เทศน์บนศาลา

โลกเสรีไม่มี

๖ ก.พ. ๒๕๕๑

 

โลกเสรีไม่มี
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจ ตั้งใจฟังธรรม เราเกิดมามีอำนาจวาสนานะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาพระโพธิสัตว์ตรัสรู้ได้แต่องค์เดียว ถ้าไม่มีธรรม จะตรัสรู้ได้ก็ต้องเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า แต่เราเกิดมามีธรรมะอยู่แล้ว เพราะธรรมะ ทำให้โลกเจริญ โลกเจริญที่ไหน? โลกเจริญด้วยสังคมร่มเย็นเป็นสุข

ถ้าสังคมร่มเย็นเป็นสุข การทำมาค้าขาย ทำธุรกิจของเขา มันก็จะสะดวก เพราะอะไร? เพราะมันไม่มีการเบียดเบียนกัน ไม่มีการกลั่นแกล้งกัน จนโลกเขาว่าเป็นโลกเสรี เขาว่าเป็นโลกเสรีนะ คำว่าโลกเสรี โลกเสรีไม่มีหรอก โลกเสรีไม่มี โลกมันจะเสรีได้อย่างไร? ในเมื่อมันเป็นโลก ธรรมสิเสรี ธรรมะเสรี แต่ธรรมเสรีนั้นมาจากไหน? ธรรมเสรีมันต้องเป็นธรรมความเป็นจริง

แต่นี่มันธรรมโลกๆ นะ เพราะความเข้าใจผิดของเรา ชาวพุทธเข้าใจผิด ทั้งๆ ที่เจอธรรมะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เวลาเทวดาเขาอวยพรกัน ถ้าหมดอายุขัยของเขา เขาอวยพรกัน ด้วยวุฒิภาวะของเทวดา “ขอให้ได้เกิดเป็นมนุษย์เถิด เกิดมนุษย์เถิดแล้วพบพระพุทธศาสนา เพื่อได้ทำคุณงามความดี ได้เกิดมาเป็นเทวดาอีก” นี่เทวดาเขาอวยพรขนาดนั้นนะ

เราเกิดเป็นมนุษย์ตามที่เทวดาเขาอวยพรกัน แต่ไม่ได้เกิดเพราะเทวดาอวยพร เกิดเพราะกรรมของเรา เกิดเพราะการทำดีของเรา การเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์สมบัติ มีศีล ๕ เกิดเป็นมนุษย์แล้ว ผู้ที่มีอายุสั้น ผู้ที่มีอายุยาว เกิดมาแล้วได้รูปสมบัติมาที่สวยงาม เกิดมาแล้วขี้ริ้วขี้เหร่ เกิดมันมาจากไหน? มันมาจากกรรม มาจากการกระทำ

ถ้าเราทำความดีมา อายุเราอายุมั่นขวัญยืน เขาว่าอย่างนั้นนะ เขาให้ศีลให้พรกัน เขาให้ศีลให้พรกันโดยสามัญสำนึก โดยความปรารถนาดี แต่มันเป็นความจริงอย่างนั้นไหม? ถ้ามันจะเป็นความจริง ความจริงก็เกิดจากการกระทำของเรา

ดูสิ! เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เป็นโอวาทสุดท้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย” จงพิจารณาสังขาร สังขารๆ ร่างกายก็ได้ สังขารความคิดความปรุงความแต่งก็ได้ ด้วยความไม่ประมาทเถิด

สิ่งที่ไม่ประมาท ถ้าเราไม่ประมาท เราดูแลรักษาเรา มันขึ้นอยู่ที่การกระทำของเรา เขาจะอวยพรไม่อวยพร มันอยู่ที่การกระทำของเรา มันอยู่ที่กรรม การเกิดมาเป็นมนุษย์นี่มนุษย์สมบัติ แล้วเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์สมบัติของเรามีคุณค่า มีคุณค่ามาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมาขนาดไหน เวลาจะตรัสรู้ก็ตรัสรู้ในภพของมนุษย์

เราก็เป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์มันมีสิ่งที่พร้อม พร้อมกับการดำเนินการของเรา เพราะเรามีธาตุ ๔ เรามีร่างกาย เรามีสิ่งที่ต้องการอาหาร แล้วเรามีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คือความคิดความปรุงความแต่ง แล้วมันเป็นธรรมหรือยัง? มันไม่เป็นธรรม ไม่เป็นธรรมเพราะอะไร? เพราะว่า เพราะมันเป็นเรื่องของโลก โลกเสรี การปฏิบัติเสรี

เอาธรรมะมาใช้เป็นชีวิตประจำวัน พูดกันนะ พูดกันให้เป็นเรื่องของโลกๆ ศึกษาธรรม ศึกษาธรรมมาปฏิบัติธรรม มาใช้ชีวิตประจำวัน ชีวิตประจำวันนี่ชีวิตเกิดตาย! ชีวิตเรื่องโลกๆ! แล้วเอาธรรมะมาเป็นบาทฐานเหยียบมันขึ้นไป เหยียบขึ้นไปเพื่อศักยภาพ ว่าเรานี้เป็นชาวพุทธ ได้ใช้ชีวิตประจำวัน เป็นผู้ที่ฉลาดเห็นไหม เป็นผู้ที่ฉลาดใช้ธรรมะเป็นประโยชน์ไง

เวลาบวชแล้วต้องเป็นมรรคผลนิพพาน ต้องเป็นนักบวช ต้องเป็นพระเท่านั้นถึงจะประพฤติปฏิบัติ ธรรมอยู่กับพระไม่อยู่กับเรา เวลาสุขมันทุกข์มันอยู่ที่ใคร? มันสุขมันทุกข์มันอยู่ที่เราทั้งนั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อุบาสก อุบาสิกาสมัยพุทธกาลเป็นพระอรหันต์มหาศาลเลยเพราะอะไร? เพราะเขาใฝ่ใจ เขาใฝ่ใจนะ การประพฤติปฏิบัติประพฤติที่ใจ ไม่ใช่ประพฤติที่เพศหรอก เพศหญิง เพศชาย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มันเป็นเพศ เพศเพราะเป็นกรรม

เขามาถามบ่อย ทำไมมาเกิดเป็นผู้หญิงล่ะ? ทำไมมาเกิดเป็นผู้ชายล่ะ? ก็เกิดเพราะความแรงปรารถนาของเอ็งไง แรงปรารถนาของจิต ดูสิ! ดูพระอานนท์สิ พระอานนท์เป็นเอตทัคคะ เคยเกิดเป็นผู้หญิงมาก่อน เคยเป็นผู้หญิงนะ แล้วด้วยแรงปรารถนา ๕oo ชาติ การเกิดต่างๆ มันก็เกิดมาเป็นผู้ชายได้ เกิดเป็นผู้ชายเกิดมาแล้วมีบุญกุศลด้วย บุญกุศลเกิดมาจากไหน? เกิดจากการกระทำ เกิดจากแรงปรารถนา

แล้วที่เกิดมานี้ แรงปรารถนา ใจเหมือนกัน ใจเหมือนกันแต่เกิดแล้ว ดูสิ! ชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ เกิดเป็นหญิงก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง มันมีความอาลัยอาวรณ์เป็นเพศของแม่ ต้องดูแลครอบครัว ต้องต่างๆ เกิดเป็นผู้ชาย ผู้ชายก็เป็นเจ้าบ่าว เป็นบ่าวเขา เป็นบ่าวเป็นไพร่ ต้องหาอยู่หากิน มันทุกข์ทั้งนั้น ต่างคนต่างน้อยเนื้อต่ำใจ ต่างตนต่างคิด คิดว่าเกิดเป็นทางโน้นจะดีกว่า เกิดเป็นทางนี้จะดีกว่า มันคิด มันไม่มีอะไรดีหรอกเรื่องของโลก

เรื่องของโลกก็เรื่องความยอมจำนน เรื่องของโลก โลกเรานะ โลกคือความเป็นไป โลกคือสมมุติ สิ่งสมมุติบัญญัติมันเป็นสภาวะแบบนี้ แล้วเราเกิดมาอยู่สภาวะแบบนี้ เราเกิดสภาวะแบบนี้มันก็วนไป พูดถึงสมบัติ เรื่องของโลกเสรีๆ ถ้าเป็นสมบัติ มันเป็นสมบัติ จริงๆ ชีวิตนี้มีคุณค่ามาก ดูสิผู้บริหารจัดการ ผู้ที่มีครองโลกต่างๆ เขามาจากไหน? เขาต้องมีชีวิตนะ เขามีชีวิตของเขา เขารู้จักการบริหารจัดการของเขา เขามีปัญญาของเขา

แต่ปัญญาของเขานี่ปัญญาโดยกิเลส โลกคือกิเลส โลกคือการเบียดเบียน โลกคือตัณหาความทะยานอยาก ตัณหาทะยานอยากมันตั้งอยู่บนอะไร? มันตั้งอยู่บนชีวิต มันตั้งอยู่บนไออุ่น นี่คือโลกทั้งนั้น ในการประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ ดูสิ! เอาศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน ฟังแล้วเศร้านะ เอาศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน

ชีวิตประจำวันมันมีอะไร ๒๔ ชั่วโมง พิจารณามัน วันหนึ่งมันมีอะไร? แล้ววันหนึ่งของเทวดาเขามีอะไร? วันหนึ่งของพรหมเขามีอะไร? แล้ววันหนึ่งของพระอรหันต์มีอะไร? พระอรหันต์ไม่เป็นทาสของเวลา วันเวลาไม่มีความหมายเลย วันเวลาเป็นเรื่องธรรมชาติของมัน มันเป็นเรื่องธรรมชาติของมัน แต่จิตมันพ้นไปจากกาลเวลา จิตมันพ้นไปจากมิติ จิตมันพ้นไปจากทุกๆ อย่างเลย แล้วชีวิตประจำวันอยู่ไหน?

“พระอรหันต์มีราตรีเดียว” ผู้ที่มีราตรีเดียวก็คือว่าพระอรหันต์นี้ไม่เคยนอนเลย ไม่เคยนอน พระอรหันต์ต้องเอาไม้ค้ำตาไว้ ไม่ให้มันหลับมันนอน ราตรีเดียวคือมันหนึ่งเดียว วันเวลาก็คืออย่างนี้ มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนี้ “สอุปาทิเสสนิพพาน” จิตที่มันพ้นออกไปแล้ว มันจะไปติดอะไร? นั่นแหละธรรมเสรี ธรรมะเสรี เห็นไหม

ธรรมะเสรี ธรรมะอะไร? ธรรมะเสรีคือการกระทำ เพราะถ้าไม่เป็นธรรมความเสรีของมันจะเกิดขึ้นมาจากไหน? ถ้ามันไม่มีการกระทำของมันขึ้นมา การกระทำของธรรมอยู่ที่ไหน? นี่มันทำแบบโลกไง มันทำแบบโลก เราเกิดมาจากโลกนะ พวกเราเกิดมาจากโลก เกิดมาจากปฏิสนธิจิต คือตัวโลก ตัวภพ ตัวภพคือตัวใจ ตัวใจมันตัวเกิด ตัวเกิดมันมีพื้นฐาน มันมีของมันแล้ว มันต้องเป็นไปตามสภาวะของมันโดยธรรมชาติของมัน

แต่บุญกรรม อำนาจวาสนาของคน เชาว์ปัญญาของคน ความรู้สึกของคน ความเห็นประโยชน์ เห็นเภทเห็นภัย เห็นโทษเห็นภัย ถ้าเห็นโทษเห็นภัย เกิดมานี้ โทษภัยมันไม่มีใครทำให้ โทษภัยคือกาลเวลา โทษภัยคือการสิ้นอายุขัย มันเป็นโทษเป็นภัยเพราะใจเราเอง เพราะใจเราไม่เข้าใจใจเราเอง เราถึงจะเป็นโทษเป็นภัยกับใจของเราเอง เพราะเป็นโทษเป็นภัยเราถึงลืมตัว ลืมตัวเราถึงใช้ชีวิตแบบโลกๆ แล้วก็มาใช้เล่ห์กลกัน

โลกเสรี โลกเสรีเพื่ออะไร? เพื่อไม่ให้คอยจับผิดกัน เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้มาย่ำยีทรัพยากรของบุคคลอื่น สิ่งที่เป็นสมบัติสาธารณะ สมบัติในโลกนี้ ทรัพยากรเป็นสมบัติของสาธารณะ ทุกคนก็มีสิทธิใช้สอย โลกนี้ต้องเสรีทั้งหมดเลย แล้วถึงเวลาโลกร้อนขึ้นมา ถึงเวลาที่ทรัพยากรหมดไป แล้วมันเสรีที่ไหนล่ะ? เสรีคือทุกข์ร่วมกัน เสรีคือทุกข์เสรี มีทุกข์เสรี มีความแบกภาระโดยเสรี แล้วสิ่งที่มาแก้ไข เอามาจากไหน? ก็เอามาจากสิ่งที่บีบคั้นกันมา

สิ่งที่เอาเปรียบ เอารัดเอาเปรียบกัน โลกเสรีๆ เสรีโดยกิเลส! ไม่มี! ไม่มีหรอก! อยู่ในกรงขังของกิเลสทั้งหมด อยู่ในกรงขังของกาลเวลาทั้งหมด อยู่ในการเกิดและการตาย อยู่ในการเศร้าหมอง อยู่ในความทุกข์ทั้งหมดเลย ไม่มีเสรี ถ้าเป็นเสรีขึ้นมาต้องเป็นธรรม ถ้าธรรมมันจะเสรีขึ้นมาได้อย่างไร? ถ้ามันเสรีขึ้นมามันต้องมีจิตเป็นสาธารณะ มีจิตเป็นสาธารณะ เป็นสาธารณะ มันไม่หน่วงเหนี่ยวหัวใจมันให้กักขังใจมันไว้ มันปล่อยใจมันให้เป็นสาธารณะ ปล่อยใจให้เป็นสิ่งเห็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ส่วนรวมเห็นไหม

