เทศน์บนศาลา

ถึงธรรม

๑๘ ต.ค. ๒๕๔๘

 

ถึงธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

อ้าวมาตั้งใจ ตั้งใจฟังธรรม ฟังธรรมนะ ฟังธรรมเป็นโอกาส ธรรมะไง “ธรรมะ” ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งพุทธกาลก็ธรรมอันนี้ กึ่งพุทธกาลนี่ก็ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกว่าหมดศาสนาไป พระศรีอริยเมตไตรยมาตรัสรู้ก็ธรรมอันนี้

ถ้าเราเข้าถึงธรรม จะกาลเวลา อกาลิโก ไม่มีกาล ไม่มีเวลา นี่หัวใจถ้าเราเข้าถึงธรรม แต่ถ้าเราเข้าไม่ถึงธรรม เราประพฤติปฏิบัติกันสักแต่ว่า เราเข้าไม่ถึงเพราะการปฏิบัติเราไม่ถึงธรรมไง เหมือนอาหาร เขาประกอบอาหาร เขาใส่เครื่องปรุงอาหารไม่ถึงส่วนประกอบนั้น อาหารนั้นรสชาติก็ไม่อร่อย สิ่งที่รสชาติของอาหารนั้นเพราะขาดเครื่องแกงใช่ไหม ขาดเครื่องสิ่งที่ทำให้ถึงกับมีรสมีชาติแบบแกงอันนั้น เพราะสิ่งนั้นขาดไป ๑.

๒. เราประหยัด เราไม่กล้า เราไม่ยอมทำให้มันถึงที่สุด กึ่ง ครึ่งๆ กลางๆ ดิบๆ สุกๆ มันไม่เป็นตามความเป็นจริง อาการแบบนี้นะ...

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้าอยู่ ๖ ปี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ค้นคว้าอยู่อย่างนี้อยู่แล้วไปศึกษา เขามีอาหารของเขา ในโลกเราก่อนที่จะมีไฟขึ้นมา มนุษย์เรากินอาหารดิบๆ สิ่งที่กินอาหารดิบๆ เพราะไม่มีไฟไง ผู้ที่ค้นคว้าไฟเจอ เปลี่ยนแปลงความเป็นไปของมนุษย์หมดเลย นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อยังไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษาค้นคว้ากับเจ้าลัทธิต่างๆ สิ่งนั้นเป็นอาหารเพราะมันไม่ใช่ธรรม สิ่งที่ไม่ถึงธรรมก็แก้กิเลสไม่ได้

แต่แก้กิเลสไม่ได้ เขาทำฌานสมาบัติกัน เขาเหาะเหินเดินฟ้าได้ สิ่งที่เขาเหาะเหินเดินฟ้าได้นี่เขาต้องตั้งสติไหม สติของเขาต้องมีนะ ถ้าสติของเขาไม่มี จิตเขาสงบไม่ได้หรอก สิ่งที่จิตสงบต้องมีการควบคุม จิตนี้ควบคุมได้ จิตนี่เวลามันฟุ้งซ่านออกไป ตามธรรมชาติของจิตสิ่งนี้เป็นธาตุรู้ ธาตุรู้นี่ธรรมชาติของมัน มันต้องคิดไปตามธรรมชาติของเขา ขณะที่ว่าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเขาทำความสงบของใจได้แค่นั้นเอง แต่พวกปรัชญาเขาใช้คิดด้วยปัญญา พวกเดียรถีย์ เขาก็ใช้ปัญญาของเขา ปัญญาอย่างนั้นเป็นปรัชญา

สิ่งที่เป็นปรัชญาเห็นไหม ในสมัยปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์เขาเที่ยวเอาลัทธิในอินเดียมาพิสูจน์กัน เขาทึ่งในวิชาการของเขานะ นี่เรื่องของโลกไง มันเป็นสมมุติ มันเป็นตรรกะ สิ่งที่ตรรกะเวลาตรึกแล้วมันเข้าใจได้ โลกเขาถึงยกย่องสรรเสริญ แต่ถ้าเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โลกเขาไม่เข้าใจ เขาไม่เข้าใจเพราะอะไรล่ะ

เพราะสิ่งที่ว่าสิ่งที่เป็นโลกียปัญญา ปัญญาของโลกนี่มันเกิดจากสิ่งสถิติ ความคิดของสมองความคิดของใจก็ได้ นี่สำคัญ “ความคิด ความปรุง ความแต่ง” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้วถึงได้วางเป็นธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ไง นี่เรื่องของหัวใจ เรื่องของธาตุขันธ์ต้องพิสูจน์กัน ต้องทำความเข้าใจกัน “เข้าใจด้วยธรรม” แต่ถ้าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือสิ่งที่เป็นอาหารที่ธรรมรสนี้ยังไม่เกิด สิ่งนี้เป็นปรัชญา เพราะเกิดขึ้นมาจากตัวตน เกิดจากความคิดของเรา เกิดจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

ผู้ใดสร้างสมบุญญาธิการมา สิ่งที่คิดกับเขาก็คิดได้ลึกซึ้งกว่า ผู้ใดสร้างสมสิ่งที่เป็นบาปอกุศลมาบ้าง แต่ก็ได้เกิดเป็นมนุษย์ สิ่งนี้คิดได้ไม่ถึงไง เข้าใจตามกระแสของเขาไม่ได้ แต่ก็มีมุมมองต่างๆ นะ มีความเห็นต่างๆ ที่เด่นของตัวเองก็ได้ คนเรามันมีความเด่นจากการกระทำของตัว จุดด้อย-จุดเด่นของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน สิ่งนี้มันเป็นไปตามวัฏฏะ มันเป็นโลกียปัญญา

สิ่งที่โลกียปัญญา สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไปรื้อไปค้นคว้าไปศึกษามากับเขาแล้วนะ แล้วปฏิเสธเขาหมดเลย ปฏิเสธเขาหมดแล้วมาค้นคว้าด้วยตัวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ธรรมอันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าของ ศาสนาพุทธองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าของศาสนา เพราะเป็นผู้ที่รื้อค้นขึ้นมา สิ่งที่รื้อค้นขึ้นมาแล้ววางธรรมไว้ด้วยความเมตตาไง เพราะปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ไง เพราะรื้อสัตว์ขนสัตว์นี้เป็นอำนาจวาสนานะ เป็นบารมีของผู้นำ เป็นบารมีของผู้ที่ค้นคว้าสิ่งที่ยังไม่มีอยู่

ในเรื่องในโลกในปัจจุบันนี้ เขาเจอเพชรนิลจินดาที่ยังไม่ได้เจียระไนนะ มันก็ก้อนหินนี่แหละ ถ้าเราไม่เจียระไนนะ คนไม่เข้าใจนะ...มันก็ก้อนหินนะ มันไม่มีอะไรแตกต่างไปจากก้อนหินเลย สิ่งที่เนื้อของความสดใสของเขามันโดนซ่อนไว้ แต่ได้รับการเจียระไนแล้วนะ เพชรนิลจินดาจะเป็นสิ่งที่สวยงามมาก สิ่งนี้จะมีคุณค่าขึ้นมา

นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะค้นคว้าสิ่งนี้ขึ้นมา นี่มันก็มีอยู่ในธรรมชาติ ธรรมะนี้มีอยู่แล้ว เหมือนกับเพชรนิลจินดาที่ยังไม่ได้เจียระไน ไม่มีใครรู้คุณค่าของมัน แต่เวลาเจียระไนขึ้นมาแล้วทำไมมันมีคุณค่าขึ้นมาล่ะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่รื้อค้นปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ สิ่งที่รื้อสัตว์ขนสัตว์ต้องสร้างบุญญาธิการมานะ สร้างบุญญาธิการมา แล้วเวลารื้อค้นขึ้นมา มันเป็นความละเอียดอ่อนของใจไง

เรื่องของใจ ใครจะไม่เข้าใจของมัน ดูสิ ในปัจจุบันนี้ เรารู้สึกกับความรู้สึกของเรา ทั้งๆ ที่ศาสนาก็มีอยู่นะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้ ครูบาอาจารย์เทศนาว่าการ เราก็ได้ยินได้ฟังธรรมอยู่ทุกวัน ทุกวันนะ ขณะที่เราฟังธรรม หลวงปู่มั่นท่านอยู่ในป่า พระมหาเถระถามว่า

“มีการศึกษา ครูบาอาจารย์ของเราศึกษาอยู่กับตำรับตำรา รื้อค้น ธรรมและวินัยคือพระไตรปิฎก คือสิ่งที่จารึกคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ แล้วก็รื้อค้นค้นคว้ากันเพราะกลัวจะมีความผิดพลาด มันก็ยังลังเลสงสัยนะ แล้วหลวงปู่มั่นท่านอยู่ในป่าในเขาอยู่องค์เดียว ท่านไปฟังธรรมจากใคร”

หลวงปู่มั่นบอก “ท่านฟังธรรมอยู่ทุกวินาที ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา”

การที่ “ฟังธรรมอยู่ทุกวินาที ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา” นี่ฟังธรรมจากภายในไง เพราะความคิดเรา มันคิดมาจากไหน ความคิดคิดมาจากความคิดเราคิดมาจากใจของเราใช่ไหม สิ่งที่คิดมามันก็เป็นธรรมไง สิ่งที่เป็นกุศล-อกุศลเกิดมาจากใจ สิ่งนี้ถ้าเรามีปัญญามีสติควบคุม แล้วใคร่ครวญสิ่งนี้ ถ้าคิดบาปอกุศล เราทุกข์ไหม คิดเป็นบุญกุศลเราจะมีความรื่นเริงในหัวใจไหม

แล้วเราอยู่ในป่าในเขา สัตว์ป่ามันอยู่ในป่านะ มันจะดำรงชีวิตของมันเพราะมันเป็นสัตว์ แต่นี่มนุษย์ไปอยู่ในป่า สิ่งที่อยู่ในป่ามันเป็นสิ่งที่น่าวิเวก เป็นสิ่งที่เราไปอยู่ในสิ่งที่มันกลางค่ำกลางคืนขึ้นมา เราก็มีความกลัว มีความเห็นต่างๆ มีสัตว์ป่า นี่เราเข้าไปอยู่อย่างนั้นเพื่ออะไรล่ะ?...เพื่อทรมานกิเลสไง

แล้วถ้าจิตมันสงบ จิตเวลามันสงบมา มันจะมีความรู้ต่างๆ นี่เวลาทำอุกฤษฏ์กรณีหนึ่งนะ เวลาความคิดขึ้นมาเป็นกุศล-อกุศลนี่เกิดจากใจ ถ้ามีสติรู้จักไตร่ตรอง รู้จักเอาสิ่งนี้มาเป็นประโยชน์ ถ้าเอาสิ่งนี้มาไตร่ตรองแล้วเป็นประโยชน์ เราจะคัดเลือกได้

เวลาอาหารของเรา อย่างเช่นไก่ อย่างเช่นสิ่งต่างๆ มันมีกระดูกนะ คนเราเขาไม่กินทั้งตัวหรอก เพราะมันมีกระดูก ความคิดเราก็เหมือนกัน สิ่งใดที่มันเป็นกระดูก สิ่งใดที่มันเป็นเนื้อ เนื้อคือความว่าเราคิดแล้วเป็นคุณงามความดีของเรา แต่สิ่งที่เป็นกระดูก คิดน้อยเนื้อต่ำใจ คิดแล้วไม่อยากทำสิ่งต่างๆ เพราะอะไร

เพราะเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนามันต้องตั้งใจนะ ต้องมีสติสัมปชัญญะ ต้องมีความจงใจขึ้นมามันถึงจะเป็นการกระทำไง แต่ถ้าเราไม่มีความจงใจ สักแต่ว่าทำ คำว่า “สักแต่ว่า” คือมันไม่มีสติ ก็ทำกันไป ทำไปเป็นสิ่งที่ครึ่งๆ กลางๆ ที่ว่าไม่ถึงธรรมไง เราประพฤติปฏิบัติ ถ้ามันทำอย่างนั้น ผลตอบมาเราจะเป็นคนรู้เอง แต่ถ้าเราตั้งใจของเรา เรามีตั้งสติของเรา “เพียรชอบ งานชอบ” สิ่งนี้จะเกิดขึ้นมา

นี่หลวงปู่มั่นท่านบอก “ท่านฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา”

นี่ก็เหมือนกัน เราว่าเราฟังธรรมๆ เราสิ่งที่เราฟังแล้วมันสะเทือนหัวใจเราไหม ถ้ามันสะเทือนหัวใจนะ นี่ธรรมเข้าถึงใจเรา คนนั้นมีโอกาสนะ เราสักแต่ว่าฟัง เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา สิ่งที่เข้าไป แต่หัวใจมันด้าน หัวใจมันไม่มีความตื่นตัว หัวใจมันไม่เคยสยดสยอง มันไม่เคยปลงธรรมสังเวช มันไม่สะเทือนหัวใจไง

