เทศน์บนศาลา

อสุภะ

๒๖ ก.ย. ๒๕๔๘

 

อสุภะ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๘
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ฟังธรรม ธรรมภาคปฏิบัติ

“การเห็นกาย” กับ “การเห็นอสุภะ” ต่างกันอย่างไร

การเห็นนะ ถ้าภาคปฏิบัติ เห็นไหม ถ้าการเห็นกาย สิ่งที่การเห็นกายจะเห็นได้อย่างไร สิ่งที่เห็นอสุภะจะเห็นได้อย่างไร สิ่งที่เห็นนี่คือเหตุ ถ้าการประพฤติปฏิบัติไปจนถึงจบกระบวนการของมัน การเห็นกายและพิจารณากายจนปล่อยกายตามความเป็นจริง จะเป็นพระโสดาบัน แต่ถ้าเป็นอสุภะนะ การเห็นอสุภะ ถ้าเห็นอสุภะ พิจารณาอสุภะโดยสัจจะความจริง ปล่อยอสุภะแล้วเป็นพระอนาคามี นี่มันต่างกันตรงนั้นไง

แต่ความเป็นไปของโลก ผู้ที่รู้จริง ผู้ที่จะเห็นจริง ในการจะคิดว่า เห็นกายหรือเห็นอสุภะ เห็นต่างกันอย่างไร ถึงว่า เห็นกายก็พิจารณากายกันไป แล้วถ้าเห็นกายแล้วก็ว่าเป็นอสุภะไง สิ่งที่เป็นอสุภะ อสุภัง อสุภะมันเป็นเรื่องของจิต ความเห็นไปของใจ ใจเห็นอสุภะ ความรู้จริงในอสุภะนั้นมันจะไปแก้ไขกิเลสในเรื่องของกามราคะ

แต่ถ้าการเห็นกายนี่ ความเห็นกาย เพราะเราเข้าใจผิด เข้าใจผิดนะ คำว่า “เข้าใจผิด” สังเกตได้ไหม คนที่เข้าใจผิด เข้าใจว่าสังคมรังแก เข้าใจว่าคนอื่นรังแก เข้าใจว่าเราเป็นคนทำความผิด เห็นไหม เราเข้าใจผิดว่าเขากล่าวตู่ เขากล่าวกลั่นแกล้งเรา เราจะมีความเจ็บปวดในหัวใจนะ เราจะมีความฝังใจว่าคนนั้นทำไมว่าเราได้อย่างนั้น

ความเห็นผิดของเขา ความเห็นผิดของเรา ความเห็นผิดนี่คืออวิชชา สิ่งที่อวิชชาในหัวใจมันเห็นผิดมาตลอด ความเห็นผิดว่ากายเป็นเรา เราเป็นกาย สิ่งนี้เป็นความเห็นผิด สิ่งที่ความเห็นผิดมันถึงได้ยึด มันถึงมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันถึงได้ทุกข์ยากกันสภาวะแบบนี้ไง

แล้วก็ว่า “เห็นกาย เห็นกาย” ไม่มีใครเคยเห็นกายเลย แม้แต่สัปเหร่อเขาทำพิธีเผาศพของเขา เขาคลุกคลีอยู่กับซากศพนะ เขาเห็นศพอยู่ตลอดเวลา เขาไม่เคยเห็นกายเลย เพราะอะไร เพราะเขาไม่มีความสลดสังเวชไง เขาไม่มีสิ่งที่สะเทือนหัวใจของเขา เขาไม่สามารถชำระกิเลสของเขา

งานแพทย์ เขาเป็นแพทย์นะ เวลาเขาผ่าตัดมนุษย์ เขาผ่าตัดคน ถ้าโรคร้ายโรครุนแรง เขาผ่าตัดจนเขาเปลี่ยนอวัยวะนะ อวัยวะในร่างกายของมนุษย์นี่แพทย์เขาเปลี่ยนได้หมดเลย สิ่งต่างๆ ผ่าตัดสมองก็ได้ ผ่าตัดสิ่งใดก็ได้ เห็นกายไหม? เขาชำแหละกายเลย แต่เขาไม่เคยเห็นกาย เขาไม่เห็นกายเพราะอะไร เพราะสิ่งที่เขาเห็นนั้นเขาเห็นด้วยตาเนื้อ เขาเห็นด้วยสิ่งที่เป็นวิชาชีพของเขา

การเห็นกายกับการเห็นอสุภะก็ต่างกัน สิ่งที่ต่างกันต้องอยู่ในภาคปฏิบัตินะ ครูบาอาจารย์ของเราปฏิบัติมาถึงจะเข้าใจสัจจะความจริงอย่างนี้ แต่เพราะเราไม่เคยปฏิบัติมา หรือเราปฏิบัติ ขณะที่เราไม่เข้าไปถึงสัจจะความจริง เราก็มีความลังเลสงสัยเป็นนิวรณธรรม นิวรณ์นะ สิ่งที่นิวรณ์นี่เป็นการกางกั้นจิตไม่ให้มีความสงบ จิตถ้ามันมีนิวรณ์แล้วมันจะฟุ้งซ่าน มันจะรวมตัวเป็นความสงบไม่ได้ เพราะมันกวนใจอยู่ตลอดเวลา นี่นิวรณธรรม ทำให้จิตเราสงบไม่ได้ เพราะความเห็นของเรา ความลังเลของเรา ความสงสัยของเรา ยิ่งการประพฤติปฏิบัติมันยิ่งมีปัญหาไปใหญ่เลย

เวลาเห็นครูบาอาจารย์ของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่สะสมมาขนาดนี้ ดูสิ เป็นพระเตมีย์ใบ้ สะสมบุญญาธิการมา กษัตริย์เขาจะทดสอบว่าเป็นใบ้จริงหรือเปล่า เขาเอามีดตัดหู ตัดจมูก ตัดอย่างไรให้พูดออกมาให้ได้ แต่ไม่พูด เพราะอะไร เพราะสร้างสมบุญญาธิการ

บารมี ๑๐ ทัศ ผู้ที่สร้างสมบุญญาธิการเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างบุญญาธิการมาให้หัวใจสิ่งนี้มีอำนาจวาสนา นี่อินทรีย์ สิ่งที่จะรองรับธรรม เบื้องหลังของใจดวงนี้ เบื้องหลังของใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เองโดยชอบ สิ่งที่ตรัสรู้เองโดยชอบโดยที่ไม่มีธรรม ไม่มีวิชาการ ไม่มีสิ่งใดๆ

แล้วเวลาเกิดมาแล้วนะ กว่าจะออกประพฤติปฏิบัติ มันเป็นสิ่งที่ว่า คนที่มีอำนาจวาสนา คนที่มีบารมีใหญ่ เห็นไหม ทุกคนปรารถนานะ ให้อยู่ในสถานะสิ่งที่จะช่วยโลกช่วยสงสาร ช่วยทุกอย่าง ทุกคนต้องดึงไว้ เพราะเห็นว่าสิ่งนี้...ดูสิ เวลาลูกเราเกิดมา ลูกเราคนไหนที่มีเชาวน์มีปัญญา พ่อแม่หวังพึ่งลูกคนนั้นนะ ลูกคนไหนที่เกิดมาเป็นลูกของเรา ลูกคนนี้ไม่มีเชาวน์ไม่มีมีปัญญา เราเป็นห่วงมาก จะอยู่ในสังคมได้อย่างไร นี่พ่อแม่ก็รู้ว่าลูกของเรามีสถานะอย่างไร มีปัญญาอย่างไร มีเชาวน์ขนาดไหน จะอยู่ในสังคมอย่างไร นี่พ่อแม่รู้ สังคมก็รู้ รู้ว่าสิ่งนี้ คนนี้เกิดมาในสังคมนี้ดีขนาดไหน

นี่เรื่องของโลก เขาก็ต้องการให้เป็นจักรพรรดิ เป็นที่พึ่งอาศัยของโลกเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมามหาศาล พราหมณ์ทั้ง ๘ พยากรณ์ว่าต้องออกปฏิบัติอย่างเดียว ออกปฏิบัติอย่างเดียว จะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติออกแสวงหาโมกขธรรม จนเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนอดีตชาติของตัว

ถึงบอกว่า เพราะสร้างสมบุญญาธิการมาสมควร สมบูรณ์ แต่ขณะที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พระเจ้าสุทโธทนะพยายามดึงไว้ นี่คนดี คนที่มีบุญวาสนา ทุกคนปรารถนา ทุกคนต้องการ ทุกคนต้องดึงไว้เพื่อตัวเอง แต่เพราะบุญญาธการขนาดนั้น พระเจ้าสุทโธทนะต้องการให้เป็นจักรพรรดิ ต้องการให้เป็นผู้ที่รวบรวมอาณาจักรเพื่อเป็นการปกครอง เพราะอะไร เพราะความเห็นของโลกไง ความเห็นของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ แต่เป็นกษัตริย์ในแคว้นเล็กๆ ไง แต่ถ้าลูกขึ้นมา ปกครองขึ้นมา แล้วถ้ามีอำนาจวาสนาจะได้ปกครอง จะได้รวบรวมแว่นแคว้นเป็นจักรพรรดิ สิ่งที่เป็นจักรพรรดินี่คือการเป็นผลประโสชน์ทางโลกไง

แต่เจ้าชายสิทธัตถะเห็นสิ่งต่างๆ เห็นไหม กระเทือนกับโลก สมบัติของเรา เราอยู่ทางโลก สมบัติของเราคือเราแสวงหา สิ่งที่เป็นเงินเป็นทอง แก้วแหวนเงินทองต่างๆ สิ่งที่เป็นชื่อเสียงเกียรติยศ ลาภสักการะ เราต้องการอย่างนั้นเพื่อซื้อเรื่องของโลกไง เรื่องของโลกเห็นคุณประโยชน์แค่นี้นะ เห็นคุณประโยชน์ของโลกที่เขาแสวงหากัน เห็นแต่เกียรติยศเกียรติศักดิ์ แต่เกียรติยศเกียรติศักดิ์แสวงหามานะ ถ้าคนมีบุญญาธิการนะ เจ้าชายสิทธัตถะ สิ่งนี้มีบุญญาธิการ มันมีมา มีมาโดยเป็นธรรม

แต่ถ้ามีมาโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม การเมืองสิ่งต่างๆ ต้องแย่งชิง ต้องการสร้างภาพ นี้ขึ้นมาเพื่อแสวงหาสิ่งนี้ไง มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์? มันเป็นทุกข์นะ เพราะเราต้องไปสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เหมือนกับเราปกปิดความผิดของเราในหัวใจ มันเป็นความทุกข์นะ

แต่ถ้าเป็นธรรมนะ มันเป็นเองโดยธรรมชาติ สิ่งนี้มันเป็นเอง มันขึ้นมาเอง มันมีของมันเอง ไม่ต้องไปปกปิด มันเป็นความจริงตลอด พิสูจน์หรือว่าจะตรวจสอบขนาดไหนมันก็เป็นความจริง สิ่งที่เป็นความจริง นี่คือธรรมไง ถ้าผู้ใดเป็นคนมีบุญญาธิการ มันเป็นความจริงของเขา สิ่งนี้เราไม่ปฏิเสธนะ ถ้าปฏิเสธ กิเลสปฏิเสธบอกว่า “สิ่งที่เป็นบุญกุศล สิ่งที่เป็นอำนาจวาสนา สิ่งนั้นมันเป็นกิเลสที่จะไปเกาะเกี่ยว” ไม่ใช่หรอก

กิเลสคือกิเลส สิ่งที่เป็นสภาวธรรมที่สร้างสมขึ้นมานี้เป็นอำนาจวาสนาของแต่ละบุคคล ไม่ใช่อันเดียวกัน สิ่งที่ไม่ใช่อันเดียวกัน เวลาประพฤติปฏิบัติไปจนสิ้นกิเลสแล้วนะ นี่พระอรหันต์ก็ต่างกัน พระสีวลีนี่ลาภสักการะมหาศาลเลย เพราะอะไร เพราะท่านสละของท่านมา พระอรหันต์บางองค์ฉันข้าวไม่เคยอิ่มนะ นี่เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

พระพาหิยะ ขณะฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุธรรม ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบวช องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “เธอไม่มีบริขาร บวชได้อย่างไร” ก็ไปหาบริขารอยู่ จนควายขวิดตายนะ นี่พระอรหันต์เหมือนกัน สิ่งที่พระอรหันต์ อำนาจวาสนาที่สร้างสมมาอันหนึ่ง กิเลสในหัวใจที่มันเกาะเกี่ยวในหัวใจ ที่มันจะบีบบี้สีไฟให้เราเป็นทุกข์อยู่นี่อีกอันหนึ่ง

