ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

รู้อะไร

๖ ก.พ. ๒๕๕๙

รู้อะไร

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง อาการที่เกิดขึ้น

กราบนมัสการหลวงพ่อ ขอเล่าเลยนะครับ

ในขณะที่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่ รับรู้ถึงอาการของจิตกระเพื่อมที่เกิดจากอารมณ์ มีแค่ความรับรู้แล้วก็วางมันลง อาการของการวาง ความคิดวาง หรือจิตวาง มันจะรู้ได้ด้วยตนเอง ถ้ามันคลายอยู่ หรือจิตมันว่างจริงๆ มันก็จะรู้ ไม่มีการปรุงแต่งเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า ได้แต่มองอย่างเดียว

ในขณะภาวนา หลังจากที่เกิดความสงบระยะหนึ่ง อาการสิ่งที่เกิดขึ้นจะคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน มันจะมีความชัดเจนมาก มองดูอย่างเดียว ไม่คิด ไม่ปรุง ไม่ใช่สัญญา สิ่งที่มองดูอยู่มันเกิดขึ้นในขณะนั้น ไม่มีการรับรู้ภายนอก มีสติจ่ออยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น มันจะสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงจนเข้าใจอาการของการวาง หลังจากที่รู้และเข้าใจแล้วมันโล่ง เย็น มีความสุขยิ่งกว่าปีติที่เคยเจอ

ไม่ว่าอาการเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ภาวนา สิ่งที่ผมรู้และเข้าใจคือความซื่อสัตย์กับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะหากไม่ซื่อสัตย์แล้วมันทุกข์มาก เป็นการหลอกตัวเอง ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจ ที่ผมเล่ามานี้ ตอนนี้ไม่ทุกข์ไม่ร้อนกับการดำเนินชีวิตในระดับหนึ่ง ถึงแม้บางทีสติมันจะไม่สามารถจับได้ทันทีทันใดก็ตาม แต่ก็ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขครับ

ตอบ : อันนี้เขาบอกว่าอาการที่เกิดขึ้น คือเขาถามปัญหามาบ่อย เราตอบปัญหาไปเยอะ ถึงปัจจุบันนี้เป็นคำถามข้อที่ ๑ข้อที่ ๒.ข้อที่ ๓นี้คือรายงานผลของการปฏิบัติ

ถ้ารายงานผลของการปฏิบัตินะ ถ้าการปฏิบัติ เริ่มต้นทุกคนจะมีความทุกข์ความร้อน มีความบีบคั้นหัวใจ ชีวิตนี้มีแต่ความทุกข์ความยาก แต่ถ้าเรามาศึกษาพระพุทธศาสนา พระพุทธ-ศาสนา เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมโอสถ ธรรมโอสถ ธรรมะคือยา คือสิ่งที่เข้ามาชโลมหัวใจ ถ้าชโลมหัวใจได้ มันก็มีสติมีปัญญา จิตใจอยู่กับธรรมมันก็ปล่อยเรื่องความทุกข์ความยากมาก มันก็ใช้ชีวิตโดยธรรมดา 

แต่โดยเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันมีผลของมัน ข้อที่ ๑ข้อที่ ๒ข้อที่ ๓.เวลาปฏิบัติแล้วมันมีเครื่องอยู่ จิตใจมันรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์กับใจดวงนี้

ถ้าใจดวงนี้ เห็นไหม เวลามีสติ มีสมาธิ มีปัญญาขึ้นมา ศีล สมาธิ ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันเป็นประโยชน์กับใจดวงนี้ไง คือมันมีธรรมโอสถ มีสติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม เป็นเครื่องอยู่อาศัยๆ 

แต่ถ้ามันเป็นความจริง มันเป็นความจริงมันจะลึกกว่านี้ไง ถ้าเป็นความจริง สิ่งที่อธิบายมามันไม่มีเลย มันเป็นความจริงเลย ความจริงเป็นความจริงอยู่วันยังค่ำ ความจริงเป็นความจริง ความจริงของมัน แต่นี้ที่ถามมา อาการที่เกิดขึ้น อาการที่เกิดขึ้น อย่างข้อที่ ๑.

ข้อที่ ๑สิ่งที่ใช้ชีวิตประจำวัน รู้ถึงอาการกระเพื่อมที่เกิดจากอารมณ์ แต่ก็แค่รับรู้แล้ววางลง ความคิดวาง หรือจิตวาง มันรู้ด้วยตัวของมันเอง

คำว่า ความคิดวาง” หรือมันวางในตัวมันเอง มันมีใช่ไหม มันมีเรามีเขาใช่ไหม มันมีการกระทำ มีการกระทบ มันเป็นการวางใช่ไหม มันยังไม่เป็นถึงที่สุดไง

ถ้ามันถึงที่สุดนะ มันไม่มี ถ้าเป็นพระโสดาบันนะ พระโสดาบัน สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เวลามันพิจารณาไปแล้วมันว่างหมด สิ่งระดับนี้มันไม่มีของมัน แล้วถ้าจะดำเนินการต่อไปล่ะ

ดำเนินการ มรรค บุคคล ๔ คู่ คู่ที่ ๑ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล บุคคล ๔ คู่ มันมีเหตุมีผลของมัน มันมีการกระทำของมัน ถ้าทำถึงที่สุดแล้วสังโยชน์มันขาด พอขาดไป จบ อกุปปธรรมคืออฐานะ อฐานะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อฐานะที่มันจะเป็นไป 

แต่ถ้ามันยังมี เห็นไหม มันมีอารมณ์ มันเกิดอารมณ์ มันมีกระเพื่อม มันมี แต่มันมีนี้เพียงแต่บอกว่าอาการที่เกิดขึ้น อาการที่เกิดขึ้น ถ้าทำได้ขนาดนี้ ทำได้ขนาดนี้มันก็แบบว่ามีธรรมะเป็นที่พึ่งไง ดูเวลาพระบวชมานะ พระบวชมา เวลาบวชมาแล้วประพฤติปฏิบัติขึ้นมา แหมมันมีความสุข แล้วมรรคผลมันจะหยิบเอื้อมเอาได้เลย 

เวลาจิตมันเสื่อมไปหมดเลย นี่เราจะบอกว่า เวลามันเจริญแล้วเสื่อมไง เวลาเจริญ โอ้โฮโลกนี้เป็นของเรา ทุกอย่างโลกนี้มันสวยงามไปหมดล่ะ อะไรนี่มันดีงามไปหมดถ้ามันเจริญนะ เวลาจิตมันดีขึ้น โอ้โฮมันดีไปหมดเลย แหมธรรมะมีความสุขมาก โอ้โฮทุกอย่างมันดีงามไปหมดเลย เวลามันเสื่อมนะ โอ้โฮไฟทั้งนั้นเลย นู่นก็ร้อน นี่ก็ร้อน เลิกดีกว่า ไปแล้ว พอไปแล้วก็จบไง

อันนี้ก็เหมือนกัน นี้เวลาปฏิบัติ สิ่งที่อาการที่เกิดขึ้น จะบอกว่ามันผิดไหม 

มันไม่ผิดสำหรับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แต่มันมีเกิดอารมณ์ ยังวางได้ จิตมันวาง วางโดยธรรมชาติของมัน วางเพราะเรารู้ มันก็เป็นการกระทำของเราไง มันกระทำของเรา เราทำมาได้ขนาดนี้ มันเป็นการกระทำ แต่ถ้ามันจะปฏิบัติ มันต้องปฏิบัติต่อเนื่องไป กลับมาที่ความสงบ กลับมาที่พุทโธให้จิตมันปล่อยวาง ให้มันเป็นอิสระ มีกำลังแล้วเราก็จับ จับสิ่งนี้พิจารณาของเราไป

