ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ขาดเจตนา

๑๗ ก.ค. ๒๕๕๙

ขาดเจตนา

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “ปาราชิกหรือไม่ครับ

ปาราชิกหรือไม่ครับ ฝากเรียนถามหลวงพ่อครับ ผมขอสอบถามหน่อยครับพอดีบวชเป็นพระมาได้  สัปดาห์แล้วครับ เมื่อวันพระที่ผ่านมาทางวัดได้จัดเตรียมผลไม้ที่ญาติโยมนำมาทำบุญไว้เป็นถุงๆ แล้วก็แจกจ่ายให้พระเป็นกลุ่มๆโดยที่ให้รวมๆ มาหลายถุง มาวางไว้โดยไม่ได้ระบุว่าถุงนั้นถุงนี้เป็นของพระรูปใด และเมื่อเสร็จพิธี อาตมาก็ได้มาหยิบถุงผลไม้ซึ่งเหลืออยู่  ถุง เมื่อหยิบมาแล้วอาตมาได้เห็นว่าในถุงที่หยิบมามีเครื่องดื่มชูกำลัง และอีกถุงหนึ่งที่ยังไม่ได้มีพระมาหยิบ มีน้ำผลไม้ อาตมาจึงเปลี่ยนสลับถุงกันเพื่อหวังจะได้ถุงที่มีน้ำผลไม้เพราะอาตมาไม่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง

และเมื่อครู่นี้อาตมาได้มาอ่านเกี่ยวกับอาบัติปาราชิกในหนังสือวิชาวินัยมุขที่บอกเกี่ยวกับอาการที่ถือเอาเป็นการลักทรัพย์ที่บอกไว้ว่า ดังนี้

ลักสับ เวลาแจกของ ภิกษุมีไถยจิตสับฉลากชื่อตนแล้ว ชื่อภิกษุอื่นในกองของ แล้วหมายจะเอาลาภของภิกษุอื่นที่มีราคามากกว่าของตน พอสับเสร็จก็เป็นอาบัติถึงที่สุด อนึ่ง เอาของไม่ดีมาสับเปลี่ยนเอาของดี จัดว่าเป็นสิกขาบทนี้อยากทราบว่า การกระทำของอาตมานั้นเข้าข่ายข้อนี้หรือไม่

ตอบ : ไม่เข้าข่าย ไม่เข้าข่ายเพราะว่าไม่มีเจตนา ไม่มีเจตนานะ ไม่มีเจตนาว่าจะลักทรัพย์ เพราะว่าเขาเอามาแจก เขาเอามาแจกให้พระใช่ไหม เป็นถุงเหมือนแจกทานเป็นกองๆ กองนี้เป็นของกองนี้ กองนี้เป็นของกองนี้

เวลาเราไปบ้านตาดสมัยก่อน เวลาหลวงตาอยู่ มีกฐินน่ะ ของเราก็ได้กองหนึ่ง พอพระไปงานจะมีให้กองหนึ่งๆ แล้วบางทีตอนต้นเราไม่รู้ เรากลับเลย เสร็จกฐินแล้วกลับเลย แล้วพอไปปีหลังๆ พระมานะ พระหมูมันเป็นคนบอกว่า “เฮ้ยหงบ เอ็งเอาของไปสิ กูโดนด่านะ” คือเขาโดนหลวงตาเอ็ด เพราะเขาจัดให้เรา

แต่เรานี่เวลาเราไป เราไปด้วยหัวใจ เราไม่ต้องการสิ่งใดเลย ไม่ปรารถนาสิ่งใดทั้งสิ้น ไปเพื่อความเคารพบูชาไง ไม่เคยเอาเลย เรากลับมาตัวเปล่าตลอดแต่สุดท้ายแล้วต้องรอ พอเสร็จแล้วนะ ได้กองของอีกกองหนึ่งด้วย แล้วยังมีปัจจัยแถมมาอีกด้วย ท่านจะแจก ตอนนั้นท่านยังไม่มีโครงการช่วยชาติฯ เวลาเป็นกฐินในวัดปั๊บ ท่านจะแบ่งให้พระหมดเลย พระมากี่วัด พระองค์ไหนมาก็แล้วแต่จะได้ถ้ามาเป็นตัวแทนของวัดนั้น ท่านก็จะเอาเครื่องไทยทานกองๆๆ ไว้ แบ่งกันให้ครบจำนวน แล้วเงินท่านก็จะแบ่งให้วัดเท่าไรๆ นี่เวลาท่านให้

เราบอกว่า ถ้ามีการให้ มันไม่มีอาการลักไง ถ้าเขาไม่ได้ให้ ของเขาไม่ได้ให้แล้วเราไปลัก เออนี่อาการของการลักขโมย

อาการของการไม่ลัก ของเขาแจกอยู่แล้ว ของเขาแจกอยู่แล้ว บอกว่าตัวพระองค์นี้ท่านไม่ฉันเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ท่านไม่ฉัน ท่านบอกเป็นยาเสพติดท่านไม่ฉัน แต่ทีนี้พระที่เขาฉันเขาถือว่าเป็นยา เขาบอกว่ายาบำรุงกำลังไง

ผู้ที่ไม่ฉันก็สาธุนะ ใครทำดีเราสาธุ ถ้าใครทำคุณงามความดี ความดีคือความดี แต่ถ้าเกิดไม่ฉันก็คือไม่ฉัน ถ้าไม่ฉันแล้ว ไปเห็นอีกถุงหนึ่งเป็นน้ำผลไม้ ก็ขอสับเปลี่ยนกัน

