เทศน์บนศาลา

อวิชาจูงไป

๑๓ ก.ย. ๒๕๔๗

 

อวิชชาจูงไป
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราเป็นชาวพุทธนะ เราภูมิใจมากว่าเรานับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก พุทธะไง พระพุทธศาสนา ศาสนาของหัวใจสัตว์โลก เพราะหัวใจสัตว์โลกมีความรู้สึก

พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทธะอยู่ในหัวใจของเรา หัวใจของเราเป็นตัวพุทธะด้วย อยู่ในหัวใจของเราแต่ไม่มีใครเคยเห็น ไม่มีใครเคยทะนุถนอมมัน ไม่มีใครเคยรักษาแล้วทำให้มันเจริญรุ่งเรืองขึ้นมานะ ถ้าเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา คนคนนั้นจะมีความสุข ไม่มีความกังวล หัวใจนี้สงบราบเรียบ ไม่ตื่นกับอนาคตเพราะไม่เกิดอีกแล้ว ไม่ต้องไปเกิดไปตายอีกในวัฏวนนี้ มันไม่ตื่นไง ไม่มีสิ่งใดจะมาเขย่าหัวใจดวงนี้ให้มีความวิตกกังวลไปกับโลกเขา

แต่ถ้าศาสนาพุทธของเราไม่เข้าใจถึงหัวใจของเรา เห็นไหม ถ้าไม่เข้าถึงหัวใจของเรา เราก็ศึกษาแต่ปริยัติ ศึกษาแต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ นี่มีกิเลสนะ มีกิเลสเพราะมีครอบครัวด้วย แล้วก็มีบุตรด้วย เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็มีกิเลส เวลาออกประพฤติปฏิบัติมีกิเลสไหมล่ะ? ก็ต้องมีกิเลสสิ เพราะมีกิเลสอยู่ถึงมีความทุกข์ในหัวใจไง

เจ้าชายสิทธัตถะจะออกประพฤติปฏิบัตินะ สิ่งที่อยู่ในโลกสมัยนั้น เขามีความสุขของเขานะ เพราะอะไร เพราะเป็นลูกกษัตริย์ จะได้ปกครองบ้านเมืองอยู่แล้ว แต่เพราะหัวใจ ไงการสร้างสมมาไง นี่หัวใจเกิดตาย ๆ ในวัฏฏะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้วถึงเห็นอาการของใจดวงนี้ที่มันเกิดตาย ๆ มาในวัฏฏะนี้ตลอด เห็นไหม นี่สิ่งที่เกิดตาย ๆ ตอนที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะไม่รู้สิ่งนี้หรอก เพราะว่าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็เป็นปุถุชนเรานี่แหละ แต่ขณะที่ว่ามีบุญญาธิการไง ไม่รู้สิ่งนี้ สิ่งที่ได้สะสมมานี้ไม่รู้ แต่ในปัจจุบันนั้น เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะนั้นมีกิเลสตัณหาอยู่อย่างนั้น มีครอบครัวอย่างนั้น ครองเหย้าครองเรือนอยู่อย่างนั้น แต่เพราะอำนาจวาสนาไง บารมีที่สร้างสมมาไง ให้ค้นคว้าให้มีปัญญา ปัญญาในการออกค้นคว้า ออกแสวงหา การแสวงหาค้นคว้าอันนี้เป็นโอกาส

เหมือนกับเราปัจจุบันนี้ เราปัจจุบันนี้เราก็มีกิเลส เราก็เกิดมาเป็นมนุษย์ เราพบพุทธศาสนา แต่เรามีโอกาสมากกว่านะ เจ้าชายสิทธัตถะไม่มีศาสนา ไม่มีสิ่งใดเลย ต้องค้นคว้าเอง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังมีปัญญาใคร่ครวญ แล้วมีปัญญาพยายามแสวงหาจนหาทางออก จนพ้นจากกิเลสไปได้ จนมีธรรมในหัวใจไง แล้ววางธรรมมาให้เรา

เราก็เหมือนกัน เราเกิดมานี่ก็มีกิเลส มีกิเลสในหัวใจของเรานะ แต่เราพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาไม่ต้องค้นคว้า ไม่ต้องว่าสิ่งนี้ไม่มี ไม่มีวิธีการจะออกจากกิเลส เห็นไหม สิ่งที่วิธีการมีอยู่แล้วเราจะจริงจังของเราไหมล่ะ ถ้าว่าเรามีวาสนา เรามีวาสนามากเพราะเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วครูบาอาจารย์ชี้นำสิ่งนี้ด้วย

ในการประพฤติปฏิบัติ ที่ไหนก็มีการประพฤติปฏิบัติ เพราะว่าศาสนาเจริญรุ่งเรือง รุ่งเรืองด้วยการปฏิบัติ เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกกับพระอานนท์ไว้ตอนจะปรินิพพานนะ “อานนท์บอก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้ปฏิบัติบูชา บูชาอย่างเลิศ บูชาประเสริฐที่สุดคือการประพฤติปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

การให้ทาน การรักษาศีล การฟังธรรม สิ่งนี้ก็เป็นพื้นฐาน เป็นบุญกุศลอยู่ แต่ถ้าไม่มีการประพฤติปฏิบัตินะ เราสร้างบุญกุศลขนาดไหนก็แล้วแต่ บุญกุศลก็คือบุญกุศล บุญกุศลคือแรงขับเคลื่อนไง คือแรงขับเคลื่อนไป เจ้าชายสิทธัตถะสร้างเป็นพระโพธิสัตว์ ก็สละมามากมายมหาศาล ถึงสุดท้ายแล้วก็ต้องมาประพฤติปฏิบัติ

เพราะการงานประพฤติปฏิบัติเป็นงานภาคสนามนะ งานภาคสนามเวลาเขามีข้าศึกสงคราม ในปัจจุบันนี้เขามีอาวุธที่มีอานุภาพมาก เขาจะยิงจากไหนก็ได้ เขาจะใช้เครื่องบินโจมตีขนาดไหนก็ได้ แต่ถ้างานภาคสนามไม่สามารถเข้าไปยึดพื้นที่ได้นะ สงครามนั้นตัดสินไม่ได้หรอก สงครามนั้นจะตัดสินกันด้วยภาคสนาม ภาคสนามคือการประพฤติปฏิบัติไง

เราปฏิบัติบูชานี่งานภาคสนามของการขึงหัวใจ ทำความสะอาดของใจให้หัวใจดวงนี้เข้าถึงพุทธะ พุทธศาสนา พุทธะคือผู้รู้ของเรา ผู้รู้คือหัวใจของเรา ศาสนาคือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้ามีศาสนาในหัวใจของเรา หัวใจจะมีความร่มเย็นเป็นสุขนะ จะไม่ทุกข์ร้อนไปกับโลกเขามากนัก

โลกนี้มีแต่ความเร่าร้อน โลกนี้มีแต่ไฟเผาลนนะ เผาลนเพราะอะไร เพราะคนเกิดมาแล้วนี้มันมีสิ่งบีบคั้นมาตลอด เราอยู่เฉย ๆ เราก็ต้องตายนะ อายุขัยของเรา หมดอายุขัยเราก็ต้องตายไป สิ่งที่ว่าร่างกายนี้มันก็บีบคั้น ถ้าเราไม่สนองมัน เราไม่สนองความต้องการของมัน มันก็จะให้ความทุกข์กับเรานะ ง่วงนอนก็ต้องนอน หิวอาหารก็ต้องกิน เห็นไหม สิ่งที่กินอยู่การใช้สอยต่าง ๆ นี้ มันเป็นเรื่องความบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้ของเขามีอยู่โดยดั้งเดิมอยู่แล้ว

แต่ถ้าเราเอาสิ่งนี้ เกิดมาเป็นมนุษย์...ถ้าในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านตรัสรู้ธรรมแล้ว ท่านบอกเลย มนุษย์สมบัติสำคัญมากเป็นอริยทรัพย์ แล้วทรัพย์ในมนุษย์นี้คือศรัทธาความเชื่อนี้เป็นทรัพย์ที่ว่าประเสริฐที่สุด ถ้าไม่มีศรัทธา ไม่มีความเชื่อในพระพุทธศาสนา ไม่มีความเชื่อในสิ่งที่พ้นออกไปจากกิเลส จะไม่มีการสนใจในการประพฤติปฏิบัติ โลกก็เป็นอย่างนั้น ผู้อื่นจะประพฤติปฏิบัติ ผู้อื่นเขาจะพยายามค้นคว้าของเขา มันเป็นเรื่องภายนอกจากใจดวงที่ว่าไม่สนใจไง

ถ้าใจดวงนั้นที่ไม่สนใจ เห็นไหม งานภาคสนามมันไม่มี จะมีทำบุญกุศลตามกระแส เห็นหมู่คณะทำก็ทำไปตามเขา สิ่งที่ทำไปตามเขา ทำพอเป็นพิธีไง พอเป็นพิธี เห็นไหม สักแต่ว่า ผลของมันก็เป็นสักแต่ว่า สักแต่ว่าทำเพราะสังคมบีบคั้นไง สังคม ศีลธรรม จริยธรรม เขาทำกันแบบนั้นก็ทำตามเขาไป เห็นไหม งานภาคสนามไม่เกิดเพราะไม่เกิดศรัทธา ไม่เกิดความเชื่อเลื่อมใสในหัวใจนั้น ถ้าหัวใจนั้นไม่มีความเลื่อมใสมันจะทำได้อย่างไรล่ะ...มันไม่ทำ มันทำมันสักแต่ว่าทำ นี่มันทำสักแต่ว่าทำ แต่ถ้ามีอำนาจวาสนานะ มันมีว่างได้ มันปล่อยวางได้นี่มันจะมีความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ของใจนั้น มันสามารถสะเทือนใจนั้นนะ

ดูสิ ดูอย่างชาวตะวันตกเขา เห็นไหม เขานับถือศาสนาหนึ่ง แต่เวลาเขาพิสูจน์ศาสนาของเขาแล้วมันไม่มีหลักมีเกณฑ์ ทำไมเขาค้นคว้าเขาแสวงหาอย่างนี้ล่ะ นี่เพราะเขามีโอกาสไง ในเมื่อเขามีศรัทธา เขามีความเชื่อของเขา เขาก็สามารถทำผลของเขาได้ นี่เพราะงานภาคสนามมันเกิด ถ้างานภาคสนามมันเกิดมันจะเป็นความจริงอย่างนั้นนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกประพฤติปฏิบัติเอากิเลสออกประพฤติปฏิบัติด้วย แต่มีความต้องการแสวงหา มีความต้องการการกระทำ นี่ทำไปอำนาจของกิเลสนะ อำนาจของกิเลส เห็นไหม ลัทธิไหนเขาสั่งสอนอย่างไรก็ไปศึกษากับเขา ศึกษาเพราะว่าต้องการทางออก สิ่งที่เป็นทางออกเพราะไม่รู้ไง เห็นไหม อวิชชาเป็นผู้ชักจูงไป ทำโดยไม่รู้เพราะไม่มีศาสนาถึงไม่รู้

กิเลสตัณหาความทะยานอยากสิ่งนี้หยาบมากนะ สิ่งที่หยาบ ๆ โลกที่เขาเป็นไป นี่สิ่งนี้เป็นเรื่องหยาบ ๆ เขาอยากร่ำอยากรวย อยากมีชื่อเสียง เขาก็แสวงหาของเขา กิเลสขับไสให้เขาวิ่งแสวงหาสิ่งนั้น แต่ถ้ามันเป็นอำนาจวาสนาของสัตว์โลก ถ้าสร้างสมบุญญาธิการมา มันเป็นไปเองไง มันต้องเป็นหัวหน้าก็ต้องเป็นหัวหน้านะ พระโพธิสัตว์เวลาเกิดเป็นสัตว์ก็เป็นหัวหน้าสัตว์นะ เกิดเป็นกษัตริย์ เกิดเป็นจักรพรรดิ ปกครองบ้านเมืองต่าง ๆ เพราะอะไร เพราะบุญกุศลสิ่งนี้มันเป็นอำนาจของกรรม กรรมสร้างสมมาอย่างนั้น อำนาจของกรรมต้องเป็นไปสภาวะแบบนั้น

