เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๓ ก.ย. ๒๕๕๙

 

เทศน์เช้า วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๙
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมะเนาะ เรามาวัดมาวา มาวัดมาวามาค้นหาหัวใจของตน หัวใจของตนมันซึมซับพฤติกรรมของใจๆ ใจที่มันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมันทำสิ่งใด คนเคยทำสิ่งใด เวลาพระสมัยพุทธกาลนะเวลาภาวนา ฟังเทศน์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนเดียวเขาไปถามว่าเป็นเพราะอะไรๆ

เขาเคยทำไว้ เขาเคยทำไว้ไง เคยทำความดีของเขา เขาทำของเขา มันซับลงที่ใจๆ เวลาเขาทำบาปทำกรรมอกุศลของเขาไว้มันก็ซับลงที่ใจๆไง

ทำไมเทวทัตเป็นอย่างนั้น

โอ๋! เทวทัตเริ่มต้นมาตั้งแต่เป็นพ่อค้าขายของเล่นมาด้วยกัน

นี่เราซึมซับๆ มาพันธุกรรมของจิตๆ มันซับมาๆในหัวใจ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺาณํปัจจยาการในใจ ปัจจยาการในใจอันนั้นน่ะเป็นสัญญาอันละเอียด แต่เวลาเราเกิดมาเป็นมนุษย์ รูป เวทนาสัญญา สังขารวิญญาณสัญญาๆ สัญญาที่เราจำในภพชาตินี้ไง

ในทางจิตวิทยาเขาจะให้ระลึกถึง ระลึกถึงเมื่อปีที่แล้ว๑๐ ปีที่แล้ว ระลึกถึงเด็ก ระลึกถึงให้ระลึกถึงๆย้อนไปๆๆ มันระลึกได้ สัญญามันจำได้ตั้งแต่ตอนเราเป็นเด็กไง พอโตขึ้นมาๆมันก็เปลี่ยนแปลงไปๆ มันเปลี่ยนแปลงไปมันซับของมันเห็นไหม นี่พูดถึงว่าสิ่งที่พันธุกรรมของใจๆ

ที่เราฟังธรรมะๆ ของเราเราฟังธรรมะของเราให้เรามีศรัทธามีความเชื่อของเรา ถ้ามีศรัทธาความเชื่อของเรานะ มันพยายามขวนขวายของตน ขวนขวายของตนเข้าไปสู่สัมมาสมาธิ ถ้าเข้าไปสัมมาสมาธิ เอาจิตของเราออกค้นคว้าออกทำงานขึ้นมามันจะเป็นการเป็นงานขึ้นมาไง ถ้ามันจะเป็นการเป็นงานขึ้นมามันจะเป็นความจริงนะ

ในสมัยปัจจุบันนี้นะเวลาที่เขาบอกว่าทำสิ่งใดมันก็ง่าย ทำสิ่งใดมันก็จะประสบความสำเร็จ แล้วทำอย่างไรล่ะ

“จำไม่ได้เลยนิพพาน”

มันจำไม่ได้ เขาว่านิพพานเขาสิ้นกิเลสไป แล้วทำอย่างไรล่ะ

“จำไม่ได้จำไม่ได้”

มันไม่มีที่มาที่ไป แต่เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านพูดของท่านมันมีที่มาที่ไปหมดล่ะ ทำอย่างไรจิตมันถึงจะสงบได้ สงบแล้วถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้มันทำอย่างไร ถ้าทำเสร็จแล้วมันชัดมันเจนของมัน นี่อริยสัจ จิตดวงใดไม่มีอริยสัจ ไม่มีการกระทำ มันจะไม่มีมรรคไม่มีผลแต่นี่เขาทำให้ๆ

เวลาของเรา เราทุกข์เรายากของเราเวลาสิ่งใดที่มันเจ็บช้ำน้ำใจไม่ลืมหรอก ของดีๆจำได้แป๊บเดียวแต่ไอ้ของที่มันเจ็บช้ำน้ำใจมันจำอยู่อย่างนั้นน่ะๆ มันไม่ลืมสักที

