ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ลำบากเปล่า

๒ ก.ค. ๒๕๕๙

ลำบากเปล่า

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “ปฏิบัติโดยความเป็นทุกข์

ขอเมตตาถามการปฏิบัติครับ

ทุกขาปฏิปทา เหมือน ต่างอย่างไรกับอัตตกิลมถานุโยคในสมัยที่กำลังมีความเพียรครับ กลัวจะเดินผิด

ขอให้หลวงพ่ออธิบายคำว่า “เห็นทุกข์คือเห็นธรรม” ในขณะทำสมาธิครับ

ตอบ :  คำถามเนื้อๆ เลย เห็นไหม เขาถามมาเพราะว่าคุยกันมาพอแรงแล้วล่ะ ทีนี้เขาถามเลย “ทุกขาปฏิปทา เหมือน ต่างอย่างไรกับอัตตกิลมถานุโยค

ทุกขาปฏิปทาคือว่าปฏิบัติโดยปฏิปทาแบบขี้ทุกข์ขี้ยากไง คำพูดคำนี้หลวงตาท่านพูดบ่อย ครูบาอาจารย์ของเราท่านพูดบ่อย เราบอกเราบารมีขี้ทุกข์ เราบารมีขี้ทุกข์

ถ้าบารมีขี้ทุกข์ ทุกขาปฏิปทา เวลาปฏิบัติเป็นทุกข์ไง แต่มันเป็นปฏิปทาของคนทุกข์คนยากไง สุขาปฏิปทา คนปฏิบัติด้วยความสุขไง นี่ไง บัว  เหล่าๆ

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา นี่เวลาสวดมนต์ ทุกขาปฏิปทา แล้วพอทุกขาปฏิปทา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเราก็บอกว่าเราเป็นทุกข์ๆ

เวลาปฏิบัติเราเป็นทุกข์เป็นยากกันทั้งนั้นน่ะ แล้วเป็นทุกข์เป็นยาก มันปฏิปทาทางเดินไง ทางเดินด้วยความทุกข์ความยากไง

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติโดยความสุขปฏิปทาของเรา ด้วยความราบรื่น ด้วยความร่มรื่นไง นี่สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

ทุกขาปฏิปทาใช่ไหม เราก็บอกว่าปฏิบัติโดยทุกข์โดยยากๆ ทีนี้โดยทุกข์โดยยากอย่างหนึ่งใช่ไหม ทีนี้เวลาปฏิบัติไปแล้วมันมีความคิด เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดถึงกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทีนี้ถ้ามันแบบว่ากามสุขัลลิกานุโยค ทาง  ส่วนที่ไม่ควรเสพ ปฏิบัติโดยการติดสุขๆโดยเข้าสมาธิแล้วมีความสุข เข้าสมาธิแล้วก็มีความร่มเย็นเป็นสุข พอเป็นสมาธิแล้วเวิ้งว้าง เวิ้งว้าง มันมีความรื่นเริง มีความเบาสบาย ติดอยู่อย่างนั้นน่ะ นี่ไงทาง  ส่วนไม่ควรเสพ

ปฏิบัติไปแล้วมันทุกข์มันยากๆ อัตตกิลมถานุโยคคือการกระทำที่เปล่าประโยชน์ มันไม่เหมือนกัน การปฏิบัติโดยที่เปล่าประโยชน์ การเปล่าประโยชน์มันเปล่าประโยชน์จากอะไรล่ะ ถ้าพูดถึงการเปล่าประโยชน์มันเปล่าประโยชน์จากมรรคจากผล แต่ถ้ามันปฏิบัติไปแล้ว กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน การกระทำของคนคือการกระทำ การกระทำนั้นเป็นจริตเป็นนิสัย มันมีเวรมีกรรมทั้งนั้นน่ะฉะนั้น เวลาทำดีทำชั่วมันจะไม่มีเหตุไม่มีผลเลยหรือ ไม่มีอะไรตกค้างในใจ...มี

เวลาความเชื่อถือ เวลาคนที่เข้าไปถึงครูบาอาจารย์ที่เป็นจริง แล้วเห็นญาติพี่น้องของตนเองไปอยู่กับครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นจริง พยายามจะดึงมาๆ เพราะเหตุใด เพราะมันจะเป็นสายบุญสายกรรมไปไง สายบุญสายกรรมไปทำในทางที่ผิดสายบุญสายกรรมไปในทางที่ออกห่างจากอริยสัจ ถ้าอย่างนั้นเราก็พยายามจะดึงเขามาสู่สัจจะความจริง

ตรงนี้ที่ว่าปฏิบัติแล้วที่มันไม่มีผล มันมีผลอย่างนี้ต่างหากล่ะ เวลามันมีผล มีผลในวัฏฏะไง มีผลว่าเข้าไปอยู่ในสายบุญสายกรรมของกลุ่มใด มันเป็นจริตเป็นนิสัยใช่ไหม เวลาเราชอบ เราชอบครูบาอาจารย์องค์นี้ ครูบาอาจารย์องค์นี้ท่านเอาอกเอาใจเรา ครูบาอาจารย์องค์นี้พูดตรงกับความรู้สึกเรา ครูบาอาจารย์พูดเหมือนเราๆ

เหมือนเราก็เราคิดโดยกิเลสไง ถ้าเราคิด เหมือนเรามันก็เหมือนโดยกิเลสไงถ้าเราชอบอย่างนั้น เราก็เข้าไปสายบุญสายกรรมอย่างนั้น พอเข้าสายบุญสายกรรมอย่างนั้น นี่ไง ถ้าพูดถึงว่ามันมีผลอย่างนี้ แต่มันเปล่าประโยชน์ อัตตกิลมถานุโยคคือความลำบากเปล่า มันเปล่าจากมรรคจากผล แต่บอกถ้ามันเปล่าจากมรรคจากผล แต่พอมันเปล่าจากมรรคจากผล แล้วปฏิบัติแล้วมันไม่เข้าสู่มรรคสู่ผล

