ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ไม่ได้คือได้

๗ มี.ค. ๒๕๕๒

 

ไม่ได้คือได้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วตอนเขากลับ เขามาพูดอย่างนี้ สะเทือนใจมาก เขาบอกเลยนะเวลามาปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างพวกเราแล้วไม่ได้ผล พอไม่ได้ผลนะเขาไปทำทางอื่นดีกว่า คำนี้มันสะเทือนใจมาก คำว่าปฏิบัติไม่ได้ผล อะไรคือไม่ได้ผล แล้วถ้าจะได้ผล เราไปปฏิบัติ มันไปจับต้องได้ ไปรับรู้ได้ ไปรับความรู้สึก อันนั้นคืออะไร ของปลอมทั้งนั้น

เราปฏิบัติของเรา ถ้าเราปฏิบัติ เห็นไหม เราเริ่มปฏิบัติ จะทำอะไรก็แล้วแต่ จะกำหนดพุทโธก็แล้วแต่ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็แล้วแต่ ทำแล้วจิตมันสงบ ทำเพื่อความสงบ ทำเพื่อความสะดวกของใจใช่ไหม แล้วมันได้อะไร มันไม่ได้อะไรเลยถึงได้นะ แต่ถ้าได้ เห็นไหม เช่น เราทำแล้วเรารับรู้ว่าจิตเราได้จับต้องเหนือสิ่งใด

จับต้อง คำว่าจับต้องคืออะไร นิมิตใช่ไหม ความนิมิตความรู้สึก เราเห็น อันนั้นคืออะไร เวลาจิตสงบเข้ามานะ เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นเพราะอะไร เพราะมีสติ มีสติ เห็นไหม มีสติ มีสติกับความรู้สึก มีสติกับความรู้สึก มันตั้งมั่น มันมีหลักของมัน นี่คือได้ ได้คืออะไร ได้คือจิตมันเข้มแข็งขึ้น จิตมันดีขึ้น จากเรานี่ปกติเรานี่นะ จิตเรานี่นามธรรม

เด็ก เห็นไหม ดูความรู้สึกของเด็กสิ เราก็เหมือนกัน ความคิดมันเกิดดับ ความรู้สึกเราเกิดดับ ความรู้สึกเรามันแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา มันเหมือนเด็กๆ เลย แล้วเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา เห็นไหม ดูสิ มารยาทสังคม เรากล้าทำตัวแบบเด็กไหม เรากล้าทำตัวแบบเด็กไหม เด็กมันไร้เดียงสา มันทำตัวมันนี่ แล้วใครก็ไม่ถือสา เพราะเป็นเด็ก สังคมให้อภัย ถ้าเราไปทำตัวอย่างนั้นได้ไหม เราไปทำตัวอย่างนั้นไม่ได้ ไปทำตัวอย่างนั้น เป็นผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ไร้เดียงสาไม่ได้ ผู้ใหญ่ต้องมีวุฒิภาวะ

จิตที่มันมีความสงบไง จิตที่มันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน เห็นไหม มันถึงมีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน หลักเกณฑ์ตรงนี้เอามาจากไหน สิ่งนี้คือได้ แต่เราไม่เข้าใจกัน เราบอกว่าเราเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะ เราเป็นคนที่สงบเสงี่ยม เพราะเราไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าเราได้เฟอร์นิเจอร์นะ เราได้แก้วแหวนเงินทอง ได้สร้อยได้อะไรนะ เราว่าเราได้ ได้จริงหรือเปล่า

ได้ถอดออกทำไม ได้ถอดออกทำไม เวลาอาบน้ำเวลาเราไปทำความสะอาด ถอดออกทำไม จิตรับรู้เห็นไหม จิตส่งออก จิตส่งออก จิตไปรู้สิ่งใด เขาว่าเขาได้ไง ความไม่เข้าใจของเขา เขาบอกถ้าเขาปฏิบัติแล้วนะไม่ได้อะไรเลย ถ้าเขาไปรับรู้สิ่งใด เขาจะได้ของเขา สิ่งที่ได้มานั้นไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งที่ได้มาคือปล่อยวางทั้งหมด

การปล่อย เห็นไหม รู้แล้วไม่ปล่อยยังผิดเลย อย่างเช่น โยมมาวัดนี่โยมมาด้วยอะไร มารถ รถของใคร ของโยมใช่ไหม ถ้าโยมขังตัวอยู่ในรถ โยมจะขึ้นมาบนศาลานี้ได้ไหม ไม่ได้ เวลาเรารู้อะไร ถ้าไม่ปล่อย ก็เหมือนเราขังตัวเองอยู่ในรถ แล้วเราจะปล่อยตัวเองออกจากรถได้ไหม แต่รถมีความสำคัญไหม ถ้าไม่มีรถเราจะมาที่นี่ไม่ได้ใช่ไหม

