ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เทศน์หลังฉันจังหัน

๖ ก.ย. ๒๕๕๑

 

เทศน์หลังฉันจังหัน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาภาวนา เวลาเราปฏิบัตินะ มันธรรมะนี่ธรรมะเหนือโลก พอธรรมะเหนือโลก พวกเรามันติดอยู่ในกรงขัง หลวงตาจะบอกว่าพวกเราติดอยู่ในกรงขัง ความคิดพวกเราติดอยู่ในกรงขัง เหมือนเรานักโทษนะ เวลาคิดอะไรก็นักโทษคิด ไอ้พวกเรานี่นะ มันมีอวิชชาปกคลุมอยู่ ขันธ์ ๕ มันขังใจเราอยู่ เราจะคิดอะไรก็แล้วแต่ ถ้านักกฎหมายก็คิดทางมองแง่มุมกฎหมาย นักปกครองนักอะไรต่างๆ เขาก็มองตามเขา อยู่ที่ความคิดไง อยู่ที่ข้อมูล อยู่ที่วิชาชีพ นี่พูดถึงมุมมองมันส่วนมุมมอง แต่เวลาอยู่ในกรงขังมันอยู่ในอวิชชาทั้งหมด อยู่ในอวิชชาทั้งหมด ความคิดเราอยู่ในอวิชชาทั้งหมดเลย

ทีนี้พอคิดอะไรออกมาปั๊บ มันก็คิดแบบโลกไง แบบโลกอย่างที่เราคิดกันได้ เราพูดท้าทายบ่อยมากเลยว่า พวกเราจินตนาการเรื่องนรกสวรรค์ได้ แต่ทุกคนจินตนาการเรื่องนิพพานไม่ได้ เพราะจิตพวกเราเคยเกิดเคยตายในวัฏฏะ เคยเกิดบนนรกสวรรค์ เคยเกิดมาทั้งหมดใช่ไหม ดูอย่างพวกศิลปะเขาวาดรูปตามฝาผนัง เขาก็วาดเรื่องบนสวรรค์ได้ เขาวาดเรื่องนรกได้ เขาจินตนาการได้ แต่พูดถึงนิพพาน วาดไม่ได้ แต่พวกเซนเขาจะเขียนวงกลม ว่างไง ศูนย์ วงกลม

ทีนี้พอเราปฏิบัติไปมันจะเป็นอย่างนี้ พอเราปฏิบัติไป เราจะเห็นโครงกระดูก เราจะเห็นอะไรต่างๆ การเห็นต่างๆ สรรพสิ่ง เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราศึกษาธรรมะกัน พอเราปฏิบัติปั๊บนะ มันต้องเห็นสภาวะแบบนั้น ไอ้เห็นนี่นะ เห็นได้เป็น ๒ กรณี กรณีหนึ่ง เราเห็นโดยข้อเท็จจริง กรณีหนึ่ง เราเห็นโดยอุปาทาน

เห็นโดยข้อเท็จจริง คำว่า “ข้อเท็จจริง” คือบุญกุศล คือของใครสร้างบุญกุศลมา สร้างสิ่งใดๆ มา มันจะเห็นตามข้อเท็จจริง แต่ข้อเท็จจริงอย่างนี้เขาเรียกว่าธรรมเกิดๆ มันเกิดมาโดยที่เราไม่ได้สร้างขึ้นมา คือเราควบคุมไม่ได้

การเห็นบางทีเราควบคุมไม่ได้ใช่ไหม แต่ถ้าเป็นธรรมะ ธรรมะนี่นะ พวกเราต้องทำใจสงบก่อน ทำพื้นฐานในใจของเราให้ได้ก่อน แล้วพอมันเกิดขึ้นมาสิ่งต่างๆ มันเหมือนกับเราควบคุมได้ไง วิปัสสนามันเกิดอย่างนี้ ทีนี้พอมันเกิด เวลาเห็นโครงกระดูก เห็นอะไรต่างๆ ถ้าเราแม้แต่นะ แม้แต่เราควบคุม คำว่า “ควบคุมได้” เราทำไปมันยังมีอุปสรรคเลย มันมีอุปสรรค มีขวากหนาม มีการกระทำไป มันจะอุปสรรค มันจะทำได้ถึงเป้าหมายไม่ถึงเป้าหมาย

ทีนี้ไอ้ถึงเป้าหมายไม่ถึงเป้าหมายนั่นอีกเรื่องหนึ่ง การเห็นมันเห็นได้หลากหลาย ฉะนั้น พอเห็นเป็นโครงกระดูก เห็นเป็นสิ่งต่างๆ โดยหลักเราต้องกำหนดก่อน กำหนดที่จิตเรา หลวงตาท่านสอนประจำนะ ท่านบอกว่าอยู่กับผู้รู้ อยู่กับสติจะไม่เสียหาย จะเห็นอะไรก็แล้วแต่ การเห็น จิตมันเห็น จะเห็นด้วยข้อเท็จจริง จะเห็นด้วยอุปาทาน จะเห็นอะไรก็แล้วแต่ เห็นนั้น จิตเห็นไหม จิต ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ เหมือนมองเรา หรือเสียง หู ฟังเสียงจากเรา เสียงกระทบหูเรา เรารู้สิ่งนั้นขึ้นมา นี่ไง จิตเห็น จิตเห็น

ฉะนั้น จิตเห็น จิตเป็นคนเห็นใช่ไหม เราต้องรักษาจิตนี้ไว้ คือเราต้องตั้งสติไว้แล้วกำหนดพุทโธ ถ้ากำหนดพุทโธ เราก็รักษาจิตนี้ไว้ เพราะจิตเป็นผู้เห็นใช่ไหม ถ้าจิตนี้มันควบคุมได้ มันเห็นได้ เรารักษาตรงนี้ได้ ความเห็นนั้นเหมือนผู้ใหญ่เห็น เราเห็น เราเป็นเจ้าของงาน เนื้องานต่างๆ เราเห็นแล้วเราจับ สิ่งใดที่ผิด แล้วก็ที่ถูก สิ่งนั้นเราแก้ไขเราได้เพราะเราเป็นคนจัดการ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้ เราไปเข้าใจสิ่งที่เห็น มันส่งออกแล้ว ผู้เห็นกับสิ่งที่เห็น ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ สิ่งที่ถูกรู้คือภาพที่รู้ไง ทีนี้เราไปอยู่ที่ภาพที่รู้ปั๊บนะ ผู้รู้หายเกลี้ยงเลย เราไปดูข้างนอกหมดไง

ทีนี้สิ่งที่เราไปเห็นข้างนอกคือเห็นกาย เห็นโครงกระดูก เราเห็นใช่ไหม สิ่งที่ถูกรู้ ข้อเท็จจริง แต่ข้อเท็จจริงอย่างนี้มันเป็นนามธรรมที่เราจะต้องรักษาพื้นฐานของใจ คือต้องกำหนดจิตนี้ให้ได้ คืออย่าไปตื่นเต้นกับสิ่งที่รู้ แต่ควรจะควบคุมผู้รู้ ควบคุมผู้รู้ไง ควบคุมใจเราไง

ทีนี้คนส่วนใหญ่โดยสามัญสำนึก ทุกคนไม่ควบคุมที่เรา แต่อยากรู้ อยากรู้อยากเห็น อยากรับรู้ อยากเข้าใจสิ่งนั้น เพราะว่าเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม ถ้าใครพิจารณากาย ใครเห็นกาย ใครแยกแยะกายแล้ว สิ่งนั้นเราจะละสักกายทิฏฐิ นี่ไง เป้าลวง เวลาทำมันจะมีเป้าลวง พอเราออกไปอยู่ที่เป้าลวงปั๊บนะ พื้นฐานหายเกลี้ยงเลย แล้วรอวันอะไรรู้ไหม รอวันม้วนเสื่อไง รอวันเสื่อม แล้วเราจะเสื่อม แล้วเราจะทุกข์จะยากกัน แล้วเวลาคิดนะ อ้าว! ก็ทำถูกแล้วไง ก็เห็นกายไง ก็พิจารณากายไง แต่ลืมฐาน ลืมจิต ลืมผู้รู้

ฉะนั้น มันต้องกลับมาที่นี่ พยายามกลับมาที่นี่ พอกลับมาที่นี่แล้วนะ เรารักษาเรา เรารักษาเรา เราจะไม่เสียหายเลย แล้วสิ่งที่เราจะไปเห็นจะไปรู้มันจะชัดเจน มันจะดีขึ้น เหมือนกับเราค่อยฝึกงานไปไง ถ้ามันรู้มันเห็นอะไร ไม่ต้องไปตื่นเต้นอะไรกับสิ่งที่เรารู้ ถ้ามันรู้จริงตามข้อเท็จจริง ถ้าตามข้อเท็จจริงมันจะเห็นอย่างนั้น ถ้าตามข้อเท็จจริง ใครเป็นคนเห็น ก็จิตมันไปเห็น ถ้าจิตมันจะไปเห็นได้ จิตมันต้องมีวุฒิภาวะ ถ้าไม่มีวุฒิภาวะนะ มันก็เป็นอย่างที่ว่าเห็นโดยอุปาทาน มันจะเป็นอุปาทานไง เราสร้างภาพไง มันเป็นภาพสร้าง

ทีนี้พอเป็นภาพสร้าง สิ่งต่างๆ ที่รู้ รับรู้ไว้ รับรู้ไว้แล้วกลับมาที่เรา จะกลับมาด้วยวิธีใด กลับมาด้วยสติ ตั้งสติแล้วกำหนดพุทโธๆ พอพุทโธปั๊บ ทุกคนจะเข้าใจผิด เข้าใจว่าจิตมันหยาบ หมายถึงว่า ของที่มันละเอียดแล้วเราทำให้มันหยาบทำไม หมายถึงว่า ของที่ละเอียดแล้วทำให้หยาบทำไม เราเข้าใจว่าจิตเราละเอียดแล้วไง แต่ความจริงมันไม่ละเอียด เพราะมันยังนึกพุทโธได้

มันละเอียดที่ไหน ไม่ละเอียดหรอก เราเองไปสร้างเงื่อนไขกันเอง เวลาเราปฏิบัติ เราสร้างเงื่อนไขกับตัวเราเอง ให้กิเลสมันหลอกเราเองนะ เราสร้างเงื่อนไขต้องเป็นอย่างนั้น เวลาสิ่งที่จะเป็นไปมันก็เป็นการสร้างภาพ แล้วกว่าสิ่งที่มันจะเป็นจริงก็สร้างเงื่อนไขให้มันไม่จริงขึ้นมาอีก

เราจะบอกว่า เราเองโดนอวิชชา โดนความไม่รู้ของเรามันหลอกเรากันเองไง พอมันหลอกเรากันเอง เราทำอะไรมันก็เลยผิดพลาดกันอยู่นี่ไง ความทำอะไรมันผิดพลาดแล้วมันไม่เจริญ มันไม่ก้าวหน้า เพราะว่ามันโดยสามัญสำนึกมันเป็นอย่างนี้หมด มันเป็นอย่างนี้เพราะทุกคนมีอวิชชามา ให้ครูบาอาจารย์พูดขนาดไหนก็แล้วแต่ ตอนฟังนี้มีหลัก แต่พอเราเจอขึ้นมามันงง เวลาพวกเราไปฝึกทำอะไร โอ้โฮ! เวลาฝึกฝน โอ๋ย! ชำนาญทั้งนั้นน่ะ พอเจอไปทำงานจริงๆ เข้า งง

ทีนี้พอไปเจอเข้า เหตุการณ์จริงๆ เข้า มันก็จะงงบ้าง ทีนี้งงบ้าง โดยหลักมันจะมีความผิด ผิดพลาดของเรา ความผิดพลาดอันนั้นมันจะเป็นครูสอนเรา เพราะการปฏิบัติมันต้องเป็นอย่างนั้นน่ะ มันต้องเป็นปัจจัตตัง มันต้องสิ่งที่เราพบ เราเห็น เราแก้ไข ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น เหมือนกันนะ เวลาครูบาอาจารย์พูด หรือเวลาไปอ่านตำราเจออย่างนี้ แล้วเราทำอย่างที่ว่าทำตามสูตร ทำตามสูตรแล้วว่าจะเป็น ไม่ใช่หรอก

ดูสิ ดูนักกฎหมายจบมาสิ จบจากกฎหมายมา ต้องสอบเนติบัณฑิตนะ ไม่สอบ ไม่ให้ว่าความ แล้วว่าความนั้นมันจะว่าความ คนเราว่าความได้ชำนาญ เหมือนกัน เหมือนการว่าความ เหมือนกับเราเข้าไปต่อสู้กับเรา เข้าไปต่อสู้กับความเห็น เข้าไปแก้ไข นั่นน่ะมันถึงจะเป็นความจริง เรียนจบมาก็เท่านั้นน่ะ จบนิติมาไปทำอย่างอื่นก็เยอะแยะไป

นี่ก็เหมือนกัน ดูใจเรา ตั้งใจตรงนี้ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นมามันต้องเกิด ไอ้สิ่งที่มันเกิดนะ มันรู้มันเห็นแล้วมันเป็นนิสัย มันเป็นวาสนา ถ้าอย่างเริ่มต้น เริ่มต้นพวกเราให้กำหนดพุทโธ ให้กำหนดอะไรก็ได้ ให้กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ได้ อานาปานสติ คือจิตมันต้องมีที่เกาะไว้ อย่าปล่อยให้มันร่อน อย่าปล่อยเฉยๆ โดยธรรมชาติของมัน มันชอบเฉยๆ แล้วเราพอไปฟังเขาบอกว่าให้ดูเฉยๆ ให้ตั้งใจไว้เฉยๆ...หมด

ตั้งใจไว้เฉยๆ นะ มันดีตอนตั้งใจ เริ่มต้นน่ะ แล้วก็นับถอยหลัง ไม่มีก้าวหน้า นับถอยหลัง เพราะอะไรรู้ไหม เพราะความรู้สึก เวลาตั้งใจ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็จะจางไปๆๆ หายไปเลย เพราะอะไร เพราะมันไม่มีจุดยืน แต่ถ้ามีคำบริกรรม กำหนดลมหายใจก็ได้ กำหนดอะไรก็ได้ คำว่า “กำหนด” จิตมันเกาะตรงนั้นอยู่ ถ้าจิตมันเกาะตรงนั้นอยู่ ตัวมันแสดงตัวไง มันจะแสดงตัว ต้องอยู่ตรงนั้น ต้องกำหนดที่ใดที่หนึ่ง ทิ้งไม่ได้ ถ้าทิ้งแล้ว ประสาเรา โทษนะ คือจิตมันเหลวไหลอยู่แล้ว จิตของมนุษย์มันเหลวไหลอยู่แล้ว แล้วเราไปกำหนดสิ่งที่ไม่มีจุดยืนให้มันยิ่งเหลวไหลซ้ำไปอีกนะ แต่ความเข้าใจผิดว่านี่คือการภาวนา พอเข้าใจผิดว่าภาวนาปั๊บ คำว่า “เหลวไหล” มันก็ปล่อยหลักลอย พอปล่อยหลักลอยแล้วเราก็ เออ! สบายดีๆ เห็นไหม

แต่ถ้าเรามีจุดยืนนะ กำหนดคำบริกรรม เช่น กำหนดลมหายใจ กำหนดพุทโธ อานาปานสติ กำหนดอะไรก็ได้ เขาเรียกคำบริกรรม พอมีจุดยืนปั๊บ มันก็เหมือนเรา เด็ก เด็กมันปล่อย มันจะสบาย มันอยู่ของมันนะ ให้มาจับเรียบร้อยสักพักเดียวมันร้องตายเลย

จิตพอมันจะกำหนดจุดยืน มันเหมือนกับมีที่ตั้ง มันจะเริ่มอึดอัด เริ่มต่อต้าน แล้วพอภาวนาไป เอ๊! ก็ดูเฉยๆ นี่มันสบาย ก็ถูกสิ กำหนดนี่อะไรนี่มันไม่ดีเลย เครียด

อ้าว! ก็คนจะเป็นคนดี เริ่มต้นจะเป็นอย่างนี้กันไปก่อน แล้วพอถ้ามันทำได้จริงนะ มันเหมือนกับของจริง พอจิตมันสงบหรือมันลงนะ “โอ้โฮ! ทำไมเป็นอย่างนี้ ทำไมเป็นอย่างนี้” แต่ถ้าปล่อยให้มันหลักลอย ปล่อยให้มันเหลวไหลนะ มันอยู่อย่างนั้นน่ะ สบายๆ ทั้งปีทั้งชาติอยู่ตรงนั้นน่ะ แล้วเราจะเอาจริงเอาจังไม่ได้นะ แล้วยิ่งปล่อยนานไปๆ มันจะเคยตัว