แต่ถ้าเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันไม่มีอำนาจวาสนา มันพยายามขับดันไปอย่างนั้นไง มันก็มีร้อยสันพันคม ในหัวใจนั้นพลิกแพลงไปตามอำนาจของกิเลส นี่กิเลสชักจูงไป มันก็ให้แต่ความเร่าร้อนของตัว แล้วมีความเหนื่อยยากมากเพราะอะไร เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันขับไสให้ทุกข์ในหัวใจไง หัวใจมันไม่มีอำนาจวาสนา แต่มันอยากให้เป็นไปมันก็มีความทุกข์ความร้อน

คนเหมือนเด็ก เด็กน้อยแต่แบกของที่หนัก แล้วเด็กน้อยที่แบกของที่หนักก็พยายามจะหาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาจุนเจือมัน สิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาจุนเจือ จุนเจืออะไรล่ะ เพราะคนเรามันใกล้ตาย เพราะมันแบกของหนัก สิ่งที่ผิดสิ่งที่ถูกไม่สนใจ ขออย่างเดียวขอให้เข้ามาจุนเจือสิ่งนี้ได้ การกระทำอย่างนั้น เห็นไหม กิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันไม่ใช่อำนาจวาสนา ถ้าอำนาจวาสนามันเป็นไปเอง ๆ สิ่งที่เป็นไปเอง นี่คือกิเลสนะ สิ่งที่เป็นไปเองก็ยังเป็นกิเลส เพราะอำนาจวาสนา สิ่งนี้เกิดดับ สิ่งนี้เป็นไปโดยอนิจจัง สิ่งที่เป็นอนิจจังใช้แล้วก็หมดไป บุญกุศลใช้แล้วก็หมดไปนะ

เรามีอำนาจวาสนา เวลาเราทำบุญเราประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม จิตสงบโดยธรรมชาติของมัน จิตโดยอำนาจวาสนา มันเป็นไปได้ มันปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ เข้ามานี่มันเป็นไปได้ ถ้าเรามีสติ เรามีสัมปชัญญะ เราคิดถึงสิ่งนี้ สิ่งนี้มันไปสะเทือนใจของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติไหมล่ะ ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติเราก็ต้องตั้งสติของเรา เพื่อจะสร้างสมสิ่งนี้ขึ้นมาให้เราควบคุมสิ่งนี้ได้ไง ชำนาญในวสีนะ ถ้าเราชำนาญในวสีคือเราควบคุมการกระทำ การกระทำคือความอยาก เห็นไหม กิเลสตัณหาความทะยานอยาก การกระทำ สิ่งที่เราควบคุมการกระทำสิ่งนั้น แล้วผลมันจะเกิดอย่างไรแล้วแต่ผลมันจะเกิดอย่างนั้น ผลมันจะเกิดนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีธรรม แต่แสวงหาค้นคว้าจนหัวใจนั้นเป็นธรรม แต่เราเกิดมามีธรรม มีธรรมนะ เวลาเราบวชมาเป็นพระเป็นสงฆ์นี่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เพื่ออะไรล่ะ นี่อุปัชฌาย์ต้องสอน ถ้าไม่สอน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ไม่บอกกรรมฐาน ๕ ไม่บอกรุกขมูล ไม่บอกในพื้นที่ในการประพฤติปฏิบัติ นี่การบวชนั้นไม่สมบูรณ์

เราเป็นคฤหัสถ์ เราอยากออกประพฤติปฏิบัติ เราอยากออกบวช นี่เราก็ประพฤติปฏิบัติของเรามาอยู่แล้ว เราประพฤติปฏิบัติของเรามานะ ทำใจของเราขึ้นมา เพราะเราอยากออกบวช ออกบวชเป็นนักรบไง รบเพื่อจะให้ใจนี้เป็นพุทธศาสนา ไม่ให้อวิชชาชักจูงไปไง อวิชชามันจะชักจูงไปนะ เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านวางไว้ให้ตนเองชำระตนเองนะ ให้คนเราแก้ไขตัวเราเองก่อน

แต่เวลาเราศึกษาเล่าเรียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันจะสอนแต่คนอื่น มันไม่สอนตัวเองไง ถ้ามันไม่สอนตัวเอง นี่พื้นที่สนามก็หาไม่เจอ แล้วเวลาสอนคนอื่น นี่การสอนคนอื่น ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่ธรรมของเราหรอก เพราะอะไร เพราะเราศึกษาไง เราศึกษา เราท่องจำมา เรารู้ไหม เหมือนกับนกแก้วนกขุนทอง เขาเรียกของเขาได้นะ เรียกพ่อเรียกแม่ เรียกแล้วได้กล้วยไง เขาให้อาหารมัน มันเรียก แต่มันรู้ความหมายว่าเรียกพ่อเรียกแม่ มันคืออะไรไหม เพราะมันเป็นสัตว์ แต่ขณะที่เขาฝึกให้มันพูดได้ มันก็เป็นอย่างนั้น นี่ก็เหมือนกัน นกแก้วนกขุนทองนะ

เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่มันเป็นสัญญาทั้งหมด สิ่งที่จำมามันก็สงสัย มันสงสัยโดยแน่นอน เพราะในหัวใจเรามีอวิชชา อวิชชาคือตัวมันเองก็ไม่รู้ตัวมันเอง มันไม่รู้ตัวมันเองนะ สักแต่ว่ารู้นะ

อวิชชาคือความรู้ คือพลังงานอันหนึ่ง กิเลสตัณหาความทะยานอยากคือความต้องการ การขับไสออกมามันเป็นพลังขับเคลื่อนแล้ว กิเลสตัณหาความทะยานอยากทำให้หัวใจนี้เร่าร้อนมาก พอหัวใจเร่าร้อน เห็นไหม ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วอยากจะสอนคนอื่นไง อยากจะสอนคนอื่นก็สอนเขาไปด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...ตัวเองก็สงสัย สงสัยในความรู้ความเห็น สงสัยในเนื้อหาสาระที่ธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายความว่าอะไร

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้เข้ามาที่ใจของผู้ที่ศึกษานั้นน่ะ ให้เอาตัวของตัวให้ได้ก่อน ถ้าเอาตัวของตัวให้ได้ก่อน เห็นไหม มันจะเข้าใจตามหลักความจริงเลย พระพุทธเจ้าพูดอะไร พระพุทธเจ้าต้องการสิ่งใด พระพุทธเจ้าชี้ลงไปที่ไหน ถ้าพระพุทธเจ้าชี้ลงไปที่ไหน ชี้เข้าไปตรงกลางของหัวใจ ชี้เข้าไปวิธีการประพฤติปฏิบัติ นี่มันจะซื่อตรงกับตัวเองไง ถ้าเราไม่ซื่อตรงกับตัวเองนะ

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ศีลในการประพฤติปฏิบัติ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีลนี้เป็นเรื่องสมมุติ เรื่องของภายนอก ถ้าเรามีศีลบริสุทธิ์ขึ้นมา มันจะมีความองอาจ มีความกล้าหาญ มีความไม่ตื่นเต้นกับภาวะสิ่งใด เพราะเราไม่มีความเศร้าหมองในหัวใจ นี่คือศีลไง แล้วถ้าเกิดความคิดอันนี้ในหัวใจ มันเป็นอธิศีล อธิศีลคือความคิดจากภายใน นี่มโนกรรมมันเกิดตรงนั้นนะ ถ้าใจมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สิ่งนี้มันออกไป แล้วมันคาดหมายไปสิ่งต่าง ๆ ที่ผิด ผิดไปทั้งหมดเลย ไม่สอนตัวเอง ถ้าสอนตัวเองเราต้องประพฤติปฏิบัติ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ธรรม พระปัญจวัคคีย์อยู่ด้วยกัน ๖ ปี อุปัฏฐากกัน...สอนไหม? ไม่ได้สอนเลย เพราะตัวเองไม่มีอะไรเอาไปสอนไง ในเมื่อตัวเองไม่มีธรรมในหัวใจ ตัวเองก็สงสัยอยู่จะเอาอะไรไปสอนเขา เห็นไหม ถ้าไม่ได้สอนปัญจวัคคีย์ก็อุปัฏฐากกันไป ทำแต่ความสงบของใจ เพราะความสงบของใจนี้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว การทำสมาธิ การทำสมาบัติ แต่ไหนแต่ไรมา มีมาโดยดั้งเดิม แต่ธรรมคือปัญญาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นมาเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมหรือพระปัจเจกพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมนะ

แต่เวลาประพฤติปฏิบัติไป เห็นไหม ผู้ที่ตรัสรู้ธรรม ผู้ที่ได้ธรรมในหัวใจจะเข้าใจตามหลักความจริงไง ตามหลักความจริงก็เป็นวิชชา สิ่งที่เป็นวิชชานะ สิ่งนี้เป็นวิชชา แต่ถ้ามันเข้าไปถึงหัวใจ มันไปดับอวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชาดับหมด สิ่งนั้นเป็นธรรมล้วน ๆ ธรรมล้วน ๆ สื่อความหมายออกมากับโลกไม่ได้เพราะโลกนี้เป็นสมมุติ สิ่งที่สมมุติออกมานี่ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ออกมาเป็นบัญญัตินี้คือเป็นสมมุติทั้งหมดไง

สิ่งที่เป็นสมมุติถึงชี้เข้าไปที่ใจนั้น สิ่งที่เข้าไปชี้ที่ใจนั้น ชี้เข้าไปเพื่อทำลายมัน สิ่งที่จะทำลายต้องมีความเชื่อ มีความศรัทธา ถ้าไม่มีความเชื่อไม่มีความศรัทธา เห็นไหม ความละเอียดอ่อนของใจ ใจนี้เป็นสิ่งที่ลึกลับมหัศจรรย์มาก ถ้ามีกิเลสแล้วนะมันจะขับดันโดยธรรมชาติของมัน

ดูสิ่งที่เป็นพลังงานสิ พลังงานมันจะขยายกระจายตัวของมัน พลังงานตัวนั้นมันจะกระจายออกไป แล้วมันหมดพลังงานไป เห็นไหม แต่หัวใจนี้มันสำคัญมาก มันเป็นสิ่งที่มีชีวิตไง มันกระจายพลังงานของมันออกไป แล้วมันไม่เคยหมดไง ธาตุรู้นี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ เพราะธาตุรู้นี้มันเป็นสิ่งที่ว่าพาเกิดพาตาย

เวลาพระสารีบุตรเทศน์เรื่องธาตุ ๖ เห็นไหม ธาตุรู้คือพลังงานเฉย ๆ พลังงานนี้เป็นไออุ่น ไออุ่นนี้ตั้งอยู่บนกาลเวลา บนอายุไง นี่ชีวิตดำรงอยู่อย่างนี้นะ ชีวิตนี้คือพลังงานในหัวใจเท่านั้น พลังงานนี้คือพลังงานของพระอรหันต์ที่สิ้นจากกิเลสนะ แต่พลังงานของเรา เราไม่เห็นพลังงานตัวนี้ไง เพราะพลังงานตัวนี้มันเป็นอวิชชา สิ่งที่อวิชชานะ แล้วสิ่งที่มันฝังใจ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” นี้คือตัวอวิชชานะ

แต่เวลาอวิชชา ตัวธาตุรู้มันต้องเคลื่อนออกมาเป็นขันธ์ ๕ ไง สิ่งที่เป็นขันธ์ ๕ นี่ตัณหาความทะยานอยากเกิดตรงนี้ สัญญาเทียบสิ เราด้อยกว่าเขา เราจะตีตนเสมอเขา เราสูงกว่าเขา เราไม่มีความมั่นใจของเรา เราคิดว่าเราต่ำกว่าเขา นี่สิ่งนี้เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากนี้มันส่งขับเคลื่อนออกมาแล้วสิ่งนี้ไปศึกษาไหม ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วยึดสิ่งที่ว่านี้เป็นสมบัติของตัวไง แล้วก็ตีความหมาย มันก็ทำให้สิ่งนี้คลาดเคลื่อน คลาดเคลื่อนจากหลักความจริงเพราะเราไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนี้มันย้อนกลับต่างหาก