ถ้ามันปฏิบัติแล้วเข้าสู่มรรคสู่ผล มันเข้าสู่ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าสู่มรรค ถ้าเข้าสู่มรรคไปมันก็เข้าสู่สัจจะความจริง ถ้าเข้าสู่สัจจะความจริง เข้าสู่อริยสัจ

ฉะนั้น ทุกขาปฏิปทา เวลาปฏิบัติโดยเป็นทุกข์นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง ความปฏิบัติเป็นทุกข์เป็นปฏิปทา เป็นเครื่องดำเนิน อัตตกิลมถานุโยคมันเป็นความลำบากเปล่า แล้วพอเป็นความลำบากเปล่านะ ปฏิบัติแล้วมันไม่มีสิ่งใดเป็นชิ้นเป็นอันไงมันไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับเราขึ้นมา เห็นไหม

ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาแสดงธัมมจักฯ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทาง  ส่วนที่ไม่ควรเสพ ทีนี้ทาง  ส่วนที่ไม่ควรเสพ ในการประพฤติปฏิบัติของเราเริ่มต้นไง เริ่มต้นของเรา เริ่มต้นของเราก็ต้องจากสามัญสำนึกของเรานี่ จากความรู้สึกเรานี่ ทีนี้ความรู้สึกเราโดยปัจจุบันมันก็ดิบๆใช่ไหม ไม้ดิบๆ ไง เวลาพูดอย่างนี้แล้วคิดถึงหลวงตา ท่านจะเน้นย้ำเลย การปฏิบัติมียากอยู่  คราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้นนี่ คราวเริ่มต้นคราวของคนที่จะประพฤติปฏิบัติ คราวของคนที่จะเข้าสู่หนทาง

ทีนี้จะเข้าสู่หนทาง มันจะเข้าอย่างไร มันเฉียดไปเฉียดมา เฉียดมาเฉียดไปอยู่อย่างนี้ มันไม่เข้าสู่หนทางไง หนทางคือมัชฌิมาปฏิปทา เห็นไหม

คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้นมันทุกข์ยากมันลำบาก ทีนี้การลำบากมันจับพลัดจับผลูเพราะคนไม่เคยเป็น เหมือนฝึกสัตว์ สัตว์ที่มันไม่เคยเป็นจะมาใช้งานมันยากตอนเริ่มต้นนี่ แต่พอมันชักเชื่อฟัง พอมันชักยอมรับ มันจะสะดวกขึ้นแล้ว แล้วฝึกมันๆ ฝึกมันจนมันคล่องตัว มันชำนาญ เราเอามาใช้งานได้แล้ว

นี่ก็เหมือนกัน ตอนนี้เราจะฝึกหัวใจ หัวใจมันดื้อด้าน หัวใจมันพองคับหัวอกหัวใจมันเคยสะดวกสบาย แล้วเราจะบังคับตัวเองๆ พอบังคับตัวเอง มันก็เริ่มต้นที่คำถาม เราเห็นคำถามแล้วเราเข้าใจไง เข้าใจว่ามันจับพลัดจับผลู จะไปทางไหนก็ติด จะไปซ้ายก็ไม่ได้ ขวาก็ติด ไปข้างหลังก็ไม่อยากไป ข้างหน้าก็ดันไม่ไป มันก็เลยหันรีหันขวาง เขาถึงว่ากลัวว่ามันจะผิดมันจะพลาด

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา การปฏิบัติโดยทุกข์โดยยาก โดยทุกข์โดยยากเราต้องคิดมุมกลับไง คิดมุมกลับว่า สิ่งนี้ทุกข์มันเป็นอริยสัจ ทุกข์มันเป็นสัจจะความจริง เราก็จะเข้าสู่ความจริงอันนั้น ฉะนั้น เวลาปฏิบัติ คนเราจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ

ทีนี้ถ้าเป็นความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ เราทำของเราด้วยสติด้วยปัญญาของเรา ถ้ามันจะผิดพลาด มันจะผิดพลาดอย่างใด ตอนนี้มันจะย้อนกลับมาเรื่องอำนาจวาสนาบารมี แล้วอำนาจวาสนาบารมีมันเกิดจากไหน มันไม่ใช่เกิดจากการเสียสละของเรานี่หรือ พระโพธิสัตว์ พระเวสสันดรอย่างนี้ ความจะเกิดเป็นพระพุทธเจ้า อำนาจวาสนาต้องขนาดนั้น เพราะในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต้องสละลูกสละเมีย ต้องมีคู่มีครองจนแบบรักใคร่ผูกพันนะ แล้วก็ต้องสละต้องพลัดพรากจากไป มันกระชากหัวใจไปนะ

เราจะบอกว่า พระเวสสันดรเป็นพระโพธิสัตว์ ถ้าเป็นพระโพธิสัตว์ ชาติที่มาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะเป็นชาติสุดท้ายแล้ว อีกชาติเดียว แล้วคิดดูสิ คนที่มีความดีขนาดนี้จะรับผิดชอบไหม

จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบสูง

จะมีกตัญญู มีความผูกพันมาก แล้วต้องสละไป

นี่พูดถึงไง นี่เราจะบอกว่า สิ่งที่พระโพธิสัตว์สละขนาดนี้ จะเป็นพระอรหันต์จะเป็นผู้ที่ปฏิบัติ เขาต้องเสียสละมา

กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน ทีนี้เวลามันจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กันเพราะมันมีความรับผิดชอบอย่างนี้ มีความรับผิดชอบ มีการกระทำอย่างนี้ มันถึงมีอำนาจวาสนาบารมีมาไง ถ้ามีอำนาจวาสนาบารมีมา เวลาทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เวลาทุกขา ทุกข์ขนาดไหนมันก็มีสติมีปัญญา เวลาทุกข์มันมีสติปัญญา

เราฟังนะ เวลาฟังถึงหลวงปู่เสาร์ ฟังถึงหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านเล่าถึงปฏิปทาของท่านให้หลวงตาฟัง หลวงตาท่านบอกว่าเวลาฟัง มันเป็นความทุกข์ของหลวงปู่มั่นนะ ขณะนั้นหลวงตาท่านยังหันหน้าเข้าข้างฝาแล้วน้ำตาไหล แต่หลวงปู่มั่นท่านพูดเฉย เพราะอะไร เพราะท่านผ่านมาแล้วไง ท่านผ่านความทุกข์อันนี้มาเจอความสุขแล้ว ท่านเจอวิมุตติสุขในใจของท่าน