ดูสิ หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ท่านบอกท่านดูจิต กำหนดเฉยๆ ดูจิตแล้วเสื่อมไป ๑ ปี ๕ เดือน แล้วพอสุดท้ายหลวงปู่มั่นไปเผาศพหลวงปู่เสาร์ ปล่อยให้ท่านอยู่คนเดียว ท่านเลยมาพิจารณาดูเองว่าท่านขาดคำบริกรรม ท่านถึงกำหนดพุทโธๆ ๓ วันแรก อกแทบระเบิด เพราะมันเหลวไหลเคยไง มันปล่อยสบายๆ อย่างนั้นน่ะ ท่านบอกมันดีอยู่พักเดียวแล้วก็เสื่อม เหมือนกับเรา เราไม่มีจุดยืนเหมือนคนหลักลอย มันจะไปไหนก็ได้ใช่ไหม แล้วแต่ใครจะชักไป แต่ถ้าคนมีจุดยืนขึ้นมาหรือมีหลักขึ้นมา ใครจะชวนไปไหนมันก็ต้องมีหลัก มีเหตุมีผลใช่ไหม

นี่กำหนดพุทโธๆๆ ท่านบอกกำหนด ๓ วันแรก วันแรก มันเคยสบายไง เคยร่อนเร่ เคยพเนจรไปเรื่อย พอไม่ยอม ผูกไม่ให้ไปไหน ท่านพูดเองนะ อกแทบระเบิด อกแทบระเบิดเลย แต่เพราะอะไร เพราะมันเข็ด เข็ดว่า ๑ ปีกับ ๕ เดือน เจริญแล้วเสื่อมๆ มันทุกข์มาก ไอ้ทุกข์อันนั้นกับอกแทบระเบิดนะ อยากพิสูจน์ไง พอวันที่ ๓ ผ่านวันที่ ๓ ไป ท่านบอกว่า เออ! อยู่ได้ แล้วตั้งแต่วันนั้นมา อ๋อ! ไอ้ที่มันไม่เป็นสมาธิหรือที่จิตมันเสื่อมเพราะขาดคำบริกรรม

หลวงตาท่านพูดบ่อยเลย แต่ท่านไม่พูดเน้นย้ำเหมือนเราพูดนี่ แต่ท่านพูดคำนี้ว่า “เราปล่อยดูเฉยๆ เราดูจิตเฉยๆ” ก็เหมือนเขาดูจิตกันอยู่นี่แหละ ดูจิตเฉยๆ เพราะ แหม! ระดับมหานะ เรียนธรรมะมาตั้งเยอะ ทำไมจะไม่เข้าใจเรื่องอย่างนี้ พอเข้าใจปั๊บก็คิดว่าอะไรที่มันทำแล้วง่าย ถ้าสะดวกก็เอาตรงนั้นน่ะ

๑ ปีกับ ๕ เดือนนะ เจริญแล้วเสื่อมๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ ท่านบอกเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขาเลย แล้วครกมันก็กลิ้งทับเราไป กลิ้งกลับลงมาทับเรา ทุกข์อยู่ ๑ ปีกับ ๕ เดือน จนตัดสินใจ ทำไมเราเป็นอย่างนี้ ตัดสินใจว่าต้องใช้พุทโธ แล้วใช้คำบริกรรมมา เพียงแต่ท่านไม่พูดเน้นให้เห็นชัดๆ

ถ้าให้เห็นชัดๆ นะ คนที่เข้าใจว่าดูจิตๆ จะต้องมีจุดยืนเลย ทีนี้พอมีจุดยืน เรามีจุดยืนของเรา พอมีจุดยืนของเรา เหมือนคนทำงาน คนทำงานมันอาบเหงื่อต่างน้ำ มันก็ต้องลำบากเป็นธรรมดา พอกำหนดพุทโธๆ อื้อหืม! อึดอัด ขัดข้อง คับแคบ โอ๋ย! ตีโพยตีพาย แต่ถ้ามันได้นะ คนทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ มันได้ผลงานจริงๆ คนนั่งเพ้อฝันเพ้อเจ้อเร่ร่อน มันก็ได้แต่นั่งเพ้อฝัน มันก็ได้สิ่งที่ฝันมาไง แล้วชาวพุทธก็มีเท่านี้

ทีนี้ถ้ามันเป็นอย่างนั้นปั๊บ ถ้ามันมีจุดยืนอย่างนี้ปั๊บ แล้วมันจะไปเห็นอะไรขึ้นมา เห็นแล้วก็ผ่าน สิ่งที่เห็นก็คือมันเห็น เราจะไม่เห็นไม่ได้ ถ้ามันจะเห็นก็คือเห็น เห็นแล้วนะ สิ่งที่ถูกรู้ เห็นคือนิมิต เห็นคือนิมิต อย่างเช่นนั่งอยู่นี่ มองเรา เห็นเรา เราเป็นภาพนิมิต เพราะสิ่งที่เห็น แล้วโยมกับเราเกี่ยวอะไรกันล่ะ เห็นแล้วโยมได้อะไร

แต่ถ้าโยมจิตสงบ จิตที่มีศรัทธามีความเชื่อ เห็นสมณะ คือนิมิตมันก็เป็นประโยชน์ถ้าเราใช้มันเป็น เพราะเห็นกายก็เห็นนิมิตนี่แหละ แต่เห็นนิมิตต้องให้เราเห็นโดยคุณสมบัติของจิตไง การเห็นมันเห็นโดยที่เรามีจุดยืน เหมือนเราเป็นคนมีจุดยืน เราเป็นคนบริหารจัดการ เห็นนั้นจะเป็นประโยชน์

แต่ถ้าเราเป็นเด็กใจแตก เราเป็นเด็กที่ไม่มีหลักมีเกณฑ์ เห็นนั้นเป็นโทษ เด็กใจแตกไง เด็กหลงแสงสีเสียงมันก็ไปตลอด เห็นไง ติดไง แต่ถ้าเราเห็นแบบผู้ใหญ่ เห็นแบบมีประโยชน์ ก็นิมิตเหมือนกันนั่นแหละ แต่เพราะเรากำหนดคำบริกรรม พอจิตเรามั่นคง แล้วเราเห็น แล้วเราเป็นคนจัดการน่ะ เห็นตอนนั้นนะ มันจะเห็นแบบผู้บริหารจัดการ เห็นโดยที่เราไม่หลงใหลไปกับเขา เห็นโดยเห็นโทษ โอ้โฮ! ชีวิตเป็นอย่างนี้ โอ้โฮ! น้ำตาไหลนะ น้ำตานี่ไหลพรากเลย แล้วพอเข้าใจตรงนี้ปั๊บนะ ไม่มีใครเป็นโทษกับเราเลย จิตเราเอง

นี่ไง ธรรมะถึงบอกว่าชนะตนประเสริฐที่สุด ชนะใครก็ไม่เท่ากับชนะตน ชนะตนมันจะเห็นโทษของมัน แล้วมันจะประเสริฐที่สุด น้ำหูน้ำตาไหล น้ำหูน้ำตาไหลมาจากไหน ใครเป็นคนบอก มันออกมาจากจิตใต้สำนึกเลย ออกมาจากสิ่งที่อยู่ในหัวใจเลย มันสะท้อนใจ เราเอง อวิชชามันทำให้เราเวียนตายเวียนเกิด ทีนี้พอตายพอเกิดแล้วมันก็ได้ภพได้ชาติมา เราก็ทำประสาเรา ทำประสาเราคือว่าเราก็อยู่กับข้อเท็จจริง มันก็อยู่ที่คนทางโลก ถ้าทางโลกเขาแสวงหาโลก เขาก็ได้โลก แสวงหาธรรมก็ได้ธรรม แสวงหาโลก เราก็อยู่กับโลกไง พออยู่กับโลก โลกมันก็ดึงไปหมดเลย ถ้าแสวงหาธรรมมันก็มาทางนี้ พอมาทางนี้ปั๊บ คือว่าเกิดมากับโลกแล้วก็ยังมีจุดยืน นี่ทำอย่างนี้

ถ้าพูดถึงใหม่ๆ นะ ใครมาก็ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

เริ่มต้นนี่ยาก ครูบาอาจารย์ท่านบอกเลย ในการปฏิบัตินี้มียากอยู่ ๒ จุด จุดแรกคือว่าจุดเริ่มต้นกับจุดปลาย จุดที่สุด เพราะสังเกตได้ไหม ในประวัติครูบาอาจารย์เราจะไปติดเอาครั้งสุดท้ายนั่นน่ะ พุทโธสว่างไสว พุทโธผ่องใส พุทโธนั่นน่ะ ติดตรงนั้นหมด ตรงนั้นไปติดเพราะมันต้องไปเริ่มต้นตรงนั้นอีกทีหนึ่ง กับตรงนี้ ตรงเริ่มจะเข้าหาช่องทาง เพราะอะไรรู้ไหม เพราะโลกกับธรรมอยู่ด้วยกัน โลกกับธรรมอยู่ด้วยกัน กายกับใจอยู่ด้วยกัน

ทุกคน ร่างกายพิสูจน์ได้ง่ายๆ แต่หัวใจนี้พิสูจน์ได้ยาก ในความคิดก็เหมือนกัน ความคิดโลกๆ ทางวิทยาศาสตร์ไง ความคิดสื่อความหมาย คุยกันรู้เรื่องหมดนะ ถ้าพูดธรรมะนะ อืม! พูดคำเดียวกัน อีกคนหนึ่งตีความ ๒ คนโยนตามช่องนั่นน่ะ อีกคนเห็นโคลนตม อีกคนเห็นดวงดาว แค่มันมองสูงมองต่ำเท่านั้นน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน ความคิด ใจมันเป็นอย่างนั้น ถ้าคิดเรื่องโลกๆ มันก็มองเห็นโคลนตมนั่นน่ะ มันต้องเป็นอย่างนี้สิ ความจริงเป็นอย่างนี้ โคลนตมเพราะเราย่ำมันอยู่ แต่ถ้ามันมองขึ้นข้างบน ท้องฟ้ามีดวงดาวนะ ๒ คนโยนตามช่อง ใจ ความคิดก็เหมือนกัน โลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา โลกียปัญญาคือคิด แล้วประสาเรา ทำตามสูตรเลย เป็นอย่างนั้นๆๆ

มันก็เป็นตามสูตรจริงๆ สูตรมันเป็นอย่างนั้นน่ะ แต่มันมีคนรู้จริงคอยทดสอบอีกทีหนึ่งไง ทดสอบว่าใจมันเป็นอย่างนั้นไหม ใจมันปล่อยอย่างนั้นไหม แต่เห็นจริงๆ นะ เห็นกาย ปล่อยกาย แต่มันปล่อยโดยสามัญสำนึก ปล่อยโดยวิทยาศาสตร์ แต่มันไม่ปล่อยกิเลส เพราะกิเลสมันอีกชั้นหนึ่งที่มันหลอกมึงน่ะ หลอกให้เป็นอย่างนั้น แต่ตัวมันจริงยังไม่เป็น พูดถึงตามสูตรเลย แล้วตามสูตรอย่างนี้มันเป็นอย่างไรที่มันพิสูจน์ได้ พิสูจน์ได้คือมันเสื่อม แล้วโดยข้อเท็จจริงนะ คนทำขนาดไหนก็แล้วแต่นะ มันมีส่วนหนึ่งในหัวใจสงสัย

แต่ถ้ามันล้างเกลี้ยงเลย สมุจเฉทปหานนะ มันจะไม่สงสัยเลยล่ะ มันจะไม่สงสัยเลย มันเห็นชัดเจนมาก รู้ชัดเจนมาก ไม่เคยสงสัยเลย แต่ถ้ามันเป็นสูตร เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราเกิดจากอวิชชา อวิชชามันครอบงำใจอยู่ ขณะพิจารณาธรรมะไป อวิชชามันก็หลบหลีกของมันอยู่ในใจนี่แหละ มันยังมีจุดหนึ่ง มีส่วนหนึ่งในใจสงสัยอยู่ มันจะหลบไปหลบมาอยู่ในใจเรานี่ มันจะมีอยู่จุดหนึ่งแล้วกันล่ะที่เรายังสงสัย จะปล่อยวางขนาดไหนก็ยังสงสัย เรานี่รู้เอง

แต่ถ้ามันพิจารณาของมันไป ไอ้สงสัยมันพิจารณา พิจารณากายไป มันก็ปล่อยบ่อยครั้งเข้า ความสงสัยก็สงสัยไปเรื่อยๆ แต่มันก็ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วง่ายขึ้นเรื่อยๆ เหมือนเราทำอาหารเลย ถ้าเราไม่เคยทำอาหารชนิดนี้ เราหัดทำใหม่ๆ จะขลุกขลักนิดหน่อย แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ เพราะต้องการความชำนาญ บ่อยครั้งเข้า จนสุดท้าย เราจะทำโดยที่ว่าโดยสัญชาตญาณเลย มันจะหยิบจับได้สะดวกสบายมากเลย วิปัสสนาก็เหมือนกัน พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ จนมันชำนาญมาก มันทำได้หมด มันชำนาญขนาดไหนมันจะมีอยู่อันหนึ่ง อันหนึ่ง หมายถึงว่า เราเข็ด ทุกคนภาวนาแล้วจะเข็ดมาก เข็ดถึงเวลามันเสื่อมสภาพ มันเลยกลัว พอกลัวแล้วก็ซ้ำๆๆ

เหมือนทำอาหารเลย ชำนาญมาก ชำนาญถึงจุดหนึ่งนะ อย่างทำอาหารชำนาญแล้วก็คือชำนาญไป แต่นี่พอไปจุดหนึ่งปั๊บ โอ้โฮ! มันแตก มันถอนอุปาทานไง กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันจะแยกออกจากกันเลย แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดเลย แล้วสังโยชน์ ไอ้ที่มันสงสัยๆ สังโยชน์

สังโยชน์คืออะไร คือสักกายทิฏฐิ ทิฏฐิความเห็นน่ะ แค่ทิฏฐิความเห็นผิด เห็นผิดในกาย หัวใจมันอยู่ตรงนี้ สักกายทิฏฐิ สักกายะ กาย สักกายะ กาย ทิฏฐิ ความเห็นผิดในกาย หัวใจเรากับร่างกายเราอยู่ด้วยกัน มันมีความสงสัย มันมีทิฏฐิมานะที่ขัดแย้งกันอยู่ แต่เราไม่เคยสะสางให้มันจบกระบวนการที่ความขัดแย้งกันอยู่ในหัวใจนี้ได้ วิปัสสนาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ จนถึงที่สุดอันนี้มันขาดออก คำว่า “ขาดออก” มันเหมือนกับสกรูเหมือนน็อตที่มันจับของอยู่ มันมีตัวผู้ตัวเมีย แล้วมันขันกันไว้ ถ้าเราคลายออกแล้วแยกออกจากกัน

เห็นไหม สังโยชน์มันรัดไว้ ร้อยรัดระหว่างความเห็นผิดกับเรื่องของพลังงาน เรื่องของตัวใจ มันรัดไว้ แล้วพอมันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนชำนาญ จนมันคลายออก คำว่า “แยกออก” หลวงตาใช้คำนี้ กายกับจิตมันแยกออก แยกออกเป็น ๓ ทวีปเลย คือทวีปแต่ละทวีปมีมหาสมุทรกางกั้น มันแยกออกไปอย่างนี้ ทีนี้พอระยะห่าง ไอ้สังโยชน์มันอยู่ไม่ได้ ก็หลุดไป พอหลุดไปปั๊บ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ พระโสดาบัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย มึงถามกูมา ถามได้เลย ขั้นของโสดาบันตอบได้ตลอด เคลียร์ได้หมดเลย แล้วมันก็ซ้ำไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป มันไม่มีสูตร ไม่มีสูตรเพราะอะไร เพราะอย่างรสอาหาร ทุกคนชอบรสแตกต่างกัน ความยึดของคนมันแตกต่างกัน ดูสิ บางคน จริตนิสัยคนมันไม่เท่ากัน ทีนี้เวลาเราใช้ปัญญาวิปัสสนา มันก็อยู่ที่ความสมดุลกับใจดวงนั้นน่ะ ใจดวงนั้น น้ำหนักของความสมดุลของเขามัชฌิมาปั๊บ มันก็ขาดตรงนั้น มันเลยไม่มีสูตรสำเร็จไง

