เทศน์บนศาลา

ล้มได้ก็ลุกได้

๒๘ ก.ย. ๒๕๔๘

 

ล้มได้ก็ลุกได้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๘
ณ วัดป่าพุทธธรรม ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี

 

ธรรมะประเสริฐมาก ประเสริฐจนคนมองไม่เข้าใจนะ คิดว่าเราทำบุญกุศลนี่เป็นธรรม เป็นธรรม เป็นอามิสไง เป็นสิ่งที่ว่าการเปิดใจ เห็นไหม ถ้าไม่มีทาน “ทาน ศีล ภาวนา” ทานคือการเสียสละ “การเสียสละ” เสียสละออกจากใคร ถ้าคนเขามีมหาศาล คนที่ร่ำรวยมหาศาล เขาไม่เสียสละ เขาไม่สละทาน ของสมบัติของเขาก็กองอยู่ของเขานั่นน่ะ การเสียสละนี่ออกจากใจนะ เพราะใจเราคิดเสียสละ ใจเราคิดเป็นบุญกุศล เราถึงเสียสละทาน

การให้ทานเป็นการเปิดหัวใจ “การเปิดหัวใจ” สิ่งใดที่หมักหมม สิ่งใด แม่น้ำ น้ำนิ่งน้ำนั้นจะเสีย น้ำนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อมันไหลเวียนไง มีออกซิเจน มีต่างๆ สัตว์ในน้ำนั้นก็อุดมสมบูรณ์ ถ้าน้ำไหลเอื่อย แม่น้ำตามแม่น้ำนั้น ต้นไม้นั้นจะชุ่มเย็น แต่ถ้าน้ำนั้นเสีย น้ำนั้นเน่า สัตว์น้ำก็อยู่ในน้ำนั้นไม่ได้ ต้นไม้อยู่ตามริมน้ำก็ได้รับสิ่งที่เป็นพิษ

นี่อะไร เหมือนกัน ในหัวใจเรา เวลามันมีทุกข์มียาก สิ่งที่ทุกข์ยากคืออะไร สิ่งที่ทุกข์ยาก สิ่งที่ทุกข์ยากคือกิเลสไง แล้วมันสะสม สะสมจนมันเน่าเสีย ถ้ามันเน่าเสีย เห็นไหม ไม่เปิดออก การสละทานสละอย่างนี้ไง เปิดสิ่งที่เป็นความตระหนี่ถี่เหนียว สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สละออกไปพร้อมกับสิ่งที่เราจะทำทานนี้ไง สละมันออกไป สละมันออกไป

แต่เวลาเป็นความทุกข์ อารมณ์ที่ไม่พอใจ มันสละได้ไหมล่ะ สิ่งที่สละ สละทานอย่างนี้สละได้ ทำไมสละความทุกข์ สละความที่เป็นผูกพันของใจสละไม่ได้ล่ะ สิ่งนี้สละไม่ได้เพราะอะไร เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มารอยู่ที่ไหนล่ะ มันอยู่ที่อวิชชาไง

“จิต” ความรู้สึกอันนี้ไม่เคยตาย เวลามันเกิดตาย เกิดตาย เกิดตายในสถานะนะ แต่ตัวมันเองไม่เคยตายไง ตัวมันเองไม่เคยตายนะ เวลามันทำถึงที่สุดแล้ว “วิมุตติสุข” จิตนี้ก็ไม่ตาย เพราะเป็นวิมุตติสุขไง จิตนี้ อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจิง สูติ จิตตัวนี้มันเข้าทำลายตัวมันเองจนมันเป็นวิมุตติไง มันก็มีของมันอยู่ แต่ขณะที่มีอยู่นี่ มันเกิดการกระทำอันนี้

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสะสมขึ้นมา

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย แสนมหากัป เสียสละมาทุกอย่าง เสียสละมาทุกอย่างเพื่ออะไร? ก็เพื่อใจดวงนี้ไง เพื่อใจดวงนี้ให้พ้นจากกิเลส หวังโพธิญาณ หวังว่าให้ใจนี้พ้นจากกิเลส แต่การจะพ้นจากกิเลส จะพ้นจากการอ้อนวอน พ้นจากการศึกษา เป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งนี้เป็นอาการของใจ “อาการของใจ” ฟังสิ ความคิดความนึก เป็นอาการของใจ แล้วตัวใจตัวรู้เฉยๆ มันอยู่ที่ไหนล่ะ เพราะอะไร?

เพราะเราเกิดมา เราเกิดมา เราเป็นมนุษย์ สิ่งที่เป็นมนุษย์ สิ่งที่มีความรู้สึก มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เป็นใจไหม ขันธ์ไม่ใช่จิตนะ จิตเป็นจิต ธาตุเป็นธาตุ สิ่งนี้มีอยู่กับเรา แล้วเราเกิดมาแล้ว เราได้สถานะสิ่งนี้ เรามีบุญกุศลไง เพราะเกิดเป็นมนุษย์นี่แสนยาก การเกิดเป็นมนุษย์ต้องมีคุณสมบัติของมนุษย์ อย่างน้อยมีศีล ๕ ศีล ๕ เกิดเป็นมนุษย์ ดูสิ ดูสัตว์ที่เขาเกิด เขาก็เกิดเหมือนกัน โลกนี้มีการเกิดตลอดไป แต่นี่เขาเกิดด้วยบาปอกุศล อบายภูมิ ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉานลงไป ก็เกิดมาในสภาวะแบบนั้น แต่จิตดวงนี้ เวลาเราเกิดเราตาย ในนรกอเวจีจิตเราก็เคยเกิดนะ ไม่มีจิตดวงไหนไม่เคยผ่านในวัฏฏะ จะปิดบังอย่างนั้นไม่ได้ เพราะทุกคนมีกิเลส สิ่งที่มีกิเลส เวลากิเลสมันมีกำลังขึ้นมา เรายับยั้งมันไม่ได้

ความผิดพลาดอย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้เลยว่า “สิ่งใดทำแล้วนึกถึงเสียใจนั่งร้องไห้สิ่งนั้นไม่ดีเลย” เราก็ฟังธรรม แต่เวลากิเลสมันเกิดขึ้นมา เรายับยั้งมันได้ไหมล่ะ สิ่งที่ยับยั้งได้นี่ปฏิบัติธรรมนี้ไง การประพฤติปฏิบัติจะเข้าไปยับยั้งสิ่งนี้ไง “ยับยั้ง” ถึงจะมีกิเลสอยู่ก็ให้มันเบาบางลง อย่างคฤหัสถ์เรานี่ เราอยู่ในศีล ๕ เราไม่ผิดศีล เราไม่ผิดนะ ศีล ๕ แล้วผู้ที่ออกประพฤติปฏิบัติมีศีล ๘ ศีล ๘ คือถือพรหมจรรย์แล้ว แล้วที่ออกบวชแล้ว ออกบวชไม่ต้องประกอบอาชีพ การประกอบสิ่งที่เป็นอาชีพมันเป็นเรื่องของโลกเขา ถ้าพระไปแข่งขันกับเขาอย่างนี้ ไปทำเหมือนเขา แล้วเขาจะเคารพได้อย่างไรล่ะ เขาจะศรัทธา เขาจะเคารพได้อย่างไร เพราะอะไร

ดูสิ ดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาออกแสวงหาโมกขธรรม หนีออกจากราชวังไปถึงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้ข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะออกมาจากราชวัง นี่เข้าใจผิดไงว่าเจ้าชายสิทธัตถะโดนเขาขับไล่ออกมา ให้กองทัพครึ่งหนึ่งนะ ให้กองทัพของเมืองราชคฤห์ให้ไปเอาสิ่งที่เป็นสมบัติราชวังนั้นคืนมา

เจ้าชายสิทธัตถะบอก “ไม่ใช่หรอก สิ่งที่ออกมา ออกมาแสวงหาความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายจริงๆ ไม่ได้ออกมาโดยที่เขาขับไสไล่ออกมาหรอก” นี่เวลาออกมาอย่างนั้น

พระเจ้าพิมพิสารเลยสัญญาไว้ว่า “ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาแสวงหาโมกขธรรม ถ้าได้บรรลุธรรมแล้ว ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ขอให้มาสอนด้วย” ขอให้มาบอกกล่าววิธีการกับพระเจ้าพิมพิสาร เวลาเจ้าชายสิทธัตถะประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปีนี่ทุกข์ขนาดไหน สิ่งไหนที่เขาทางวิชาการเขามีอยู่แล้วไปศึกษากับเขาทั้งนั้นเลย สิ่งใดก็ทำขนาดไหนไป เพราะว่าสร้างสมบุญญาธิการนะ ถ้าไม่สร้างสมบุญญาธิการ เวลาที่ทำจิตสงบขึ้นมา มันเป็นความมหัศจรรย์มาก

จิตนี่เวลาทุกข์ ทุกข์มาก เวลาฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านมาก เวลามันสิ่งใดมันกดถ่วงใจ จะกดถ่วงมาก แล้วเวลามันปล่อยวางได้นะ มันเป็นความมหัศจรรย์มาก จิตนี้เวลาเกิดเวลาตายมันก็พาเกิดพาตายเพราะมันมีอวิชชาของมัน ขณะที่ทำความสงบของใจ มันก็เป็นความมหัศจรรย์ของมัน มหัศจรรย์ขนาดไหนก็แล้วแต่ เจ้าชายสิทธัตถะได้สร้างสมบุญญาธิการมามหาศาล

อาฬารดาบสรับประกันเลยว่า “เจ้าชายสิทธัตถะได้สมาบัติ ๘ เหมือนเรา สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาได้เหมือนเรา”

เพราะอาฬารดาบสเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม ก็ว่าเจ้าชายสิทธัตถะบรรลุธรรมแล้วไง เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธนะ เวลาออกจากสมาบัติมามันก็มีความทุกข์เหมือนเก่า สิ่งที่เป็นความทุกข์อันนี้ มันความทุกข์หมายถึงว่าความอาลัยอาวรณ์นะ ความทุกข์อันละเอียดนะ เวลาเราเข้าความสงบมันจะสงบมาก สิ่งที่สงบน่ะมีความสุขมาก ความสุขอย่างนี้เวลาเราอยู่ในความสงบมันก็มีความสุข

แต่เวลามันคลายตัวออกมาไง พอกระทบสิ่งใดมันก็มีความรู้สึก สิ่งที่มีความรู้สึกเพราะเจ้าชายสิทธัตถะท่านได้สร้างบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ สิ่งนี้มันเป็นบุญญาธิการ เป็นอินทรีย์ เป็นพละในหัวใจ ไม่ไปตามกิเลส มันมีความเฉลียวใจไง ถ้าเราออกไปกระทบก็เป็นสภาวะแบบนั้น เจ้าชายสิทธัตถะถึงต้องย้อนกลับมาด้วยบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง คิดถึงตั้งแต่โคนต้นหว้านะ ตั้งแต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่โคนต้นหว้า นั่งอยู่โคนต้นหว้า “อานาปานสติ” ความสงบอย่างนั้น กับสมาบัติ ๘ ต่างกันอย่างไร

สมาบัติ ๘ เวลาเข้าสมาบัติ ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน ขึ้นไป จนอากาสานัญจายตนะ สิ่งนี้มันเป็นการเหมือนกับน้ำ น้ำเวลาน้ำเสีย เขาทำน้ำเสีย เขารีไซเคิล เขาทำน้ำอย่างไร เขาพยายามปั่น พยายามออกซิเจนเข้าไปให้น้ำนั้นสะอาดขึ้นมา จิตก็เหมือนกัน เวลาเราเปลี่ยนจากปฐมฌาน ทุติยฌาน มันเหมือนกับการสร้างสถานะของจิตขึ้นไป สิ่งนี้มันก็สิ่งให้จิตมีพลังไง น้ำ จากน้ำเสีย น้ำเน่า กลายเป็นน้ำสะอาดขึ้นมา เพราะอะไร เพราะการทำกำจัดน้ำเสีย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันมีอารมณ์ความฟุ้งซ่านของมัน สิ่งนี้มันอยู่ในหัวใจ แล้วเวลาเข้าสมาบัติ สิ่งที่สมาบัติ สิ่งนี้มันส่งต่อกันขึ้นไปให้จิตนี้มีกำลัง พอจิตมีกำลัง มันออกรู้ไง มีกำลังของมัน มันจะส่งออกไปรู้สิ่งต่างๆ ขนาดเหาะเหินเดินฟ้าด้วยเข้าสมาบัติ มันเป็นความเป็นฌานสมาบัติ มันเป็นโลกียฌาน

ถึงโลกียฌาน แล้วถ้ามีกิเลสอยู่ เห็นไหม สิ่งนี้พระเทวทัตตอนบวชอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สมาบัติอย่างนี้ เหาะเหินเดินฟ้าได้นะ แปลงกายได้ต่างๆ แล้วชำระกิเลสได้สักตัวหนึ่งไหม? เทวทัตไม่ได้ชำระกิเลสเลย เพราะสิ่งนี้เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ทั้งๆ ที่ทำความสงบได้นะ กิเลสก็เต็มหัวใจ เวลาแปลงกายไปเป็นงูอยู่บนศีรษะของพระเจ้าอชาตศัตรู แปลงกายได้ ทำได้ สิ่งนี้เกิดจากอะไรล่ะ? เกิดจากสิ่งที่เป็นกำลังของจิตไง