พอเห็นผลส่วนรวม มันก็ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น เพราะมีความยึดมั่นถือมั่นนะ ดูสิ! ดูทรัพย์สินทางปัญญา ใครพิสูจน์ใครคิดทดสอบสิ่งต่างๆ มา ต้องจดลิขสิทธิ์เอาไว้ เอาไว้ขูดรีดกัน แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยบอกพระอานนท์ “อานนท์ไม่มีกำมือในเรานะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบอยู่ตลอดเวลาเลย” แล้วต้องการปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ด้วย รื้อสัตว์ขนสัตว์นะ ให้ทุกคนมีสิทธิ ให้ทุกคนเข้าใจสภาวะตามความเป็นจริง

ถ้าเข้าใจตามจริง แต่พวกเราเองนี่แหละ ศึกษาขึ้นมาแล้วด้วยโดยโลก เอาโลกเข้าไปศึกษา โลกเสรีเลยกลายเป็นกิเลสขี่ธรรมไง กิเลสเสรี! ศึกษาขึ้นมา ธรรมะต้องเป็นอย่างนั้น เวลาจะประพฤติปฏิบัติธรรมก็กอดไว้เลย กลัวจะผิดพลาด กอดธรรมะไว้นะกลัวผิดพลาด แล้วมันผิดตลอดไป ผิดตลอดไปเพราะอะไร? เพราะจิตใจเราไม่เป็นสาธารณะ เราไม่ศึกษาตามความเป็นจริง เราจะศึกษาให้เป็นของๆ เรา ศึกษาเป็นของเรา ตัวโลกคือตัวเรา คือตัวใจ ศึกษาโดยใจ

มันเป็นเรื่องของใจแน่นอน มันเป็นเรื่องของโลกแน่นอน เพราะเราเกิดมาจากโลก เราปฏิเสธชีวิตเราไม่ได้นะ เราเกิดมาจากกรรม กรรมทำให้มีแรงขับให้เราเกิด เราเกิดจากพ่อจากแม่ เกิดจากพ่อจากแม่ขึ้นแล้วเรามีศรัทธามีความเชื่อ มีศรัทธาความเชื่อ ถ้าเราอยู่ในสังคมในบริษัท ๔ อุบาสก อุบาสิกา เราต้องมีอาชีพ เราต้องมีงานทำ เราต้องมีรายได้ขึ้นมาเพื่อจะเลี้ยงธาตุเลี้ยงปากนี้

การเลี้ยงปากขึ้นมา เราต้องการใช้อะไรมาเลี้ยงปากล่ะ? ต้องใช้หน้าที่การงาน การทำงานของเรา เราจะทำงานที่เรามีการศึกษา เรามีเชาว์ปัญญา เราทำงานของเราเพื่องานบริหารจัดการ กับงานที่เขาแบกหามกัน โดยธรรมชาติของเขา มันก็คนละงาน งานนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? งานนี้เกิดมาด้วยการศึกษา เกิดมาด้วยศึกษา ด้วยประสบการณ์ ด้วยการบริหารจัดการขึ้นมา

บริหารจัดการมันคืออะไร? ก็มันคือความรู้สึก มันคือขันธ์ ๕ มันคือความรู้สึก มันเป็นความคิด มันเป็นบริหารจัดการด้วยความคิด ด้วยใช้เชาว์ปัญญา เชาว์ปัญญานี้มันก็คือการศึกษา มันก็เกิดการกระทำ นี่ไงมันสะสม มันสะสมกันมา มันเป็นจริต เป็นนิสัย เป็นความเห็นของใจ ถ้าเป็นความเห็นของใจ สิ่งที่ทำอย่างนี้ขึ้นมา โลกเขาก็ต้องศึกษากันอยู่แล้ว

ดูธรรมะเราก็เหมือนกัน บวชมาแล้ว เราเห็นทางโลกเขาทำงานต้องเป็นอาชีพรับผิดชอบ มันเป็นการเนิ่นช้า เราเสียสละ เสียสละมาเพื่ออะไร? เพื่อเป็นนักบวช นักบวช เพศของนักบวช องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกวางธรรมและวินัยไว้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อุบาสก อุบาสิกานี่เขาทำบุญกุศลของเขา เขาปรารถนาทำความดีของเขา แต่เขามีภาระรับผิดชอบ เขารับผิดชอบของเขา เขารักษา เขาทำหน้าที่ของเขา

นักบวช เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง ปลีแข้งนะ หาเลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง ออกบิณฑบาต ออกบิณฑบาต มันเป็นสังคม สังคมที่อยู่รอดไป เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้อย่างนี้ ให้บริษัท ๔ ให้มีกิจกรรมในการกระทำ ให้หัวใจมันเกี่ยวกับศาสนาไว้ เกี่ยวศาสนาไว้คือว่า ให้รู้สึกเห็นโทษเห็นภัย เห็นคุณงามความดี เห็นคุณงามความดีอันละเอียด

ดูสิ! สมบัติทางโลก เขามีตัวเลขกัน เขามีบัญชีกัน เขารู้แจ้งยอดกันว่า เขามีเงินมีทองกันเท่าไหร่ แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรา สิ่งที่เป็นคุณธรรม สมาธิก็เป็นหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา สิ่งที่เป็นสติปัญญา สิ่งที่เป็นมรรคเป็นผลขึ้นมาในหัวใจ มันเป็นนามธรรมทั้งนั้นเลย แล้วนามธรรมมันสื่อกันมาได้อย่างไร? มันสื่อมาด้วย ธรรมสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง

ระยะทางการเดิน การก้าวเดินของระยะทาง เขามีระยะทาง เขาเรียกว่าความใกล้ความไกลของเขาเท่าไหร่ ด้วยสติของเขา เขาคำนวณของเขาได้ แต่เรื่องของหัวใจล่ะ? เรื่องของความรู้สึกล่ะ? สิ่งที่เข้าถึงกันมันถึงกันหมด แต่ระยะทางมันตายตัวนะ ๑ กิโลเมตร ๑oo กิโลเมตร ก็คือคำนวณที่ได้ระยะทางอย่างนั้น ถึงจะเป็น ๑ กิโลเมตร ๑oo กิโลเมตร ใช่ไหม?

แต่ในการประพฤติปฏิบัตินะ โสดาบัน สกิทาคา อนาคาน่ะ โสดาบันเหมือนกัน แต่ระยะการกระทำไม่เหมือนกัน การเดินทางมาไม่เหมือนกัน สิ่งที่เหมือนกัน มันดูระยะทางมันเท่ากันไหม? เป้าหมายคืออันเดียวกัน แต่ระยะทางการก้าวเดินไปไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันเพราะอะไร? ไม่เหมือนกันเพราะว่าเดินทางใจ ใจมันจะเดินเข้าไปหาตัวของใจเอง

ถ้าเดินทางใจ ถ้าเดินถูกทาง ก็จะเข้าถึงทางนั้น แล้วเราเดินถูกทางไหมล่ะ? ถ้าเดินถูกทางปฏิบัติโดยโลกไง ปัจจุบันนี้ปฏิบัติโดยโลกๆ โลกๆ คือต้องทำสภาวะแบบโลก เอาโลกมาเป็นตัวตั้งนะ มันเป็นเรื่องของโลกแน่นอน แน่นอนเพราะจิตมันเป็นโลกอยู่แล้ว จิตนี้มีกิเลส มีกิเลสมันมีที่ตั้ง ที่ตั้งปฏิสนธิจิต ถึงเกิดในไข่ เกิดในครรภ์ เกิดในน้ำคร่ำ เกิดในโอปปาติกะ

เกิดในโอปปาติกะเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เกิดในโอปปาติกะเขาเกิดขึ้นมา ร่างกายเขาสมบูรณ์ขึ้นมาของเขาเลย สมบูรณ์โดยทิพย์ สมบูรณ์โดยนามธรรม แต่เราเกิดมาในครรภ์ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราเกิดขึ้นมาแล้วต้องมีอาหารเลี้ยงร่างกายขึ้นมา สิ่งที่เลี้ยงเข้าไป สิ่งนี้มันดำเนินไป ดำเนินไปเพื่อให้ชีวิตนี้สืบต่อไป

การสืบต่อ การประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ในหัวใจ ถ้ามันเป็นระยะทางที่เราวัดกัน เราวัดกันอย่างนั้นใช่ไหม แต่การวัดกันด้วยการวิธีประพฤติปฏิบัติ ในการประพฤติปฏิบัติ เชาว์ปัญญาของคน นั่งสมาธิ นั่งสมาธิในเวลา ๑ ชั่วโมงเหมือนกัน บางคนได้รับความสงบ บางคนไม่ได้รับความสงบสิ่งใดใดเลย แต่มันมีประสบการณ์เหมือนกัน

ในการวิปัสสนาเหมือนกัน ในการกระทำไป มันก็มีโอกาสของมัน โอกาสของมัน มันต้องให้เป็นตามความเป็นจริง นี้เป็นธรรม สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัญญาของคนมันหยาบละเอียดต่างๆ กัน หยาบละเอียดแล้วมันให้ผลต่าง สุตมยปัญญาคือการศึกษา เราศึกษาทางวิชาการที่ศึกษานี้คือสุตมยปัญญา

จินตมยปัญญา จินตมยปัญญาถ้าจิตมันเป็นสมาธิ จิตมีสมาธิแล้วเราออกใช้ปัญญา มันเป็นจินตมยปัญญา เพราะมันใช้กำลังของสมาธิ มันใช้กำลังของเรา มันใช้ความเป็นไปของเรา ที่ว่าปฏิบัติเป็นโลกนะ ปฏิบัติเป็นโลกมันไม่เข้าถึงธรรม ไม่เข้าถึงธรรมเพราะอะไร? ไม่เข้าถึงธรรมเพราะเราปฏิบัติโดยโลก ก็อยู่กับโลก มันไม่เป็นธรรม

ไม่เป็นธรรม ถ้ามันไม่เป็นธรรมเพราะอะไร? ไม่เป็นธรรมเพราะมันเป็นโลกียปัญญา ไม่เป็นธรรมเพราะมันคิดบนโลก คิดบนความรู้สึก คิดโดยเรา ถ้าคิดโดยเรานะ เราปฏิบัติ แล้วเราบอกใช้ชีวิตประจำวัน ใช้ชีวิตเพื่อเป็นประโยชน์กับเรา แล้วมันเป็นประโยชน์ไหม? มันเป็นประโยชน์เพราะมันผ่อนคลาย เราทุกข์ยากมาก เราเหนื่อยมาก เราได้พักผ่อน เรามีความพอใจไหม?

จิตนี้มันล้ามาก ความกดดันของทุกข์ มันกดดันตลอดไป แล้วมันได้ผ่อนคลายขึ้นมา แล้วเราว่าสิ่งนี้เป็นธรรม นี่ไง! เพราะมันขาดครูขาดอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าธรรมะเป็นอย่างนี้เลย ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอกาลรอเวลา ปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ แต่เช้าขึ้นมาต้องเล็งญาณ เล็งญาณว่าวุฒิภาวะของจิตดวงใด มีสถานะที่จะรองรับภาวะของอริยธรรมนี้ได้ แล้วชีวิตนี้สั้น ไปเอาคนนั้นก่อน

ไปเอาคนนั้นก่อน ไปเอาคนนั้นเพราะอะไร? ถ้าเขามีปัญญาของเขา เขาจะมีความสนใจ ดูสิ! ดูอย่างพระองคุลิมาล สนใจมาก อยากมากแต่ไม่มีคนสอน หรือคนสอนก็สอนให้ไปในทางที่ผิด ทั้งๆ ที่ปรารถนาดี แต่สอนในทางที่ผิด เอาวิชาการต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเล็งญาณ ถ้าไม่ไปวันนี้นะ พระองคุลิมาลจะต้องฆ่าแม่ ฆ่าแม่นี่มาตุฆาต แล้วจะไม่มีโอกาสได้เข้าถึงมรรคผลอีกเลย ถึงจะต้องไปเอาองคุลิมาลก่อน เคลื่อนไป องคุลิมาลวิ่งตามไม่ทัน วิ่งขนาดไหนก็ตามไม่ทัน

“สมณะหยุดก่อน สมณะหยุดก่อน”

“เราหยุดแล้ว”

“หยุดแล้วทำไมวิ่งตามไม่ทัน? ”

“เราหยุดทำความชั่ว เธอยังทำความชั่วอยู่”

ธรรมะอย่างนี้ มันแทงเข้าไปที่ใจ วางดาบเลย ขอบวช ขอบวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมีเชาว์ปัญญา นี่ไงสถานะของพระอรหันต์มันมี เล็งญาณรื้อสัตว์ขนสัตว์นะ เพราะสถานะของพระอรหันต์มี แล้วเราล่ะ? เราก็มีชีวิต เราก็มีความปรารถนา แล้วสถานะพระอรหันต์เราอยู่ไหน? ถ้าสถานะพระอรหันต์..

