เทศน์บนศาลา

ธรรมะกางร่ม

๒ พ.ค. ๒๕๕๘

ธรรมะกางร่ม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


ตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจฟังธรรมะเนอะ เราจะมาประพฤติปฏิบัติ เราจะมาค้นหาสัจธรรม สัจธรรมเป็นสัจธรรมความจริงนะ สัจธรรมนี้มีค่าขนาดไหน แม้แต่ เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมไว้ เห็นไหม เสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เสียสละชีวิตเพื่อรักษาธรรม มันมีคุณค่าแค่ไหน มีคุณค่า ครูบาอาจารย์เราท่านยอมเสียสละชีวิตเลยล่ะ ยอมเสียสละชีวิตแลกสิ่งนี้มา 
ถ้ายอมเสียสละแลกสิ่งนี้มา มันก็ต้องเป็นการลงทุนลงแรงขนาดนั้นหรือ เป็นการลงทุนลงแรงต่อเมื่อท่านต่อสู้กับกิเลส เวลาต่อสู้กับกิเลส กิเลสตัณหาความทะยานอยากเวลามันปลิ้นปล้อนมันหลอกลวง เห็นไหม ต้องทุ่มเทกันขนาดนั้น แต่เรายังไม่เจอกิเลสไง เรายังไม่เจอกิเลส เรายังไม่เห็นกิเลสใช่ไหม ทำไมต้องทุ่มเทกันขนาดนั้น 
เราไม่ต้องทุ่มเทขนาดนั้น เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นมนุษย์ก็มีศักยภาพ เรามีการศึกษา เรามีปัญญาขึ้นมา เราปฏิบัติของเราในทางนุ่มนวลก็ได้ เราปฏิบัติของเราในทางที่ว่ามัชฌิมาปฏิปทาตามความพอใจของเราก็ได้ ถ้าปฏิบัติอย่างนั้นก็แล้วแต่ว่าจริตนิสัยของคน ถ้าจริตนิสัย เห็นไหม จริตนิสัยที่นุ่มนวล จริตนิสัยที่เขาต้องการความละมุนละม่อม เขาก็ปฏิบัติของเขาอย่างนั้น 
แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรา เพราะครูบาอาจารย์ของเรานะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านแสวงหา ท่านค้นคว้า การเที่ยวแสวงหา การค้นคว้านะ เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะศึกษาว่าพุทธประวัติ องค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากใคร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากพระเจ้า-สุทโธทนะกับนางมหามายา แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นมา บุพเพนิวาสานุสติญาณ “เราเคยเป็นพระเวสสันดร เราเคยเสวยทศชาติ เราเคย เราเคย” เห็นไหม 
พอเราศึกษาประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะบอกว่าองค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมาขนาดไหน ถึงได้มาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ถึงได้พยายามค้นคว้าสัจจะความจริงอันนี้ขึ้นมา ฉะนั้น เวลาเราศึกษาเรื่องครูบาอาจารย์ของเราก็เหมือนกัน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเกิดมา เห็นไหม เกิดมาเป็นชาวอุบลฯ นั่นน่ะ แต่ว่าท่านมีอำนาจวาสนาของท่าน ท่านนึกอยากจะบวชตั้งแต่เล็กแต่น้อย แล้วจังหวะและโอกาสของคน
คนที่เกิดมา ถ้ามีบุญอำนาจวาสนามันจะมีเหตุมีผลให้เราพลิกแพลงของเรา ให้คนคนนั้นได้ออกประพฤติปฏิบัติ ให้คนคนนั้นได้ออกแสวงหา ถ้าแสวงหา แสวงหาที่ไหน เวลาออกแสวงหา แสวงหาในหัวใจของเรานี่แหละ แต่เวลาในหัวใจ หัวใจมันอยู่ที่ไหน อยู่ในร่างกายนี้ใช่ไหม เวลาประพฤติปฏิบัติก็ต้องเอาร่างกายนี้มาประพฤติปฏิบัติ 
ถ้ามันหยาบๆ เห็นไหม หยาบๆ เราก็ว่า เราจะทำอย่างไร เราจะปฏิบัติอย่างไร มันจะได้มรรคได้ผลของเราขึ้นมา เห็นเวลาครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติ ท่านทุ่มเทขนาดนั้น เราจะมีความทุ่มเทขนาดนั้นได้มากน้อยขนาดไหน ถ้ามีหนทางใดที่เป็นทางที่สะดวกสบายกว่า เราก็จะไปทางนั้น เราคิดหมดเลย แต่มันเป็นความจริงหรือเปล่า? 
ถ้าเป็นความจริง คนที่มีอำนาจวาสนา เห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ อุทกดาบส อาฬารดาบส ท่านเป็นคนบอกเลยว่า “เจ้าชายสิทธัตถะมีความรู้เสมอเรา มีความเห็นเหมือนเรา เป็นอาจารย์ได้ สอนได้” เจ้าชายสิทธัตถะไม่เชื่อๆ ไม่เชื่อเพราะอะไร เพราะในหัวใจเรามันยังมีกิเลสอยู่ คำว่า “กิเลส” นะ กิเลสคือความลังเลสงสัย เรายังมีความลังเลสงสัย เรายังไม่มีความเข้าใจในชีวิตของเรา ชีวิตนี้มันยังมืดมนอยู่
ถ้าชีวิตยังมืดมนอยู่แล้วเขาบอกว่า เรามีปัญญาๆ เรามีความสามารถ มีความสามารถเราแก้กิเลสเราไม่ได้ ถ้าเราแก้กิเลสไม่ได้ ท่านถึงไม่เชื่อไง คำว่า “ไม่เชื่อ” เห็นไหม ดูสิ วุฒิภาวะ วุฒิภาวะของใจที่มีวุฒิภาวะจะไม่เชื่อสิ่งใด เวลาองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม อนุ-ปุพพิกถา สอนเรื่องทานนะ เพราะอะไร เพราะคนเขาจะรู้อะไรกับเรา เขาอาบเหงื่อต่างน้ำหาอยู่หากิน เขาก็ลำบากลำบนพออยู่แล้ว 
แต่ว่าเวลาเขาหาอยู่หากินลำบากลำบนพออยู่แล้ว แต่ถ้าคนมีสติมีปัญญาของเขา เห็นไหม นี่เป็นทางออกๆ ไง แต่ว่าทางออกของเขา ถ้าจิตใจของเขายังไม่สมควรที่จะได้ทางออกอย่างนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็อนุปุพพิกถาให้เขามีความเสียสละทาน ความเสียสละทาน ถ้าเสียสละทานของเขาเพื่อบุญกุศลของเขา ถ้าบุญกุศลของเขา เขาทำของเขา แล้วเขาได้ประโยชน์ของเขา เขาเห็นประโยชน์ของเขานะ
เราเสียสละทานขึ้นมา ดูสิ ในสังคมถ้ามีความขัดแย้ง เราไกล่เกลี่ยเขา เขาก็มีความสุขของเขา สังคมถ้ามีความขาดแคลน เราได้เสียสละเจือจานกับเขา สังคมก็ดีขึ้นมา สังคมก็มีความสุขของเขา ถ้าความสุขมันเกิดขึ้นมาจากอะไร ความสุขมันเกิดขึ้นมาจากการเสียสละของเรา ความสุขเกิดขึ้นมาจากการกระทำของเรา จิตใจมีมุมมองมีความเห็นอย่างนั้น จิตใจควรแก่การงานไหม แต่จิตใจบางคนหยาบกระด้างมันก็ไม่ทำอย่างนั้นหรอก 
ถ้าจิตใจของคน อนุปุพพิกถา ให้เขาทำขึ้นมาเพื่ออะไร เพื่อจิตใจให้เขานุ่มนวล จิตใจเขาควรแก่การงาน แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ เห็นไหม คนที่มีสติมีปัญญาที่ฟังแล้วเข้าใจ ซาบซึ้งมาก เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหงายภาชนะที่คว่ำอยู่ให้มันหงายขึ้นมา ภาชนะที่คว่ำอยู่ไง ทิฏฐิมานะของเรามันจะปิดบังหัวใจของเรา ไม่เคยฟังใคร ฟังเขาก็ฟังเพื่อเก็บผลประโยชน์มาจากเรา เก็บผลประโยชน์คิดว่ามันเป็นประโยชน์ มันเป็นโทษทั้งนั้น มันเป็นโทษเพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ความเห็นของเรา มุมมองของเรา ลักษณะของเรา มันเก็บผลประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน 
แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม ถ้าเป็นความจริงขึ้นมามันสะเทือนใจ ถ้าสะเทือนใจมันจะหาทางออกของมัน ถ้าหาทางออกของมันมีการกระทำของเรา เห็นไหม ถ้าทำเราเกิดเป็นมนุษย์เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราได้อาศัยร่มเงาของศาสนา 
ร่มเงาของพระพุทธศาสนา เห็นไหม ประเพณีวัฒนธรรม ประเพณีวัฒนธรรม เห็นไหม คนที่มีประเพณีวัฒนธรรม ดูสิ เวลาทางโลกเขาสร้างภาพกัน เขาว่า เขาเป็นคนดีทั้งนั้น เขามีการประชาสัมพันธ์กัน เขามีการจ้างการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เขาเป็นคนดีๆ นั่นน่ะ สร้างภาพกันไปทั้งนั้น แต่ถ้ามันเป็นความจริง ความจริงของเรานะ เราจะสร้างภาพอย่างนั้นไหม เราไม่สร้างภาพอย่างนั้น 
คนอยู่ด้วยกัน เห็นไหม ดูสิ พระเราอยู่ด้วยกัน พระอยู่ด้วยกันจะรู้ว่าศีลของใครสะอาดบริสุทธิ์ไหม ศีล อยู่ด้วยกันมันคลุกคลีกัน มันเห็นตลอด ธรรมจะรู้ได้ต่อเมื่อแสดงออก การแสดงธรรมจะรู้เลยว่าในหัวใจเขามีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน ถ้าเขาแสดงธรรมมีเท่าไหนก็พูดได้แค่นั้น ถ้าพูดได้แค่นั้น ดูสิ เราฟังเทศน์กัน ฟังธรรมกันๆ ฟังธรรม ดูทางปริยัติ เวลาฟังธรรมเราซาบซึ้งมากๆ ก็นั่นธรรมะขององค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมจะไม่ซาบซึ้ง แต่คุณธรรมในใจล่ะ 
คุณธรรมในใจ เห็นไหม ที่เรามาหากันอยู่นี่ เราจะมาหาคุณธรรมในใจของเรา ถ้าหาคุณธรรมในใจของเรามันต้องเกิดนะ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าไม่มีเหตุ ไม่มีการกระทำ คุณธรรมมันจะมาจากไหน ถ้าคุณธรรมมาจากความเพียร ความเพียร เห็นไหม คนเราจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ ถ้าความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ ทำไมต้องมีความเพียรล่ะ ความเพียรเพราะมันจะค้นหาหัวใจของเราไง 