แต่ขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะได้สภาวะแบบนี้ แล้วอาฬารดาบสรับประกัน เจ้าชายสิทธัตถะไม่เชื่อ ไม่เชื่อสิ่งนี้เพราะอะไร เพราะการสร้างสมบุญญาธิการมา เพราะสร้างสมบุญญาธิการนะ พละของใจ กำลังอย่างนี้ถึงออกค้นคว้าเอง เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องตรัสรู้เอง ตรัสรู้เองเพราะสภาวะขณะนั้นธรรมยังไม่มี ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะออกค้นคว้าอยู่นั้นสภาวธรรมยังไม่เกิด สภาวธรรมคืออริยสัจยังไม่เกิด สิ่งที่อริยสัจยังไม่เกิด แต่ความสงบของใจเขาทำกันเป็นได้

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วออกเผยแผ่ธรรม เพราะอะไร เพราะเขาทำความสงบของใจของเขาอยู่แล้ว สิ่งที่จิตเป็นสมาธิอยู่แล้วมันเป็นคุณประโยชน์ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาอริยสัจออกไป นี่ใจเขาพร้อม เขามีภาชนะพร้อม สิ่งที่เหมือนกับฝนจะตก เขามีภาชนะของเขาอยู่แล้ว ฝนตกมาเขารองรับน้ำได้เลย แต่คนเราไม่มีภาชนะ คือจิตเราไม่สงบ จิตเราฟุ้งซ่าน จิตเราเป็นโลกียปัญญา เป็นโลกียธรรม เป็นสภาวธรรมแบบนี้ มันถึงไปรับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ไง เห็นไหม ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้าอยู่ เป็นสภาวะแบบนี้ แล้วก็ค้นคว้าได้ กลับมาไง กลับมา กลับมาราชคฤห์ มาสอนพระเจ้าพิมพิสาร จนพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบันนะ

เวลาพระที่ออกประพฤติปฏิบัติ อาชีพของโลกเขา สิ่งที่อาชีพของโลกเขา ในศาสนาของเรา ภิกขาจาร การเลี้ยงชีวิตชอบ เวลาว่า “มรรค” มรรคของโลกเขา เราประกอบสัมมาอาชีวะ สิ่งที่สัมมาอาชีวะเป็นมรรคของคฤหัสถ์เขา

แต่ถ้าเป็นมรรคของผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินะ มรรคของพระเรา “เลี้ยงหัวใจชอบ” สิ่งที่จะเลี้ยงหัวใจชอบ ความคิดมันเป็นอาหารของใจ ความคิด ตัวจิต เป็นธรรมชาติรู้เฉยๆ แต่เวลาความคิดเกิดขึ้นมานี่มันเป็นวิญญาณ มันเป็นสังขาร เป็นความคิด ความปรุง ความแต่ง สิ่งนี้มันไม่ใช่ตัวจิต ถ้าเป็นตัวจิต เวลาเราคิดแล้วเราไม่คิด เราปล่อยความคิด เราอยู่เฉยๆ ของเรา ถ้าความคิดเป็นเรา ความคิดเป็นจิต จิตเวลาความคิดหายไปจิตก็ต้องไม่มีสิ

ไม่มีได้อย่างไร เรายังมีชีวิตอยู่ เรายังไม่ตาย ความรู้สึกเรามีอยู่ จิตยังอยู่กับเรา “จิตกับความคิดไม่ใช่อันเดียวกัน” เห็นไหม สิ่งที่ไม่ใช่อันเดียวกัน สิ่งนี้เวลามันอยู่กับใจ ถ้ามันอยู่กับใจ ถ้าเรากำหนดอย่างนี้เข้ามา สงบเข้ามา ตัวที่ปล่อยความคิดเข้ามานั้นน่ะตัวภาชนะ สิ่งที่ภาชนะไปรองรับธรรมอันนี้ไง สิ่งนี้จะเกิดขึ้นมาจากไหน? เกิดขึ้นมาจากที่ว่าเรามีศรัทธา มีความเชื่อ ถ้าเราไม่มีศรัทธา เราไม่มีความเชื่อนะ เราจะไปตามกระแสโลก

“กระแสโลก” เวลากระแสโลกแรง ไปตามกระแส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ทวนกระแส ทวนกระแสกลับเข้ามาในหัวใจของเรา ในหัวใจของเราเป็นความสุข-ความทุกข์ในหัวใจของเรา มันจะมีกับเรา เรื่องของโลกเขานี่นะมันเป็นสมมุติ สิ่งที่สมมุติคือของชั่วคราว มันมีจริงๆ ความเป็นจริงทั้งนั้น สมมุติทั้งนั้น แม้แต่ชีวิตเรายังเป็นสมมุติเลย การเกิดมาเป็นเรานี่เป็นสมมุติ สมมุติในวัฏฏะเป็นสมมุติ เวลาเกิดเป็น เทวดา อินทร์ พรหมก็สมมุติ สมมุตินะ จริงตามสมมุติเพราะอะไร เพราะต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

การเกิดและการตายมันเป็นของชั่วคราว มันจึงเป็นสมมุติสัจจะ สิ่งที่เป็นสมมุติสัจจะ เรื่องของโลกเขาแล้วเราไปตามกระแสเขา มันจะไปแก้กิเลสได้อย่างไร มันต้องทวนกระแสกลับมา ถ้าทวนกระแสกลับมา ทวนความคิด แล้วความคิดมันส่งออก มันออกจากหัวใจ เป็นพลังงานที่ส่งออกไป แล้วเราจะทวนกระแสได้อย่างไรล่ะ?

เราจะทวนกระแส เราต้องมีสติ ถ้ามีสติ เวลาคิดมากขนาดไหน ความคิดมันอยากให้เราทำสิ่งต่างๆ ที่มันแล้วแต่มันคิด ถ้าเรามีสติเรายับยั้ง คิดเข้าไป เราจะไม่ทำตาม เราจะไม่ยอมไปตามความคิดนั้น ถ้าเราไม่ยอมตามความคิด นี่สติมียับยั้ง ยับยั้งแต่จะคิดแล้วเราก็ไม่ทำ เราฝืนตลอด ถ้าเราฝืนนี่กระแสจะเกิดจากสติ สติถ้าเราฝืน ฝืนความคิดเข้ามาทั้งหมด ถ้าเราฝืนความคิดเข้ามาทั้งหมด ฝืน ฝืนตลอด

พอมันเห็นว่าเราคิดแล้วเราทำไม่ได้ พอเราคิดแล้วเราไม่ไปตามความคิดนั้น เราไม่ได้กระทำสิ่งนั้น แล้วเราก็มาชั่ง เวลาผ่านไป ถ้าเราทำตามความคิดนั้นเราก็ต้องไปตามกระแส เราก็ต้องเหนื่อยอ่อน ต้องเสียเงิน ต้องเสียกำลัง แล้วถ้าไปทำสิ่งที่เป็นความคิดที่ผิด เราทำมาแล้วก็เป็นบาปอกุศล นี่เรามีสติ เรายับยั้งได้ เราไม่ไปตามความคิดนั้น นี่คืออะไร?

นี่คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เราเชื่อธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรายับยั้งไว้ได้ สิ่งนี้เป็นประโยชน์กับเรา ถ้าเป็นประโยชน์กับเรา เป็นความคิดที่ดีกับเรา สิ่งที่เป็นความคิดนะ ความคิดนี้เป็นมรรค สิ่งที่เป็นมรรคคือทวนกระแสกลับมาไง เราจะเห็นคุณประโยชน์ของมัน ถ้าเห็นคุณประโยชน์ของมัน การกระทำอย่างนี้มันก็จะเป็นคุณประโยชน์กับเราตลอดไป แล้วมันก็จะพัฒนาขึ้นไป

“คนล้มแล้วลุกได้นะ” เพราะอะไร เพราะจิตเวลามันสงบขนาดไหน มันเสื่อมได้ ดูสิ ดูต้นไม้ล้มนะ ต้นไม้ เวลามันหมดอายุของมัน มันล้มของมัน ตามธรรมชาติของมัน แล้วมันเป็นประโยชน์ไหม ดูสิ ท่อนซุง ไม้ที่เป็นท่อนซุง เขาเอาไปใช้ประโยชน์นะ เขาเอาไปทำเป็นสะพานให้คนเดินข้าม เขาเอาไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ต้นไม้ตัวมันเองมันมีประโยชน์ไหม แต่คนที่มีปัญญา ไปเอาสิ่งนั้นมาเป็นประโยชน์ เอาสิ่งนั้นทำให้เป็นสะพานให้คนเดินข้ามได้ เอาสิ่งนั้นมาเป็นประโยชน์นะ สิ่งนั้นเป็นต้นไม้ที่มันล้ม มันไม่มีชีวิต

แต่คน ตั้งแต่เด็กๆ เด็กๆ เวลามันเล่นของมันขึ้นไป มันล้มลุกคลุกคลาน ยิ่งล้มยิ่งโตนะ ยิ่งล้มยิ่งโตเพราะอะไร เพราะเด็กมันเล่นตามประสาของมัน แต่คนเราผู้ใหญ่ล่ะ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาล้ม ถ้าเราล้มลงไป เราล้มลงไปถึงกับว่าเราเจ็บไข้ได้ป่วยนะ แต่เวลาคนตายล่ะ คนตายนะ เวลาล้มไป ขอนไม้ล้ม ถ้าขอนไม้ล้ม ขอนไม้มันยังเป็นประโยชน์นะ มันเป็นประโยชน์ให้กับคนที่มีปัญญาเอาไปทำสร้างบ้านสร้างเรือน เอาไปทำสิ่งต่างๆ แต่ตัวต้นไม้นั้นเขาไม่รู้เรื่องของเขาเลย นั้นสิ่งที่คนที่มีปัญญาไปทำสภาวะแบบนั้น นี่ไม้ล้ม

แต่เวลาคนล้มนะ เวลาตายไปแล้ว จิตออกจากร่างไป ร่างกายนี้เป็นประโยชน์กับใคร ถ้าเป็นประโยชน์นะ เวลาเราไปสวดอภิธรรมกัน เราไม่ต้องนะโม เพราะอะไร เพราะมีซากศพ ถ้าเราพิจารณาซากศพ เราพิจารณาคนตาย มันจะเป็นความสลดสังเวช สิ่งที่สลดสังเวช เห็นไหม เกิดประโยชน์กับใคร? เกิดประโยชน์จากคนที่มีชีวิต คนที่มีชีวิตแล้วไปเห็นสภาวะแบบนั้น ไปเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคนที่ตายอยู่นี่มันจะเตือนเรา ถ้ามันเตือนเรานะ มันเตือนเรา ถ้ามันเตือนเราขึ้นมา เราจะมีสติ เราจะไม่ตื่นไปกับชีวิต ชีวิตเราจะมีสติสัมปชัญญะ

แล้วเราจะว่า คนต้องตายทั้งนั้น แล้วเขาได้อะไรไป เขาจะไม่ได้อะไรไป เขานอนอยู่ในโลง แล้วต้องเผาไปตลอดไป แล้วเราไปดู มันจะสลดสังเวชเข้ามาไหม ถ้ามันสลดสังเวชเข้ามา นี่ดูกายนอก ถ้าดูกายนอกสลดสังเวชเข้ามา มันทำให้เรามีสติ ทำให้เราคิด ให้หาผลประโยชน์กับเรา เราก็ต้องตายอย่างนี้ แล้วเราจะเอาอะไรติดไม้ติดมือเราไป การสร้างบุญกุศลเป็นอามิสมันจะเกิดประโยชน์อย่างนี้ ถ้ามันเกิดประโยชน์อย่างนี้ขึ้นมา มันจะเป็นประโยชน์ ประโยชน์กับคนๆ นั้น

เวลาถ้าคนมีสตินะ เวลาเขาตาย เขาจะสละร่างกาย สละร่างกายให้กับทางการแพทย์เขา ทางการแพทย์เขา เขาใช้ประโยชน์ ใช้ประโยชน์ตรงไหน? ใช้ประโยชน์เป็นครูไง เขาเรียกอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ใหญ่ การศึกษาร่างกายของมนุษย์เป็นวิชาชีพของแพทย์ แพทย์จะมีวิชาชีพขึ้นมาเขาต้องมีร่างกายเอาไว้เพื่อศึกษาเพื่อเรียนรู้ เรียนรู้มาเพื่ออะไร? เพื่อเวลาคนมีชีวิตอยู่ เขาเอาสิ่งนี้มาเป็นประโยชน์ มาเพื่อแก้ไขคนเจ็บไข้ได้ป่วย เห็นไหม เขาเรียกอาจารย์ใหญ่ นี่เป็นประโยชน์ของโลกนะ สิ่งที่เป็นประโยชน์ของโลกของเขา ร่างกายของมนุษย์เขาจะรักษาคนไข้ เขาก็ต้องเอาสิ่งมาเป็นประโยชน์ มาศึกษา มาเล่าเรียน เล่าเรียนของเขา เขาเป็นเรื่องโลกียะ ปัญญาโลกียะเขายังใช้ประโยชน์ของเขาอย่างนั้นเลย แล้วถ้าปัญญาโลกุตตระล่ะ

“ล้มแล้วลุกได้” ถ้าล้มนะการประพฤติปฏิบัติ เราประพฤติปฏิบัติแล้วมันไม่สมประโยชน์ หรือว่าเราปฏิบัติไปล้มลุกคลุกคลาน ล้มแล้วลุก ล้มแล้วลุก เด็กล้ม ยิ่งล้มยิ่งโต โตยิ่งล้มแล้วลุกได้ คือหัวใจมันเวลามันท้อถอยอ่อนแอ เหมือนกับเราล้มเหลว เราล้มแล้วเราลุกไม่ไหว เราไม่ลุกเลย ถ้าเราไม่ลุกเราจะไม่ได้ประโยชน์เลย

การประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน ถ้ามันยังไม่ได้สมาธิ สมาธิยังเกิดขึ้นมาไม่ได้ เราต้องมีความมุมานะ เราต้องมีสติ เราต้องพยายามกำหนดพุทโธ พุทโธ เราต้องมีสติของเราได้ ยับยั้งได้ สิ่งนี้ทำได้ ถ้าทำไม่ได้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนแต่ผู้ที่มีกิเลสนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ที่สิ้นกิเลสแล้วท่านไม่ไปสอนหรอก แม้แต่คนตาย เวลาท่านบรรลุธรรมขึ้นมา “จะสอนใครได้ จะสอนใครได้” สิ่งนี้มันลึกลับมาก ผู้ที่จะรับสิ่งนี้ได้มันต้องมีสภาวะของหัวใจ

(เอาออกไปสิ เสียงดังอยู่นั่นเอาออกไป ประโยชน์ของเขาทั้งหมดไม่ฟัง)

สิ่งนี้มันเป็นประโยชน์นะเวลาฟังธรรม ธรรมนี่เป็นประโยชน์มาก แล้วเราเป็นประโยชน์ของเรา เราควรจะคิดสิ หัวอกคนอื่นเขาก็จะฟังธรรมนะ สิ่งที่ฟังธรรม ธรรมคืออะไรล่ะ แล้วเอาส่วนโลก ว่าโลกกับธรรม โลกกับธรรม นี่มันต่างกันตรงนี้ไง ถ้าเป็นเรื่องของโลก มันเป็นโลกๆ ไปทั้งหมด ไม่มีหัวใจ หัวใจหยาบมาก ไม่คิดถึงหัวใจของคนอื่นว่าเขาต้องการสิ่งใด

เหมือนน้ำไง น้ำ มันเป็นประโยชน์นะ เวลากินเข้าไปมันจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แต่น้ำใจล่ะ น้ำใจเวลาเราให้โอกาสคนอื่น เราให้คนอื่นเขาได้เป็นประโยชน์นะ แล้วเราไปขวางเขา เราไปทำลายคนอื่น เพราะคนอื่น ดวงใจกี่ดวงใจบนศาลานี้ แล้วต้องการความสงบ ต้องการทำความดี แล้วเด็กของเรามันส่งเสียงอย่างนี้ ทำไมเราไม่รู้จักอุ้มออกไปข้างนอก ไม่มีความคิดกันเลยหรือ แล้วบอกจะประพฤติปฏิบัติธรรมกัน สิ่งที่ธรรมมันอยู่ตรงนี้ ธรรมมันจะเห็นได้เลยจากน้ำใจของมนุษย์ จากการแสดงออก สิ่งนี้มันเป็นประโยชน์นะ

ถ้ามันจะเป็นประโยชน์ขึ้นมา ขณะที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์กับใคร? ประโยชน์กับหัวใจเรา ถ้ามันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวจะทำลายคนอื่น ทำลายโอกาสของคนอื่นก่อน ถ้าเราไม่ทำลายโอกาสของคนอื่นก่อน ก็ไม่ทำลายโอกาสของเรา ทำลายโอกาสของเรา

เวลาตายไปแล้ว ถ้าตายไปแล้ว ร่างกายถ้าเขาสละไว้เป็นประโยชน์กับทางการแพทย์ ประโยชน์กับทางโลกเขาไป โลกจะได้ประโยชน์ สิ่งที่โลกได้ประโยชน์ แต่ถ้าเราในปัจจุบัน เราต้องศึกษากายของเราให้เห็นก่อน ถ้ากายของเราเห็น มันเห็นจากไหน? เห็นจากตัวหัวใจที่มันจะสงบ ถ้าจิตไม่สงบไม่เห็นกาย การเห็นกายของหมอ เห็นไหม เขาเป็นวิชาชีพของเขา เขารักษาโรคของเขา รักษาโรคทางโลกของเขา นี่เป็นอาชีพของเขานะ เขาได้เงิน เราเจ็บไข้ได้ป่วยไปรักษา เวลาไปหาหมอ หมอคนไหนรักษาเราได้ คนนั้นเราจะซึ้งถึงบุญคุณของเขา ทั้งๆ ที่เราเสียตังค์นะ เราจ้างเขารักษาเรา แต่ขณะที่ว่าถ้าหมอคนนั้นเขาเป็นหมอที่ว่าเป็นอาชีพของเขา เขาเห็นรายได้ของเขา เขาเลี้ยงไข้ เขาทำอะไรเราก็ไม่รู้เรื่องเลย สิ่งนี้ แต่ถ้าเขามีคุณกับเรา ทั้งๆ ที่เป็นคุณนะ

ดูสิ ดูอย่างการศึกษา “ให้ธรรมเป็นทาน ให้ธรรมเป็นทาน” สิ่งที่การให้การเสียสละนี่เป็นทาน แต่เดิมในศาสนาพุทธเราเป็นจุดหลักของศาสนา คนที่เขาให้วิชาการ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่คิดไม่หวังผลประโยชน์กับใครเลย นี่ให้วิชาการกับทางโลก แล้วผู้ที่ให้ธรรม ให้การศึกษากับเด็ก สมัยก่อน คน อาจารย์หรือครูเขาจะเคารพรักมาก แต่เดี๋ยวนี้โลกเจริญไง เป็นวิชาชีพ วิชาชีพก็ศึกษากันไป เห็นไหม ให้ธรรมเป็นทานคือให้วิชาการของเขา ให้เขาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ให้เขายืนของเขาได้ ให้เขามีประโยชน์ของเขา สิ่งนี้ให้ธรรมเป็นทาน

สิ่งที่ให้ธรรมเป็นทานมันเป็นคุณประโยชน์เพราะอะไร เพราะขณะที่ว่าเรามีกิเลสในหัวใจ เวลาเราเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ เราก็เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ในชาตินี้ แต่ถ้าเราเปิดตาใจพ่อใจแม่นะ พาพ่อไปทำบุญกุศล พาแม่ไปทำบุญกุศล บุญกุศลมันสืบต่อไปในวัฏฏะไง เวลาจิตนี้ตายไปมันเป็นภพเป็นชาติขึ้นไป จนสูงส่งขึ้นไป เลี้ยงจนทำบุญกุศลจนพ่อแม่เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหมขึ้นมา เราเลี้ยงไปตลอดไป สิ่งนี้เป็นการเลี้ยงจากเลี้ยงหัวใจ นี่ให้ธรรมเป็นทาน

ถ้ามีธรรม มีธรรมในหัวใจ สิ่งนี้มันจะเกิดขึ้นมาจากไหน ธรรมในหัวใจ ธรรมหยาบๆ เวลาเราเรียนปริยัติกันนี่สุตมยปัญญา อ่านพระไตรปิฎกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วน้ำตาไหล น้ำตาซึมเลยนะ น้ำตาไหล น้ำตาซึม มันชำระกิเลสไหม? มันเพียงแต่ให้กำลังใจ มีศรัทธาความเชื่อ ศรัทธาตัวนี้มันเกิดดับ เห็นไหม “ล้มแล้วก็ลุก”

ถ้าล้มแล้วไม่ลุก อ่านพระไตรปิฎกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาท่านออกประพฤติปฏิบัติทุกข์ยากขนาดไหน พออ่านแล้วเราก็ไม่กล้าทำ อ่านแล้วก็ไม่...นี่ล้มแล้วไม่ลุกไง ไม่กล้า ไม่ประพฤติปฏิบัติเลย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นมนุษย์นะ เวลาอัครสาวกต่างๆ ก็เป็นมนุษย์นะ ครูบาอาจารย์ของเราก็เป็นมนุษย์ “มนุษย์” เราก็เป็นมนุษย์ ทำไมจะทำไม่ได้ ถ้าทำได้ เราก็ต้องตั้งสติ แล้วพยายามทำความสงบของใจเข้ามา อย่าให้ตายแล้ว แล้วก็แต่สละร่างกายไว้ให้วงการแพทย์เขาเอาไปเป็นประโยชน์นะ เราตายไปแล้วนะ

แต่ขณะที่เราเป็นนี่เราเป็นแพทย์ เราเป็นคนที่จะศึกษาสภาวะร่างกายของเราเอง ร่างกายที่เกิดมาโดยสมมุติ โดยอานิสงส์ของการสร้างบุญกุศลมามีบุญกุศลให้เกิดเป็นมนุษย์ สิ่งนี้การเกิดเป็นมนุษย์นี่ทรัพย์อันประเสริฐ ทรัพย์อันประเสริฐเพราะอะไร เพราะมนุษย์มีปากมีท้อง ต้องหาเลี้ยงอยู่เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แล้วถ้าท้องมันหิวนะ มันเป็นโรคประจำตัวนะ โรคมันจะบีบคั้นเราตลอดไป เราต้องดิ้นรน เราต้องหาสิ่งต่างๆ แล้วกิเลสมันก็ซับเข้ามา เราต้องสะสม เราต้องคิดไป นั่นเป็นกิเลสนะ

แต่ถ้าเรามีบุญกุศล เราทำบุญกุศลของเรา เราประกอบสัมมาอาชีวะของเรา สิ่งที่ได้มาโดยธรรมไม่เป็นกิเลสหรอก เพราะอะไร เพราะเราได้สร้างบุญกุศลมา สิ่งนี้มันเป็นกรรม กรรมดีต้องให้ผลดี แล้วสิ่งนี้มันให้ผลมาเพราะการกระทำของเรา มันเป็นกิเลสที่ไหน? ไม่ได้เป็นกิเลสเลย ถ้ามาโดยธรรม ไม่ใช่กิเลส มาโดยอำนาจวาสนา แต่ถ้าอัตคัดขาดแคลนนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าเราสร้างมาอย่างนี้ เราก็ต้องยอมสภาวะแบบนี้ นี่เราก็แก้ไขของเราไป

ถ้าเราแก้ไขของเราไป สิ่งนี้แล้วเราย้อนกลับมาถึงภายใน

โดยสมมุติเกิดมาเป็นมนุษย์ สิ่งนี้เป็นทุกข์อย่างนี้ แล้วครูบาอาจารย์ของเราก็เกิดตาย เกิดตายอย่างนี้ สิ่งนี้เป็นสมบัติเดิมๆ นะ เราเกิดตายเกิดตายมากี่รอบ แล้วเราก็จะสร้างสมอยู่อย่างนี้ แล้วเวลาเราต้องพลัดพรากนะ ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด แม้แต่สมบัติพัสถานก็ต้องพลัดพรากจากกัน เราไม่พลัดพรากจากเขา เขาก็ต้องพลัดพรากจากเรา

ถ้าเราคิดได้อย่างนี้นะ เราจะมีสติของเรา เราจะไม่ตื่นเต้นไปกับโลก

หน้าที่การงานก็เป็นหน้าที่การงาน จะมั่งมีศรีสุขขนาดไหน ทำงานเสร็จแล้วนี่เข้าห้องพระ เราก็ประพฤติปฏิบัติของเราได้ เราทำของเราได้เพราะใจอยู่กับเรานะ เราทำ เวลาจะทำทานยังต้องยากกว่านะ ทำทานเราต้องหาวัตถุ หาข้าวปลาอาหารมา เราถึงจะได้สละทานได้ ขณะที่ปฏิบัติบูชา เรามีลมหายใจเข้าและลมหายใจออก มีสติอยู่ มีหัวใจอยู่นี่ นั่งที่ไหนก็ได้ ทำที่ไหนก็ได้ เดินอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ กำหนดสติขึ้นมาเป็นสติตลอด เป็นความรู้สึกตลอด ถ้าเรากำหนดขึ้นมา พยายามตั้งขึ้นมามันต้องสงบได้ จิตนี้ฟุ้งซ่านได้ต้องสงบได้

แม้แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติ เวลามันสงบตัว มันปล่อยวางของมันเอง เราวันไหนเรามีความสบายใจ วันนี้สบายใจมากไม่มีอะไรกวนใจ ไม่มีอะไรกวนใจ แต่ไม่มีสติไง ถ้าไม่มีสติ สมาธิมันก็ไม่เข้มขึ้นมา มันก็ไม่เจริญงอกงามขึ้นมา ถ้าเรามีสติ คำบริกรรมนี้สำคัญมากนะ สิ่งที่ว่าสบายใจ สบายใจ เพราะอะไร เพราะกิเลสมันแสดงตัวไปรอบหนึ่ง มันปล่อย มันหมดกำลังของมัน เราก็สบาย แต่ถ้าเรามีคำบริกรรม มันเป็นคำบริกรรม

เหมือนเด็ก เด็กเวลาเกิดมามันยังเดินไม่ได้ พ่อแม่ก็พยายามสอนให้เดินให้ได้ พูดไม่ได้ก็สอนพูดให้ได้ เห็นไหม จิตนี้ก็เหมือนกัน สิ่งนี้มันต้องอาศัยคำบริกรรมเพื่อสอนให้มันรู้จักความสงบไง ให้ทวนกระแสเข้ามา อย่าคิดออก ขณะที่คิดออก โดยธรรมชาติพลังงานนี่ส่งออก มันจะคิดออกไปข้างนอก แต่คิดออกไปข้างนอกมันเป็นเรื่องของสถานะของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีขันธ์ ขันธ์ สังขารความคิด ความปรุง ความแต่งมันเป็นธรรมชาติของมัน มันจะคิดของมันออกไปโดยธรรมชาติของมัน สติเรายับยั้งสิ่งนี้ไว้ แล้วย้อนกลับเข้ามา