ทีนี้เพียงแต่ว่าเป็นฆราวาส ฆราวาสมันมีหน้าที่การงาน มันมีความรับผิดชอบ มันต้องอยู่ทางสังคม เวลาเราทำงานเสร็จแล้วเราจะประพฤติปฏิบัติ เราถึงมาปฏิบัติ เห็นไหม 

ทางของฆราวาสเป็นทางคับแคบ ทางคับแคบเพราะว่าเวลาเราต้องเจียดมาแต่ทางของสมณะ ทางของนักบวช ทางกว้างขวาง กว้างขวาง ๒๔ ชั่วโมง พระเราที่ปฏิบัติ ไปหมดแล้ว ฉันเสร็จแล้วเข้าทางจงกรมไปภาวนาเลย เว้นไว้แต่ผู้ที่เข้าเวร เว้นไว้แต่ผู้ที่รับผิดชอบงาน ก็ผลัดหมุนเวียนกัน

แต่เวลาไปแล้ว ฉันเสร็จไปแล้วให้ปฏิบัติ แล้วอยู่ที่พระที่อยู่เวร อยู่เวรมีรับผิดชอบเขาจะบริหาร เขาจะคอยดูแล แต่ผู้ที่ปฏิบัติไปเลย ทางของสมณะเป็นทางกว้างขวาง ๒๔ ชั่วโมง แล้วถ้าอดอาหาร อดอาหาร ๒๔ ชั่วโมงเลย ไม่มีเวลาออกมาเลย ๒๔ ชั่วโมงไม่ต้องเจียดเวลาให้ใครเลย 

แต่ถ้ามาฉันเวลาปกติ เห็นไหม ต้องบิณฑบาต เพราะเราพระธุดงค์ๆ พระธุดงค์แบบว่าสีดำๆ พระธุดงค์ไม่ใช่ ธุดงควัตร ๑๓ บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันหนเดียวเป็นวัตร ถือผ้า ๓ ผืนเป็นวัตร ถือการฉันหนเดียวเป็นวัตร นี่พระธุดงค์ ธุดงค์คือธุดงค์ ๑๓ ไม่ใช่สีผ้าเข้มๆ ไม่ใช่ทำหน้าเข้มๆ พระธุดงค์ ไม่ใช่

ฉะนั้น ถ้าเขามาฉันเขาก็ต้องบิณฑบาต มันก็ต้องไปบิณฑบาต บิณฑบาตมาแล้ว เวลาญาติโยมมา ภัตตาหารตามมา ถ้าธุดงค์ไม่ต้องตัก ถ้าถือปกติเราก็ตัก ตักอาหารของเขา พิจารณาแล้ว ฉันเสร็จแล้ว ไปแล้ว ๒๔ ชั่วโมง ทางของสมณะเป็นทางกว้างขวาง ทางกว้างขวางเพราะมีเวลาประพฤติปฏิบัติ มีเวลาตรวจสอบใจของเราตลอดเวลา เวลาตรวจสอบใจของเรา เราไปปฏิบัติแล้ว จิตใจเรามั่นคงขนาดไหน ดีขนาดไหน 

เวลามาบิณฑบาต บิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ให้มองหน้าเขา เห็นแต่มือเขาใส่เท่านั้นน่ะ กำหนดจิตอยู่ตลอดเวลา แล้วพอเราปฏิบัติ ปฏิบัติเข้มแข็ง เวลาออกไปบิณฑบาตหวั่นไหวไหม มีอะไรกระทบหัวใจไหม หัวใจฟูไหม มันตรวจสอบกันตลอดเวลา แล้วกลับมาเราฉันแล้ว เราพิจารณาแล้ว 

ในพระไตรปิฎก ภิกษุบิณฑบาตมา ฉันอาหารแล้วเข้าสู่เรือนว่าง เข้าสู่โคนไม้ เข้าสู่ในถ้ำ ใครพิจารณาได้ขนาดไหน จิตใจของคนสูงส่งได้ขนาดไหนก็พิจารณาต่อเนื่อง ต่อเนื่องไป นี่พูดถึงทางของสมณะ 

แต่ถ้าเป็นทางของฆราวาส นี่พูดถึงเขาบอกว่า ในขณะที่ชีวิตประจำวันอยู่นี้ รู้สึกว่าอาการของจิตมันกระเพื่อม ที่มันเกิดอารมณ์ มีแต่การรับรู้ แล้วมันก็วางลงได้ อาการของการวางนี้ วางความคิด จิตมันวาง มันรู้สึกด้วยตัวมันเอง ถ้ามันคลายอยู่ จิตของมันจะวางจริง มันก็จะรู้ แต่ไม่มีการปรุงแต่ง เหมือนสิ่งที่เกิดขึ้น มันเกิดขึ้นตรงหน้า แต่แค่มองอย่างเดียว

มันเกิดตรงหน้า คือของมันมีไง มันเกิดตรงหน้าคือมันรู้มันเห็นของมัน ฉะนั้น สิ่งที่ว่า จิตมันกระเพื่อม มันเกิดอารมณ์ขึ้นมาต่างๆ” อารมณ์มันมีของมันทั้งนั้นน่ะ เพียงแต่ว่าตอนนี้เรามีสติมีปัญญา เราทำของเราได้ มันก็วางได้ มันก็ปล่อยวางได้ 

อันนี้มันก็เป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโกแก่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติได้อารมณ์อย่างนี้ ได้ความรู้ความเห็นอย่างนี้มันก็จะซาบซึ้ง ซาบซึ้งว่าเพราะเราเวลาไปวัดมันก็เป็นพิธีกรรม เวลาถวายสังฆทาน ถวายทาน ถวายเสร็จแล้วพระก็สาธุ ไอ้เราก็แหมอิ่มใจมากเลย นั่นมันก็เป็นระดับของทานใช่ไหม 

แต่เวลาเรามาประพฤติปฏิบัติ สติเราก็รู้นะ เรายับยั้งความคิดเราได้หมดเลย เราทันอารมณ์เราเลย เวลามันเป็นสมาธิมันก็จะวาง มันจะว่างของมัน แล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดใช้ปัญญามันต้องจับเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ธรรมารมณ์ อารมณ์ถ้าจิตมันสงบแล้วเขาเรียกธรรมารมณ์ เป็นธรรมะไง อารมณ์นี้เป็นธรรมะ เพราะจิตที่สงบแล้วมันจับอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกมันให้ผลกับเราอย่างไร ถ้ามันมีสติปัญญามันก็วาง วางได้อย่างนี้ 

ถ้ามันวางมีสติเดี๋ยวมันก็คิดอีก มันคิดมันก็เสวยอีก มันก็จับอีก จับอีกแล้วพิจารณาอีก พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก เวลามันจะปล่อยวางไง เพราะอารมณ์ถ้ามันจับอารมณ์พิจารณาได้ มันจะรู้เลย อ๋อความคิดอย่างนี้เป็นรูป อารมณ์ความรู้สึกเป็นรูป รูปมันเกิดมาได้อย่างไร 