ไอ้นี่นะ ถ้าการสับเปลี่ยน อย่างไถยจิต เราเป็นคนโลภมาก เป็นคนเห็นแก่ตัว เราเจอของดีๆ ไอ้นี่ไถยจิต ไถยจิตคือจิตที่มันคิดปรารถนาจะเอา แล้วถ้ามันทำตามนั้นเป็นอาบัติปาราชิก คำว่า “ปาราชิก” ไถยจิตก็อยากได้อยากดี อยากจะเอาของคนอื่น ด้วยเล่ห์ด้วยกลน่ะ พยายามเจ้าเล่ห์เจ้ากลจะพลิกแพลงเอา อย่างนั้นน่ะผิด

แต่นี่เราไม่มี ไม่ได้คิดอยากได้ เพียงแต่ว่าสิ่งที่ว่าน้ำผลไม้กับเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เราบอกว่าเครื่องดื่มบำรุงกำลังน่าจะมีราคาแพงกว่านะ ทางโลกมันมีคุณค่า คือเราเอาของดีไปแลกของไม่ดี คนเราที่จะลักจะขโมยคือเอาของดีไปแลกของไม่ดีใช่ไหม ของของเรามีค่าต่ำกว่า เราจะเอาของที่มีค่าสูงกว่า เอออย่างนี้มันมีความผิด แต่ว่ามันมีความผิดเพราะว่ามันต่างกันที่ราคา แต่ถ้าจิตใจไม่มีไถยจิตคือจิตใจไม่ได้คิดอย่างนั้น

ถ้าทางโลกนะ ทางคดีความเขาว่าเจตนาไง มันขาดเจตนา มันขาดเจตนาการทำความผิด มันขาดเจตนาการอยากได้ มันขาดเจตนา คนที่ขาดเจตนา ทำโดยไม่มีเจตนา มันถือว่าไม่ผิด ถือว่าไม่ผิดปาราชิกนะ

แต่ถ้าบอกว่าถ้าไม่ผิดเลย การกระทำอย่างนี้ในตำราเขาบอกไว้ ก็เขาไปอ่านไง อ่านในวินัยมุข วินัยมุขเล่ม  เล่ม  เล่ม  เราก็อ่านมาแล้ว เราอ่านมาหมดน่ะ บุพพสิกขาก็อ่าน มหาขันธ์ อ่านหมด เพราะต้องอ่าน อ่านไว้เพื่อเป็นความรู้ของเรา

เราเป็นประชากรในเมืองไทย เราต้องรู้กฎหมายไทยนะ จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ บวชมาเป็นพระก็เหมือนกัน ต้องรู้ธรรมรู้วินัย ฉะนั้น ที่อ่านมา อ่านมาเพื่อความรู้ของตนนั่นน่ะ

ฉะนั้น ในวินัยมุขก็เขียนไว้อย่างนั้น เขาบอกไว้อย่างนั้น ถ้าบอกไว้อย่างนั้นเวลาไปอ่านแล้วน่ะ เราตีความกันไปไง เราจะตีความแล้วว่า มันเป็นการไถยจิตมันมีการลักทรัพย์ เวลาในวินัยมุขเขาจะอธิบาย อธิบายไว้ มันก็เหมือนกับขอบเขตของกฎหมาย อธิบายไว้ มีขอบเขตไว้ เพื่อคนมันจะดิ้นรนออกหาทางบิดเบือนไง ถ้าทางโลกเขาเรียกว่าเลี่ยงบาลีๆ

ภิกษุที่เรียนมากรู้มาก แต่ก็ทำความเลวมาก ภิกษุอยู่ป่า เขาอ้างว่า ภิกษุอยู่ป่าไม่มีการศึกษา นั่งหลับหูหลับตาแล้วมันจะรู้ได้อย่างไรเรื่องธรรมวินัย

ไอ้พวกที่หลับหูหลับตาอยู่ในป่า ไอ้พวกนี้มันมีน้ำใจ มันมีจิตใจที่เป็นสะอาดบริสุทธิ์ จิตใจที่จะเข้าถึงธรรมนะ มันมีความละอายใจ มันไม่ทำ ไอ้ที่ว่าเรียนมากรู้มากนั่นน่ะ นั่นน่ะมันจะบิดพลิ้ว นั่นน่ะบิดพลิ้วไปแล้ว แล้วมันก็เป็นอย่างนั้นไง

ฉะนั้น ที่บอกว่า ไอ้ที่หลับหูหลับตามันจะรู้ได้อย่างไร มันไม่มีการศึกษา

ไม่มีการศึกษา ศึกษาโดยข้อเท็จจริง ศึกษาโดยเจตนานะ เจตนาของเรา เราอยากทำคุณงามความดี คนที่นั่งสมาธิจะรู้ ถ้าจิตใจของเรานะ เราไม่ใช่พวกอารมณ์สองเพศ คิดแล้ว คิดอย่าง ทำอย่าง เวลาเรามีอะไรผิดพลาด สมาธินั่งไม่ได้หรอก มันหลอกตัวเอง ทำอะไรไม่ได้หรอก ถ้าหลอกตัวเองนี่ทำไม่ได้ ถ้าทำไม่ได้ปั๊บ ไอ้ที่ว่า ไม่มีการศึกษา นั่งหลับหูหลับตา

ไม่มีการศึกษา นั่งหลับหูหลับตาน่ะ เขามีความละอายแก่ใจ เขาตั้งใจทำคุณงามความดีของเขา ถ้าใครภาวนาเป็น ภาวนาได้ มันจะเป็นประโยชน์กับเขา ถ้าใครภาวนาไม่เป็น ไม่ได้ นั่นอีกเรื่องหนึ่งนะ

นี่พูดถึงว่า เวลาอ่านเรื่องวินัยมุข วินัยมุขอ่านน่ะ สาธุ มันเป็นวิชาการ การศึกษาถูกต้องทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น ถูกต้องแล้วมันเข้ากับอารมณ์ความรู้สึกของเราไงอารมณ์ความรู้สึกที่เราเป็นคนทำน่ะ ว่าที่เขาทำอย่างนี้เขามีการแจกถุงผลไม้ แล้วให้พระหยิบไป ให้พระหยิบไป เราหยิบของเรา แต่เราแลกเปลี่ยน