เชาว์ปัญญาเรามาจากไหน? ทำไมเราคิดไม่เป็น ทำไมเราไม่คิดถึงชีวิตของเราเลย ถ้าเราคิดถึงการกระทำของเรา การกระทำ การกระทำ นี่ก็ว่าการกระทำแล้ว การกระทำโดยโลก ถ้าโลก โลกมันก็ตู่ ตู่ว่านี่คือประพฤติปฏิบัติธรรม แล้วจะได้ประโยชน์มาก ได้ประโยชน์มากต้องทำตามความเห็นของเรา นี่ปฏิบัติโดยโลกแล้วก็อยู่กับโลก เพราะมันไม่ทำ ไม่ปล่อยให้เป็นสัจจะความจริง

ถ้าปล่อยเป็นสัจจะความจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ศีล สมาธิ ปัญญา มีศีลก่อน ศีลควรปกติก่อนเพราะอะไร? เพราะเราทำโดยโลกใช่ไหม? ก็จินตนาการของโลกว่าทำสมาธิ ก็ทำสมาธิกันเลย อะไรก็ได้ขอให้มันจับยัดให้มันเป็นสมาธิขึ้นมาให้ได้ มันก็ได้ ได้ด้วยอะไร? ได้ด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นสมาธิก็เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะอะไร เพราะไม่มีศีล

ถ้ามีศีลขึ้นมา มีศีลก็ไม่ได้ มีศีลมันขัดแย้งกับกิเลสไง กิเลสในหัวใจมันเป็นโลก แล้วโลกเป็นใหญ่ โลกนี้เสรี ความคิดต้องเสรี ก็เสรีเลย คิดอะไรก็คิดกันไป ถ้าเป็นปาณาติปาตา การทำชีวิตให้ตกร่วงเป็นผิดศีล ๕ ลักทรัพย์ พูดปด พูดโกหก มุสา นี่ปาจิตตีย์ๆ ถ้าเป็นพระ ถ้าเป็นโยมก็ศีล ๕ ขาด

ถ้าเราควบคุมมัน เราควบคุม เราไม่โกหก เราโกหกนะ โกหกตัวเอง ดูพระสิ! พระ เวลาจำพรรษา แล้วขาดพรรษาไปเป็นอาบัติ เป็นปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์เพราะอะไร? เพราะโกหกตัวเอง ตัวเองตั้งใจว่าจะจำพรรษาที่นี่ แล้วอยู่ไม่ได้ ขาด ขาด ขาด โกหกตัวเอง ขาดพรรษา ขาดทุกๆ อย่างไปเลย ถ้ามันโกหกขึ้นมา สิ่งที่โกหกตัวเอง สิ่งที่เป็นโทษ เวลาเป็นสมาธิมันจะเป็นไปทางไหน

ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือการปกติของใจ ถ้าใจปกติ ถ้ามันเป็นสัมมาทิฏฐิ มันเป็นความถูกต้อง ปฏิบัติธรรมโดยธรรม มันจะมีพื้นฐานของมัน เป็นสเต็ปมันขึ้นไป จากจิตที่เป็นปกติ จากที่มีความศรัทธา ความเชื่อ เราจะมีศรัทธาความเชื่อนะ เชื่อในอะไร? เชื่อในสัจธรรม สัจธรรมนะ! ไม่เชื่อตัวเอง!

ถ้าเชื่อตัวเอง ตัวเองมันจะพาไปไหน? ตัวเองพาอยู่ในโลก พาอยู่ในกิเลส พาอยู่ในความคิด จินตนาการเอา มรรคผลนิพพานจะเป็นสภาวะแบบนี้ แล้วก็สร้างภาพ ว่างๆ ว่างกันไป มันสร้างขึ้นมา มันไม่ได้เป็นความจริงสร้าง สร้างนะ แล้วสร้างนี้ไม่สมจริงด้วย สร้างได้สิ่งที่รู้ เราคิดขึ้นมา เราคิดสิ่งที่เรามีอยู่ เราเข้าใจอยู่แล้ว เราสร้างภาพได้

แต่สิ่งที่เราไม่รู้ โสดาบันเราไม่รู้หรอก สิ่งใดเราไม่รู้ แต่ว่าว่างๆ คำว่าว่างๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปล่อยไปให้เป็นความว่าง เราก็ว่างอยู่แล้ว ว่างแบบไม่มีผลตอบแทน ว่างแบบโลก ว่างแบบไม่มีผู้ที่บริหารจัดการ แต่ถ้าเป็นความว่างของอริยภูมิ มันไม่เป็นว่างอย่างนั้นหรอก เพราะมีขอบเขต ว่างของอริยภูมิว่างมีขอบเขต แล้วมีเจ้าของ

ดูสิ! สมบัติของเรา เราคนเป็นเจ้าของ เราจะไม่รู้ได้อย่างไร ว่าสมบัติเรามีเท่าไหร่ สิ่งที่เราเก็บนะ แก้วแหวนเงินทองของเรา เราจะรู้หมด เพราะเราเป็นคนเก็บเข้าที่ของเราเอง นี่เหมือนกัน เราประพฤติปฏิบัติ เราต้องรู้ของเราสิ ถ้าเรารู้ของเรา สิ่งนั้นเป็นผลแท้ แล้วว่างๆ ว่างๆ มันเอาอะไรมาเริ่มต้น เอาอะไรมาสิ้นสุด

ว่างทางโลกใช้ไม่ได้ ว่างของโลกๆ ใช้ไม่ได้ แต่ว่างของเราเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิมันต้องเห็นตามความเป็นจริง ถ้าเห็นตามความเป็นจริง มันเป็นโลกไหม? โลกสิ โลกชัดๆ เลย เพราะอะไร? เพราะสมาธิคือเรา เพราะเราเป็นคนทุกข์ เราเป็นคนเกิดคนตาย เป็นโลกไหม วัฏฏะ จิตนี้หมุนตายเกิด ตายเกิดไปตามวัฏฏะ มันหมุนไปตามวัฏฏะ เกิดในสถานะต่างๆ ความคิดนั่นเป็นผลของวัฏฏะ

แต่คิดในปัจจุบัน ภพเกิดตลอดเวลา เพราะความคิดเราเกิดตลอด แล้วความคิดเราก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความคิดไง ภพของใจกับภพของวัฏฏะ ภพของวัฏฏะเราสถานะอย่างนี้ วันคืนๆ ล่วงไป เกิดเป็นมนุษย์นี่ ๒๔ ชั่วโมง แล้วเกิดเป็นเทวดา ๑oo ปีเราเท่ากับเขา ๑ วัน กาลเวลามันจะต่างมิติกัน มันก็เป็นต่างกาลเวลากัน สิ่งที่ต่างเวลากันแล้วเป็นผลอะไร? มันผลอะไร? มันผลของวัฏฏะที่มันหมุนไป

แต่ถ้าในปัจจุบันนี้ เราก็ย้อนกลับมา กลับมาที่เรา นี่โลก คำว่าโลก โลกคือเรา แล้วเสรีไหม? ถึงเป็นสมาธินะ ถ้าเป็นสมาธิขึ้นมาจิตมันปล่อยหมด ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิมันปล่อยได้ ปล่อยขณะที่ว่าปล่อยกายได้เลย ปล่อยกายโดยไม่มีเหตุมีผล มันปล่อยเฉยๆ สมาธิเข้ามามันหดตัวเข้ามา ไม่รับสิ่งใดๆ เลย ความรู้สึกของเราหดตัวเข้ามา

แต่ถ้าเราเป็นสามัญชน เป็นปกติ เวลาเราเพลินกับสิ่งใด เราไม่คิดสิ่งใดเลย มันก็ปล่อยได้ ปล่อยแบบไม่มีอะไรเลย เพลินนะ เพลินไม่มีสติ ปล่อยไปเลย เพลินมีความสุขมาก ความสุขอย่างนี้ นี่ไง แล้วถ้าจิตมันเป็นสมาธิ ถ้ามีสติขึ้นมา มันต่างกันอย่างไร? มันต่างกับเราปล่อยใจโดยที่ไม่มีเจ้าของ สัตว์ไม่มีเจ้าของ ปล่อยไป เขาเจอนายพราน เจอสัตว์ที่มันกินเนื้อสัตว์ แล้วมันเอาไปกินหมดเลย เราปล่อยไป

แต่นี่มันเป็นใจของเรา มันเป็นนามธรรมที่มันไม่มีใครเห็น แล้วเราไม่มีสติสัมปชัญญะคุมใจของเราเอง แล้วมันปล่อยออกไป ว่างๆ ว่างๆ ปฏิบัติโดยโลกๆ ปฏิบัติโดยโลกเพื่อโลก ถ้าปฏิบัติโดยโลกเพื่อธรรม มันต้องก้าวเดินจากโลก ก้าวเดินจากสมมุติบัญญัติ ก้าวเดินจากใจของเรา เราจะตั้งสติของเรา เราจะทำ เราตั้งใจทำของเรา ตั้งใจทำของเรานะ ตั้งใจนี่เป็นสติ สติคือความระลึกรู้ คือความเริ่มต้น คือการตั้งใจอยู่

ถ้ามีสติอยู่ มันมีเจ้าของ มันมีผู้รับผิดชอบ ถ้าจิตมีผู้รับผิดชอบ สติคุมไป จะใช้คำบริกรรมก็ได้ จะใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ ถ้าคำว่าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้สติตามความรู้สึกของเราไป ตามความคิดของเราไป ความคิดโดยธรรมชาติของมันเกิดดับ พลังงานอะไรไม่เคยคงที่ได้ ไม่มี ความคิดที่มันคิดไป คิดไปเพราะแรงขับของกิเลส มันคิดของมันไป

ถ้ามีสติไป สติตามความคิดไป เหมือนเราควบคุมเด็กเลย เราจูงเด็กไป แล้วเราดูแลเด็ก เด็กมันจะซน เด็กมันจะเล่นเรื่องของเด็ก ถ้าเรารักษาเด็กไป เด็กจะไม่มีอุบัติเหตุ เด็กจะไม่มีเภทภัยเลย แล้วถ้าเด็กมันเล่นจนมันพอใจมันแล้ว มันจะอยู่กับเรา จิตก็เหมือนกัน ถ้ามีสติคุมไปมันจะเป็นสภาวะแบบนั้น มันจะคุมตามความคิดไป

ถ้าตามความคิดไปมันจะเห็นความคิด แล้วความคิดมันจะดับลง ดับลง ความคิดคือเด็ก เด็ก พอดับลงแล้วมันเหลืออะไร? เหลือสติ เหลือความรู้สึก ความรู้สึกนี้คือสมาธิ แต่ถ้าเป็นปกติสามัญชนเรา เราคิดของเรา คิดดับ เกิดดับ เกิดดับ มันไม่มีเด็กไม่มีผู้ใหญ่ กิเลสกับเรามันเป็นอันเดียวกัน ความคิดกับเราเป็นอันเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นอันเดียวกัน แล้วมันก็ใช้ความคิดไปโดยธรรมชาติของมัน เลยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทั้งๆ ที่ของมีอยู่แต่ใช้ไม่เป็น

ของมีอยู่ ความคิดของเรามีอยู่ มันแยกแยะ มันแยกความคิดกับเรา แยกออกจากกันได้ แต่เราก็ไม่เข้าใจว่ามันจะแยกออกจากกันได้อย่างไร เพราะอะไร? เพราะมันใช้เราจนเคย นี่โลกไง ปฏิบัติชีวิตประจำวัน ธรรมะใช้ในชีวิตประจำวัน ประจำวันมันก็เป็นเรื่องของกิเลสหมดเลย ไม่เป็นเรื่องของธรรมะ ถ้าเรื่องของธรรมะ ใช้คำบริกรรมก็ได้ ใช้สติคุมความคิดไปก็ได้

ถ้าใช้สติคุมความคิดไป จากโลกนี่แหละ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมะเป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตา อนัตตา.. ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่แล้ว สิ่งที่มันมีอยู่กับเรา มันมีอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติอย่างนี้ ธรรมชาติอย่างนี้ เราก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แล้วมันก็แปรปรวนอยู่อย่างนี้ แล้วเราก็อยู่กับธรรมชาติด้วยความแปรปรวน แล้วเราไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกประพฤติปฏิบัติ ไปเรียนกับอาฬารดาบสได้สมาบัติ ๘ สมาบัติ ๘ รูปฌาน อรูปฌานนะ รูปฌาน อรูปฌานแล้วมีกำลังด้วย มีฤทธิ์มีเดชด้วย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาฬารดาบสบอกเลยว่าเจ้าชายสิทธัตถะมีความรู้เหมือนเรา เป็นศาสดาสอนได้เหมือนเรา ให้เป็นครูบาอาจารย์เลย

เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธหมดเลย เพราะมันเป็นโลก เพราะอะไร? เพราะมันเสื่อม มันออกมาแล้วมันก็เป็นปกติ แล้วเข้าสมาบัติ ถ้าเข้าสมาบัติ เหมือนกับของที่เราใช้อยู่ มันใช้ไปแล้วมันเสื่อมสภาพ เราต้องซ่อมแซมอยู่ตลอดไป ต้องอาศัยตลอดไป เป็นโลกๆ โลกเป็นอย่างนี้ โลกคืออนิจจัง โลกเป็นอจินไตย ถ้ามันคงที่ของมัน มันมีอยู่อย่างนี้ โลกนี้ไม่สูญหายไปจากไหน คำว่าอจินไตยคือมันมีอยู่อย่างนี้ ไม่มีใครไปคำนวณมันได้

แต่คำว่าอนิจจัง อนิจจังคือมันแปรสภาพตลอด แล้วจิตนี้มันเป็นอนิจจังไหม? คือสิ่งที่เป็นอจินไตย สิ่งที่เป็นตัวจิต ตัวจิตความรู้สึกเรา ตัวโลกอันนี้มันจะไม่เคยตายเลย มันไม่เคยบุบสลายเลย มันหมุนไปตามวาระของมัน ด้วยความแรงขับ ดีขับดีไปก็เกิดมาดี เกิดมาเป็นคนดี ครบ ๓๒ เป็นคนดี อาการดีหมดเลย การเกิดไง ดี ดีอยู่ที่ไหน? ดีอยู่ที่การกระทำ

ในเมื่อมันเกิดมาดีนั้น ดี อาการครบ ๓๒ มันเกิดมาดี สิ่งที่เกิดมาดี แล้วความดีอยู่ไหน? เราทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ มาจากไหน? ถ้ามันมีความรู้สึก มันมีความคิดกัน สิ่งที่ทำกันขึ้นไป เชาว์ปัญญามันเกิดไง โลกนอกโลกใน โลกนอก โลกที่เหยียบอยู่นี่โลกนอก โลกของเรา เราเหยียบอยู่นี่โลก โลกทัศน์ล่ะ โลกทัศน์ภายใน

โลกทัศน์คือความคิด คือตัวความรู้สึก ตัวความรู้สึกมันอยู่ไหน? นี่ปฏิบัติโดยโลก โลกตรงนี้ก่อน ต้องเริ่มต้นจากที่นี่ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันจะถึงตรงนี้ ถ้ามันถึงตรงนี้ขึ้นไป ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ นิพพาน.. นี่ไง! ปฏิบัติโดยโลก โดนกิเลสมันจูง ปฏิบัติโดยโลก ทำเป็นพิธีกรรมกัน ทำเพื่อพิสูจน์กัน ทำเป็นศักยภาพกัน ทำขึ้นมาแล้วเป็นประโยชน์กับตัวเองไหม?