พอลืมนะถ้ามันลืมไป มันเบาบางไป เออ! สบายใจหน่อยหนึ่ง นี่สบายใจหน่อยหนึ่ง มันสบายใจเพราะอะไร เพราะมันลืมไป ถ้าลืมแล้วดีหมดเลย แต่ถ้าจำได้ๆ เจ็บปวดแล้ว เจ็บช้ำอีกแล้ว นี่คือมันลืมไปไง สิ่งที่มันลืมลืมนี่มันเป็นการปฏิเสธ มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาทั้งสิ้น

แต่ความจริงๆ จะลืมอย่างไรก็แล้วแต่มันฝังลงที่ใจๆดูสิ พันธุกรรมของจิตๆ เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ทำคุณงามความดีมากขนาดไหนมันก็ฝังลงที่นั่นไง ไม่อย่างนั้นพระโพธิสัตว์ ๔อสงไขย ๘อสงไขย ๑๖อสงไขย มันจะไม่ยืนยันมาอย่างนั้น

เวลายืนยันมา ดูเจ้าชายสิทธัตถะเกิดที่สวนลุมพินี“เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายเราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” เพราะอำนาจวาสนาอันนั้นเป็นพระโพธิสัตว์มา เป็นพระเวสสันดรมาสละมาทั้งหมดแล้ว สละนางมัทรี สละกัณหาชาลี สละมาทั้งสิ้น การสละมาๆไม่ใช่สละมาด้วยความไม่รู้

สละมาเวลาจะสละนะ รู้เลยว่าถ้าให้กัณหา ชาลีเขาไป มันจะมีปัญหาไง ให้มัทรีไปเก็บผลไม้ ไปเก็บผลไม้ สิ่งที่ว่าชูชกเอากัณหา ชาลีไปแล้ว เดี๋ยวมัทรีกลับมาเขาจะเสียใจ พอคำว่า“เสียใจ” นะ กลับมาดุก่อนเลยนะพอกลับมาว่า“ทำไมมาชักช้า” คือกลัว ลูกมันพลัดพรากไปแล้ว ลูก ๒ คนออกจากอกไปใครมันไม่เจ็บช้ำแล้วเสียสละไปเพื่ออะไรน่ะ เสียสละไปเพื่อความเห็นแก่ตัวหรือ

ไม่เห็นแก่ตัว มันเป็นบุญกุศลร่วมกันไง ความเห็นแก่ตัวที่ไหน มันเป็นความรับผิดชอบนะ มันเจ็บช้ำน้ำใจทั้งนั้นน่ะแต่ความเจ็บช้ำน้ำใจอันนี้มันเป็นของเล็กน้อยคำว่า “เล็กน้อย” คือว่ามันสะเทือนหัวใจไงมันเป็นสิ่งที่ฝังลงกลางหัวใจเราจะหาพระโพธิญาณ เราจะหาความเป็นพระโพธิสัตว์ เราจะหาถึงสิ้นสุดแห่งทุกข์ เราต้องมีสติปัญญาของเรา การเสียสละอย่างนี้เสียสละไว้เป็นหนทางๆหนทางให้ใจมันมีอำนาจวาสนาบารมีขึ้นมา

ขนาดมีอำนาจวาสนาบารมีมา เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะยังเจ็บช้ำน้ำใจขนาดนั้นน่ะ เจ็บช้ำน้ำใจสิ เวลาจะออกบวช นางพิมพาคลอดสามเณรราหุล เข้าไปดูไม่ได้ๆ

