ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะศรัทธาเช้า

๒๖ ต.ค. ๒๕๕๑

 

คณะศรัทธาเช้า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

พูดธรรมะก่อนนะ

ถาม : ๑. การปรามจิต เป็นตัวจริงใช่หรือไม่ จิตที่สั่งให้ขาทำสิ่งต่างๆ เป็นตัวปลอมหรือเปล่า?

หลวงพ่อ : ตัวจิตนะ ตัวจิตเป็นจริงหมด ทีนี้ว่าจิตตัวไหนเป็นตัวจริงตัวปลอม ไอ้ตัวปลอมตัวจิตเป็นตัวพลังงาน พลังงานต้องมีหมด ถ้าไม่มีพลังงานมันแสดงออกอะไรไม่ได้เลย ทีนี้พลังงานนั่นน่ะมันเป็นพลังงานปฐม พลังงานเป็นสากล

แต่เวลาคิดเห็นไหม คิดดีคิดชั่ว ถ้าคิด คิดในทางที่ผิดเห็นไหม ตัวปลอม ตัวปลอมคืออวิชชามันบวกเข้ามาไง อย่างเช่นว่า โลกียปัญญา เราจะใช้คำว่าโลกียปัญญาหมายถึงว่าปัญญาความคิด เรามีอวิชชาคือมีตัวตนของเรา มีความเห็นบวก อย่างนี้เป็นตัวปลอมเพราะมันมีอวิชชา มีความเห็นมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันร่วมมาด้วย

ความคิดเรามันเป็นธรรมชาติ แล้วมันมีกิเลสร่วมมาเห็นไหม ก็เลยเป็นว่าสิ่งว่าเป็นโลกียะ โลกียะมันเกิดมาจากภพ เกิดมาจากกิเลส เกิดมาจากเรา คือกิเลสใช้ปัญญาอย่างนี้

การปราม การปราม การเอ็ด เมื่อวานนี้พระก็มาถามอยู่ พระก็มาถามอยู่เขาทำอย่างนั้นๆ เขามาถามพวกหมอจุฬาฯ นั่นน่ะ ว่าเขาไม่เห็นขันธ์ ๕ แล้วเวลาเขาคิดเขาบอกว่าทำไมเขาไม่เห็นขันธ์ ๕ ล่ะ อย่างเช่นเขายกตัวอย่างนะ ว่าเช่นเขาเดินไปตลาด เดินไปร้านค้า เห็นขนมแล้วมันอยากกิน

พออยากกินขนม เขาก็ใช้ปัญญาเขาคิดไง ปัญญาเขาไล่ว่าทำไมต้องกินขนมในเมื่อกินข้าวมาแล้ว ทำไมต้องกินขนมอีก อย่างนี้เขาจะเห็นขันธ์ ๕ ไหม เราบอกไม่มีทางเพราะว่าความคิดไง ความคิดสำเร็จรูปแล้วนี่ไม่ใช่ขันธ์ ๕ แล้วให้ทำอย่างไรล่ะ เราบอกอย่างนี้ เราก็สอนอย่างนี้ บอกโทษนะ ให้ปราม ให้ปรามคือให้ด่ามัน

ถ้าโลกใช้คำว่าด่ามัน แต่ถ้าเป็นธรรมะไม่ใช่ มันเป็นแบบว่าการหาความบกพร่องของใจของเรา อย่างเช่นเวลาเราคิด เราคิดสิ่งที่ไม่ดี เราจะถามตัวเองว่าเอ็งคิดทำไม เอ็งเคยคิด เอ็งเคยมีความทุกข์อย่างนี้คือหาเหตุผล หาเหตุผล หาเหตุผลยับยั้งมัน การปราม “การปรามคือการยับยั้ง”

“เขามาถามว่าทำไมเขาถึงไม่เห็นขันธ์ ๕ เขาดูจิตอยู่ทำไมไม่เห็นขันธ์ ๕ ล่ะ”

“บอกเป็นไปไม่ได้ เอ็งจะเห็นขันธ์ ๕ เป็นไปไม่ได้เลย”

อย่างเช่นอยากกินขนม อยากกินอาหาร ทั้งๆ ที่เรากินข้าวกินอิ่มท้องแล้วมันก็ยังอยากอีก แล้วอยากอีกความอยากคือมันสำเร็จรูปมันคิดสำเร็จรูปแล้วไง คือมันคิดมันเป็นอารมณ์ความรู้สึกแล้ว เป็นความคิดแล้ว

ทีนี้คำว่าปรามคือยับยั้งมัน ยับยั้งมันใช่ไหม เช่นที่หลวงตาท่านสอนบ่อย

“อย่าให้มีหนึ่ง”

มันอยากจะไปทำความชั่ว ไม่ไป มันอยากจะทำใจมัน ไม่ไป คือเราไม่ไปเราขืนมัน ไอ้การขืนมัน! ขืนมัน! ขืนมัน! จนเรามีกำลังพอที่จะยับยั้งมันได้ การปรามคือการยับยั้งมัน อย่างนี้มันจะเห็นขันธ์ ๕ ได้อย่างไร มันยังไม่เห็นหรอกเพราะเราแค่จะทำความพื้นฐานของใจให้มันสงบเข้ามา

เราถึงเปรียบเทียบ เปรียบเทียบถึงส้ม เปลือกส้ม โดยส้มกับเปลือกส้ม ส้มกับเปลือกส้มมันจะเป็นอริยสัจไปไม่ได้หรอก มันเป็นวัตถุ มันเป็นวัตถุนะมันเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ส้มที่เราเด็ดมาแล้วไม่มีชีวิตหรอก แต่เราเปรียบเทียบให้เห็นว่าเปลือกส้มกับส้มมันคนละส่วนกัน แต่มันอยู่ด้วยกัน เพราะเปลือกส้มมันหุ้มเนื้อส้มไว้ทั้งหมด ความคิด! ความคิดมันหุ้มจิตไว้ทั้งหมด

ทีนี้เรากำหนด เรากำหนด เราปรามมัน เรายับยั้งมัน เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นตัวเร้าให้เราอยากคิดอยากเป็นอยากทำ อยากมีความต้องการ ทีนี้พอมันไปมันก็เป็นไปตามมารนะ เป็นบ่วงของมารเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เพราะมันบูชามาร มารก็คิดออกไป ยับยั้งมันๆ ยับยั้งมารๆ ยับยั้งให้มันสงบเข้ามา

พอมันสงบเข้ามาจนมันตั้งมั่น มันเข้าใจ สงบนี้สุขมาก สุขจนเข้าใจว่านี้เป็นนิพพาน แล้วทีนี้พอสุขเข้ามาแล้วนี่มันเป็นเนื้อส้ม ความคิดมันหดมันสงบตัวเข้ามามันเป็นเนื้อส้ม ยิ่งเวลามันเสวยออกไป เนื้อส้มกับเปลือกส้มมันสัมผัสกันเห็นไหม เนื้อส้มน่ะมันเข้าใจถึงเปลือกส้ม

เนื้อส้มคือตัวจิตมันรู้ถึงความคิด มันเห็นความคิดเราเองไง ความคิดเป็นเปลือกแต่ถ้าเป็นสามัญสำนึกนี่มันเป็นความคิดมา เป็นความคิดโดยธรรมชาติของมันแล้วมันบอกแล้วทำไมมันไม่เห็นขันธ์ ๕ ไม่เห็นหรอก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะขันธ์ ๕ เป็นเรา กิเลสเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา คือเราคิดไง เราคิด เรารู้ เราสุข เราดี เราชั่ว เป็นเราไปหมดเลย เป็นเนื้อเดียวกัน

คือส้มทั้งลูก หยิบเปลือกส้มก็คือเราใช่ไหม พอมันเป็นเราหมด เราจะเห็นไหม เพราะมันเป็นเรา มันเป็นอันเดียวกันแล้ว แต่พอจิตสงบเข้ามา มันเป็นเนื้อส้ม พอเนื้อส้มขึ้นมา ถ้ามันออกรับรู้ เขาเรียกเสวยอารมณ์ จากเนื้อส้มมันสัมผัสกับเปลือกส้มได้ไง ถ้ามันสัมผัสเปลือกส้มได้พอจิตสงบบ่อยๆ ครั้งเข้า บ่อยๆ ครั้งเข้า

เวลามันจะคิด เอิ๊ก! ถ้าจับได้แล้ว พอจับได้ปั๊บ พอจับอาการของใจ ใจจับอาการของใจ เนื้อส้มสัมผัสเปลือกส้ม พอสัมผัสเปลือกส้มปั๊บ มันยังไม่เห็น มันยังไม่เข้าใจว่าเป็นขันธ์ ๕ นะ มันเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหมือนเชือกทั้งเส้น เชือกทั้งเส้น แต่มันควั่นไว้ด้วยเชือกเล็กๆ ๕ เส้น มันควั่นให้เป็นเชือก

ถ้ามันแยกออก เกลียวเชือกมันแยกออกไป มันจะเห็นว่าในเชือกนะมันควั่นกัน ๕ เส้น คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พอจับตัวเชือกได้แล้วคือจับความรู้สึก จับอาการของใจได้แล้ว เราต้องใช้ปัญญาแยกแยะ แยกแยะไปเรื่อย แยก แยกๆ

อารมณ์ความรู้สึกเป็นรูปนี่มันมีอะไร มันมีความพอใจใช่ไหม มันมีความสุขความทุกข์ ความสุขความทุกข์ นั่นคือเวทนา แล้วความคิดมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ความคิดมันเอาอารมณ์มาจากไหน ถ้าเราไม่รู้จักอะไรเขาบอกเรา เราจะไม่รู้จักอะไรเลย

ถ้าเขาบอกเรา สิ่งที่เรามีสัญญาเรามีข้อมูลอยู่แล้วเราจะรู้เลย เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม สีแดง สีต่างๆ เราจะรู้ นั่นคือสัญญาข้อมูล อ๋อ ความคิดเกิดจากสัญญา ความคิดเกิดจากข้อมูลของเรา พอมันมีสัญญาปรุงขึ้นมาปั๊บมันก็จะมีสังขารปรุงต่อ มีสัญญารับรู้ปั๊บสังขารก็จะปรุง

สังขารคือว่า สีเขียว สีแดง สีดำใช้ประโยชน์อะไร สีเขียวใช้ประโยชน์อะไร รสหวานหวานอย่างไร หวานมากหวานน้อย สัญญาก็ปรุง พอสัญญาปรุงปั๊บ มันจะเป็นอารมณ์ไม่ได้ถ้าไม่มีวิญญาณรับรู้ มีวิญญาณรับรู้มันก็เห็นขันธ์ ๕ ไง มันต้องจิตเห็นอาการของจิตคือเนื้อส้มจับเปลือกส้มได้คือจิตเสวยอารมณ์ ตัวจิตเสวยอารมณ์เราถึงเห็นไป

การปรามก็เหมือนกัน ถ้าโดยสามัญโดยธรรมชาติ โดยข้อเท็จจริง สามัญสำนึกของจิตมันทำงานอย่างนี้ แต่เพราะเราไม่เคยภาวนา เราไม่เคยภาวนา เราอ่านแต่หนังสือ อ่านแต่ตำรา ตำราก็จะบอกอย่างนั้น นาม รูป นาม รูป นามเป็นอย่างนั้น รูปเป็นอย่างนั้น อาการเป็นอย่างนั้นๆ มันก็ว่ากันไป เป็นทางวิชาการแต่เราไม่เคยรู้เคยเห็น เราจับต้องไม่ได้ เราจะรู้ไม่ได้หรอก

อย่างวิทยาศาสตร์ นักศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์เขาก็เรียนวิทยาศาสตร์ไป แต่ถ้าไม่ได้เข้าห้องแล็บไม่ได้ทดลองก็ไม่รู้ ถ้าได้ทดลองได้รู้ห้องแล็บ ทดลองออกมา ทดลองออกมาแล้วมันเป็นวิทยาศาสตร์ มันเป็นธาตุวัตถุสสารที่เราพิสูจน์จากข้างนอก แต่ใจเราต้องพิสูจน์เอง ห้องวิทยาศาสตร์คือตัวจิตแล้วเราเข้าไปทดสอบมัน เราไปเห็นของมัน มันทำของมัน

พอมันจิตเห็นอาการของจิต เขาบอกทำไมผมไม่เห็นขันธ์ ๕ คำว่าเห็นขันธ์ ๕ ของเขา เขาคิดโดยวิทยาศาสตร์ โดยโลก โดยธรรมดาการทำงานมีใต้ดินบนดิน เขาคิดแต่เรื่องบนดินไง เขาไม่คิดว่ากิเลสมันอยู่ใต้ดิน

ฉะนั้นพอคิดแต่เรื่องบนดินก็คิดแต่เรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องสัจจะที่สัมผัสได้ ในเมื่อความสุขกูก็มี เอาขันธ์ดีชั่วกูคิดอยู่นี่ มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นความรู้สึกทางโลกไง แก้กิเลสไม่ได้หรอก มันแก้กิเลสไม่ได้ เพราะกิเลสมันอยู่ใต้ดิน บนดินคือความคิดของเรา โลกียปัญญา

แต่ถ้าเราเรื่องของบนดินคนทำงานจะรู้ เราจะมีใต้โต๊ะบนโต๊ะ เออ ถ้าเรายัดใต้โต๊ะ เรายัดใต้โต๊ะงานของเราจะสะดวกขึ้นดีขึ้น ทีนี้เราคิดแต่ใต้โต๊ะ เราคิดว่ามันไม่มีไง เราเป็นนักปฏิบัตินะ เราเป็นผู้มีศีลธรรมนะ ใต้โต๊ะมันเป็นเรื่องทุจริต เรื่องใต้โต๊ะเราทำไม่ได้มันเป็นทุจริต อันนี้มันเรื่องของโลกเขา