ถ้ามันต้องค้นหาหัวใจของเรา ถ้ามันได้หัวใจของเราขึ้นมาแล้ว หัวใจมันจะทำงานขึ้นมา ถ้ามันไม่ได้หัวใจของเราขึ้นมา มันก็สมองทำงานไง มันอาการของใจทั้งนั้น อาการคือสัญญาความจำได้หมายรู้ การศึกษาทางโลกทั้งหมดเป็นวิชาชีพ การศึกษาทางโลกทั้งหมดเป็นโลกียปัญญา ปัญญาของเรา ความรู้สึกนึกคิดของเราทั้งหมด เป็นโลกียปัญญาทั้งหมด เอาโลกียปัญญา มีศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็เป็นเรื่องโลก
เราศึกษามาแล้ว ศึกษาก็คือศึกษา เขาศึกษามาไว้ให้เพื่อประพฤติปฏิบัติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม วางธรรมไว้ ธรรมและวินัย นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติเป็นการศึกษา เราต้องศึกษา ศึกษามาเป็นแนวทาง แต่เวลาศึกษาขึ้นมาแล้วกิเลสมันก็ร่วมด้วย กิเลสมันสมุทัย มันเจือปนมา แล้วศึกษาขึ้นมาแล้วก็ว่าเข้าใจๆ เรามีความเข้าใจของเรา ความเข้าใจ 
ถ้ามันภาคปฏิบัติล่ะ แล้วภาคปฏิบัติ เราศึกษามาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัตินะ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา การศึกษานั้นมันจะเป็นโทษ มันจะเป็นโทษเพราะเรารู้ไปก่อน มันจินตนาการไปทั้งนั้น แล้วเวลาการประพฤติปฏิบัติเขาจะให้วางไว้ วางไว้ให้ได้ไง ถ้ามันวางได้ เราวางของเรา แต่นี้เวลาความรู้สึกนึกคิดมันวางได้ยาก สิ่งที่อยากจะจำก็จำไม่ได้ สิ่งที่ไม่ต้องการมันก็เกิดตลอดเวลา สิ่งที่ไม่ต้องการมันคิดอยู่ตลอดเวลา ไอ้สิ่งที่อยากได้มันไม่คิด เพราะอะไร 
เพราะเวลาเราเกิดนี่นะ เวลาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ทำไมถึงเกิดล่ะ เพราะมันมีจิตปฏิสนธิ จิตมันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะเพราะอะไร มันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะเพราะพญามาร เพราะอวิชชาความไม่รู้ เพราะความไม่รู้มันปิดหูปิดตาถึงได้เวียนว่ายตายเกิด พอเวียนว่ายตายเกิดขึ้นมา เพราะเราเวียนว่ายตายเกิดขึ้นมามันมีอวิชชาใช่ไหม อวิชชาคือความไม่รู้ ไม่รู้ในอะไรล่ะ ไม่รู้ในสัจจะ ไม่รู้ในกาลเทศะ 
แต่เวลามันส่งออก มันรู้ไปหมด แล้วเวลาส่งออกไป ส่งออกคือโลกียปัญญา ส่งออกมันออกไปรับรู้ เวลาการส่งออกมันก็เป็นจริตเป็นนิสัยของคนอีก จริตนิสัยของคน คนนุ่มนวล คนกระด้าง คนต่างๆ มันเป็นจริตนิสัย แล้วสิ่งนี้ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก็ว่าเข้าใจ เวลาเข้าใจขึ้นมา เราจะเอาจริงเอาจังขึ้นมา เอาจริงเอาจังขึ้นมาไม่ได้ 
ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ของเรา พระกรรมฐาน พระกรรมฐานเวลาบวชกับอุปัชฌาย์มา นั่นแหละเรียนปริยัติจบแล้ว เพราะว่าอะไร เพราะว่าเวลาบวชเข้ามา เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ กรรมฐาน ๕ อุปัชฌาย์ให้มาแล้ว แล้วเวลาบวชขึ้นมา อุปัชฌาย์บอกว่า นั่นน่ะให้อยู่โคนไม้ รุกขมูลเสนาสนัง นี่บวชมา การบวชมามันได้กรรมฐาน ๕ มาทุกองค์ แล้วก็บอกรุกขมูลมาด้วย ให้อยู่โคนไม้ ให้อยู่เรือนว่าง ให้ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้ตามความเป็นจริง 
แต่เรายังไม่แน่ใจของเรา เราก็มาศึกษาก่อน ศึกษาภาคปริยัติขึ้นมา ศึกษาขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ เวลาศึกษาขึ้นมาแล้วมันก็ลังเลสงสัย แล้วจะมีผู้ใดคอยชี้ทางเรา เพื่อจะให้เราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมาให้ได้ 
ถ้าคอยชี้ทางเรา ชี้ทางคือชี้หัวใจนี่ หัวใจที่มันดิ้นรนอยู่นี่ ถ้าหัวใจมันดิ้นรนอยู่นี่ เห็นไหม เราเกิดเป็นชาวพุทธ เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ศาสนานี้เราได้ร่มเงานะ ร่มเงาด้วยสังคม ด้วยวัฒนธรรมประเพณี มีการเสียสละ มีการเจือจานกัน มีการเห็นอกเห็นใจกัน แล้วเวลาเอาจริงเอาจังขึ้นมาล่ะ นี่วัฒนธรรมนะ เราได้ความร่มเงาจากพระพุทธศาสนา 
แต่เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ถ้ามันเป็นธรรมะ ถ้าเราปฏิบัติด้วยความด้นเดา ด้นเดาๆ เพราะอะไร เพราะมีความรู้ เรามีความรู้ เราก็ด้น เราก็เดา เราก็คาด เราก็หมาย ก็บอกว่าเป็นการสันนิษฐาน มันเดาทั้งนั้น สันนิษฐานคือเดา ทำไมถึงต้องสันนิษฐานล่ะ สันนิษฐานเพราะเรายังไม่รู้ไง ยังไม่รู้ต้องสันนิษฐานเอา 
แต่ถ้าเวลาครูบาอาจารย์เราเวลาประพฤติปฏิบัติท่านไม่ให้สันนิษฐาน ท่านไม่ให้ทำอะไรทั้งสิ้น กำหนดพุทโธ กำหนดพุทโธเพราะอะไร เพราะให้จิตมีคำบริกรรม ถ้าไม่มีคำบริกรรมก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ สิ่งที่ศึกษามาแล้วศึกษามาด้วยโลกียปัญญา ปัญญาอย่างนี้คือปัญญาการค้นคว้าการวิเคราะห์วิจัยขึ้นมา วิเคราะห์วิจัยขึ้นมามันก็ได้ความปลื้มใจ ดูสิ เวลาศึกษาพุทธประวัติ คนที่ศึกษาพุทธประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้าบางคนน้ำตาไหลนะ มันซาบซึ้ง ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสร้างอำนาจวาสนาบารมีมาขนาดนั้น ทำไมชีวิตของท่านยังต้องสมบุกสมบันให้เผชิญกับกิเลสขนาดนี้ แล้วเราล่ะๆ แล้วเราจะทำอย่างนี้ได้ไหม 
ฉะนั้น เราไม่ต้องเทียบอำนาจวาสนากับใคร เราจะเทียบอำนาจวาสนากับเรา ถ้าเรามีสติมีปัญญา เรามีศรัทธามีความเชื่อ คนเราเกิดมาถ้าเป็นชาวพุทธ เราพุทธที่ทะเบียนบ้าน ๖๐ กว่าล้านคน แล้วพุทธทั่วโลกล่ะ พุทธที่ทะเบียนบ้านไง เขามีความรู้สึกนึกคิดอย่างเราไหม เขามีความรู้สึกนึกคิดว่าจะค้นคว้าไหม เวลาค้นคว้าหาสัจธรรมๆ เวลาเราทำบุญ เราก็ว่า “เราได้บุญหรือเปล่า” ทุกคนจะถามว่า “ทำบุญจะได้บุญหรือเปล่า ได้บุญมากได้บุญน้อยขนาดไหน” 
ฉะนั้น ไอ้นั่นเป็นความคาดหมาย สันนิษฐาน แต่เวลาจะปฏิบัติเอาความจริง เอาความจริงถ้าเราทำความสงบของใจเราไว้ไม่ได้ เราก็จะไม่ได้สัมผัสธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต เวลาเราเร่าร้อน เวลาความทุกข์ เรานั่งคุยกัน เรานั่งปรับทุกข์ด้วยกัน คุยกันได้ทั้งวันทั้งคืนเลย เรื่องความทุกข์พูดได้ตลอดเวลาเลย แต่เวลาเรื่องความสุขล่ะ เรื่องสัจธรรมล่ะ สัจธรรมก็สัญญาไง 
ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาเขาประพฤติปฏิบัติธรรม เขาให้สนทนาธรรมกันเป็นมงคลอย่างยิ่ง เป็นมงคลชีวิต การ ธมฺมสากจฺฉา เป็นมงคลชีวิต แต่เวลาเราคุยธรรมะกัน เราคุยธรรมะกันเอาแพ้เอาชนะกันหรือ แล้วทำไมต้องมาเอาแพ้เอาชนะกัน เวลาคุยธรรมะกัน เขามีความรู้ความเห็นของเขา มันก็เรื่องของเขา 
แต่เวลาเราปฏิบัติขึ้นมา เวลาเราตั้งสติ เราตั้งสติของเราขึ้นมา เวลาเราไม่ปฏิบัติเราคิดว่าปฏิบัติ เราทำอย่างไรก็ได้ เราว่าเราปฏิบัติได้ ทำไมเราทำไม่ได้ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนานี่ทำไมทำไม่ได้ งานทุกอย่างเราก็เคยทำมาแล้ว งานหนักหนาสาหัสสากรรจ์ขนาดไหน โลกเราก็ได้สมบุกสมบันมาแล้ว ทำไมเราจะเอาหัวใจของเราไม่ได้ เวลามาปฏิบัติให้นั่งเฉยๆ นั่งไม่ได้แล้วจิตมันหลุกหลิกๆ มันมีทางออก มันคิดร้อยแปดไปทั้งนั้น ถ้ามันคิดร้อยแปดไปโดยธรรมชาติของมัน โดยธรรมชาติของจิตเป็นอย่างนั้น ธาตุรู้ สันตติ ธรรมชาติของมันเป็นอยู่อย่างนั้น 
แต่ถ้าเรามีคำบริกรรมพุทโธๆ เห็นไหม พุทโธๆ นี่พุทธานุสติ เราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเรากำหนดพุทโธ สะเทือน ๓ โลกธาตุ มันสะเทือน ๓ โลกธาตุ มันสะเทือนหัวใจเรา ถ้าจิตใจเรามั่นคง เวลากำหนดพุทโธมันสะเทือนหัวใจเรามาก แต่ถ้าจิตใจเรามันไม่มั่นคง มันสักแต่ว่าทำ เวลาทำก็ทำสักแต่ว่า แต่มันจะเอาผลจริงๆ “เวลานี้ก็ทำจริงๆ แล้ว ไม่ได้สักแต่ว่า ก็ตั้งใจแล้วล่ะ” ตั้งใจ! ตั้งใจของใคร อำนาจวาสนาของใคร มันทำมากน้อยแค่ไหน ถ้ามันทำมากน้อยแค่ไหน เห็นไหม 
ดูสิ ถ้าสัจธรรมเป็นความจริง สติ สติปัญญา สติมันก็คือสติ ภาวนามยปัญญามันเกิดจากจิต เพราะเรามีจิต แต่เรามีอวิชชาครอบงำอยู่ เราถึงทำอย่างนั้นไม่ได้ เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราเข้าใจไปหมด เวลาฟังเทศน์ครูบาอาจารย์เข้าใจไปหมดเลย แต่ข้อเท็จจริงในใจของเรามันไม่มี ถ้ามันไม่มีขึ้นมา มันก็ไม่เป็นความจริงขึ้นมาใช่ไหม เวลากิเลสมันชักนำไปอย่างนั้น ถ้าเราเอาจริงของเราล่ะ เราตั้งสตินะ คำว่า “ตั้งสติ” ครูบาอาจารย์ท่านรู้ 