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมคือสิ่งที่ตรงไปตรงมา มันจะเข้าธรรม มันจะพุ่งเข้าชนกับกิเลสในหัวใจของเรา ถ้าเราฟังธรรมด้วยมีสติสัมปชัญญะ เราหงายภาชนะของเรา เราฟังสิ่งนี้ให้มันสะเทือนหัวใจของเรา สิ่งนี้ถ้าฟังแล้วมันจะตื่นตัว ตื่นตัวมันก็ตื่นชีวิตสิ ชีวิตนี้มันถึงมีคุณค่าขึ้นมาสิ ถ้าเราไม่ตื่นตัว เห็นไหม สัตว์มันอยู่ในป่าของมัน มันดำรงชีวิตของมันจนถึงที่สุดมันก็ต้องตายไป มันหมดอายุขัยของมัน แต่หรือมันเจอเหตุเภทภัยมันก็ต้องตายไปเหมือนกันเพราะมันเป็นสัตว์

แต่เราเป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์แล้วพบพระพุทธศาสนา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เตือนถึงการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย เวลาเตือนถึงการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย เวลาเราฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเรามีสติสัมปชัญญะ ทุกคนจะมีความอาลัยอาวรณ์ ทุกคนไม่อยากเกิด อยากจะมีความสุขมหาศาลเลย แต่ความสุขของโลกที่เราแสวงหากันอยู่นี้เป็นความสุขปลอมๆ เป็นความสุขเพราะอะไร เป็นความสุขปลอมๆ เพราะกิเลสมันเอาเหยื่อมาล่อไง

“ถ้าเราแสวงหาสิ่งนี้มา สิ่งนี้สมดุลกับเรา สมควรแก่เราแล้วเราจะปล่อยวาง แล้วเราจะออกประพฤติปฏิบัติ”

มันก็ว่าของมันไป ผัดวันประกันพรุ่งของมันไป ผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะไม่เคยฟังธรรมเลย เพราะเกิดมาแล้วต้องมีหน้าที่การงาน

“เราประกอบอาชีพประสบความสำเร็จ เรามีชื่อเสียงมีเกียรติยศ สังคมเขายอมรับนับถือ”

นั่นน่ะ มันเหยื่อล่อทั้งนั้นเลย หัวใจของเรานี่จะต้องให้คนอื่นเขามายอมรับหรือ หัวใจของเรา เราเจ็บไข้ได้ป่วย เราทุกข์เรายากนี่มีใครเขามารับประกันเราว่าเราจะไม่เป็นอย่างนั้นหรือ...มันไม่มีหรอก มันเรื่องของเรา สิ่งที่สังคมเขายอมรับกันนะ เป็นกระแสสังคม เวลากระแสเขายอมรับสิ่งใด สิ่งนั้นก็มีคุณค่าขึ้นมา เวลาหมดกระแสไป สิ่งที่มีคุณค่าแสวงหาไว้ ไม่มีคุณค่าเลย ไม่มีประโยชน์สิ่งใดเลย เห็นไหม “สมบัติผลัดกันชมของโลก” แต่ชีวิตของเรา มันเป็นเรื่องของเรา เราเป็นเรื่องควบคุมชีวิตของเรา

สิ่งที่โลกนี่มันเป็นเหยื่อล่อ แล้วเหยื่อล่อมันก็มีเบ็ด เบ็ดก็เกี่ยวปากเราไป เราก็ดิ้นรนไป เกี่ยวปากยังพอปลดได้ แต่เกี่ยวหัวใจแล้วหัวใจมันติด เอาออกไม่ได้นะ ถ้าหัวใจมันติด มันจะพอใจสภาวะสิ่งนี้ตลอดไป สิ่งที่หัวใจมันติดแล้วเราจะแก้ไขอย่างไร นี่มันถึงต้องมีสิ่งให้สะเทือนใจ

เวลาธรรมของครูบาอาจารย์ เวลาแสดงธรรมแล้วมันพุ่งเข้ามาชนในหัวใจของเรา มันแทงใจดำนะ มันถึงกับสติ มันถึงว่า “เราจะหาทางออกของเรา” ถ้าสิ่งนี้มันเป็นประโยชน์กับเรา ถ้ามีสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา เราก็มีศรัทธา เราก็มีความจงใจในการประพฤติปฏิบัติ ในการประพฤติปฏิบัติถ้ามีครูอาจารย์ชี้ที่ถูกทาง

เวลาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ในพระไตรปิฎก “โคนำฝูง” ถ้าเราเจอโคนำฝูงที่ดี แล้วในปัจจุบันนี้ ในการประพฤติปฏิบัติ นี่กึ่งพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าของศาสนา เพราะสิ่งที่ไม่มี ไม่มีสูตรอาหาร ไม่มีการกระทำอาหารสิ่งนั้นขึ้นมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้าขึ้นมาถึงมรรคญาณเกิดขึ้น ต้องเป็นมรรค ๘ ต้อง “ปัญญาชอบ เพียรชอบ งานชอบ” สิ่งที่ชอบมันถึงมรรคสามัคคี มันถึงสมุจเฉทปหาน แล้วรสของธรรม รสของธรรมคือใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระกิเลส ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “วิมุตติสุข” สิ่งที่วิมุตติสุข เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ได้ลิ้มรสของธรรมขึ้นมาก่อน ถึงเข้าใจเรื่องของกิเลสแล้ววางธรรมและวินัยไว้ให้เราก้าวเดินตาม

นี่ถ้าไม่รู้จะเอาอะไรมาสอน ผู้ที่ไม่รู้จะไปสอนเขาได้อย่างไร ในเมื่อความลังเลสงสัยในหัวใจเราก็เต็มหัวใจ นี่มืดบอดไปทั้งหมดเลย มันสิ่งที่เราไม่เห็นแสงสว่าง เราไม่เห็นช่องทางที่จะออก แล้วเราจะไปแนะนำคนอื่นได้อย่างไร ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ตรัสรู้ขึ้นมา มันสว่างขึ้นมาในหัวใจ มันเข้าใจทั้งหมด นี่เจ้าของศาสนา แล้ววางศาสนาไว้

ครูบาอาจารย์เรา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ได้รสของธรรม ได้รสของธรรมเพราะอะไร เพราะเขาถึงธรรม เขาทำของเขาด้วยวิริยะอุตสาหะ เขาไม่ได้ทำสักแต่ว่าอย่างในปัจจุบันนี้ไง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้แล้วนะ เป็นถึง “ภาคปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ” เวลาเราศึกษาธรรม เราก็ศึกษาเหมือนกับเรากางตำราเห็นไหม กางตำราการทำอาหาร สิ่งที่กางตำราทำอาหารเราเห็นแต่รูปนะ “อาหารชนิดนี้ ผักชนิดนี้ หญ้าชนิดนี้ ควรจะผสมสิ่งใด” เอาแต่เรียนแต่ตำรา ตำรานะ เราเห็นแต่รูปภาพในตำราอาหารนะ แต่เราไม่เห็นของจริงเลย นี่ปริยัติ แล้วสิ่งนี้ก็ทำให้ลังเลสงสัย “มันจะมีไม่มีหนอ มันจะเป็นไปไหมหนอ” นี่สิ่งที่จะฆ่ากิเลส กิเลสต่างหากจะฆ่าเรา ฆ่าโอกาสไง

ในเมื่อเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สะเทือนหัวใจอยู่ แต่จะออกประพฤติปฏิบัติก็กลัวว่าเราปฏิบัติแล้วจะเสียเปล่า เพราะสิ่งนี้จะมีหรือไม่มี นี่กิเลสมันฆ่าโอกาสของเรา กิเลสทำให้เราไม่เชื่อไง ถ้าเราไม่เจอครูอาจารย์ผู้ชี้นำ เป็นผู้ที่บอกว่า “สิ่งนี้มีจริง” เหมือนครูบาอาจารย์บอกว่าเวลาเราไปหาอาจารย์ แบมือออกมาเลย นี่อยู่ในมืออย่างนี้ อยู่ในมืออย่างนี้ สิ่งที่จะเป็นความวิมุตติสุขนี่จะอยู่ในมือ คือการกระทำของเราไง ถ้าเรามีผู้ชี้นำอย่างนี้จะออกประพฤติปฏิบัติ

เราศึกษาปริยัติมา เราค้นคว้าตามตำรามา เราเห็นเลย สิ่งที่ว่าเป็นพิษเป็นต่างๆ ถ้าเราจะออกประพฤติปฏิบัติเหมือนกับเราออกฝึกการทำอาหาร สิ่งที่เราฝึกทำการอาหารในร้านอาหารนะ ถ้าเราจะฝึกทำอาหาร เราเข้าไปฝึกกับเขา เราต้องไปเก็บพริกนะ เราต้องไปแกะผักก่อนนะ เราต้องเห็นผัก...สิ่งที่เราเห็นมาในรูปอย่างหนึ่งนะ ขณะที่เราจะไปเห็นผักเห็นหญ้า เราจะหั่น เราจะเก็บทำความสะอาด มันต้องไปฝึกฝนจากตรงนั้นไง

นี่ไง ในการออกประพฤติปฏิบัติ สติอยู่ที่ไหน การกระทำอยู่ที่ไหน

ครูบาอาจารย์บางองค์บอกว่า “สตินี่ฝึกไม่ได้”...สิ่งใดมันฝึกไม่ได้ ถ้าฝึกไม่ได้ สัมมาสติอยู่ที่ไหน มรรค ๘ ขาดสติไปได้อย่างไร แล้วสติบอกว่า “อยู่เฉยๆ กำหนดรู้แล้วสติจะเกิดขึ้นมาเอง”...มันจะเกิดขึ้นมาเองได้อย่างไร

สิ่งที่เกิดเอง สิ่งที่เกิดขึ้นมาเองเห็นไหม ในการเก็บถนอมอาหารนะ ต้องมีเกลือ เกลือนี่ถนอมอาหารได้ เขาจะดอง เขาจะทำสิ่งใด สิ่งที่เกลือนี่ขาดไม่ได้ นี่มรรค ๘ ไง สติเหมือนเกลือ เกลือเหมือนสติเพราะอะไร เพราะมันถนอมอาหารไว้ได้ นี่ถนอมอาหาร ถ้าพูดถึงการถนอมอาหาร ถ้าไม่มีเกลือนะ ดูสิ ดูอย่างเช่นเนื้อแดดเดียว สิ่งต่างๆ เขาต้องมีสิ่งนี้นะ แล้วมันจะเป็นมีคุณค่าขึ้นมา

แต่บอกว่า “อยู่เฉยๆ แล้วสติเกิดเอง การฝึกสติเป็นไปไม่ได้”

ถ้าฝึกสติเป็นไปไม่ได้ เราจะระลึกรู้ได้อย่างไร

ครูบาอาจารย์บอกว่า “ต้องทำความสงบ ศีล สมาธิ ปัญญา”

แล้วเกิดมีศีล คือความปกติของใจ ใจนี่ทำให้ปกติก่อน ในเมื่อปกติมันมีความดิ้นรนของมันโดยธรรมชาติ จิตของมันมีความคิด สิ่งที่คิด เห็นไหม เวลาถ้ามันเป็นความทุกข์ความยากมันจะดิ้นรนของมัน ถ้าคิดโดยสิ่งที่ว่าเป็นความสุข เป็นที่สิ่งที่สมความปรารถนา มันก็อยู่กับเราชั่วคราว แต่ถ้าการกระทำนั้นมันต้องการสิ่งใด มันก็ทำตามกิเลส แต่ถ้าเรามีศีลของเรา “สิ่งใดทำแล้วบาดหมาง สิ่งใดทำแล้วสะเทือนหัวใจ สิ่งนั้นไม่ดีเลย” นี่อธิศีล แล้วมันเกิดตรงนี้ นี่มันมีเขต มีขอบเขต สิ่งที่ขอบเขต...ศีล

“สมาธิ” สมาธิทำอย่างไร สมาธิ ถ้าเรามีความศรัทธา มีความเชื่อ “มีความเชื่อ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางความสงบ ขั้นของการทำสมถะ สิ่งที่ทำสมถะคือความสงบของใจ การทำงานเห็นไหม ถึงว่าเราเรียนปริยัติมา เราศึกษามาแต่ภาคของตำรา ขณะที่เราจะออกฝึกทำอาหาร เราต้องไปเก็บผัก ล้างผักล้างหญ้า...ก็นี่ไง ในภาคปฏิบัติมันต้องมีสมาธิก่อน คำว่า “มีสมาธิก่อน”

ครูบาอาจารย์บางองค์บอกว่า “ไม่จำเป็น สมาธิไม่จำเป็น เราใช้ปัญญาไปเลย”

นี่ถ้าใช้ปัญญาไปเลย ๑ ถ้าเราใช้ว่าสติจะเกิดขึ้นมาเอง ๑ นี่เกลือเป็นหนอนนะ

ถ้าเกลือ สิ่งที่เกลือใช้ถนอมอาหาร สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์มากเลย ในทางโวหารเขาบอก “เกลือเป็นหนอน” หมายถึงว่าสิ่งในสังคมนั้นมีคนๆ หนึ่งทำลายสังคมนั้น ว่า “เกลือเป็นหนอน” นั้นคือเขาทำลายสังคมนะ

แต่ขณะที่ว่า “เกลือเป็นหนอนของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ” ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไปตามความเป็นจริง ตามปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มันจะได้ผลขึ้นมาเป็นขั้นเป็นตอนของเขา แต่ถ้าเราบอกว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นเอง เรานอนรอนั่งรอให้สิ่งนี้เกิดขึ้นมา ประพฤติปฏิบัติก็จะให้เป็นไปเอง เห็นไหม “เกลือเป็นหนอน” หมายถึงว่ามันทำลายโอกาสนะ ทำให้มรรคญาณเป็นหนอน เป็นสิ่งที่เน่า การเน่าเฟะไปจนไม่มีโอกาสจะเป็นมรรคญาณขึ้นมาได้เลย

ถ้าสมาธิ ถ้าสติมันเกิดไม่ได้ เราตั้งใจกำหนดพุทโธๆ สิ่งนี้ถ้าเราตั้งสติอยู่ พอเรากำหนดพุทโธ

สติคืออะไร?...“สติคือความระลึกรู้อยู่” นี่คือปริยัติตรงๆ เลย

“สติคือความระลึกรู้” ระลึกรู้กับใจ ระลึกรู้แล้วรู้มาจากไหน?