แล้วเราพิจารณาตามสูตร สูตรนั้นมันเป็นทฤษฏี แต่ถ้าเป็นความจริงแล้วมันจะเป็นสัจธรรม ต้องซ้ำไปซ้ำมา ซ้ำมาซ้ำไป หมั่นคราดหมั่นไถ หมั่นดูแลของเรา ดูแลจิตของเรา ดูแล ทำตามความจริงของเราให้มันเห็นจริงของเราขึ้นมา นี่พูดถึงการเห็นกาย เห็นกายแล้ว เห็นกายแล้วเราก็ดู ถ้ามันดูแล้วไม่ชัดไม่เจนแสดงว่าสมาธิอ่อน เรากลับมาที่สมาธิ กลับมาฐานของเรา สำคัญที่ฐานนี้อย่างเดียว เพราะอะไรรู้ไหม เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ แล้วใจนี้ออกไปทำงาน ทำงานเพื่อให้ใจมันเข้าใจ มันไม่ได้อยู่ที่กายนู้น มันอยู่ที่ใจทั้งหมด กิเลสมันก็อยู่ที่นี่ ฝังอยู่ที่นี่ แล้วจิตมันสงบแล้ว จิตนี้ออกทำงาน พอออกทำงานเสร็จแล้ว ความรู้จริง ความเข้าใจจริงมันก็อยู่ที่ใจเราอีกนั่นแหละ แต่อาศัยงานจากข้างนอกเพื่อฝึกงานเข้ามาให้มันชำนาญ แล้วพอชำนาญ มันก็ปล่อยที่ตัวมัน แต่ตัวมันเองมันจะปล่อยตัวมันเองไม่ได้ถ้ามันไม่ได้ออกทำงาน

ประสาเราเลยนะ ถ้าคนผิดนะ หยิบก็ผิด ปล่อยก็ผิด ถ้าคนถูกนะ หยิบก็ถูก ปล่อยก็ถูก มันก็คือหยิบกับปล่อยนี่แหละ คือเข้าไปวิปัสสนานี่แหละ แต่ถ้าไม่เป็นนะ หยิบก็ผิด ปล่อยก็ผิด ถ้าเป็นนะ หยิบก็ถูก ปล่อยก็ถูก มันผิดถูกอยู่ที่เรา ผิดถูกอยู่ที่ใจ ทำไป ตั้งใจทำ

ดูสิ เวลาโยมมาวัด เพราะอยู่ที่บ้านนะ มันน่าเบื่อหน่าย ชีวิตก็เท่านั้นน่ะ ทีนี้พอมาอยู่วัด มันก็ต้องเร่งของเรา คือดูใจเรา แต่พอมาอยู่วัด พระมาอยู่กับเรานะ หลายองค์มากที่มาจากที่อื่นน่ะ “มาอยู่กับหลวงพ่อ ทุกอย่างดีหมดเลย เสียอย่างเดียว เวลาเยอะเกินไป” เสียอย่างเดียวไง คือ ๒๔ ชั่วโมงให้ภาวนาตลอด “เสียอย่างเดียว เวลาเยอะเกินไป” คือว่าเวลาภาวนา ๒๔ ชั่วโมงอยู่ได้ไหม ทางจงกรมน่ะ

เวลาอยู่บ้านอยากมาภาวนา พอมาอยู่วัดนะ “เสียอย่างเดียว เวลาเยอะเกินไป ไม่หมดสักที นั่งอย่างไรมันก็ได้ ๕ นาที นั่งตั้งนานยังไม่ถึงชั่วโมงเลย โอ้โฮ!” แต่เวลาเราอยากมา อยากมา อยากภาวนามาก แต่เวลาภาวนาแล้ว “เสียอย่างเดียว เวลามันเหลือเฟือ”

เว้นไว้แต่คนภาวนาเป็นนะ ถ้าคนภาวนาเป็น ๒๔ ชั่วโมงมันจะเร่งตลอด วันคืนล่วงไปเร็วมาก เดินจงกรมเพลินๆ ๖ ชั่วโมงแล้ว เพลินๆ อู๋ย! สว่างแล้ว เดินจงกรมอยู่นะ ข้างในมันยังต่อสู้กันน่ะ อู้ฮู! มันพันพัว มันชุลมุนน่ะ มาอีกที อ้าว! ตี ๔ อ้าว! จะสว่างแล้ว อ้าว! วันคืน เราต้องการเวลา เพราะมันเหมือนกับเรากำลังชุลมุนอยู่นี่ เหมือนกับเราทำงานจวนได้จวนเสีย มันอยากได้เนื้องาน มันไม่สนใจเวลา เวลาก็หมุนไปเร็วมากนะ พึ่บพั่บ วัน พึ่บพั่บ วัน เร็วมากๆ ไอ้เรายิ่งต้องการเวลา

แต่ถ้าภาวนาไม่เป็นนั่นน่ะ จุดธูปดอกหนึ่งก็เมื่อไหร่จะหมดสักดอกวะ เดินจงกรมจนขาลากแล้ว ธูปยังไม่หมดสักที เริ่มต้นเป็นอย่างนั้นมาก่อน เขาเรียกภาวนายังไม่เป็น แต่ถ้าเป็นแล้วนะ เขาเรียกภาวนาติดไง ภาวนาเป็น เหมือนกับกองขยะนี้ใหญ่มาก แล้วเราจุดไฟติด มันจะเผามันไปเรื่อย เผาจนกว่ากองขยะนั้นจะหมดไปเอง ลองมันติดแล้ว เพราะไฟมันติด ด้วยความร้อน ขยะมันชื้นขนาดไหนมันก็จะไล่ไป มันจะแห้งไป มันจะไฟสุมขอน เผาอยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าภาวนาเป็นแล้วนะ มันเหมือนกองขยะที่ใหญ่โตมาก แล้วจุดไฟติดแล้วมันจะเผาตัวมันไปเรื่อยๆ จนกว่าขยะจะหมด

นี่ก็เหมือนกัน มันภาวนา ถ้ามันเป็นแล้ว มันหมุนแล้ว มันจะหมุนไปเรื่อยๆ จนกว่ากิเลสมันจะตาย ในขั้นตอนนั้น ในขั้นตอนของโสดาบัน ในขั้นตอนของสกิทาคามี มันเป็นขยะคนละกอง มันมีขยะอยู่ ๔ กอง กองของโสดาบัน กองของสกิทาคามี กองของอนาคามี กองใครกองมัน

มันไม่ใช่ว่าเผาแล้วจะจบ เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา คือขยะ ๔ กองนี้อยู่รวมกัน เผาทีเดียว ๔ กอง มันก็มีเทคนิคของมัน เวลาครูบาอาจารย์กับลูกศิษย์คุยกันจะรู้เรื่องอย่างนี้ ถ้าคนภาวนาเป็นแล้วคืออันเดียวกัน จะมาทางไหน เอ็งจะเผาทีละกองหรือเผาทีเดียว ๔ กอง ถ้าเผาทีเดียว ๔ กอง คือขยะมันมี ๔ กองแล้วรวมกัน ก็เห็นๆ

เผาทีละกองก็คนแบบกำลังน้อย คนที่ไฟเราน้อย เราควบคุมไม่ได้ทีเดียวเลย ๔ กอง เราก็ควบคุมทีละกอง เผาทีละกอง มันรู้เรื่องหมดล่ะ เผาขยะกองเดียว แล้วขยะอีก ๓ กองไม่ได้เผา เอ็งว่าขยะจะหมดได้อย่างไร ถ้าเผาทีละกองก็หมดไปกองเดียว

ก็กูเอา ๔ กองรวมกัน กูเผาทีเดียว แล้ว ๔ กองเผารวมกันทีเดียว ก็ได้ แล้วมึงมีกำลังขนมา ๔ กองมาทับกันไหม แล้วมึงมีปัญญาจุดทีเดียวไหม มันก็อยู่ที่กำลัง อยู่ที่วาสนา อยู่ที่การสร้างสมมาของแต่ละบุคคล มันอยู่ที่วาสนาของคนมาแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน การกระทำถึงไม่เหมือนกัน แต่ขอให้เผาเถิด ขอให้ทำจริงเถิด มันต้องได้จริง ถ้าเผาจริงทำจริง มันได้จริงหมด นี่เราก็ทำของเราน่ะ

งานไง พูดถึงจริงๆ แล้วเราเช็ค ไม่ใช่เช็คนะ เราจะทำอะไร ประสาเรา เหมือนกับคนเรามันมีต้นมีปลาย คือว่าเรามาจากไหน เรากำเนิดจากไหนนะ เราคนที่นี่ เกิดที่นี่ เหมือนบวช บวชที่ไหน อุปัชฌาย์เป็นอย่างไร ในวงกรรมฐานเรา เราก็ดู ดูอย่างเช่นหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นได้ลูกศิษย์มา พระอรหันต์หลายสิบองค์ แล้วดูหลวงปู่สิงห์สิ ดูมหาปิ่นสิ แล้วก็มาดูหลวงปู่ฝั้น ดูหลวงปู่แหวน ดูหลวงปู่ลี วัดอโศการาม ลูกศิษย์ของท่านแต่ละองค์มีใครบ้าง มันจะย้อนดูนะ ดูว่าหลวงตา ครูบาอาจารย์เราฝึกพระมาได้กี่องค์ แล้วองค์ไหนที่เผาแล้วเป็นพระธาตุ องค์ไหนที่พูด ออกธรรมะแล้วชัดเจน ถ้าพูดถึงลูกศิษย์เยอะเป็นร้อยเป็นพันเลย แต่บางองค์พูดธรรมะชัดเจนเพราะรู้จริง บางองค์พูดธรรมะก้ำๆ กึ่งๆ บางองค์ไม่พูดธรรมะเลย พูดแต่เรื่องโลก นี่มันฟ้องถึงใจ นี่ไง ที่ว่าศาสนทายาทไง ที่ว่าครูบาอาจารย์ท่านสร้างสมกันมาไง

ย้อนกลับไป ย้อนกลับไปดูตรงนั้น แล้วก็ย้อนกลับมาดูคุณสมบัติ แล้วก็ย้อนกลับมาดูการปฏิบัติ ย้อนกลับมาดูพวกโยม ทีนี้เวลามามันมาตามกระแสไง พอมาแล้ว โอ้โฮ! ปฏิบัติธรรมต้องอย่างนี้ จะพ้นจากกิเลส อู้ฮู! คึกคักกันทั้งนั้นเลยนะ แต่มาเป็นแสนนะ เวลาปฏิบัติแล้วนะ จริงๆ แล้วเหลือเท่าไรที่ได้น้ำได้เนื้อที่เป็นจริง แล้วไม่ใช่มันเป็นเฉพาะที่เรา สมัยหลวงปู่ฝั้นนะ หลวงปู่ฝั้นมีบารมีมาก แต่หลวงปู่มั่น เรื่องนี้หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ เวลามีโยมมาหาท่าน หลวงปู่มั่นจะลุกหนีเลย บอกว่าให้หลวงตารับแขกแทน หลวงปู่มั่นส่วนใหญ่ท่านจะรับแขกเฉพาะที่ท่านรู้จักหรือคุ้นเคยมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ แต่ถ้ามีตามกระแสมานะ ท่านบอกว่าเสียเวลา เพราะพวกโยม พูดไปแล้วเหมือนไม้ดิบๆ โยมมาเหมือนไม้ดิบๆ แล้วกว่าจะตากให้ไม้แห้ง แล้วไม้แห้งค่อยมาสีไฟ เอาไปตากแดดก็บ่นกันตายแล้ว ยังไม่ต้องปฏิบัตินะ

แล้วหลวงปู่ขาว หลวงปู่ขาวเวลารถทัวร์เข้าไปที่วัดถ้ำกลองเพลเมื่อก่อน ท่านจะขึ้นเขาไปเลย ท่านพูดคำนี้เหมือนกัน เพราะเราเอามาเป็นคติ ครูบาอาจารย์องค์ไหนพูดที่เป็นคติธรรมนะ เราจะจำฝังใจเลย หลวงปู่ขาวเจอโยม ท่านไม่ค่อยพูดด้วย แต่ท่านจะหนี ท่านจะหนีขึ้นเขา แล้วเวลาโยมกลับแล้ว ท่านลงมาจากเขา พวกพระถามว่าทำไมหลวงปู่ทำอย่างนั้นน่ะ

ท่านบอกเลยนะ ๒ แสนคน สอนคน ฝึกคน ๒ แสนคน จะเหลือสัก ๒ คนไหม นี่คำพูดหลวงปู่ขาว พวกโยม จากมาฝึก เหมือนฝึกทหารเป็นแสนๆ เลย แล้วเอาผู้ที่ชำนาญการสัก ๒ คนได้ไหม นี่หลวงปู่ขาวพูดเองนะ

นี่เราพูด เราจะชี้ให้เห็นว่า ในการปฏิบัติมันไม่ใช่ของง่าย ในการปฏิบัติ ถ้าครูบาอาจารย์ท่านมีหลักมีเกณฑ์ ในการปฏิบัติอย่างนี้มันถึงจะเห็นไง มันถึงจะเห็นว่ายากหรือง่ายอย่างไร มันถึงจะเห็นว่าการปฏิบัติมันทุกข์ยากขนาดไหน แต่โดยความคิดของพวกเราไง แล้วในการปฏิบัติ เวลาเขาปฏิบัติกันไปแล้ว พอไม่ได้ผลน่ะ พอไม่ได้ผลนะ มันก็น้อยเนื้อต่ำใจใช่ไหม พอน้อยเนื้อต่ำใจมันก็ย้อนกลับไปอภิธรรม พระโพธิสัตว์ สมณโคดมต้อง ๔ อสงไขยใช่ไหม ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย แล้วก็ย้อนกลับมา กลับมาพระอรหันต์ พระอรหันต์ต้อง ๑ แสนกัปใช่ไหม ก็กลับมาตรงนี้ไง กลับมาตรงที่ว่ามันก็เป็นวาสนา

ทีนี้คำว่า “วาสนา” ในกาล ๑ แสนกัปนี้ แล้ว ๑ แสนกัป เอ็งจะเริ่มต้นเมื่อไหร่ ทีนี้ ๑ แสนกัป เราก็คิดว่าเราก็อาจจะผ่านมา ๑ แสนกับ ๑ กัปแล้ว แล้วมาเกิดในปัจจุบันนี้ ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะสนใจศาสนาหรือ

อ้าว! จริงๆ นะ โดยสามัญสำนึกของสังคม บอกสิว่าเราจะไปเที่ยวชายทะเล หรือเราจะไปทัศนาจร หรือเราจะไปเที่ยวต่างประเทศ คนเขาเห็นด้วยนะ แต่บอกถ้าไปวัดปั๊บ มีใครเห็นด้วยกับเรา อ้าว! ลองคิดดูสิ เราอยู่บ้าน เราบอกว่าจะไปวัด ชวนเขาไปวัด มีใครบ้างที่จะเห็นว่าไปวัดกับเราด้วย ทีนี้พอไปวัดปั๊บ วัดไหนล่ะ ถ้าไปวัดที่เขามีมหรสพสมโภช ไปวัดที่เขามีพิธีกรรม เออ! ไปวัดมันก็ยัง เพราะมันเข้ากับโลกได้ แต่ถ้าไปวัดปฏิบัตินะ “มาทำไม ไม่เห็นมีอะไรเลย” นี่มองกันตรงนี้ไง

สูงสุดสู่สามัญนะ ไม่มีอะไรเลยน่ะ มี

ไอ้ที่ว่ามีมหรสพสมโภช มันไม่มี ไม่มีเพราะอะไร ถ้าเดี๋ยวนี้นะ เขาไปเที่ยวตามที่เขาจัดงานกัน ตามโรงแรมเขาจัดได้ดีกว่าอีก คือวัดก็เหมือนที่จัดงานมหรสพเฉยๆ แต่ถ้ามาอย่างนี้ปั๊บ เรามาวัดใจเราแล้ว เข้าวัด หลวงปู่ฝั้นบอกว่าไปวัดคือวัดใจ ข้อวัตรคือวัดใจเรา วัดอยู่ที่นี่ วัตร ไม่ใช่วัด ด.เด็ก วัตร วัตร ข้อวัตร ถ้าวัตรปั๊บ มันจะเป็นวัตรขึ้นมาที่เราไง ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดตรงนี้ ฉะนั้น การรักษาวัตรอย่างนี้รักษายากมาก

สมัยเราอยู่กับหลวงตาใหม่ๆ ที่เราไปอยู่กับหลวงตาใหม่ๆ จะมีคนต่อต้านเรื่องนี้เยอะมาก แล้วคำเปรียบเทียบของหลวงตาท่านบอกว่า ท่านเป็นพนักงานรักษาบ่อน้ำ บ่อน้ำข้างทาง แล้วคนเดินทางไป ผ่านมา เขาก็จะมากินน้ำจากบ่อนี้ แล้วมีพวกเราไปขี้ไปเยี่ยวไง มันก็ต้องมีมูตรมีคูถไปใส่ในบ่อน้ำนั้น ท่านเป็นคนรักษาไม่ให้เขาเอามูตรเอาคูถมาใส่ในบ่อนั้น วัดนี้เหมือนบ่อ วัดนี้เป็นที่พักของโยมไง แล้วเอามูตรเอาคูถคือเอาจริตนิสัย เอาความพอใจของเรา เอาสิ่งต่างๆ เข้าไปอยู่ในบ่อนั้น คือวัดจะเสียไปเป็นวัดมหรสพอย่างนั้นไง