ย้อนกลับไป ย้อนกลับไปพระเวสสันดรสิเวลาเขาขอกัณหา ชาลีไป มันเจ็บช้ำอย่างไร นี่มันก็มาเจ็บช้ำแล้วเจ็บช้ำอีก เจ็บช้ำนี่ผลของวัฏฏะผลของโลกไงถ้าผลของโลกขึ้นมา ถ้าเรามีปัญญาของเรามันไม่ลืมหรอกไอ้ที่ว่าลืมๆๆ นั่นน่ะมันปฏิเสธ มันกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเห็นแก่ตัว มันเห็นแก่ตัว มันจะสร้างอำนาจวาสนากำลังของมัน กำลังของมันมันทำให้เราพลั้งเราเผลอ ทำให้เราอยู่ในอำนาจของมัน ฉะนั้นมันจะครอบงำเราตลอดไปไง

แต่ถ้าทางโลกนะ “ลืมนึกไม่ได้ นึกไม่ได้นะ ว่างหมดเลย”

แล้วทำอย่างไรล่ะ

“จำไม่ได้นิพพานนี้จำไม่ได้ แต่เป็นนิพพานนะ”

แต่ครูบาอาจารย์เราไม่ทำอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ของเราท่านทำจริงทำจังของท่าน เวลาจริงจังของเราขึ้นมาเราก็บอกว่าอันนี้มันเป็นความทุกข์ความยาก

ความเพียรชอบศาสนาสอนถึงความวิริยะความอุตสาหะนะ แล้วความวิริยะ ความอุตสาหะแล้วมันต้องมีความชอบธรรมด้วย ถ้ามีความเพียรชอบความชอบธรรมของเขา เวลาของเขา ของกิเลสก็เรื่องหนึ่งนะ ถ้าของธรรมเรื่องหนึ่ง

ฉะนั้นความวิริยะความอุตสาหะนี่ความเพียรชอบ คนเรามนุษย์เราจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียรเราจะทำสิ่งใดประสบความสำเร็จมันก็เป็นความเพียรของเรา ความเพียรความวิริยะความอุตสาหะขึ้นมา ถ้าอุตสาหะแล้วมันต้องมีสติมีปัญญาของเราด้วย ถ้ามีสติปัญญา เราก็แยกแยะของเรา อะไรผิดนะมันทำแล้วผิดครั้งหน้าเราจะไม่ทำ ครั้งหน้าเราพยายามจะหลบหลีก เราจะทำสิ่งที่มันดีงาม แต่มันดีงามได้ไหมล่ะ พอมันดีงามมันก็เดินหลบจากกิเลสไง แล้วกิเลสมันเดินหลบไหม มันโดดกอดเลย

แต่เวลาจะเป็นธรรมๆเวลาครูบาอาจารย์ท่านสอนสิ่งใด สติคือเบรกรถสำคัญมากคือเบรก ไอ้คันเร่งๆมันยังพอแก้ไขได้ไอ้เบรก ถ้ามันมาเบรกแตก เบรกไม่ได้ ชนแหลกเลย

นี่เหมือนกัน สติยับยั้งความรู้สึกนึกคิดของเรา สิ่งที่ตัณหามันล้นฝั่งๆสิ่งที่มันไปกว้านเอาแต่ความทุกข์ความยากมา เหยียบเบรกมันไว้ เหยียบเบรกมันไว้ๆ เราต้องทำเองทั้งนั้นน่ะ สติเราเหยียบเบรกเราไว้

แต่เราทำคุณงามความดีๆ ถ้าเป็นคุณงามความดีถูกต้องดีงามเหยียบคันเร่งเลยๆ เวลามันทำขึ้นไปแล้ว มันทำมันก็เป็นวรรคเป็นตอน เป็นวรรคเป็นตอนคือสิ่งที่มันดีงามก็ทำสิ่งที่ดีงามขึ้นมา แต่เวลากิเลสมันพอกพูนขึ้นมานะเสียดาย ไม่น่าทำอย่างนั้นเลยไม่น่าทำอย่างนั้นเลย นั่นเวลากิเลสมันย้อนมา