แต่เรื่องของกิเลสมันซ่อนเร้นอยู่ มันอยู่ใต้โต๊ะแต่เมื่อความคิดเราเป็นบนโต๊ะนะ ความคิดเราเป็นวิทยาศาสตร์ นี่ไงปฏิบัติแล้วไง นี่ขันธ์ ๕ ก็รู้แล้วไง นาม รูป โอ๊ย ปล่อยวางหมด อันนั้นขี้โม้ แต่ถ้าเป็นความจริงมันจะลงใต้โต๊ะ นี่ไงที่หลวงตาจะพูดอยู่ว่าปัญญามันลงลึก ลึก ลึก มีลึกตื้นหนาบางต่างๆ กันไป

ความลึกตื้นหนาบางเรากล้าจะตามมันไปไหม เรากล้าลงไปทะลวงมันไหม เรากล้าลงไปค้นคว้ามันไหม เพื่อจะเอามันขึ้นมาทำลายเรากล้าทำกันไหม ถ้าพูดถึงเป็นทางโลก ไม่ได้เสียมารยาท ก็มารยาทนั่นหลอกมึง ความจริงมันต้องตามกันไปถึงเต็มที่เลย

ฉะนั้น เวลาถ้าไม่ให้สงบเข้ามาเพราะเขาไม่เคยเห็นตรงนี้ เขาไม่เคยเห็นว่าจิตสงบเป็นอย่างไร เขาถึงไม่เข้าใจเรื่องบนโต๊ะใต้โต๊ะ เขาถึงไม่เข้าใจเรื่องจิตที่มันซับซ้อนอย่างไร กิเลสมันละเอียดลึกซึ้งที่มันซับซ้อนอยู่ในใจ แล้วพอพูดอย่างนี้ไปปั๊บ พระป่าพูดด้วยโวหาร กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต พูดเป็นโวหาร

อ้าว ก็มึงไม่เคยเห็นนี่โว้ย มึงลองเห็นสิมันยิ่งกว่านั้นอีก

ทีนี้พอพูดอย่างนั้น ต้องพูดตามอย่างว่าพูดตามตัวบท ตามตัวหนังสือ ตามตัวหนังสือน่ะพระพุทธเจ้าก็พูดอย่างนั้น มีหยาบมีละเอียดมีลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าพูดอย่างนั้น แต่ แต่มันตีความกันไม่ออกไง แล้วจะพูดอย่างนั้นไปมันกลัวตก ตกไปในสมาธิ กลัวตกไปในใต้โต๊ะ กลัวตกไปในแนวลึกแนวดิ่งของจิต ฐีติจิตนะ

เวลาจิตสงบทำไมมีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ทำไมสมาธิมันตื้นลึกหนาบางต่างๆ กัน แล้วลงไปแก้กิเลสไปแก้กันอย่างไร เพราะเขาไม่เคยทำเขาไม่เคยรู้ตรงนี้เขาถึงปฏิเสธตรงนี้ พอปฏิเสธตรงนี้ปั๊บ ถ้าปฏิเสธปั๊บมันก็เหมือนนักวิทยาศาสตร์เราต้องทำงานบนโต๊ะกันอย่างเดียว

เราถึงบอกไงว่า เป็นไปไม่ได้ ถ้ามันจะฆ่ากิเลสกันนะ เป็นไปไม่ได้ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าเป็นไปได้ถ้าคนภาวนาเป็นมันถึงจะไม่กล้าปฏิเสธสมาธิ เพราะเขาปฏิเสธสมาธิไง เขาปฏิเสธถึงความลึกของจิต ทีนี้มันก็ทำอยู่ผิวเผินทำอยู่บนอารมณ์ความรู้สึกนะ อารมณ์ผิวเผินนะ เราก็คิดกันอยู่อย่างนี้ เราก็แก้กันอยู่อย่างนี้แก้กันบนความผิวเผิน

เหมือนเป็นโรคเป็นภัยอยู่ในร่างกายไปรักษากันที่ผิวหนัง แล้วจะหายได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้เลย พูดถึงว่าถ้าจะบอกว่า เพราะคำว่าถ้าเราปรามตัวไหนเป็นจิตแท้จิตปลอม เราจะบอกว่ามันจริงทั้งหมด จะบอกว่าเราจะไปแยกว่าจิตแท้หรือจิตปลอมเราจะไปเสียเวลา มันคือสู้มันไปซึ่งๆ หน้านี่แหละ จากปลอมมันจะเป็นจริงขึ้นมา ความคิดตัวจิตตัวเรานี่แหละ ตัวจริงตัวปลอมก็ตัวเดียวกัน

แต่ถ้ามันปลอมแล้วมันปลอมเพราะมันมีอวิชชา มันจริงเพราะมันมีวิชชา แล้วถึงที่สุดแล้ว เราทำซ้ำไปเรื่อยๆ มันจะซ้ำทำขยันหมั่นเพียรเข้าไปเรื่อยๆ ถึงที่สุด ถึงที่สุด มันต้องเป็นของมัน เหมือนเชือก เราจับเส้นเชือกได้เราสาวไป มันต้องถึงปลายเชือกเด็ดขาด ในเมื่อเส้นเชือกเราจับได้เราสาวไปเรื่อย สาวไปเรื่อยๆ จับความรู้สึกได้แล้วพิจารณาไปเรื่อยๆ ต่อสู้มันไปเรื่อยๆ มันจะละเอียดของมันไปเรื่อยๆ เราต่อสู้กับมันเข้าไป เข้าไป ถึงที่สุดแล้วมันต้องไปถึงตัวของมัน

ทีนี้ถ้าเราไปคิดแบบนี้ คิดแบบว่าอันไหนจริงอันไหนปลอมเราก็คิดว่าเชือกมีสองเส้นไง เส้นไหนจริงแล้วเส้นไหนปลอม แต่ความจริงเชือกมีสองเส้นไหม คนมีจิตสองดวงไหม คนมีจิตซ้อนจิตไหม แต่มีหยาบละเอียด มี แต่คนมีจิตจิตเดียว เพราะฉะนั้นจับตัวจริงมัน มันจริง มันตัวจิตความรู้สึกเป็นตัวจริง

แต่ความปลอม มันปลอม คำว่าปลอมนะ อย่างเช่นเราต่อสู้กับกิเลส ถ้าเรามีสมาธิดีเราใช้ปัญญาดีมันจะปล่อยวาง มันจะคิดแล้วมันจะปล่อยๆ ไป นี่สมาธิดี เห็นไหม อันนี้เราว่าเป็นตัวจิตจริง อันนี้คือตัวธรรมะ แต่ถ้าเราเพลินเราอยากได้ เราทำบ่อยครั้งเข้า ทำจากตัวจริงนี่แหละทำไปบ่อยๆ ครั้งเข้า พอสมาธิมันอ่อนลงนะคิดไม่ออกแล้ว

มันคิดไปแล้วมันจะไปไม่ได้แล้ว อ้าว เมื่อกี้จริงอยู่ทำไมมันมาปลอมตอนท้ายล่ะ มันอันเดียวกันเห็นไหม แต่เพราะสมาธิกำลังมันเริ่มเข้มแข็งกระทำแต่งานที่ดี พอกำลังอ่อนตัวลงกำลังมันน้อยลงการทำงานมันก็ขลุกขลักแล้ว จริงๆ อยู่นี่มันก็เป็นปลอมได้

ไอ้ปลอมๆ นี่นะทำด้วยความไม่เข้าใจมันปลอม แต่ด้วยความตั้งใจทำสิ่งที่เราต้องตั้งใจเรามีความเพียรดี ทำไปเรื่อย ไอ้ความปลอม เออ กำลังมันเกิดขึ้น มันทำไปจากปลอมนะไปไหนไม่ได้เลย อั้นตู้ โอ๊ย คิดอะไรก็ไม่ออกเลย แต่เพราะมีความขยันหมั่นเพียรทำๆ ไปของปลอมนี่แหละ ทำไปเรื่อยๆ นะ อ้าวทำไมมันดีขึ้นล่ะ หา ทำไมมันดีขึ้น มันก็จริงได้

จะบอกว่าจริงหรือปลอม คำว่าจริงหรือปลอมถ้าเราไปแยกแยะเลยมันจะหลอกเราอีกทีหนึ่ง จริงหรือปลอมมันอยู่ที่สติ ถ้าสติดีสมาธิดีมันมีกิเลสอยู่มันก็จะต่อต้าน แล้วพอถึงที่สุดถ้ามันสมาธิดีขึ้น มันก็จะพัฒนาขึ้น มันอยู่ที่ตรงนี้ ถ้าเราไปแยกจริงแยกปลอมเลย มันเหมือนเป้าลวงเป้าจริง

แล้วเป้าลวงเป้าจริงตอนนี้ไอ้เป้าอย่างนั้นปั๊บ เป้าตัวนี้มันก็จะมาหลอกเรา แล้วเราก็จะไปหาตรงนั้น จับที่ความรู้สึก หลวงตาจะสอนประจำอยู่กับผู้รู้อยู่กับพุทโธไม่มีผิด อยู่กับตัวจิตจับตัวจิตอยู่กับผู้รู้ไว้ตั้งสติไว้แล้วสาวไปเรื่อยๆ ไม่มีผิด สาวตัวนี้เข้าไป สาวตัวนี้เข้าไป แต่ถ้าเราไปข้างนอกเลยว่าตัวไหนจริงตัวไหนปลอม มันจะทำให้เราแบบว่าหลักการเราจะไขว้เขว ให้จริงเข้าไปตลอดต่อสู้เข้าไปตลอด

การภาวนาไปเรื่อยๆ จะเห็นตัวปลอมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นใช่หรือไม่ อันนี้ก็ตอบไปแล้ว ตอบที่ว่า จริงหรือปลอมอยู่กับผู้รู้ แล้วสาวแล้วทำไปบ่อยครั้งเข้า มันเหมือนกับเราปอกผลไม้นั่นน่ะ ปอกเปลือกมันออกไป มันถึงตัวจริง ก็อย่างที่ว่าส้ม เปลือกส้ม ถึงที่สุดแล้วมันจะเห็น เห็นว่าความคิดไม่ใช่เรา เราพูดบ่อยครั้ง ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ ความคิดไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ความคิด แต่มันก็มีอยู่กับเรานี่แหละ จับไปเรื่อยๆ ขยันเข้าไปเรื่อยๆ

เรื่องอดอาหาร เดินจงกรม ถึงแล้วอดอาหาร ใช่ แล้วคิดอย่างนี้ถูก คิดถึงมรณานุสติ คิดถึงตาย คิดถึงตายเลย คิดไปเรื่อยๆ แล้วมันไอ้เรื่องแสบท้องไอ้เรื่องที่ว่ามีอาการมันเรื่องธรรมดา ทีนี้พอเรื่องอย่างนี้ขึ้นปั๊บ พอเรื่องหิวเราใช้ปัญญาใคร่ครวญมัน หิวใครเป็นคนหิว มันจะเป็นประโยชน์มากนะเราเคยทำอยู่

หิวมากพิจารณาไปเรื่อยๆ มันปล่อยหมด ว่างหมดเลย พอปล่อยหมด หิวไปไหน หิวนี่พอจิตมันหดตัวเข้ามา ว่างหมดเลยนะ มันว่างขณะที่เรามีสติมีปัญญาแต่พอมันแผ่ซ่านออกมานะก็หิวอย่างเก่า แต่มันเป็นอุบาย มันเป็นอุบาย หิวอย่างเก่าเพราะคำว่ามันธรรมชาตินะ เราอดอาหารพอในกระเพาะเราไม่มีอาหารมันเรื่องธรรมดาเลย ที่มันจะต้องหิว

ทีนี้พอคำว่าหิว หิวโดยเป็นธรรมชาตินะ แต่ถ้าเรากินอาหารเข้าไปมันก็อิ่ม หลวงตาพูดอย่างนี้ เรื่องของร่างกายนะ พอฉันข้าวเข้าไปมันฟื้นเร็วไง เหมือนม้าแข่งท่านว่าอย่างนั้นเลยนะ แต่หัวใจนี่มันจะฟื้นยาก ฉะนั้นการอดอาหารของเรา การผ่อน ผ่อนเพื่อถัวใจ ร่างกายมันจะทุกข์บ้าง เราจะต้องทนเอา

อันนี้การอดอาหารถ้าร่างกายมันหิว มันหิวนี่มันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องธรรมดาของมัน แต่พอจิต จิตนี่ถ้ามันพัฒนาของมัน มันใคร่ครวญของมันเวลามันปล่อยขึ้นมาทำไมมันว่างล่ะ ทำไมความหิวนั้นหายไปล่ะ ฉะนั้นจะบอกว่าการอดอาหารมันเป็นอุบายเพื่อให้ร่างกายเบา ให้เราได้มีโอกาสได้พิจารณา

แต่การอดอาหารมันไม่ใช่อริยสัจไม่ใช่มรรคผลเลย แต่มันเป็นอุบาย เป็นเหมือนสิ่งแวดล้อมที่ดี ทำจิตใจให้มั่นคง ทำจิตใจให้ต่อสู้ ฉะนั้นการอดอาหารจะเอามาเป็นตัวผลไม่ได้ แต่การอดอาหารเราตั้งใจอดอาหารเพื่อ เพื่อจะให้เราปลอดโปร่ง เพื่อจะให้เรามีโอกาสได้ภาวนา