ถ้าว่าเป็นประโยชน์ มันเป็นประโยชน์ในวัฏฏะ บุญกุศลกับบาปอกุศล ในเมื่อทำชั่วต้องได้ผลตอบออกมาเป็นความชั่ว ในเมื่อทำความดี ผลก็ตอบแทนเป็นความดี ให้ทาน ๑oo หน ๑,ooo หนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ศีลบริสุทธิ์ ๑oo หน ๑,ooo หนไม่เท่ากับเกิดสมาธิขึ้นมาหนหนึ่ง สมาธิ ๑oo หน ๑,ooo หนไม่เท่าเกิดปัญญาขึ้นมาหนหนึ่ง ปัญญาที่เกิดโดยสัมมาสมาธินี่มันจะเป็นโลกุตตรธรรม!

คำว่าโลกุตตรธรรม ธรรมะเสรี มันสิ่งที่เสรี ธรรมะจะเสรีนะ โลกเสรีไม่มี! ไม่มี! มันจะมีไปไม่ได้เพราะมันเป็นของกิเลส มันจะเอาเสรีมาจากไหน? มีแต่ปลิ้นปล้อนหลอกลวงกัน มีแต่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่มีหรอก! ถึงจะเป็นผู้ดีมีคุณธรรมขนาดไหน มันก็เป็นศีลธรรม จริยธรรมอยู่ในโลกนี้ มันจะพ้นจากโลกนี้ไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าธรรมะไม่เกิดขึ้นมากับหัวใจ

ถ้าธรรมะเกิดกับหัวใจ มันต้องให้ธรรมะสัจจะความจริง ที่เราทำกันอยู่นี้ เรามีครูมีอาจารย์นะ เรามีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทดสอบ ตรวจสอบมากับทุกลัทธิต่างๆ ที่ทำกันมาแล้ว แล้วปฏิเสธวางไว้ตามความเป็นจริง เพราะเขามันมีสภาวะแบบไหนมันเรื่องของเขา เรื่องของเขาเพราะเหตุใด? เพราะเหตุที่ว่า โลกนี้คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก ในเมื่อคนเขาโง่มาก คนเขาไม่มีปัญญา คนเขาคิดไม่ถึง

ดูสิ! ดูคำพูดคำหนึ่งมันก็เหมือนกัน แต่ความหมายของผู้ใหญ่กับความหมายของเด็กมันก็ต่างกัน จิตที่มันเป็นวุฒิภาวะที่มันสูงมันต่ำ มันก็ต่างกันอย่างนี้ คำพูดเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ความหมายที่เราคิดกันหรอก ในการประพฤติปฏิบัติ เราจะชนะตัวเราเอง การชนะตัวเอง เราก็ใช้ตัวเรา จับตัวเรามัดไว้ใช่ไหม เอาเรานี่เข้ากับต้นเสา แล้วเอาเชือกมัดไว้ ชนะรึยัง? มันชนะที่ร่างกาย แล้วร่างกายมันยอมรับความเป็นจริงไหม? มันชนะไหมล่ะ เอาตัวเองผูกต้นเสาไว้ แต่ความคิดมันก็ไปรอบโลก ความคิดเอาอยู่กับเราไม่ได้

แต่ถ้ามีสติเข้ามา เอาความคิดไว้ในอำนาจของเรา ถ้าเอาความคิดไว้อำนาจเรา พลังงานที่มันส่งออกเร็วที่สุด สิ่งที่มันเคลื่อนไหวเร็วที่สุด เอากลับมาให้มันนิ่งไว้ที่ที่สุด นี่โลก ควบคุมโลกให้ได้ก่อน แล้วเอาโลกนี้ออกทำงาน ออกทำงานเพื่อจะล้างโลก ผู้ที่จะครองโลก โลกทัศน์จากภายใน มันจะครองตัวมันเอง มันจะทำลายตัวมันเอง ถ้ามันทำลายตัวมันเองได้ นี่ธรรมะเกิดที่นี่ ธรรมะเท่านั้นที่จะพ้นจากโลก

โลกเสรีไม่มี! ธรรมะเสรีจะทำลายโลก ทำลายโลกคือทำลายกิเลสของเรา ถ้าทำลายกิเลสของเรานะ กิเลสมันติดในอะไร? สิ่งที่เกิดที่ตาย มันเกิดมาเพราะอะไร? เกิดมาเพราะความหลงผิด ความหลงผิดนะ ทั้งๆ ที่เกิดมา เกิดมาแล้วเป็นอริยทรัพย์ เป็นมนุษย์สมบัติ เป็นสิ่งที่มีคุณงามความดีมาก เพราะเราเกิดมาอริยทรัพย์ ถ้าเกิดมาอริยทรัพย์อยู่ในทางโลก เขาก็หาแก้วแหวนเงินทองกันมา

แก้วแหวนเงินทองมีเพราะมีเรา มีคนไปเป็นเจ้าของมัน แก้วแหวนเงินทองถึงเป็นของเรานะ ถ้าไม่มีเราขึ้นมาแก้วแหวนเงินทองมันเป็นของสาธารณะ คุณงามความดีของเรา ถ้าเราทำดีก็เป็นคุณของเรา ทำความชั่วก็เป็นของเรา เป็นของเราเพราะมันติดกับใจไป แต่ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันทำลายทั้งหมด ทำลาย ยิ่งทำลายยิ่งจะเป็นของเรา เรายึดว่าเป็นของเราจะไม่ได้เป็นของเราเลย มันจะเป็นขี้ข้ามันตลอดไป

สมบัติในสมัยพุทธกาล เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบิณฑบาตไป “โตเทยยพราหมณ์เธอเป็นคฤหัสถ์เธอก็ตระหนี่ เกิดเป็นสุนัขก็ตระหนี่” เพราะอะไร? เพราะผลของสมบัติ เพราะไปห่วงมัน ไปอาลัยเอื้ออาทรต่อมัน เพราะสมัยพุทธกาลมันไม่มีธนาคาร ไม่มีสิ่งที่ฝากไว้ เขาต้องเอาสมบัติใส่ไห ใส่ภาชนะฝังดินไว้ ฝังดินไว้ แล้วตัวเองเป็นคนฝัง ตัวเองเป็นคนฝังเวลาตัวเองตายก็ห่วงอาทรมัน ก็มาเกิดเป็นสุนัขเฝ้ามัน เห็นไหม

สมบัตินี้เป็นของใคร สมบัตินี้ก็เป็นของสุนัข เป็นสุนัขที่ว่าเกิดมาแล้ว สุนัขใช้เงินทองเป็นหรือ? สุนัขมันใช้อะไร แต่เวลาเกิดขึ้นมา เกิดมาแล้วมาเฝ้ามัน มันเสียโอกาส เสียทุกๆ อย่างไป นี้เพราะมีเรา เพราะโลกนี้มีเพราะมีเรา แต่มีเราแล้วมันก็เวียน มันยังดึงดูดเรา ดึงดูดให้เราหมุนไปตามมัน เพราะหลงผิดอย่างนี้ เพราะความหลงผิด เราจะไม่มีสมบัติใดติดตัวเราไปเลย

นี่โลกเสรี มันหลอกเรานะ หลอกให้เราอยู่ในอำนาจของมัน อยู่ในอำนาจของกิเลส อยู่ในอำนาจของมาร มารหลอกได้ขนาดนี้ แล้วเรื่องของกิเลส ส่งเสริมกัน ส่งเสริมให้เสรีกัน ว่าเสรี มันหลอกว่าเสรี แล้วไม่เป็นเสรีจริงเลย แต่เพราะเราเข้าใจ เข้าใจตัวของเรา เราเป็นชาวพุทธ เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนให้รู้สัจจะความจริง

ถ้ารู้จักอริยสัจ มีกิจจญาณ ถ้ามีอริยสัจ อริยสัจเกิดที่ไหน? อริยสัจเกิดในตำรับตำราหรือ? อริยสัจเกิดในพระไตรปิฎกหรือ? นั่นเป็นแนวทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แล้ววางธรรมไว้ เราได้ยินได้ฟัง สาวก สาวกะต้องได้ยินได้ฟัง ได้ให้มันสะเทือนใจ สะเทือนใจนะ ครูบาอาจารย์ถามว่า “ชีวิตนี้คืออะไร? เกิดมาทำไม? ”

ถ้าเป็นทางโลก ก็เกิดมาจากพ่อแม่ไง ก็ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เป็นกตัญญูกตเวทีไง เกิดมาเพื่อเป็นคนดี นี่ชีวิตประจำวัน แต่ใช่เราก็เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ถ้าเราเป็นนักบวช เราก็เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ได้ เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่แล้วไม่ใช่เลี้ยงที่ปากด้วย เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ดูสิ! เราบวชเป็นพระ บวชเป็นพระเป็นเจ้า เวลาท่านคิดถึงเรานะ ความคิด คิดถึงลูก คิดถึงญาติพี่น้องที่เป็นภิกษุเป็นพระ จิตใจก็เข้าไปในศาสนา ดูสิ! ดูพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างวัด ๘๔,ooo วัด ไปถามอาจารย์ของตัวว่า

“เป็นญาติกับศาสนาหรือยัง”

“ยัง”

“ถ้าเป็นญาติศาสนาต้องทำอย่างไร?”

“ต้องเอาลูกมาบวช”

สายเลือดเข้ามาในศาสนา พอสายเลือดเข้ามาศาสนา ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุขอได้ ๗ ชั่วโคตร ๗ ชั่วโคตร โคตรของเรานี่ขอได้

ถ้าไม่ใช่โคตรของเราขอไม่ได้ ขอขึ้นมาเป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่เขาปวารณา เขาปวารณาไว้จึงจะให้ ๓ เดือนหรือให้กี่เดือนหรือจะให้ตลอดชีวิต หรือให้ในวงเงินขนาดไหน นั่นคือถ้าไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณาขอไม่ได้ นี่ชั่วโคตร เราบวชในศาสนา สิ่งที่ความผูกพัน คิดถึงศาสนา เพราะคิดถึง นี่เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ด้วยใจ เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ด้วยความรู้สึก ในเมื่อความรู้สึกนี้ฝักใฝ่ในสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ สิ่งที่เป็นธรรม ศาสนามีคุณประโยชน์มาก

เพราะผู้ที่มีหูตาสว่าง หวังพึ่ง.. ทุกคนนะดูสิ! ดูทางโลกเขาต้องร้องเรียนกัน ต้องการความยุติธรรม ให้ยุติโดยธรรม ไม่ให้การเกิดกรณีพิพาท ไม่ให้เกิดยุติโดยการเอารัดเอาเปรียบ ให้เป็นยุติธรรม เรื่องของธรรม แม้แต่ทางโลกเขาไม่เข้าใจ เขายังแสวงหาเลย แล้วเรื่องของเทวดา อินทร์ พรหม ของสิ่งต่างๆ เขาก็แสวงหา แสวงหาขนาดไหนก็ทำไม่เป็น

ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีครูบาอาจารย์ที่เข้าถึงอริยสัจ กลั่นออกมาจากอริยสัจ ใจนี้กลั่นออกมาจากอริยสัจ ถ้ากลั่นออกมาจากอริยสัจ สิ่งที่เป็นความจริง ทำไมเทวดา อินทร์ พรหม ต้องมาฟังเทศน์หลวงปู่มั่นล่ะ? ทำไมเทวดา อินทร์ พรหม ต้องมาฟังเทศน์? เทศน์คืออะไร? เทศน์คือสัจจะ คือเทศนาว่าการ คือเทศน์สัจธรรม สัจธรรมความจริง

ถ้าสัจธรรมความจริงขึ้นมา มันมาจากไหน? มันไม่มีอยู่ในตำรับตำรานะ ต้องอยู่กับใจของเรา ต้องทำความเป็นจริงขึ้นมา ถ้าทำตามความเป็นจริงขึ้นมา มันถึงจะเป็นธรรม นี่ธรรมะเสรี! เสรีเพราะมันไม่มีกิเลส เสรีเพราะมันเป็นสมาธิก่อน ถึงศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าขาดสมาธิมันจะเป็นโลกียปัญญาทั้งหมด เป็นธรรมของกิเลส! ถ้าว่าจะปฏิบัติโดยโลกถูกต้อง เพราะปฏิบัติต้องมีโลกก่อน มีเราก่อน เพราะเราจะแก้ไขเรา ถ้าไม่รู้จักโลก ไม่รู้จักเรา ไม่รู้จักจิต ไม่รู้จักวิธีการแก้ไข มันจะไปแก้ไขกันที่ไหน

ตอนนี้ ทุกคนปฏิเสธตัวเองก่อน จะเป็นอาจารย์ จะเป็นผู้สอน จะเป็นผู้อบรม อบรมคนอื่นทั้งนั้นเลย อบรมแต่คนอื่น เอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอบรมคนอื่น แล้วไม่รู้จักอบรมตัว ไม่รู้จักตัวอยู่ที่ไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “อัตตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ตนต้องอบรมตัวเองก่อน ถ้าตนไม่เคยอบรมตัวเองก่อนเลย แล้วจะเอาวิชาการใดไปอบรมเขา สิ่งที่อบรมเขามันเป็นตำรับตำรา มันเป็นวิธีการทั้งนั้น เทคโนโลยีใช้ไม่เป็น

ถึงได้มานะ ดูสิ! เราซื้อเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศ ซื้อมาใช้ เวลาเสียซ่อมไม่ได้ ต้องส่งไปให้เขาซ่อม ทำไม่เป็น ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น นี่เหมือนกัน จิต อาการของจิตที่มันเป็นไป จิตที่มันเป็นสมาธิขึ้นมา จิตที่มันขัดข้องขึ้นมา เวลาปฏิบัติไปมันมีของมัน เหมือนไข้เลย อาการของไข้ คนที่อาการของไข้ มีผลข้างเคียงทั้งนั้น ผลข้างเคียงในทางไหน ถ้าผลข้างเคียงของเขา เวลาให้ยาไปมีผลข้างเคียง แล้วจะรักษากันอย่างไร?