แต่เรามาถึงนี่แล้ว เราต้องออกจากรถจริงไหม เป็นสมาธิ ศีล สมาธิ ปัญญา จิตมันทำขึ้นมา เห็นไหม มันทำขึ้นมา มันเป็นแสวงหาขึ้นมา สมาธิใครเป็นคนเป็น จิตเป็นสมาธิ ถ้าสมมุติจิตเป็นสมาธิ จิตกับสมาธิคนละอัน

ถ้าจิตคือพลังงานเฉยๆ สมาธิ เห็นไหม สมาธิคือสิ่งที่จิตมันเป็น อย่างที่ว่าสมาธิสมถะ สมถกรรมฐานคือสมาธิ สมาธิจิต จิตมันเป็นนามธรรม จิตที่มันธรรมชาติของมัน มันเคลื่อนไหวตลอดเวลา พอเป็นสมาธินี่มันหยุดนิ่งของมัน มันหยุดนิ่งของมันไม่เคลื่อนไหว โดยธรรมชาติของมัน ทุกสรรพสิ่ง เห็นไหม มันจะแปรสภาพ เพราะพลังงานมันจะไหวตัวมันตลอดเวลา มันเป็นอย่างนี้โดยธรรมชาติของมัน

แล้วพอมันเป็นสมาธิขึ้นมา เห็นไหม ถึงว่าสมาธิไม่ใช่จิต ถ้าจิตเป็นสมาธิโดยธรรมชาติ เราจะมีสมาธิกันตลอดเวลาเลย เพราะเรามีจิต เรามีชีวิตอยู่ ทำไมเราไม่เป็น เห็นไหม สมาธิถึงตั้งมั่น

ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาจะปรินิพพาน พระอนุรุทธะไง พระอุบาลีถามพระอนุรุทธะ

“พระพุทธเจ้าไม่ได้นิพพานแล้วเหรอ”

“ยัง พระพุทธเจ้ากำลังเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เข้าอากาสานัญจายตนะ หรือเข้าสมาบัติ”

สมาบัตินั้นคือสมาธิ แล้วจิตพระพุทธเจ้าไปเข้า เข้าสมาบัติอยู่ แล้วระหว่างปฐมฌาน รูปฌานนั้น ถึงพระพุทธเจ้านิพพานตอนนั้น อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าสมาธิเป็นจิต มันต้องมีอยู่กับเราตลอดเวลา มันไม่เป็น ไม่เป็นเราถึงต้องทำขึ้นมา ทีนี้พอทำขึ้นมา เราต้องมีสติ

ทีนี้สมาธิคืออะไร สิ่งที่เป็นนิมิตนะ จิตเป็นสมาธินะ มันถึงเห็นนิมิต จิตเป็นสมาธิ จิตถึงมีหลักมีเกณฑ์ จิตถึงจะออกรับรู้สิ่งต่างๆ สิ่งที่ออกรับรู้ไม่ใช่สมาธินะ แล้วบอกว่าไม่ได้ๆ ถ้าเราตั้งสติของเรา แล้วเราใช้คำบริกรรมของเรา มันมีเหตุมีผล นี่ไง เหตุปัจจัย ถ้ามีเหตุมีปัจจัยเห็นไหม มันจะทำให้จิตเราเป็นไปได้

แต่ถ้าเราไม่มีเหตุปัจจัย ทีนี้พอเราเหตุปัจจัย ตรงนี้สำคัญมากเลย เวลาเราจะทำขึ้นมา เห็นไหม ดูสิ เวลาพระป่า มีคนเขาพูดมากนะว่า “พระป่านี่อัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้ลำบากเปล่า” ทำตนให้ลำบากเปล่า พระไปวิเวกกลับมาก็มาเล่าให้เราฟังเหมือนกัน บอกเขาไปธุดงค์ แล้วพระก็บอก “ทำไมต้องทำขนาดนั้น เขาไม่เห็นต้องทำขนาดนั้นเลย”

เราบอก เห็นไหม เขาคิดไม่ถึงไง คนเราไม่มีครูบาอาจารย์นะ ไม่มีผู้ชี้นำนะ คิดไม่ถึงนะ เหมือนนักกีฬาเลย นักกีฬาไม่มีการฝึกซ้อม นักกีฬาคนนั้นมันจะรักษาตำแหน่งของเขาได้ไหม พระเรา เห็นไหม อย่างว่า ข้อวัตรนี่ ถ้ามีข้อวัตรนะ พระมีข้อวัตร พระปฏิบัติ การกระทำของเรามันเหมือนกับ ข้อวัตรมันเหมือนกับเราฝึกซ้อมตลอดไป รักษาจิตไว้ตลอดเวลา