แล้วถ้าอดไปบ่อยๆ ครั้งเข้ามันจะเทียบไง ลองอดอาหารสิ ๑๐ วัน แล้วเราไปกินอาหาร ๑๐ วันแล้วเทียบกัน ว่าขณะที่อดอาหาร ๑๐ วัน ภาวนาดีขนาดไหน กินอาหารอยู่ ๑๐ วัน กินอิ่มสบาย แล้วจิตใจจะดีไหม มาเทียบกัน พอเทียบกันปั๊บมันเห็นประโยชน์อันไหนดีกว่า มันก็จะทำอันนั้น พอทำอันนั้นไปปั๊บ หิวไหม หิว แต่ถ้ามันกินสัก ๑๐ วัน มันไม่ได้อะไรเลย แล้วพอจิตใจถ้ามันท้อถอยทดท้อไปเรื่อยๆ นะ

เราเองพอทดท้อไปเรื่อยๆ จิตใจก็จะเศร้าหมองไปเรื่อยๆ เลิกดีกว่า กลับบ้านเถอะ สุดท้ายจะลงตรงนั้น แต่ถ้าเราต่อสู้ไปเรื่อยๆ เราต่อสู้ไปเรื่อยๆ นะ มันจะไม่ลงตรงเลิกดีกว่า แล้วถ้ามันจะทุกข์ ทุกข์ก็คืออริยสัจ ทุกข์ก็เป็นความจริง อ้าว ทุกข์ก็ต้องทุกข์สู้กัน แล้วเวลาทุกข์ โธ่ ย้อนกลับนะ ถ้าผู้หญิงผู้ชาย เวลาคลอดออกมาจากท้องพ่อท้องแม่ ทุกข์ไหม

เราดูเด็กเกิดใหม่สิ แล้วคิดว่าเป็นเราสิ แล้วจะไปเกิดอีกไหม ทุกข์อย่างนั้นกับทุกข์อย่างนี้ มันกำลังเกิดแล้ว เอ็งจะต้องไปมุดออกมาอย่างนั้นอีกไหม เอ็งต้องเกิดมาเจ็บไข้ได้ป่วยอีกไหม แล้วทุกข์อย่างนี้แลกกับมันไม่เอาเหรอ ทุกข์ที่เดินจงกรม ทุกข์ที่หิวข้าว ทุกข์ที่มันเจ็บปวดแสบร้อน กับแลกที่ไม่ต้องไปประสบอย่างนั้น อย่างนั้นๆ อีก มึงเอาไหม ถ้ามันคิดอย่างนี้ปั๊บ มันก็พลิกกลับมาให้เราฮึดไง

แรงฮึดนี่สำคัญมาก ขวัญกำลังใจของกองทัพ กองทัพแพ้ชนะกันอยู่ที่ขวัญกำลังใจ การภาวนาถ้าเฉา เศร้าหมอง สักแต่ว่าคอตกนะ เดินจงกรมไปก็คอตก แต่ถ้าเดินจงกรมไปแล้วมันอาจหาญล่ะ มันเอาอะไรมาอาจหาญ ถ้าไม่มีการปลุกเร้าอย่างนี้ เอาอะไรมาอาจหาญ

อยู่กับครูบาอาจารย์เราพูดบ่อยเวลากับพวกญาติโยม ว่าเราอยู่กับครูบาอาจารย์เหมือนกับนักมวยน่ะพิงเชือก เวลามันโดนเขาสอยมา โอ้โฮ หมดท่าแล้ว พิงเชือกเลยเดี๋ยวกูเด้งออกมาใหม่ พอมันไม่มีทางไปมันก็หวังพึ่งครูบาอาจารย์ไง แล้วครูบาอาจารย์คอยกระตุ้นไง เดินมาน่ะหงอยๆ ท่านใส่แล้ว “ศพเดินได้” สะดุ้งเลย เดินมาใจไม่สู้ท่านเหน็บแล้วนะ

“สะเหร่ออย่างนั้นน่ะคนไม่มีสติปัญญาจะภาวนาอย่างไร” ท่านคอยเหน็บ คอยเหน็บ คอยจี้เหมือนกับว่าคอยช็อตไฟฟ้าเรา ป๊ะ ป๊ะ คอยจี้ให้กระเด็นอยู่ตลอดเวลา มันก็ฟื้นตัวง่าย นี่อยู่กับครูบาอาจารย์มันดีตรงนี้

แล้วถ้าไม่มีครูบาอาจารย์เราเองพอมันเฉามันก็เฉานะ พอเฉากิเลสก็กระทืบเลย เออ เราไม่มีวาสนาเว้ย อ้าว ทำไมคนอื่นทำได้ก็ทำได้เพราะเขามีบารมีเราไม่มี มันมีทางออกตลอดนะ ถ้ามันมีอย่างนี้ปั๊บเราจะสู้กับมันไปเรื่อยๆ ถ้ามันเกิดเห็นรัศมีเห็นอะไรอย่างนี้

การเห็นรัศมี เห็นจิตที่มันเป็นนั่นน่ะ นั่นน่ะตัวปลอม นี่ถามว่าเป็นตัวจริงใช่ไหม นั่นน่ะตัวปลอม อาการของจิตทั้งหมด จิตจริงๆ คือความรู้สึกสิ่งที่เห็นคือนิมิต แล้วสิ่งที่เห็นสิ่งใด เราเห็นแล้วไม่ใช่ไม่มีนะ อ้าว มองไปในอากาศสิ มองไปไม่เห็นต้นไม้เหรอ ดูก้อนเมฆ ก้อนเมฆก็เห็น ก้อนเมฆ เห็นไหม มองพระอาทิตย์เห็นไหม ก็เห็นอย่างนั้นนะ

ทีนี้พอจิตมันดีขึ้นมามันเห็นเป็นดวงเป็นอะไร มันก็เหมือนเราเห็นนี่แหละ มันเป็นนิมิต มันเป็นสิ่งที่เราลืมตาก็เห็น พอจิตสงบ จิตมันมีอาการมันก็เห็น เห็นแล้วก็ปล่อยวางไว้ “ไม่ใช่ตัวจริง” ตัวจริงคือตัวจิต จิตเดิมแท้นั้นผ่องใส จิตเดิมแท้นั้นหมองไปด้วยอุปกิเลส จิตผ่องใส ตัวผ่องใสมันจะย้อนเข้ามา

หลวงตาท่านเคยพูด หลวงตานะท่านพูดเป็นธรรมะตลอด ท่านจะไม่พูดเรื่องสิ่งอย่างนี้เลย แล้วท่านเคยพูดเวลาคนไปถามปัญหา ถ้าถึงตัณหาทั้งหมด สัมผัสมันจะออกเลย ท่านบอกท่านเคยจิตท่านมีแสงเหมือนกับตะไล มันมีแสงออกตลอดมีแสงนี่พุ่งออกจากจิตเลยนะ

แล้วท่านบอกท่านตามไป มันก็พุ่งไปเรื่อย ก็ตามไปเรื่อย พุ่งไปเรื่อย ความสว่างนี้มันจะสว่างออกสว่างไปเรื่อย ท่านก็ตามไปเรื่อย ท่านบอกว่าตามไปขนาดไหนก็ไม่จบ ไม่จบหรอก พอไม่จบปั๊บท่านเลยทิ้งเลย ไม่เอากลับมาที่ผู้รู้ก็จบ ครูบาอาจารย์ท่านเคยลองทั้งนั้น

นี่ก็เหมือนกันรัศมีที่ออกไป รัศมีที่ออกไป มันบางทีนะคนเราภาวนา พอมันสงบจิตมันสงบ มันจะมีบางทีมันสงบลงเฉยๆ บางทีมันจะเห็นเป็นดวง บางทีมันจะเห็นเป็นแสงสว่าง ไอ้ตรงนี้มันวัดกันที่บารมี ที่การสร้างสมมา

อย่างเช่น เช่นถ้าเราทำความสงบของใจใช่ไหม เราเข้าสมาบัติถ้าแสงมันตกไง คำว่าแสงมันตกเห็นไหม หูทิพย์ตาทิพย์ สายตาของเรามองได้สุดสายตาของเรา สายตาเปรียบเหมือนแสงสว่าง แสงสว่างถ้าตกถึงไหน ความรับรู้ถึงตรงนั้นแหละ เวลาจิตที่มันที่อภิญญาที่ว่ารับรู้เสียง รับรู้ความรู้สึก มันไปจากแสงนี่แหละ แสงที่มันตกถึงที่ไหน

บางคนเห็นไหมดูสิบางคนระลึกชาติได้ ๕ ชาติ ๑๐ ชาติ ๑๐๐ ชาติ แสงคนตกได้กว้างได้แคบ การรับรู้ของทิศมันจะได้มากได้น้อย บางทีนั่งอย่างนี้เทวดาคุยกันได้ยินเลยล่ะ เทวดาพูดอะไรกัน รับรู้ได้หมดเลย เวลาหูมันตกไปถึง พูดถึงรัศมีไง ว่ารัศมีที่มันเห็นพอจิตสงบแล้วเห็นรัศมีอะไรต่างๆ เห็นก็รับรู้แล้วกลับมาที่ทิ้งหัวใจ ทิ้งผู้รู้ไม่ได้เลย

“เพราะตามรัศมีไป จะไม่เห็นกิเลส ตามสิ่งใดไปจะไม่เห็นอวิชชา อวิชชามันอยู่ที่นี่ ตามออกไปคือมันหลอกให้ออกไปข้างนอก”

ขโมยเข้าบ้านแล้วไปบอกเจ้าของบ้านบอกขโมยอยู่ข้างนอก เจ้าของบ้านก็เซ่อ ตามไปจะไปจับขโมยอยู่ข้างนอก ทั้งๆ ที่ขโมยมันเข้ามาอยู่ในบ้านเรา ขโมยอยู่ในบ้านเรา เราต้องเข้าไปค้นในบ้านเรา เราจะจับขโมยได้ นี่ขโมยมันฉลาด มันบอกนู่นๆๆ เจ้าของบ้านน่ะ เถ้าแก่ๆ ขโมยมันอยู่นู่นอยู่ข้างนอกที่รั้วนู่น ออกไปข้างนอกนะมันขนเกลี้ยงในบ้าน มันขนเกลี้ยงเลย

รัศมีที่ส่งออกไป แสงสว่างที่ส่งออกไป นี่ไง ออกส่งออก ส่งออกไม่ใช่ ต้องทวนกระแสกลับ ขโมยอยู่ในนี้ ขโมยอยู่ที่ใจ อวิชชาอยู่ที่ใจ ต้องกลับมาที่ใจอย่างเดียว แล้วมันอยู่ที่ใจ ใจ กาย เวทนา จิต ธรรม จิตเห็นไหม ถ้าสติปัฏฐาน ๔ ถ้าจิตมันสงบแล้ว เอาขโมยขึ้นมาไต่สวน เอาขโมยขึ้นมาจัดการ ถ้าเอาขโมยขึ้นมาจัดการ มันจะเห็นขโมย

ทีนี้สิ่งที่เห็นออกไป เราเห็น แล้วถ้ามันเห็นสิ่งต่างๆ ปล่อยหมด ให้มันสงบเข้ามาก่อนให้มีกำลังเข้ามา

“ตอนนี้สำคัญที่สุดคือ คือต้องมีกำลัง คนจะทำสิ่งใดต้องมีทุน ต้องมีกำลัง”

“ศีล สมาธิ ปัญญา” สมาธิทิ้งไม่ได้ สมาธิเป็นตัวที่สำคัญมาก เพราะตัวสมาธิตัวจิตตั้งมั่น ตัวเดียวเท่านั้นเอง ที่จะทำให้เราเป็นคนหรือเป็นสัตว์ เปรียบอย่างนี้เลยนะ เป็นคนคนมันทำความดี สัตว์มันทำโดยสัญชาตญาณ ถ้าไม่มีสมาธิเราคิดกันโดยสัญชาตญาณไง

สัตว์โลกสัตตะผู้ข้อง เหมือนสัตว์ตัวหนึ่ง โดยสามัญสำนึกใช่ไหม ความคิดทั้งหมด นักวิชาการทั้งหมด เกิดจากอะไร เกิดจากสัญญาที่จำมาอยู่ในหัวใจอยู่ในสมอง แล้วใช้สามัญสำนึกใคร่ครวญออกไป ตรวจสอบทบทวน จริงไหม สัตว์ตัวหนึ่ง

ถ้าไม่มีสมาธิสัตว์เหมือนสามัญสำนึกโดยสัตว์ แต่ถ้ามีสมาธินี่ สมาธิถ้าไม่มีสติไม่มีความรู้ จะมีสมาธิได้อย่างไร พอเป็นสมาธิ

“สมาธิถ้าคนไม่เข้าใจเรื่องสมาธิ ก็คิดว่าสมาธิเป็นนิพพาน”

มันอันตรายตรงนี้ อันตรายเพราะพวกเราอ่อนแอ จิตใจพวกเราอ่อนแอ ไม่เข้าใจว่าสมาธิกับมรรคผลมันต่างกันอย่างไร ก็คิดว่าไอ้ที่ว่างๆ เป็นสมาธิคือมรรคผลนิพพาน ติดกันหมดเลย ทีนี้ถ้ามันไม่ติดมันไม่ติดเพราะอะไร ไม่ติดเพราะเราเป็นสมาธิแล้ว แล้วถ้าไม่รักษาไว้มันก็เสื่อม เสื่อมเด็ดขาด

