เทศน์บนศาลา

ธรรมเต็มวัย

๑๘ ก.ค. ๒๕๔๙

 

ธรรมเต็มวัย
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ธรรมตามวัยไง ธรรมตามวัย ธรรมของเด็ก เด็กถ้ามันสมวัยนี่เด็กน่ารักมาก วัยของเด็กๆ มันไร้เดียงสา วัยของวัยรุ่น วัยของผู้ใหญ่ วัยของผู้เฒ่าผู้ชรา ถ้าใครทำชีวิตสมกับวัยจะมีความสุขนะ แต่ถ้ามันไม่สมกับวัย เห็นไหม นี่วัย ธรรมตามวัย แล้วก็ธรรมเต็มวัยนะ ถ้าธรรมเต็มวัยนี่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เต็มของวัยเลย

แต่วัยของธรรมไง วัยของธรรม คือวัยของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้าวัยของโลก เห็นไหม ธรรมตามวัย ธรรมของโลกๆ ไง โลกียธรรม โลกุตรธรรม ถ้าธรรมของโลก ผู้มีศีลมีธรรม โลกเขาเข้าใจกันได้ ความเป็นไปของเด็ก ถ้าเด็กนิสัยดี เด็กเลี้ยงง่าย ใครมีครอบครัวมีลูกมีเต้า เด็กเลี้ยงง่าย เด็กน่ารัก เราจะมีความสุขมาก เด็กของเราเกิดมา ลูกของเราเกิดมาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย เราก็ทุกข์ เราก็ร้อนใจประสาเรานะ นี่เราทุกข์เราร้อน นี่เป็นเรื่องโลกๆ ที่ศึกษาได้ ที่เห็นด้วยตาแล้วจับต้องได้

แต่สิ่งนี้เด็กก็ยังไม่เข้าใจ เห็นไหม พ่อแม่เป็นความทุกข์ความยากมาก เพราะเด็กเอาแต่ใจของตัวเอง นี่วัยของเขา เขาก็ตามสภาวะแบบนั้น นี่เป็นวัยของผู้ใหญ่ สุดท้ายแล้วนะ ถ้าใช้ชีวิตในโลกเขาก็ต้องไปมีครอบครัวเหมือนกัน สิ่งนี้นี่วัฏจักร วัฏจักรของโลก จิตนี้ไม่มีที่สิ้นสุด การเกิดและการตาย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนไปบุพเพนิวาสานุสติญาณ ไม่มีที่สิ้นสุดนะ จนต้องสาวกลับ สาวกลับเพราะอะไร พุทธวิสัยเป็นอจินไตย คือสิ่งที่เหนือความคาดหมาย ถึงไม่มีต้นไม่มีปลายเลย สวนย้อนกระแสไปไม่มีต้นไม่มีปลาย ยาวไกลขนาดไหน สิ่งนี้ไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือผลของวัฏฏะไง

สิ่งที่ผลของวัฏฏะ การเกิดและการตาย ถ้าเป็นวัฏฏะ การเปลี่ยนแปลงถ้าเราอยู่ในทางโลก แม้แต่ไม่มีศาสนานะ ขณะที่ไม่มีศาสนา คำว่า “ไม่มีศาสนา” คือไม่มีอริยสัจ ไม่มีศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่โลกเขาก็ตู่กันว่าเป็นไง ในลัทธิต่างๆ ในความเป็นไป เพราะโลก ทุกคนต้องการความพ้นทุกข์ ทุกคนเวลามีความทุกข์ นักปราชญ์ นักปราชญ์ประสาโลกไง โลกียปัญญา พยายามตรึกกัน พยามใช้ตรรกะเพื่อจะแสวงหาทางออก แต่การแสวงหาทางออกนั้นก็เป็นเรื่องของโลกียะ ความเป็นไปของโลกเป็นสภาวะแบบนั้น มันไม่มีที่สิ้นสุดหรอก มันหมุนไปตามสภาวะแบบนั้น

นี่เรื่องของโลกียธรรม ขนาดโลกียธรรม ทำความถูกต้อง ทำความดีงามของศีลธรรม มันก็ยังเป็นที่น่ารักน่าเชิดชู แต่ถ้าทำตามแต่เอาใจตัวล่ะ ถ้าเอาแต่ใจตัว เรียกร้องแต่ความพอใจของตัว เห็นไหม มันสร้างอะไรมา? สร้างแต่ให้ความทุกข์ร้อนของเรานะ ทุกข์ที่ไหน ในปัจจุบันนี้เวลามันต้องการ มันก็แสดงตัวของมัน มันก็เรียกร้องของมัน มันทำสภาวะของมัน

แต่เวลาไปถึงให้ผลล่ะ ผลคือขณะที่ว่าถ้าเด็กมันไม่สมวัยของมัน มันไม่มีการศึกษา มันไม่แสวงหาวิชาชีพของเขา เวลาโตขึ้นมาเขาจะเสียใจทีหลัง เห็นไหม เขาเสียใจของเขาทีหลังนะ สิ่งที่เขาเสียใจของเขาเพราะอะไร เพราะเขาใช้ชีวิตล่วงไป ผ่านวัยไป พอผ่านวัยไป เห็นไหม วัยของมัน เราต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ เราต้องแสวงหาของเรา นี่ขนาดอาบเหงื่อต่างน้ำเพื่อหาสมบัติหาเครื่องเลี้ยงชีพ ถ้าขนาดวัยทำงาน เราไม่ทำงาน แก่เฒ่าไป เราก็ไปทุกข์ไปยากอีก

แต่ถ้าวัยทำงานของเรา เราแสวงหาของเรา เวลาแก่เฒ่าขึ้นมาเราก็มีที่อาศัย ขณะที่แก่เฒ่ามีที่อาศัย...นี่เป็นความคิดของความรู้สึก ของความรู้สึกคือตัวจิตไง แต่ถ้าเป็นความรู้เรื่องของโลกล่ะ สิ่งนี้มันเป็นการเกื้อกูลกันได้นะ โลกเขาเกื้อกูลกัน ดูสิ รัฐบาลเขาพยายามจะมีสวัสดิการ สิ่งที่เป็นสวัสดิการเพราะการบริหารจัดการของประเทศ ของความเป็นประโยชน์กับสังคม ถ้าสังคมมีงบประมาณมีต่างๆ เขาบริหารจัดการกันได้ แล้วถ้างบประมาณมันหมดล่ะ หรือมีงบประมาณแต่รัฐบาลทุจริตล่ะ เขาว่าสิ่งนี่เป็นประโยชน์ของเขา เขาอ้างนะ ตั้งงบประมาณขึ้นมาก็เพื่อสังคม เพื่อโลก เพื่อคนแก่คนเฒ่า แต่ถึงที่สุดมันไปถึงเป้าหมายไหมล่ะ? นี่มันไปตกหล่นหมด เห็นไหม อยู่กับโลกเป็นอย่างนี้

สิ่งที่เป็นกิเลสมันมีลับลมคมใน ความเป็นลับลมคมในของโลก เราอยู่อย่างนี้ เราเกิดมาเจอสภาวะแบบนี้ มันน่าจะเกิดอีกไหม น่าจะอยู่กับสังคมโลกไหม สังคมโลกหมุนไปตามสภาวะแบบนั้น สิ่งที่สภาวะแบบนั้น เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการนะ เป็นจักรพรรดิ เป็นกษัตริย์ เป็นต่างๆ เป็นหัวหน้าไง เป็นสัตว์ก็เป็นหัวหน้าสัตว์ เป็นหัวหน้าฝูงเพื่อสร้างสมบุญญาธิการ ไม่ใช่เป็นจักรพรรดิ เป็นที่ว่าบริหารเพื่อสังคมมีความร่มเย็นเป็นสุข อันนั้นจะเป็นการสร้างสมบารมีเป็นพระโพธิ์สัตว์นะ แม้แต่เป็นสัตว์ เป็นหัวหน้าฝูง เสี่ยงชีวิต การเสี่ยงชีวิตของสัตว์ เวลาพาฝูงไปหากิน เห็นไหม เจอนายพราน สิ่งที่เจอนายพรานนี่ให้ลูกน้องออกไปก่อน แล้วตัวเองพยายามจะแก้ไขเหตุการณ์ เอาชีวิตนี้เข้าแลก เห็นไหม เอาชีวิตนี้เข้าแลกมาตลอด

นี่การสร้างสมบุญญาธิการมันมี เวลาบารมี ๑๐ ทัศ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี สิ่งนี้สร้างสมแต่ภพชาติใด ชาติใดสร้างสมบารมีสิ่งใด ก็สะสมสิ่งนั้นขึ้นมาเพื่อพัฒนาจิต เห็นไหม จิตตัวนี้พัฒนาได้ ถ้าจิตตัวนี้พัฒนาขึ้นมา มันจะดีขึ้นมา เห็นไหม มีบารมี ดูสิ ดูพระโพธิสัตว์นะ พระโพธิสัตว์เหมือนกัน เวลาบวชเป็นพระเป็นเจ้า พระโพธิสัตว์บารมีก็ต่างกัน พระโพธิสัตว์ที่มีบารมีมากกว่า จะทำสิ่งใด...เวลาฌานโลกีย์ พระโพธิสัตว์เวลาเข้าฌานได้ ทำสมาธิเพื่อจะช่วยเสริมโลก สงเคราะห์โลก ฌานโลกีย์ยังมีแก่มีอ่อน คำว่า “แก่” มีเข้มไง มีเข้ม มีอ่อน ถ้าเข้มนะ การตัดสิน การวิเคราะห์วิจัยต่างๆ จะช่วยเหลือโลกได้มากกว่า

สิ่งที่ได้มากกว่า เห็นไหม สิ่งที่เป็นพระโพธิสัตว์ก็ยังไม่เท่ากัน เพราะการสร้างบารมีนี้มีมากมีน้อยต่างกัน เพราะวัฏฏะมันหมุนไปสภาวะแบบนั้น สิ่งที่วัฏฏะหมุนไปแล้วเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา สิ่งที่พบพระพุทธศาสนานี่สำคัญมาก เพราะการเกิด ดูสิ ขณะเกิดในโลกปัจจุบันนี้ เราดูซีกโลกอื่นๆ เขาเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็พระพุทธศาสนา ถ้าเป็น...เขาว่าเถรวาทเรานี่เห็นแก่ตัว เขาว่ากันอย่างนั้นนะว่าเถรวาทเห็นแก่ตัว ถ้าเป็นมหายานเขาเปิดกว้างให้คิดอย่างไรก็ได้ ให้ทำสิ่งใดก็ได้

ถ้าเราเป็นสภาวะแบบนั้น เพราะอะไร เพราะธรรมวินัยไง เวลาธรรมวินัย เวลาในวินัย เห็นไหม กล่าวตู่พุทธพจน์ ถ้าภิกษุกล่าวตู่พุทธพจน์นะ สงฆ์เตือน ๓ หนแล้วไม่ฟัง สวดประกาศแล้วเป็นสังฆาทิเสสนะ กล่าวตู่พุทธพจน์หมายถึงบิดเบือนไง บิดเบือนธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าพูดถึงสงฆ์เตือนแล้วนะ เป็นถึงสังฆาทิเสสเพราะอะไร เพราะเป้าหมายไง เหมือนทฤษฎีถ้าแผนที่ตรง ความเป็นไปเข้ามาถึงธรรม ดูสิ ทางวิชาการ ถ้าเราศึกษา นี่ทางวิชาการที่เขาศึกษา ทางเทคนิคเขาเป็นสภาวะแบบนั้น แล้วเราไปเสนอทฤษฎีใหม่นะ แล้วมันใหม่จริงไหมล่ะ? มันใหม่ของการมักง่าย คนเรามักง่าย อยากสะดวก อยากสบาย นี่เป็นเรื่องของกิเลส

แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมาขนาดไหน ขนาดที่สิ่งใดที่มันเป็นหนทางที่สะดวกที่การค้นคว้าพ้นออกไปจากกิเลสนี่ง่ายที่สุด เพราะอะไร เพราะดูอย่างพระโพธิสัตว์ เจ้าชายสิทธัตถะออกค้นคว้าอยู่ ๖ ปี ๖ ปีนี่ค้นคว้าขนาดไหน สิ่งที่ค้นคว้าขึ้นมาเพื่อใคร? ก็เพื่อใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะอะไร เพราะอยากออกจากทุกข์มาก ขณะที่อยากออกจากทุกข์ เวลาอยู่ในราชวัง เห็นไหม สุขของโลกทุกอย่างได้ครบหมดแล้ว แต่หัวใจมันเรียกร้องนะ

