เทศน์บนศาลา

รื้อแล้วสร้าง

๒๘ ก.ย. ๒๕๔๗

 

รื้อแล้วสร้าง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจนะ ตั้งใจฟังธรรม ธรรมะมีโอกาสฟังได้ยาก ธรรมะนี่ พูดถึงว่ากาลเวลามันผ่านไปตลอด ธรรมมีอยู่ชั่วครั้งชั่วคราวนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ธรรมถึงมี ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มาตรัสรู้ธรรม มีอย่างสูงก็พระปัจเจกพุทธเจ้า

คำว่า “พระปัจเจกพุทธเจ้า” คือว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เอง เป็นผู้ที่ค้นคว้าเองนะ พระปัจเจกพุทธเจ้านี่เป็นผู้ค้นคว้าเอง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ค้นคว้าแล้ววางธรรมไว้ได้ไง วางธรรมคือบัญญัติศัพท์ เป็นธรรม เป็นขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่ว่าเป็นบัญญัติเป็นบาลีออกมา แล้วเราก็ถือสิ่งนี้มากัน

นี่ฟังธรรมกันเป็นกาลเป็นเวลา ถ้ามีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นคว้าธรรมขึ้นมาให้เรา เราก็จะมีโอกาส แต่ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ถึงกาลหมด ศาสนาจะเสื่อมไป เสื่อมไปที่ไหนล่ะ เราว่าถ้าศาสนาจะเสื่อมไป ดูสิ มันไม่น่าจะเป็นไปได้นะ เพราะอะไร เพราะพระไตรปิฎก ในตู้พระไตรปิฎกก็มีอยู่แล้วในหนังสือ เดี๋ยวนี้อยู่ในคอมพิวเตอร์นะ โปรแกรมก็มีนะ แล้วเราคิดทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วย แบบว่าสิ่งใดเราทำในแคปซูล เราฝังไว้ในดิน ฝังไว้ต่างๆ ทุกคนจะมาค้นคว้าสิ่งนี้ได้ไง ทางวิทยาศาสตร์เราคิดของเรา

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ๕,๐๐๐ ปี เพราะว่าอะไร เพราะเราจะไม่เชื่อ เราไม่เชื่อกัน ในปัจจุบันนี้เราก็ว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราวางกันนะ เราเชื่อมั่น ผู้มีศีลมีศรัทธา ถ้าผู้มีศรัทธานี่ผู้ที่มีวาสนา คนที่เขาไม่มีศรัทธาเขาถามกลับนะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ ศาสนามีจริงหรือ เขาไม่รู้ขนาดนั้นนะ นี่เวลาเขามืดบอด หัวใจเขามืดบอดขนาดนั้น แต่เพราะเรามีศรัทธา เรามีความเชื่อของเรา

หลวงตาถึงบอกว่า เขาโคกับขนโคไง สิ่งที่ขนโคคือโลกเขาอยู่กันแบบขนโค เขาโคคือผู้ที่จะประพฤติปฏิบัตินะ ผู้ที่จะค้นคว้าหาตัวเองให้เจอ

ถึงว่าฟังธรรมนี้เป็นแสนยาก สิ่งที่แสนยาก เพราะ ๑. ต้องมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมก่อน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาเพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างสมบุญญาธิการมา ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ต้องเป็นพระโพธิสัตว์นะ ๔ อสงไขย แสนมหากัป ๘ อสงไขย ๑๒ อสงไขย สิ่งนี้สร้างมานะ ตายเกิดๆ เวียนในวัฏฏะนี้เพื่อสร้างสมสิ่งนี้มา เพื่อจรรโลงจิตใจตัวนี้ไง

จิตใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตใจของสัตว์โลก ถ้าได้สร้างสมบุญญาธิการมา จะเข้ามาใกล้ชิดกับความเชื่อ จะมีหลักมีเกณฑ์ของหัวใจ หัวใจไม่หลักลอยนะ คนที่หลักลอยคือคนที่ไม่เชื่อศาสนา เขาสร้างของเขามาน้อย อินทรีย์เขาไม่แก่กล้าไง อินทรีย์แก่กล้าคือ อินทรีย์คือสังวรระวังในอินทรีย์ ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็หัวใจด้วย

ถ้ามีอินทรีย์แก่กล้า มันมีสัจจะนะ มีสัตย์ คำว่า “มีสัตย์” มีศีลต้องมีสัตย์ คนไม่มีสัจจะมันจะเอาศีลมาจากไหนล่ะ คนโลเลคนที่ไม่มีจุดยืน คนที่ไปไหลตามกระแสไป นี่คนไม่มีสัตย์ ศีลมันจะเกิด เกิดก็เกิดแต่ว่ารับต่อพระไง พอเผลอไปมันก็ลืมเลือนไป ถือธรรมไปโดยความพลั้งเผลอ เห็นไหม

แต่ถ้าคนมีสัตย์นะ จะมีสัจจะ จะตั้งของตัวเองไว้ จะไม่ยอมผิดศีล ไม่ยอมผิดคำพูดของตัวเอง ตัวเองมีคำสัตย์ มีคำสัตย์เพราะอินทรีย์แก่กล้า ถ้าอินทรีย์แก่กล้า มีจุดยืนของตัวเอง สิ่งที่จุดยืนของตัวเอง

เรามีศรัทธา มีความเชื่อ นี่ศาสนาเจริญ เจริญตรงนี้ คำว่า “ศาสนาเจริญ” ไม่ใช่ตู้พระไตรปิฎก ไม่ใช่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มันจะเจริญอย่างนั้นหรอก มันไม่มีชีวิตจิตใจหรอก มันมีสภาวะแบบนั้นนะ เห็นไหม เกิดแผ่นดินไหว เกิดวาตภัย สักอย่างไปนี่ ฟังสิ แม้แต่ทวีปหายไปเป็นทวีปๆ นะ อย่าว่าแต่ประเทศเลย แล้วยิ่งสิ่งที่สร้างไว้ในตู้พระไตรปิฎก อยู่ในประเทศมันหายได้ มันถึงคราวหมดยุคหมดสมัยของมัน มันจะเป็นไปตามประสาของมันนะ

แต่หัวใจนี้ไม่นะ หัวใจนี่เกิดตายๆ ในวัฏฏะนี้มาตลอดนะ เกิดตายๆ ในวัฏฏะ มันมีสภาวะแบบนั้น มันมีความเป็นอยู่ เพราะมีธาตุรู้ตัวนี้ ไม่เคยบุบสลายไป แต่การเกิดการตายในวัฏฏะ ในสถานะของมนุษย์ ในสถานะสัตว์ ในสถานะของเทวดา ของอินทร์ ของพรหม ชั่วคราวหนึ่ง คราวหนึ่ง อยู่ในคราวหนึ่งของเขาต้องหมดอายุขัยของเขาไป นี่เวียนไปตามสภาวะแบบนั้นไง ใจนี้ไม่มีบุบสลาย ใจนี้ไม่เคยตาย แต่ตายในสถานะของภพ ตายในสถานะของมนุษย์ ตายในสถานะของเทวดา ของอินทร์ ของพรหม เพราะเขาต้องหมดอายุขัยของเขา นี่เวียนไปสภาวะแบบนั้น

แต่ในปัจจุบันนี้มันเป็นโอกาสมหาศาลเลย เพราะเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วศาสนาเจริญรุ่งเรืองในหมู่ของกรรมฐานนะ เจริญรุ่งเรืองในหมู่ของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ในพระป่าของเราเท่านั้นนะ

ในการประพฤติปฏิบัติของสัตว์โลก ในการประพฤติปฏิบัติของลัทธิต่างๆ แม้แต่เป็นชาวพุทธเหมือนกัน แต่ลัทธิการปฏิบัติของเขา เห็นไหม เขาปฏิบัติตามๆ กันมา สิ่งที่ตามๆ กันมานี่เชื่อตามครูบาอาจารย์ของเขามา แต่ครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่เจริญรุ่งเรืองในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนนะ แล้วก็สงฆ์ ๖๐ องค์นะ ทั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น ๖๑ องค์ พ้นจากบ่วงของโลกและบ่วงที่เป็นทิพย์แล้วเผยแผ่ศาสนามาไง นี่ความเจริญรุ่งเรืองมันเจริญรุ่งเรืองในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เวลาเผยแผ่ศาสนาออกไป หลักเกณฑ์นี้มีแล้ว สัจธรรมความจริงมีแล้ว

เวลาพระอโศกมหาราชมีศรัทธา มีความเชื่อ สร้างวัดมหาศาลเลยนะ นี่ผลต่อเนื่องมา เวลาศาสนาเจริญ เจริญมาก เจริญในเรื่องวัตถุ ในเรื่องสิ่งที่ว่าสัตว์โลกเชื่อในศาสนาแล้วประพฤติปฏิบัติ

พระจุนทะถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ เผยแผ่ธรรม ทำไมพระอรหันต์มากล่ะ แล้วธรรมวินัยก็ไม่มีนะ เพราะผู้ที่ทำผิดยังน้อยอยู่ เห็นไหม แต่พอช่วงท้าย ช่วงก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ธรรมวินัยมีบัญญัติมากขึ้นมามหาศาลเลย เพราะอะไร เพราะฉัพพัคคีย์ เพราะพระที่บวชเข้ามาแล้วสร้างปัญหาขึ้นมา พอมีปัญหาขึ้นมาก็บัญญัติธรรม บัญญัติวินัยขึ้นมา วินัยมีมาก กฎระเบียบมีมาก แต่พระอรหันต์มีน้อยลง

นี่ก็เหมือนกัน เวลาพระเจ้าอโศกมหาราช สิ่งที่พระเจ้าอโศกมหาราชจะทำสังคายนาเพราะอะไร เพราะว่าความเชื่อเรื่องศาสนา มันเป็นจริงในใจของผู้ที่สิ้นกิเลส มันเป็นจริงในใจของผู้ที่มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อบาป นี่จรรโลงศาสนาไว้ ลาภสักการะมหาศาลไง ในเมื่อมีลาภสักการะมหาศาล คนก็แอบบวชปลอมบวชเข้ามาในศาสนา แอบบวชปลอมบวชมันก็ได้แต่รูปแบบ แล้วเวลาอริยสัจก็ไม่เข้าใจ สิ่งต่างๆ ไม่เข้าใจ จนสุดท้ายพระเจ้าอโศกฯ จับสึกนะ พระเจ้าอโศกมหาราชจับพระสึก แล้วทำสังคายนา แล้วจับพระสึกๆ

สึกออกไปเพราะอะไร เพราะบวชสักแต่ว่าบวชไง บวชเข้ามาแล้วไม่ศึกษาธรรมวินัย ไม่ประพฤติปฏิบัติ ไม่พยายามประพฤติปฏิบัติ แล้วศาสนาเรียวแหลมมา เรียวแหลมมาเพราะสภาวะแบบนั้นไง สภาวะแบบว่าบวชมา บวชแต่ร่างกายไง ไม่ได้บวชหัวใจ หัวใจไม่สามารถเข้าถึงธรรมได้ แล้วศาสนาจรรโลงมา

แต่ขณะที่ว่าจรรโลงขนาดไหน ในต้นไม้ในป่า มันก็มีต้นไม้ที่เป็นแก่นก็มี เป็นกระพี้ เป็นเปลือก เป็นไม้ล้มลุกก็มีในป่า ในศาสนาเราก็มีผู้ที่มีหลักมีเกณฑ์มาตลอด มีหลักมีเกณฑ์คราวหนึ่งก็ส่งเสริมศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาหนหนึ่ง

ในจนปัจจุบันนี้ไง หลวงปู่มั่นประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเพราะหลวงปู่มั่นสร้างสมบุญญาธิการมา ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์เหมือนกัน แล้วพอปรารถนาพระโพธิสัตว์เวลามาประพฤติปฏิบัติไง บวชด้วยอำนาจวาสนา คนเราบวชด้วยอำนาจวาสนาถึงคราวถึงเวลา เรื่องของกรรม กรรมสั่งสมมา กรรมขับไสมา กรรมดำเนินมาขนาดที่ว่า เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วออกประพฤติปฏิบัติ ค้นคว้าขนาดไหน

สิ่งที่การค้นคว้านี่ ค้นคว้าไปขนาดไหนก็แล้วแต่ มันเป็นสิ่งที่ว่ามันเป็นเรื่องของกิเลสพาทำไง สิ่งที่กิเกสพาทำมันมีกิเลสอยู่ในหัวใจ ความฟุ้งซ่าน ความคิด ความจินตนาการ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขนาดไหน เพราะตู้พระไตรปิฎกก็มี ครูบาอาจารย์ที่เป็นหลักเป็นเกณฑ์ก็มี เป็นหลักเป็นเกณฑ์ในฝ่ายปริยัตินะ อย่างเช่นเจ้าคุณอุบาลี ครูบาบาอาจารย์ต่างๆ มีอยู่ ศึกษามาขนาดไหนก็ศึกษามาด้วยสัญญาไง สัญญาความจำได้หมายรู้ ความฟุ้งซ่าน เห็นไหม ความคิด ความปรุง ความแต่งเกิดขึ้นในหัวใจ สิ่งนี้เราต้องรื้อ รื้อค้นนะ รื้อค้นทำลายให้เป็นสมถกรรมฐาน แล้วยกขึ้นวิปัสสนาเป็นวิปัสสนากรรมฐาน

สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานเกิดขึ้นมา ต้องรื้อค้น รื้อค้นแล้วก็ต้องสร้างสม สิ่งที่สร้างสมเพราะหลวงปู่มั่นท่านทำของท่านมา ท่านค้นคว้าของท่านนะ เวลาท่านรื้อค้น รื้อของท่านนะ รื้อคือว่าทำจิตใจให้สงบเข้ามา แล้วเวลาจะวิปัสสนามันไปไม่ได้ สร้างไม่ได้ สร้างไม่ได้เพราะองค์หลวงปู่มั่นท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์

สิ่งที่เป็นพระโพธิสัตว์ สิ่งนี้เวลามันสงบเข้ามา สิ่งที่สงบเข้ามาในใจของหลวงปู่มั่นก่อน สิ่งที่หลวงปู่มั่นสงบเข้ามา แล้วมันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันสร้างไม่ได้ไง สิ่งที่สร้างไม่ได้เพราะสมบัติเก่า สิ่งที่สมบัติเก่า ความอาลัยอาวรณ์ ความติดข้องในหัวใจนั้น ติดข้องในสมบัติของพระโพธิสัตว์ ถึงต้องสละสิ่งนี้ออก ถึงวิปัสสนาเข้ามาไง การวิปัสสนานั้นเป็นการสร้างสมนะ สิ่งที่สร้างสมการประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมานี่ถึงต้องมีการสร้างไง

แต่ในลัทธิต่างๆ ศาสนาพุทธเรานี่แหละ ในลัทธิการประพฤติปฏิบัติ เขาก็รื้อค้นของเขา เขาว่าการปฏิบัติของเขา เขารังเกียจนะ รังเกียจสมถกรรมฐาน ต้องเป็นวิปัสสนากรรมฐาน สิ่งที่จะเป็นวิปัสสนากรรมฐานต้องกำหนดนามรูป กำหนดคำเป็นปรมัตถ์ สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ ถ้าเป็นสมมุติ สิ่งที่กำหนดพุทโธนี่เป็นสมมุติ สิ่งที่เรากำหนดกันเป็นคำบริกรรมนี่เป็นสมมุติทั้งหมดเลย ต้องกำหนดปรมัตถ์

สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ก็เป็นสมมุติเพราะเขาสมมุติขึ้นมา เขารังเกียจนะ รังเกียจขนาดไหน แต่เวลาเขาประพฤติปฏิบัติของเขา เขาค้นคว้าของเขาเข้าไป มันเป็นการรื้อ เป็นการทำลายนะ เวลาเราจะสร้างบ้านปลูกเรือน เรามีบ้านอยู่แล้วในพื้นที่ของเรามีอยู่จำเพาะขนาดนี้ เราจะสร้างสิ่งต่างๆ เราต้องทำลาย ต้องรื้อสิ่งนั้นออกไปก่อน การรื้อออกไปเพื่อจะสร้างบ้าน การรื้อไง

นี่ก็เหมือนกัน อารมณ์เกิดขึ้นมาจากจิต สภาวะของจิตนี้คือตัวธาตุรู้ สิ่งที่ตัวธาตุรู้คือตัวภวาสวะ คือตัวจิตนี้มันพาตายพาเกิดมา สิ่งที่พาตายพาเกิดมามันมีอารมณ์เกิดขึ้น มันมีกิเลสเป็นเจ้าปกครองอยู่ตลอดมา อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อยู่ในหัวใจนี้ไง

เวลาประพฤติปฏิบัติเราเข้าใจว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติ เราเข้าใจของเรานะ สิ่งที่เราเข้าใจคือเราทำกำหนดคำบริกรรมก็ได้ กำหนดของเขาขึ้นมา นั้นคือการรื้อการทำลาย ทำลายกิเลสไง ให้กิเลสมันสงบยุบยอบตัวลง ถ้าเราทำลายกิเลส

การรื้อค้น ดูสิเวลาเขารื้อ เวลาเขาทำลายตึกสูงๆ ตึกใหญ่ที่มันเก่า มันหมดอายุ เขาต้องทำลายของเขา เห็นไหม การทำลายนั้นมันก็ต้องมีบริษัทนะ บริษัทรับเหมา มีการต่างๆ เพื่อต้องทำลายสิ่งนั้นออกไป มันการทำลายอย่างนั้น มันก็ต้องใช้แรงงานอาบเหงื่อต่างน้ำเหมือนกัน สิ่งที่อาบเหงื่อต่างน้ำ แดดออกฝนตกเราต้องทำงานกลางแดดกลางฝนเหมือนกัน สิ่งที่การกระทำอย่างนั้นมันเป็นการรื้อ เป็นการทำลาย มันไม่ได้เป็นการสร้าง

แต่ถ้ามันเป็นกิเลสพาคิด สิ่งที่ลัทธิต่างๆ เขาคิด นามรูปคืออาการของใจ สิ่งที่อาการของใจมันเกิดขึ้น เกิดดับในหัวใจ สิ่งที่กำหนดนามรูป มันก็ปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามา นั้นเป็นการทำลายนะ เป็นการรื้อ เป็นการทำลาย ทำลายบ้านหลังเก่า ทำลายซึ่งสิ่งที่เป็น อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ทำลายสิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากของใจไง

ถ้าทำลายสิ่งนี้ เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เราเป็นการทำลาย เป็นการรื้อ เป็นการทำลาย ทำลายสิ่งที่เป็นโลกียะ สิ่งที่เป็นปัญญาโลก มันก็ต้องใช้ปัญญาเหมือนกัน มันต้องใช้การกระทำเหมือนกัน สิ่งที่การกระทำนี้ เขาคิดว่าสิ่งนี้คือวิปัสสนา นี่ความคิดของกิเลส

การทำลาย การรื้อค้น การทำลายทิฏฐิมานะ ทำลายความเห็นผิด นี้เป็นการทำลาย เป็นสมถะทั้งหมด จะปฏิเสธว่าเป็นสมถะ รังเกียจความว่าเป็นสมถะ แต่การกระทำของมันเป็นสมถะโดยข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็นสมถะโดยข้อเท็จจริง แล้วไม่กล้าสร้าง สร้างไม่เป็น สร้างไม่ได้ เพราะกิเลสพาทำไง กิเลสยึดมั่นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ถ้าเรามีการก่อสร้าง การทำลายออกไปนี้ มันเป็นการนอกเหนือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปีนะ

การทำลาย การรื้อทำลายกิเลสตัณหาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปศึกษากับลัทธิต่างๆ นี่ ๖ ปีนะ การทำขนาดไหน สิ่งที่ทำรุนแรงขนาดไหน สิ่งนั้นว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค ก็ได้บัญญัติไว้ในธรรมวินัยนี้ เพราะประพฤติปฏิบัติกับเขา เขามีความเข้มแข็งขนาดไหน เพราะต้องทำให้เหนือเขา เพราะอะไร เพราะคิดว่าการกระทำอย่างนี้คือการชำระกิเลส ถ้าการชำระกิเลสก็ต้องทำ

เพราะคนจะพ้นจากกิเลส คนจะทำลายกิเลส ทำลายการเกิดและการตาย สิ่งที่ทำลายก็พยายามทำสภาวะแบบนั้น สิ่งที่ทำมานี่เป็นความผิดพลาดมาทั้งหมดเลย แล้วมาบัญญัติไว้นะว่า สิ่งที่เป็นอัตตกิลมถานุโยคคือสภาวะแบบนั้น แต่ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บัญญัติไว้แล้วนี้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา

แม้แต่ธุดงควัตร การขัดเกลากิเลส การขัดเกลากิเลสคือการรื้อและทำลายความทิฏฐิมานะความเห็นผิดนั้นให้เข้ามาหามรรคญาณให้ได้ แต่ในการประพฤติปฏิบัติในลัทธิในความคิดเห็นของเรา เห็นไหม เราคิดว่าสิ่งนี้มันเป็นสมมุติ จะต้องเป็นปรมัตถ์ เป็นมรรคของเรา มรรคในมรรคของการควบคุมโดยกิเลสไง สิ่งที่กิเลสควบคุมอย่างนี้ กิเลสควบคุมของเรา เราไม่กล้าสร้าง มันเป็นการทำลาย เขาคิดว่าสิ่งนี้เป็นงานแล้วก็เป็นวิปัสสนาด้วยนะ วิปัสสนาเพราะอะไร เพราะได้เห็นการทำลายของมัน นั้นมันเป็นการรื้อ เป็นการทำลายเรื่องของโลกียปัญญา

สิ่งที่เป็นโลกียปัญญา ใช้ปัญญาขนาดไหนมันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิไง ความเห็นอย่างนี้ถ้าพิจารณานามรูปที่อาการของใจ มันปล่อยวางมา มันก็ปล่อยวางมาเข้าแค่แต่เป็นความสงบเท่านั้น เป็นสมถะโดยข้อเท็จจริงนะ จะปฏิเสธความเป็นสมถะ ปฏิเสธการปล่อยวางเป็นไปไม่ได้เลย

แต่เพราะเป็นลัทธิความคิดความเห็น มันไม่เหมือนกับองค์หลวงปู่มั่นเราผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม ต้องรื้อแล้วสร้าง รื้อก่อน รื้อเพราะต้องการกำหนดคำบริกรรมพุทโธๆ เข้ามานี่เป็นคำบริกรรมจะว่าเป็นสมมุติ จะเป็นสิ่งที่ว่าไม่มีคุณค่าต่างๆ นั้นเป็นความคิดเห็นของกิเลสตัณหาความต่อต้านของกิเลสที่มันพยายามขับไส แต่ผู้ที่ทำงานเป็น ผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ของเรา ให้กำหนดพุทโธๆ ขึ้นมานี่เพื่อให้จิตนี้สงบเข้ามา ถ้าจิตนี้สงบเข้ามามันก็เป็นสมถะ สิ่งที่ต้องเป็นสมถะเพื่อจะเห็น ยกขึ้นไปเป็นวิปัสสนา

ถ้าเป็นวิปัสสนาคือการสร้างงาน สิ่งที่สร้างงานนั้นเป็นภาวนามยปัญญา สิ่งที่เป็นภาวนามยปัญญา งานอันนั้นมันจะทำให้ใจดวงนี้ประเสริฐเลิศเลอขึ้นมา ถ้าไม่มีงานสิ่งนี้ มันเป็นการรื้อทำลายกิเลส รื้อทำลายกิเลสเข้ามาเป็นสมถะเท่านั้น

แต่เพราะเป็นลัทธิ เป็นความเห็นผิด เป็นความเห็นผิดของครูบาอาจารย์ที่ชี้นำกันมา ว่าศาสนา ๒,๕๐๐ ปี เวลาเสื่อมจากใจของสัตว์โลก ศาสนามีอยู่ เราค้นคว้าขนาดไหนก็ได้ พระไตรปิฎกก็มี สิ่งใดก็มี แต่ขณะที่ว่าไม่มีครูไม่มีอาจารย์ มันมีความผิดพลาดอย่างนี้ ทำให้เกิดความเนิ่นช้า ๑ เกิดความหลงผิด เกิดความเห็นผิดของกิเลสตัณหานะ ทั้งๆ ที่ว่าเราจะประพฤติปฏิบัติเพื่อจะชำระกิเลส แต่เป็นการประพฤติปฏิบัติเพื่อสั่งสมกิเลส

แม้แต่เราดูบ้านเรือนสิ ดูสิ่งที่เป็นโบราณวัตถุ เห็นไหม สิ่งที่เป็นโบราณวัตถุจะมีคุณค่ามากเลย เพราะอะไร เพราะบอกถึงความเป็นอยู่ของสัตว์โลก บอกความเป็นอยู่ของมนุษย์เราว่าเกิดมาอยู่เป็นพันๆ ปี เป็นหลายๆ พันปี สิ่งนี้เราต้องพยายามถนอมรักษา สิ่งที่เขาถนอมเขารักษาของเขาเพื่อเป็นประโยชน์กับโลกใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกันในการรื้อในการทำลาย เพราะจิตนี้มันเกิดมันตายมาไม่มีต้นไม่มีปลาย เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนไปในบุพเพนิวาสานุสติญาณ สิ่งนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย จิตนี้เกิดตาย เกิดตายมาตลอด

สิ่งที่มันเป็นถาวรวัตถุ สิ่งที่ว่ามันเป็นมีคุณค่า คือสภาวะของใจนี่ไง สิ่งที่สภาวะของใจมันก็ไปถนอมไปรักษา สิ่งที่ถนอมรักษาเพื่อคิดว่าเป็นการทำลายกิเลส เป็นการถนอมรักษาสิ่งที่เรารื้อเราทำลายตึกรามบ้านช่องเพื่อเราปลูกบ้านแปลงเมืองของเราขึ้นมา เราต้องรื้อต้องทำลาย