พอเสื่อมแล้ว “อ้าว นิพพานเสื่อมได้อย่างไร” ถ้าคนมีสตินะ “เอ๊ะ นิพพานเสื่อมได้อย่างไร นี่ก็ไม่ใช่นะสิ” ไม่ต้องบอกหรอกว่าเป็นโสดาบัน มันบอกนิพพานเลยล่ะ เพราะว่าพอมันว่างปั๊บมันว่านิพพานหมด แล้วพอมันนิพพานนะ แล้วมันจะตอกย้ำไปว่ากิเลสมันฉลาดมาก มันจะอ้างมรรคอ้างผลไง พอมันว่างปั๊บ มันจะบอกเลย

อย่างเช่นเราทำความสงบ เราใช้ปัญญารอบหนึ่งคือเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาเปรียบเทียบ ทางวิชาการมันก็บอกว่านั่นเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคา คือว่ามันจะบอกว่าเรามีขั้นมีตอน กิเลสมันจะหลอกเราเอง ว่าเรามีขั้นมีตอนอย่างนั้นๆ

ขั้นตอนคือ เหมือนกับมันใช้กำลังหนหนึ่ง การใช้กำลังดูสิเราสร้างบ้าน สิ่งที่เราเอามา วัสดุก่อสร้างเราเอามามันจะมากมายขนาดไหน มันจะใช้มากขนาดไหน แต่เราแบกหินมาแค่ปุ้งกี๋ ๒ ปุ้งกี๋ ก็ว่าปุ้งกี๋หนึ่งก็สร้างบ้านเสร็จหลังหนึ่ง มันคิดอย่างนั้นนะ ก็ปุ้งกี๋หนึ่งก็พอมันใช้ปัญญารอบหนึ่งมันก็โสดาบันไง ก็บ้านหลังหนึ่ง

พอหาบทรายมา ๒ ปุ้งกี๋ มันก็บอกว่านี่เป็นสกิทาคาไง กิเลสมันจะอ้างอย่างนี้ พออ้างอย่างนี้ปั๊บ มันก็หลงตัวเองว่านี่คือนิพพาน แล้วพอนิพพานออกมาแล้วพอออกมาข้างนอกแล้วมันเสื่อม เราจะอ้างว่านิพพานเราต้องมีเหตุผลรองรับของผู้ที่อ้าง ผู้ที่อ้างก็คือกิเลสมันอ้าง พอกิเลสอ้างว่ามันใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาใคร่ครวญรอบหนึ่ง มันก็แค่สมาธิแต่มันก็อ้างว่านี่คือโสดาบัน

ผู้ปฏิบัติเป็นอย่างนี้หมดไง ผู้ปฏิบัติเพราะอะไร เพราะเราอ่านทางวิชาการใช่ไหม ถ้าปัญญารอบอย่างนี้ปั๊บมันจะเป็นโสดาบัน แล้วเราก็ทำของเรา มันก็เหมือนกับวงรอบหนึ่งเพราะเราใช้ปัญญาของเรา แต่ปัญญาอย่างนี้มันเป็นปัญญาก็อบปี้ไง ปัญญาที่เราใคร่ครวญตามสัจธรรมของพระพุทธเจ้า แต่มันยังไม่เกิดเป็นของเรา

เหมือนเราเป็นลูกจ้างไง เขาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างใช่ไหม เราเป็นคนงาน เราทำได้หมด แต่เป็นของเราไหม มันเป็นของผู้รับเหมาใช่ไหม เราทำงานในความรับผิดชอบของบริษัทนั้น

นี่ก็เหมือนกัน เราไปคิด คิดธรรมะในทางพระพุทธเจ้าไง แล้วก็อ้างว่าเป็นโสดาบันกัน ที่บอกว่ามันจะอ้างนิพพาน มันอ้างแน่ๆ มันอ้างแน่ๆ นี่ไงทีนี้พอเราสัมผัส พอมันเสื่อม อ้าว นิพพานทำไมมันเสื่อม ถ้าคนมีสตินะแล้วเอาอันนี้มาเทียบ

เวลาพระพุทธเจ้าบอกโสดาบัน สกิทาคามันเป็นอย่างไร เราก็เทียบของเราว่าถ้าอารมณ์เป็นอย่างนี้ ความรู้สึกเราเป็นอย่างนี้มันจะเป็นอย่างนั้นได้ไหม ถ้ามันสัมผัสแล้วเป็นอย่างนั้น อ่ะอันนี้ไม่ใช่ มันต้องไม่ใช่แล้ว พอไม่ใช่ปั๊บ เหตุใดถึงไม่ใช่ มันก็ย้อนกลับเข้ามาหา พอมันเข้ามาที่สมาธิ ถ้าเข้าใจว่าเป็นนิพพาน พอมันเสื่อมมันจะเป็นอย่างนั้น

แล้วพอมันใช้ปัญญาเข้าไป มันจะมีความแตกต่าง แล้วยิ่งถ้าใช้บ่อยครั้งเข้าถึงที่สุดแล้วถ้ามันเป็นโสดาบันมันขาดแล้วนะ อันนี้มันจะเป็นเครื่องประกอบกับใจว่ามันเคยเจอสภาวะแบบนี้ สภาวะขณะจิตไง ขณะจิตนะถ้าคนไม่เคยเป็นพูดอย่างไรก็ไม่เข้าใจหรอก แต่ถ้าพอคนเข้าใจตั้งแต่ขั้นโสดาบันปั๊บ เพราะมันเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นการเปลี่ยนแปลงจากปุถุชน เป็นพระโสดาบัน การเปลี่ยนแปลงขณะจิตที่มันเป็น นี่ขณะจิตอันแรกมันมีอย่างนี้ใช่ไหม

ถ้าสกิทา อนาคา หรือพระอรหันต์มันต้องลึกซึ้ง ละเอียด และกว้างขวางกว่า เพราะมันได้สมบัติที่มากกว่า มันเป็นที่มหัศจรรย์กว่า ถ้ามันเป็นอย่างนี้อีกมันต้องไม่ใช่มันต้องเหนือกว่านั้น แล้วพอปฏิบัติไปแล้วมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะในพระไตรปิฎกเห็นไหม พระโสดาบัน สมาธิ ปัญญา ๒๕% พระสกิทา ๕๐% พระอนาคา ๗๕% พระอรหันต์ ๑๐๐% สมาธิจิตน่ะ ๑๐๐%

แล้วก็ย้อนกลับมาในมุตโตทัยที่หลวงปู่มั่นบอกว่าธรรมสถิตในหัวใจของใคร สถิตในหัวใจของปุถุชน ธรรมะพระพุทธเจ้าสะอาดแต่หัวใจเราสกปรก ด้วยความสกปรกนั้นธรรมะนั้นสะอาดมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าสถิตในใจของพระโสดาบัน สะอาดขึ้นมาหน่อยหนึ่ง สถิตในใจของพระสกิทา สถิตในใจของพระอนาคา ถ้าสถิตในใจของพระอรหันต์นั่นธรรมะล้วนๆ ธรรมะที่ไม่มีกิเลสเจือปนเลย

ทีนี้มันความเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ พอมันขึ้นมา มันจะเข้าใจขณะจิต ขณะที่จิตมันเปลี่ยน ฉะนั้น สิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านทดสอบกันคุยกันก็ตรงนี้ ตรงที่ว่า อ้าว ๑ ว่ามา ๒ ๓ ๔ ถ้าพูดถูกนะแล้วถ้าคนเป็นมันต้องพูดถูกหมด แต่ถ้าเราไม่เป็นนะ เราว่าเราถูก เราพูดถูก แต่คนเป็นนะรู้ รู้เลยว่ามันเป็นอย่างไร

ฉะนั้นถ้าอย่างนี้แล้ว จะบอกว่าอย่าไปตื่นเต้น อย่าไปตื่นเต้นกับความรับรู้อะไรทั้งสิ้น ตั้งสติไว้ และเผชิญกับความจริงตลอด ปัจจุบันธรรม เผชิญกับมันแล้วใคร่ครวญมันด้วยสติ แล้วไม่ต้องตกใจไม่ต้องคาดหมายไม่ต้องหวังผล อย่าหวังผลมากนัก ถ้าหวังผลนะตัณหาซ้อนตัณหา

ถ้าพูดไปถึงการปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านจะพูดบ่อย เวลาปฏิบัตินี่เหมือนคนที่โง่ที่สุดเลย แต่ฉลาดนะแต่ต้องโง่ที่สุด ถ้าเราฉลาดปั๊บกิเลสมันจะซ้อนเข้ามาเลย คนโง่ที่สุดหมายถึงว่าโลกนี้ไม่มี สรรพสิ่งนี้ไม่มี มีเรากับกิเลสเท่านั้นที่ปะทะกัน โง่หมายถึงว่าเป็นอย่างนี้คืออย่าไปฉลาดรับรู้เรื่องของคนอื่นเขาหมด อย่าไป ขณะเราที่ศึกษาเราอ่านตำรา พระพุทธเจ้าว่าอย่างนี้ พระสารีบุตรว่าอย่างนั้น นี่รู้ไปหมดเลย แต่ถ้ามาปฏิบัตินะ ไปรู้อย่างนี้เสร็จเลย

โง่ที่สุดหมายถึงว่าสิ่งที่รับรู้มาของครูบาอาจารย์หรือของใครวางของท่านไว้ แล้วจะมีของเรา! ของเรา! ของเรากับของกิเลสที่มันปะทะกันเท่านั้น โง่ที่สุดคืออย่างนี้คือความประสบการณ์ของเรา ประสบการณ์ที่เป็นปะทะกับกิเลส ตรงนั้นน่ะ ตรงนี้เท่านั้น หน้าที่เรามีแค่นี้เท่านั้น ฉะนั้นสิ่งใดๆ วางไว้ เพียงแต่เวลาออกมาหรือเดินจงกรมจะเปรียบเทียบได้ เขาเรียกอุบาย

ตำราของครูบาอาจารย์มันจะเป็นจุดประเด็นให้เรา เป็นประเด็นให้เราใช้ปัญญา ฉะนั้นสิ่งที่เห็น สิ่งที่รับรู้ มันเป็นอย่างนี้จริงๆ มันเป็น มันเพราะอะไร เพราะว่าเริ่มต้นเห็นไหม เราบอกเริ่มต้นนับหนึ่งจากจิตของเรา เริ่มต้นนับหนึ่งกับเรา เริ่มต้นเริ่มจากเราที่จิตมันมีกิเลส ฉะนั้นพอมีกิเลส เพราะเราเกิดมามีอวิชชา มันต้องเป็นอย่างนี้ มันต้องเข้าไปชำระล้างกัน

เหมือนซื้อผักมาเลย เราไปซื้อผักมาทำอาหาร เอามาอันดับแรกซื้อผักมาแล้วทำอย่างไรก่อน ล้างใช่ไหม ใครซื้อผักมาจะกินเลย ก็ต้องล้างก่อนใช่ไหม จิตก็เหมือนกัน เริ่มต้นของมันเลย ทำความสะอาดของจิตก่อน ทำสมาธิก่อน เริ่มต้นเลยซื้อผักมาต้องล้างก่อนแล้วมาทำความสะอาดมันต้องมาสับมาล้างมาสับมายำจะทำอะไรกิน

นี่ก็เหมือนกัน เริ่มต้นของจิต จิตมีอวิชชาจะเป็นอย่างนี้ก่อนเลย จะมีรู้มีเห็นมีอะไรต่างๆ ไป จะบอกว่าไม่มีไม่ได้ เพียงแต่มีแล้ว ปล่อยวางๆ ปล่อยวางๆ ปล่อยวางหมด สติตั้งกับความจริง แล้วประสบการณ์เข้ามา ทำตรงเข้ามา ถูกต้องแล้วไม่ต้องไปตกใจ จริงหรือปลอมไม่ต้องไปตกใจตอนนี้ เพราะว่าจริงหรือปลอมคิดว่าถ้าเป็นความจริงเราจะได้มรรคผลนิพพานเลย

ถ้าปลอมเราจะตกไปหากิเลสเลย มันก็ไม่ใช่ เพราะจิตมีหนึ่งเดียว จริงหรือปลอมคือแง่มุมที่มันเล่นกับเรานี่แหละ กิเลสมันเล่นกับเรา ถ้ามันเป็นธรรมะที่เราทำสมาธิ สมาธิกับสติดี นั่นคือตัวจิตจริงๆ หมดเลย แต่ถ้ากิเลสมันมีกำลังกว่า มันพลิกแพลง ปลอมหมดเลย

ปลอมจริง เหรียญนะพลิกหัวหรือก้อยเท่านั้นเอง จิตมีอันเดียวคือเหรียญ มันพลิกหัวเราชนะ มันพลิกก้อยเราก็ถอย แล้วก็สู้มันพลิกมันกลับให้ได้ พลิกมันกลับมันก็เป็นหัวอัดมันเข้าไปอีก ถ้ากำลังมันอ่อนมันก็พลิกก้อยเล่นเราอีก อันเดียวแล้วอันไหนจริงอันไหนปลอม แต่เวลาคุยกัน เวลาศึกษาเห็นไหม เวลาถ้ามันปลอมมันจริง หมายถึงผลไงผลที่มันเป็น