เวลาไปเที่ยวสวน เทวดา ยมทูตมาแสดงให้เห็น เห็นตั้งแต่เด็ก เห็นเด็ก การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย นี่ขณะที่อยู่ในสุข อยู่ในราชวังไม่เห็นสภาวะแบบนี้ พอเห็นสภาวะแบบนี้มันสะเทือนหัวใจไง มันสะเทือนหัวใจว่าความสุขอย่างนี้มันเป็นอนิจจัง ความสุขอย่างนี้เวลาเราสุข เวลาเราทุกข์กัน เวลาเราประกอบสัมมาอาชีวะ แล้วเราประพฤติปฏิบัติ แล้วเรามีความทุกข์ว่าสิ่งนี้ทุกข์มาก ทุกข์อย่างนี้มันเป็นเรื่องของความพื้นๆ นะ แต่เวลามันบีบคั้น เช่น เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย โรคภัยไข้เจ็บมันบีบคั้นเราไหม? มันบีบคั้น มันอึดอัด แม้แต่เป็นหวัด หายใจไม่ออกก็อึดอัดแล้ว สิ่งที่อึดอัด แต่ทางโลกอย่างนี้มันยังแก้ไขได้

แต่เวลาโรคของโรคกิเลสล่ะ มันบีบคั้นนะ เวลาเราเข้าใจกันเอง เราเข้าใจกันเองว่าเรามั่งมีศรีสุข เราแสวงหาขนาดไหนแล้วเราจะมีความสุข เราจะมีความสุขนะ สิ่งนั้นเราคิดของเราเอง...ไปอยู่ที่ไหนก็ทุกข์ ถ้าหัวใจมันเป็นสภาวะแบบนี้ แต่ทุกข์มาก ทุกข์น้อยไง ถ้าทุกข์น้อย ทุกข์น้อยหมายถึงว่าเราเข้าใจตามความเป็นจริง ถ้าเราเข้าใจตามความเป็นจริงว่าชีวิตนี้เป็นแบบนี้ นี่โลกียะ ธรรมตามวัย ถ้าวัยมันมีสภาวะแบบนี้ เพราะอะไร เพราะเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา

ศาสนา เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาชีวิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องทดลองก่อนนะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นคว้ามา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกษัตริย์นะ ยังสละราชสมบัติออกมา แล้วค้นคว้าสิ่งที่เป็นความเป็นจริงจากภายใน แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสียใจไหมว่า เราเสียสละสมบัติออกมาแล้วเราไม่สมความปรารถนา? องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เคยคิดอย่างนั้นเลย

ดูสิ แม้พระรัฐบาลเวลาออกบวช ครอบครัวมีสมบัติมาก แล้วมีลูกชายคนเดียว พระรัฐบาลไปฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วอยากบวชมาก พ่อแม่ไม่ให้บวช บอกว่า “สมบัติของเรามีมากให้ทำบุญกุศลเอาก็แล้วกัน แล้วให้ประพฤติปฏิบัติในฆราวาส” อย่างไรก็ไม่ยอมจนอดอาหารนะ จนพ่อแม่พูดอย่างไรก็ไม่เข้าใจ ไปให้เพื่อนมาพูด มาพยายามจะดึงไว้ จนเพื่อนเข้าใจ ถามพ่อแม่ว่า “อยากเห็นหน้าลูกไหม ถ้ายังอยากเห็นหน้าลูกอยู่ก็ให้ลูกบวชเถอะ ถ้าไม่อยากเห็นหน้าลูก” คือไม่อนุญาต พ่อแม่ไม่อนุญาตบวชไม่ได้ตามธรรมวินัย

ถึงสุดท้ายพ่อแม่ก็อนุญาตให้บวช เวลาออกไปบวชแล้วศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาศึกษาธรรม เพราะอะไร เพราะสร้างสมบุญญาธิการมาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์นะ พ่อแม่นิมนต์กลับมาบ้านนะ นิมนต์มาฉันอาหารที่บ้าน แล้วเอากองสมบัติมากองไว้มหาศาลเลย ถามลูกว่า “สมบัติเงินทองกองเป็นภูเขาเลย ว่าสมบัตินี้จะเอาไว้ให้ใคร”

พระรัฐบาล เพราะเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้ว บอกพ่อแม่ว่า “สมบัตินี้ให้ดัมพ์ลงแม่น้ำนะ ให้ขนแล้วเทลงแม่น้ำ”

ดูสิ ดูธรรม ถ้าสิ้นกิเลส คำว่า “สิ้นกิเลส” เห็นสิ่งนี้มันเป็นภาระ สิ่งนี้เป็นเครื่องต้องรักษา ดูนะ ถ้าเรามีสมบัติมากแล้วรักษาไม่ดี มันก็ทำให้มิจฉาชีพมาทำร้ายถึงชีวิตได้นะ สมบัติทำให้เราถึงกับเสียชีวิตก็ได้ สมบัตินี้ทำให้เราเป็นคุณประโยชน์ก็ได้ นี่สิ่งที่ควรรักษามันจะเป็นประโยชน์ไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกบิณฑบาตกับพระอานนท์ เห็นโจรปล้นเห็นเอาเหรียญกษาปณ์มาทิ้งไว้ที่คันนา “เห็นไหมอานนท์ นี่อสรพิษ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าแก้วแหวนเงินทองนี่เป็นอสรพิษสำหรับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ

เพราะถ้าเรามีสิ่งนี้ เราจะต้องบำรุงรักษามัน แล้วเราจะต้องใช้มัน มันจะทำให้หัวใจเราหวั่นไหว ดูนะ ถ้าเราไม่มีเงินไม่มีทองในกำมือของเรา มันก็คิดไปอย่างหนึ่ง ถ้าเงินทองของเรามาก ก็คิดไปอย่างหนึ่ง ถ้าเงินทองเราไม่มี ก็คิดไปอย่างหนึ่ง นี่คิดไปอย่างหนึ่ง เพราะอะไร เพราะเราพวกคฤหัสถ์เขาดำรงชีวิตของเขา เขาต้องมีปัจจัยเครื่องอาศัย เขาต้องมีสิ่งนี้แลกเปลี่ยนทางโลกเขา โลกเขาต้องแสวงหาอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นโลก มันก็เป็นไฟ มันก็จะเผามา

ถ้าเป็นธรรม เป็นธรรมขึ้นมาบ้าง เราก็แสวงหามา แล้วการสร้างสมของเรา ดูสิ คนประกอบสัมมาอาชีวะเหมือนกัน บางคนก็ประสบความสำเร็จ บางคนก็ทุกข์ก็ยาก มันเป็นเบื้องหลังนะ เบื้องหลังหมายถึงเราทำมาหรือไม่ได้ทำมา เราเห็นไหมในโลกนี้คนทุกข์จนเข็ญใจก็เยอะ คนที่มั่งมีศรีสุขก็มาก แล้วคนทุกข์จนเข็ญใจ ทุกข์โดยที่ว่าเขาตรอมใจก็มี คนที่คนทุกข์จนเข็ญใจที่เรามองเขาว่าทุกข์จนเข็ญใจแต่หัวใจเขามีความสุขก็มี เพราะเขาพอใจในชีวิตของเขา

คนที่มั่งมีศรีสุขแล้วหัวใจเขามีความสุขของเขาก็มี เพราะเขาสร้างบุญญาธิการของเขามา มันเป็นบุญของเขา บุญนะ คนที่มีบุญถึงกาลถึงเวลาจะทำสิ่งใดจะประสบความสำเร็จ จะเป็นโอกาสของเขาตลอดไป คนที่สร้างสมไปคดไปโกงเขามา คนที่พยายามเอารัดเอาเปรียบเขาก็มีเหมือนกัน แต่มันทุกข์ร้อนนะ มันทุกข์ร้อนเพราอะไร เพราะคนมั่งมีศรีสุข...ถ้าเป็นธรรมดาไง สิ่งที่เป็นธรรมดาเราก็มีของเราเป็นธรรมดา เพราะมันเป็นอำนาจวาสนาของเรา เราไม่ได้ไปแบกรับ แบกรับคือใจไปแบกรับ แต่ถ้าเราพยายามแสวงหามา ใจเราไปแบกรับมันก็เป็นความทุกข์ของเรา

สิ่งนี้หมายถึงว่าสุขหรือทุกข์มันอยู่ที่ว่าเราเข้าใจธรรมมากหรือน้อย นี่วัยของธรรม โลกเป็นอย่างนี้ โลกที่มีวุฒิภาวะของใจ มันจะพัฒนาไปของเขาเป็นอย่างนั้น แล้วถ้าเราได้เสียสละ เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนถึงว่าอริยทรัพย์ ทรัพย์จากภายนอก ทรัพย์จากภายใน ถ้าทรัพย์จากภายในไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไปเอาทรัพย์มาจากไหน ดูสิ เวลาเขาทำเหมืองแร่กัน เขาขุดนี่เขาเสี่ยงของเขา เขาขนาดที่ว่าเขาสำรวจแล้ว ขุดไปเหมืองแร่นั้นยังเป็นประโยชน์ก็ได้ ถึงว่าจะมีสายแร่จริงก็ได้ หรือไม่มีสายแร่ก็ได้ นี่คือการขุดค้นของเขา

ในการประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเกิดไม่พบพระพุทธศาสนา ดูสิ เวลาเจ้าชายสิทธัตถะไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ทฤษฎีของเขามากเลย ดูสิ ดูอย่างสัญชัยสอน เห็นไหม สอนพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะที่ยังไม่ได้มาบวชในศาสนาของเรา “ไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งใดก็ไม่ใช่ สิ่งใดไม่ใช่” ไม่ใช่คือการปฏิเสธ ว่าสิ่งนั้นไม่มี สิ่งนั้นไม่ใช่ “ไม่ใช่คืออะไร? สิ่งที่ไม่ใช่คือไม่ใช่” สิ่งที่ปฏิเสธไป แต่หาปัญญามาปฏิเสธว่าสิ่งนั้นมันเป็นเรื่องของโลกไง...นี่ไม่ใช่มันก็ไม่ได้แก้ไขสิ่งใด

แต่เวลาพระสารีบุตรมาหาพระอัสสชิ ศึกษาทฤษฎีของสัญชัยจนหมด แล้วพระสารีบุตรปรึกษากับพระโมคคัลลานะ ขณะที่เราศึกษาแล้วเราทำของเราได้ ทางทฤษฎีของสัญชัย แต่เราก็ยังมีความทุกข์ของเราอยู่ ปรึกษากันว่า เราสัญญากันไว้ ถ้าใครเจอครูเจออาจารย์ที่สอนถูกต้อง แล้วจะให้มาบอกกัน

นี่เพราะสร้างสมบุญญาธิการมา อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาต้องอธิษฐาน คำว่า “อธิษฐาน” เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ต้องอธิษฐาน ต้องสร้างบุญญาธิการ ต้องสร้างบารมี นี่สาวกสาวกะผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ถ้ามีบุญญาธิการจะมีความสนใจในธรรม เหมือนกับที่เขาทำเหมืองแร่กัน เขาทำเหมืองแร่ ถ้าเขาเห็นสายแร่ เขาขุดเหมืองแร่ เขาจะได้สมบัติของเขา นี่เป็นเรื่องของโลก แต่อริยทรัพย์เกิดจากหัวใจของเรา เกิดจากความเป็นไปจากหัวใจของเรา ถ้าอริยทรัพย์เกิดจากหัวใจของเรา เราขุดค้น เห็นไหม ขุดค้นโดยสายแร่ที่มี

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เหมือนสิ่งที่ว่าศาสนธรรมของเขาไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่ความเป็นไป เห็นไหม เวลามาถาม เห็น...ศึกษาจนพ้นกลับมา พระสารีบุตรเห็นพระอัสสชิเดินออกบิณฑบาต นี่ธรรมเต็มวัยนะ เพราะธรรมเต็มในหัวใจของพระอัสสชิ พระอัสสชินี่เป็นพระปัญจวัคคีย์ ฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ หัวใจมันสงบ หัวใจมันสงบนะ การเคลื่อนไป การแสดงออกของสิ่งที่ไม่เป็นทุจริตในหัวใจนั้น แม้แต่การเคลื่อนไหว ความเป็นไป

พระสารีบุตรสร้างสมบุญญาธิการมา เห็นความเป็นไปอย่างนี้ มันน่าจะมีสิ่งใดอยู่ในหัวใจนั้น ตามพระอัสสชิไปจนพระอัสสชิฉันอาหารเสร็จแล้วถามว่า “พระอัสสชิปฏิบัติธรรมอย่างใด ปฏิบัติธรรมของใคร ทำอย่างใด”

พระอัสสชิบอกว่า “เราเป็นผู้บวชใหม่...” พระอรหันต์นะ

“เราเป็นผู้บวชใหม่ เราพูดให้ละเอียดกว้างขวางไม่ได้ จะพูดแต่น้อย”

“ขอให้พูดมาเถิด”

“ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ สิ่งที่มีเป็นไป เป็นเราอยู่นี่มาแต่เหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนให้กลับไปดับที่เหตุ ถ้าดับที่เหตุ ผลมันก็ไม่มี”