แต่ถ้าจะไม่ให้มีมหรสพ จะไม่มีอะไรเลย ก็ขัดใจเขาไปทุกๆ คนเลย แต่เวลาโยมมา โยมไม่รู้ว่าไอ้สิ่งที่โยมต้องการนั้นคือมูตรคือคูถ คือโทสะ โมหะไง คือสิ่งที่ความลุ่มหลงของตัวไง แล้วไอ้คนรักษาต้องไปปะทะกันตรงนั้นน่ะ แต่โลกมองกลับ มองว่าดุน่าดูเลย มองว่าดุ ถ้ามองทางโลก มองว่าโหดร้าย ไม่คล้อยตามทางโลกเลย...ก็ทางโลกมันผิด

นี่ไง ถึงบอกว่า ถ้าคิดอย่างนี้ถึงมองถึงทัศนะ การมอง การเข้าใจเรื่องวัด แล้วพอถ้ามองแบบผู้นักปฏิบัตินะ มาวัดอย่างนี้เขาพอใจ เพราะเขาเบื่อกับวัดอย่างนั้นแล้ว แต่กว่าที่มาจากโลก กว่าจะเข้าวัดมามันต้องผ่านใช่ไหม มันต้องมาผ่านสังคมอย่างนั้น ประสาเรานะ ต้องไปให้เขาหลอกก่อนไง พอให้เขาหลอกแล้ว จนรู้ว่าเขาหลอกแล้ว แล้วค่อยหาว่าอันไหนวะที่ไม่หลอก แล้วก็หามาเรื่อย พอมาหาที่ไม่หลอก อ้าว! ไม่หลอกนี่ไม่มีอะไรเลย

อ้าว! ก็มันไม่หลอก ไม่หลอกก็ไม่มีอะไรเลยใช่ไหม ก็อยากให้หลอกอีกนะ ไปแลกเหรียญ แลกนู่น ต้องไปทำบุญอย่างนั้น สะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ไปให้เขาหลอก จนเบื่อ พอเบื่อแล้วก็จะหาที่วัดไหนไม่หลอก พอมาถึงไม่หลอก อ้าว! ไม่หลอกก็นั่งมองหน้ากันเฉยๆ ไม่เห็นมีอะไรเลย

มองหน้าต่อเมื่อพระที่ไม่มีวุฒิภาวะนะ มองหน้ากันเฉยๆ แล้วแยกออกไป แต่ถ้ามีวุฒิภาวะ แสดงธรรมไม่ใช่มองหน้า ตรงนี้สำคัญมาก จากใจดวงหนึ่งให้กับใจดวงหนึ่ง ถ้าไม่มีวุฒิภาวะ อะไรคือธรรมะ ธรรมะคืออะไร

แล้วก็พูดกัน “ธรรมะคือธรรมชาติ” อ้าว! กิเลสก็คือธรรมชาตินะ ฆ่าคนตายก็ธรรมชาติ ก็กูโมโห กูก็ยิงมันทิ้ง ก็ธรรมชาติ อ้าว! กูโมโห กูยิงเลย โป้ง! ตายเลย ธรรมชาติ

โมโหเป็นธรรมชาติไหม โมโหก็มีอยู่ในธรรมชาติของมันน่ะ ดีใจเสียใจก็อยู่ในธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ ก็พูดกันไป เพราะอะไร เพราะใจไม่มี ใจไม่รู้อะไรเป็นจริงไม่จริง ก็พูดตามวิชาการ ธรรมะคือธรรมชาติ เฮอริเคนก็ธรรมชาติ กวาดทีหนึ่งตายเป็นแสนเลย นั่นก็ธรรมชาติ แล้วธรรมะ ธรรมะมันจะเหนือธรรมชาติอย่างไร

ถ้ามันรู้อย่างนี้ เหนือธรรมชาติ เพราะมันรู้ว่าอะไรเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติคือวัฏฏะ ธรรมชาติคือหัวใจที่มีกิเลสที่หมุนไปตามวัฏฏะ การเกิดนี้เป็นผลของวัฏฏะ เป็นผลของการทำบุญและทำบาปมันถึงมาเกิด นี่ผลของการกระทำ ผลของการกระทำถึงมาเกิดเป็นมนุษย์นี่

แล้วในปัจจุบันนี้เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ผลของการกระทำนี้ เราถึงเอาสิ่งที่เป็นผลของการกระทำคือชีวิตนี้ขึ้นมาพัฒนาเพื่อให้พ้นออกไปจากวัฏฏะนี้ ธรรมชาติคือวัฏฏะไง ธรรมชาติคือการหมุนไป คือแปรสภาพไป คือการเปลี่ยนไป คือสิ่งที่หมุนเวียนนี้คือธรรมชาติ แล้วพระพุทธเจ้ารู้สิ่งที่เหนือกว่า รู้ เข้าใจสภาวะแบบนั้น แล้วทิ้งสภาวะนั้นตามความเป็นจริง ทิ้งที่ไหน ทิ้งที่เมื่อกี้นี้ไง ทิ้งที่สังโยชน์ไง ทิ้งที่เห็นสัจจะความจริง ทิ้งที่เห็นสักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด ทิ้งที่ความเห็นผิด ทิ้งที่สิ่งหลงผิด หลงผิดในเรื่องชีวิตกับร่างกาย หลงผิดในเรื่องสกิทาคามี หลงผิดในเรื่องกามราคะ หลงผิดไปในเรื่องอวิชชา หลงผิดในตัวตนไง แล้วทำลายทั้งหมด นี่ธรรมะเหนือธรรมชาติ เหนือธรรมชาติเพราะอะไร เพราะมันเห็นการหมุนไปของวัฏฏะ

เราเองเป็นส่วนที่หมุนไปกับเขา แล้วเราทิ้งส่วนที่หมุนไปกับเขา ทิ้งหมดเลย ทิ้งเพราะอะไร ทิ้งเพราะมรรคญาณ ทิ้งเพราะอริยสัจ ทิ้งเพราะตัวใจ ใจแก้ใจ ทิ้งเพราะสัจจะเกิดจากใจ เกิดจากศีล สมาธิ ปัญญา เกิดจากการกระทำของเรา ใจที่มันเป็นปุถุชน ใจที่มันดิบมันหนา ใจที่ว่า เวลาพูดอย่างนี้ เวลาพูดแล้วนะ ถ้าพูดถึงเทศน์ไป ถ้าคนเขามาฟังใหม่ๆ ก็ดูถูกกันเนาะ โอ๋ย! มาจากบ้านก็ดิบๆ ไม้ดิบๆ คือใจมันดิบๆ ไง ใจมันไม่เข้าใจสิ่งใดไง พอเข้าฌานมันตบะธรรม ตบะนี้มันเผาผลาญ สมาธิมันเผาผลาญให้มันสุกไง ให้มันแห้ง ให้เป็นไม้ดิบไง

เราเดินจงกรม นั่งสมาธิ เราเดินนี่คือการรีไซเคิลหัวใจ คือให้มันหมุนเวียนๆ มันจะเอาสิ่งใด สิ่งที่มันหมักหมมใจนี้ออกไป ถ้ามันหมุน พุทโธๆๆ การกระทำ แต่เราทำกันไม่ได้ เราทำกันไม่เป็น แต่ถ้าทำเป็น จิตมันสงบ นั่นน่ะคือจากดิบเป็นสุก จากไม้ดิบๆ มันจะแห้ง พอไม้ดิบๆ มันแห้งปั๊บ พอจิตมันสงบเข้ามาแล้ว ถ้ามันย้อนกลับไปดูมันก็จะเห็น เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม

เห็นกาย ทำไมจิตมันเห็นกายล่ะ จิตเห็นเวทนาล่ะ จิตเห็นจิต จิตเห็นธรรมล่ะ จิตมันเห็น จิตมันรู้เพราะว่าอะไร เพราะว่ามันแห้ง เพราะมันมีสถานะของมัน แต่ถ้ามันไม่มีสถานะของมันก็คือกิเลสเป็นเรา เราเป็นกิเลสไง กิเลสเป็นเรา เราเป็นธรรมะ ธรรมะเป็นธรรมชาติ เราก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง มันก็เป็นวัฏฏะ มันก็หมุนไปนั่นน่ะ มันก็ไม่จบ แต่ถ้าเราฝืนไง ทวนกระแสขึ้นมา มันถึงว่าธรรมะเหนือธรรมชาติ

ถึงบอกว่า ถ้ามาหาครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ ไม่ใช่มามองหน้ากันเฉยๆ หรอก ไม่ใช่ มองหน้า มันเป็นเรื่องของสังขาร แต่ถ้าธรรมะ เวลามาวัด เวลามาวัดถึงบอกว่า ถ้าพระอรหันต์ต้องหนึ่งแสนกัป เราก็ต้องบอกว่าต้องแสนกัปใช่ไหม เราก็บอกว่าเราก็แสนกับหนึ่งกัป ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะไม่สนใจอย่างนี้ ถ้าสนใจอย่างนี้แล้วทำไมภาวนาไม่เป็นล่ะ ทำไมภาวนาไม่เป็น

อย่าว่าแต่โยมภาวนาไม่เป็นเลย ดูพระเราสิ พระเรานี่เกือบร้อยนะ คอยไปบี้มาๆ คอยตบให้เข้าทางอยู่ตลอดเวลา เพราะการภาวนา นี่ไง ขนาดพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วยังท้อใจเลย คิดดูสิ วุฒิภาวะพระพุทธเจ้าพร้อม พร้อมจะมาเป็นพระพุทธเจ้า เหมือนเราเป็นครู กว่าจะจบเราต้องฝึกสอน เราต้องทำ จนออกไปจะสอนได้เลย

นี่ก็เหมือนกัน พร้อมของพระพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย พร้อมมาตลอด เตรียมตัวพร้อมหมดเลย เตรียมตัวมาเป็นพระพุทธเจ้าเลย พอตรัสรู้แล้ว โอ้โฮ! คิดถึงตรงนี้ ตรงนี้เอามาคิด เราคิดตรงนี้มาก เราถึงกล้าพูดบ่อยมากเลยว่าธรรมเหนือโลกๆ มันเหนือการคาดหมาย เหนือการคิด เหนือตรรกะ เหนือทุกอย่างเลย ถ้าไม่เหนืออย่างนั้น พระพุทธเจ้าไม่ท้อใจ พระพุทธเจ้าสร้างบุญขนาดนั้น แล้วเตรียมตัวมาขนาดนั้น แล้วตรัสรู้แล้วนะ จะสอนเขา “จะสอนใครได้” ท้อใจเลย แต่เพราะว่าได้สร้างมา สร้างมาอย่างนี้มันก็เหมือนเราพ่อแม่ลูกกัน เกิดมาด้วยกัน โตมาด้วยกัน

นี่ก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้านะ พอปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม นางพิมพาก็ปรารถนาเป็นคู่ เทวทัตก็ปรารถนาเป็นการสร้างพระพุทธเจ้าคือต่อต้านกันมา เราจะย้อนกลับไปดูสหชาติไง สหชาติที่เกิดร่วมกับพระพุทธเจ้าต้องปรารถนา ปรารถนาแล้วก็ทนทุกข์ทนยากมาด้วยกัน ต้องทนทุกข์ยากนะ เวลาเกิดมาแล้วต้องเสียสละ ฉะนั้น สิ่งที่พร้อมมา พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วต้องสอนเป็นธรรมดา เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าการที่สร้างสมมา นางวิสาขาก็ปรารถนาเป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้อุปัฏฐาก พระมารดา นางอะไรที่ว่าเป็นมารดา เป็นมารดาพระพุทธเจ้าก็ต้องปรารถนานะเว้ย เพราะว่าคลอดได้คนเดียว เจ้าชายสิทธัตถะเกิดแล้วตายเลย ใครจะเกิดเป็นสหชาติต้องปรารถนาแล้วสร้างบุญทั้งหมด ไม่ใช่จับฉลากมาเป็น ไม่ใช่ ไม่มี

ฉะนั้น ถ้าพูดถึงสิ่งแวดล้อมทุกอย่างมันพร้อม พระพุทธเจ้าเกิดแล้ว เครือข่ายมันเกิดหมดใช่ไหม ทีนี้พระพุทธเจ้าก็ต้องสอนเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าไม่สอนไม่ได้ เพราะว่าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์อยู่แล้ว ฉะนั้น เวลาตรัสรู้แล้วก็คือเป็นศาสดา คือจะวางศาสนา คือข้อเท็จจริงมันต้องเป็นอย่างนั้น แต่ที่ว่าเวลาท้อใจไง เรามาพูดถึงท้อใจ คำว่า “ท้อใจ” คือว่ามันลึกลับ มันสูงส่งมาก ฉะนั้น เวลาเราทำแล้วเราต้องเอาตรงนี้เป็นประเด็น เราคิดตรงนี้เยอะมาก เอาตรงนี้เป็นประเด็นว่ามันลึกลับขนาดไหน แล้วพยายามจะอธิบายให้พวกเราเข้าใจว่ามันไม่ใช่เป็นสิ่งตรรกะที่เราใคร่ครวญกันอย่างนี้ มันถึงต้องพยายาม มันถึงต้องพยายามแล้วตั้งใจ

เราจะบอกว่า ถ้ามันจะยากสุดยาก ทำไมเราสนใจล่ะ เราตั้งใจล่ะ เราอยากทำล่ะ อันนี้มันก็เป็นพื้นเพ แล้วได้ไม่ได้ก็ต้องสู้กันไป ต้องต่อสู้ มันก็ยังดี มีคนบอกคนสอนเนาะ ถ้าไม่มียังต้องไปขวนขวาย พอไม่มี พูดอย่างนี้ปั๊บก็คิดถึงหลวงปู่มั่นทุกที

เพราะเราไม่เชื่อ เราไม่เชื่อ ดูอย่างเจ้าคุณนรฯ พวกในภาคกลางเราเข้าใจว่าเจ้าคุณนรฯ เป็นพระอรหันต์ เราก็มีความโน้มเอียงไปทางความเชื่อนั้นเยอะ แต่เวลาฟังหลวงตาท่านพูด ตอนหลวงตาท่านบอกว่าท่านมาพักอยู่วัดเทพศิรินทร์ฯ ท่านพยายามจะเข้าไปคุยกับเจ้าคุณนรฯ หลายที แล้วมันก็จังหวะ เพราะเจ้าคุณนรฯ ท่านเป็นพระที่มีชื่อเสียง จะเข้าไปคุยมันก็มีแบบว่ามันมีคน มีทุกอย่าง

แล้วเวลามีคนถามว่า เจ้าคุณนรฯ ว่าสิ้นกิเลส หลวงตาเชื่อไหม

หลวงตาท่านพูดตรงนี้ออกมา ตรงที่บอกว่า ท่านเคยไปพักอยู่วัดเทพศิรินทร์ฯ แล้วพยายามจะเข้าไปคุยด้วย คือท่านจะบอกว่าท่านยังไม่ได้คุยด้วย ท่านยังไม่แน่ใจ นี่เราพูดถึงเจ้าคุณนรฯ แล้วเราเวลาพูดถึงหลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่มั่นก็ยังมาศึกษาอยู่กับตรงนี้อยู่ ฉะนั้น หลวงปู่มั่น เราเชื่อหลวงปู่มั่นกับหลวงปู่เสาร์ เพราะว่าท่านพูดเองว่าท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน ไอ้คำว่า “ปรารถนาเป็นโพธิสัตว์” มันต้องสร้างบุญญาธิการ สร้างบารมีมาเยอะไง

แล้วอย่างพวกเรา พวกเราที่ปฏิบัติ ถ้าบรรลุธรรมกัน เขาเรียกว่าสาวก สาวกสาวกะ มันมีคนชี้นำไง เหมือนกับเราเป็นผู้ตาม แต่คนผู้นำ ผู้นำนี้หายาก แม้แต่ขนาดหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ สมัยกึ่งพุทธกาลนะ สมัยกึ่งพุทธกาล ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง ขนาดศาสนามีอยู่แล้วยังต้องมารื้อค้นเอง แล้วก็เทียบไปถึง ไม่อยากเอ่ยชื่อนะ อย่างพวกที่นักปฏิบัติในแขนงอื่นๆ เขาก็แสวงหากันน่ะ เขาก็พยายามของเขาไง เขาก็เป็นผู้นำของเขาเหมือนกัน เขาพยายามแสวงหา อย่างที่คำสอนในลัทธิต่างๆ แล้วเอาจริงๆ ข้อเท็จจริงมีไหมล่ะ