มีแต่จะสอนเขา ไม่รู้จักสอนตัวเองก่อน ถ้าสอนตัวเองก่อน มันจะรู้จักวิธีการการกระทำ จิตมีการกระทำของมัน ถ้าจิตมีการกระทำ ทุกข์คืออะไร? แม้แต่การประพฤติปฏิบัติ เราอยากได้อยากดีกันเป็นทุกข์ไหม? เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ขึ้นมาเพื่ออะไร? เป็นทุกข์ขึ้นมา แล้วทุกข์มาจากไหน? ทุกข์มาจากไหน?

ทุกข์นี้มาจากอยากปฏิบัติได้ดิบได้ดีใช่ไหม? ปฏิบัติได้ดิบได้ดีคืออะไร? คือตัณหาความทะยานอยาก ทุกข์มันมีตัวแหย่นะ ทุกข์นี่มันมีตัวแหย่ มันมีตัวริเริ่ม ตัวทำให้เป็นทุกข์ ตัณหาความทะยานอยาก “ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ” ละด้วยมรรคญาณ มรรคญาณอยู่ไหน? ถ้าไม่มีสมาธิก่อน มันไม่เป็นมรรคหรอก

ดูสิ! ฆราวาสเขานี่สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ทำมาหากินก็เป็นความชอบ ทุกอย่างก็เป็นความชอบ มดมันก็เป็นความชอบ มดปลวกมันก็หาของกินของมัน มันก็เป็นความชอบของมัน ดูสิ! สัตว์มันก็มีความชอบของมัน แล้วเลี้ยงชีพเป็นความชอบอะไร? แล้วเลี้ยงหัวใจล่ะ? มรรคมันจะเกิดขึ้นมา เราต้องเลี้ยงใจให้มันเข้มแข็งขึ้นมา และต้องรู้จักโลกของตัวเองก่อน ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิขึ้นมา จิตเป็นสมาธิขึ้นมาแล้วจิตออกหา ออกหางานของมัน หางานของอริยสัจ

ที่ว่าเทวดา อินทร์ พรหม มาฟังเทศน์ ฟังเทศน์ที่ไหน? ถ้ามันเป็นอริยสัจขึ้นมา จิต! ตัวโลกมันออกแยกแยะ ออกแสวงหาสิ่งที่มันฝังใจอยู่ สิ่งที่มันหลงอยู่ เพราะมันหลง มันไม่เข้าใจ มันถึงเวียนตายเวียนเกิด แต่ถ้าเรารักษา เราเอาจิตมันที่มันหลงให้มันเข้าใจของมัน แล้วออกหากาย เวทนา จิต ธรรม เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยสัจธรรม ไม่ใช่เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยสามัญสำนึก ด้วยสัญญา ด้วยการคาดการณ์

ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นจะได้ธรรมประดับหัวใจ ผู้ใดคาดเดา ด้นเดา มันได้ธรรมะแบบด้นเดา คาดเดา ธรรมะด้นเดา คาดเดา แล้วมันถ้ามีสติ มีพื้นฐานเป็นสมาธิ มันจะเป็นจินตมยปัญญา จินตมยปัญญาฆ่ากิเลสไม่ได้! ฆ่ากิเลสไม่ได้ ภาวนามยปัญญาเท่านั้นต้องสะอาดบริสุทธิ์ ต้องมรรคญาณเกิด มรรคญาณมันเกิด มรรคญาณมันเกิด แล้วมรรคญาณมันอยู่ไหน?

เวลาเราพูดธรรมะกัน ว่ามรรคญาณ ว่าอริยสัจ เหมือนมันสูงส่งอยู่จนเราเอื้อมมือไม่ถึง ทั้งๆ ที่มันอยู่กลางหัวใจ เพชรนิลจินดา เขาได้มา เขาขุดมาเขาทำเหมืองมา เขาขุดมาจากดินทั้งนั้นเลย คุณงามความดีมันขุดออกมาจากจิต! มันขุดออกมาจากเรานี่! เรามีต้นทุนอยู่นี่! แต่มันมองข้ามมันไป มองข้ามสิ่งที่เป็นมรรคญาณ

ถ้ามันคิดชั่ว มันก็เอาจิตนี่คิด ถ้ามันคิดทำลายเขามันก็เอาจิตนี้มาคิด มันคิดเพ้อเจ้อ เพ้อฝันมันก็เอาจิตนี้คิด แต่เวลามันจะคิดความดีขึ้นมา มันไม่กล้าคิด มันบอกว่าเหนือความสามารถ เหนือการกระทำของจิต จิตไม่กล้าทำ จิตไม่กล้าคิด คิดสิ่งว่ามันหมดกาลหมดสมัย หมดยุคหมดสมัย มันเป็นเรื่องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องของครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์ เรื่องของเรา เราไม่กล้าทำ

แล้วเวลาทุกข์ร้องไห้ทำไม? เวลาเราทุกข์เราร้องไห้ทำไม? เวลามันทุกข์ขึ้นมา เวลาเจ็บปวดขึ้นมาร้องไห้ทำไม? มันก็มันคิดชั่วมันก็มาจากใจ คิดดีก็มาจากใจ แล้วคิดดีแล้วทำดีล่ะ คิดแล้วต้องทำด้วยสิ ถ้าคิดดีแล้วทำดี ทำดีขึ้นมา ด้วยการกระทำ ด้วยประสบการณ์ของจิต พอประสบการณ์ของจิต ถึงมีการกระทำนะ ระยะทางจะกว้างไกลขนาดไหน ถ้าเรามีการก้าวเดินไป มันต้องถึงปลายทางแน่นอน ถึงปลายทางนะ

เว้นไว้แต่ เดินมีเป้าหมายหรือระยะทาง แต่เดินออกนอกทาง ที่ประพฤติปฏิบัติกันมันไม่เป็นสัจจะความจริง นี่ไง! โลกเสรี การปฏิบัติต้องเสรี ธรรมะต้องเสรี ธรรมะบ้านๆ ธรรมะเป็นสิ่งที่ไม่มีการบังคับบัญชา หลุด! หลุดไปเลย! หลุดไปเลย ไม่เข้าทางเลย ไม่บังคับบัญชามันมีสติได้อย่างไร? สตินี่ตัวบังคับ สติบังคับให้เข้าทาง เราขับรถไปบนถนน แล้วเราถึงทางโค้งทางร่วมทางแยก จะชนมันไปหรือจะฝ่ามันไปอย่างนั้นตลอดไปได้อย่างไร?

นี่มันเป็นปฏิบัติแบบโลกๆ ปฏิบัติแบบกิเลสไง เป็นกิเลสก็ว่า บังคับไม่ได้ มีอยากก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ แต่ถ้าเราเป็นคนขับรถ เรารู้จักระยะทาง เรารู้จักการเข้าโค้ง เรารู้จักทางแยกทางร่วม เราไปของเราได้ นี่ไง! สติมันฝึก พอมันฝึกขึ้นมา มันรู้จักการใช้งาน การใช้งาน ว่าการใช้งานเกิดขึ้นมา สมาธิจะไม่เสื่อมจากเราเลย

ในการปฏิบัติสมาธิ ทำสมาธิกันไม่ได้ ถ้าทำสมาธิกันไม่ได้ เราไม่มีสติสัมปชัญญะให้จิตมันสงบเข้ามา ถ้ามันสงบเข้ามา ถ้าสมาธิสงบเข้ามาด้วยการกระทำ แล้วเหตุที่การกระทำเราชำนาญ ชำนาญจนมันอยู่ของมันโดยธรรมชาติเลยนะ เราอยู่กับสติ อยู่กับคำบริกรรม อยู่กับสติที่ไล่ความคิดไป มันทันความคิดหมดนะ ความคิดมันมาจากไหน? ความคิดมันมาจากใจใช่ไหม? มาจากเราใช่ไหม?

สติก็อยู่ที่เรา แล้วเราคุมนี่อยู่มันจะไปไหน เหมือนเราจับตัวเรายืนอยู่นี่ แล้วตัวเราจะอยู่ที่อื่นได้อย่างไร ถ้าจิตมันอยู่กับเรา แล้วถ้าเราจับ เราชำนาญในวสี เราชำนาญในการกระทำ แล้วมันจะเสื่อมได้อย่างไร? มันจะหลุดจากมือเราไปได้อย่างไร? มันมีจริงๆ แล้วมันทำได้จริงๆ ถ้าทำได้จริงๆ ขึ้นมา มันก็อยู่กับเราจริงๆ พออยู่จริงๆ มันน้อมไป น้อมไป

ถ้ามีอำนาจวาสนามันจะเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม โดยสัจธรรม แต่ถ้าไม่มี ไม่มี ดูระยะทางที่ว่าระยะทางเท่ากัน แต่คนเดินต่างกันใช้เวลาต่างกัน นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันไม่เห็นโดยธรรมชาติของมัน เราก็รำพึงสิ เขาบอกว่า “สมาธิคิดไม่ได้” ไอ้คนพูดมันไม่เคยภาวนา ถ้าสมาธิไม่ได้.. ทำไมจะมีสมาธิและปัญญา ทำไมต้องมีศีล มีสมาธิ แล้วมีปัญญา ปัญญาอย่างนี้ถึงจะเป็นโลกุตตรปัญญา ปัญญาที่เกิดจากสมาธิไง

แต่ปัญญาที่เขาใช้กันอยู่ที่ชีวิตประจำวัน ธรรมะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มันปัญญาจากโลก ปัญญาจากกิเลส ปัญญาจากจิตนี่ที่ไม่มีสมาธิ ถ้าปัญญาที่มันมีสมาธิขึ้นมา ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วสมาธิมันคิดมาได้อย่างไร? ถ้ามันเป็นปัญญาขึ้นมา มันก็เป็นโลกุตตรปัญญา ปัญญาที่ไม่มีโลกเจือปน ปัญญาที่ไม่มีเราเจือปน ปัญญาที่ไม่มีกิเลสเจือปน แต่พอสมาธิมันอ่อนลง กำลังของสมาธิมันเสื่อม มันถอยถ่ายลง โลกเข้าไปเจือปนอีก พอเข้าเจือปน แล้วกลับมาที่ทำสมาธิอีก เพื่อกันไม่ให้ปฏิบัติโดยโลก

โลกเสรี! โลกเสรี! ธรรมะเสรี! ธรรมะเสรีมันต้องเป็นกลาง เป็นธรรม เป็นเสรี สิ่งนี้เป็นสภาวธรรม สภาวะ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แต่ถ้าเป็นผลล่ะ? เป็นผลเป็นโลกุตตรธรรม โลกุตตรธรรมนะ มันเหนือโลก เหนือความเสรี เหนือสิ่งต่างๆ ทั้งหมดเลย แล้วเหนือสิ่งต่างๆ ทั้งหมดมันเกิดมาจากไหน? ก็เกิดมาจากไอ้โง่เง่าเต่าตุ่น ไอ้ตัวนี้ ไอ้ตัวทุกข์ยากอยู่นี่ แต่มันมีสัจจะ มันมีความจริงของมัน มันมีความองอาจกล้าหาญของมัน มันทำของมันขึ้นมาได้

พระอรหันต์มาจากไหน? พระอรหันต์ก็มาจากคนมีกิเลสทั้งนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ดูสิ! นางพิมพา สามเณรราหุลมาจากไหน? นี้เรื่องของโลก เรื่องของกาม แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติมาจากไหน? มันก็มาจากคนที่โง่เง่าเต่าตุ่นนี่ คนที่หัวใจทุกข์ยากอยู่นี่ มันพ้นจากทุกข์ไปได้ พ้นไปได้เพราะท่านทำของท่านจริง ท่านมีความวิริยะอุตสาหะ

ทำจริงทำจังของเรา เราทำจริงจัง ทำจริงทำจังโดยโลกๆ ไง ทำจริงทำจังเอาชื่อเสียงเอาเกียรติคุณกันไง ว่าฉันเป็นคนดี.. ฉันอยู่ในศีลในธรรม.. อยู่ในศีลในธรรมก็เกี่ยวอะไรกับเขาล่ะ อยู่ในศีลในธรรมก็ทำดีขึ้นมาสิ ธรรม! ธรรมมันคืออะไร? ธรรมคือสมาธิธรรม แล้วปัญญาธรรมล่ะ? ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญามันเกิดได้ ถ้าปัญญาเกิดไม่ได้ ครูบาอาจารย์ที่รอดพ้นมาจากกิเลสมันมาจากไหน?