ถ้าไม่ดับที่เหตุ...เวลาสัญชัยสอน เห็นไหม “ไม่ใช่ สิ่งใดใดก็ไม่ใช่” ปฏิเสธไปก่อน แล้วมันมาอย่างใดล่ะ? มันมีเหตุมีผล ถ้าไม่ใช่ ไฟมันไม่ร้อนเหรอ จับไปมันก็ร้อน บอก “ไม่ใช่ ไม่ร้อน ไม่เป็นไป” แล้วเราจับไป มือเราพอง มันพอง มันแสบ มันปวด มันไม่ใช่ความเจ็บความปวด ของมือหรือ มันก็เป็นความแสบ ความเจ็บ ความปวดของมือ เห็นไหม นี่เป็นวัตถุนะ

แต่ในเรื่องของนามธรรมบอกปฏิเสธว่าไม่ใช่ สิ่งที่ไม่ใช่นะ ถ้าเป็นสมาธิก็เป็นมิจฉาสมาธิเพราะไม่มีสติ ไม่มีสิ่งใดควบคุมเข้ามา ถ้ามันมีสติควบคุมสิ่งใดเข้ามา ถ้าเป็นสัมมาสมาธินะ มันมี เวลาจิตสงบ ผู้ใดที่มีจิตสงบเข้ามาจะเข้าใจความสงบของใจเป็นอย่างไร จิตนี้สงบแล้วเราจะไปแก้ไขอย่างไร? แก้ไขความเป็นไป สิ่งที่มันมีรากมีฐานในหัวใจมันมีเชื้อมีไข มีเชื้อนะ เราต้องแก้ไขเชื้อของเราอย่างนี้ ถ้าเราแก้ไขเชื้อของเรา เห็นไหม สิ่งที่เป็นไป ใจของเราจะพัฒนาขึ้นมา ถ้าใจของเราพัฒนาขึ้นมา มันก็เป็นไปตามวัย ถ้าวัย วุฒิภาวะของจิตมันสูงขึ้น วุฒิภาวะของจิตนะ

นี่วุฒิภาวะ ดูสิ ทางโลกเขาวัดกันด้วยประกาศนียบัตร แต่ประกาศนียบัตร การศึกษาในชั้นเรียนใดชั้นเรียนหนึ่งก็แล้วแต่ เขาจบมาปัญญาก็ไม่เท่ากัน ความเห็นก็ไม่เหมือนกัน แต่โลกเขาประกาศกันเป็นอย่างนั้น แต่ในการศึกษา ในการดำรงชีวิต ผู้ที่มีความชำนาญ ผู้ที่มีการประสบความสำเร็จในชีวิตของเขา สิ่งนั้นมันไม่มีในตำรานะ เพราะมันเป็นจังหวะ มันเป็นโอกาส เป็นประสบการณ์ตรงของเขา ในการทำหน้าที่การงานของเรา เราต้องฝึกงาน ทั้งที่เราเรียนทฤษฎีกันมาแล้ว เราต้องฝึกงาน ฝึกงานเพื่อให้เป็นไป

นี่ปริยัติ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราศึกษามาขนาดไหน เราเข้าใจว่าวุฒิภาวะของเรามี เราเข้าใจสภาวะของเรา นี่มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ธรรมของเราล่ะ ถ้าธรรมของเรายังแก้ไขของเราไม่ได้ แล้วความไม่เป็นไป ดูสิ ความไม่เป็นไปหมายถึงทางโลกไง ทางโลกเขาไม่สนใจ ทั้งๆ ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนานะ เกิดมาพบพระพุทธศาสนามันเป็นบุญมหาศาล บุญมหาศาลเลย

๑. เกิดมาพบพระพุทธศาสนา

ขณะนี้มีพระพุทธศาสนา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเกิดท่ามกลางพุทธศาสนาหรือเปล่า แล้วเกิดท่ามกลางที่ว่าธรรมวินัยนี้เข้ามา แบบพยายามฟื้นฟูแล้วด้วย เวลาออกประพฤติปฏิบัติยังต้องค้นคว้านะ ค้นคว้าขนาดไหน สิ่งที่มีอยู่ถ้าเราไม่เกิดมากับใจของเรา มันจะมีความลังเลสงสัย เพราะอะไร เพราะมันมีกิเลสไง ในหัวใจของเรามีกิเลสอยู่ กิเลสตัวนี้มันมืดบอด มันปิดไว้หมด ปิดไม่ให้เราก้าวเดินนะ

“กิเลส” เราเข้าใจว่ากิเลสเหมือนยางเหนียว ยางเหนียวเราเปิดออก เราดึงออก ยางก็ออกนะ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตไง ยางเหนียวที่มันติดสิ่งใด มันติด มันข้อง ถ้าเราปลดออกมันก็ว่าง แต่ถ้าเป็นกิเลสล่ะ สิ่งที่เป็นกิเลสมันเหมือนกับสิ่งที่มีชีวิต เหมือนกับผู้ที่มีข้าศึก เวลาข้าศึกระหว่างกิเลสกับธรรมมันต่อสู้กัน สิ่งที่เป็นข้าศึกเขาต้องรักษาชีวิตของเขา เขาต้องพยายามแสวงหาเล่ห์เหลี่ยมของเขา เล่ห์เหลี่ยมของกิเลสไง มันฉลาดกว่าเรานะ

เราว่าเราจะฆ่ากิเลส เราพยายามจะปลดเปลื้องสิ่งที่ว่าเป็นเชื้อไขนะ สิ่งที่ความเป็นพิษ ความคิดของเราเป็นเรื่องของโลก สิ่งที่มันเป็นไปเรื่องของโลก สิ่งนี้มันเกิดมาจากกิเลส พอเกิดมาจากกิเลสเราก็ส่งออก ส่งออกแล้วเราก็ไปยึดมั่นถือมั่นเรื่องของโลก เรื่องปัจจัยเครื่องอาศัย ปัจจัยเครื่องอาศัยถ้าโลกเป็นสภาวะแบบนั้น สิ่งนี้มีความจำเป็น

แต่ที่มีความจำเป็น ถ้าเราเกิดในสังคมชาวพุทธของเรา เห็นไหม มีการเกื้อกูลกัน สิ่งที่การเกื้อกูลกันมันก็ไม่ทุกข์ร้อนไปขนาดนั้น แต่เพราะแรงขับของกิเลสนี้ต่างหากล่ะ ถ้าแรงขับของกิเลสนี้มันมีในหัวใจ สิ่งที่เป็นกิเลสขับมันเป็นแค่พลังงานนี้เท่านั้นนะ พลังงานออกไป ดูสิ ดูพลังงานมันออกไป พลังงานมันใช้อะไร ดูพลังงานเขาใช้ในเครื่องจักรเครื่องกลมันก็เป็นสิ่งที่ผลิตอุตสาหกรรม ถ้าพลังงานใช้ไปในสื่อสารเทคโนโลยีมันก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง มันก็เป็นการสื่อข้อมูลข่าวสาร นี่พลังงานตัวนี้ออกไป

แต่พลังงานตัวนี้มันเป็นอวิชชา แล้วถ้ามันสื่อออกไป สื่อออกมาในอะไร? ในอารมณ์ความรู้สึก แล้วอารมณ์ความรู้สึกคือขันธ์ ๕ เพราะพลังงานความรู้สึกคือขันธ์ ๕ มันถึงให้ผลกับเรา เห็นไหม เวลาสุข เวลาทุกข์ เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วอยากประพฤติปฏิบัติ อยากพ้นจากทุกข์ สิ่งที่พ้นจากทุกข์ เวลาประพฤติปฏิบัติทำไมมันให้ผลเป็นทุกข์ล่ะ สิ่งที่เป็นทุกข์เพราะอะไร เพราะกิเลสมันเสี้ยม

มันจะเป็นทุกข์เป็นยากไปไหน ดูสิ ดูอย่างเครื่องยนต์ พลังงานในเครื่องยนต์ที่ทำอุตสาหกรรม เวลาใช้งานมันยังร้อนเลย พอมันร้อนขึ้นมาเขาต้องพักเครื่อง เขาต้องบำรุงรักษาเพราะอะไร เพราะสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์กับเราใช่ไหม ถ้าเครื่องจักรยังทำผลิตสินค้าได้ เราจะเอาสินค้านั้น เราจะเอาไปทำธุรกิจได้ ถ้าเครื่องจักรใช้จนเครื่องจักรนั้นมันพังขึ้นมา สินค้ามันก็ฝึกไม่ได้ เขายังจับใช้

นี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราอยากจะออกประพฤติปฏิบัติล่ะ สิ่งนี้เราจะทำอย่างไรให้มันสมดุล ให้มันสมดุล ให้มันเป็นไป ความทุกข์ขนาดไหน ความเป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร เพราะว่ากิเลสมันขัดขวาง สิ่งที่เป็นธรรมไม่มีความทุกข์หรอก เวลาลมพัดมา เราอยู่ในที่ร่มเย็นเป็นสุขเราจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ขณะที่เราออกไปในที่ตากแดดมันจะร้อน

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าการประพฤติปฏิบัติธรรม น้ำอมฤตอมตธรรมมันจะให้ความร่มเย็นเป็นสุขนะ แต่ถ้ากิเลสมันเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่มันเป็นไฟ ไฟมันเผา ตลอดเวลา แต่เวลากิเลสมันเสี้ยมไง เสี้ยมในการประพฤติปฏิบัติ “เราทำแล้ว สภาวธรรมของเราทำขึ้นมาแล้วจะเป็นประโยชน์กับเราไหม เราทำไปแล้วมันจะมีสิ่งที่ตอบสนองกลับมาได้ผลหรือไม่ได้ผล” ความลังเลสงสัยก็ทำให้เราทำไม่เต็มไม้เต็มมือ

ความเพียรชอบ ถ้าความเพียรชอบ เราทำด้วยความเพียรของเรา ความเพียรอันนี้จะทำให้การกระทำของเราดีขึ้นมา ถ้าความเพียรของเรา ถ้าความเพียรไม่ชอบ ความเพียรของเราผิด ความเพียรเป็นมิจฉายิ่งออกนอกลู่นอกทางไป

ในการประพฤติปฏิบัติ ความเพียรนะ เรามีความเพียร เหมือนเครื่องจักรเลย เครื่องจักรผลิตสิ้นค้าของเขา แต่เครื่องจักรมันไม่มีชีวิต มันก็มีหน้าที่ผลิตสิ้นค้าผลิตแล้วผลิตเล่า นี่ก็เหมือนกัน เราทำความเพียรของเรา ทำความเพียรแล้วเพียรเล่า เป็นความเพียรของกิเลสไง กิเลสบอกต้องทำอย่างนั้น สภาวะแบบนี้ นี่กิเลสให้เราทำอย่างนั้น ทำผลให้กับกิเลสไง มันไม่ได้ทำผลให้กับธรรม เพราะอะไร เพราะเป็นมิจฉา เป็นความเห็นผิด ความเพียรไม่ถูกต้อง ถ้าความเพียรถูกต้อง ทำอย่างไรถึงจะถูกต้องล่ะ ทำความเพียรถูกต้องเราต้องกำหนด

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเราทำความสงบของใจเราเข้ามา จิตเราสงบเข้ามา ความเพียรจะถูกต้องตรงไหน เพราะเอกัคคตารมณ์ไง จิตตั้งมั่น จิตนี้ต้องตั้งมั่น ถ้าจิตนี้ไม่ตั้งมั่น การกระทำของเรา เห็นไหม ดูสิ ดูเราทำงาน เวลาเราทำงาน สถานที่ทำงานของเราไม่สะดวก สถานที่ทำงานของเรามีปัญหา เราจะทำงานสะดวกไหม? เราทำงานไม่สะดวกหรอก

เพราะสถานที่ทำงานของเราสิ่งใดก็ไม่คงที่เลย เคลื่อนไหวตลอดเวลา เขียนหนังสือก็เขียนไม่ได้ ทำอะไรก็ทำไม่ได้ แต่เราก็จะทำกัน เพราะเราทำตามกิเลสไง กิเลสบอกว่าเราต้องเป็นทางลัด เป็นทางที่เราจะก้าวเดินด้วยความสะดวกของเรา...สิ่งที่ทำไปมันทำตามกิเลส แต่ถ้าเราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราคิดกันเองนะว่าถ้าเราทำความสงบ เราทำใจให้สงบมันเป็นการเสียเวลา แต่ถ้าเราใช้ปัญญาของเราไป เวลาธรรมในพระไตรปิฎกว่าจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยปัญญา เราก็ใช้ปัญญากัน นี่กิเลสมันหลอก นี่ความเพียรชอบหรือไม่ชอบ ถ้าใช้ปัญญาของเรา ปัญญาอย่างนี้หรือจะฆ่ากิเลส ปัญญาที่กิเลสพาใช้อยู่นี่นะมันจะฆ่ากิเลสให้เรา