พระอรหันต์ที่มีวิมุตติสุขในใจนะ แล้วท่านเล่าถึงความบากบั่นของท่านน่ะท่านก็เล่าเป็นเรื่องธรรมดา เห็นไหม เหมือนเรา เราผ่านทุกข์ผ่านยากมา เราก็เล่าให้ลูกหลานเราฟังเป็นเรื่องธรรมดาเนาะ แต่ไอ้คนฟังมันทุกข์ขนาดนั้นน่ะ ฉะนั้นเวลาทุกข์อย่างนี้ปั๊บ มันเป็นสัจจะ มันเป็นความจริง มันเป็นอำนาจวาสนา กว่ามันจะเข้าถึงสัจจะความจริงอันนั้น ฉะนั้น พอเข้าถึงสัจจะความจริงอันนั้น

เวลาพวกเราเวลาคนที่อำนาจวาสนาบารมีเบาบาง เวลาจะประพฤติปฏิบัติขึ้นไปก็ “เราปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิบัติรู้ง่าย ปฏิบัติ” มันผิวเผินไง มันผิวเผิน มันเป็นเรื่องฌานโลกีย์ พวกนี้ไม่เคยเข้าฌานสมาบัติไง คนที่เข้าฌานสมาบัติเขาจะรู้เลยว่าเข้าฌานสมาบัติมันมีความสุขขนาดไหน

ในการปฏิบัติมโนมยิทธิเขาบอกว่า ถ้าเข้าฌานสมาบัติได้โดยความคล่องตัว แม้แต่ทานข้าวหรือขับถ่ายก็จะเข้าฌานสมาบัติได้ด้วยความคล่องตัว “ถ้า” เขาใช้คำว่า “ถ้า” นะ อยู่ในพระไตรปิฎก ถ้าน้อมจิตอย่างนี้ไปวิปัสสนาแค่เคี้ยวหมากแหลก เป็นพระอรหันต์เลย จริงไหม จริง แต่ทำได้ไหม ไม่ได้ ไม่ได้ตรงไหน

ไม่ได้ตรงเข้าฌานสมาบัติแล้วมันไม่ไปวิปัสสนาหรอก มันไม่ไป ไม่มีทางไปถ้ามันไปนะ สมัยพุทธกาลนะ ฤๅษีชีไพรเขาเป็นพระอรหันต์หมดแล้ว ฤๅษีชีไพรเขาได้เข้าฌานสมาบัติทั้งนั้นน่ะ ทุกคนระลึกอดีตชาติได้ ทุกคนเหาะเหินเดินฟ้าได้แล้วก็เสื่อมหมด แล้วก็ตายไปในภพชาติของฤๅษีชีไพร ถ้ามันเป็นไปได้ ฤๅษีชีไพรก่อนครั้งพุทธกาลก็มีเยอะแยะไป ไอ้พวกเข้าฌานสมาบัติได้ มันเข้าได้ เข้าได้แล้วมันติด มันติดเพราะโอ้โฮมันสุข

ก็คิดดูสิ เวลาหลวงตาท่านพิจารณาจนกายแยกออกจากกัน แล้วว่างหมดท่านยังว่านี่นิพพาน ท่านบอกท่านติดสมาธิ  ปี คำว่า “หลวงตาท่านบอกว่าท่านติดสมาธิ  ปี” เพราะไปฟังเทียบเคียงเยอะๆ นะ ท่านบอกว่า บางทีเวลาท่านพูดถึงลึกๆ หน่อย ท่านบอกว่า “เราติดสมาธิอยู่  ปี เพราะคิดว่าสมาธิคือนิพพาน” ท่านใช้คำนี้ ท่านใช้คำว่า “นึกว่าสมาธินี่คือนิพพาน” สมาธินะ ไม่ใช่สมาบัติสมาบัติมันลึกกว่ากันขนาดไหน

ท่านเข้าสมาธิ ท่านบอกท่านอยู่ในสมาธิ  ปี ท่านเข้าใจว่าสมาธินั้นคือนิพพาน ท่านเข้าใจว่าท่านถึงนิพพานแล้ว ติดอยู่  ปี แล้วหลวงปู่มั่น คิดดู พอท่านติด ท่านติดมาตั้งแต่เริ่มต้น  ปีนี่คือหลวงปู่มั่นกระหนาบมาตลอด  ปีนี้หลวงปู่มั่นท่านกระหนาบมาตลอด กว่าจะออกจากสมาธินั้นได้

นี่ไง นี่พูดถึงว่าเวลาเข้าฌานสมาบัติ จิตมันขนาดไหน แล้วถ้าเข้าไปแล้ว ถ้าบอกว่ามโนมยิทธิ มโนมยิทธิเขาบอกว่าเข้าฌานสมาบัติได้ ขณะจะทานข้าวก็เข้าได้ ขณะจะขับถ่ายก็เข้าได้ คือชำนาญขนาดนั้นน่ะ ชำนาญในสมาบัติ แล้วถ้าน้อมมาวิปัสสนาชั่วเคี้ยวหมากแหลก เคี้ยวหมากคำเดียวน่ะ เป็นพระอรหันต์เลย แล้วทำได้ไหม โดยข้อเท็จจริงมันเป็นแบบนั้น โดยทฤษฎีมันเป็นแบบนั้น แต่คนทำมันทำได้ไหม

เพราะ แหมจะรู้ว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วเข้าถอยมันเป็นอย่างไร นี่พูดถึงสมาบัติ

ทีนี้คำว่า “สมาบัติ” นี่เอามาเทียบเคียงถึงการปฏิบัติที่ว่าเวลาเริ่มต้นมันยากมันยากอย่างไร แล้วถ้ามันยากแล้ว ที่มันจะเข้าหนทาง เข้าอย่างไร ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญามันจะทุกข์ขนาดไหน ครูบาอาจารย์ท่านทำมาแบบนี้