สิ่งที่เป็นความทุกข์ในหัวใจอันนี้ สิ่งนี้เราถึงย้อนกลับมาตรงนี้ ย้อนกลับไปที่อำนาจวาสนาไง การประพฤติปฏิบัติที่มีอำนาจวาสนา มันต้องมีบารมี บารมีคือว่ามีอินทรีย์ มีความรองรับของใจ ถ้ามีความรองรับของใจนี่บุญกุศล ที่เรามาประพฤติปฏิบัติกัน เราออกประพฤติปฏิบัติ ออกบวช ออกเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เพราะอะไรล่ะ เป็นสมบัติอะไร สมบัติของนามธรรมนะ โลกเขาแสวงหาแก้วแหวนเงินทอง แสวงหาสิ่งที่เป็นเรื่องโลก อย่างน้อยก็เป็นศักดิ์ศรี อย่างน้อยก็เป็นเรื่องของการยอมรับของสังคมเขา นั้นก็เป็นเรื่องของโลกนะ แล้วมันเป็นนามธรรม มันเป็นเรื่องชั่วคราว

ผู้ที่มีอำนาจขึ้นมารับตำแหน่งใหม่ๆ ทุกคนจะเข้าไปยอมจำนนเพราะอะไร เพราะรับตำแหน่งใหม่คิดว่าจะอยู่นานไง แต่ขณะที่ใกล้จะเกษียณนี่มีอะไรให้เขาเอา เพราะมันหมดอำนาจไง สิ่งที่หมดอำนาจ สิ่งที่หมดอำนาจเขาไม่สนใจหรอก เพราะอะไร เพราะเขาต้องไปหาคนใหม่ สิ่งนี้เราก็ยังแสวงหากัน เพราะมันเป็นโลกไง เราเกิดมาในสภาวะแบบนี้ เรามีความเห็นอย่างนี้ เราก็เข้าใจสภาวะแบบนี้

แต่ที่ออกประพฤติปฏิบัติเอาชนะตนเองล่ะ มันต้องเอาชนะตนเองนะ สิ่งที่จะชนะตนเองมันต้องมีความเชื่อมีความศรัทธา เรากล้าไหม เรากล้าออกประพฤติปฏิบัติไหม เรากล้าออกบวชไหม เรากล้าเผชิญกับชีวิตความเป็นจริงที่ว่าความกลัวจากภายในไง ออกบวชแล้ว บิณฑบาตเขาจะใส่บาตรเราไหม ความเป็นอยู่ของเราจะเป็นอย่างไร เราออกไปป่าเราจะมียารักษาโรคไหม

สัตว์มันอยู่ในป่ามันไม่เคยตายนะ เผ่าพันธุ์ของสัตว์มันเคยตายไหม? มันตายเพราะมนุษย์ล่ามันนะ มันตายเพราะสิ่งที่เราไปเอามันมาเห็นอาหารต่างหากล่ะ ลองให้มันอยู่โดยธรรมชาติของมัน มันมีแต่จะล้นโลก สิ่งที่ล้นโลกมันไม่เคยเป็นเคยตาย นี่ธรรมชาติสอนมัน สิ่งที่ธรรมชาติสอนมัน

นี่ก็เหมือนกัน หัวใจมันกลัว มันไม่กล้า ไม่กล้าทำอะไรสักอย่างเลย มันเป็นสัตว์สังคมสัตว์มนุษย์จะอยู่ด้วยกัน อยู่กันมากๆ พึ่งพาอาศัยกัน มันก็มีปัญหากัน แย่งชิง เพราะอะไร เพราะกิเลสไง ต่างคนต่างมีกิเลส ต่างคนต่างโกง ต่างคนต่างแสวงหา พึ่งพาอาศัยกัน แล้วต่างคนต่างก็จะมีอำนาจเหนือคนอื่นไง นี้พูดถึงเรื่องของโลกนะ แต่ถ้าเราออกประพฤติปฏิบัติมันจะกลัวอย่างนี้

แล้วถ้ามีศรัทธามีความเชื่อ สิ่งนี้เราเกิดเราตาย สิ่งที่แสวงหากันทางโลกมันเป็นความทุกข์ไหม มันต้องแบกรับภาระเรื่องมหาศาลไหม เห็นไหม เราเกิดในพระพุทธศาสนา ศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางธรรมและวินัยไว้นี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าของศาสนานะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา

ถึงวางธรรมและวินัยไว้ ภิกษุให้ภิกขาจาร สิ่งที่ภิกขาจาร ปัจจัยเครื่องอาศัย ผู้ที่มีหัวใจเป็นธรรม เขาต้องการแสวงหากันทุกคน เวลาเราประพฤติปฏิบัติกันเราจะชำระกิเลสของเรา ถ้าเราอยากชำระกิเลสของเรา ทำไมเราไม่มีความเชื่อความไม่มีศรัทธาล่ะ ทำไมพระที่ออกประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นออกประพฤติปฏิบัติ ไม่มีครูมีอาจารย์ก็ต้องออกป่าค้นคว้าด้วยตัวของท่านเอง ไปในป่าในเขา

เหมือนกับเจ้าชายสิทธัตถะเลย เจ้าชายสิทธัตถะ เวลาออกประพฤติปฏิบัตินี่มันไม่มีศาสนา คนเขาให้ทาน ให้ทานก็ทานของคนที่เขาให้กัน เขาไม่ได้ให้ด้วยศรัทธา นี่ดำรงชีวิตอยู่อย่างนั้น ๖ ปีนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ขณะที่ว่าออกบิณฑบาต เทวดา พระอินทร์เป็นผู้ถือบาตร เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้เป็นที่สุดยอด

เวลาเทศน์ธัมมจักฯ ประกาศธรรม เทวดาส่งขึ้นไปเป็นชั้นๆ ขึ้นไป นี่จักรบรรลุธรรม สิ่งที่เป็นธรรมโอสถเกิดแล้ว แม้แต่เทวดา อินทร์ พรหมยังมีความสุข ยังมีโอกาส มีความรื่นเริงแจ่มใส เหมือนคนที่เป็นโรคแล้วไม่มียารักษานี่ทุกข์ร้อน แต่ว่าเราพยายามจะรักษาตัวเองไว้เมื่อมียาเมื่อไหร่จะรักษาเรา เห็นไหม เทวดา อินทร์ พรหม รออยู่อย่างนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์แสดงธัมมจักฯ พระอินทร์เป็นผู้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาออกบิณฑบาต สิ่งที่ออกบิณฑบาต สิ่งนี้เขามีศรัทธามีความเชื่อ นี่เขาบอก เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญญาธิการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ววางธรรมและวินัยนี้ไว้ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ออกประพฤติปฏิบัติ ออกค้นคว้า นี่ธรรมวินัยมีอยู่ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้ว ออกประพฤติปฏิบัติ ออกบิณฑบาต ปัจจัยเครื่องอาศัยก็มีโดยสมบูรณ์ แต่เรื่องความจริง เรื่องอริยสัจ การเห็นกาย เห็นอสุภะเห็นอย่างไร เห็นอย่างไรนี่เปิดตำรา ตำราก็บอกว่าเห็นอสุภะต้องเห็นอย่างนี้ ต้องทำจิตสงบอย่างนี้ แล้วทำไปมันก็เกิดความเป็นไปของจิต จิตก็เป็นสัญญาอารมณ์

เวลาจิตมันสงบไปเห็นนิมิตต่างๆ “สิ่งนี้เป็นกาย นี่เป็นกาย” ไม่มีความรู้เลย เพราะออกมาแล้วมันก็เหมือนปกติธรรมดา เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาออกประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปี ไปเรียนกับเจ้าลัทธิต่างๆ สมาบัติก็เป็น อะไรก็เป็น เป็นหมดเลย จนอาฬารดาบสรับประกันว่า “เจ้าชายสิทธัตถะได้สมาบัติ ๘ เหมือนเรา” แต่ปัญญามันไม่เกิด

เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ธรรมวินัยมีอยู่นะ เพราะสาวกสาวกะ สาวกสาวกะเป็นผู้ที่ธรรมและวินัยมีอยู่แล้ว ประพฤติปฏิบัติตามที่มีข้อมูลอยู่นี้มันยังทำไม่ได้เลย แล้วออกประพฤติปฏิบัติแสวงหาไปหาใคร เห็นไหม ก็ออกป่าออกเขา เพราะอะไร เหมือนที่ว่าเวลาเราออกประพฤติปฏิบัติ กลัวไปทุกอย่างเลย สิ่งที่กลัวไปทุกอย่าง เราก็ต้องผจญกับความกลัว เผชิญกับความจริงในหัวใจอันนี้ หัวใจอันนี้มันกลัวสิ่งใด? กลัวความลำบาก กลัวความวิเวก กลัวเวลาสงัดขึ้นมาก็กลัวสิ่งที่เป็นจิตวิญญาณ กลัวไปทุกอย่าง กลัวสัตว์ กลัวไปหมดเลย

สิ่งที่กลัวอยู่ที่ไหน? กิเลสพากลัว ต้องเผชิญกับมัน สิ่งที่เผชิญกับมัน คนต้องมีอำนาจวาสนา ไม่มีอำนาจวาสนาจะมีกำลังใจอย่างนั้นหรือ นี่อินทรีย์แก่กล้าไง อินทรีย์ ภาวะที่จะรองรับสภาวธรรม สิ่งที่มีอยู่แต่คนเขาลือกัน เขามองข้ามกันไป เวลาประพฤติปฏิบัติก็เป็นพิธีกรรม “อยู่ในวัดในวา อยู่ในที่อาศัยเขาก็เคารพบูชาอยู่แล้ว นี่ภิกษุเขาทำกันอย่างนี้ ถึงเวลาก็ทำพิธีกรรมไป ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี่ก็สมบูรณ์อยู่แล้ว ทำไมต้องไปเดือดร้อน ทำไมต้องไปทำให้มันทุกข์มันยาก” นี่เวลาคนที่ไม่มีบารมี อยากสะดวกอยากสบาย กลัวทุกอย่างที่จะเป็นการเผชิญกับกิเลส เห็นไหม ถึงได้อยู่กับสังคมไป แอบอิงกับสังคม อยู่กับสังคมไปสภาวะแบบนั้น

แต่ผู้ที่มีอำนาจวาสนา อยู่สภาวะแบบนี้มันมีสิ่งที่กินอิ่มนอนอุ่น แล้วกิเลสมันเต็มหัวใจ สิ่งที่กิเลสมันเต็มหัวใจมันก็ดีดดิ้นในหัวใจ ยิ่งเป็นพระหนุ่มๆ แล้วสิ่งที่ว่าเป็นอาหาร ไม่ได้ฉันมื้อเดียวนะ สิ่งที่ฉันมื้อเดียว ถ้าพลังงานมันมีอยู่ในร่างกาย สิ่งที่ร่างกายมันสมบูรณ์ขึ้นมา มันก็คิด เพราะอะไร เพราะกิเลสมันในหัวใจ กายก็ยังไม่เห็น อสุภะเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้ ก็จะทำสภาวะแบบใด นี่กิเลสมันมีในหัวใจมันก็ดิ้นรนไปของมัน นี่ครูบาอาจารย์ถึงออกไปประพฤติปฏิบัติ ออกไปป่า ไปเผชิญกับความจริงอันนั้น

สิ่งที่ไปเผชิญกับความจริง เพราะมันเป็นสิ่งที่น่ากลัว และมีกำลังของใจ ต้องมีกำลังของใจก่อน ที่เราออกประพฤติปฏิบัตินี้ไปเพื่ออะไร? ก็เพราะเราศรัทธา เรามีความเชื่อไง เราเห็นอยู่ เรามีโอกาสนะ โลก ขณะที่การทำธุรกิจ การทำประกอบสัมมาอาชีวะมันเป็นความทุกข์อันหนึ่ง ยอมรับ เพราะเราเกิดมามีกายและมีหัวใจ ร่างกายต้องการอาหาร หัวใจต้องการธรรม ขณะที่ต้องการธรรม เราก็สภาวธรรม

คนที่หยาบๆ เวลาสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่การทำมาหากิน แล้วสิ่งที่การกระทบกระเทือนกันก็ทำลายเขา ทำลายเขา คนที่เขามีจิตใจที่เป็นธรรมขึ้นมา “แพ้เป็นพระ” สิ่งที่แพ้เป็นพระ เขาทำได้เพราะอะไร เขามีเหตุผลอะไรถึงมารังแกเรา ถ้ารังแกเรา ถ้าเป็นไปได้ ถ้าเรามีกำลังน้อยหรือเราอยู่ในใต้กฎหมาย กฎหมายต้องคุ้มครองดูแลเรา ถ้าสิ่งใดๆ ก็มองไม่เห็นเรา ก็ยอมรับว่ามันเป็นกรรมของเรา นี่แพ้เป็นพระไง สิ่งที่แพ้เป็นพระ สิ่งนี้มันจะทำให้เราไม่สร้างกรรมกันต่อไป เพราะเราเกิดมาโดยกรรม เพราะเราเป็นชาวพุทธ เราก็เชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่แล้ว นี่เป็นการประกอบสัมมาอาชีวะไง

แต่ถ้าการออกประพฤติปฏิบัตินะ เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาออกจากราชวัง ไปถึงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารคิดว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดนยึดอำนาจ คิดว่าโดนรังแกออกมานะ ให้กองทัพครึ่งหนึ่งให้ยกกลับไปยึดเอาราชวังคืน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ไม่ใช่หรอก มาด้วยความเต็มใจ อยู่ในสถานะของการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย แล้วมันสะดุ้ง มันสะเทือนหัวใจ จะแสวงหาโมกขธรรม”