ปัญญาอย่างนี้ถ้ามีสตินะ ถ้ามีครูมีอาจารย์นะ ปัญญาอบรมสมาธินี่มันมี ปัญญาอย่างนี้เพราะอะไร เพราะวัยของเราไง วัยของเราเป็นวัยของเด็ก เห็นไหม ทางโลกนะ ว่าเป็นเด็ก เป็นผู้ที่ซื่อ เป็นผู้ที่ไร้เดียงสา สมวัยแล้วมันน่ารัก ผู้ใหญ่ขึ้นมาก็ประกอบสัมมาอาชีวะ ผู้เฒ่าผู้แก่เป็นผู้ที่ว่ามีปัญญา มีประสบการณ์ชีวิต นี่ทางโลกนะ

แต่ถ้าเป็นทางธรรม ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ภิกษุบวชเมื่อแก่เป็นผู้ที่ว่ายากสอนยาก” ว่ายากสอนยากเพราะอะไร เพราะมันสะสมสิ่งที่ประสบการณ์ทางโลกนี้ ถือว่าเรามีปัญญา เรามีความรู้สึก เรามีความรู้ทางโลก...สิ่งนี้เป็นยาพิษทั้งนั้นนะ นี่เหมือนกับเด็กๆ เลย ถ้ามาบวช เวลาทำความสงบมันสงบได้ไหม ความสงบเป็นอย่างไรก็สงสัยเพราะอะไร เพราะเรามีปัญญามาก เรามีสิ่งเปรียบเทียบมาก

ไอ้สิ่งเปรียบเทียบ สิ่งที่มีความคิด นี่สิ่งนี้เป็นความฟุ้งซ่าน มันเป็นความฟุ้งซ่านนะ เพราะอะไร เพราะกิเลสมันมีอยู่ในหัวใจ มันยึดมั่นไง ยางเหนียว ยึดว่าเรารู้สิ่งนี้ รู้สิ่งนี้ ถ้าจะปล่อย ปล่อยต้องเทียบกับอะไร? ปล่อยต้องเทียบกับสภาวะแบบนี้ สภาวะแบบนั้น...นี่ความเปรียบเทียบอย่างนี้ ปัญญาอย่างนี้มันเหมือนกับเด็กอ่อนไง

ถ้าทางประพฤติปฏิบัติ ดูสิ เหมือนกับเด็ก แล้วยังเป็นเด็กที่พิการนะ เด็กที่พิการด้วย เด็กที่อ่อนแอ คือจิตมันพิการไง พิการเพราะมันแบกรับสิ่งที่มันสะสมในหัวใจ เวลาย้อนกลับมาเป็นธรรม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องพยายามปลดเปลื้อง ถ้ามันปลดเปลื้องไม่ได้ ปลดเปลื้องไม่ได้มันก็พัฒนาไม่ได้ มันเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาไม่ได้เลย เห็นไหม วัยมันเลยเป็นวัยอ่อนแอ นี่เรื่องของกระแสโลก โลกียปัญญา

แต่ถ้าเราใช้ปัญญาของเราใคร่ครวญ ใช้ปัญญานะ มีครูมีอาจารย์บอกว่า เวลามันมีความคิด มีความรู้สึกเป็นความรู้สึกอย่างนี้ ตั้งสติไว้ ให้ความคิดคิดไป พลังงาน พลังงานอย่างใดก็แล้วแต่ พอมันใช้ไปพลังงานนี้ต้องอ่อนตัวลง แล้วความคิดของใจ โดยธรรมชาติของจิต ความคิดเกิดดับ สิ่งที่ความคิดเกิดดับ ความคิดเกิดดับเพราะมันเป็นอาการของใจ ไม่ใช่ตัวใจ เพราะตัวใจคือตัวพลังงานเฉยๆ จิตที่ละเอียด ละเอียดมาก แต่ขณะที่ออกมาเป็นอารมณ์ความรู้สึกนี่จิตหยาบๆ แต่ผู้ที่ไม่เคยประพฤติปฏิบัติเลยก็คิดว่าความรู้สึกของเรานี่มันว่าง มันปล่อยวาง...ความว่างอย่างนี้มันเป็นความเคลิบเคลิ้มนะ เป็นความเคลิบเคลิ้มเพราะกิเลสมันเอาอารมณ์ความรู้สึกเรามาหลอกเราว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม...มันเป็นธรรมได้อย่างไร มันเป็นมิจฉาเพราะไม่มีสติ

เหมือนกับเงินแท้และเงินเทียมเลย ถ้าไม่มีธนบัตรแท้ ธนบัตรเทียมจะมาจากไหน ถ้าไม่มีธนบัตรนะ ประเทศชาติที่เขาไม่มีธนบัตรของเขา หรือประเทศชาติต่างกัน ธนบัตรไม่เหมือนกันหรอก มันเป็นของเทียมไง นี่เหมือนกัน ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ เห็นไหม ดูสิ สัมมาสมาธิเกิดคืออะไร? สัมมาสมาธิคือจิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นและควรแก่การงาน แต่ถ้าเป็นมิจฉาล่ะ มิจฉานี่เคลิบเคลิ้มไปในสภาวะแบบนั้นหนึ่ง ตกภวังค์หนึ่ง สิ่งนี้เป็นมิจฉาทั้งหมด

ถ้าเราใช้พยายามทำความสงบของใจล่ะ ถ้าเรากำหนดพุทโธๆ นี่คำบริกรรม สิ่งที่มีคำบริกรรม เพราะเราจะไม่ให้จิตมันเสวยอารมณ์ความฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านคือมันมีรสชาติ มันมีความเทียบเคียงของจิต มันจะเทียบเคียงออกไป ยิ่งคิดออกไป ไม่มีวันที่สิ้นสุด ดูสิ ดูที่เขาคิดกันทางโลก คิดกันจนขนาดไหน จนนอนไม่ได้ นอนไม่หลับ

แต่ถ้าเราเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกล่ะ กินอาหารจากอาหารที่มันมีรสชาติ อาหารที่มันแสบ มันเจ็บปวดแสบปวดร้อน เพราะจิตมันเสวยอารมณ์ ให้มันกินธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำบริกรรมพุทโธๆๆ แต่มันฝืนได้ยาก การฝืนได้ยากเพราะความเคยใจ ใจมันเคยเสวยอารมณ์อย่างนั้นแล้วมันพอใจของมัน เวลากลับมาพุทโธมันจะมีแรงต่อต้าน นี่วุฒิภาวะของใจที่ยังเป็นทารกเลย ทารกนะไม่สามารถ...

วัยของทารกในโลกุตตรธรรม วัยของทารก เห็นไหม แล้วถ้าจะให้ยืนขึ้นมาได้ ให้เด็กนั้นยืนได้ เดินได้ ให้เป็นความไร้เดียงสาที่ว่าเด็กนี้ไร้เดียงสา น่ารักสมวัยของมัน ถ้าสมวัยของมัน มันก็ต้องทำความสงบของใจเข้ามา เพราะจิตถ้ามันสงบเข้ามานะ มันจะมีความว่าง มันจะมีความสุข ความสุขที่มีสตินะ แม้แต่จิตสงบมีความสุขมาก มันจะมีความสุขของจิตนี้ เพราะความสุขเท่ากับความสงบไม่มี

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ จิตสงบขนาดไหน ความสงบอย่างนี้อาฬารดาบสการันตีเลยว่ามีความรู้เท่าเรา ได้ฌานสมาบัติเหมือนเรา แต่ความสงบอย่างนี้ น้ำใสแล้วในธรรมว่าจะเห็นตัวปลา ถ้าเราเคลื่อนไหวอยู่เราจะไม่เห็นสิ่งใด เรายืนอยู่ เรานั่งอยู่ เราจะเห็นภาพนั้นชัด จิตนี้ถ้ามันฟุ้งซ่านอยู่ น้ำนี่มันขุ่น ไม่เห็นสิ่งใดๆ เลย

แต่ถ้าจิตนี้สงบเข้ามาเหมือนน้ำใส มันว่าง เห็นไหม สิ่งที่ว่างขนาดไหน กิเลสนะ มันเป็นสิ่งที่เรืองแสงในความว่างนั้น น้ำใสแล้วเห็นตัวปลา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไม่ติดในสมาธิไง ว่าถ้าน้ำนี่มันใสต้องออกวิปัสสนา ต้องออกค้นคว้า ออกค้นคว้าให้หาตัวปลาให้ได้ ถ้าหาตัวปลา ในน้ำนั้นต้องมีปลา ในน้ำต้องมีกิเลสไง ในกิเลสตัวความยึดมั่นถือมั่นของใจไง ใจมันเห็นผิดกับร่างกายของเรา ถ้าจิตมันเห็นผิดกับร่างกายของเรา ความเห็นผิด จิตนี้จะไม่มีวุฒิภาวะอะไรเลย มันเป็นความเห็นของโลก

แม้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าบอก “กายไม่ใช่เรา เราเกิดมาแล้ว เวลาเราตายไปแล้ว กายไม่ใช่อย่างนี้” นี้มันเป็นโวหาร มันเป็นการศึกษา มันเป็นสถิติที่จำไว้ที่ใจ จำไว้ที่เปลือก มันไม่เข้าถึงใจหรอก มันก็แก้ไขสิ่งใดไม่ได้ มันจะไม่มีวุฒิภาวะอะไรเลย วัยนี้เป็นวัยที่ไม่สมกับวัย เพราะเป็นเรื่องของกิเลส

แต่ถ้าจิตมันสงบ น้ำใสแล้วเห็นตัวปลา ถ้าเราค้นคว้านะ จิตมันจะย้อนกลับมาเห็นกาย ถ้าเป็นคำบริกรรมนะ น้ำใสแล้วจะเห็นตัวปลา แต่ถ้ามันเป็นปัญญาล่ะ ปัญญา เราใช้ปัญญา มันจะคิด มันจะต้องมีวิชาชีพสิ่งใด จะคิดอย่างใด แล้วมีสิ่งใดกระทบใจมันจะฝังใจมาก มันจะคิดสภาวะแบบใดให้เขาคิดไป แล้วเรามีสติควบคุมไป มีสติควบคุมไป นี่พลังงานใช้ไปแล้ว มันต้องอ่อนตัวลงหนึ่ง มันจะอ่อนตัวลง สติจะทัน หรือหยุด ถ้าหยุด เห็นไหม เราจะทัน นี่มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ

ถ้าปัญญาอบรมสมาธินี่คิดขนาดไหนมันปล่อยวาง มันก็สบาย มันก็โล่ง สิ่งที่ความโล่งมันเป็นแค่สมถะ มันเหมือนกับเด็กอ่อน มันเหมือนกับจิตนี้มันวัยของเด็กๆ ถ้าโลกุตตรธรรมเป็นวัยของเด็กๆ เลย แต่ถ้าไม่มีครูอาจารย์ เขาว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นไป นี่มันไม่สมวัย แล้วมันไม่สมวัย มันไม่พัฒนาขึ้นมา ถ้าไม่พัฒนาขึ้นมา จิตล่วงเข้ามาขนาดไหน ถ้าเราพิจารณาของเราบ่อยครั้งเข้านะ ที่เรายังมีสติตามความรู้สึกเข้าไป มันจะปล่อยเข้ามาๆ จนสติทัน สิ่งนี้ก็หยุดได้ สิ่งนี้ควบคุมได้ นี่กัลยาณปุถุชน

ถ้าใช้คำบริกรรมของเรา พุทโธๆ ขึ้นมา จิตมันสงบได้ เห็นไหม น้ำใสจะเห็นตัวปลา น้ำใสถ้าเราควบคุมความใสของน้ำได้ เราไม่ให้ขุ่น ไม่ให้ตะกอนมันขึ้นมา น้ำนี่ก็จะใสตลอดไป น้ำใสเกิดจากอะไร? น้ำใสเกิดจากคำบริกรรม เกิดจากสติ ถ้าเราชำนาญในวสี เราไม่ต้องไปห่วงว่าน้ำเราจะใสหรือไม่ใส ถ้าน้ำใสจะพยายามค้นหาปลา ถ้าเราไปค้นน้ำนี่มันก็ขุ่น ก็ไม่เห็นปลาอีก มันก็เวียนไปเวียนมาเป็นอนิจจัง

เวลาจิตเจริญแล้วเสื่อมนะ ผู้ที่จิตเจริญแล้วเสื่อมจะมีความทุกข์มาก คนเราไม่มีเงินมีทองมันก็เป็นเรื่องหนึ่ง มีเงินมีทองขึ้นมาแล้วเงินทองนั้นใช้หมดไป ก็เป็นทุกข์อีกอย่างหนึ่ง นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันเสื่อม จิตขณะที่จิตเสื่อม เสื่อมเพราะอะไร? เสื่อมเพราะขาดสติ ขาดสติการรับรู้ ขาดสติการรักษา เห็นไหม เราก็ต้องฝึกสติขึ้นมา แล้วกลับมาที่คำบริกรรม