สิ่งที่พระเรา เวลาเขาเรียกวิสาสะ วิสาสะ เรากับพระมีความสนิทคุ้นเคยกันถ้ามีความสนิทคุ้นเคยกัน เราหยิบของใช้กันได้ ถือว่าวิสาสะ

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นในวัดนะ ถ้ามันพูดกัน มันไม่มีโจทก์ ไม่มีจำเลย แล้วเราไม่มีเจตนา ถ้าไม่มีเจตนาแล้ว ไถยจิตๆ จิตที่มันคิดอยากได้ คิดอยากได้ คิดแบบกิเลส

แต่ไอ้นี่มันคิดอยากได้ คิดอยากได้แบบว่าของที่ว่ากินแล้วมันเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์ไง เราก็สับเปลี่ยนของเรา เราโดยเจตนาที่ว่าเราแค่ของใช้

แล้วอีกอย่างหนึ่ง อย่างที่ว่าถ้าของที่มีค่าเกินบาทหนึ่ง ถ้าพระภิกษุหยิบจับต้องแล้วเคลื่อนที่ เป็นอาบัตินะ เว้นไว้แต่ของกิน ของกินนะ

ของกิน สิ่งของในครัว อย่างเช่นอาหารมานี่ ตั้งมานี่ ของที่เคนหรือยังไม่ได้เคน พระบางองค์ไม่รู้นึกว่าเคนแล้ว ฉันไปก็เป็นอาบัติ

แต่ว่ามันมีค่าเกินบาท มันเป็นปาราชิกไหม

เวลาของกินมีค่าเกินบาท มีค่า บางอย่างมีค่ามากนะ เขาเว้นไว้เหมือนกันฉะนั้น สิ่งที่เป็นของที่วัดเขาแจก เพราะวัดโดยทั่วไปนะ เวลาวันสำคัญ เขาจะมีคนมาทำบุญมาก เวลาทำบุญมากแล้ว สิ่งใด เรายังชื่นชมนะ ชื่นชมว่าเจ้าอาวาสผู้นำเป็นผู้ที่มีน้ำใจ ไม่เหมือนบางวัดเนาะ อย่างเช่นเรานี่ ของกูๆ สะสมไว้คนเดียว คนอื่นไม่ได้กิน เออนี่มีการแจกกัน มีการนึกหัวอกเขาหัวอกเรา

นี่เขาบอกว่า ที่วัดเขาเวลาทำบุญแล้วมีของมาก ทางวัดเขาก็จัดเป็นถุงๆ ไงใส่ถุงแจกแล้วไปตามวัด

เออเห็นอย่างนี้แสดงว่าเจ้าอาวาสมีความเป็นธรรม ถ้าเจ้าอาวาสเป็นธรรมหัวหน้าเป็นธรรมนะ พระที่อยู่ด้วยนะ อยู่ด้วยความอบอุ่นนะ ถ้าหัวหน้าที่ไม่เป็นธรรม หัวหน้าสะสมไว้จนกินไม่หมดน่ะ ไอ้ลูกน้องหิ้วท้องอยู่นั่นน่ะ ไม่ได้กินน่ะ ถ้ามีการแจกจ่าย นี่ถ้าหัวหน้าเป็นธรรม ถ้าหัวหน้าเป็นสิ่งที่ดี

ฉะนั้น แต่นี้เป็นเพียงแต่เป็นปัญหาผู้ถามว่าเป็นปาราชิกหรือไม่

ไม่ ไม่เป็นปาราชิก ถ้าปาราชิกมันมีเจตนาอยากจะลัก อยากจะขโมย อยากจะได้ของเขา แล้วถ้าอยากจะลักขโมย ไปถึงแล้วจับของนั้น ของนั้นยังไม่เคลื่อนจากที่ ยังไม่เป็นทั้งนั้นน่ะ มันต้องครบองค์ประกอบไง ถ้าเราตั้งใจจะลักของคนนี้แล้วเราก็เดินไป แล้วเดินกลับ

นี่ยังไม่เป็น มันตัดสินใจยังไม่ได้ ตั้งใจจะลักของคนนี้ เดินไป แล้วหยิบ ยังไม่ตัดสินใจ ปล่อย กลับมา ก็ยังไม่เป็นปาราชิก แต่ถ้าเดินไปตั้งใจจะไปหยิบของเขา หยิบ หยิบแล้วยกขึ้นหรือมันเคลื่อนที่ ปาราชิก มันครบองค์ประกอบของมันไง

นี่พูดถึงยังไม่ครบองค์ประกอบ แต่เวลาบอกเราเดินไปยังไม่หยิบ ไม่เป็นปาราชิก ไม่เป็นหรอก แต่เศร้าหมองนะ จิตใจเราคิดจะเอาของเขานี่แย่แล้ว

แต่พูดถึงปาราชิก มันขาดจากการเป็นพระ แต่เวลาจิตใจของเรามันเศร้าหมอง จิตใจเรามันไม่ดี สิ่งไม่ดีไม่งาม สิ่งที่ไม่ดีไม่งามมันเป็นอาบัติทุกกฏๆ ทั้งนั้นน่ะ อาบัติทุกกฏมันมีทุกตัวไป

แล้วอาบัติทุกกฏ ปาจิตตีย์ เสขิยวัตร อนิยต  สังฆาทิเสส นี่ยังปลงอาบัติได้ ถ้าปาราชิกแล้วจบเลย ฉะนั้น เวลาไปนี่ยังไม่เป็นปาราชิก ยังไม่จบไง แต่มันมีอาบัติตัวเล็กๆๆ ไปเยอะแยะเลย