ข้อเท็จจริงมีไม่มีมันอยู่ตรงนี้ อยู่ตรงที่ว่าหลวงปู่มั่นเวลาท่านปฏิบัติของท่านขึ้นมาแล้วท่านพูด หลวงตาท่านพูดบ่อย เวลาหลวงตาท่านบอกว่า “หมู่คณะจำไว้นะ หลวงปู่ขาวได้มาคุยกับเราแล้ว เราได้คุยธรรมะกันแล้ว” หลวงปู่ขาว ถ้าท่านล่วงแล้วให้ไปหาหลวงปู่ขาวนะ ประสาเราว่าตรวจสอบกันไง

อย่างเช่นหลวงตาท่านบอกว่าหลวงปู่พรหม เพราะหลวงปู่พรหมไปหาหลวงปู่มั่นตอนที่อยู่บ้านผือ เพราะมาจากเชียงใหม่ แล้วเวลาหลวงปู่พรหมท่านเสียแล้ว จะไปเผาศพหลวงปู่พรหม ท่านบอกกับลูกศิษย์เลย ให้เอาอัฐิพระองค์นี้ให้ได้นะ อัฐิพระองค์นี้ต้องเป็นพระธาตุแน่นอน นี่มันตรวจสอบกันมาไง

เราจะบอกว่าในหมู่คณะใดๆ ก็แล้วแต่ โทษนะ เวลาเราเป็นลูกศิษย์ เราไปศึกษากับใคร เราจะเคารพครูบาอาจารย์เรามาก เพราะครูบาอาจารย์เราท่านจะสอนเรา แต่เวลาประพฤติปฏิบัติไปแล้ว ถ้าเรารู้จริง ความรู้ของลูกศิษย์กับความรู้ของอาจารย์ ถ้าสิ้นกิเลสเหมือนกัน มันเหมือนกัน

จะบอกว่า เราเคารพด้วยที่ว่าเราจะมาได้ ลูกๆ เคารพพ่อแม่มาก เพราะพ่อแม่เลี้ยงเรามา แต่เวลาเราโตขึ้นมา เรามีครอบครัว เราก็เป็นพ่อแม่เหมือนกัน แต่เราก็เคารพพ่อแม่ แล้วลูกเราก็จะเรียกพ่อแม่เราว่าปู่ย่าตายาย แต่ความรู้ไง ความรู้ที่เหมือนกันน่ะ แต่ความรู้เหมือนกันไม่ใช่ตีเสมอนะ ไม่ใช่ว่าเราตีเสมอแล้วเราจะเสมออาจารย์ อาจารย์เราเคารพ พ่อแม่อย่างไรเราก็เคารพอยู่วันยังค่ำ พ่อแม่เราก็คือพ่อแม่เรา พ่อแม่เรามีหนึ่งเดียว ไม่มีใครแทนได้ด้วย

เราจะบอกว่า ไอ้ตอนไปปฏิบัติขึ้นมาแล้วมันทันกัน มันเหมือนกัน มันเท่ากันไง ถ้าสิ้นกิเลส เหมือนกันหมดเลย ถึงว่าจะตรวจสอบกันได้ ในสายกรรมฐานมันเป็นอย่างนั้น แต่ในทางของเขา เขาก็ว่ากันอย่างนั้น แต่ตรวจสอบแล้วนะ ถ้าตรวจสอบกันเอง เพราะเราถึงมองตรงนี้ เรามองตรงนี้มา ถ้านะ เรามองสังคมแล้วเราเข้าใจสังคมหมด แล้วมันจะมีอะไรเหลือล่ะ แต่ถ้าเรามองสังคมแล้วเราไม่เข้าใจสังคมเลย เราจะเอาอะไรไปสอนเขา

นี่เรามองสังคมพระ มองสังคมปฏิบัติ แล้วก็มองโลก แล้วอย่างเวลาโลกมามันก็มีนานาทัศนะ ไอ้ความเห็นของแต่ละคนมันก็ต้องว่ากันไปตามนั้นอีกชั้นหนึ่ง

ว่ามาเลย

โยม ๑ : ...(เสียงไม่ชัดเจน)... มันเหมือนกับว่ามันมีลางสังหรณ์เลย คือในใจเหมือนมีลางสังหรณ์เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นเลย แล้วเราก็ไปล้างอารมณ์ตรงนั้นอีกทีหนึ่ง มันเหมือนมันเกิดขึ้นจริงในขณะนั้น แล้วหนูก็จะเป็นอย่างนี้

หลวงพ่อ : ไม่หรอก มันเป็นนิสัย นิสัยมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เขาเรียกคนวิตกวิจารณ์มาก คนถ้าวิตกวิจารณ์มากมันทิ้งอะไรไม่ได้ เพราะมันก็ต้องอย่างนี้ มันวิตกวิจารณ์ขนาดไหนแล้วมันก็ต้องตามดูจนตัวเองจะเข็ดเอง คือตัวเองจะเห็นโทษเอง เช่น กินส้มตำรสนี้เผ็ดมาก แต่ก็อยากกินนะ สั่งทีหนึ่งพริก ๒๐ เม็ด ๕๐ เม็ด ๑๐๐ เม็ด ตำๆๆ แล้วก็เผ็ด ก็กินอยู่อย่างนั้นน่ะ พอจนกว่าเราจะเห็นโทษไง เผ็ดนี้ไม่ควรกิน กินส้มตำก็เคยกินแล้วเผ็ด พริกกี่เม็ดก็เคยกินแล้วใช่ไหม เรากินพอประทังชีวิตไง อย่ากินตามความอยากไง ถ้าความอยากนั้นมันก็อยากรสเผ็ดตลอดไปใช่ไหม

จะบอกว่าจิตนี้เป็นอย่างนี้ หมายถึงว่า เขามาจับแล้ว เขาผ่านไปแล้ว ใจมันฝังใจ ก็คิดอีก มันก็เป็นอีก มันก็เหมือนสัมผัสเลย แล้วมันจะแก้ได้ที่ไหนรู้ไหม ก็แก้ได้ที่ไอ้ปลดอุปาทานเรานี่แหละ คือว่ามันเห็นโทษไง คือประสาเรานะ คือคนเราลูกผู้ชายตายหนเดียว อย่าตายหลายหน

นี่ตายซ้ำตายซาก เขามาจับทีหนึ่งก็ตายไปแล้วรอบหนึ่งนะ คือโกรธไปทีหนึ่งแล้ว แล้วก็วิตกวิจารณ์ขึ้นมา เหมือนจับจริงอีก ตายอีกรอบหนึ่ง ประเดี๋ยวไปคิดอีกรอบหนึ่งนะ ก็ตายอีกรอบหนึ่ง มึงตายซ้ำตายซาก ตายหลายทีไง

แล้วมันแก้ไม่ได้ มันแก้ไม่ได้ด้วยวิธีการพูด มันจะแก้ได้ด้วยที่เราจะเห็นโทษมัน เห็นโทษใครรู้ไหม เห็นโทษที่ใจเรา ใจเราจะเห็นโทษเอง ใจเรานี่ มันไม่ได้เป็นที่รูป ไม่ได้เป็นที่ใคร ไม่ได้เป็นที่ใครเลย เหมือนนกไง มันบินมาเกาะที่คอนแล้วมันก็ไปแล้ว แต่เราไม่พอใจนะ นกบินมาเกาะคอนกู เราปลูกต้นไม้ไว้ใช่ไหม นกก็บินมาเกาะ แล้วนกมันก็ไปแล้ว นกมันไม่รู้เรื่อง นี่ก็เหมือนกัน รูปมันมาเกาะ รูปมันไปแล้ว นี่คือคอนมันมาเกาะ แล้วมันก็ไปแล้ว ไอ้ใจไม่พอใจตลอด ต้องด่ามันสิ ด่ามันๆๆ

โยม ๑ : แล้วอย่างสมมุติว่าเราเวลาขณะที่เราคิด คือมันถูกหรือเปล่า หนูอยากจะรู้เท่านั้นเองว่ามันถูกหรือเปล่า

หลวงพ่อ : มึงจะพูดอย่างนี้ไม่ได้ มึงจะพูดอย่างนี้ไม่ได้ เพราะถ้าคำว่า “ถูกหรือเปล่า” มันเอาธรรมะมาตั้ง ธรรมะคืออภิธรรม ธรรมะที่เอ็งเรียนมาน่ะเอามาตั้ง แล้วก็เอาอารมณ์ความรู้สึกเราไปเทียบว่าถูกหรือเปล่า แล้วมันจะถูกไหม

ไม่ถูก ไม่มีทางถูกเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะธรรมะพระพุทธเจ้านี้สะอาดบริสุทธิ์ ของจริง แล้วเราเอาอารมณ์ที่ขุ่นมัว อารมณ์ของเราไปเทียบ แล้วมาถามว่าถูกหรือผิด มันไม่ใช่

ธรรมะพระพุทธเจ้าที่ตั้งอยู่นี่สะอาดบริสุทธิ์ พระไตรปิฎกตั้งไว้ นี่ของจริง แล้วเราแก้ไขที่ใจเรา แก้ไขที่ใจเรา เพราะใจเรามันสกปรก ใจเราเหมือนน้ำสกปรก ใจเรามันแบบว่ามันมีอารมณ์ แก้ที่นี่ จนที่นี่มันสะอาดบริสุทธิ์แล้วนะ นี่ไง ถึงมาเทียบได้ถูกหรือผิดไง

แต่ตอนนี้มันผิดทั้งนั้นน่ะ ไม่ต้องมาถามหรอก ถูกหรือผิด เพราะเอ็งเอาธรรมะพระพุทธเจ้าตั้งไว้ใช่ไหม ใช่ไหม นี่เราเปรียบเทียบ เอ็งจะบอกว่าถูกหรือผิดอันนี้ใช่ไหม ถูกหรือผิดที่ธรรมะพระพุทธเจ้าสอน แล้วก็เอาอารมณ์ความคิดมึงมาเทียบ

(โทษนะ อัดเทปมีมึงกูด้วย เดี๋ยวทีละคน เอาให้จบทีละคน)

ธรรมะพระพุทธเจ้านี่ถูก แต่ความคิดเอ็งผิด ความคิดน่ะ ทีนี้เอ็งบอกว่าความคิดเอ็งถูกหรือผิด มันผิดอยู่แล้ว จริงไหม ทีนี้เอ็งจะบอกว่าที่เอ็งทำถูกหรือผิด ระหว่างทำอยู่ เราต้องสู้ไปเรื่อยๆ แต่มันจะบอกว่าถูกหรือผิดอย่างนั้นยังไม่ได้ ถ้าเอ็งไปบอกถูกหรือผิด มันก็ไปพูดถึงสิ่งที่ธรรมะพระพุทธเจ้า เพราะเราจะพูดบ่อยเลย ที่อภิธรรมผิด ผิดตรงนี้ไง ผิดตรงที่ ธรรมะพระพุทธเจ้าสะอาด ถูกไหม ถูก แต่ขณะที่ปฏิบัติอยู่ เราถูกไหม เราผิด เราผิด

ทีนี้พอเราผิดปั๊บ เราจะให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างนั้นไม่ได้ เพราะเราเป็นปุถุชนใช่ไหม เรายังควบคุมอารมณ์เราไม่ได้ใช่ไหม เราต้องมีความอยากใช่ไหม ทุกอย่าง จิตใจทุกคนมีใช่ไหม ปฏิบัติไม่ได้เพราะมันมีความอยากไง ก็ต้องไปแกล้งให้ตัวเองไม่อยากไง ไปลบล้างมัน ไปวางยาสลบมันให้มันซื่อบื้อ แล้วก็ปฏิบัติไปแบบไม่รู้เรื่องไง กูไม่อยาก กูไม่รับรู้อะไรเลย กูเป็นคนดี แล้วกูจะปฏิบัติธรรมไง...มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

แต่ถ้าเราทำสมาธิ เรากำหนดด้วยคำบริกรรม มันอย่างไรก็แล้วแต่ มันก็มีความอยาก เคยสงบทีหนึ่ง เราก็อยากสงบอีก พอไม่เคยสงบ เราก็อยากสงบ ไอ้เคยได้แล้วก็ยิ่งอยากได้เข้าไปใหญ่ อันนี้อันหนึ่ง แต่เราก็พุทโธไปเรื่อยๆ จนกว่ามันจะ อย่างที่รูปมาเกาะแขน ลองพุทโธไปเรื่อยๆ จนกว่ามันสงบ เออ! สงบเป็นอย่างนี้ ไม่สงบเป็นอย่างนี้ นี่ก็เหมือนกัน ไม่พอใจเป็นอย่างนี้ ความถูกต้องเป็นอย่างนี้ เราเห็นเองแล้วเราละเอง แต่นี่เรากลบเกลื่อนเราไว้หมดเลย แล้วก็เถียงว่าที่เราคิดนี่ถูกไหม ที่เราคิดนี่เปรียบเทียบพระพุทธเจ้าได้ไหม เหมือนคู่เหมือนไง จะเอาความรู้เราไปเหมือน ไปเปรียบเทียบ แต่เราไม่ได้แก้ไขเราเลย

อ้าว! ว่าไป

โยม ๑ : แล้วตอนนี้หนูว่ามันเหมือนว่า คือเรามาคิดมันไม่เหมือนเมื่อก่อน คือตอนนี้เราเริ่มมีแบบเวลาเราคิดหรือเรานึกถึง อย่างเรานึกถึง สมมุติว่าเหมือนเรานึกถึง เราฟังวิทยุ มันเหมือนกับว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง แล้วเราก็ไปดู มันเหมือนมันเป็นการสร้าง

หลวงพ่อ : เป็นการสร้าง มันเป็นสร้าง

เขาเรียกว่าวิตกจริต จริตของคน วิตกจริตมันจะวิตกวิจารณ์ไปหมด ความจริงมันก็ดีอย่างหนึ่ง โทษนะ คำว่า “ดีอย่างหนึ่ง” เหมือนพวกเรา พวกเรานั่งอยู่นี่ เห็นใครตกทุกข์ได้ยาก เราอยากขวนขวายช่วยเขา อันนี้เป็นความดีนะ เราเห็นคนตกทุกข์ได้ยากใช่ไหม เห็นน้ำท่วม เห็นน้ำท่วม เห็นอะไรต่างๆ แล้วเราไม่ไปช่วยเหลือเขา เขาก็ได้ทุกข์ได้ยาก ถ้าเราอยากไปช่วยเหลือเขา แต่ให้เป็นตามความเป็นจริง

ไม่ใช่ว่า โอ้โฮ! บางคนจะช่วยเหลือคน บางคนช่วยเหลือคนโดยดีมาก เขาช่วยโดยแบบกำลังของเขา เขาช่วยโดยแบบไม่ต้องให้ใครรับรู้ เขาช่วยด้วยน้ำใจของเขา บางคนจะช่วยเหลือคน โอ้โฮ! วุ่นวายชาวบ้านไปหมดเลย บางคนก็ไป กว่าจะมาช่วยเหลือเขาได้ กินไปแล้วครึ่งหนึ่งกว่าจะไปช่วยเหลือคนอื่น มันก็มีอีกตั้งหลายอย่าง

ไอ้คำว่า “วิตกจริต” ไง มันเป็นอย่างนั้นกับเขาไปหมดเลย จิตของคนมันหยาบมันละเอียด มันอยู่อย่างนี้ นี่ไง พื้นฐานของคน มันต้องแก้ตรงนี้ก่อน มันจะวิตกจริตกันอย่างไรก็แล้วแต่ บังคับมัน เราอยู่กับหลวงตานะ อยากไป ไม่ไป อยากกิน ไม่กิน มันไม่อยาก บังคับให้มันไป

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันวิตกจริต มันไปคิดถึงเขามาก ก็บังคับไม่ให้มันคิด มันต้องบังคับต้องขู่เข็ญ จิตนี้ต้องขู่นะ ต้องตะคอกมัน ต้องสอนมัน ต้องให้มันอยู่กับเรา ไม่ใช่ว่า โอ๋ย! ธรรมะเกิดเว้ย คิดอะไรก็วิ่งตามมันไป คิดอะไรก็วิ่งตามมันไป มึงก็ตายน่ะสิ

เวลาเรานั่งอยู่นี่นะ เราอยู่ในป่าพรรษาแรก คนนี่แปลก ถ้าใครไม่เคยบวชจะไม่เข้าใจเรื่องนี้หรอก เวลาอยู่กับพ่ออยู่กับแม่ อยู่กันทุกวัน อยู่กับบ้านด้วยกัน เฉยนะ ลองไปบวชสิ คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ มันจะคิดไปหมดล่ะ แล้วยิ่งไปธุดงค์อยู่ในป่า เราไปอยู่ในป่า มันคิดขึ้นมาไง คิด อู้ฮู! คิดมากเลย อยากจะให้คนนู้นดี คนนี้ดี ปัญญามันไล่ทัน ไล่แล้ว สมมุติว่าตอนนี้นะ พ่อแม่มึงตายจริงๆ แล้วเขาจะส่งข่าวมาให้มึงรู้ เป็นไปไม่ได้ เพราะตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่ากูอยู่ที่ไหน เพราะเราอยู่ในป่า เราอยู่ในพม่า เราออกพม่า พรรษาแรกเลย ถ้าพ่อแม่มึงตาย จนเขาเผาศพเสร็จแล้ว ปีหน้ามึงกลับมามึงจะรู้ว่าพ่อแม่มึงตาย นี่มันวิตกขึ้นมาใช่ไหม