อย่างเหมือนเราคนป่วยไปหาหมอ จะถามหมอเลยว่า “เราเจ็บไข้ได้ป่วยมันจะหายไหม เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นโรคอะไร แล้วจะรักษาได้อย่างไร” เพราะอะไร เพราะเราถามหมอ เพราะหมอเขาเรียนทางวิชาการการแพทย์มา เขารู้ของเขา 
ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมาท่านรู้ว่า จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ความเป็นไปของจิตมันเป็นแบบนี้ แต่ที่มันสมบุกสมบันกัน มันทุกข์มันยากกันอยู่นี่ พญามารครอบครัวของมาร ตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยายของมัน จนลูกหลานของมาร ครอบครัวของมัน มันเหยียบย่ำอยู่บนหัวใจนี้ มันอาศัยหัวใจของสัตว์โลกเป็นที่อาศัย แล้วก็ปิดหูปิดตาไม่ให้เข้าใจ ศึกษาธรรมะมามีบุญกุศลขนาดไหนทำไปเป็นอามิส มันก็เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ครอบครัวของมารมันก็ยังพอใจของมันอยู่ เพราะอะไร เพราะเป็นที่พึ่งอาศัยของมัน เห็นไหม 
พอเรากำหนดพุทโธๆ มันรู้มันสะเทือนตัวมันแล้ว เพราะกำหนดพุทโธๆ พุทธา-นุสติไง เพราะอะไร เพราะพญามารมันกลัวอะไร มันกลัวธรรมะขององค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สำรอกคายอวิชชาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการได้ปัญจวัคคีย์ ได้ยสะ พระอรหันต์ทั้งนั้น พระอรหันต์คือฆ่ากิเลสไง พระอรหันต์คือฆ่าทำลายอวิชชาไง พญามารได้สำรอกได้คายของมันออกไปแล้ว ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมาท่านปฏิบัติมาอย่างนั้น 
แต่เราจะทำความจริงของเราขึ้นมา เราจะเอาความจริง เราไม่ใช่ลูบๆ คลำๆ เราไม่ได้ทำสักแต่ว่าทำพอเป็นพิธี พอทำเป็นพิธีเพราะมันเป็นแฟชั่น ตอนนี้การปฏิบัติธรรมมันกำลังเฟื่องฟู เราก็จะทำไปกับเขา พอทำไปเป็นพิธีมันก็ได้พิธีไง พอทำเป็นพิธีมันก็ได้บรรเทาทุกข์ไง ร่มเงาของศาสนาไง ขนาดเราไปวัดไปวาเรายังปลื้มใจ วัดวาที่เขามีข้อวัตรของเขา เขารักษาความสะอาดของเขา เราเข้าไปแล้วที่อยู่ของผู้ทรงศีล เราเข้าไป เรายังรู้สึกว่ามันแปลกหูแปลกตา แล้วเรามาศึกษาทำไมมันจะไม่บรรเทา ปฏิบัติมันก็ได้บรรเทานั่นแหละ มันก็ได้แค่นั้นแหละ 
แต่ถ้าจะเอาจริง ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมา ท่านรู้ถึงเล่ห์กลและมายาของมัน เวลาจะทำความดีมันก็เผื่อให้มีโอกาสได้ทำเท่านั้น แล้วมันก็ปิดหูปิดตาต่อเนื่องกันไป เล่ห์กลของมัน มันพอผ่อนให้เราได้หายใจเท่านั้นแหละ พอผ่อนให้เราได้หายใจเราก็เชื่อมันแล้ว ว่าเราทำแล้วได้บรรเทาทุกข์ มันบรรเทา คำว่า “บรรเทา” เวลาปฏิบัติธรรมแล้วว่าสะดวกสบายไปหมดล่ะ สะดวกสบายสะดวกอะไร 
แต่ถ้าเอาความจริงเรากำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เวลาพุทโธๆ จิตมันละเอียด จิตมันหยาบ แต่มันเริ่มต้น การประพฤติปฏิบัติเริ่มต้นมันแสนยากทั้งนั้นแหละ เหมือนคนหัดใหม่ คนหัดใหม่ทำสิ่งใดแล้วก็ทำไม่เป็นทั้งนั้นล่ะ เราก็มีสติปัญญาพยายามขวนขวายของเรา เราทำของเรา เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาขนาดไหน เราทำเพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ถ้าจิตมันสงบเข้ามา จิตมันมีการเปลี่ยนแปลงเข้ามา มันเกิดความมหัศจรรย์แล้ว จากพุทโธไม่ได้มันก็พุทโธได้ พอพุทโธได้ พุทโธ พุทโธกับจิตทุกอย่างมันกลมกลืนกัน พอมันกลมกลืนกันทำไมมันทำง่ายล่ะ สิ่งที่มันทำว่าทำยาก สิ่งที่ทำสิ่งใดก็ไม่ได้ สิ่งที่ทำสิ่งใดกิเลสมันมารยาสาไถย มันพลิกแพลงตลอดเวลา พุทโธคำหนึ่ง เห็นไหม มันก็อยู่คนละทวีป จิตก็อยู่อันหนึ่ง สติก็อยู่ทวีปหนึ่ง กำหนดไปทวีปหนึ่ง แล้วมันจะมาร่วมเป็นสามัคคี เป็นสัมมาสมาธิได้อย่างไร 
เราตั้งจิตของเรา เรากำหนดของเราด้วยความชัดเจนของเรา ถ้าชัดเจนของเรา เห็นไหม เวลาธรรมะ เห็นไหม ธรรมสัจธรรม เวลาทางโลกนะ เวลาเราทุกข์เรายาก พอมีคนมาช่วยเหลือเจือจานจุนเจือเรา แต่ถ้าเราสร้างเนื้อสร้างตัวของเราได้ เราจะยืนอยู่บนลำแข้งของเราเองได้ พุทโธๆ จิตมันสงบ
พอจิตมันสงบเข้ามา จิตมันสงบเข้ามามันมีความมหัศจรรย์ คนเราความมหัศจรรย์นะ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี เวลาเขาทำบรรเทาทุกข์ๆ มันเป็นอารมณ์ อารมณ์ที่มันตึงเครียด เราศึกษาธรรมะเราก็ซาบซึ้ง มันปล่อยอารมณ์หนึ่ง มันก็ไปอยู่อีกอารมณ์หนึ่ง มันไม่เห็นตัวจิตหรอก มันเป็นอารมณ์ คำว่า “อารมณ์” เห็นไหม อารมณ์ ดูสิ ความรู้สึกนึกคิดของเรามันก็เป็นอารมณ์อันหนึ่ง เพราะมันมีจิต
คนตายคิดไม่ได้เพราะมันไม่มีจิต ตัวจิตนี้แหละตัวความรู้สึกนึกคิด เวลามันคิดออกไป มันคิดออกไปนี่สัญญาอารมณ์ แล้วเวลามันคิดถึงความทุกข์ความยาก มันคิดถึงชีวิตประจำวันของมัน มันก็มีความทุกข์ของมัน เวลาคิดถึงตรึกในธรรม ธรรมะขององค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คิดแล้วมันก็ซาบซึ้ง มันบรรเทา มันก็เป็นอารมณ์อันหนึ่ง 
เราพุทโธๆ เป็นอารมณ์ไหม ก็เป็น เพราะมันเป็นวิตก วิจาร ระลึก ยกขึ้น ถ้าไม่ระลึก พุทโธมันก็อยู่ในตำรา พุทโธมันก็เป็นชื่อ มันเป็นชื่อเท่านั้น มันเป็นอักษรที่เขียนขึ้นมา แต่ความจริงครูบาอาจารย์ของเราท่าน เวลาหลวงตาท่านบรรลุธรรมขึ้นมา เห็นไหม ท่านกราบแล้วกราบเล่าๆ กราบใครล่ะ ท่านกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปแล้วสองพันกว่าปี หลวงตาท่านกราบอะไร นี่ไง นั่นน่ะคือพุทธะแท้ พุทธะแท้คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
แต่เวลาเราระลึกขึ้น เรายกขึ้น ถ้าจิตยกขึ้น เห็นไหม ยกขึ้นระลึกขึ้น เวลามันพุทโธ มันวิตก วิจาร วิตก วิจารจิตมันมีการกระทำ เวลาจิตมันพาดพิงถึงอารมณ์ ส่งออกไปที่อารมณ์ ตัวจิตมันไม่เห็นหรอก เห็นแต่อารมณ์ไง เราเห็นแต่ความอารมณ์หยาบ อารมณ์ละเอียด เราเห็นแต่อารมณ์ แต่ตัวจิตมันอยู่ไหน แต่พุทโธๆ นะ ก็อารมณ์เหมือนกัน แต่อารมณ์มันยกสู่วิตก วิจาร
องค์ของสมาธิ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ นั่นข้อเท็จจริง ถ้ามันข้อเท็จจริงเราพุทโธๆ เวลาจิตมันสงบมันวางได้ แต่มันจะเทียบเคียงว่าเป็นวิตก วิจาร เป็นปีติ เป็นสุข เป็นเอกัคคตารมณ์ มันยังไม่เข้าใจ เพราะคนปฏิบัติใหม่ทำบ่อยครั้งเข้ามีความชำนาญมากขึ้น จนจิตมันตั้งมั่น เห็นไหม ธรรมะมันกางร่ม เวลาทางโลกเขาทำธุรกิจกัน คนที่เขาจะหาผลประโยชน์ ถ้าคิดว่าธุรกิจอันนั้นมันเจริญงอกงาม เขาจะขอมีส่วนร่วมด้วย เขาจะเอาร่มมาให้
เวลาธุรกิจของเรามีปัญหานะ เขาฉกฉวยเอาร่มไปเลย เอาทุนของเขาออกไป เราก็มีแต่ง่อนแง่น เห็นไหม ถ้าเราพุทโธๆ จนธรรมะมันกางออก จากที่เราใช้ เราเกิดเป็นชาวพุทธ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราอาศัยร่มเงาของศาสนา เราอาศัยร่มเงาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แล้วเรากำหนดพุทโธๆ จนจิตมันมีความมั่นคงของมัน นี่ธรรมะกางร่ม กางขึ้นมาบนหัวใจของเรา หัวใจถ้าจิตมันสงบแล้วมันจะมีความสุขนะ 
ถ้ามีความสุข คนที่จิตใจของเราอ่อนแอ จิตใจที่ไม่มีกำลัง พอจิตมันสงบเข้ามานี่ “อ๋อ! นิพพานเป็นอย่างนี้เอง มันว่างอย่างนี้เอง” ทั้งๆ ที่ว่าโดยสัจธรรม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “สมาธิแก้กิเลสไม่ได้หรอก สมาธิแก้กิเลสไม่ได้” ความสุข ความสงบระงับอันนี้แก้กิเลสไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ปัญญา แต่ก็ต้องอาศัยความสุข อาศัยความสงบอันนี้มันถึงจะเกิดโลกุตตรปัญญา ปัญญาการชำระล้างกิเลสมันต้องมีพื้นฐานของจิตเราเป็นพื้นฐาน 
เพราะว่าจิตเรานี้มันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ พอจิตมันเวียนว่ายตายเกิด ขณะที่เกิดมันมีอวิชชาครอบงำ มันถึงได้เกิด พอเกิด เกิดในครรภ์ เกิดในไข่ เกิดในน้ำครำ เกิดในโอปปาติกะ แล้วเวลาเกิดได้สถานะไหน มันก็เอาสถานะนั้นศึกษาเล่าเรียน เทวดา อินทร์ พรหม มาฟังเทศน์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม ดูเทวดา อินทร์ พรหม มาฟังเทศน์สิ เขาก็ได้สถานะของเขามาฟังเทศน์ เทวดาฟังเทศน์องค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสำเร็จเป็นหมื่นเป็นแสนก็มี เทวดามาฟังเทศน์ได้เป็นบุญกุศลไปก็มี นี่อำนาจวาสนาของจิตมันไม่เหมือนกัน 