นี่ก็เหมือนกัน มันไม่ครบองค์ประกอบ ไม่ครบองค์ประกอบ ถึงว่าความเป็นปาราชิก ภาษาเราว่า เวลาเราเทศน์นะ เราก็สอนอยู่ เป็นอาบัติเพราะไม่รู้ ไม่รู้ ฝืนทำ เป็นอาบัติ สงสัย ทำ เป็นอาบัติ แล้วทำโดยความผิดพลาด เป็นอาบัติ อาบัติเป็นได้ตั้งหลายทางนะพระนี่

ถ้าลังเลสงสัย อย่าทำ ถ้าทำปั๊บนี่อาบัติทันทีเลย เพราะเราไม่รู้ เราทำไปด้วยความไม่รู้ เป็นอาบัติแล้ว ถ้าลังเลสงสัย ทำ เป็นอาบัติ แล้วถ้าไม่รู้ ทำไป เป็นอาบัติ แต่ถ้ามันตั้งใจทำ เป็นอาบัติ ก็เป็นอาบัติ อาบัติเป็นได้หลายทาง

แต่ไอ้นี่มันสงสัย ทั้งสงสัย ทั้งไม่เข้าใจ ตอนนั้นคิดว่าของแจก ของวัดเขาแจก แล้วธรรมดาเราไปเห็น คนก็คิดอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นความสะอาดบริสุทธิ์ ความที่ไม่กระทบกระเทือนเลย ก็ถ้าเราทำถูกต้องดีงามตามกติกาเขา เขาให้อย่างใดเขาทำอย่างไร เราก็ตามนั้น เพราะเป็นพระ พระเลือกไม่ได้ พระเลือกไม่ได้ พระจงใจไม่ได้ แล้วแต่มันจะได้ มันจะเป็น แล้วถ้ามันได้มา เราไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ เราก็เสียสละให้คนอื่นไปซะ เพราะเราบวชมาเพื่อการเสียสละ เราไม่ได้บวชมาเพื่อการสะสม ฉะนั้น นี่พูดถึงถ้ามันเป็นความสิ่งที่มันสะอาดบริสุทธิ์นะ

แต่กรณีอย่างนี้กรณีที่ทำแล้ว พอทำแล้วมันก็เป็นไฟเผาใจแล้วว่าเป็นอาบัติปาราชิกหรือไม่ เป็นอาบัติปาราชิกหรือไม่

เราว่าไม่เป็น เพราะเขาถามเรามา เราบอกว่าไม่เป็น

แต่นี้ในตำราเขาบอกว่า มีไถยจิต อยากได้ แล้วจับแล้วมันเคลื่อนที่ สมบูรณ์นี่เขาว่า

อันนั้นตั้งใจทำ อันนั้นเขาตั้งใจทำของเขา แต่ไอ้ของเรานี่เราไม่ได้ตั้งใจทำขาดเจตนา แต่ถ้าพูดถึงถ้าเวลาเขาจะพูดกัน ปรับเป็นอาบัติ เขาจะปรับอาบัติอาบัติตัวที่มันปลงได้ เราก็ปลงซะ สาธุ สุฏฺฐุ ข้าพเจ้าจะไม่ทำอีก การปลงอาบัติคือการประจานความผิดของตน เวลาเราทำสิ่งใดไปมันเป็นผลเวรผลกรรมอยู่แล้วแต่การปลงอาบัติเป็นการสารภาพ สาธุ สุฏฺฐุ ข้าพเจ้าจะตั้งสติ ข้าพเจ้าจะไม่ทำความผิดพลาดอีก

การปลงอาบัติ เราเริ่มต้นกันใหม่ สิ่งที่เป็นเวรเป็นกรรมก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่มันเป็นการว่าเราได้สารภาพ ได้สารภาพแล้ว แล้วเราได้เจตนาว่าเราจะตั้งใจทำความดีแล้ว นี่มันเริ่มต้นใหม่ไง มันจะตัดนิวรณธรรม ความสงสัย ความสิ่งใดที่มันค้างอยู่ในใจ ตัดมันไปด้วยการปลงอาบัติ แต่เวรกรรมนะ มันมีของมันอยู่

มันก็เริ่มต้นกันใหม่ไง แบบว่าเรามาเริ่มต้นกันใหม่ พอเริ่มต้นมันก็ทำผิดอีกเริ่มต้นก็ทำผิดอีก อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เริ่มต้นใหม่แล้วเราจะไม่ทำอีกแล้ว นี่เวลาปลงอาบัติ

กรณีนี้ไม่เป็นปาราชิก แต่ถ้ามันเศร้าหมอง เราก็ปลงอาบัติซะ เราปลงอาบัติซะ ถ้ามันค่าเกินเท่าไร เราหยิบผิดพลาดขึ้นมา เราปลงอาบัติ ปลงอาบัติเสร็จมันก็จบ

นี่พูดถึงว่า เป็นปาราชิกหรือไม่

ไม่เป็น แต่อาบัติอื่นเป็น อาบัติเล็กๆ น้อยๆ มันมีของมันน่ะ เราก็ปลงอาบัติของเราซะ เพราะว่าพระ เวลาไปหาครูบาอาจารย์ท่านจะบอกเลย ท่านเตือนเราประจำ “ภิกษุนี่ผิวหนังบางนะ ต้องระวังตัว” คือว่าเราต้องตั้งใจของเรา เราอย่าทำอะไรโดยมุทะลุ ทำอะไรด้วยยั้งคิด เพราะว่าผิวบางไง มันขาดจากความเป็นพระได้ง่ายๆ ไง