พลังงานของใจนะ “พลังงานของใจ” เวลาปัญญาของโลกใช้สมองคิดกัน สถิติเขาเรียนมาต่างๆ สถิติเขาเรียนขึ้นมา เขามีความรู้ของเขา นั้นเป็นเรื่องของสัมมาอาชีวะนะ สิ่งที่เป็นสัมมาอาชีวะ แต่ถ้าเป็นปัญญาของใจมันเกิดขึ้นมานะ ปัญญาของใจเกิดที่ไหน? ไม่ใช่เกิดที่สมองนะ โลกเขาคิดกันด้วยสมองว่าสมองนี่เป็นความคิด สมองเป็นศูนย์รวมของประสาท ประสาท ร่างกายของเรา โดยศูนย์รวมคือสิ่งที่เป็นที่ควบคุมร่างกาย ควบคุมทั้งหมด แล้วเวลาความคิดเกิด เกิดเขาก็เกิดจากสมอง ถ้าเกิดจากสมอง เวลาคนเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วสมองตายอย่างนี้ สิ่งนี้มันควบคุมตัวเองไม่ได้ สมองตายคนต้องตายนะ

แต่เวลาถ้าจิตมันไม่คิด สมองมีอยู่โดยปกตินะ เวลาเราเห็นภาพต่างๆ แต่วิญญาณไม่รับรู้ คือว่าจิตไม่รับรู้ ตากระทบรูปมันก็ไม่รับรู้ สิ่งนี้ไม่รับรู้ไง ไม่รับรู้เพราะใจมันไม่รับรู้ สมองก็โดยธรรมชาติของมัน สมองนี้เป็นศูนย์ควบคุมประสาท เป็นควบคุมความรู้ แต่ต้องอาศัยพลังงาน ถ้าไม่มีพลังงาน ศูนย์ควบคุมอันนี้ก็ไม่เป็นประโยชน์ เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าเลย ถ้าไฟฟ้าดับ เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้ไม่ได้หมด เครื่องไฟฟ้าจะใช้ได้ต่อเมื่อมีไฟฟ้า

นี่ก็เหมือนกัน ความว่าจะคิดได้ต้องมีหัวใจ ต้องมีธาตุรู้ ต้องมีความรู้สึกอันนี้ ความรู้สึกอันนี้มันละเอียดกว่าสมอง แล้วถ้ามันเป็นปัญญาขึ้นมา ปัญญาจากหัวใจมันจะเกิดจากตรงนี้ สิ่งที่เป็นปัญญาเกิดจากหัวใจ หัวใจมันจะย้อนกลับเข้ามาไง ปัญญาเป็นภาวนามยปัญญา มันจะละเอียดเข้ามาสภาวะแบบนี้ ถ้าสภาวะแบบนี้มันเกิดมาจากไหน? มันต้องเกิดมาจากจิตที่สงบก่อน

ถ้าจิตไม่สงบ ความคิดของเรา สิ่งต่างๆ ของเรา ความคิดอย่างนี้มันเป็นความคิด เป็นเรื่องของโลกียะ สิ่งที่เป็นโลกียะก็เหมือนว่าหมอเขาร่ำเรียนกันทางวิชาการนั้นล่ะ สิ่งนี้มันเรียนมา มันก็จดจำมา เป็นสิ่งที่ต้องทบทวน เดี๋ยวก็ลืม เดี๋ยวก็จำได้ ต้องทบทวนตลอดไป

แต่ถ้าเป็นอริยสัจมันไม่มีการทบทวน มันจะเป็นความจริงของมัน อริยสัจนี้เป็นอัตโนมัติ สิ่งที่เป็นอัตโนมัติเกิดที่ไหน เวลาจิต ความคิดเกิดโดยอัตโนมัติมันออกมา เพราะจิตเราไม่ทัน ถ้าสมาธิเราไม่ทัน จิตเราไม่ทัน ความคิดออกมาเป็นอัตโนมัติแล้วมันถึงผ่านขันธ์ พอผ่านขันธ์ก็ออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ ข้างนอก แล้วเวลาทำอยู่ในสภาวะนี้ทำไม่ได้ มันทรงตัวไว้ไม่ได้ เห็นไหม เวลามันเสื่อมไป เสื่อมไป นี่ล้มลุกคลุกคลานนะ

ไม้ล้มยังเป็นประโยชน์ได้ คนล้มแล้วต้องลุกได้ คนล้มลุกเดินตลอดไป แต่ถ้าคนตายล้มแล้วลุกไม่ได้ แต่การประพฤติปฏิบัติจากภายใน ถ้ามันไม่มีกำลังใจ มันล้มขึ้นไปขนาดไหนเราต้องย้อนกลับไปที่ครูบาอาจารย์นะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข์ขนาดไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ในโลกนี้ ผู้ที่จะโดนโลกธรรม ๘ ไม่มีใครเกินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

ขนาดที่เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีฤทธิ์มากนะ เวลาจะไปเอาประโยชน์ เล็งญาณแล้ว จะเอาประโยชน์ จะสอนคนด้วยฤทธิ์ก็มี ด้วยต่างๆ ก็มี แต่ขณะที่นางในสมัยพุทธกาล ที่ตามด่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าใช้ฤทธิ์ก็ใช้ได้ แต่ไม่ใช้ ไม่ใช้เลย สิ่งนี้เป็นสภาวะ นี่โลกธรรม สิ่งที่โลกธรรมมันเป็นเรื่องของเขา-ของเราไง มันเป็นเรื่องของว่า เขาเข้าใจผิด เขามีความผูกโกรธ เขาไม่พอใจ เขาจะกล่าวว่าขนาดไหน นั้นเป็นเรื่องของเขา เป็นกรรมของเขา

แต่ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าไม่ถึง สิ่งนี้เข้าไม่ถึงเลย ในเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วสิ่งนี้จะเข้าไม่ถึงใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะไม่รับรู้สิ่งต่างๆ อย่างนี้เลย นี่ถึงเป็นเรื่องของเขา ถ้าเป็นเรื่องของเขาอย่างนี้มันก็เป็นเรื่องของโลกภายนอก

ถ้าเป็นโลกภายใน โลกภายในคือโลกของหัวใจนี้ ถ้าโลกหัวใจ ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา เวลามรรค ๘ ต้องมีสัมมาสมาธิก่อน “สัมมาสมาธิ สัมมาสติ” ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิล่ะ เห็นไหม ดูสิ ดูที่เขาใช้สิ่งที่ว่า อย่างสมาบัติ ๘ เหาะเหินเดินฟ้า สิ่งที่เหาะเหินเดินฟ้ามันเป็นเรื่องของโลกียะนะ ถ้าเป็นเรื่องของโลกียะ โลกียฌาน มันเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม ล้มแล้วลุกไม่ไหวด้วย ลุกไม่ไหวเพราะอะไร เพราะกิเลสมันมีมาก มันตามไปกดถ่วงอยู่ในหัวใจ

แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ ๑

มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑

เราจะมีที่พึ่ง ถ้ามีที่พึ่ง มีแม่เหล็กให้เรามีความอบอุ่นหัวใจ ถ้าเราอบอุ่นหัวใจกิเลสมันก็ไม่แสดงตัวจนเกินไปนัก เห็นไหม ไฟในเตา เวลาเราใช้ทำอาหาร มันเป็นประโยชน์กับเรานะ แต่ถ้าเราเผลอ ไฟมันตก แล้วมันไปไหม้บ้านไหม้เรือน ไฟเหมือนกัน ไหม้บ้านไหม้เรือน เรือนไหม้บ้านเรือนเรา สมบัติเราหมดเลย แต่ถ้าเป็นไฟในเตา ทำไมมันเป็นประโยชน์ขึ้นมาได้ล่ะ มันเป็นประโยชน์ขึ้นมาทำอาหารมาดำรงชีวิตของเราได้

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิไง สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธินี่เราควบคุม สิ่งที่ควบคุม พอจิตสงบ น้อมไปที่กาย ถ้าน้อมไปที่กาย วงการแพทย์เขาเรียนจากกายของคนอื่น แต่ในการประพฤติปฏิบัติเราจะมองจากกายคนอื่นนั้นเป็นกายนอก ถ้าเราไปมองกายนอก ความสงบของใจคือสมถะเท่านั้น เรามองสิ่งต่างๆ จากภายนอกเข้ามามันจะสงบเข้ามาเป็นสมถะ แต่สมถะปั๊บ พอจิตขึ้นมา ถ้าไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือไม่มีตรงนี้ ไม่มีอริยสัจ

อริยสัจ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

กาย เวทนา จิต ธรรม

สิ่งที่เห็นกาย เห็นกายเพราะสิ่งนี้จะเป็นวิปัสสนา ถ้าเป็นวิปัสสนานี่คือปัญญา โลกุตตรปัญญาเกิดตรงนี้ โลกุตตรปัญญาคือใช้ปัญญาใคร่ครวญ เรานี่หัวใจมันจะเป็นผู้ที่ใคร่ครวญในร่างกายนี้ ถ้าจิตสงบเข้ามาแล้วย้อนไปที่กาย เห็นสภาวะกายนี้ นี้คือเป็นภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาของจิต จิตนี้มันจะใคร่ครวญในร่างกายของตัวเอง

ถ้าจิตสงบแล้วน้อมไปเห็นกาย ถ้ากำลังของจิตนี้พอ กายนี้จะคงที่ ภาพของกายมันจะเห็นคงที่ได้ ถ้าคงที่ได้นี่เป็นอุคคหนิมิต เป็นนิมิต แล้วถ้ากำลังเราพอ เราให้มันเป็นวิภาคะ คือมันขยายส่วน แบ่งส่วน มันแยกส่วนของมันออกไป ถ้ามันขยายแยกส่วนออกไป นี่สมมุติจากข้างนอกนะ ร่างกายนี่สมมุติ เราเกิดมาโดยสมมุติ สมมุตินี่เกิดจากบุญกุศลแล้วเกิดแล้วก็ตายไป คนมั่งมี คนเกิดมามีความสุขก็มีความสุขตามสภาวะแบบนั้น คนที่มีความทุกข์ก็จะความทุกข์ไปแบบนั้น แสวงหาความทุกข์แบบนั้น นี่คือร่างกายของมนุษย์ที่มันต้องเป็นไปตามธรรมชาติ

แต่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นมาโดยสัจจะ อริยสัจจะที่เกิดขึ้นมาจากหัวใจ นี่มันเป็นปัญญาของเรา ถ้าเป็นปัญญาของเรา เห็นสภาวะที่ร่างกายที่แปรสภาพ สิ่งที่ว่าเห็นกายโดยสมาธิ เห็นกายแบบตาของใจ มันแปรสภาพ สิ่งนี้ไม่มีใครเคยเห็น สิ่งที่เคยเห็นนี่คือจิตที่มันสงบเข้ามาแล้วมาเห็นสภาวะแบบนั้น

สิ่งที่เขาเห็นกันอย่างนั้นมันเป็นสัญญาอารมณ์ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากอาการของใจ ไม่ใช่ใจ สิ่งที่เกิดอาการของใจ เห็นไหม ใจที่เห็นสภาวะต่างๆ นี่เป็นอาการของใจ

ถ้าสงบอย่างนั้นเข้ามา มันถึงจะเป็นตัวจิต ถ้าเป็นตัวจิตแล้วย้อนไปเห็นกายอีกทีหนึ่ง เห็นกายจากภายใน กายของจิตที่ไม่มีตัณหาความทะยานอยาก ไม่มีตัวตน ไม่มีสิ่งต่างๆ ไปในหัวใจนั้น มันน้อมไปที่กายเห็นกายสภาวะแบบนั้น แล้วมันวิภาคะ ถ้ากำลังมันพอ ทรงสภาวะแบบนี้ได้ ถ้าทรงสภาวะอย่างนี้ได้ เห็นไหม งานชอบ เพียรชอบ ความระลึกชอบ สิ่งที่เป็นความชอบ มันสมดุลของมัน มันก็ทำให้ร่างกายนี้แปรสภาพ แปรสภาพคือเป็นวิภาคะ มันจะขยายส่วนของมัน นี่ไตรลักษณะเกิดอย่างนี้ ถ้าไตรลักษณะเกิดอย่างนี้

การล้มลุกคลุกคลานมานี้คือการเจริญความสงบของใจขึ้นมา แล้วการฝึกฝนสติปัญญาของเราขึ้นมา สิ่งที่ฝึกฝนสติปัญญาขึ้นมานี่เป็นความล้มลุกคลุกคลานของจิตที่การเดินทวนกระแสกลับมาตลอดไป แต่พอวิปัสสนาไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า ความชำนาญของจิตมันจะมีความบ่อยครั้งเข้า แต่ถ้ากิเลสเข้ามาแทรกนะ เวลาปล่อยวางขนาดไหนมันจะไปติดสภาวะปล่อยวางนั้น ขณะที่จิตสงบโดยทำความสมถะ มันจะเวิ้ง...