ถ้าอำนาจวาสนาของจิตไม่เหมือนกัน เพราะเขามีจิตมา เขามีศรัทธามีความเชื่อมีเจตนา เขามาฟังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็มีศรัทธามีความเชื่อ เห็นไหม เรามีศรัทธาความเชื่อ เราเกิดเป็นมนุษย์เพราะอำนาจวาสนาเป็นอริยทรัพย์ เพราะเราได้สถานะของความเป็นมนุษย์มา ได้มนุษย์มา เราก็ดำรงชีวิตของความเป็นมนุษย์ไง 
เรามีหน้าการงาน เราเห็นภัยในวัฏสงสาร เราก็มาบวชเป็นพระ บวชเป็นพระเป็นนักรบ นักรบคือรบกับกิเลส เรามีเวลา ๒๔ ชั่วโมงก็จะต่อสู้กับกิเลสตลอดเวลา ต่อสู้กันที่ไหน ต่อสู้ในทางจงกรม ในทางที่นั่งสมาธิภาวนา การนั่งสมาธิภาวนานั่นเป็นเรื่องของร่างกาย เวลาต่อสู้จริงๆ ก็ต่อสู้ในกลางหัวใจ เพราะกลางหัวใจตัวพุทธะตัวจิตนั่นไง 
เอาตัวจิตนั่นล่ะเป็นตัวต่อสู้ นั่นล่ะเป็นชัยภูมิ นั่นล่ะเป็นสนามรบ นี่การภาวนาถ้ามีสนามรบ เห็นไหม ดูสิ เวลาธรรมะมันกางร่มมา มันมีสัมมาสมาธิเป็นที่พึ่ง เห็นไหม ที่พึ่งที่อาศัย มันมีความสุขนะ นี่ความสุขแล้ว ถ้ามีครูบาอาจารย์ท่านยกขึ้นสู่วิปัสสนา แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา”
เทศน์ธัมมจักฯ กับพระปัญจวัคคีย์ ไม่ได้สอนให้ทำสมาธิเลย การทำสมาธิของปัญจวัคคีย์ อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ๖ ปี ๖ ปีสมาธิมันมั่นคงอยู่แล้ว เพียงแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ พระพุทธศาสนาอริยสัจมันยังไม่เกิดขึ้น อริยสัจยังไม่เกิดขึ้นใครจะทำความสงบของใจได้มากน้อยขนาดไหน มันก็เป็นความสงบ มันก็เป็นทุนเดิมของเขา ฤๅษีชีไพร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรียนมากับอาฬารดาบส สมาบัติ ๘ ได้มาทั้งนั้น แต่มันเกิดเป็นภาวนามยปัญญาขึ้นมาหรือไม่ มันไม่เกิดเป็นภาวนามยปัญญาขึ้นมาเพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ 
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา นั่นล่ะภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นที่นั่น นั่นล่ะสัจธรรมมันเกิดที่นั่น ถ้าสัจธรรมมันเกิดที่นั่น เวลาชำระล้างกิเลสไปแล้ว เวลาเทศน์ธัมมจักฯ เห็นไหม เพราะปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากกันมา เทฺวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนไม่ควรเสพ อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค ไม่ควรเสพ มัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาพอดีกับมรรค ๘ พอมรรค ๘ ขึ้นมา พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม 
เพราะใคร่ครวญด้วยปัญญาของพระอัญญาโกณฑัญญะถึงมีดวงตาเห็นธรรม เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น อารมณ์ที่เกิดขึ้น ความรู้สึกเกิดขึ้น เกิดขึ้นมาจากไหน มันเกิดมาอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มันต้องดับ มันต้องทำลายทั้งหมด แต่มันทำลายด้วยอะไร มันทำลายด้วยธรรมจักรที่เกิดขึ้นในใจของพระอัญญา-โกณฑัญญะไง นี่สัจธรรมมันเกิดขึ้น ถ้าสัจธรรมมันเกิดขึ้น ถ้าใช้ปัญญาไป สัจธรรมมันจะเป็นอย่างนั้น 
ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมๆ บอกว่า “ไม่ได้สอนทำสมาธิเลย” ถ้ามีสมาธิอยู่แล้วเขาก็ให้ใช้ปัญญา แต่ถ้าสมาธิไม่มีต้องควรทำสมาธิ เพราะสมาธิเป็นสัจจะ เป็นสัจจะจะเข้าสู่โลกุตตรปัญญา จะเข้าสู่ภาวนามยปัญญา ปัญญาในพระพุทธศาสนาที่เราภูมิอกภูมิใจกันตลอดบอกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ปัญญา การใช้ปัญญาเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายืนยันตรงนี้ เพราะองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูสิ ปฏิเสธเจ้าลัทธิ ปฏิเสธความรับรู้ของลัทธิศาสนาทุกๆ ศาสนา เพราะเขาไม่มีปัญญา เขาใช้การอ้อนวอน ยอมรับยอมจำนนการพิพากษา การบูชา แต่มันไม่มีความจริงขึ้นมาไง ไม่มีความจริงขึ้นมาก็ไม่มีมรรค 
แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราก็ว่าเรามีมรรคหมดแล้ว มรรคอะไร มรรคก็สัญญา จำมา จำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็สร้างภาพสร้างอารมณ์ ไม่เป็นสมาธิ 
ถ้าเป็นสมาธิ เวลาสมาธิมันจะเกิดอย่างไร? 
ถ้าธรรมะกางร่ม เห็นไหม กางร่มมันมีความคุ้มครองหัวใจ หัวใจที่มันทุกข์มันยากนะ เวลาคนเราทุกข์ยากมา มันทุกข์ยากแสนเข็ญ แล้วพอมันทำความสงบของใจได้มันบรรเทาทุกข์แล้ว ถ้าบรรเทาทุกข์นะ พอบรรเทาทุกข์ขึ้นมา พอเราทุกข์ยาก เราก็อยากจะหาทางออก แต่พอคนเรามันมีความสุขปั๊บมันก็จะลืมตัว พอมีความสุขปั๊บมันก็จะยอมจำนน ไม่มีการกระทำต่อ ครูบาอาจารย์ของเราท่านถึงสอนไง สอนว่าจิตสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา วิปัสสนาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม เห็นกาย จิตสงบแล้วเห็นกายอย่างหนึ่ง จิตไม่สงบสร้างภาพกายก็อย่างหนึ่ง 
เวลาไปเที่ยวป่าช้า คนที่ไปเที่ยวป่าช้า ซากศพนั้นเพื่อให้จิตใจไม่คิดออกนอกเรื่องนอกราว ไปเที่ยวป่าช้าเราไปเห็นผีไปเห็นจิตวิญญาณไง แต่ถ้าเราไปเที่ยวป่าช้า จิตสงบแล้ว จิตนะจิตมีหลักมีเกณฑ์ให้กำหนดเพ่งดูแล้วหลับตา หลับตาลงว่ามันเกิดภาพนั้นไหม ภาพนั้นเป็นอุคคหนิมิต แล้วเรากลับ เรากลับมาที่อยู่ที่อาศัย ภาพนั้นเราใช้ปัญญาแยกแยะเป็นวิภาคะ แยกส่วนขยายส่วนให้เป็นไตรลักษณ์ เนี่ยการเห็นกายเห็นอย่างนี้ 
การเห็นกาย ดูสิ จิตสงบแล้วมันถึงเห็นภาพนั้น แต่ถ้าเราจิตเราไม่สงบ เราก็เห็นภาพนั้นเหมือนกัน แต่เห็นภาพนั้นมันเป็นโลกียะเป็นโลกไง โลกคืออะไร โลกคือสมุทัย สมุทัยเพราะจิตเราไม่สงบ เราคิดเองได้ทุกอย่าง 
ถ้าจิตเราสงบเราคิดเองได้ไหม เวลาปัญญามันเกิด ปัญญาเกิดนี่เราคาดหมายไม่ได้ เวลาเราทำความสงบของใจใช่ไหม พอใจสงบแล้วเราอยากจะเห็นกาย เห็นโดยที่เราคิดว่าจะเห็นกายสภาพนั้นๆ เป็นไปไม่ได้ มันเป็นปัจจุบัน มันจะเกิดขึ้นมาโดยปัจจุบัน ปัจจุบันจะเห็นสภาพไหนจะเป็นอย่างไร ถ้าเห็นได้รักษาสิ่งนั้นไว้ นี่ธรรมะกางร่ม กางร่มให้เราใช้โลกุตตรปัญญา ปัญญาการใคร่ครวญเวลาจิตสงบมันก็มีความสุขอย่างหนึ่ง เวลาจิตถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตตามความจริงแล้ว มันพิจารณาไปด้วยปัญญา เวลามันปล่อยๆ มันปล่อย มันปล่อยคือตทังคปหาน 
ในการทำงานของเรา เห็นไหม ในการทำงานของเราเสร็จชิ้นหนึ่ง งานชิ้นนั้นก็สำเร็จ แต่งานชิ้นนั้นมันสมบูรณ์แบบไหม ถ้าเราอยากมีความชำนาญขึ้นมา เราก็ทำงานชิ้นต่อไปๆ แต่เป็นทำงานแบบนั้น แต่ทำงานแต่ละชิ้นๆ ขึ้นมา มันก็เป็นผลงานแต่ละชิ้นๆ นี่ก็เป็นรูปธรรม แต่เวลาปฏิบัติ เห็นไหม พิจารณาไปแล้วมันปล่อยๆ มันก็เหมือนงานชิ้นนั้นๆ เวลาปล่อยขึ้นมามันจะมีความสุข อารมณ์มันจะเบิกบานมาก 
คนเราล้มลุกคลุกคลานมานะ เราคนทุกข์คนเข็ญใจ ไม่มีสมบัติสิ่งใดติดเนื้อติดตัวเลย มีความทุกข์มาก เวลามาปฏิบัติธรรม พอจิตมันสงบขึ้นมามันก็พอมีทุนเดิมอยู่ เห็นไหม เพราะมันเข้าไปสู่จิตของเรา เพราะจิตดวงนี้เองที่มันเวียนว่ายตายเกิด และเพราะเราหลงไปอยู่สัญญาอารมณ์ เราหลงอารมณ์ตัวเราเอง เราถึงไม่เคยเห็นจิตเราเลย ศึกษาธรรมะ ศึกษาวิชาการ ศึกษาสิ่งใดๆ ก็อวดตัวว่ารู้ อวดตัวว่ารู้ทั้งนั้น แต่จิตก็ไม่ค่อยเคยเห็นตัวจิต จิตก็ไม่เคยเห็นอาการของจิต จิตก็ไม่เห็นตัวตนของมันเลย พอจิตมันสงบเข้ามานั่นน่ะได้ถึงตัวตนขึ้นมา ถึงตัวตนแล้วตัวตนก็ยังหาสติปัฏฐาน ๔ ไม่เจอ พอจิตมันยกขึ้นสู่สติปัฏฐาน ๔ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง นี่งานมันเกิดไง 
คนทุกข์คนจน คนอาภัพวาสนา จิตสงบขึ้นมามันก็มีความร่มเย็นเป็นสุข มันก็นี่ธรรมะกางร่มในหัวใจของเรา ชีวิตประจำวันเราอาศัยร่มเงาของศาสนา อาศัยความพึ่งพาอาศัย เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบเข้ามาได้นี่ธรรมะมันกางร่ม เราใช้ปัญญาของเราไป ถ้าจับยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้ ใช้ปัญญาไป พิจารณาไป เป็นงานเป็นชิ้นเป็นอันแล้วมันปล่อย มันปล่อย ความปล่อยของมัน มันมีความสุข มีความสุขมาก คนทุกข์คนเข็ญใจมันคิดว่า เรานี่ คนทุกข์คนเข็ญใจ เราจะมีอำนาจวาสนาอย่างไร? มันจะมีคุณธรรมอย่างใดขึ้นมาในหัวใจเราบ้าง เวลาปฏิบัติไปมันสงบขึ้นมา เราก็มีความสุขของเราแล้ว 