แต่เวลาดูสิ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงตา หลวงตาท่านบอกเลย ถ้าท่านคิดถึงที่ท่านบากบั่นมา ท่านบอกว่าคิดแล้วมันขยักๆ แล้วจะทำอีกจะทำได้อย่างไรแต่ตอนนั้นด้วยกิเลสในหัวใจ ด้วยแรงปรารถนา ด้วยความมั่นใจของเรา มันโหมมันสู้ได้ มันสู้มาตลอด แล้วมันทำผ่านมา นี่ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ทำมาแล้วฉะนั้น ทำมาแล้ว เวลาคนที่เขาภาวนาไม่เป็น เวลาลูกศิษย์ลูกหาท่านไปคุยกับหลวงตา แล้วท่านไปคุยกับครูบาอาจารย์ของท่าน เวลาไปคุยบอกว่าครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติกันขนาดนี้

ไอ้พระที่ว่าเขาเป็นนักปฏิบัติเขาบอกว่า “อู้ฮูต้องทำกันขนาดนั้นเชียวหรือของฉันนั่งเฉยๆ ก็สำเร็จกันหมด

คำพูดอย่างนี้นะ มันพูดแบบว่าผู้ดีใช่ไหม ผู้ดีเขาก็นุ่มนวลอ่อนหวานของเขาถ้านุ่มนวลอ่อนหวาน เขาก็เป็นผู้ดีไง แต่เขาไม่มีมรรคมีผลหรอก มีมรรคมีผลมันต้องแลกมาด้วยความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ คือว่ามันต้องมีมรรคไง ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล หัวใจที่ประพฤติปฏิบัติไม่มีข้อเท็จจริงขึ้นมา มันจะเอาผลมาจากไหน ความเป็นจริงข้อเท็จจริงในใจไม่มี มันมีผลมาจากไหน ไม่มีหรอก เพราะไม่มีถึงได้พูดกันอย่างนั้นไง พูดอย่างนั้นเพราะอะไรเพราะไม่เคยทำ

แต่ถ้าคำพูดอย่างนี้ไปพูดให้ครูบาอาจารย์เรา ไปพูดให้หลวงปู่มั่นฟังนะเพราะอะไร เพราะหลวงปู่มั่นท่านเป็นคนตรวจสอบหลวงปู่ขาวเอง ตรวจสอบหลวงปู่แหวนเอง เห็นไหม ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่มั่นท่านได้ตรวจสอบหมดแล้ว ทีนี้การตรวจสอบขึ้นมา ท่านมีแต่ชื่นชม

เวลาหลวงตาท่านไปวิเวกกลับมา เป็นไข้เหลืองกลับมา อู้ฮูขนาดนั้นท่านยังตกใจเลย แต่ท่านก็พลิกกลับเลย “เออนักรบมันก็ต้องเป็นอย่างนี้เว้ย ต้องสู้ ต้องอะไร” เห็นไหม ท่านให้กำลังใจ เพราะอะไร เพราะท่านรู้ว่ากิเลสมันเป็นอย่างไรแล้ววิธีการต่อสู้ท่านได้ผ่านมา คนที่ได้ผ่านมาแล้ว ไอ้เรื่องอย่างนี้มันรู้มันเห็นของมัน ถ้ามันรู้มันเห็นมันก็เป็นไปได้ไง

ฉะนั้น ทุกขาปฏิปทากับอัตตกิลมถานุโยคมันคนละเรื่องกัน อัตตกิลมถานุโยคคือการลำบากเปล่า คือการทำความสงบแล้วไม่สามารถยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้วิปัสสนาแล้วมันไม่สามารถเข้าสู่มรรค อัตตกิลมถานุโยคคือการลำบากเปล่าความเปล่า เปล่าประโยชน์จากเข้าสู่มรรคสู่ผล แต่ถ้าการประพฤติปฏิบัติมันบอกว่านี่ปฏิบัติแล้ว

เราจะเน้นย้ำบ่อยว่าการปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันมีอำนาจวาสนา มันมีบุญกุศลไงการปฏิบัติมันมีบุญกุศล แต่ถ้าปฏิบัติผิด แล้วถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ผิด สายบุญสายกรรมมันจะชักไปในทางที่ผิดๆ ทางผิดคือมันเป็นอกุศลไปเลย

แต่ถ้าเราปฏิบัติแล้ว เราปฏิบัติที่ถูกต้องดีงาม เราปฏิบัติของเรา ถ้ามันไม่เข้าสู่มรรคสู่ผล มันก็เป็นการให้มีอำนาจวาสนา ปฏิบัติเพื่อปัญญาของตน สะสมบารมีของตน แต่ถ้ามันสูญเปล่าก็เปล่าจากมรรค เปล่าจากการเข้าสู่อริยสัจ อัตตกิลมถานุโยคคือการลำบากเปล่า ทำแล้วมันเป็นการทุกข์เปล่าๆ มันไม่มีมรรคไม่มีผลขึ้นมา ถ้าไม่มีผลขึ้นมา แต่เราจะปฏิบัติของเรา ถ้าอำนาจวาสนาบารมีไม่ถึง เราก็สร้างอำนาจวาสนาบารมีของเรา

ฉะนั้น อัตตกิลมถานุโยคคือการลำบากเปล่า ฉะนั้น เวลาปฏิบัติแล้วมันทุกข์เราก็กลัวไง กลัวว่ามันจะสูญเปล่า กลัวมันจะไม่ได้อะไร

ถ้าไม่สูญเปล่า แล้วเราไม่ฝึกของเรา เราจะเป็นได้อย่างไรล่ะ เราก็ต้องฝึกหัดของเรา เราพยายามของเราเพื่อให้มันเป็นของเราขึ้นมา ถ้าเป็นขึ้นมามันก็จะเป็นไปได้

นี่พูดถึงว่า “ทุกขาปฏิปทา เหมือน ต่างอย่างไรกับอัตตกิลมถานุโยค เพราะว่าในสมัยที่กำลังมีความเพียรกลัวจะเดินผิดทาง