ถ้าเรารักษาจิตเราได้ เห็นไหม เวลามีอะไรกระทบเราก็ควบคุมได้ง่าย ถ้าเราไม่รักษาจิตเรา เราปล่อยตามสบาย นักกีฬาคนไหนบ้างที่มันอยากซ้อม นักกีฬาคนไหนก็อยากลงแข่งขันทั้งนั้นแต่ขี้เกียจซ้อม เวลาปกติ จิตมันไม่เป็นสมาธิ จิตมันไม่เกิดปัญญาขึ้นมา เราก็ใช้ดำรงชีวิตประจำวันเรานี่ไง เครื่องอยู่ไง

ทีนี้ถ้าเครื่องอยู่ เราเห็นคุณค่าของมัน เราเห็นตรงนี้ไง เห็นว่าเราบังคับจิตเรา บังคับความรู้สึกเราให้อยู่กับหลักเกณฑ์รักษาจิตเราให้อยู่กับหลักเกณฑ์ เราทำสิ่งใดขึ้นมา ถ้าคนมีหลักมีเกณฑ์ อะไรกระทบมันก็รักษาง่าย มันแบบว่า เหมือนคนเรามันเห็นภัย เห็นภัยมันรักษาใจของตัว แต่เวลาเรา ถ้าเห็นผลอย่างนี้นะ เห็นผลว่านี่มันเป็นการฝึกจิต มันเป็นการรักษาจิตเราไว้

แต่ถ้าเราไม่คิดว่าเราจะรักษาจิตเราไว้ เราคิดว่าการทำอย่างนั้นมันเป็นการลำบาก เขาถึงมองว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค แต่สำหรับการประพฤติปฏิบัติเราไม่ใช่ ไม่ใช่อัตตกิลมถานุโยค ถ้าเป็นอัตตกิลมถานุโยค พระพุทธเจ้าเป็นคนบัญญัติไว้เอง

พระพุทธเจ้านี่เป็นเจ้าของมัชฌิมาปฏิปทานะ มัชฌิมาปฏิปทานี่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่แสวงหาได้เอง พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้เอง พระพุทธเจ้าวางหลักการนี้ไว้เอง แล้วผู้ที่เป็นเจ้าทฤษฎีมัชฌิมาปฏิปทานี่จะบัญญัติสิ่งที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค เป็นไปได้อย่างไร

อัตตกิลมถานุโยคคือความทำตนให้ลำบากเปล่า คือแบบว่าสมัยพุทธกาลที่เขาไปทำทุกรกิริยา อย่างนั้นน่ะอัตตกิลมถานุโยค เพราะอะไร เพราะมันทำไปแล้วมันไม่มีเหตุผลรองรับ แต่มัชฌิมาปฏิปทานี่ เห็นไหม ดูสิ ศีล ๒๒๗ ยังมีธุดงควัตร มันก็อยู่ที่จริตนิสัยของคนไง ว่าจริตนิสัยของคนมันต้องเข้มงวดขนาดไหน บางคนไม่ต้องเข้มงวดขนาดนั้นก็ได้ ทำตัวพอประมาณ มันก็ได้ประโยชน์ใช่ไหม แต่บางคนทำไม่ได้

ปฏิบัติเยอะมากที่มาหาเรา บางคนทำอย่างนั้นไม่ได้เลย ต้องทำอย่างบอก ถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ก็ให้ทำอย่างอื่น พระพุทธเจ้านี่ฉลาดมากนะ พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง ให้จริตนิสัย พระพุทธเจ้านี่เหมือนหมอใหญ่เลย คนที่เขามาโรงพยาบาลเขาไม่เป็นโรค โรคเดียวหรอก คนที่เข้ามาโรงพยาบาล โรคมันหลากหลาย คนเป็นโรคแตกต่างหลากหลายไปหมดเลย

แล้วถึงเป็นโรคเดียวกันนะ ก็ภูมิคุ้มกันของร่างกาย มันเหมือนกันไม่เหมือนกัน เป็นโรคเดียวกันยังรักษายากรักษาง่ายอีกหลากหลายมาก โรคจิตมากกว่านั้นอีก โรคกิเลสมันมีความหลากหลายมากกว่านั้นอีกเยอะแยะเลย แล้วพระพุทธเจ้าจะบัญญัติไว้ช่องทางเดียวให้เป็นการรักษา มันเป็นไปไม่ได้

