เทศน์บนศาลา

กิเลสอำพราง

๒๔ มิ.ย. ๒๕๔๙

 

กิเลสอำพราง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๙
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ประเสริฐมากๆ ดูสิ มันเป็นสมบัติสาธารณะกลาง เขาเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เราเป็นมนุษย์ถ้าพูดถึงศรัทธาทั่วไป ทุกคนอยากเกิดเป็นเทวดา ทุกคนอยากเกิดเป็นทิพย์ เพราะมีความสุข แล้วเกิดเป็นนรกอเวจีล่ะ อันนั้นก็เป็นความทุกข์ สมบัติสาธารณะกลาง คือเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์มีร่างกายกับจิตใจ เราได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นสถานะ อริยทรัพย์

สิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ ดูทางการกีฬาเขานะ ร่างกายของมนุษย์ เวลานักกีฬาเขาจะมีจุดสูงสุดของเขาหนหนึ่ง นักกีฬาจะมีจุดสูงสุดของหนหนึ่ง แล้วก็ชราภาพไป เขาก็เอาประสบการณ์ของเขาไปเป็นอาชีพของเขา นั้นเป็นนักกีฬา นักกีฬาเพราะอะไร เพราะมีการแข่งขัน เขาต้องใช้ร่างกายของเขาแข่งขัน เพราะมันเป็นวัตถุที่เป็นสถิติ ที่เขาจับต้องได้

แต่เรื่องของหัวใจล่ะ เรื่องของหัวใจ มันจุดสูงสุด ในปัจจุบันนี้จุดสูงสุดของเรา เรามีความเชื่อ เรามีความศรัทธา มีความเชื่อ มีความศรัทธา เป็นความสูงสุดของโลกมนุษย์นะ แต่ธรรมล่ะ ธรรมจุดสูงสุด เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกแสวงหานะ สร้างสมบุญญาธิการมา เป็นพระโพธิสัตว์ สิ่งที่เป็นพระโพธิสัตว์ สละมาขนาดไหน สละชีวิต สละมาทุกอย่าง แล้วไม่ใช่สละแบบโดนบังคับขู่เข็ญนะ สละแบบความพอใจ

ถ้าสละแบบความพอใจ ดูทานสิ เราทำทานกัน ถ้าเรามีความศรัทธา มีความเชื่อ เราจะมีความสุขของเรา ถ้าเราทำทานโดยการบังคับ ดูสิ ทางราชการเขาบังคับ เขาต้องการหาตัวเลขของเขา เขาบังคับ เราทำของเราโดยที่มันจืดชืด แต่ถ้าเราทำด้วยความศรัทธาของเรา เราจะมีความสุขของเรา

พระโพธิสัตว์ เวลาเสียสละ เสียสละจากหัวใจ มีหัวใจ เพราะหัวใจ การเปิดกว้าง การกระทำอันนั้นจะให้ผลมาก แต่การกระทำของเรา การกระทำของเรานี่จุดสูงสุดของโลกมีเท่านี้ มันถึงเวียนไปในวัฏฏะ

“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ทำคุณงามความดีต้องเป็นคุณงามความดี จะมีศาสนา ไม่มีศาสนา สัจจะอันนี้เป็นความจริง “ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว”

แต่เวลาเป็นศาสนาล่ะ ตัวศาสนาลึกซึ้งกว่านั้นนะ ทำความดี คนติดดีนี่แก้ยากกว่าคนติดชั่วอีก เพราะมันติดดีของมัน นี่กิเลสมันอำพรางนะ มันอำพรางว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ความดีของโลกนี่สิ่งนี้เป็นธรรม กิเลสมันอำพราง ทั้งๆ ที่ว่าเป็นธรรมนะ ถ้าเป็นธรรมกิเลสมันต้องฆ่ากิเลส แต่กิเลสอำพรางมาเพื่ออะไรล่ะ? ก็เพื่อจะให้เราหลงใหลไปในความหลงของกิเลส

ถ้าเป็นกิเลส เป็นสิ่งที่เราเกิดเราตาย นี่เพราะมีอวิชชา

อวิชฺชา ปจฺจยาสงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะจิตดวงนี้มีอวิชชาครอบงำอยู่ มันถึงพาเกิดพาตาย สิ่งที่พาเกิดพาตายคือเชื้อไขในจิตไง ปฏิสนธิจิตนี้สำคัญมาก แต่ปัจจุบันนี้ เราไปคิดว่าวิญญาณคืออะไร? วิญญาณมีโสตวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ วิญญาณคือวิญญาณอายตนะ เราเข้าไปเจอวิญญาณเปลือกๆ เวลาสุข เวลาทุกข์อยู่ตรงนี้

“เปลือก” ผลไม้ถ้าไม่มีเปลือก มันรักษาผลไม้นั้นไม่ได้

นี่ก็เหมือนกัน เปลือกของใจ “ขันธ์” ขันธ์ไม่ใช่จิต ขันธ์มันเป็นอาการที่เกิดดับ สิ่งที่เกิดดับมันเป็นสิ่งที่กระทบ ผลไม้เวลามันไปอยู่ที่ไหน ถ้าเปลือกของเขาแข็งแรง เปลือกของเขาไม่เปิดออก เขาจะรักษาเนื้อของเขาได้ สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าผลไม้รักษานะ แต่ตัวผลไม้ล่ะ? คือผล ตัวผลไม้ คือเนื้อ เนื้อผลไม้มันให้คุณประโยชน์มหาศาล

นี่ก็เหมือนกัน เราไม่เคยเห็นตัวจิต ตัวจิต ตัวจิตคือตัวธาตุรู้ แล้วอาการของจิตนี่ตัวเปลือกผลไม้ สิ่งนี้มันเกิดอารมณ์ความรู้สึก มันเกิดดีเกิดชั่ว เราคิดเราแต่ง เราคิดไป เราปรุงไป แต่งไปตามแต่สิ่งที่เกิดดับนี่ไง เราอยู่ได้แค่เปลือกผลไม้ เราอยู่ได้แค่อาการของใจ สิ่งที่อาการของใจ แล้วว่าสิ่งนี้ดีหรือไม่ดีเพราะมันมีอะไรล่ะ? มันมีอาการ มันไม่ใช่เกิดขึ้นโดยตัวมันเอง มันเกิดขึ้นจากจิต เพราะจิตมีอวิชชา ตัวอวิชชา

ถึงว่า อวิชชา ตัวอวิชชาคืออะไร? คือความไม่รู้ไม่เข้าใจในสถานะการเกิดดับอันนั้น ไม่รู้สถานะการเกิดดับ เกิดมาจากไหนก็ไม่รู้ เกิดมาแล้วให้ความทุกข์กับตัวเองก็ไม่รู้ เกิดมาแล้วทำให้ตัวเองหลงใหลไปกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองก็ไม่รู้ นี่กิเลสมันเป็นอย่างนี้ แล้วมันอำพรางไว้ แล้วเราก็เชื่อมันเพราะเป็นเรา เราเชื่อความเห็นของเรา เราถึงล้มลุกคลุกคลาน กันอยู่นี้

แต่ถ้ามีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจากไหน เวลาจะค้นคว้านะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาบอก “ธรรมนี้มีอยู่แล้ว” ธรรมมีอยู่แล้วเพราะว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัปเป็นองค์ที่ ๔ พระศรีอริยเมตไตรยเป็นองค์ต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้นมา สิ่งที่ธรรมมีอยู่แล้ว สภาวธรรมมีอยู่แล้ว ลึกซึ้งมาก แล้วคนที่จะเข้าไปค้นคว้า เข้าไปรู้ได้ต้องสร้างสมบุญญาธิการมา

ผู้ที่จะรู้เองได้มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระปัจเจกพระพุทธเจ้าเท่านั้น สาวก-สาวกะ เพราะอะไร เพราะสถานะของใจเรามันไม่มีความสามารถขนาดนั้น สาวก-สาวกะได้ยินได้ฟัง เราได้ยินได้ฟัง พระกรรมฐานถึงติดครูติดอาจารย์ตรงนี้ ติดครูติดอาจารย์ตรงที่กิเลสถ้ามันอำพรางประสาโลกนะ ประสาโลกมันหลอกลวงตัวเอง หลอกลวงตัวเองแล้วเราพอใจ พอใจแล้วเราก็ออกไปข้างนอก

นี่มันอำพรางแล้วนี่เราก็หลอกไปข้างนอก หลอกไปข้างนอก หลอกสิ่งต่างๆ สังคม เห็นไหม เพื่ออะไร? เพื่อลาภสักการะ “ลาภฆ่าโมฆะบุรุษนะ” สิ่งนี้เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์ ท่านบอกว่า “เป็นขี้” ขึ้หมายถึงว่า เป็นเรื่องของโลกๆ เรื่องของธรรมมันสูงกว่าโลกมากนักนะ

ดูสิ เวลาร่างกายเราขับถ่ายออกมา ขี้เหงื่อ ขี้ไคล ขี้เล็บ ขี้ต่างๆ มันออกมาจากไหน? มันออกมาจากร่างกายเราขับของเสียออกมาจากร่างกาย นี่ก็เหมือนกัน เรื่องของขี้คือเรื่องของลาภสักการะ เรื่องของโลก แล้วถ้าพระไปติดในเรื่องอย่างนี้ ถ้าติด ติดมันมาจากไหนล่ะ เพราะมันอำพรางในใจของเรา เพราะใจเราอำพราง เห็นสิ่งนั้นมันเป็นประโยชน์ สิ่งนั้นเป็นประโยชน์เป็นศักยภาพ

“หัวโขน” ดูสิ ดูเวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าไว้ “อำนาจเหมือนกองไฟ” ทุกคนอยากมีอำนาจ ทุกคนอยากเข้าไปกอดกองไฟไว้ กอดกองไฟไว้ มันมีแต่ความเร่าร้อนนะ เพราะอำนาจมีแต่ต้องรักษา ดูสิ ดูกษัตริย์สมัยพุทธกาลสิ เวลาบวชออกมา “ที่นี่สุขหนอ สุขหนอ” เพราะท่านประพฤติปฏิบัติจนถึงสิ้นกิเลส จนพระไปฟ้ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะว่าเป็นกษัตริย์น่าจะคิดถึง น่าจะคิดติดสุขอยู่ คิดแต่ตอนที่เป็นกษัตริย์นะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเรียกมาถาม “ทำไมเธอว่าอย่างนั้น?”

ขณะที่เป็นกษัตริย์นะ มีอำนาจมาก นอนไม่เคยมีความสุขเลย เพราะอะไร เพราะมีอำนาจไง ทุกคน จุดสุดยอดของอำนาจ ทุกคนก็ต้องการอำนาจนั้น เขาจะต้องการต้องชิงอำนาจนั้น นอนสะดุ้งทุกวันทุกคืนไม่มีความสุขเลย ไปนั่งอยู่กับอำนาจ แต่เวลาเราสละออกมาอยู่โคนต้นไม้ พอเราสละอำนาจ อำนาจไม่ได้อยู่กับเรา เขาก็แสวงหา ต้องไปอยู่กับผู้ที่ให้คุณให้โทษ เราสละนั้นมาเพื่อจะทำสงครามกับตัวเอง

ถ้าทำสงครามกับตัวเอง เวลาเราเอาชนะ ชนะที่ไหน? ชนะที่ใจ

อาการของใจไม่ใช่กิเลส อาการของใจ มันเป็นเครื่องแสดงออก เราดูจริตดูนิสัยคนสิ การแสดงออกของเขา มันมาจากไหนล่ะ? มันก็มาจากส่อเข้าไปถึงความคิดของเขา ส่อเข้าไปในจิตของเขา สิ่งนี้ถ้าเราย้อนกลับ ทวนกระแสกลับไป ไปทำลายตรงนี้ พอทำลายตรงนี้หมด ความเป็นไปของมัน เหมือนพลังงานอันหนึ่ง มันเป็นธรรมชาติอย่างนี้ คนเราเกิดมา มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕

ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มันเป็นผลของวัฏฏะ เพราะเกิดเป็นมนุษย์เราต้องมีร่างกาย แล้วมีร่างกาย เราต้องอยู่ในสังคม อยู่ในสังคม สังคมที่เจริญขึ้นมา สังคมที่เจริญก็สะดวกสบายขึ้นมา สังคมที่ล้าหลัง สังคมที่ทุกข์ยากเขาก็ต้องแสวงหาของเขาอย่างนั้น แต่สุขทุกข์อันเดียวกัน อริยสัจอันเดียวกัน สมัยพุทธกาลก็อริยสัจอันนี้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคอย่างนี้ ในปัจจุบันนี้ ทุกข์อันนี้ แต่เพราะเราไปเห็นว่าโลกเจริญ และโลกล้าหลัง เราไปมองกันตรงนั้น เราถึงบอกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ล้าหลัง...ไม่หรอก

ทุกข์มันเป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง ถ้าทุกข์เป็นความจริงนะ ถ้าเราย้อนกลับมาตรงนี้ เราจะย้อนกลับเข้าไปในเหตุที่เกิดทุกข์ ถ้าเหตุที่เกิดทุกข์ เราย้อนกลับไปใจ อย่าให้อำพราง อย่าให้มันหลอกเรา กิเลสหลอกเรานี่เราไม่รู้ เราไม่เข้าใจ ถึงติด ติดถึงต้องอาศัยครู อาศัยอาจารย์ พระกรรมฐานติดครูติดอาจารย์ตรงนี้

ตรงที่แบบว่า ถ้ากิเลสมันอำพรางเรานะ อำพรางเราแล้วเราออกไปแสวงเรื่องภายนอก อย่างนั้นเรายังพอรู้สึกอยู่ เพียงแต่ว่าอำนาจของเรา กำลังของจิตมันอ่อนแอ มันโดนสิ่งที่ดีดดิ้นในหัวใจมีอำนาจมากกว่า มันถึงฉุดกระชากใจออกไปสภาวะแบบนั้น ถ้าเราจะซื่อสัตย์กับตัวเราเอง เราจะไม่ให้มันอำพราง เราจะต้องใช้กำลังของเรา ใช้กำลังเรามาจากไหนล่ะ?