แล้วเราก็มีความขยัน มีความหมั่นเพียร มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ ถ้าบอกก่อนมันก็เป็นโทษ เพราะบอกก่อนมันก็เป็นการจินตนาการ บอกไปโดยที่ตัวเองยังไม่มีอำนาจวาสนา มันก็บอกว่าโจทย์นี้มันยากทุกย์ยากแสนเข็ญ โจทย์มันใหญ่เกินไปทำไม่ไหว แต่ถ้ามันฝึกหัดๆ เห็นไหม มันเข้มแข็งขึ้นมา มันแข็งแรงขึ้นมา จิตใจมีกำลังขึ้นมา มันก็พิจารณาของมันได้ พอพิจารณาได้ มันก็ปล่อยๆ โอ๋ย! มันมีความสุข ความสุขนะ 
เราว่า เราทุกข์เรายากกันมาตลอด ใช่! ชีวิตประจำวันมันทุกข์ยาก คนเรา ดูสิ เวลาขับถ่าย ขับถ่ายมันก็ยังมีความทุกข์เลย ชีวิตมันมีความทุกข์อยู่เป็นประจำ ทุกข์คือความทนอยู่ไม่ได้ ชีวิตมันก็เป็นแบบนี้ แต่เวลาเรามาปฏิบัติธรรมๆ เพื่อให้หัวใจมันผ่องแผ้วไง เราจะสำรอก เราจะคาย เราจะคายอวิชชาไอ้ความไม่รู้ในหัวใจให้เป็นคนฉลาดซะ เพราะโง่ๆ อย่างนี้มันถึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ไง แล้วก็แสวงหาอยู่นี่ พยายามสร้างอำนาจวาสนาบารมี พยายามจะประพฤติปฏิบัติอยู่นี่มันก็ยังไม่ได้ผล เพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เหตุมันไม่สมดุล เหตุมันไม่สมควร มันเป็นจริตเป็นนิสัยของเรา เราจะมีจริตนิสัยขนาดไหน เราก็พยายามทำของเราให้ได้อย่างนั้น 
พอจิตมันสงบยกขึ้นสู่วิปัสสนา เวลามันชำระล้างมันปล่อยๆ นี่ธรรมะกางร่ม แล้วถ้ากิเลสมันเล่นลวดลายนะ มันแย่งร่มเราไป เวลาจิตมันเสื่อมไง พอปฏิบัติไปแล้วเขาไม่ให้ชะล่าใจนะ เขาจะรักษา เขาจะดูแลจิตใจ ดูสิ พระกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ของเรา ท่านถึงจะไม่ให้คุยกัน ไม่ให้คุยกัน ไม่ให้คลุกคลี การคลุกคลีนั้นเป็นทางเสื่อม ทางการคลุกคลี การต่างๆ เห็นไหม ให้มีสติสัมปชัญญะรักษาใจของตัว แล้วก็รักษานะ ขณะรักษาอย่างนี้มันก็ยังเสื่อม พอมันเสื่อม เสื่อมก็ต้องตั้งสติ เสื่อมก็ต้องหาเหตุหาผล หนึ่งศีลเราปกติไหม ปัจจัยเครื่องอาศัยเราใช้แล้วมันมีความวิตกกังวลไหม ถ้ามีช่องหน่อยเดียวเท่านั้นกิเลสมันสวมรอยเลย มันเข้าใส่เลย พอมันเข้าใส่ เห็นไหม การปฏิบัติเรามันจะติดขัดไปหมด นั่นล่ะกิเลสมันจะหุบร่ม 
ธรรมะมันกางร่ม กางเพื่อคุ้มครองหัวใจของเรานะ กางขึ้นมาเพื่อจะชำระล้างมัน การชำระล้างนะ กิเลสของใครก็เป็นกิเลสที่ในใจดวงนั้น ไม่ต้องมองกิเลสของใครทั้งสิ้น เราต้องการชำระล้างของเรา เราต้องการสำรอกคายกิเลสในใจของเรา ถ้ามันคายมันมีการต่อสู้ระหว่างกิเลสกับธรรม ถ้าจิตมันมีสติมีปัญญาขึ้นมานั่นสัจธรรม ธรรมจักร จักรที่มันเคลื่อนไง 
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ เทฺวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนที่ไม่ควรเสพ แต่ถ้าควรกระทำ ธรรมะเป็นมรรค มัชฌิมาปฏิปทาเป็นทางเดินของเรา เราปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา มันก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทาแต่ละดวงใจ เพราะคำว่า “ดวงใจ” จริตนิสัยคนกิเลสหยาบ กิเลสหนา กิเลสบางแตกต่างกัน อารมณ์ของคน อารมณ์เราคนคนเดียวแต่ละคราวมันยังไม่เท่ากันเลย ฉะนั้น เวลาปฏิบัติขึ้นมา มัชฌิมาปฏิปทาความสมดุลของมัน ถ้ามันสมดุลมันก็ปล่อย ปล่อยแล้วมันไม่มีสิ่งบอกเหตุว่ากิเลสมันตายอย่างใด นี่เขาเรียกตทังคปหาน มันชั่วคราว 
คำว่า “ชั่วคราว” ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ปฏิบัติพอมันปล่อยมันเป็นความมหัศจรรย์ มันเป็นความมหัศจรรย์ มันเป็นสิ่งที่เลอค่ามาก พอมันได้ความมหัศจรรย์นั้น คนส่วนใหญ่แล้วจะเผอเรอ คิดว่าสิ่งนั้นมันเป็นคุณสมบัติที่จะคงที่ตายตัว ไม่ใช่! เจริญแล้วก็เสื่อม พอเสื่อมขึ้นมาถอยกรูดๆ ขึ้นมา เราก็ต้องหาเหตุหาผลขึ้นมา เห็นไหม ระหว่างกิเลสกับธรรมมันต่อสู้กัน ธรรมะกางร่มให้ กิเลสมันจะหุบร่ม แล้วชักร่มหนีด้วย
ถ้าธรรมะมันกางร่ม มีความสุข มีความสงบ คนเราอยู่ในที่กันดารที่แห้งแล้ง แล้วเรามีที่พึ่งที่อาศัย แต่ยังไม่เป็นความจริง เห็นไหม ถ้าเป็นความจริงเราพิจารณาซ้ำ พิจารณาซาก พิจารณาแล้ว พิจารณาเล่า การพิจารณา เห็นไหม พิจารณามันจะไม่มีผลตอบแทนทุกที ถ้าพิจารณาปั๊บ เวลามันปล่อย โอ๋ย! มันมีความสุขตลอด มีความสุข มันเป็นเครื่องอยู่ จิตนี้มีที่พักที่อาศัย จิตนี้มีคุณธรรม จิตนี้มีประโยชน์ 
แต่เดิมจิตนี้มีแต่ขี้ทุกข์ จิตนี้มีแต่ภาระรับผิดชอบ จิตนี้มีแต่ความทุกข์ความยาก เวลากิเลสกับธรรมมันต่อสู้กัน ต่อสู้กัน มันต่อสู้กันกลางหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ จิตดวงใดยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา มันจะมีภาวนามยปัญญา ในการต่อสู้ชำระล้างกับกิเลส กิเลสมันจะต่อต้าน ระหว่างที่ว่าธรรมะกางร่ม กิเลสมันก็จะฉกฉวยร่มนั้นไปทำลายซะ เราพิจารณาซ้ำพิจารณาซาก จนถึงที่สุดเวลามันขาด เวลาขาดมันคงที่ตายตัว มันเป็นอกุปปธรรม 
เวลามันขาด พิจารณากาย พิจารณากายจนกายมันแปรสภาพ กายมันแปรสภาพไปหมด ไม่มีสิ่งใดเหลือเลย จิตมันปล่อยหมด พิจารณาขันธ์ เวลาขันธ์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ มันปล่อย พอมันปล่อยมันขาด พอมันขาดเครื่องบอก ยถาภูตัง เกิดญาณทัสสนะ คนเราเวลาเวียนว่ายตายเกิด เราก็ศึกษาตามตำรามาตลอด จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย แต่เวลากิเลสมันขาด สังโยชน์มันขาดไป สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส พอมันขาดมันประกาศกลางหัวใจเลย ถ้ามันจะเกิดอีกก็ ๗ ชาติเท่านั้น 
คนเรา ดูสิ เราเกิดมาเราไม่มีเป้าหมาย ไม่มีสิ่งใดที่เป็นการยืนยันกลางหัวใจ เราทำบุญกุศล เราก็เป็นที่พึ่ง เป็นร่มเป็นเงา เพื่ออาศัยกันไป มันไม่เป็นสมบัติของเรา ไม่มีสิ่งใดเป็นความจริงเลย ขนาดพิจารณา เวลาพิจารณาขึ้นไป จิตมันสงบมันได้ยกขึ้นสู่วิปัสสนา เวลาวิปัสสนาไปจนกิเลสมันขาด มันประกาศกลางหัวใจว่า ถ้าจะเกิดอีก ก็เกิดอีก ๗ ชาติเท่านั้น มันมีความมุมานะ มันมีความสุข มันมีสมบัติ มันมีคุณธรรมอยู่กลางหัวใจ 
ถ้ามีคุณธรรมอยู่กลางหัวใจ สิ่งนี้คงที่ตายตัว เห็นไหม ธรรมะกางร่ม กางร่มเป็นอกุปปธรรม แล้วพิจารณาต่อเนื่อง เวลาปฏิบัติไป เห็นไหม เวลาปฏิบัติเราก็ทำความสงบของใจให้มากขึ้น ยกขึ้นสู่วิปัสสนา ถ้ามันเป็นสกิทาคามิมรรค เราจะพิจารณากายก็ได้ เวทนาก็ได้ จิตก็ได้ เพราะคำว่า “ก็ได้ๆ” หมายความว่า เวลาพิจารณาไปถ้ามันพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง กิเลสมันจะฉกฉวยเอา กิเลสมันจะฉกฉวยร่มของเรา มันจะหุบร่ม มันจะทำให้เราทุกข์ให้เรายาก มันจะพลิกแพลงให้เราล้มลุกคลุกคลาน ถ้าล้มลุกคลุกคลานมันต้องมีอุบายไง
เวลาปฏิบัติไปมันต้องมีอุบาย มีปัญญา เราพลิกแพลง ถ้าเราเคยพิจารณาอยู่อย่างนี้ กิเลสมันรู้เท่าแล้วมันก็สร้างภาพ มันหลอกมันลวงนะ เวลาจิตมันสงบแล้ว เวลาเราเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงนี่แหละ เวลาใช้ปัญญาไปแล้วมันยังพลิกแพลง มันพลิกมันแพลง มันหลอกมันลวง มันสร้างภาพจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนี้อยู่ตลอดไป ถ้าเป็นอย่างนั้นถ้าเราเชื่อ ผิดพลาด กิเลสมันหุบร่มแล้ว รู้ตัวอีกทีมันก็ไม่ใช่ทาง เริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่ก็พยายามนี่งานของใจ 
งานของใจเป็นงานที่ละเอียดลึกซึ้ง แม้แต่คำว่า “สติ” เรายังจะต้องพยายามสร้างขึ้นมา เราพยายามรักษาหัวใจของเรา แล้วเวลารักษาจิตมันสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา มันเป็นเรื่องของจิต เป็นเรื่องของนามธรรมทั้งนั้น มันเป็นของที่ละเอียด สิ่งที่เป็นวัตถุ เขาจับต้อง เขาทำงานจบแล้ว ทำงานจบแล้วแต่ยังไม่เสร็จ เขามาทำต่อของเขาได้ 
แต่ของเราเวลาทำต่อ อารมณ์มันแตกต่างแล้ว เวลาจิตเราสงบแล้วถ้าจิตใจของเรามันไม่มีกำลัง เรามาทำความสงบของใจของเรา ทำเพื่อพักใจ พักให้มีกำลัง พักมีกำลังแล้วเราออกสู่วิปัสสนาออกไปต่อสู้กับมัน นี่ทำแล้วทำเล่า ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัตินะ ท่านทำแล้วทำเล่า ทำซ้ำทำซากอยู่อย่างนั้น ทำซ้ำทำซากเพราะอะไร เพราะกิเลสกับธรรมมันต่อสู้กันๆ ตลอด ถ้ากิเลสมันทำลายๆ มันหุบร่ม มันทำลายทั้งนั้น 