ฉะนั้นเวลาเรากำหนดพุทโธ พุทธานุสติ ถ้ากำหนดพุทโธๆๆๆ อันนี้มันเป็นโดยพื้นฐานไง ใครเข้ามาโรงพยาบาล เห็นไหม ก็ต้องวัดความดันแล้ว ต้องวัดความดัน นี่ก็เหมือนกัน เข้ามาก็ต้องพุทโธก่อน อ้าว! ถ้าพุทโธทำได้นะ วัดความดันแล้วความดันดีทุกอย่างมันก็ดีไปเลย ถ้าไม่ดี อ่า ไม่ดีทำไม่ได้ ไม่ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ มรณานุสติก็ได้ มันมีทางออกเยอะแยะไปหมดเลย พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง เห็นไหม

ทีนี้พอมัน กรรมฐาน ๔๐ ห้อง มันอยู่ที่จริต อยู่ที่นิสัย อยู่ที่ภูมิคุ้มกันของเรา อยู่ที่สติไง บางคน เห็นไหม สติสั้น สติยาว บางคนมีไม่เท่ากัน เริ่มต้นทำ ถ้าเราตั้งใจทำตรงนี้ เราเห็นผลตรงนี้ เห็นไหม แล้วเริ่มปฏิบัติตรงนี้ มันก็จะทำให้จิตสงบเข้ามา แล้วพอจะไปทำเข้าไปนี่ ทุกคนจะบอกว่า “ลำบากๆ ทำแล้วเห็นไหม ไม่ได้อะไรเลย”

คำที่ว่า “เอ็งไม่ได้อะไรเลยน่ะ ได้แล้ว ได้ตรงที่เอ็งมีวุฒิภาวะ เอ็งมีความเข้าใจในชีวิต เอ็งเห็นคุณค่าของชีวิต” เพราะเอ็งเห็นคุณค่าชีวิต เอ็งถึงมาปฏิบัติกันใช่ไหม แต่ถ้าบอกว่าปฏิบัติแล้วต้องเห็นนู่นเห็นนี่เห็นนั่น นั้นคือไม่ได้ นั้นคือไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร พยับแดด เอ็งมองไปที่ถนนสิ เวลาแดดกล้าๆ เอ็งเห็นพยับแดดไหม เป็นควันขึ้นมาเลย

จิตเห็นมันเป็นนามธรรมหมด แล้วสิ่งที่ไปรู้ไปเห็น ที่ไปจับต้อง เอ็งว่าได้ ได้อะไร ได้พยับแดด เห็นไหม มันมีตัวตนไหม เราอยู่ไกลๆ เรามองเห็น มีนะ เข้าไปใกล้ๆ ไม่เห็นมีอะไรเลย จิตที่มันส่งออกที่มันรับรู้ สิ่งที่เอ็งไปรู้ไปเห็น เอ็งได้อะไรขึ้นมา ทีนี้มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างเช่นเรานี่ อย่างเรา เรามีนิสัยอย่างนี้ เราสร้างบุญสร้างกรรมมา ถ้าจิตเราสงบขึ้นมา มันจะเกิดสภาวะที่มันเห็น ถ้าอย่างนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้อีก

ดูสิ เวลาเขาปฏิบัติกันเขาบอกว่าถ้าเห็นนิมิตผิด เห็นนิมิตผิด แล้วถ้าเกิดถ้ามันจะเห็นทำอย่างไร คนจะเห็นนิมิตนี่นะ ให้กำหนดอะไรก็เป็นนิมิตหมด แม้แต่ใช้ปัญญาก็เป็นนิมิต เพราะอะไรรู้ไหม เพราะจิตมันเป็น เหมือนเราเป็นอาการไข้ โรคเราเป็นโรคนี้ เข้าไปรักษาอย่างไรมันก็เป็นโรคนี้ จะใช้วิธีรักษาอย่างไรก็คือโรคนี้ จิตที่มันเป็น มันก็เป็นอย่างนี้ ทีนี้มันเป็นอย่างนี้แล้ว ถ้าครูบาอาจารย์ที่เป็น ถ้ามันเป็นแล้วเราต้องแก้ไขตามนั้นไง

ถ้าเห็นนิมิตใช่ไหม นิมิตใครเป็นคนเห็น อ้าว! เรานั่งเราเห็นนิมิต แล้วคนที่นั่งอยู่กับเรา เขาไม่นิมิต เขาจะเห็นนิมิตไหม นิมิตใครเป็นคนเห็น คือจิตเราเป็นคนเห็น จิตเราเป็นคนเห็น ในเมื่อจิตเราเป็นคนเห็น ถ้าครูบาอาจารย์ที่มีสติ เห็นไหม ก็ระลึกสติไว้ แล้วถ้ามีคำบริกรรมชัดเจนขึ้นมา มือนี่จับต้องสิ่งของใด มันจะจับต้องได้ชิ้นเดียว เพราะมันเต็มกำมือ