ถ้ากำลังของเรา “มือ” มือของเรานี่ถ้าเป็นปกติ มือของเราไม่มีบาดแผล เราจะทำงานสิ่งใดมันทำได้เต็มไม้เต็มมือนะ มือเราถ้ามีบาดแผล ดูสิ แม้แต่เราไป สิ่งที่น้ำนี่มันยังแสบเลย แล้วถ้าสิ่งที่มันมีพิษ มันถึงต้องมีศีล

“ศีล” การฝึกฝน การปกติของใจ ถ้าเรามีศีล เวลาศีล ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ สิ่งนี้มันเป็นศักยภาพ ดูนะ ดูอย่างทหาร ทหารเวลาที่เขาจะมาเป็นทหารที่เป็นบรรจุเป็นทหาร เขาต้องผ่านโรงเรียน ผ่านการนักเรียนทหารมาก่อนใช่ไหม เขาถึงได้บรรจุออกมาเป็นข้าราชการ นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นชาวพุทธ เราเป็นนักปฏิบัติ ศีลเราต้องมีโดยดั้งเดิมอยู่แล้ว จากอดีตตั้งแต่ก่อนเรานั่งนี่ เราจะทำผิดพลาดมาขนาดไหนก็แล้วแต่ สิ่งนั้นมันเป็นอดีต ในปัจจุบันนี้ ขณะเรานั่ง เราอธิษฐานออกมาเป็นเดี๋ยวนี้ เป็นวิรัติเกิดมาเดี๋ยวนี้ ศีลเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนี้

ถ้าศีลเกิดขึ้นมา ความปกติของใจ ใจนี้มันไม่มีนิวรณธรรม สิ่งที่นิวรณ์ คือความลังเล คือความสงสัย นิวรธรรม ๕ พอมีความลังเลสงสัย มันก็ไปทอนกำลังของจิต กำลัง พอมันลังเลสงสัย ดูสิ เราจับสิ่งใดด้วยเต็มไม้เต็มมือ เราจับสิ่งนั้นด้วยมั่นคง แต่เราจับด้วยความหลวมๆ เราจับด้วยความไม่มีสติ เราจับไม่มั่น

กำลังใจก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่มีนิวรณธรรม เรามีความมั่นคงของใจ การกำหนดความสงบของใจ ทำให้ใจเป็นปกติ ถ้าใจปกติก็เหมือนมือเราไม่มีแผล ถ้ามือเราไม่มีแผล มือเราจะไปทำสิ่งใดก็ได้ ถ้าทำสิ่งใดมันมีความองอาจกล้าหาญ ศีลจะเป็นพื้นฐานของใจ ถ้าศีลเป็นพื้นฐานของใจ ศีลคืออะไร? ศีลคือความปกติของใจ ถ้าใจมันปกติ มันก็ไม่แผลงฤทธิ์ออกไปตามอำนาจของกิเลส

สิ่งที่มันไม่เป็นปกติ ไม่เป็นปกติเพราะมันเป็นมโนกรรม สิ่งที่เป็นมโนกรรม ความคิดของเรานี่มันร้อยแปด อาบัติของจิตมันไม่มีนะ อาบัติคือการกระทำผิดของใจ อาบัติคือผิด พระที่ทำผิดพลาดเป็นอาบัติ ถ้าเราเป็นคฤหัสถ์ก็เป็นความผิดศีล เราทำสิ่งใดเป็นก้าวล่วงไปแล้วศีลขาดต้องต่อศีล ต้องขอศีลใหม่ แต่ถ้าเป็นพระ เป็นอาบัติ อาบัติเพราะอะไร เพราะสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว กรรมมันเกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้นกรรมเกิดขึ้นแล้วนี่เรามีสติสัมปชัญญะว่าสิ่งนี้ทำแล้ว มันเป็นสิ่งที่ความผิดพลาด

แล้วถ้าเรามานั่งภาวนา เห็นไหม นิวรณ์เกิดตรงนี้ ถ้านิวรณ์เกิดตรงนี้ต้องปลงอาบัติก่อน สิ่งที่ปลงอาบัติ กรรมก็มีอยู่อย่างนั้น แต่เราปลงอาบัติเพื่อจะเริ่มต้นใหม่ การเริ่มต้นใหม่ ก็มือเราเป็นแผล รักษาแผลนั้นให้หาย ถ้ารักษาแผล เราจะทำสิ่งใดมันจะทำได้ นี่กิเลสไม่มีอำนาจ ถ้ากิเลสมีอำนาจ การประพฤติปฏิบัติของเรานี่มันอำพรางไป

เวลาเราอยู่กับครูบาอาจารย์ ถ้ามีความสงสัย มีความลังเลในสิ่งที่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าว่าไว้ว่า “สิ่งนี้มีอยู่แล้ว สภาวธรรมมีอยู่แล้ว” แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปรู้ธรรม ไปบรรลุธรรมขึ้นมา ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา นรก สวรรค์ ทุกอย่างมีอยู่พร้อม

ดูสิ เวลาบอกว่า สิ่งที่ไม่พยากรณ์ สิ่งที่มีอยู่แล้ว พระโมคคัลลานะ ลงมาจากเขาคิชกูฏ เห็นเปรต เห็นต่างๆ แล้วยิ้ม ลูกศิษย์ของพระโมคคัลลานะถามว่ามีอะไร พระโมคคัลลานะจะพูดต่อหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่ตอนเย็นไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พูดต่อหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงจากเขาคิชกูฏ เห็นเปรตลอยมากลางอากาศต่างๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “เราเห็นมานานแล้ว แต่เราไม่พูด” เพราะพูดไปใครจะเชื่อ

นี่ขนาดสิ่งที่เป็นนรก สวรรค์ สิ่งที่เป็นสถานะนะ แล้วสิ่งที่เป็นธรรมมันละเอียดอ่อนกว่านั้นอีก เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เห็นก็อายตนะนี่ไง สิ่งที่เป็นอายตนะ สิ่งที่เป็นเปลือกผลไม้ สิ่งที่เกิดอาการของใจ ความรับรู้ สิ่งที่รับรู้มันเป็นเปลือกเท่านั้น สิ่งที่เป็นเปลือกเรายังทึ่งกัน เรายังมีหรือไม่มีหนอ เรายังจะเข้าใจ ยังไม่เข้าใจหนอ สิ่งนี้มันเป็นอาการต่างๆ

เวลาทำความสงบของใจเข้ามานี่ อุปจารสมาธิ จิตเข้าไปถึงวงรอบ มันจะออกรู้เห็นต่างๆ ถ้าจิตมันมีกำลังจะเห็นสภาวะอย่างนั้น เห็นสิ่งนี้คือการส่งออก เราจะไม่ส่งออกไป ถ้าเห็นเราส่งออก อำพรางนะ กิเลสมันจะบอกเป็นผู้วิเศษ เราจะเป็นผู้วิเศษ เราจะรู้สิ่งต่างๆ

ผู้วิเศษไม่ใช่อริยสัจ ผู้วิเศษคือจิตมันพัฒนาขึ้นมา “อุตตริมนุสสธรรม” ธรรมที่เหนือมนุษย์ มนุษย์โลกเขาที่เป็นมนุษย์ เขาสถานะของมนุษย์ เขาก็ดำรงชีวิตของเขาอย่างนั้น วิชาชีพของเขา เขาเรียนวิชาชีพสิ่งใดมา เขาก็ประกอบสัมมาอาชีวะของเขา

สิ่งที่ทางวิทยาศาสตร์ เขาจะพิสูจน์ขนาดไหน สิ่งนี้มันมีอยู่แล้ว แร่ธาตุต่างๆ ในโลกนี้มีอยู่มากมายเลย แล้วเขาจะเอาแร่ธาตุสิ่งใดมาทำเป็นสินค้า ทำเป็นสิ่งเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ อันนั้นมันจะเจริญต่อไปข้างหน้า อันนั้นก็เพื่ออะไรล่ะ? ก็เพื่อผลประโยชน์ของเขา สิ่งที่เป็นประโยชน์ของเขา สิ่งที่เป็นวิชาชีพอย่างนั้น สิ่งนั้นเป็นเรื่องการพิสูจน์ของเขา แต่การพิสูจน์ของเรา เราย้อนกลับมาในหัวใจของเรา ถ้าเราย้อนกลับเข้ามาในหัวใจของเรานี่ปัญญามันเกิดสภาวะแบบใด ย้อนกลับมาถึงปัญญาของเรา ถ้าปัญญาเราจะเกิด เกิดมาจากไหน เกิดมาจากไหน

เพราะเวลาทุกข์ ทุกข์ที่ไหนล่ะ? ทุกข์ที่ใจ ไม่ให้มันอำพรางนะ ถ้ามันอำพรางเรา มันก็บอก “เรามีปัญญา เรามีความรู้ เรามีสถานะทางสังคม เราจะยอมรับความจริงไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นมานี่ ขณะที่อุปจารสมาธิ จิตมันส่งออกไปใด สภาวะแบบใด รู้สิ่งนั้นมาก็ไม่สามารถจะพูดได้”

พูดได้ ถ้าพูด ครูบาอาจารย์ สิ่งที่เรารู้เห็นเราว่า นี่ผู้วิเศษ มันไปรู้เห็นของมันมา แล้วเวลาไปสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ ต้องสนทนาธรรม พระกรรมฐานติดครูอาจารย์ตรงนี้ อย่างเช่น เราทำอะไรขึ้นมาเป็นผลงานขึ้นมา นักเรียนเขาจะไปส่งครูของเขา นี่ก็เหมือนกัน เราปฏิบัติอย่างไร เราก็เข้าหาครูอาจารย์ของเรา แล้วเราเห็นของเรา เรารู้ของเรา เราก็มีการโต้แย้งของเรา เพราะมันเกิดความเห็น เห็นนี่จิตมันซับแล้ว ซับความรู้อันนี้ มันเกิดความรู้สึก มันยึดของมัน สิ่งที่ยึดของมันเราก็ว่าเราถูกต้อง นี่กิเลสอำพรางอย่างนี้

แต่ครูบาอาจารย์บอกว่า สิ่งนี้เราออกไปรับรู้ ถ้าเกิดนิมิตเห็นสภาวะต่างๆ สิ่งนี้มีอยู่แล้ว แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระโมคคัลลานะ เห็นมาแต่ดั้งเดิม แต่สิ่งนี้มันไม่เป็นประโยชน์ ไม่พยากรณ์ แล้วไม่พยากรณ์ออกไป ไม่พูดออกไป เพราะคนที่เขาไม่เห็น สิ่งที่เขาควรจะเคารพว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม เป็นผู้ที่มีคุณธรรมสูงส่ง มีปัญญา มีปัญญาธรรม มีปัญญาคุณ มีเมตตาคุณ ทุกอย่างกับเรามหาศาล รื้อสัตว์ขนสัตว์

แล้วถ้าพูดสิ่งที่ว่าเราเคาดหมายไม่ถึง ความเคารพมันก็จะสงสัย แต่นี้เวลาพระโมคคัลลานะพูดอย่างนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ว่าใช่ ใช่ ใช่ มันมีพยานหลักฐาน สิ่งที่เป็นพยานหลักฐานขึ้นมาเพื่ออะไร? เพื่อว่าให้เรามั่นใจว่าสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้เป็นไปอยู่ แต่เราจะเห็นหรือไม่เห็นมันอยู่ที่อำนาจวาสนาของเรา