พระเจ้าพิมพิสารบอกว่า “ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าพิสูจน์ได้แล้ว ขอให้กลับมาเผื่อแผ่บ้างนะ ขอให้กลับมาสอนบ้างนะ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ย้อนกลับมาสอนพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราเป็นภิกษุ เราเกิดในพระพุทธศาสนา แม้แต่ศาสนาไม่มี พระเจ้าพิมพิสารยังขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เลย แล้วนี่เราเป็นภิกษุบวชในศาสนา ศาสนานี้ให้ออกประพฤติปฏิบัติเพื่อบุญกุศลของเขา ปัจจัยเครื่องอาศัยมันเกิดอย่างนี้ไง ปัจจัยเครื่องอาศัยเราไม่ต้องไปเดือดร้อน ไม่ต้องไปทุกข์ไปยาก เพราะอะไร เพราะเรา ในเมื่อไม่มีศาสนา ในหัวใจของอุบาสก อุบาสิกาเขาก็หวังพึ่งบุญกุศลของเขาอยู่แล้ว ถ้าว่าระดับของเขา เขาว่าเป็นกระพี้ เป็นเปลือก เขาก็ทำทานของเขา ก็ยังดี ยังดีเพราะได้อาศัยให้นักรบได้อยู่ไง นักรบคือภิกษุที่ออกรบกับกิเลส อาศัยสิ่งนี้เป็นเครื่องเยียวยารักษาชีวิตเท่านั้น

ถ้ารักษาชีวิตนะ คำว่า “รักษาชีวิต” เพราะกิเลสในหัวใจมันดีดดิ้น มันทำลายความทุกข์เรามากกว่านั้น ไอ้เรื่องอาหารเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก ปัจจัยเครื่องอาศัย...มันพูดจนตายนะ ถ้าเราแสวงหา แสวงหาสิ่งนี้มา แต่กิเลสมันก็กลัว กลัวไปทุกอย่างจนเราทำอะไรไม่ได้ ไม่ยอมไปไหนเลย จนก่อปัจจัยเครื่องอาศัย จนท่วมหัวก็ยังอาศัยสิ่งนั้นตลอดไป

อาศัยไม่ได้หรอก คิดดูสิ สิ่งที่มีเครื่องอาศัยชั่วคราวๆ แล้วหัวใจที่มันมีความทุกข์นี่ สิ่งนี้มันสำคัญ มันจะไม่มองเรื่องปัจจัยเป็นประเด็นเลย สิ่งที่เป็นประเด็น ที่อยู่อาศัยต่างๆ เป็นแค่อาศัยดำรงชีวิตเพื่อจะได้ประพฤติปฏิบัติเท่านั้น ถ้าประพฤติปฏิบัติเท่านั้นนี่ย้อนกลับมา เห็นไหม การดำรงชีวิตมันไม่เป็นเรื่องจำเป็น ไม่เป็นเรื่องสิ่งที่จะเป็นเรื่องหนักอกหนักใจกับตัวเองได้เลย เพราะอะไร

เพราะได้มามันก็ฉันได้เท่าที่พอที่ว่าเป็นสัปปายะนะ การฉันอาหารเป็นสัปปายะ คือฉันแล้วนั่งประพฤติปฏิบัติไม่โงกง่วง ไม่ทำให้หัวใจมันฟุ้งซ่าน ถ้าเราปรนเปรอ “เรามีวาสนา เรามีอำนาจวาสนา คนเขามีศรัทธามีความเชื่อ เขาถวายมามหาศาล ต้องฉลองศรัทธาๆ” ฉลองศรัทธาจนกิเลสมันท่วมหัวนะ นั่งจะทำความสงบมันก็ไม่สงบ สิ่งที่ทำให้เห็นกายจะเห็นได้อย่างไร คนที่เขาเห็นกายกันด้วยตาเนื้อ เขาเห็นกายด้วยวิชาชีพของเขา เขาเห็นด้วยสิ่งต่างๆ อย่างนี้ เห็นแล้ว เขาก็เป็นการดำรงชีวิตของเขา อาชีพของเขา

แต่ขณะที่เราจะเห็นกาย ถ้าเป็นสิ่งต่างๆ ของโลกเขา เขาเห็นกาย เห็นกายสิ เห็นกายสิ่งตรงข้ามยิ่งเกิดกามราคะ สิ่งที่เป็นไปเรื่องของกาม เรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ดูสิ ดูบางครอบครัว เขาเป็นสามีภรรยากัน เขามีปัญหากัน เขาเอาน้ำกรดไปสาดไปราดกันเลย เห็นไหม เพื่อทำลายอันนี้ไม่ให้คนอื่นได้ เพราะอะไร เพราะการผูกพยาบาทไง

สิ่งที่เห็นกายต้องเป็นธรรมสิ ทำไมมันเป็นสิ่งที่บาดหมาง เป็นการทำลายกันล่ะ? สิ่งที่ทำลายกันอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะมันเป็นเรื่องของกิเลสไง มันไม่ใช่เรื่องของธรรม ถ้าเป็นเรื่องของธรรมนะ เรากำหนดพุทโธๆ เพื่อจิตสงบ ถ้าจิตสงบขึ้นมา ขณะที่เราเห็น...ถ้าจิตกำหนดพุทโธไม่ได้ ออกเที่ยวป่าช้า ออกไปดูซากศพ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ในวิสุทธิมรรค ภิกษุบวชใหม่ให้เที่ยวป่าช้า การไปเที่ยวป่าช้า เพราะสมัยพุทธกาลเขาไม่เผาซากศพ เขาวางไว้ในป่าช้า เวลาเขาพันด้วยผ้าขาว แล้วเขาจะเอาไปทิ้งไว้ ประเพณีของพราหมณ์สมัยโบราณเป็นอย่างนั้น แล้วเราจะอาศัยสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ไหม อาศัยสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยากให้ผู้ที่อยากประพฤติปฏิบัติ อยากให้มีที่พึ่งอาศัย ให้ไปเที่ยวป่าช้า

เวลาเราออกบวช ออกประพฤติปฏิบัติเราก็กลัว กลัวสิ่งที่ว่า เราประพฤติปฏิบัติแล้วจะเป็นไปได้ไหม จะดำรงชีวิตอย่างไร แต่ขณะที่คนที่มีความมุ่งมั่น คนที่มีความจริงจัง คนที่อยากจะได้ประโยชน์ขึ้นมา ให้ไปเที่ยวป่าช้า ไปเที่ยวป่าช้าเพื่ออะไร เห็นไหม นี่ศพภายนอก ศพภายใน

ไอ้ศพที่เดินมาดูเขาอยู่นี้ ศพนี้มันมีชีวิต มันมีจิตวิญญาณครอง มันยังมีธาตุไฟเผาผลาญมันอยู่ ศพนี้มันยังเดินได้ไง เดินได้เพราะมีจิตวิญญาณครอบครอง ศพนี้เป็นศพในป่าช้า เดินไปเหนือลม อย่าเดินใต้ลม เพราะได้กลิ่นก่อนมันจะทำให้เราอ่อนไหว ทำให้เราไม่กล้าเผชิญกับสัจจะความจริง วิธีเข้าไป ให้เดินเหนือลม แล้วถ้าภิกษุบวชใหม่ ให้ไปดูซากศพเก่าๆ ก่อน ให้ไปดูซากศพที่อีแร้งมันกินแล้วเหลือแต่เศษเดนไว้ อย่าไปดูซากศพใหม่นะ ซาดศพใหม่เห็นแล้วมันจะไม่เป็นการเห็นกายสิ มันจะไปเห็นสิ่งที่เป็นของพอใจ

การไปดูอย่างนั้นดูเพื่ออะไร การไปดูอย่างนั้น เห็นไหม กำหนดพุทโธๆๆ นี่พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ มรณัสสติ เห็นซากศพภายนอก ให้มันสลดสังเวชไง สลดสังเวชเพราะอะไร เพราะเราเป็นผู้ที่มีจริตมีนิสัย เรามีนิสัย เราบวชแล้วเราอยากจะประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติมันต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา ศีลความสงบของใจ เรื่องของทาน ทานเรื่องของคฤหัสถ์ เรื่องของบุญ เรื่องของอุบาสก อุบาสิกาเขา เขาสละทานกัน

เราเป็นผู้ปฏิบัติเริ่มจากศีล ศีลตรงไหน ศีลเกิดตั้งแต่เราวิรัติเกิดขึ้นมา เราเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเราก็มีศีล ๘ ผู้ที่ออกบวช ตั้งแต่สามเณร ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีลนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่อุปัชฌาย์ญัตติมาแล้ว นี่เป็นศีลสมบูรณ์ ถ้าเรามีการทะลุด่างพร้อย อย่างนี้เราก็ต้องรักษาของเรา เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันจะกวนใจนะ มันกวนใจเราเอง ศีลของเรา ความลับของเราเองมันจะทำให้เราเกิดนิวรณธรรม

ถ้ามีสิ่งใดเราจะรีบปลงอาบัติ ปลงอาบัติ สิ่งที่เป็นกรรม อันนั้นก็วางไว้ สิ่งที่การกระทำนั้นเป็นกรรมไปแล้ว แต่ขณะที่ปัจจุบันนี้เราเหมือนกับอริยวินัย อริยวินัย ผู้ใดทำความผิดแล้วสารภาพ แล้วสิ่งนั้นเป็นอริยวินัย ไม่ต้องมีศักดิ์ศรีค้ำคอไว้ เรามีศักดิ์ศรีมาก เราสารภาพไม่ได้ เราจะยอมรับความจริงไม่ได้ ยอมรับความจริงได้ ใครก็ผิดพลาดได้ สิ่งที่ผิดพลาดนี้ไม่มีเจตนา เราไม่ได้ตั้งใจ สิ่งที่ตั้งใจ แต่ขณะทำไปแล้วเรารู้ เราถึงปลงอาบัติ

ศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เห็นไหม ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส กำหนดพุทโธๆ มันก็ล้ม ขณะกำหนดอานาปานสติมันก็ล้ม ทั้งๆ ที่มีศรัทธานะ มีศรัทธา มีความเชื่อ อยากจะประพฤติปฏิบัติ เพราะกิเลสมันดีดดิ้นในหัวใจ ชีวิตเป็นอย่างนี้

แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมวินัยที่วางไว้ จิตนี้มาจากไหน จิตนี้ต้องเกิดต้องตาย เราก็จะต้องเกิดต้องตายอย่างนี้อีกหรือ เกิดมาตั้งแต่ในครรภ์ของมารดา ไม่รู้เรื่องเลย คลอดออกมาแล้วเป็นเด็ก พ่อแม่กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมามีแต่ความสุข แต่พอมีภาระรับผิดชอบสิ ทุกข์มาก เพราะภาระรับผิดชอบ เห็นไหม สังคมมีแต่เอาเปรียบกัน

สังคมขณะที่เป็นปัจจุบันนี้กึ่งพุทธกาลนะ แล้วสังคมอย่างนี้ เกิดในพระพุทธศาสนา ขณะที่ในประวัติศาสตร์นะ เพราะสมัยประวัติศาสตร์โบราณ ขณะที่ว่าพวกชาวตะวันตกเขามาในเมืองไทย เขามาเห็นแล้วเขาแปลกใจ แปลกใจว่าทำไมคนอยู่กันอย่างนี้แล้วไม่มีปัญหา ไม่มีการทำลายกัน เห็นไหม เพราะสังคมของพระพุทธศาสนาไง

ศีล ๕ เริ่มตั้งแต่สมัยโบราณนะ เรื่องธุรกิจไม่ค่อยมีหรอก ธุรกิจมีแต่การเจือจานกัน เพราะสังคมภาวะของหัวใจสูงส่ง แต่ในปัจจุบันนี้เพราะอะไร เพราะเราต้องออกไปสู่สากลไง พอสู่สากล การตลาดมา ต่างๆ มา ทำให้คนเห็นแก่ตัว ทำให้คนต้องสะสม สิ่งที่สะสม คนที่เป็นคนดีสะสมเป็นเสมอกับเขา เขาก็เจือจาน นี่พูดถึงสังคมของชาวพุทธ ถ้าเราเกิดในพระพุทธศาสนา นี่เราเป็นชาวพุทธ

สิ่งที่เป็นเรื่องของโลกๆ สิ่งนี้มันก็เป็นความทุกข์ เห็นไหม การเกิดต้องเกิดอีกหรือ ถ้าเกิดมาอย่างนี้ เกิดในสถานะแบบนี้ ทั้งๆ ที่เกิดมาในสังคมที่เป็นประเทศอันสมควรนะ ขนาดนี่สมควรยังทุกข์ขนาดนี้เลย แล้วถ้าเกิดต่อไปศาสนาจางไปเสื่อมไปโดยธรรมชาติ เราจะทุกข์ขนาดไหน เราจะต้องทุกข์ขนาดนี้อีก เพราะสังคมสถานะรองรับมันจะร้อนกว่านี้ มันจะเห็นแก่ตัวกว่านี้ มันจะเอาเปรียบกันมากกว่านี้ ขณะในปัจจุบันนี้เห็นแก่ตัวขนาดนี้ เอาเปรียบขนาดนี้ เรายังทุกข์มากขนาดนี้ แล้วจะไปข้างหน้าเราจะทุกข์ขนาดไหน