ธาตุรู้คือตัวจิต “ตัวจิต”

สติ-สมาธิเป็นจิตไหม?..สติ-สมาธิไม่เป็นจิต สติ-สมาธิเกิดจากจิต “เกิดจากจิต”

เวลาเราเพลิน เวลาเรานั่งสบาย เวลาเรามีความสุขของเรา นี่มันล่องลอยไป มันเหมือนคนนั่งเหม่อ คนที่เหม่อลอยมีความสุขจนเพลิดเพลินไปขาดสติ ขาดสติแล้วทำไมจิตมันยังอยู่ล่ะ นี่จิตมันมีอยู่ แต่ขาดสติจะทำให้เหม่อลอย

สิ่งที่ว่าความคิดของเรามันเกิดดับๆ ถ้าเรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ เวลาเราระลึกพุทโธ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกกรรมฐานไว้ ๔๐ ห้อง ถ้าเรานึกพุทโธ ธัมโม สังโฆ สิ่งต่างๆ ถ้าเรามีสติ ความนึกพุทโธจะชัดเจนมาก แล้วมันก็จางไปๆ เราก็ต้องระลึก เราต้องฝึกบ่อยๆ การตั้งสติ ถ้าเป็นการตั้งสติคือการฝึกสติ

ถ้าไม่มีการตั้งสติ มันก็เหมือนสักแต่ว่า เหมือนกับวัตถุอันหนึ่ง เช่น เวลาทำสมาธิเห็นไหม สิ่งที่สมาธิ ทำความสงบของใจ ถ้ามันขาดสตินะ มันตกภวังค์ไป เหมือนกับวัตถุก้อนหนึ่ง เหมือนก้อนหิน เหมือนสิ่งต่างๆ ที่เป็นวัตถุ มันก็อยู่ของมันโดยธรรมชาติของมัน มันไม่มีสติ มันไม่มีความรู้สึกไง แต่จิตมันมีธาตุรู้ ธาตุรู้คือความรู้สึกตัวของมัน แต่ถ้ามันขาดสติมันไป มันก็ทำให้เราเป็นแค่เป็นวัตถุอันหนึ่งเชียวเหรอ

ถ้ามีการมีสติขึ้นมา กำหนดพุทโธๆ นี่สติ ฝึกซ้อมบ่อยๆ เข้า มันจะล้มลุกคลุกคลาน สิ่งที่ล้มลุกคลุกคลานเพราะอะไร เพราะสิ่งนี้กิเลสมันควบคุมหัวใจเราอยู่ คำว่า “กิเลส” คือความปรารถนา คือความต้องการ ความสิ่งต่างๆ สิ่งต่างๆ มันคิดของมันเองไง แต่มันเป็นกิเลสคืออวิชชา คือมันไม่รู้ตามความเป็นจริง มันคาดมันหมาย มันด้นมันเดา มันต้องการสิ่งต่างๆ

พอมันคาดมันหมาย มันด้นมันเดา คือพลังงานมันส่งออกแล้ว พอส่งออกไปมันก็พุทโธๆ พุทโธไปแล้วก็เงียบหายไป นี่แล้วทำทวนกระแส สิ่งที่ทวนกระแส ตั้งสติกลับมา เราตั้งสติ พอนึกพุทโธชัดเจน พุทโธๆ ไปสักพักสติก็หายไป นี่มันจะล้มลุกคลุกคลานอย่างนี้เพราะอะไร เพราะงานการเอาชนะตนเอง เรานี่เราโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น ทุกคนว่าตัวเองมีอำนาจ ตัวเองเป็นคนกล้า จะทำลายคนอื่นตลอดไป จะไปทำใครมันง่ายๆ เดี๋ยวนี้มีอาวุธ จะทำร้ายใครก็ได้ แต่จะทำโดนหรือไม่โดนนี่อีกเรื่องหนึ่ง เพราะมนุษย์ด้วยกันเขาก็มีปัญญาหลบหลีกเหมือนกัน จะระรานใคร จะทำใครได้มันง่ายๆ

แต่จะเอาชนะความคิดของตัวเองนี่แสนยาก เราจะไปคิดระรานเขา แล้วเราจะเอาชนะความคิดที่ระรานเขานี่เราเอาสติที่ไหนมายับยั้งล่ะ เราจะรู้เหตุรู้ผลได้อย่างไร เห็นไหม การจะเอาชนะตัวเองนี่ทวนกระแส การทวนกระแสคือทวนความคิดเข้ามา ขณะที่ทวนกระแสเข้ามา แล้วธรรมชาติของความคิดมันส่งออก มันส่งออกหมายถึงว่ามันจะรู้เรื่องจักรวาล มันจะรู้เรื่องโลก มันจะรู้เรื่องธุรกิจ มันจะรู้เรื่องสิ่งต่างๆ ไปหมดเลย แต่มันไม่รู้ตัวมันเอง เพราะตัวมันเองคือตัวธาตุรู้ไง

แต่ถ้าเราตั้งสติขึ้นมา มันจะย้อนกลับ นี่คำว่าทวนกระแสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทวนกระแสอย่างนี้ไง ทวนกระแสเข้าไปหาหัวใจของเรา ทวนกระแสเข้าไป สิ่งที่ว่าจิตนี้ไม่มีๆ ถ้ามันทวนกระแสแล้วมีสติ ฝึกฝนบ่อยๆ เข้า

นี่ “สติฝึกไม่ได้” มันจะเป็นมรรคได้อย่างไร

สติฝึกได้ ฝึกได้ด้วยการเจตนา เรามีเจตนา

เขาบอกว่า “สติฝึกไม่ได้” เพราะอะไร เพราะถ้าการฝึกสตินี้มันเป็นฝึกสติโดยตัณหา คนเรามีกิเลสไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีกิเลสไหม?...มีทั้งนั้น กิเลสคืออะไร คือตัณหาความทะยานอยากไง แต่ตัณหาความใฝ่ดี ตัณหาคือความใฝ่ดีคือความปรารถนาดี แล้วเราทำสิ่งที่ดีๆ นี่มันเป็นมรรค สิ่งที่เป็นมรรคคือเจตนาที่ดีไง เจตนาที่ดี ถ้ามีการกระทำที่ดี

การกระทำ ทำอันหนึ่งเป็นความชั่ว ทำอันหนึ่งเป็นความดี ในเมื่อทำความดีมันจะผิดไปไหนไง แต่ในเมื่อเกลือมันเป็นหนอน มันบอกว่า “ทำไม่ได้ มันเป็นตัณหา สร้างสติโดยตัณหา มันจะเป็นสติไปไม่ได้ ถึงเป็นไปได้ มันก็เป็นไปแกรนๆ ไง”

เป็นไปแกรนๆ มันเริ่มต้นมันก็ล้มลุกคลุกคลานเป็นธรรมชาติของเขาอย่างนี้ ถ้าล้มลุกคลุกคลานอย่างนี้ เราก็ฝึกสติเข้าไป สติมันสืบต่อ พอสติมันสืบต่อมันก็เป็นขณิกสมาธิ ขนาดสติโดยขั้นสมถะนี่นะ ถ้ามันสงบเล็กน้อย เป็นขณิกสมาธิ เป็นแค่ขณิกะเราก็จะรู้สึกว่า “โอ้! จิตเราสงบเข้ามา” แต่เวลาเมื่อก่อนนั้น เวลาพุทโธๆ เราจะไม่ได้ผลอะไรเลย นั่งพุทโธแล้วเจ็บหลังมาก นั่งพุทโธนี่อึดอัดมาก แล้วทำสิ่งใดไม่ได้เลยเพราะอะไร เพราะกิเลสเราหยาบ

ความต้องการเรื่องกิเลสเรานี่มันขับไส มันมีกำลังมาก พอมีกำลังมาก ทำไมผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ของเราทำไมอดนอนผ่อนอาหารล่ะ ผ่อนอาหารเพื่อจะผ่อนกำลังของกิเลสนี่ ถ้ากิเลสมันมีกำลัง ความคิดมันคิดไปโดยธรรมชาติของมัน มันมีกำลังมาก ถ้าวันไหนเราผ่อนอาหารลง การประพฤติปฏิบัติเราจะดีขึ้น สติจะสมบูรณ์ขึ้นเพราะอะไร

เพราะท้องมันร้องจ๊อกๆ อยู่อย่างนั้นนะ แต่สติมันเด่น สติมันเด่นเพราะอะไร เพราะถ้ามันอิ่ม เรานั่งไปมันจะหลับ แล้วจะสัปงกโงกง่วง เพราะอะไร เพราะในธาตุ กำลังของธาตุขันธ์มันมีเต็มไปหมดเลย นี่มันจะแสดงพลังงานของมัน เหมือนเด็กเลย เด็กพอมันกินอิ่ม มันก็นอนของมันโดยธรรมชาติของมัน พอมันตื่นขึ้นมามันร้องไห้ มันก็จะกินอีก เห็นไหม มันก็เป็นอย่างนี้โดยธรรมชาติของเรื่องของพญามาร เรื่องของวัฏฏะ เรื่องของชีวิตมันเป็นอย่างนี้

ถ้าเราระลึกเชื่อธรรมเห็นไหม แบบที่ว่าหลวงปู่มั่นท่านอยู่ในป่าในเขา ท่านฟังธรรมอยู่ตลอดเวลาก็ฟังธรรมอย่างนี้ไง ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เรานั่ง เราประพฤติปฏิบัติของเราแล้วมันไม่มีเหตุมีผล เราก็ต้องอดนอน อดอาหาร อดอาหารเพื่อให้กิเลสมันเบาลง พอมันหิวขึ้นมา มันหลับไม่ได้ นี่มันหิว สติมันก็พร้อมขึ้นมา หิวหมายถึงว่าธาตุขันธ์ ธาตุมันไม่มีกำลัง แต่หัวใจมันไม่ใช่กระเพาะ มันไม่ใช่ธาตุขันธ์

ในเมื่อสิ่งที่หิวคือไม่มีกำลังไปกด มันก็ผ่องใส กำหนดพุทโธๆ นี่ขณิกสมาธิ สติส่วนหนึ่ง ถ้าส่วนหนึ่งนี่มันคลายออก พอคลายออกเราจะเห็นเลย สิ่งที่เป็นสมาธิมันเกิดจากอะไร ถ้าไม่มีสติ มันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร ขณะที่เรานั่งหลับ “พุทโธๆ” แล้วหายไปตกภวังค์ไป มันไม่ได้อะไร นี่สติมันไม่มีไง “สติขาด” การกระทำของเราก็สักแต่ว่าทำ แต่สติเราสืบต่อ สืบต่อจนจิตนี้มันสะสมพื้นฐาน เพราะกำหนดพุทโธสะสมเข้าไป

ครูบาอาจารย์บอกว่านึกถึงพุทโธ เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง พุทโธทีหนึ่ง ก็องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซับซ้อนๆ ลงไปที่หัวใจของเรา เราระลึกถึงพุทโธๆ ซับซ้อนจนเป็นขณิกสมาธิ แล้วถ้าเรามีสติ แล้วเรามีความใคร่ครวญมีความไตร่ตรอง เราทำอย่างไรให้มันละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปเป็นอุปจารสมาธิ สิ่งที่เป็นอุปจารสมาธิคือละเอียดลึกซึ้งลงไป หมายถึงว่าสิ่งที่ความลึก ความลึกไง ความลึก-ตื้นไง ลึกกับตื้นต่างกัน