ถ้าเราเห็นของเราขึ้นมา เราก็เกิดว่าเราเป็นผู้วิเศษ เราไปว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม นี่กิเลสหลอก แล้วครูบาอาจารย์บอกว่า “สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่อายตนะจากภายนอก” ถ้าเราย้อนกลับมา ถ้าจิตมันสงบเข้ามานี่ มันจะเป็นความรู้สึกจากภายในของเรา

มือสะอาดหรือไม่สะอาด ถ้ามือมันสะอาดนะ สิ่งใดที่มันเป็นคุณประโยชน์หรือไม่เป็นคุณประโยชน์มันจะรู้ ขณะที่มือเราไม่สะอาด มือเรามีบาดแผล ลงไปในยาพิษนี่ ยาพิษเข้าไปในมือ มันเจ็บแสบปวดร้อนเรารู้นะ แต่ถ้าเราไปติดในนิมิต ติดในต่างๆ นี่เราไม่รู้หรอก เราว่า “สิ่งนั้นเป็นธรรม สิ่งนั้นเป็นธรรม” นี่กิเลสมันอำพรางอย่างนี้

มันถึงต้องมีครูอาจารย์คอยชี้นำ ถ้าคอยชี้นำนะ ความเห็นของเรา กับ สัจจะความจริงเป็นธรรมที่ครูบาอาจารย์ท่านทรงในหัวใจ มันต่างกัน สิ่งที่ต่างกัน ครูบาอาจารย์จะต้องใช้เหตุผล จะต้องใช้วิธีการให้เห็นเหตุเห็นผล ถ้าเราทำอย่างนี้มันเป็นสภาวะแบบนี้ ทำได้อีกไหม? ถ้าทำได้ สิ่งที่ทำได้ ดูสิ อาหารที่เรากิน เรากินอาหารมาวันนี้อิ่มท้อง แล้วมันจะมีหิวโหย ความหิวโหยจะเกิดขึ้นกับเราอีกไหม? แน่นอน เพราะอาหารมันโดนย่อยสลายไป พอย่อยไปเราต้องหาอาหารใหม่เติมเข้าไป นี่เรื่องของอาหารนะ

แต่เรื่องของจิตล่ะ จิตมันจะตั้งมั่นด้วยอะไร? ด้วยสติ ด้วยคำบริกรรม นี่อาหารของใจ

จิตเสวยอารมณ์ ความรู้สึกของใจมันเสวยอารมณ์ รสชาติของกิเลส กิเลสมันพาให้เสวย พาให้รับรสชาตินั้น สิ่งที่พอใจ สิ่งที่ต้องการ ปฏิบัติธรรมก็อำพรางไว้ นี่เป็นธรรม สิ่งที่ออกรู้ นี่เป็นธรรม...เป็นธรรมอย่างนี้ มันออกรู้ต่างๆ

ความออกรู้นะ เวลาเรากำหนดพุทโธๆ ทำไมมันไม่ยอมกำหนดล่ะ กำหนดพุทโธๆ นี่คำบริกรรม เราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกชื่อก่อน ถ้าเรายังค้นคว้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เจอ คือพุทโธ ผู้รู้ ทั้งๆ ที่ว่า จิตกับร่างกายอยู่ด้วยกัน เราเป็นมนุษย์ เรามีร่างกาย ปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา เกิดมาเป็นเรา เกิดมาเป็นเราแล้วออกมา เราเป็นมนุษย์แล้ว จิตอยู่ที่ไหน

ถ้าจิตไม่สงบไม่เห็นหรอก ถ้าจิตมันสงบเข้ามานะ มันปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางลึกๆ นะ เป็น อัปปนาสมาธิ สักแต่ว่ารู้นะ มันปล่อยเข้ามา พุทโธๆ จิตมันสงบเข้ามาเรื่อย จากขณิกสมาธิ ว่างชั่วคราว อุปจารสมาธิ มันลึกเข้ามาขนาดไหน จนสงบเข้าไปเป็นอัปปนาสมาธิ รวมเข้ามานะ สักแต่ว่ารู้ มันปล่อยวางหมด

ดูสิ เวลาพระอรหันต์สมัยพุทธกาล เวลาเข้าสมาบัติ ดับหมด สิ่งที่ดับหมดนะ แม้แต่เกิดไฟป่า สิ่งใดมาจะเผาร่างกายนั้นไม่ได้เลย ขณะที่จิตสงบมันจะมีคุณสมบัติของมันมหาศาลเลย นี่ก็เหมือนกัน อัปปนาสมาธิมันไม่ได้เข้าสมาบัติ แต่จิตมันรวมเข้ามา ถ้าจิตรวมเข้ามามันปล่อยร่างกายได้ ความปล่อยร่างกายอย่างนี้มันปล่อยโดยแรงของสมถะ มันปล่อยโดยจิตมันหดตัวเข้ามา จิตมันหดตัวเข้ามาเป็นเอกเทศของจิต เราจะเห็นเลย อ๋อ! จิตเป็นอย่างนี้เอง สภาวะของจิตเป็นอย่างนี้เอง

จิตอย่างนี้ กิเลสท่วมหัวเลย เพราะมันไม่ทำสิ่งใดเลย แล้วถ้าจิตมันคลายตัวออกมา ถ้าจิตคลายตัวออกมา มีกำลังขึ้นมานี่ เราจะน้อมไปที่กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าน้อมไปที่กาย เวทนา จิต ธรรมอย่างนี้น้อมไปได้อย่างไร? ถ้าคนมีอำนาจวาสนา มันจะเป็นมันจะเห็นของมัน ถ้าคนไม่มีอำนาจวาสนาต้องฝึกฝน

แล้วถ้ามีครูมีอาจารย์คอยชี้นำล่ะ ครูบาอาจารย์ของเราจะผ่านสภาวะแบบนี้ จากใจดวงหนึ่งให้กับใจดวงหนึ่ง ใจดวงที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์มา เราจะเอาอะไรไปบอกเขา เห็นไหม สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศไทย เขาจะให้เราเป็นเจ้าของประเทศ แล้วเรามีแขกต่างชาติมา เขาให้เราพาเขาเที่ยว เราไม่เคยไปไหนเลย เราไม่เคยออกจากบ้านเลย แล้วเราจะพาใครไปเที่ยวได้ล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตของเราไม่เคยประสบการณ์ต่างๆ อะไรมาเลย แล้วเขามาถามปัญหาเราจะเอาอะไรไปสอนเขา เราสอนเขาไม่ได้หรอก แต่ถ้าเราจะสอนเขา จิตของเราต้องผ่าน ในเมืองไทยเราผ่านมาหมดเลย เราเคยผ่านสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มา เวลามีคน มีแขกจากต่างชาติมา เราก็พาเขาไปอย่างนั้นได้ อย่างนี้ได้ จะไปที่ไหนก็ได้ เพราะเราผ่านมาหมดแล้ว

จะไปชายทะเล จะไปภูเขา จะไปสิ่งต่างๆ จะไปที่ไหนเราก็เคย เรามีพาหนะพาเขาไป แล้วสิ่งต่างๆ มันเป็นไปได้ ถ้าเขาเป็นไปกับเรา เขาไปเห็นกับเรา มันก็จะเป็นเหมือนกัน สิ่งที่เหมือนกัน นี่อริยสัจอันเดียวกัน สิ่งที่เป็นอริยสัจต้องเป็นอันเดียวกัน อันเดียวกันเพราะอะไร เพราะมันละทุกข์ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต่างๆ มันละทุกข์นะ มันปลดวางทุกข์ออกมาจากใจ สิ่งที่จะปลดทุกข์ออกไปจากใจ ทุกข์นี้มาจากไหน? ทุกข์นี้มาจากสถานะ จากจิตนี้ไง จากจิต จากหัวใจของเรา

ทุกข์ของสัตว์โลก ทุกข์ของคนอื่น สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม สัตว์ที่เกิดที่ตายอยู่นี้ ทุกตัว สัตว์มีเวรมีกรรมของเขา มีเวรมีกรรมนะ กรรมดีก็ทำให้เกิดดี กรรมชั่วก็ทำให้เกิดชั่ว กรรมกลางๆ ก็เกิดทุกข์ๆ ยากๆ ไปตามประสาของสัตว์โลก นี่จุดสูงสุดของชีวิตของเขา จุดหนึ่ง ดูสิ เราประกอบธุรกิจประสบความสำเร็จ จุดสูงสุด เราต้องรักษาไว้นะ เราพยายามจะให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป สิ่งเจริญขนาดไหนมันก็มีบุญมีกรรมเข้ามานะ

นี่ก็เหมือนกันในการประพฤติปฏิบัติของเรา ในการจะออกค้นคว้าหาจิตของเรา หาจิตของเรา จุดสูงสุดของจิตคือจิตที่มันสงบเข้ามาแล้วมีกำลัง เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้เราจะปลดเปลื้องได้ ถ้าเราจะปลดเปลื้อง ปลดเปลื้องอะไร? ปลดเปลื้องสิ่งที่เป็นอนิจจัง สิ่งที่เป็นอนิจจังมันเกิดขึ้นมามันสูงสุด สูงขนาดไหนมันก็ต้องเสื่อมไปเป็นธรรมดา พลังงานใช้ไปขนาดไหนแล้วมันต้องคลายตัวเป็นธรรมดา นี่จิต ความสูงสุดของเราคือพยายามต่อยอดขึ้นมาให้เป็นการตั้งมั่นของจิต ถ้าความตั้งมั่นของจิต แล้วจิตมีกำลังแล้ว เราต้องทำงานของเรา งานคืออะไร?

งานในศาสนา เราเป็นชาวพุทธ สาวก-สาวกะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ในธรรมะ “เราจะทำทานร้อยหนพันหน ไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง เวลาถือศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหน ไม่เท่ากับทำความสงบของใจหนหนึ่ง เวลาใจบริสุทธ์ร้อยหนพันหน ไม่เท่ากับเกิดปัญญาที่ชำระกิเลสหนหนึ่ง”

ดูสิ ร้อยหนพันหนที่เราทำบุญกุศลกันอยู่นี้ แล้วเรามาปฏิบัติกัน บุญกุศลมหาศาลขนาดไหน แต่เวลาเรามาประพฤติปฏิบัติกัน ทำไมเราทุกข์ยากล่ะ นั่งสมาธิก็หลังขดหลังแข็ง เดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน จิตมันไม่ลง

นักรบนะ ดูนะ ดูการกีฬาสิ จุดสูงสุดของชีวิตของนักกีฬาเขามีอยู่หนหนึ่ง เวลาเขาจุดสุดยอดของเขา เวลาเขาแข่งขัน เขามีคู่แข่งขันนะ แล้วการรักษาสถิติของเขา เขาต้องทำให้ของเขามั่นคงของเขานะ เขาฝึกฝน เขาต้องทำขนาดไหน สิ่งนั้นมันเป็นเรื่องของโลกๆ คือแค่รางวัล แค่เหยื่อล่อนะ มนุษย์เห็นเหยื่อแล้วก็พยายามจะกินเหยื่อกันนะ ไม่รู้เลยว่าทุกข์นะ

ดูการครองเรือนนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า วิดทะเลทั้งทะเลเลย เอาปลาตัวเดียว นี่การครองเรือน สิ่งที่ครองเรือนที่ว่าเป็นสุขๆ อย่างนั้น มันยังทุกข์ขนาดนั้นนะ ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริงอยู่แล้ว แล้วเราประพฤติปฏิบัติของเราล่ะ เราจะไปทำสุดยอดอันนี้ สุดยอดเพราะอะไร

เพราะว่าถ้าจิตมันขึ้นจุดสูงสุดของการอัปปนาสมาธิ จิตสูงสุด เวลาผ่อนออกมา เราย้อนไปดู ไปดูสิ่งที่ว่า “อาการของใจ” กับ “ใจ” มันต่างกันอย่างไร อาการของใจมันรับความรู้สึกต่างๆ ออกมาจากตัวใจ เพราะตัวใจเป็นตัวอวิชชา เพราะตัวใจเป็นตัวอวิชชา ตัวใจถึงไม่รู้ว่าสิ่งที่ออกไปมันจะเป็นโทษหรือเป็นประโยชน์กับเรา แต่เพราะอวิชชา ความไม่รู้อย่างนั้น เห็นโลก กระแสโลก เราถึงศึกษาธรรมกัน