ถ้าเห็นสภาวะแบบนี้ ถ้าอย่างนั้น มีอย่างใดที่จะทำให้เราไม่เกิด ศรัทธาเกิดตรงนี้ ถ้าทำให้เราไม่เกิด ทำอย่างไร? เราต้องทำความสงบของใจ สงบของใจเพื่ออะไร? ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามีศีลโดยสมบูรณ์ เราจะทำสมาธิ ทำความสงบของใจได้ง่าย นี่ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ขณะที่ทำความสงบของใจนี่ทำได้ยาก ถึงได้เที่ยวดูซากศพ ดูสิ่งต่างๆ สิ่งนั้นเข้ามาให้สลดสังเวชเข้ามา ให้มันปล่อยวางเข้ามา

การปล่อยวางเข้ามา สิ่งต่างๆ ปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางอะไร? ก็ปล่อยวางในตัวมันเอง ตัวมันเองนี่กิเลสเต็มหัวใจ มันดีดดิ้น มันมีกำลัง มันยึดตัวมันเอง แล้วมันก็ยึดสถานะสรรพสิ่งนี้เป็นเราไง พอไปเห็นซากศพ ศพที่ไปดูเขา คือศพที่เดินได้อยู่นี่ไปดูเขา นี่คือศพเขา นี่คือศพเรา เราก็ศพด้วยหรือ นี่มันสลดนะ มันสลดเข้ามา สลดอย่างนี้ สลดเข้ามา มันจะเป็นสมาธิ คือมันปล่อยวางเข้ามา เห็นไหม ดูกายนอก กายนอกคือเราไปดูคนเจ็บ คนป่วย คนไข้ นี่กายนอกๆ

นี่เขาว่าเห็นกายเห็นอย่างไร สิ่งที่เห็นสภาวะแบบนี้เขาว่าเห็นกายแล้วหรือ สิ่งที่เห็นกายนี้...ในศาสนายังไม่รับ ในภาคปฏิบัติว่าไม่ใช่เห็นกาย แต่ในภาคของปริยัติว่าเห็นกาย เห็นกายก็คือกาย คืออักษรคำว่ากาย คำว่า “กาย” ก็ตีความกันไปโดยสมมุติไง ว่าเราเบิ่งตาแล้วก็เห็นกาย นี่คือการเห็นกายไง เห็นกายแล้วมันสลดสังเวช มันปล่อยวางเข้ามา นี่คือสภาวธรรม...ไม่ใช่ สิ่งนี้โดยสามัญสำนึก สัตว์มันก็มีตา มันรู้สึก มันก็เห็นของมันเหมือนกัน แล้วสัตว์มันเห็นกายไหม สัตว์มันรู้จักอะไรของมันล่ะ สิ่งที่เราเห็นกายมันต้องเห็นจากตาของใจ

พอตาของใจ ตาของใจอยู่ที่ไหน? ตาของใจนะ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา นี่ปุถุชน ถ้าเรากำหนดด้วยสติสัมปชัญญะ กำหนดดูซากศพ มันก็ปล่อยวาง มันก็สลดสังเวช พอปล่อยวางเข้ามา กำหนดพุทโธ ธัมโม สังโฆ มรณัสสติต่างๆ อานาปานสติ มันสงบเข้ามา สงบเข้ามาด้วยอะไร? ด้วยสติ ถ้ามีสติ สิ่งนี้ควบคุมเข้ามาแล้วมันเห็นโทษ เห็นโทษเพราะอะไร เพราะเราฟุ้งซ่าน เราไม่มีสติ ไม่มีสติ ตัวของจิตนี้มันถึงเกิดแก่กล้าไปด้วยกิเลส กิเลสมันดีดมันดิ้น เพราะมันไม่ยอมให้มันทำลายมันหรอก กิเลสนี่รู้โดยสภาวธรรม

กิเลสนี่กลัวธรรมมาก กลัวธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระไตรปิฎก ธรรมและวินัย ชำระกิเลสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ววางไว้ นี้คือธรรม ธรรมโอสถที่จะฆ่ากิเลสไง

เวลาเราไปศึกษา เราอ่านธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็อ่านไม่รู้เรื่อง อ่านไม่เข้าใจ ขณะศึกษามันก็ต่อต้านนะ ขณะที่จะประพฤติปฏิบัติ เราไปศึกษานี่เหมือนกับเราไปซื้อยา เรามียา เราอ่านฉลากยา ธรรมโอสถมันจะแก้กิเลส อ่านแล้วมันรู้ว่าจะมาแก้มัน มันก็ดิ้นรน กิเลสมันก็ดิ้นรนไง เวลาเราจะกินยานั้นเข้าไปมันยิ่งดิ้นรนใหญ่เลย ยานี้ขม ยานี้ไม่ดี ยานี้ไม่พอใจ มันต่อต้านนะ

นี่ก็เหมือนกัน เวลาอ่านยาคือศึกษาปริยัติไง ศึกษาธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วบอก “กายเป็นอย่างนี้ เห็นกายนี้ เราว่ามีตา เราก็เห็นกายแล้ว” นั่นกิเลสมันหลอก แต่ขณะที่ว่าเราทำความสงบของใจเข้ามา เราเริ่มต้นเริ่มตั้งแต่เราจะเปิดขวดยา ขวดยาคือเปิดให้กิเลสมันเบาบางลง กับความอัดแน่นของขวดนั้นมันปิดไว้นาน เห็นไหม พุทโธๆๆ มันยังทำไม่ได้ไง ขณะที่ทำความสงบของใจก็ทำได้ยาก ทุกอย่างทำได้ยาก ล้มลุกคลุกคลานไปหมดเลย สิ่งนี้มันต้องทำให้จิตมันสงบก่อน

ถ้าจิตสงบกำหนดพุทโธๆๆ จนจิตสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามา เรากำหนดบ่อยครั้งเข้า ถ้าเราใช้ปัญญา จิตนั้นสงบเพราะอะไร เพราะมันไปเอารูป รส กลิ่น เสียง รูป รส กลิ่น เสียงมันเข้าไปเป็นอาหารของใจ เพราะใจมันหิว มันกระหาย ใจมันกลัว ขณะที่ออกปฏิบัติก็กลัวว่าจะดำรงชีวิตอย่างไร ขณะที่จะประพฤติปฏิบัติ สิ่งที่หัวใจมันหิวกระหายอยู่ มันก็กินรูป รส กลิ่น เสียง เป็นอาหารของมัน

บ่วงของมาร พวงดอกไม้แห่งมาร ทำให้หัวใจนี่ฟุ้งซ่าน ทำให้หัวใจกำหนดสงบไปไม่ได้ แม้กำหนดพุทโธๆๆ ด้วยความตื่น ด้วยความตระหนกของมัน มันก็สงบมาไม่ได้ พิจารณาถึงสภาวะด้วยปัญญาอย่างนี้ เห็นโทษอย่างนี้ นี่บ่วงของมาร รูป รส กลิ่น เสียงนี้มันเป็นธรรมชาติของมัน เสียง ดูสิ เดี๋ยวนี้คลื่นเสียง เสียงต่างๆ ออกตามสาย เสียงมันดังอยู่ทั้งปีทั้งชาติ เสียงนั้นมันเป็นกิเลสหรือ สิ่งต่างๆ เป็นกิเลสหรือ? ไม่ใช่หรอก เพราะเรารำคาญ เราไม่พอใจ เรามีการต้อต้าน

ดูสิ ดูสังคมในเมือง ขณะที่เสียงดังจนมีปัญหากันระหว่างครัวเรือนต่างๆ เพราะอะไร เพราะมันไม่พอใจเสียงนั้น นี่ก็เหมือนกัน เสียงมันก็คือเสียง เสียงนั้นมันให้อะไรเรา มันมีอำนาจเหนือเราได้อย่างไร มีอำนาจเหนือเราเพราะเราไม่มีปัญญาไง เราถึงไปยึดเขา ไปเหนี่ยวเขา แต่ขณะที่เรามีสติสัมปชัญญะ เห็นสภาวะต่างๆ รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นเหยื่อของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร

ถ้าจิตเรา สติปัญญาเราใคร่ครวญเข้ามา มันจะตัดสภาวะแบบนี้ออกไป ถ้าตัดสภาวะแบบนี้ออกไป กัลยาณปุถุชน ดูสิ ปุถุชนนี้ ปุถุชนที่หนาไปด้วยกิเลสนี้ ควบคุมใจของตัวเองไว้ได้ แต่ขณะที่มีปัญญา มีการใคร่ครวญ กำหนดพุทโธ ทำบ่อยครั้งเข้า จนจิตนี้เป็นเอกัคคตารมณ์ จนเห็นความผิดพลาดของมัน เห็นสติขาด ออกมารับรู้รูป รส กลิ่น เสียง สภาวะนี้ทำบ่อยครั้งเข้า ชำนาญในวสี เห็นสิ่งต่างๆ มันปล่อยวางรูป รส กลิ่น เสียงได้ ด้วยสติ ด้วยปัญญา ปล่อยขาด ขาดอย่างนี้คือกัลยาณปุถุชน

ผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชน คุณสมบัติของกัลยาณปุถุชนเพราะจิตตั้งมั่น จิตนี้เป็นสมาธิโดยง่าย ควบคุมสมาธิโดยเอกัคคตารมณ์นี้ จิตนี้ตั้งมั่นตลอดไป ผู้นี้ต่างหากจะเห็นกาย จิตที่สงบนี้ต่างหากนี่คือดวงตาของใจ ดวงตาของใจ ดวงตาของใจอยู่ตรงนี้ อยู่ตรงที่เราทำความสงบเข้ามา มันมีดวงตาของมัน น้อมไปหากาย ถ้าน้อมไปหากาย เห็นกายสะเทือนหัวใจมาก สะเทือนหัวใจเพราะอะไร

เพราะอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ จิตนี้ อวิชชานี้มันโง่มาก มันหลอกตัวเองมาตลอด สรรพสิ่งนี้เป็นเราๆ แล้วมันไม่เคยเห็นตัวมันเองจากภายใน มันเห็นแต่จากภายนอก เห็นภายนอกระหว่างเห็นรูป รส กลิ่น เสียง เห็นสิ่งต่างๆ มันก็ออกไปยึด ออกไปหน่วงเหนี่ยวกัน ออกไปเป็นสังคม ออกไปเป็นการบาดหมาง เป็นการกระเทือนหัวใจกัน

แต่ขณะที่มันเข้าไปเห็นกายจากภายใน เพราะเราเห็นกายของเรา เราเห็นกายจากภายใน เห็นกายจากหัวใจที่มันหลงอยู่นี่ มันหลงตัวมันเอง แล้วมันยึดตัวมันเองว่าเป็นมัน ขณะที่เป็นมัน มันสะเทือนหัวใจ “เป็นอย่างนี้หรือ” นี่คือการเห็นกายนะ เห็นกายมันต้องเห็นอย่างนี้

ถ้าเห็นอย่างนี้ขึ้นมา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเห็นบ้างเวลาจิตสงบ เห็นกายเป็นครั้งเป็นคราว อันนั้นมันอยู่ที่วาสนานะ วาสนาของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ขณะที่จิตสงบบางคราวมันจะเห็นได้ เห็นสภาวะสิ่งต่างๆ จริตนิสัย เห็นเป็นอวัยวะ เห็นเป็นสิ่งต่างๆ แต่เห็นแล้วควบคุมไม่ได้ เห็นแล้วจับต้องไม่ได้ เห็นแล้วหลุดไม้หลุดมือไป เราก็ต้องมีความชำนาญขึ้นมา

เหมือนกับเราไปเที่ยวป่าช้า เราเห็นกายนอก นี่เห็นกายใน เห็นแล้วสะเทือนหัวใจไหม? เห็นแล้วสะเทือนหัวใจ ถ้าสะเทือนหัวใจเราก็ตั้งสติ นึกถึงเหตุเรื่องที่เราไปทำสภาวะแบบนี้ แล้วตั้งสติสิ่งนี้ไว้ มันก็จะเห็นสภาวะแบบนั้นอีก มันก็จะปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามา มันก็เป็นกัลยาณปุถุชนนี่แหละ แล้วขณะย้อนไปเห็นกาย พิจารณากายมันสะเทือนหัวใจ สิ่งที่สะเทือนหัวใจเพราะมันสะเทือนกิเลส

แต่เดิมกิเลสขี่คอ แล้วก็ไสออกไปโดยที่ไม่รู้เหนือรู้ใต้ ดำรงชีวิตอยู่ไปโดยใต้อำนาจของกิเลส ทั้งๆ ที่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่นี่ ทั้งๆ ที่มีธรรมโอสถขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ แต่ทำไมเราไพล่ไปเอาแต่เรื่องของโลกล่ะ ทำไมเราไพล่ไปให้กิเลสมันมีอำนาจมาก อำนาจวาสนาเหยียบย่ำหัวใจล่ะ นี่เราไปแสวงหาแต่สมบัติของโลกกัน เราไปแสวงหาสิ่งที่เป็นปัจจัยเครื่องอาศัยไง แม้แต่พระภิกษุ ถ้าสร้างวัดวาอารามก็สร้างให้เป็นภาระรุงรังนะ สร้างขึ้นมาแล้วใครจะรักษา สร้างขึ้นมาแล้วใครจะเป็นคนดูแล เห็นไหม ไปเห็นแต่ศักยภาพของวัตถุ สิ่งที่เป็นเกียรติศักดิ์สังคม