จิตถ้าไม่มีสติ กลับมาที่ตัวจิต มันอยู่ที่ตัวมัน มือนี่กำพุทโธอยู่แน่นๆ มันจะเห็นนิมิตได้อย่างไร มันจะไปกำอะไรเป็นอันที่สอง แต่เพราะเราพุทโธๆๆ พอจิตมันสงบแล้ว มือมันว่าง พอมือมันว่างมันก็จะไปรับรู้สิ่งต่างๆ เห็นไหม ไปเห็นนิมิต เห็นนิมิต แล้วพอเห็นนิมิตปั๊บ เราก็ว่าเราได้แล้ว นี่ไง ที่ว่าปฏิบัติแล้วรู้นู่นรู้นี่ ได้ผลได้มีความสุข ไม่ได้อะไรเลยนะนั่น

ได้อย่างนี้ ได้แบบโลกียฌาน ได้ฌานโลกีย์ เป็นความรู้ของโลก ถ้าพูดเอาชัดๆ เลย อย่างเช่นแม่ชีแก้ว เห็นไหม หลวงตาท่านเล่าประจำ เมื่อก่อนแม่ชีแก้ว พอจิตสงบ ต้องรู้ ต้องเห็นหมด แล้วถ้าวันไหนไม่ออกรู้ วันนั้นภาวนาไม่ดี ถ้าวันไหนภาวนาแล้วออกรู้ออกเห็นถึงเป็นภาวนาดี แล้วพอขึ้นไปหาหลวงตา

หลวงตาก็.. คนที่ผ่านประสบการณ์มามันจะรู้นะ บอกว่า ถ้าบอกจะไม่ให้ออกเลย มันก็จะเป็นแบบว่ามันไปขัดแย้งกับความรู้สึกของตัว การภาวนามันจะติดขัด ท่านจะพูดบอกว่า

“เอาอย่างนี้ได้ไหม ถ้ามันจะออกรู้บ้างก็ได้ ดึงมันไว้ก็ได้”

คือต่อรอง ๕๐: ๕๐ คือคนละครึ่งทาง อ้าว! รับปากไป ก็ลองไปทำดู ทำดูก็ทำไม่ได้ ทำไม่ได้บอกว่า ถ้าทำอย่างนั้นแล้ว เวลาออกไปมันรู้ เห็นไหม เวลาออกไป รู้ ที่ว่าภาวนาแล้วได้นู่นได้นี่ มันไม่ได้อะไรเลย แล้วเวลาหลวงตาท่านบอกว่า “ลองไม่ให้ออกบ้างได้ไหม” ก็พยายามดึงไว้ไม่ให้ออกไง

แม่ชีแก้ว ตอนที่ภาวนายังไม่เป็น “ไม่ออกนี่ไม่ดีเลย เหมือนกับภาวนาแล้วไม่ได้อะไรเลยไง เหมือนกับภาวนาแล้วไม่ได้ผล” ทั้งๆ ที่มันดี เห็นไหม มันเป็นดี ดีเพราะอะไร ดีเพราะเราเป็นนักกีฬา เราออกกำลังกาย นักกีฬาทุกคนนะตอนเช้าต้องวิ่งออกกำลังกายก่อน จิตสงบนี่คือเอากำลังกาย เอากำลังก่อน เอาทุนก่อน ถ้าจิตเป็นสมาธิคือร่างกายแข็งแรง

คนร่างกายแข็งแรง ทุกอย่างเข้มแข็ง คนอย่างนั้นทำอะไรจะประสบความสำเร็จไหม ถ้าคนอ่อนแอ คนที่ไม่มีกำลังเลย จะไปทำอะไร ก็นึกเอาไง พอบอกว่า

“ไม่ให้ออกบ้างได้ไหม”

“ไม่ให้ออกนี่เหมือนกับภาวนาแล้วไม่ได้อะไร อึดอัดขัดข้องไปหมดเลย เพราะมันเคยออก”

อย่างนั้นก็ยังต่อรองอยู่ ทีนี้ พอต่อรองอยู่ หลวงตาท่านใช้ไม้แข็งเลย

“ถ้าอย่างนั้นให้ลงไป ถ้าจะภาวนาแล้วต้องห้ามออกเลย”

ทีแรกให้ออกบ้างก็ได้ ไม่ออกบ้างก็ได้ เห็นไหม ให้รับรู้ก่อน เหมือนทิฐิมานะมันเกิดขึ้นมานี่ ถ้าเราไปพูดโดยหักพร้าด้วยด้ามเข่า จิตดวงนั้นจะเสียไปเลย คือจะเกิดการต่อต้าน เกิดทิฐิมานะ เกิดไม่ยอมรับรู้ สิ่งที่เขามีโอกาส ที่จะได้ประพฤติปฏิบัติ ทำให้เขาเสียไป ฉะนั้นถึงต้องต่อรองกันก่อน ออกก็ได้ ไม่ออกก็ได้ได้ไหม อ้าว! ก็ไปทดสอบกันแล้ว