แต่ถ้ามันเป็นถาวรวัตถุนี่มันเป็นการจะรักษา การจะบูรณะของมัน มันยิ่งต้องทำความละเอียดอ่อนเข้าไป ยิ่งละเอียดอ่อนขนาดไหน ยิ่งพยายามทำขึ้นมาด้วยความทะนุถนอมขนาดไหน คิดว่าสภาวะนี้เป็นธรรมไง สิ่งที่เป็นธรรม “อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ” นี่อวิชชาพาทำ

สิ่งที่อวิชชาพาทำ เราถนอมรักษาขนาดไหนมันยิ่งเกิดทิฏฐิมานะไง ทิฏฐิมานะว่าเรามีปัญญามาก เราทำตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราสงวนรักษาอวิชชาต่างหากล่ะ เราไม่ใช่สงวนรักษาสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุนะ

สิ่งที่เป็นถาวร เป็นวัตถุ เป็นโบราณสถาน มันเป็นสิ่งที่ว่าประดับไว้ในโลก มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นประโยชน์กับโลกมหาศาล มันเป็นสิ่งที่เป็นศีลธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นสินค้าก็ได้ ในการเที่ยวในทางวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นวัฒนธรรม เขาจะไปดูสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมเพื่อเห็นความเจริญรุ่งเรืองของยุคสมัย

แต่ในหัวใจของเรา ถ้าเรามีความผิดพลาดของเราขนาดนั้นนะ เราถนอมรักษาว่า “สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม” สิ่งนี้เป็นกิเลสทั้งนั้น กิเลสในหัวใจ เห็นไหม นี่การรื้อค้นแล้วไม่มีการสร้าง เพราะกิเลสพาทำไง เพราะเป็นลัทธิ เป็นตัณหานะ

เถรวาทเราเชื่อมั่นในครูบาอาจารย์ของเรา เถระ ๕๐๐ องค์ที่ทำสังคายนามาตั้งแต่สมัยพุทธกาลนะ พระกัสสปะ พระ ๕๐๐ องค์ทำสังคายนามา แล้วบัญญัติธรรมวินัยมา ว่าเถรวาทเป็นสิ่งที่ว่าเป็นที่ผู้ที่เราชาวพุทธที่ประพฤติปฏิบัติถือเป็นครูบาอาจารย์ เราจะไม่แก้ไข ไม่แต่งเติมธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เราประพฤติปฏิบัติมา แล้วก็เกาะนะ ยึดมั่น สิ่งนี้สิ่งที่ว่าเป็นถาวรวัตถุ สิ่งที่เป็นธรรมวินัยแล้วก็ยึดไง ยึดจนไม่มีการสร้างให้ธรรมเป็นสิ่งที่เป็นธรรมในหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่มีการสร้างความเป็นไปของใจดวงนั้นจะไม่ได้ลิ้มรสของธรรมเลย

แล้วทำขนาดไหน “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” สภาวธรรมที่เกิดขึ้นมานี่ เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปเห็นไหม แล้วสภาวธรรมของเรา สภาวธรรมที่เราพิจารณากำหนดสิ่งต่างๆ ขึ้นมาที่เป็นปรมัตถ์ทั้งหมดนี่แหละ เราพิจารณาของเรา เราดูของเราขึ้นมาให้มันปล่อยวางขนาดไหนขึ้นมา

ปล่อยวางแล้วขยับเขยื้อนไม่ได้ ขยับเขยื้อนออกไปมันจะเป็นนอกธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ้าขับเขยื้อนไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พูดไว้ในธรรมนะ สิ่งนี้มันเป็นคติเตือนใจ แต่เพราะไม่มีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่รู้จริงสิ่งนี้เป็นคติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ธรรมเป็นพาหะ เป็นเครื่องดำเนิน ถึงทำให้จิตนี้เข้าถึงฝั่งแล้วเราต้องทิ้งพาหะ ทิ้งเครื่องดำเนินนั้น ทิ้งแพ

เราต้องต่อแพ การกระทำสิ่งที่การกระทำคือมรรคญาณจะเกิดขึ้น มรรคเกิดขึ้นมา เราต้องสะสมของเราขึ้นมา สิ่งที่สะสมขึ้นมาเพื่อประโยชน์กับใจของเรา เห็นไหม แล้วถ้าเรามีแพ มีพาหะ ที่จะพาให้เราข้ามกามโอฆะสิ่งนี้ได้ พอข้ามกามโอฆะขึ้นถึงฝั่งแล้วเราจะต้องทิ้งแพ เราจะต้องขึ้นจากแพนั้น เห็นไหม

แต่นี้เราขยับเขยื้อนจากนั้นไม่ได้ เราจะกอดแพของเราจนตายนะ เรากอดแพของเราอยู่ในโอฆะ อยู่ในต่างๆ เห็นไหมนี่ถาวรวัตถุ เรายึดมั่น เราพยายามทำของเรา สภาวะจิตมันเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มาก สิ่งที่มหัศจรรย์เพราะไม่มีครูบาอาจารย์ชี้นำ

แต่วงปฏิบัติพระป่าเรา พระป่าเรามีหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ เป็นผู้ชี้นำมา สิ่งที่ชี้นำมาเพราะหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ เพราะสร้างสมบุญญาธิการมหาศาล สิ่งที่สร้างมามหาศาลมาค้นคว้าในธรรมวินัยนี้ก็ยังมีความลังเล มีความสงสัย นี่ปรึกษากันพยายามค้นคว้ากัน เพราะท่านสร้างบุญญาธิการของท่านมา อินทรีย์ของท่านแก่กล้ามาก แก่กล้าจนวิปัสสนา

ในประวัติของหลวงปู่มั่น ขณะที่ประพฤติปฏิบัติ มีความลังเลสงสัย ถ้าเข้าทางแล้วนะ ถ้ายังไม่เข้าทาง ยังติดอยู่ในพระโพธิสัตว์อยู่นี่มันจะเห็นสภาวะแบบนั้นไม่ได้เลย ไปภาวนาที่ไหนนะ เห็นแต่เรื่องสิ่งต่างๆ เรื่องจิตวิญญาณ เรื่องสิ่งต่างๆ ที่เขามาอวยพร เข้ามาต่างๆ สิ่งนั้นมีอยู่ แต่มันไม่ใช่อริยสัจ มันไม่หดเข้ามา

แต่พอลาสิ่งนี้แล้ววิปัสสนาขึ้นมา ในประวัติหลวงปู่มั่นที่หลวงตาเขียน เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาชี้แนะวิธีการขนาดนั้นนะ เพราะใจมันพัฒนาขึ้นมาไง ถ้าใจพัฒนาขึ้นมา สภาวะสิ่งนี้ย้อนกลับเข้าไป นี่ประพฤติปฏิบัติมาจนพระอริยบุคคลในสมัยพุทธกาลมาสาธุการ สาธุการนะ

พระไตรปิฎกไม่เชื่อนะ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติในลัทธิต่างๆ เขาไม่เชื่อของเขาอย่างนั้นนะ เขาบอกอย่างนี้เป็นการหลง เป็นการเข้าไม่ได้...นี้มันเป็นการสร้างบ้านแปลงเมืองของใจนั้น ถ้าการสร้างบ้านแปลงเมืองของใจนั้นมันมีวิชาการอย่างนี้ขึ้นมา มันเป็นสมบัติของใจดวงนั้นไง แล้วมีประสบการณ์ขนาดนี้ แล้วมาสั่งสอนพวกเรา

ถ้าเราจะทำความสงบของใจเราขึ้นมา เราต้องรื้อกิเลส รื้อทิฏฐิมานะ รื้อความเห็นผิดของเราทั้งหมด สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัตินี้ปฏิบัติโดยกิเลส โดยตัณหาความทะยานอยาก ทิฏฐิมานะเกิดขึ้นมา เราถึงต้องมีศีล แล้วถึงต้องมีสมาธิ เราถึงต้องพยายามภาวนาให้เกิดปัญญาขึ้นมา มีศีลขึ้นมาคือการทำความปกติของใจขึ้นมาให้ได้ ถ้าทำความปกติของใจขึ้นมา แล้วเราพยายามทำคำบริกรรมขึ้นมา

ถ้าเรามีคำบริกรรมของเราขึ้นมา สิ่งนี้มันเป็นคำบริกรรม มันเป็นการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันธรรมนี้ เราจะเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเรา ถ้าใจของเราไว้ในอำนาจของเรา เรากำหนดคำบริกรรมพุทโธๆ หรือทำอานาปานสติ กำหนดลมหายใจต่างๆ แล้วแต่ เห็นไหม เราจะสร้างบ้านแปลงเมืองนะ

ถ้าเราจะสร้างบ้านแปลงเมือง ใจของเราสงบไหม ถ้าใจของเราสงบ นี่นายช่างใหญ่มีนะ ถ้าเราไม่สงบ นายช่างมันไม่เกิด ถ้านายช่างไม่เกิด เราจะสร้างบ้าน สร้างที่ไหน สร้างอย่างไร เวลาเขาจะสร้างบ้านกันในโลกปัจจุบัน เขาต้องมีแปลนของเขา เขาต้องไปขออนุญาตนะ ขออนุญาตผู้ที่มีอำนาจในการอนุญาต ต้องขออนุญาต ต้องไปหาผู้รับเหมา ขอสิ่งต่างๆ เลย นี่เขาต้องทำของเขาขนาดนั้น เขาถึงจะมีที่อยู่ที่อาศัยของเขา นี้เป็นเรื่องของโลกนะ

เรื่องของโลกยังต้องมีวิธีการขนาดนั้น แต่เวลาเราจะทำในหัวใจของเราล่ะ เราปรารถนาสิ่งใด เรามีช่างสิ่งใด ผู้ที่ต้องการเรือนไทย เป็นช่างไม้ ช่างไม้จะต้องเป็นผู้ที่ชำนาญมาก เป็นผู้ที่เข้าเรือนไทยเขาเข้าลิ่มเข้าเดือยของเขา เขาไม่ใช้ตะปูนะ มีความละเอียดอ่อน คือจริตนิสัยไง ถ้าจริตนิสัยมีความปรารถนาอยากสร้างทรงไทย มันต้องมีความละเอียดอ่อน

ถ้าคนมีอำนาจวาสนา อานาปานสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ถ้าลมหายใจเข้าออก เราจะสร้างตึกสูง เราจะสร้างสิ่งต่างๆ เราจะขออนุญาตได้ไหม ขออนุญาตคือความเห็นของใจไง ถ้าใจมีความรักมีความผูกพัน สิ่งที่มีความรักมีความผูกพัน มันทำสภาวะสิ่งใด มันจะเข้ากับใจดวงนั้นไง

แต่ถ้าคนมีอำนาจวาสนาน้อย เราสร้างกระต๊อบห้องหอก็ได้ เรามีกระต๊อบห้องหอเป็นที่อยู่ที่อาศัยเราก็ทำของเราไป เห็นไหม กำหนดกาย กำหนดเวทนา กำหนดจิต สิ่งที่กำหนดจิต มันยังมีจริตมีนิสัย ถ้าสิ่งนี้มีจริตมีนิสัย มันถึงต้องสำคัญที่ครูที่อาจารย์ไง ถ้าไม่มีครูไม่มีอาจารย์ สิ่งที่เป็นจริตเป็นนิสัยเราจะเทียบอย่างไรล่ะ

ถ้าเราอยากได้บ้านเรือนทรงไทย เราไปให้คน นายช่างที่เขาสร้างกระต๊อบมา สร้างเรือนไทยของเรา มันมีแต่เสียของไง ไม้ของเราหามา ไม้สักไม้อย่างดีจะมาสร้างทรงไทยนะ นายช่างเขาเลื่อยเขาทำลายจนเสียหายไปนะ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราทำจิตของเราสงบขึ้นมา เราจะเห็นแต่คนที่เขาวิปัสสนา เขาทำอย่างไรนะ เห็นคนนั้นเขามีความสุข ความสุขนะ ลัทธิความเห็นของคนอื่นเขา ลัทธินะ ถ้าเป็นศาสนามันเป็นมรรคญาณ มันเป็นอริยสัจ สิ่งที่เป็นอริยสัจมันเกิดที่ไหน? มันเกิดที่ใจของครูบาอาจารย์ของเรา เราเป็นชาวพุทธเหมือนกัน ชาวพุทธนี่แหละ พระพุทธศาสนานี่แหละ แต่ในการประพฤติปฏิบัติ ประพฤติปฏิบัติเป็นลัทธิความเห็นของเขา เป็นลัทธิความเห็นผิด ความเห็นผิดประพฤติปฏิบัติไป ผลเกิดจากใจนั้นไม่มีผล มีแต่ความปล่อยวาง ปล่อยวาง ปล่อยวางเพราะสิ่งนี้

ฤๅษีชีไพรในสมัยพุทธกาลเขาเหาะเหินเดินฟ้าได้ ทำไมเขาฆ่ากิเลสของเขาไม่ได้ล่ะ เขาก็มีความสุขของเขา ถ้าไม่มีความสุขของเขา เขาจะใช้ชีวิตในป่าของเขาได้อย่างไร เขาเป็นฤๅษีตั้งแต่เขาออกประพฤติปฏิบัติของเขา จนเขาตายในป่าในเขาของเขา ชีวิตของเขาทั้งชีวิตเขาอยู่กับความสงบของเขา