เราปฏิบัติเลย ปฏิบัติแล้ว เวลาออกมาแล้ว ถ้าประสาเรานะ เวลาปฏิบัติออกมาแล้วถ้ามันสงสัยสิ่งใด ตำรามี เราก็เปิดเปรียบเทียบเคียง ถ้ามีครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์ต้องเป็นสัมมาทิฏฐินะ ครูบาอาจารย์ที่ดีท่านจะคอยบอกคอยชี้เรา

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านไม่เป็น ไปถามคนไม่รู้มันจะรู้ได้อย่างไรล่ะ ไปถามคนไม่รู้มันก็แอ๊ก ทำเสียงดังทั้งนั้นน่ะ เสียงดังขึ้นมาแล้วทำเป็นว่าข่มขู่ไม่ให้ถามไง ไอ้เราก็หงอเลย เราเจออย่างนี้มาเยอะ ถ้าเจออย่างนี้ปั๊บ เราก็เก็บบริขารไปที่อื่น เราไปหาครูบาอาจารย์ที่ถูกต้อง ถ้าครูบาอาจารย์ที่ถูกต้อง

ถ้าครูบาอาจารย์ที่ถูกต้อง ท่านชื่นชม ชื่นชมที่ลูกศิษย์มีความเพียร ครูบาอาจารย์ที่ถูกต้องท่านจะยุ ท่านจะให้กำลังใจ ท่านพยายามเข็นให้เราปฏิบัติ

ถ้าครูบาอาจารย์ที่ไม่ถูกต้องท่านจะไม่ค่อยให้ทำ แล้วท่านพยายามจะดึงกันไปทางอื่น เพราะถ้าทำแล้วเดี๋ยวเอ็งจะรู้ว่ากูปฏิบัติไม่เป็น ครูบาอาจารย์ที่ไม่ถูกต้องท่านจะเป็นอย่างนั้น

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่ถูกต้องนะ หลวงตา เวลาอยู่กับท่าน พระไม่อดอาหารท่านอดนำเลยนะ รุ่งเช้ามาทั้งศาลาเกือบไม่มีพระฉันข้าวเลย ถ้าพระขาดสติ ท่านจะอด สมัยเราอยู่กับท่านน่ะ ถ้าพระยังเผลอๆ

ท่านต้องอดทำไม ท่านเป็นพระอรหันต์ แล้วอายุท่านก็มากแล้ว แต่เวลาพระถ้าไม่ทำ ท่านอดอาหาร เราเห็นแล้วเราเศร้าใจมากนะ ทำไมท่านต้องเอาตัวท่านมาเป็นตัวอย่างอย่างนั้น เราอยู่ที่นั่นเราเห็นอย่างนี้เลยนะ ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมๆ ท่านอดอาหารให้เราตื่นตัว ให้เราต้องทำ ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมเป็นอย่างนี้

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นธรรมนะ ชวนกันไปทำอย่างอื่นหมด เพราะปฏิบัติแล้วเดี๋ยวเอ็งจะส่งจิตมาดูจิตข้า เดี๋ยวจะเห็นว่าจิตข้ามีแต่ขี้หมา กลัว ถ้าครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นจริง ฉะนั้น กรณีอย่างนี้ถ้าครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นจริงมันเป็นอย่างนั้น แล้วมันเข้ากับกิเลสใช่ไหม เราก็ชอบ ชอบนักที่คนบอกว่าเบาๆ นี่ชอบนัก ชอบนัก ให้คนสุขสบายนี่ชอบ แล้วมันเข้ากับอะไรล่ะ มันเข้าสู่มรรคไหมมันไม่เข้าสู่มรรค นี่พูดถึงว่าถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ดี

ให้หลวงพ่ออธิบายคำว่า “เห็นทุกข์คือเห็นธรรม” ในขณะที่ทำสมาธิครับ

เวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เวลาหลวงปู่จวนท่านพูด ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ นี้คืออริยสัจของหลวงปู่จวนนะ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ นี่ไง มันก็มรรคนี่ไง มันก็อริยสัจ  ไง ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ก็สมุทัย ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ ทุกข์ดับก็นิโรธ วิธีการดับทุกข์ก็มรรค นี่หลวงปู่จวนท่านพูดประจำ คนเป็นมันพูดไม่มีผิดเลย เพียะเพียะเลย

ฉะนั้น คำที่ว่าเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ แต่พวกเราเห็นอารมณ์ โดยธรรมชาติของโลกนะ เราเห็นทุกคน เราสงสารนะ ทุกคนมีแต่ความเจ็บช้ำน้ำใจทั้งนั้นน่ะ เจ็บช้ำน้ำใจนี่คือผลของมัน คือขี้ของทุกข์

หลวงตาท่านบอกเลย กิเลสมันขึ้นมาถ่ายบนหัวใจของเรา แล้วมันก็ไปแล้วไอ้เราได้กลิ่นขี้มัน เหม็น ทุกข์แล้ว มันไปแล้วไง คือเรากระทบแล้วไง เราได้รูป รสกลิ่น เสียงที่สะเทือนใจ แล้วเราก็เสียใจ ไอ้เสียใจนี่คือวิบากนะ คือผลจากทุกข์นะเราถึงไม่เห็นทุกข์กันไง เราไม่เห็นทุกข์กันหรอก เราเห็นแต่ว่ากิเลสมันไปแล้ว แล้วมันก็เอาแต่ความเสียใจไว้กับเรา เราก็เสียใจๆ แล้วก็ว่านี่ทุกข์ๆ...นี่วิบากของมันนี่ผลของมัน

แต่ถ้าเราจะเห็น เห็นกายนี่ เห็นกายคือเห็นทุกข์ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตเห็นธรรม เวลามันเห็นนะ อ๋อนี่ตัวทุกข์ นี่ไง ที่บอกว่า คำว่า “เห็นทุกข์ๆ” ไง เห็นทุกข์ ที่ว่าจิตเห็นอาการของจิต เห็นอาการของมันนั่นน่ะคือตัวทุกข์ มันเริ่มต้น จุดสตาร์ตมันอยู่ตรงนั้นน่ะ นี่จุดสตาร์ต จุดที่มันจะทุกข์ นี่ตัวทุกข์ๆ