ฉะนั้น ถ้ามันขาดจากความเป็นพระ เราอย่าไปมุทะลุทำอะไรโดยพลการ เราศึกษานิดหนึ่ง ถ้ากรณีอย่างนี้ พอความผิดพลาดอย่างนี้ เราพูดเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข พูดเพื่อให้หัวใจความเร่าร้อนมันหมดไป แล้วสิ่งที่อะไรผิดพลาดก็ปลงอาบัติซะ แล้วเริ่มต้นใหม่ แล้วตอนนี้จะทำอะไรเราก็ต้องมีสติปัญญาเพื่อจะไม่ต้องให้เราร้อนใจ

เวลาเป็นทุกข์เป็นยาก เป็นอาบัติ มันเป็นร้อนใจคนทำนะ ไอ้คนอื่นไม่รู้เรื่องกับเราหรอก ไอ้คนข้างนอก องค์อื่นก็เป็นองค์อื่น ไอ้คนทำนั่นแหละ ยิ่งสงสัยด้วยยิ่งตั้งใจดีๆ แล้วมาผิดพลาด นี่มันเพิ่งเริ่มต้น เพิ่งบวชได้  สัปดาห์ เพิ่งได้ อาทิตย์ เขาก็ต้องมีปัญหาของเขา ก็ต้องค่อยๆ แก้ไขกันไป

นี่พูดถึงว่า เป็นอาบัติหรือไม่

ไม่

ฉะนั้น เป็นคำถามนี้เนาะ

ถาม : พอตั้งใจมาก เวลาปฏิบัติก็มักจะตั้งเป้าหมายคาดหวังผล มีวิธีการวางใจหรือปล่อยวางความคาดหวัง แก้ทิฏฐิมานะอย่างไร

แก้แล้วตกภวังค์ แม้กินอาหารแค่มื้อเดียว ต้องทำอย่างไร ฟังเทศน์เกาะเสียงแทนได้หรือไม่

เวลานั่งสมาธิ คำบริกรรมเดิมมันคุ้นชินแล้ว เอาไม่อยู่ ต้องเปลี่ยนคำบริกรรม ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ซึ่งเป็นการภาวนาแต่ละครั้งจะใช้คำบริกรรมผสมกับการใช้ปัญญาอบรมสมาธิครั้งเดียวกันได้หรือไม่ หรือต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ขอบพระคุณ

ตอบ : นี่พูดถึงว่า เวลาที่ตั้งใจภาวนามาก แล้วมันตั้งใจมาก ตั้งใจมากตั้งใจนี่เป็นความดี ความตั้งใจนะ เป็นเจตนา ถ้าเจตนาเราดีแล้ว เราเจตนาแล้วเราก็วางไว้ แล้วเรามาบริกรรมพุทโธของเรา เรามาทำของเรา เพราะตั้งใจมากตั้งใจมากมันก็คาดหมาย คาดหมายมันก็เหมือนเพ้อเจ้อ ความเพ้อเจ้อของเราเห็นไหม

อธิษฐานบารมี บารมี ๑๐ ทัศนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ก็ตั้งเป้าหมาย พอตั้งเป้าหมายเสร็จแล้วท่านก็ทำของท่านไป ท่านทำของท่านไป  อสงไขย  อสงไขย ๑๖ อสงไขย เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนับไม่ได้ๆ แต่ความตั้งอันนั้นน่ะ แล้วพอความตั้งอันนั้นแล้ว ดูสิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านลาการเป็นพระโพธิสัตว์ของท่าน การตั้งเป้าหมายแล้วเราทำ มันมีสายบุญสายกรรมทั้งนั้นน่ะ เวลาเราจะลาจากเป้าหมายนั้น หลวงปู่มั่นท่านต้องทำสมาธิของท่าน จิตสงบแล้วไปลากันในสมาธินั้นน่ะ แล้วออกมาพิจารณามันถึงจะผ่านมาได้ นี่พูดถึงการตั้งเป้าหมาย การตั้งอธิษฐานบารมี

การตั้งเป้าหมาย มันมีจุดหมายปลายทางของมัน ถ้าจุดหมายปลายทางของมัน ในการปฏิบัติ จุดหมายปลายทางของคนมันก็ถึงสิ้นสุดแห่งทุกข์ พอสิ้นสุดแห่งทุกข์มันจบแล้ว ไม่มีภพไม่มีชาติแล้ว มันจบแล้ว แต่ถ้ามันยังมีภพมีชาติอยู่มันก็ตั้งเป้าหมายกันไป แต่นี้ในปัจจุบันนี้พอเราตั้งเป้าหมาย พอตั้งเป้าหมายแล้วเราทำไม่ได้ดั่งเป้าหมายนั้นน่ะสิ ถ้าเราตั้งเป้าหมายอย่างนั้น

เราเคยฟังเทศน์ของหลวงปู่หล้านะ หลวงปู่หล้าบอกว่า “นี่เป็นพระ ตั้งเป้าหมายแล้วทำไม่ได้คือโกหกตัวเอง เป็นอาบัติปาจิตตีย์” ท่านว่าอย่างนั้นเลยนะโอ้โฮเรายังว่าเขาเอาแรงมาก หลวงปู่หล้านี่ ท่านบอกว่ามันเสียสัตย์กับตนไง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราตั้งเป้าหมายแล้วเราก็พยายามของเรา เราพยายามของเรานะ พยายามของเรา ถ้ามันได้หรือไม่ได้นั่นมันอยู่ที่ความสามารถของเรา