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราพบพระพุทธศาสนาแต่เราไพล่ เราว่าเราเชื่อพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ที่พระกัสสปะสังคายนามา แล้วเราก็ยึดมั่นกอดแพอันนั้น กอดความยึดมั่นถือมั่นอันนั้น ทั้งๆ ที่การกระทำของเราคือการทำลายนะ การรื้อทำลายในโลกียฌานในความเห็นผิดของใจ ใจมันมีความเห็นผิด มันก็มีความฟุ้งซ่าน มีความเดือดร้อน มีความทุกข์

แล้วเราว่าเราประพฤติปฏิบัติตามลัทธิความเห็นของเรา ไม่ใช่ปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ที่มีความเห็นจริง ถ้ามีความเห็นจริงมันจะย้อนกลับเข้ามา ให้ทำใจให้สงบเข้ามา แล้วมันจะวิปัสสนาขึ้นมา

แต่ถ้าเราเชื่อความเห็น เชื่อตามลัทธิ มีแต่การรื้อค้น การทำลาย การรื้อเท่านั้น รื้ออารมณ์ของใจ กำหนดขนาดไหน จะเป็นปรมัตถ์ขนาดไหนก็แล้วแต่ มันเป็นเรื่องอาการของใจทั้งหมด มันเป็นสิ่งที่เห็นตรงหน้าไง มรรคหยาบๆ สิ่งที่มรรคหยาบๆ ทางโลกเขาประกอบสัมมาอาชีวะ เขาทำเลี้ยงชีพชอบ นั้นเขาว่าเป็นมรรคของเขา สิ่งนี้เขาก็ยังคิดว่าเป็นมรรคของเขาได้เลย เพราะอะไร เพราะเป็นมรรคของคฤหัสถ์เขา เป็นมรรคของผู้ที่ว่าฆราวาสธรรม สิ่งที่เป็นฆราวาสธรรมเขาถือว่าเขาเป็นฆราวาสเขาเป็นชาวพุทธ นี่เป็นเปลือกนะ พวกนี้เขาต้องการบุญกุศล เขาทำบุญกุศล เขาให้ทานของเขาเพื่อบุญกุศลของเขา

แต่เรานักรบ เราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เราจะชำระกิเลส สิ่งที่ชำระกิเลส มันก็ต้องพ้นจากฆราวาสธรรมสิ สิ่งที่เป็นฆราวาสธรรมมันก็เป็นเรื่องของทาน เรื่องของรักษาศีลอุโบสถ เรื่องของทำประพฤติปฏิบัติก็เพื่อความสุขของเขา ความสุขของเขานะ

ประพฤติปฏิบัติเพื่อความสุข เป็นชาวพุทธ เวลาจิตสงบถูกต้องไหม? ถูก นี้คือความสุข ความพอใจของเราที่เป็นชาวพุทธ เราก็ประพฤติปฏิบัติเพื่อจะเสริมสร้างให้อินทรีย์แก่กล้า ถ้ามีอินทรีย์ ความสำรวมระวังใจ อิทธิบาท ๔ ขนาดผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นไป เข้าไปถึงในหัวใจ มีอิทธิบาท ๔ จะอยู่อีกกัปหนึ่ง จะอยู่อีกกี่ปีกี่หมื่นปีก็ได้ ในเมื่อมันมีความควบคุมใจตัวนี้ได้

แต่ในเมื่อเราประพฤติปฏิบัติเพื่ออินทรีย์แก้กล้า เพื่อสังวรระวัง มันควบคุมไม่ได้หรอกเพราะอะไร เพราะกิเลสตัณหามันมีอำนาจมากกว่าเรา เวลาสิ่งที่กระทบ สิ่งนี้มันมีเชื้ออยู่ในหัวใจอยู่แล้ว แล้วมันไปกระทบรูป รส กลิ่น เสียง เวลามันกระทบขึ้นมานี่ กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันรับต่อกัน กิเลสตัณหาความฟุ้งซ่านออกไปมันเกิดเป็นพายุเลยนะ เกิดเป็นความคิดตัณหาความทะยานอยาก ทำให้เราขนาดที่ว่า ฆราวาสธรรม ผู้ที่เป็นฆราวาสเวลากระทบสิ่งนั้นมันทุกข์ร้อนนะ ทุกข์ร้อนจนถึงกับทำลายตัวเองก็ได้นะ ทุกข์ร้อนจนถึงกับขาดสติ จนหมดสติ จนถึงกับเสียสติ เสียจริตนิสัยไปก็มีมาก นี่เป็นชาวพุทธทั้งนั้นแหละ นี่ชาวพุทธทั้งนั้น

ในการประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน เราทำให้เราเสียโอกาส เสียเวลาเพราะอะไร เพราะเราไม่สามารถ ไม่เชื่อครูไม่เชื่ออาจารย์ของเรา ถ้าเราเชื่อครูเชื่ออาจารย์ของเรา เราจะย้อนกลับเข้ามา เห็นไหม ดูอำนาจวาสนา ถ้ามีอำนาจวาสนาเข้ามามันจะยกขึ้นวิปัสสนาอย่างไร นี่มรรคหยาบ สิ่งที่มรรคหยาบๆ มันเป็นมรรคความเป็นโลกียะ

ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเรามีปัญญาขนาดไหน เราใคร่ครวญขนาดไหน มันเป็นการรื้อค้น มันเป็นการทำลาย เป็นการรื้อ เป็นการทำลาย สิ่งนี้เป็นงาน เป็นงานแน่นอน ถ้าเป็นงานของเรานี่ความคิดของเรา เราไม่เคยประพฤติปฏิบัติ เราไม่มีประสบการณ์ของเรา ในเมื่อใช้ปัญญาอบรมสมาธิไล่ต้อนความคิดเข้ามา เราว่าสิ่งนี้เป็นงาน มันเป็นการรื้อกิเลส รื้อทิฏฐิมานะอันเก่าของเราเข้ามาเพื่อจะเข้าไปถึงกับพื้นที่ไง

ขอให้พื้นที่นี้มันโล่งมันว่างเพื่อเราจะได้สร้างบ้านแปลงเมืองของเรา ถ้าเรามีบ้านเรือนขึ้นมา คือเรามีธรรมขึ้นมาไง ถ้าเรามีธรรมขึ้นมาในหัวใจนะ สิ่งที่ธรรมกังวานในหัวใจมันจะต่างกับความเห็นของโลกมหาศาลเลย ความเห็นของโลก ความคิดของโลก ปรัชญา ตรรกะ เวลาเขาคุยกันทางโลก มันสื่อความหมายกันได้ แต่ถ้าเป็นอริยภูมินะ มันสื่อกับความหมายของโลกไม่ได้เด็ดขาด เรื่องสัญญาอารมณ์ต่างๆ จะเข้าถึงจินตนาการอย่างนี้ไม่ได้ ถ้าเข้าถึงจินตนาการนี้ได้ มันจะทำลายกิเลสตัณหาได้อย่างไรล่ะ

ถ้ามันทำลายกิเลสตัณหา สิ่งนี้ต้องก่อสร้างไง ถ้าสิ่งนี้เป็นการก่อสร้าง ครูบาอาจารย์เราพาก่อสร้างนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างขึ้นมาก่อน สร้างขึ้นมาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เวลาศึกษาเล่าเรียนกับลัทธิต่างๆ อยู่กับอาฬารดาบส จิตสงบ ได้สมาบัติด้วย อาฬารดาบสยกย่องอยู่แล้ว ยกย่องว่ามีความเห็นเสมอกัน เห็นไหม แค่จิตสงบมันทำลายกิเลสไม่ได้หรอก

นี้ก็เหมือนกัน เราพยายามพลิกแพลงของเราขึ้นมา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา มันใคร่ครวญขนาดไหนมันสงบได้ สิ่งที่เป็นความสงบนี้เป็นการรื้อทิฏฐิมานะเท่านั้น เป็นการรื้อความเห็นผิดเท่านั้น ถ้าเป็นการรื้อความเห็นผิด จิตมันจะมีความสะอาดเข้ามา ถ้าจิตมันมีความสะอาดเข้ามานี่มันไม่มีตัวตนเข้ามา สิ่งที่ไม่มีตัวตนเข้ามามันก็เหมือนพื้นที่ว่าง พื้นที่ว่างแล้วเราจะก่อสร้างบ้านของเราไหวหรือไม่ไหว

ถ้าเราก่อสร้างบ้านของเราไหว แสดงว่าอินทรีย์เรามี เรามีจริตเรามีนิสัย ถ้าเราไม่มีจริตไม่มีนิสัยมันเข้าไปเจอสภาวะแบบนั้นมันก็ติดได้ ติดว่าสิ่งนี้เป็นความว่าง ความว่างนี้มหัศจรรย์มาก เวลาจิตสงบขึ้นมาถึงอัปปนาสมาธินะ มันว่างหมด มันปล่อยวางหมด เรากำหนดพุทโธๆ เข้าไปนี่มันถึงเริ่มจากขณิกสมาธิ มีความสุขมีความพอใจพอสมควร นี่มีความสุข

แล้วถ้าเรากำหนดพุทโธเข้าไปบ่อยๆ ให้มีความชำนาญเข้าไป มันจะเข้าไปอุปจารสมาธิ ถ้าเข้าถึงอุปจารสมาธิ มีพลังงานเกิดแล้ว สิ่งที่มีพลังงานเกิดมันจะออกรับรู้ออกเห็น สิ่งที่ออกเห็นนี่พลังมันเกิดอย่างนี้ ถ้าพลังงานเกิดอย่างนี้มันจะเป็นการสร้างงาน มันเป็นความผิด ถ้าเป็นความผิดมันจะผิดไปไหนล่ะ หมายถึงว่าเป็นการรื้อทำลายเท่านั้น แล้วการก่อสร้างไม่ได้ เพราะทำไม่เป็น พอเราเกิดมีพลังงานขึ้นมา มันจะออกทำงาน ทำงาน ก็ว่าเป็นความผิดพลาด นี่เพราะจิตเป็นอุปจารสมาธิ ออกรับรู้ ออกเห็นนิมิต ออกเห็นต่างๆ ถ้าเป็นนิมิตเราก็ปล่อยวาง สิ่งที่มีอยู่ที่อำนาจวาสนานะ ถ้าคนสร้างสมบุญญาธิการมามันจะเห็นของมัน เห็นอำนาจวาสนา

เวลาจิตจิตสงบขึ้นมา ถ้าคนมีอำนาจวาสนา ขนาดที่ว่าจิตนี่ออกไปเดินจงกรมบนอากาศก็มี จิต กำหนดจิตขึ้นไป เห็นตัวเองกำหนดขึ้นมา มันก็หลุดขึ้นไปบนเมฆ ดึงลงจากบนเมฆไม่ให้มันลอยมันก็ตกลงไปถึงกับลงไปในพื้นดิน นี่จิตมันจะดึงกลับมาขนาดไหนให้มันเป็นความพอดี นี่ครูบาอาจารย์เราจะชี้นำแบบนี้ไง นี่อุปจารสมาธิ

แล้วมันเข้าไปอัปปนาสมาธิล่ะ ถ้ากำหนดพุทโธๆ ไปสติสัมปชัญญะพร้อมหมดนะ ถ้าเรากำหนดพุทโธๆ แล้วมันหายวับไป มันตกภวังค์นะ นี่สมถกรรมฐานนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเราไม่มีสมถกรรมฐานคือว่าเราไม่มีพื้นที่ทำงาน ถ้าเราไม่มีพื้นที่ทำงาน เราจะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ไหน

ธาตุรู้ จิตนี้เป็นกลาง กลางตรงนี้ จิตนี้เป็นกลาง สิ่งนี้สิ่งที่มันออกเป็นโลกียะก็ได้ ออกเป็นโลกุตตระก็ได้ ถ้ามันไปออกเป็นโลกียะก็ปัญญาความคิดของโลกเขานี่มันเป็นโลกียะทั้งหมด สิ่งนี้เป็นวิชาชีพหนึ่ง แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติเราก็ว่าเวลาเราเป็นชาวพุทธ เราประพฤติปฏิบัติ เราบวชเป็นพระเป็นเจ้า เราบวชเป็นพระแล้วเราเป็นนักรบ เราจะประพฤติปฏิบัติ เราก็ยังไปเอาความคิดของโลกียะมาใช้อยู่ เห็นไหม สิ่งนี้จะปฏิเสธไม่ได้ เพราะมันสถานะของมนุษย์ สถานะของพระที่บวชนี่เป็นปุถุชน สิ่งที่เป็นปุถุชน ความคิดมันก็ต้องเกิดขึ้น

ถึงต้องทำการรื้อแน่นอน ต้องทำให้จิตสงบแน่นอน เราต้องรื้อ ต้องทำลาย ทำลายสิ่งนี้ การทำลายนี้เป็นงานอย่างหนึ่ง แต่งานของการทำลาย งานของการรื้อ การทำลายทิฏฐิมานะ ความเห็นผิด ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ให้เป็นความเห็นถูก มิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดของเรา ในเมื่อความเห็นของเราเกิดขึ้นมา ปัญญาขนาดไหน มันฆ่ากิเลสไม่ได้ เพราะสิ่งที่เป็นกิเลสมันอยู่จิตใต้สำนึก มันอยู่ที่ธาตุรู้นี้ ถ้าอยู่ที่ธาตุรู้นี้ ถึงต้องทำให้จิตสงบนี้เข้ามา ถ้าจิตนี้สงบเข้ามา มันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา สิ่งที่มันปล่อยเข้ามาเป็นความสุข เป็นความว่างเป็นความสบายขนาดไหน