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ทวนกระแส” แต่เราก็ให้มันเป็นพลังงานของโลกคือขับเคลื่อนออกไปจากสัญญาความจำของเรา นี่จะสอนคนอื่น ถ้าจะสอนคนอื่น เห็นไหม สอนคนอื่นแล้วถ้าทำให้คนอื่นมีความพอใจ ถ้าทำให้คนอื่นมีศรัทธาความเชื่อ นี่ลาภสักการะมันเกิดไง สิ่งที่เป็นลาภเป็นสักการะ การแสดงธรรมการเผยแผ่ธรรมเพื่อลาภเพื่อสักการะ โมฆะบุรุษนะ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุรุษที่โง่เขลาตายเพราะเหยื่อ เหยื่อคือลาภสักการะ สิ่งนี้มันเป็นปัจจัยเครื่องอาศัยของโลกเขา

ดูสิ ดูเขาทำมาหากิน เขาแสวงหาสมบัติของเขาได้มหาศาลเลย แล้วเขามีความสุขไหมล่ะ ทำไมเขาเร่าร้อนล่ะ ยิ่งเขาหาสมบัติได้มากขนาดไหน เขาต้องรักษาสมบัติของเขา เขายิ่งเป็นภาระ เป็นความรุงรังของเขา จนออกไปเป็นโลกทั้งหมดนะ เราไม่มีเวล่ำเวลา เราจะต้องทำการทำงานของเรา เราต้องแสวงหาของเรา เราต้องรักษาของเรา เราทั้งนั้นเลย เราไปแบกโลก เห็นไหม นี่โลกเขาเป็นอย่างนั้น เราสละมาแล้วไง

ภิกษุผู้ที่เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม มีแต่บริขาร ๘ เท่านั้นนะ เวลาออกธุดงค์เหมือนนก เช้าขึ้นมาเก็บกลด เก็บบาตร ออกบิณฑบาต ฉันเสร็จแล้วเดินไป เดินไปนะ ใช้ชีวิตแบบนกเลย นี่อยู่กับโลกเขา เห็นไหม เหมือนกับต้นไม้มีผลไม้ บินไปเกาะต้นไม้นั้น กินผลไม้นั้นแล้วก็บินจากตรงนั้นไป บินจากตรงนั้นนะ นกอาศัยในโลกเขา

นี่ก็เหมือนกัน นักบวชอาศัยโลกเขาอยู่ เช้าออกบิณฑบาต ถ้าเราเป็นเนื้อนาบุญของโลกนะ เขาได้ใส่บาตร เขาได้ทำบุญกุศลของเขา จะเป็นบุญกุศลของเขาอีกด้วย เราได้ฉันอาหารดำรงชีวิตของเรา เขาได้สละทานทำบุญกุศลของเขา เขาได้บุญกุศลของเขา เห็นไหม นี่มันเป็นการส่งเสริม เป็นการเจริญงอกงามในศาสนาด้วย ในชีวิตของนก เพศนักบวชนี้ด้วย เพราะเราออกประพฤติปฏิบัติ เราฉันอาหารนั้นเสร็จ เราก็ออกธุดงค์เปลี่ยนสถานที่ไม่ให้ชินชา ความชินชาทำให้นอนจม สิ่งที่นอนจมแล้วทำให้การประพฤติปฏิบัติไม่ก้าวหน้า สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติไม่ก้าวหน้า มันไม่ทวนกลับกระแสเข้ามา นี่มันมีตัณหาความทะยานอยาก

แต่ในเมื่อ ถ้าเราเป็นโมฆะบุรุษล่ะ เอาสิ่งนี้เป็นสินค้านะ ออกธุดงค์ว่าจะชำระกิเลส แต่ก็ไปแสวงหาลาภไง ไปแสวงหาลาภ ไปแสวงหาสิ่งต่าง ๆ แสวงหาความนับหน้าถือตาไง ให้เขานับหน้าให้เขาถือตา ถ้าเขานับหน้าถือตานี่ มันก็เกิดมาสิ่งที่เป็นเรื่องลาภสักการะมันก็เกิดมา

แต่ผู้ที่ใจเป็นธรรมนะ สิ่งนี้เกิดขนาดไหนมันจะเป็นประโยชน์กับโลกไง สิ่งนี้เกิดจากโลก เห็นไหม ต้นไม้อาศัยโลกนี้ อาศัยดินเป็นที่ปลูกต้นไม้ให้เจริญงอกงามขึ้นมา รากของมันอาศัยดินนั้นเป็นอาหารนะ อาศัยดิน อาศัยสารอาหารในธาตุดินนั้นเป็นอาหารของมัน ต้นไม้เจริญเติบโตงอกงามขึ้นมา

นี่ก็เหมือนกัน ใจผู้ที่มีธรรม สิ่งนี้เป็นสมบัติของโลก ถ้าสมบัติของโลก เรามีสมบัติของโลก เราก็ใช้เพื่อประโยชน์สมบัติของโลกนะ แต่ถ้าเป็นโมฆะบุรุษมันจะเป็นสมบัติของมันนะ สมบัติของมันแล้วแสวงหาสิ่งนี้แล้วยึดมั่นถือมั่นสิ่งนี้ออกมาให้เป็นประโยชน์ของตัวเอง เห็นไหม สิ่งนี้มันทำให้ตัวเองทำบาปอกุศลนะ

ถ้าเป็นสิ่งที่ฉ้อโกง เป็นสิ่งที่ว่าเราทำเพื่อหวังลาภสักการะ เห็นไหม เราต้องมีเลศนัยของเรา สิ่งที่เป็นเลศนัยนี้ทำให้ใจของเราเป็นบาปอกุศล ตายไปเกิดเป็นเปรต สิ่งที่เป็นเปรต เป็นผี เป็นนรกอเวจี แล้วเราว่าเราเป็นนกเหรอ เป็นนกเห็นไหม มันไม่ติดในโลกนี้แล้วไง ไปตามต้นไม้นั้น กินผลไม้นั้นแล้วก็บินไป บินไปโดยเป็นอิสรเสรีภาพนะ

ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติโดยความเป็นจริงตามธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ศาสนาวางธรรมไว้แล้ว เราเพียงแต่เราซื่อสัตย์ เราเป็นสุภาพบุรุษแล้วเราทำตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแค่นี้ เราก็จะเข้าถึงธรรมนะ

ทำไมกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันไพล่ ไพล่ให้เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เป็นเครื่องดำรงชีวิตละ เครื่องดำรงชีวิตเพื่อแสวงหาลาภ แสวงหาสักการะ แสวงหาชื่อเสียงสถานะต่าง ๆ เพื่อให้กิเลสมันมีอำนาจเหนือกับใจดวงนั้นไง ใจดวงนั้นกิเลสมันจะข่มขี่ใจดวงนั้นให้มีอำนาจ แล้วมันก็ยึดติดนะ ทิฏฐิมานะว่าฉันมีชื่อเสียง ฉันมีลาภสักการะ ฉันมีศักยภาพมาก ฉันจะเผยแผ่ศาสนา ศาสนาเพื่ออะไร? ก็เพื่อกิเลสตัณหาความทะยานอยากของใจดวงนั้นไง

ถ้าใจดวงนั้นมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แสวงหามาเพื่อมันทั้งหมดเลย ถ้าสิ่งที่ว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้เป็นธรรมโอสถ สามารถชำระกิเลสของใจ ทุกสัตว์โลกทุกดวงใจได้ นี่ถ้าซื่อสัตย์ ถ้าทำตามความเป็นจริง เห็นไหม นี่บารมีธรรม ถ้ามีบารมีธรรม สิ่งที่มันเป็นความผิดพลาดในหัวใจมันสะเทือนใจมากนะ เพราะสะเทือนใจมันก็ผิดศีล มันเป็นมโนกรรม สิ่งที่เป็นมโนกรรมมันเป็นบาปอกุศล แล้วมันจะประพฤติปฏิบัติไปไหนล่ะ ข้างในมันก็เศร้าหมองไง นี่กิเลสอวิชชามันจูงนะ จูงให้หัวใจดวงนี้ทำแต่บาปสร้างแต่กรรม ให้หัวใจดวงนี้ไม่มีโอกาสวาสนาจะเข้าถึงธรรมไง ทั้ง ๆ ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา

ดำรงชีวิตในสมณเพศ ดำรงชีวิตเป็นผู้เผยแผ่ธรรม เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่นะ ถ้าเผยแผ่ธรรมเป็นธรรมสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์กับโลก เหมือนนกที่ว่าบินไปโดยที่ว่าไม่ติดสิ่งใดเลย สิ่งนี้เป็นประโยชน์กับโลกก็เป็นประโยชน์กับโลก แต่ถ้าเป็นหัวใจที่ว่ามันเป็นสิ่งที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากจะแสวงหาอำนาจบาตรใหญ่นะ ดูสิ ดูเวลาที่เขาเกิดสงครามโลก เห็นไหม เขาจะครองโลกกัน คนคนเดียวนะจะปกครองโลกนะ เกิดสงครามเกิดการรบราฆ่าฟันกันนะ

นี่ก็เหมือนกันคน ๆ เดียวมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากนะ อยากจะปกครอง อยากจะมีอำนาจวาสนา อยากให้คนนับหน้าถือตาไง เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสินค้าการแสดงออกไง สิ่งที่แสดงออกว่านี่ธรรมเป็นอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่ตัวหัวใจนั้นสกปรกโสมมมหาศาล เพราะมันแสดงธรรมเพื่อหวังลาภไง หวังลาภ หวังชื่อเสียง หวังให้คนนับหน้าถือตา เห็นไหม นี่ไม่เป็นสุภาพบุรุษ

ถ้าเป็นสุภาพบุรุษ เห็นไหม สภาวธรรมนี่เราต้องกลับมาแก้กิเลสของเราก่อน เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมไว้เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ เราเป็นสัตว์โลกตัวหนึ่งนะ แม้แต่เป็นพระก็เป็นสัตว์ มันข้องไง เพราะหัวใจเราข้องอยู่แล้ว หัวใจเราเป็นสัตตะ มันติด มันข้องไปหมดเลย ถ้ามันติดมันข้องเราจะเอาอะไรไปสอนเขา นี่เราก็เอาความติด ความข้อง ความลังเลสงสัย ความไม่เข้าใจของเราออกสั่งสอนโลกนะ ถ้าออกสั่งสอนโลกเราก็หลง เขาก็หลง ชี้กันให้หลง

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า “โคนำฝูง” โคนำฝูงต้องทำใจของตัวเองให้ได้ก่อน ต้องสั่งสอนตัวเองให้ได้ก่อน ถ้าสั่งสอนตัวเองให้ได้ก่อน เห็นไหม “ใจดวงหนึ่ง มอบให้อีกใจดวงหนึ่ง” ใจดวงนี้ถ้าเข้าใจตามหลักความเป็นจริงของใจดวงนี้ อาการเกิดของกิเลส เห็นไหม เห็นขันธ์ เวลาพิจารณาจิตจะเห็นขันธ์ เห็นไหม ถ้าจิตสงบจะเห็นกาย ความเห็นเป็นไปของมัน มันจะเห็นตามสัจจะความจริง นี่มันจะซึ้งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก

ถ้าซึ้งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเป็นผู้นำหมู่ มันจะชี้นำได้ไง นี่เป็นเทคนิค เป็นวิชาการในการประพฤติปฏิบัตินะ ที่ว่าธรรมะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์แน่นอน วิทยาศาสตร์ทางจิตนะ จิตนี้มันเป็น...สภาพพวกนี้ มันเป็นสิ่งที่ว่าคงที่ดั้งเดิมอยู่แล้ว แล้วกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันอยู่ในพลังงานตัวนี้ แล้วมันขับเคลื่อนออกไปในขันธ์ ๕ ไปยึดในร่างกายอย่างไร นี่มันจะเห็นตามสัจจะความจริง แล้วมันจะปลดอย่างไร เปลื้องอย่างไร วางอย่างไร ชำระอย่างไรออกมา เห็นไหม นั้นเป็นวิชชา สิ่งที่เป็นวิชชา มันจะรู้ทันตามความจริง นี่มันถึงจะตอบคำถามของลูกศิษย์ลูกหาไง