การประพฤติปฏิบัติไม่ใช่ว่ากิเลสมันจะนอนให้เราประพฤติปฏิบัตินะ กิเลสมันจะนอนอยู่ให้เราเข้าไปจับตัวเขาแล้วมาประหัตประหารว่ากิเลสต้องตาย กิเลสต้องตาย...อันนั้นมันเป็นความคิดของกิเลสต่างหาก เป็นการหลอกของกิเลส กิเลสมันเอาเป้าลวง เหมือนกับเราฝึกยิงปืนนี่ แล้วมันไปฝึกเป้าลวง เราจะไม่ได้คะแนนสิ่งใดเลย ถ้าเรายิงปืนเข้าที่เป้าหมายได้กี่แต้ม กี่แต้ม นั่นเป็นของเรานะ

นี่เหมือนกัน เราประพฤติปฏิบัติ เราเข้าใจของเราเอง ไม่ใช่สัจจะความจริง ถ้าเป็นสัจจะความจริงเพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันเป็นสากล สากลที่ไหน? สากลที่ว่าถ้าจิตมันสงบ ถ้าย้อนกลับมามันเป็นอริยสัจ เป็นสากลเพราะอะไร เพราะมีครูมีอาจารย์ไง ถ้ามีครูมีอาจารย์ สิ่งนี้มันสื่อได้ ดูสิ ดูอย่างรถทุกชนิดใช้น้ำมันเหมือนกัน จะเป็นเบนซิน เป็นโซล่า จะยี่ห้อใดใช้น้ำมันเหมือนกัน เพราะมันใช้เครื่องเหมือนกัน แต่ใช้เครื่องอย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบเข้ามาก็เหมือนพลังงานตัวนี้ไง ถ้าจิตมันสงบเข้ามามันก็เป็นพลังงานอันเดียวกัน แต่ถ้าเป็นพลังงานเดียวกันถ้ามันไม่ยกขึ้นวิปัสสนา มันก็เป็นแค่พลังงานนั้น สิ่งที่เป็นพลังงานอันนี้มันก็ไปเป็นวัย แล้วถ้าวิปัสสนาไปล่ะ ถ้าวิปัสสนาไปนี่ปัญญามันเกิด สิ่งที่ปัญญามันเกิด จากกัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนยกขึ้นเป็นโสดาปัตติมรรค ถ้าเป็นโสดาปัตติมรรค มันจะเริ่มเป็นไปตามวัยตามธรรม นี่อริยทรัพย์จะเกิดตรงนี้ไง

ถ้าอริยทรัพย์เกิดตรงนี้ ทรัพย์สมบัติจากโลกนะ ทรัพย์สมบัติที่เราแสวงหามา แม้แต่ชีวิตเราก็เป็นทรัพย์อันหนึ่งนะ เกิดเป็นมนุษย์นี่เป็นอริยทรัพย์เพราะอะไร เพราะเกิดเป็นมนุษย์เป็นสมบัติ มีกายกับใจที่เราจะออกประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราจะอยู่ทางโลก เราก็แสวงหาเป็นอาชีพ ดูสิ ดูสัตว์เขาไม่มีกฎหมายคุ้มครองของเขา ถ้ามนุษย์นี่จะมีกฎหมายคุ้มครอง เราจะทำลายกันไม่ได้ เราจะเบียดเบียนกันไม่ได้ จะมีกฎหมายคุ้มครอง นี่ก็เป็นทรัพย์ส่วนหนึ่ง แล้วเราใช้ทางโลก เห็นไหม ใช้ทางโลกก็อยู่กับโลกไป ทำบุญกุศลของเราต่างๆ ทำสิ่งนี้มันเป็นอามิส

สิ่งที่เป็นอามิส มันเป็นของชั่วคราว สิ่งที่อามิสของชั่วคราว เพราะบุญก็คือบุญ บาปก็คือบาป ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเป็นธรรมดา สิ่งนี้เป็นเรื่องของโลก ทำขนาดนี้โลกเขายังบอกว่า เราทำอย่างนี้เป็นคนล้าหลัง ถ้าเป็นประสาโลก โลกจะเจริญ เจริญด้วยความทุกข์ความยาก ถ้าจะล้าหลังขอให้จิตเรามีความสุข ในครอบครัวเรามีความสุข อันนี้เป็นเรื่องของโลกนะ

แต่ถ้าใช้ทางธรรมล่ะ ถ้าใช้ทางธรรม เรื่องของโลกเราก็เผชิญกันมาแล้ว เรื่องของโลกไม่มีสิ่งใดที่น่าสงสัยเลย ถ้าคนมีเงินมีทองนะ จะแสวงหาบริการขนาดไหน มันมีในโลกนี้ เรามีเงิน เราจะใช้บริการกับโลกที่โลกเขามีสิ่งใดที่มันเป็นมหัศจรรย์ เราก็ใช้ไปกับเขา โลกทันกันไง แต่ถ้าเรื่องของธรรมล่ะ เรื่องของธรรม เห็นไหม ทุกคนมีสิทธิ เพราะทุกคนมีหัวใจ ทุกคนเกิดมามีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตมีลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทุกคนมีโอกาส ถ้ามีโอกาสแล้วเราจะมีความเข้มแข็งไหมล่ะ ถ้าเรามีความเข้มแข็ง การประพฤติปฏิบัติของเราก็จะมีขึ้น

ดูสิ ถ้าศรัทธาความเชื่อ นี่หัวใจมันพัฒนาขึ้นมาแล้ว วัยของเราดีขึ้นมาแล้ว แล้วทำความสงบของใจขึ้นมา วัยของเราก็เริ่มต้น เริ่มต้นถ้าไม่มีการมีจิตไปออกวิปัสสนา จะเริ่มต้นจากตรงไหน กัลยาณปุถุชนถ้ายกขึ้นมาที่กายที่จิต เป็นโสดาปัตติมรรค ถ้าเป็นโสดาปัตติมรรคจะเห็นกาย จะเห็นจิต ถ้าเป็นปัญญา ปัญญาวิมุตติ ถ้าพิจารณากายโดยที่ไม่เห็นกาย ใช้ปัญญาเทียบเคียง เทียบเคียงอย่างไร เทียบเคียงถ้าจิตมันสงบเข้ามามันจับต้องสิ่งใดก็ได้ อารมณ์มีความรู้สึกนี่ไง เวลาความคิด มันเห็นมันคิดไป เวลาความคิดนี่คิดไป ถ้าสติเราตามทันมันปล่อย มันปล่อยมันก็สงบเข้ามา พลังงานตัวนี้พอสงบเข้ามา มันเสวยอารมณ์

เวลาพลังงานตัวนี้มันจับอารมณ์ มันจับอารมณ์ที่ไหน? อารมณ์ความรู้สึกมันเพราะมีกาย ขันธ์นี่มันมีกาย กาย ขันธ์นี่ความรู้สึก ขันธ์คือสัญญาไง คือสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่งไง ถ้าความคิด ความปรุง ความแต่ง โลกนี้มีเพราะมีเรา สรรพสิ่งนี้มีเพราะมีเรา จิตมี จิตมีที่ตั้ง มีร่างกายมีหัวใจ หัวใจนี่ตั้งอยู่บนร่างกายนี้ ถ้าเราตายไป ถ้าคนตายไปนี่จิตใจออกจากร่าง คนก็ตายไป

แต่ถ้าคนยังไม่ตายมันก็มีร่างนี้ ถ้าร่างนี้ความคิดต่างๆ มันสะสมอยู่ที่นี่ ในชาติปัจจุบันนี้ เราเป็นนาย ก นาย ก สร้างตั้งแต่เด็กนาย ก มานี่ ตั้งแต่มีการศึกษามา ตั้งแต่ทำหน้าที่การงานมา มันมีสิ่งบาดหมางกับใคร มันมีความผูกเจ็บแค้นกับใคร มีความดีความชอบกับใคร นี่ความคิดมันเกิดอย่างนี้ นี่จับสิ่งนี้แล้วเทียบเคียงได้ เทียบเคียงว่าสิ่งนี้มันเป็นประโยชน์กับเราไหม สิ่งนี้มันเผาผลาญเราไหม สิ่งนี้ทำอะไรให้เรามาบ้าง ถ้าสิ่งนี้ทำมาให้เรา เรามีความสุข ความทุกข์ไหม เรามีความพอใจของเราขนาดไหน

ถ้ามันไม่มีความพอใจของเรา มันไม่เป็นไป เห็นไหม นี่เราใคร่ครวญ มันจะย้อนกลับมา ย้อนกลับมาที่ความรู้สึกของเรา ย้อนกลับมาที่ความเป็นไปของเรา ย้อนกลับมา มันปล่อยได้ไง ถ้ามันจับเสวยอารมณ์ ถ้าพิจารณาบ่อยครั้งเข้า มันปล่อยๆ นี่หมั่นคราดหมั่นไถ วุฒิภาวะมันจะพัฒนาขึ้น มันละเอียดขึ้นไป ถึงที่สุดมันปล่อย เวลาพิจารณาจิตนี่เวลาขาด ขาดที่กาย สักกายทิฏฐิ กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย เห็นสัจจะความจริงเลย ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕

พิจารณาโดยเจโตวิมุตติก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบขึ้นมา พิจารณามันไปเรื่อยๆ สิ่งที่ความเป็นไปของจิต สิ่งที่จิตมันสงบขึ้นมาแล้วพิจารณากาย สิ่งที่กาย เห็นไหม กายเป็นกายมันเป็นสภาวะแบบใด สิ่งที่ถ้ามันเป็นธรรม มันแปรสภาพของมัน ถ้ามีกำลังมันจะแปรสภาพ สิ่งที่แปรสภาพเพราะมันเป็นธรรม สภาวธรรมนี่มันเป็นความจริง มันแปรสภาพของเขาเพราะสิ่งนี้มันเป็นอนิจจังอยู่แล้ว แต่เพราะกาลเวลาไออุ่นมันรักษาไว้ สิ่งที่รักษาไว้เราก็ติดสิ่งที่กายภายนอก แต่ถ้าเป็นภายในไม่เป็นสภาวะอย่างนั้นเลย ไม่เป็นสภาวะแบบนั้น

พอมันพิจารณามันก็ปล่อย เริ่มปล่อยปล่อยครั้งเข้า ถึงที่สุดแล้วมันก็ขาด ถึงที่สุดนะ ปล่อย เราพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า สำคัญว่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าปล่อยแล้วมันเป็นความมหัศจรรย์ จิตมันจะว่างมาก มันจะมีความพอใจของมันมาก ถ้ามีความพอใจของเขาอย่างนี้ เราก็ว่าเราเข้าใจ เห็นไหม นี่กิเลสมันหลอก สิ่งที่กิเลสหลอก กิเลสมันหลอกมันต่อต้าน ถ้าต่อต้านมันไม่เป็นความจริงไง ไม่มัชฌิมาปฏิปทา ไม่สมควรแก่ธรรม ถ้าไม่สมควรแก่ธรรมมันไม่เป็นธรรม นี่วุฒิภาวะนี้ไม่เกิด มันก็ไม่เป็นไปตามวัย

ถ้าเป็นไปตามวัยนะ ถ้ามันขาดขึ้นมา สิ่งที่จิตมันวิปัสสนาไปถึงที่สุดมันจะขาด กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย สิ่งต่างๆ มันปล่อยไปตามสัจจะความจริงของเขา สิ่งนี้เป็นพระโสดาบัน ถ้าเป็นพระโสดาบัน วุฒิภาวะของพระโสดาบันนะ นี่พระโสดาบัน ดูอย่างพระอานนท์ เวลาพระอานนท์เป็นพระโสดาบัน แล้วเวลาในวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุต้องไปเทศนาว่าการภิกษุณี เวลาถึงคราวที่พระอานนท์ต้องไปเทศน์ไปสอนพระภิกษุณี ทำไมพระอานนท์นิมนต์พระกัสสปะไปเทศน์แทนล่ะ

นี่วุฒิภาวะ กาลแล้วแต่วัย วัยหนุ่ม วัยอ่อน วัยสูง วัยต่ำ เห็นไหม ถ้ามันยังไม่เต็ม ธรรมยังไม่เต็มตามวัยนั้น จะไปสอน ขณะที่ไปสอนเราจะเอาอะไรไปสอนเขา จิตเราไม่เสมอสภาวะแบบนั้น เราจะเอาอะไรไปสอนเขา เราไปสอนนางภิกษุณี ถ้านางภิกษุณีที่เป็นพระอรหันต์ก็มีนะ แต่เขาฟังธรรมตามวินัยไง เคารพธรรมวินัย เคารพธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไปสอน วุฒิภาวะเราไม่มี เอาอะไรไปสอนเขา นี่นิมนต์พระกัสสปะไปสอน

วุฒิภาวะเป็นสภาวะแบบนั้น ถ้าธรรมไม่เต็มตามวัยมันจะมีความลังเลสงสัยจากกิเลสที่ละเอียด กิเลสอย่างหยาบเรารู้ทันมัน เรายังเห็นสภาวะของกิเลสอย่างหยาบ ถ้าสภาวะแบบนี้เราทัน ถ้ากิเลสมันขาดนะ เราจะทันเรื่องของกิเลสอย่างหยาบๆ เวลาครูบาอาจารย์ท่านพิจารณาเวทนา ถ้าเวทนา เวทนาขาด สักแต่ว่าเวทนา ปล่อยแล้วปล่อยเล่า ปล่อยแล้วจนขาด เห็นไหม “จะเอาเวทนาไหนมาหลอกเราอีกวะ เวทนาอย่างนี้เราเข้าใจสภาวะความเป็นจริงอย่างนั้น”