คำว่าปลอมคือกิเลสมันสร้างภาพ คำว่าปลอมกิเลสมันสร้างภาพ มันสร้างขึ้นมาหมดเพราะ มันมีลูกศิษย์มาเล่าให้ฟังนะ สมัยเขาอยู่กับหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ดูลย์สอนให้ดูจิต ดูจิตเสร็จแล้วก็ไปหาหลวงปู่ดูลย์ ก็ว่าเห็นจิตไง หลวงปู่ดูลย์บอกไม่ใช่ อาการของจิต อาการของจิต ไอ้เราก็ไปดูเฉยๆ ดูแบบเซน มีลูกศิษย์เล่าให้ฟังอยู่จะไปหาหลวงปู่ดูลย์บ่อย

ไปหาหลวงปู่ดูลย์ตีรถไฟไป ไปถึงสุรินทร์ ไปถึงก็ขึ้นไปรายงานเลย “อาจารย์ครับ อย่างนั้นอย่างนี้ครับ นี่จิต” หลวงปู่ดูลย์บอกไม่ใช่! ไม่ใช่! เพราะเรามันเป็นเปลือกส้มไง มันเข้าไม่ถึงเนื้อ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไอ้เราก็งง แล้วทำไมถึงไม่ใช่? เราก็ว่าเราดูจิตมันก็ว่าคุมจิตได้หมดแล้ว ท่านก็บอกว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ คือไม่เข้าถึงตัวจิต

ไอ้ดูจิตของหลวงปู่ดูลย์น่ะ แต่ถ้าสำหรับพวกเราอย่างเราอย่างหลวงตาอย่างเรา เราจะบอกว่าปัญญาอบรมสมาธิคือดูเฉยๆ มันเหมือนกับเรา ส้มเราไปจับไว้เฉยๆ แล้วเมื่อไรมันจะทะลุเข้าไปถึงเนื้อส้ม มันยากหน่อยหนึ่ง แต่ถ้าเราปอกเปลือกมันง่ายกว่า

การปัญญาอบรมสมาธิคือปอกเปลือกส้ม คือใช้ความคิดหาเหตุหาผลใช่ไหม เอ็งคิดทำไม คิดแล้วมีความทุกข์ไหม ความคิดอย่างนี้คิดซ้ำคิดซาก คิดแล้วมันก็น้ำตาไหล ก็คิดอยู่ไง นี่ไงปอกเปลือก ปอกเปลือกคือปัญญาอบรมสมาธิ

แต่ของหลวงปู่ดูลย์เราก็จะคิดว่าท่านเป็นอย่างนี้แหละ แต่ท่านไม่ใช่คิดว่าปอกเปลือก ท่านใช้ว่าดูจิต แต่เราถึงตีความว่าการดูของหลวงปู่ดูลย์คือดูแบบบริหารจัดการ ไม่ใช่ดูเพ่ง แต่ถ้าคนมันเข้าใจผิด มันพิจารณา คำว่าดูคือเพ่ง เพ่งคือกสิณ

แต่ถ้าเราอย่างเช่นอย่างนี้เรามีญาติเห็นไหมเขาสั่งให้ดูแลญาติเราจะนั่งดูมันเฉยๆ เหรอ คำว่าเขาฝากให้เราดู เราต้องให้สตางค์มันใช่ไหม เราก็ต้องดูแลมันใช่ไหม เฮ้ย ฝากให้ดูหลานคนหนึ่งนะ เออกูก็ดูอยู่นี่ มันอดตายกูยังนั่งดูอยู่เลย มันไม่ใช่ ให้ดูหลานด้วยนะ มันไม่มีสตางค์ก็ให้สตางค์มันใช้ มันไม่มีจะกินก็ดูแลมันหน่อย เขาให้ดูอย่างนี้

คำว่าดู ดูจิตมันใช้ว่าดูเหมือนกันแต่ดูด้วยวิธีการอย่างใด ดูแบบเราดูแบบผู้ใหญ่ดูแลเด็กเห็นไหม เราดูแลมัน เรารักษามัน เราฝึกฝนเขาให้เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา แต่ถ้าเราไม่อย่างนั้นนะ ถ้าดูเฉยๆ ดูเพ่งนะ เสร็จ! เสร็จเลย! มันตีความหมายกันอย่างนี้มันตีกันไม่ถูก เพราะมีลูกศิษย์ไปหาหลวงปู่ดูลย์ ท่านพูดอยู่ ไม่ใช่! ไม่ใช่! ไม่ใช่คือมันยังไม่เข้าถึงตัวจิต

ถ้าเข้าถึงตัวจิตเห็นไหม จิตแล้วพอที่หลวงปู่ฝากไว้ “จิตเห็นอาการของจิต” ท่านพูดอย่างนี้ หลวงปู่ดูลย์น่ะ “จิตเห็นอาการของจิต” ท่านไม่ได้บอกว่าดูเฉยๆ หรอก แต่เริ่มต้นท่านดู

การดูของท่านคือให้ทำสมาธิ แต่พอถึงสมาธิวิปัสสนาท่านบอกว่า “จิตเห็นอาการของจิต แล้ววิปัสสนามัน วิปัสสนามัน” ท่านพูดอย่างนี้เลยนะ วิปัสสนามัน เราเชื่อ เราเชื่อถึงคนที่ทำงานเป็น เราเชื่อถึงพระอริยบุคคลที่ท่านผ่านขั้นตอนมา มันต้องมีขั้นของสมาธิมีขั้นของปัญญา ทุกคนเคยผ่านงานมาต้องทำงานถูกต้องหมด

เพียงแต่คำพูดเราพูดออกไปสอนเขา เขาตีความถูกตีความผิดไง ไอ้ลูกศิษย์มันตีความกันผิด พอตีความกันผิดแล้วมันไปยึดมั่นความรู้ของมัน มันเลยสอนกันผิดๆ ไปไง โดยนโยบายท่านคำพูดอันเดียวกันแต่เราขยายความไม่ได้ไง คือเราไม่สามารถเอาคำพูดนั้นมาขยายความได้ว่าความหมายมันแค่ไหน คือความหมายของท่านน่ะกว้างขวาง

แต่ความหมายของเราเราลดหดให้มันเหลือแค่นี้แค่รูหนูที่จะผ่านไปได้ ก็เหมือนตอนนี้ เหมือนกับที่ว่า เวลาเราพูด เห็นไหมที่พระพุทธเจ้าบอกว่ากรรมฐาน ๔๐ ห้อง แต่พระบอกว่าของคนอื่นผิดหมด ของกูถูกคนเดียว อย่างนี้ ๔๐ ห้องคือ ๔๐ ช่องทาง

คือไฮเวย์มี ๔๐ ช่องทางมันปฏิเสธหมดเลยนะ เหลือเส้นทางเดียว มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะว่าถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นนะ ท่านจะเข้าใจถึงจริตนิสัยของคน แม้แต่เรา อารมณ์เรามันยังแปรปรวนทุกวันเลย แล้วอารมณ์เราเดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ชั่วเดี๋ยวก็ร้ายเดี๋ยวร้อยแปดแล้ว คนทั่วๆ ไปล่ะ

คำว่า ๔๐ วิธีการก็หมายถึงว่าใครจะมีนิสัยอย่างไรมันเปิดกว้างไง แล้วเราจะไปปิดให้เหลืออยู่ช่องเดียวมันถูกไหม นี่ไงความหมายของครูบาอาจารย์ท่านกว้างนะ ท่านเปิดให้เรามีช่องทางออกทั้งหมด โดยท่านบอกว่าดูจิตๆ ดูจิตหรือรู้จิต ให้รู้จักจิตรู้จักจิต แล้วจิตเห็นอาการของจิต จิตถึงได้วิปัสสนา หลวงปู่ดูลย์พูดอย่างนี้

หลวงปู่ดูลย์พูดของท่าน แต่ความเข้าใจของเราว่าท่านพูดอย่างนี้แล้วเราก็ตีความอย่างนี้แล้วเราก็สอนอย่างนี้ แล้วถ้าเป็นอย่างนี้เราเห็นด้วย ถูกต้อง เพราะมันเป็นสมถะและวิปัสสนา ดูให้สงบคือสมถะ การใคร่ครวญนั่นคือวิปัสสนา

แล้วถ้าพูดถึงแบบหลวงปู่ชาเห็นไหม ในสมถะก็มีวิปัสสนาในวิปัสสนาก็มีสมถะก็ใช่อีกล่ะ เพราะอย่างเช่นเรา เราทำสมาธิเราดูจิตกัน แล้วจิตไม่สงบสักทีเราก็ใช้ปัญญาคิดไง นี่ในสมถะมีวิปัสสนาคือใช้ปัญญาไง ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็มีวิปัสสนา ในวิปัสสนาเห็นไหม เราทำวิปัสสนาเราใช้ปัญญาถ้าเราไม่มีกำลัง เราก็กลับมาที่พุทโธเห็นไหม

ในวิปัสสนามันก็ต้องมีสมาธิด้วย มันต้องมีอยู่เพียงแต่ของเราเริ่มต้นมันยังทำอะไรกำลังมันไม่พอเราก็ทำสมาธิกันก่อนทำพื้นฐานกันก่อน พอขึ้นไปแล้วมันจะรู้จังหวะของมันเอง ว่าสมถะวิปัสสนามันจะก้าวเดินไปพร้อมกัน คน ๒ ขาซ้ายขวาต้องเดินไปพร้อมกัน ถ้าจะพูดอย่างนั้นก็ถูก

แต่เริ่มต้นถ้าไม่วางพื้นฐาน มันจะมั่วกันไปไง ว่าอย่างนี้เป็นปัญญา ปัญญาคือฆ่ากิเลส แล้วมันก็เลยทิ้งฐาน ทิ้งสมาธิ พอทิ้งสมาธิมันเป็นไปไม่ได้ เหมือนคน คนง่อยเปลี้ยเสียขา คนที่ไม่มีกำลังให้มันแบกของหนักเป็นไปไม่ได้ แล้วแบกของหนักนะอริยทรัพย์ อริยภูมิ มันของหนัก ดูสิทำบุญน่ะอย่างทางโลกว่านะสร้างโบสถ์คนเดียวไม่ได้นะ บุญเยอะเดี๋ยวจะตาย

ในวิปัสสนามันยิ่งกว่าสร้างโบสถ์นะมึง ถ้าไม่มีกำลังมันตายหมดนะ แต่ไม่ใช่เราไม่เชื่อสักอย่างหนึ่ง ไอ้ที่ว่าสร้างโบสถ์คนเดียวไม่ได้หรือจะเป็นจะตายเราไม่เชื่อเลยนะ ไม่เคยเชื่อเลย เพราะอะไร เพราะเวลามันภาวนามันยิ่งกว่านั้น บุญกุศลมันยิ่งกว่านั้นนะ เพียงแต่มันเป็นโวหารของเขานะ

โยม : ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอายตนะ จิตด้วยหรือเปล่าครับ?

หลวงพ่อ : ถ้าถามอย่างนี้ คำถามผิด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอายตนะจิตด้วยเปล่าเปรียบเทียบได้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี่เป็นอายตนะเพราะเรามีจิตใช่ไหม ตา หู จมูกลิ้น กาย ของซากศพนั้นเป็นอายตนะไหม

โยม : คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันมารวมกันอยู่ที่จิต

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ทีนี้มันก็ต้องรู้ว่ามันเป็นอายตนะ

หลวงพ่อ : เดี๋ยวก่อนมันเป็นอันหนึ่ง เพราะอะไร ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เห็นไหม มันต้องมีใจเพราะอะไรรู้ไหม คำว่าอายตนะ จะบอกว่าอายตนะมันมี ๖ ใช่ไหม อายตนะมี ๖๒ มี ๑๘ อายตนะเวทนาเห็นไหม เวทนามี ๓ เวทนา ๖ เวทนา ๑๘ นี่ไงเวลาเราศึกษากัน เราศึกษากันแบบว่าศึกษากันเฉพาะตรงนี้ไงว่าอายตนะมี ๖ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน

โยม : คือผมถามตรงนี้ว่า อย่างท่านอาจารย์เทศน์เมื่อกี้บอกว่า ได้ยินเสียงอยู่แล้ว ได้ยิน รู้ชัด ก็ลองฟังดู (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ใช่ ใช่ อายตนะ ๕ นี่นะมันรวมลงที่ใจ แล้วเราหลับตาหมด ใจมันก็รู้อยู่ ใจจริงๆ มันคิดได้ ถ้าใจมันคิดไม่ได้นะ เวลาจิตเป็นสมาธิ ทุกคนบอกสมาธิคิดไม่ได้ แต่จริงๆ สมาธิคิดได้ คิดในสมาธิคือรำพึง ถ้าสมาธิคิดไม่ได้นะ เป็นสมาธิอยู่ นึกว่าเห็นกาย รำพึงให้เห็นกายมันเห็นได้อย่างไร

ทีนี้เวลาพูดกันด้วยหยาบๆ ความคิดทำให้ทำเป็นสมาธิไม่ได้ สมาธิคิดไม่ได้ แต่จริงๆ สมาธิคิดได้แต่ต้องมันเป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่ง

ปัญญาในสมาธิมันเป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่งนะ ทีนี้ถ้าจะมาพูดจะมาเขียนเป็นทางวิชาการ เถียงกันตายเลย มันเถียงกันตายไงมรรคหยาบมรรคละเอียดไง

ทีนี้คำว่าอายตนะต้องจิตด้วยไหม ใช่ เรามองรูปแต่เราไม่ได้คิด ตานี่เห็นรูปแต่ไม่รู้จักรูป เคยเป็นอย่างนี้กันบ้างไหม แล้วได้ยินเสียงแต่ไม่รู้เสียงอะไร เพราะได้ยินเสียงอยู่แต่จิตมันคิดเรื่องอื่น ตาหูจมูกลิ้นกายรับรู้ข้อมูลแล้วต้องส่งข้อมูลเข้าไปที่ใจ ถ้าใจมันรับรู้อายตนะใช้งานได้ปกติ ถ้าใจไม่รับรู้ได้ยินสักแต่ว่า