จิตเห็นอาการของจิต อาการของมันทั้งหมด สิ่งที่เคลื่อนไหวทั้งหมด สิ่งที่กระทบเราทั้งหมดนี่อาการทั้งนั้นเลย ไม่ใช่ตัวมัน ถ้าตัวมันจริงๆ คือสัมมาสมาธิตัวจิตแท้ๆ คือตัวจิตปฏิสนธิจิต คือจิตเดิมแท้ที่ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ที่ว่าผ่องใสๆ ถ้ามันเข้าผ่องใสได้จริงนะ

ทีนี้พูดถึงคำว่าเวลามันสว่างไสวที่ตามอารมณ์ของเขา นั่นก็อารมณ์ของเขาอย่างหนึ่ง มันออกไปเห็นไง แต่ถ้าเป็นตัวจริงของมัน ถ้าตัวจริงของมันคือตัวจิตเดิมแท้ ถ้าจิตเดิมแท้ นี่สัมมาสมาธิ ถ้าสัมมาสมาธินะ แล้วมันเห็นที่มันเสวยอารมณ์ นี่ไง เห็นทุกข์ เห็นทุกข์ เห็นไหม เขาบอกว่าเห็นทุกข์คือเห็นธรรม

เห็นธรรมมันก็เห็นอาการน่ะ เห็นอริยสัจ เห็นสัจจะความจริง ถ้าเราทำ เราจะเห็นธรรม คำว่า “เห็นทุกข์ๆ” นี่เข้าไปเห็น ถ้าเห็นแล้วมันจะเข้าใจ ฉะนั้น ให้อธิบายเฉยๆ คำว่า “อธิบาย” คือว่ามันยังไม่มีเหตุมีผล คือไม่มีสิ่งใดที่มันเป็นสมุฏฐาน สมุฏฐานคือว่ามันติดขัดอย่างไรไง คือมันไม่มีข้อติดขัดมันก็เลยแบบว่าอธิบายเป็นคุ้งเป็นแควไปมันจะทำให้คาดหมาย เราไม่ต้องการให้ใครคาดหมายฉะนั้น มันจะเห็นอย่างไรก็เห็น

อย่างเช่นกรณีเห็นกาย กรณีเห็นกาย จิตดวงเดียวเห็นกายแต่ละครั้งแต่ละคราวมันก็เห็นแตกต่างกันไป เห็นแตกต่างกันไปเพราะผลของสมาธิ ผลของจิตที่มันตั้งมั่น จิตที่มีกำลังเท่าไรมันก็เห็นชัดเห็นเจนของมัน ถ้าสมาธิมันอ่อน สมาธิที่มันไม่คงที่ มันก็เห็นของมัน แต่ไม่ชัดไม่เจนสักเท่าไร

แล้วถ้าฝึกหัดใช้ปัญญาไปแล้ว การเห็นเหมือนกับคนทำงาน คนทำงานครั้งแล้วครั้งเล่าๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ละครั้ง ผลงานมันก็แตกต่างกัน ทำแล้วทำเล่าทำแล้วทำเล่าจนมีความชำนาญของมัน ก็ฝึกหัดทำอย่างนั้นจนกว่างานมันจะเสร็จ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันเห็นทุกข์ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความจริง เห็นทุกข์คือจิตเห็นอาการของจิต นั่นน่ะคือตัวทุกข์แท้ๆ เลยล่ะ แต่จิตเห็นอาการของจิตมันเป็นตัวทุกข์ ทำไมเราไม่ทุกข์ล่ะ

เห็นแล้ว จิตมันสงบมันเห็นแล้วมันตื่นเต้น เห็นแล้วมันเห็นสัจจะเห็นความจริง แล้วมันก็ฝึกหัดใช้ปัญญาๆ ไปจนกว่ามันจะเสร็จ เวลาเสร็จแล้วมันสำรอกมันคาย ทุกข์ขาดไปเลย ถ้าทุกข์ขาดไปเลย นั่นน่ะตัวสัจธรรมแท้ไง

ฉะนั้น ทำของเราไป ทำของเราไปนะ คำว่า “เห็นทุกข์” คำว่าเห็นทุกข์แล้วถ้ามันจะไปเห็นธรรมขึ้นมานะ ในขณะที่ทำสมาธิ พอทำสมาธิ สมาธิ เขาว่าเห็นในขณะทำสมาธิ

เราทำสมาธิของเรา ทำความสงบระงับของเราแล้วฝึกหัดใช้ปัญญาไปเรื่อยๆไม่ใช่ว่าทำสมาธิของเราไป แล้วว่าห้ามใช้ปัญญาเลย

ใช้ได้ เพราะใช้เป็นการฝึกหัด เพราะว่าหลวงตาท่านบอกว่า ถ้าเป็นสมาธิแล้วจะให้ปัญญามันเกิดขึ้นมาโดยตัวมันเอง ให้รอจนวันตาย เราทำสมาธิแล้วเราก็ฝึกหัดใช้ปัญญาของเราไป ฝึกหัดใช้ๆ มันใช้ปัญญาได้

ฉะนั้น เวลาถ้าจิตมันเป็นสมาธิแล้วฝึกหัดใช้ ถ้าฝึกหัด พอมันคลายออกมาก็เทียบเคียงกับธรรมะ เทียบเคียงกับเรื่องกาย เทียบเคียงกับเรื่องเวทนา เทียบเคียงกับเรื่องจิต เทียบเคียงกับเรื่องธรรม เทียบเคียงกับเรื่องชีวิต ถ้ามีสมาธิ มันพิจารณาแล้วมันซาบซึ้ง ซาบซึ้งนี่มันก็ฝึกหัดใช้ปัญญาๆ