สิ่งที่มันเป็นเปลือกๆ สิ่งที่เป็นภายนอก แต่เวทนาของใจ เวทนาอันละเอียดมันอยู่ในใจ เวทนาอย่างละเอียดคือความกังวลไง ความวิตกกังวลของจิตมันมีนะ เข้าใจสัจจะความจริงจากภายนอก แต่สัจจะความจริงจากภายในมันยังไม่เข้าใจ มันก็มี เห็นไหม ที่ว่าวัยของจิตมันไม่ละเอียด ไม่เต็ม มันยังมีสิ่งบกพร้องอยู่ในใจ ถ้าสิ่งบกพร้องอยู่ในใจมันจะมีความอย่างนี้กวนใจอยู่ตลอดเวลา กวนใจนะ เราเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วเรารักษาตัวเราขึ้นมา มันใกล้จะหาย ไข้เริ่มจางลง ไข้เริ่มเบาลงๆ ใครบ้างไม่อยากจะรักษาตนนี้ให้หายจากไข้

ในการประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา จิตมันละเอียดขนาดไหน สิ่งที่มันเป็นเชื้อเป็นไขอยู่ในหัวใจ เราจะพยายามทำให้ถึงที่สิ้นสุด ถ้าเราจะพยายามทำให้ถึงที่สิ้นสุดนะ เราก็ต้องละเอียดเข้ามา จิตละเอียดเข้ามา เห็นไหม ตามวัยของจิตเข้าไป ถ้าตามวัยของจิตเข้าไปนะ นี่มรรคละเอียด มรรคหยาบ มรรคละเอียดไง ปัญญาที่ว่าโลกเขาบอกว่าใช้ปัญญา จะฆ่ากิเลสด้วยปัญญา ปัญญาอย่างนั้น ปัญญาอย่างของเขา เขาใช้ปัญญาโดยทางโลก ถ้าปัญญาโดยทางโลกมันเป็นปัญญาวิทยาศาสตร์ เป็นทฤษฎีที่เป็นสิ่งนั้น

แต่ถ้าเป็นธรรมนะ มรรคหยาบ มรรคละเอียดนี่ต่างกัน ความเห็นต่างกัน เวลาเห็นเรื่องของกาย กายจะแปรสภาพก็ต่างกัน สิ่งนี้ต่างกันเพราะอะไร เพราะกายอย่างหยาบๆ แปรสภาพอย่างหนึ่ง ดูสิ ดูอย่างความร้อน ถ้าความร้อน เราหลอมวัตถุสิ่งต่างๆ ความร้อนระดับหนึ่งมันก็ได้สิ่งที่เราหลอมเหลว มันก็มีอุณหภูมิขนาดนั้น คุณภาพขนาดนี้ ถ้าความร้อนมากขึ้น คุณภาพของวัตถุนั้นมันก็หลอมละลายได้มากขึ้น

นี้ก็เหมือนกัน ถ้ามรรคมันละเอียดเข้าไป สมาธิมันละเอียดเข้าไป สิ่งที่ละเอียดเข้าไปนี่เพราะกิเลสมันละเอียดกว่า สิ่งที่ละเอียดกว่านี่วุฒิภาวะมันเป็นอย่างนี้ แล้วย้อนกลับเข้าไปมันถึงเป็นมรรคหยาบ มรรคละเอียดไง เห็นความเป็นไปของมรรคหยาบ มรรคละเอียด เห็นปัญญาอย่างหยาบ ปัญญาอย่างกลาง ปัญญาอย่างละเอียด ปัญญาอย่างละเอียดสุด แล้วปัญญาอย่างละเอียดสุดจะเกิดสภาวะแบบใด

สิ่งที่เกิดจากใจของเราขึ้นมา มันจะย้อนกลับมาให้เห็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่ “จะสอนใครได้หนอ จะสอนใครได้หนอ” เพราะมันละเอียดลึกซึ้งไง สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งเพราะอะไร เพราะกิเลสมันละเอียดมากนะ เราเห็นกันแต่เรื่องเปลือกๆ เราเห็นแต่เรื่องสิ่งที่ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง สิ่งนี้มันทำให้คนหน้าแดง เวลาคนมีความโกรธขึ้นมาจนควบคุมตัวเองไม่ได้ เราเห็นสภาวะแบบนั้นนะ แต่เราไม่เคยเห็นธรรม

เวลาธรรมมันแสดงออก สิ่งที่ธรรมแสดงออกนะ เวลาธรรมแสดงออกไป มันเป็นน้ำอมตะของธรรม สิ่งที่น้ำอมตะของธรรมเหมือนกับเราไง เวลาไฟมันอยู่บนหัวของเรานะ ถ่านแดงๆ อยู่บนหัว เราจะไม่เอาถ่านออกจากศีรษะเราก่อนหรือ นี่ก็เหมือนกัน เราต้องเอาออกก่อน แต่ถ้าเป็นครูเป็นอาจารย์ เวลาลูกศิษย์ทำผิดพลาดขึ้นมา สิ่งนี้มันเป็นเหมือนไฟ ขณะไฟอยู่บนศีรษะ ถ้าเราเอาไฟ เอาถ่านออกจากศีรษะ มันก็ไม่บาดเจ็บ

การประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ขณะที่จิตมันมีความผิดพลาด ขณะที่ความผิดพลาดนั้นเจ้าตัวยังไม่รู้เลย เรามีไฟอยู่บนศีรษะของเราเอง เรายังไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นไฟ มันยังเคลิ้มไปว่าสิ่งนี้เป็นธรรมนะ ถ้าสิ่งนี้เป็นธรรม เราก็หลง เราก็ติด พอเราหลงเราติดขึ้นไป มันก็รอจังหวะ รอเวลา ครูบาอาจารย์จะรอเวลาให้เรามีกำลังขึ้นมา ให้มีกำลังนะ ไฟเวลามันเผาหัวเรานี่มันจะเป็นความแสบร้อน แต่ถ้าเป็นความติดนะ นี่อาการของใจ พอใจมันไปเสวย เห็นไหม เคลิ้มไปอย่างนี้ มันเป็นความผิดพลาด แต่มันก็ยังเป็นนามธรรม เราก็ว่า “สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้ประพฤติปฏิบัติ แล้วทำไมครูบาอาจารย์ท่านติเตียนเรา ทำไมครูบาอาจารย์ท่านคอยโต้แย้ง”

ท่านโต้แย้งให้เราเข้าใจ ถ้าเรามีความเข้าใจ เรามีความฉุกคิดอย่างนี้ มันจะเป็นปัญญาของเราขึ้นมา แต่ถ้าเราไม่มีความเข้าใจ เราไม่ฉุกของเราคิดขึ้นมาเลยนะ เราไม่ฉุกคิดความเป็นไป มันก็จะติดอยู่อย่างนั้น ติดคือไม่รู้นะ คนติดไม่เข้าใจ ความไม่เข้าใจสัจจะความจริงของเรา คือเราไม่รู้ นี่กิเลสมันบังอย่างนี้ เวลามันบังผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แล้วเราไม่มีธนบัตรแท้ ถ้ามีธนบัตรแท้กับธนบัตรเทียมเราเอามาเทียบเคียงกัน เราจะเห็นความต่างนะ

แต่ถ้าเราอยู่ในสังคม สังคมของเราเป็นสภาวะแบบนั้น สังคมหมายถึงหมู่ชน แล้วสังคมของการประพฤติปฏิบัติล่ะ สังคมของเราล่ะ สังคมของหัวใจของเรา นี่ในกิเลสด้วยกันมันก็บอกสิ่งนี้เป็นความถูกต้อง นี่โลกนอกโลกใน ถ้าเราชนะโลกในคือตัวของเราเอง สังคมคือสัตว์โลก เรานี่เป็นสัตว์ตัวหนึ่ง สังคมของเราคือวัฏฏะ เราเกิดตาย เกิดตายกี่ภพกี่ชาติซ้อนอยู่ เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า เรานั่งอยู่บนกองกระดูก เรานั่งอยู่บนซากศพของเรา เพราะอะไร เพราะเราเกิดตาย ตายซับตายซ้อนๆ

ดิน ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เรานั่งอยู่บนสิ่งที่เป็นคมแข็ง สิ่งที่เป็นดิน มันย่อยสลายไปมันก็เกิดมาจากซากศพของเราที่ตายซับตายซ้อน มันก็เปื่อยเน่าจนกลายเป็นดิน...สิ่งนี้เราเกิดมาซับมาซ้อนอยู่ของเรา เรานั่งอยู่บนซากศพของเรา เรายังไม่เข้าใจสภาพซากศพของเรา แต่ถ้ามันย้อนกลับมา นี่ย้อนกลับมาสิ่งที่ไปเกิด ใครไปเกิด? จิตดวงนี้ไปเกิด จิตดวงนี้นะ แม้แต่เวลาเราพิจารณาจนเข้าใจ วุฒิภาวะมี

ดูสิ ดูนางวิสาขาเป็นพระโสดาบันเหมือนกัน มีครอบครัวเหมือนกัน แล้วก็ต้องตายไปเหมือนกัน นี่ยังทิ้งธาตุไว้ในโลกนี้ เห็นไหม โลกนอก โลกในของใจล่ะ ใจต้องเกิดอีก ๗ ชาติ ก็ยังต้องเกิดอีก ถ้ายังมาปฏิบัติก็ยังมานั่งอยู่บนซากศพของตัวเองอีก เห็นไหม ซากศพจากภายนอก ซากศพจากขันธ์ ๕ ซากศพของเรา สังคมของเรา ถ้าสังคมของเรา วัฏฏะของเรายังมีกระแสคือต้องให้เราหมุนไป มันก็ยังจะทำให้เราต้องทุกข์ยากอีก

แต่ถ้าเราย้อนกลับมาวิปัสสนาของเรานะ มันจะเป็นกายเป็นจิต ที่วิปัสสนาไปจับ น้ำใสเห็นตัวปลา ถ้าจิตสงบมันจับได้ จับกายวิปัสสนาไป กายจะเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ แยกออกจากสภาวะของมัน มันปล่อยซ้ำปล่อยซาก พิจารณาจิตก็เหมือนกัน วิปัสสนาจิตมันจะปล่อยซ้ำปล่อยซาก ปล่อยซ้ำปล่อยซากออกมาเป็นวุฒิภาวะของใจ วุฒิภาวะมันพัฒนาขึ้นไปเรื่อย เห็นไหม ระหว่างกิเลสกับธรรมมันต่อสู้กันนะ กิเลสมันก็มีการขับไส มันก็ทำให้การประพฤติปฏิบัติของเราไม่สะดวก การประพฤติปฏิบัติเราต้องมีการโต้แย้ง ยิ่งเราประพฤติปฏิบัติในหมู่คณะ เราต้องมีงานมีหน้าที่...นี่ความเป็นไปไง

ถ้าเราปฏิบัติโดยไม่ทำสิ่งใดเลย ร่างกายของเราไม่มีอาหาร ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต ชีวิตเราอยู่ได้ไหม? เราก็ต้องดำรงชีวิตไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติ ในเมื่อมีการดำรงชีวิต มันก็ต้องมีข้อวัตรปฏิบัติ สิ่งนี้มันก็เป็นหน้าที่ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติก็เวลาของเรา มันต้องมีสมดุลเพราะเราอยู่ในสังคม ถ้าเราแยกออกอยู่วิเวกของเราองค์เดียว มันก็ยังต้องออกแสวงหามาเพื่อดำรงชีวิตเหมือนกัน สิ่งที่ดำรงชีวิต สิ่งนี้มันเป็นเรื่องแบ่งให้กายกับแบ่งให้จิต

แบ่งให้จิต เห็นไหม จิตมันทำหน้าที่การงานจากภายใน ถ้าจิตมันละเอียดเข้ามาจะทำหน้าที่การงานของมันขนาดไหน มันก็ย้อนกลับมา มันจะทวนกระแสกลับมา ดู ทำความสะอาดของใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ส่งออกมาข้างนอกหรอก ข้างนอกหน้าที่ทำก็ทำไป แล้วถึงเวลาเข้าทางจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เวลาย้อนกลับมาทำความสะอาดของใจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า กายเป็นกาย จิตเป็นจิตนะ พิจารณาขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ อย่างกลางต้องขาดไป ถ้าพิจารณา พิจารณากาย กายก็ต้องแยกออกไป กายกับจิตแยกออกจากกัน โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง สิ่งที่โลกราบเป็นหน้ากลอง นี่วัยของจิตมันจะพัฒนาขึ้นมา