โยม : คือว่าวันนั้นฟังท่านอาจารย์เทศน์ที่ว่า บอกว่า.... (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ทั้งนี้สิ่งที่รับรู้มีไหม...(เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ไม่ จิตไปรับรู้ รับรู้ ไอ้การเข้าผีเข้าทรง เขาเรียกว่า จิตมันซ้อนกันไง เรามีจิตอยู่เรามีความรู้สึกอยู่ มันมีนะ มีคน เด็กมันตายไปแล้ว เด็กมันตายไปแล้ว แล้วกระสือมันเข้าทับไง โบราณมีนะเมื่อก่อนโบราณมี พ่อแม่เขาเล่าให้เราฟังเอง เขาบอกแปลก ญาติเขานี่แหละ

กลางวันจะไม่มากินข้าวมันจะนอนซมเลยนะ พอกลางคืนมัน โอ้โฮ ของมีอะไรมันกินหมดเลย แล้วมันก็ไปนอนอยู่อย่างนั้น กระสือ เด็กคนนี้ตายแล้วแต่มันเข้ามาทับ ฉะนั้นพอเสร็จแล้วนะ โบราณเขาเชื่อกันเรื่องนี้ เขาเลยไปเอาหมอคุณไสยมาเอาออก

พอเอาออกปั๊บนะ ศพนี่เน่าหมดแล้ว แต่ขณะที่จิตมันอยู่นะ ยังเคลื่อนไหว ยังกินข้าวได้อยู่ อันนี้กระสือเข้า แต่คำที่ว่าเวลาประทับทรงเห็นไหม เวลาประทับทรงน่ะ เวลาที่เขาเข้าเจ้าเข้าทรงน่ะ มันซ้อนกันไง เหมือนเรานี่เป็นเจ้าของบ้าน เราเป็นเจ้าของบ้าน เรารักษาเราเอง แต่ใจเราอ่อนแอไง เขาขอมายืมใช้ร่างเรา เหมือนกับ เหมือนอย่างที่พูดเมื่อกี้ที่ว่าจิตไม่มี ๒ ดวง อย่างนี้มันเหมือนกับ ๒ ดวง

ถ้ามันประทับทรง ประทับทรงจริงๆ นะ แต่ประทับไปประทับมาเราเป็นอุปาทานล่ะ เรามีอาชีพเป็นคนทรงเจ้า แขกมาทุกวันเลย มาถึงก็ประทับทรงประทับทรงเลย แล้วบางที มา แขกมามันประทับไม่เข้าทำไง เราก็ต้องทรงกูเองไง มันไม่มีหรอกผีคนไหนจะว่างมาเรียกให้มึงใช้ตลอดเวลาไม่มีหรอก

ทีนี้จะบอกว่าถ้ามันประทับทรงอย่างที่ว่าที่มันเข้า มันเข้าแล้วที่เวลามันแสดงออกไง แล้วเวลาเขาให้ออกมันก็ออกได้เห็นไหม พอมันออกไปแล้วคนนั้นยังอยู่เห็นหรือเปล่า มันซ้อนกันนะ เวลาเราไปขอขันธ์ ๕ กันน่ะ ที่ว่าต้องไปขอขันธ์ ๕ มันเพราะจิตเราอ่อนแอ

อย่างนี้นะมันจะเข้าผลของวัฏฏะ จิตมีอยู่เยอะแยะไปหมดเลย แล้วอยากเกิด แล้วไม่มีทางที่จะเกิดได้ เพราะมันไม่มีบุญกุศล ทีนี้ไม่มีบุญกุศลเขาก็หิวก็อดอยาก ถึงเวลาประทับทรงเราเพราะอะไรรู้ไหม ดูสิเวลาเข้าทรงกินไก่ที ๕ ตัว ๑๐ ตัว กินเหล้าที ๑๐ ขวด ๒๐ ขวด หิวมากนะ

ไอ้คนที่ว่านะเราอยู่ในเหตุการณ์ พออาจารย์ไท อยู่ที่อาจารย์ไทเขาภูนก “เฮ้ย มึงชื่อไอ้แดงนี่หว่า มึงเป็นควาญช้างอยู่สุรินทร์ ไหนว่ามึงเป็นสมเด็จโต” มันพูดอย่างนี้นะ มันพูดอย่างไรรู้ไหม “โอ๊ย ถ้าอาจารย์รู้จักผม ผมก็จะไปแล้ว แต่! แต่ขอเหล้าขวดหนึ่ง ขอไก่ตัวหนึ่ง” ต้องเอาให้มันนะ แหม มันกินใหญ่เลย กินเสร็จแล้วมันก็ไป พอมันไปแล้วก็ออกจากร่างไปเลย

สิ่งอย่างนี้ไสยศาสตร์ สิ่งที่เป็นความลึกลับซับซ้อนเรื่องจิตที่มันซ้อนกันอยู่ มันเยอะแยะไปหมดเลย แต่ แต่เรื่องอย่างนี้นะมันไม่ใช่เรื่องการชำระกิเลสไง มันมีอยู่จริงๆ พวกไสยศาสตร์พวกจิตวิญญาณ มันทับซ้อนกันอยู่ แต่ศาสนาเราตรงนี้ ทำไมพระพุทธเจ้าเทศน์สอนเทวดา อินทร์ พรหม ให้สิ้นกิเลสได้ล่ะ

จิตที่ไม่มีร่าง เทวดาฟังเทศน์พระพุทธเจ้ายังเป็นพระอรหันต์ได้ แต่มันก็ต้องเป็นบารมีของพระพุทธเจ้าใช่ไหม อย่างบารมีของครูบาอาจารย์เราหลวงปู่มั่นเห็นไหม เทวดามาฟังเทศน์ตลอด

ทีนี้พูดอย่างนี้คำว่าอายตนะ อายตนะมัน พระพุทธเจ้ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าก็รู้อย่างนี้ รู้หมด แต่ไม่ได้บัญญัติมาเป็นศัพท์ที่เรามาคุยกันว่าอายตนะ ขันธ์ ๕ แต่พระพุทธเจ้าบัญญัติ บัญญัติหมายถึงว่าพระพุทธเจ้าเข้าใจเรื่องโครงสร้างของร่างกายเราหมด

เรื่องโครงสร้างของร่างกายกับจิตใจที่มันซ้อนกันอยู่ ทีนี้ท่านอธิบายออกไปทางวิชาการ ให้เป็นการศึกษา ศึกษาให้เข้าใจไง ศึกษามาแล้วมันต้องปฏิบัติให้เห็นจริงด้วย และอายตนะอย่างที่พูดเพราะคำพูดอย่างนี้ถ้าศึกษาอย่างนี้ ในพระไตรปิฎกมี

พระนี่นะ ศึกษาแล้วยังไม่รอบรู้ เช้าก็ออกบิณฑบาตไปเจอพวกเดียรถีย์ไง แล้วไปพูดกับเดียรถีย์ เดียรถีย์เขาไม่เชื่อเรื่องนี้ เวทนา ๒ เวทนานี่ พอกลับมา พระพุทธเจ้าบอกโมฆะบุรุษ ถ้าไม่รู้อย่าไปเถียงกับเขาเสียหน้าไง ทีนี้คำว่าอายตนะ ถ้ามันเราเข้าใจใช่ไหม แต่ไปพูดกับพวกเดียรถีย์ อายตนะภายนอก ๖ อายตนะภายใน ๖

อายตนะภายในอย่างที่ว่าถ้ามีใจ ใจรับรู้ไง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอกก็เรื่องของความสัมผัส จากลิ้น หู สัมผัส แต่จิตมันไม่มีมันสัมผัสได้ อายตนะภายนอกอายตนะภายใน ไอ้อย่างนี้ต้องไปชนกับอภิธรรม อภิธรรมจะบอกเลย อย่างนั้นๆ ทีนี้จะบอกว่าของอย่างนี้ทางทฤษฎีพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้เยอะมาก แล้วเราไปพูดจุดใดจุดหนึ่งล้มเลย

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : จริง

โยม : อายตนะ ๕

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ใจมันกลัว ตัวรู้ ใจของพระอรหันต์อย่างนี้รู้ได้เลย อย่างผีเข้า อย่างนี้รู้ได้อย่างไร โดยไม่ต้องใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย....(เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ใช่ พูดถึงประสาเราจะบอกถ้าคนรู้จริง มันก็เหมือนกับพวกหมอ รู้จริงเรื่องโรคภัยไข้เจ็บมันจะรู้ได้หมด แต่สำหรับเราไม่ใช่หมอ เราก็จำมา เรารู้ได้เป็นบางโรค ใช่ไหม ทีนี้เราจะเทียบกับอายตนะนี่ไง ถ้าเรายึดแต่อายตนะภายนอกใช่ไหม อายตนะต้องมี ๖ มันก็จริง จริง แต่มันมีขั้นละเอียดกว่านี้ไปอีกไง มันมี ๑๖ มันมี ๘ มี ๑๖ มี ๒๔ มีร้อยแปดเลย

ทีนี้มีร้อยแปด มันกระบวนการของจิตที่มันทำงานไง ทีนี้ถ้าเราไปพูดอันใดอันหนึ่งล็อกตายตัว ไอ้คนที่สังเกตได้คนที่ภาวนาไม่เป็นมันเป็นอย่างนี้ไง มันเป็นอย่างนี้พอพูดถึงสูตร ตายตัว ถึงสูตร พอเขาขยับปั๊บผิดละ แต่ถ้าพูดเป็นความจริงนะ อ้าวสูตร ใช่ ข้างนอกข้างในล่ะ ขยายความได้ คือมันจะเกี่ยวเนื่องกันไป มันจะหยาบละเอียดกันไปมันจะไม่ขัดแย้งกัน มันจะรู้เรื่องไปเรื่อยๆ อธิบายได้ถูกแล้วเราจะไม่ติดขัด

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ใช่ ใช่ ใช่ มันมี มันมีอะไรนะ มีผลโต้กลับมีสวน มีแบบว่ามีทั้งขาขึ้นและขาล่องไง ศีล เวลามันรองรับ รองรับภพ รองรับถึง อย่างเช่น อย่างเช่นพวกเรา เราปฏิบัติ ศีล ๕ เป็นพระโสดาบันได้แล้ว พอแล้ว ศีลรองรับพอแล้ว ปุถุชนเป็นพระโสดาบันได้

แต่นี้มีแนวกลับ แนวกลับหมายถึงว่าถ้าเป็นพระล่ะ เป็นพระน่ะ เป็นพระมีศีล ๒๒๗ ฉะนั้นพระถ้าปฏิบัติแล้วพระต้องมีทางกว้างขวางสะดวกกว่า จริงไหม เพราะศีลถ้าศีลเราน้อยการระวังมันน้อยกว่า คือจะบอกว่าโอกาสที่มันจะปฏิบัติได้ง่ายได้ยากไง แต่ถ้าพูดถึงผลมันน่ะ ผลของมันน่ะ ใช่

ทีนี้ถ้าพูดถึงมันประสาเราโอกาสที่เรามีมันกว้างขวางกว่า มันต้องดีกว่าคนที่โอกาสน้อยกว่าเป็นธรรมดา ฉะนั้น ไอ้อย่างที่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วต้องมันเป็นบังเอิญที่พระพาหิยะที่โดนควายขวิดตายมันเป็นบุญเป็นกรรมของเขา ในปุถุชนมีพระอรหันต์นะ พระสุทโทธนะที่เป็นฆราวาส แล้วอย่างของเรา อย่างของเราจะว่าเป็นฆราวาสไหม เห็นไหมแม่ชีแก้ว แม่ชีแก้วเป็นพระอรหันต์เด็ดขาด

โยม : ส้ม เปลือกส้ม สติคือตัวไหน (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : เยอะแยะ พระอรหันต์กับปุถุชน ส้มกับเปลือกส้มมันเป็นอาการของ เขาเรียกอะไรนะ กิริยาคือกิริยาของจิต การทำงานของมัน การทำงานกระบวนการของความคิดที่เวลาเราจะพูดกับพวกนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ความคิดหรือสิ่งต่างๆ เกิดจากสมอง เพราะอะไร เพราะเขาพวกหมอเขาใช้เขารักษาคนไข้ใช่ไหม

สมองข้างซ้ายควบคุมประสาทข้างขวา สมองข้างขวาควบคุมประสาทข้างซ้าย การตอบสัมผัสของร่างกายใช่ไหม ชีพจรมันจะจับเห็นไหม คนเป็นคนตาย เขายิ่งศึกษาเข้าไปยิ่งมั่นใจใหญ่เลยว่าทุกอย่างกระบวนการควบคุมมันต้องอยู่ที่สมอง

ทีนี้ปฏิบัติไป ถ้าเป็นสมองแล้วปฏิบัติไปแล้วถ้าสมองมันตายล่ะ พวกเจ้าหญิงนิทราล่ะ พวกที่นิทรานอนอยู่นั่นน่ะมันตายหรือยัง ทีนี้พอถ้าอย่างนั้นปั๊บพอประสาเรา มันก็กลับมาที่จิตแล้ว ถ้ากลับมาที่จิต จิตมันทำงานอย่างไร นี่กระบวนการของมันใช่ไหม กระบวนการของมันที่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติมันจะเห็นกระบวนการของมัน