แต่ไม่เห็นเรื่องของธรรม คือหัวใจที่มันเห็นกาย แล้วมันสะเทือนหัวใจไง นี่ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดที่หัวใจ เกิดที่ความรู้สึกจากภายใน การชำระกิเลสจากหัวใจอย่างนี้ เห็นไหม นี่คือธรรม นี่คือธรรมไง สภาวธรรมคือธรรม สภาวธรรมเกิดขึ้นมาจากหัวใจของเรา เราเห็นกายได้อย่างไร เราเห็นกายได้เพราะเรามีอำนาจวาสนา เดินตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัย

เราทำจิตของเราให้สงบ จิตของเรามีกรอบเข้ามา ทำความสงบของใจเข้ามา จนถึงจิตสงบแล้วน้อมไปเห็นกาย วิปัสสนากายด้วยปัญญา ใคร่ครวญ กาย สภาวะกายเป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตา เป็นสิ่งที่เห็นจากหัวใจ เห็นจากตาของใจ สิ่งสภาวะจากใจ ตั้งไว้ แล้วถ้ากำลังพอนะ เจโตวิมุตติ คือการจับกายตั้งไว้ แล้ววิปัสสนากายแยกแยะสิ่งต่างๆ ไปเป็นไตรลักษณะ เป็นไตรลักษณ์ เป็นอนัตตา สิ่งที่อนัตตา อนัตตาเพราะอะไร อนัตตาเพราะกำลังของธรรม

กำลังของธรรมคืออะไร? กำลังของธรรมคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคญาณ มรรคญาณเกิดจากมีสติ มีสมาธิ สิ่งที่สติ มีสมาธิ คือหัวใจ หัวใจที่แต่เดิมโดนกิเลสบังคับบัญชาแล้วมันออกไปยึดแต่เรื่องต่างๆ มันคิดแต่เรื่องของโลก คิดแต่เรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่คิดแล้วมาเหยียบหัวใจเอง คิดแล้วมันกระทืบให้หัวใจนี้เจ็บปวดเอง ขณะที่เป็นสภาวธรรม คิดโดยสภาวธรรม

ธรรมอยู่ที่ไหน? ธรรมเกิดจากใจ ธรรมเกิดจากทำความสงบของใจ ความสงบของใจขึ้นมา เป็นพื้นฐานขึ้นมา มีสติมีปัญญา สิ่งที่มีสติมีปัญญา ตั้งกายขึ้นมา เห็นกายโดยสภาวะของความเป็นจริง มีกำลังพอ กายนี้จะเป็นภาพที่เราจะขยายส่วนได้ ถ้ากำลังไม่พอ ภาพนี้ก็จะหลุดไม้หลุดมือ เราก็พยายามกลับไปที่ทำความสงบของใจ สร้างฐานนี้ขึ้นมา จับกายตั้งไว้ วิปัสสนากาย การวิปัสสนาคือการให้วิภาคะ คือการทำลาย การแยกสลาย เพราะมันเป็นอนัตตา สิ่งที่อนัตตาคือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

การดับไปคือการทำลายไป การทำลายไปของปัญญาญาณ ปัญญาญาณคือเกิดจากจิต จิต สภาวะของใจ เกิดจากใจ ใจเห็น ใจวิปัสสนา นี่กิเลสมันอยู่ที่ใจ ใจโลภ ใจไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งนี้ แล้วปัญญามันเกิดขึ้นมา มันสอนหัวใจ วิปัสสนาคือการเห็นของเรา ตัวจิตนี้ตัวรับรู้แล้วสิ่งต่างๆ ปล่อยบ้าง ปล่อยชั่วครั้งชั่วคราว ปล่อยขนาดไหน มันไม่สมุจเฉท

สิ่งที่ปล่อยเป็นชั่วครั้งชั่วคราวนี้ เจโตวิมุตติเป็นสภาวะแบบนี้ วิปัสสนาไปเห็นสภาวะต่างๆ เห็นกาย พิจารณากาย จนถึงที่สุด ถึงที่สุดเวลามันขาด ขาดคือสมุจเฉทปหาน กายแยกออกไป จิตแยกออกไป ทุกข์แยกออกไป สักกายทิฏฐิ นี่พระโสดาบัน สักกายทิฏฐิคือความเห็นผิดของกาย “สักกายทิฏฐิ” ทิฏฐิความเห็นผิดในกายไง สิ่งที่เห็นกาย เจโตวิมุตติเห็นกายเห็นอย่างนี้

แล้วถ้าเป็นปัญญาวิมุตติล่ะ พิจารณากาย พิจารณากายโดยใช้ปัญญา ปัญญา เห็นไหม พิจารณากายโดยที่ไม่เห็นกาย เป็นปัญญาวิมุตติ พิจารณากาย เวลาจิตสงบ ต้องมีจิตสงบเข้ามาก่อน ถ้าจิตไม่สงบเห็นกาย นี้เป็นสัญญาอารมณ์ เห็นสัญญาอารมณ์นี่เห็นเรื่องโลก เห็นเรื่องโลกคือเห็นจากภายนอก เห็นจากอาการของใจไม่ใช่ตัวใจ ถ้าอาการของใจ การเกิดดับของใจ นามรูปเกิดดับของใจ แล้วสิ่งนามรูปที่สร้างขึ้นมาให้เป็นกาย

สิ่งที่กายเห็นสภาวะแบบนั้น นี่มันเป็นกายนอก ถ้ากายนอก ปัญญาวิมุตติคือการใช้ปัญญาจากภายใน ปัญญาจากภายในเห็นสภาวะต่างๆ นี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปล่อยปัญญาสิ่งนั้นเข้ามา ปล่อยความยึดมั่นถือมั่นของใจ ปล่อยความรู้สึกของใจที่ไปเกาะเกี่ยวกับรูปต่างๆ นามรูปต่างๆ นั้นเป็นอาการของใจ ปล่อยสิ่งนั้นเข้ามามันก็เข้ามาเป็นจิตตั้งมั่น

ถ้าจิตตั้งมั่น สิ่งที่จิตตั้งมั่นแล้วน้อมไปที่ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์หมายถึงว่า ความกระทบของใจที่มันสร้างรูปกายขึ้นมา สร้างรูปกายโดยธรรม เพราะจิตนี้มันจะพิจารณากายโดยปัญญาวิมุตติไง สิ่งที่ปัญญาวิมุตติมันจะคิดพิจารณาเป็นรูปปัญญาเทียบเคียง มันไม่เห็นกายที่แปรสภาพเป็นไตรลักษณะ ถ้าเจโตวิมุตติจะเห็นกาย เห็นกายแล้ววิปัสสนากายมันจะแปรสภาพ เห็นแล้วมันสะเทือนหัวใจมาก ขนลุกขนพอง มันจะปล่อยขนาดไหน นี่ขนลุกขนพอง

แต่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติพิจารณากาย เห็นกายสภาวะต่างๆ พิจารณาไปโดยปัญญา ปัญญาเข้าใจว่ากายเป็นสภาวะแบบนี้ อาศัยสิ่งนี้เป็นเครื่องดำรงชีวิต สิ่งนี้มันต้องแปรสภาพของมันไปถ้าด้วยปัญญาตามทัน ตามความคิดทัน ตามความยึดมั่นถือมั่นของใจทัน มันก็ปล่อยเหมือนกัน สิ่งที่ปล่อย

เห็นไหม พิจารณาเวทนา สิ่งที่เป็นเวทนา สิ่งที่กาย เวทนา จิต ธรรม สิ่งที่เป็นสติปัฏฐาน ๔ การเห็นกาย การวิปัสสนาสติปัฏฐาน ๔ มันอยู่ที่อำนาจวาสนาที่พิจารณาแล้วมันไม่เป็นไป เวทนาอยู่ไหน นั่งไปเวทนามันมี เวทนาสิ่งต่างๆ เวทนานี้มันเป็นสิ่งที่เจ็บปวด คนที่อ่อนแอนะ เขาเจอสิ่งใดๆ เขาวิ่งหนี เขาสู้ไม่ไหวหรอก แต่คนที่ต่อสู้อยู่นี่ ขณะที่วิปัสสนาไป เวทนามันจะเกิดขนาดไหน มันเป็นเวทนาอย่างเริ่มต้นไง เวทนาอย่างที่เราจะพิจารณาเข้าไป

การพิจารณาเวทนา ถ้าจิตสงบ พิจารณาเวทนานะ เวทนาเกิดจากอะไร จิตรับรู้สิ่งใด สิ่งใดเป็นเวทนา ใช้ปัญญาไล่เข้าไป มันก็จะปล่อย ถ้ามีสติ กำลังพอ มันจะปล่อยสภาวะแบบนั้น ถ้ากำลังไม่พอ กลับมาที่พุทโธๆ ก่อน สร้างฐานเข้าไป เป็นขันติธรรม ขันติคือความอดทน ขันติคือตั้งสติไว้ แล้วขันติคือทน ทนแล้วกำหนดพุทโธขึ้นมา มันจะหลบเข้ามาเพื่อสร้างกำลัง

หลบเข้ามาสร้างกำลังเสร็จแล้ว ถ้ากำลังพอ สร้างกำลังบ่อยครั้งเข้า ต้องสร้างกำลังบ่อยครั้งนะ ไม่ใช่หลบเข้ามาแล้ว พอหลบเข้ามา มันสงบแล้วเราออกไปต่อสู้ บางทีสู้ไม่ไหว เว้นไว้แต่คนที่สร้างฐานอย่างนี้มา ทำอย่างนี้มาบ่อยครั้งเข้า เวลาสงบเข้ามาแล้ว สงบเข้ามาที่จิต จิตมีกำลังแล้วออกไปวิปัสสนา ส่งออก เห็นไหม คำว่า “ส่งออกๆ” เห็นนิมิตคือส่งออก เห็นต่างๆ ก็ส่งออก แต่ส่งออกนิมิตนะ ส่งออกไปแล้วหมดไปเลย คือกำลังหมดไป

แต่ขณะที่เราออกไปใช้ปัญญานี้มันออกไปทำงาน ออกไปทำอาบเหงื่อต่างน้ำเพื่อหากำไรเข้ามาในหัวใจ ออกไปวิปัสสนาเวทนา วิปัสสนาเวทนา ใคร่ครวญไป ถ้าเวทนาอย่างอ่อนๆ มันก็เข้ากำลังอ่อนๆ มันก็ปล่อยวางอ่อนๆ กำลังมันมากขึ้น มันก็ปล่อยวางมากขึ้น ปล่อยวางสูงขึ้น ปล่อยวาง วิปัสสนาไปก็บ่อยครั้งเข้า

พระโสดาบันจะวิปัสสนากายก็ได้ จิตก็ได้ เวทนาก็ได้ ธรรมารมณ์ก็ได้ กาย เวทนา จิต ธรรม อยู่ที่ว่าใครมีจริตนิสัยทำแล้วมีกำลัง มีอำนาจวาสนา มีการแยกแยะ นี้คือการเห็นกาย วิปัสสนากาย สิ่งนี้เหมือนอนุบาลเลย เราใช้ปัญญาด้วยการบวก ลบ คูณ หาร บวกลบนะ สิ่งที่บวกลบ นี่การเห็นกาย แล้วถ้าเรามีอำนาจวาสนายกขึ้น เพราะเป็นพระโสดาบัน

สิ่งที่เป็นพระโสดาบันมันมีพื้นฐาน เพราะคนทำงานเป็น ทำความสงบของใจ ถ้าทำความสงบของใจนะ พระโสดาบันส่วนใหญ่ไม่ค่อยติดหรอก ไม่ค่อยติดเพราะอะไร เพราะมันเป็นเริ่มต้น มันรู้ รู้สิ่งต่างๆ การเห็นกายนะ การชำระกายได้ พระโสดาบัน ดูสิ นางวิสาขามีครอบครัว ยังมีลูก ๒๑ คนเลย เพราะอะไร เพราะพระโสดาบัน การเห็นกายไม่ใช่การฆ่ากามราคะ การเห็นกาย วิปัสสนากายไม่ใช่อสุภะ

สิ่งที่เป็นอสุภะจะยกขึ้นไป สิ่งที่เห็นกาย ยกไป ย้อนไปที่กาย สิ่งที่เป็นกายนะ ถ้าเห็นกาย กำลังเกิดขึ้นมาเห็นกาย วิปัสสนากายไป วิปัสสนาด้วยปัญญาบ่อยครั้งเข้า แยกออกเป็นธรรมชาติของมัน คืนตัวไปสู่ธรรมชาติ สิ่งที่คืนตัวไปสู่ธรรมชาติ ขณะที่กำลังพอนะ ต้องจับกายได้ วิปัสสนากาย น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ปล่อยหมดๆ ถึงที่สุดเข้า ปล่อยขาดได้