การจะรอดพ้นมาจากกิเลส มันต้องมีกระบวนการของมัน ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญารวมตัวด้วย เพราะอะไร? เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิมันก็มีมรรค ๘ มันรวมมันสมบูรณ์ของมัน พอสมบูรณ์ของมัน มรรคญาณเกิดที่นี่ มรรคญาณเกิดที่นี่เกิดจากการกระทำของเรา สิ่งนี้ทำไมมันเกิดกระทำของเราขึ้นมา ใครเป็นคนเห็น ใครเป็นคนรู้ ก็จิตที่มันโง่ มันทำงานของมัน

มันทำงานของมันเป็น มันแยกแยะของมันเป็น “กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์” กายก็มีอยู่อย่างนี้ สภาวะที่เราเห็น เราเห็นด้วยตาเนื้อ สภาวะที่เราคิด คิดด้วยสัญญา แต่สภาวะความเป็นจริงของมันที่มันเห็นล่ะ มันสะเทือนหัวใจนะ มันสะเทือนจิตใต้สำนึก มันสะเทือนกิเลส มันเป็นอย่างนี้หรือ?.. มันเป็นอย่างนี้หรือ?...

ไอ้สิ่งที่ว่าความหลง ไอ้สิ่งที่ไม่เข้าใจ มันถอดถอนได้ อุปาทานความยึดมั่นถือมั่น โดยจิตใต้สำนึก! มันอยู่กับเรา! แล้วไม่มีใครไปถอดถอนมันได้! ไม่มีใครถอดถอนได้นอกจากบุคคลคนนั้นต้องถอดถอนของบุคคลคนนั้นเอง แล้วบุคคลคนนั้นจะเอาอะไรไปถอน ถ้าไม่มีมรรคญาณในหัวใจเอาอะไรไปถอน มันไม่มีเทคโนโลยีใดๆ ในโลกนี้จะถอนได้ นอกจากมรรคญาณของเราเอง!

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของครูบาอาจารย์ของท่านก็ของครูบาอาจารย์ท่าน เพราะการกระทำอย่างนี้มันทำบนโลก ทำบนหัวใจ ทำบนสิ่งที่มันเศร้าหมอง ทำโดยโลกที่มันเคลื่อนไป โลกทัศน์ โลกทัศน์ยึดมั่นถือมั่น ความคิดที่ไม่มีใครรู้ ที่มันยึดมั่นของมัน แล้วมันเกิดมรรคญาณขึ้นมา ขับถอนมันออกไป!

ถ้าขับถอนออกไป ใครเป็นคนขับถอน สิ่งที่ขับถอนมันก็เป็นสภาวธรรม สภาวธรรมที่เสรี สภาวธรรมที่ไม่ใช่ธรรมของเรา สภาวธรรมที่เสรี สิ่งที่เสรีแต่ผลตอบมาเป็นเรา ผลตอบมานะ โสดาบัน สกิทาคา อนาคา มันเป็นเราอยู่นะ เป็นเราเพราะอะไร? เพราะมันมีตัวใจ ตัวใจเห็นไหม ตัวใจตัวที่พิจารณาเข้ามา “กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์” มันถอดมันปล่อยวางออกมา

จิตที่มันกลั่นออกมาจากอริยสัจ คำว่าจิตที่มันกลั่นออกมาจากอริยสัจ มันกลั่นออกมาความถอนอุปาทานเป็นส่วนหนึ่งใช่ไหม ถอนอุปาทานส่วนที่ว่ากายนี้เป็นเรา สรรพสิ่งนี้เป็นเรา โดยสามัญสำนึกทุกๆ จิตที่มันเกิดมา โดยสามัญสำนึกเพราะมันมียางเหนียว เพราะมันมีกิเลสขึ้นมาอยู่แล้ว เวลาเกิดขึ้นมามันถึงบอกเป็นเรา เป็นเราเพราะเราเกิด เป็นเราเพราะเราสัมพันธ์มันตั้งแต่เกิด เป็นเราเพราะมันมีโลกทัศน์ภายในจากมัน

แต่ถ้ามันถอนแล้วล่ะ ถอนแล้วมันเป็นความจริงอันหนึ่ง ตอนนี้มันไม่เป็นความจริงเพราะอะไร? เพราะมันลวงด้วยอวิชชา ด้วยอวิชชา ด้วยสามัญสำนึกมันไม่เข้าใจของมัน มันธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “กายไม่ใช่เรา คนเราเกิดมาแล้วต้องตาย...” มันก็ว่ากันไปปากเปียกปากแฉะ มันว่าจากสัญญา ว่าจากสามัญสำนึก แต่มันไม่เข้าถึงอุปาทาน ไม่เข้าถึงตัวเนื้อของใจ แต่เวลาจิตมันพิจารณาไปบ่อยครั้งเข้า จนจิตมันสงบเข้ามา

มันเป็นตัวของมันเอง ตัวของใจ ตัวของความรู้สึก ไม่ใช่ขันธ์ แล้วเวลามันวิปัสสนาไปนะ มันเป็นปัญญาขึ้นมา จากพลังงาน จากสิ่งที่เป็นสมาธิมันก็เกิดปัญญาขึ้นมา มันแยกแยะของมัน แยกแยะอะไรมา? พอแยกแยะ แยกแยะอะไร? แยกแยะด้วยยางเหนียวที่มันเกาะเกี่ยวกันไว้ ว่ากายเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา ด้วยอุปาทานที่มันยึดอยู่ เวลาปัญญามันเข้าไปแยกไปแยะเข้า มันก็ปล่อย.. ปล่อย.. บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า นี้เป็นตทังคปหาน

การทำงานของเรา ทุกคนทำงาน มันต้องมีความชำนาญ มันต้องมีการฝึกฝน มันต้องมีการพิสูจน์ตรวจสอบ มันตรวจสอบ พิสูจน์ตรวจสอบ ปล่อยวางแล้วก็ตรวจสอบ ตรวจสอบแล้วพิสูจน์ พิสูจน์แล้วตรวจสอบ ตรวจสอบแล้วพิสูจน์ พิสูจน์... ทำแล้วทำเล่า ทำแล้วทำเล่า จนถึงที่สุดแล้ว ความสะอาดบริสุทธิ์มันเพิ่มมากขึ้น การปล่อยวางมันก็ปล่อยวางได้ลึกขึ้น การปล่อยวางขึ้นมา ถ้าปล่อยวาง ถ้าเป็นมรรคนะ

หลวงปู่มั่น ท่านพิจารณากายของท่าน พอพิจารณากายแล้วมันไม่เข้าถึงตัวใจ เพราะมีบุญกุศล ถึงเวลาแล้ว เวลาลาจากโพธิสัตว์แล้ว เข้ามาพิจารณากายแล้ว มันทำความสะอาดอย่างนี้ เวลาท่านตรวจสอบของท่าน “เอ้อ! อย่างนี้สิถึงจะถูกทาง” แต่ก่อนหน้านั้น เวลาพิจารณากาย เหมือนเรา เราพิจารณากายกัน พิจารณากาย กายเห็นเป็นอสุภะ เห็นเป็นอะไรต่างๆ มันเป็นจินตนาการ มันเป็นโลกเสรี คิดว่าเป็นธรรมเสรีแต่โดนกิเลสหลอก เพราะอะไร?

เราสิ เราผ่านไปบนถนนหนทาง เราเจออุบัติเหตุ เราเห็นคนเจ็บคนป่วย เราสยดสยองใจไหม? เห็นจนแบบว่ามันเศร้าหมองไหม มันเศร้าก็ชั่วคราว แล้วว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ไม่เป็นเลย! ไม่เป็น! เพราะมันไม่ได้ถอนอุปาทาน มันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา เราไปเห็นคนอุบัติเหตุ

เราไปเที่ยวป่าช้า ไปเห็นซากศพ ถ้าเห็นซากศพแล้วย้อนกลับมา มันอยู่เห็นซากศพ เราก็ต้องตายอย่างนี้ มันก็เศร้าหมอง มันทิ้งอารมณ์จากภายนอก ถ้าไม่มีสิ่งนี้เข้ามากางกั้นนะ จิตเรามันจะออกไปยึดหมดเลย ปัญญามันจะคิดไปเตลิดเปิดเปิง คิดดีอกดีใจ คิดยึดมั่น คิดต่างๆ ไป แต่พอมันมีสิ่งนี้เข้ามา สิ่งที่กายนอกให้เข้ามาเปรียบเทียบ พอเห็นแล้วมันจะปลงธรรมสังเวช มันจะหดตัวมันเข้ามา หดตัวเข้ามา

หดตัวเข้ามาเพื่ออะไร? หดตัวเข้ามาเพื่อเป็นอิสระ หดตัวเข้ามาเพื่อถึงตัวโลก คือถึงตัวใจ ถึงตัวใจแล้วถ้ามันจิตมันสงบแล้ว ออกไปวิปัสสนา วิปัสสนาออกไปเพื่อเห็นสัจจะความจริง เห็นสัจจะความจริง เห็นสัจจริงเกิดจากอะไร? เกิดจากจิตที่มันเป็นธรรม จากสิ่งที่เป็นโลก โลกคือจิตที่มันยึดมั่น ยึดว่าความคิดเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา มันเป็นโลก แต่ถ้ามันพอมันปล่อยมาเป็นอิสระ

ความคิดที่เกิดใหม่ ความคิดที่เกิดใหม่ ความคิดที่เป็นปัญญา มันความคิดโดยสัมมาสมาธิ มันเป็นธรรม เป็นธรรมพอมันเข้าไปแยกแยะบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า จนมันสะอาดบริสุทธิ์มันปล่อย ปล่อยเป็นตทังคปหาน คือปล่อยบ่อยครั้ง นี่ถูกทาง ถูกทางมาเรื่อย จนถึงที่สุดมันขาด! นี่ไงจากที่มันยึดโดยความเป็นปลอม ของปลอมคือมีกิเลสที่ไปยึดมั่นถือมั่นกับความจริง เวลามันปล่อยเข้ามา มันจริงๆ นะ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ กายมันก็เป็นกายจริงๆ เห็นจริง รู้จริง! มันเป็นความจริง!

สิ่งที่เป็นความจริงกับความจริงเข้ากับธรรมะ! ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอริยสัจ มันเป็นยิ่งกว่าความจริงอีก! แล้วจิตที่มันเป็นอริยสัจ ที่เป็นความจริง มันก็ปล่อยความจริงไว้เป็นตามความจริง ความจริงก็เป็นความจริงคงที่ ความจริงคงที่ว่า “กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์” มันก็ปล่อย มันก็รื้อสังโยชน์ออก มันก็ถอนอุปาทาน นี่ไงธรรมะจะเสรี

จิตนี้มันก็เสรี เสรีในสักกายทิฏฐิ เสรีในความเห็นผิด มันเห็นผิด มันเป็นเสรีของมันแต่มันยังไม่ถึงที่สุด ไม่ถึงวิมุตตินิพพาน มันก็วิปัสสนาซ้ำเข้าไป ความว่าเสรีมันต่างอันต่างจริง ความเป็นจริงของมันจะจริงคงที่ของมัน คือกายก็คือกาย สิ่งที่จิตนี้มันจะมีอุปาทานมายึดกายได้อีกเป็นไปไม่ได้! มันรู้จริงของมัน มันเห็นจริงของมัน พระโสดาบันจะอยู่อย่างนี้คงที่! คงที่มันเป็นอกุปปธรรม คงที่เลย ทั้งๆ ที่มีชีวิตอยู่ กายนี้เป็นเราอยู่นี่ คงที่

แล้วดูสินางวิสาขาได้เป็นพระโสดาบัน ยังมีครอบครัวได้ ครอบครัวได้เพราะใจมันยังเป็นกามราคะอยู่นะ เพราะใจมันละได้ที่อุปาทานเรื่องของกาย แต่เรื่องของจิต มันยังละอุปาทานของมันไม่ได้ ในการกระทำ มันถึงต้องธรรมะเสรี มันเสรีอย่างนี้ เสรีเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไป ถึงที่สุดนะ มันพ้นจากความเป็นธรรม เป็นเสรีเพราะ “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ธรรมะนี้จะเป็นสัจจะความจริง

สัจจะความจริง การก้าวเดิน กิจจญาณ สิ่งที่จะมีคุณธรรมขึ้นมา มันจะมีการกระทำมาอย่างนั้น มันจะรู้จริงตลอด รู้จริง รู้จริงในเรื่องของโลกด้วย โลกเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่มีการประพฤติปฏิบัติอยู่ มันจะเวียนไปอย่างนี้ สิ่งที่มันเวียนไป มันเป็นเวรไปตามผลของกรรม สิ่งที่ทำมา กรรมดีกรรมชั่ว กรรมเก่ากรรมใหม่ กรรมต่างๆ มันจะขับดันให้เป็นสภาวะเป็นอย่างนี้

แล้วคนที่ไม่เห็นคุณค่าของมันก็ยังตื่น ยังลืมตัวไปกับมัน ยังถือศักยภาพว่าตัวเองมีสถานะ ตัวเองมีความรู้ ตัวเองมีต่างๆ ยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่น มันจะเหยียบย่ำใจดวงนั้นเพราะการยึดมั่นถือมั่น ถึงต้องตายตรงนั้น ยึดที่ไหนตายที่นั่น! แล้วยิ่งยึดยิ่งเกิด ยิ่งยึดยิ่งมี ยิ่งยึดยิ่งเป็น แต่เราจะถอนอุปาทานของเราแล้ว มันยึดไหม? มันยึดอะไร? มันยึดแต่สิ่งที่เป็นละเอียดที่มันยังปล่อยไม่ได้ แต่สิ่งที่มันรู้จริงมันจะยึดได้อย่างไร ในเมื่อมันต่างอันต่างจริง มันไม่มีการสืบต่อที่จะไปยึดกันได้ มันจะไปยึดได้อย่างไร? ของไม่ใช่ของเรา

ดูสิ! สมบัติของเรา เราว่าต้องเป็นของเราใช่ไหม? โดยอุปาทาน โดยต่างๆ เป็นของเราทั้งนั้น แต่ถ้ามันไม่ใช่ของเรา จะว่าเป็นของเราได้ไหม? มันเป็นของเราไม่ได้ มันเป็นต่างอันต่างจริง นี่ต่างอันต่างจริง มันถึงย้อนกลับมา ย้อนกลับมาให้มีการประพฤติปฏิบัติ ให้มันย้อนกลับเข้ามาที่หัวใจ ถ้าหัวใจมันย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับมาเพื่อเรานะ ทวนกระแส!