แต่กิเลสมันไม่มีเหตุผลเหนือธรรมไปได้มันเสียดายๆ ก็เสียดายเรื่องกิเลสไง แต่มันจะมีเหตุผลเหนือธรรมไปไม่ได้ เราทำคุณงามความดีๆความดีของเราเราทำมาขนาดไหนล่ะ เวลามันนึกโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเสียดาย มันพยายามจะลืมมันลืมไม่ได้หรอก แล้วเวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ “เธอทำสิ่งใดระลึกได้ทีหลัง เสียใจร้องไห้ สิ่งนั้นไม่ดีเลย”

นี่กิเลสเวลากิเลสทำสิ่งใดที่มันผิดพลาดทำสิ่งใดที่มันไม่ดี นึกแล้วเสียใจร้องไห้ นึกแล้วเสียใจร้องไห้ทุกทีเลย ไม่ควรทำๆ แต่ก็ทำไปแล้ว ไม่ควรทำๆ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า เวลากระทำให้มีสติปัญญาสิ่งใดที่ทำแล้วระลึกถึงทีหลังว่ามันไม่ดีๆ ไม่ควรทำๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งใดที่มันทำแล้วดีงามๆ แต่กิเลสมันมาคิดแล้วเสียดายๆเราทำไปทำไมเราทำไปทำไมเห็นไหม กิเลสมันสู้ธรรมะไม่ได้หรอก มันจะเหนือธรรมไปไม่ได้ สัจธรรมๆ สัจจะความจริงๆ ทุกอย่างไม่มีอะไรจะปะทะกับความจริงได้ความจริงเป็นความจริง ความจริงอย่างนี้เป็นความจริงวิทยาศาสตร์

แต่ถ้าความจริงในธรรมๆ นะ ดูสิ จิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ที่เป็นนามธรรมๆความรู้สึกของเรามีคุณค่ามากแล้วมันเป็นนามธรรม คำว่า“นามธรรม” เราจับต้องแทบไม่ได้เลย มันอยู่ไหนล่ะ หัวใจของเรามันอยู่ไหน เราพยายามค้นคว้าหาใจของเรา ใจมันอยู่ไหน หาอย่างไรก็หาไม่เจอ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงให้บริกรรมไง ถ้าระลึกพุทโธๆ ให้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราพยายามทำความสงบของใจของเราเข้ามา ถ้าใจสงบเข้ามาแล้วเราจะได้ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลางหัวใจของเรา กลางหัวใจของเราพุทธะ

ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้เองบอกบริษัท ๔พระอานนท์ถามว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เวลาบริษัท ๔ ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไปกราบไหว้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ไหน

เธอจงไปสังเวชนียสถานทั้ง ๔ นี่เป็นการเตือนใจ เตือนใจคนที่ไม่มีที่พึ่งคนที่เหลวไหล

แต่ของเรามันมีที่พึ่ง เรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แก้วสารพัดนึกเป็นที่พึ่งใช่ไหมถ้าเรามีที่พึ่งของเรา เราจะค้นคว้าหาความจริงของเราขึ้นมา

ปริยัติศึกษามาๆ ศึกษามาเพื่อปฏิบัติใช่ไหม ถ้าปฏิบัติการประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่ออะไร ก็ปฏิบัติเพื่อจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลางหัวใจนี้ไง ถ้าระลึกพุทโธๆ นี่เป็นชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาพุทโธจนพุทโธไม่ได้เลย ตัวเป็นความรู้ ธาตุรู้เสียเอง นั่นล่ะตัวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต เราจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลางหัวใจของเรา

เวลาคนเขาไปสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เขามาเล่าให้เราฟังทั้งนั้นน่ะ เขาเป็นชาวพุทธ แต่พอเขาไปสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เขาปลื้มใจ ปลื้มใจมากๆ เลย เพราะคิดว่ามันเหมือนกับได้เฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาปลื้มใจเลย นี่เขาปลื้มใจของเขา เขาปลื้มใจมันเป็นเรื่องโลกๆ แล้วเดี๋ยวมันก็จำได้ เดี๋ยวมันก็ลืมไป ก็ต้องไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ

แต่เราพุทโธๆ ของเรา ผู้ใดกำหนดพุทโธๆ พุทโธจนพุทโธไม่ได้ พุทโธจนเป็นตัวพุทโธเสียเองจิตใจของใครเข้าไปสงบระงับในใจของตน หาใจของตนเจอโอ้โฮ! สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี

ปริยัติศึกษามาเพื่อปฏิบัติ ศึกษามาก็งง ศึกษามาก็มันจะมีจริงหรือไม่มีจริง ศึกษามาแล้วทำได้หรือทำไม่ได้ศึกษามาแล้วเราจะมีวาสนาหรือไม่มีวาสนา เวลาทำไปๆ ก็ล้มลุกคลุกคลาน ทำได้บ้างไม่ได้บ้างแต่พอมันทำของมันได้ พอมันสงบเข้าไปนะโอ้โฮ! ไอ้ที่ว่าปลื้มๆ ปลื้มใจมันเหมือนปริยัติเหมือนการศึกษาน่ะ เวลาลืมก็ต้องทบทวนๆ ไงทบทวนก็ต้องไปบ่อยๆ ไง

แต่ถ้าใครเข้าไปสู่ความสงบของใจของตน เห็นไหม พุทธะ จิตสงบแล้วมันจะเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนามาก มันจะเชื่อมั่นไง เชื่อมั่นว่ามันเป็นทางสายเดียวกันไง ความรู้สึกอันนี้ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ไงรื้อสัตว์ขนสัตว์ก็รื้อสัตว์ในหัวใจนี้ไง

เพราะรื้อสัตว์ขนสัตว์ เราก็เป็นสัตว์มนุษย์เป็นสัตว์เดรัจฉานไง ก็ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาจะมารื้อสัตว์ขนสัตว์ไง ก็จะมาสร้างยานอวกาศจะขนกันไปไง

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ด้วยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้เข้าไปในใจอันนั้นไง ชี้เข้าไปที่หัวใจอันนั้นไง ถ้าหัวใจอันนั้นได้สัมผัสไง ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคตไงมันเป็นแนวทางปฏิบัติไง

ปริยัติศึกษามา ศึกษามาเพื่อปฏิบัติเวลาปฏิบัติขึ้นมามันเกิดขึ้นมากลางหัวใจนี้ ไอ้ที่เขาไป เขาปลื้มๆ แต่ของเรานะ มัคโค ทางอันเอกไง

ทุกคนเกิดมาแล้วบอกขอโอกาสเป็นคนดี ทุกคนเกิดมาแล้วขอโอกาสทำให้ประสบความสำเร็จ ทุกคนขอโอกาสไงแล้วนี่เราเห็นช่องทางของเราเราเห็นช่องทางของเรา เราเห็นทางเดินของเราเราเห็นเป็นความจริงขึ้นมานี่ไง ใจอันนี้มันสำคัญตรงนี้ไง นี่ไง การประพฤติปฏิบัติไง เราจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลางหัวใจนี้ไง เฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการบริกรรมพุทโธๆ เข้าไปไงเวลาจิตมันสงบเข้าไปมันเป็นผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคตไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธะก็เป็นแบบนี้ไง แต่ในใจของเราก็เป็นแบบนี้ไงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ไง

สัตว์คือสัตตะผู้ข้องจิตใจที่มันข้องมันก็เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะไง ใจดวงนี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหมก็เคยเป็นมา เกิดมาเป็นมนุษย์ก็เคยเป็นมา เกิดเป็นสัตว์นรกก็เคยเป็นมาเพราะมันเคยทำผิดพลาดของมันมา ในปัจจุบันนี้มาเกิดเป็นมนุษย์อยู่นี่ไง