เราฟังธรรมของครูบาอาจารย์ขึ้นมาว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องอาศัย ข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาเครื่องดำเนินสำคัญมาก หลักปฏิบัติปฏิปทาเครื่องดำเนิน ทีนี้หลักปฏิบัติปฏิปทาเครื่องดำเนิน เหมือนนักกีฬาเลย ถ้ามีการฝึกซ้อม เบื่อหน่ายมาก ไม่อยากฝึกซ้อม จะเถลไถล นี่ก็เหมือนกัน วัตรปฏิบัติก็เหมือนกัน การวัตรปฏิบัตินี่ให้คงเส้นคงวา คงเส้นคงวาไปในข้อวัตรปฏิบัตินั้น ถ้าปฏิบัติกิเลสมันไม่พอใจ กิเลสมันจะแถออกนอกทาง กิเลสมันจะเฉื่อยชา กิเลสมันจะไม่พอใจ

เราก็ฝืนมัน ฝืนมัน ฝืนกิเลส เราฝืนความรู้สึกของเรา ฝืนความเกียจคร้าน ฝืนการไม่ต้องการกระทำ ให้มุมานะให้จงใจ ให้เร่งด่วนตลอดไป เร่งด่วนเพื่ออะไร? เพื่อจะไม่ให้กิเลสมันต่อต้านได้ ฝึกฝนจนเป็นจริต จนเป็นนิสัย การจะเคลื่อนไหวของเรามีสติพร้อมไป ฝึกสติโดยเราไม่รู้ตัวเลย นี่เป็นคอร์สปฏิบัติของครูอาจารย์เรา

ตั้งแต่พระกัสสปะ พระกัสสปะถือธุดงควัตรมาตลอด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามพระกัสสปะนะ พระกัสสปะเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน มีอายุเท่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระกัสสปะเป็นผู้ที่รับมรดกธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระกัสสปะเป็นผู้ที่ประชุมสงฆ์ สังคายานาครั้งแรก พระกัสสปะสังคยานาไว้ เพราะอะไร เพราะเทิดทูนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เหมือนเรานี่เป็นไข้ เป็นโรคอย่างรุนแรง แล้วไม่มีใครรักษาเราได้ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการจนพระกัสสปะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา คือเหมือนเรารักษาโรค องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารักษาเชื้อไข เชื้อในหัวใจของพระกัสสปะ ทำไมจะไม่ระลึกถึงบุญถึงคุณมาก ระลึกถึงบุญถึงคุณ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ถึงพยายามจะทรงคุณประโยชน์อันนี้ไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลัง

เวลาพระกัสสปะถือธุดงควัตร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามว่า

“กัสสปะเอย เธอก็สิ้นกิเลสแล้ว เป็นพระอรหันต์ ทำไมเธอยังต้องถือธุดงควัตรอยู่?”

“ข้าพเจ้าทำเพื่ออนุชนรุ่นหลัง อนุชนรุ่นหลังได้มีคติ ได้มีแบบแผน”

ดูสิ ตำราในพระไตรปิฏกมีเทคนิควิธีการมหาศาลเลย แล้วเราจะทำอย่างไร เราจะทำอย่างไร จะทำให้ตรงกับการชำระกิเลส เหมือนกับจะทำอย่างไรล่ะที่จะใช้ยาให้ตรงกับโรคของเรา และยาอะไรจะปักโรคกิเลสในหัวใจนี้ เราจะทำอย่างไร

ธุดงควัตรเป็นการขัดเกลา นี่ขัดเกลากิเลส เป็นการตัดทอนกำลังของกิเลส เราถึงทำข้อวัตร เราถึงต้องมีสติฝึกฝนขึ้นมาให้มันมีความชำนาญ ให้มีความชำนาญ เพราะมีความชำนาญ ทำข้อวัตรนั้นมันเป็นการขัดเกลามาตลอด สิ่งที่ขัดเกลาเพื่อจะชำระมัน เพื่อทอนกำลังของมัน ไม่ให้มันมีกำลังขึ้นมา ถ้ามีกำลังขึ้นมา ถ้าเป็นเรื่องความหยาบๆ ในความรู้สึกของอาการของใจ มันเป็นอาการของใจ สิ่งที่เป็นขันธ์เป็นความคิด นี่เป็นอาการของใจ มันจะกินเหยื่อ มันจะไปแสวงหาผลประโยชน์มาเพื่อมาปรนเปรอมัน มันเข้าใจว่า ข้อวัตรปฏิบัติไปทำให้เราลำบาก เราทุกข์เราร้อน เราจะต้องหาทางเครื่องอำนวยความสะดวก สิ่งต่างๆ ที่มันเป็นประโยชน์กับเรา มันก็จะไปหาสิ่งนั้น หาสิ่งนั้นมาปรนเปรอมัน

กินอิ่มนอนอุ่นมีความสะดวกสบาย นี่เวลากิเลสมันอำพราง มันอำพรางอย่างนั้น มันทำให้เราออกนอกลู่นอกทาง แต่ถ้าเราเชื่อธรรม เราเชื่อธรรม เราเชื่อการประพฤติปฏิบัติของครูบาอาจารย์ เราเชื่อข้อวัตรปฏิบัติ เราจะทรงสิ่งนี้ไว้ ฝืนขนาดไหน ฝืนความรู้สึกอันนี้ ทนมัน แล้วทำไป แล้วจะเห็นผล นักกีฬานะ เวลาเขาลงแข่ง เขาซ้อมนี่เหงื่อของเขา สิ่งที่พลังงานเขาทุ่มเทไปนี่ กับลงแข่งขัน เวลาน้อยกว่ากันมากเลย เขาทำเพื่ออะไรล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราทำข้อวัตรปฏิบัติของเราขึ้นมาก็เพื่อจะให้เราเข้มแข็งขึ้นมา ให้มีเชาวน์ปัญญา ให้มีเทคนิคขึ้นมา ขณะที่กิเลสมันเกิด พิจารณากาย จิตมันพิจารณากาย ทำอย่างไรให้กายนี้มันแปรสภาพ ให้มันกลับคืนสู่ธรรมชาติของเขา ตัดแขนตัดขา ตัดต่างๆ เทคนิคของเราในการต่อสู้ระหว่างธรรมกับกิเลสที่มันจะต่อสู้กัน สิ่งที่กิเลสและธรรมต่อสู้กัน สิ่งนี้เป็นเนื้อหาสาระ ถ้าเป็นเนื้อหาสาระนะ นี่มีการกระทำ จิตต้องมีการกระทำ จิตต้องมีการวิปัสสนา จิตต้องมีการต่อสู้ ระหว่างธรรมกับกิเลสต่อสู้กันในหัวใจ ต่อสู้กันในหัวใจนะ

ขณะที่ผู้ที่วิปัสสนาเป็น สิ่งนี้จะมีกำลังมหาศาล จะมีความเพลิดเพลินมากนะ แล้วเราก็ไม่ให้อำพรางนะ ขนาดที่ว่าพิจารณาไปแล้วมันปล่อยวาง ปล่อยวางมันจะว่างมาก การปล่อยวางของการวิปัสสนา กับการปล่อยวางโดยที่ว่าอัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิกำหนดพุทโธ หรือกำหนดต่างๆ เข้าไปนี่จิตมันจะรวมใหญ่ สิ่งที่รวมใหญ่เข้ามาแล้วมันปล่อยหมด แต่มันมีสักแต่ว่ารู้อยู่ ความว่างนี่ว่างมาก ว่างขนาดไหนก็แล้วแต่ เวลามันคลายออกมานะ กิเลสเต็มหัวเลย

แต่ขณะที่เราวิปัสสนา พิจารณากายต่างๆ ถ้ามันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยนะ มันวาง นี่สิ่งนี้เหมือนเรา ภาชนะของเราสกปรกแล้วเราล้างด้วยน้ำสะอาด น้ำล้างสะอาด ล้างสิ่งที่สกปรก มันก็ต้ดองสะอาดขึ้นมาบ้างใช่ไหม ถ้ายังไม่สะอาด ถึงที่สุด สิ่งที่สกปรกมันก็อยู่ที่ภาชนะนั้น ถ้าเราเก็บไว้ ภาชนะนั้นมันก็จะสกปรกมากขึ้น

นี่ก็เหมือนกัน วิปัสสนาถ้ามันปล่อยขนาดไหน สิ่งที่มันสะอาดขึ้นมา มันว่างต่างกัน มันว่างต่างกับสมถะสมถะคือมันว่างโดยการกดไว้ แต่ถ้าเป็นวิปัสสนานี่ มันว่างโดยการที่ว่าเราชำระล้าง การชำระล้างนี่ว่างต่างกัน ความสุขต่างกัน ความเห็นต่างกัน แล้วกิเลสมันก็อำพรางนะว่านี่เป็นธรรม

ถ้านี่เป็นธรรมนะ ถ้าผู้ที่มีจริตนิสัยยังวิปัสสนาซ้ำไปๆ มันจะก้าวเดินไปข้างหน้า แต่ถ้ากิเลส คำว่า “ติด” นะ ทำไมเรียกว่าติดล่ะ? ติดคือมันไม่รู้ เพราะเราไม่รู้มันถึงติดใช่ไหม ถ้าเรารู้จะติดได้อย่างไร คำว่า “ไม่รู้” นี่มันไม่ก้าวเดิน

กิเลสมันร้ายมาก ขณะที่เราจะประพฤติปฏิบัตินะ เรายังทุกข์ยากขนาดนี้ แล้วขณะที่ปฏิบัติไปล้มลุกคลุกคลานกันขนาดไหนเราก็พยายามสร้างสมบุญญาธิการของเรา แล้วมีครูมีอาจารย์นะ นักกีฬามีโค้ช มีสิ่งที่เขาคอยแนะนำนี่ เวลาผิดถูกมีคนแนะนำเรา เราจะมีเทคนิคการต่อสู้ได้ ถ้าเราไม่มีผู้ชี้นำ ไม่มีคนคอยแนะนำนะ เราต้องมานั่งพิจารณาของเราว่าเราทำผิดพลาดอย่างใด เราแข่งขันแล้วทำไมเราแพ้เขา เราซ้อมมาดีขนาดนี้แล้วนี่ ทำไมเราลงไปแข่งแล้วเรายังสู้เขาไม่ได้ เราต้องฝึกเอง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าไม่ครูอาจารย์เราต้องรื้อเอง ค้นเอง ต้องมาวิเคราะห์เอง สิ่งนี้มันเสียเวลามาก แต่ถ้ามีครูอาจารย์นะ ซ้ำ หมั่นคราด หมั่นไถ การชนะการแพ้กันมันอยู่ที่เทคนิคของเรา ถ้าเราขึ้นไปแข่งขันแล้วเราแพ้มา แต่เราก็มีประสบการณ์อันนั้นมา เราแพ้เพราะอะไร แพ้เพราะกำลัง แพ้เพราะเทคนิค แพ้เพราะสิ่งใดเราก็มาเติมตรงนั้น

เวลาพิจารณาไปแล้ว มันไม่ปล่อยวาง มันปล่อยวางขนาดไหน มันไม่ปล่อยวาง ต้องกลับที่พุทโธ กลับไปที่กำลัง กลับไปที่สมาธินั้น กลับไปที่กรรมฐาน สมถะนั้น เพื่อสร้างกำลังขึ้นมา

แต่ถ้ามีกำลังขึ้นมา ถ้ามีกำลังนะ กำลังมาก เวลาวิปัสสนากาย ตั้งกายขึ้นมากายจะใสมากเลย คำว่า “ใสมาก” คือกำลังมันมาก ถ้ากำลังมันมาก ปัญญามันไม่มี ต้องใช้ปัญญามากๆ “ปัญญามากๆ” หมายถึงว่า พิจารณาซ้ำ พิจารณาบ่อยครั้งเข้าให้มันสมดุล สิ่งที่สมดุล คำว่า “สมดุล” สมดุลเพราะมันมรรคสามัคคี ความสามัคคี ธรรมจักรมันจะหมุนอย่างนี้ ธรรมจักรมันจะหมุน สิ่งที่หมุน ธรรมจักรหมุนไปๆ ทำความสะอาดไป ทำความสะอาดใจบ่อยครั้งเข้าๆ

ถึงที่สุด เวลามันเป็นผลของเขาขึ้นมา นี่อกุปปธรรม กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์

กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์นะ สิ่งที่รู้ มันปล่อยวาง ดับหมด หาย ดับไป จิตหลุดออกไปจากอาการหมดเลย แล้วมันรู้ขึ้นมา มันออก จิตเป็นจิต แล้วความรู้อันนั้นล่ะ เพราะจิตสภาวะแบบนี้ มันเป็นจิตที่เราเคยใช้เคยสอยมาโดยสัจจะของมนุษย์ สิ่งที่ความรู้สึก เราดูรูปโดยผ่านตา เราฟังเสียงโดยผ่านหู เรารับลิ้มรสโดยผ่านลิ้น สิ่งนี้มันเป็นวิญญาณ อายตนะที่สิ่งที่กระทบมาตลอด