ถ้ากำหนดพุทโธๆ สติสัมปชัญญะจะพร้อมตลอด ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ จะปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา สิ่งที่เขาทำกันอยู่ เขาใช้กันอยู่นั้นเป็นปัญญาอบรมสมาธิทั้งหมด สิ่งที่เราเป็นปุถุชน เราเป็นมนุษย์ เราบวชเป็นพระก็แล้วแต่ เราใช้ความคิดของเราเป็นความคิดของเราปุถุชนแน่นอน เป็นความคิดของขันธ์ ๕ ที่กิเลสพาขับเคลื่อน กิเลสพาใช้ กิเลสมันออกไปยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของเรา แล้วออกไปยึดถึงโลกภายนอกนะ ออกไปยึด รูป รส กลิ่น เสียง

ดูสิ ถ้าเราไม่ยึด คนนินทา คนกล่าวร้าย ทำไมมันเจ็บปวด มันสะเทือนใจล่ะ เห็นความเป็นไปของโลก มันสะเทือนใจหมด แต่ผู้ที่มีธรรมนะ สิ่งนี้มันอยู่เก้อๆ เขินๆ อยู่ภายนอก มันเป็นเรื่องสภาวะกรรมของสัตว์ สิ่งนี้สัตว์มีกรรม กรรมของเขา ถ้าเขาทำกรรมของเขา

สมัยพุทธกาลที่ว่าโจรผู้ร้ายเขาไปฆ่าพระโมคคัลลานะ โจรธรรมดานี่แหละ เขาจ้างมา จ้างมาให้ไปทำลายพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์นะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย มีฤทธิ์มีเดชมากเลย แต่สภาวะกรรม ปล่อยให้เขาทุบตายเห็นไหม โจรนั้นถึงเป็นผู้ที่มีบาปกรรมมหาศาลเลย

นี้ก็เหมือนกัน ในเรื่องของโลกเขา เขาจะมองผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นหรือไม่ขึ้นก็เรื่องของเขา เขาจะนินทาว่าร้าย เขาจะกล่าวตู่ เขาจะติฉินนินทาขนาดไหนมันก็เรื่องของเขา ผู้มีธรรมนะ ถ้าผู้ไม่มีธรรมมันเดือดร้อนมหาศาลเลย เพราะหัวใจมันกระเทือนไปกับเขา เห็นไหม นี่มันออกไปยึดขนาดนั้นน่ะ

ถึงต้องทำให้ย้อนกลับมาให้เป็นกลาง เป็นกลางคือทำสัมมาสมาธิไง กำหนดพุทโธๆ นี่สำคัญมาก สิ่งที่บอกว่าปรมัตถ์ของเขา คือว่ากำหนดนามรูปเป็นปรมัตถ์ เราจะเป็นสมมุติ เป็นบัญญัติขนาดไหน กำหนดพุทโธ เพราะคำบริกรรมไง

เราเชื่อมั่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเชื่อมั่นครูบาอาจารย์ของเรา พุทโธๆๆ จิตโดยธรรมชาติของมัน โดยข้อเท็จจริงของจิตนี้มันอาศัยอารมณ์ อารมณ์ความเกิด ความคิดเป็นสิ่งที่จรมา ธรรมดาของธาตุรู้คือพลังงานตัวนี้ พลังงานของธาตุรู้คือตัวจิตที่เป็นกลางมันเป็นพลังงานของมันเป็นธรรมดา แต่เพราะมันมีกิเลสตัณหา แล้วมันไม่เคยเห็นตัวตนของมัน มันไม่เคยเข้าใจความเป็นไปของมัน มันก็ทำงานตามธรรมชาติของมันไง มันถึงทำงานออกไปรับรู้ต่างๆ นั่นแหละมันออกไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆ โดยธรรมชาติของมัน

ในเมื่อเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ คือเราใช้ปัญญาใคร่ครวญเข้ามา มันก็ปล่อยวางเข้ามาๆ นี่ นามรูปขนาดไหนคืออาการของใจ สิ่งที่กำหนดนามรูป สิ่งที่เขาคิดค้นคว้ากัน จะเป็นสิ่งต่างๆ นี่มันเป็นการรื้อ เป็นการทำลายอารมณ์อันนี้เท่านั้น

สิ่งที่การทำลาย การรื้ออารมณ์เข้ามามันไม่เป็นวิปัสสนาไปโดยธรรมชาติ ไม่เป็นวิปัสสนาโดยข้อเท็จจริงของธรรมของอริยสัจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นลัทธิ เป็นความเชื่อของเขา เขามีลัทธิมีความเชื่อของเขาว่า กำหนดจิตเห็นนามเห็นรูปขนาดไหน แล้วปล่อยวางเข้ามา เห็นไหม มันปล่อยเข้ามาตรงเป็นกลางนี่ไง มันปล่อยเข้ามาเป็นสมถะแล้วไม่มีสติของเขา มันถึงไม่เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าไม่เป็นสัมมาสมาธิ มันไม่เกิดเป็นโลกุตตรธรรม ถ้าไม่เกิดโลกุตตรธรรม มันถึงยกขึ้นวิปัสสนาไม่ได้ มันถึงไม่มีการสร้างไง

ทำลาย รื้อค้นออกมา แล้วสร้างงานไม่เป็น สิ่งที่สร้างงานไม่เป็น เพราะเขาไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ แต่พระป่า พระผู้ที่ประพฤติปฏิบัติในวงกรรมฐานของเรา เพราะหลวงปู่มั่นท่านค้นคว้าของท่านมาก่อน ถ้าท่านชี้นำของเราขึ้นมา จิตสงบขนาดไหนต้องมีพื้นฐานเข้ามา ต้องให้สงบนะ ถึงต้องให้กำหนดพุทโธๆ

โลกเขาจะติเตียน โลกเขาจะกล่าวร้ายอะไร นั่นเป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องของเขานะ ไม่ใช่เรื่องของเรา เรื่องของเราคือต้องเอาธรรม ทำหัวใจของเราให้สงบเข้ามา ถ้าหัวใจสงบเข้ามานี่มันจะเป็นสมถกรรมฐาน ถ้ากรรมฐาน มันก็เหมือนกับรื้อค้น รื้อทำลายความเห็นผิด

ถ้ารื้อทำลายความเห็นผิดแล้วสร้างขึ้นมา สร้างมรรคญาณเกิดขึ้นมา ถ้าสร้างมรรคญาณเกิดขึ้นมา ก็อยู่ที่จริตนิสัย จะสร้างตึกสูง จะสร้างกระต๊อบห้องหอ จะสร้างอะไร อยู่ที่เรา อยู่ที่จิตดวงนี้ ถ้าจิตดวงนี้สงบเข้ามามีพื้นฐาน แล้วเรายกขึ้นวิปัสสนา ถ้าจิตมีอำนาจวาสนามันจะเห็นกายโดยธรรมชาติของมัน เห็นกายต่างๆ เห็นไหม เห็นกาย เห็นจิต แล้วแต่ ถ้ามีอำนาจวาสนา เพราะเราได้สร้างบุญกุศลเข้ามา แต่ถ้าไม่มีอำนาจวาสนา ให้มันเห็นตามความเป็นจริง อย่าไปสร้างภาพ อย่าไปทำให้มันเกิดสภาวะที่ว่าสร้างสภาวะมาขนาดไหน

ดูสิ เวลาเขาจะสร้างบ้านหรือเขาต่อเติมตึก ตึกที่เขาขึ้นมาแล้วเขาต่อเติมสูงขึ้นๆ เดี๋ยวตึกมันก็ล้ม เพราะน้ำหนัก มันรับน้ำหนักไม่ไหว ถ้าตึกนั้นรับน้ำหนักไม่ไหว ตึกมันก็พังลงมา นี่ก็เหมือนกัน เวลาวิปัสสนามันมีกิเลสมีตัณหาอยู่ ถ้าเราจะไปต่อเติม เราไปต่อเติมของเรา มันถึงว่ามันเป็นการสร้าง เป็นการทำลาย ให้มันเกิดโดยสัจจะความจริงของมัน

แล้วเราจะมีปัญญาไง นี่การสร้างของเรา มรรคมันจะเกิดขึ้นมาได้ถ้าเราวิปัสสนาไปด้วยปัญญาของเรา เห็นไหม เห็นกาย พิจารณากายไปให้เป็นปฏิภาคะ เห็นกายโดยธรรม โดยปัญญาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ คือว่าจิตสงบเข้ามาโดยปัญญาอบรมสมาธิ มันจะเป็นความสงบเข้ามา แล้วยกขึ้นไปที่กาย จิตนี้สงบแล้วรำพึงไปที่กาย จับที่กายได้มันจะเห็นกายได้ เห็นจิตก็ได้ จับสิ่งนี้แล้ววิปัสสนา คือใคร่ครวญของมัน ใคร่ครวญนะ ใคร่ครวญออกไปคือใช้ปัญญาใคร่ครวญออกไป ใช้ปัญญาแยกแยะเรื่องของร่างกาย นี่คือปัญญาวิมุตติ

สิ่งที่ปัญญาวิมุตติ ถ้ามันวิปัสสนาไป มันมีกำลังนะ ถ้าจิตสงบมีพื้นฐาน กำลังจะมี วิปัสสนาไป เวลาใช้ปัญญาไปมันเข้าใจแล้วมันจะปล่อยวาง สิ่งที่ปล่อยวาง ถ้ามีอำนาจ ถ้ามีพลังงาน มันจะปล่อยวาง ปัญญานี่เป็นมัชฌิมา จะปล่อยวาง สิ่งนี้เป็นการสร้างสมทั้งนั้น เห็นไหม งานมันเกิดอย่างนี้ไง มรรคมันเกิดอย่างนี้ไง

ถ้าเราไม่สร้างมรรค เราไม่ใช้ปัญญาของเราขึ้นมา นี่ปัญญาอย่างนี้ต่างหากเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาอย่างนี้ต่างหากเป็นปัญญาชำระกิเลสนะ ไม่ใช่สัญญา จำพระอภิธรรมได้ทั้งหมด จำสิ่งต่างๆ จำพระไตรปิฎกได้ทั้งตู้ จำได้ทั้งหมดเลย แล้วสิ่งต่างๆ สร้างอารมณ์มา เพราะเวลาจิตสงบมาจะต้องเทียบเข้าไปที่พระไตรปิฎกก่อน

องค์หลวงปู่มั่นท่านพิจารณามานะ เวลาหลวงตาไปหาหลวงปู่มั่น หลวงตานี้เป็นพระมหา เรียนมาก็เรียนพระไตรปิฎกมา องค์หลวงปู่มั่นท่านบอกว่าท่านไม่ได้ติเตียน ไม่ได้ลบหลู่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้แต่น้อยนิดนะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ประเสริฐเลอเลิศมาก บูชาไว้ก่อน ยกบูชาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ให้เอาความเห็นความคิดต่างๆ เอาไว้ในตู้ก่อนไง แล้วล็อคกุญแจไว้นะ อย่าให้มันแลบออกมา เพราะความคิดมันจะคอยออกมา

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นสัญญา เราประพฤติปฏิบัติตามลัทธิที่เขาว่ากัน เขาจะเทียบกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดๆ ไป มันกลัวผิดพลาดไง มันกลัวผิดพลาดมันเลยยึดอย่างนั้น จะใช้ความคิด มันเลยสร้างปัญญาของตัวเกิดขึ้นไม่ได้ไง จะต้องให้ปัญญาอย่างนี้เทียบเคียงกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอด แล้วมันก็สะเทือนใจนะ

เวลาธรรมมันเกิด สภาวธรรมมันเกิด เวลาคิดนี่น้ำหูน้ำตาไหล อู๋ย! สะเทือนใจมากขนลุกขนพองนะ นี่สภาวธรรมเกิดแล้ว แล้วสภาวธรรมเกิดนะ แต่ปฏิเสธอริยผล อริยผลเพราะอะไร เพราะว่ากึ่งพุทธกาลแล้ว ไม่มีพระอรหันต์แล้ว สิ่งต่างๆ นี้ไม่มี สภาวธรรมนี้เกิด เกิดสภาวะแบบนี้

เพราะตัวเองสัมผัสอย่างนี้ไง ถึงไม่เชื่อว่าธรรมของหลวงปู่มั่น ธรรมของพระป่าเราที่ประพฤติปฏิบัติมันไม่เป็นสภาวะแบบนั้นหรอก เวลาภาวนามยปัญญามันเกิด มันไม่ใช่เกิดจากจินตนาการ เกิดจากสัญญาอารมณ์ที่เป็นปัญญาอย่างนั้น สิ่งอย่างนั้นมันเหมือนกับเท่ากับไปสิ่งที่ว่ารื้อทำลายพวกถนอมรักษาสิ่งที่ว่าเป็นอนุสรณ์สถานต่างๆ ไง ไปถนอม ไปรักษา ไปถนอมกิเลสนะ ให้กิเลสมันจูงจมูกนะ แล้วไปถนอมความคิด ถนอมสิ่งที่จิตไปสัมผัสความเห็นอย่างนั้นนะ อู๋ย! น้ำหูน้ำตาไหล เวลาสะเทือนใจไง สะเทือนใจสิ่งต่างๆ