ตั้งเป้าหมายแล้ววางเลย แล้วกำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ทำได้หรือไม่ได้ ถ้าทำได้นะ ฉะนั้น พอเราตั้งเป้าหมายแล้ว เวลาเราปฏิบัติ เราจะสอนมาก เพราะอย่างเรา ความรู้สึก อารมณ์มันคุมไม่ได้ เราถึงบอกว่า เราปฏิบัติเพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราปฏิบัติเพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธะ พุทโธๆ จนพุทโธมันเป็นตัวมันเอง เดี๋ยวรู้เอง เพราะอะไร เพราะพูดมาก รู้มาก มันก็พลิกแพลงมาก กิเลสนี้มันไม่ได้หรอก กิเลสมันไปกับเราตลอด

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์เวลาท่านตอบปัญหานะ ท่านจะตอบปัญหาเป็นกำลังใจ เวลาเป็นข้อเท็จจริง ท่านจะข้ามไป ท่านจะไม่บอก เพราะบอกแล้ว สิ่งที่มันจะเป็นจริงมันกลับไม่เป็น เพราะมันจ่อๆ อย่างนั้น มันไม่ได้หรอก มันไม่ได้อยู่อย่างนั้นน่ะ เพราะมันสงสัย มันสงสัยอย่างนั้น ถ้ามันไม่สงสัย มันทำจริงๆ จังๆมันผ่านไปเอง นี่ก็เหมือนกัน นี่พูดถึงว่า นี่การตั้งเป้าหมายไว้

วิธีแก้ตกภวังค์ แม้แต่กินข้าวมื้อเดียวแล้วมันยังตกภวังค์

กินข้าวมื้อเดียวยังตกภวังค์น่ะ กินข้าวมื้อเดียวนะ ดูสิ เวลาคนเขาลดความอ้วนน่ะ เขาอดกันเป็นเดือนๆ ไอ้นี่มื้อเดียวแค่วันเดียว เพิ่งวันนี้ ไอ้เมื่อวาน  มื้อมันยังเหลือมานะ ยังเหลือเยอะด้วย

เพราะเวลาอดอาหาร เราเคยอดอาหารมานาน มันมีความรู้สึกเลยนะ ดูเวลาคนหลงป่าเขาจะอยู่ได้กี่วัน เพราะมันมีไขมันในร่างกายมันดึงมาใช้ได้ ไอ้เรากินมาน่ะ ไอ้ที่กินมาเยอะแยะมันสะสมไว้เต็มเลย มันยังไม่ได้ดึงมาใช้เลย ถ้ามันดึงมาใช้

ฉะนั้น มันยังตกภวังค์อยู่ ฉะนั้น เวลาเราคิดไง เวลาเราอยู่ทางโลก อยู่บ้านเรากินปกติ เราก็อยู่ของเรา ทีนี้พอมาวัดปั๊บ พอมากินมื้อเดียว มื้อเดียวตอนนี้หรือ แล้วที่มันเหลือล่ะ แล้วที่มันเหลือนะ เพราะอดได้อีกเยอะเลย เพราะเวลาอดไปแล้วมันจะดึงพลังงานไขมันในตัวมาใช้ ร่างกาย แล้วมันจะไปเรื่อยๆ เลย

ฉะนั้น ถ้ากรณีอย่างนี้กรณีที่ว่ามื้อเดียวแล้วมันยังตกภวังค์ ไอ้มื้อเดียวนี่เอามาต่อรองไม่ได้ คำว่า “มื้อเดียว” เราคิดว่าเรามื้อเดียวแล้ว เราลงทุนมากแล้ว เราทำเยอะแล้ว...ยัง มันยังไม่ต่อเนื่องไง

เพราะถ้ามันหายตกภวังค์ก็จบ ถ้ายังไม่หายตกภวังค์ ไอ้กรณีนี้เราเอามาอ้างไม่ได้ อ้าง มันก็เหมือนกิเลสเอามาต่อรองกับเราไง เราไม่ให้กิเลสมาต่อรองกับเรา มื้อเดียวมันเป็นว่าเราถือธุดงควัตร เราถือศีลในศีล

ศีลในศีล เวลาศีลธุดงค์ ๑๓ เป็นเครื่องขัดเกลา คำว่า “เครื่องขัดเกลา” ไม่ใช่ตัวขัดเกลา ตัวขัดเกลาคือศีล สมาธิ ปัญญา แต่การอดนอนผ่อนอาหารมันเป็นเครื่องส่งเครื่องเสริม เครื่องเสริม เครื่องขัดเกลากิเลส แต่ไม่ใช่การขัดเกลากิเลส

การขัดเกลากิเลส สุดท้ายแล้วมันก็ต้องเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา การขัดเกลากันจริงๆ จะเป็นตรงนั้น แต่ไอ้ที่เราทำกันอยู่นี่ เราถือศีลไง ศีลในศีลไง

ฉะนั้นว่า ถ้ามันตกภวังค์ เราก็ต้องใช้ปัญญา มันจะแก้ไขได้ด้วยสติด้วยปัญญาของเรานะ ไอ้เรื่องตกภวังค์นี่ ตกภวังค์ เพราะเวลาการตกภวังค์ เราจะใช้ปัญญาของเรา ทำไมถึงตกภวังค์ เพราะเหตุผลอะไร ถ้าเหตุผลด้วยสติด้วยปัญญาแล้วก็วูบหลับไปอีกแล้ว ไม่ทันหรอก ค่อยๆ แก้ไปเรื่อย มันจะทันขึ้นมา

มันก็เหมือนพุทโธนี่แหละ พุทโธๆ หายวูบไปเลย แล้วพุทโธไปไหนก็ไม่รู้ พุทโธๆ เดี๋ยวไปอีกแล้ว แล้วถ้ามีสติปัญญา พุทโธๆ ชัดเจนกับเรา ชัดเจนกับเราชัดเจนจนละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เข้าใจหมด ถ้ามันเข้าใจหมดมันก็จบไง