ถ้าออก คนที่เป็นโรค เห็นไหม คนที่ไม่เข้าใจ ออกแล้วดี ไปเห็นนู่นเห็นนี้แล้วจิตมันจะมีความรู้สึก มันจะมีความอิ่มเอมใจว่าเราทำแล้วดี เห็นไหม แล้วถ้าไม่ออกเลย ไม่ออกไม่ดีเลย ไม่ได้อะไรเลย ทั้งๆ ที่ไม่ออกน่ะดี ออกคือไม่ดี แต่เพราะปฏิบัติไม่เป็น เพราะพื้นฐานของโลก เข้าใจว่าสิ่งที่ได้มาคือผลประโยชน์ของเรา

แต่ในพื้นฐานของธรรม สิ่งที่เสียสละออกไปคือผลของเรา สละ เสียสละทาน เห็นไหม อาหารเหมือนตอนเช้านี่หมดไปแล้ว ของที่ได้มานี่เสียสละทำบุญหมด ก็เราทิ้งออกไปแล้วเราได้อะไร เราอยู่กับโลกนะ เขาจะบอกเลยพระชอบพูดอย่างนี้ เพราะพระเป็นผู้รับ พระเป็นคนได้ เราบอกไม่จริง ถ้าเป็นพระที่มีคุณธรรม ไม่จริง แต่เป็นพระขี้โลภ จริง ไปหลอกเขา จะเอาของเขา แต่ถ้าพระมีคุณธรรมนะ เอามาเท่าไรเป็นภาระรับผิดชอบ ต้องดูแลรักษา ทำศรัทธาไทยให้ตกร่วงเป็นอาบัติปาจิตตีย์นะ

อย่างโยมทำบุญมาๆ เราใช้ เราบริหารของเขาไม่เป็น ให้เขาเบื่อหน่าย ให้เขาเห็นโทษนะ เป็นอาบัติหมดนะ ทำศรัทธาไทยให้ตกร่วง โยมมีศรัทธาไหม โยมมาถวายนี่มีศรัทธาหรือเปล่า แล้วรับแล้วไม่ทำตามให้ความพอใจอันนั้น เขาก็ต้องไม่พอใจในเรื่องศาสนา เขาต้องห่างจากศาสนาออกไป

ทีนี้พอเอามาให้มันมาก มันมีมาก มันมีเยอะเกินความจำเป็น เป็นทุกข์หรือยัง แล้วบอกพระรับๆ พระรับมานะ พระรับมาถ้าพระที่ฉลาด โยมได้สองต่อ รับจากโยมมา แล้วพระใช้สอยดำรงชีวิตที่เหลือทำทานต่อไป คือกระจายเป็นทานออกไป เพราะอะไร เพราะรับมา แต่พวกโยมทำใจไม่ได้ “ก็ไม่ใช่ให้เขา ให้อาจารย์น่ะ อาจารย์ต้องใช้ให้หมด”

แล้วมันจะใช้หมดได้อย่างไรล่ะ ก็ของมันทั่วประเทศ ก็เสียสละไปแล้ว รับแล้วเป็นบุญกุศลแล้ว มันก็จบ ขั้นตอนของโยมมันจบแล้ว ขั้นตอนของพระ พระก็จะทำประโยชน์ต่อไป แต่ส่วนใหญ่กิเลสมันรับไม่ได้ เว้นไว้แต่ต้องมาฝึกหัดจนใจยอมรับ แล้ววุฒิภาวะมันจะเจริญ แล้วเมื่อไรมันจะยอมรับ

นี่พอบอกว่าให้ทำทานๆ พระก็พูดอย่างนี้ เพราะพระทำแล้วพระรับ พระก็ต้องได้ ไม่จริง ถ้าพระที่เป็นธรรมนะ ไม่จริง เป็นภาระไปหมด ของ โธ่ ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติ ถึงที่สุดแล้วนะ ขออยู่องค์เดียวอยู่ในป่าในเขา ก็กินแค่ไม่ถึงครึ่งท้อง กินเต็มท้องก็ไม่ดี กินเต็มท้องแล้วก็ทำให้อืดอาด ทำให้ร่างกายนี่มีโรคมีภัย เวลาจะฉันนะ พระพุทธเจ้าสอนไว้เลย ก่อนอิ่ม ก่อนอิ่ม ๗๕ เปอร์เซ็นต์ให้ดื่มน้ำเยอะๆ มื้อเดียวนี่พระพุทธเจ้าสอนไว้หมดแล้ว