รูป รูปคืออารมณ์ความรู้สึกเกิดมาได้อย่างไร มันเกิดมาได้จากสัญญา สัญญาชอบหรือไม่ชอบไง แล้วมันก็เกิดสังขารปรุง พอสังขารปรุงแล้วมันเป็นวิญญาณรับรู้ วิญญาณรับรู้ ถ้ารูป เวทนา สัญญา สังขารไม่สมบูรณ์ อารมณ์เกิดไม่ได้ 

เราจะเปรียบอารมณ์เปรียบเหมือนวงล้อ วงล้อ เห็นไหม วงล้อถ้ามันสมบูรณ์มันก็หมุนไปได้ แต่ถ้าวงล้อมันบิ่น รูป เวทนา สัญญา สังขารมันเป็นขันธ์ ๕ เป็นวงล้อของมันไป เรียกเกิดอารมณ์ ถ้าอารมณ์ความรู้สึกนั้นมันจับอารมณ์นี้มาพิจารณา มันแยก แยก ไปแยกที่รูปก็ได้ แยกที่เวทนา เวทนาคือพอใจ ไม่พอใจ มันจับตรงนั้น พิจารณาตรงนั้น มันปล่อยวางตรงนั้นก็ได้ 

มันจะเป็นสัญญา สัญญาคือว่ามันเปรียบเทียบ มันเปรียบเทียบนะ มันมีข้อมูลของเรา ชอบหรือไม่ชอบ เพราะชอบหรือไม่ชอบ สังขารมันจะปรุง สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่งมันปรุง มันปรุงคือมันคิดต่อเนื่อง ต่อเนื่องเป็นอารมณ์ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ อารมณ์ก็ซ้อนอารมณ์ไปอยู่อย่างนั้นต่อเนื่องไป

ถ้าเราพิจารณามันรู้เท่าทันมันปล่อย มันปล่อย มันปล่อย มันปล่อยก็หยุด เดี๋ยวก็คิดอีก คิดอีก คิดอีกก็พิจารณาซ้ำอีก ซ้ำอีก ซ้ำอีก ถึงที่สุดเวลามันขาด ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ สักกายทิฏฐิ ๒๐ ขาดไป ความลังเลสงสัยไม่มี ไม่มีการลูบการคลำ ไม่มี ไม่มีการลูบการคลำ ไม่มีอีกแล้ว

แต่ถ้ายังมีอยู่ เห็นไหม เราต้องขยันหมั่นเพียร ถ้ามันยังมีอยู่แสดงว่ามันอยู่ระหว่าง ระหว่างที่เราจับต้องมัน ระหว่างที่เรามาพิจารณามัน ถ้ามันพิจารณา เห็นไหม เราเข้าใจเพราะมันวาง เราเข้าใจ มีความสุข มันกระเพื่อม เรารู้ เราเข้าใจ 

แต่ แต่สายใยมันยังอยู่ สายใยความผูกพันกับจิตกับขันธ์กับกิเลสมันยังมีอยู่ ถ้าเราพิจารณาซ้ำๆๆ เวลามันขาด เวลามันขาดมันขาดหมดเลย พอขาดแล้วมันเป็นอกุปปธรรม อฐานะที่มันจะให้ค่า อฐานะที่มันจะพ่นพิษใส่เราอีก ไม่มี แต่มันก็เป็นบุคคลคู่ที่ ๑ นะ มันมีคู่ที่ ๒ คู่ที่ ๓ คู่ที่ ๔ ต่อเนื่องไป ถ้าพิจารณาไป นี้ข้อที่ ๑.

ในขณะที่ภาวนา หลังจากที่เกิดความสงบเป็นระยะ อาการสรรพสิ่งที่มันเกิดขึ้นคล้ายกัน มันไม่เหมือนกัน มันมีความชัดเจนมาก มองดูอย่างเดียว ไม่คิด ไม่ปรุง ไม่ใช่สัญญา มองสิ่งที่ดูอยู่เหมือนมันเกิดขึ้นในขณะนั้น ไม่มีการรับรู้ภายนอก มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น มันจะสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงจนเข้าใจอาการของการวาง จากนั้นจะรู้สึกว่ามันโล่งเย็น มีความสุขยิ่งกว่าปีติที่เกิดขึ้น

ปีติส่วนปีติไง ที่ว่ามันภาวนาไปแล้วสักระยะหนึ่งมันมีความรู้ความเห็นของมัน มองอยู่อย่างเดียว เห็นไหม บอกว่ามันไม่คิด ไม่ปรุง ไม่แต่ง ไม่ใช่สัญญา ไม่ใช่สัญญาแล้วมันคืออะไรล่ะ ไม่ใช่มันก็คือมัน มันมีของมันอยู่ตลอดเวลา ถ้าเวลามันขาดมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ทีนี้เวลาปฏิบัติแล้ว ถ้าเรารู้อะไร เราเห็นอะไร เวลาคนรู้คนเห็นขนาดไหน มันก็พูดได้ขนาดนั้น เวลาพูดขนาดนั้น คำพูดมันบอกหมดน่ะว่าปฏิบัติมาวุฒิภาวะภูมิของมันมีแค่ไหนไง ภูมิของมัน ภูมิของการปฏิบัติมันมีแค่ไหน

ถ้ามีแค่ไหน แต่คนที่ปฏิบัตินะ เด็กๆ มันทำงาน แม้แต่มันหยิบช้อนหยิบชามไปให้พ่อแม่ มันก็จะเอารางวัลแล้ว พ่อแม่บอกว่าหยิบช้อนหยิบจานมานะ เอามาเพื่อตักอาหารให้มันกินนะ มันเอาถ้วยเอาจานมา ต้องเอารางวัลมันก่อน ทั้งๆ ที่มันจะเอามาใส่ข้าวของมันกิน เพราะเด็กน้อยไง แต่ถ้าผู้ใหญ่แล้วทำงานเขาก็อีกอย่างหนึ่ง

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่ามันรู้เท่ารู้ทัน มันรู้ของมัน เห็นไหม มันไม่ปรุงไม่แต่ง มันเป็นขณะนั้น มันรู้แต่ภายนอกจิตสงบอยู่ สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงจนเข้าใจ 

คำว่า เข้าใจ” เข้าใจอย่างหยาบๆ ก็ได้ เข้าใจอย่างกลางก็ได้ เข้าใจอย่างละเอียดก็ได้ คำว่า เข้าใจ” เวลาเป็นธรรมนะ มันทะลุปรุโปร่งนะ เวลาพิจารณา เวลามันถอดมันถอน เวลาพิจารณาไป พิจารณาอารมณ์ เวลามันปล่อย เห็นไหม อย่างที่ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้ามันแยก มันแยกเฉยๆ บางทีมันแยกแล้วมันก็เป็นธรรมดา

ถ้าแยกเป็นธรรมดา ในรูปก็มีขันธ์ ๕ ในเวทนาก็มีขันธ์ ๕ ในสัญญาก็มีขันธ์ ๕ ในสังขารก็มีขันธ์ ๕ ในวิญญาณก็มีขันธ์ ๕ ขันธ์ในขันธ์ เวลามันพิจารณามันปล่อย ปล่อยก็ปล่อยวางเฉยๆ แล้วมันมีอะไรบอกล่ะ มันต้องมีปัจจัตตัง มันต้องมีสันทิฏฐิโก มันต้องรู้ต้องเข้าใจ มันต้องทะลุปรุโปร่ง

ทีนี้ข้อที่ ๒เขาบอกว่า มันสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงจนเข้าใจ” 