(เทปขัดข้อง)

...สมาธิจิตนี้จะลึกมาก แต่เวลาถอนออกมา เห็นไหม สิ่งนี้ก็เป็นสมถะทั้งหมด

แต่ถ้าเวลาเราพิจารณากาย สภาวะกาย โดยเอาใจวิปัสสนากาย สิ่งนี้มันจะปล่อยวาง ปล่อยวางพร้อมกับกิเลสที่มันเบาตัวลง กิเลสนี้มันจางออกไป จางออกไป ความสุขต่างกันมาก ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ความว่างของจิตที่ว่ามันมหัศจรรย์ขนาดไหน สิ่งที่มหัศจรรย์นั้นคือกิเลสที่มันอยู่ใต้พรม มันซุกกิเลสไว้อยู่ในพรม จะสงบขนาดไหน จะว่างขนาดไหน จะมีขนาดไหน นั้นคือกิเลส กิเลสนี้มันเป็นสวะ มันเป็นสิ่งสกปรก มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นความสกปรก แต่มันเป็นนามธรรมไง มันถึงย่อยสลายไปอยู่ในความว่างนั้นได้ เชื้ออวิชชามันก็อยู่ในความว่างนั้นได้

แต่เราอาศัยความสงบของใจ นี่มันว่างแล้ว เอาความว่างนี้เข้าไปวิปัสสนาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม เพราะอะไร เพราะคนเกิดมามีกายกับจิต มีกายกับจิต สิ่งนี้มันเป็นสิ่งธรรมชาติของหัวใจ ธรรมชาติของอวิชชา อวิชชาคือความหลง ในเมื่อมันหลงว่าสิ่งนี้เป็นเรา ในเมื่อสิ่งนี้เป็นเรา แล้วเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ว่าไม่ใช่เรา กายนี้ไม่ใช่เรา สรรพสิ่งไม่ใช่เรา อันนี้เป็นสัญญา ความรู้โดยสัญญานี่แก้กิเลสไม่ได้ มันเพียงแต่ทำให้เราสลดสังเวชได้

ความสลดสังเวชของใจ ถ้าเห็นสภาวะต่างๆ สิ่งนี้เราทำไมเพลินไปกับเขา โลกกระแสเพลินไปอย่างเขา ทำไมคนเวลาคนหยาบๆ คนทุกข์คนยากเขาไม่เห็นสภาวะแบบนี้เลย เขาทำอะไร เขาประมาทในชีวิตของเขา เขาใช้ชีวิตของเขาฟุ่มเฟือยมาก แต่ถ้าคนมีสติสัมปชัญญะ เขาจะพยายามรักษาชีวิตของเขา เพราะในเมื่อเรายังมีกิเลสอยู่ เราต้องรักษาชีวิตนี้ไว้ประพฤติปฏิบัติ ถ้ากิเลสมันตายไปแล้วนะ จะตายเมื่อไรก็ได้ เพราะอะไร

เพราะขณะที่กิเลสเกิดและกิเลสตาย การวิปัสสนา เวลากิเลสมันขาดออกไป มันเห็นกิเลสตาย พอเห็นกิเลสตาย เชื้อไขที่จะพาให้จิตนี้ไปเกิดอีกมันไม่มี มันไม่มีนะ มันไม่มีความดิ้นรนต่างๆ เลย แต่เราเวลาเกิดตายมันอาลัยอาวรณ์นะ แม้แต่รู้ว่าจะตาย อีก ๗ วันตาย เราก็ทุกข์แล้ว สมบัติจะรักษาอย่างไร แล้วครอบครัวใครจะดูแลรักษา สิ่งต่างๆ จะเป็นความทุกข์ไปหมดเลย แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าอีก ๗ วันเราจะตาย หรือเราจะตายในขณะที่ขณะปัจจุบันนี้ล่ะ ขณะที่จะตายในปัจจุบันนี้ สิ่งนี้มันเป็นเรื่องภาระของสังคม ภาระของโลกเป็นสภาวะแบบนี้ สิ่งนี้ไม่มีใครมีอำนาจเหนือมัน กรรมนี้มีอำนาจเหนือทุกๆ อย่างนะ สิ่งนี้มีอำนาจเหนือทุกๆ อย่าง นี่มันจะย้อนกลับมา เตือนสติตลอดไป

ถ้าเตือนสติตลอดไป วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า ถึงที่สุดนะมันขาดของมัน สมุจเฉทปหาน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ จนแยกออกมาโดยสัจจะความจริง ถ้าแยกเป็นสัจจะความจริงอย่างนี้ ล้มอย่างนี้แล้วจะลุกขึ้นมาวิปัสสนาขนาดนี้แล้ว จะไม่มีวันล้มในสถานะอย่างนี้เลย เพราะมันเป็นอกุปปธรรม เป็นอฐานะ จิตที่คงสภาพแบบพระโสดาบันแล้วจะเสื่อมจากโสดาบันไม่ได้

แล้วถ้าเสื่อมจากโสดาบันไม่ได้ คุณสมบัติของโสดาบัน “สีลัพพตปรามาส” ไม่ลูบคลำในศีล ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว สิ่งที่ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว หัวใจนี้มันเป็นหัวใจที่เป็นธรรม แต่ยังมีกิเลส สิ่งที่ละเอียดอยู่ สมมุติอันละเอียดๆ มันยังครอบงำอยู่ ถ้าครอบงำอย่างนี้ จิตนี้ก็ยังต้องเกิดต้องตายอยู่ แต่จิตดวงนี้ปิดอบายภูมิ สิ่งนี้จะเกิดในสัตว์เดรัจฉานลงไปถึงอบายภูมิไม่ได้อีกเลย จิตดวงนี้จะไม่เกิดในเดรัจฉานอีกนะ

แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการเป็นพระโพธิสัตว์ เกิดเป็นกวางทอง เกิดเป็นกระต่าย เกิดเป็นต่างๆ พระโพธิสัตว์จะไม่เกิดเล็กกว่านกกระจาบ แล้วนกกระจาบนี่สิ่งนี้ออกไป แต่เวลาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปฏิบัติเวลาออกเที่ยวธุดงค์ไปแล้วได้ผ้ามา ผ้านั้นหยาบ เอามาเลาะออก แล้วกรอใหม่ กรอใหม่ ทอใหม่ จนผ้านั้นละเอียด แล้วตัดจีวรไง ขณะตัดจีวร จิตนี้ผูกพันกับจีวรนั้น เวลาตายไป ไปเกิดเป็นเล็น สิ่งที่เกิดเป็นเล็นในจีวรนั้น นี่อยู่ในพระไตรปิฎกนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก พระนี่สร้างบุญกุศลมหาศาลเลย แต่ความผูกพันของใจไปติดในจีวร ตายแล้วไปเกิดเป็นเล็นในจีวร แล้วตามหลักธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุตายอยู่ในขณะที่เป็นภิกษุนี้ ธรรมวินัย ผู้ใดอุปัฏฐากผู้นั้นจะได้บริขาร นี้คือสมบัติของๆ พระไง สมบัติของพระคือมีบริขาร ๘ ให้ผู้ที่อุปัฏฐากนั้นได้ก่อน ถ้าไม่มีผู้อุปัฏฐาก ของๆ นั้นตกเป็นของสงฆ์ ถ้าของๆ สงฆ์ให้สงฆ์แจกกัน พอพระนี้ตายสงฆ์ก็จะแจกกัน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีดวงตา มีญาณรู้โลกนอก-โลกใน มาสั่งไว้เลยว่าไม่ให้แจกผ้าผืนนี้นะ ถ้าแจกผ้าผืนนี้ พระตายไปแล้วจะเกิดอยู่ในผ้า จะมีความโกรธเพราะอะไร เพราะรักสงวนมาก แล้วถ้ามีความโกรธ แจกไปแล้ว เขาจะมีอารมณ์โกรธ ถ้าเขาตายจากเล็นนี่จะตกนรก แต่ขณะที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกผ้านี้ห้ามแจก ให้พับเก็บไว้ในตู้ไว้ พอ ๗ วันแล้ว เล็นตายไป พอตายไป เล็นมีความสุขกับผ้า อยู่กับผ้ามีความสุขมาก เพราะเป็นพระได้สร้างสมบุญญาธิการมาพอสมควร ขณะที่เกิดเป็นเล็น เพราะสิ่งว่าไปผูกพัน แล้วพอตายจากเล็นนั้นไปเกิดบนสวรรค์นะ นี่คุณสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ขนาดนี้ เห็นขนาดนี้ หัวใจมันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ สิ่งที่มหัศจรรย์ สภาวะแบบนี้ นี่ขนาดตายเกิด ตายเกิดในอบายภูมิ

แต่พระโสดาบันจะไม่เป็นอย่างนั้น พระโสดาบันจะมีสติ สิ่งที่มีสติเกิดจากไหนล่ะ? เกิดจากการทวนกระแสของเราขึ้นมา เกิดจากการประพฤติปฏิบัติ เกิดจากภาวนามยปัญญา เกิดจากจิตที่มันใคร่ครวญของมัน กิจจญาณ กตญาณ มันต้องมีการกระทำของจิต ไม่ใช่ว่าเราทำของเรา แล้วเราคิดของเรา นี้เป็นวิปัสสนึก ถ้าเรานึกเอาวิปัสสนา เรานึกเอา เรานึกธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ทำจิตของเราให้เป็นสภาวะแบบนั้น มันเป็นการนึกเอา มันเป็นอุปกิเลสนะ

เวลาอุปกิเลส ๑๖...โอภาส จิตนี้โอภาส สว่างไสวขนาดไหน ความว่างก็เป็นกิเลส เพราะเราไปติดหมด สิ่งที่ปฏิบัติแล้วไปติดนั้นเป็นกิเลสอันละเอียด สิ่งที่เป็นกิเลสอันละเอียดเราไปติดแล้วเราจะได้ประโยชน์ไหม เพราะสิ่งที่ว่าเป็นกิเลสอันละเอียดมันก็ทำให้เราไปไม่รอดไง สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติ เราถึงต้องย้อนกลับมา มีสติสัมปชัญญะ ต้องตรวจสอบใจของเราตลอดไป สิ่งที่ตรวจสอบใจของเรา เพื่อจะล้มแล้วลุก ลุกตลอดไปนะ ลุกตลอด ถ้าล้มแล้วไม่ลุกมันก็ติดอยู่พระโสดาบัน ติดสภาวะแบบนางวิสาขา เห็นไหม ปรารถนามาเท่านี้ ก็เป็นพระโสดาบัน

แต่พระอานนท์นะเป็นพระโสดาบัน เพราะฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระโสดาบันนะ อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการที่ไหน พระอานนท์ขอให้เทศน์ให้พระอานนท์ฟังด้วย เป็นพหูสูต จำได้หมดเลย

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนท์เสียใจมาก พระอานนท์ร้องไห้นะ นี่พระโสดาบัน “ดวงตาของโลกดับแล้ว” พระอานนท์ต้องการผู้ที่ชี้นำ ต้องการผู้ที่จะรักษา จะเป็นคนสั่งสอนไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์เลย “อานนท์ เราบอกเธอแล้วไม่ใช่หรือ สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา แม้แต่ร่างกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องดับขันธ์ในคืนนี้”

สิ่งต่างๆ ที่เราสั่ง เราสอนไว้แล้ว พระอานนท์จะต้องค้นคว้าหาเอง แล้วถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ทำสังคายนาพระอานนท์จะตรัสรู้ธรรมไง จะมีดวงตา จะบรรลุธรรม สิ่งนี้พระอานนท์พยายามฝึกฝน เวลาประพฤติปฏิบัติ เวลาเขาจะทำสังคายนา พระอานนท์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “จะสำเร็จคืนนี้” เวลานั่ง พหูสูตปัญญามหาศาลเลย สิ่งที่ศึกษามานี่สิ่งนี้เป็นการจำมา ความจำแก้กิเลสไม่ได้นะ ขณะที่พระอานนท์พยายามประพฤติปฏิบัติ ตรึกไปในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดเลย สุดท้ายแล้วเหนื่อยมาก

เพราะใครใช้วิปัสสนา ใช้หัวใจ มันจะเข้าใจเลยว่า หัวใจนะเวลาคิดออกไป ใคร่ครวญออกไป มันจะเป็นพลังงานที่เหนื่อยมาก เวลาเราทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำบอกว่างานนี้เป็นความทุกข์ งานนี้ความทุกข์ เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินะกว่าจะทำจิตสงบได้ งานอันละเอียดจากภายในนี่แสนมหัศจรรย์มาก แล้วเวลาจะใช้ปัญญาเข้าไป มันจะมีความเหนื่อยมาก พลังงานที่ใช้ออกไปมันถึงเหนื่อยมากไง

พระอานนท์ใช้ปัญญา โดยการเป็นพหูสูต จำมาอย่างนี้ ถึงที่สุดแล้วเหนื่อยมาก “เราจะวางไว้ก่อน ขอพักก่อน” พอเอนหลัง พอวาง เอนหลัง มันปล่อยเป็นธรรมชาติ ปล่อยเป็นปัจจุบัน พอเป็นปัจจุบันปั๊บ พอปัญญาของพระอานนท์เกิดขึ้นมาเอง ปัญญาของพระอานนท์เกิดขึ้นมาเองเป็นภาวนามยปัญญา ทำลายกิเลสของพระอานนท์ พระอานนท์เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทันทีเลย

สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาต้องเป็นสมบัติส่วนตน ต้องเป็นอริยมรรคเกิดจากในหัวใจของเรา เราไปจำธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพยายามตรึกตามสภาวะแบบนั้น มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิไง ถ้าเราตรึกธรรมอย่างนั้นแล้วมันสลดสังเวชเข้ามา นี่มันปล่อยวางเข้ามา แล้วเราต้องยกขึ้นไปวิปัสสนา การยกวิปัสสนามันเกิดที่สถานะนี้ไง นี่อินทรีย์ สถานะรองรับของใจ ถ้าใจมีสถานะที่จะรองรับอย่างนี้ได้ ปัญญาอันอย่างละเอียด

ว่า ปัญญาจากใจ ปัญญาจากใจเกิดอย่างไร?