ถ้าเวทนาก็เหมือนกัน วิปัสสนาโดยปัญญา กายก็เหมือนกัน เหมือนกันโดยที่ว่า เราจะเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง ในอริยสัจ สิ่งที่จะเข้าไปในเรือนของอริยสัจ มันต้องเข้าไปประตูอันนี้ ขณะจิตที่เป็นนี่เป็นเหมือนกัน จะวิปัสสนา จะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ต้องเหมือนกัน เหมือนกันโดยอริยสัจ ต่างกันโดยการประพฤติปฏิบัติ ต่างกันโดยจริต ต่างกันทุกอย่าง

แต่ขณะพิจารณาเหมือนกัน พิจารณาบ่อยครั้งเข้า ถึงที่สุดมันปล่อยสมุจเฉทปหาน กายกับจิตแยกออกธรรมชาติ กามราคะ ปฏิคะอ่อนลงนะ สิ่งที่กามราคะอ่อนลง ตัวนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าเราปล่อยแล้ว นี่ตรงติดได้ หลวงปู่เจี๊ยะท่านบอกว่า เวลาท่านขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น ท่านบอกว่า “เกล้ากระผมพิจารณากายมาแล้วครับ เกล้ากระผมอย่างนั้น”

จนหลวงปู่มั่นเทศนาว่าการนะว่า “มีพระองค์หนึ่งปฏิบัติ ๓ พรรษาเท่ากับเรา ๒๒ พรรษาที่ถ้ำสาริกา” นี่การพิจารณากาย

แล้วเวลาหลวงปู่เจี๊ยะท่านไปถามหลวงปู่มั่น “แล้วจะให้เกล้ากระผมทำอย่างไรต่อไปครับ”

“พิจารณากาย กลับไปพิจารณากาย”

คำว่าพิจารณากายมาแล้ว ปล่อยมาแล้ว ทำไมต้องกลับไปพิจารณากายล่ะ

หลวงปู่เทสก์ เวลาหมู่คณะ ในประวัติหลวงปู่เทสก์ เวลาไปหาหมู่คณะ หมู่คณะบอกให้กลับมาพิจารณากาย “พิจารณามาแล้ว” ไม่ยอมพิจารณาซ้ำ ขณะที่เป็นพระสกิทาคามี คือได้ ๒ ขั้นตอน ขณะออกประพฤติปฏิบัติ เข้าใจว่าสิ่งนี้มันไม่มีแล้วไง แต่เวลาหลวงปู่มั่นท่านบอกว่าต้องพิจารณากายซ้ำ พิจารณากายซ้ำ ถ้าออกพิจารณา ถ้ามีคุณธรรม ยกขึ้นจะเป็นอนาคามิมรรค ถ้าไม่มีคุณธรรมจะติด จะติดตรงนี้ไง นี่ที่ติด ติดตรงนี้

ถ้าติดตรงนี้ สกิทาคามีเป็นอกุปปธรรม ไม่มีวันบุบสลาย ไม่มีวันเสื่อม แต่กิเลสของฉัน ฉันคิดว่าเป็นอนาคามี สิ่งที่จะเห็นอสุภะไง สิ่งที่จะเห็นอสุภะ ถ้ากำลังไม่พอ นี่กิเลสของขั้นอนาคามีมันปิดบังไว้ จะแยกออกอย่างไร จะทำอย่างไรก็ไม่เห็น ถ้าเห็นกาย ถ้ายกขึ้นเห็นกาย จะต้องทำความสงบของใจเข้ามา เป็นอนาคามิมรรค สิ่งที่อนาคามิมรรคจิตสงบเข้ามาแล้วออก

ครูบาอาจารย์ของเรา เวลาว่าติดสมาธิ ๕ ปีๆ หลวงปู่มั่นบอกให้ออกแสวงหา ออกวิปัสสนา ก็ออกไปเห็นอสุภะไง ถ้าออกไปแล้วจับนี่อสุภะ “อสุภะ” สิ่งที่เป็นอสุภะ พิจารณากายนี่เห็นอสุภะ อสุภะมันเข้ากับกามราคะ สิ่งที่จิตนี้เป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะ ถ้าจับกายได้จะเป็นอสุภะ สิ่งที่อสุภะ เราพิจารณาอสุภะซ้ำแล้ว ถ้าพิจารณาได้นะ กำลังนะ กำลังสำคัญมาก กำลังหมายถึงว่าทำความสงบของใจ

เห็นไหม ในการประพฤติปฏิบัติกำหนดเวลาพุทโธ ทำสมาธิ ทุกคนบอกว่า “ทำพุทโธ ทำสมาธิมันไม่มีปัญญา มันไม่เป็นประโยชน์ขึ้นมา” แต่เวลาวิปัสสนาไปนะ ถ้ากำลังไม่พอ ถ้าไม่มีพุทโธๆ สร้างกำลังขึ้นมา การงานนั้นไม่เป็นการงานเลย สังคมนั้น ทางโลกเขาพยายามต่อต้านกันเรื่องยาเสพติด ถ้าคนเสพยาเสพติดแล้วจะทำให้สังคมง่อนแง่น สังคมนี้ไม่มั่นคง ผู้ทำลายสังคม

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อถ้ากำลังไม่มี มันจะเข้าไปทำงาน มันเป็นไปไม่ได้หรอก แล้วบอกกำหนดพุทโธก็ไม่ได้ กำหนดพุทโธมันไม่มีปัญญา กำหนดพุทโธแล้วมันไม่ได้ใช้ปัญญา จะไปติดนิมิต ติดนิมิตมันส่งออกนะ แต่ถ้าไปเห็นกาย เห็นกาย สภาวะกาย คนที่ปฏิบัติ คนที่มีครูบาอาจารย์ชี้นำ นี่ความเห็นของเราเห็นโดยกิเลส มันยึดมั่นถือมั่น ขณะที่ว่าเข้าไปปฏิบัติธรรมนี่ ว่าพิจารณากายแล้ว ปล่อยกายแล้ว พิจารณากายอีกไม่ได้

แล้วเวลาภาคกรรมฐานของเรา กายนอก กายใน กายในกาย “ทำไมกรรมฐานชอบพูดเรื่องกายนอก กายใน กายในกาย เป็นโวหาร” มันเป็นโวหารที่ไหน มันเป็นการเผชิญหน้ากับกาย จากนอก กายใน กายที่เป็นอสุภะนี่ไง สิ่งที่เป็นความจริง แต่คนไปเห็นจริงมันต้องกล้าพูดความจริง คนไม่เคยเห็นนี่ดีแต่ด้นเดา แล้วเวลาพูดไป ออกไปว่า “สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้ศึกษามา ไม่ได้เรียนภาคปริยัติมา ก็จะไม่มีความรู้อะไรเลย ก็ใช้แต่โวหารกายนอก กายใน เพื่อจะให้ตามไม่ทัน”

ตามไม่ทัน เพราะมันปฏิบัติไม่เป็น

ตามไม่ทัน เพราะไม่มีวุฒิภาวะ

ตามไม่ทัน เพราะไม่มีดวงตาของใจ

ตามไม่ทัน เพราะไม่เคยประพฤติปฏิบัติ แล้วดวงตาของใจไม่เคยสามารถชำระอสุภะได้เลย

แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา จิตสงบเข้ามาขนาดไหน พุทโธๆ ให้มีกำลังขึ้นมา ย้อนกลับไปค้นคว้า ค้นคว้าสิ่งใด? ค้นคว้ากาย ถ้าจับกายได้จะเป็นอสุภะนะ มีกำลัง วิปัสสนา ปล่อยวางขนาดไหน นี่อสุภะ อสุภัง ย้อนกลับมาที่ใจ อสุภะกับกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะเพราะใจนี้เป็นกามราคะ สิ่งที่กามราคะ พระโสดาบันแบบนางวิสาขายังมีครอบครัวได้

แต่ถ้าเป็นอสุภะนะ เพราะใจเป็นอสุภะ ตัวใจเป็นอสุภะ สิ่งที่ตัวใจเป็นอสุภะมันก็มีเชื้อไข มันก็มีสิ่งที่สะสมมาในหัวใจ เวลาจิตสงบเข้ามา ย้อนออกไปพิจารณากาย พิจารณากายตรงนี้มันก็เป็นเรื่องของอสุภะ อสุภะเพราะอะไร เพราะมีธรรมไง สภาวธรรมทำให้เห็นอสุภะนะ ดูสิ ขณะที่หมอ สัปเหร่อเขาเห็นกาย ทำไมเขาไม่เป็น เขาไม่เป็นการเห็นกายโดยธรรมล่ะ เขาเห็นกายโดยวิชาชีพ วิชาชีพเป็นหน้าที่การงานของเขา

แต่เพราะนี่มีฐานของสกิทาคามี สกิทาคามีเป็นฐานเป็นธรรมในหัวใจนั้น แล้วโดยสมาธิโดยไม่ติดกิเลสในขั้นของอนาคามี นี่สภาวะของธรรมขั้นอนาคามิมรรคเห็นสภาวธรรมอย่างนี้ เห็นสภาวธรรม แม้แต่เดินจงกรมอยู่นะ เดินจงกรม ถ้าพิจารณาอสุภะจะสามารถเห็นเป็นรูปกายเดินอยู่ตรงหน้าได้ พิจารณาไป เดินจงกรมไป กายนี่จะย่อยสลายลง จะละลายลงต่อหน้าเลย ทำไมเห็นได้ล่ะ? เห็นได้เพราะมีคุณธรรมในหัวใจ ใจเป็นธรรม แม้แต่มองไปข้างนอกเห็นสภาวะแบบนั้นได้ นี่อสุภะเป็นแบบนี้

ดูสิ ในปัจจุบันนี้ คลื่นยักษ์ คลื่นที่มาจากทางสึนามิพัดเข้ามาที คนตายเป็นพันๆ นะ แล้วเขาก็เอาซากศพมารวมกันไว้ที่วัด คนเขาไปถ่ายรูปกัน “อสุภะๆ” มันอสุภะที่ไหน มันซากศพเหมือนที่เราไปดูที่ป่าช้ากันน่ะ อสุภะมันต้องใจเป็นคนเห็น อสุภะไม่ใช่เราถ่ายรูปมาแล้วเอากระดาษมาเป็นอสุภะ แม้แต่ซากศพนั้นเขาเป็นซากศพ จิตเขาไปแล้ว จิตดวงนั้นเห็นกายจากภายในมันถึงเป็นอสุภะ

คนตายนี่...ไม่ใช่ไปซ้ำเติมเขานะ เวลาเขาตาย คลื่นยักษ์มาเขาตกใจมาก เขาตายไป จิตเขาหลุดออกไปจากร่างกายแล้ว เพราะว่ากรรมของเขามาถึงที่ เขาต้องตายไป แล้วนี่สิ่งที่เหลือคือธาตุ ๔ ธาตุมันก็เน่าสลายไปตามธรรมชาติของมัน เขาก็ต้องทำตามหน้าที่ของโลก เพื่ออะไร? เพื่อสืบต่อว่าตระกูลใคร ลูก ญาติของใคร เขาต้องทำตามหน้าที่ของเขา เขาคาดผ้าไว้ กลิ่นเหม็นมาก เขาคาดไว้นะ

แต่คนที่เป็นธรรม เขาไปเห็นเขาสลดสังเวช ถ้าสลดสังเวชมันก็แค่เป็นสมาธิ มันแค่สมถะไง ถ้าจิตของคนที่เป็นธรรม จิตของคนที่เป็นกิเลส ดูสิ เขาแย่งศพกัน เขาเอาสิ่งนี้ไปเรียกร้องผลประโยชน์กัน นั้นเป็นเรื่องของกิเลสนะ เอาซากศพไปขายกินกันต่างหาก นี่เป็นอสุภะที่ไหนล่ะ

อสุภะมันเกิดที่ใจ อสุภะมันเกิดจากความเห็นของจิต จิตเห็นสภาวะแบบนั้น ขณะที่เดินจงกรมอยู่เห็นภาพขึ้นมา สิ่งที่เห็นภาพขึ้นมา นั่นเพราะมันมีคุณธรรมในหัวใจ สภาวธรรมนี้มี มันเห็นไง เวลาประพฤติปฏิบัตินะ ขณะที่จิตขณะที่ลืมตาอยู่นี่มองออกไปเห็นคฤหัสถ์ เห็นเพื่อนหมู่คณะมันจะทะลุเข้าไปเลย เห็นเป็นปอด เป็นไต เห็นได้หมดเลย ขณะที่เห็นเพราะอะไร นี่คุณธรรมไง ธรรมของใจ ถ้ามีคุณธรรมอย่างนี้มันเห็นได้ ทะลุหมด มองไปนี่ทะลุหมดเลย เห็นสภาวะแบบนั้น สิ่งที่ทะลุ นี่กำลังของจิตมันเกินไป สิ่งที่เห็นร่างกายแล้วทะลุเข้าไปถึงปอด ถึงตับ มันต้องเป็นคุณธรรมใช่ไหม? ไม่ใช่ เพราะอะไร