คำว่า เข้าใจ” กิเลสมันก็เข้าใจได้ เวลากิเลสมันหลอกนะ เวลาเราพิจารณาสิ่งใด เราพิจารณาใช่ไหม กิเลสมันเคยฟังเทศน์ แล้วมันเคยปฏิบัติมา มันเอาคำถามมาดักหน้าเลย พิจารณามาแล้วก็ไปจนตรอกอยู่กับมันไง พอจนตรอกอยู่กับมัน นี่ใช่ เขาเรียกกิเลสบังเงา

ความเข้าใจ เข้าใจ เวลาผู้ที่ปฏิบัติเขาจะตรวจสอบทดสอบตลอดเวลา ทดสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เห็นไหม พิจารณาปล่อยวาง ปล่อยวาง ปล่อยวางถ้าไม่บอกขณะ ไม่บอกว่ามันขาดตรงไหน 

ดูสิ เวลาหลวงตาท่านประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม พิจารณาอสุภะ พิจารณาจนโล่งโถงไปหมดเลย แล้วกามราคะมันหายไปเมื่อไหร่ล่ะ ถ้าไม่มีเหตุมีผล อย่างนี้ไม่เอา ท่านถึงเอาสุภะ เอาความสวยความงามมาแนบไว้ เอาจิตไปแนบกับความสวยความงาม ความที่มันชอบมันรักนะ 

ทีแรกว่าไม่มี ไม่มี ๓ - ๔ วันน่ะ จนจิตมันกระเพื่อม มันรับรู้ อ๋อไหนว่าไม่มีไง พอไม่มีปั๊บ ท่านพิจารณาความสวยงามด้วย พิจารณาความอสุภะไม่สวยงามด้วย ผลัดเปลี่ยนกันพิจารณาไป จนถึงที่สุดเวลามันขาด มันชำระล้าง เอ้อมันต้องอย่างนี้สิ มันต้องรู้ว่าที่เกิดอย่างไร ที่อยู่อย่างไร ที่ดับอย่างไรสิ มันต้องชัดเจนอย่างนี้ แล้วดับไปแล้วมันเหลืออะไร

นี่ก็เหมือนกัน ที่มันเห็นความเข้าใจ เข้าใจ เราก็เข้าใจ ใครก็เข้าใจได้ เข้าใจน่ะ แต่เข้าใจแล้วผลมันล่ะ เพราะอะไร เพราะอริยสัจมันมีหนึ่งเดียว ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านทำของท่านมา ท่านมีหลักมีเกณฑ์ของท่าน ถ้าหลักเกณฑ์อันนี้ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาหลวงตาท่านคุยกับหลวงปู่คำดี คุยกับหลวงปู่บัว สูงส่งแค่ไหน ท่านรู้เลยว่ามันจะไปต่ออย่างไร จะไปอย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าพิจารณาอย่างนี้ การภาวนาอย่างนี้มันก็สำหรับฆราวาสทำได้ขนาดนี้ ทำได้ขนาดนี้เป็นการยืนยันว่าสัจธรรมมันมีอยู่ ธรรมะมันมีอยู่ไง ถ้าธรรมมีอยู่ เวลาเราภาวนาไปแล้ว ผลมันจะบอก บอกที่มันรู้มันเข้าใจแล้วมันโล่ง มันเย็น มีความสุข ยิ่งกว่าปีติที่เคยเจอ 

ปีติมันก็ปีติ ปีติเป็นสัมมาสมาธิ เวลาพิจารณาแล้ว เวลาวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ขั้นของสมาธิ เห็นไหม เวลาขั้นของปัญญามันไปอีกรูปแบบหนึ่งเลย ขั้นของปัญญา มันพิจารณาไปมันถอดมันถอน เห็นไหม 

เวลาครูบาอาจารย์ หลวงตาท่านพูดเอง สมาธิรวบเข้ามาเหมือนเกี่ยวข้าว สมาธิรวบข้าวเข้ามาเลย ปัญญาคือเคียว ปัญญาเคียวเกี่ยวข้าว รวบเข้ามา มันก็รวบเข้ามาเฉยๆ แต่ถ้าไม่รวบเข้ามาจะไปเกี่ยวที่ไหน อ้าวเคียวอยู่ที่ร้านขายเคียว มันก็แขวนอยู่นั่น มันจะเกี่ยวอะไรล่ะ แต่นี่คนไปซื้อเคียวมาใช่ไหม แล้วมือจับรวบข้าวเข้ามาใช่ไหม เคียวมันก็เกี่ยวข้าวใช่ไหม เกี่ยวเสร็จ ข้าวเราก็เอาไปเข้ายุ้งเข้าฉาง เอาไปหุงไปหา มันได้ข้าวมา

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าพูดขั้นของสมาธิ มันก็เป็นขั้นของสมาธิ ที่ว่ามันดีกว่าปีติ ถ้าปีติเกิดจากสมาธิ ถ้าเกิดปัญญา ปัญญาก็พิจารณาซ้ำๆ เข้าไป ซ้ำเข้าไปเพื่อให้มันทำสมาธิได้ง่ายขึ้น ถ้าความเข้าใจ เข้าใจในอะไร เข้าใจในเคียวอยู่ที่ร้าน ข้าวอยู่ในนา ถ้าข้าวเปลือกก็อยู่ในยุ้งฉาง อ้าวถ้าข้าวสาร ข้าวสารก็ต้องเอาไว้ใส่หม้อหุงข้าว เข้าใจในเรื่องอะไร แต่ถ้าเป็นข้าวสุกเกิดจากหม้อสิ อย่างนี้ได้กิน มันก็เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป 

เข้าใจก็คือเข้าใจ ถูกต้อง แต่มันต้องทำซ้ำไปเรื่อยๆ รู้อะไร เห็นอะไร มันจะตอบมาเป็นความจริงของมัน

ไม่ว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่ภาวนา สิ่งที่ผมรู้และเข้าใจคือความซื่อสัตย์กับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะหากไม่ซื่อสัตย์แล้วมันทุกข์มาก เป็นการหลอกตนเอง ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจ

ความซื่อสัตย์ คนมีสัตย์นะ ความสัตย์คือความจริง ถ้าเราอยู่กับความจริง เป็นความจริงตลอดเวลา มันมีความซื่อสัตย์เกิดขึ้น

ถ้าหากไม่ซื่อสัตย์ มันจะเป็นความทุกข์มาก ถ้าไม่ซื่อสัตย์เราก็โกงไง พอภาวนาไปก็ให้คะแนนตัวเองเยอะๆ ภาวนาเข้าไป พอจิตสงบหน่อยก็ เออพระโสดาบัน พอสงบครั้งที่ ๒ เป็นพระสกิทาคามี พอสงบครั้งที่ ๓ เป็นพระอนาคามี พอสงบครั้งที่ ๔ เป็นพระอรหันต์ ทั้งๆ ที่มันไม่ได้อะไรเลย มันไม่ซื่อสัตย์ มันไปโกงไง โกงตัวเองเลยนะ เพราะตัวเองก็ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ถ้ามันสมควรแก่ธรรม ทำสิ่งใดได้ขนาดไหนมันก็ได้คุณธรรมแค่นั้น มันก็รู้ได้แค่นั้น แต่นี่เพราะว่าศึกษาธรรมะ หรือฟังครูบา-อาจารย์เทศนาว่าการมา พอจิตสงบมันไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น พอจิตสงบมันแค่ปล่อยวางมาเป็นอิสระหน่อยเดียว มันสงบ ที่เขาบอกว่ามันดีกว่าปีติ ปีติมันสงบเข้ามา พอสงบเข้ามา จับมันหรือยัง สมาธิจะเกี่ยวข้าว รวบข้าวเข้ามา ปัญญาจะเกี่ยวจะตัดมัน สิ่งที่รวบเข้ามา เรารวบมันได้ไหม เรารวบข้าวเข้ามา หรือเราไปรวบหญ้าคาเข้ามา หรือเราไปรวบอากาศเข้ามา เรารวบอะไรเข้ามา