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ยกย่อง หลวงปู่มั่นยกบูชาไว้เหนือหัวเลย แล้วจิตมันไปสัมผัส ทำไมมันจะไม่ขนพอง มันจะไม่สยองเกล้า สิ่งที่ขนพองสยองเกล้า สยองเกล้าเพื่ออะไร? เพื่อยึดไง ยึดว่าเราเห็นอย่างนั้น เรารู้อย่างนั้น แล้วก็ยึดสิ่งนั้น เห็นไหม ยิ่งยึดขนาดไหน นี่ถนอมรักษาสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุ สิ่งที่ถนอมรักษาอยู่อย่างนั้นก็ถนอมกิเลส สิ่งที่ถนอมกิเลสแล้วแยกออกไปจากกิเลสไม่ได้ ธรรมปัญญาของตัวจึงไม่เกิด ถ้าธรรมของตัวไม่เกิด ปัญญาของตัวไม่มี ภาวนามยปัญญาถึงเป็นไปไม่ได้ไง

ถ้าภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นมา เห็นไหม ยกกายขึ้น ถ้าพิจารณากาย สิ่งที่พิจารณากายให้วิภาคะ กายมันจะขยายส่วนออกไป ถ้าพิจารณากายเป็นสิ่งที่ว่าเป็นการบูดการเน่าเปื่อยออกไป มันจะเป็นสภาวะแบบนั้นไป นี่ปัญญามันเกิดนะ ปัญญามันเกิด มันสะเทือนหัวใจมาก เห็นสภาวะแบบนั้น “โอ้โห! มนุษย์เราเป็นเท่านี้หรือ ชีวิตเรามีเท่านี้หรือ” มันสะเทือนหัวใจมาก

พอสะเทือนหัวใจ สิ่งนี้มันสะเทือนถึงรากเหง้าของกิเลสนะ มันสะเทือนหัวใจขนาดที่ว่า คนเราเป็นอย่างนี้หรือ ทำไมเราโง่เง่าเต่าตุ่นขนาดนี้ ทำไมธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ ทำไมเราไม่เข้าใจสิ่งนี้เลย ทำไมมันสะเทือนหัวใจขนาดนี้ ในพระไตรปิฎกจะไม่เป็นสภาวะแบบนี้ อ่านพระไตรปิฎกมาจนมหาศาล จนความรู้ท่วมหัวขนาดไหนมันก็ไม่มีความรู้สึกอย่างนี้หรอก

แต่เวลาสะเทือนหัวใจ นี่การสร้างไง ถ้าจิตดวงไหนสร้างสภาวะแบบนี้เกิดขึ้นมา นี้คือสภาวะของภาวนามยปัญญา ถ้าภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นมา เห็นไหม การรื้อ รื้อเสร็จแล้ว แล้วต้องสร้าง ไม่ใช่รื้อค้นแล้วสิ่งนั้นเป็นสภาวธรรม นั้นเป็นลัทธิ เป็นความเชื่อของเขา

แต่การรื้อทำลายทิฏฐิมานะความเห็นผิดของครูบาอาจารย์ที่สอนมา นี่ถึงต้องติดครูติดอาจารย์ไง ครูบาอาจารย์จะชี้นำตรงนี้เข้ามาตลอดนะ ชี้นำตรงนี้เข้ามา เพราะทุกการประพฤติปฏิบัติไปมันจะติดไปตลอด

เริ่มตั้งแต่เริ่มตั้งแต่ประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ เวลาจิตสงบขึ้นมา เดินทางไปเห็นที่พักริมทางก็อยากจะนอน อยากจะดื่มน้ำที่เขาเอาไว้ให้คนเดินริมทางได้เวลากระหายหิวได้กินน้ำนั้น นี่คนเขาอยากได้บุญกุศลเขาก็ทำบุญกุศล ปัจจัย ๔ เครื่องอาศัย พระก็ติดนะ นี่โมฆะบุรุษไง เห็นแค่ลาภสักการะแค่เล็กๆ น้อยๆ ก็ติดนะ สิ่งนี้เขาทำเพื่อของเขา เพื่อบุญกุศลของเขา ในการประพฤติปฏิบัติมันไปติดสิ่งนั้นได้อย่างไร

ทำไมเราถึงต้องเข้าป่าเข้าเขากันเพราะเหตุใดล่ะ เพราะสิ่งที่ไปอยู่ป่าอยู่เขานี่ สภาวะแบบนั้นมันไม่มีหรอก มันมีแต่ต้นไม้ มีแต่สัตว์ มีแต่ชาวเขา ชาวเผ่าที่เขาใส่อาหารแต่แค่ดำรงชีวิต เพราะกิเลสตัณหามันมีอำนาจเหนือเรา เราสู้มันไม่ไหวนะ ครูบาอาจารย์เราถึงขับไสให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติออกธุดงควัตร นี่ขัดเกลากิเลสไง

แต่ถ้าเป็นการประพฤติปฏิบัติของลัทธิของเขานะ เขาบอกว่าสิ่งนี้เป็นอัตตกิลมถานุโยค ทำไมต้องทำให้ตัวเองเดือดร้อนลำบากเปล่า เราอยู่ในบ้านอยู่ในเมืองของเรา เราก็กำหนดดูนามรูป ดูใจของเราไป พอนั้นมันก็ปล่อยวาง มันก็มีความสุขของเขา นี่มันเป็นการรื้อค้น เป็นการทำลายกิเลส แต่มันไม่ได้สร้างสมธรรมของใจขึ้นมา

เรารื้อค้นเราสร้างสมใจของเราขึ้นมา บ้านเล็กบ้านใหญ่เราก็พยายามทำของขึ้นมา ให้สมควรแก่ธรรมกับใจดวงนั้น “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ไม่ใช่ไปต่อเติมตึก เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เขาก่อสร้างขึ้นมา สมัยก่อนนั้นเขาก่อสร้างบ้านก่อสร้างเรือน เขาไม่มีเข็มนะ เขาวางของเขาไว้ เขาเอาท่อนซุง เขาเอาไหคว่ำไว้ สิ่งนี้คว่ำไว้เพื่อจะสร้างตึกของเขา แล้วเรามาเราก็จะต่อ ๒ ชั้น ๓ ชั้นต่อของเราขึ้นไป มันก็ล้มสิ สิ่งที่ล้ม

เวลาเราวิปัสสนาไป เราใช้ความคิดนี่พลังงานมันไม่พอไง เราถึงต้องย้อนกลับมา ย้อนกลับมา ย้อนกลับมาใช้พลังงานของเรา กำหนดพุทโธของเราขึ้นมาให้ย้อนกลับเข้ามาที่ใจนี้ ถ้าย้อนกลับมาที่ใจนี้ แล้วถ้ามีพลังงานขึ้นมา เห็นไหม พุทโธ สติกับผู้รู้ทิ้งไม่ได้ สติกับผู้รู้ ถ้ามีเหตุการณ์ขัดข้องมีเหตุการณ์ที่จะทำให้เราลังเลสงสัย ต้องกลับมาที่ผู้รู้ กลับมาที่สตินี้ก่อน เราตั้งฐานของเราก่อน

“อตฺตาหิ อตฺโน นาโถ” ครูบาอาจารย์เป็นผู้ชี้นำ ถ้าเราอยู่กับครูบาอาจารย์ เราจะถามปัญหาได้ทันทีเลย แต่ถ้าขณะที่เราออกธุดงค์ สิ่งที่เราอยู่ของเราคนเดียว เราจะไม่มีเวลาถามครูบาอาจารย์ เห็นไหม ต้องกลับมาที่สติ กลับมาที่ผู้รู้ก่อนเพื่อตั้งมั่นให้เราว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร พลังงานนี้มันจะเกิด

พลังงานคือความลังเลสงสัย เห็นสภาวะที่กระเทือนใจ เห็นสภาวะสิ่งกระทบที่เป็นธรรมขึ้นมา สิ่งนั้นมันทำให้เราผิดพลาดขึ้นไป เรากลับมาที่พุทโธ กลับมาที่สติ พอสิ่งนี้เข้ามา พลังงานมันเกิด มันมีพลังงานแล้ว พอพลังงานมันเกิด อาการอย่างนั้นมันจะหายไปโดยสัจจะเลย เพราะอะไร เพราะสิ่งนั้นมันเป็นเรื่องของกิเลสหลอกลวง

เวลาวิปัสสนาไป เราวิปัสสนานะ ทำสัมมาสมาธิ ทำสมถะ กิเลสมันก็ต้องทำลาย มันก็พยายามทำลายฐานของสมถะให้เราล้มลุกคลุกคลาน เราถึงต้องตั้งสัตย์ ตั้งว่าเราจะเนสัชชิก เราจะฉันอาหารกี่วัน นี่เราตั้งสัตย์เพื่อจะไม่ให้ความคิดมันเข้มแข็ง ให้มันอ่อนตัวลง ถ้าเรามีสัตย์ของเราขึ้นมา ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันจะย้อนกลับเข้ามาที่นี่ ถ้าย้อนกลับเข้ามา พลังงานมันก็มี

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราออกวิปัสสนา เราจะกลับมาที่พลังงานนี้ ถ้ากลับมาที่พลังงานนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น กิเลสมันจะหลอกขึ้นมามันก็หยุดตัวลง หยุดตัวลง ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้แก้ไขนะ เรายังไม่ได้แก้ไข ไม่ใช้ปัญญาใคร่ครวญเลย กลับมาที่ผู้รู้ กลับมาที่สติ พอพลังงานมันเกิด กิเลสมันอ่อนตัวลงไง ถ้ากิเลสมันอ่อนตัวลง ความคิดที่กิเลสมันสร้างภาพอย่างนั้นมันจะไม่เกิดแล้ว ถ้าไม่เกิดมันก็จะไม่ต้องเสียเวลาไปใคร่ครวญกับสิ่งนั้น เพราะมันปล่อยวางไปโดยที่เราเข้าสมถะนี่แหละ

แต่ถ้ามันยังมีความลังเลสงสัย เพราะเราไปเห็นสภาวธรรมเกิด จิตสงบแล้วเห็นสภาวะต่างๆ เห็นแล้วติดพันไง นั่นอะไร สิ่งนั้นอะไร สงสัย ถ้าสงสัยเราเข้ามาที่พลังงาน มาที่ผู้รู้ก่อน มาที่พุทโธ สติกับผู้รู้นี้ก่อน พอถึงสติผู้รู้ จิตมันสงบเข้ามา พลังงานมันเกิด เห็นไหม มีพลังงาน เพราะจิตคนอิ่มหนำสำราญ คนมีกำลังแล้วจะออกไปใคร่ครวญสิ่งใด มันออกไปด้วยความสดชื่น ออกไปด้วยมีกำลัง สิ่งที่เกิดเมื่อกี้นั่นมันคืออะไร สภาวธรรมแบบนี้กระทบขึ้นมา มีความรู้สึก มีความพอใจ สิ่งที่พอใจนี้เป็นมรรคไหม? ไม่เป็นมรรค

สิ่งที่เป็นมรรคต้องเกิดขึ้นจากอะไร? เกิดขึ้นจากจิตนี้มันสงบขึ้นมา แล้วยกดูกาย เวทนา จิต ธรรม สภาวธรรมที่กระทบนี้ สภาวธรรมนี้เป็นอะไร ถ้าสภาวธรรมนี้เป็นกระทบ เป็นสิ่งที่พอใจ สิ่งนี้เป็นบุญกุศลหรือ สิ่งนี้ทำให้เรามีความสุขหรือ? สิ่งนี้เป็นของชั่วคราว สิ่งนี้เป็นอนิจจัง “สิ่งใดเป็นอนิจจังสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา” นี่ปัญญามันก็เกิด ปัญญามันก็หมุนไป พอมันหมุนไปมันทำลายความลังเลสงสัยสิ่งนั้น มันก็ปล่อยวางสิ่งนี้ ปล่อยวางสิ่งนี้บ่อยครั้ง นี่ไงการสร้าง สร้างอย่างนี้ไง “รื้อแล้วต้องสร้าง”

รื้อ รื้อเฉยๆ ว่าเป็นธรรมไง รื้อความเห็นผิด รื้อให้จิตนั้นสงบเข้ามา รื้อทำลายอาการของใจทั้งหมดเข้ามา แล้วว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม...นอนตายอยู่ที่นั่นแหละ นอนตายไม่เป็นไปตามสภาวะอริยสัจ ไม่เป็นไปตามความเป็นจริงของเถรวาทไง