เพราะมันไม่มัชฌิมาปฏิปทา เพราะกำลังของสมาธิมันแรง แรง มันก็ทะลุเข้าไปเลย มันไม่เป็นอสุภะไง มันทะลุทะลวงเข้าไปในร่างกายของที่เราส่งจิตไปดู ฉะนั้นย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาเพื่อใช้ปัญญา ให้มันเป็นไตรลักษณ์ ให้มันเป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตา ถ้ากำลังมันพอ ใช้ปัญญามันจะทำลายลง ทำลายลง พั๊บ! ยิ่งทำลายลง ความฝึกฝนของจิตมันมากขึ้น มีความชำนาญมากขึ้น นี่อสุภะ เห็นอสุภะมันก็สอนจิตสิ

สิ่งนี้เอ็งเสพอารมณ์ ความรู้สึกของเอ็งมันเป็นโอฆะ มันเป็นสิ่งที่เกิดในกามภพ มันเป็นกามราคะ มันพิจารณาไปมันก็ปล่อย ปล่อยจนละเอียดเข้ามา ละเอียดเข้ามาๆ ปล่อย ต้องฝึกฝนอย่างนี้นะ ไม่ใช่ปล่อยหนสองหนแล้วมันจะเป็นอนาคามีนะ อนาคามันคาอยู่กับกิเลสไง กิเลสมันคาหัวอยู่ กิเลสมันยังเหยียบย่ำอยู่ มันจะเป็นอนาคามีที่ไหน เพราะมันไม่ได้สมุจเฉทปหาน มันไม่ทำลายกามราคะในหัวใจ

วิปัสสนาเข้าไปปล่อยครั้งเข้า มันจะย้อนกลับเข้ามา นี่สภาวะจะละเอียดเข้ามาๆ ถึงที่สุดถ้ามันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยวางอสุภะ ถ้าอำนาจวาสนาของคนนะ ถ้าพิจารณาไปไม่ได้ สิ่งนี้พิจารณาไม่ได้ก็ต้องพยายามฝึกฝน พิจารณาไม่ได้ มันหายหมดเลย ที่ว่าเอาสุภะเข้ามาเทียบ ให้เห็นความสวยงามของมัน ระหว่างที่ว่าสิ่งที่ไม่สวยงามมันก็ปล่อยๆ มันปล่อยโดยที่ไม่มีเหตุผล ไม่สมุจเฉทปหาน คือสังโยชน์ระหว่างปฏิฆะ กามราคะมันไม่ขาด สิ่งที่ไม่ขาดมันก็หมกมุ่นอยู่ในหัวใจ

ขณะที่การประพฤติปฏิบัติ กิเลสอันละเอียดมันจะคอยสะสม มันจะคอยเบี่ยงเบน มันจะคอยทำให้การประพฤติปฏิบัติคาอยู่อย่างนั้น ถ้าคาอยู่อย่างนั้นมันก็ต้องเอาสุภะมาเทียบ สิ่งนี้สวยงามชอบไหม? ชอบ ถ้าชอบมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร สิ่งที่อารมณ์ความรู้สึกไม่ชอบ ไม่ชอบมีความรู้สึกอย่างไร เห็นไหม สอนจิตมันไง

สิ่งที่ชอบ พอชอบมันก็เสวยอารมณ์ มันก็เป็นความเป็นไปของมัน มันก็หวั่นไหว สิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ชอบ มันขยะแขยง มันไม่พอใจ มันสยดสยอง มันเป็นธรรมสังเวช มันก็ปล่อย ซับซ้อนเปลี่ยนแปลง นี่มันสอนจิตขนาดนั้นนะ นี่วิปัสสนาโดยเจโตวิมุตติไง บ่อยครั้งเข้าๆ บ่อยครั้งถึงตัวจิต มันปล่อยได้นะ มันขาด มันครืน! ในหัวใจ มันปล่อยหมดเลยนะ มันปล่อยที่ใจ เพราะตัวใจมันเป็นขันธ์อันละเอียด

ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ มันพิจารณาโดยขันธ์ โดยความเป็นไป นี่เป็นปัญญาวิมุตติ สิ่งที่เป็นปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ ขณะที่พิจารณา ครูบาอาจารย์ที่เป็นปัญญาวิมุตติ ท่านพิจารณาโดยปัญญา ครูบาอาจารย์ที่เป็นเจโตวิมุตติ ท่านจะพิจารณาโดยไตรลักษณะ สิ่งที่ไตรลักษณะ เห็นไหม การวิปัสสนา การทำลายหัวใจ มันมีกว้างขวาง

สิ่งที่กว้างขวางอยู่ที่จริตนิสัย ครูบาอาจารย์ท่านจะเทศนาว่าการ ท่านสอนด้วยประสบการณ์ของท่าน สิ่งที่ประสบการณ์ของท่าน กับอำนาจวาสนาของเรามันคนละอันกัน ฉะนั้นการเทศนาว่าการของพระกรรมฐาน ถึงว่า สิ่งนี้มันเป็นเหมือนการบอกเล่าวิธีการ ฉะนั้น เราปฏิบัติขึ้นมา ไม่ต้องไปยึดให้เหมือนนะ ถ้าไปยึดให้เหมือนนี่มันต่างกัน มันจะยึดว่า มีความสุขไหม มีความปล่อยวางไหม มีความอบอุ่นในหัวใจไหม

ถ้ามีความอบอุ่น นี่เราก็ปฏิบัติมาถูกทาง สิ่งที่ปฏิบัติมาถูกทาง แล้วเราทำโดยอำนาจวาสนา ด้วยกำลังของเรา สิ่งที่กำลังวิปัสสนาเข้าไป ทำลายเข้าไปมันจะปล่อย อสุภะเป็นอย่างนี้นะ ขั้นของอสุภะคือการทำลายกามราคะ ขั้นของกาย การเห็นกายสิ่งต่างๆ เห็นกายเหมือนกัน แต่กายคนละชั้นตอน สิ่งที่มันละเอียดลึกซึ้ง สิ่งที่เหมือนกับการทำธุรกิจการค้าที่ได้ผลมหาศาล กับการได้ผล เห็นไหม เริ่มต้นเราประกอบธุรกิจต่างๆ มันก็เป็นการฝึกฝนขึ้นมา ก็ได้บ้างเสียบ้างเป็นธรรมดา

แต่ขณะที่เราเริ่มต้นจนยืนตัวได้ เห็นไหม โสดาบัน ขณะที่เราได้ทำลายขึ้นมามากขึ้น นี่เป็นสกิทาคามี สิ่งที่เราควบคุมได้อย่างนี้เป็นอนาคามี อนาคามีเพราะอะไร เพราะสิ่งที่ทำนี้ก็ทำแสนยาก เราควบคุมได้ ธุรกิจเรามีเครือข่าย มีการบริหารจัดการมหาศาลเลย หัวนี่ปั่นไปหมดเลย สิ่งนี้เพราะเราต้องควบคุมอย่างนี้นะ ถ้าเราควบคุมได้ มันถึงจะเป็นมัชฌิมาปฏิปทาไง ถ้ามันควบคุมไม่ได้ มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค เป็นกามสุขัลลิกานุโยค คือมันปล่อยวาง ถ้ามีความสุข มันก็ไปนอนจมกับมัน ปล่อยแล้วว่าง สบาย นี่เราปล่อยวางแล้ว

พอมันสะเทือนขึ้นมานะ ปล่อยแล้วทำไมมันมีความรู้สึกอย่างนี้ ปล่อยแล้วทำไมมีความทุกข์อย่างนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้น จนถึงที่สุดเจโตวิมุตติก็ขาด ปัญญาวิมุตติก็ขาด สิ่งที่ขาดแล้วพยายามใคร่ครวญ สะสมใคร่ครวญไปบ่อยๆ ครั้งเข้า มันจะเหลือเศษส่วน อนาคามี ๕ ชั้น สิ่งที่อนาคามี ๕ ชั้น มันปล่อยวางแล้วก็จริงอยู่ มันมีสิ่งที่ลึกลับซับซ้อน

ในภาคปฏิบัติของครูบาอาจารย์เราจะมีประสบการณ์ จะมีความจริงของใจ มันไม่เหมือนกับในตำรา ในตำราเขียนไว้อย่างนั้น ว่าไว้อย่างนั้น แล้วเราประพฤติปฏิบัติก็กลัวจะผิด ต้องกอดตัวอักษรไว้เลยนะ ต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างนั้น ขณะที่ครูบาอาจารย์ของเรานะ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ ท่านทำของท่านมา หลวงปู่มั่นท่านมีปัญญาของท่านมาก ท่านมีบุญญาธิการของท่านมาก เวลาท่านทำของท่านขึ้นมา ปัญญาจะรอบรู้ไปหมดเลย

หลวงปู่เสาร์ ท่านทำของท่านขึ้นมาเหมือนกัน แต่ขณะที่ปัญญาของท่านก็อยู่ในขอบเขตของท่าน แล้วครูบาอาจารย์แต่ละองค์มันก็ต่างกันไป ต่างกันไป แล้วหลวงปู่มั่นเวลาท่านสอนแต่ละองค์ ท่านสอนไม่เหมือนกันหรอก ท่านสอน ดูจริตนิสัยของแต่ละบุคคล อย่างเช่น ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เทสก์ท่านก็สอนไปอย่างหนึ่ง ครูบาอาจารย์ของเราบางองค์ท่านก็สอนไปอีกอย่างหนึ่ง สอนไปอีกอย่างเพราะอะไร เพราะจริตนิสัยมันไม่เหมือนกัน

ทำอย่างไรก็ได้ให้เราทำแล้วเป็นประโยชน์ของเราขึ้นมา แล้วจะเป็นประสบการณ์ของเรา แล้วเราเป็นครูอาจารย์ขึ้นมา เราก็จะเอาประสบการณ์นี้ไปสอนเขา แล้วคนอื่นจะมาหลอกเราไม่ได้ด้วย เพราะอริยสัจคืออันเดียวกัน วิธีการ การกระทำต่างกัน แต่อริยสัจอันเดียวกัน ถ้าเกิดอริยสัจผิด เป็นไปไม่ได้ อริยสัจต้องอริยสัจอันเดียวกัน ต้องเหมือนๆ กัน ปล่อยสมุจเฉทปหานเหมือนกัน

ขณะที่ทำลาย ทำลายขณะต่างๆ ปล่อยเข้าไป จนถึงที่สุด เวลาปล่อยวางเขา จิตทำลายเขาขึ้นมา ปัญญาอย่างนี้ปัญญามหาสติ มหาปัญญา ปัญญาแบบขันธ์ใช่ไหม ปัญญาโลกียปัญญา คือปัญญาข้อมูล ปัญญาจากสมอง ปัญญาจากการจำ ปัญญาในภาวนามยปัญญา ปัญญาจากสังขาร สังขารเพราะอะไร เพราะมีสติ มีสมาธิ สมาธิ สติ นี่กดความเห็น กดตัวตน ถ้าตัวตนเราสงบลง นั้นเป็นสมาธิ ถ้าตัวตนเรายึดมั่นถือมั่น เป็นสมาธิไปไม่ได้หรอก แล้วถ้าเป็นสมาธิ ถ้าไม่มีศีลมันก็เป็นมิจฉาสมาธิ มันก็ออกไปเรื่องของโลกๆ เขา

แต่ถ้ามันมีสมาธิขึ้นมา สิ่งที่เป็นสมาธิมันกดตัวตนนั้นเข้ามา สิ่งที่กดตัวตนเข้ามา ปัญญาอย่างนี้เพราะมีสมาธิเข้ามา มันเป็นธรรมชาติไง ธรรมชาติ ธรรมจักร ปัญญา ภาวนามยปัญญาคือปัญญาของธรรมไง ปัญญาของธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่ามีอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครค้นคว้ามันขึ้นมาได้ เพราะมันโดนอวิชชาครอบงำไว้ในหัวใจไง

แต่ถ้าเป็นปัญญาคอมพิวเตอร์ ปัญญาข้อมูลอย่างนั้น ปัญญาวิทยาศาสตร์อย่างนั้น มันเป็นปัญญาสถิติ มันแก้กิเลสไม่ได้ มันไม่มีความหมาย มันเป็นเรื่องของวิชาการ มันเป็นเรื่องของทางโลกเขา แต่ถ้าปัญญาแก้กิเลส มันเป็นภาวนามยปัญญาจากหัวใจ มันเกิดในปัจจุบันธรรม มันเกิดจากสิ่งที่เรากด สิ่งที่เป็นตัวตน สิ่งที่จะบิดเบือนให้เป็นอัตตะฯ หรือกามสุขัลลิกานุโยคในหัวใจ มันจะเป็นสภาวธรรมของมันขึ้นมา เห็นไหม สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากไหน ถ้าเราปฏิบัติขึ้นมาเป็นสภาวะแบบนี้ แล้วใครมันจะมาหลอก มาหลอกหัวใจดวงนี้ไม่ได้หรอก

เห็นไหม มันปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามาๆ ถ้าประพฤติปฏิบัติเข้ามาเห็นสัจจะความจริงอย่างนี้ขึ้นมา จนมันปล่อยวางหมด จิตนี้ว่างหมดเลย สิ่งที่ว่าง ใครเป็นคนไปรู้ว่าว่างล่ะ มันปล่อยวางเข้ามานะ นี่ขั้นของอสุภะ มันเป็นความลึกลับ ถ้าเป็นขั้นของอสุภะมันลึกมาก แต่ในการประพฤติปฏิบัตินะ ถ้าคนสอนไม่เป็น ว่าเริ่มต้นว่าอสุภะ ทำไมจะต้องให้เด็กๆ มันไปแบกของหนักล่ะ เด็กๆ มันก็ต้องทำงานของมัน ในตามกำลังของมัน