แล้วมันก็ถามเลย สมมุติว่าตอนนี้พ่อแม่มึงตายจริง มึงก็ช่วยอะไรไม่ได้หรอก มึงคิดไปทำไม มึงคิดไปทำไม มันคิดห่วงอาลัยอาวรณ์เขาไปหมด คิดห่วงหาเขาไปหมดเลย แล้วเมื่อก่อน ก่อนที่มึงบวช มึงอยู่บ้านน่ะ มึงเคยดูแลพ่อแม่มึงไหม มันถามกลับนะ เมื่อก่อนนี้เป็นวัยรุ่น ตกเย็นออกบ้านทุกวันน่ะ หัวค่ำออกเที่ยวแล้ว กว่าจะกลับบ้าน เขารอมึงตีเท่าไร มันถามกลับ เมื่อก่อนนี้มึงทำไมไม่ห่วงพ่อแม่มึงบ้าง เมื่อก่อนนี้มึงทำไมไม่ดูแลพ่อแม่มึง พอบวชมาแล้วห่วง ห่วง ห่วงนัก นี่เวลามันคิดดีไง เราก็เป็น เห็นไหม

เราอยู่ในป่า ปัญหานี้เราแก้ของเราเอง แล้วบังคับให้มันหยุด ถ้ามันคิดก็ให้มันคิดแบบที่หลวงตาว่า ไฟในเตา คือธรรมชาติมันจะคิด แต่เราก็ดูแลมันได้ จะไม่ให้คิดเลยมันไม่มีไง มันคิดอยู่ แต่เราก็รู้ว่าควรไม่ควร ขณะนี้ กาลเทศะ นี่ก็เหมือนกันใช่ไหม คิดไง เรื่องข่าวเรื่องอะไร คิดออกไปใช่ไหม เขาอยู่คนละประเทศ เรื่องนี้มันเรื่องง่ายๆ

ว่าไป

โยม ๑ : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : คือเราบังคับใจเรา ว่าอย่างนั้นเลย เราตั้งสติแล้วบังคับใจเราว่า มึงอย่าบ้า แล้วถ้ามันจะบ้าอย่างนี้นะ ปิดไป ทีวีไม่ดู ข่าวสารไม่ต้องรับ เราเทศน์ไว้ในปลูกดอกบัวที่ใจว่า ข่าวสารนี้เขาเป็นประโยชน์ทางโลก แต่เป็นโทษกับการปฏิบัติ เราไม่รู้เรื่องอะไรเลย เราไม่รู้นะ พอรู้ขึ้นมา คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ มันฟูขึ้นมาไง ข่าวสาร ที่ว่านักปฏิบัติเขาไม่ให้รู้ ไม่ให้ได้ฟังได้ยินก็เพราะเหตุนี้ไง พอมันไปได้ยินได้ฟังขึ้นมาแล้วมันฟูไง

โยม ๑ : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ไร้สาระ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันเป็นที่เริ่มต้น มันไปเริ่มที่ศีล ๘ ศีล ๘ มันก็ผิดแล้วไง ศีล ๘ ห้ามดูการละเล่นฟ้อนรำ

จบ จบไปแล้ว ไม่ให้ถามแล้ว หมดเวลา ถ้าถาม ถามให้จบเป็นคนๆ ไปเลย

อ้าว! ว่าไป

โยม ๒ : อยากจะกราบเรียนพระคุณเจ้าค่ะ คือดิฉันสงสัยเกี่ยวกับความเมตตา เรื่องสมาธิน่ะค่ะ คือต่างจังหวัดที่ชนบทแห่งหนึ่งนะคะ ชาวบ้านส่วนมากก็ลำบากยากแค้น แล้วก็ไม่มีการงานอะไรเป็นหลักเป็นแหล่ง ทีนี้พระนั้นท่านก็เป็นพระที่อยู่ป่า แต่ก็ดูๆ ก็เหมือนเป็นพระปฏิบัตินะคะ แต่ชาวบ้านก็จะมาขอหวย แบบว่า โอ๋ย! ยากจน อยากจะถูกหวย ที่จริงท่านก็อยู่ใน...นะคะ แต่ว่าท่านก็ไปนั่งสมาธิแล้วก็เห็นเป็นตัวเลข แล้วก็บอกโยมไปซื้ออะไรอย่างนี้ มันจะเป็นมิจฉาทิฏฐิไหมคะ

หลวงพ่อ : มิจฉา ไม่ต้องไปยุ่งเลย อบายมุข อบายภูมิ

โยม ๒ : คือไม่ใช่ตัวดิฉันหรอกค่ะ แต่เป็นคนอื่นฝากเรียนถาม

หลวงพ่อ : ใช่ ไม่ต้องไปยุ่ง แพะเยอะมาก พระก็เยอะ แพะก็เยอะ เพราะว่าอะไรรู้ไหม เพราะไอ้เรื่องตัวเลขเรื่องอะไร เราเคยนะ เวลานั่งนี่เข้ามาเลย เข้ามาเป็นตัวทองเลยนะ เก็บไว้ในใจ ดูว่าออกไหม ออก พอเข้ามาเลยนะ ไม่บอกใครหรอก บางทีมันมีได้ มันเข้าได้ บางคนมันก็มี บางคนก็ไม่มี มันเป็นเลย บางทีใสเป็นตัวเงินก็มี บางทีเป็นตัวทองก็มี แต่มันเป็น ถ้าพูดถึงทดสอบ แต่พอมันผ่านไปแล้วก็จบ

ทีนี้พอจบขึ้นมาแล้ว ถ้าพูดออกไป ตอนนี้นะ ในทางการรักษาทางการแพทย์ ถ้าหมอนะ เราคุยกับพวกหมอ หมอที่เขามารักษาเราอยู่นี่ หมอบางคนเขาดี พอหมอเขาดี พอถึงเวลาปั๊บ เขาจะทำบุญกุศล เพราะอะไรรู้ไหม เพราะโรคเวรโรคกรรมมันมีทั้งนั้นน่ะ ทีนี้พอเราไปรักษาเขาหาย มันจะมาเข้าตัวเรา บางคนนี่นะ อย่างบางคนเข้าตัว พอเข้าตัว เพราะหมอพูดเอง หมอบอกว่าเมื่อก่อนนี้ชาวเมืองจันท์ฯ หรือทางที่ไหน วงการหมอเขาจะรู้กันนะ บอกทางเมืองจันท์ฯ มันมีหมอนิ้วทอง เขาบอกคนนี่นะ อู้ฮู! เรียงกันเป็นแถวเลยนะ คนไปหาเยอะมากเลย แล้วพอนวดๆ ไปนะ หมอนวดก็เป็นเสียเอง แล้วก็จบไป แต่หมอที่เขามานวดเราเขาบอกเขานวดอะไรก็แล้วแต่ เขาจะทำบุญกุศล แล้วพอเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเขาจะนวด เขาแก้เขาด้วย

อันนี้พูดถึงโรคภัยไข้เจ็บมันยังมีเลย แล้วทีนี้มาพูดถึงการให้หวย ลาภควรได้ ลาภไม่ควรได้ แล้วเวลาไปให้ใคร ไปอะไรใคร มันยุ่งไปหมดล่ะ แม้แต่เรามีกรรมกัน อุบัติเหตุมันก็มีกันอยู่แล้ว แต่ในศาสนาพุทธเรา ทำบุญกุศลแล้วแผ่เมตตา เราแผ่เมตตาให้เขา ให้บุญกุศลเขาไป แล้วถ้าพระถ้ามันรู้จริง อย่าให้พูดเลย เราไม่เชื่อ แล้วเราอยู่ในวงการพระ ยิ่งโยมพูดมาด้วย โอ๋ย! ร้อยแปด ๑๘ มงกุฎมาบวชเยอะนะ

แล้วเวลาหลวงตาท่านพูดท่านไม่พูดถึงวงนอก ท่านจะถึงพูดในวงกรรมฐานเรา แล้วในวงกรรมฐานนี้ท่านจะพูดเฉพาะในสายหลวงปู่มั่น เพราะถ้ามันเป็นสายหลวงปู่มั่นปั๊บ เขาเรียกว่าสุปฏิปันโน จะหาทางออกจากกิเลสทางนั้นอย่างเดียว คือทางตรง ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม

แล้วอย่างนี้มันไปทางโลก อย่างพูดถึงเมตตา เมื่อก่อนตอนที่หลวงตาท่านจะออกมาทำโครงการช่วยชาติ มันมีพระหลายองค์ที่ออกมาทำการช่วยชาติ เราไม่เคยเห็นด้วยเลย เพราะเราไม่เชื่อ เงินนะ เงินนี่อสรพิษ ไปอยู่กับใครนะ ถ้าไม่มีหลักนะ เสียหมด

ทีนี้พอหลวงตาออกมาช่วยชาติ เราเห็นด้วย เพราะเราเคยอยู่กับท่านมา เพราะท่านปิดทองหลังพระมานานแล้ว สมัยเราอยู่กับท่าน ท่านก็ช่วยโรงพยาบาลมาก่อนหน้าแล้ว คือท่านไม่มีเงิน ท่านก็ขวนขวายช่วยเขาอยู่แล้ว ฉะนั้น ถ้าท่านหาเงินมาแล้ว ประสาเรา มือสะอาด ใจสะอาด มันสะอาดหมดไง แต่ถ้าใจไม่สะอาดนะ เอ็งลงไปคลุกกับมันนะ เดี๋ยวก็เสร็จ

แล้วพระพวกนี้ที่ว่าเที่ยวให้นู่นให้นี่น่ะ โทษนะ มึงเอาตัวมึงให้รอดก่อนเถอะวะ ตัวมึงน่ะ เอาให้รอดเถอะ ถ้าตัวมึงไม่รอดนะ โธ่! มีมาหาเรานะ พวกกรุงเทพฯ มา อย่างที่ว่าที่มาถามอะไรนะ สังฆทาน เวียนเทียน แล้วเขาบอกว่าน่าเห็นใจ ก็พระเขาเยอะ พระเขาบอกของเขาเยอะไง

กูถามว่า จริงหรือเปล่า เยอะขนาดไหน เดี๋ยวกูจะเอาสิบล้อไปทุก

คือคนถ้ามันเป็นธรรมนะ มันไม่สะสม มันจะเยอะที่ไหน โยมมาถวายเรา ๑๐ ถัง ก็ ๑๐ ถังสังฆทาน เดี๋ยวเราออกหมดแล้ว เอามาอีก ๑๐๐ สังฆทาน เราก็หมดแล้ว เอามาแสนสังฆทาน เราก็หมดแล้ว เยอะตรงไหนวะ

ไอ้นี่เอามา ๑ ก็เก็บไว้ ๒ ก็เก็บไว้ มันจะทับมึงตาย อย่ามาอ้าง อย่ามาอ้างว่าของมันเยอะ สะสมมันเยอะ ฉะนั้น ไม่ต้องซื้อมา เอาเงินมาให้ฉันแล้วเวียนเทียน...ไม่ต้อง อย่าอ้าง อ้างเล่ห์ กิเลสมึงอย่ามาอ้าง ไร้สาระ อ้างว่าของเยอะแล้ว มากแล้วน่ะ

ดูคนทุกข์คนจนในเมืองไทยเยอะขนาดไหน คนที่ไม่มีจะกินอีกเท่าไร มาสิ ขนมา เข้ามา ขนมา กูแจกหมดเลย ขนมา

อ้างกันเฉยๆ อ้างให้คนเชื่อไง นี่ก็เชื่อ ยิ่งอ้างแล้วเราก็ยิ่งเข้าไปประเคนท่านๆ

ถ้าใจมันเป็นธรรม ใจเป็นธรรมมันสะสมไว้ไม่ได้ แม้แต่ธรรมวินัยก็บอกแล้ว ภิกษุห้ามสะสม แล้วจะบอกว่าสะสมไว้จนกองท่วมหัวนะ แค่ของที่กองท่วมหัวมันก็น่าอายแล้ว ใครเขาไปเห็นก็น่าอาย นี่มันพระอะไร มึงสะสมมาขนาดนี้ ยังไปพูดกับโยมอีกว่า อู้ฮู! มันเยอะน่ะ เวียนเทียนมา เอาสตางค์มาแล้วกัน แล้วมาเวียนเอา

มันน่าอาย ๒ ชั้น ๓ ชั้นนะ ถ้าของมันเยอะจนขนาดนั้นนะ มันก็ถึงบอกว่าหัวหน้ามันตระหนี่ถี่เหนียว เอาเงินมาแล้วเอ็งเอาบุญไป เอาเงินมาให้กูนี่ แล้วเอาบุญไป แล้วยังมา ๒ รอบ ๓ รอบ ฉะนั้น ถ้าอย่างนี้แล้ว โทษนะ โยมเพิ่งมา ยังไม่ค่อยรู้นิสัยเรา เดี๋ยวพูดแรงๆ ไปเดี๋ยวหาว่าเราเอ็ด นี่ไม่ได้เอ็ดนะ ไม่ได้เอ็ด นี่เปรียบเทียบให้เห็นทางโลก

โยม ๒ : แต่คราวก่อนก็มากับลูกสาว ลูกสาว

หลวงพ่อ : นี่พูดถึงทั่วไปเนาะ ถ้าไม่รู้นิสัยก็จะหาว่าดุ จะกินเลยนะ เผลอไม่ได้ เผลอ กินเลย

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : เมื่อกี้พูดตั้งแต่ทีแรกแล้ว ไม่มีคำบริกรรมหรือ กำหนดอะไร กำหนดอะไร ภาวนาอยู่ กำหนดอะไร ลมหายใจกำหนดไหม

ต้องพุทโธ ต้องกำหนดคำใดคำหนึ่ง พุทโธก็ได้ ลมหายใจก็ได้ เราจะไม่บอกว่าพุทโธอย่างเดียวไง ถ้าบอกพุทโธอย่างเดียวก็เหมือนเลือกข้าง แล้วเราเอ็ดพระบ่อย ถ้าใครบอกว่าของคนอื่นผิดหมด ของกูถูกนะ กูไม่เชื่อเลย เพราะพระพุทธเจ้าบอกไว้ถึง ๔๐ วิธีการ พระพุทธเจ้าเปิดทางไว้กว้างขวางมากเลย กรรมฐาน ๔๐ ห้องไง พุทโธ ธัมโม สังโฆ เทวดานุสติ มรณานุสติ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ คำอายตนะเอามาเป็นคำบริกรรมได้หมดไง คืออะไรก็ได้ แต่ต้องมีจุดยืน จุดยืน หมายถึงว่า ต้องเอาจิตเกาะไว้ คือนึกถึงคำใด เรียกว่าคำบริกรรม หมายถึงจุดยืน จิตมันมีที่ตั้ง กับปล่อยหลักลอยหมดน่ะ ไม่ได้

ฉะนั้น อะไรก็ได้ แต่ใช้ว่าคำว่า “บริกรรม” คือนึกถึงคำนั้น นึกถึง คำนึกก็เอาจิตไปเกาะไว้ เหมือนเด็กหัดเดินมันต้องเกาะราวไป หรือจับอะไรไป

โยม ๓ : ตีความหมาย แบบว่าอยู่กับจิต อยู่ที่ใจแล้ว คือหมายถึงว่าการดูใจตัวเอง หมายถึงว่าอยู่กับคำบริกรรม

หลวงพ่อ : ใช่ ไม่ใช่ คำบริกรรม หมายถึงว่า เป็นคำบริกรรมที่จิตมันไปพักไว้ แล้วเดี๋ยวมันจะสงบ แล้วพอสงบแล้วค่อยมาดูอีกทีหนึ่ง

โยม ๓ : นั่นล่ะค่ะ วิธีการดูตรงนั้นน่ะเจ้าค่ะ ทำอย่างไรคะ

หลวงพ่อ : ทำอย่างไร ไม่ให้ดู ให้นึกคำบริกรรมเลย ไม่ให้ดูไง

คำว่า “ดู” นี่นะ คือจิตมันทำได้อย่างเดียวใช่ไหม ดูก็คือดู พอดูแล้วมันนึกบริกรรมไม่ได้ใช่ไหม ถ้าเราบริกรรมดูก็ไม่ต้องดูไง

โยม ๓ : (เสียงไม่ชัดเจน)

ใช่ ก็เราไม่ดู เราใช้คำบริกรรม ดูคือส่งออกไง แล้วเราส่งออกไปแล้วบ้านก็ร้าง ตัวเองส่งความคิดออกไปข้างนอกหมดเลย แล้วก็ตัวเองปล่อยให้หลักลอย