เห็นกระบวนการของมันแล้วแยกแยะกระบวนการของมัน พอแยกแยะขึ้นมามันก็เหมือนเราซักเสื้อผ้า เสื้อผ้านี่มันสกปรกใช่ไหม ถ้าเราไปซักเสื้อผ้าแล้วผ้าสะอาดขึ้นมา

พระอรหันต์ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ที่สะอาด ความคิดของพระอรหันต์สะอาด เพราะความคิดไม่มีอวิชชาไม่มีมารมันจะสกปรกได้อย่างไร แต่ความคิดของเรา ที่เสื้อผ้าที่สกปรก สกปรกออกจากความคิด ความคิดคือความคิดที่มันออกมาเป็นขันธมาร นี่ขันธมารไง พอขันธมารมันสกปรกมาจากไหน สกปรกมาจากอวิชชา สกปรกจากอวิชชาใช่ไหม ทีนี้คำถามจะตอบว่าสติอยู่ที่ไหน

ทีนี้ไอ้ที่ว่าส้ม-เปลือกส้ม มันเป็นรูปธรรมที่จะเห็นว่าจิตมันมีเป็นอย่างนี้ไง ความคิดของเราที่ว่าเราละเอียดๆ มันเป็นความคิดมันต้องมีที่มาที่ไป ทีนี้ที่มาที่ไปของความคิดมันก็เกิดจากตัวจิต ตัวจิตไม่ใช่ความคิด นอนหลับอยู่หรือไม่ได้คิดอะไรเลยจิตมันอยู่ไหน เวลาคิดขึ้นมาทำไมมีความคิดขึ้นมา

ทีนี้พอเราพอความคิดทำให้คนบริหารจัดการต้องแบกต้องเบียดต้องใช้ความคิดหมด นี่การบริหารจัดการทางโลกต้องใช้ความคิดหมด นี่เราจะบริหารจัดการเรื่องกิเลส แล้วไม่ใช่ความคิดจะใช้อะไร นี่ความคิด ความคิดโดยธรรมชาติมันบริหารจัดการทางโลกได้ แต่มันบริหารจัดการกิเลสไม่ได้

เพราะ! เพราะกิเลสเป็นคนคิด เพราะกิเลสเป็นคนคิดมันจะให้บริหารมันไหม มันจะให้จัดการมันไหม เราถึงต้องทำความสงบเข้ามาก่อนไง เพื่อไม่ให้กิเลสมีกำลังที่จะเป็นเจ้าของความคิด มันถึงต้องตั้งสติเห็นไหม

สติไม่ใช่ทั้งส้ม ไม่ใช่ทั้งเปลือกส้ม สติก็เป็นสติไง จิตก็เป็นจิตไง ขันธ์ก็เป็นขันธ์ไง ทีนี้สติสติมันเป็นมรรคเห็นไหม มหาสติ สติเห็นไหม มรรค ๘ มีสติ ทีนี้สติเราเกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติปุถุชนมีสติ ถ้าไม่มีสติเป็นคนบ้า แต่เป็นสติเป็นสมาธิของปุถุชน ทีนี้พอตั้งสติขึ้น สติมหาสติ สติไม่ใช่จิตมันเกิดจากจิต สติเป็นการระลึกรู้

เราตั้งใจขึ้นมานี่สติ ทุกคนตั้งใจ พอตั้งใจอยู่พักๆ หนึ่ง ไม่คิดเรื่องอื่น ความตั้งใจก็น้อยลง สติเกิดจากการระลึกรู้คือตั้งใจขึ้นมา นี่ไงธรรมะที่มันมา ธรรมะจะมีมามันมาจากสัจธรรมพระพุทธเจ้า แต่มันยังไม่มีในเรา ไม่มีในเรา

ถ้าสติของพระอรหันต์ โดยความสามัญสำนึกเราขยับตัวเราต้องรู้สึกตัวใช่ไหม จิตมันเป็นธรรมธาตุ แล้วเวลามันจะคิดออกไปมันต้องขยับตัว จริงไหม ถ้าไม่ขยับตัวมันจะเสวยอารมณ์ได้อย่างไร มันจะส่งพลังงานนี้ออกไปที่ความคิดได้อย่างไร

ความคิดมันไม่มีฐานไม่มีตัวคิดมันจะคิดได้อย่างไร พอขยับตัวสติมันพร้อม ฉะนั้นพระอรหันต์ถึงสติเป็นอัตโนมัติไง สติ หลวงตาพูดอย่างนี้ ท่านบอกเห็นไหม ดูร่างกายสิ เดินไปจะหกล้มก้มกราบนะ ท่านพูด ร่างกายนี่จะหกล้มก้มกราบนะ แต่ใจไม่เป็น ใจไม่เป็น ใจสว่างไสว สติพร้อมไง สติความรู้สึกพร้อมกันหมดเลย

แต่ร่างกายมันจะหกล้มก้มกราบมันไปไม่ไหว เพราะมันเสื่อมสภาพ ร่างกายคนมันเสื่อมสภาพเป็นธรรมดา แต่ธรรมธาตุไม่เป็นอย่างนั้น แต่มันอาศัยร่างกายนี้อยู่มันแสดงออกไม่ได้ เพราะว่าเครื่องแสดงเครื่องที่จะใช้มันไม่ไหว มันไปไม่ได้

เวลาท่านมาฉันเสร็จ เขาต้องพยุงขึ้นไปนั่งบนรถนะ พอนั่งบนรถกอล์ฟนะนั่งยิ้มคือไม่ได้ใช้ร่างกายแล้ว หัวใจมันผ่องใสไง สังเกตได้เวลาจะกลับเราดูทีวีทุกวัน เวลาจะส่งเข้ากลับกุฏิ ต้องพยุงขึ้นไปนั่งบนรถนะ ไปไม่ได้เลยนะพอนั่งบนเบาะปั๊บ ยิ้มแป้นเลย เพราะมันไม่ได้ใช้ร่างกายแล้ว หัวใจนี่สุดยอด แต่ร่างกายมันไปไม่ได้ เวลาขึ้นรถกอล์ฟแล้วเห็นไหม ยิ้มแฉ่งเลย แต่เวลาเดินเดินไม่ได้นะ ต้องพยุงที ๔-๕ คนนะ มันคนละเรื่องกัน

นี่มันถึง ถ้ามันสติมันพร้อมหมด แต่ท่านบอกว่าท่านเผลอ ท่านนั่น เผลอสังขารความคิดความปรุงความแต่งไม่ใช่จิต ไม่ใช่ธรรมธาตุ ตัวธรรมธาตุไม่เคยเผลอ แต่มันไม่ออกทำงาน ท่านจะบอกว่า ดึงมันก็ไม่ออก ถ้ามันไม่ทำงานก็ตัวสัจจะความจริงมันอยู่ของมัน นิพพานอยู่มีความสุขจะออกไปทำไม

แต่! แต่หน้าที่เพราะว่าญาติโยมเขามา จะต้องให้พรเขา โดยประเพณีก็ต้องออกไปให้พร มันออกไปนี่ไงมันเผลอตรงนี้ไง ความคิด มันต้องไปอาศัย ท่านบอกเลยว่าเวลาจะคิดเหมือนแบกหามท่อนซุงความคิด ความคิด ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต

เวลาเราแบกหามมันจะหนักมาก เวลาจะคิดนี่เหมือนเราต้องไปแบกหามซุงขึ้นมา แล้วเอ็งไปหามันไหม ทีนี้บางทีมันก็ไม่อยากไปมันเผลอ ใช่ไหม ก็จับผิดจับถูกไง หามท่อนผิดไง ก็เลยให้พรผิดไง เขาว่าพระอรหันต์ แต่มันต้องสัจจะมันต้องใคร่ครวญเข้ามานะ

ทำตรงนั้นเข้ามาแล้วมันจะเห็นพระโสดาบันจะรู้ได้ระดับไหน สกิทารู้ได้ระดับไหน อนาคารู้ได้ระดับไหน พระอรหันต์รู้ได้ระดับไหน ถ้ายังไม่เป็นพระอรหันต์นะ พูดเรื่องจิตผิดหมด มันพูดได้แค่พระอนาคา อนาคาละขันธ์ ๕ ขันธ์อย่างละเอียดแต่ตัวจิตผ่องใสมันยังไม่รู้จักและมันยังละไม่ได้

เวลาหลวงตาไปพูดกับหลวงปู่บัว “อ้าว ว่ามา ๑ ๒ ๓ อ้าว ว่ามาสิ” “จบแล้ว” “ว่ามา ว่ามา” มันไปไม่ถึงที่สุด ถ้าถึงที่สุดแล้วมันจะรู้ตรงนี้ รู้ รู้ที่ว่าจิต ตัวธรรมธาตุ ตัวนิพพานมันเป็นอย่างไร แล้วนิพพานมีไม่มีนะ

โธ่ เวลาเป็นนะสมมุติว่าไม่มีเลยนะ เฮ้ย ไม่มี แล้วไม่มีใครพูด แล้วรู้ได้ยังไง ไหนว่านิพพานไม่มี แล้วพวกมึงว่าไม่มี ก็มึงว่าไม่มีแล้วมึงนั่งอยู่นี่แล้วมึงว่าไม่มีได้อย่างไร อ้าว แล้วถ้ามึงมีแล้วทำไมมึงไม่ไปยุ่งกับเขา อ้าว ก็กูยุ่งไม่ได้เพราะมันไม่ใช่ นี่ถึงบอกว่าใช่ เวลาพอบอกพระอรหันต์นี่ สติเป็นอัตโนมัติ ตอนฝึกนี่สติต้องสร้างขึ้นมา

คำว่าอัตโนมัติหมายถึงตัวมันเอง มโนสัญเจตนาหาร มโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ มโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ เพราะมันทิ้งมโนมาแล้วมันทิ้งภพเข้ามาแล้ว มันทิ้งตัวใจเข้ามาแล้ว อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ ตัวจิตเป็นตัวนิพพานไปแล้ว ตัวจิตตัวมโม ถ้ามโนตัวใจ ได้ทำลายตัวมันเองแล้ว มันไม่มีอะไรแล้ว

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : คำว่าถ้าพูดอย่างนี้นะ ถ้าตอบทางวิชาการผิด เพราะสติเป็นสมมุติ ใช่ สติเป็นสมมุติ เปล่า เราจะบอกว่ามันผิดตรงนี้ไง มันตอบผิด ถ้าตอบผิดทางวิชาการมันผิดตรงนี้ ถ้าสติเป็นสมมุติ สิ่งที่สมมุติมันจะเข้าไปอยู่ในนิพพานได้อย่างไร สิ่งที่เป็นสมมุติจะเข้าไปอยู่ในวิมุตติได้อย่างไร ถ้ามีสมมุติเข้าไปอยู่ในวิมุตติมันก็ไม่ใช่นิพพานน่ะสิ

โยม : เพราะว่านักวิชาการส่วนมาก...เขาพูดอยู่ว่า

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : อ่า อย่างสมมุติว่า พระอรหันต์ต้องไม่อยาก เขาบอกไม่อยากทุกอย่างเลย

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ไม่ใช่ๆ ....ไม่อยากท่านอาจารย์ ใช้ความอยากจะนิพพาน ก็เป็นกิเลสตัวหนึ่ง ไม่ใช่ มันคนละเรื่องกันเลย มันเป็นของด็อกเตอร์อะไรก็ไม่รู้

หลวงพ่อ : ผิดหมด คำว่าผิดหมด เราถึงบอกว่าเรื่องนี้นะ มันเรื่องของมุมมอง เพราะเราดูย้อนกลับไปตั้งแต่เขาแปลบาลีกันเลย หรือใครที่บอกว่าในสังคมไทย แปลบาลีผิดมาก็เลยผิดแบบตกกระไดพลอยโจน เช่น คำว่าอากาศ อะไรนะ ดิน น้ำ ลม ไฟ ใช่ไหม

คำว่าอากาศ คำว่าอากาศไม่ใช่อากาศ ดินน้ำลมไฟ ลมคือลม อากาศ คืออวกาศ นี่พอตีคำอากาศว่าผิด เพราะอะไรรู้ไหม เพราะในธาตุ ๖ ธาตุ ๔ แล้วก็ธาตุ ๖ ธาตุ ๖ มันมีธาตุรู้กับอากาศธาตุ อากาศธาตุคืออากาศในโพรงกระดูก

ทางนักวิชาการเขาบอกว่าเถรวาทในสังคมไทยตีความหมายผิด พอผิดปั๊บ สอนกันมาผิดๆ สังคมก็ยึดผิดมาแล้ว ก็จึงมากลับอีกไม่ได้ ก็เลยตีว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ ลมคืออากาศ ออกซิเจนเขาไม่ถือว่าอากาศ อากาศเขาถือว่าอวกาศ

โยม : เป็นความว่าง

หลวงพ่อ : ใช่ เพราะมันตีความผิด แล้วนี่เราจะย้อนกลับมาตรงนี้ไง ทางนักวิชาการตรงนี้เขาบอกว่าทางวิชาการที่เขาศึกษากันละเอียดแล้วนะ เขาจะรู้ว่าศัพท์ที่ใช้ในสังคมเถรวาทมันบัญญัติมาผิด คือแปลมาผิด แต่ศึกษามาจนสังคมยอมรับกันไปแล้ว แต่นี้คำว่าอยากนี้ไง คำว่าอยากนี่โดยตามสามัญสำนึกนี่อยากนี้คือตัณหา ทุกคนว่าผิดหมด