ขณิกสมาธินี่จิตลงได้ตื้นๆ ระดับนี้ พออุปจารสมาธิจิตมันก็ลงไปให้ลึกลงไปอีก สิ่งที่จะลึกลงไปอีก เอาอะไรควบคุมมันให้มันลึกลงไปล่ะ?...ก็สติไง สตินี้ ขณิกะกับอุปจาระ สติก็มีระดับต่างกันแล้ว แล้วขนาดที่ว่าพุทโธๆ ไป พอถึงสติ พออุปจารสมาธิ ถ้าคนมีอำนาจวาสนานะ มันจะออกรับรู้สิ่งต่างๆ จะไปเห็นสิ่งต่างๆ เห็นนั่นน่ะ เห็นเพราะเหตุใด เห็นเพราะขาดสติ เพราะมันส่งออกไป

แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ ขณะที่จิตสงบเข้ามา มันจะไม่เข้าใจการรักษา การรักษาว่าควรจะถนอมรักษาจิตอย่างไร พอไปเห็นสิ่งใด มันเห็นเข้าไปแล้วมันก็ไปสงสัย “อันนั้นคืออะไร เห็นนี้เป็นอย่างไร จิตเราทำไมถึงเห็นอย่างนี้” นี่ความสงสัยเกิดขึ้นมามหาศาลเลย เพราะอะไร เพราะผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ กิเลสในหัวใจมันมีมาก มีมาก มากเหลือเกินเพราะอะไร เพราะตั้งแต่หลานของกิเลส เหลนของกิเลส ลูกกิเลส พ่อกิเลส ปู่กิเลส มันจะเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปนะ เพราะอะไร เพราะจิตเรานี่เกิดตายๆ ไม่มีต้นไม่มีปลายนะ บุพเพนิวาสานุสติญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนอดีตชาติไปไม่มีที่สิ้นสุด แล้วจิตทุกดวงจะเป็นอย่างนี้ ในเมื่อจิตทุกดวงเป็นอย่างนี้ มันมีสิ่งที่ซับซ้อนมาแล้วเราไปเห็นสิ่งต่างๆ นี่มันซับซ้อนมา มันเป็นเรื่องแก่นของกิเลสนะ มันถึงเกิดความลังเลสงสัย

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติมันเห็น เห็นสิ่งต่างๆ เห็นสิ่งที่มันออกไปเห็นนิมิต เราถึงต้องดึงกลับมา เพราะขั้นของอุปจารสมาธิ นี่วงรอบของจิต จิตมันจะออกไปอย่างนั้น ถ้าขาดสติมันจะออกไปรับรู้ แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์หรือเราประพฤติปฏิบัติเห็นว่าขณะที่มันส่งออกไป พลังงานนี้ใช้แล้วมันก็จะเสื่อมออกไป เราต้องตั้งสติใหม่

อยู่กับสติ อยู่กับผู้รู้ ถ้าอยู่กับสติอยู่กับผู้รู้ กำหนดพุทโธบ่อยครั้งเข้า มันก็จะดึงกระแสที่จิตมันส่งออกไปเห็นสภาวะต่างๆ กลับมาอยู่ที่ฐานของเขา อยู่ที่ฐานของตัวเอง กลับมาเป็นความสงบ แล้วเราก็กำหนดพุทโธต่อไปเรื่อยๆ ให้มันมีพลังงานส่งเข้าไปทวนกระแสกลับเข้าไปถึงตัวจิต ถ้ากลับเข้าไปถึงตัวจิต ถ้าเราสติเราสมบูรณ์ขึ้นมา มันจะลงเป็นอัปปนา อัปปนาสมาธิ เห็นไหม จิตพุทโธๆ เข้าไป มันจะเข้าไปทุกวินาทีทุกคำว่าพุทโธ สติจะพร้อมหมด สิ่งที่พร้อม ละเอียดเข้าไปมาก จนขนาดว่าลมหายใจขาด สิ่งที่ลมหายใจจะเริ่มเบาลง ขาดออกไป ความรู้สึกในอายตนะ ปล่อยวางหมด มันจะปล่อยวางความรู้สึกนะ “ตา หู จมูก ลิ้น” สิ่งที่หู เสียงก็ไม่ได้ยิน มันจะเริ่มเบาลง แต่สติไม่ขาด

ถ้าสติขาด มันเข้าอัปปนาไม่ได้ “สติ” สติขาดนะ มันจะตกภวังค์ มันจะไม่เข้าอัปปนา ถ้าเข้าไปอัปปนาสมาธิ มันจะปล่อยไปเป็นสิ่งที่อายตนะปล่อยความรู้สึกทั้งหมด เป็นสักแต่ว่ารู้

สติมันต่างกัน ขั้นของสมาธินี้สติก็ต่างกัน

สติหยาบ-ละเอียดต่างกันมหาศาลเลย แค่สมถะนะ

สิ่งที่เป็นสมถะ แล้วว่าสติฝึกไม่ได้...ฝึกไม่ได้มันเกลือเป็นหนอน มันทำอาหารไม่เป็น มันเข้าไม่ถึงธรรม ถ้าเข้าถึงธรรม “สติฝึกได้ สติต้องฝึก” ถ้าขนาดที่ว่า สติ ความต่างกันของขั้นสมถะ มันยังมีต่างกันขนาดนี้

แล้วเวลาวิปัสสนาเข้าไปนะ ถ้าขณะเรายกวิปัสสนา สติ-ปัญญา มหาสติ-มหาปัญญา แล้วสติอัตโนมัติมันจะเป็นอย่างไร นี่สติมันจะฝึกขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนเลย นี่สติสำคัญมาก ถ้าเราขาดสติ สิ่งที่เราทำทำไปสักแต่ว่าทำ ถ้าสักแต่ว่าทำนะ นี่เกลือเป็นหนอน เพราะสตินี่คือเกลือ เกลือคือรักษาจิตไว้ไง ไม่ให้เราตกภวังค์ ไม่ให้เราฟุ้งซ่านไปต่างๆ นี่ขั้นของศรัทธาจริตนะ

แล้วถ้าเกิดถ้าเป็นพุทธจริต ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ สติยิ่งสำคัญใหญ่เลย สติมันจะคุมไปตลอด ถ้าขาดสติ...มันไปแล้ว คิดไปตามโลกๆ ไง โลกคือโลกียะ คือความคิดธรรมชาติของจิต จิตนี้ธรรมชาติของใจเป็นผู้คิด เพราะมีความรู้สึก อันนี้มันจะคิดไปโดยธรรมชาติของมัน มันจะขับไสไปของมันธรรมชาติของมัน ถ้าเราไม่มีสติ เราไม่ตั้งใจของเรา สิ่งนี้จะกวนใจมาก กวนใจ เห็นไหม พยายามจะทำกำหนดกรรมฐานโดยกำหนดพุทโธมันก็ไม่ลง สิ่งที่ไม่ลงนะ แล้วมันก็ต่อต้าน มันมีพลังขับไสของมัน สิ่งนี้มันเป็นพลังของเขา เป็นพลังของกิเลส

ถ้าเราทำอย่างนี้ไม่ได้ ทำไปแล้วมันมีการเครียด มันมีสิ่งต่างๆ เราถึงใช้ปัญญาอบรมสมาธิ

ในเมื่อความคิดมันมีอยู่ ในเมื่อสิ่งนี้มันมีอยู่ เหมือนกับกำปั้นทุบดิน เรายืนอยู่บนแผ่นดินนะ การก่อสร้างการสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ต้องสร้างอยู่บนแผ่นดินนี้ นี่ก็เหมือนกัน เรามีความรู้สึก เรามีจิต จิตตัวนี้มันเป็นความรู้สึกแล้วมันคิดอยู่ ความคิดเกิดจากจิต แล้วความคิดเกิดจากจิต มันคิดออกมาแล้วมันก็ให้ความฟุ้งซ่านกับเรา ไม่ให้เป็นประโยชน์กับเรานะ ความคิดอย่างนี้มันเป็นความคิดแบบโลกๆ

ความคิดแบบโลกๆ คือความคิดแบบวิชาชีพเป็นหน้าที่การงานของเรา เรามีหน้าที่การใดก็แล้วแต่ ความคิดมันจะบอกว่าประสบการณ์ของเรา มีความชำนาญการของเรา ผู้ที่ผ่านเป็นผู้ชำนาญการเขาจะมีผ่านประสบการณ์มามาก ผู้ชำนาญการเขาก็จะอบรมผู้ที่ฝึกใหม่ขึ้นมา นี่เขาจะส่งต่อๆ กันไป งานของโลกสร้างไม่มีวันจบ ตายแล้วเกิดมาใหม่ก็ยังต้องมาทำงานต่อไปนะ เพราะคนเกิดมามีปากและมีท้อง

สิ่งต่างๆ นี้เป็นอนิจจัง สิ่งสร้างไว้สิ่งใดต้องคอยบำรุงรักษา เพราะมันเสื่อมสภาพ มันเป็นธรรมชาติของมัน นี่คือเรื่องของโลก แล้วความคิดมันก็เป็นเรื่องของโลกไง มันเป็นโลกียปัญญา ความคิดอย่างนี้มันคิดเกิดดับ มันมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน แล้วถ้าความคิดอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องคิดเรื่องโลกๆ แล้วมันจะให้ผลอะไรกับเรา

แต่ถ้าเราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่ว่าเป็นปัญญาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ เอาปัญญาออกหน้า ถ้าเป็นปัญญาออกหน้า “มีสติ” ถ้ามีสติ ความคิดสิ่งใดให้คิดไป สติตามไป สติตามความคิดนี้ไป ถึงโดยสัจจะโดยข้อเท็จจริงของเขา เกิดความคิดเกิดดับในหัวใจ มันเป็นธรรมชาติของมัน แต่เพราะเราไม่เคยสนใจเรื่องการประพฤติปฏิบัติ เราสนใจแต่หน้าที่อาชีพการงาน พอเราสนใจอย่างนี้ เราก็ความคิดนี้เป็นความคิด เวลาความคิดเกิดขึ้นมา เราต้องคิดเพราะเราจะมีปัญญามาก แล้วเราจะมีความรู้ต่างๆ ขึ้นมาเพราะเกิดจากความคิด ความคิดอย่างนี้ ถ้าเป็นหน้าที่การงานจะเป็นประโยชน์ นั้นอีกเรื่องหนึ่ง ขณะที่ทำงาน ขณะที่เรามีหน้าที่การงาน เราก็คิดของเราเป็นวิชาชีพของเรา

แต่ขณะที่เราจะประพฤติปฏิบัติไง นี่งานของโลกคืองานประจำอาชีพ งานของธรรมคืองานประจำให้หัวใจมันผ่องแผ้ว ถ้าหัวใจผ่องแผ้ว เราต้องหยุดความคิด ขณะที่หน้าที่การงานต้องคิดต้องมีสติเพื่อให้งานนั้นสมบูรณ์ ขณะที่เราจะประพฤติปฏิบัติ เพราะเราต้องแบ่งเวลา แบ่งเวลาสำหรับว่าเราจะเอาตัวรอด เราก็ต้องมีสติ ถ้ามีสติตามความคิดนี้ไป ตามความคิดนี้ไป ความคิดมันจะเริ่มอ่อนลง เพราะเหมือนกับเมื่อก่อนสัตว์มันหากินของมันโดยธรรมชาติของมัน แต่สัตว์ปัจจุบันนี้มันมีเชือกผูก แล้วมันผูกกับสิ่งที่เป็นผู้เป็นเจ้าของ สติเป็นผู้เป็นเจ้าของไง

ถ้าสติเป็นผู้มีเจ้าของเห็นไหม เชือกนี่เราสาวมา เราจับเราสาวขึ้นมา สาวมา มันต้องถึงตัวสัตว์ที่เราผูกไว้ นี่ก็เหมือนกัน ความคิดเหมือนสัตว์ที่มันดิ้นรนไป แต่สติมันควบคุมไป นี่สติมันฝึกได้ แล้วฝึกเห็นชัดเจนด้วย ชัดเจนที่ว่าขณะที่ว่าเราคิดก็ตามความคิดไป สาวกับสตินี้ไป ถึงตัวสัตว์แล้ว เราตามรอยโคไปถึงตัวโค มันต้องถึงตัวจิตแน่นอน ถ้าถึงตัวจิตมันก็ปล่อย ปล่อย พอปล่อย นี่ฝึกฝนบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้านะ จนขนาดที่ว่าความคิดจะเกิดรู้เท่าหมดนะ