แต่ถ้ากำหนดพุทโธๆ เพื่อให้หลักนี้มั่นคง นี่คือสมาธิ นี่คือกรรมฐาน นี่ฐานที่ตั้ง ถ้าดูออกไปคือไปหมดเลย บ้านตัวเองไม่ทำความสะอาด แต่อยากไปทำความสะอาดให้บ้านคนอื่นไง ดูออกไปก็ไปดูบ้านคนอื่น

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

ใช่ ใช่ ถ้ากลับมาพุทโธก็ทำความสะอาดบ้านเราไง บ้านตัวเองปล่อยให้เขลอะเลย แต่คนดีนะ เที่ยวไปรักษาบ้านคนนู้นบ้านคนนี้ ออกไปดูข้างนอกหมด บ้านตัวเองรักษาให้ดี ทำความสะอาดเสีย แล้วน่าอยู่น่านอน ไปแต่ข้างนอก กลับมาบ้านตัวเอง เขลอะ

โยม ๒ : ดิฉันยังไม่ได้ความกระจ่างเพราะว่า ที่ว่านี้คือท่านก็ให้เมตตาน่ะค่ะ

หลวงพ่อ : ไม่มีเมตตา โทษนะโยม โทษนะ เราไม่พูด ถ้าพูดแรง เดี๋ยวโยมจะฟังไม่ได้

โยม ๒ : รับได้ค่ะ ไม่ใช่เกิดกับตัวดิฉัน

หลวงพ่อ : ใช่ ไม่ใช่ ถ้าเป็นพระเขาไม่ให้หวย เพราะให้หวยนี่มันหลอกเขา พระผิดศีล ศีล ๕ ห้ามสุราเมรัยฯ อทินนาฯ ใช่ไหม ห้าม เขาห้ามอยู่แล้ว แล้วไปยื้อยุเขาได้อย่างไร ให้หวยเขา ให้เขาไปแทงหวยเป็นอบายมุขไหม เป็นการพนัน เป็นอบายมุข อบายมุขมันก็ตกนรกอเวจี อบายภูมิ

โยม ๒ : แต่ท่านไม่ได้ให้บ่อย คือแบบว่าสงสารอะไรอย่างนี้

หลวงพ่อ : ไม่ได้ อย่าอ้าง ยาพิษ ๑ ช้อน เขากิน ๑ ขวด ด้วยความเมตตา กินช้อนเดียวได้ไหม อย่าอ้าง ผิดคือผิด ถูกคือถูก ไม่มีอ้าง เมตตาๆ ไม่เกี่ยว เมตตา มึงสึกไปทำงานอยู่บ้านเขาสิ อาจารย์องค์นั้นน่ะ องค์ที่ให้หวยน่ะ สงสารเขาใช่ไหม สึกจากพระแล้วไปทำงานบ้านเขา ช่วยเขา เดี๋ยวเขาจะร่ำรวยขึ้นมา ช่วยเขาเลยไง ไปช่วยเขาทำมาหากิน เพราะเมตตาเขา

โยม ๑ : หลวงพ่อ แล้วเหล้านี่นะ ใส่ลงไปในอาหารแล้วผัดกับข้าวให้พระฉันได้หรือเปล่า

หลวงพ่อ : ถ้าเอ็งทำมา เอ็งทำอาหาร ฉันได้ เพราะว่าอะไรรู้ไหม เพราะว่าสิ่งที่เป็นวินัย ภิกษุห้ามทำอาหารให้สุกด้วยตนเอง ภิกษุได้น้ำผึ้งมา ได้สมุนไพรมา แล้วทำยาขึ้นมา ผสมด้วยน้ำผึ้ง ๗ วัน เพราะภิกษุทำเอง ภิกษุคั้นน้ำปานะ เกลือที่มาฉันกับข้าวเป็นอาหาร เกลือ ฉันพร้อมกับข้าว คือเกลือนั้นเป็นอาหารไปแล้ว ผสมน้ำปานะไม่ได้ เพราะเกลือ ตัวเกลือเป็นอาหาร กาลิก เป็นส่วนนั้น

แต่ถ้าเราบิณฑบาตมา เกลือ เอ็งเอาเกลือมาแยกไว้เป็นปรมัตถ์ เราทำน้ำปานะ เราจะเอาเกลือนั้นผสมน้ำปานะได้ เวลาพระผสมเอง เพราะพระมันมีข้อวัตร มันมีวินัย จะได้เป็นบัญญัติว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้

แต่นี้เวลาไม่ใช่พระทำ โยมทำมา ถ้าโยมทำมา พารา พารานี่เอ็งมาถวายพระ พระกินได้ไหม ยาแก้ปวดพารา แล้วมันมีแป้งอยู่ เป็นข้าว กินได้อย่างไรล่ะ อ้าว! พารานี่ผสมแป้งนะ ทิฟฟี่ก็ผสมแป้งนะ ข้าวทั้งนั้นน่ะ กินได้อย่างไร ทำไมกินได้ล่ะ

เพราะเขาซื้อมา มันเป็นยามา คือมันเป็นสิ่งที่กำหนดว่าเป็นยา เราอย่าหาเรื่อง กิเลสเรามันงี่เง่า มันไปบอกว่ายานี้คือข้าว เพราะมันผสมแป้ง ก็มึงเอายามากินทั้งกระป๋องๆ กินแทนข้าวสิ เพราะมึงงี่เง่า กิเลสมันงี่เง่า มึงน่ะงี่เง่า คืออะไรที่วินัยตัดสินแล้วให้มันขาดไปเลย จบกันแค่นั้น วินัยมันเป็นกฎหมาย กฎหมายต้องเด็ดขาด ฉะนั้น เหล้าที่เอ็งผสมอาหารมา เอ็งทำกับข้าว เอ็งผสมเหล้ามา เอ็งทำที่บ้านใช่ไหม พระไปรู้อะไรกับเอ็ง แล้วเอามาถวายพระ พระรู้ด้วยหรือเปล่า เนื้อ ๓ อย่าง ภิกษุไม่ได้ยินว่าเขาฆ่าเพื่อเรา ภิกษุไม่ได้ยินว่าเขาทำเพื่อเรา เขาทำถวายพระ ถ้านิมนต์เราไปฉันข้าวที่บ้าน “หลวงพ่อ พรุ่งนี้นิมนต์ไปฉันที่บ้านนะ จะเลี้ยงแกงไก่”

จะเลี้ยงแกงไก่ เจาะจงให้ภิกษุไปฉัน ภิกษุฉันคำใด เป็นอาบัติปาจิตตีย์ทุกคำกลืน เพราะรู้อยู่ว่าเขาเจาะจง ไก่นั้นตายเพราะเรา ห้ามฉัน

แต่ไก่นั้นเขาตายของเขาโดยท้องตลาด เราไม่เกี่ยว ไม่ได้ยิน ไม่ได้ฟัง ไม่ได้รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อเรา ตรงนี้มันเหมือนกับเจ้าเล่ห์ ฉะนั้น เขาถึงพูดไง “บาปอยู่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน” อะไรนั่นน่ะ

ถ้าพูดถึงบาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกินนะ กูก็ต้องรับผิดชอบโรงฆ่าสัตว์ด้วยหรือ ถ้าโรงฆ่าสัตว์เขาจะฆ่ามาขายให้พระ เขาเจ๊งนะ พระไม่มีใครไปซื้อหรอก เขาทำมาขายให้โยม ฉะนั้น บาปอยู่ที่เขา เพราะเขาอยากร่ำอยากรวย

สัมมาอาชีวะ อยู่ที่เราจะเลือกอาชีพอะไร อาชีพนี่อยู่ที่เราเลือกนะ เราเลือก เราต้องการสิ่งใด อาชีพที่สะอาดบริสุทธิ์ อาชีพ เราเลือกของเราทั้งนั้นน่ะ เอ็งเลือกแล้ว เอ็งเลือกอยากรวย แต่เอ็งไม่ยอมรับกรรมอันนั้น เป็นไปไม่ได้ ในเมื่อเอ็งเลือกอาชีพนั้น เอ็งอยากรวย เอ็งก็ต้องรับกรรมอันนั้นไป แล้วเขาไปซื้อมาถวายพระ พระไปรับรู้อะไรกับเอ็ง พระไปรับรู้อะไรกับเอ็ง แล้วก็มาโทษว่าพระฉัน สังคมเขาปั่นป่วนกันทั้งสังคมเลย เป็นเพราะพระฉัน

นี่ธรรมะ ธรรมะเป็นอย่างนี้ พระไม่รับรู้อะไรเลย เนื้อนาบุญไง เหมือนแผ่นดิน เหมือนเนื้อนา เขาไถนา เขาหว่านนา นามันรู้อะไร นามันรู้อะไรกับเขา นี่ไง ที่เขาโจมตีกันน่ะ “พระนี่ยังฉันเนื้อสัตว์ พระยัง...”...ก็กูไปรู้อะไรกับเขาล่ะ

โธ่! ไม่อยากจะพูดนะ ในพระไตรปิฎกมี แล้วแม่ชีแก้ว ที่วัวควายมันจะตายไง พอมันตายไปแล้ว ก่อนเป็นควาย เรานึกว่าควายไม่มีความคิดนะ มันบอกเลยนะ เป็นควายต้องเอาใจเจ้าของ ถ้าไม่เอาใจเจ้าของ เขาก็ตีเอา แล้วเขาก็ไม่ให้กินน้ำกินท่า ถ้าวันหนึ่งเขาก็ให้กินน้ำทีหนึ่ง ต้องคอยประจบเอาใจเขา เสร็จแล้วเขาก็ฆ่า แล้วเห็นคน อิจฉาไง คนมีกฎหมาย ทุกคน ถึงมาเข้าในนิมิต เอาใจเขาขนาดนี้แล้ว พอเขาฆ่าแล้ว ถึงอยากเกิดเป็นคน ถ้าเกิดเป็นคน เขาจะฆ่าเราโดยอารมณ์เขาไม่ได้ มันมีกฎหมายรองรับ แล้วเกิดเป็นสัตว์มันไม่มีคุณงามความดีอะไรเลย ทำอะไรก็ไม่ได้ พอเขาฆ่าตายแล้ว เนื้อมันมีประโยชน์ สัตว์นี่เนื้อมีประโยชน์ พรุ่งนี้เขาจะไปถวายที่วัด ขอให้ฉันให้ด้วย คือขอให้ฉันเนื้อของฉัน ฉันจะได้เกิดเป็นมนุษย์บ้าง ฉันจะได้มีบุญไง นี่สัตว์มันยังคิดอยากจะสละเลย อย่าว่าแต่คน

ไอ้คนน่ะมันเสือก นู่นก็เป็นบาป นี่ก็เป็นบาป แต่ไอ้ตัวสัตว์เองมันอยากจะเอาเนื้อมันเป็นประโยชน์กับมัน แต่พูดอย่างนี้ไปปั๊บ พระอยากกินน่ะ ก็หาว่าพระพูดเพื่อเข้าข้างตัวอีก

ธรรมะนี่มันเป็นของจริงนะ แต่ไม่พูดเข้าข้างตัวเองเลย ฉะนั้น ที่เราทำให้มันเด็ดขาดกันไป คือเราทำ เว้นไว้แต่เราศึกษาธรรมะแล้วเรารู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เราก็ไม่ควรทำ ถ้าเรารู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกนะ ถ้าใส่เหล้าอร่อยหน่อย กูไม่ใส่ก็ไม่เป็นอะไรนี่หว่า ก็ไม่เป็นไรไง แต่ไม่ใส่เหล้าก็ไม่อร่อย ใส่เหล้าก็กลัวพระบาป แล้วก็นั่งปวดหัว ก็ไอ้แค่นี้ เนาะ ไม่ใส่เหล้าไปก็กลัวพระกินไม่อร่อย พอจะใส่เหล้าไปก็กลัวพระบาป ไม่รู้ว่าใครบ้า

โยม ๑ : แต่เหล้ามันสุกแล้ว หนูก็เลยงง ไม่ได้ใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : อยู่ที่เรา อยู่ที่เรา เราทำกรรม เราทำสิ่งใด มันอยู่ที่เราหมด ถ้าเรารู้อะไรเราก็ไม่ควรทำ แต่จะเอาสิ่งนี้มาให้เป็นพระรับผิดชอบไม่ได้ เพราะถ้าไม่อย่างนั้นนะ โลกนี้มันจะเคลื่อนไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าฉลาดมาก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าพระเราไม่ได้ยินไม่ได้ฟัง ไม่ได้รับรู้ ไม่เป็นอาบัติ ถ้าไม่อย่างนั้นนะ โลกกับธรรมมันไปกันไม่ได้หรอก

ไปดูในกฎหมายสิ แล้วไปดูในวินัยพระสิ พระพุทธเจ้านี่สุดยอดเลย การคว่ำบาตร การลงพรหมทัณฑ์กันมาจากพระทั้งนั้นน่ะ แล้ววินัยขาดแค่ไหนๆ ไง ฉะนั้น ไอ้อย่างเรา ถ้านักกฎหมายนะ เขาพูดเดี๋ยวเขาก็รู้ โธ่! ไม่อยากจะโม้นะ ไปดูสิ นามบัตรเราน่ะ โอ้โฮ! นักกฎหมายเป็นตั้งๆ เลย เขาฟังแล้วเขาชอบใจ ให้นามบัตรไว้เลย “หลวงพ่อ มีปัญหาใช้ผมนะ หลวงพ่อ มีปัญหาใช้ผมนะ” นามบัตรไอ้พวกทนายน่ะ ในห้องน่ะ เพราะเขาฟังแล้วมันชัดเจน

กูว่ากูพูดอย่างนั้นแล้วเขาชัดเจน กูก็นึกว่าพูดแล้วจะเข้าใจ...ไม่รู้เรื่อง ปวดหัวเหมือนกัน ปวดหัวอยู่ จริงๆ นะ นักกฎหมายมาให้นามบัตรไว้เป็นสิบเลย ผู้พิพากษาเวลามา โอ้โฮ! บอกเองนะ ทีแรกมา ปิดตัว พอพูดไปพูดมา วันนั้นมาสองสามีภรรยาเลย คนหนึ่งอยู่ศาลแพ่ง คนหนึ่งอยู่ศาลฎีกา

บอก “มาได้อย่างไร”

เขาบอกว่าเขาไปส่งต่อๆ กันไป ไอ้พวกซีดี พวกหนังสือ พอเขาฟังแล้วมาเลยๆ เขาฟังในเทปนั่นน่ะ ฟังในซีดี มันชัดเจนน่ะ

ควรจะให้มันจบ ให้มันเด็ดขาดไปเลย อย่าไปวิตกกังวล วิตกจริต ถ้าวิตกจริตก็ต้องไล่หาเหตุผลให้จบ นิสัยก็เป็น เมื่อก่อนเราเป็นนะ ถ้าสงสัยอะไรแล้วต้องไล่หาเหตุผลจนจบ พอจบแล้ว เออ! ต้องเป็นอย่างนี้ แล้วจะไม่สงสัยอีกเลย ต้องทำอย่างนี้เลย ดูสิ เวลาพระมีปัญหามาหาเรา “อันนี้ทำอย่างไร อันนี้ทำอย่างไร”

“อย่างนี้ๆๆ เลย”

เราพูดไปโดยเจตนาที่บริสุทธิ์ คือเราไม่ลำเอียงกับตัวเราแล้ว คือ ๑. ไม่อยากได้อยากดีอะไรกับเขา

เออ! อยากได้ของเขา “เอ! ไอ้นี่น่าจะถูกนะ” ถ้าไม่ได้ “ไอ้นี่ผิดนะ”...ไม่ใช่ เราไม่อยากได้อยากดีไปกับเขา เราพูดไปตามข้อเท็จจริง ไม่ผิดหรอก นี่ไง อยากได้บุญ อยากได้อร่อย บุญก็อยากได้ อร่อยก็อยากได้

เราเห็นใจอันหนึ่งนะ เห็นใจพวกโยม เราเข้าใจอยู่ ถ้าคนมีศรัทธาจะทำอาหารอย่างดีมาเลย แล้วพอมาเจอพระ ใส่บาตรๆ โอ้โฮ! บางคนแทบไม่กล้าเลยนะ เห็นตักใส่บาตร อุ๊ยๆ ร้องอุ๊ยๆๆ เลย อู้ฮู! ตั้งแต่ตี ๔ นะ หมักไว้ตั้งแต่เมื่อคืนนะ กว่าจะทำอาหารเสร็จ อันนี้ก็เห็นใจอยู่ แต่พระคือพระ บุญของเขาจบแล้ว เขาจะทำสูงส่ง ทำด้วยเจตนาของเขาขนาดไหน เขาถวายพระมาแล้ว ถ้าพระไปติดแค่รสอย่างนี้ แล้วไปแยกไว้ต่างหาก ศาสนาไม่มีหลักเกณฑ์เลย พระ มาถึงพระแล้ว เขาจบที่เขาแล้ว เขาประเคนแล้วเขาจบเขาแล้ว มาถึงที่พระแล้ว อยู่ในธุดงค์ อาสนะเดียว สิ่งเดียว อันเดียว มันวัดใจไง