ปัญญาเกิดจากภาวนามยปัญญา จะเกิดสภาวะแบบใด สิ่งนี้ถ้ามีกำลัง มีสถานะ นี่น้อมไป ขณะที่เราวิปัสสนาไปจนปล่อยมา มันมีสถานะแล้ว มันมีความรู้สึกอย่างนี้แล้ว มันถึงน้อมอย่างนี้ได้แล้ว ถ้าจิตสงบเข้ามา น้อมไปที่กายนะ น้อมไปที่กาย วิปัสสนากาย กายนี้จะกลับไปเป็นสภาวะของเขา เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ วิปัสสนากายครั้งแรก วิปัสสนาเห็นไตรลักษณะ มันเป็นสิ่งต่างๆ มันปล่อยไปเป็นของมันอีกต่างหาก

แต่ขณะวิปัสสนาที่ขณะที่ว่าเห็นกายจากอันละเอียดขึ้นมา มันจะกลับเป็นสถานะเดิมของเขา น้ำจะกลับคืนไปเป็นน้ำ ดินจะกลับไปเป็นดิน ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ แยกออกจากกัน วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า มันจะปล่อย ปล่อย ปล่อยต้องปล่อย ปล่อยหลายหน ปล่อยซ้ำๆ ซากๆ เพราะกิเลสมันแน่น มันแก่นของกิเลส มันยึดติดในหัวใจนะ เราบอกสอนทีเดียว เหมือนเด็ก เด็กเราสอนแล้วสอนเล่า มันยังทำไม่ได้เลยบางอย่าง แต่เด็กบางคนมีเชาว์ปัญญา เขาจะสอนของเขาได้

แต่ถ้าขิปปาภิญญานะ แบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งอยู่โคนไม้ “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” คือย้อนไปอดีตนั้น นั้นไม่ใช่ ย้อนกลับมาในปัจจุบัน ออกพอถึงมัชฌิมยาม...จูตูปปาตญาณก็ไม่ใช่ ย้อนกลับมาถึงสุดท้าย ถึงจะเป็นอาสวักขยญาณนี้เป็นขิปปาภิญญา ขิปปาภิญญาคือวิปัสสนาแล้วขาดทีเดียว นั้นคืออำนาจวาสนา

แต่ขณะที่สาวก-สาวกะ ผู้ที่เวไนยสัตว์ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาที่วิปัสสนาขนาดไหน มันปล่อยวางขนาดไหน ต้องซ้ำ ซ้ำเพราะอะไร

เพราะกิเลสมันมั่นคงของมัน ๑.

๒. เพราะเราสร้างบุญญาธิการมาอย่างนี้ เพราะสถานะเรามีสภาวะแบบนี้ เราก็ต้องใคร่ครวญของเราไปแบบนี้ ถ้าแบบนี้มันก็จะปล่อยครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงที่สุดมันต้องสมุจเฉทปหานเหมือนกัน กายกับจิตแยกกันโดยธรรมชาตินะ โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง สิ่งนี้ราบไปหมดเลย จิตนี้เวิ้งว้างมาก ความเวิ้งว้างอย่างนี้ ความเวิ้งว้างนี้พร้อมกับกิเลสตายไป มันไม่ใช่สมถะ

สิ่งที่เป็นสมถะคือการกดไว้เฉยๆ การกดไว้อย่างนี้มันเป็นกำลังขึ้นมาเฉยๆ กำลังนะ แล้วกำลังถ้าไม่ใช้นี่มันเสื่อมไป เหมือนกับล้ม ล้มแล้วลุกไม่ไหว

แต่ถ้าเป็นปัญญาก้าวเดินแล้ว ขั้นของปัญญามันจะกว้างขวางมาก สิ่งที่กว้างขวางนะ กว้างขวางมาก ปัญญาเกิดจากไหน? ปัญญาเกิดจากการฝึกฝน ปัญญาไม่เกิดมาลอยๆ ในศาสนาพุทธของเราไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาลอยๆ มีเหตุมีผลทั้งหมด แม้แต่มานั่งอยู่นี่ก็มีเหตุมีผล เหตุคือว่าเรามีศรัทธามีความเชื่อ เหตุเกิดเป็นมนุษย์ เพราะเรามีกรรมมาก่อน เราเกิดมาแล้วเราสร้างบุญกุศลของเรา มันพัดไปตามกระแสของสภาวะกรรม สิ่งนี้มีกรรม สภาวะไป

ถ้าเราสร้างคุณงามความดี กรรมดีขึ้นมาก็ทำให้เรามั่นคงขึ้น ให้เรามีสติขึ้น ทำให้เราเป็นประโยชน์ขึ้นมา ถ้าเป็นกรรมชั่วมันก็ทำให้เราไปตามกระแสของโลก เราจะไม่ฟังสิ่งใดเลย เราจะไปตามประสาว่า โลกนี้มีแต่เรา เรามีอำนาจเหนือทุกอย่าง แต่เวลาทำกรรมไปแล้ว กรรมนั้นต้องให้ผลเราตลอดไป เห็นไหม สิ่งนี้ตามกระแสไปของโลก สิ่งนี้ที่เป็นเหตุเป็นผล เหตุผลนี่ซัดมา ซัดมาจนเป็นปัจจุบัน จนเรามานั่งฟังอยู่นี้ แล้วขณะที่ฟังธรรมอยู่นี้ ถ้าจิตนี้มันสงบขึ้นมา สงบที่ไหน? สงบเพราะเรามีสติไง สงบเพราะเรามีสติ เราไม่ให้จิตนี้มันฟุ้งออกไปข้างนอก

ฟังธรรมขึ้นมา เป็นกล่อมใจเข้ามา จนสงบของเราเข้ามาได้ แล้วถ้ามีปัญญาขึ้นมา ใคร่ครวญขณะนี้ ขาดปัจจุบันนี้ก็เป็นได้ ขณะที่เราพยายามสะสมขึ้นมา เวลากิเลสขาด ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ขณะที่ขาดคือสมุจเฉทปหานขณะนั้น แต่ขณะที่เราสะสม สิ่งนี้ทำยากมาก ทำยากเพราะอะไร เราทำความสงบของใจกว่าจะสงบ เราต้องทวนกระแสขนาดไหน เราฝึกปัญญา ปัญญาต้องฝึกใคร่ครวญขนาดไหน ใคร่ครวญขนาดไหนทำไปเพราะอะไร เพราะเราสร้างบุญญาธิการมาแบบนี้ไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า สร้างบุญญาธิการมหาศาล ดูสิ ดูอย่างพระอรหันต์สมัยพุทธกาล พระสีวลีลาภมหาศาลเลย เพราะอะไร เพราะท่านสละของท่านไว้เอง ท่านทำของท่านมาเอง แต่เราสละของเรามาอย่างนี้ เรามาสู่สถานะอย่างนี้ นี่คือกรรม กรรมของเรา เราก็ต้อง...สิ่งที่เราทำมา เราก็ต้องพอใจกับสิ่งที่ทำมาสิ เราจะไปเรียกร้อง เราจะไปแสวงหาสิ่งที่เราไม่ได้ทำมา มันจะมาจากไหนล่ะ มันก็เป็นการจินตนาการ เป็นการนึกเอา เป็นการนึกเอามันจะเป็นความจริงไหมล่ะ

แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา เรามีภูมิหลังขนาดไหน เราทำมาขนาดไหน มันจะเป็นผลประโยชน์กับการประพฤติปฏิบัตินี้ง่าย ถ้าเราปฏิบัตินี้ง่าย ดูสิ ดูการนั่งสมาธิภาวนา บางคนทำง่ายรู้ง่าย บางคนทำแสนยากรู้ง่าย ทำง่ายรู้ยาก มันมีสภาวะแบบนั้น ถ้าสภาวะนี้เกิดขึ้นมาแล้ว เราอย่าไปดีใจเสียใจกับการกระทำนั้น ถ้าดีใจเสียใจกับการกระทำนั้น อดีต-อนาคตเกิดทันทีเลย เราจะอยู่ปัจจุบันตลอดไป สิ่งนี้สะสมเข้ามานะ จะเวิ้งว้าง จะว่างขนาดไหน ถ้าเราติดอยู่อย่างนี้ เรายังต้องเกิดอีกนะ

แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา อนาคามรรค สมาธิต่างๆ มันมีสถานะของเขานะ ในขั้นโสดาบันสมาธิ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ในปริยัติว่าอย่างนั้นเลย ขณะที่สกิทา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ใน อนาคามรรคสมาธิ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ในอรหัตมรรคสมาธิ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เห็นไหม ทำไมสมาธิยังมีหยาบมีละเอียดต่างกัน หยาบ-ละเอียดต่างกันเพราะว่าสถานะของกิเลสมันละเอียดมาก

ขณะที่เรามีศรัทธาความเชื่อ ถ้าคนเขาไม่มีศรัทธาความเชื่อ เขาก็ว่าเราเป็นคนที่ว่าไม่มีปัญญา ถ้ามีปัญญาต้องทำอย่างเขา มีแต่อิสระเสรีภาพของเขา อิสระโดยกิเลสนะ ถ้ากิเลสมันควบคุมหัวใจ มันจะทำให้ใจคิดอย่างนั้น แล้วก็ห่างออกไป ห่างออกไปจากไหน? ห่างจากหัวใจของตัว เพราะหัวใจของตัวเป็นภาชนะรับธรรม ถ้าหัวใจของตัวห่างจากธรรม แล้วมันจะทวนกระแสเข้าไปหาจิตได้อย่างไร หัวใจอยู่ในร่างกายของเรานี่แหละ แล้วมันห่างจากธรรม ห่างจากโอกาสไปมหาศาลเลย

แต่ถ้ามีปัญญาในหัวใจ เราก็ใคร่ครวญของเรา ใกล้กับจิตของเรา ถ้าเราทำความสงบของใจเราได้ เราก็รักษาจิตของเราได้ รักษาจิตเอามาจากไหน? จากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม เราก็ใกล้ ใกล้กับจิตของเรา จิตในหัวใจ เราค้นหาเจอ ค้นหาเจอเพราะมันเป็นสมาธิธรรมไง แล้วใช้วิปัสสนาคือใช้ปัญญา

ปัญญาประหัตประหารเข้าไป แล้วจะไม่ล้มอีก สิ่งที่ผ่านแล้วจะไม่ล้มอีก แต่สิ่งที่ยังอยู่ข้างหน้า ยังล้มลุกคลุกคลานไปต่อไป สิ่งที่ล้มลุกคลุกคลานมันละเอียดขนาดนั้นนะ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ มรรคหยาบ-มรรคละเอียดมันเข้าใจสิ่งนี้แล้วมันซึ้งใจมาก

ปัญญาหยาบๆ เป็นปัญญาของขั้นโสดาบัน ปัญญาของขั้นสกิทา ปัญญาของขั้นอนาคานี้ต่างกันหมด จะไม่เหมือนกัน ถ้าเหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่บอกมรรคหยาบ-มรรคละเอียด ต่างๆ มรรค ๔ ผล ๔ เอาไว้อย่างนี้หรอก

ถ้าเรามีปัญญาของเรา เราก็เอามรรค ๔ ผล ๔ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทียบเคียงกับประสบการณ์ของจิตที่มันวิปัสสนาขึ้นมานี้ไง จิตมันวิปัสสนาขึ้นมาอย่างนี้ มันได้ผลอย่างนี้ นี่เข้ากับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแง่ใดมุมใด ถ้าเข้ากับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแง่ใดมุมใด เราก็ได้ผลขนาดนั้น ถ้าได้ผลขนาดนั้นมันก็มีกำลังใช่ไหม ถ้ามีกำลัง เราก็จะทำใจของเราให้สูงขึ้นไป ให้สูงขึ้นไป สูงที่ไหน? สูงในหัวใจ

เวลาเราย้อนกลับมาในหัวใจ เราจะย้อนกลับมาที่ใจ แล้วจะย้อนกลับมา ย้อนกลับมาหากิเลสอันละเอียดไง สิ่งที่กิเลสอันละเอียดมันก็ค้นหาได้ยาก สิ่งที่ของที่มันหยาบมันก็ค้นหาได้ง่าย แล้วก็ใช้กำลังปัญญาพิจารณาได้ง่ายๆ แต่ถ้าสิ่งที่เป็นละเอียด เราต้องใช้ปัญญาที่ละเอียดเท่านั้นเข้าไปค้นคว้าหามัน ถ้าค้นคว้าหามัน เห็นไหม การเห็นกายอย่างนี้มันเป็นการเห็นขั้นอสุภะนะ การเห็นกายนอก-กายใน-กายในกาย นี่ต่างกันเป็นชั้นๆ เข้าไป

เราเข้าใจว่ากายนี้เราทำความสะอาดแล้วจบสิ้นไง มันเหมือนกับเราชำระร่างกายนะ เราทำสะอาดขนาดไหน เพราะในร่างกายเรามันเป็นสิ่งที่สกปรก มันก็ขับสิ่งที่เป็นขี้เหงื่อขี้ไคลออกมาโดยธรรมชาติของมัน นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อยังมีอวิชชาอยู่ในหัวใจ อวิชชาคือสิ่งที่มันเป็นกิเลสตัณหาในหัวใจ มันขับสิ่งพลังงานที่เป็นกิเลสออกมาตลอดไป แต่มันละเอียด มันอยู่ข้างในจากภายใน เราถึงย้อนกลับเข้าไป ทวนกระแสเข้าไป ให้ทวนกระแสเข้าไปให้จิตสงบเข้ามา แล้วย้อนกลับไป ย้อนกลับไปค้นคว้าหา ค้นคว้าหาเรื่องกายจากภายใน มันจะเป็นอสุภะ สิ่งที่เป็นอสุภะ เวลาเราวิปัสสนาไป ปัญญามันจะหมุนรุนแรง รุนแรงขั้นนี้นะ เพราะอะไร