ถ้าความคิดเพราะอะไร เพราะความคิดมันเกิดจากเรา ความคิดมันเหมือนกับสิ่งที่กระเพื่อมไง ถ้าแก้วน้ำมีน้ำอยู่ ถ้ามันสั่นไหว น้ำในแก้วนั้นต้องกระเพื่อม นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อความคิดมันเกิดขึ้น มันทำให้หัวใจมีอารมณ์ความรู้สึก มันมีความรับรู้ ถ้ามีความรับรู้ สติมันก็พร้อม พอสติมันพร้อมขยับออกมามันก็รู้ทัน นี่ความคิดเกิดไม่ได้ นี่เป็นสมาธิได้

ถ้าเป็นสมาธิเห็นไหม เราจะทำอาหาร ถ้าเราทำสักแต่ว่า เราทำสิ่งที่เป็นงานไม่ชอบ

สิ่งที่งานชอบเห็นไหม จิตสงบแล้ว มีความฝึกฝน มีความชำนาญ ถ้ามีความชำนาญ สมาธินี่รักษาได้ สมาธิเป็นเอกัคคตารมณ์ สมาธินี่ตั้งมั่น แล้วบอกว่า “จิตนี้เป็นนามธรรมแล้วจับต้องไม่ได้ จิตนี้เป็นนามธรรมแล้วจับต้องไม่ได้”...จับต้องไม่ได้เพราะขาดสติ เพราะขณะกำหนดนามรูปต่างๆ กำหนดสิ่งใดต่างๆ กำหนดแล้ว กำหนดความรู้สึกไป พอความรู้สึกหายไปก็หายไปหมดเลย หายไปเพราะมันขาดสติไง เห็นไหม นี่“เกลือเป็นหนอน” เป็นหนอนเพราะอะไร

เพราะสิ่งที่จะถนอมอาหารนั้นถนอมไว้ไม่ได้ แค่สติควบคุมใจเพื่อจะให้สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อาหารที่เราถนอมไว้เห็นไหม เกลือ สติควบคุมใจ มีความชำนาญการบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า จิตนี้ตั้งมั่นได้ พอจิตนี้ตั้งมั่น ถ้ามีอำนาจวาสนา...น้อมไป น้อมไปกาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธินะ ส่วนใหญ่แล้วมันจะน้อมไปที่กายโดยธรรมารมณ์ หรือน้อมไปที่จิต

ถ้าน้อมไปที่จิต เห็นไหม น้อมไปที่...ต้องสังเกต สังเกตจับให้ได้ ถ้าจับตัวจิตได้ ความรู้สึกจริงว่าที่เป็นนามธรรม นามธรรมจับต้องไม่ได้อย่างไร จับต้องได้ เพราะมันเป็นรูป มันเป็นความคิด ความคิดนี่จับต้องเป็นรูปเลย เหมือนกับทางหมอที่เขาวิเคราะห์โรค เขาวิเคราะห์โรค เขาต้องรู้เชื้อโรค เขาต้องเห็น เขาเข้าใจเรื่องเชื้อโรค เชื้อโรคนี่เกิดจากสิ่งใด

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจับตัวจิตได้ ตัวจิตมันเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันมีอาการส่งต่อ มีการสืบต่อ มีความสัมพันธ์กัน ถ้ามีสัมพันธ์ “เกิด” เกิดอย่างไร ความคิดเกิดอย่างไร ความคิดเกิดจากสัญญา สัญญาคือข้อมูล ข้อมูลของใจ สังขารปรุง สิ่งที่สัญญารับรู้สิ่งนี้แล้วส่งต่อ สัญญาส่งต่อให้สังขาร สังขารปรุงส่งต่อให้เวทนา เวทนาส่งต่อให้วิญญาณ ส่งต่อเกิดดับๆ แล้วถ้าละเอียดเข้าไป ในตัวเวทนามันก็มีพร้อมทั้งหมด ไม่อย่างนั้นมันรับรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างไร

สิ่งที่รับรู้นี่เห็นไหม ถ้าการงานอย่างนี้เกิดขึ้นมาจากไหน ก็เกิดขึ้นมา จิตที่ว่าเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้นี่ไง ถ้าจับต้องไม่ได้ เราจะวิปัสสนาอย่างไร จับต้องไม่ได้ เราเอาสิ่งใดไปวิปัสสนา นี่มันถึงว่าถ้าเกลือเป็นหนอนนะ มันเสียหาย มันเสียหายไปหมด มันไม่เป็นประโยชน์กับการประพฤติปฏิบัติเลย

ในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่มีครูมีอาจารย์อย่างน้อยเสียเวลา เสียเวลาเพราะอะไร เพราะเราพยายามทดสอบค้นคว้าด้วยความรู้สึกของเรา ถ้าความรู้ของเรา กิเลสมันบอกว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นสภาวธรรมอย่างนี้ แล้วเราเข้าไปเชื่ออย่างนี้ เราปฏิบัติเข้าไปมันก็จะซ้ำรอยๆ อยู่อย่างนั้น คือการติดไง นี่อย่างน้อยติดนะ สิ่งอย่างมากถึงกับทำให้เราเสียหายไปได้ นี่ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำสิ่งนี้นะ ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยชี้นำไง อะไรที่มันฝึกไม่ได้ อะไรที่มันทำขึ้นมาไม่ได้

คนเราเกิดมาต้องตายทั้งหมด ตายพร้อมกับกิเลส พอตายไปพร้อมกิเลส ต้องเกิดอีก ต้องมีความทุกข์ยากไง แต่ถ้าการประพฤติปฏิบัติถึงที่สุด กิเลสตายในปัจจุบันนี้ นี่มันตายจากปัจจุบัน เราเห็นการกระทำของจิตนี้ “กิจจญาณ สัจจญาณ” มันเกิดจากใจของเรา ถ้ามันเกิดจากใจของเรา สิ่งนี้มันถึงเป็นมรรคไง เพราะอะไร เพราะมันต้องมีปัญญา สิ่งที่ปัญญาเกิดจากไหน เกิดจากสิ่งที่จิตที่สงบนี้ แล้วมีสติพร้อมขึ้นมาแล้วน้อมไปวิปัสสนา นี่จะ “ถึงธรรม”

ถ้าถึงธรรมต้องมีการกระทำ เห็นไหม เราจะต้มยำ เราจะทำสิ่งอาหารต่างๆ เราต้องให้ถึงเครื่องนะ สิ่งที่เป็นเครื่อง “ปัญญาชอบ เพียรชอบ งานชอบ” ถ้าสิ่งนี้ถึงเครื่องนะ อาหารนั้นจะเป็นอาหารขึ้นมา “ธรรมรส” ถ้ามรรคญาณมันเกิดไม่ได้ มันจะไปทำลายกิเลสได้อย่างไร ถ้ามันทำลายกิเลสไม่ได้ สิ่งที่ทำลายกิเลสไม่ได้ก็เราทำสักแต่ว่าไง ไม่ถึงธรรมหรอก ไม่ถึงธรรมแล้วยังการสิ่งที่เป็นสติก็เป็นเกลือเป็นหนอน เพราะมันจะล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนี้ แล้วมันเจอสิ่งต่างๆ แล้วมีความเชื่อของกิเลสอีกด้วยนะว่าจิตนี้เป็นนามธรรมแล้วจับต้องไม่ได้

ดูสิ เครื่องบินมันบินไปบนอากาศ นี่เครื่องบินไม่มีเหรอ ยานอวกาศนะ เอาสิ่งต่างๆ ส่งขึ้นไปในอวกาศ มันยังมีได้ มันยังเป็นไปได้ แล้วตัวจิตตัวที่จะเป็นวิปัสสนา ตัวที่จะไปค้นคว้า ถ้าเอาสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ไม่มีแล้วจะเอาอะไรไปค้นคว้าล่ะ มันก็เป็นสิ่งที่ว่าต้องปฏิเสธว่า “ยานอวกาศก็ไม่มี เครื่องบินก็ไม่มี บนอากาศนี้สิ่งต่างๆ บินขึ้นไปไม่ได้”

แม้แต่นกนะ เป็นธรรมชาติของนกเลย นกมันอยู่บนอากาศ มันบินของมันได้ เพราะเป็นธรรมชาติของมัน เป็นเรื่องธรรมดา จิตก็เหมือนกัน ในเมื่อเรามีความรู้สึกอยู่ เรามีความทุกข์อยู่ สิ่งต่างๆ นี้มันเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยธรรมชาติของมนุษย์ แล้วเรามีความสงบเข้าไปมันจะเห็น มีความเห็นเป็นเรื่องของโลกุตตรธรรมไง

แต่เดิมสิ่งนี้เป็นโลกียธรรม เพราะเป็นสัญชาตญาณของสิ่งมนุษย์ที่ว่าเป็นภาษา เป็นความสื่อ เป็นสติ สติสั้น-สติยาว สิ่งที่มันเป็นอำนาจวาสนา เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์ แต่ถ้ามีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เป็นกลาง ศีลธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกมีอยู่แล้ว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว แล้วเผยแผ่ธรรม ท่านไม่เลือกชาติเลือกตระกูลหรอก เพราะสิ่งที่ว่าเกิดเป็นมนุษย์มีหัวใจ แล้วก็มีร่างกายเหมือนกัน

สิ่งที่มีร่างกายเหมือนกัน ภาษาบาลี สิ่งนี้เป็นภาษากลาง แต่ขณะที่จะเทศนาว่าการแล้วแต่ชนเผ่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการจะพยายามพูดให้เขาเข้าใจ สิ่งที่พยายามพูดให้เขาเข้าใจคือต้องการย้อนกลับเข้ามาให้เขาตั้งต้นที่จิตของเขา ถ้าเขาตั้งต้นที่จิตของเขา เขาจะมีสติขึ้นมา นี่สติมันเกิดแล้ว ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการจะจี้เข้าไปในกลางหัวใจ เหมือนกับหงายภาชนะที่คว่ำไว้ ยอมรับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขณะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการเหมือนกับฝนฟ้าตก ถ้าผู้ที่ไม่มีศรัทธาความเชื่อก็คว่ำภาชนะของตัวเองไว้ ฝนตกขนาดไหน เขาก็จะไม่ได้ประโยชน์ของเขาเลย แต่ถ้าผู้ที่มีศรัทธามีความเชื่อ หงายภาชนะของเราขึ้นมา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ มันจะแทงเข้ามาที่หัวใจไง มันสะเทือนหัวใจมาก สะเทือนหัวใจมากเพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เราลังเลสงสัย สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ยอกหัวใจเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นสิ่งที่กัดหนองอยู่ในหัวใจเราเลย

ถ้ากัดหนองอยู่ในหัวใจของเรา เราจะทำอย่างไรให้สิ่งนี้มันพ้นออกไปจากใจของเราให้ใจของเรามีความบริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใจของเราเอง ถ้าไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใจของเราเอง นี่ไง เริ่มต้นจากตั้งสติ แล้วกำหนดพุทโธหรือเป็นปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา เพราะสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการหรือเป็นผู้ชี้ทางนี้ นี่คือภาพ นี่คือธรรมและวินัย

แต่ถ้าการประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา นี่สมาธิก็เกิดจากใจ สติก็เกิดจากใจ ปัญญาก็เกิดจากใจ สิ่งต่างๆ เกิดจากใจทั้งหมด เพราะคนตายแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สอน เพราะตายแล้วโอกาสของเขาไม่มี จะไปเทศน์ให้ซากศพฟัง ซากศพเขาไม่รับรู้อะไรกับเราหรอก เพราะจิตมันออกจากร่างไปแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้ เสียงกระทบหูขึ้นมา นี่โสตวิญญาณเกิดแล้ว สิ่งที่โสตวิญญาณเกิดขึ้นมานี่สะเทือนหัวใจไหม ถ้าสะเทือนหัวใจ เรามีโอกาส ถ้าเรามีโอกาส เราจะตั้งสติของเราไหม เราจะพยายามให้สตินี้สืบต่อให้สตินี้พัฒนาขึ้นไป

แค่ผลของสมถะ “ขณิกะ อุปจาระ อัปปนา” สติ สติก็ความเห็น เพราะใครเข้าถึงอัปปนาสมาธิจะเห็นสติของเรามันสักแต่ว่ารู้ มันละเอียดอ่อนมาก มันปล่อยวางกายทั้งหมดโดยขั้นของสมถะนะ เพราะจิตมันไม่รับรู้ จิตมันไม่รับรู้เลย อยู่ในกาย กายนี่นั่งเหมือนกับก้อนหินเลย จิตสักแต่ว่าอยู่ภายใน มันละเอียดลึกซึ้งมาก แต่สิ่งนี้วิปัสสนาไม่ได้

เวลาคายตัวออกมามันถึงย้อนไปที่กาย เวทนา จิต ธรรม นี่ขั้นของการวิปัสสนาคือขั้นของอุปจารสมาธิ ที่สมาธิที่ออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ เวลาเข้าขั้นของอุปจาระจะเห็นนิมิตต่างๆ แต่เราต้องน้อมไปที่กาย สิ่งที่น้อมไปที่กาย เพราะเข้าถึงกับจิตนี้มีกำลังมันจะเห็นเรื่องของกายนี้ ถ้าเห็นเรื่องของกายนี้ เราต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญแยกแยะสิ่งต่างๆ ให้เห็นสภาวะต่างๆ ให้เป็นไตรลักษณะ ถ้าพิจารณาจิต พิจารณาปัญญาวิมุตติ เห็นไหม พิจารณากายก็ใช้ปัญญาใคร่ครวญไป