ทั้งๆ ที่เราใช้กำหนดพุทโธกันนะ กำหนดพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเรามีสติควบคุม แล้วเราใช้ปัญญาไล่ต้อนขึ้นมา ขณะที่มันรู้นะ รู้เรื่องรูป รส กลิ่นเสียง แล้วเราควบคุมสิ่งนี้ได้ง่าย ถ้าควบคุม เห็นไหม มือที่ไม่เป็นแผล เป็นกัลยาณปุถุชน ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส สิ่งใดมาล่อ กิเลสมันก็จะตะครุบเหยื่อหมด สิ่งที่ตะครุบเหยื่อเพราะมันต้องการ สิ่งที่มันตรงจริต ตรงนิสัย มันก็ไปตามอำนาจของแรงขับของกิเลส แรงขับกิเลสมีแรงขนาดไหนมันก็ไปตามอำนาจ

ถ้ามีสติยับยั้งขนาดไหน มีสติยับยั้งบ้าง สิ่งนี้มันก็เบาบางลง สิ่งที่เบาบางลง แต่ถ้าเราใช้พุทโธ หรือใช้กำลังปัญญาอบรมสมาธิไล่ต้อนเข้าไปด้วยสติปัญญาของเราขึ้นมาบ่อยครั้งเข้า มันจะเห็นโทษ เห็นโทษว่ารูป รส กลิ่น เสียงนี้เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นบ่วงของมาร เพราะบ่วงของมาร เราถึงตั้งหลัก ตั้งกำลังของจิตให้คงที่ได้ยาก ได้ยากเพราะสิ่งนี้มันคอยยั่วเย้า สิ่งที่บ่วงของมาร พวงดอกไม้แห่งมาร วิปัสสนา ใช้ปัญญาบ่อยครั้งเข้า มันถึงที่สุดมันจะเห็นโทษของมัน

มันเกิดจากอุปาทานนะ สิ่งที่อุปาทาน เพราะเราเข้าใจโดยกิเลสมันอำพรางว่า มนุษย์ต้องใช้อย่างนี้ ปัจจัยเครื่องอาศัยต้องใช้แบบนี้ แล้วเราไปอดนอนผ่อนอาหาร สิ่งนี้มันไม่เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นสัจจะความจริง

ธรรมชาติมันพาเราไปตายนะ ธรรมชาติ สิ่งที่ใช้สอยอยู่นี้ ร่างกาย การขับถ่ายของร่างกาย ของต่างๆ มันเหลือเฟือ เหลือเฟือจนมันทำให้การก้าวเดินของเรา การทำสมาธิของเราไม่สืบต่อ ไม่มีกำลังของเขา

นี่ถ้าเราพิจารณาบ่อยครั้งเข้ามันจะปล่อย การปล่อยอย่างนี้ นี่กัลยาณปุถุชน แล้วยกขึ้นวิปัสสนาได้ เวลามันขาด สิ่งที่ขาดมันเพราะอะไร สิ่งที่ขาด จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ สิ่งที่ขาด อะไรขาด? สังโยชน์ขาดไป สิ่งที่ขาดไปเป็นอกุปปธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม ถ้าสิ่งนี้เป็นธรรมมันเกิดจากไหน? การเกิด เกิดจากใจของเรา จากใจปุถุชนคนหนาไปด้วยกิเลส จากใจของเรา สิ่งที่กิเลสอำพรางให้เราไปแสวงหาสิ่งที่เป็นโลกๆ

สิ่งที่เป็นโลกธรรม ๘ ดูสิ แม้แต่สถานะของชื่อเสียงเขาก็ติดกันนะ อยากให้เขารับรู้ อยากให้เขาเป็นไป เห็นไหม ในคติธรรม เราประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร? ไม่ใช่เพื่อจะสั่งสอนใคร ไม่ใช้เพื่อลาภสักการะ ไม่ใช่เพื่อสิ่งใดเลย เราประพฤติพรหมจรรย์เพื่อเรา ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อการแก้กิเลส สิ่งแก้กิเลส สิ่งที่มันออกไปข้างนอก มันออกไป ขณะที่ออกไป ทำให้จิตนี้มันทิ้งขันธ์ของมัน มันก็เสื่อม

แต่ถ้าเรากลับมาที่ฐาน เราดูที่สติ เราไม่ต้องการสิ่งใดเลย ทำไมเราต้องหาสัปปายะล่ะ ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ของเราอยู่ป่าอยู่เขานี่ ไปเลือกแต่ที่ไม่มีคน ไปเลือกแต่ที่สงัด ที่วิเวก วิเวกอย่างไร ตื่นมาก็เจอแต่เรากับเรานี่ คุยกับตัวเอง ขณะที่คุยกับตัวเองนั้นเป็นธรรม ขณะที่คุยกับตัวเอง ความคิดเกิดขึ้น

ความคิดมันเกิดมาจากไหน คิดดีคิดชั่ว เรามาอยู่ในป่าในเขา เรามีทุกข์มีสุข มียาก ทำไมเราไม่อยู่ในเมืองแบบเขา เขาอยู่มีความสุขสบายของเขา นี่เราคิดมาสิ แล้วคนที่เขาอยู่ในเมือง เขาได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เขาอยู่ของเขา เขาอยู่ในบ้านในเมืองของเขา เขาก็อยู่กันแบบนั้น เหมือนกับกรงขังสัตว์ ดูสิ ฟาร์มสัตว์ เขามีสัตว์เต็มเลย เขาขังไว้อย่างนั้น แล้วเราไปอยู่ในเมือง บ้านใครบ้านเขามันก็เหมือนกัน

สิ่งที่เหมือนกัน เราแยกออกมา เราแยกตัวเราเองออกมาอยู่ในป่าในเขา เราก็มีแต่เราเพียงคนเดียว เหมือนกับนก ดูสิ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า สัตว์ มันว่ามันสัตว์ประเสริฐ แต่ว่าโง่กว่าสัตว์ เพราะดูนกมันจะบินไปโดยอิสรภาพของมัน มนุษย์เกิดขึ้นมาเป็นสัตว์สังคม ต้องสร้างกติกาไว้ แล้วก็ผิดกติกาของตัวเอง เหมือนกับเอาโซ่ผูกขาตัวเองไว้ แล้วก็อยู่ในสังคมอย่างนั้น

แต่เราแยกออกมา เราแยกออกมา เวลาแยกออกมาแล้วอยู่คนเดียวความคิดมันก็เกิด กิเลสมันก็เกิดขึ้นมา เราก็ใช้ปัญญาไล่ต้อน ไล่ต้อนกับความคิดเรา ถ้ามันสงบขึ้นมาก็สบายใจ ว่าง มีความสุข นี่ปัญญามันเกิดอย่างนี้ การต่อสู้ของเรา แยกออกมา ยิ่งเห็นความคิด มันเกิดมาจากไหน มันเกิดจากแรงขับของกิเลส แล้วเราไล่ต้อนเข้าไป ไล่ต้อนเข้าไป จนเห็นสัจจะความจริง เราเห็นเองนะ เห็นเองจนมันปล่อยวางเอง สิ่งที่ปล่อยวางเอง สันทิฏฐิโกอย่างนี้ มันเกิดจากไหนล่ะ

แล้วทำไมบอกว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาได้ธรรมขึ้นมานี่ ต้องหาครูบาอาจารย์คอยเป็นคนรับรองล่ะ จะเป็นผู้รับรองต้องมีครูอาจารย์คอยรับรองว่า ประพฤติปฏิบัติถูกต้อง ขณะที่ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติวิ่งหาครูอาจารย์ หาครูอาจารย์นะ ที่พระกรรมฐานติดครูติดอาจารย์ ติดเพราะว่ากิเลสมันอำพรางเรา แล้วเราเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม

ขณะที่เป็นธรรมจริงในหัวใจสันทิฏฐิโกนี่มันเกิดจากใจของเรา เพราะใจเราทุกข์แสนทุกข์ เวลาใจมันปล่อยปลดกิเลสออกไปจากจิตเป็นขั้นเป็นตอน มันว่าง มันโล่ง มันเดินไปเหมือนไม่ได้เดิน ว่างหมดเลย สิ่งนี้พิสูจน์ขนาดไหนมันก็ไม่เกิดสภาวะแบบนั้น เข้าใจสัจจะความจริง สักกายทิฏฐิ ความเห็นกายว่าเป็นเรานี่ไม่เห็นอีกเลย ไม่เห็นว่ากายนี้เป็นเรา

กายนี้เป็นเครื่องอาศัย กายนี้เกิดมามีเครื่องอาศัย อาศัยไปแล้วสงวนรักษามาก รักษามาก รักษาเพราะอะไร เพราะมีกายกับมีใจ แล้วเราถึงวิปัสสนา เราถึงฝึกฝนธรรมะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระไตรปิฏก เราฝึกฝนขึ้นมาให้เป็นสมบัติของเรา แล้วสมบัติของเรา เราก็ก้าวเดินไป ใช้ปัญญาของเราไตร่ตรองขึ้นมา เห็นสัจจะความจริง จนเกิดมรรคญาณ

“มรรคญาณ” ปัญญาชอบ ความเพียรชอบ การงานชอบ สติชอบ สมาธิชอบ ความชอบความสมดุลของจิต “มรรคสามัคคี” ดูสิ ดูเขาทำอาหารนะ กว่าจะกลมกล่อม ฝึกนะ อย่างคนฝึกทำอาหารใหม่ๆ กว่าเขาจะทำจนมีความชำนาญ จนเขาจะทำเมื่อไรก็ได้รสชาติอย่างนั้น เขาใช้เวลาฝึกขนาดไหน นี่เราพยายามฝึกจิตของเรา ขณะที่จิตของเรา สิ่งที่เป็นว่า ปัญญาชอบ เพียรชอบ งานชอบนี่มันจะสมดุล

ขณะที่มันจะสมดุล อาหารจานนี้ ยกมาลองลิ้มรส เค็มไป เปรี้ยวไป หวานไป นี่ก็เหมือนกัน ปล่อยวางหนหนึ่ง มันก็ไม่สามัคคี มันก็ปล่อยวางหนหนึ่ง ก็ซ้ำ ก็ฝึกฝนใหม่ มันก็ปล่อยวาง นี่ธรรมจักรเห็นอย่างนี้ สิ่งที่หมุนอย่างนี้ จนมันสมดุล รสชาติกลมกล่อม สมดุลมรรคสามัคคี สมุจเฉทปหาน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์โดยสัจธรรมเลย

สิ่งนี้เกิดจากไหน? เกิดจากใจของเรา เพียงแต่เราเอาธรรมะอย่างนี้ไปรายงานครูอาจารย์ สิ่งนี้ไปรายงาน สิ่งนี้เกิดขึ้นมาได้หลักได้เกณฑ์ ได้หลักได้เกณฑ์ สิ่งที่เรายังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมันก็ยังอยู่ในหัวใจ

เชื้อโรคนะ ดูสิ ที่เขาเป็นเชื้อโรคที่รุนแรง มันมีเชื้ออยู่ในร่างกาย แต่มันยังไม่แสดงอาการ สิ่งที่ไม่แสดงอาการ นี่ก็เหมือนกัน ใจของเรามันมีกิเลสอยู่ในหัวใจ มันไม่แสดงอาการเพราะว่าเรามีความสุข ไม่แสดงอาการเพราะร่างกายเรายังแข็งแรง เรายังควบคุมได้

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อจิตมันมีสติ มันมีความสุขอย่างนี้มันก็ควบคุมได้ แล้วเรายกขึ้นไป รื้อค้นเข้าไป มันมีเชื้ออยู่แล้ว ถ้ามีเชื้ออยู่แล้ว พิจารณากาย กายนอก-กายใน-กายในกาย สิ่งที่พิจารณากายนอก กายนอกคือสิ่งที่เราเห็นของเรา เราเห็นด้วยตาของใจ วิปัสสนาไปมันกลับคืนสู่สภาพเดิมของเขา มันไม่มีฐานที่ตั้ง มันแปรสภาพตลอดเวลา มันแปรสภาพจนจิตไม่มีสถานที่ที่จะวางให้จิตนี่รองรับ จิตพอมันคืนสู่สภาพเดิมมันก็ถอนตัวออก ถอนตัวออก จนมันปล่อยวาง สัจจะความจริง นี้เกิดจากอะไร?