เพราะสิ่งที่โลก สิ่งที่ทุกอย่าง การแสวงหาต่างๆ ขึ้นมา แสวงหาเพื่อใจ แล้วใจมันก็เป็นกามราคะ มันเป็นโอฆะ ตัวใจนี่ตัวเป็น ร่างกายของคนตายนะ เขานอนก่ายกันขนาดไหน เขาก็ไม่มีอารมณ์หรอก สิ่งที่จะเกิดคือเป็นอารมณ์ความรู้สึกของโลกเขามันเกิดจากหัวใจนี่ เกิดจากความรู้สึกของใจ แล้วใจตัวนี้มันมีเชื้ออยู่อย่างนี้

ที่ว่าเวลาวิปัสสนากายจากภายใน สิ่งที่เขาศึกษากัน เขาศึกษาแต่เรื่องร่างกาย เรื่องอวัยวะของร่างกาย แล้วเขาเอาไปเป็นวิชาชีพทางหมอนะ แต่ถ้าเราวิปัสสนากายของเรา อาศัยร่างกายนี่เหมือนกัน แต่อาศัยความร่างกายเข้าไปหาความรู้สึกที่ว่ามันเห็นสภาวะ

สิ่งที่เป็นของสกปรกอยู่นี่มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ มันก็ว่าสิ่งนี้เป็นของสวยงาม มันก็ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ว่าให้อารมณ์ความรู้สึกกับใจดวงนี้ไง ให้ความรู้สึกนะ ทั้งๆ ที่สิ่งนี้เป็นความสกปรกโสโครกโดยธรรมชาติของมัน โดยธรรมชาติโดยสมมุติในสถานะของมนุษย์ แต่กิเลสมันละเอียดกว่านั้นอีก เพราะมันเป็นความต้องการของจิตดวงนั้นไง ถ้าเราเข้าไปเห็นจับกายตรงนี้ได้ เวลาวิปัสสนาไปมันจะเป็นอสุภะ

สิ่งที่เป็นอสุภะคือความเป็นจริงของเขา ความเป็นจริงของจิตที่มันเห็นสภาวะจากตาของใจ เห็นสภาวะสิ่งที่เป็นการเยิ้ม เป็นการสิ่งต่างๆ ที่เป็นเลือด เป็นหนอง เป็นน้ำหนองไหลในหัวใจ มันเห็นสภาวะเยิ้มมันก็ปล่อย ปล่อยที่ไหน? ปล่อยที่ความต้องการของใจ ใจมันเป็นกาม มันพอใจในกามนั้น ถ้ามันพอใจในกามนั้นมันก็คิดออกมา มันก็คิดออกมาเป็นโลกๆ

แต่ถ้าวิปัสสนาเข้าไปถึงสิ่งตรงนั้น มันไปชำระกันตรงนั้น ร่างกายก็เป็นธรรมชาติอันนี้ แต่ขณะที่เห็น เห็นโดยตาของใจ วิปัสสนาไป มันเห็นแล้วมันสะเทือนหัวใจนะ สิ่งนี้มันเป็นอย่างนี้ ทำไมเราโง่ขนาดนี้ ทำไมเราเป็นขี้ข้าของใจขนาดนี้ ให้กิเลสมันเหยียบย่ำใจขนาดนี้ เกิดตาย เกิดตายมาขนาดนี้ ไม่มีต้นไม่มีปลายขนาดนี้ก็เพราะสิ่งนี้ไง สิ่งนี้ทำให้เกิด เกิดตายเกิดตายมาก็เพราะปรารถนาสิ่งนี้ เพราะต้องการสิ่งนี้ มันถึงสิ่งนี้มันถึงฝังใจมาไง ถ้าวิปัสสนาไป มันจะสะเทือนหัวใจนี้ หัวใจนี้มันก็ปล่อยวาง พอปล่อยวาง มันก็ปล่อยว่าง ว่างมาก ปล่อยวางมาก ว่างขนาดไหน เราก็อยู่กับความว่างนั้น อยู่กับความสุขนั้น การปล่อยวางขนาดไหนมันจะมีความสุขนะ

ในการประพฤติปฏิบัติ “ทุกข์ควรกำหนด” กำหนดวิปัสสนาทุกข์ “สมุทัยควรละ” ละด้วยอะไร? ละด้วยมรรค พอมรรคเกิด เกิดนิโรธ นิโรธปล่อยวางชั่วครั้งชั่วคราว นิโรธอย่างนี้มันไม่สมดุล ถ้านิโรธโดยสมดุล เห็นไหม สมุจเฉทปหาน เวลามันขาดนะ ความสมดุล สมุจเฉทปหานขาดออกไป กามราคะพลิกออกไปเลย ถ้าพลิกออกไปแล้วเราก็ฝึกซ้อมไปเรื่อยๆ ความฝึกซ้อมเพราะมันมีเศษมีส่วนในหัวใจ

เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาว่างอย่างนี้แล้วเราฝึกซ้อมแล้ว ฝึกซ้อมมรรค ๔ ผล ๔ ไง เราพิจารณากามราคะ พิจารณาขนาดไหนแล้วปล่อยวาง แล้วมันมีเศษส่วนของมัน แล้วไปพิจารณาตรงนี้แล้วปล่อยวางตรงนี้มันก็ว่างหมด จิตนี้มหัศจรรย์มาก ขณะที่มันมีความรู้สึก เพราะมันเป็นสิ่งที่กระทบคือขันธ์ คือสัญญาข้อมูลกับจิตมันกระทบกัน มันก็เป็นความรู้สึกของมันขึ้นมา

ขณะที่มีร่างกาย มันติดในร่างกาย มันก็สงสัยในร่างกายของมันขึ้นมา สิ่งนี้คือจิตมันออกไปสงสัย แล้วมันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามาด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือพิมพ์เขียว แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาโดยสัจธรรมของเราขึ้นมา

ที่ว่า “มรรค” มรรคของภิกษุอยู่ตรงนี้ไง มรรคญาณเกิดจากหัวใจไง ถ้ามรรคญาณเกิดจากหัวใจ มันได้ชำระ มันได้ทำลายหัวใจให้มันสะอาดขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา มันก็ปล่อยวางสิ่งต่างๆ นี้เข้ามา ปล่อยสิ่งที่เป็นความสงบจากขันธ์เข้ามา เพราะอะไร

เพราะอวิชชา ความไม่เข้าใจของมัน มันมีความต้องการ แล้วมันก็อาศัยผ่าน เหมือนกับไฟฟ้าผ่านไปในเครื่องใช้ไฟฟ้า มันผ่านออกไปที่ขันธ์ ผ่านออกไปที่กาย แล้วมันก็ผ่านออกไปมันก็เป็นความคิดหยาบๆ เห็นไหม เวลาเราชำระล้างขึ้นมา มันก็ปล่อยขันธ์อย่างหยาบ ปล่อยขันธ์อย่างกลาง ปล่อยขันธ์อย่างละเอียด ขันธ์นะ ขันธ์ไม่ใช่จิต

พอปล่อยขันธ์อย่างละเอียด ความต้องการสัญญาข้อมูลของจิตมันต้องการอย่างนี้ มันต้องการเสพความรับรู้ของมันในสภาวะแบบนี้ จิตมันเสพความรู้สึกของมันเอง เวลาวิปัสสนาเข้าไปจนเห็นสภาวะแบบนั้น มันปล่อย แล้วเราพิจารณาของเราบ่อยครั้ง มันก็ปล่อยเศษส่วนเข้าไปจนมันเป็นจิตล้วนๆ มันเป็นจิตเดิมแท้ที่ผ่องใส มันพ้นออกไปจากความรู้สึกทั้งหมดนะ แล้วจะไปเห็นสภาวะแบบนี้ได้อย่างไรล่ะ

เราก็ไปล้มอยู่นั้นไง “ล้มแล้วลุก” ล้มแล้วลุกมาตลอดนะ แล้วเราก็จะไปยอมจำนนกับพญามารนั่นล่ะ เราก็ว่าพญามารเป็นธรรม “ความว่างอย่างนี้เป็นธรรม ความว่างอย่างนี้เป็นธรรม”

ตัวความว่างๆ อย่างนั้นมันไปเกิดบนพรหม

ตัวว่างๆ อย่างนี้ถ้าไม่ได้วิปัสสนา

ตัวว่างๆ นี่จิตปฏิสนธิตัวนี้มันพาจิตมาเกิดในวัฏฏะ มันพาเกิดมาตลอดเวลานะ

สิ่งที่พาเกิดตลอดเวลา แล้วเป็นตัวจิต คือว่าตัวจิตล้วนๆ ตัวจิตที่เป็นปัจจยาการของมัน มันปล่อยขันธ์เข้ามาทั้งหมด สิ่งนี้เป็นของมัน แล้วสิ่งที่เราเห็น เราจับต้องสิ่งใด เราอยากจะได้สิ่งใด เราก็ออกไปจับต้อง หรือไปแสวงหาสิ่งนั้นใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน จิตมันฆ่า ฆ่าขันธ์ออกมาทั้งหมด ฆ่าทำลายออกมาทั้งหมด แล้วเป็นตัวของมันเอง จะเอาอะไรไปทำลายมันล่ะ ถ้าไม่ใช่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้จะไม่มีใครเคยไปพบเห็นมัน แต่เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาก่อน วางธรรมและวินัยขึ้นมา สิ่งนี้แล้ว มรรคญาณอันนี้ อรหัตมรรคอันนี้มันถึงจะมีได้ ถ้ามีได้ ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้ามีอำนาจวาสนา มันถึงพยายามทำความสงบของใจให้ละเอียดอ่อนมาก โดยสมดุลมาก แล้วย้อนกลับเข้าไป ถ้าย้อนกลับเข้าไป จะเข้าไปเห็นนะ เข้าไปเห็นนี้คือการวิปัสสนา

ขั้นของสมถะคือการขุดคุ้ย ค้นคว้าหาให้เจอ

ในการชำระ เราไปหาหมอ ถ้าเราเป็นโรคที่เราไม่รู้ว่าเป็นเพราะสิ่งใดไปหาหมอ หมอเขาต้องหาเหตุว่าเป็นโรคอะไร แล้วเขาถึงรักษาโรคนั้น นี่ก็เหมือนกัน ถ้าวิปัสสนา ถ้าเราจับตัวโจทก์ ตัวจำเลยไม่ได้ เราจะไม่มีสิ่งต่างๆ ที่เราจะเข้าไปหาสิ่งสภาวะแบบนั้น เราจะไม่สามารถจะใคร่ครวญสิ่งนั้นได้ ขณะที่ค้นคว้าอย่างนี้เป็นงานที่แสนยากมาก เพราะมันเป็นความว่าง นี่เรือนว่าง เรือนว่างที่มีคนอยู่ สำคัญมาก

แล้วว่าสิ่งนี้ว่างแล้ว แต่ไอ้คนอยู่นั่นมันขวางอยู่ มันไม่เคยเห็น แล้วไอ้ตัวที่ขวางมันไม่ยอมทำลายตัวมันเองด้วย มันไม่ยอมเข้าไปค้นคว้ามันเองด้วย เพราะอะไร เพราะมันเป็นอวิชชา มันเป็นพญามารไง มันจะไปค้นคว้าตัวมันเองได้อย่างไร เราจะทำลายตัวเราเองเป็นไปไม่ได้หรอก คนจะทำร้ายตัวเองไม่มี เพราะทำร้ายตัวเองมันเป็นความเจ็บ

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่มันจะค้นมันเอง ไม่มี แต่ในเมื่อเราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี เราทำให้อรหัตมรรคเกิดขึ้นมาได้ มันจะย้อนกลับไป แล้วมันจับได้ ถ้าจับสิ่งนี้ได้นะ การจับได้มันสะเทือนหัวใจมาก การค้นคว้า การเห็น เหมือนกับเรามีศัตรูที่เขาจะทำลายเรา แล้วเราไปเผชิญหน้ากัน มันจะเกิดความรู้สึกอย่างไร

นี้ก็เหมือนกัน ถ้ามรรคญาณนี้เข้าไปจับสิ่งนี้ได้ มันจะเกิดสภาวะที่ว่าสิ่งเปลี่ยน สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ สิ่งที่ทำให้เราเกิดเราตายอยู่ตลอดไป ถ้าไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเข้ามาเห็นสภาวะสิ่งนี้ได้อย่างไร สภาวะสิ่งนี้มันเกิดมาในหัวใจขนาดไหน ย้อนกลับเข้าไปตรงนี้ได้

สิ่งที่ค้นคว้าเห็น มันเป็นการสิ่งที่การบอกว่าผู้ที่ภาวนาได้หรือไม่ได้ ถ้าไม่ได้จะไม่เคยเห็นสิ่งนี้ จะไม่มีความประทับใจกับสิ่งที่เราค้นคว้าหาพญามารเจอ มันเป็นความประทับใจมาก ถ้าประทับใจแล้ว ถ้ายังมีวิปัสสนาได้ มันก็จะฆ่าสิ่งนี้ได้ ความประทับใจนี้ก็ต้องทำลายนะ เพราะความประทับใจนี้คือตัวจิต สิ่งใดๆ ไปสะสมลงที่จิตทั้งหมด จิตนี้เป็นการรับรู้ข้อมูลทั้งหมด