นี่ไง เราทำ เราใช้พยายามใช้สติใช้ปัญญาของเราให้ถึงที่สุด ถึงที่สุดคือการเราประกอบอาหารด้วยเครื่อง ด้วยสิ่งที่มรรคญาณ มรรค ๘ มันจะต้องถึงเครื่องของมัน มันต้องทุ่มทั้งสุดความสามารถของเรา เพราะกิเลสมันจะต่อต้านตลอด กิเลสมันจะมีแก่นของมันอยู่ตลอดเวลา เพราะมันต่อต้านเข้ามา เราถึงจะต้องใช้ความปัญญาของเรา ต้องใช้ความพากเพียร ความบากบั่น ขณะที่มันวิปัสสนาไปมันจะปล่อยขนาดไหน ปล่อยแล้วถ้าวิปัสสนาไม่ได้ หมายถึงยกขึ้นเห็นกายไม่เห็นกายก็ต้องกลับมาที่สมถะ

อะไรเป็นสมถะ?...สมถะคือฐานของจิต ถ้าฐานของจิตมีกำลัง สิ่งที่เรามีกำลัง คนจะทำงานต้องมีกำลัง คนอ่อนเพลียมาต้องนอนพักก่อน ขณะที่เราทำความสงบ พุทโธๆ เราอย่าคิดว่าเสียเวลานะ คนเราทำงานโดยไม่พักผ่อนคนนั้นอยู่ไม่ได้หรอก คนเราทำงานต้องมีการพักผ่อนเพื่อให้มันมีความสดชื่น ให้มีกำลังขึ้นมาทำงานต่อไป ถ้าทำงานต่อไป เราทำงานต่อไป เราพยายามทำของเรา งานของเราต้องประสบความสำเร็จเพราะเราจงใจ เราจงใจทำแล้วเรามีสติทำ สิ่งนี้เราพยายามทำของเรา นี้เป็นหน้าที่การงานนะ

ในการวิปัสสนาก็เหมือนกัน ขณะที่วิปัสสนามันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยคืองานนั้นจบกระบวนการอันหนึ่งมันจะมีความสุขของเขา แต่สิ่งที่จะถึงที่สุดคือความสมดุลของเครื่อง “ถึงธรรม” มันจะมีอาการของเขา ถ้าไม่มีอาการถึงธรรมอันนี้ เราจะต้องทำบ่อยครั้งเข้า

เหมือนกับเราไปฝึกทำครัวทำอาหาร ตั้งแต่เก็บผักเก็บหญ้า ตั้งแต่เราทำความสะอาด หั่นเนื้อหั่นต่างๆ ทำอย่างไร การผสมอย่างไร การทำอย่างไร ฝึกฝน ฝึกฝนนี่อยู่ที่การกระทำของเรา นี่เพียรชอบ ถ้ามีความเพียรชอบ เรามีความอดทน มีขันติบารมี การกระทำของเราจะเป็นประโยชน์ขึ้นมา ไม่ใช่ทำหนสองหนแล้วก็น้อยเนื้อต่ำใจ “เราทำแล้วไม่มีวาสนา เราทำแล้วมีแต่คนเขาไม่ให้มีความส่งเสริมเรา” นี้คือการงานข้างนอกนะ แต่หัวใจก็เป็นอย่างนี้

หัวใจเวลาทำไป มันไม่สมความปรารถนา ทำไปแล้วล้มลุกคลุกคลานมันจะมีความน้อยเนื้อต่ำใจ ขณะน้อยเนื้อต่ำใจ อยู่กับครูบาอาจารย์ท่านจะให้กำลังใจนะ ดูสิ ขนาดครูบาอาจารย์ท่านก็ล้มลุกคลุกคลานมาอย่างเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านล้มลุกคลุกคลานมามากกว่าเรานะ ขนาดว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ขนาดที่ว่าปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “การทำความเพียรที่อุกฤษฏ์เท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ไม่มี” ขณะที่ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว โลกธรรม ๘ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดนสิ่งต่างๆ นี่มหาศาลเลย นี่คือผู้นำ ชีวิตของผู้นำ ชีวิตของผู้ที่รื้อสัตว์ขนสัตว์

แล้วเราเป็นผู้เดินตาม สิ่งที่ถนน สิ่งในพื้นที่นั้นมีผู้ก้าวเดินออกไปข้างหน้า เราแค่เดินตามเท่านี้ ทำไมเราถึงทำไม่ได้ ถ้าเราเดินตามอย่างนี้ สิ่งนี้มีอยู่ ยืนยันได้ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ครูบาอาจารย์ของเรา สิ่งที่กระทำมาอย่างนี้ ถ้าครูบาอาจารย์ของเราไม่รู้สิ่งนี้ จะเอาสิ่งนี้ออกมาสอนเราได้อย่างไร ในเมื่อออกมาสอนเรานะ สอนเราให้ประพฤติปฏิบัติ สอนนั้นคือปริยัติ

“การฟัง” ฟังของครูบาอาจารย์เข้ามา สิ่งที่ฟังธรรม สิ่งที่ฟังธรรมภาคปฏิบัติฟังธรรมคือสิ่งที่ใจดวงหนึ่ง ใจของครูบาอาจารย์จะเข้าใจเรื่องของกิเลส เพราะกิเลสมันเกิดจากใจทุกๆ ดวง สิ่งที่เกิดมาในมนุษย์มีกิเลสทั้งนั้น แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฆ่ากิเลสๆ ฆ่ากิเลสมา ฆ่ากิเลสด้วยมรรค ๘ เห็นไหม มรรค ๘ สติชอบ เพียรชอบ งานชอบ สิ่งนี้ฝึกฝนขึ้นมา ถ้าไม่ฝึกฝนขึ้นมา รอให้มันเกิดเอง สิ่งที่มันจะเป็นไปเองโดยธรรมชาติของมันอย่างนี้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก

สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่เพราะเราไปเชื่อ เราไปเชื่อกิเลสของเรา แล้วเราไปเชื่อสิ่งที่ว่าครูบาอาจารย์พาออกนอกลู่นอกทาง เราไปเชื่อสิ่งนั้นไม่ได้นะ ถ้าเราไปเชื่อสิ่งนั้น สิ่งนี้มันเป็นการยืนยัน ยืนยันว่าถ้ามรรคไม่ครบ ๘ มรรคไม่เป็นไปตามสัจจะของความเป็นจริง มันจะเป็นงานขึ้นมาได้อย่างไร

๑. ขณะที่เป็นงานขึ้นมาแล้ว ถ้ายังทำสิ่งที่ว่าไม่ถึงธรรม คือทำโดยที่ว่าไม่มีความอดทน ทำที่ด้วยไม่มีเจตนาเต็มที่ขึ้นไป เห็นไหม ฝึกฝนจนอินทรีย์แก่กล้า ความรู้ความเห็นของใจมันจะมีสถานะรองรับคือมันพัฒนาของมันขึ้นมา

ขณะทำความสงบของใจ ถ้าเรามีความชำนาญของเราขึ้นมานี่ตั้งสติ สิ่งที่ตั้งสติ ทำบ่อยครั้ง นายช่างเขาสร้างบ้านสร้างเรือน เขาทำบ่อยครั้งเข้า เขายังมีความชำนาญเลย แล้วเรา เราเป็นนายช่าง เราจะสร้างธรรมขึ้นมาในหัวใจของเรา แม้แต่ต้นไม้ เขาจะมาเลื่อยมาไสของเขา เขายังมีวิธีการทำของเขา ผู้ที่ชำนาญการนี่เขาสั่งได้เลยว่าจะให้ล้มไปทางไหน เขามองแล้วเขาสามารถควบคุมได้นะ

นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อล้มลุกคลุกคลานอยู่ เราจะทำอย่างไรให้มันตั้งมั่นขึ้นมา ให้มีความเห็นของใจขึ้นมา นายช่างผู้ที่จะสร้างเรือนขึ้นมาในหัวใจ ถ้าใครทำความสงบของใจได้ มีที่พักที่อาศัย ถ้ามีที่พักที่อาศัยมันก็ร่มเย็นขึ้นมา แล้วฝึกฝนบ่อยครั้ง...เป็นไปได้ทั้งนั้นล่ะ ถ้ามีการกระทำมีสติต้องเป็นไปได้

สิ่งที่เป็นไปได้เห็นไหม ในเมื่อเรายังมีลมหายใจเข้าและลมหายใจออกอยู่ ถ้าคนที่ตายแล้วต่างหากเขาถึงหมดโอกาส “ในเมื่อเรายังมีลมหายใจอยู่” เรามีลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก เราไม่หายใจเข้าและออกทิ้งเปล่าๆ เราหายใจเข้าและหายใจออกด้วยมีสติ ด้วยมีความมุมานะของเรา แล้วเราพัฒนาของเราขึ้นมา จนกว่ามันจะวิปัสสนาไป ปล่อยวางขนาดไหน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ จนถึงเป็นสัจจะความจริงของมัน สิ่งที่สมดุลกับมัน สิ่งที่สมดุลกับมัน

ความเห็น แล้วบอกว่า “จิตนี้เป็นนามธรรม จิตนี้จับต้องไม่ได้”...แล้วมันจะรู้ได้อย่างไรว่ากิเลสขาด เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “กิเลสขาดดั่งแขนขาด” ดั่งแขนขาดก็กิเลสมันอยู่ที่ใจ แล้วมันตัดขาดออกไปจากใจ มันตัดขาดสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสออกไปจากใจ ในเมื่อมันตัดที่ใจด้วยมรรคญาณของใจดวงนั้น สิ่งที่เป็นมรรค เป็นภาวนามยปัญญาในหัวใจนี้ มันรวมตัวแล้วสมุจเฉทปหานจิต กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ปล่อยวางมาก นี่จิตหลุดออกไปจากความรู้สึกอันนี้ เวิ้งว้างไปหมดเลย นี่สิ่งนี้มันเป็นความจริง

แล้วบอกว่า “จิตมันไม่มี จิตนี้เป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้” นี่เกลือเป็นหนอนนะ ถ้าเกลือเป็นหนอนในการประพฤติปฏิบัติมันก็ย่ำเท้าอยู่ตรงนั้น แล้วมันไม่ก้าวเดินหรอก มันเสียเวลา เสียในการประพฤติปฏิบัติ ทำอยู่อย่างนั้นแล้วผลมันไม่เกิดไง

แต่ถ้าผลมันเกิดมันต้องก้าวเท้าออกไป มันต้องมีการก้าวเดินออกไป การก้าวเดินออกไปก็กลัวว่าการก้าวเดินนั้นจะมีความผิดพลาดไง ซอยอยู่กับที่เพราะเหยียบย่ำอยู่กับที่เดิม มันคิดว่าสิ่งนี้เป็นความถูกต้องของเขา ความถูกต้องของเขาเพราะอะไร เพราะไม่ยอมเสี่ยงภัย ไม่ยอมทำสิ่งใดเลย กิเลสมันก็หัวเราะเยาะสิ กิเลสมันสร้างสิ่งนี้มาเพื่อจะให้เราอยู่ในอำนาจของมัน แล้วเราประพฤติปฏิบัติโดยเอากิเลสนำหน้า ไม่เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านำหน้า

ถ้าเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านำหน้า “ศีล สมาธิ ปัญญา”

ในเมื่อมันความเป็นไปของ “ศีล สมาธิ ปัญญา” แล้วมันปัญญาเกิด เกิดอย่างไร เกิดความเป็นไป สิ่งที่มันเป็นไปขึ้นมา มันจะย้อนกลับเข้ามาทำลายตัวมันเอง ถ้าทำลายตัวมันเองมันก็เป็นอกุปปธรรม มันก็เป็นผลกับใจดวงนั้น

ใจสิ่งที่ว่าความว่างของพระโสดาบันนะ นี่เข้าใจอารมณ์กระทบจากภายนอก สิ่งที่อารมณ์กระทบจากภายนอกนี่จะควบคุมได้หมดเลย แต่อารมณ์จากภายในควบคุมไม่ได้ ควบคุมไม่ได้เพราะมันสิ่งที่ว่าเป็นจากภายในมันเป็นอุปาทาน

สิ่งที่เป็นอุปาทาน มันถึงย้อนกลับ นี่ขณะที่ย้อนกลับ สติ-ปัญญายังใช้งาน สิ่งที่จะเป็นเครื่องมือเข้าไปจับความรู้สึกของใจได้ เข้าไปจับความรู้สึกของใจได้ ก็ความสงบเข้ามา สกิทาคามรรค