เกิดจากสภาวธรรม สภาวธรรมเกิดจากวิปัสสนา วิปัสสนาเพราะสิ่งที่เป็นวัตถุ วัตถุโดยสสารของโลกมันต้องใช้ความเน่าเปื่อย มันต้องใช้กาลเวลา สิ่งที่กาลเวลา อากาศ สิ่งต่างๆ มันอยู่ที่ความร้อน มันจะแปรสภาพได้เร็ว นั้นมันเป็นเรื่องของสสารนะ

แต่เรื่องของธรรมมันเป็นเรื่องอาการของใจ ใจ สภาวธรรม ที่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่ารื้อค้น รื้อค้นนี่มันเกิดจากใจของเรา ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้พ้นจากกิเลสไปแล้ว สภาวะสิ่งนี้มันไม่เกิดอีกแล้ว เพราะท่านทำลายของท่านไปหมดแล้ว แต่สภาวะของเรามันมีกิเลสในหัวใจ ถ้ากิเลสในหัวใจนี่มันไปยึด ยึดสภาวะแบบนี้ แล้วเราวิปัสสนาไปนี่สภาวธรรมมันเกิด เกิดเพราะอะไร

เพราะเราจุดไฟ ถ้าไม่มีเชื้อเราจะจุดไฟกับอะไร ถ้ามันมีเชื้อ เราจุดไฟกับเชื้อนั้นไฟก็ติดใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อมีกิเลสในหัวใจ แล้วสภาวธรรมที่เราสร้างสมขึ้นมาตั้งแต่สัมมาสมาธิ ตั้งแต่เรื่องวิปัสสนากาย นี่มันเป็นตบะธรรม เป็นสิ่งที่ว่าเป็นสัมโภชน์ชงค์ เป็นสิ่งที่ว่าเราวิจัย วิเคราะห์วิจัยในเรื่องของธรรม สภาวธรรมมันเกิดในหัวใจของเรา ถ้ามันเกิดจากหัวใจของเรา มันก็ทำลายเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ทำลายๆ บ่อยครั้งเข้า

จนถึงที่สุด มันแปรสภาพไม่เหมือนกับสสารที่ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความร้อน ต้องใช้ต่างๆ ให้มันเปื่อยแปรสภาพไป แต่ขณะที่เราวิปัสสนานี่มันเป็นธรรม มันเป็นนามธรรม มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากใจ ใจเห็นสภาวะแบบนั้นขึ้นมาบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า ถึงที่สุดมันต้องสมุจเฉทปหาน สภาวธรรมเกิดอย่างนี้ อริยสัจเกิดอย่างนี้ มรรคญาณเกิดอย่างนี้ เกิดจากใจอย่างนี้ มันปล่อยวางอย่างนี้

มันสัจจะ มันจะเห็นต่อหน้า แล้วกิเลสจะหลอกได้อย่างไร นี่มันอำพรางเราไม่ได้นะ แต่กิเลสอันละเอียดมันอำพรางอยู่ ถ้าอำพรางอยู่เราย้อนกลับ สิ่งที่ถนอมรักษา รักษากายกับใจนี้เพื่อจะชำระกิเลส ทำความสงบของใจย้อนไปที่กาย สิ่งที่ย้อนมาที่กาย วิปัสสนา พอไปกำลังถึงจับได้ มันจะคืนสู่สภาพเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ

พิจารณาขนาดไหน ขนาดตั้งกายไว้ให้แปรสภาพ กำลังพอนะ น้ำท่วมเป็นเวิ้งน้ำ ถ้าเป็นดิน กลับกลายเป็นดิน ถ้าไฟเผา กลับกลายเป็นไฟออกไปเป็นสภาพเดิมของเขา นี่ความเห็น ความเห็นนะ ความเห็นจากตาของใจ มันต้องเห็นจากจิตใต้สำนึก เพราะกิเลสมันอยู่จิตใต้สำนึกนะ ความเห็นของธรรม ถ้ากิเลสมันอำพรางนี่เป็นสัญญา คืนสู่สภาพเดิม เป็นไฟ แต่มันไม่สมดุล ที่ทำอาหารนี่ มันไม่กลมกล่อม มรรคสามัคคีไม่ได้ มันก็ไม่สมุจเฉทปหาน มันก็ปล่อยวางชั่วคราว การปล่อยวางชั่วคราว ก็มีการวิปัสสนาไป การหมั่นคราดหมั่นไถ

การทำงานนะ ทำงานทางโลก เวลาเขาแข่งขันกีฬา เวลาเขาจบเวลาของเขา หมดเวลาของเขา เขาก็ได้พักของเขานะ แต่ขณะที่เราทำของเรา ถ้าเราพักของเรานะ กิเลสมันหัวเราะเยาะเลย เพราะอะไร มันมีเวลาให้กิเลสมันได้ถอยได้ตั้งป้อมกลับมาทำให้การวิปัสสนาเรายากลำบากขึ้นไป

เหมือนนักมวย ถ้าเราต้อนคู่ต่อสู้เราเข้าไปติดมุม เรามีโอกาสเราต้องรีบเอาชนะ ถ้ารีบเอาชนะ ถ้าเราถอยออกมา เขาก็มีโอกาสที่จะตั้งกำลังขึ้นมาเพื่อจะต่อสู้กับเรา นี่การวิปัสสนา ถ้าเราทำอย่างนี้ เราเข้าไปต่อสู้กับกิเลสอย่างนี้ นี่มันเป็นประโยชน์ของเรานะ แต่ถ้าเราบุ่มบ่าม ถ้าเรามักด่วน มักง่าย เราทำไปมันก็เป็นผลตรงข้ามอีกอย่าง ในการประพฤติปฏิบัติมันยากตรงนี้ ยากตรงนี้ มันสมดุลอย่างไร มันพอดีอย่างไร ความพอดีของเขา เห็นไหม ถึงต้องพยายามต่อสู้ ต้องพยายามพลิกแพลงอุบายวิธีการนะ

ถ้าทำข้อวัตรปฏิบัติ ต้องทำซ้ำอย่างนั้น เพราะมันเป็นข้อวัตรปฏิบัติเพื่อออกมาผ่อนคลาย แต่ขณะที่วิปัสสนาเป็นงานภายใน งานวิปัสสนา ถ้าเป็นของเก่า กิเลสมันหัวเราะเยาะเพราะเป็นสัญญา กิเลสมันอยู่หลังความคิดเรา แล้วเราใช้ปัญญาอย่างนี้ไปฆ่ากิเลส กิเลสมันรู้ก่อนที่เราจะคิดอย่างไร

แต่ถ้าเราปล่อย เราใช้สมาธิ เป็นปล่อยวาง เป็นปัจจุบันธรรม ขณะที่ปัญญามันเกิด เพราะสมาธินี้ไปกดกิเลส ถ้ากิเลสมันมีอยู่ สมาธิกำลังนี้จะเกิดไม่ได้ เราใช้ปัญญาบ่อยครั้งเข้า พอพลังงานอ่อน พอสมาธิอ่อนลง ความคิดของสัญญาเกิด เกิดตลอด นี่กิเลสมันเข้ามา กิเลสเข้ามามีส่วนในมรรค ในที่ว่าสิ่งที่เป็นอริยสัจ ที่เป็นมรรค ความเพียรชอบงานชอบ กิเลสมันก็ชอบด้วย เป็นความชอบของกิเลสด้วย นี่กิเลสมันก็อำพราง อำพรางว่านี่เป็นธรรม

ถ้ากิเลสมันอำพรางเรา อำพรางว่ากิเลสเป็นธรรม เราจะยอมจำนนนะ เราก็เข้าใจว่าเป็นธรรม วิปัสสนาที่หลง หลงไปอย่างนี้ เวลาติด มันติดอย่างนี้ มันเข้าใจว่าเป็นธรรม เพราะสิ่งที่กิเลสมันเคยอยู่กับเรา มันเคยอยู่มีอำนาจเหนือเรามา มันจะทำเป็นสภาวะแบบนี้

ถ้าครูบาอาจารย์คอยชี้นำนะ คอยหาอุบาย ขณะที่เราไม่สามารถวินิจฉัยความเป็นไปของเราได้ ถ้าอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ สิ่งนี้มันจะได้เป็นประโยชน์กับเรา เราจะเอาสิ่งนี้เข้าไปเพื่อ...เหมือนกับนักกีฬาเข้าไปหาโค้ช ทำอย่างนี้แล้วมันเป็นสภาวะอย่างนี้ เทคนิคอย่างนี้ การต่อสู้อย่างนี้เป็นอย่างนี้ นี่มันจะมีปัญหากัน เพราะอะไร เพราะกีฬานะ มันมีตั้งกี่ประเภท กีฬาประเภทหนึ่ง เทคนิคก็อย่างหนึ่ง กีฬาอีกประเภทหนึ่ง เทคนิคก็อีกอย่างหนึ่ง

จริตนิสัยของจิตก็เหมือนกัน แล้วจริตนิสัยของจิตที่มันต่อสู้กับกิเลสของเรา มันนิสัยของเรา ครูบาอาจารย์ถึงจะต้องมีเทคนิค สิ่งที่เป็นเทคนิค แล้วถ้าบอกเทคนิคไป กิเลสที่เราฟังมามันก็รู้ทันด้วย มันก็เป็นปัญหากับเรา มันก็จะอำพรางเราไปเรื่อยๆ มันจะเป็นความทุกข์ความยากนะ

เวลาศึกษาธรรมมา ครูบาอาจารย์ไปหาหลวงปู่มั่น

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายกบูชาไว้ ถ้าเราปฏิบัติไปโดยที่เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเทียบเคียงตลอดไป มันจะเป็นโทษกับเราเอง คือกิเลสมันจะอาศัยธรรม อำพรางเราอีกชั้นหนึ่ง แล้วเราจะต้องต่อสู้กับกิเลสของเราด้วย แล้วเราจะต้องหาเทคนิควิธีการ จะไม่ให้กิเลสมันเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอ้างอิงกับเราอีกด้วย แล้วมันจะยัดเยียดให้ว่าเป็นธรรม สภาวะแบบนี้ ยัดเยียดนะ กิเลสยัดเยียดเพราะอะไร เพราะให้เราเข้าใจว่าสิ่งนี้จบสิ้นกระบวนการแล้ว เราถึงไม่ทำ

เหมือนกับนักกีฬาเขาเป่าหมดเวลา อดเล่น จบแล้ว แพ้ แพ้ตลอดไป นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราต่อสู้ของเรา มันเป็นสันทิฏฐิโกของเรานะ มันเป็นธรรมของเรา มันเป็นการผจญภัยของเรา ผจญภัยนะ เวลาผจญภัยในวัฏฏะ เกิดตายๆ มากี่ภพกี่ชาติ เกิดมาในชาตินี้ก็ผจญภัยกับชีวิตนี้ ชีวิตนี้ก็ประกอบสัมมาอาชีวะ มีสิ่งที่เป็นประโยชน์

เราเป็นนักบวช ถ้าเราออกบวชเป็นพระเป็นสงฆ์ เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง ถ้าวันไหนออกฉัน เราก็ออกบิณฑบาต นี่ภัยในวัฏฏะ ในวัฏฏะก็เป็นภัยอันหนึ่ง แล้วเวลาผจญภัยในวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนา เวลากรรมการเป่าหมดเวลานี่เราหมดเวลาแล้ว นี่ก็เหมือนกัน เวลากิเลสมันเป่าหมดเวลาไง นี่ท้อถอย ทำแล้วก็ทุกข์ ทำแล้วก็จนปัญญา สู้ไม่ไหว สิ่งนี้กิเลสในหัวใจนะ กิเลสมันแหลมคมอย่างนี้ มันจะทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน

แต่ถ้ามีครูมีอาจารย์นะ ครูบาอาจารย์ท่านทำเป็นตัวอย่างนะ ชีวิตของครูอาจารย์ ชีวิตแบบอย่างนะ แบบอย่างให้เราเข้มแข็ง ถ้าเรามีความเข้มแข็ง นี่ความเข้มแข็งของใจ เพราะกิเลสมันเกิดที่ใจ ถ้าเราอ่อนแอนะ เราก็จะล้มลุกคลุกคลาน

เอาไว้ก่อน เอาไว้เมื่อนั้น สิ่งนี้สู้ไม่ไหว สิ่งนี้พักไว้ก่อน

จะพักต่อเมื่อเรากลับมาสมถะ ถ้าวิปัสสนาไปแล้วล้มลุกคลุกคลานพักไว้ก่อน พักไว้เพื่อจะมาสู้ใหม่ ไม่ใช่พักแล้วก็จะถอย ถ้าพักแล้วถอยนะ กิเลสถ้าช้ากว่าเขา เขาจะหาสมุนพรรคพวกของเขา กองทัพเขาจะใหญ่โตขึ้นมาทันทีเลย แต่ถ้าเราทอนเขาตลอดไป การต่อสู้กับเรานี่มันก็เป็นการต่อสู้กับกิเลสนะ เราจะต้องทอนกับกิเลส นี่กิเลสหยาบๆ นะ

วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า สมดุลบ่อยครั้งเข้า นี่สภาวะเดิมของเขา เขาจะกลับไปสู่สภาวะเดิมของเขา เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ถึงที่สุดแล้ว มันสมุจเฉทฯ นะ กายกับจิตแยกออกจากกันโดยสัจจะ กามราคะ-ปฏิฆะอ่อนลง สิ่งที่กามราคะ-ปฏิฆะอ่อนลง มันว่างยิ่งกว่าการละสักกายทิฏฐิอีก ถ้าว่างสภาวะแบบนั้นมันจะมีความสุขมาก แล้วมันจะรักษาใจได้ง่าย รักษาใจได้ง่ายเพราะอกุปปธรรม ใจมันมีหลักมีฐาน พอใจมีหลักมีฐาน มีสติรักษาใจอยู่ มันก็เข้าใจว่านี่เป็นธรรม

ขณะที่ในร่างกายเรา เชื้อโรคมันยังไม่สะสมจนมันแสดงอาการของมัน เราก็ว่าเราไม่มีโรค ขณะที่จิตมันสงบ มันว่างขนาดนี้เราก็ว่านี่คือนิพพาน แต่ขณะที่เราว่าขนาดเป็นนิพพานนะ เป็นนิพพานเพราะอะไร เพราะกิเลสมันหลบซ่อน สิ่งที่กิเลสมันหลบซ่อนเรา หลบซ่อนเพื่ออะไร? หลบซ่อนเพื่อว่าให้ใจของเราเป็นสถานที่อยู่ของเขาอีก เราจะต้องเกิดในกามภพอยู่

สิ่งที่เกิดในกามภพอยู่ เพราะเราทำกามราคะ เราทำลายกามราคะไม่ได้ สิ่งที่ทำมา ที่มันหลบอยู่ สิ่งนี้มันเป็นการติด มันเป็นการติด ถ้ามีครูบาอาจารย์ก็จะชี้นำออกมา ถ้าสิ่งที่เราเคยฟัง เรามีอำนาจวาสนานะ เราเคยฟังเทศน์ เวลาเทศน์ครูบาอาจารย์แต่ละม้วนนี่จะตั้งแต่เป็นขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ถ้าเราเปรียบเทียบ เราเปรียบเทียบใจของเรา ถ้าเปรียบเทียบนะ สิ่งนี้อาการของใจเรามันเปรียบเทียบได้กับตรงไหนของที่ครูบาอาจารย์ท่านว่าไว้

ถ้ามันเปรียบเทียบไม่ได้ แสดงว่าเราบกพร่อง สิ่งที่เราบกพร่องแสดงว่าเราจะต้องต่อสู้ขึ้นไปอีก เราจะต้องก้าวเดินต่อไป ถ้าเรามั่นใจว่าเราก้าวเดินต่อไป เราจะรวบรวมกำลัง ทำสมาธิของเราขึ้นมา แล้วพยายามออกค้นคว้า ถ้าออกค้นคว้านะ มันถ้าไปเห็นกาย ถ้าไปเห็นกายนะ ค้นคว้า ถ้าจิตมีกำลังแล้วออกค้นคว้า แต่ถ้ามันไม่ค้น จิต มันเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นนิพพาน มันไม่ยอมทำสิ่งใด มันรักษาสติไว้เฉยๆ มันก็จะติดอยู่อย่างนี้ มันก็จะโดนอำพรางไว้อย่างนี้

ถ้าอำพรางไว้อย่างนี้ เราไม่สามารถหาเชื้อโรคของเราได้ เราจะไปรักษาอะไร เพราะเราเข้าใจว่าสิ่งนี้มันไม่มี เราเข้าใจว่าเชื้อในหัวใจของเรามันหมดแล้ว ถ้าเข้าใจว่าเชื้อหมดแล้ว เชื้อนี้มันก็หลบซ่อนอยู่ในใจของเรา มันก็อยู่สภาวะแบบนั้น ก็ว่างอยู่อย่างนั้นตลอดไป แต่ถ้าเรามีอำนาจวาสนา อำนาจวาสนามีเชาวน์ปัญญาของเราว่า สิ่งที่บกพร่องในจิตของเรายังมีอยู่ เราจะก้าวเดินต่อไป เราจะเข้าไปต่อสู้กับความอำพรางของมัน เราต้องเปิดกางสิ่งที่กิเลสมันอำพรางจิตนี้ไว้ออกมา ถ้าเราเพิกความอำพรางของกิเลสออกได้ เราจะเข้าไปเห็นอสุภะนะ

แต่ถ้ามีครูอาจารย์ ครูอาจารย์ก็จะคอยชี้นำ คอยเตือนสติให้เราออกค้นคว้า การที่จะเตือนให้ออกค้นคว้า เราจะเชื่อไหม ในเมื่อเราเข้าใจว่ามันเป็นนิพพาน เราเข้าใจว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ้นสุดกระบวนการของการฝึกหัดแล้ว เพราะมันว่างมาก มันเวิ้งว้างมาก มันมีความสุขมาก นี่เวลากิเลสมันอำพราง มันเอาความสุขในธรรมนี้มาหลอกเรา

สิ่งที่หลอกเรา มันหลอกเราให้อยู่ในอำนาจของมัน เพราะมันหวังว่าถ้าเราไม่ก้าวเดินต่อไป จิตนี้ก็ยังอยู่ใต้อำนาจของเขาอยู่ แต่ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ ครูบาอาจารย์คอยชี้นำเราแล้ว ถ้าเราเชื่อ แล้วเราออกค้นคว้า ออกค้นคว้า ถ้าออกค้นคว้า สิ่งที่มีอยู่ ฟังสิ ในเมื่อร่างกายของเรานี้มันมีเชื้อโรคอยู่ การวิเคราะห์การวิจัยของเรามันต้องค้นต้องหาเจอ สิ่งที่หาเจอนะ เรามีสิ่งที่ตรวจสอบได้ สิ่งที่ตรวจสอบได้ ถ้าเราตรวจสอบได้ เราค้นคว้าได้ เราค้นเจอ สิ่งที่ค้นเจอ ถ้าพิจารณากาย นี่อสุภะเกิดตรงนี้

คำว่า “อสุภะ” กามราคะมันเป็นความสวย ความงาม ความพอใจของกาย ความพอใจนะ เพราะมันเป็นสิ่งที่พอใจ เพราะสิ่งนี้เป็นกามโอฆะ โลกติดกันตรงนี้นะ สิ่งที่ทำลายล้างกันที่สุดก็เรื่องนี้ ดูสมัยโบราณ เวลาสิ่งที่ว่า เป็นจักรพรรดิ เป็นกษัตริย์ ไปพอใจใคร ถ้าไม่ได้ เกิดสงครามนะ เขาทำลายล้างกัน เพราะสิ่งที่แย่งสิ่งกันนี้

ดูบนเทวดาสิ เวลานางฟ้า นางอัปสรมา เห็น ต้องการว่าเป็นของฉันๆ สิ่งนี้เป็นของฉัน นี่แย่งชิงกัน สิ่งที่แย่งชิง โลกเป็นสภาวะแบบนี้นะ แล้วสิ่งนี้มันอยู่ในใจของเรา มันมากี่ภพกี่ชาติ สิ่งที่สะสมมาในใจกี่ภพกี่ชาตินี่มันสะสมมา แล้วมันแสดงผลเป็นธรรมนะ แสดงผลเป็นคุณธรรม เรามีอำนาจวาสนา มันเป็นสิ่งที่โลกเยินยอกัน “โลกธรรม” สิ่งที่โลกธรรม เอาสิ่งนี้มาสวม เหมือนกับหน้าฉาก เหมือนกับโลงศพ สิ่งที่โลงศพ ประดับประดาสวยงาม แต่ข้างในเป็นซากศพ

นี่ก็เหมือนกันสิ่งที่ออกมาเชิดชูกันไง เป็นคุณสมบัติผู้ดี เป็นความดีความงาม ถ้าเป็นคนที่ไม่มีความเรียบร้อย ไม่มีความงาม ก็นั่นเป็นกิริยาจากภายนอก ถ้าย้อนกลับไป ถ้าจับตรงนี้ได้ โลกเป็นสภาวะแบบนั้น ถ้าจิตออกค้นคว้า เพิกจากการอำพราง เห็นไหม นี่อสุภะเกิดตรงนี้ โดยความเป็นไปของใจ มันพอใจของมัน มันก็สร้างภาพว่าเป็นความสวยงาม

ถ้าไม่สวยงาม ดูสิ อาหารที่เราจะกิน อาหารสกปรกเรากินไหม? เรากินอาหารที่สะอาด อาหารที่เป็นประโยชน์กับเรา เราก็ว่าอาหารนั้นเป็นของเรา นี่ก็เหมือนกัน เพราะจิตมันพอใจอย่างนั้น มันก็ว่าของมันสวยงาม ของมันดีของมัน มันพอใจของเขาอย่างนั้น มันถึงว่า จิตชอบความสวยความงามเป็นสุภะ

แต่ถ้าจิตมันเป็นธรรม มันมีกำลังของสมาธิ สิ่งที่เป็นกำลังสมาธิ แล้วออกเพิกความอำพรางของมัน มันจะเห็นอสุภะ กายนอก-กายใน-กายในกาย กายในกายอันนี้มันเป็นกายที่เกิดจากจิต กายที่เป็นข้อมูล เป็นปฏิฆะ สิ่งที่เป็นปฏิฆะ เป็นความพอใจ ดูสิ ดูอย่างทางโลกเขา เขาพอใจต่างๆ กันนะ คนนั้นพอใจรูปแบบนี้ คนนี้พอใจรูปแบบนั้น ความพอใจอันนั้นน่ะ ถ้ามันเป็นสิ่งที่มันเข้าไปถึงขั้วหัวใจนะ สิ่งนี้ทำให้ความเป็นไปของหัวใจนั้นดูไม่ได้เลย

ถ้าเราใช้ปัญญาของเราเข้าไป พอจับต้องสิ่งนี้ได้ มันพอใจขนาดไหน ตั้งมันไว้ สิ่งที่ตั้งไว้แล้วพิจารณาไป พิจารณานะ ให้มันแปรสภาพของเขา วิภาคะ อุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต แยกส่วน แบ่งส่วน ขยายส่วน สิ่งที่แยกเป็นส่วนๆ รักขนาดไหน ชอบขนาดไหน มีความพอใจขนาดไหน ดูดดื่มขนาดไหน ให้เห็นสัจจะความจริง

สัจจะความจริง เป็นสสารข้างนอกใช้กาลเวลา ถ้าเป็นธรรมไม่ต้องการเวลา เป็นปัจจุบันธรรม รวดเร็วมาก ไวมาก ทำลายได้เดี๋ยวนั้น ปัจจุบันนั้น มันจะทำลายจน...เป็นอย่างนี้หนอ สิ่งนี้หนอ มันจะเข้ามาถึงความสลดสังเวชในใจ สิ่งที่ยิ่งพิจารณารอบหนึ่ง ความสลดสังเวชเกิดมาหนหนึ่ง จิตมีหนหนึ่ง ทำไมเรามาติดสภาวะแบบนี้ ถ้าติดสภาวะแบบนี้ สิ่งที่ใช้ในโลกนะ สิ่งที่เป็นไปกับโลกมันเป็นของชั่วคราว แต่ถ้ามันติดอยู่ในหัวใจอย่างนี้ มันพาจิตนี้เกิดตายเกิดตายมานี่มันให้ผลมา ผลส่วนหนึ่งเกิดจากภายนอก แค่สัมผัสเล็กน้อย แต่ผลที่ในหัวใจมันให้เกิดให้ตายเป็นภพเป็นชาติ

นี่มันเห็นโทษของมันว่า สิ่งนี้มันมีโทษขนาดนี้เชียวหรือ แล้วเราไปติดมัน เราเป็นทาสของมัน สู่ในอำนาจของมัน เราถึงมีความจำนนกับมัน เราถึงต้องเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตลอดไป ถ้าปัญญามันเกิดเข้ามา มันใคร่ครวญอย่างนี้ ใคร่ครวญบ่อยครั้งเข้า สิ่งนี้มันจะไปลบล้างกับความเป็นความฝังใจ เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ ความฝังใจ ข้อมูลมันอยู่ที่ใจ เห็นไหม บ่อยครั้งเข้า ระยะของการวิปัสสนามันจะเร็วขึ้น เร็วขึ้น เร็วขึ้น พอเร็วขึ้น ดูสิ ดูพลังงานที่มันเคลื่อนตัวไปสิ พลังงาน ความเร็วของพลังงาน ความเร็วความช้าของพลังงาน สิ่งที่มันเคลื่อนไปมันเร็วขนาดไหน