เป็นฝูงโคแล้วถ้าลูกน้องถาม โคว่ายน้ำข้ามฝั่งอย่างไร ข้ามฝั่งไปแล้วจะมีอาหารไหม จะมีหญ้าให้เรากินไหม เราจะข้ามฝั่งไป สัตว์ร้ายในแม่น้ำมันจะทำลายเราไหม ถ้าจะทำลายเรา เราจะหาวิธีป้องกันอย่างไร เห็นไหม ในการประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน จิตสงบแล้วมันจะรู้สิ่งใด มารจะควบคุมอย่างไร มารมันจะหลอกให้จิตดวงนี้อย่างไร หลอกให้เราหลงไปอย่างไร ถ้าเราหลงนะ เราจะไม่เข้าใจสัจจะความเป็นจริงเลย มันจะเตลิดเปิดเปิงไปตามความเห็นของใจดวงนั้น ตามอวิชชาจูงใจดวงนี้เดินไปนะ นี่ทั้ง ๆ ที่ว่าใจเรามีอวิชชา มีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ใจเรามีอยู่แล้ว เพราะเราเกิด

เจ้าชายสิทธัตถะเวลาเกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็มีกิเลสตัณหาเหมือนกัน แต่กิเลสตัณหานี้...การพยายามฝึกฝนของเจ้าชายสิทธัตถะซื่อสัตย์กับตัว ขนาดที่ว่าเจ้าลัทธิต่าง ๆ ยกให้ว่าเสมอตนนะ มีความเห็นเสมอตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะไม่เชื่อสิ่งนั้นเลย ไม่เชื่อเพราะความเศร้าหมองความผ่องใส จิตจะสงบขนาดไหน สว่างขนาดไหนมันมีความเศร้าหมอง มันมีความลังเลสงสัยไง น่าจะหรือเป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้...สิ่งนี้เป็นความลังเลสงสัยทั้งหมด

ถ้ามันเป็นสัจจะความจริงนะ มันไม่มีความลังเลสงสัย มันไม่มีตัวตน มันไม่มีอวิชชา ถ้ามีตัวอวิชชา ตัวอวิชชานั้นแหละคือตัวความลังเลสงสัย นี่อวิชชาพารู้ อวิชชาจูงให้จิตดวงนั้นให้เตลิดเปิดเปิงไปตามอำนาจของอวิชชานั้น สร้างภาพจิตนาการต่าง ๆ ของใจขึ้นมาว่าเป็นสภาวะแบบนั้น เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่แล้ว ในเมื่อมีอยู่แล้ว นี่มีธรรมนี้เพื่อจะให้เราทวนกระแส เพื่อจะให้เราประพฤติปฏิบัติตามสัจจะความจริง ถ้าเราเป็นสุภาพบุรุษ เราจะทำตามสัจจะความจริงขึ้นมา แล้วสัจจะความจริงของเรานี่เป็นปัจจัตตังกับในใจของเราขึ้นมา

สิ่งที่เกิดจากใจของเราขึ้นมาเทียบไปในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันถึงว่าเหมือนกันไง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมจนเข้าใจสัจจะความจริงแล้วมาเปิดพระไตรปิฎกน่ะ มันจะซึ้งในพระไตรปิฎกนี้มากเลยว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บอกผิดทาง ถูกทางทั้งหมดเลย

แต่ในขณะที่เราเริ่มต้นศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความลังเลสงสัย ด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันจะงงไปหมดเลย มันจะคิดว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดวกวน ทำไมเราไม่เข้าใจ ทำไมเราไม่เข้าใจสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสื่อมาในพระไตรปิฎกนี้เลย ธรรมวินัยเป็นศาสดาของเรา เราจะไม่เข้าใจศาสดาของเราเลย เราจะไม่เข้าใจเรื่องของพระพุทธศาสนา พุทธะคือใจของเรา จะไม่เข้าใจเรื่องศาสนา

พุทธะก็ให้มารมันควบคุม ศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็อยู่ห่างไกล ห่างไกลกับใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะไม่เข้าใจตามความเป็นจริง ใจดวงนั้นอยู่ใต้อำนาจของมาร มารมีอำนาจกับใจดวงนั้น จะขับไสให้ใจดวงนั้นล้มลุกคลุกคลาน ปลุกปั่นไปในอำนาจของอวิชชาพาจูงดำเนินไป จนตกจนออกไปไกลจากหลักของศาสนานะ จนถ้าไปสะกิดใจ ความเห็นต่าง ๆ ถ้าสะกิดใจ

ถ้าไม่สะกิดใจนะ เวลาเตลิดเปิดเปิงไปจนถึงกับเสียจริตได้นะ จนถึงกับ...ว่าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติทำไมถ้าไม่มีครูอาจารย์คอยชี้นำจะทำให้เสียได้ เสียได้เพราะความยึดมั่นถือมั่นของใจดวงนั้น เสียได้เพราะมารอยู่ในหัวใจดวงนั้น นี่มารในใจดวงนั้นนะ ถ้ามารในหัวใจดวงนั้นสร้างสมสิ่งบาปอกุศลมา นี่จิตใต้สำนึกของคนไม่เหมือนกัน จิตใต้สำนึกของคนถ้ามันเหมือนกันนะ มันจะมีเป็นสุภาพบุรุษ มันจะมีหลักสัจจะความจริง มันจะวางตามสัจจะความจริง มันจะไม่เข้าข้างตัวเองไง

ถ้ามันเข้าข้างตัวเอง เห็นไหม ถ้าจิตของเรามีพื้นฐานในความที่ว่า มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นปมในหัวใจ เวลาปฏิบัติไปความเป็นปมในหัวใจอันนี้มันจะสร้างภาพสิ่งนั้นขึ้นมา สร้างภาพตอกย้ำ ๆ เห็นไหม นี่จิตเภท จิตเภทการคิดตอกย้ำ ๆ แล้วเวลาภาวนาไปมันเสียเพราะเหตุนี้ไง ถ้ามันเสียเพราะเหตุนี้ นี่เวลาออกเตลิดเปิดเปิงไปถึงกับเสียจริตได้ ถ้าเสียจริตเราต้องพยายามวางใจของเราให้เป็นกลางแล้วพยายามประพฤติปฏิบัติเข้ามา

ถ้าสิ่งที่ปฏิบัติเข้ามา “ปัจจัตตัง” สิ่งที่เป็นปัจจัตตัง นี่อวิชชาเริ่มเบาสงบตัวลง ถ้าเราใช้กำหนดพุทโธ ๆ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ถ้าเราไม่มีสมาธิ จิตใจเราเร่าร้อนอย่างนี้ คนเราเหนื่อยอ่อนมาก ร่างกายจะดำรงชีวิตไว้ก็แทบจะไม่ไหวแล้ว แล้วเราจะต้องไปชำระกิเลส ไปทำงานอีกมันจะเอากำลังที่ไหนไปทำล่ะ

ถึงว่า ปัญญาของโลกเขามันเป็นโลกียปัญญา โลกียะเป็นความเป็นไปของโลก เห็นไหม เราถึงต้องทำความสงบของใจ โลกียปัญญานี่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากอาศัยขันธ์ ๕ อาศัยอารมณ์ไง อารมณ์ความรู้สึกเรานี่แขกจรมา

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกกับพราหมณ์นะ พราหมณ์ไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าสอนอย่างไร สอนลูกศิษย์ลูกหาไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า เวลาอาหารที่เขาเอามาให้เรานี่ พราหมณ์มาต่อว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกับว่าเอาอาหารมาให้เรา ถ้าเอาอาหารมาให้เรา ถ้าเราไม่กินอาหารนั้น อาหารนั้นจะเป็นของใครล่ะ อาหารนั้นก็ต้องเป็นเจ้าของของเขา เขาก็ต้องเอาอาหารของเขากลับไป นี่คำติฉินนินทาของโลก ถ้าหัวใจมันไม่รับรู้ สิ่งนั้นก็เป็นเรื่องของโลก

แต่เวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเกิด แขกมันจรมานี่ มันเป็นความเป็นไปของใจเรา ถ้าเป็นความเป็นไปของใจเรา เขาไม่ได้ว่าเรา เขาไม่ได้ติฉินนินทาเรา เราก็วาดภาพขึ้นมาว่าเขาว่าเรา เขาติฉินนินทาเรา สภาวะโลกนี้เป็นแบบนี้ ไม่พอใจโลกไปสักอย่างเลย โลกนี้เป็นไปตามฤดูกาล เป็นไปตามธรรมชาติของเขา เราก็ไม่พอใจสิ่งต่าง ๆ ทุกอย่าง เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันยึดว่ามันมีอำนาจวาสนา มันต้องการตามอำนาจวาสนาของมัน ต้องการให้ได้สมความปรารถนา ต้องการให้ได้สมหัวใจของมันไง ถ้ามันต้องการให้ได้สมหัวใจของมัน แล้วมันจะเป็นไปได้อย่างนั้นไหม

ตัวเองเอาอารมณ์ความรู้สึกปิดกั้นตัวเอง เพราะตัวเองมีตัณหาความทะยานอยาก ต้องการสิ่งต่าง ๆ ของโลก ให้สมกับความคิดของตัว แล้วสมความคิดของตัว มันเป็นไปไม่ได้ โลกนี้เป็นอจินไตย สิ่งที่เป็นอจินไตยมันต้องเคลื่อนสภาวะแบบนี้ไปโดยธรรมชาติของเขา เห็นไหม ธรรมชาติของเขามันจะเคลื่อนที่ไปไม่มีสิ่งใดคงที่นะ

โลกของเรา อายุของโลกกี่สิบล้านปี มันจะเคลื่อนที่ของมันไป สภาวะแบบนี้จะเคลื่อนที่ของมันไปตลอด นี่เป็นอจินไตย สิ่งที่เป็นอจินไตยมันเหนือการควบคุมอยู่แล้ว แล้วหัวใจต้องการแสวงหา ต้องการความเป็นไป ต้องการความพอใจของตัว มันต้องการสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แล้วก็วาดภาพออกมาจากภายนอกไง ให้โลกเป็นอย่างนั้น มันก็ขัดกันไป สิ่งที่ขัดไป นี่เขาไม่ได้ว่าเรา ไม่มีใครว่าเราเลย แต่เพราะพญามารในหัวใจ มันเป็นจริตเป็นนิสัยของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นมีน้ำใจ มันจะแสดงออกในการมีน้ำใจ เราจะเปิดโอกาสให้คนอื่นทั้งหมด เราจะไม่ขวางคนอื่น ถ้าเราขวางคนอื่น เราเบียดเบียนคนอื่น นี่โลกนอกไง

สิ่งที่เป็นไปนอกนี่เราไปเบียดเบียน เราต้องการให้สมกับความคิดของเรา ให้สมกับความพอใจของเรา กิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้ากิเลสตัณหาความทะยานอยาก แขกจรมาอย่างนี้ เราถึงต้องทำกำหนดพุทโธ ๆ เพื่อสัมมาสมาธิ เพื่อให้แขกนี้สงบตัวลง ถ้าแขกสงบตัวลง ขันธ์ ๕ สงบตัวลง เราจะเข้าถึงสัมมาสมาธินะ

ถ้าเราเข้าถึงสัมมาสมาธิ จิตนี้มีสมาธิ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ถ้าไม่มีสมาธิ ไม่มีจิตนี้ตั้งมั่น ความคิดจินตนาการต่าง ๆ ความคิดความเห็นของเราทั้งหมดเป็นโลกียปัญญา โลกียปัญญาใช้สมบุกสมบันขนาดไหน คิดจินตนาการขนาดไหน มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันปล่อยวางได้ เวลาที่ว่าพระเราใฝ่ออกศึกษาเล่าเรียน เวลาอ่านธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือค้นคว้าธรรม ทำวิจัยต่าง ๆ มันจะซึ้งใจมาก พอซึ้งใจมันจะปล่อยได้เป็นครั้งเป็นคราว นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ว่างขนาดไหน ปล่อยวางขนาดไหนแล้วซึ้งใจ เข้าใจว่าธรรมไง นี่อวิชชาจูงไง จูงพาไป อวิชชาจูงสิ่งนี้ไป