แม้แต่ของที่กินเข้าไปในกระเพาะมันยังเป็นโทษเลย แล้วเขาจะไปดูแลรักษาอะไร ความเข้าใจของโยมเข้าใจกันอย่างนั้น บอกพระพูดอย่างนั้นบอกไม่ได้ ไม่ใช่ เราเสียสละออกไปคือเราได้ เราได้อะไร เราได้สร้างสมบารมี เราได้เสียสละ จิตใจน่ะ พระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย พระเวสสันดร เห็นไหม สละลูกสละเมีย สละช้าง สละทุกอย่างเลย แล้วได้อะไรขึ้นมา ก็ได้โพธิญาณ

เพราะศาสนาเป็นโพธิญาณ เพราะพอเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาสละราชวังออกไป เห็นไหม ไปถึงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารบอกมาทำไม จะออกบวชไง พระเจ้าพิมพิสารเข้าใจผิด เข้าใจว่ามันมีปัญหาในราชวัง ก็ให้กองทัพครึ่งหนึ่ง ให้กองกำลังที่มากกว่า ให้ไปยึดอำนาจคืน เจ้าชายสิทธัตถะบอกไม่ใช่ ออกมาเพื่อโพธิญาณจริงๆ

เห็นไหม กำลัง กำลังที่ได้เสียสละมา จิตใจมันเข้มแข็ง อย่างถ้าเรามีปัญหาขึ้นมา ท่านมาเอง แต่พอสำนักมีปัญหาขึ้นมา มีคนให้กองทัพครึ่งหนึ่งของราชคฤห์ รัฐที่ใหญ่กว่า ให้เอากำลังกองทัพนี้ ไปเอาอำนาจคืนเราเอาไหม เราหากำลังเพื่อจะเอาคืนใช่ไหม นี่เขาเสนอให้เลย นี่ไง กำลังใจไง อำนาจวาสนาบารมีไง ที่ตัวเองสร้างมา บอกไม่ใช่ๆ ออกมาแสวงหาโพธิญาณจริงๆ

“ถ้าแสวงหาโพธิญาณจริงๆ ออกไปเจอ ออกไปค้นหา บรรลุธรรมแล้ว ขอให้กลับมาสั่งสอนด้วย” ขอไว้เลย พระเจ้าพิมพิสารขอไว้เลยตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ แล้วพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เห็นไหม ไปเอาปัญจวัคคีย์ ได้ยสะ เห็นไหม แล้วก็จะมาเอาพระเจ้าพิมพิสาร แต่ยังเอาไม่ได้ เอาไม่ได้เพราะอะไร เพราะเป็นกษัตริย์ แล้วถือชฎิล ๓ พี่น้องเป็นอาจารย์

ต้องไปเอาชฎิล ๓ พี่น้องก่อน คือไปเอาอาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสารก่อน แล้วพอไปเอาชฎิล ๓ พี่น้องได้แล้ว ชฎิล ๓ พี่น้องนั่งอยู่ พระเจ้าพิมพิสารกำลังจะมากราบอาจารย์ของตัว เห็นพระพุทธเจ้านั่งอยู่ข้างบน เอ๊ะ ภิกษุหนุ่มๆ องค์นี้เป็นใคร อาจารย์เรานั่งอยู่นั่น จะไปฟังเทศน์ใคร ละล้าละลังแล้ว กษัตริย์จะเข้าไปกราบอาจารย์ของตัว หรือจะเข้าไปกราบภิกษุหนุ่มนั้น

พระพุทธเจ้าบอกเลย พระพุทธเจ้ารู้วาระจิต บอกชฎิล ๓ พี่น้อง “เธอต้องแสดงตน” โอ้โฮ! เหาะขึ้นไปเลย เหาะขึ้นไปลงมากราบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ของเรา เหาะขึ้นไปลงมากราบพระพุทธเจ้า คือประกาศตนว่าตนเองเป็นลูกศิษย์ไง อาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสารแสดงตนว่าเราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า

พอทางพระเจ้าพิมพิสารเห็นปั๊บนะลงใจ ก็ไปกราบพระพุทธเจ้าไง ไม่อย่างนั้นเขาพอเข้าไปแล้วนะเห็นเลย เห็นอาจารย์ของตัว ๓ อาจารย์ แล้วก็เห็นพระพุทธเจ้า แล้วจะเข้าไปหาใคร พอพระพุทธเจ้าให้แสดงตัวก่อน เหาะลงมา เหาะลงมาเสร็จแล้วก็ไปกราบพระพุทธเจ้า ก็เลยเข้าไปกราบพระพุทธเจ้า ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า จนเป็นพระโสดาบัน