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าวิปัสสนาเข้าไปมันทอนเข้ามาให้มันสั้นเข้า สั้นเข้า ความเร็วของมันก็ไปดับที่จิต ดับที่จิต ดับที่จิต เข้าไปถึงตัวจิต ทำลายที่จิต สิ่งที่ทำลายจิต ข้อมูลอย่างนี้ ทำลายฐานข้อมูล ถ้าข้อมูลไม่มี เราจะไปพอใจอะไร เพราะไม่มีสิ่งเปรียบเทียบ ถ้าข้อมูลมันมีอยู่ที่ใจ สิ่งนี้เป็นความพอใจของเรา มันเทียบข้อมูลลงไปมันก็ต้องอยากได้ ต้องมีสิ่งเปรียบเทียบมีความพอใจ

นี่กลับไป ครืน! ในหัวใจนะ นี่อสุภะ ทำลายกามราคะ ถ้าข้อมูลไม่มีทำลายหมด คำว่า “ข้อมูลไม่มี” แล้วเศษส่วนมันคืออะไรล่ะ ทำลายข้อมูลแล้ว แล้วภาชนะที่ใส่ข้อมูลล่ะ อนาคามี ๕ ชั้นนะ อนาคามีถ้าวิปัสสนาซ้ำเข้าไปมันจะปล่อยอีก ปล่อยอีก ถ้าปล่อยอย่างนี้ คนเข้าใจว่าสิ่งนี้มันเป็นมรรค ๔ ผล ๔ ติดได้นะ ความติด ว่างหมด โลกนี้ว่าง ปล่อยวางเข้ามา วิปัสสนาซ้ำๆ เข้าไป จนปล่อย ทั้งๆ ที่มันทำลายอสุภะนั้นแล้ว แล้วมันยังเข้ามาทำลายความเศษส่วนสิ่งที่อยู่ในใต้หัวใจนั้นอีก แล้วว่างหมดเลย

สิ่งที่ว่างนะ ทำลายสิ่งที่มีความรุนแรง ที่มันฉุดกระชากใจไปตลอด ใจนี่จะโดนสิ่งนี้ฉุดกระชากไป นางตัณหา นางอรดี ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเป็นสิ่งที่มีกำลังในหัวใจ ผู้ที่ทำลายความโกรธได้ ทำลายข้อมูลนี้มันจะทำลายความโกรธได้ ทีนี้ความโกรธ สติสัมปชัญญะเราพร้อม สิ่งนี้ถ้ามันสะเทือนหัวใจ ข้อมูลดับทันที มันไปไม่ได้

แต่ขณะที่ครูบาอาจารย์ออกมา เป็นกรรมการกีฬา กรรมการแข่งขันกีฬา ถ้าออกมาเพื่อเทศนาว่าการ สิ่งนี้เป็นการแสดงออกของกรรมการ ไม่ใช่โกรธหรอก มันเป็นกิริยา มันเป็นการกระทำ เพราะผู้ที่เข้าใจเรื่องสภาวะข้อมูลแล้วมันสามารถเป็นกรรมการได้โดยอิสรภาพ เป็นกรรมการได้ด้วยไม่รัก ไม่ชัง ต่างๆ มันจะเป็นประโยชน์กับโลกนะ แต่โลกไม่เข้าใจ สิ่งนี้ว่างขนาดไหน ความว่างอันนี้นะ นี่ความว่าง

แล้วใคร กิเลสอันละเอียดอำพรางไว้นะ เราจะเข้าไม่ถึง ถ้าดับที่นี่นะ อนาคามี ๕ ชั้น จะต้องไปเกิดบนพรหม แล้วจะต้องสุกไปข้างหน้า จะไม่กลับมาเกิดอีก กามราคะนี่ทำลายจากหัวใจ กามภพไม่มาอีกแล้ว เพราะวัฏฏะนี้เป็นสิ่งที่ไม่สืบต่อ แต่ก็ยังต้องไปสภาวะนั้น

นี่ฟังสิ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าละเอียดขนาดนี้นะ ละเอียดลึกซึ้งเข้ามาในหัวใจจากภายในของเรานะ ลึกซึ้งเข้ามาในหัวใจของเรา เพราะอะไร เพราะเวลาธรรมะในตู้พระไตรปิฏก ในทฤษฎีนั้นมันเป็นเครื่องการศึกษา เป็นสิ่งที่ว่าศึกษามาให้เป็นแบบแผน แต่ขณะที่จิตเข้าไปสัมผัสนี่ทำอย่างนี้

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมามันละเอียดอ่อนขนาดนี้ แล้วเราทำเป็นพยาน เราปฏิบัติเป็นพยานเข้ามาในหัวใจของเรา มันทำลายล้างเข้ามาในหัวใจของเรา จนว่างขนาดนี้มันก็เข้าใจว่าเป็นธรรม กิเลสมันจะหลอกไปตลอด อำพรางไปตลอด ยิ่งกิเลสมันยิ่งละเอียดขนาดไหนนะ ตั้งแต่ปู่ย่าตายายลงมา ปู่ย่าตายายมันประสบการณ์ของจิตมันมีมหาศาลยิ่งอำพรางได้แนบเนียนมาก ถ้าแนบเนียนขนาดนี้ เราจะทำอย่างไร เราจะติดสภาวะแบบนี้ไปตลอดเลย

แต่ถ้ามีครูอาจารย์คอยชี้นำ ๑ อำนาจวาสนาคอยเทียบเคียงไง เพราะอะไร เพราะสิ่งที่มันเป็นความเศร้าหมอง มันผ่องใส จิตมันจะผ่องใส มันจะเศร้าหมอง เพราะอะไร เพราะมันเฉาของมัน มันมีความรู้สึกของมันได้ ความรู้สึกอันละเอียดนะ ไม่ใช่ความรู้สึกออกมาเรื่องของโลกที่ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง

ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันหยาบเกินไป แต่ความติดในตัวมันเอง อย่างเช่นเรานี่ เราทำความสะอาดร่างกายเราแล้วเราอยู่เฉยๆ เดี๋ยวมันก็มี เรากระทบแดดเราก็ร้อน เวลาลมพัดมา มันก็เย็น นี่ความร้อนความเย็นมันมาจากไหน เพราะอะไร เพราะมันมีเรา เพราะมันมีเรา มันถึงมีแรงกระทบ ถ้ามันยังมีจิตอยู่ ถ้ามันมีอวิชชาอยู่ มันมีผู้เป็นเจ้าของอยู่ ว่างขนาดไหนมันก็เป็นความรู้สึกของมัน

นี่ถ้ามันถอนการอำพราง ปล่อยการอำพรางได้ อรหัตตมรรค สิ่งที่อรหัตตมรรคนะย้อนกลับเข้าไปจับตัวอวิชชา แล้วเกิดปัญญา ปัญญาที่มันเป็นปัญญา มหาสติ-มหาปัญญา ปัญญาจากขันธ์ ปัญญาจากพลังงาน ขันธ์ไม่ใช่จิต เวลาจิต พลังงานเกิดมาจากขันธ์ ขันธ์คือปัญญาที่มันทำงานต่อเนื่องกัน มันมีผู้รับผู้ส่ง ขั้วบวกขั้วลบ ทำงานร่วมกัน

แต่ขณะที่เป็นอวิชชาทำอย่างนั้นไม่ได้ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ มันเป็นปัจจยาการ มันเป็นอันเดียวกัน แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกอธิบายไว้ ปฏิจจสมุปบาทเป็นปัจจยาการอย่างนั้น ขณะที่เราเข้าไป พิจารณาเข้าไป มันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก มันแยกไม่ได้อย่างนั้น มันจะขึงพืดอย่างนั้นไม่ได้ ขึงพืดอย่างนี้มันเป็นทางวิชาการ

เวลาเราอธิบายเป็นวิชาการ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางทฤษฎีอันนี้ไว้ นี่ไง ที่บอกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สั่งสอนได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าสั่งสอนไม่ได้ นี่ไง เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปัญญามาก แล้ววางไว้เป็นวิชาการ แล้วเราก็ไปเอาวิชาการมาเถียงกันปากเปียกปากแฉะ แต่ไม่เคยเห็นมัน

ผู้ที่เห็นมัน มันไม่เป็นทางวิชาการ วิชาการคือวิชาการ แต่ห้องทดลองที่เราเข้าไปทำมันคนละเรื่องกัน วิชาการเวลาจะเขียนเป็นโครงการ เราจะสอนลูกศิษย์ มันจะวางไว้เป็นวิชาการเลย แต่ขณะที่เราเข้าไปทำในห้องทดสอบของเรานี่มันจะทำทางวิชาการได้ไหม มันอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของเรา นี่มันจะออกมาเป็นโครงการนั้น

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าย้อนกลับเข้าไป ปัญญาอันละเอียดมันเข้าไปทำลายมัน ทำลายการอำพรางของอวิชชานะ อวิชชา เราเข้าใจว่า อวิชชาทำลายล้าง อวิชชานี่เป็นสิ่งที่ทำให้เราหลง อวิชชานี้จะทำให้เราไม่ได้ผลประโยชน์ แต่อวิชชาอันละเอียด เวลาเข้าไปเจอมัน ปัญญาอย่างนี้จะเข้าไปจับ แล้วใช้ปัญญาใคร่ครวญถึงที่สุดนะ นี่ทำลายล้างฐานของจิต

ภวาสวะ สิ่งที่มันเป็นภพ สิ่งที่มันเป็นสถานที่อันละเอียดคือหัวใจ คว่ำหมดเลย กิเลสอำพรางเราไม่ได้ เราต่างหากเป็นผู้ชำระกิเลส เราเป็นผู้ชำระกิเลส เพราะเรามีครู เรามีอาจารย์ เรามีชีวิต เราไม่ใช้ชีวิตของเราเหมือนกับสัตว์โลก “สัตว์โลก” ฟังสิ มันจะข้องอยู่ในโลก สัตว์โลกอยู่กับโลกเขา ไม่กล้าออกจากโลกนะ ออกจากโลกก็อายเขา กลัวเขาติฉินนินทา เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติก็กลัวเขาว่ามีปัญหา โลกมันเป็นป่าสกปรก มันจะดึงไว้สัตว์โลกให้อยู่กับมัน

แต่เวลาเราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะออกจากโลก เราจะไม่อยู่กับโลก อาศัยโลกอยู่เหมือนน้ำบนใบบัว อยู่กับโลก น้ำอยู่บนใบบัว ไม่ติดบนใบบัว นี่เหมือนกัน ชีวิตของเราเกิดเป็นชาวพุทธ พุทธศาสนา สอนตั้งแต่หยาบๆ ขึ้นไป แล้วเราจะเอาสมบัติที่มีคุณค่า เราก็อาศัยเกิด

เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เรามีชีวิตจิตใจ แล้วเราอยู่กับโลก แล้วเราจะศึกษาศาสนา เราจะอยู่กับโลกแบบน้ำบนใบบัว อาศัยโลกอยู่ ใช้บิณฑบาตเลี้ยงชีวิตด้วยปลีแข้ง ปัจจัย ๔ อาศัยก็อาศัยชีวิตนี้ไป แต่หัวใจจะทำงานธรรม หัวใจจะทำธรรม หัวใจจะสร้างมรรคญาณ หัวใจชำระกิเลส สิ้นกิเลสได้ด้วยการเกิดมาของเรา

ไม่ใช่เกิดมาแล้วสร้างสมกิเลสไปให้เกิดอีก เกิดอีก เราจะไม่เกิดอีก ถ้าเราไม่ให้กิเลสมาอำพรางเราได้ เราจะเพิกถอนความเป็นเครื่องของกิเลส ต่อสู้กับมันด้วยกำลังของเรา ด้วยสติ ด้วยปัญญา จนถึงที่สุด เราจะประสบความสำเร็จจากด้วยเราจะมีความเพียรของเรา ความเพียรเท่านั้น กำลังเท่านั้น ปัญญาเท่านั้นของเรา จะสร้างผลของเราขึ้นมา ปัญญาของครูบาอาจารย์เป็นการชี้นำ ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยไว้นี้ให้เรามีที่ก้าวเดิน ให้เรามีองค์ศาสดาเป็นที่เคารพบูชาของเรา เอวัง