นี่พุทธะอันนี้ไงที่เวียนว่ายตายเกิด รื้อสัตว์ขนสัตว์ ไอ้สัตว์นั้นมันเป็นวิบากไง มันเป็นผลของการที่จิตนี้ไปเกิดไง แล้วจิตนี้มันเป็นศูนย์กลางศูนย์กลางของจักรวาลศูนย์กลางของการเกิด แก่ เจ็บตาย ถ้ามันเข้ามาสู่ศูนย์กลางของการเกิด แก่เจ็บ ตายศูนย์กลางของอำนาจไง แต่อำนาจนี้มันโดนครอบงำโดยอวิชชาไง อวิชชาครอบงำศูนย์กลางอำนาจ  อวิชชาอันนี้มันถึงทำให้จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ทำให้จิตนี้ระหกระเหินไปไง

แต่ถ้าในปัจจุบันนี้ถ้าเรามีพุทโธเข้ามาถึงหัวใจดวงนี้ไงเข้าไปศูนย์กลางของมันก็ศูนย์กลางของใจอันนี้ไง นี่พุทธะ ในการประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างนี้ ถ้าการประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างนี้ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา พอเป็นจริงขึ้นมามันซาบซึ้งมาก ไอ้ที่ว่าแหม! ไปสังเวชนียสถานทั้ง ๔แล้ว แหม! มันปลื้มใจนะ อู้ฮู! เหมือนกับได้เฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปีหน้าไปใหม่ ปีต่อไปจะไปอีก ไปให้มันมากขึ้น

การไปเราไม่ได้พูดถึงความเสียหาย เราพูดถึงวุฒิภาวะของความรู้สึกวุฒิภาวะของคนที่สูงต่ำ คนที่ไม่มีหลักเกณฑ์ก็ต้องทำกันอย่างนั้นคนที่มีหลักมีเกณฑ์เขาก็มีจุดยืนของเขาดูสิ ฤๅษีชีไพรเขาประพฤติปฏิบัติในป่าของเขาเขาจะไปเฝ้าใคร

ครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติในป่านะ ดูสิหลวงตาท่านพูดถึงหลวงปู่มั่นไงเวลาท่านทำสิ่งใด ท่านสงสัยสิ่งใด ท่านย้อนไปเลยนะ เวลาท่านบรรลุธรรมต่างๆท่านมีเกร็ดของธรรมประกาศกลางหัวใจ พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลมาอนุโมทนา มาอนุโมทนาเพราะอะไร เพราะหวังพึ่ง หวังให้ศาสนทายาทสืบต่อกันไปไง ถ้ามันมีคนชี้นำ มีคนชักนำขึ้นมา มันจะมีคนที่ขวนขวาย คนที่ขวนขวายแล้วไม่มีอำนาจวาสนา ขวนขวายขนาดไหนก็มืดบอดไง

เวลาหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นท่านพยายามขวนขวายของท่าน ท่านทุกข์ยากของท่านพยายามจะปรึกษากัน หาทางออกกัน มีอำนาจวาสนามากน้อยขนาดไหนไง แต่หลวงปู่มั่นท่านพยายามขวนขวายของท่าน ท่านพิสูจน์ในใจของท่านท่านทำของท่านเป็นความจริงของท่าน เป็นความจริงของท่านแล้วท่านจะเทศนาว่าการ

หลวงปู่ตื้อท่านเป็นคนสอนง่ายๆ หรือหลวงปู่พรหม ในประวัติของท่านท่านพูดเอง ท่านเป็นเศรษฐีเก่านะ เวลาชื่อเสียงหลวงปู่มั่นร่ำลือมหาศาล พอท่านไปเจอหลวงปู่มั่นครั้งแรกน่ะ“โอ้โฮ! ชื่อเสียงคับฟ้า ตัวเล็กๆ” นี่เวลาหลวงปู่เจี๊ยะก็เล่า หลวงตาก็เล่า