ฉะนั้น เวลาคนเราพออะไรเกิดขึ้น “สุดยอด นี่คือนิพพาน นี่คือนิพพาน” ติดทั้งนั้นน่ะ

นี่ไง มันเป็นอัตตกิลมถานุโยคแล้ว คือไม่เข้าสู่อริยสัจไง สูญเปล่าจากมรรคไง เพราะมันไม่เป็นมรรคไง แต่เราคิดว่า คิดว่าเพราะอะไร คิดว่าเพราะมันมีรสของสมาธิ มันมีรสของปัญญา มันมีรสชาตินะ พอเห็นแล้วมันตื่นเต้น “อู้ฮูสุดยอดๆ อ๋อนิพพานเป็นอย่างนี้เอง”...ตาย ยังไม่ทันอะไรเลย เพราะมันมีรสมีชาติทีนี้คนเรามันไม่เคยได้รสชาติที่สูงส่ง ได้รับรสชาติอย่างนี้ปั๊บก็เข้าใจว่ามันใช่ แต่ความจริงมันยังไม่ใช่ ถ้าไม่ใช่ นี่ไง ก็ฝึกหัดใช้บ่อยๆ ฝึกหัดใช้บ่อยๆ ไอ้ที่ว่ายอดๆ เดี๋ยวมันจะมียอดกว่านี้อีกเยอะแยะไปหมดเลย นี่ถ้ามันต่อเนื่องมันไป

ฉะนั้น ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันเห็นในขณะที่ทำสมาธิ ฝึกหัด ค่อยๆ ทำไปฝึกหัดไป ถ้าปฏิบัตินะ ในชาติปัจจุบันนี้ถ้าเราไม่ได้เข้าสู่มรรคสู่ผล ไม่ถึงสิ้นกิเลสไป เราก็ปฏิบัติให้หัวใจเข้มแข็ง ปฏิบัติให้มีโอกาส มันไม่เป็นการสูญเปล่า ไม่เป็นการสูญเปล่าเพราะเราฝึกหัด เรามีการกระทำ เราพยายามเพิ่มอำนาจวาสนาบารมีให้กับจิตของเรา ไม่เสียหาย ปฏิบัติของเราให้มากขึ้นๆ ไป ทำไป

ฉะนั้นบอกว่า ถ้าเป็นทุกข์ ทุกข์มันก็ทุกข์ยากอยู่แล้ว ถ้าเป็นอัตตกิลมถานุโยคมันสูญเปล่าเลย ฉะนั้น ถ้าสูญเปล่าก็เลยไม่ทำเลย

มันสูญเปล่าต่อเมื่อเราปฏิบัติแล้วผิดพลาด สูญเปล่าไปที่ครูบาอาจารย์ท่านชักออกนอกลู่นอกทางไป แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่เป็นจริง แต่เราปฏิบัติของเราด้วยอำนาจวาสนาของเรา เราทำยังไม่ถึงปริมาตรของเรา จำนวนของเรามันไม่มากพอ เราก็เพิ่มของเราขึ้นไปๆ มันอยู่ที่การกระทำของเรา ถ้าทำของเราได้มรรคได้ผลขนาดไหนมันก็เป็นสมบัติของเรา ทำตรงนี้ พยายามทำของเราให้มากขึ้นๆ นักปฏิบัติปฏิบัติอย่างนี้

ถ้าปฏิบัติของเรา ถ้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ เราก็สาธุ ถ้ามันปฏิบัติไปแล้วด้วยความเป็นจริงของเรา ด้วยอำนาจวาสนาของเรา เราก็ขวนขวายของเราขวนขวายของเราได้มากได้น้อยเท่าไหนมันก็ขวนขวายของเราเพื่อประโยชน์กับเรา จบ

ถาม : เรื่อง “คำถามซ้อนค่ะ

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกต้องขออภัย ส่งคำถามมาซ้อนกัน กะว่าจะยกเลิกคำถามแรกเพราะแก้ไขได้เองแล้ว แต่อยากขอให้หลวงพ่อสอนในคำถามที่  เท่านั้นค่ะ แต่คงเป็นเพราะลูกส่งคำถามที่  มาช้าไป เวลาต่างกันหลวงพ่อเลยตอบไปซ้ำๆ เหมือนว่าสอนไปแล้ว ทำไมถามมาอีกซ้ำๆ ไม่เข้าใจหรืออย่างไร

ลูกผิดเองค่ะ ข้อสงสัยปัญหาเยอะไปหน่อย เพราะข้องใจมานานว่าอะไรคือความสงบและสมาธิที่ถูกต้องเท่านั้นค่ะ ตอนนี้เข้าใจแจ่มแจ้งกระจ่างหมดทุกอย่างแล้วค่ะ กราบขอบพระคุณ

ตอบ : แจ่มแจ้งกระจ่างแล้วนะ ปัญหาให้ห่างๆ หน่อย แจ่มแจ้งแล้วนะ คำว่าแจ่มแจ้ง” ก็คือสาธุ ไอ้คำถามที่  หรืออย่างไรมันไปจับประเด็นได้ไง จับประเด็นที่ว่าไอ้ว่างๆ แล้วที่หลวงพ่อบอกว่าไม่ใช่สมาธิน่ะ

ไอ้คำว่า “ว่างๆ” ของเรานี่นะ ส่วนใหญ่แล้วคนพูดด้วยสัญญา คนพูดด้วยอารมณ์ความรู้สึก คนพูดด้วยความคิด แต่ถ้าพูดถึงความว่างๆ มันว่างในตัวของมันเอง ถ้ามันว่างในตัวของมันเอง ตัวมันว่าง ถ้าตัวมันว่างนะ ตัวมันว่าง เห็นไหม

เวลาหลวงตาท่านสอนถึงการปฏิบัติ ข้างนอกว่าง ข้างในไม่ว่าง เราออกไปวุ่นวายกับภายนอก เราก็ออกไปวุ่นวายกับเรื่องของชาวบ้านใช่ไหม เราไม่วุ่นวายเรื่องของชาวบ้าน เราเข้ามาในบ้านของเรา เราก็มาวุ่นวายเรื่องของเราใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน เวลาว่างๆ ว่างๆ มันว่างจากความวุ่นวายเรื่องของชาวบ้านน่ะมันไม่ได้ว่างจากเรื่องของเรา ถ้าเรื่องของเรามันจะว่าง มันต้องรู้ว่างในตัวมันเองไง ถ้าว่างในตัวมันเอง นี่เป็นสัมมาสมาธิ