นี่ไง จิตสงบแล้วมันรื้อค้นของมัน มันพยายามรื้อค้นของมันว่า กิเลสมันอยู่ที่ไหน ชื่อกิเลสมันเป็นอย่างไร ทุกคนก็บอกว่า สังโยชน์ สังโยชน์มันอยู่ที่ไหน จะไปฆ่าสังโยชน์ สังโยชน์มันเป็นนามธรรม คำว่า นามธรรม” เป็นชื่อของสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นนามธรรมคือความหงุดหงิด ความขัดข้องหมองใจทั้งนั้นน่ะ กิเลสคือความเสียดสีในหัวใจ แล้วมันอยู่ไหนล่ะ มันอยู่ไหน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสอนเรื่องสติปัฏฐาน ๔ เพราะจิตนี้มันไปเกี่ยวกับกาย เกี่ยวกับเวทนา เกี่ยวกับจิต เกี่ยวกับธรรม ถ้าเราพิจารณาสิ่งนั้นย้อนกลับมา ถ้ามันไล่เข้ามา ไล่เข้ามา มันก็ไล่เข้าไปสู่จิตนั่นแหละ กายนี้ก็เกิดจากจิต คนตายมันไม่รู้หรอกว่ากายเป็นของใคร

คนเป็นหมอ หมอมันก็ผ่าตัดอยู่ทุกวันเลย ผ่าตัดนี้ก็เป็นวิชาชีพ เพราะมันผ่าตัดที่ร่างกายนี้ มันเห็นกายโดยวิชาชีพ แต่ถ้าจิตมันสงบแล้วมันเห็นโดยตัวมันเอง เห็นตัวมันเองเพราะอะไร เพราะเราติดข้อง จิตใต้สำนึกมันถือตัวถือตนนะ จิตใต้สำนึกมันว่ามันสุดยอดคนนะ เวลาไปเห็นกาย โอ้โฮมันสะเทือนเลยน่ะ

สุดยอดคนอย่างไร เพราะมันเป็นมาตรฐาน เป็นสติปัฏฐาน ๔ กายเหมือนกาย จะเป็นสัตว์ เป็นคน กายมันก็คือกาย แต่ความผูกพันของจิตที่มันผูกพันกับกายนี้สิ พอเห็น พอจับต้องได้ มันสะเทือนใจมาก ถ้าเจอนะ พิจารณาไปแล้ว เห็นไหม 

เราจะฆ่ากิเลส ฆ่ากิเลสนะ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ ใครเห็นได้ เวทนา เวทนา

เวทนานี่เป็นเวทนาโลก เวลาเจ็บช้ำน้ำใจก็ร้องไห้ เวลานั่งไปมันก็เจ็บปวดขา เวทนา แต่จิตมันสงบแล้วมันจับเวทนา อ้าวเวทนาสักแต่ว่าเวทนา เวทนามันเกิดจากไหน เกิดเพราะจิตมันโง่ พอจิตมันโง่มันเป็นอุปาทานไปยึดมั่นถือมั่นมันถึงเกิดตา หู จมูก ลิ้น กายมันเกิดเวทนาไม่ได้ มันเจ็บปวดไม่ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กายมันเจ็บปวดไม่ได้ แต่มันเจ็บปวดเพราะใจ เพราะใจไปรับรู้ เพราะมันโง่ มันโง่มันถึงรับรู้

ถ้าจิตมันสงบแล้วมันจับ มันพิจารณาของมัน มันทำของมันได้ ถ้ามันทำของมันได้ สิ่งที่มันทำ เราถึงว่าพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม พิจารณาเข้ามา พิจารณาเพื่อขุดคุ้ยหากิเลส ถ้าจิตสงบแล้วมันจับต้องได้ มันจับต้องความอุปาทาน จับต้องความยึดมั่นถือมั่นของใจได้ พิจารณากาย พิจารณากาย กายมันแปรสภาพต่อหน้า มันเห็นมันจะทิ้งของมันเข้าไป เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป 

ถ้ามันทิ้งเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป นี่ที่เขาบอกว่า เขาปฏิบัติแล้วมันมีแต่ความซื่อสัตย์ เพราะว่าถ้าไม่ซื่อสัตย์แล้วมันจะทุกข์มาก” 

ซื่อสัตย์มันก็อุเบกขาไง ทุกขเวทนา สุขเวทนา เฉยๆ เฉยๆ รับรู้ ไม่กระดิกปลายสุขและทุกข์ อยู่ตรงกลาง ซื่อสัตย์ จะบอกว่ามันยังมีอยู่ไง พิจารณาซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไป ละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าพูดถึงเอาความจริงนะ เพราะเขาถามมาบอกว่า ที่เล่ามานี้ ตอนนี้ไม่ทุกข์ไม่ร้อนในการดำเนินชีวิตในระดับหนึ่ง ถึงบางทีสติมันไม่สามารถจับได้ทันทีทันใดก็ตาม แต่ก็ใช้ชีวิตในสังคมที่อยากมีความสุขครับ

ถ้ามันมีธรรมะในหัวใจ มันก็จะมีความสุข มันมีความเท่าทันกิเลสของตน คนจะมีความสุขคือมันเท่าทันความคิดของเรา มันไม่ให้ตัณหาความทะยานอยากมันปลุกเร้าแล้วข่มขี่หัวใจของเรา ถ้าเรามีสติปัญญา มีคุณธรรม มันเท่าทันความคิดของเรานะ เรื่องติฉินนินทามันอยู่ข้างนอก โลกธรรม ๘ มันทำอะไรเราไม่ได้หรอก ถ้าเรามีคุณธรรมในใจ

ฉะนั้น เขาบอกว่า ที่เล่ามาให้ฟังก็มาบอกว่าชีวิตนี้มีความสุข มีความสุขในการประพฤติปฏิบัติพอสมควร” 

นี้มีความสุขเพราะเรามีคุณธรรมในใจเป็นที่พักที่อาศัย แต่ถ้ามันจะเป็นประโยชน์ พิจารณาซ้ำไปเรื่อยๆ พิจารณาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก้าวเดินไปเรื่อยๆ สิ่งที่เล่ามามันบอก เห็นไหม รู้อะไร เห็นอะไร ถ้ารู้เห็นความจริง รู้เห็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก พิจารณาจนถึงที่สุด เห็นตามความเป็นจริง ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม รู้อย่างใดก็พูดได้อย่างนั้น

ฉะนั้น ข้อ ๑ถ้าพูดถึงว่าเป็นฆราวาส แล้วปฏิบัติแล้วชีวิตมีความสุขก็สาธุ ใช้ได้ แต่ถ้าจะให้มันเป็นความจริง เป็นความจริง เป็นความจริงคือมีคุณธรรมในหัวใจ มันต้องปฏิบัติต่อเนื่องไป ต่อเนื่องไป แล้วมันจะรู้จะเห็นของมันตามความเป็นจริง รู้อะไร เห็นอะไรตามความเป็นจริงแล้ว มันจะเห็นคุณธรรมในใจ อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