ธรรมเต็มวัยนะ จากธรรมโสดาบัน ธรรมสกิทาคามี แล้วถ้าสกิทาคามีมันก็จะอยู่สภาวะแบบนั้น ย้อนกลับขึ้นไป ย้อนกลับขึ้นไป นี่กามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะ ความเป็นไปของจิต จิตมันพัฒนาของมันขึ้นมา ย้อนกลับเข้ามาแสวงหาสิ่งนั้น เพราะสิ่งนี้มันเป็นความต้องการของใจ “โอฆะ” การข้ามโอฆะนะ ดูสิ นิพพาน กับสมมุติ กับวิมุตติ อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน ฝั่งหนึ่งเป็นสมมุติ ฝั่งหนึ่งเป็นวิมุตติ กระแสของน้ำคือหัวใจเรา หัวใจของเราอยู่ฝั่งอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝั่ง แล้วเราข้ามฝั่งไม่ได้ เราจะเกาะอยู่ที่ฝั่งสมมุติตลอดไป เพราะเราจะเกิดจะตายอยู่กับฝั่งสมมุติ เพราะอะไร เพราะจิตนี้เป็นกลางนะ

จิตเรานะ โจร องคุลิมาลด้วยความเข้าใจผิด อาจารย์หลอก เห็นไหม ฆ่า ไปฆ่าเขาเพื่อจะเอาวิชาการ นี่ติดอยู่กับฝั่งสมมุติ กระแสน้ำคือตัวใจ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ

“องคุลิมาล เราหยุดแล้ว เธอยังไม่หยุด”

“หยุดอะไร”

“หยุดจากฝั่งสมมุติไง”

แล้วหยุดจากฝั่งสมมุติ หยุดจากฝั่งสิ่งที่ว่ามันเป็นอนิจจังตลอด สิ่งนี้มันเป็นเรื่องของโลกๆ เห็นไหม นี่ย้อนกลับมาฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยกกลับไปกระแสน้ำนี้ ข้ามฝั่งไปอยู่ฝั่งวิมุตติ

นี่ใจของเรามีไง ฝั่งสมมุติกับฝั่งวิมุตตินี่เพราะสิทธิเสมอภาค หัวใจของเรามีนะ หัวใจเราเหมือนกระแสน้ำ แล้วเราจะข้ามฝั่งไปสมมุติ หรือจะข้ามฝั่งไปวิมุตติ? ฝั่งสมมุตินี่ไม่ต้องข้าม มันเกาะโดยธรรมชาติ แล้วการข้ามฝั่งนี้เป็นการข้ามแสนยากนัก การข้ามแสนยากเพราะมันเป็นการทวนกระแส มันเป็นสร้างสมบุญญาธิการ แล้วย้อนกลับไปดูความเป็นไปของใจ ถ้าประจักษ์เห็นความเป็นไปของใจ เห็นไหม “โอฆะ” กามโอฆะจะข้ามกามโอฆะได้อย่างไร เพราะสิ่งนี้มันเป็นน้ำสองฝั่ง มันก็ซึมซับอยู่ในแม่น้ำนั้น

จิตนี้ก็เหมือนกัน ทุกคนมีจิต ทุกคนมีความรู้สึก แล้วความรู้สึกนี้มันมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าถ้าเราไม่รักษา เราไม่ดูแลมัน เราไม่พัฒนาขึ้นมา มันก็เป็นไปตามกระแสโลก ไปตามกระแสของวัฏฏะ ทำดีทำชั่วมันก็อยู่กับสมมุติไปอย่างนี้ เวียนไปวัฏฏะเป็นสมมุติ มันก็เวียนตายเวียนเกิดตามสภาวะของมัน

แต่ถ้าเราพัฒนาของเราเข้ามา เราเจอธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราสร้างสมบุญญาธิการ เห็นไหม วิปัสสนา เรารักษา เราแก้ไข แก้ไขอย่างไร? แก้ไขใช้ตัวจิตของเราทำความสงบของใจเข้ามา ให้เอาอริยทรัพย์ ไม่เอาโลกียทรัพย์ โลกียทรัพย์มันเรื่องของสมมุติ เราดำรงชีวิต ถ้าเราจะเอาอริยทรัพย์ขึ้นมา เราพัฒนาใจของเราขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา เกิดจากการพัฒนา เกิดจากการฝึกตน เกิดจากการทวนกระแสกลับเข้ามา เกิดจากการใช้ปัญญาจากภายใน

ปัญญาของศาสนาเรา ปัญญาในมรรคนี่ เป็นปัญญาอย่างประเสริฐมาก ไม่ใช่ปัญญาอย่างโลกๆ หรอก โลกที่ประพฤติปฏิบัติ ปัญญาอย่างนั้น เรียนทันกันหมดนะ จะ ๙ ประโยค ๑๐ ประโยค เรียนทันกันหมด เรียนทันได้ เรียนทันมหาศาลเลย นี่เพราะเรียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่มันไม่เรียนกิเลสของตัว มันไม่เรียนความเป็นไปของจิต มันไม่เรียนความเป็นไปของความทุกข์ มันปลดเปลื้องทุกข์ไม่ได้เลย

เหมือนกับเราเป็นนักโทษนะมีขื่อคาอยู่ที่คอ ขื่อคาอยู่ที่คอรอโทษประหาร แต่เราไปดูแต่นักโทษคนอื่นไง เราไปช่วยคนอื่นหมดเลย เราเห็นนักโทษมา คนนี้ก็มีความทุกข์ คนนี้ก็มีความร้อน เราไปดูแต่ขื่อคานักโทษคนอื่น แต่เราไม่เคยปลดขื่อคาในคอเราเลยไง ปลดขื่อคาในคอเรา คือการประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม เวลาเรียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็อย่างนั้น เพราะว่าในวัฏฏะ สิ่งที่ในวัฏฏะมีการเกิดและการตาย เราเรียนในสภาวะแบบนั้น แต่เราไม่ได้ปลดของเราเลย

ถ้าเราจะปลดของเรา นี่ภาคปฏิบัติ การปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติให้โดยสมดุล ให้สมควรแก่ธรรม ไม่ใช่ปฏิบัติโดยกิเลส ถ้าปฏิบัติไปโดยกิเลสก็เป็นขื่อคาในคอนั้นก็อยู่อย่างนั้นน่ะ เพราะมันปลดไม่ได้ มันปลดไม่ได้หรอก เพราะอะไร เพราะเราไม่ไปปลดตรงที่ถูกต้องตรงกับตำแหน่งที่เราจะปลดได้ แต่ถ้ามันจะปลดได้ สิ่งที่ปลดได้ พอปลดขื่อคาออกจากคอ

การปลดขื่อคาออกจากคอ เราปลดคนเดียวหรือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไก่ตัวแรก เป็นบุคคลคนแรก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเรากราบใครไม่ได้ เราไม่เคยเห็นโลกนี้มีใครที่สมควรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะกราบไหว้เลย

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบธรรม เพราะขื่อคอที่อยู่ในหัวใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลดออกนี่ สิ่งนี้เป็นสภาวธรรม ถ้าไม่เป็นสภาวธรรมจะปลดขื่อคอออกจากใจได้อย่างไร จะปลดขื่อคอออกจากวัฏฏะนี้ได้อย่างไร สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบอยู่ แล้วเราศึกษาธรรมมาแล้ว มันขื่อคออยู่ ศึกษาธรรม ขื่อคอก็ไม่ได้ปลด ศึกษาธรรมมาขื่อคอก็ยังอยู่กับใจเราตลอดไป

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาอย่างที่จะปลดขื่อคอนี่มันเกิดมาได้อย่างไร มันเกิดมาจากที่ไหน มันเกิดจากการภาวนามยปัญญา เกิดจากสภาวะแบบใด...จะย้อนกลับเข้ามา เห็นไหม กามโอฆะนี่ทำให้ขื่อคอนี้แน่นหนาเข้า โลกนะ สิ่งที่เป็นโลก สิ่งนี้มันเป็นความพอใจของสัตว์โลกทุกๆ ตัว สัตว์โลกทุกๆ ตัว สัตว์โลกตั้งแต่กามภพลงมา สิ่งนี้มันฝังใจมาตลอด สิ่งนี้มันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่จะปฏิเสธขนาดไหน เราจะพยายามเก็บซ่อนในหัวใจขนาดไหน จะสงบเสงี่ยมขนาดไหน มันก็มีของมัน

ในเมื่อมันมีของมัน มันก็ยังพาตายพาเกิดไง เราไม่ออกไปเผาลนใคร แต่มันก็มีเชื้อของมัน เพราะมันเป็นกามฉันทะ กามฉันทะ กามราคะ กามฉันทะคือมันพอใจคิด มันพอใจไฟสุมขอน มันพอใจในหัวใจของมัน มันพอใจ นี่สิ่งที่พอใจสภาวะแบบนี้ เพราะมันมีอะไร? ก็มันมีหัวใจ เพราะมันมีสถานที่ตั้งไง เพราะมันมีสิ่งที่จับต้องได้

โลกนี้ไม่มีนะ สิ่งต่างๆ โลกนี้มีเพราะมีเรา แต่ความคิดมันมีอยู่กับเรา ความรู้สึกมันมีกับเรา นี่สิ่งที่มีกับเรา ถึงจะสงบเสงี่ยมขนาดไหน ถึงจะซ่อนเร้นขนาดไหน นี่ขื่อคอ ขื่อคอที่มันอยู่กับเรา เราพยายามจะซ่อนเร้น เราพยายามจะเอาสิ่งใดปิดซ่อนไว้ว่าเราไม่มี เราไม่มี มันมีคาความรู้สึกเรานี่แหละ ถ้าย้อนกลับมาจับสิ่งนี้ได้ เห็นไหม นี่วิปัสสนาจะเกิด ธรรมจะเกิด ธรรมนี่จะพัฒนาขึ้นมา จากการย้อนกลับมาจากใจ จากความเห็นของใจที่ย้อนกลับมาหาเรา ย้อนกลับมาหาเรานะ ย้อนกลับมาหากิเลส

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ใจดวงนี้เป็นตัวพาเกิดพาตายนะ สิ่งที่โลกช่วยเหลือกันก็เป็นสภาวะแบบนั้น โลกพยายามจะรักษา จะพัฒนาขึ้นมา พัฒนาขนาดไหนมันก็เป็นเรื่องของโลก มันเป็นอนิจจัง โลกนี้ผลัดกันชม สิ่งที่ความเป็นโลกผลัดกันชม ผลัดกันเกิด ผลัดกันตาย แต่ไม่มีใครเห็นร่องรอยของการเกิดและการตาย

แต่ในการประพฤติปฏิบัติเราจะเห็นร่องรอยของการเกิดและการตายนะ การเกิดและการตาย เพราะจิตดวงนี้เวลาจิตสงบเข้ามา ดูสิ ดูในสมัยพุทธกาล ผู้ที่จิตสงบขนาดไหน เขาจะระลึกอดีตชาติของเขาได้เลย เขาเห็นร่องรอยการเกิดและการตายของเขา แต่เราประพฤติปฏิบัติ เราเห็นร่องรอย แล้วเราลบร่องรอยได้ ถ้าเห็นร่องรอยเหมือนกับบัญชี ถ้าบัญชียังมีอยู่นะ ยังมีหนี้มีสินอยู่ มันต้องชดใช้กรรมกันตลอดไป แต่ถ้าเราลบบัญชีได้ บัญชีมันไม่มี บัญชีแบบหนี้นะ หนี้ของโลกไม่มี แต่ธรรมมี อริยทรัพย์เพราะอะไร เพราะมีความสุข มันปลดขื่อคอได้ไง มันมีความสุขของใจ แต่การปลดอย่างนี้มันถึงมีกำลังใจนะ

ถ้าคนวิปัสสนาแล้วจิตมันเป็นธรรมขึ้นมาอย่างนี้ มันจะมีกำลังใจมาก การกระทำของเรา การกระทำของการประพฤติปฏิบัติมันจะมีกำลังใจ สิ่งที่มุมานะไง ทำแล้วสมหวัง เวลาประพฤติปฏิบัติเริ่มต้นตั้งแต่ทำสมาธิมันก็ไม่สมหวัง ไม่ชำนาญในวสี ควบคุมความสะอาดของใจไม่ได้ แต่ขณะที่จิตมันสงบนะ มันชำนาญในวสี มันชำนาญของมัน มันวิปัสสนาของมันขึ้นไป แล้วพอกิเลสมันโดนชำระล้างไป พอกิเลสมันเบาลงไป การชำนาญงานจะชำนาญขึ้นมาเรื่อยๆ