เถระ พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ท่านเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ไม่มีองค์ไหนหรอกที่ไม่เข้าใจตามสภาวะความเป็นจริง เพราะพระอรหันต์ สิ่งที่เกิดเป็นพระอรหันต์ได้ขึ้นมานี่ท่านต้องเห็นอริยสัจตามความเป็นจริงนั้น พระกัสสปะก็เห็นตามความเป็นจริง

พระอานนท์เป็นพระโสดาบันมาก่อนตลอดตั้งแต่อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แต่เวลาขณะที่จะสังคายนานี่เข้าถึงสัจจะความจริงของตัว ขณะที่ว่าพิจารณาไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “อานนท์ ถ้าเรานิพพานไปแล้ว เธอจะเป็นพระอรหันต์”

รอนะ รอว่าเมื่อไหร่จะเป็นพระอรหันต์ ปัญญาใคร่ครวญตลอด นี่รื้อแล้วมันไม่ได้สร้างไง ความที่จะสร้าง สร้างเกิดไม่ได้ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พยากรณ์ไว้แล้วว่าเราจะเป็นพระอรหันต์ ก็นั่งคิดใช้ปัญญา ความรื้ออันนั้นไงเป็นปัญญาความคิด ความเห็นอันนั้น นี่สร้างต่อเติมตึก เพราะพระอานนท์เป็นพระโสดาบันนะ กิเลสมันมีอย่างละเอียดๆ ที่มันจะคอยทำให้เราล้มลุกคลุกคลานไปตลอด

ทำไมครูบาอาจารย์ไม่สำคัญ ครูบาอาจารย์นี้สำคัญมาก สำคัญเพราะคอยชี้นำเราตลอดไป ชี้จนถึงเราถึงจุดหมายปลายทางนะ ถ้าเราถึงจุดหมายปลายทางนี่ถึงที่สุดแล้วเสมอกัน สิ่งที่เสมอกันด้วยความบริสุทธิ์แต่บารมีต่างกัน

พระอานนท์พิจารณาของท่านจนเหนื่อยอ่อนนะ “พรุ่งนี้จะสังคายนาแล้ว แล้วเราก็ยังมีกิเลสอยู่” จนถึงว่านั่งภาวนาจนเต็มที่แล้ว “ขอพักสักหน่อยเถอะ” พอเอนตัวจะนอน คือปล่อยไง ปล่อยสิ่งที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันหลอกให้ไปยึดมั่นถือมั่นในพระไตรปิฎกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง พระอานนท์ฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหาศาลเลย ปัญญามหาศาลว่านี่เรารู้ธรรมไปหมด เราจำมาได้มหาศาลเลย

ถึงที่สุดแล้วเรือแพต้องปล่อย ปล่อยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ขอพักผ่อนก่อนเถอะ” พอเอนตัวลงเท่านั้น นี่สร้างธรรมของเราขึ้นมา มรรคญาณเกิดขึ้นจากใจของพระอานนท์ พระอานนท์เข้าใจสภาวะตามความเป็นจริง ถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาในขณะที่ว่าไม่ใช่อิริยาบถเดิน ยืน นั่ง นอน ระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ นั้น นี่เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้วดำดินไปโผล่ขึ้นท่ามกลางที่เขาสังคายนากัน

พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เกิดขึ้นมาจากอริยสัจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วบอกจะไม่ให้เราสร้างสมบุญญาธิการ สร้างปัญญาของเราขึ้นมาให้ธรรมเกิดขึ้นกับใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ มันจะเป็นไปได้อย่างไร แต่ในเมื่อเป็นลัทธิ เป็นความเห็นผิด ก็ไปยึดมั่นถือมั่นในความเห็นผิดนั้น เห็นไหม รื้อแล้วจบสิ้น

แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “รื้อแล้วต้องสร้าง” ถ้าสร้างนี้เป็นผลงานของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นสร้างงานขึ้นมา มีธรรมเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นนะ นี่วิปัสสนาขึ้นมามันจะปล่อยวางต่างๆ ปล่อยวางขนาดไหน เหมือนกับเราจะเสริมตึกนะ ปล่อยวางขนาดไหนเราก็ต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำอยู่ที่จุดนั้น เพราะเราสร้างตึกของเราชั้นนี้ เราจะต่อเติมตึกนี้ มันยังไม่จบสิ้นกระบวนการของมัน

ถ้ามันจบสิ้นกระบวนการของมัน มันจะเห็นตามความเป็นจริง มันจะเป็นสมุจเฉทปหาน ถ้าไม่สมุจเฉทปหาน เราจะต้องซ้ำตรงนั้น แต่ถ้าเราไม่สมุจเฉทปหาน มันเป็นตทังคปหาน มันเป็นการปล่อยวางชั่วคราว ปล่อยวางอย่างนี้มันเป็น “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ถ้าเป็น “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” คือสิ่งนี้มันเป็นอนัตตา มันยังเสื่อมสภาวะอยู่ สิ่งที่เสื่อมสภาวะอยู่ มันไม่เป็นอกุปปธรรม สิ่งที่ไม่เป็นอกุปปธรรม

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา” เราก็เห็นสภาวธรรมแบบนั้น

เราเป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์ เราเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเป็นลูกศิษย์ของพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ที่วางธรรมไว้เป็นธรรมวินัยให้เราก้าวเดินนี้ ถ้าเราเชื่อพระอรหันต์ เชื่อธรรม เชื่อครูบาอาจารย์ของเรา เราจะต้องซ้ำไปอย่างนี้

แต่ถ้ามันเป็นลัทธิ เป็นความเห็นผิดของกิเลส ปล่อยวางทีหนึ่งมันก็ให้ค่าทีหนึ่ง เป็นโสดาบัน เป็นสกิทา เป็นอนาคา มันบ้าบอคอแตกของมันไปนะกิเลสนี่ เวลามันรื้อค้นทำลายไปแล้วมันก็สร้างสมของมันเป็นสภาวะแบบนั้นไง แล้วถ้าไม่มีครูอาจารย์ชี้นำนะ มันก็จะสะสมอย่างนี้ แล้วมันจะสร้างบาปอกุศลให้กับใจดวงนั้นนะ พอเราถึงที่สุดแล้วมันเสื่อมสภาวะไป แล้วก็คอตกนะ แล้วพอคอตกมันก็ทำอะไรไม่ได้ไง

แต่ถ้าครูบาอาจารย์คอยชี้คอยเตือนขึ้นมา เราเจอสภาวะแบบนี้ นี่กิเลสมันร้ายกาจขนาดนั้นนะ ถ้าเป็นลัทธิ เป็นความเห็นของเขา เขาไม่มีครูบาอาจารย์ชี้นำ เขาก็ประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นปุถุชนอยู่อย่างนี้ ประพฤติปฏิบัติเป็นปุถุชน เพราะเขาไม่เห็นภาวนามยปัญญา เขาไม่เห็นมรรคญาณ เขาไม่ได้สร้างงานของเขา เขาไม่ได้สร้างอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคคือความดำริชอบ ความเพียรชอบ งานชอบ คำว่า “มรรค” ของเขา คือมรรคคือการท่องจำของเขาไง เขาท่องจำมรรคได้ แต่เขาไม่เคยเห็นมรรคตามความเป็นจริง

ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติ เวลามันปล่อยวางขึ้นมาแต่ละชั้นแต่ละตอน ถ้ามันปล่อยวางโดยกิเลส ปล่อยวางโดยการรื้อค้น โดยการรื้อทำลายกิเลส ทำลายบ้านเรือน ทำลายทิฏฐิตัณหา มันไม่ใช่มรรค ถ้าเป็นการรื้ออย่างนั้นนะ มันเป็นการรื้ออย่างหนึ่ง รื้อนี่เป็นสมถะ ถ้าเป็นการสร้างคือมรรค

สมถะ วิปัสสนา ก้าวไปด้วยกัน เราอย่าไปตีความสมถะผิด อย่าไปตีความวิปัสสนาผิด ถ้าเราตีความสมถะผิด เราว่าปัญญาอบรมสมาธินี้เป็นวิปัสสนา ถ้าเราไปตีความวิปัสสนาผิด ถ้ามันจะก้าวเดิน มันจะมีปัญญาออกไป ก็บอกมันจะผิด มันจะเป็นการฟุ้งซ่าน มันตีความผิดนะ ถ้าตีสมถะผิดก็ไม่เข้าใจว่าสมถะคืออะไร ถ้าวิปัสสนาผิดก็ไม่เข้าใจวิปัสสนาคืออะไร เห็นไหม

ถึงบอกว่า ถ้าเป็นโลกียะก็เป็นปัญญาโลกีย์ แล้วโลกียะกับโลกุตตระ อยู่ตรงไหนล่ะ ถ้ามีประสบการณ์ขึ้นมา สิ่งนี้เป็นหญ้าปากคอก หญ้าปากคอกนี้เป็นของจำเป็นนะ การทำหญ้าปากคอก มันของอยู่ใกล้ตัวนี่ แต่ทำผิดทำถูกมาตลอดเวลาเลย สิ่งที่เป็นของละเอียดอ่อน ของเล็กน้อยนี่แหละทำให้เราทำผิดถูก

หลวงตาท่านบอกเลย ท่านบอกว่า การประพฤติปฏิบัติยากที่สุดคือตรงขึ้นต้นขั้นตอนแรกนี้ ถ้าขั้นตอนแรกนี้ผ่านพ้นไป สิ่งนี้จะก้าวเดินไปได้แล้ว เพราะมันเป็นหญ้าปากคอกไง เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน เป็นสิ่งที่ยั่วยวน สิ่งที่มีความทำให้เราลังเลสงสัยตลอด แล้วกิเลสมันก็ขี่หัว กิเลสมันก็สวมตอ สวมทำลายให้เป็นการรื้อทำลายทั้งนั้น สิ่งที่รื้อทำลายนี้เป็นความเห็นของลัทธิของเขาด้วย แล้วในการประพฤติปฏิบัติ กิเลสมันก็สวมรอยให้เราอยู่กับหญ้าปากคอกอย่างนี้ไง เราถึงจะต้องใช้สติใช้สัมปชัญญะ แล้วมีครูมีอาจารย์สิ่งนี้ วัตรปฏิบัติเครื่องดำเนิน ปฏิปทาเครื่องดำเนินนะ ถ้ามีผู้ที่ทรงวัตรปฏิปทาเครื่องดำเนินนี้ เราก็จะต้องทำตามปฏิปทาเครื่องดำเนินนี้ไง สิ่งนี้เป็นการขัดเกลากิเลสนะ

พระเรา พระปฏิบัติเราจะมักน้อยสันโดษ จะต้องตรวจตราตัวเองตลอดว่าเราใช้สิ่งของนี้มันเป็นความมักง่ายหรือมันเป็นความประหยัด ถ้ามันเป็นความมักง่าย สิ่งที่มักง่ายมันเอาความสะดวกความสบาย มันผลักไสมันไม่รับผิดชอบไง

แต่ถ้าเป็นประหยัดนะ สิ่งที่เป็นการประหยัดนี้เป็นธรรมแล้ว เพราะอะไร เพราะของสิ่งนี้กว่าจะได้มาแต่ชิ้นแต่ละอัน เขาแสวงหามาขนาดไหน เราจะใช้ของเขาแบบฟุ่มเฟือย ใช้ของเขาแบบทำลาย นี่ผู้ที่มีธรรมนะ จะเป็นประหยัดมัธยัสถ์มาก

หลวงปู่มั่นท่านเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาขนาดไหน ท่านใช้ของของท่าน จะเป็นผู้ที่ประหยัด ประหยัดเป็นแบบอย่างไง นี่ปฏิปทาเครื่องดำเนิน ถ้ามีปฏิปทาเครื่องดำเนิน ครูบาอาจารย์ของเรา ท่านจะเอาสิ่งใดของโลกนี้นะ เอาจนจรดท่วมฟ้าก็ได้ ท่านไม่สนใจเลย เพราะสิ่งนี้เป็นเรื่องของโลกไง สิ่งนี้เป็นเรื่องของความเป็นภาระรุงรัง แต่สิ่งที่ในหัวใจของท่าน ธรรมในหัวใจของท่านรื่นเริงอาจหาญในหัวใจของท่าน รื่นเริงอาจหาญโดยธรรมนะ ไม่ใช่อหังการ

สิ่งที่เป็นอหังการเป็นเรื่องของกิเลสล้วนๆ เลย กิเลสมันมีความอหังการ มันลืมตน มันลืมตัว มันว่ามันมีธรรม เห็นไหม เราเอาผ้ากาสาวพัสตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธงชัยพระอรหันต์มาห่ม แล้วเราก็เข้าใจว่าเราห่มไปแล้วเราจะมีบุญญาธิการในหัวใจของเรา...ไม่ใช่หรอก เราบวชมา เราได้ผ้ากาสาวพัสตร์มาตั้งแต่อุปัชฌาย์อาจารย์มอบมาให้มา แล้วก็อุปัชฌาย์บอก เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ หน้าที่ของเราทำหรือยัง ถ้าหน้าที่ของเราทำ นี่มรรคมันจะเกิดตรงนี้ไง การสร้างสมของเราจะเกิดตรงนี้