เพราะจิตสงบเข้ามา มันคือตัวอวิชชา เวลาสุข ทุกข์ อุเบกขา อุเบกขามันเป็นกิเลสหรือ เพราะมันปล่องวางไง เป็นอุเบกขาว่างขนาดไหนก็แล้วแต่เป็นอุเบกขา ตัวอุเบกขานั่นแหละคือตัวอวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชา เห็นไหม อวิชชามันก็จูงไป จูงความเห็นนั้นไปไง รู้ในอวิชชา อวิชชามันไม่รู้ตัวมันเองอยู่แล้ว เพราะมันเป็นอวิชชา พอมันมีความเห็น มีความปล่อยวางเข้ามา ว่าสภาวะนี้เป็นธรรม นี่หลง เวลาหลงก็ติดอยู่นั่นไง ติดก็ได้ เวลาประพฤติปฏิบัตินะ ติดตรงนั้น ถ้ามันไม่เป็นสัมมาสมาธิ

ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิ มันมีสติอยู่ คนมีสติจะหลงไปไหน เรามีสติเรามีความพร้อมตลอด จะเอาเราไปปล่อยที่ไหน เราก็กลับของเราได้ นี่ถนนหนทางเราก็เดินไปได้ เราจะรู้ว่าเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา มันก็มีป้ายบอกทาง เห็นไหม จะไปทางไหนแผนที่ดำเนินก็มี ถ้าคนมีสติ มันจะหลงไปไหนล่ะ

นี่ถ้าคนไม่มีสติ เห็นไหม อุเบกขา ถ้าใช้ความคิด เวลาแขกที่จรมามันสงบตัวลง มันจะเป็นอย่างนี้ นี่โลกียะ เป็นปัญญาโลกีย์ ทำขนาดไหนมันก็จะปล่อยวางเข้ามา ๆ แล้วบอกว่าจิตนี้เป็นนามธรรม จิตนี้จับต้องไม่ได้ จิตนี้เป็นนามธรรม...ก็มันหลง ก็มันติด ติดสภาวะแบบนั้น ไม่เข้าใจตามธรรม เห็นไหม นี่ไง ที่ว่าเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ประพฤติปฏิบัติเพื่อจะชำระกิเลส แต่อวิชชาจูงไป จูงให้ออกนอกลู่นอกทางไปนะ ทั้ง ๆ ที่เกิดเป็นชาวพุทธ บวชเป็นพระ บวชเป็นสงฆ์ ประกาศตนว่าเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ออกธุดงค์ ออกค้นคว้าหาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หาอริยสัจ หามรรคอริยสัจจังเพื่อให้เกิดภาวนามยปัญญา

ติดข้องในตัวเอง ถ้าตัวเองติดข้องในตัวเองแล้วจะไปสั่งสอนใคร จะเป็นโคนำฝูงไปไหน จะนำฝูงลงไปให้สัตว์ร้ายในแม่น้ำนั้น ในทะเลหลวงนั้น กลืนกินสัตว์นั้นทั้งหมดไปในวัฏฏะนี้หรือ ถ้ากลืนกินวัฏฏะมันก็ขึ้นฝั่งไม่ได้สิ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่มหัศจรรย์สิ

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหัศจรรย์มาก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ เห็นไหม เทวดาทั้งหลาย จาตุมฯ ขึ้นไปนี่ประกาศธรรมขึ้นไปตลอด นี่ธัมมจักฯ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศแล้ว จักรนี้จะเคลื่อนกลับไม่ได้เลย เห็นไหม เคลื่อนกลับไม่ได้เพราะศาสนา

แม้แต่ศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่างๆ ที่ล่วงมา เคลื่อนกลับไม่ได้เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม อัครสาวกต่าง ๆ ปฏิบัติธรรม ใจนั้นเป็นธรรม แล้วมันจะขับเคลื่อนไปไหนล่ะ มันเป็นอฐานะ มันเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งนี้จะเคลื่อนกลับมา คนที่พ้นจากกิเลสไปแล้ว จะกลับมาเป็นกิเลสอีก เป็นไปไม่ได้ เห็นไหมธรรมจักรนี้เคลื่อนแล้ว หมุนแล้ว จะย้อนกลับไม่ได้ ไม่ได้เด็ดขาด ตั้งแต่จิตที่ได้ประพฤติปฏิบัติพ้นออกจากนั้นไป สิ่งนั้นเป็นธรรมไง นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ถ้ามันเป็นความหลง เป็นความติดของเราล่ะ เราติดสภาวะแบบนั้น ธรรมนั้นมีอยู่แล้ว ธรรมนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม ธรรมโอสถมี เราไม่สามารถแก้กิเลสของเราได้ไง นี่บอกว่า อุเบกขาเป็นธรรม...มันเป็นอวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชา เพราะเราไม่ได้วิปัสสนามัน ถ้าเราวิปัสสนา เห็นไหม จิตสงบเข้ามาต้องมีสัมมาสมาธิด้วย ถ้ามีสัมมาสมาธินี่สติพร้อมขึ้นมาแล้วต้องยกขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม นี่เวทนานะ หรือในกาย หรือในจิต อันเดียว เพราะเป็นเวทนามันก็พร้อมกับสติปัฏฐาน ๔ ถ้าเป็นจิตมันก็พร้อมกับสติปัฏฐาน ๔ เพราะสติปัฏฐาน ๔ คือความรู้สึก คือกายของเรา คือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

แต่เพราะความหลงว่าต้องพิจารณากายก่อน แล้วรีบไปพิจารณาเวทนา...นี่ให้อวิชชาชักจูงไป ชักจูงให้ล้มลุกคลุกคลานไปไง เวลาวิปัสสนามันก็ไม่เป็นฐาน ไม่เป็นเป้าหมาย ไม่เป็นที่มั่น ไม่เป็นภาคสนาม ภาคสนามต้องทำให้เสร็จนะ ต้องยึดพื้นที่ให้ได้ ต้องควบคุมพื้นที่ได้ ต้องพยายามกำจัดข้าศึกให้ออกจากพื้นที่นั้น ต้องทำให้ข้าศึกยอมจำนนกับเราทั้งหมด นี่มันจะแพ้มันจะชนะกันก็ต่อเมื่อเราเห็นข้าศึกยอมจำนนทั้งหมด เราต้องยึดอาวุธยึดอุปกรณ์ที่เขาจะกลับมาทำลายเรา ส่วนนั้นต้องหมดสิ้นไป

ในการวิปัสสนาก็เหมือนกัน ในเมื่อจิตมันตั้งมั่นยกขึ้นวิปัสสนากายได้ เห็นไหม ความเห็นกาย เห็นจิต ในการประพฤติปฏิบัติ ในการวิปัสสนา มันจะต่างกับความที่ว่าเป็นปัญญาอบรมสมาธิมหาศาลเลย ถ้าปัญญาอบรมสมาธิมันพิจารณาโดยปกติโดยสามัญสำนึก แล้วมันปล่อยวางเข้ามา มันก็ว่าง ว่างอย่างนี้ก็เข้าใจว่าเป็นธรรม นี่อวิชชาพารู้

แต่ถ้าเราวิปัสสนาของเรา พอจิตมันสงบขึ้นมานี่ยกขึ้นวิปัสสนา เห็นกาย เห็นจิต ความเห็นต่างจะมหาศาลเลย มหาศาลเพราะอะไร เพราะเห็นจากตาของใจ ใจเห็นกายมันจะสะเทือนหัวใจมาก การเห็นจิตมันจะมีความแปลกประหลาดมหัศจรรย์มาก เห็นไหม แต่ก่อนแขกจรมานี่เราไม่รู้จักเขาเลย เขาจรมาเขาก็มีอำนาจมาก เพราะเวลาเราคิดสิ่งใด ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่แขกจรมา มันป้อนอาหารสิ่งใดเข้ามา ให้โลภก็ได้ ให้โกรธก็ได้ ให้หลงก็ได้ เราก็จะเชื่อมันแล้วเราก็จะวิ่งตามมันไปนะ ใครว่าเรา ใครนินทาเรา เราอยากได้อะไรต้องแสวงหาสิ่งนั้นมาปรนเปรอมัน ไม่รู้ตัวเลยว่านี่เราปรนเปรอกิเลส ไม่รู้ตัวเลยว่าเราสร้างกิเลสให้มันมีอำนาจบาตรใหญ่ในหัวใจของเรา

แต่ถ้าอวิชชา กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันบอกนี่คือผลประโยชน์ของมัน นี่คือการแสวงหาของมัน เห็นไหม แขกจรมาแล้วก็ทำให้เราเตลิดเปิดเปิงไปกับสิ่งที่ไร้สาระ มันเป็นเรื่องของโลก มันเป็นเรื่องของอจินไตย โลกนี้เป็นสภาวะแบบนั้นตลอด กายนี้ก็เป็นโลก เพราะร่างกายของเรานี้เกิดขึ้นมาจากโลก

แต่ถ้าจิตมันย้อนเข้ามาเป็นธรรม เห็นไหม จะเป็นพุทธะแล้วก็เห็นศาสนาคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วมันจะยกขึ้นวิปัสสนา มันจะเริ่มเป็นปัญญาขึ้นมา ปัญญาอย่างนี้มันกว้างขวางมากนะ ขณะที่ว่าเป็นสมาธิ ปัญญา ปัญญานี้เป็นปัญญาญาณ ปัญญาญาณในการชำระกิเลส ขั้นของปัญญามันมีความกว้างขวาง กว้างขวางเพราะจริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน ความเห็นต่างสิ่งต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ให้กว้างออกไปตามจริต ตามนิสัย จะพิจารณากายก็ได้ พิจารณาเวทนาก็ได้ พิจารณาจิตก็ได้ พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้ปัญญามันย้อนกลับเข้ามา ความเป็นไปของมัน เวลามันพิจารณาเข้ามามันจับสิ่งนั้นเข้ามาแล้วปัญญามันเกิด

เวลามันปล่อย มันจะมีความมหัศจรรย์มากนะ เวลาปล่อยนี่มันจะตื่นเต้นมาก ผู้ที่วิปัสสนาใหม่ ๆ เวลาปล่อยขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าปล่อยนะ แต่รู้ว่าว่างเฉย ๆ ปล่อยแล้วมีความสุขมีความว่างมาก ไม่รู้วิธีการปล่อยไง มันปล่อยอย่างไรก็รู้ไม่ทัน นี่อวิชชาพารู้ พารู้เพราะอะไร เพราะมีอวิชชา มีตัวตนของมัน สิ่งที่เป็นตัวตน เป็นผู้รู้ เป็นความเข้าใจ นั่นแหละคือตัวอวิชชา อวิชชาจูงไป มันก็รู้ตามสิ่งนั้น สิ่งที่ว่าอวิชชาพารู้มันจะเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหม?

มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เพราะอะไร เพราะมันมีอวิชชา อวิชชาคือผู้ไม่รู้ อวิชชาคือไม่รู้ตัวมันเองไง ไม่รู้ว่าวิธีการเป็นอย่างไร วิธีการดับทุกข์ มรรคญาณเกิดอย่างไร แล้วมันทำลายกิเลสออกไปจากใจอย่างไร มันปล่อยวางสิ่งใด เห็นไหม วิธีการดับทุกข์ไง นี่ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ เห็นไหม ดับทุกข์โดยนิโรธะ

วิธีการดับทุกข์ ถ้ามันเป็นอวิชชาพารู้นี่มันปล่อยทุกข์ไม่ได้ มันวางเฉย ๆ มันวางออกมาแล้วมันไม่มีสิ่งบอกเป็นปัจจัตตัง ความเป็นจริงไง ถ้ามันเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัตตัง ความเป็นจริง ผู้ที่มีธรรมในหัวใจจะไม่กราบไม่ถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยว่าสิ่งนี้เป็นธรรมไหม แม้เพียงแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพยากรณ์พระองค์นั้นต่อเมื่อเป็นประโยชน์

ในครั้งพุทธกาลมีพระอรหันต์องค์หนึ่งรูปร่างเตี้ยมาก เป็นเหมือนเด็กเป็นเหมือนคนแคระ พระไปลูบหัวเล่นด้วยความรักใคร่ ด้วยความเมตตาในหมู่สงฆ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “นั่นพระอรหันต์ ๆ นะ พวกเธอไปทำกรรมกับตัวเองนะ ถ้าไปลูบศีรษะ ไปทำสิ่งนั้น มันจะเป็นบาปเป็นกรรมกับปุถุชนที่ไปทำสิ่งนั้น”

ถ้าเป็นกรรม เห็นไหม กล่าวตู่พระอริยเจ้า นี่กรรมที่ว่าเรากล่าวติเตียนพระอริยเจ้านั่นเป็นกรรม ว่าศาสนาพุทธนี้พูดถึงพระก็เป็นบาปเป็นกรรม...ไม่ ไม่เป็นบาป ไม่เป็นกรรม ถ้าเราทำคุณประโยชน์กับศาสนา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้กล่าวแก้ ให้ปกป้องศาสนา การปกป้องศาสนานี้เราไม่ได้กล่าวตู่ แต่ถ้าเรากล่าวตู่ เรากล่าวตู่พระอริยเจ้าต่าง ๆ นี่เราไปสร้างเงื่อนไขว่าท่านผิดอย่างนั้น ท่านเป็นไปอย่างนั้น พอสร้างเงื่อนไขมันก็หาเหตุหาผล ตอนหาเหตุหาผลนี่แหละกิเลส กรรมมันเกิดตรงนี้ไง เกิดเพราะเราต้องหาเหตุหาผล นี่กิเลสของเรา ตัณหาความทะยานอยากของเรา ความโลภ ความโกรธ มันก็ต้องหาเหตุหาผล ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เราก็คาดก็หมายก็เป็นไป นี่กรรมเกิดอย่างนี้ นี่คือตัวกรรม

“วิธีการดับทุกข์” ถ้าวิธีการดับทุกข์ ขั้นของปัญญา มันต้องให้เป็นไปตามปัญญานั้นก้าวเดินออกไป ปัญญามันจะพลิกแพลง เปลี่ยนแปลงขนาดไหน มันจะปล่อยวางขนาดไหน อวิชชาจูงไป อวิชชาพารู้ จะปล่อยวางขนาดไหน ก็อวิชชาพารู้ เพราะมีตัวตน สิ่งที่มีตัวตนคือมีเรา ถ้าสิ่งนี้เราสมุจเฉทปหานไม่ขาด สิ่งที่ไม่ขาด สังโยชน์มันไม่ปล่อยออกไป ถ้าไม่ปล่อยออกไป อวิชชาพารู้ อวิชชาจูงไป เห็นไหม นี่มันติดสภาวะแบบนั้นไง เพราะมันปล่อยวางเข้ามา มันก็ปล่อยวางมาเป็นอวิชชานั้นล่ะ มันปล่อยวางมาในตัวตนนั้นล่ะ

เวลาจิตสงบขนาดไหน อุเบกขา ปล่อยวางหมด นี่คือตัวอวิชชา ตัวอวิชชาคือตัวมันเองตัวตนของมันเอง มันไม่รู้ตัวมันเองเพราะมันไม่มีสติ วิปัสสนาโดยปัญญา มันปล่อยวางขนาดไหนก็เป็นอวิชชา มันเป็นอวิชชาเห็นไหม จนปัญญามันเกิด มันปล่อยวาง ๆ นี่วิชชาถึงเกิด เกิดเวลามันปล่อยวาง เวลาเราซ้ำไง ถ้าเราซ้ำวิธีการ เห็นไหม วิธีการดับทุกข์ คราวนี้ปล่อยอย่างนี้ คราวนี้จะปล่อยอย่างนั้น พอปล่อยไปเราก็วิปัสสนาซ้ำเพราะอะไร เพราะมันจับได้ ความรู้สึกก็อยู่กับเรา กายก็อยู่กับเรา เห็นอยู่ตลอดเวลา แต่อวิชชามันจูงไป มันพาไป เตลิดเปิดเปิงนะว่าปล่อยสิ่งนี้ ปล่อยวางหนหนึ่ง ก็เป็นมรรคหนหนึ่ง เป็นธรรมอันหนึ่ง...มันจินตนาการ มันคาดมันหมายไปทั้งหมดเลย มันไม่เป็นปัจจัตตัง มันไม่เป็นความจริง

ถ้ามันเป็นความจริง มันเป็นสัจจะขึ้นมา มันจะเห็นความเห็นต่างนะ วิธีการดับทุกข์จะชัดเจนมาก เพราะเวลาวิปัสสนาไปมันปล่อยนี่คือวิชาการ อวิชชาคือความไม่รู้ วิชชาคือความรู้ คือการปล่อยวาง แต่ถ้าการปล่อยว่างนี้มันปล่อย นั่นคืออวิชชาจูงไป จูงไปเพราะมันไม่ขาด

เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศธรรม เวลาประกาศธัมมจักฯ “เทฺวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนไม่ควรเสพ” กามสุขัลลิกานุโยค พิจารณาแล้วมีความสุข ปล่อยวางแล้วมีความว่าง นี่มันมีความสุข พิจารณาไปแล้วติดขัด แล้วไปไม่รอด ติดขัดติดข้องไปหมด วิปัสสนาไปไม่ได้ เห็นไหม “เทฺวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนไม่ควรเสพ”

สุขขนาดไหน ปล่อยวางขนาดไหน มันก็ติดสุขของมัน ติดความปล่อยวาง ติดความว่างอย่างนั้น เวลามันติดขัด มันไปไม่ได้ มันก็ติดขัดของมัน เห็นไหม เวลามันติดขัด มันหลง มันก็เป็นอย่างนี้ ถ้า “มัชฌิมาปฏิปทา” มันต้องให้เป็นไปตามความเป็นจริงของมัน เห็นไหม ตามความเป็นจริงของมันในการวิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า ในการวิปัสสนาบ่อยครั้งมันจะปล่อยวางขนาดไหน นั้นคือวิชชา วิชชาคือ “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” อันนี้ไง

วิชชาคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่าเราศึกษาเล่าเรียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาไง แล้วเราเป็นสัญญา เราเป็นความจำได้หมายรู้ เราเป็นนกแก้วนกขุนทองแล้วเราก็ประพฤติปฏิบัติไป มันก็สร้างภาพ นี่กิเลสมันร้ายกาจมาก พญามารนี้ร้ายกาจมาก พญามารนี้เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหลอกเรา มาขึงไว้ต่อหน้านะ “วิปัสสนาแล้ว ปล่อยวางอย่างนี้แล้ว นี้เป็นธรรมของเราแล้ว เราเข้าใจแล้ว”...เข้าใจโดยอวิชชาจูงไป จูงให้มันเป็นความเห็นไป แล้วก็เตลิดเปิดเปิงไปจนถึงที่สุดนะ ว่าปล่อยวางถึงที่สุดจนหมดสิ้นกิเลส นั่นมันเตลิดเปิดเปิงไป

กาลเวลาพิสูจน์คนนะ ถ้าคนเราถึงที่สุด สิ่งที่เป็นความจริงจะเป็นอฐานะ อฐานะคือความเสื่อมสภาพของมันเป็นไปไม่ได้ อกุปปธรรมคืออฐานะ ไม่มีความเป็นอย่างนั้นไปได้อีก

แต่ถ้ามันเป็น “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” มันเป็นกุปปธรรม มันเป็นฐานะที่มันจะเสื่อมสภาวะแบบนั้นแน่นอน นี่เวลาพิสูจน์ขึ้นมาในหัวใจมันจะเป็นแบบนั้น เพราะขนาดว่าพญามารมันควบคุมใจ เราก็อยู่ใต้ของพญามาร เห็นไหม การคาด การหมาย การปล่อยวางขนาดไหน มารมันเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหลอกเรา

เราเป็นลูกศิษย์ตถาคต เรามีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้วนะ ถ้าเราซื่อสัตย์กับเราเราปฏิบัติตามความเป็นจริง นี่วิชาการเกิด “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” นี่ขั้นของปัญญา ปัญญามันจะใคร่ครวญต่าง ๆ มันใคร่ครวญเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางขนาดไหนมันมี ถ้ามันไม่มีมันจับต้องสิ่งนี้ไม่ได้

สิ่งที่มันมีอยู่นี่ มันคือสภาวะที่ขาดไม่จริง ถ้ามันขาดไม่จริง มันเป็นสภาวะแบบนี้ สภาวะ “จะ” “น่าจะ” “หรือ” ความเป็นไป “น่าจะ” “หรือ” นี่ครูบาอาจารย์ท่านเคยเป็นนะ แล้วท่านไม่ยอมรับสภาวะแบบนั้น แล้วท่านก็ผ่านเหตุการณ์อุกฤษฏ์อย่างนี้มาได้ แต่ถ้า “น่าจะ” ยังจะเป็นสภาวะแบบนั้นไป นี่อวิชชาจูงไปนะ เราก็เดินต้อย ๆ ตามอวิชชาของเราไป

เพราะตัวอวิชชาคือตัวพญามาร มันคุมใจดวงนี้ ในภาคปฏิบัติแล้วเราปฏิบัติเพื่อบูชาอวิชชาอย่างนี้ ขนาดที่ว่าเราทำสมาธิได้นะ เราทำความสงบของเราได้ เรายกขึ้นเห็นกายตามความเป็นจริงของเราได้ ทำไมเราต้องเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปบูชากิเลสล่ะ ทำไมต้องเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปบูชาอวิชชาตัวนี้ล่ะ ในเมื่ออวิชชาตัวนี้เป็นพญามารในหัวใจของเรานะ มันพาเราเกิดเราตายมากี่ภพกี่ชาติไม่มีที่สิ้นสุดนะ

แล้วเราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา แล้วเราได้บวชเป็นพระสงฆ์องค์เจ้าที่ประพฤติปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้ อำนาจวาสนาขนาดนี้มันมาขนาดนี้แล้ว ทำไมเราไม่เข่นฆ่ามัน ทำไมเราไม่ทำให้สัจจะความจริงมันเกิดขึ้นมาในหัวใจของเรา ทำไมเราไม่ปล่อยให้เป็นไปตามความเป็นจริง ให้วิชาการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราสร้างขึ้นมาเป็นสมบัติของเรานะ ถ้าเราวิปัสสนาขึ้นมาเป็นสมบัติในใจของเรา นี่งานภาคสนามเกิดตรงนี้ไง

การยึดครองในหัวใจ การยึดครองจิต การยึดครองพื้นที่แล้วงานภาคสนามเกิดขึ้น ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่กองทัพธรรมทำลายกองทัพกิเลส ทำลายพญามารที่ในหัวใจของเรา ถ้ากองทัพธรรมมีกำลังมีอำนาจวาสนานี่มันจะเริ่มทำลายเข้าไป วิปัสสนาด้วยปัญญาญาณอันนี้ ปัญญาอย่างนี้จะใคร่ครวญขนาดไหน กองทัพธรรมทำลายมีสู้รบ บุกโจมตีข้าศึกให้ถอยร่นไปนะ บางที่ข้าศึกมีอำนาจมากกว่ามันบุกเข้ามานี่ธรรมของเราก็ถอยร่น ความเป็นไปอย่างนี้ มันจะเกิดในหัวใจ นี่ประสบการณ์ของการประพฤติปฏิบัติมันยังมีอีกมหาศาล ความหลงพลาด พลิกแพลง การหลงไป

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติ เวลาถืออดอาหาร ความเป็นไปนี่ บุคลาธิษฐาน พระอินทร์มาดีดพิณ ๓ สาย สายที่ตึงไปก็ขาด สายที่หย่อนไปก็ไม่ดัง สายที่พอดีเสียงนั้นก็เพราะ นี้เป็นบุคลาธิษฐาน แต่ความเป็นจริงของใจ ใจจะมีความเห็นจากภายในเข้ามา สิ่งที่เป็นไปอย่างนั้น นี่ประสบการณ์ของใจมันจะมีสภาวะแบบนั้น