จนถึงที่สุด แบบว่าจิตนี้มันเป็นปัญญาอัตโนมัติ มันหมุนของมันเอง สิ่งที่หมุนของมันเองเพราะอะไร เพราะจักรมันเคลื่อน สิ่งที่จักรมันเคลื่อน ขนาดที่มันหมุนไป จนขนาดที่ภาวนา มันเป็นภาวนาตลอดเวลา จนต้องได้รั้งไว้ บางคราวต้องรั้งไว้ รั้งไว้เพื่อมาพักผ่อน เพื่อให้จิตสงบ เพื่อให้จิตมีกำลังขึ้นมานะ พอจิตสงบมีกำลังขึ้นมา เหมือนเราทำงาน เราทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อนเลย ตึงเครียดไปหมดเลย สิ่งนี้มันทำให้ผลงานนั้นเสียหายได้ นี่เป็นทางโลกนะ

แต่ถ้าเป็นทางธรรมนะ ในการประพฤติปฏิบัติถ้าสมาธิอ่อน พลังงานอ่อน ความสมดุลมันไม่มี ถ้าความสมดุลมีมันก็ถูไถไป ถูไถไปมันก็เป็นสัญญา ก็เข้าใจว่าเป็นธรรมอยู่ แต่พอถึงจบวงรอบหนึ่ง เป็นธรรมอยู่ ทำไมมันไม่มีความว่าง ทำไมมันไม่ปล่อยวาง เห็นไหม ถึงไปสะดุดใจ สะดุดใจต้องกลับมา กลับมาสร้างความสงบของใจ ถ้าความสงบของใจมันจะมีความสมดุล อาหาร ความสุก ขณะที่อาหารสุกมันจะสุกพร้อมกันเป็นจานอาหาร เพราะเราผสมอาหารต่างๆ ขึ้นมา เห็นไหม เราต้ม เราแกง ถ้ามันสุกขึ้นมา มันก็เป็นอาหารชนิดนั้น

นี่ก็เหมือนกัน ในความเพียรชอบ งานชอบ สมาธิชอบ สติชอบ ความเพียรชอบ สมดุลของมัน พิจารณาขนาดไหน พิจารณาเป็นไป มันจะปล่อย เกือบสุก ห่ามๆ กว่าสุกจะงอม นี่มันเกือบสุก มันก็ปล่อยๆ ของสุกทีเดียวมันสุกนะ แต่จิตถ้ามันปล่อยแล้วปล่อยเล่า สิ่งที่ปล่อยแล้วปล่อยเล่า ละเอียดเข้ามาความชำนาญเข้ามา พิจาณากายเข้ามา มันก็ปล่อยประสากายของมัน ถ้าพิจารณากามราคะ พิจารณาจิตมันก็ปล่อยของมัน ปล่อยๆๆ ปล่อยจนถึงที่สุด

คำว่า “ปล่อย” กับคำว่า “ขาด” ต่างกัน คำว่า “ปล่อย” เห็นไหม ปล่อยเพราะว่าเป็นการฝึกฝน ขณะที่การฝึกฝน หน้าที่การงาน เราทำงานสิ่งใด ขณะที่เราประกอบสิ่งต่างๆ วัตถุถ้าประกอบขึ้นมาสำเร็จเป็นชิ้นชิ้นหนึ่ง วัตถุสำเร็จไปๆ แต่สิ่งที่การวิปัสสนา การใช้ปัญญาอย่างนี้มันเป็นนามธรรม ทำแล้วทำเล่า ทำแล้วทำเล่า ขนาดไหนก็ทำได้ ถ้าเป็นเหมือนประกอบรถยนต์นะ รถยนต์เป็นร้อยคันพันคัน เราจะไปสร้างไว้ที่ไหน เราจะมีที่เก็บที่ไหน นั่นเป็นวัตถุ

แต่ในการวิปัสสนา ร้อนหน พันหน แสนหน ล้านหน มันก็มีความว่างของมัน มันก็มีธรรมของมันได้ สิ่งที่ทำอย่างนี้ ทำบ่อยครั้งเข้า ทำชำนาญเข้าๆ จนถึงที่สุดเพราะกิเลสโดนสภาวธรรม ธรรมจักรนี้เคลื่อนบ่อยๆ ปัญญานี้ใคร่ครวญบ่อยครั้งเข้าๆ มันทวนกระแสของธรรมไม่ได้ ถ้าทวนกระแสของธรรมได้ มันก็ละเอียดอ่อนเข้ามา มันย้อนกลับเข้ามาๆ จนถึงที่ใจ มันระเบิดกันที่หัวใจนะ กามราคะขาดที่ใจ นี่เต็มตามธรรม เต็มเป็นชั้นเป็นตอน

หลวงปู่มั่นเวลาออกประพฤติปฏิบัติ เวลาออกสอนหมู่คณะนะ “กำลังยังไม่พอ กำลังยังไม่พอ” หลวงปู่มั่นยังหนีขึ้นไปเชียงใหม่นะ หนีเพื่อจะกลับมาไง หนีเพื่อไปเติมกำลัง สิ่งที่หนีขึ้นไปเติมกำลัง ไปเทศน์ที่วัดเจดีย์หลวง เห็นไหม เจ้าคุณอุบาลีฯ หลวงปู่มั่นเทศน์ขั้นอนาคามี ขณะที่ว่ากำลังไม่พอ ขนาดอนาคามีนะ กำลังยังไม่พอ เพราะขนาดที่ว่าสิ่งใดมันยังมีความสงสัย “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใด จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส”

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส” จะว่างขนาดไหน มันจะใส มันจะว่าง มันจะมีความสุข แล้วว่างๆ ทำอย่างไร มันไม่มีใครบอก ไม่มีใครบอกมันต้องพิสูจน์ตรวจสอบ การตรวจสอบเขาพิสูจน์ต่างๆ ความว่างมาจากไหน ความว่างเป็นความว่าง ความว่างทำไมมันควบคุมไม่ได้ล่ะ ความว่างเดี๋ยวมันก็เฉา เดี๋ยวมันก็ผ่องใส เดี๋ยวมันก็สุข เดี๋ยวมันก็ทุกข์ เดี๋ยวมัน...อย่างละเอียดนะ

ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเราปลดขื่อคอจะออกจากใจอยู่แล้วนี่ เราจะเอาคอรอดออกมาจากขื่อคอมันจะละเอียดอ่อนมาก มันจะจับ มันจะเห็นความเศร้าหมอง ความผ่องใส มันเป็นความอาลัยอาวรณ์ นี่อาลัยอาวรณ์ยังขื่อคาอยู่ ถ้าตายไปก็อนาคามี ๕ ชั้น สิ่งที่เป็นอนาคามี ๕ ชั้นก็ต้องสุกไปข้างหน้า

แต่ถ้าเราย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับนี่อรหัตตมรรคจะจับตัวจิตได้ ถ้าจิตตัวนี้ จิต ความสะอาด ความผ่องใส ผ่องใสขนาดไหน ผ่องใส เวลาปัญญาอย่างละเอียดมันใช้ขันธ์กับจิต สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง...ความคิด ความปรุง ความแต่งจะเกิดได้ต้องมีพลังงาน ขณะที่ความคิด ความปรุง ความแต่ง มันขาดไปแล้ว และพลังงานตัวนี้มันจะเป็นปัญญาได้อย่างไร

อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ มันเป็นปัจจยาการ ขันธ์ ๕ เป็นกองนะ กองของรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นกองเหมือนภูเขา ๕ ลูก ภูเขา ๕ ลูกมันเป็นอ่าง เวลามันหมุนไปมันก็เป็นอารมณ์ความรู้สึก ขณะที่มันเป็นปัจจยาการ มันเป็นเหมือนกับเป็นสิ่งที่ว่ามันเป็นหุบ อยู่ในหุบเหวเดียว ไม่เป็นกอง

อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ มันเป็นหุบเหวเดียว หุบเหวนี้มันไม่มีสิ่งใดที่จับต้องมันได้ สิ่งที่ผู้ที่ฉลาดถึงรื้อค้นเข้าไปถึงจับสภาวะแบบนี้ได้ ถ้าจับสภาวะแบบนี้ได้ เห็นไหม จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส เพราะมันเป็นจิตเดิมแท้ หมองไปด้วยอุปกิเลส กิเลสอย่างละเอียด เพราะมันมีอุปกิเลส มันเศร้าหมอง เศร้าหมองมันถึงออกไปเสวยอารมณ์จากภายนอกถ้าเป็นปุถุชน

แต่ถ้าเป็นพระอนาคามีมันออกไปไม่ได้ มันออกไปไม่ได้เพราะอะไร เพราะตัดสิ่งที่มันจะก้าวออกไปหาเหยื่อไง ในเมื่อขันธ์มันขาดแล้ว พิจารณากามราคะขาดแล้ว มันออกไปหาเหยื่อไม่ได้ มันก็ต้องอยู่ในสภาวะของมัน มันออกไปหาเหยื่อไม่ได้ มันก็อยู่ในใจของมัน ถ้ามันอยู่เฉพาะในใจของมัน ก็ย้อนกลับมาตรงนี้ ถ้าย้อนกลับมาที่นี่ พิจารณาไปด้วยปัญญาญาณ ปัญญาญาณอย่างนี้จะชำระกิเลส ถ้ากิเลสขาดนะ กิเลสขาด จิตนี้มันพิจารณากามราคะ สิ่งต่างๆ ปล่อยเข้ามา ขาดเข้ามา ขาด แล้วตัวของจิตนี่อะไรขาด

“จิตนี้ผ่องใส จิตนี้ผ่องใส” ความเศร้าหมอง ความผ่องใส มารวมตัวกัน สิ่งที่จิตจะเข้านิพพานเข้าอย่างไร จิตถ้ามีจิตอยู่ถ้ามันขาด ตัวมันขาด มันพลิกออกไปถึงที่สุด เห็นไหม จิตนี้สว่าง จิตนี้พ้นจากฝั่งของสมมุติเป็นฝั่งของวิมุตติ แม่น้ำที่มีสองฝั่ง ถ้าเรายังเป็นปุถุชน หรือเรายังประพฤติปฏิบัติอยู่ ยังต้องเกิดอยู่ แม่น้ำ ฝั่งของสมมุติแล้วเราข้ามไปฝั่งของวิมุตติได้ ถ้าข้ามฝั่งของวิมุตติได้ความเกิดไม่มี จิตดับ กิเลสขาดตั้งแต่ตอนนั้น พลิกฟ้าคว่ำดินจนถึงที่สุดแล้วเต็มตามธรรม ธรรมจะเต็มตามหัวใจนี้

ถ้าธรรมเต็มวัย ถึงที่สุดสมวัยของธรรม การเคลื่อนไหวของจิต การแสดงออกของจิตมันไม่มีอกุศล มันไม่มีสิ่งเศร้าหมองในใจ สิ่งที่เศร้าหมองนะ มันเป็นอกุศล มันจะเกิดกับจิตที่ใสสะอาดได้อย่างไร ความใส ถ้ามีสิ่งจุดใดต่างๆ เข้าไปในความใสนั้น มันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน มันจะเกิดจากสิ่งนั้นไม่ได้

การแสดงออกของวุฒิภาวะ เห็นไหม เราดูครูบาอาจารย์ของเราสิ ถ้าครูบาอาจารย์ของเรานะ ถ้าวุฒิภาวะไม่มี การแสดงออกเรื่องของความคิด การแสดงออกเรื่องของความรู้สึกมันก็ขัดแย้งกับธรรม ขัดแย้งกับธรรมตั้งแต่สีลัพพตปรามาส จะไม่ลงใจครูบาอาจารย์ จะไม่ลงใจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ถ้าเป็นธรรมตามวัยนะ จากโสดาบันก็ลงตามธรรมนั้น แต่ก็ยังมีความสงสัยอยู่ ก็ลงเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไปจนถึงที่สุดนะ เพราะอะไร เพราะผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต แล้วเห็นตถาคตทั้งองค์ เห็นตถาคตเหมือนกัน เพราะจิตเสมอกัน มันจะมีสิ่งเคลือบแฝงเข้ามาในการแสดงออกนั้นเป็นไปไม่ได้ วุฒิภาวะจากภายนอกก็เห็นส่วนหนึ่ง วุฒิภาวะของใจ การแสดงออกของใจ ผู้รู้ทำไมจะสื่อความหมายความรู้นั้นไม่ได้ นักวิชาการที่รู้สิ่งต่างๆ ทำไมจะแสดงออกสิ่งนั้นไม่ได้ ถ้าการแสดงออกไม่ได้คือว่าสิ่งนั้นไม่รู้ หรือแสดงออกมามันก็เป็นการโต้แย้ง โต้แย้งกับสิ่งต่างๆ โต้แย้งกับผู้รู้นะ

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลายกเข้าฝ่ายปริยัติ เหมือนกัน สิ่งที่เหมือนกันแต่ละเอียดกว่า เพราะทฤษฎีนั้นมันเป็นเรื่องของทฤษฎี แต่ผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทฤษฎีนั้นถูกต้อง และอธิบายได้ด้วยว่ามันเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร มันทำอย่างนี้ได้อย่างไร มันปล่อยอย่างนี้ได้อย่างไร แล้วมันมีความสุขอย่างนี้ได้อย่างไร เอวัง