ถ้าเป็นความจริงขึ้นมาเรากางร่ม ธรรมะ ธรรมะกางร่ม กางไปมันก็มีความร่มเย็นแล้วถ้าใช้ปัญญาไป ปัญญาอยู่ในสติปัญญาของเรา อยู่ในสติอยู่ในอำนาจของจิตที่มันวิปัสสนาอยู่นี่ พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก มันปล่อยของมันไปเรื่อยๆ มันปล่อยของมันไป พอมันปล่อยของมันไป เวลามันปล่อยแล้ว เราพลั้งเผลออย่างนี้มันก็ผิดพลาด 
พอมันผิดพลาด มันจะมีถูกและผิดไปตลอด คำว่า “ผิด” ผิดเพราะมันทำแล้วมันไม่สิ้นกระบวนการของมันไง แต่ถ้ามันถูก ถูกมันก็ปล่อยวางของมัน ปล่อยวางถ้ามันยังไม่สิ้น ยังไม่ขาด มันก็ยังมีกิเลสที่พยายามพลิกแพลง พยายามต่อต้านอยู่ตลอดเวลา กิเลสมันต่อต้าน หน้าที่ของมันคือทำลายทั้งนั้น ทำลายความเพียรของเรา ทำลายความเห็นของเรา ทำลายทรัพย์สมบัติของเรา ทำลายทุกอย่างเลย ทำลายเพื่อรักษาสถานะของมัน
แต่เรา เวลาเราพิจารณาไป ถ้ากำลังของเราเต็มที่ เวลาพิจารณาไปมันจะปล่อยๆ มันจะปล่อย ปล่อยเพราะอะไร มันไม่ปล่อยเพราะมันยอมจำนนนะ มันปล่อยเพราะอำนาจของศีล สมาธิ ปัญญา มันปล่อยเพราะกำลังของจิตทำลายมัน บดบี้มัน ทำลายมัน ทำลายด้วยสติปัญญา มีปัญญาที่เหนือกว่า เหตุผลที่เหนือกว่า เหตุผลที่มันทำลายไม่ได้ นี่พูดถึงถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ 
แต่ถ้ามันเป็นเจโตวิมุตติ เห็นไหม เหตุผลของมันด้วยกำลังของจิต เวลาพิจารณาไปมันแยกมันแยะของมันตลอดไป มันมีกำลังเหนือกว่า มันมีการทำลายมากกว่า นี่ไง ธรรมจักร เห็นไหม 
ดาบที่คมกล้า ดาบของปัญญา ปัญญา ปัญญาเกิดจากสัมมาสมาธิ ปัญญาเกิดจากจิต ทำลายอวิชชาในหัวใจของเรา มันพิจารณาซ้ำๆ เข้าไป มันปล่อย ถ้ามันทำไม่ได้ มันทำไม่ได้มันขัดมันขืน ปล่อย กลับมาทำความสงบของใจ 
ฉะนั้น คำบริกรรมพุทโธสำคัญมาก เพราะถ้าเราไม่มีคำบริกรรม เราอาจผิดพลาดได้ เราผิดพลาด เราคาด เราหมาย เวลาปฏิบัติไปมันมีคาดมีหมาย เพราะเราเคยได้เราเคยเป็น เวลาเคยได้เคยเป็นมันก็คิดว่าจะเป็นอย่างนั้นๆ แต่กิเลสมันก็พลิกแพลงไปอีกอย่างหนึ่ง เวลาพลิกแพลงมันก็ทำให้เราหลงทางไปอย่างหนึ่ง มันต้องย้อนกลับมาพิจารณาซ้ำ ย้อนกลับมาสร้างกำลังขึ้นมา แล้วย้อนกลับไป แล้วพิจารณาต่อเนื่องๆ เวลามันขาด กามราคะมันอ่อนลงนะ 
สิ่งที่ธรรมะกางร่ม กางร่มอย่างชัดเจน เวลาชัดเจนขึ้นมามันมีเหตุมีผล เวลาหลวงตาท่านพิจารณาของท่าน เห็นไหม เวลาท่านขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น บอกว่า “นี่พิจารณาร่างกาย มันปล่อยหมด มันเวิ้งว้างไปหมด” หลวงปู่มั่นท่านบอก “เออ! เหมือนเราที่ถ้ำสาริกา เหมือนเราที่ถ้ำสาริกา แต่ของมหาไม่มียักษ์ ของเรามียักษ์” คำว่า “มียักษ์” มียักษ์ เห็นไหม ท่านพิจารณาของท่านแล้ว ปล่อยของท่านแล้ว ท่านยังไปเห็นสิ่งที่เป็นสัตว์ร่วมโลกที่เขาอนุโมทนาต่างๆ แต่ของหลวงตาเวลาท่านปล่อย ท่านขาด เวลาขาดท่านขาดของท่าน แต่ท่านมีความสุข คำว่า “ความสุข” ธรรมะกางร่ม กางร่มที่ชัดเจน กางร่ม ร่มของสัจธรรม ร่มของอกุปปธรรม สิ่งที่เป็นมันเป็นความจริงๆ 
แต่เวลาคนอำนาจวาสนามันไม่เท่ากัน เห็นไหม ไปถามหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า “นี่ไง ของมหา ของเรา เหมือนกัน เหมือนกันมีความสุข มีความสงบ มีสัจจะความจริงเหมือนกัน แต่ของเรามียักษ์ มหาไม่มียักษ์” แล้วสุดท้ายแล้วหลวงตาท่านอยากมีความสุขอย่างนั้นอีก เพราะเราปฏิบัติคนที่ปฏิบัติยังไม่ถึงที่สุดนะ มันก็ไม่ทะลุปรุโปร่ง ขึ้นไปหาท่าน มันขาดไปแล้ว คำว่า “ขาด” มันมีหนเดียว คำว่า “ขาดไปแล้ว” มันก็ขาดไปแล้ว มันจะมาขาดซ้ำขาดซากอยู่ได้อย่างไร 
ไอ้พวกเราเวลามันปล่อย มันปล่อยแล้วปล่อยเล่า กิเลสมันตายหลายรอบหรือ คนมันตายได้หลายทีหรือ คนมันตายหลายทีไม่ได้ คนมันตายได้หนเดียว กิเลสแต่ละชั้นๆ มันตายมันก็ตายเลย ยถาภูตัง เกิดญาณทัสสนะ ทำอย่างนั้นด้วยวุฒิภาวะ ด้วยปัญญา เวลาบอกว่า “อยากได้อีก” หลวงปู่มั่นบอก “มันก็มีหนเดียว มันตายแล้วก็จบ” ถ้าจบแล้วมันก็ควรจะทำงานต่อไป ควรจะยกขึ้นต่อไป
คำว่า “จบ” จบก็เลยไม่ไปต่อ ถ้าไม่ไปต่อ เห็นไหม กิเลสมันหุบร่ม กิเลสมันทำลายร่ม มันไม่ให้ต่อเนื่องไป แต่สิ่งที่ว่าธรรมะกางร่มมาแต่ละชั้นแต่ละตอนมันก็อยู่ มันเป็นอกุปปธรรม มันเป็นสัจจะ มันเป็นความจริงที่กลางหัวใจนั้น แต่กิเลสที่มันละเอียดกว่า มันไม่เห็นตัวมัน มันไม่ให้เห็นตัวมัน พอไม่เห็นตัวมันก็เข้าใจว่านึกว่านิพพาน นึกว่าจบแล้วไง นี่เวลากิเลสมันหุบร่ม กิเลสมันทำลาย ทั้งๆ ที่ว่าเรากำลังจะต่อสู้ กำลังจะเผชิญหน้ากับมัน กิเลสมันพลิกแพลง กิเลสมันหลอกลวงทั้งนั้น 
แล้วเวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรม คือท่านได้ผ่านมาแล้ว มันต้องมีทางก้าวเดินต่อไป ถ้ามีทางก้าวเดินต่อไปจะทำอย่างไร ให้ทำความสงบของใจให้มากขึ้น ให้ออกไปสู่กามราคะ ออกไปสู่ประหัตประหารกับกามราคะ สิ่งที่กามราคะ แล้วกามราคะมันอยู่ไหน ในเมื่อถ้ากิเลสมันทำลายแล้ว กิเลสมันหุบร่มหมด มันไม่ก้าวเดินต่อไป มันก็อยู่ตรงนั้นไง อยู่ตรงตัวที่ความเข้าใจว่านี่คือนิพพานไง แต่เวลาถ้ามันออกมา มันไม่ใช่นิพพาน กิเลสมันหุบร่ม มันทำลายร่ม มันก็ติดอยู่นั่นไง 
เวลาออกมาจากสิ่งที่ตัวเองติดอยู่ เห็นไหม โดยหลวงปู่มั่นท่านชักนำออกมา ท่านพยายามหาเหตุหาผลออกมา แต่เวลาความเข้าใจ เข้าใจว่ามันหนเดียวก็หมดแล้ว จบแล้ว แต่ไม่คิดว่า คิดว่ากิเลสอย่างละเอียด สิ่งที่เราต้องเผชิญหน้าต่อไปข้างหน้ายังมี ถ้าข้างหน้ายังมีแล้วมีอย่างไรล่ะ มันมีมันมีอย่างไร การขุดคุ้ยหากิเลสมันถึงเป็นเรื่องจำเป็นไง ถ้าจิตสงบแล้วให้ออกมาทำความสงบของใจ เพราะทำสมาธิไม่ใช่อกุปปธรรม 
อกุปปธรรม เห็นไหม ดูสิ ได้โสดาบัน ได้สกิทาคามี มันได้คุณธรรมอยู่แล้ว คุณธรรมก็คือคุณธรรม แต่เวลาจะออกทำงานมันต้องใช้กำลัง ใช้กำลังก็กลับมาพุทโธ กลับมาที่สัมมาสมาธิ พอสมาธิมันมีกำลังมากขึ้นมันก็ออกแสวงหา ออกแสวงหาในอะไร ออกแสวงหาในสติปัฏฐาน ๔ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม เวลากายถ้าเห็นกายมันก็เป็นอสุภะ ถ้าเห็นจิต จิตก็เป็นกามราคะ กามฉันทะอยู่ในหัวใจนั้น 
ถ้าหัวใจนั้น เห็นไหม พอจิตมันสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา ถ้าจิตสงบแล้วจับได้ จับได้มันก็จับแม่ทัพใหญ่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นแม่ทัพใหญ่ของจิต ถ้าของจิต จิตนี้เป็นจักรพรรดิ จิตนี้เป็นอวิชชา จักรพรรดิเขาเป็นคนวางนโยบาย แต่คนที่ออกไปทำงานก็คือแม่ทัพ แม่ทัพนายกองเป็นคนที่ออกไปทำงาน 
ถ้าเป็นครอบครัวของจิต นี่ก็เป็นพ่อของมัน นั่นมันปู่ย่าตายาย นี่พ่อของมัน กำลังที่อย่างนี้ ฉะนั้น กิเลสเวลามันพิจารณาไป เห็นไหม ดูสิ ธรรมะกางร่ม พอกางขึ้นไปมันก็สงบระงับขึ้นมามันก็เป็นมหาสติ มหาปัญญา มันเป็นมหาสติ สติเล็กน้อย สติธรรมดา มันได้ทำงานเริ่มต้นขึ้นมา แต่เวลาเราเข้าไปเจอกิเลสที่มันเข้มข้น กิเลสที่มันมีกำลัง กิเลสที่มันเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ความหลงอะไรมันก็หลง พอใจแล้วหลงหมด อะไรที่มันพอใจมันเชื่อไปแล้ว มันหลงว่า นี่ไง สติมันต้องเป็นมหาสติไง พอเป็นมหาสติขึ้นมา ถ้าทำความสงบของใจขึ้นมา มันจะเป็นมหาสติ 
มหาสติมันขุดคุ้ยมันหา มันก็ไปเจอกามราคะ เจอกามราคะมันเป็นชื่อ แต่ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงก็คือกาย เวทนา จิต ธรรมนั่นแหละ มันเป็นกายนอก กายใน กายในกาย กายหยาบ กายละเอียดไง ถ้ากายละเอียด กายละเอียดมันก็ฝังอยู่กลางหัวใจนั่นไง พอจิตมันสงบแล้วพอมันจับต้องได้ นี่ธรรมะกางร่ม อนาคามิมรรค เวลามันขึ้นไปมันต่อสู้ของมัน มันทำของมัน พอมันจับได้มันพิจารณาของมันด้วยปัญญา 
เวลาเราทุกข์เรายากนะ เวลาทุกข์ยากอย่างหนึ่ง เวลาทุกข์ยากทางโลก เวลาทุกข์ยากถ้ามีใครช่วยเหลือเจือจาน มันช่วยกันได้ในทางโลกก็จบ 