สภาวะแบบความล้มลุกคลุกคลาน ระหว่างกิเลสกับธรรม กองทัพกิเลสกับกองทัพธรรมต่อสู้กัน มันจะปล่อยวางขนาดไหน มันมีอวิชชาจูงไป แต่ถ้ามันปล่อยวางตามความเป็นจริง มันขาดนะ มันสมุจเฉทปหานนะ เวลามันสมุจเฉทปหานแต่ละขั้นตอน มันเป็นความเป็นจริง มันไม่เป็นอวิชชาพารู้หรอก มันเป็นวิชชาที่รวมตัว เห็นไหม สัมปยุตรวมตัว มรรคสามัคคีรวมตัวเข้าไปทำลายกิเลสออกไป เห็นไหม กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์...ไม่มีเรา ไม่มีต่าง ๆ ต่างอันต่างจริง ต่างอันต่างอยู่ ไม่มีอวิชชาพารู้ ไม่มีอวิชชาจูงไป

ถ้ามีเรามีความรู้ อยากรู้อยากเห็นอยากว่าเป็นไป อยากเห็นสภาวะอันเป็นจริง นั้นคืออวิชชาทั้งหมด เพราะตัวตนของใจมันไปรับรู้สิ่งนั้น มันไปรับรู้การปล่อยวาง รับรู้ความเห็นอันนั้น มันเป็นตัวอวิชชา แล้วมันจะปล่อยตัวมันเองได้อย่างไรล่ะ

แต่ถ้ามันเป็นวิชชานี้คือการศึกษา คือขั้นของปัญญาที่วิชชามันทำการทำงานของมันอยู่ มันจะปล่อยวางเป็นคราว ๆ ไป นี่คือวิชชา วิชชาคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วิชชาเข้าไปทำลายอวิชชา แต่ขณะที่ว่ามันมีผู้รู้ มีความรับรู้อยู่นั้นคือตัวอวิชชา ขณะที่มันปล่อยเข้ามา มันปล่อยหมด ต่างอันต่างจริง ทำลายหมดเลย สิ่งที่ทำลายออกไปขาดออกไป เห็นไหม นี่สังโยชน์ขาดออกไปเห็นตามความเป็นจริง นี้คือวิธีการดับทุกข์

ถ้ามีวิธีการดับทุกข์ขึ้นมา นี่ธรรม สภาวธรรมจะเกิดจากใจดวงนั้น ไม่ใช่อวิชชาจูงไปอย่างนั้น อวิชชาจูงไปเราก็ล้มลุกคลุกคลานนะ แล้วเตลิดเปิดเปิงไปขนาดที่ว่าถึงกับว่ามันปล่อยวางจนหมดกิเลสนะ ถ้ามันหมดกิเลส มัน “ทำไม” หรือ “น่าจะเป็นอย่างนั้น” ทำไมมันมีความเป็นไปอย่างนั้น...นี่ความเป็นไปของใจ มันมีความลึกลับมหัศจรรย์

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหัศจรรย์มาก มหัศจรรย์ขนาดที่ว่าเข้าไปชำระกิเลส เห็นไหม เข้าไปชำระกิเลสในใจนะ

เวลาวงการแพทย์ของเขา สมองเป็นที่คิด รักษาร่างกายเรื่องของสมอง เรื่องของสรีระ เรื่องของร่างกาย นี่มันก็มหัศจรรย์พอแรงอยู่แล้ว ขนาดมหัศจรรย์พอแรง เห็นไหม คิดถึงขนาดว่าร่างกายของมนุษย์ ส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์นี่คิดออกมาให้มันเข้าใจให้หมด เพื่อจะสร้างมนุษย์ใหม่ไง แต่ไม่ได้คิดถึงว่ามนุษย์จะเกิดขึ้นมาได้ ถ้าไม่ได้มีจิตปฏิสนธิขึ้นมามันจะเอาสิ่งไหนมาเกิดล่ะ

แล้วจิตปฏิสนธินั้นคือธาตุรู้นั่นแหละ ธาตุรู้ตัวนั้นมันมีอวิชชาอยู่ แล้วธรรมที่เข้าไปทำลายอวิชชาตัวนั้นน่ะมันเป็นความมหัศจรรย์ สิ่งที่มหัศจรรย์สิ่งนี้ ธรรมที่มหัศจรรย์ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหัศจรรย์มาก ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติโดยซื่อตรงกับธรรมนั้นนะ ปฏิบัติตามธรรมนั้นให้ธรรมนั้นแสดงตัวตามความเป็นจริง ตามความสุภาพบุรุษของเรา เราจะไม่ลังเลสงสัย เราจะไม่คาดหมาย

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นจะเห็นธรรม”

พระอานนท์ถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วนี่ หมดเขต หมดสมัยเมื่อใด ธรรมะจะหมดเมื่อใด”

“อานนท์ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย”

“ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ไม่ใช่ปฏิบัติธรรมโดยให้อวิชชามันจูงไป สิ่งที่จูงไป เหมือนสัตว์เลยนะ เวลาสัตว์เวลาเขาเอาไปโรงงาน เขาเอาไปฆ่า เอาไปมันไม่รู้ตัวมันเลยนะ มันเป็นไปโดยไม่รู้ตัวว่า เขาเอามันไปฆ่า ถึงเวลาไปฆ่า...ยกเว้นไว้แต่สิ่งที่ว่าจิตบางตัวมันรู้ ถ้าอย่างนั้นมันก็จะเสียใจไง

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราประพฤติปฏิบัติอยู่ ตัวอวิชชาทำไมต้องให้มาขัดขวางล่ะ ให้มาทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน ทั้ง ๆ ที่เราจะทำลายมัน ทั้ง ๆ ที่เราจะฆ่ามันนะ สิ่งที่จะฆ่ามันเพราะอะไร เพราะว่าเราหลง เราพอใจไปกับมันไง เราเชื่อมัน เราเชื่ออวิชชา เราเชื่อกิเลสตัณหาของเรา เราเชื่อตัวตนของเรา เรายึดมั่นตัวตนของเรามากเกินไป

ถ้าเรายึดมั่นตัวตนของเรามากเกินไป เราสงวนรักษาไง เรากลัวตัวตนจะโดนตัวตนทำลาย เราถึงว่าวิปัสสนาไปแล้วปล่อยวางมาให้มีตัวตนรับรู้ไง มีตัวตนรับรู้มันก็มีตัวอวิชชาจูงไป อวิชชาพารู้ไป สิ่งที่อวิชชาพารู้ไป อวิชชามันหลบตรงนี้แหละ กิเลสตัณหามันหลบตรงนี้ มันถึงไม่ขาด ไม่ขาดเพราะมันหลบไปตรงที่ตัวตนของเรา

สิ่งที่อยากรู้อยากเห็น อยากให้มันเป็นไป สิ่งที่มันอยากรู้อยากเห็น มันมีสิ่งที่อยากรู้อยากเห็น ถึงต้องพยายามใช้ปัญญาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้มันเป็นสัจจะความจริงนะ มันปล่อย ถึงเวลามันปล่อย ปล่อยขนาดไหนก็วิปัสสนาไป แล้วไม่ใช่เคลื่อนที่ไป เป้าหมายตรงนั้น ต้องทำตรงนั้น

กาย เวทนา จิต ธรรม ในเมื่อมันเป็นกายหยาบ ขันธ์หยาบ ๆ นี้ เราพิจารณาไป มันจะปล่อย มันจะว่างขนาดไหน ปล่อยขนาดไหนมันก็เป็นอวิชชาจูงไปตลอดไป จนถึงที่สุดให้มันเป็นสัจจะความจริง เห็นไหม อวิชชาอย่างละเอียดยังมีอีกมหาศาลเลยนะ สิ่งที่ละเอียด กลวิธีการหลอกมันมีมากกว่านี้อีก ให้เราล้มลุกคลุกคลานไปกับมัน ล้มลุกคลุกคลานไปกับมันขนาดไหน ที่ว่าธรรมมหัศจรรย์ มหัศจรรย์ตรงนี้ไง

เวลาพระสารีบุตรไปเทศน์ให้อนาถะ เทศน์เรื่องขันธ์ ๕ นี่อนาถะ ร้องไห้เลยนะ “ทำไมธรรมอย่างนี้ คฤหัสถ์ไม่มีโอกาสได้ฟัง?”

พระสารีบุตรบอกว่า “ธรรมอย่างนี้มันละเอียดอ่อน จะเทศน์สอนแต่ผู้ประพฤติปฏิบัติ เทศน์สอนแต่พระกัน”

อนาถะบอกว่า “เขาก็ปฏิบัติอยู่ ขอให้พระสารีบุตรไปขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าให้เทศน์ธรรมอย่างนี้กับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แม้แต่คฤหัสถ์ก็ขอให้ได้ยินได้ฟัง เพราะถ้าได้ยินได้ฟังแล้วมีโอกาส เพราะธรรมมันละเอียดอ่อนมาก”

พระสารีบุตร เวลากล่าวตอบสิ่งนี้แล้วไปบอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ได้สอนอนาถะ หรือสอนคฤหัสถ์คนหนึ่งได้จนเป็นพระอนาคา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ทำไมเธอสอนเขาต่ำทรามขนาดนั้น” เพราะว่าศาสนา ความมหัศจรรย์ของศาสนาของศาสนธรรมนี้ต้องการให้รื้อสัตว์ขนสัตว์ ให้สัตตะผู้ข้อง ผู้ติดผู้ข้องนี้พ้นออกไปจากกิเลสไง ไม่ใช่สอนให้ไปเกิดบนพรหม พระอนาคาไปเกิดบนพรหมนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกกับพระสารีบุตรว่า “ทำไมเธอสอนเขาต่ำทรามขนาดนั้น ทำไมไม่สอนให้เขาสิ้นกิเลสไป คือพ้นจากอวิชชาตัวนี้ไป ไม่ให้พญามารนี้มีอำนาจกับใจดวงนั้นไง” เห็นไหม กิเลสอย่างละเอียดในหัวใจนี้ มันจะปลิ้นปล้อน มันจะหลอกลวงไปอีกมหาศาลนะ

เวลาขึ้นไปทำลายกิเลส ให้เป็นโลกุตตรธรรม ให้มีสัมมาสมาธิ ไม่ให้มีตัวตนของเราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ถ้ามีตัวตนของเราไปยุ่งเกี่ยวนี้คืออวิชชา ตัวตนนั้นแหละคืออวิชชา แล้วตัวตนนี้จะทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน แล้วก็เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหลอกลวง เห็นไหม ขึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทาบว่านี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้คือสภาวธรรม

แต่มันก็เป็นถ้าเป็น “จะ” ตลอดไป ถ้าเป็น “จะ” นี่สัญญาอารมณ์ การสร้างภาพ สิ่งที่สร้างภาพขึ้นมามันก็พอใจในการสร้างภาพนั้น มันก็มีความสุขของมันชั่วครั้งชั่วคราว เพราะมันมีสติ มันมีสัมปชัญญะควบคุมสิ่งนี้อยู่ แต่ถ้ามันมีอารมณ์กระทบรุนแรง แล้วมันเสื่อมออกไป มันจะรู้อารมณ์เลยว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ สิ่งนี้มันเป็นสภาวะ “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” คือการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปสภาวะหนึ่งเท่านั้น สิ่งนี้เจริญได้ เสื่อมได้ มันไม่เป็นอกุปปธรรม มันไม่เป็นอฐานะ มันไม่เป็นสิ่งที่ว่าแปรสภาพอีกไม่ได้ เห็นไหม ถ้าพิจารณาไปมันจะเห็นสภาวะแบบนั้นขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอน

ความเป็นไป ความหลอกลวงของอวิชชา มหัศจรรย์มาก ถ้าไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่มีใครรู้จักอวิชชา จะไม่มีใครเห็นพญามาร จะไม่สามารถเข้าไปจับต้อง ไม่สามารถต่อกรกับพญามารได้เลย ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นเข้าไปต่อกรกับพญามารนั้น ถ้าเข้าไปต่อกรกับพญามารนั้นคือการทำงานภาคสนามในใจดวงนั้น นี่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ พระปฏิบัติ พระป่านี้ ถึงได้ทรงศาสนาไง

การทรงศาสนาคือการทรงความจริงของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นมีธรรมตามเป็นจริงอย่างนี้ มันจะทรงศาสนาจากใจดวงนั้น แล้วธรรมของใจดวงนั้นจะตรงกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจะเห็นความเป็นจริง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้ไปที่ไหน ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการสิ่งใด แล้วธรรมตรงนี้มันจะเห็นตามสภาวะความเป็นจริงอย่างนั้น