นี่ไง หลวงตาถึงบอกไง เขาได้ ๕ ได้ ๑๐ เขามา มีสิ่งใดดีที่สุด เขาถวายพระ พระหัวโล้นๆ ไปมีเครื่องยนต์กลไกไปแข่งกับโลกเขา เขาหัวดำๆ สิ่งที่ดีที่สุด ประเสริฐที่สุด เขาถวายให้พระแล้ว พระยังเห็นเขาถวายให้พระ คือจิตใจเขาสูงกว่าเขาถึงเสียสละออกมา อาหารที่ทำมาดีขนาดไหน เนื้อจากไหน สั่งมาจากโลกไหนก็แล้วแต่ ทำมาถวายพระนี่สุดยอดแล้ว เขาสละแล้ว คือเขาทิ้งแล้ว เขาสละแล้ว แล้วพระไปเจอเข้า มือไม้สั่นเลย มันควรเป็นพระไหม

พระได้สิ่งใดของเขามาแล้วนะ สมณสารูป เราเคยฉันในบาตร เราก็ตักใส่บาตร จะดีขนาดไหน จะประดับเพชรประดับพลอยขนาดไหน มันก็ใส่บาตร คือน้ำใจของพระต้องเหนือกว่าโยม น้ำใจของโยม เสียสละแล้วคือของทิ้ง แล้วพระเอาของเขามาเพื่อประโยชน์กับเขาใช่ไหม น้ำใจของเขา ประโยชน์กับเขา ก็ใส่บาตร ก็น้ำใจของเขา แต่จิตใจเราต่ำกว่าเขา ไปทะนุถนอมเกินไป

ดูพระออกไหม เรามองอยู่นะ เราเห็นใจอยู่ เห็นอยู่ บางคนมา พอตักใส่บาตร ร้องอุ๊ยๆๆ ร้องอุ๊ยๆ เลยนะ นึกว่า แหม! มันดีเลิศขนาดนั้น แหม! หลวงพ่อต้องแยกไว้ต่างหากสิ...ใจแค่นี้ ใจนิดเดียว เขาทิ้งแล้วนะ ฉะนั้น เวลาพูดอย่างนี้ เข้าใจ ต้องใส่เหล้า ต้องอาหารประเสริฐ ต้องเลอเลิศ เราเข้าใจถึงน้ำใจ แต่วุฒิภาวะของใจที่พูดทุกวันมันลึกล้ำซับซ้อนนัก แล้วถ้าเป็นผู้นำเขา จิตใจอ่อนแออย่างนั้นน่ะ เห็นของเขาแค่นั้นน่ะ ยังต้องแยกไว้ต่างหากน่ะ ใจโยมกับใจพระ ใครสูงกว่ากัน

ฉะนั้น ถึงบอก วันนี้ถึงพูด ภัตกิจคือกิจกรรมเท่านั้น คือกิจกรรมที่เลี้ยงชีวิตเท่านั้นน่ะ เพียงแต่มันเกิดความศรัทธาความเชื่อกันขึ้นมาไง มันเลยกลายเป็นเรื่องศรัทธา เรื่องหัวใจ มันเลยขึ้นมาไง

โธ่! เดินจงกรมอยู่ เราคิดนะ เมื่อเช้านี้กินมาแล้วใช่ไหม พรุ่งนี้ก็ต้องกินอีก มะรืนก็ต้องกินอีก ประสาเรานะ ซ้ำๆ ซากๆ แค่นี้ กูไม่เห็นมีอะไรเลย ก็แค่นี้ พรุ่งนี้เช้ามาเจอกันใหม่ มะรืนมาเจอกันอีกแล้ว แค่นี้นะ ชีวิตมีเท่านี้เองหรือ แล้วทำไมไม่ภาวนาขึ้นมา รสของธรรม วันนี้ก็เจอกัน พรุ่งนี้ก็มาเจอกัน เอ็งจะทำแค่นี้หรือ เอ็งจะย่ำอยู่กับตรงนี้หรือ เอ็งไม่ขวนขวายสิ่งที่ดีกว่านี้ขึ้นไปอีกหรือ นี่เราเดินจงกรม เราคิดอยู่อย่างนี้ คิดถึงชีวิตเราไง แต่เราคิด เวลามันคิด มันคิดมากกว่านี้นะ เราคิดถึงภาระหน้าที่ คิดถึงภาระที่เราจะรับผิดชอบ เมื่อวานไปอุทัยฯ มา ไปดูพระ ไปแก้ไขพระ เอาพระกลับมา เดี๋ยวเราไปหัวหิน เดี๋ยวเราไปเมืองกาญจน์ฯ เราก็ทำหน้าที่ ต้องดูเวลานะ วันไหนว่าง วันไหนไป ไปตลอด ชีวิตมีเท่านี้เองหรือ ถ้ามีแค่กินกับนอนๆ ก็เท่านี้ กลับมาดูที่ใจ แล้วทำตรงนี้

ทีนี้อย่างที่โยม ถ้าพวกที่เก่าๆ เขาจะรู้ เราเพิ่งพูดอยู่ว่าห้ามด่าพระนะ วันนี้จะไม่ด่าใครเลย เห็นไหม ห้ามด่าพระ

เราไม่ได้ด่าใครนะ เราพูดข้อเท็จจริง เราพูดถึงข้อเท็จจริง แต่ก็จะพยายามอยู่ จะพยายาม เพราะอะไรรู้ไหม เพราะต่อไป เราเคยคิดอยู่แล้ว เพราะต่อไปถ้าสังคมเขาเชื่อถือแล้ว เราเป็นหลักแล้ว เราต้องเป็นหลักให้ได้ ถ้าไม่หลักเลย เราก็อย่าเป็น ถ้าจะเป็นหลักก็ต้องเป็นหลัก แล้วถ้าเป็นหลักแล้วก็ต้องว่ากันไป

มีอะไรจะให้พูดอีก ไม่มีจะจบแล้ว อ้าว! ว่ามา มีไหม โดนแค่นี้เข้าไป หยุดเลยเนาะ

โยม ๒ : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : เวลาพูดอย่างนี้คำว่า “โดนด่า” เราแจกแจงให้เห็นข้อเท็จจริงขนาดนี้ นี่คือการด่าหรือ

โยม ๒ : ไม่ใช่ด่าค่ะ หลวงพ่อพูดถึงเรื่องจริง

หลวงพ่อ : แจกแจง แจกแจงจนให้เห็นชัดเจน อายคนอื่นเขาแล้วเราจะพยายามทำตัวเราด้วย คือเราพยายามเอามันให้อยู่ บังคับเลยนะ เรานี่นะ เข้าทางจงกรม เวลาเข้าทางจงกรมมันจะคิดมาก พอมันจะคิดมาก ห้ามออกจากทางจงกรมเลยนะ ไล่ไปจนกว่ามันจะสงบได้ คือมันหยุดได้ คือความคิดมันจุดประเด็นขึ้นมาในทางจงกรม พอจุดประเด็นขึ้นมาแล้วต้องคิดให้จบ ถ้าไม่จบ ไม่ออกจากทางจงกรม ถ้าไม่จบ ออกจากทางจงกรมไปนะ มันจะไปหาคนอื่นเลย มันจะไปหาพระองค์นั้นๆ จะไปถามเขาเลย จะไปเคลียร์เลย

แต่ถ้าเราเกิดในทางจงกรมนะ แล้วคิดในทางจงกรม ต่อสู้กับมันจนมันสงบแล้วนะ เฮ้อ! ถ้าไม่อย่างนั้น เมื่อกี้นะ ต้องออกไปหาคนนู้นคนนี้ ก็อย่างที่เมื่อก่อนที่เรารื้อค้นพระไตรปิฎก แล้วเราเข้าใจของเราอย่างนั้นปั๊บ เข้าใจหมดแล้วนะ แต่ก็ยังต้องการให้หลวงตาเห็นด้วยไง เรื่องฉันเพล เราตีว่าฉันเพลนี้เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะว่าในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าให้ฉันมื้อเดียว แล้วพระพุทธเจ้าไม่เคยไปฉันเพลบ้านใคร พระพุทธเจ้าไปฉันเช้าอย่างเดียว แล้วสังคมไทยมันมีฉันเพลไง

ไปดูในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกเขาบอกว่า อ้างว่าการฉัน อ้างเนื้อ ๕ อย่างนี้ ถ้าใครอ้างแล้วไปฉันถึงเป็นอาบัติ ถ้าไม่อ้าง ไม่เป็นอาบัติ ฉันเรื่องคณะ เรื่องฉัน ๒ มื้อ เพราะว่าในนั้นมันมีปรัมประไง ใครฉันพร่ำเพรื่อเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ปรัมประคือฉันพร่ำเพรื่อ

ทีนี้คำว่า “๒ มื้อ” เราถือว่าพร่ำเพรื่อ ถ้ามื้อเดียว พอดี มันดูไปหมดแล้วมันลงอย่างนั้น พอลงอย่างนั้นปั๊บ ก็จะขึ้นไปให้หลวงตารับประกันไง ถีบตกกุฏิเลย มึงเก่งนัก มึงต้องไปหาของมึงเอง มึงอย่ามาชุบมือเปิบ มึงอย่ามา โอ้โฮ! ด่าเช็ดเลย

นี่ขนาดลงใจแล้วนะ มันก็อยากจะหาผู้รับประกัน สุดท้ายแล้วมันรื้อค้นไปเรื่อยๆ ประสบการณ์มันมี แล้วฉันเพลมันก็เลยเป็นประเพณีเฉยๆ แบบว่าพยายามจะรื้อในพระไตรปิฎกให้หมดไง พระพุทธเจ้า มีอยู่ข้อหนึ่งพระพุทธเจ้าจะบัญญัติว่าภิกษุต้องฉันมื้อเดียว แล้วมันมีภิกษุค้านไง ภิกษุองค์หนึ่งค้านขึ้นมาว่าข้าพเจ้าทำไม่ได้ ถ้าฉันมื้อเดียวโดยกฎหมาย ทำไม่ได้ คือว่าถ้าเป็นทางเลือกให้เขาเลือกอย่างเช่นธุดงควัตรให้ฉันมื้อเดียว ธุดงควัตร อาสนะเดียว หนเดียว อย่างนี้แล้วแต่ความสมัครใจ แต่ถ้าบังคับเลย พระมันต่อต้าน พระพุทธเจ้าเลยไม่เขียนเป็นกฎหมายออกมา คือไม่บัญญัติ

ถ้ามาบัญญัติมาชัดเจนนะ แต่ท่านจะบัญญัตินะ ท่านจะพยายามพูดเลียบเคียงมาตลอดว่าเราฉันมื้อเดียวแล้วสบาย เราฉันมื้อเดียวแล้วไม่ต้องเก็บล้าง ๒ หน ถ้าฉัน ๒ มื้อนะ ตอนเช้าล้างไปแล้วนะ เดี๋ยวต้องมาล้างอีกรอบหนึ่ง วันหนึ่งเราไม่ต้องเก็บล้างอีกรอบหนึ่งเลย หายไปเลย การเก็บล้างถ้วยชามหายไป ๑ ครั้ง แต่ถ้าฉัน ๒ มื้อนะ มื้อเช้าก็ต้องล้างรอบหนึ่ง มื้อเพลก็ต้องล้างอีกรอบหนึ่ง ครัวก็ต้องทำ ๒ รอบ พระพุทธเจ้าพยายามเผดียงมาตลอด กำลังจะบัญญัติ แล้วพระไม่ยอม

ไปรื้ออยู่ พยายามจะหาอยู่ว่าบัญญัติตรงไหนไง ไม่ได้บัญญัติ แต่ด้วยเจตนาพระพุทธเจ้าอยากให้เป็นอย่างนี้ เพียงแต่ว่าสังคมเห็นว่าเข้มเกินไป ทีนี้อย่างพอเราทำขึ้นมาแล้ว เราเลยปฏิบัติกันตามเจตนาของพระพุทธเจ้า แต่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ

โยม ๑ : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ใช่ เพราะเวลาเราไปธุดงค์ อย่างเช่นเราบิณฑบาตไปกลับ ๗-๘ กิโล เราเคยบิณฑบาตทีหนึ่ง ๑๔ กิโลนะ เอ็งคิดดู เดินไป ๑๔ กิโลแล้วกลับมา เอ็งมาฉันเช้าทันไหม ๙ โมง ๑๐ โมง ทีนี้ไอ้ในเพลคือตรงนี้ไง คือเวลาพระธุดงค์ไป บางทีมันไปอยู่ในที่ไกลบ้าน ใกล้บ้านนี่ไง อย่างไรก็แล้วแต่ ห้ามเกินเพล

แต่มื้อเดียว ที่ว่าเวลาเราธุดงค์ไป เราไปอยู่คลองมะลิ ๑๔ กิโลนะ เดินไป ๑๔ กิโล เราเคยเจอมานะ แล้วเอ็งกลับมา ไอ้นี่ไปกลับประมาณ ๗ กิโลใช่ไหม ไป ๓-๔ กิโล กลับ ๓-๔ กิโล นี่พระก็ยังร้องกันอยู่

ถ้ามันไกลกว่า ใกล้กว่านี่ไง เวลาตรงนี้ นี่พูดถึงความเจตนา แต่ไปเถียงใครไม่ได้หรอก เพราะว่าตอนนี้เขาหาว่าเถรวาทเรายึดติด เถรวาทเราใจคับแคบ ต้องพูดตามตัวอักษร แค่นี้เขาก็ติเตียนเต็มทีแล้ว เราอย่าไปยุ่งกับใครเลย เอากิเลสมึงนี่ ต่างคนต่างชนะกิเลสพอ

โยม ๑ : แล้วถ้าเวลาเราภาวนาแล้วเรารู้สึกว่าเหมือนจิตเรากับกายเรามันไม่ค่อยยึดกัน

หลวงพ่อ : ดีน่ะสิ ถูกน่ะสิ เพราะถ้าสมาธิจริงๆ แล้วมันจะแยกเลย

โยม ๑ : มันเห็นเลยว่าจิตก็ส่วนจิต กายก็แบบ มันเหมือน...

หลวงพ่อ : ตอนนี้นะ เราฟังไอ้เปิ้ลพูดอะไร กูให้มึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นน่ะ เพราะเมื่อก่อนเราฟังไอ้เปิ้ล เราก็จะเชื่อตามคำพูดมันเลยนะ แต่เดี๋ยวนี้ฟังไอ้เปิ้ลพูดนะ กูต้องหารด้วย ๕๐ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันเป็นวิตกวิจารณ์ มันไม่ใช่ข้อเท็จจริง มันเป็นอย่างที่ว่า “ดูสิ จิตมันเหมือนกับแยกกันเลย”

มันคำว่า “เหมือน” มันมาอีกแล้ว แล้วพอคนนิสัยอย่างนี้ เหมือนคนที่ขี้สงสัยอะไรไปหมดเลย อะไรมา น้ำจะกินก็ไม่ได้ ต้องส่งไปห้องแล็บก่อน แล้วค่อยกลับมากิน จะเอาอะไรมาปั๊บ ต้องส่งไปห้องแล็บเลย คือมันไม่ไว้ใจอะไรเลย จิตมันเป็นอย่างนี้ คือนิสัย นิสัยเป็นอย่างนี้

นิสัยคนไม่เหมือนกันนะ พอได้อะไรมาปั๊บ มันจะต้องคิดก่อน จะต้องเอามาแยกเอามาแยะก่อน จริงอยู่ เราก็ควรแยกแยะ บางทีเราใช้ปัญญาใช่ไหม แต่ในเมื่อเราใช้ปัญญาแล้วหนหนึ่ง ครั้งต่อๆ ไปเราเข้าใจแล้วเราก็ควรทำได้เลย ไม่ใช่ว่าไอ้ครั้งนี้มาก็ อืม! ครั้งหน้ามาก็ อืม! อืม! ครั้งแรกนี่ถูก แต่พอเข้าใจแล้วนะ ครั้ง ๒ ไม่ต้องแล้ว เพราะเราสรุปไปแล้ว

โยม ๑ : เราก็ต้องถามหลวงพ่อสิว่าข้อดีมันอยู่ที่ไหน ไอ้ที่หนูคิดว่าผิดมันดันถูกอย่างนี้

หลวงพ่อ : นั่นน่ะ คิดไว้แล้วก็พูดอย่างนั้น ค่อยๆ แก้ไป นิสัย นิสัย นิสัย

เอาเนาะ จบเนาะ เอวัง