปเห็นอนัตตาแล้วมันเป็นไตรลักษณ์ เห็นไหม นี่สัมปยุตเข้าไป วิปยุตคลายออกมา พอคลายออกมาถึงที่สุดมันจบ นั่นไงเป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรมจบเลย ธรรมแท้ๆ ธรรมแท้ๆ อฐานะที่จะเปลี่ยนแปลง อฐานะที่จะเคลื่อนไหว อฐานะหมดเลย โสดาบันเป็นโสดาบันตลอดไป สกิทาเป็นสกิทาตลอดไป อนาคาเป็นอนาคาตลอดไป ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วจบเลย จบแล้ว ไม่ต้องพูดกันเลย ไปพูดอีกไม่ได้เลย นี่มันทำอย่างนั้น

ฉะนั้น คนที่พยายามปรารถนาอยากให้เป็นไป ถ้าอยากให้เป็นไปแล้วเราต้องพยายามของเรา ทำซ้ำเข้าไปๆ ซ้ำเข้าไปนะ ซ้ำเพื่อประโยชน์กับเรา ถ้าเป็นประโยชน์กับเราก็จะเป็นประโยชน์เรา ถ้าไม่เป็นประโยชน์กับเราก็จบล่ะ ฉะนั้นสิ่งนี้ต้องทำ ทำเพื่อประโยชน์นะ ถ้ามันเป็นประโยชน์กับปฏิบัติ

นี่พูดเต็มที่เลย เพราะคนถาม คนที่อยู่ในสถานะอย่างนี้ ฟังๆ อยู่ตอนนี้ มีมาถามปัญหานี้หลายคนมาก แล้วพยายามกระเสือกกระสนกันจะไปให้ได้แล้วไปไม่ได้ แล้วเป็นอย่างไรๆ ทั้งๆ ที่ว่า ถ้าเป็นทางโลก มันก็งานต่อหน้า ทำแล้วมันไม่จบ ทำอย่างไรๆ มันเป็นอำนาจวาสนานะ ถ้ามันมีกำลังพอ จิตมันพอ มันทำได้ แล้วพยายามทำของเรา เพื่อประโยชน์กับเราเนาะ เอวัง