นี่พูดถึงอีกเรื่องหนึ่ง คือว่าปฏิบัติแล้วมีสัจจะ มีความจริงในใจ แต่ถ้าปฏิบัติแล้วเป็นเครื่องอยู่ มีความสุขอย่างนี้ก็สาธุ จบ

ถาม : เรื่อง ไขก๊อกสำเร็จ” 

หลวงพ่อ : เขาเขียนมาว่า เขาเคยถามมาไง เขาถามมาเพื่อจะฟังธรรม ฉะนั้น ฟังธรรม สิ่งที่ฟังธรรม เขาบอกเขาไขก๊อก ถ้ามันไขก๊อกมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้ามันเขียนมา บางทีมันก็เขียนมาเพื่อเห็นว่าฉันทำความดีไง เขาบอกว่าที่เขาถามมา เขากล้าถามเพราะ เพราะไม่มีใครรู้จักผม เวลาด่าผม ผมก็อายคนเดียว เวลาชม ผมก็ดีใจคนเดียว ทดสอบใจอยู่คนเดียว วัดใจคนเดียวดีมากเลยครับในเว็บไซต์นี้

ตอบ : คำถามเขานะ ถ้าไขก๊อก ไขก๊อกคือเขาไขด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไง แต่บางทีคนเรามันคิดว่าถ้าถามปัญหาไป แล้วถ้าหลวงพ่อยอมรับ หลวงพ่อเห็นด้วย เห็นไหม มันก็คิด ถ้าเป็นการแก้ไขเรื่องความเห็นเรื่องหนึ่งนะ

แต่ถ้าเป็นเอาไปใช้ประโยชน์ไง เราถึงใช้คำว่า ตกทอง” ครั้งที่แล้วเขาถามมาว่า ตกทอง” ตกทอง เห็นไหม เขาจะได้ประโยชน์ ประโยชน์จากว่าการเอาทองปลอมไปตกให้คนที่มีทองจริงได้เก็บ แล้วเขาก็ไปขอเอาเส้นเล็ก เอาทองจริงนั้นมา แล้วให้ทองปลอมให้คนอื่นไป นั่นถึงว่าเป็นการตกทอง

นี่คำถามเหมือนกันว่า คำว่า ไขก๊อก” ถ้าไขก๊อกมันมีความซื่อสัตย์สุจริต มันอยากฟังธรรม แต่ถ้าอยากฟังธรรมมันก็เป็นฟังธรรมใช่ไหม แต่ถ้าเป็นการตกทอง เห็นไหม ถามไปโดยความเห็นของเรา ความคิดของเราคิดได้มากน้อยแค่ไหนก็ถามไป เพื่อให้ท่านเห็นด้วย ถ้าเห็นด้วยแล้วก็เพื่อประโยชน์กับตนไง เพื่อประโยชน์กับตนเพราะถือว่าหลวงพ่อได้การันตีแล้ว ยอมรับแล้ว อันนี้อีกเรื่องหนึ่งนะ 

คำว่า ไขก๊อก” เป็นส่วนไขก๊อก ไอ้นี่เวลาพูด ก็พูดเป็นธรรมะ พูดเป็นบวก แต่กิเลสของคน เจตนาของคน ความเห็นของคนมันมีเบื้องหน้า เบื้องหลังไง ถ้ามีกิเลสอยู่มันมีเบื้องหน้า เบื้องหลัง ถ้าไขก๊อกมันก็เขียนตรงๆ ก็ได้ ถามปัญหาตรงๆ ไม่ต้องอ้อมค้อม อยากรู้อยากเห็นอะไรถามมา 

เพราะสิ่งที่เราตอบปัญหาอยู่นี้ เพราะเราก็เป็นนักปฏิบัติเหมือนกัน เวลาปฏิบัติใหม่ๆ เห็นไหม จะหาครูหาอาจารย์มันแสนยาก เพราะเราเองเราซื่อสัตย์ เราก็อยากจะมีของจริง ไปถามพระเพราะเห็นว่าเขามีชื่อเสียง มีคนนับหน้าถือตา ไปไหนมาสามวาสองศอก คำว่า ไปไหนมาสามวาสองศอก” จะรู้ได้ต่อเมื่อเราภาวนาของเรา เราฝึกหัดของเรา จนเราฝึกหัดของเราจนเรารู้ถูกรู้ผิด เราถึงย้อนกลับไปดูได้ว่าที่เขาพูดมานี่ผิดหมด

แต่ตอนที่เราไปถามเขา เราไม่รู้หรอกว่าอะไรถูก อะไรผิด มีแต่งงๆ จริงหรือไม่จริง ใช่หรือไม่ใช่ เพราะเราไม่มีสติปัญญาสามารถวินิจฉัยได้ แต่พอเราไปปฏิบัติ เอ๊ะอย่างนี้มันไม่ใช่ มันไม่ใช่ เพราะไม่ใช่แล้วพยายามทำให้ตรงๆ ทำให้ตรงๆ หมายความว่าพยายามทำให้มันถูกต้อง เวลาเป็นสมาธิเป็นสมาธิ เวลาเป็นปัญญามันคนละเรื่องกับที่เขาพูดกันเลย อันนี้พูดถึงว่า เพราะเรามีประสบการณ์อย่างนั้น เราถึงมาตอบปัญหาอยู่นี่ไง 

เมื่อ ๒ วันที่เด็กมันมา เห็นไหม บอกถามมาเลย เอ็งถามเถอะ เอ็งจะหาโอกาสถามพระอย่างนี้เอ็งหายาก เอ็งไปถามพระที่อื่นนะ ไปไหนมาสามวาสองศอก มึงถามอย่าง กูก็ตอบอย่าง เวลามึงจะถามกูจริงๆ กูก็ทำโกรธนะ โกรธแล้วนะ คือมันตอบไม่ได้ พอเวลาจนตรอกนะ ทำโกรธเลยนะ แหมจะให้คนถามถอยไปไง

เวลาธรรมดาล่ะคุยโม้นัก เวลาถามปัญหาไปทำฮึดฮัด ฮึดฮัด จะกินเลือดกินเนื้อเลยนะ กูเก่งนะ มึงอย่าถามนะ กูเก่งนะ มันตอบไม่ได้ โธ่เอ้ยเราเจอมาเยอะไง 

ที่มาตอบอยู่นี่ พูดถึงเขาบอกว่า ไขก๊อก” ไขก๊อกมันก็รู้ได้ แต่ตกทองมันก็รู้ได้ ไขก๊อกมันก็อย่างหนึ่ง ตกทองมันก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง อันนี้จบ

ถาม : เรื่อง “การไหว้พระพุทธรูป

ผมสงสัยครับ เพราะไปอ่านบทความของ เดินทางลัดสู่ใจกลางพุทธ” ถามว่า การไหว้พระพุทธรูปต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมา เพราะเรามีความคิดว่านั่นคือตัวแทนของพระพุทธเจ้า อันนี้ผิดถูกอย่างไรครับ แล้วควรไหว้หรือไม่ควรไหว้อย่างไรครับ (บทความนี้เน้นเรื่องความคิดของคนครับกราบขอความกรุณาครับ กลัวผิดพลาดในพระพุทธศาสนา

ตอบ : ในพระพุทธศาสนา เริ่มต้น เห็นไหม เริ่มต้นเราเป็นชาวพุทธนะต้องถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถึงไตรสรณาคมน์ พุทธมามกะให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถือนอกพระรัตนตรัย ไม่ถือนอกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 