ถ้าสกิทาคามรรค สติปัญญายังเป็นสภาวะสมดุลที่ยังใช้งานได้ ใช้งานได้เพราะกิเลสมันยังหยาบอยู่ มันเป็นลูกหลานของกิเลส มันจะสิ่งนี้เข้าไปได้ นี่สติปัญญามันเข้าไป แล้วเราทวนกระแสกลับ เพราะสิ่งนี้ สิ่งที่เราวิปัสสนากาย เวทนา จิต ธรรมโดยความเห็นจริง โดยที่ละสักกายทิฏฐิมันเป็นการฝึกงานมาแล้ว

“ผู้ชำนาญการ” สิ่งที่ผู้ชำนาญการแล้วทำอาหาร อาหารอย่างหนึ่งที่สมดุลที่ถึงเครื่องถึงธรรม แล้วเป็นผลขึ้นมา อาหารต่อไปที่มันละเอียดอ่อนกว่า มันประณีตกว่า สิ่งที่ประณีตกว่าก็ต้องใช้ความพยายามมากกว่า ต้องใช้ความมานะอุตสาหะ ความเป็นไปของเรามากกว่า

ย้อนกลับไปที่กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าจิตมันสงบ ถ้าจิตสงบคือสัมมาสมาธิ สัมมาสติ สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาทุกอย่างเลย ถ้ามันเป็น “สัมมา” มันจะทวนกระแสกลับเข้ามาตัวจิต ถ้ามันเป็น “มิจฉา” สิ่งที่เป็นมิจฉามันติด เห็นไหม ติดในสมาธิ ติดในความสงบ ติดในสิ่งที่ว่าเป็นธรรม สิ่งนี้เป็นมิจฉา มิจฉาเพราะอะไร มิจฉาเพราะมันติด มิจฉาเพราะมันไม่ก้าวเดิน มิจฉาเพราะมันซอยเท้าไง

แต่ถ้าพอมันก้าวออกไปเมื่อไร นั่นเป็นสัมมา สิ่งที่ก้าวเดินออกไป เพราะมันต้องรื้อค้น นี่การใช้ของปัญญา การพิจารณาวิปัสสนากาย สิ่งที่กายนี่ให้มันแปรสภาพของมัน เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ เห็นไหม วิปัสสนาจิต จิตนี้มันทำงานละเอียดอ่อนขนาดไหน จิตนี้เรื่องความรู้สึกอย่างนี้ ความรู้สึกอย่างนี้เป็น “สังขาร” สิ่งที่เป็นสังขารทำไมมันปรุงล่ะ สิ่งที่เป็น “สัญญา” สัญญาคือข้อมูลที่เทียบขึ้นมา แล้วสิ่งที่รับรู้ “วิญญาณ” มันรู้แล้ว รับรู้เวทนาพอใจ-ไม่พอใจ นี่มันละเอียดเข้าไป แยกแยะ ใช้ปัญญาสอด ถ้าเป็นพิจารณาจิต ต้องปัญญาสอดเข้าไประหว่างขันธ์ ๕ ระหว่างอันนี้เป็นรูป อันนี้เป็นเวทนา อันนี้เป็นสัญญา อันนี้เป็นสังขาร นี่ถ้าปัญญาแทงเข้าไป

ถ้าแทงเข้าไป สิ่งที่เป็นขันธ์มันก็แตกสลายออก ว่าง ว่าง วิปัสสนากายก็เหมือนกัน สิ่งนี้มันจะถึงเครื่อง มันจะถึงธรรม ถ้ามันถึงธรรมคือเราต้องมีความมุมานะ เราต้องมีความจงใจของเรา การกระทำของเรามันจะเป็นปัจจุบัน

แต่ถ้าเราขณะที่เราทำแล้วสิ่งต่างๆ “มันเป็นมันปล่อยวาง สิ่งนี้ดูดดื่มมาก สิ่งนี้เป็นความสุขมาก เดี๋ยวเราจะประพฤติปฏิบัติอย่างนี้อีก” นี่สัญญามันจำมา สังขารมันปรุง สิ่งที่เป็นกิเลสเพราะอะไร เพราะพื้นฐานหัวใจ คือจิตมันกำลังไม่พอ ถ้ากำลังพอนะ มันยังเทียบเคียงได้ ถ้ากำลังพอวิปัสสนาไปมันจะปล่อย

ถ้ากำลังพอ สิ่งที่ใช้ปัญญาอบรมสมาธิมันก็ปล่อย พิจารณาไป มันฟาดฟัน กิเลสหลบ หลบหน้าๆ ตลอดเพราะอะไร เพราะกำลังของจิตมีกำลัง แล้วมันวิปัสสนาไป มันแยกแยะได้หมดเลย แต่ถ้ากำลังไม่พอนะ วิปัสสนาไป มันติดไปหมดเลย ติดคือเป็นอารมณ์โลกไง เป็นสังขาร เป็นความคิดของกิเลส ถ้าเป็นความคิดของกิเลสนี่มันจะมีรสชาติทางโลก รสชาติทางโลกคือมันหลงใหลไปกับเรื่องของโลก

แต่ถ้าเป็นรสชาติทางธรรม สิ่งที่รสชาติทางธรรม เวลาวิปัสสนาไปกำลังมันพอมันปล่อย มันจะว่าง ธรรมคือความปล่อยวาง คือเสียสละสิ่งที่ตระหนี่ถี่เหนียวในหัวใจ สิ่งที่เกาะเกี่ยวของใจ มันเกาะเกี่ยวเรื่องกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วมันสะสมไว้ที่ใจ สิ่งนี้มันมีอวิชชาคือมีเชื้ออยู่ที่ใจแล้ว สิ่งในหัวใจมันมีเชื้ออยู่ แล้วมันกระทบกับเชื้อจากภายนอกคือรูป รส กลิ่น เสียงจากภายนอก สิ่งที่มันพอใจ ในเมื่อมีเชื้อ ในเมื่อสิ่งนี้ของแสลงเข้าไปกระทบเชื้อ มันก็เป็นอารมณ์ของกิเลสไปทั้งหมดล่ะ

ถ้ามีสติ ถ้ามีกำลังเข้ามา เราตั้งความสงบของใจกลับมา นี่ต้องยับยั้งสิ่งนี้ให้ได้ ถ้ายับยั้งสิ่งนี้ได้ เห็นไหม ขณะที่เรามาวิปัสสนานี่กิเลสมันต่อต้านตลอดนะ นี่ถึงเครื่องไง ถึงเครื่อง ถึงธรรม ถึงธรรมต้อง หนาวก็ไม่อ้าง ร้อนก็ไม่อ้าง เหนื่อยก็ไม่อ้าง ขนาดไหนก็แล้วแต่ ถ้ามีกำลังยังวิปัสสนา ยังเดินจงกรมอยู่ ยังนั่งสมาธิอยู่ตลอดไป สิ่งที่เราทุ่ม สิ่งนี้มันถึงธรรม ถึงกิเลส มันจะฆ่ากิเลสได้ไง

ไม่ใช่เอากิเลสมาขวางหน้านะ “สิ่งนี้เป็นอัตตกิลมถานุโยค หมู่คณะพระเขาไม่ทำกันอย่างนี้ ทำไมเรามาทำอย่างนี้” ถ้าคิดว่าพระเขาไม่ทำกันอย่างนี้ พระเขาบวชมาเขาปรารถนาอะไรของเขาล่ะ

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ของเรา ครูบาอาจารย์ของเราออกประพฤติปฏิบัติครั้งแรกๆ ออกป่าเขาก็ติฉินนินทา จะทำอย่างใดก็แล้วแต่ เขาก็จับผิดจับพิรุธตลอดไป ทั้งๆ ที่เรามีความรู้สึกว่าจะฆ่ากิเลสนะ ทั้งๆ ที่เราจะพยายามจะค้นคว้าหาสิ่งที่เป็นไปของใจ สิ่งที่เป็นไปของความทุกข์ความยากในหัวใจ สิ่งนี้มันต้องค้นคว้าจากสิ่งที่สงัดวิเวก สิ่งที่ทำลายความผูกพัน ทำลายความยึดมั่นถือมั่นของมัน มันถึงต้องอาศัยสิ่งต่างๆ เข้ามาเพื่อบั่นทอนกำลังอันนี้ทั้งนั้นล่ะ

แต่ถ้ากิเลสมันเป็นเจ้าอำนาจ “พระองค์อื่น สิ่งอื่นๆ เขาทำกัน ทำเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไอ้ของเรานี่มันจะเป็นสิ่งที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค” นี่มันจะไม่ถึงธรรมนะ มันจะไม่ถึงสิ่งที่เข้าไปฆ่ากิเลส มันไม่เท่ากับมีกำลังพอที่จะไปแยกแยะกิเลสได้

ถ้ามันมีกำลังที่แยกแยะกิเลสได้ สิ่งที่ว่าครูบาอาจารย์ท่านบุกบั่นมาขนาดไหน สิ่งที่เป็นชีวประวัติของครูบาอาจารย์เรา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถึงธรรม ท่านทำมาท่านชุบมือเปิบหรือ ท่านทำตามแต่ความสะดวกสบายอย่างนั้นหรือ...มันเป็นไปไม่ได้หรอก

ถ้าทำอย่างนั้น กิเลสมันหัวเราะตายเลย เพราะอะไร เพราะกิเลสมันอยู่กับเราไง แล้วมันก็อ้างนะ อ้างคุณธรรม อ้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา มัชฌิมาปฏิปทานี้มาจากใครล่ะ มาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าของมัชฌิมาปฏิปทา ไม่อัตตกิลมถานุโยค แล้วไม่ก็กามสุขัลลิกานุโยค “ทเวเม ภิกฺขเว ทาง ๒ ส่วนไม่ควรเสพ”

มัชฌิมาปฏิปทาคือสมดุลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทาของกิเลสไง

มัชฌิมาปฏิปทาของเรา...กินแล้วก็นอน กินแล้วก็ประพฤติปฏิบัติ เดี๋ยวธรรมะจะลอยมาจากฟากฟ้ามาสวมใส่คอเรา นี่มัชฌิมาปฏิปทาอย่างนี้ แล้วมันชาติใดมันจะประพฤติปฏิบัติได้ล่ะ นี่เกลือเป็นหนอน “เกลือเป็นหนอน” อาหารนั้นจะเน่าเสีย การประพฤติปฏิบัติเราจะไม่สมดุล สิ่งที่ไม่สมดุลเพราะอะไร เพราะเกลือ เกลือคือสติ สิ่งที่สติเราตั้งมั่น สิ่งที่เวลาเราล้มลุกคลุกคลาน กิเลสมีอำนาจ มันจะทำมันจะใช้ปัญญาอย่างนี้ให้เรายอมจำนน

แต่ถ้าเรามีสติปั๊บ เราจะยับยั้งได้หมดเลย แล้วเราฟื้นขึ้นมาด้วยคำบริกรรมพุทโธ หรือฟื้นขึ้นมาด้วยปัญญาอบรมสมาธิ ต้องสร้างกำลังแล้ววิปัสสนาซ้ำๆ ถึงที่สุด มันจะปล่อยๆ ปล่อยแล้ว ปล่อยแล้วอย่าให้กิเลสมันเข้ามาหลอก ปล่อยขนาดไหน ถ้าไม่สมุจเฉทปหาน ไม่ดั่งแขนขาด นั่นคือกิเลสมันยังหลอกล่ออยู่นะ แต่เราวิปัสสนาถึงที่สุดแล้วมันขาด กายกับจิตแยกออกจากกันโดยธรรมชาติ โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง กามราคะอ่อนลง นี่มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นเรื่องของหัวใจ แล้วเกิดขณะที่กิเลสขาดนี้หนเดียว จะไม่มีซ้ำสอง เพราะในเมื่อเชื้อหมดไปแล้วจะมาซ้ำสองได้อย่างไร

แต่ถ้าเชื้อยังไม่ขาด ไม่ต้องซ้ำหรอก เดี๋ยวมันโผล่ขึ้นมาเองถ้าเราไม่มีสติควบคุมไว้นะ ถ้าไม่สมุจเฉทปหาน แค่ตทังคะคือปล่อยวางโดยที่กิเลสไม่ขาด มันมีเชื้อไขของเขา ถ้ามีของแสลงขึ้นมา กระทบทีเดียว ถ้าคนมีสติสังเกตอยู่ “นี่ไง ไหนว่าไม่มี ถ้าไม่มี ทำไมมีอารมณ์ มีความรู้สึก มีความทุกข์อย่างนี้ไง”