ถ้ามันเห็นกาย มันก็เป็นสภาวะของเด็กๆ ที่ทำงานเด็กๆ เด็กเห็นกายแล้วทำงานนั้นประสบความสำเร็จ มันก็ปล่อยกายนั้นเข้ามา แล้ววิปัสสนา เห็นเป็นธาตุต่างๆ นี่ก็เห็นกาย มันก็ปล่อยวางนั้นเข้ามา แล้วพอเด็กขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา ผู้ใหญ่คนไหนก็แล้วแต่ ทำงานขึ้นไปแล้วมันต้องรับผิดชอบ มันต้องรับผิดชอบกับการเกิดและการตายของมัน ถ้ามันรับผิดชอบการเกิดและการตายของมัน มันยังทำงานได้อยู่ มันยังไม่ติดในสิ่งที่กิเลสอันละเอียดที่มันครอบงำของมัน

มันต้องเจออสุภะโดยสัจจะความจริง ถ้าไม่เจออสุภะ ไม่เจอสิ่งที่ทำลายกามราคะ มันจะผ่านกามภพไม่ได้ มันจะเข้าอริยสัจไม่ได้ มันจะเป็นสัจจะความจริงไปไม่ได้ ถ้ามันผ่านสัจจะความจริง มันเป็นไปโดยข้อเท็จจริง ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริง ให้มันเป็นตามความจริงอันนั้น มันจะเห็นข้อเท็จจริงอย่างนั้น แล้วมันก็วิปัสสนาอย่างนั้นเข้ามา จนถึงที่สุดแล้วมันก็ต้องทำลายของมันไปโดยอรหัตตมรรค โดยอนาคามิมรรคมันก็ปล่อยวางเข้ามา จนปล่อยวางเข้ามา

ถ้าพิจารณากายนอก กายใน กายในกาย แล้วกายของจิต ถ้าพิจารณากายขึ้นมาเป็นเจโตวิมุตติ มันจะเห็นสภาวะของจิตมันเป็นรูป สิ่งต่างๆ ที่ว่ามันเป็นนามธรรม แต่มันเป็นรูปจากภายใน ถ้าวิปัสสนาเข้าไปถึงตรงนี้ได้ มันกิเลสลึกซึ้งมาก แต่ก่อนจะเห็นได้ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ชี้นำ ขนาดที่ว่าเป็นสมาธิ ก็ยังติดยังนึกว่าเป็นนิพพานเลย แล้วขณะที่มันปล่อยวางเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา มันไม่ติด มันเอาอะไรมาไม่ติดในเมื่อมีกิเลสอยู่ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด นี่มันครอบงำหมดเลย แล้วเข้าไปติดอย่างนั้น สภาวะแบบนั้น

เราถึงมีครูมีอาจารย์เป็นอำนาจวาสนานะ ถ้าเราไม่มีครูอาจารย์มาคอยชี้นำนะ มันเป็นวิปัสสนึก นึกเอาเอง คาดเอาเอง หมายเอาเอง เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมะมันจะเกิดขึ้นในหัวใจนั้น” ผู้ใดด้นเดา คาดหมาย จินตนาการ จินตมยปัญญาจินตนาการ สิ่งที่จินตนาการทางโลกเขายกย่องมาก ไอน์สไตน์ยกย่องมาก จินตนาการนี้ประเสริฐ ดีกว่าวิชาการ เพราะการจินตนาการมันจะส่งให้เกิดภาวนามยปัญญา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่แก้กิเลส คือภาวนามยปัญญา จินตมยปัญญาแก้กิเลสไม่ได้ เพราะเป็นจินตนาการ แต่จินตนาการแล้วสร้างสมขึ้นไป มันก็เป็นภาวนามยปัญญาขึ้นมาจนได้ แบบไอน์สไตน์คาดหมายไว้ไง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่พบประสบก่อน แล้วบอกไว้สัจจะความจริงมา ๒,๐๐๐ กว่าปีแล้ว ไอน์สไตน์เพิ่งมา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำลายมาหมดแล้ว วางรากฐานไว้หมด

แม้แต่การเกิดของจิตวิญญาณ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งสอนตั้งแต่พรหมลงมานะ สั่งสอนทั้งหมดเลย สิ่งที่เป็นจิตวิญญาณแล้วเขามีสถานะเหนือกว่ามนุษย์ แต่เขาไม่รู้เรื่องอริยสัจเลย เพราะสถานะของเขาเป็นสภาวะแบบนั้น แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้เรื่องอริยสัจ เห็นความเป็นอริยสัจจากความเป็นจริง แล้วคนที่ไม่เห็นจริงเอาอะไรมาสอน

สิ่งนี้ถ้าย้อนกลับ ครูบาอาจารย์ถึงชี้กลับมาตรงนี้ แล้วต้องย้อนกลับจิตตัวนี้เข้ามา ให้เข้าไปเห็นกายของจิต นี้คือเจโตวิมุตติ ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติล่ะ ปัญญาวิมุตติเห็นความผ่องใส ความเศร้าหมองของใจ ย้อนกลับเข้ามา มันจะวิปัสสนาไป แบบครูบาอาจารย์เป็นเหมือนต้นข้าว สภาวะปัญญาเทียบเคียงไง ปัญญาอย่างนี้ไม่ใช่ปัญญาขันธ์

ว่าจิตนี้เข้านิพพานอย่างไร จิตนี้ปล่อยวางอย่างไร เห็นไหม เวลาจิตนี้ปล่อยสกิทาคามี อนาคามี มันปล่อยวางเข้ามาได้ เพราะจิตนี้ทำลายสิ่งต่างๆ เข้ามา แล้วตัวที่เป็นจิต ตัวที่เป็นภาวนามยปัญญา มันเกิดออกมามันก็เป็นขันธ์ ถ้าปัญญาโดยปัญญาสังขาร มันเป็นขันธ์นะ แล้วปัญญาของจิต จิตนี้มันไม่มีอะไรสืบต่อ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ...นามรูปํ มันเป็นรูป เป็นอะไรต่างๆ มันเป็นปัจจยาการของมัน มันไม่ใช่กอง มันไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สิ่งนี้เป็นกองๆ...กองๆ สิ่งนี้ต้องอาศัยกำลังของจิตที่ออกไป สิ่งนี้มันถึงเป็นสิ่งที่เป็นกอปรเป็นการงานขึ้นมา

แต่ขณะที่ปัญญาที่เกิด จิตที่ออกไปยึด ออกไปเป็นกามราคะ นางตัณหา นางอรดีออกไป ความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตนี้ ตัวอวิชชาเป็นพลังงานออกไปอาศัยขันธ์ อาศัยอสุภะ อย่างนี้ออกไปหาจิต ขณะพิจารณาอสุภะเข้ามามันจะถอยร่นกลับมาเป็นตัวของมัน คนที่ทำลายคนอื่นทั้งหมดเลย แล้วมันจะทำลายตัวมันเองได้ไหม? มันทำลายตัวมันเองไม่ได้ โดยสัจจะความจริง เพราะคนมันตระหนี่ คนมันยึดมั่นถือมั่นตัวมันเอง

แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอรหัตตมรรคทำได้ ขณะที่ทำได้ ต้องโดนอรหัตตมรรคโดยสติสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สมาธิสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วย้อนกลับเป็นอรหัตตมรรคเข้าไปจับตัวตอของจิต นี่ถ้าเป็นเจโตวิมุตติเห็นสภาวะของกายจากรูปของจิต รูปกายอันละเอียด กายลึกซึ้งมาก ทำลายกายตัวนี้ พลิกคว่ำตัวนี้

พลิกคว่ำคืออะไร? คือทำลายตัวมันเอง จิตนี้ทำลายเขาเข้ามาหมดแล้ว มันทำลายตัวมันเอง จนถึงที่สุด อันนี้เป็นวิมุตติ อันนี้เป็นสิ่งที่หลุดพ้นออกไปจากสมมุติ พ้นออกไปจากธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พ้นออกจากไปธรรมและวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้เราก้าวเดิน เราก้าวเดินธรรมและวินัยเข้าไปถึงตัวจิตของเรา ถึงวิปัสสนาใจของเรา ตั้งแต่เห็นกาย เห็นอสุภะเข้ามา นี้เป็นเจโตวิมุตตินะ

แล้วถ้าเป็นปัญญาวิมุตติล่ะ ปัญญาวิมุตติเห็นเป็นสิ่งต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์ที่เห็น เห็นไหม เห็นเป็นสภาวะสิ่งที่เป็นเทียบเคียง มันเหมือนกับสิ่งที่ดูดซึม สิ่งที่ดูดซึม สิ่งที่ดูดซึมมาจนเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ขณะจิตสิ่งที่มันคายออก สิ่งที่อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ จิตปฏิสนธิ จิตตัวนี้ วิญญาณตัวนี้ ไม่ใช่วิญญาณโดยขันธ์ ๕

วิญญาณในขันธ์ ๕ อาศัยอายตนะกระทบ อายตนะกระทบตัวของจิต ตา หู จมูก ลิ้น กาย สิ่งนี้กระทบออกไป ถ้าไม่มีตัวจิตรับรู้ กระทบก็ไม่รู้ กระทบเฉยๆ มันก็ไม่รับรู้ สิ่งกระทบเฉยๆ แต่ถ้ามีจิตรับรู้ มีจิตรับรู้ก็เป็นวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ...วิญญาณอย่างนี้ วิญญาณของมนุษย์ วิญญาณของเทวดา วิญญาณของพรหม วิญญาณต่างๆ วิญญาณนี้คือวิญญาณสถานะ วิญญาณภพ

แต่ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญญาณตัวนี้ ตัวจิตตัวนี้มันจะทำลายตัวมันเองอย่างไร สิ่งที่ทำลายตัวมันเอง มันซับเข้ามา มันทำลายอย่างนี้ มันพลิกออกมาอย่างนี้ มันก็เป็นวิมุตติไป จิตที่เป็นวิมุตติ เห็นไหม นิพพาน นิพพานมีตรงไหน? มีตรงความรู้สึกนั้น ถ้าจิตเข้าวิมุตติไม่ได้ จิตเป็นนิพพานไม่ได้ แล้วจิตเป็นนิพพานได้อย่างไร

อาสเวหิ จิตทำลายจิตตัวนี้ จิตตัวนี้เป็นวิมุตติไป แล้ววิมุตติอยู่ที่ไหน? วิมุตติก็อยู่ที่ตัวของความรู้สึกอันนั้นไง ตัวความรู้สึกของดวงจิตที่มันทำลายตัวมันเองมา มันสะเทือนเลื่อนลั่นในหัวใจมันนะ มันพลิกคว่ำสถานะของการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย

อนาคามิผลนะ เวลาเกิดบนพรหม ชีวิตของพรหมขนาดไหน มันจะสุกของมันไป อนาคามีไม่กลับมาเกิดในกามภพ ไปเกิดบนพรหม แล้วจะล่วงผ่านพ้นไป แต่ขณะที่วิปัสสนาละเอียดอ่อนกว่านั้น คิดดูสิคำว่า “พรหม” อาหารของพรหมคือผัสสะ คือขันธ์เดียว หนึ่งเดียวเท่านั้น พรหมมีหนึ่งเดียวเท่านั้น ไม่มีขันธ์ แล้วขณะที่จิตวิปัสสนาญาณ อรหัตตมรรค อันนี้ละเอียดอ่อนมาก ทำลายมาก

การเห็นกายส่วนหนึ่ง การเห็นอสุภะส่วนหนึ่ง การเห็นคือการค้นคว้า การค้นคว้าหาการหางานขึ้นมาเป็นวิปัสสนา ไอ้วิปัสสนาที่เขาว่ากันว่ากันน่ะ วิปัสสนาโดยเป็นวิปัสสนึก นึกเอาทั้งนั้นเลย ถ้าเป็นวิปัสสนามันจะต้องเห็นสัจจะความจริง เป็นอริยสัจ อริยสัจ สัจจะความจริงขึ้นมา แล้วมันจะทำลายเป็นขั้นเป็นตอนเข้ามา

จะต้องเป็นภาคปฏิบัติ เป็นกรรมฐาน เป็นสิ่งที่กรรมฐาน ฐานของการงาน นี่กรรมฐาน สมถกรรมฐาน ต้องมีสมถกรรมฐานก่อน ต้องมีพุทโธๆ คือทำจิตสงบเป็นพื้นฐานก่อน มันถึงจะเห็นกายได้ ถ้าไม่มีสมถกรรมฐาน การเห็นกายนี้คือการเห็นโดยวิปัสสนึกหมดล่ะ เป็นไปไม่ได้ เห็นกายต้องเห็นกายจากตาของใจ เห็นอสุภะมันยิ่งเห็นสิ่งที่ลึกซึ้งกว่า แล้วจะทำลายถึงที่สุดของการประพฤติปฏิบัติ เจโตวิมุตติพลิกฟ้าคว่ำดิน จนไม่มีการเกิดและการตาย จะอยู่อย่างนี้แบบคงที่ตลอดไป เอวัง