ถ้าเห็นสภาวะตามความเป็นจริงอย่างนั้น เห็นไหม มันจะทำเพื่อลาภ เพื่อสักการะไปที่ไหน เพราะสิ่งที่เป็นลาภ สิ่งที่เป็นสักการะ เป็นสมบัติของโลกมันต่ำทรามนัก สิ่งที่ต่ำทรามนัก ทำไมเราต้องเอาจิตดวงนี้ไปกลืนกินกับสิ่งที่ต่ำทรามนัก ทำไมต้องเอาจิตดวงนี้ไปสัมผัสกับสิ่งที่ต่ำทราม สิ่งที่เป็นความเศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้เกิดอกุศล เกิดอกุศลคือเกิดความต้องการ เกิดความปรารถนา นี่มันเป็นอกุศล มันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากให้ใจนั้นเศร้าหมอง

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมนี้เศร้าหมอง จิตเดิมนี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” อุปกิเลสตรงไหนล่ะ? ก็มันอยากได้ อยากดี อยากเด่น อยากต้องการสิ่งนั้น มันก็เป็นความเศร้าหมอง สิ่งที่เป็นเศร้าหมอง นี่กามราคะ จิตผ่องใสมันมีความเศร้าหมอง เพราะมันต้องการสิ่งนั้น สิ่งที่เป็นสมบัติโลก สิ่งนี้เอาไว้หลอกโมฆะบุรุษไง นี่เรื่องปัจจัย เรื่องของโลกนี้ โมฆะบุรุษมันจะต้องการสิ่งนี้ มันจะเกาะเกี่ยวสิ่งนี้ มันต้องการสิ่งนี้ นี่จิตมันก็เศร้าหมอง มันเศร้าหมองจากที่ว่าความปรารถนาแล้ว ปรารถนาต้องการสิ่งที่เป็นสมบัติโลก นี่มันต่ำทรามเกินไป ต่ำทรามกับจิตที่ว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหัศจรรย์นี้ต้องการส่งเสริมให้ใจนี้พ้นจากกิเลส ถ้าใจพ้นจากกิเลสมันจะย้อนกลับมาที่ธรรมนี้ไง

ถ้าย้อนกลับมาธรรมที่นี้ มันจะเกิดมหาสติ-มหาปัญญา สิ่งที่เป็นมหาสติ-มหาปัญญามันจะละเอียดอ่อนเข้ามา ขณะที่ว่ากิเลสอวิชชาจูงไป เรายังล้มลุกคลุกคลานแล้วเราทำลายมาเป็นชั้น เป็นตอนเข้ามา แล้วเวลาเกิดขึ้นมาเป็นมหาสติ-มหาปัญญา ปัญญาที่มันละเอียด มันจะฟาดฟัน มันจะมีเล่ห์ มีเหลี่ยม มีการหลอกลวง มีการสร้างภาพ มีการทำให้ใจดวงนี้ล้มลุกคลุกคลาน ปฏิบัติเพื่อบูชากามราคะอีกมหาศาลเลย เราต้องไปจมอยู่กับกามราคะ เวลามันแสดงตัว แสดงตัวในหัวใจนะ ถ้าหัวใจมันต้องการสิ่งนี้ มันแสดงตัวสิ่งนี้ มันไม่แสดงตัวออกมาถึงร่างกายเลย มันจะคอยอยู่กับใจดวงนั้นน่ะ เพราะมันชุ่มด้วยกาม กามของใจดวงนี้มันจะชุ่มในตัวมันเอง มันจะพอใจในตัวของมันเอง เห็นไหม ฉันทะความพอใจ กามฉันทะ กามราคะ

สิ่งที่กามฉันทะ พอมันพอใจ แค่พอใจ แค่ความสุขใจ แค่ความสุขในสมาธิขนาดนั้น ความสุขในความว่างอันนั้น นั่นล่ะกามฉันทะ นั่นล่ะคือตัวกาม สิ่งที่กาม มันไม่ได้คิดออกมาข้างนอกเลย มันอยู่ในตัวของมันเองมันก็พอใจ มันก็ติดสุข มันก็ติดข้อง มันก็นอนจม เห็นไหม ปฏิบัติบูชากิเลส ยอมจำนนกับกิเลส

เวลาอวิชชาชักจูงไป มันชักจูงไปล้มลุกคลุกคลานมาตั้งแต่หยาบ ๆ นะ เวลาละเอียดขึ้นไปมันก็ชักจูงไป ไปก้มเคารพกิเลส ปฏิบัติเพื่อบูชากิเลส มันถึงไม่สามารถทำลายกิเลสได้ไง ถ้ามันจะทำลายกิเลส ตัวอวิชชาต้องฆ่า เจอที่ไหนต้องทำลาย สิ่งที่ทำลาย ทำลายมันว่างขนาดไหน อวิชชาพารู้ เพราะมันมีความรู้อันนั้น

แต่ถ้าถึงเวลามันเป็นไปนะ มันไม่มีอวิชชาพารู้ มันจะทำลายทั้งหมด ไม่มีสิ่งใดสัมปยุตเข้าไป ทำลายตัวเอง ครืน! ออกไป วิปปยุตคลายตัวออกมา เห็นไหม คลายตัวออกมาแล้วก็ยังไม่สามารถจับต้องสิ่งใดไม่ได้ เวิ้งว้างว่างอยู่อย่างนั้นเป็นหลาย ๆ วัน เห็นไหม ความสุขอันนั้นมันเป็นไปเพราะอะไร

เพราะมันไม่ใช่อวิชชา มันไม่ใช่ตัวตน มันไม่ใช่เรา แต่เพราะเป็นการบอกสิ่งที่เป็นกาม สิ่งที่เป็นความข้องใจออกไป เห็นไหม สิ่งที่มันปอกออกไปนี่มันเป็นความมหัศจรรย์ นี่สสารที่มันจับต้องสิ่งใดไม่ได้เลย ธาตุรู้ที่มันปล่อยสิ่งต่าง ๆ เข้ามา สิ่งที่ประกอบขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ที่มันแสดงตัว มันทำลายออกหมด เห็นไหม นี่ตัวอวิชชาแท้ ๆ เลย ตัวของมันเองยิ่งร้ายกาจนะ เพราะตัวมันนี่แหละ มันถึงกับชักจูงให้การประพฤติปฏิบัติล้มลุกคลุกคลานมาจากผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่

แต่ถ้าเราต่อสู้เข้าไปจนถึงตัวของมันเอง เข้าไปทำลายถึงตัวของมันเอง จับต้องตัวมันเองได้ เห็นไหม จะจับต้องตัวมันเองมันจะจับต้องอย่างไรล่ะ เพราะมันเองพาหลอกลวง หลอกล่อให้เราล้มลุกคลุกคลานมาตลอด แล้วเราจะเอาอะไรสิ่งใด เพราะมันหดตัวเข้าไปถึงตัวของมันเองแล้ว มันก็เป็นอวิชชาทั้งหมด มันก็ต้องหาทางป้องกันตัวของมัน เห็นไหม ป้องกันตัวก็ว่างหมด โลกนี้ว่างหมดแล้ว โลกนี้ว่างทุกอย่างเป็นความว่าง

สิ่งที่เป็นความว่าง ใครมันเป็นคนรู้ว่าความว่างล่ะ? อัตตานุทิฏฐิ นิพพานเป็นอัตตา อัตตาตรงไหน? ถ้าเป็นอัตตามันก็เป็นตัวมัน เป็นตัวตน เป็นอัตตาทั้งหมด เป็นอนัตตาก็เป็นสิ่งที่ว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้เราก้าวเดิน สิ่งที่เราก้าวเดินมันจะเป็นไปได้อย่างไร มันถึงต้องสร้างตรงนี้ขึ้นมาให้เป็นสภาวธรรมไง สร้างขึ้นมาให้จิตมันละเอียดอ่อน

สิ่งที่เป็นอรหัตมรรค มหาสติ-มหาปัญญา จนสิ่งนี้เป็นความร้อยเปอร์เซ็นต์ของใจดวงนั้นนะ แล้วย้อนกลับเข้าไปถึงจะจับมันได้ ถ้าจับตัวอวิชชาได้ อวิชชาชักจูงให้เราล้มลุกคลุกคลานมาตลอดเลย ถ้าจับตัวอวิชชาได้ ปัญญาญาณอย่างละเอียดนี้มีมหาศาลเลย ปัญญาอย่างที่เราใช้ขึ้นมานี่ มันเป็นความมหัศจรรย์นะ มหัศจรรย์เพราะปัญญานี่เราใช้มาตลอด มีความมหัศจรรย์มาก ชำระกิเลสอีกอย่างหนึ่ง เราก็ว่าเรารู้เต็มที่แล้ว เราเข้าใจเต็มที่แล้ว จะไม่มีสิ่งใดจะลึกลับไปกว่านี้อีกแล้ว เพราะเรารู้มาหมดแล้ว

พอผ่านตรงนี้เข้าไป ไปถึงข้างบน มันยังลึกลับกว่าอีก มันยังมหัศจรรย์กว่าอีก พอมันชำระ มันต่อสู้กันด้วยความมุมานะ ด้วยความต่อสู้ของเรา ด้วยความจงใจของเรามหาศาลเลย พอทำลายไปแล้วเราก็รู้แล้วนะ สิ่งที่ว่าละเอียดอ่อนเรารู้แล้วจะไม่มีอะไรหลอกเราได้อีก ขึ้นไปมันจะเจออย่างนี้ ๆ ตลอดเลย แล้วไปเจอตัวอวิชชามันยิ่งมหัศจรรย์กว่านั้นอีก เห็นไหม แล้วใช้ปัญญาอะไรไปชำระมันล่ะ ปัญญาอย่างการใคร่ครวญ ปัญญาขันธ์คือสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง นี่เป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งนี้ถ้าทำแล้วเป็นอุทธัจจะ มันจะสะเทือนหัวใจ มันเป็นสังโยชน์ มันเป็นสิ่งที่จิตส่งออก จิตส่งออกมาที่ขันธ์ สิ่งที่เป็นขันธ์คือสังขารปรุง

ถ้ามันส่งออกมา แล้วมันส่งออกมาข้างนอกแล้วกิเลสมันอยู่ข้างใน มันชำระกันได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้ มันถึงต้องย้อนกลับ มันเป็นปัญญาญาณที่ละเอียดมาก เป็นน้ำซับน้ำซึมที่เข้าไปทำลายตัวนั้น นี่พลิกตัวนี้สิ้นไป กระบวนการของมันเห็นไหม นี่อวิชชา ฆ่าอวิชชาแล้วมันจะ...อวิชชาจะชักจูงใครล่ะ ชักจูงไปจนล้มลุกคลุกคลาน แล้วเราทำลายตัวอวิชชาออกทั้งหมด แล้วฆ่ามัน นี่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ต้องทำลายมัน

การพยายามประพฤติปฏิบัติ มันรักมันสงวน มันรักษา มันไม่กล้าทำอะไรหรอก โลกนี้เป็นการสงวนการรักษา กิเลสตัณหาความทะยานอยากปกป้องแล้วมีตัวตนยึดมั่นถือมั่น ไม่มีใครสามารถทำได้ แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลึกลับมหัศจรรย์มาก ความมหัศจรรย์อันนี้ถึงประเสริฐมาก แล้วเราเป็นชาวพุทธ พบพระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติแล้วเกิดขึ้นมาจากหัวใจของเรา ถ้าเราทำลายตรงนี้ได้ เห็นไหม เราฆ่าอวิชชา

“มารเอยเธอเกิดจากความดำริของเรา เธอจะเกิดจากจิตของเราไม่ได้อีกเลย เพราะเราได้ทำลายเรือนยอดของเธอแล้ว นายช่างใหญ่ผู้สร้างบ้านสร้างเรือนในวัฏฏะ เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ นายช่างใหญ่นี้จะไม่สามารถสร้างรวงรังสร้างเรือนขึ้นมาจากใจดวงนี้ได้อีกเลย” ใจดวงนี้เป็นอฐานะที่จะพูดอยู่กับโลกนี้ เอวัง