ฉะนั้น เวลาโดยสามัญสำนึก พวกเรา เราฟังเทศน์กัน เราอยู่ในสังคมของเราเราก็จะรู้ว่าสมาธิจะเป็นอย่างนี้ เราก็คุยกันอย่างนี้ ไอ้นี่สังคมสังคมหนึ่ง ไอ้ว่างโดยยุ่งเรื่องชาวบ้าน มันบอกว่าเมื่อก่อนมันยุ่งมากเลยเพราะมันไปยุ่งเรื่องชาวบ้าน ตอนนี้มันเข้าวัดเข้าวาไปแล้ว เดี๋ยวนี้ว่างหมดเลยนะ แล้วเขาเป็นพระอรหันต์หมดเลยน่ะ ไอ้สังคมอย่างนั้นน่ะเราบอกไม่ใช่

แต่เวลาเขาพูด เขาพูดคำเดียวกัน แล้วพูดคำเดียวกันเขาก็พูดอย่างนั้น ที่บอกไม่ใช่ๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วมันเป็นอย่างนั้นน่ะ มันว่างจากไปยุ่งเรื่องชาวบ้านน่ะ แต่ตัวมัน มันยังไม่เคยทำเลย มันทำไม่เป็นด้วย เราถึงบอกไม่ใช่ๆ ไง

ฉะนั้น คำพูดคำเดียวกัน ไอ้พวกเราไม่มีอะไรแบ่งแยก ไอ้เราก็ เออว่างๆเก่งเนาะ แล้วเขาไม่เห็นทำอะไรกันเลย มันว่างๆ ไอ้เราทุกข์เกือบตาย กูไปอยู่ว่างๆ อย่างนั้นดีกว่า ไปกับเขาหมดเลย จากความเป็นจริงก็จะไปอยู่กับความจอมปลอม ฉะนั้น ไอ้จอมปลอม

ฉะนั้น เราเห็นใจ ที่เราพูดนี่เพราะคนที่จะชี้ถูกชี้ผิด เห็นจริงเป็นจริง มันรู้จริงไง มันรู้จริงมันเลยพูดไว้ ไม่อย่างนั้นมันเป็นเรื่องของสัญญาอารมณ์ แล้วพยายามจะดึงกันลากกันออกไป ลากคนที่มีความเพียร ลากคนที่จะเข้าสู่สัจจะ ลากออกไปอยู่กับสังคมโลกให้ไปยุ่งวุ่นวายกับเรื่องคนอื่น แล้วเรื่องตัวเองไม่เอา ฉะนั้น ไอ้ตรงนี้มันก็เลยเน้นย้ำตรงนั้นไป

ฉะนั้น เรื่องความสงบ เพียงแต่ว่าเราปฏิบัติ เราปฏิบัติ คนปฏิบัตินะ พระปฏิบัติแสนยากเลย แล้วโยมปฏิบัติ พอปฏิบัติแล้ว พอปฏิบัติปั๊บ ได้สมาธิเลยปฏิบัติแล้วเกิดปัญญาทันที ปฏิบัติแล้วได้มรรคได้ผลเลย...ถ้าเราเจอเราจะกราบเลย

ฉะนั้น ถ้ามันไม่ได้อย่างนั้น เราก็ปฏิบัติเพื่อบรรเทาทุกข์ พวกฆราวาสนี่นะถ้าโยมปฏิบัตินะ มีสมาธิมีปัญญา เราพอใจแล้วนะ ให้โยมนะ ให้เห็นว่าศาสนามันมีคุณค่า พระพุทธศาสนามันอยู่ที่นี่ อยู่ที่คุณธรรม พระพุทธเจ้ากราบธรรมๆกราบอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค กราบสัจธรรมในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเรามาปฏิบัติกันนะ ถ้าจิตเรามีความสงบ จิตเรามีความรื่นเริงนะ แค่นี้เราสาธุแล้ว เราสาธุแล้ว ถ้าเราสาธุแล้วนะ นี่เราพูดถึงผู้ถามไง

ฉะนั้น เวลาปฏิบัติแล้วมันทุกข์มันยาก มันอะไร เราปฏิบัติเพื่อบรรเทาทุกข์ในใจ ทีนี้ปฏิบัติบรรเทาทุกข์ในใจแล้ว ขอให้เราเข้าสู่ใกล้สัจธรรม เราอยู่เคียงคู่คุณธรรม แค่นี้ แล้วถ้ามันได้มากกว่านั้น สาธุเลย

ฉะนั้น คำถามส่วนใหญ่เขาจะถามน้อยเนื้อต่ำใจ ปฏิบัติแล้วไม่ได้ ติดขัดอย่างนั้น ติดขัดอย่างนี้

ไปดูพระ - แสนในเมืองไทยสิ ปฏิบัติด้วยเฟซบุ๊ก ปฏิบัติด้วยโทรศัพท์นั่นเป็นพระแท้ๆ นะ บวชเป็นพระเขายังสำมะเลเทเมากันอย่างนั้น แล้วนี่เป็นโยมปฏิบัติอย่างนี้แล้วไม่ได้อะไรก็คิด

ฉะนั้น ปฏิบัติให้มันบรรเทาทุกข์ ให้ชีวิตเราไม่ทุกข์ไม่ยาก แล้วสร้างเสริมอำนาจวาสนาบารมีของเรา ทำนะ เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดพบพระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนาสอน เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ที่เวลาท่านจะปรินิพพาน “อานนท์ เธอบอกนะ พวกมัลลกษัตริย์ ให้เขาปฏิบัติบูชาเถิด อย่าบูชาด้วยอามิสเลย

ใครจะมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ปฏิบัติบูชาเถิด ปฏิบัติบูชาเถิด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามเน้นย้ำให้บริษัท  ประพฤติปฏิบัติ เพราะการประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นการสร้างอำนาจวาสนาบารมีอย่างสูงสุดปฏิบัติคือฝึกหัดใจ ทานก็ฝึกใจ ศีลก็ฝึกใจ ปฏิบัตินี่มันสอนใจเลย สอนหัวใจเลยเพราะหัวใจนั้นเป็นที่อยู่ของคุณธรรม คุณธรรมจะสถิตในหัวใจ เราปฏิบัติเพื่อหัวใจดวงนี้ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน เอวัง