แต่ในปัจจุบันนี้พวกเราจิตใจอ่อนแอ เวลาไปหาพระ พระก็โลเล พระโลเล พระเองพระก็ยังสงสัย ฉะนั้น หาพระแล้วพึ่งพระไม่ได้ ก็ไปพึ่งการเข้าผี การทรงเจ้า แล้วก็ไปตุ๊กตาเทพนั่นน่ะ เพราะอะไร เพราะมันไม่มีที่พึ่งไง

แต่ถ้าเรามีที่พึ่งที่อาศัยใช่ไหม ถ้ามันถือมงคลตื่นข่าว คือกล่าวนอกสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ไม่เชื่อถือศรัทธา แล้วเราก็ไม่เคารพ แล้วเราก็พยายามหลีกห่าง เพราะเราอยากเป็นชาวพุทธ อยากเป็นชาวพุทธเพราะเราอยากตรงต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 

ถ้าตรงต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การไหว้พระพุทธรูปที่เราสร้างขึ้นมา เขาบอกว่า สิ่งนี้เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ผิดหรือถูก ผิดหรือถูก

ถ้าเรากราบ เราไหว้นะ เรากราบ เราไหว้พระพุทธรูป มันถูก มันจะผิดตรงไหน มันจะผิดตรงไหน เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ มันเป็นตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอเป็นตัวแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันเป็นระดับของทานใช่ไหม ก็บอกการสร้างพระมีบุญมาก บุญมาก ก็เลยการสร้างพระกันใหญ่เลย เดี๋ยวนี้มีแต่การหล่อพระ สร้างพระกันไปทั่วประเทศไทย แล้วสร้างมาทำไมกันนั่นน่ะ

พอคิดเป็นวิทยาศาสตร์ พระก็เกิดมาจากอิฐหินทรายปูน เกิดมาจากทองเหลือง เกิดมาจากสัมฤทธิ์ แล้วทำไมเราต้องไปเคารพล่ะ ทำไมเราไม่เคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ต้องไหว้องค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไปไหว้ทองเหลืองทำไม เราไปไหว้อิฐหินทรายปูนทำไม ถ้าอิฐหินทรายปูนคนมันก็มีระดับใช่ไหม

ดูอย่างหลวงตาท่านบอกท่านธุดงค์ไป เวลาท่านอยู่ในป่าในเขา ระลึกถึงหลวงปู่มั่น ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วกราบ มันไม่มีพระพุทธรูปมาให้กราบหรอก แต่ใจเราเคารพศรัทธา เรากราบที่ไหนก็ได้ 

เพราะเราจะทำวัตรสวดมนต์ของเรา แล้วเราก็กราบ เรากราบมาถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เราระลึกถึงพุทธคุณ เมตตาคุณ ปัญญาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรากราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรากราบองค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่ไม่มีพระพุทธรูปเราก็กราบได้

แต่ แต่เด็ก เห็นไหม ดูสิ พ่อแม่พาเด็กมาวัด พาเด็กมาวัด เห็นไหม แล้วให้หนูทำอย่างไรล่ะ ให้หนูกราบพระแล้วกราบพระที่ไหนล่ะ กราบพระตัวเป็นๆ ที่กำลังฉันข้าวอยู่นั่นใช่ไหม แล้วเวลากราบพระพุทธรูปล่ะ กราบพระพุทธเจ้าจะกราบที่ไหนล่ะ

ในวัดในวาเขาก็มีพระพุทธรูปไว้ในโบสถ์ ในวิหาร ไว้เป็นสัญลักษณ์ เขาเรียกว่าเขตพุทธาวาส เหมือนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เขตพุทธาวาสคือเขตของพระพุทธเจ้า คือไม่มีพระสงฆ์ ถ้าเขตของเราเขาเรียกเขตสังฆาวาส วัดทั่วไปเขามีเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เวลาเขตสังฆาวาส เวลากราบเราก็มีสัญลักษณ์เอาไว้กราบ เวลากราบก็กราบถึงเมตตาคุณ ปัญญาคุณขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนี้เป็นสัญลักษณ์ไง กราบได้ไหม ได้

เขาบอกว่า ถูกหรือผิด

ถูก กราบถูก แต่ถ้ากราบแล้วหวังผล อันนั้นกราบผิด กราบโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก 

นี่ไง เวลาเขาจะมาวินิจฉัย มาวินิจฉัยตรงไหนล่ะ เวลาเขาวินิจฉัยเขาจะบอกว่า กราบพระพุทธรูปแล้วมันจะบังธรรมะ ถ้ากราบพระพุทธรูปแล้วปฏิบัติมันไม่ถึงธรรม ธรรมเป็นนามธรรม เป็นสัจธรรม ธรรมเราก็ต้องนั่งสมาธิภาวนาให้ถึงธรรม

แล้วเอ็งทำได้หรือเปล่าล่ะ เอ็งทำได้หรือเปล่า เอ็งสอนเขา เอ็งทำได้หรือเปล่า ธรรมมันเป็นอย่างไร

นี้เราจะบอกว่าคนที่ฉลาดมันทำได้ คนที่ฉลาดคือคนที่มีหลักมีเกณฑ์ เราถือของเราด้วยสัจจะด้วยความจริง เขาเรียกว่าอจลศรัทธา คนที่ศรัทธา ศรัทธามันยังเปลี่ยนแปลงได้ ดูสิ เดี๋ยวก็นับถือศาสนาพุทธ พอศาสนาอื่นเขามาให้ตังค์ ก็เปลี่ยนเป็นนับถือศาสนาอื่น พอศาสนาอื่นเขาให้ประโยชน์ก็ไปนับถือศาสนานั้น ถ้าจิตใจเขายังไม่มั่นคง แล้วเราจะเอาอะไรเป็นสัญลักษณ์ไปให้เขายึดเหนี่ยวล่ะ

ถ้าเขาจะยึดเหนี่ยว เห็นไหม ถ้าจิตใจ ศรัทธา ศรัทธามันคลอนแคลน ศรัทธามันยังเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าศรัทธามันเปลี่ยนแปลงได้ ดูสิ เรากราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อตอกย้ำความศรัทธาของเรา 

แต่ถ้าเป็นอจลศรัทธา เอออย่างหลวงตาท่านบอก ท่านธุดงค์ไปอยู่ที่ไหน ท่านกราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยที่ไม่ต้องมีพระพุทธรูป กราบที่ไหนก็ได้ ระลึกถึงหลวงปู่มั่นเมื่อไหร่ ก็กราบถึงหลวงปู่มั่นเมื่อนั้น ท่านกราบด้วยหัวใจของท่าน ท่านกราบด้วยความเป็นจริงในใจของท่าน

แต่เรา เราเป็นพ่อเป็นแม่ เรามีลูกมีหลานใช่ไหม ลูกหลานมันยังเด็กนะ มันก็ถาม แล้วพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร นี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่งอยู่ไง แล้วพระพุทธเจ้ามีอยู่จริงหรือเปล่า เออมีสิ มีจริงๆ ไม่มีอยู่จริงเขาพิสูจน์ได้อย่างไร แล้วพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร เด็กมันถามมันไปเรื่อยแหละ อันนี้เป็นเรื่องเด็ก

นี่คำถามว่า การไหว้พระพุทธรูปผิดหรือ” 