แต่ถ้าขาดนะ กระทบขนาดไหนก็ไม่มี สิ่งที่ไม่มี เราจะติดในความว่างอย่างนี้

ต้องตั้งสตินะ แล้วพยายามก้าวเดินต่อไป สิ่งที่ก้าวเดินต่อไป ถ้าเราก้าวเดินต่อไป มันจะเริ่มตั้งสติขึ้นมา แล้วกำหนดคำบริกรรมพุทโธให้ละเอียดขึ้นไปมันจะเป็นมหาสติ สิ่งที่เป็นมหาสติเพราะมันเป็นสิ่ง...นักฟุตบอล นักฟุตบอลที่เขาเตะจังหวะ ๒ คือเขาต้องเขี่ยแล้วเตะก่อน แต่ถ้าเป็นจุดโทษหน้าประตู เขาเตะจังหวะเดียว ระหว่างประตูกับผู้ที่เตะลูกโทษนั้น

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อมันปล่อยมาทั้งหมด มันละเอียดเข้ามาแล้ว มันเป็นระหว่างขันธ์กับจิต สิ่งที่ขันธ์กับจิตนี่มันเร็วมาก ความคิดอันละเอียดอ่อน สิ่งที่ว่าเป็นกามราคะที่เราจะปล่อยวางสิ่งที่การเกิดการตายของเรา สิ่งนี้มันละเอียดอ่อนมาก ฉะนั้น สิ่งที่จะเข้าไปมันถึงต้องตั้งสติให้มั่นคง สติอย่างนี้เขาเรียกว่า “มหาสติ”

ไหนว่าสติฝึกไม่ได้ไง ถ้าสติฝึกไม่ได้ ตรงไหนเป็นสติปัญญา ตรงไหนเป็นมหาสติ-มหาปัญญา แล้วสติกับมหาสติมันต่างกันอย่างไร มันมีวุฒิภาวะ มันมีสถานะต่างกันนะ ถ้าไม่ต่างกัน ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกมหาสติกับสติล่ะ ในเมื่อมันเป็นมหาสติมันต้องใหญ่กว่าสิ มันต้องมีคุณค่ามากกว่าสิ มันต้องมีความมหัศจรรย์มากกว่ามันถึงจะเข้าไปจับสิ่งที่เป็นกามราคะคือสิ่งที่เห็นกายเป็นอสุภะ สิ่งที่เห็นจิตนี้เป็นเรื่องของกามของใจ ขันธ์ที่ละเอียด ขันธ์ที่เป็นกาม สิ่งที่ชุ่มไปด้วยกาม เห็นไหม

แล้วปัญญามันเกิด มหาสติก็ต้องเป็นมหาปัญญา ถ้าเป็นมหาปัญญา นี่มันจะถึงธรรม ถึงเครื่องแกงตลอดไป ถึงมรรคญาณ มรรคญาณคือความมุมานะ คือความจงใจ ไม่ใช่สุขเอาเผากิน ทำแต่สักแต่ว่า แล้วก็ว่าฉันได้ธรรม ฉันได้ธรรม ฉันได้กิเลสมาไม่ว่านะ เพราะอะไร เพราะการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันจะสมอ้าง สมอ้างจนว่ามันเป็นทิฏฐิ เป็นความเห็นที่ผูกมัดหัวใจว่ามีคุณธรรมๆ คุณธรรมมันเป็นการชำระกิเลส

สิ่งที่มีกิเลสในหัวใจ การแสดงออกมาจากใจมันไม่มีอกุศล แต่ถ้าเมื่อมันจะเป็นอกุศลอยู่ มันจะเป็นธรรมได้อย่างไร เห็นไหม ในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าอ้างธรรม อ้างธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วมีกิเลสตัณหาสวมรอย สิ่งนี้มันจะเป็นโทษ สิ่งที่เป็นโทษก็ทำให้เราประพฤติปฏิบัติโดยไม่ได้ผลไง

สิ่งที่เป็นมหาสติ มันต้องใคร่ครวญ ใคร่ครวญแล้วถ้าใคร่ครวญแล้วยกจิตไปมันจะเห็นสิ่งที่เป็นอสุภะ สิ่งที่เป็นอสุภะจะต้องใช้ขั้นของปัญญา สิ่งที่ปัญญาใคร่ครวญไป อสุภะขนาดไหน ใคร่ครวญขนาดไหน นี่ตั้งไว้แล้วเพ่ง สิ่งที่เพ่งให้สภาวะมันแปรสภาพให้เข้าไป ฝึกฝนให้มีความชำนาญ

ถ้ามีความชำนาญขึ้นมา สิ่งนี้มันจะมีความชำนาญขึ้นมาเพราะการใช้ปัญญาใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลาปล่อยวางทีหนึ่ง กิเลสมันก็ซ้อน ซ้อนทีหนึ่ง “นี่เป็นธรรม นี่ปล่อยว่าง สิ่งนี้เป็นธรรม”...มันว่างนะ เพราะอะไร เพราะการที่ใช้ปัญญาระดับนี้มันเป็นใช้มหาปัญญา มันเป็นปัญญาที่รุนแรง ปัญญาที่จุดไฟติดแล้วที่เป็นเหมือนกับไฟป่า ขณะที่เราจุดไฟสิ่งที่ขยะหรือสิ่งที่ว่าเราจะจุดเป็นของที่เปียกของที่ชื้นนี่จุดติดยาก ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นเห็นไหม ขณะที่ปัญญามันไตร่ตรองขึ้นไปมันเหมือนไฟป่านะ

ไฟป่า เขาพยายามดับไฟป่า เขาลงทุนกันเป็นร้อยๆ ล้าน เอาเครื่องบินเอาต่างๆ ขึ้นไปดับไฟป่า นี่ปัญญาที่ขั้นกามราคะมันเหมือนไฟป่า มันจะรุนแรง มันจะทำของมัน มันจะเคลื่อนไหว มันจะเป็นอะไร ขณะที่มันทำลายมันเผาไหม้สิ่งต่างๆ ไปที มันก็ว่างทีหนึ่ง เราก็ว่านี้เป็นธรรม อันนี้เป็นธรรม

ตั้งสติให้ดี แล้วใคร่ครวญไป สิ่งที่ใคร่ครวญ ถ้าไฟป่ามันเผาไหม้สิ่งต่างๆ ไป มันเผาไหม้เพราะสิ่งนั้นเป็นวัตถุนะ แต่ถ้าปัญญา มันจะทำลายกิเลส กิเลสเป็นนามธรรมนะ สิ่งว่าธรรมดาจับต้องไม่ได้ ธรรมดาจับต้องไม่ได้...เห็นเวลาปัญญามันเคลื่อนมา มันทำลายขึ้นมา สิ่งที่ทำมามันเข้าไปทำลาย ทำลายเรื่องกามราคะ มันปล่อยวาง เวลามันวิปัสสนามันเข้าใจ มันเห็นปัญหาอย่างนั้นมันจะปล่อย ปล่อยวาง ว่างๆ อยู่อย่างนั้น...สิ่งนี้กิเลสมันหลบ ไฟป่าเผาแล้วมันราบเป็นหน้ากลอง แต่ขณะที่ปัญญาเราฟาดฟันกับกิเลส กิเลสมันหลบซ่อนอยู่ตลอดเวลา มันถึงต้องใคร่ครวญ ต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญ นี่มหาปัญญา

“มหาสติ-มหาปัญญา” การทำงานที่มันทำงานส่งต่อเนื่องกันเป็นมรรคญาณ สิ่งที่เป็นมรรคญาณ “ปัญญาชอบ เพียรชอบ งานชอบ” งานอันละเอียดอ่อน นี่ทวนกระแสเข้าไป

การวิปัสสนามันจะมีหยาบละเอียดเข้าไป ลึกซึ้งไปไหนหัวใจมาก แล้วทำแล้วกิเลสมันต่อต้านตลอดล่ะ กิเลสมันจะพยายามทำให้เราล้มลุกคลุกคลานนะ ให้เราก้าวเดินไปไม่ได้ นี่เราต้องไม่สุกเอาเผากิน เราต้องมีสติ สติเราใคร่ครวญแล้วทำซ้ำ ทำซ้ำเข้าไปจนมีความชำนาญ กิเลสมันเข้ามาพลิกทีเดียวนะ เราล้มเลยว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เราจะติดแล้วถ้าเราใคร่ครวญขึ้นมา

ถ้ามันไม่มี มันขาดไป สิ่งที่ขาดไปมันต้องบอกสิว่าขาดอย่างไร มันเป็นอย่างไรมันถึงขาด มันยังไม่มีสิ่งใดเป็นคำตอบ นั้นคือไม่ใช่ มันต้องมีคำตอบนะ วิปัสสนาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมันเห็นอสุภะนี่กลืนเข้ามาที่ใจ มันทำลายกันที่หัวใจ ขันธ์อันละเอียดหลุดออกไปจากใจ ถ้ากามราคะนี่ ขันธ์ละเอียดออกไปจากใจ นี่ละเอียดแล้ว มันปล่อยวางครืน! ในหัวใจนะ แล้วมันจะว่างมาก ว่างมากขนาดไหน แล้วจิตมันจะละเอียดเข้ามา มันจะพลิกวิปัสสนาเข้ามา มันจะทำลายเศษส่วน ทำลายสิ่งที่เป็นสิ่งที่เหลือเศษ เหลือความเป็นไปของใจ นี่มันมีเทคนิคการกระทำ มันจะปล่อย ทำแล้วซ้ำแล้ว มันจะปล่อยว่าง ว่างจนว่างหมดเลย

สิ่งที่ว่างออกไปเห็นไหม สิ่งนี้สิ่งที่ว่างนั้นมันคืออะไร นั่นล่ะตัวจิตล่ะ

จิตที่เป็นอัตโนมัติ เห็นไหม จิตที่ว่าสิ่งที่ว่าเป็นกายของจิตภายในต้องไปจับต้องสิ่งนั้น นี่อรหัตตมรรค ย้อนกลับเข้าไป

สิ่งที่เป็นจิต สิ่งที่เป็นมหาสตินะ แล้วเป็นสติที่เป็นปัญญาญาณ สตินี่มันตั้งแต่สติ สติในขั้นของสมถะมันก็ต่างกัน สติในขั้นของสติปัญญา มหาสติ-มหาปัญญา สติที่เป็นปัญญาญาณเข้าไปจับต้องจิตตัวนี้ได้ แล้วใช้มรรคญาณอันละเอียดนั้นซึมซับเข้าไปทำลายตัวจิตนี้นะ เพราะจิตนี้โดนทำลาย ทำลายเพราะอะไร

เพราะนี้คือตัวอวิชชาไง อวิชชาคือมันไม่รู้จักตัวมันเอง ขณะที่วิชชาเกิดขึ้นมาทำลายสิ่งนี้ทั้งหมด ถ้าทำลายสิ่งนี้ทั้งหมด จิตนี้ สติมันพ้นออกไปจากกิเลส พ้นออกไปจากทั้งหมด จากการฝึกฝนของเรา จากการถึงธรรม “ถึงธรรม” ธรรมนี้ธรรมโดยสมบูรณ์ ถึงธรรมด้วยการประพฤติปฏิบัติ ถึงธรรมด้วยการเจาะจง ด้วยการตั้งใจ ด้วยการสิ่งที่มรรคหยาบ-มรรคละเอียดเข้าไปถึงที่สุด

พอพ้นออกไปจากกิเลสทั้งหมด สิ่งนี้สติกับจิตเป็นอันเดียวกัน ขณะที่ความรู้สึกออกมา สติจะพร้อมออกมา สิ่งที่พร้อมออกมานี่เพราะจิตนี้อิ่มพอ จิตนี้ถ้าออกมาเสวยอารมณ์ สิ่งที่เสวยอารมณ์ เพราะว่าสิ่งที่ยังมีชีวิตอยู่ จิตนี้สะอาดบริสุทธิ์ แต่ยังมีธาตุขันธ์อยู่ ขันธ์นี้เลยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สิ่งที่สะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สิ่งที่ทำเป็นอกุศลเป็นไปไม่ได้

แต่ถ้าปุถุชน ขันธ์นี้เป็นขันธมาร เพราะกิเลสมันเป็นมาร ขันธ์ก็เลยสกปรกไปด้วย

แต่ถ้าเราทำลายเชื้อไขทั้งหมด เชื้อไขคือสิ่งที่เป็นอวิชชาในหัวใจไม่มี นี่มันจะเอามารมาจากไหนล่ะ มันเป็นความสะอาด มันเป็นความบริสุทธิ์ มันเป็นสติพร้อมมากับการเคลื่อนไหวออกมาตลอดไป ถึงจิตดวงนี้ถึงไม่มีสิ่งใดจะไปเกาะเกี่ยวได้

สติฝึกได้นะ แล้วสตินี้เหมือนเกลือ เกลือถ้ามันรักษาความเค็มของมัน มันจะถนอมรักษาการประพฤติปฏิบัติของเราจนถึงที่สุด แต่ถ้ามันเกลือเป็นหนอนนะ มันจะทำให้เราล้มลุกคลุกคลานแล้วประพฤติปฏิบัติไปจะต้องเกิดต้องตายอีกไม่มีที่สิ้นสุด เอวัง