ทีนี้หลวงตาท่านบอกอยากเป็นมรรค เราถึงมองตรงนี้ไง มองว่าหลวงตาท่านใช้ชีวิตท่านทั้งชีวิตเลยต่อต้านคำนี้ จนเดี๋ยวนี้ทางวิชาการเขาบอกว่าอยากที่เป็นกามฉันท์ ความพอใจ ความพอใจ เมื่อก่อนเขาก็ถือว่าเป็นความอยาก เขาบอกกามฉันท์นี้ไม่ใช่อยากมันเป็นมรรค ทางนักวิชาการเขาเริ่มจะวิเคราะห์ เริ่มจะมีการโน้มเอียงมา

โน้มเอียงว่าถ้าอยากทั้งหมดเป็นกิเลสทั้งหมด ไม่ใช่! อยากในตัณหาความทะยานอยาก อยากนั้นคือกิเลส อยาก อยากพ้นทุกข์อยากจะไปนิพพานไม่ใช่กิเลส เป็นมรรคเป็นเป้าหมาย ถ้าไม่มีเป้าหมายอย่างนั้น อย่างที่เราพูดตอนเช้า ยุทธศาสตร์ ถ้าไม่มียุทธศาสตร์ไม่มีเป้าหมาย

บารมี ๑๐ ทัศ อธิฐานบารมี พระโพธิสัตว์จะเกิดได้อย่างไร พระโพธิสัตว์เกิดได้อย่างไร พระโพธิสัตว์ต้องตั้งเป้าหมายใช่ไหม แล้ว ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ต้องมีความอยากนำไหม ไม่มีไม่ได้ใช่ไหม แล้วมันเป็นผลลบตรงไหน

นี่ตรงนี้เราดูอยู่ เราดูอยู่เพราะอะไร เพราะคำพูดของหลวงตา อยากที่เป็นมรรค เมื่อก่อนฟังใหม่ๆ ขัดหูนะ สังคมไทยฟังแล้วแปร่งๆ เพราะอะไร เพราะสังคมไทยตีความกันมาว่า อยากเป็นกิเลส แต่เพราะไม่มีใครรู้จริงไง เพราะต่างคนสังคมตาบอดกันหมด พอสังคมตาบอดกันหมด สังคมก็เชื่อตามๆ กันมานี่เป็นพุทธพจน์นะห้ามเถียง มันจะเป็นกรรม เป็นพุทธพจน์ แล้วก็ตีความกัน อ้างพระพุทธเจ้าไง บีบคอให้พวกมึงเชื่อแล้วก็เชื่อตามๆ กันมา

แต่พอมีผู้รู้จริงขึ้นมา เพราะเราฟังหลวงตาพูดบ่อย หลวงตาท่านพูดถึงหลวงปู่มั่น ว่าหลวงปู่มั่นท่านจะเอาแต่พระ ถ้าโยมมาท่านจะเทศน์เป็นครั้งคราว อย่างเทศน์ที่วัดเจดีย์หลวงเห็นไหม เทศน์เป็นงานเป็นการท่านก็เทศน์อยู่ แต่เวลาอยู่วัด เวลามีญาติโยมมา หลวงปู่มั่นบอกว่าให้หลวงตาเป็นคนรับแขกนะ

เวลาโยมมานะท่านบอกว่ามหารับเถอะ มันประสาเรานะมองในแง่มุมของพระอรหันต์ มองในแง่มุมของธรรมะ โทษนะ พวกนี้จะรู้ได้อย่างไร พวกนี้มาเอาอะไรกัน ก็มาวิ่งเล่นไง พวกนี้มาก็มาวิ่งเล่นวัดสนุกๆ เท่านั้นล่ะ ไปพูดธรรมะอะไรกัน มันเสียเวลาคนพูด ท่านก็ลุกหนี ท่านลุกหนีเลยนะ เพราะมันประสาเรานี่โลกจะรู้ได้อย่างไร โลกจะเข้าใจอะไรกัน

ฉะนั้นพอโยมมา ถ้าโยมมาถามท่านนะท่านลุกหนีเลย แล้วพูดกับหลวงตา หลวงตาเล่าให้ฟังเอง บอกมหาจัดการซะ เพราะมหามีวุฒิมหาไง คุยกับโยมเข้าใจง่าย มหาจัดการเลย ท่านลุกหนีเลยนะ

แล้วเวลาหลวงปู่ขาว มาใหม่ๆ เรายึดคตินี้ พูดให้พวกนี้ฟังบ่อยๆ หลวงปู่ขาวพูดเอง เพราะหลวงปู่ขาวพอรถบัสเข้ามา อยู่ที่ถ้ำกลองเพล ท่านจะหนีขึ้นไปบนเขาเลย พอรถกลับแล้วท่านถึงลงมา เข้าไปถามว่าทำไมหลวงปู่ทำอย่างนั้นล่ะ ให้มันมาสักสองแสนคนนะ สอนมันสองแสนคน มันจะรู้สัก ๒ คนไหม สองแสนคนสอนไปเลยนะ เทศน์ไปเลยทุกวันๆ สองแสนคนจะรู้ได้สัก ๒ คนไหม

จะบอกว่าคนที่ผ่านวิกฤติ คนที่ภาวนามามันยากจริงๆ นะ มันสุดฤทธิ์สุดเดชพวกเราเลยล่ะ แล้วอย่างพวกเราพอศึกษาแล้วใช่ไหม ทุกคนพออยากได้อยากเป็นใช่ไหม ก็คิดแบบทำงานแบบบริษัทนะ สร้างบริษัททำมาหากินนี่ไง ยังมีโอกาสได้รวยนะ ปฏิบัตินี่มันยากกว่านั้นหลายเท่า หลายเท่า ถ้าคนปฏิบัติแล้วมันจะรู้ตรงนั้น

นี่ย้อนกลับมาตรงนี้ไง ตรงที่หลวงปู่มั่น ชีวิตท่านทั้งชีวิตเลยท่านเอาพระ แล้วเราเห็น เราเห็นท่านคิดของท่านนะ คือนโยบายของท่าน ท่านจะเอาพระ เอาพระ เอาพระ แล้วจริงๆ แล้ว เราไปศึกษาประวัติของท่านนะ ท่านโดนไล่ โดนบังคับ โดนอะไรเพราะมันไม่มีใครเลย

อย่างที่หลวงตาท่านพูดท่านจะไม่พูดเรื่องนี้เลยนะ เรื่องแล้วแล้วกันไป ใครจะทำอย่างไรท่านจะพูดแต่เรื่องธรรมะ ใครทำอะไรแล้วกันไปท่านไม่ยุ่งเลย เพราะท่านทำของท่านอย่างนั้นอย่างเดียวเลย แล้วผลออกมาคือว่าลูกศิษย์ท่านเป็นพระอรหันต์เยอะมาก

เพราะท่านเอาเวลามาปลุกปั้นกับพระตลอด ปลุกปั้นกับคนที่มันมุมุ่งมั่นมา มันจะเอาจริงเอาจังของมันมา แล้วท่านก็มีของต้อนรับมุ่งมั่นกับมัน เอากับมัน ได้มา ๒๐-๓๐ องค์พระอรหันต์ แล้วก็มาเผยแผ่กัน มันเป็นหลักเป็นเกณฑ์ขึ้นมา

แล้วต่อมานี้ก็มาหลวงตา หลวงตาใหม่ๆ นะ โธ่ โยมนี่ไล่ออก! ไล่ออก! ไล่ออก! ไล่ออก! โยมนี่เข้าไม่ติดเลย เมื่อก่อนอยู่บ้านตาดใครเดินตามหลังไม่ได้เด็ดขาด ท่านไปไหนนี่ โอ้โฮ จะไม่มีใครเข้าไปใกล้ได้เลย อยู่คนเดียวตลอด แล้วพอมาถึงไทยช่วยไทย

เราพูดกับพวกโยมบ่อย พูดกับพระด้วยกันนะ พระที่คุ้นเคยกันนะ

เฮ้ย มึงเชื่อไหมว่าท่านจะทำอย่างนี้? คือชีวิตเมื่อก่อนท่านไม่เป็นอย่างนี้เลย

มึงเชื่อไหมว่าหลวงตาจะเป็นอย่างนี้?

แต่ทีนี้ถ้าพูดถึงถ้าคิดแบบท่านนะ ท่านก็ทำเพื่อพระมาเยอะแล้ว ถึงเวลาแล้ว ก็ถึงเวลาของโลก นี่ท่านออกมาโลกเยอะมาก นี่พูดถึงเวลาที่ว่าจิต สติ พวกสติกับจิตอะไรนี่มัน ถ้ารู้แล้วมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง มันรู้ได้ยากเราถึงพูดไง เราฝากพระไป พูดถึงที่ว่า อาจารย์สุดใจ ที่ท่านพูดธรรมบทในวิทยุ

อาหารของมนุษย์คือกวฬิงการาหาร อาหารคำข้าว วิญญาณาหาร อาหารของเทวดา แล้วผัสสาหาร เป็นอาหารของพรหม มโนสัญเจตนาหาร ก็อาหารของมนุษย์นี่แหละ คือเจตนา พูดกันง่ายๆ คือเขาไม่กล้าฟังธงว่า มโนสัญเจตนาหาร เพราะคำว่าอาหารนะ มนุษย์สัตว์โลกมันต้องมีอาหารกิน ไม่มีอาหารกินนี่นะ

ในพระไตรปิฎกนะ พระพุทธเจ้าบอกว่าเราเคยเกิดเป็นเทวดากินอาหารอย่างนี้ เกิดเป็นมนุษย์กินอาหารอย่างนี้ เกิดเป็นสัตว์กินอาหารอย่างนี้ คนเรามันต้องมีอาหารสืบต่อชีวิต ไม่มีอาหารสืบต่อชีวิต ชีวิตจะอยู่ไม่ได้ นี่โลก โลกนี่เขาจะใช้สิ่งที่เป็นอาหารสืบต่อชีวิต ชีวิตนี่สัมพันธ์กันมา

ทีนี้พระอรหันต์จะสืบต่อเข้ามาในวัฏฏะ สืบต่อเข้ามาในโลก มาในสังคม มโนสัญเจตนาหารไง มโนวิญฺ?าเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ มโน มโน ปุถุชนสัมผัสพระอรหันต์ไม่ได้ แต่คนที่สัมผัสพระอรหันต์คือจิตที่เข้าสมาธิ จิตที่เข้าสมาธิคือมโนคือตัวจิต แต่พระอรหันต์มันทำลายมโนไปแล้วทำลายตัวจิตไปแล้ว

ถ้าเป็นนิพพานมันจะสืบต่อกับสมาธินี้ไม่ได้ สืบต่อกับปุถุชนไม่ได้ ปุถุชนจิตเป็นสมาธิใช่ไหม จิตเราเป็นหนึ่งใช่ไหม จิตเป็นมโน จิตเราคือตัวจิต แล้วพระอรหันต์ไม่มี เพราะตัวจิตนี่ตัวภพ ทีนี้จะสืบต่อเข้ามาเห็นไหม มโนสัญเจตนาหาร ก็ตัวมโน ตัวใจสืบต่อกัน

คำว่าอาหาร อาหารคือคำข้าว ของกินใช่ไหม มโนสัญเจตนาหาร มโนไม่มีใช่ไหม เข้ามาชั่วคราวใช่ไหม เข้ามามโนสัญเจตนาหารมันก็เข้ามาถึงตัวมโนของเราได้ ถ้าไม่เข้ามามโนสัญเจตนาหารเอาอะไรมาสื่อความหมายกับผู้รู้ แต่เขาไม่กล้าฟันธง เวลาเขาพูดออกวิทยุเราฟังเราแปลกๆ อยู่

เราบอก อืม นี่ไงถ้าไม่รู้จริงมันไม่กล้ายัน มันไม่กล้ายันตามความเป็นจริง ฉะนั้นอย่างที่ว่า มันมีในตัวของมัน ที่ว่าสติ สติของพระอรหันต์น่ะ มันเป็นอัตโนมัติ คำว่าอัตโนมัติของมันคือว่ามันขยับมันรู้มันเอง โดยธรรมชาติโดยสามัญสำนึกคนขยับตัวต้องรู้ ต้องมีความรู้สึก จิตขยับมันต้องมีสติมาพร้อม

ฉะนั้นมันเป็นอัตโนมัติในอริยสัจ ในสัจจะความจริงอันนั้น แต่มันไม่ใช่อัตโนมัติกับสมมุติ พระอรหันต์หลงในอะไร หลงในสมมุติบัญญัติ ถนนตัดใหม่ขึ้นมาพระอรหันต์ไม่รู้หรอก เดินไม่ถูกหรอก สมมุติ สมมุติบัญญัติ มันเป็น..

“หลง” คำว่าหลงหมายถึงว่า มันผิดพลาดได้ พระอรหันต์ไม่หลงในอะไร ไม่หลงในอริยสัจ

ฉะนั้นพระอรหันต์พูดผิดได้ พูดผิดพูดถูกได้ มันเป็นสมมุติ แต่ในตัวใจของท่านไม่หลง หลงไม่ได้ ในใจของท่านนะ

แต่เวลาออกมานี่สมมุตินี่ไง สื่อไง เราเรียกต่างกัน เราเรียกอย่างหนึ่งเขาเรียกอย่างหนึ่ง อันเดียวกันแต่เรียกคนละชื่อ นี่สมมุติ หลงได้ เพราะมันสมมุติคนละสมมุติ ทีนี้คนมันไม่เข้าใจ คนไม่เข้าใจมันก็ต้องว่าอย่างนั้นกันไปหมด

เบื่อหรือยัง เบื่อแล้วใช่ไหม อยากกลับบ้านเต็มที่แล้วสิ เอวัง