โลกนี้มีเพราะมีเรา เพราะมีจิตดวงนี้ จิตดวงนี้เป็นเจ้าของโลกนี้ทั้งหมด เพราะจิตดวงนี้มันรับรู้เขาไปทั้งหมด ไอ้ความรับรู้นี่มันเป็นเจ้าของ แล้วจะมาทำลายสิ่งที่เป็นความรับรู้เขา ถ้าทำลายโลกก็ต้องทำลายตัวจิตนี้ ถ้าทำลายตัวจิตนี้ทั้งหมด เห็นไหม โลกนี้ไม่มี สิ่งที่เป็นสถานะรองรับ ความรับรู้สิ่งต่างๆ เวลาขึ้นไปศาล เวลาศาลพิพากษามา ผู้ที่รับ โจทก์และจำเลยต้องเป็นผู้รับแพ้หรือชนะตลอดไป

กรรมดี-กรรมชั่วเกิดจากจิตดวงนี้ จิตดวงนี้มีกรรมดีและกรรมชั่ว มันต้องให้จิตดวงนี้รับกรรมสภาวะดีและชั่วตลอดไป แต่ถ้าเราไปทำ ศาลเขาจะตัดสิน ไม่มีจำเลย ไม่มีโจทก์ ศาลไหนตัดสินก็ตัดสินไป ศาลคือธรรมและวินัย แต่ผู้ที่เป็นโจทก์หรือว่าจำเลย คือตัวจิตนี้ ตัวจิตนี้ไม่มี ถ้าตัวจิตตัวนี้ไม่มี แล้วมันจะไปรับรู้สิ่งใดๆ

ถ้าอรหัตมรรคทำลาย “อรหัตมรรค-อรหัตผล” สิ่งที่อรหัตมรรค-อรหัตผลมันกำลังใช้ วิชาการ กำลังพิพากษากันอยู่ “อรหัตมรรค-อรหัตผล” มรรค ๔ ผล ๔ แล้วอรหัตผลทำขบวนการของการประพฤติปฏิบัตินี้จบสิ้นลง มันถึงเป็นนิพพาน ๑

นิพพาน ๑ นี้ออกไปจาก มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ไม่ใช่โจทก์และไม่ใช่จำเลย มันเป็นหนึ่งอันเดียวอันนั้นโดยธรรมชาติของเขา เป็นวิมุตติที่จะกลับเข้ามาในสมมุติอีกไม่ได้เลย กลับมาไม่ได้ สิ่งใดจะทำให้ล้มลุกคลุกคลานอีกเป็นไปไม่ได้

ล้มแล้วลุก ล้มแล้วลุกมาตลอด ถึงที่สุดแล้วมันคงที่ของมันตลอดไป

“สิ่งที่คงที่” หมายถึงผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แล้วเข้าใจสภาวะสิ่งนี้ ถึงว่าเป็นคงที่

แต่ถ้าเป็นตรรกะ เป็นความรู้สึกของเรา คงที่อย่างไร จะอธิบาย อธิบายขนาดไหนก็อธิบายมาพันคอตัวเอง แล้วอธิบายไม่ได้ แต่ผู้ที่สิ้นกิเลสแล้ว อธิบายเป็นการสั่งสอน เป็นการยืนยันค้ำประกันว่าผู้ที่รับผลมี สิ่งที่ความสุขอันประเสริฐนี้มี สิ่งนี้จะเป็นความสุขมาก ประเสริฐมาก ประเสริฐที่ว่ามันจะไม่เวียนกลับมาในวัฏฏะ

สิ่งที่เวียนในวัฏฏะ ผู้ที่เขามีความสุข เขามีความพอใจของเขาในโลกเขา เขาก็ยังเป็นความสุขของเขาเลย ความสุขของเขา เขาบอกสุขในขันธ์ ๕ ไง สุขในขันธ์ ในเวทนา เวทนา สุขเวทนา-ทุกข์เวทนา เวลาทุกข์ก็ทุกข์เวทนา

แล้ววิมุตติอย่างนี้มันไม่มีขันธ์ มันสุขได้อย่างไรล่ะ? มันสุขแบบอิ่มเต็ม

สิ่งที่หยาบๆ อย่างหยาบๆ มันก็เป็นความสุขหยาบๆ สิ่งที่ละเอียด สิ่งที่ละเอียดเข้าไปเรื่อย มันก็ยังต่างกันอยู่แล้ว แล้วสิ่งนี้มันเป็นความจริงของมัน มันคงที่ของมัน มันมีความเป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น สิ่งนี้มันถึงไม่ล้มไม่ลุกอีกต่อไป มันเป็นความจริงของจิตดวงนี้

เกิดจากไหน? เกิดจากหัวใจที่เป็นทุกข์เป็นยากอยู่

มนุษย์เกิดขึ้นมา มีศรัทธาความเชื่อก็ออกบวช ออกประพฤติปฏิบัติ แล้วออกประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดไป ปฏิบัติขึ้นมา “ปฏิบัติ” ถ้าปฏิบัติการเดินจงกรมอยู่ก็เดินโดยร่างกาย ถ้าเดินจงกรมไม่มีสติก็สักแต่ว่าเหมือนหุ่นยนต์ เวลานั่งถ้าไม่มีสติก็เหมือนสักแต่ว่าหุ่นยนต์ การปฏิบัตินี้ปฏิบัติที่ใจ แต่เพราะมีร่างกายนี้

เวลาเราออกธุดงค์ ไปเหมือนนอแรด “นอแรด” นอแรดเพื่ออะไร? นอแรดเพื่อไม่ให้คลุกคลีในหมู่คณะไง ถ้าคลุกคลีอยู่ในหมู่คณะ พูดสิ่งต่างๆ สิ่งนี้มันทำให้นอนใจ เรามีเพื่อน มีที่อยู่อาศัย มันไม่กลัวไง แต่เราออกไปเป็นนอแรด ออกไปคนเดียวมันจะตื่นเต้นไปกับสถานะที่พบเห็น สิ่งนี้มันจะควบคุมเข้ามา

การประพฤติปฏิบัติคือใจประพฤติปฏิบัตินะ ถ้าใจไม่ประพฤติปฏิบัติ มันเป็นการทำสักแต่ว่า การรักษาก็รักษาที่ใจ การกระทำก็ทำที่ใจ แต่เพราะมีร่างกายนี้ เพราะจิตใจนี้อยู่ในร่างกายนี้ ขณะที่เรานั่งปฏิบัติ ร่างกายเราเหมือนจอมปลวก จอมปลวกมีทางเข้าทางออก ๖ ทาง อายตนะทั้ง ๖ ไง ปิดให้หมดเลย ปิดจอมปลวกให้หมด แล้วก็เปิดไว้ช่องเดียวคือตัวหัวใจ พุทโธ พุทโธ มาอยู่ที่ใจ ขณะที่ปิดอายตนะทั้งหมด แล้วมันดิ้นรนไหม ถ้ามันดิ้นรน นี่ตัวใจ

เวลาประพฤติปฏิบัติ ประพฤติใจต้องประพฤติปฏิบัติ ต้องมีสติ ถ้ามีสติมันก็เป็นการประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่มีสติมันก็สักแต่ว่าทำนะ ถ้าเป็นสักแต่ว่าทำ ผลมันจะเกิดมาจากไหนล่ะ

ถ้าเรามีหัวใจ ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ เราศึกษาของเรา ไม่ใช่ตายแล้วนะ สละร่างกายให้หมอเขาไปศึกษา แล้วหมอเขาก็ได้ผลประโยชน์จากร่างกายของเรา แล้วเขาก็เอาไปเป็นวิชาชีพของเขา นั่นก็เป็นบุญกุศลอย่างหยาบๆ นะ ถ้าเราใช้ปัญญาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝึกฝนตัวเองขึ้นมา แล้วเราเป็นหมอเอง เราผ่าตัดเอง เรารักษาของเราเอง เรารักษาเข้าใจแล้วก็เป็นสมบัติของเราเอง เพราะอะไร

เพราะมรรคญาณมันเกิดขึ้นมาจากใจของเรา มรรคญาณเกิดจากใจ ใจนี้เป็นผู้รู้เอง ใจนี้เป็นผู้ชำระกิเลสเอง อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แล้วตนใช้ปัญญาญาณอย่างนี้ชำระกิเลส ศึกษาร่างกายนี้ ศึกษาจิตใจนี้ จนเข้าใจตามความเป็นจริงทั้งหมด แล้วปล่อยวางเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ปล่อยวางทั้งหมดนะ

ถ้าไม่ปล่อยวางทั้งหมด ดูสิ เรามาจากบ้าน เรามาด้วยอะไร? เรามาด้วยรถ รถนี้เป็นของเรา เรานั่งอยู่บนรถ เราจะขึ้นมาบนศาลานี้ได้ไหม นี่ก็เหมือนกัน ขณะที่ใช้ปัญญาอยู่นี่มันเป็นพาหะ มันเป็นรถ มันเป็นมรรค มันเป็นญาณ ที่จะพาจิตนี้ให้เข้าไปถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรายึดความรู้เราไม่ได้นะ เรายึดความรู้ เรายึดต่างๆ เหมือนกับมารถแล้วไม่ทิ้งรถ เราออกจากรถมาไม่ได้ มันจะไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างไร

ปัญญาก็เหมือนกัน ขณะที่มันเกิดขึ้นมา ให้เป็นธรรมชาติของมัน มันเป็นสมุจเฉทอย่างไร มันจะทำลายกิเลสอย่างไร มันเป็นหน้าที่ของมรรคญาณที่มันจะทำลายกัน จิตนี้เป็นหน้าที่รู้ ปฏิบัติไปแล้วรู้ไป มันทำลายของมันขนาดไหน เราก็หลุดออกมาจากญาณอันนั้น จากญาณอันนั้น เห็นไหม จิตนี้เป็นผู้รับรู้มาตลอดเลย ถึงที่สุดแล้วมันทำลายจิต ทำลายจิตแล้วบริสุทธิ์ โดยจิต โดยจิตโดยธรรมชาติของจิต ทำลายจิตทั้งหมดเลย แล้วทำลายจิตทั้งหมดเลย แล้วอะไรจะออกมาจากญาณอันนั้นล่ะ? สิ่งที่ออกไปเป็นธรรมอันเอกไง เอโก ธัมโม อันนั้นไง

ถ้า เอโก ธัมโม อันนั้นออกไปจากอริยสัจ มันถึงเป็นอัตโนมัติ

ผู้ที่สิ้นกิเลสแล้วจิตนี้เป็นอัตโนมัติ

เวลามันออกเสวยอารมณ์ ออกเสวยมาพร้อมกับสติพร้อม ถ้าสติพร้อมออกมา สิ่งใดเป็นทุกข์มันจะรับไหม? มันไม่รับ นี้เป็น “สอุปาทิเสสนิพพาน” คืออรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ แต่ถ้าพระอรหันต์ตายแล้วเศษส่วนนี้ไม่มี จิตนี้ออกไปวิมุตติล้วนๆ เลย ไม่มีสิ่งใดเลย ออกไปอยู่ในวิมุตติ แต่ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาที่โคนต้นโพธิ์ แล้วเทศนาว่าการมาอีก ๔๕ ปี นี่อาศัยขันธ์ อาศัยสิ่งที่สื่อกับโลกเพื่อเข้าใจโลก เพื่อจะเผยแผ่ธรรมอันนี้ เพื่อธรรมอันนี้ให้เป็นทางก้าวเดินของสัตว์โลกไง

สัตว์โลกคือสัตตะผู้ข้อง ถ้าจิตยังข้อง ยังมีกิเลสติดข้องอยู่ในหัวใจ มันต้องอาศัยธรรมและวินัยขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ก้าวเดินขึ้นไป ถ้าก้าวเดินขึ้นไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงวางธรรมเป็นพาหะ เป็นทางเดิน ให้เราก้าวเดินไป เราถึงมีหัวใจ เรามีชีวิตอยู่ เราถึงศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ศึกษามาแล้วประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติ อ้อนวอนเอา ขอเอา ประพฤติปฏิบัติเอานี่เป็นอามิส เป็นสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างสมให้อินทรีย์แก่กล้า ให้มีอำนาจวาสนา

แต่ขณะที่เกิดในปัจจุบัน จะไม่ต้องไปเกิดในครรภ์อีก ไม่ต้องคลอดออกมาจากครรภ์ของมารดาอีก เห็นไหม การเกิดและการตาย คลอดออกมามันทุกข์ไหม ถ้าประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราถึงว่าถ้าสิ้นกิเลสแล้วจะไม่ไปเกิดไปตายอีกเลย

เกิดมาในชาติปัจจุบันนี้ ปัจจุบันนี้ต้องตายแน่นอน แต่ตายนี่โกหก ตายนี่สมมุติไง คือธาตุขันธ์ ขันธ์และขันธ์ ๕ ต้องกลับไปเป็นธรรมชาติของมัน แต่จิตนี้มันจะตายได้อย่างไร ในเมื่อมันพ้นออกไปหมดแล้ว มันรู้สึกหมดแล้ว มันถึงไม่มีตายอีกเลย

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องปรินิพพาน เพราะธาตุขันธ์อันนี้ต้องกลับไปธรรมชาติ แต่จิตนั้นไม่มีสิทธิ์ที่จะตายอีกแล้ว (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)