แต่เวลาการภาวนา เราทุกข์เรายาก เราทุกข์เรายากด้วยการสร้างสติสร้างปัญญาของเราขึ้นมา เวลาศึกษาขึ้นมา ศึกษามาๆ มันก็เป็นโลกียปัญญา เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าจิตสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนามันก็เป็นโลกุตตรปัญญา โลกุตตรปัญญาสิ่งที่มันทำไปมันเป็นความมหัศจรรย์ มันเป็นความลึกลับ เพราะเราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น เวลาเรารู้เห็นขึ้นมา มันก็เป็นความมหัศจรรย์ มีการกระทำมา เวลาทำขึ้นมาแล้วมันมีปัญญาขึ้นมา ก็ว่าตัวเองนี้มีอำนาจวาสนา ตนเองนี้มีปัญญามาก กิเลสมันก็หลอก กิเลสมันก็ปลิ้นปล้อน กิเลสมันมารยาสาไถยมันทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน มันมีความทุกข์ความยากมาตลอดเลย ปฏิบัติมันยากเพราะกิเลส กิเลสมันคอยปัดแข้งปัดขา 
แต่เวลาสัจธรรม สัจธรรมความจริง เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา เราต้องมุมานะ เราต้องขวนขวาย เรามีการกระทำแล้วต้องรักษาไว้ รักษาไว้เพื่อประหัตประหารกับมันไง ระหว่างกิเลสกับธรรมให้มันต่อสู้กัน ต่อสู้กันด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยความเพียรของเรา มันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา มันไปเห็นความมหัศจรรย์ไง จิตนี้มันมีความมหัศจรรย์ มันต่อสู้มาเป็นชั้นเป็นตอนๆ ขึ้นไป แล้วมันก็กำราบ กำราบปราบปรามกิเลสเป็นชั้นเป็นตอน เป็นชั้นเป็นตอนเพราะอะไร เพราะบุคคล ๔ คู่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคา-มิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
แต่เวลาที่ว่าหลวงตาขึ้นไปหา เห็นไหม บอกว่า “ให้พิจารณากายก็พิจารณาแล้ว พิจารณาให้มันปล่อยวางหมดแล้ว มันปล่อยว่างหมดเลย” สิ่งที่ว่า “เออ! เหมือนเราที่ถ้ำสาริกา” มันสองคู่ สองคู่แล้วก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นนิพพานไง เพราะมันมีหนเดียว มันไม่มีอีกแล้ว แต่ถ้ามันมีขึ้นไปมันบุคคล ๔ คู่ ๔ คู่ ถ้าคู่ที่ ๒ คู่ที่ ๓ เราทำได้ เรามีปัญญาได้ เรายกขึ้นสู่วิปัสสนา วิปัสสนาไปมหาสติ มหาปัญญาเพราะอะไร เพราะมันเป็นแม่ทัพ คำว่า “เป็นแม่ทัพ” กามราคะ ในผลของวัฏฏะ ในเรื่องสามโลกธาตุ เรื่องกามราคะเป็นเรื่องฝังอยู่กลางหัวใจ 
สิ่งที่มีการเวียนว่ายตายเกิดเพราะกามราคะ กามฉันทะ เทวดาเขาเสพกามกันด้วยทิพย์ ด้วยกามฉันท์ กามฉันทะ กามราคะทำให้จิตมันมีการเวียนว่ายตายเกิด แล้วเวลาจิตที่มันสงบเข้าไปแล้วมันไปทำลายกามภพ ทำลายสิ่งที่ว่าจิตที่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ จิตนี้มีการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย เวลาพิจารณาไป เวลาสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส มันขาดไป มันประกาศขึ้นกลางหัวใจ มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นคุณธรรมว่าเราเกิดอีก ๗ ชาติเท่านั้น 
เวลาพิจารณาไป พิจารณากามราคะ ปฏิฆะขาดไป อ่อนลงไง อ่อนลง สกิทาคามีขาดโดยความอย่างหยาบ มันเวิ้งว้างไปหมด แล้วคิดว่านี่นิพพาน แต่เวลาจะสร้างทำคุณงามความดี ทำความสงบของใจเข้ามา พอจิตขุดคุ้ยหามันได้ มันไปเจอกามราคะ สิ่งที่กามราคะสิ่งที่มันฝังอยู่กลางหัวใจ เห็นไหม มันไม่ต้องมีใคร มันก็เสพตัวมันเองได้ ดูสิ ดูสัตว์ สัตว์บางชนิดมันมีสองเพศในตัวมันเอง มันก็เสพตัวมันเองได้ นี่ก็เหมือนกัน จิตเวลามันเสพตัวมันเองมันพอใจไง กามฉันท์ไง มันก็เสพตัวมันเองได้ ถ้าเสพตัวมันเองได้ ดูสิ มันก็เวียนว่ายตายเกิดของมันอยู่อย่างนั้นน่ะ
แต่ถ้าเรามีสติ มหาสติ ถ้าจับได้ จับได้ถ้ากายก็เป็นอสุภะ สุภะ สุภะคือความสวยความงาม สุภะคือความพอใจ สุภะคือความต้องการ อสุภะ อสุภะจะเกิดได้มันจะด้วยคุณธรรม ถ้าจิตไม่สงบมันเป็นอสุภะไม่ได้ ดูสิ โดยข้อเท็จจริงมันเป็นอสุภะ แต่อสุภะมันต้องมีสมาธิ ต้องมีกำลังมันถึงเห็นเป็นอสุภะ ถ้าอสุภะมันพิจารณาแล้ว มันพิจารณาของมันไป มันจะมีเล่ห์กลของมัน เพราะอะไร เพราะมันเป็นจอมทัพ นี่ล้มลุกคลุกคลาน
เวลาอ่านตำรามาก็อย่างหนึ่ง เวลาอ่านตำรามา เราศึกษามา มันเป็นของน่าเกลียด เป็นของน่าขยะแขยง มันเป็นของที่เราต้องอยากสละทิ้ง เราอยากจะสำรอก เราอยากจะคาย คายกามราคะ เราอยากไม่มีสิ่งใดติดพันในหัวของเราไป เวลาศึกษามามันเป็นอย่างนั้น แต่เวลาปฏิบัติไปทำไมไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ? เวลาปฏิบัติไปทำไมมันยอกมันย้อน? ทำไมปฏิบัติไปแล้วมันล้มลุกคลุกคลาน? 
ก็ของมันไม่ดี ของของเราจะละ ของที่เราจะข้ามพ้นมันไป แต่ทำไมมันไปติดมันล่ะ ไปติดมัน เห็นไหม ติดไม่ติดเปล่านะ มันยังสร้างด้วยว่าเราเข้าใจแล้ว เรารู้แล้ว เราเป็นไปแล้ว เราเข้าใจแล้ว เห็นไหม นี่กิเลสมันจะหุบร่ม ถ้าหุบร่มนะมันก็เสื่อม ล้มลุกคลุกคลานนะ 
ดูสิ เวลาเราปฏิบัติมาด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยสติ ด้วยปัญญา พิจารณาต่อเนื่องมาๆ ด้วยความเพียร ความกล้า ความวิริยะ ความอุตสาหะ เวลาพอถึงคู่ที่สามมันต้องเป็นมหาสติ มหาปัญญา มหาปัญญาเพราะอะไร เพราะกิเลสมันรุนแรง กิเลสรุนแรง กิเลสมันถาโถมเข้าใส่ ใส่ความเพียรของเรา แล้วความเพียรของเรา เราจะต่อสู้อย่างไร ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมันจะมีคราว คราวที่ว่า เรายังปฏิบัติโดยพื้นฐาน เราก็ยังทำสิ่งใดได้ แต่ถ้ามันเอาจริงเอาจังขึ้นมาแล้วมันต้องเข้มข้น มันรุนแรง คำว่า “รุนแรง” นะ ถ้ามันไม่รุนแรงมันจะเป็นกิเลสหรือ ถ้าไม่รุนแรงมันจะมี เราจะเห็นหน้ามันหรือ 
เวลาเราชำระล้างกิเลส เราต้องสำรอก เราต้องคายกิเลสออกไป แต่กิเลสมันตาย มันตายเราต้องเห็นมันสิมันตายอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ไม่เห็นว่ากิเลสมันตาย มันจะสิ้นไปจากใจเราได้อย่างไร ถ้ามันไม่สิ้นจากใจเราได้ มันไม่สำรอก มันไม่คาย มันไม่มีขณะจิต ไม่มีการสรุป แล้วมันจะเอาผลมาจากไหน มันก็จำมาทั้งนั้น มันสร้างภาพทั้งนั้น 
ยิ่งหัวใจเวลาความรู้สึกนึกคิด มันคิดได้ทั้งนั้น ยิ่งครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการ ยิ่งละเอียดเท่าไรขนาดไหน มันเอาเป็นสมบัติของมันหมดล่ะ แล้วกิเลสมันก็เอามาบังเงา ว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ ธรรมอะไร ธรรมของครูบาอาจารย์ไง ปัญญาของเรามันไม่มีไง ถ้าปัญญาของเรามีมันจะเกิดขึ้นอย่างไร ปัญญาที่ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ ท่านเทศน์ออกมามันเป็นวงจำกัดกันแค่นั้น แต่เวลาต่อสู้ๆ ปฏิบัติๆ มันไม่ได้ปฏิบัติอย่างนี้หรอก 
ปฏิบัติ ดูสิ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดูสิ ความคิดมันเร็วไหม แล้ววันๆ หนึ่งความคิดมันปรารถนาทั้งวัน แล้วมันไม่ทั้งวันนะ มันเป็นเดือนเป็นปี แล้วมันมีอยู่แค่นี้ใช่ไหม ปัญญามรรคเวลามันเกิดมันมีอยู่แค่นี้ใช่ไหม มีอยู่ที่แค่พูดออกมาเท่านี้หรือ แล้วที่มันลึกลับซับซ้อนกว่านี้มันมีอีกไหม ถ้ามันไม่มีความลึกลับซับซ้อน มันไปฆ่ากิเลสได้อย่างไร มันมีของมัน ที่ว่าน้ำป่ามันรุนแรงมาอย่างไร มหาสติ มหาปัญญา พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า คำว่า “ซ้ำแล้วซ้ำเล่า” คือความเพียร
ถ้าเราจะสมุจเฉทปหานเอาครั้งเดียว เอาเลย เอาให้กิเลสขาดเลย ถ้าคิดอย่างนี้นะ กิเลสมันขาดก่อนเราคิดเลย เพราะกิเลสมันจะสร้างภาพให้เห็นว่า เออ! จริง เราได้ฆ่าแล้ว กิเลสมันนอนตายอยู่นั้นเลย โอ๋! นั่นตัวดำๆ เลย ชัดเจน กิเลสหลอกอีกแล้ว เพราะอะไร เพราะเราคิด เพราะเราคิดว่าเรามีปัญญา ปัญญาเราคิด กิเลสมันก็รู้เท่า มันสร้างภาพมันทำให้เราล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้น เวลาพิจารณาไป เวลาพิจารณาไปแล้ว ไม่ใช่ว่าเราพิจารณาไปแล้วมันเป็นผลแล้ว เราว่ามันจะเป็นผล มันเป็นผลเพราะกิเลสมันสร้างให้ กิเลสมันสร้างผลให้ กิเลสมันหุบร่ม มันสร้างผลให้ว่าเป็นธรรมๆ แล้วมันเป็นจริงไหม 
ถ้ามันเป็นจริงเราก็ต้องกลับมาพลิกแพลง กลับมาพลิกแพลงหาอุบายวิธีการชำระล้าง ต่อสู้ไปแล้วต่อสู้ไปเล่า ถ้ามันสมดุล เวลามันขาด มันสะเทือนเลื่อนลั่น กามราคะขาดจากจิต จิตนี้เป็นพรหมจรรย์ จิตนี้จะไม่เกิดตั้งแต่เทวดาลงมา โดยเวลามันขาดนะ เวลาเป็นโสดาบันนะนี่เกิดอีก ๗ ชาติ เกิดเป็นเทวดาก็ยังเกิด สกิทาคามีมันก็ยังเกิดได้ 