ถ้าเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เราเห็นตามความเป็นจริง นั้นล่ะ เราได้สร้างงานของเรา ถ้าเราเห็น เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ไม่ตามความจริง นั่นเราเป็นการรื้อทำลาย รื้อทำลายกิเลสทิฏฐิมานะให้มันเห็นจริงให้ได้ ถ้าเราทำลายรื้อทิฏฐิความเห็นผิดนะ มันสงบเข้ามา ถ้ามันสงบเข้ามามันจะเห็น เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตามความเป็นจริง เพราะมันมีสัมมาสมาธิ

ถ้ามีสัมมาสมาธิมันถึงจะเป็นการสร้างงานของเรา ถ้าเป็นการสร้างงานของเรา นี่มันจะสร้างใจไง ถ้ามันสร้างใจขึ้นมา ผ้ากาสาวพัสตร์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ หลวงปู่มั่นท่านก็ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ สิ่งที่ห่มผ้ากาสาวพัสตร์

เพราะเป็นทองตั้งแต่ข้างนอก ทอง ทองในหัวใจนั้นก็เป็นทอง เพราะธรรมในหัวใจของท่านเป็นสิ่งที่ว่ารื่นเริงอาจหาญ สิ่งที่เป็นธงชัยพระอรหันต์ ผ้ากาสาวพัสตร์นี้เป็นธงชัยพระอรหันต์ ได้ห่มร่างกายของหลวงปู่มั่น ห่มร่างกายของครูบาอาจารย์ของเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐทั้งหมดเลย

แต่นี่ห่มร่างกายของเรา เราอหังการของเราก็อหังการของกิเลสไง สิ่งที่เป็นกิเลสมันก็ติดไปในเหยื่อ เหยื่อของโลกนะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากชักให้เราหลงทางไป เราจะต้องสร้างงานของเราให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ให้เป็นเครื่องดำเนินไง ประหยัดมัธยัสถ์นี้คือการฝึกนิสัย ปิดกั้นกิเลสไม่ให้มีทางออก ถ้าเป็นการฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม กิเลสมันทำสิ่งนี้ให้ล้มลุกคลุกคลาน แล้วเราก็จะโดนกิเลสขี่คอทำลายเราไปตลอดนะ วัตรปฏิปทามันสำคัญตรงนี้ไง เวลาประพฤติปฏิบัติมันถึงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติของเรา พระป่าถึงมีวัตร

สัลเลข ๑๐ พูด มักน้อยสันโดษ แต่โลกเห็นเป็นว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค นี่มันน่าเศร้าใจนะ เป็นความประหยัด เป็นการประหยัดเพื่อให้กิเลสมันไม่มีทางออก เขาบอกว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค แล้วพยายามเสวยสุข พยายามฟุ่มเฟือยเห่อเหิมขนาดนั้น เขาบอกสิ่งนั้นเป็นการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันธรรม เพราะปัจจุบันนี้โลกเจริญไง

โลกเจริญขนาดไหน โลกนี้มันแปรปรวนแน่นอน แต่หัวใจเราเจริญไหม ศาสนาเจริญขนาดไหน พระไตรปิฎกมีขนาดไหนก็แล้วแต่ ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงไปของโลก สิ่งนี้หายหมด แต่ถ้าเป็นอยู่ในหัวใจนะ สิ่งนั้นหายไปมันก็ยังอยู่ในหัวใจของผู้ที่มีธรรมไง ถ้าผู้ที่มีธรรม เพราะสร้างงานขึ้นมาในหัวใจ ธรรมมีอยู่แล้ว สิ่งนั้นเป็นธรรมขึ้นมาทั้งหมด

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีสิ่งนี้ก่อน สร้างใจขึ้นมาเป็นธรรมก่อน แล้วถึงบัญญัติออกมาเป็นกิริยาของธรรมทั้งหมด แล้วชี้เข้ามาที่หัวใจ เราไปติดแต่สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องชี้ดำเนิน ไปติดแผนที่ไง แผนที่เครื่องดำเนินขนาดไหนก็ชี้เข้ามาที่หัวใจ หัวใจของเราจะประพฤติปฏิบัตินี่ เราค้นคว้าของเราขึ้นมา

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติโดยโลก เราก็จะได้โลก

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติโดยธรรม เราจะได้ธรรม

โดยโลกและโดยธรรมต่างกันตรงไหน? ถ้าโดยโลกก็โดยที่ว่าโดยโลกียะ โดยความเห็นของเรา โดยตรรกะ โดยปรัชญา ถ้าโดยธรรม จะสร้างขึ้นมาแสนยาก แสนยากเพราะเราต้องพยายามค้นคว้า พยายามส่งเสริมขึ้นมาจนถึงจุดหนึ่งนะ เวลาจิตมันพัฒนาขึ้นไป เราสร้างงานของเราขึ้นมา มันพัฒนาของมันขึ้นไป มันพัฒนาของมันนะ แล้วเราส่งเสริมขึ้นไป มันจะเป็นมัชฌิมาปฏิปทาตามความเป็นจริงของมันนะ

ถึงที่สุดแล้วมันจะเห็น “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา” เห็นสภาวะแบบนั้น แล้วมันขาดออกไปจากใจ สิ่งที่ขาด อะไรขาดล่ะ? สังโยชน์ไง ความเห็นผิดของใจดวงนั้นมันขาดออกไปจากใจ ความลังเลสงสัยไม่มีนะ กายนี้ไม่ใช่เราโดยสัจจะความจริง อยู่กันโดยความเก้อๆ เขินๆ นะ อยู่กับเรา ร่างกายนี้พาขับพาถ่ายไปกับเรา ถ้าเราก้าวเดินไปข้างหน้าไม่ได้ ถ้าเราก้าวเดินไปข้างหน้าได้ เห็นไหม สภาวธรรมจะเกิดขึ้นกับใจสูงขึ้นๆ เห็นไหม นี่ต้องสร้างสมนะ

เราจะปลูกบ้านแปลงเมืองอย่างไร เราชอบสิ่งใด เราไปซื้อบ้านกัน เขาชอบทรงนั้น ชอบสไตล์นั้น ชอบสิ่งนี้ นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่พิจารณากายแบบครูบาอาจารย์ พิจารณากายนอก กายใน กายในกาย กายของจิต ครูบาอาจารย์พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณา พิจารณากายพอแล้วไม่ยอมพิจารณากาย กลับไปพิจารณาจิต เห็นไหม นี่ทรงของบ้านคือจริตนิสัยที่สะสมมา

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ของเรามีสภาวะแบบนั้น นี่จะชี้นำมา ผู้ใดที่กว้างขวางขนาดไหน ถ้าได้พิจารณาแตกแขนงไปต่างๆ จะมีโอกาสสั่งสอนเราได้มากที่สุดเลย เพราะอะไร เพราะเปิดกว้างให้กับจิตดวงนี้ก้าวเดิน แต่ถ้าครูบาอาจารย์ของเรา อำนาจวาสนาท่านเอาตัวรอดได้ ท่านเอาหัวใจของท่านพ้นไปจากกิเลสได้ แต่ในเมื่อท่านสอนได้ด้วยความเห็นอย่างนั้น

เพราะการฝึกสอนในการประพฤติปฏิบัตินี้มันออกมาจากใจไง เป็นประสบการณ์ของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นผ่านทุกข์ผ่านยาก ผ่านการประพฤติปฏิบัติ ผ่านกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันพลิกแพลง มันขุดหลุมพราง มันหลอกให้หัวใจตกหลุมตกร่องไปตามอำนาจกิเลส ให้ตกลงไปแล้วจมอยู่กับในกิเลสอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว จนกว่าจะลุกขึ้นมาเห็นความทุกข์ เห็นความไม่เป็นจริงของมัน ลุกขึ้นมาต่อสู้กับกิเลสจนผ่านเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมา ท่านก็เอาประสบการณ์อย่างนั้นของท่านมาสอนเรา

แต่ครูบาอาจารย์ท่านผ่าน อย่างหลวงตาท่านผ่านเวทนา ผ่านจิต ผ่านกาย พิจารณากายจนพอแรงแล้ว ถ้าจิตนี้ไม่ยอมพิจารณากาย พิจารณาจิต เห็นไหม พิจารณาจิตจนถึงจุดและต่อม พิจารณาขึ้นไป ท่านจะมีปัญญามาก เพราะท่านพิจารณาค้นคว้าแตกแขนงออกไป นี่ครูบาอาจารย์อยู่ที่อำนาจวาสนา อยู่ที่การประพฤติปฏิบัตินั้น จะเข้าใจเรื่องของสภาวะของจิตนี้ว่ามีอำนาจวาสนาขนาดไหน อำนาจวาสนาของจิตที่ว่าแต่ละดวงที่สร้างสมมา

ถึงบอกว่าความชอบในการสร้างบ้าน ในการซื้อบ้าน ในการแสวงหาบ้านของจิตนี้ไม่เหมือนกัน สิ่งที่ไม่เหมือนกัน ถึงบอกว่าเป็นสมบัติของเรานะ

เวลาประพฤติปฏิบัติ ๑. จิตนี้สงบไหม จิตนี้วิปัสสนาเป็นไปได้ไหม ถ้าเป็นไปได้นั้นคืออำนาจวาสนาของเรา ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปคิดทบทวนว่าจะต้องเหมือนคนนั้น จะต้องเหมือนคนนี้ เหมือนความเห็นของเขา เพียงแต่เป็นสภาวธรรม

ขณะที่เราฟังธรรมอยู่ สิ่งที่ว่าที่เราฟังธรรม สิ่งนี้มันเข้ากับความเห็นของเรา เราประพฤติปฏิบัติแล้วมันไม่ก้าวเดินไปสภาวะแบบนั้น สิ่งที่ครูบาอาจารย์แสดงนี้มันเข้ากับความเห็นของเรา ถ้าเราใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องดำเนินมันจะเป็นประโยชน์กับเรา เราก็ทำได้ สิ่งนี้เราทำได้ไง เพราะมันเป็นสิ่งที่ว่าให้สูงขึ้น

ครูบาอาจารย์ต้องมีจิตใจสูงกว่าเรา ถึงจะดึงคนจากที่ต่ำขึ้นที่สูงได้

ถ้าครูบาอาจารย์หัวใจต่ำกว่าเรา จะพูดสิ่งที่เราเหนือกว่านะ เรามีความรู้ความเห็นที่เหนือมาก จิตเราสงบเข้ามา เรามีปัญญาอยู่แล้ว ทำไมครูบาอาจารย์พูดแต่เรื่องต่ำๆ แค่ทาน แค่ศีลเท่านั้น ทำไมไม่พูดเรื่องปัญญาที่เป็นเรื่องการสร้างงานของเรา นี่ถ้าต่ำกว่าจะพูดเรื่องเสมอเราไม่ได้หรอก

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่มีหัวใจที่สูงกว่าเรา จะดึงเราขึ้นจากที่ต่ำให้ขึ้นมาอยู่ที่สูงขึ้นมา จิตใจ วุฒิภาวะของใจพอไม่พอตรงนี้ไง ถ้าวุฒิภาวะของใจพอ วิปัสสนาไปมันจะก้าวเดินของมันไป มันพัฒนาของมันขึ้นมานะ มันจะเข้มแข็งของมันขึ้นมา แล้วใช้ปัญญาก้าวเดินออกไป พิจารณาไปขนาดไหน อย่าให้กิเลสมันหลอก อย่าให้เป็นการเข้าใจว่า รื้อทำลายทิฏฐิมานะแล้ว ปล่อยวางแล้วนั้นเป็นธรรม...ไม่ใช่หรอก

รื้อนั้นคือเป็นการสมถะ แล้วการทำลาย การสร้างงาน เพราะปัญญามันเกิดวิปัสสนา แล้วมันจะชำระกิเลส “รื้อคือสมถะ สร้างคือมรรค” สมถะ วิปัสสนา จะก้าวเดินต่อไป จะก้าวเดินเป็นชั้นเป็นตอนของมันไป

เพราะมีครูมีอาจารย์คอยชี้นำเรา เราถึงควรภูมิใจมาก วงกรรมฐานของเราเชิดชูครูบาอาจารย์ของเราขึ้นมาขนาดนี้ แล้วครูบาอาจารย์เป็นผู้ชี้นำเรามาขนาดนี้ แล้วเราจะนอนใจอยู่ได้อย่างไร เราต้องมีกำลังใจนะ

ฟังธรรมแล้วต้องให้ธรรมเข้าถึงใจเรา เวลาเข้าถึงใจ มันสะเทือนหัวใจมาก ฟังธรรมโดยกิเลสฟังนะ กิเลสมันจะผลักไส ขับไสไม่ยอมรับ นี่มันไม่เข้าถึงใจ มันไม่สะเทือนใจ นี่ฟังแต่หูไงแต่หัวใจด้าน แล้วมันจะเข้าไม่ถึงใจนะ ถ้าเราฟังธรรมแล้วเข้าถึงใจจะสะเทือนใจเรา แล้วเราประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมา ธรรมเกิดกับเราจะสะเทือนใจมาก แล้วทำลายกิเลสออกไปจากใจเป็นชั้นเป็นตอน จนธรรมกับใจเราเป็นอันเดียวกัน เป็นธรรมล้วนๆ ในหัวใจนั้น เอวัง