ถ้าไปแก้กันข้างนอก ไปแก้กันโดยการศึกษาเป็นชีวิตประจำวัน ชีวิตที่เกิดตาย มันหยาบเกินไป หยาบมากๆ ชีวิต.. การกระทำที่เป็นหัวใจ ดูสิ! ยืน เดิน นั่ง นอน กิริยามันเดินมันเป็นธรรมชาติของมัน แต่หัวใจในมรรคญาณมันหมุนอยู่ข้างใน ปัญญาที่มันหมุนอยู่ภายใน มันหมุนออกไป มันหมุนหาทางออกนะ หมุนๆๆ หมุนโดยมรรคญาณ หมุนโดยการสัจจะความจริง คุณค่าของคนมันอยู่ตรงนี้

คุณค่าของคน ดูสิ! เวลาเดินจงกรมเราเหนื่อยไหม? เวลาเราทำกิจกรรมของเรา เราเมื่อยเราเพลียไหม? สิ่งที่เมื่อยเพลียมันคือร่างกาย ร่างกายพักผ่อนเดี๋ยวมันไปได้แล้ว แต่เวลาอารมณ์เครียด อารมณ์ความรู้สึกของใจของจิต มันจะปล่อยได้ไหม? มันปล่อยไม่ได้ แต่ธรรมะเสรีทำให้มันเสรีได้ ถ้าทำให้เสรีได้ เราเห็นผลของมัน เรามีการกระทำของมัน การกระทำสิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากเรา

“ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” มันจะเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ใจนะ แล้วไม่ตื่นเต้นสิ่งใดๆ เลย โลกนี้โลกสมมุติ โลกหลอกลวงทั้งนั้น โลกคำว่าสมมุติไง สมมุติมันชั่วคราว ไม่มีอะไรคงที่เลย แล้วเราไปยึดสิ่งที่เป็นเงา ดูสิคนโง่ขนาดไหนไปตะครุบเงาแล้วมันจะได้ไหม? ไอ้ตัวจริงมันยืนอยู่นี่ ไอ้ตัวจริงก็คือตัวใจนี่ มันจะย้อนกลับมาที่ตัวใจ ถ้าย้อนสติสัมปชัญญะเราตั้งไว้ให้ดี เดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนา

ดูพระออกธุดงค์ ธุดงค์เพื่ออะไร? ธุดงค์เพื่อหาตัวเอง ธุดงค์ไปเพื่อจะแก้กิเลสตัวเอง แล้วอยู่กับที่ทำไมทำไม่ได้ล่ะ อยู่กับที่มันชินชาหน้าด้าน! ถ้ามันชินชาหน้าด้าน กิเลสมันจะขี่หัว เป็นคนเก่ง เป็นคนดี เป็นคนทุกอย่างเลย มันจะให้คะแนนตัวเองอย่างเดียว แต่ถ้าออกไปธุดงค์แล้ว มันไม่มีใครหรอกไม่มี มันหน้าด้านไม่ได้

เพราะเป็นพระ เป็นพระบิณฑบาตเป็นวัตร อาหารตกบาตรมา ความเป็นอยู่แค่นี้ สิ่งที่แค่นี้มันไม่มีสถานะใดๆ เลย ไม่มีอะไรมายกย่องให้กิเลสมันเข้มแข็งขึ้นมาได้ การธุดงค์คือการขัดเกลากิเลส การธุดงค์ไปขนาดไหนก็เพื่อหาตัวใจตัวนี้ ใจตัวนี้ไง ถ้าใครยังประพฤติปฏิบัติไม่เห็นจำเลย เราจะเอาใครเป็นคนฟ้องศาล ถ้าไม่มีจำเลย เราฟ้องเขาลับหลัง มันได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา ฟ้องเสร็จเขาให้เงินเราไหม? เขาเป็นหนี้เป็นสินเรา เขาจะใช้หนี้เราไหม?

จิตที่มันปล่อยวางเข้ามาแล้ว มรรคญาณ มรรค ๔ ผล ๔ มรรคมันรวมตัว แล้วมันชำระกิเลสแล้ว จิตสงบแล้ว น้อมไปหากาย เวทนา จิต ธรรม ถ้ามันจิตสงบขึ้นมา มันมีกำลังของมันขึ้นมา โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรคมันคนละอัน โสดาปัตติมรรค สติ.. สติต้องของโสดาบัน ปัญญาของโสดาบัน สติของสกิทาคา มันเป็นสติของสกิทาคา สติของพระอนาคา สติของพระอรหันต์ มันคนละชั้นคนละตอนทั้งนั้น

เพราะมันเป็นสติ มหาสติ สติอัตโนมัติ สติที่มันเข้มแข็ง สติมันขึ้นไป ปัญญา! ปัญญามีดคมกล้า มีดเชือดโค มีดคมกล้าที่เชือดสัตว์ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ มีดคมกล้าตั้งแต่.. นี่ปัญญามันจะเฉียบคม เฉียบคมนะ เฉียบคมในการต่อสู้กับตัวเอง เฉียบคมในการต่อสู้กับพญามารในหัวใจ ไม่ได้เฉียบคมไปอวดใครหรอก สิ่งที่อวดไปข้างนอกมันไม่มีประโยชน์สิ่งใดๆ เลย

อวดขนาดไหน ปัญญาเดี๋ยวนี้นะ เทคโนโลยีเขานะ คอมพิวเตอร์นะ เขาสร้างสภาวะ เขาจะคำนวณอะไร เขาไม่ต้องไปนอกโลกเลย เขาสร้างภาพในคอมพิวเตอร์ได้หมด มนุษย์คิกขึ้นมา มนุษย์สร้างขึ้นมา แล้วมนุษย์ก็ให้มันสร้างภาพขึ้นมา ให้มนุษย์วิจัยเรื่องต่อๆ ไป มันก็เวียนกันอยู่อย่างนั้น มันไปไหน? แต่ขณะที่มันเกิดขึ้นมา ปัญญาของเราขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาจากใจ มันไม่มีใครเห็นของเราหรอก แต่มันเป็นสัจจะความจริง

ดูสิ! เวลาทำสมาธิขึ้นมาอยู่ในป่าในเขา ตอนพระออกธุดงค์ปฏิบัติ เวลาเกิดฌานสมาธิขึ้นมา เทวดา อินทร์ พรหม เขายังมาปกป้องดูแล ดูสิ! ดูอย่างเทพ เสือเทพ เสือต่างๆ ผีต่างๆ เขามาช่วยให้เราปฏิบัติได้ง่ายๆ ขึ้น สิ่งต่างๆ นี้เขาทำเพื่ออะไร? เขาทำเพื่อบุญกุศลของเขา เขาทำเพื่อคุณงามความดีของเขา เขาทำไม่ได้ เขาไม่รู้จักขึ้นมา แต่ถ้าเขาส่งเสริมขึ้นมา ให้ใคร? ให้ผู้ที่ปฏิบัติ ได้ผลประโยชน์ของเขา มันจะเป็นสมบัติของผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินั้น

ดูสิ! ดูเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ออกจากราชวังมา พระเจ้าพิมพิสาร คิดว่ามีการแก่งแย่งสมบัติกัน เราให้กองทัพครึ่งหนึ่ง กลับไปเอาเมืองนั้นคืน เจ้าชายสิทธัตถะบอกไม่ใช่ ออกมาด้วยศรัทธา ออกมาด้วยการหาโมกขธรรม พระเจ้าพิมพิสารขอไว้เลย ถ้าประพฤติปฏิบัติได้บรรลุ ได้โพธิญาณแล้ว ขอให้กลับมาสั่งสอนด้วย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว เทศนาว่าการได้ปัญจวัคคีย์ ได้ต่างๆ แล้วกลับมาเอาพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน เพราะพระเจ้าพิมพิสารก็มีอาจารย์อยู่แล้ว ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นอาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสาร เวลามาแล้วจะไปเอาใครก่อน ไปเอาชฎิล ๓ พี่น้องก่อน ที่ไปเอาชฎิล ๓ พี่น้องก่อน แล้วพระเจ้าพิมพิสารจะไปยืนเคารพอาจารย์ของตัว ไปเห็นชฎิล ๓ พี่น้องกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ด้วยกัน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอายุน้อยกว่า ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นผู้เฒ่า แล้วนี่อาจารย์ของเรา แล้วใครเป็นอาจารย์? องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ชฎิล ๓ พี่น้องให้แสดงตัว ชฎิล ๓ พี่น้อง เหาะขึ้นไปบนอากาศก้มลงมากราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา จนทุกอย่างเห็นว่าใจควรแก่การงาน

ถ้าใจไม่ควรแก่การงาน ใจเราไม่เปิด ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นอาจารย์ของเรา แล้วจะไปฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟังเทศน์แล้วมันจะไม่ได้ผล จนชฎิล ๓ พี่น้องเหาะขึ้นไปลงมากราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาเรา จนถึงที่สุดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบันขึ้นมา

เวลาต้องการให้กลับมาสอน กลับมาสอน ถ้าได้โพธิญาณแล้วให้กลับมาสอนด้วย กลับมาสอน สอนเพื่ออะไร? สอนเพื่อให้เรามุมานะ ให้เรามีการกระทำ การกระทำของเรามันเป็นอำนาจวาสนาของแต่ละบุคคล โอกาสและจังหวะของเขา ดูสิ! ดูชีวิตเรา ถ้าเรามีศรัทธาความเชื่อ เรามีการกระทำของเรา เราจะทำคุณงามความดีของเรา

แล้วเวลามันเสื่อมล่ะ? ความเห็นของเราแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละเวลามันคงที่ไหม? เดี๋ยวกิเลสมันได้โอกาสนะ มันก็เหยียบย่ำเรา เดี๋ยวธรรมะเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็ว่าเราจะสืบต่อศาสนา เราจะเป็นศาสนทายาท เราจะจรรโลงศาสนา ทำเถิด.. เพราะในพรหมจรรย์นี้ไม่ใช่ทำเพื่อใคร พรหมจรรย์นี้ทำเพื่อเรานะ ธรรมไม่ได้เป็นอาจารย์ของใคร ไม่ได้แก้ทิฏฐิมานะของใคร แต่ต้องแก้เราให้ได้ก่อน ถ้าแก้ให้เราได้แล้วนะ

นี่ไง! ผู้ที่ไม่ต้องการสิ่งใดเลย ผู้ที่ไม่ปรารถนาสิ่งใดเลย จะได้ทั้งหมดเลย ได้ ได้พละไง มันไม่ได้อะไรเลย เพราะไม่มีสมบัติใดๆ เลยดีเท่ากับการปล่อยวางของจิต จิตมันปล่อยวางสิ่งต่างๆ ที่เป็นกิเลสในใจของจิตดวงนั้นๆ สมบัติอันนี้ล้ำค่าที่สุด สมบัติข้างนอก มันเป็นอำนาจวาสนาบารมีของครูบาอาจารย์แต่ละองค์ที่ไม่เท่ากัน ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ท่านมีอำนาจวาสนาบารมี

ดูสิ! การเทศนาว่าการ ถ้ามีวุฒิภาวะเหมือนกัน คิดเหมือนกัน การแสดงออกมาก็ยังไม่เหมือนกันเลย การแสดงออกมา สิ่งนี้มันมาจากไหน? ก็เหมือนจริตนิสัย กรรมของใครของมัน การสร้างมาเหมือนกัน การกระทำมาไม่เหมือนกัน สิ่งที่ให้ไม่เหมือนกัน ผลก็ให้ค่าไม่เหมือนกัน สิ่งที่ให้ค่าไม่เหมือนกัน เพราะเป็นการกระทำทั้งหมด การกระทำทั้งหมดถึงไม่มีสูญเปล่า

เราประพฤติปฏิบัติของเราก็ไม่สูญเปล่า ในการกระทำเราไม่สูญเปล่า ไม่สูญเปล่ากับเรา ทำดีเพื่อดีแล้วเราจะไม่ทุกข์ไม่ยากเลย ถ้าทำดีเพื่อดีนะเราต้องแบก เราเองเอาความรู้สึกของเรา ไปให้คนอื่นเขาให้คะแนน ทำไมต้องเอาชีวิตเรา ให้คนอื่นเขาบอกเราดี เราเป็นอย่างนั้น ทำไมเราต้องเอาชีวิตเราไปฝากไว้กับคนอื่น ชีวิตของเรามันก็คือของเราใช่ไหม

ในการประพฤติของเรา ผิดถูกขึ้นมานี่เรารู้ เราซื่อสัตย์กับตัวเราไหม? ถ้าเราเป็นสุภาพบุรุษ เราซื่อสัตย์กับเรา แล้วครูบาอาจารย์มีไหม? ถ้าครูบาอาจารย์มี คุณธรรมในเมื่อเราทำขึ้นมา ทำไมเราพูดไม่ได้ ก็พูดกับท่านสิ พูดกับท่านสิ ของผมเป็นอย่างนี้ การกระทำผมเป็นอย่างนี้ ถ้าครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์นะ ท่านจะแก้ไขให้เรา แก้ไขนะ เพราะอะไร?

ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ดูสิ! เหมือนเด็ก มันฝึกงานของมัน มันทำงานของมัน กว่ามันจะทำได้ มันใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านมาแล้วอย่างนี้ ท่านเห็นกิริยา ท่านก็รู้อยู่แล้ว ว่าควรจะบอกอย่างไร แต่! แต่บอกไปเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ถ้าไม่เป็นประโยชน์นะ บอกไปแล้วเขากลับเกิดทิฏฐิมานะ เกิดการยึดความผิดนั้นเป็นความจริง แต่ถ้าปล่อยให้เขาเห็นถูกเห็นผิด แล้วค่อยบอกเขา เขาจะปล่อยวางของเขามา หรือว่าถ้าเขามีบุญกุศลนะ เราพูดสะกิดไปหรือถ้าฟังเทศน์

ฟังเทศน์นะ ระยะทาง ๑oo เมตรถ้าเราผ่านไป เราวิ่งมาแล้ว ในระยะทางของเราได้ ๔o เมตร เราคิดว่าเรา ๑oo เมตรแล้ว แล้วถ้าเดินไปอีกมันยังไปได้ ทำไม ๑oo เมตรเราทำไมมันไปได้อีก นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติเราตรวจสอบของเราเอง ว่าเป็นสภาวะของเราเป็นอย่างไร เป็นอย่างไร มันเห็นโทษของมัน มันเห็นการติดของมันนะ ถ้าเรามีวาสนานะ ถ้ามีวาสนา เรายึดว่า ๔o เมตรนี่เป็น ๑oo เมตร แล้วคนที่เขาเห็น ๑oo เมตร เขาธรรมสังเวช... ๔o เมตรเองมันจะเป็น ๑oo เมตรได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้หรอก แต่ทิฏฐิมานะมันยึดมันก็ว่าของมันได้นะ ได้มันเป็นนามธรรม

สิ่งที่เป็นนามธรรม อำนาจวาสนาอย่างหนึ่ง การประพฤติปฏิบัติอย่างหนึ่ง จิตอย่างหนึ่ง การกระทำมันทดสอบ ตรวจสอบกันอย่างนี้ ถ้าทดสอบตรวจสอบ.. ผู้รู้เท่านั้นถึงจะรู้จริง ผู้รู้เท่านั้นนะ ผู้ไม่รู้ มันได้ยินได้ฟังขนาดไหน เป็นสถิติแล้วเราจำของเราไว้ ถึงเวลาจริงแล้วทำไม่ได้ ถึงเวลาจริงแล้วทำไม่ได้หรอก แต่เวลาสัมมนาได้ พูดได้ พูดได้หมดล่ะ แต่ทำจริงไม่ได้ ทำจริงไม่ได้! แก้ไขไม่ได้ ไม่รู้จริง

ถ้ารู้จริงขึ้นมา รู้จริงขึ้นมามันไม่พ้นจากความรู้หรอก ไม่พ้นจากความเห็นจริง ถ้ารู้ไปตามเห็นจริง เราถึงมีโอกาสอย่างนี้ ถึงว่าพรหมจรรย์นี้ไม่ใช่เพื่อใคร ไม่ใช่เพื่อใครเลย เพื่อจิตดวงนี้ก่อน แล้วถ้าจิตดวงนี้มันเป็นไปตามความจริง มันจะเป็นประโยชน์จริงๆ เป็นประโยชน์ อยู่เฉยๆ ก็เป็นประโยชน์ อยู่เฉยๆ แต่จิตดวงนี้มันเป็นประโยชน์เพราะอะไร? เพราะจิตดวงนี้มันพ้นจากแรงเหวี่ยง พ้นจากแรงดึงดูดต่างๆ ทั้งหมดของกิเลสหมดแล้ว มันอยู่ของมัน มันก็เป็นประโยชน์ของมัน

ดูสิ! อยู่เฉยๆ มันก็ฟอกใจ ฟอกกายดวงนี้ แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจริง เขาจะรู้จริง “วิหารธรรม” จิตนี้จะเป็นวิหารธรรม เวลามันเดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนา เพื่อให้จิตมันวิหารธรรม แล้วคำว่าวิหารธรรม ดูสิ! วิหารธรรมของจิตของดวงนั้น พลังของธรรม มันก็ครอบโลกไปหมดเลย แล้วโลกมีสิ่งนี้เป็นพลัง ดูนะแหล่งน้ำ แหล่งน้ำมันเป็นประโยชน์กับพืชพรรณธัญญาหาร มันเป็นประโยชน์ทุกๆ อย่างเลย อากาศมันก็เป็นอากาศที่บริสุทธิ์ เราไปสูดอากาศนั้นมันก็เป็นบริสุทธิ์

นี่ก็เหมือนกัน สภาวธรรมที่มันเป็นธรรม มันธรรมครอบโลก มันเป็นความร่มเย็นเป็นสุขนะ เทวดา อินทร์ พรหม ได้รับแสงได้รับธรรม สภาวธรรมแบบนั้น แล้วเราล่ะ เราได้สภาวธรรมไหม? เพราะกิเลสเรามันหนา มันไม่ยอมรับ มันว่าสิ่งที่มันเป็นธรรม มันว่าเป็นกิเลสเพราะอะไร? เพราะครูบาอาจารย์เหมือนพ่อแม่ใช่ไหม สิ่งใดที่มันเป็นคุณเป็นโทษ ท่านก็จะคอยบอก คอยชี้ คอยแนะนำ ถ้าแนะนำมาอย่างนั้น เราก็ว่าสิ่งนั้นเป็นการจับผิด

แต่ถ้ามันเป็นธรรมนะ เราสะเทือนใจมาก ถ้าเราถึงเวลาแล้ว ถึงเวลาของเราที่เราแก่เราเฒ่าไป เราจะเป็นอย่างนั้นหมด เด็กมันเบื่อมาก พ่อแม่คอยบังคับบัญชา แต่พอเขาโตขึ้นมา เขาก็ต้องเป็นพ่อแม่คน เขาก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน เวลาเขาทำอย่างนั้น แล้วมันก็มีกรรมไง กรรมที่เขาเคยดื้อเคยดึงไว้ เขาจะไปเจอสภาวะแบบนั้น

นี่ก็เหมือนกันในการประพฤติปฏิบัติ ในการอยู่กับครูบาอาจารย์ ถ้าเราเห็นคุณประโยชน์ของเราขึ้นมา วันหลังถ้าเราเป็นผู้นำขึ้นมา การปกครองการดูแล การดูแลไม่ใช่เพื่อใครนะ ศาสนทายาท... เพื่อประโยชน์กับสังคม เพื่อประโยชน์สังคมนะ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากธรรมไว้แล้ว ฝากธรรมไว้แล้วกับเรา

เราเป็นผู้รับมรดก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เราเป็นชาวพุทธนะ “มารเอย ถ้าบริษัท ๔ ของเรายังไม่สามารถกล่าวแก้คำจาบจ้วงของลัทธิต่างๆ ได้ เราจะไม่ยอมนิพพาน” แล้วเราแก้ได้ เราแก้ได้ขนาดที่เราพูดกันเป็นวิชาการ แต่ถ้าเกิดเป็นกรณีความจริงขึ้นมาล่ะ เหมือนเราขับรถเลย ไปประสบอุบัติเหตุแล้วเราจะแก้ไขอย่างไร? ถ้าเราทำอะไรไม่ได้ เราประสบอุบัติเหตุเราจะทำอย่างไร? แต่ถ้าเราแก้ของเราได้ ประสบอุบัติเหตุหรือใครประสบอุบัติเหตุเราแก้ไขได้หมด

นี่เหมือนกันถ้าจิตมันเป็นไป กล่าวแก้คำจาบจ้วงของลัทธิต่างๆ ได้ กล่าวแก้จากข้างนอก ข้างนอกคือการเห็นผิด ในลัทธิ ในคำสอน ข้างในคือกิจจญาณ คือการกระทำของจิต จิตมันมีการกระทำของมันอย่างไร? แล้วมันลบ มันปลด มันเปลื้อง มันทำใจของมันอย่างไร ให้เป็นธรรมะเสรี ให้มันเป็นโลกุตตรธรรม มันจะพ้นเข้ามานะ พิจารณาไป กาย เวทนา จิต ธรรม มันจะปล่อยเข้ามา เป็นสกิทาคานะแยกออกมา “กายเป็นกาย จิตเป็นจิต” แยกออกจากกันตามสัจจะความจริง

การแยกการแตกออกไป แล้วมรรคมันจะรวมใหญ่ จิตนี้ราบหมดเลย โลกนี้ไม่มีสิ่งใดๆ โลกนี้ราบหมดเลย มันจะเป็นอิสระของมันอีกชั้นหนึ่ง มันเกิดการกระทำนะ แล้วว่างมาแล้ว พอว่างขึ้นมา อนาคามรรคอยู่ไหน? ถ้าอนาคามรรคขึ้นมาจับขึ้นไปมันจะเจอกามราคะ นี่ไง! ผู้ที่เห็นอสุภะมันเห็นที่นั่น เราประพฤติปฏิบัติกันโดยโลก พอปฏิบัติกัน มองให้เป็นอสุภะ มองให้เป็นอสุภะ ไม่ใช่หรอก!

เห็นกายขึ้นมาสัจจะความจริงเป็นของกาย แต่ถ้ามันไปเห็นอสุภะนะ เห็นอสุภะเพราะจิตมันเป็นธรรม จิตมันเป็นธรรมมันเป็นอนาคามรรค พอมันพิจารณาเห็นกาย มันเป็นอสุภะ อสุภะเพราะอะไร? เพราะสามัญสำนึกของทุกคนต้องการสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ต้องการสิ่งที่สวยที่งาม สิ่งที่มันพอใจ สิ่งที่เป็นความพอใจมันก็เป็นกามราคะ แต่ถ้าเพราะจิตมันมีวุฒิภาวะของมัน เพราะมันทำขึ้นมาจนผ่านกายกับจิตแยกออกจากกันเป็นธรรมชาติแล้ว ผ่านการที่มันเกี่ยวเนื่อง

พอจิตเกี่ยวเนื่องปั๊บมันเป็นธรรมขึ้นมา พอเป็นธรรมขึ้นมา สภาวธรรม สภาวะอริยสัจ สภาวะอริยสัจที่มันออกไปมันเห็นเป็นอสุภะ เพราะมันเป็นสภาวธรรม มันเป็นอสุภะจริงๆ แต่อสุภะของโลก มันต้องใช้กาลเวลา มันถึงจะเปื่อยเน่าไป แต่ขณะที่เป็นปัจจุบัน จิตที่เป็นปัจจุบัน แล้วมันเห็นสภาวะความจริงในปัจจุบันนั้น มันจะเป็นอสุภะอย่างนั้น แล้วมันจะสะเทือนหัวใจ จนบ่อยครั้งเข้ามันจะกลืนเข้ามาที่ใจ แล้วมันหลุดกันที่ใจ

ถ้าหลุดที่ใจ พอหลุดที่ใจ ใจว่างหมด ใจนี่เป็นสภาวะเฉยๆ เลย จิตเดิมแท้ผ่องใสๆ มันจะเป็นสภาวะที่ไม่ใช่ความคิดแล้ว ถ้าไม่ใช่ความคิด แล้ว อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ สิ่งที่เป็นปัจจยาการ สิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน มันละเอียดเข้าไป อรหัตตมรรคนี่ยิ่งละเอียดเข้าไปใหญ่ ถ้ามันไม่มีครูบาอาจารย์ มันก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เป็นธรรม

สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งที่มันปล่อยมา เป็นธรรมะเสรีแล้วนะ ธรรมะเสรี! สิ่งที่เป็นเสรี สิ่งที่เป็นธรรมะอยู่ มันมาจากไหน? มันมาจากโลก ก็โลกมันยังมีอยู่ โลกมันเป็นสัจธรรมความเป็นจริงอยู่ มันเป็นการปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา ถ้ามันยังมีอยู่ มันมีสถานที่ตั้ง มันเป็นภพ มันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ สิ่งที่ยังพิสูจน์กันได้ สิ่งที่สื่อความหมาย สิ่งที่ยังมีอยู่ มันจะละเอียดขนาดไหน มันก็ยังมีอยู่ แต่ถ้าจิตมันเข้ามา เข้ามาถึงตัวมันเอง มันจะละเอียดมาก

คำว่าละเอียดๆ แล้ว ละเอียดแล้วยังมีเป็นละเอียดเป็นชั้นๆ เข้าไปอีก ถ้าละเอียดเป็นชั้นๆ เข้าไป มันถึงทำลายของมัน ทำลายตัวมันเอง สิ่งที่ว่าเสรีๆ นี้ไม่มีทั้งสิ้น! เพราะมันเก่าได้ มันพูดได้ มันทำลายได้ ถึงที่สุดแล้วนะ นิพพานพูดไม่ได้! มันทำลายตัวมันเองจนพ้นออกไปหมดเลย!

พอพ้นออกไป นี่ไง! สภาวธรรมที่มันครอบโลกอยู่ มันเป็นสิ่งที่มันพ้นออกไปจากใจ พ้นออกไปจากโลกทัศน์ภายใน โลกทัศน์นี้สื่อกันด้วยสมมุติเฉยๆ นะ สิ่งที่มันพ้นออกจากโลกทัศน์ พ้นออกไปทั้งหมดเลย ธรรมะอย่างนี้ถึงเป็นธรรมะแท้ๆ

ธรรมะแท้ๆ สิ่งที่มันทุกข์มันยาก สิ่งที่มันโง่มันเขลาอยู่นี้ ถึงที่สุดมันก็ทำของมันได้ แล้วมันก็พ้นของมันได้นะ จะบึกจะบึนขนาดไหน จะมีอำนาจวาสนาขนาดไหน อำนาจวาสนามากก็ทำได้ง่าย อำนาจวาสนาน้อยก็บืนของเราไป ก็พยายามมุมานะของเราไป เพราะเราทำของเรามาเอง เราสร้างของเรามาเองนะ สิ่งต่างๆ นี้ เราสร้าง ปัญญานี้เราก็สร้าง สร้างให้มันเป็นธรรมะเสรี ถึงที่สุดแล้วมันเป็นธรรมแท้ๆ พ้นจากสมมุติทั้งหมด เอวัง