แต่ถ้าทำลายกามราคะแล้ว มันจะไม่เกิดตั้งแต่เทวดาลงมา จิตนี้เป็นพรหมจรรย์ แล้วพิจารณาซ้ำๆ ไป สำรอกมันยังคายของมันไปเรื่อย แล้วเวลามันคายออกไป มันจะเห็นความมหัศจรรย์ จิตนี้มหัศจรรย์ขนาดนี้เชียวหรือ เวลาเราล้มลุกคลุกคลาน เราทุกข์เรายาก แต่เราพิจารณาซ้ำๆ เข้าไป เวลามันมีผลงานขึ้นมา ทำไมมันมหัศจรรย์อย่างนี้ นี่ธรรมะสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำไมมันประกาศกลางหัวใจของเราล่ะ ทำไมมันรู้มันเห็นไปหมดล่ะ 
จิตที่มันโง่เง่าเต่าตุ่นที่มันไม่มีทางออก เวลามันปฏิบัติขึ้นไป ทำไมมันมีความสามารถ มีคุณสมบัติขนาดนี้เชียวหรือ มันมหัศจรรย์นะ มหัศจรรย์ตัวเอง มหัศจรรย์ความเพียร มหัศจรรย์ความเป็นไปของใจ เวลาธรรมะมันกางร่ม มันกางร่มสัจธรรม เห็นไหม เวลามันขาดไปแล้วมันเป็นอกุปปธรรม มันเป็นความจริง มันมหัศจรรย์ มันลึกลับ นี่ความจริงในหัวใจ 
แล้วถ้ามีสติปัญญา เรามีสติปัญญาอยู่ เราพิจารณาซ้ำๆ เข้าไป มันเป็นเศษส่วน เศษที่มันตกค้างอยู่ในหัวใจ พิจารณาเศษส่วนจนหมด หมดไปนี่หมดไปแล้ว เพราะอะไร เพราะมันมีผู้พิจารณาใช่ไหม พิจารณาจนหมดแล้วนี่มันเหลืออะไรล่ะ ว่างไปหมด ไม่มีสิ่งใดเลย กิเลสอันละเอียด กิเลสของกษัตริย์ กิเลสของเจ้าวัฏจักรมันหุบร่ม มันสร้างภาพ มันหลอกลวงให้ยอมจำนนกับมัน จิตเป็นพรหมจรรย์ก็เป็นพรหมจรรย์อยู่นั่น เพราะมันเกิดบนพรหม 
ถ้าตายตอนนี้มันไม่เกิดตั้งแต่กามราคะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อย่างละเอียดไง กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี่ ๓ โลกธาตุ สิ่งที่ละเอียดมันก็จะเข้าสู่สิ่งที่ละเอียด เราจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ เราต้องมีครูบาอาจารย์ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์มันก็ต้องมีสติปัญญาพยายามค้นคว้า พยายามขวนขวาย หลวงตาท่านบอกว่า “เวลาท่านไปเห็นจุดและต่อม ถ้าหลวงปู่มั่นอยู่ ท่านจะสำเร็จวันนั้นเลย หลวงปู่มั่นต้องชี้เข้ามา แล้วต้องทำได้ด้วย” 
แต่นี้เพราะหลวงปู่มั่นท่านนิพพานไปแล้ว ท่านติดตรงนี้อีก ๘ เดือน คำว่า “๘ เดือน” คือต้องค้นคว้าเองไง ค้นคว้าแสวงหาเปรียบเทียบ มันหันรีหันขวาง หันรีหันขวางในความที่จิตละเอียดนะ จิตลึกซึ้งนะ พรหมจรรย์อันนั้น เห็นไหม ถ้ากิเลสมันหุบร่ม กิเลสอวิชชาอันละเอียดมันหุบร่ม เราก็ไปไม่ได้ เราจะไปได้ เราจะจัดการได้ มันต้องมีความละเอียดลึกซึ้งมาก ลึกซึ้งมาก ลึกซึ้งอย่างนั้น ลึกซึ้งในหัวใจ คนที่ทำจะรู้ คนที่จำไปพูดไม่รู้ คนที่จำไปพูดก็จำคำพูดไปพูดต่อ แล้วถ้ามีสติปัญญามันก็แยกแยะของมัน มันพยายามจะสร้างเหตุผลขึ้นมา มันเป็นการก๊อบปี้ มันไม่เป็นความจริง 
แต่ถ้าเป็นความจริง ความจริงเพื่อใคร ความจริงเพื่อหัวใจของเรานะ เราไม่ใช่ความจริงเพื่อใครทั้งสิ้น ถ้าเราคิดอย่างนั้น เราทำอย่างนั้น เราจะได้สัญญาอย่างนั้นไป แล้วก็มีปฏิภาณการแยกแยะ ปฏิภาณการสื่อเท่านั้นเอง แต่มันไม่มีความจริงเลย ไม่มีความจริงเพราะอะไร ไม่มีความจริงเพราะไม่มีคุณธรรมไง ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ มันไม่มีเหตุมีผลตามความเป็นจริงไง 
เหตุผลนี้ถ้าเราศึกษามา ก็เป็นเหตุผลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราเป็นกรรมฐานก็เป็นเหตุผลตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงตาท่านเทศน์ไว้ แล้วเหตุผลของเราล่ะ เพราะว่าวิทยานิพนธ์ไม่มีซ้อนกันไง วิทยานิพนธ์กับความจริงไม่มีซ้อนกันหรอก จริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน อำนาจวาสนาคนไม่เหมือนกัน การกระทำมันก็ต้องไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเราคิดว่า เราจะเหมือนองค์ใดองค์หนึ่ง เราคิดของเราเองว่าจะเหมือนองค์ใดองค์หนึ่งไง เราคิดเอาเอง แต่กิเลสมันเหมือนได้ไหม ลายมือคนไม่มีการเหมือนกัน 
ถ้าเรามีสติปัญญา เห็นไหม มันจะย้อนกลับมา ธรรมะจะกางร่มกางออก กางออกมันก็เป็นอรหัตตมรรค กางออกด้วยความละเอียดลึกซึ้ง เพราะว่ามันเป็นความนุ่มนวล มันจะใช้ปัญญาไม่ได้ ปัญญานี้เขาเรียกขันธ์ ขันธ์ ๕ เวลาพิจารณาขันธ์ ๕ กามราคะ ปฏิฆะ มันเกิดจากสัญญา เกิดจากสังขาร เวลามันทำลายแล้ว ขันธ์มันไม่มีแล้ว จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นี้เป็นหนึ่ง เป็นพลังงานเฉยๆ พลังงานเป็นขันธ์ได้ไหม พลังงานแบ่งแยกได้ไหม พลังงานแบ่งแยกไม่ได้ นี้พลังงานเราจะแบ่งแยก พลังงานหยาบ พลังงานละเอียดอีกหรือ ถ้ามันเป็นพลังงาน สิ่งที่จะเข้าไปจับนั้นมันจะต้องเป็นอรหัตตมรรค เป็นปัญญาญาณ ญาณหยั่งรู้ ไม่ใช่ความคิด 
ถ้าเป็นอรหัตตมรรคมันจะเป็นญาณหยั่งรู้ จะเข้าไปจับสู่ตรงนั้น นี่ธรรมะกางร่ม กางออกด้วยปัญญาญาณ ปัญญาจับได้ จับอะไร จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส เพราะจิตเดิมแท้นี้เป็นตัวเกิดตัวตาย เพราะจิตเดิมแท้มาเกิดเป็นกำเนิด ๔ แต่เพราะมันไม่ได้ภาวนา จิตเดิมแท้นี้มันเป็นตัวภพ มันเป็นพื้นฐาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นจริตนิสัย มันเป็นเวรเป็นกรรมทั้งนั้น 
แต่ด้วยการภาวนา ด้วยอำนาจของมรรค ด้วยอำนาจของศีล สมาธิ ปัญญา มันได้ประหัตประหาร มันได้ทำลายสังโยชน์เครื่องร้อยรัดเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา เครื่องร้อยรัดให้เป็นสถานะนั้นมันตัด! ตัด! ตัดเข้ามาเป็นขณะ เป็นขณะเข้ามา เป็นความจริง เป็นภพเป็นชาติเข้ามา เป็นความละเอียดเข้ามา จนมาถึงตัวภพ ตัวพลังงาน แล้วธรรมะกางร่มออก เห็นสัจจะ เห็นความจริง ใช้ปัญญาญาณนั้นพิจารณา พิจารณาด้วยความละเอียด 
ความละเอียดมันไม่ใช่ความคิด มันเป็นญาณความหยั่งรู้ สรุปลง ขณะนั้นทำลายกันขณะนั้น ถ้าขณะนั้น เห็นไหม มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ บุรุษ ๔ คู่ไง เวลาบุรุษ ๔ คู่อรหัตตมรรค อรหัตตผลก็เป็นคู่หนึ่ง การคู่หนึ่งคือการกระทำเหมือนกัน แต่ถึงที่สุดแล้วมันทำลายลงไป ทำลายภพแล้วมันเหลืออะไร มีเหมือนไม่มี ไม่มีเหมือนมี ไม่มี ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔๕ ปี เอาอะไรมาพูด ถ้ามี มีกิเลสมันครอบงำ มีเหมือนไม่มี ไม่มีเหมือนมี แล้วมันเป็นอย่างไร เห็นไหม มันถึงเหนือโลกไง คำว่า “เหนือโลกๆ” เหนือโลกเพราะคุณธรรม เหนือโลกเพราะมีสัจธรรม เหนือโลกมีการประพฤติปฏิบัติอันนั้นตามความจริงอันนั้น 
นี่ก็เหมือนกัน เรามาวัดมาวาเรามาประพฤติปฏิบัติกัน พระบวชมาๆ ก็เพื่อจะหาทางออกให้ได้ แต่ทางออกต้องเป็นทางออกของเรา ครูบาอาจารย์ท่านเป็นของท่าน ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมสาธารณะๆ เพราะองค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเธอ แล้วเราศึกษามา ศึกษา เรามีสิทธิศึกษา เรามีสิทธิที่จะไตร่ตรอง เรามีสิทธิที่จะมาพิจารณา 
แต่เวลาเป็นจริงๆ มันต้องมีคุณธรรมของเราสิ มันเป็นคุณธรรม ไม่ต้องไปให้เหมือนใคร อย่ากลัวว่าจะไม่เหมือนใคร เราต้องการความจริง ต้องการสัจธรรม ต้องการศีล สมาธิ ปัญญา ต้องการสัจธรรมอันนี้มาเพื่อประหัตประหารสำรอกคายกิเลสของเราออกไป เป็นวิทยานิพนธ์ของเรา เป็นการกระทำของเรา เป็นมรรคเป็นผลของเรา มันจะเหมือนใครไม่เหมือนใคร เอาความจริงอันนั้นมาพูด 
ถ้าเอาความจริงมาพูดมันจะเป็นความจริง แต่ถ้าเอาความจำมาพูด วงกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ท่านรู้กันนะ ใครปฏิบัติอย่างไร ใครทำอย่างไร นั้นคือวิทยานิพนธ์ แล้วเอ็งเอาสิ่งนั้นมาพูด ครูบาอาจารย์ที่ท่านรู้จริง ท่านรู้ว่าสิ่งนี้ลอกเลียน สิ่งนี้ไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริงมันก็เป็นความหลง ทำให้การประพฤติปฏิบัติของผู้นั้นมันไม่ก้าวเดิน แล้วคิดดูสิ เราปฏิบัติเพื่อคายความหลงใช่ไหม เราปฏิบัติเพื่อจะชำระล้างใช่ไหม เราไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อลบล้างตัวเอง 
ถ้ามันหลงนะ มันเป็นธรรมะของครูบาอาจารย์ แต่เราลบล้างตัวเอง ตัวเองไม่ได้อะไรไง เราเอาแต่ธรรมะของครูบาอาจารย์ เอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า แต่เราไม่ได้อะไรเลย เอวัง