ฉะนั้น เรื่องการตกภวังค์ก็ต้องค่อยๆ แก้ไปเรื่อยๆ ค่อยๆ แก้ ค่อยๆ แก้ มันไม่ปุ๊บปั๊บหายหรอก เพราะอะไร เพราะหลงผิดกันมานาน หลงผิดกันมาเยอะ เราหลงผิดกันมาทั้งชีวิต แล้วไม่ใช่ชีวิตนี้ หลงผิดมาในวัฏฏะไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แล้วพอมาชาตินี้ภาวนาแล้วจะให้สว่างแป๊บ แต่เวลาหลงผิดมา หลงผิดมานาน

ค่อยๆ แก้ ค่อยๆ แก้ ไม่ใช่ว่าพอแก้เดี๋ยวนี้มันจะหายเดี๋ยวนี้ไง มันเหมือนพันธุกรรมน่ะ ดูสิ พันธุกรรม เรามีพันธุกรรมจากพ่อจากแม่มา ถ้าพ่อแม่มีโรคนี้เขายังบอกว่าเราเกิดมาจากพ่อจากแม่ เราจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ นี่ขนาดภพชาติเดียวนะ

ฉะนั้น ตรงนี้เราใช้ปัญญาของเรา ไอ้เรื่องภวังค์มันเหมือนกับความกลัวความกลัว เดี๋ยวเราก็หายกลัว สักพักก็กลัวอีก กลัวอีก เดี๋ยวพิจารณาจนหายกลัวเดี๋ยวมันก็กลัวอีก คือมันเกิดดับ ไอ้ภวังค์ก็เหมือนกัน ถ้าเราแก้ไขไม่จบนะ มันก็ยังมี เพราะเรายังมีชีวิตของเราใช่ไหม เรายังมีการปฏิบัติอยู่ใช่ไหม มันก็เหมือนกับนอน นอนกับตื่นนอน นอนหลับ ตื่นแล้ว เดี๋ยวก็นอน นอนแล้วเดี๋ยวก็ตื่น

จิตก็เหมือนกัน ถ้าเป็นสมาธิก็จบ ถ้าเป็นสมาธิก็ลงสมาธิไปเลย ถ้าลงสมาธิไม่ได้ก็ลงสู่ภวังค์ เราก็ต้องศึกษา ศึกษาแล้วพยายามปฏิบัติ เดี๋ยวเราจะเข้าใจทะลุปรุโปร่งหมดเลย

เวลานั่งสมาธิไปแล้วมันคุ้นชินกับคำบริกรรมแล้ว แล้วเอาไม่อยู่ จะใช้ปัญญาอบรมสมาธิพร้อมกับคำบริกรรมได้หรือไม่

เวลาเราใช้คำบริกรรมมันคุ้นชิน พุทโธ ,๐๐๐ กว่าปีแล้ว คุ้นชินไหม มันคุ้นชินนะ คำว่า “คุ้นชิน” ถ้าสติอ่อนแอน่ะคุ้นชิน สติชัดๆ นี่โอ้โฮพุทโธนี่ชัดเจนมากถ้าพุทโธชัดเจนมาก แล้วพุทโธๆ เวลาจิตมันเป็นพุทธะเสียเอง โอ้โฮมันสว่างกระจ่างแจ้ง

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า คำว่า “คำบริกรรมเราไปคุ้นชิน

ไม่ได้คุ้นชิน เพียงแต่ว่ามันเผอเรอ มันเผอเรอต่างหาก มันเผอเรอแล้วเราทำไม่ชัดเจน มันก็เหมือนกับคุ้นชิน ความเผอเรอ ความไม่เอาไหนของเรา เราเข้าใจว่ามันเป็นการคุ้นเคย เป็นการคุ้นชิน การคุ้นชินมันก็เป็นการคุ้นชินได้จริง

แต่ถ้าคนมีสติปัญญา คุ้นชินก็คุ้นชินแบบพุทธะ คุ้นชินแบบชัดเจน สำคัญที่สติไง คำว่า “สำคัญที่สติ” ถ้าสติดีๆ มันจะสดๆ ร้อนๆ คำว่า “สดๆ ร้อนๆ” คือมันชัดเจนไง

แต่พอเราไปคุ้นเคยกับมัน คุ้นเคยกับมันนี่สติอ่อนแล้ว เหมือนเรา เราคุ้นเคยกับใคร เราก็ไม่ระวังภัยเลย ลองคิดว่าไอ้คนนั่งข้างๆ กูนี่มันนักโทษประหารนะโอ้โฮระวังตัวเต็มที่เลย คนนั่งข้างๆ กูนี่นักโทษประหารนะ มันแหกคุกมา โอ้โฮระวังตัวเต็มที่เลย แต่ถ้าเราไปไว้ใจ เราวางใจ นี่ไง

นี่ก็เหมือนกัน เวลากำหนดพุทโธๆ ถ้าเรามีสติปัญญา มันจะคุ้นชินไหมนักโทษประหารนะ กิเลส เราจะฆ่ากิเลส นี่มันชัดเจนไง คำว่า “คุ้นชิน” มันเหมือนเป็นความคิดของเราเอง เป็นความคิดของเราเอง แล้วมันไม่มีทางเลือก ไม่มีทางเลือกเพราะว่ามันอยู่กับเรามันต้องคุ้นชิน

แต่ถ้านักปฏิบัติ ไม่ชิน ไม่ชิน สดๆ ร้อนๆ สติชัดๆ จะคุ้นมันไหม ไม่คุ้นหรอกเพราะอะไร เพราะเราเคารพพระพุทธเจ้า แก้วสารพัดนึก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัย องค์พุทธะ องค์พระพุทธเจ้าสูงส่งมาก เราไม่กล้าตีเสมอท่านหรอก เราจะไม่คุ้นชินกับท่าน เราจะกำหนดพุทโธๆๆ