แต่ถึงเวลาหลวงปู่มั่นท่านรู้ถึงความคิดไง เวลาหลวงปู่พรหมเข้ามานะ “อย่าดูคนที่ภายนอก อย่าดูคนที่รูปลักษณะ” นี่หลวงปู่มั่นท่านแย็บนะสุดท้ายแล้วท่านแก้ไข ท่านชี้ทางจนหลวงปู่พรหมเพราะว่าเวลาท่านเผาแล้วอัฐิท่านเป็นพระธาตุหมด นี่! นี่ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านเป็นคนขวนขวาย ท่านเป็นคนชี้นำๆ

เวลาคนที่จะชี้นำ หลวงปู่มั่นท่านทำของท่านมาขนาดไหน ท่านขวนขวายของท่าน ท่านทำของท่านมาด้วยอำนาจวาสนาของท่าน ท่านปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ท่านมีอำนาจวาสนามาถึงทำของท่านได้ไง

นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมามันลึกซึ้งๆ จะสอนใครได้หนอจะบอกเขาได้อย่างไร

แต่เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียบง่าย เป็นจริง มันเหมือนกับเส้นผมบังภูเขามันอยู่ในหัวใจของเรานี่แหละมันอยู่ที่ธาตุรู้นี่แหละ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ จะรื้อสัตว์ขนสัตว์หัวใจของเรา จะรื้อสัตว์ในใจนี้เราพยายามฝึกฝนของเราควบคุมหัวใจของเราให้เข้าใกล้สู่พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึกเป็นที่พึ่งที่อาศัย เราช่วยตัวเองไม่ได้ เราก็อาศัยพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

เวลาคนโบราณ เวลาคนเขาตกใจ พุทโธๆ ตลอด เขาระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราต้องระลึกของเรา รักษาของเรา ดูแลของเรา ดูแลของเราเพื่อให้เราเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธในใจไง วุฒิภาวะไง เราจะเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลางหัวอกนี้ เราจะหายใจเข้านึกพุทหายใจออกนึกโธอยู่ที่ความสงบสงัดมันก็มีความสุข ไม่ต้องไปหาความสุขที่อื่นหรอก สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้าจิตสงบระงับอยู่ในบ้านเราก็สุข อยู่ที่ไหนก็สุข แต่ที่มันทุกข์มันยากเพราะกิเลสมันทิ่มมันตำ กิเลสมันพยายามจะทำให้เราไป แล้วก็โฆษณาชวนเชื่อเห็นเขาไปเห็นเขามากันแล้วอยากจะเป็นอย่างเขา

สุขๆ อยู่อย่างนี้ จะไปทุกข์อย่างเขาใช่ไหม อยู่สงบระงับอย่างนี้มันมีความสุขอย่างนี้ จะต้องไปแบกหามกับเขาใช่ไหม จะต้องไปเดือดร้อนอย่างนั้นหรือเขามีแต่หาความสงบระงับ เขาไม่ได้ไปหาความเดือดร้อน

ถ้าหาความสงบระงับ เราต้องสงบระงับเข้ามาในหัวใจของเรา ถ้าหัวใจมันสงบระงับ ครูบาอาจารย์ท่านเป็นจริงๆ แล้ว ท่านมีความสุขของท่านใจนี้มีความสุขอันนี้สำคัญ หัวใจมันสงบระงับแล้วทำไมจะต้องเดือดร้อนล่ะทำไมจะมาปั่นป่วนให้มันเดือดร้อนกันนัก ไอ้ที่มันเดือดร้อนเพราะมันไม่สงบไง ถ้าไอ้สงบแล้วมันสงบได้ สงบแล้วรื้อสัตว์ขนสัตว์ในใจของเราเอวัง