ถ้าคิดของเขา ถ้าเขาคิดว่าไหว้อิฐหินทรายปูน นั่นผิด ถ้าเขาคิดว่าไหว้ทองเหลือง ทองเหลืองเขาเอามาทำอุตสาหกรรมเยอะแยะ แต่สิ่งนี้เราทำเป็นสัญลักษณ์ เราทำเป็นสัญลักษณ์ของเรา แล้วเราพาลูกหลานของเราเพื่อเคารพบูชา

นี่ก็เหมือนกัน วัดของเรา เห็นไหม วัดพระป่ากรรมฐานส่วนใหญ่เขาจะมีไว้องค์หนึ่ง เอาไว้ทำสังฆกรรม เวลาทำสังฆกรรม เขาจะกราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เวลาจะทำสิ่งใด นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต นะโม ข้าพเจ้านอบน้อมแต่องค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ้าคนที่มีคุณธรรมในใจเขาจะนอบน้อมองค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้า นอบน้อมถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยนี้ไว้ เป็นศาสดา เป็นผู้สอน เป็นผู้ชักลากเราเข้ามา ถ้าเราเข้ามาแล้ว เราระลึกถึงบุญถึงคุณขององค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า

ถ้าเวลาประพฤติปฏิบัติเข้าไปนะ เวลาจิตเราเป็นสมาธิ ถ้าฝึกหัดใช้ปัญญาไม่ได้ เราก็ติดอยู่นั่น มีครูบาอาจารย์ชักเราออกมา เราเกิดศีล สมาธิ ปัญญา เกิดปัญญาเกิดมรรคเกิดผลขึ้นมา ถ้าเกิดมรรคเกิดผลขึ้นมา เรายิ่งระลึกถึงบุญคุณขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาหลวงตาท่านบรรลุธรรมท่านกราบแล้วกราบเล่า กราบด้วยความซาบซึ้ง ซาบซึ้งเพราะอะไร เพราะมันลึกลับมหัศจรรย์ ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมาในหัวใจ เห็นไหม

ถ้ามันเป็นจริงในหัวใจขึ้นมา ดูสิ เวลาพระสารีบุตร เห็นไหม เวลาเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้ว ไม่เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า ร่ำลือจนไปถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกพระสารีบุตรมาแล้วถาม

สารีบุตร เธอไม่เชื่อเราหรือ

แต่ก่อนเชื่อ แต่ก่อนที่ยังภาวนาไม่เป็น เชื่อ

เพราะอะไร เพราะเป็นติสสะ เห็นไหม ไปศึกษากับสัญชัย ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ โดนเขาหลอกมาเยอะ แต่ด้วยสติปัญญาของตน มันไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะจิตมันยังลังเลสงสัยอยู่ แต่เห็นพระอัสสชิเดินบิณฑบาต อืมสำรวมระวังออกมาจากภายใน มันเห็นแล้วมันซาบซึ้ง ตามพระอัสสชิไป 

ถามพระอัสสชิเลย “บวชกับใคร ใครเป็นศาสดา

พระอัสสชิเป็นพระอรหันต์นะ บอกว่า เราเพิ่งบวชใหม่ เราไม่รู้อะไรมากหรอก

ไม่รู้อะไรมากก็พูดเถอะ การแทงปัญหานั้น เราจะแทงด้วยปัญญาของเราเอง

พระอัสสชิก็เลยบอก เย ธมฺมา พระพุทธเจ้าสอนว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ความสุขความทุกข์ ความดีงามทั้งหลายเกิดแต่การกระทำ เกิดแต่เหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไปชำระที่เหตุนั้นไปที่ต้นเหตุนั้น

พระสารีบุตรเป็นพระโสดาบันเลย เวลาไปพูดถ่ายทอดให้พระโมคคัลลานะฟัง พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบัน เวลาไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้าสั่งสอนมาจนเป็นพระอรหันต์ไง แล้วเวลาถาม เธอไม่เชื่อเราหรือ ถ้าเชื่อมันเป็นความเชื่อ มันไม่เป็นความจริงไง 

ข้าพเจ้าไม่เชื่อพระพุทธเจ้าเลย ข้าพเจ้าเชื่อความจริงของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นพระอรหันต์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ใช่ เป็นอย่างนั้นจริงๆ” แต่ก่อน ก่อนที่ยังไม่เป็นนะ เชื่อ แสวงหา ค้นคว้า ไปให้สัญชัยหลอก คนนู้นหลอก คนนี้หลอก โดนหลอกมาตั้งเยอะ กว่าจะมาเป็นความจริง แล้วความจริงต้องเชื่อใครล่ะ มันไม่เชื่อใครเลย

พูดอย่างนี้ให้เห็นว่า เขาบอกว่า การกราบไหว้พระพุทธรูปถูกหรือผิด” ถ้าบอกว่าเป็นพระอรหันต์แล้วไม่เชื่อใครเลย นั่นเป็นความจริง แต่พวกเราเป็นอะไรล่ะ พวกเราเป็นพระอรหันต์หรือ เราไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ลองจับจดมันก็เหลวไหล แล้วเอาวัตถุมาหล่อเป็นตัวแทน เป็นสัญลักษณ์ แล้วเรากราบเราไหว้เพื่อความมั่นคงของเรา มันผิดตรงไหน พูดไปก็อย่างว่ามันมีหยาบ มีละเอียดไง ถ้าพูดถึงธรรมะหยาบๆ มันก็พูดถึงว่าไม่ผิด

แต่เวลาเขาพูดถึงความละเอียด เห็นไหม พูดถึงเวลาพระสารีบุตรยังไม่เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ไม่เชื่อเลย เชื่อความจริงในใจของพระสารีบุตร องค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้าบอก ถูก ถูกเพราะอะไร ถูกเพราะองค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าสอนมาเอง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคนสอนมาเองๆ เป็นคนบอกเอง แล้วจนเป็นพระอรหันต์ องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้ารู้ ความเป็นพระอรหันต์มันต้องเป็นโดยเอกเทศ เป็นโดยใจดวงนั้น ใจของคนที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ใจของเขาต้องสำรอกกิเลสออกหมด แล้วเขาก็เป็นพระอรหันต์ แล้วเขาจะเชื่อใครล่ะ เขาก็ต้องเชื่อความเป็นพระอรหันต์ของเขา

แล้วเราก็เอาประเด็นนี้มาบอกว่า พระพุทธรูปก็ห้ามกราบ มันจะบังธรรมะแล้วเอ็งเป็นอะไรล่ะ เอ็งมีอะไร เอ็งไม่รู้อะไรเลย แล้วเอ็งก็มาพูดไปอย่างนี้ พูดให้สังคมไขว้เขวไง 

แต่ถ้าเป็นสังคมที่ดีงาม สังคมที่มีครูมีอาจารย์ เดินตามร่องตามรอย เดินตามครูบาอาจารย์ของเรา กราบได้ กราบได้ กราบ เพราะครูบาอาจารย์ของเราท่านก็กราบมา หลวงปู่มั่นท่านแกะพระพุทธรูปเองเลย ท่านกราบท่านไหว้ของท่าน ท่านเคารพของท่าน แล้วท่านก็ประพฤติปฏิบัติของท่าน จนท่านเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็วางข้อวัตรปฏิบัติให้พวกเรา ท่านพยายามขวนขวายชี้แจงสอนพวกเรา แล้วพวกเรามีครูมีอาจารย์ทำเป็นแบบอย่าง

ใครเขาจะว่าอย่างไรเป็นเรื่องของเขา เราเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระสงฆ์คือพระอริยสงฆ์ พระสงฆ์คือหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราที่เป็นอริยสงฆ์ เอวัง