แต่ถ้าเวลากำหนดพุทโธกับจิตเป็นอันเดียวกันนะ เออเป็นพุทธะโดยตัวของจิตเอง นั่นน่ะ นั่นน่ะพุทธะกลางหัวใจ นั่นน่ะได้เฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างนี้ไม่ใช่คุ้นชิน อย่างนี้ชัดเจน เราต้องฝึกหัดอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ไปแล้ว เห็นไหม

คำที่เขียนมานี่ คำถามน่ะ คำถามมันเป็นกิเลสกับเราเป็นอันเดียวกันไง มันเลยคิดได้แค่นี้ไง มันคิดได้แค่นี้ แต่ถ้าใช้ปัญญาแยกแยะไปแล้ว ธรรมเป็นธรรมไง เออกิเลสมันหลอกให้กูเขียนไปนี่ กิเลสมันหลอกให้กูเขียนออกมา แสดงว่าเรามีอารมณ์อย่างนี้ เรามีความรู้สึกอย่างนี้ เห็นไหม ถ้าเราพลิกอารมณ์เรา มันก็เกิดปัญญา

ถ้าเกิดปัญญาขึ้นมาแล้ว อย่างเช่นกำหนดพุทโธ คำบริกรรมก็คือคำบริกรรมถ้ามันคุ้นชิน คำว่า “คุ้นชิน” แสดงว่าสติอ่อน สติอ่อนมันก็เลยคุ้นเคยกัน ถ้าสติมันมานะ โอ้โฮชัดเจนมาก ทีนี้ถ้าสติชัดเจนมาก ชัดเจน พุทโธ พุทโธจนพุทโธไม่ได้ตัวเราเป็นพุทโธเสียเอง ธัมโม ธัมโมจนธัมโมไม่ได้ สังโฆ สังโฆจนสังโฆไม่ได้มรณานุสติ ระลึกถึงความตายๆ จนจิตมันว่างหมด เห็นไหม นี่เวลามันเป็น มันเป็นอย่างนี้

แต่ความรู้สึกของเรา เวลามันผิดพลาดขึ้นมา เราจะหาเหตุหาผล เราก็หาเหตุหาผลได้ที่คำถามที่เขียนมานี่ไง แต่คำถามที่เขียนมานี่มันเป็นวิทยาศาสตร์เป็นคนที่คิดได้ มันเป็นรูปธรรม

แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริง อย่างที่เราพูดนี่ ถ้าสติพร้อม ทุกอย่างพร้อมนะ เวลาหลวงตาท่านสอน เวลาพิจารณากายๆ เวลามันพิจารณาไปมันสมดุลของมัน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ เห็นไหม กายก็จริงของกาย จิตก็เป็นจริงของจิต ทุกข์ก็เป็นจริงของทุกข์ จิตนี้รวมลง ทุกข์จริงของทุกข์ กายจริงของกาย จิตจริงของจิต พิจารณาไปแล้วมันต่างอันต่างจริง ถ้ามันต่างอันต่างจริง ต่างอันต่างคงที่ นี่แหละของจริง

นี่ก็เหมือนกัน พุทโธๆ ก็จริงของพุทโธไง พุทโธก็จริงตามพุทโธไง เราก็จริงตามเราไง ถ้ามีสติสัมปชัญญะ กำหนดพุทโธๆ ไปเรื่อยๆ มันจะชัดเจนของมัน นี่พูดถึงถ้ามันเป็นจริงนะ ถ้าจริงแล้วมันจะเป็นอย่างนี้ ต่างอันต่างจริง มันจริงด้วยกัน จริงกับจริงเจอกัน

แต่เรายังไม่จริงไง พอมันไปเจอความจริงเข้ามันก็ เออไปทางซ้ายก็ติด ไปทางขวาก็ติด ถอยหน้าก็ไม่ได้ เดินหน้าก็ไม่ได้ ติดไปหมดเลย นี่ฝึกหัดใหม่ๆ เป็นอย่างนี้หมด หลวงตาท่านสอนว่า การปฏิบัติยาก ยากคราวเริ่มต้นนี่ เริ่มต้นนะทำสมาธิได้ จากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนคือทำสมาธิได้คล่องตัวขึ้น คือคนทำงานเป็นมันจะก้าวเดินไปเรื่อยๆ มันจะเริ่มต้นมันยาก มันยากตรงนี้ถ้ายากตรงนี้ เราก็ฝึกหัดของเรา

ฉะนั้น สิ่งที่เขียนมานี่ก็เพียงแต่ว่าเป็นคำถาม สุดท้ายแล้วเราอธิบาย พออธิบายไปแล้ว เวลาคนไปปฏิบัติมันก็อยู่ที่น้ำหนัก อยู่ที่น้ำหนัก อยู่ที่ทิศทางทิศทาง น้ำหนัก เราควบคุมอย่างไร เราดูแลอย่างไร ถ้าสมดุล มัชฌิมาปฏิปทาน้ำหนักพอดี พอดี แล้วพอดีของใคร

ฉะนั้น ไอ้น้ำหนัก ทิศทาง เราพยายามดู พยายามฝึกหัด แล้วพยายามควบคุม ฝึกหัดจนมีความชำนาญ ชำนาญในวสี หลวงปู่เจี๊ยะท่านสอน ชำนาญในการเข้าและการออก ชำนาญในวสี ชำนาญในการให้จิตมันก้าวเดิน

ถ้าก้าวเดินได้นะ เราจะทำได้ แล้วทำได้ เราจะพิจารณาได้ เห็นไหม คนที่ภาวนาเป็นๆ เวลาพูดสิ่งใดไปมันมีเหตุมีผล มีขั้นมีตอนของมัน แล้วทำเสร็จแล้วมันจะเป็นประโยชน์กับเรา นี่พูดถึงการภาวนา เอวัง