เนี่ยสิ่งที่สร้างมา สิ่งที่เสียสละแล้วได้ เสียสละแล้วได้ แต่เรามองกันไม่ออก ทุกคนมองไม่ออกนะเพราะกิเลสของเรา ความตระหนี่ถี่เหนียวมันมองไม่ออก แต่ถ้ามันมองออกนะ มองออก จิตก็ต้องมีวุฒิภาวะ ไม่อย่างนั้นเราจะเสียสละกันได้อย่างไร ที่เราเสียสละกัน เราเสียสละกันเพื่ออะไร เสียสละเพื่อใจเรา แต่สิ่งที่ได้มา อย่างเช่นเรานี่ มันเป็นอำนาจวาสนานะ อย่างเราบอกว่า เราก็ไม่มี เอาอะไรเสียสละ

“ทำบุญร้อยหนพันหนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ถือศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับทำภาวนาเกิดปัญญาขึ้นมาหนหนึ่ง”

การนั่งสมาธิ พุทโธๆ ถ้าจิตสงบนี่เหมือนกับเราตักบาตรหมื่นหน ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ถือศีล ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลทำความสงบ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ร้อยหนพันหนเห็นไหม ถึงจะได้อานิสงส์หนหนึ่ง แล้วเกิดสมาธิแล้วเกิดปัญญาขึ้นมา แล้วถ้าเรานั่งพุทโธๆ มันจะมากกว่าสิ่งที่เราทำกี่หน แต่เราก็มองไม่ออกกันอีก เวลานั่งไปแล้วก็ปวดอีก ปวดเมื่อย มันไม่เห็นได้อะไรขึ้นมาเลย

จะย้อนกลับมาตรงที่ว่าปฏิบัติแล้วได้หรือไม่ได้นี่ไง ถ้าจิตมันสงบจิตมันดีมันได้ตรงนั้น มันได้ที่ว่า ได้นะ ได้หมายถึงว่าจิตเรา ความรู้สึกของเรา มันเห็นต่างกับโลกทั้งนั้นเลย โลกเขาต้องเห็นว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ของเขานั่นคือเป็นประโยชน์ของเขา แต่ถ้าเป็นธรรม เป็นธรรมนี่ เสียสละเท่าไร ยิ่งได้ประโยชน์เท่านั้น เพราะสิ่งนี้เป็นความรู้สึก

เหมือนการศึกษา การศึกษา เห็นไหม เราจบแล้ว ความรู้สึกมันไปอยู่ที่ไหน อยู่ในสมอง แต่เวลาเราศึกษา เราศึกษาจากอะไร ตำรา แล้วมึงจะหอบตำราไป กับมึงจะเอาความรู้ของมึงไป นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่กระทำก็เหมือนตำรา คือสิ่งที่ศึกษามาเป็นความรู้ นี่พูดถึง พูดถึงทางโลกนะ เพราะทางโลกเราจะพูดบ่อยมากว่า ความคิดจากสมอง เห็นไหม ปัญญาจากสมอง ปัญญาจากจิตคนละเรื่อง

ปัญญาจากสมองคือปัญญาจากที่เราศึกษามา ปัญญาจากสมอง ศาสตราจารย์ ด๊อกเตอร์ ปัญญาจากสมอง โลกียปัญญา ปัญญาเกิดจากจิตไม่ใช่สมอง ถ้าปัญญาสมอง สมองโดยธรรมชาติของมันทำงานตัวเองไม่ได้ สมองต้องมีพลังงานคือตัวใจ ถ้าภาวนาสมองก็เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่มีไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

ถ้าสมองไม่มีจิต สมองคือ คนตายสมองก็เท่าเก่า คนตายสมองมันยุบลง มันต้องออกมาเน่า นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง สมอง คนตายกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ คนตายใหม่ๆ เห็นไหม มันเหมือนกัน แต่ไม่มีพลังงานไม่มีตัวจิต แต่ตัวจิต เวลาถ้าคิดโดยสมอง เราจะบอกว่าคิดด้วยสมองมันเป็นอนาคต อนาคตเพราะพลังงานเคลื่อนมาจากจิต พระพุทธเจ้านะ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ เป็นอดีตอนาคต แก้กิเลสไม่ได้

ขนาดจิตสงบเข้าไปแล้วนะ ไม่ใช่ความคิดสมอง จิตสงบเข้าไป จิตไปเห็นข้อมูลเดิมของตัว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนอดีตชาติ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนกลับไปที่พระเวสสันดร ทศชาติ ย้อนกลับไป นี่คืออดีต จิตเข้าไปความคิดของจิต เพราะจิตเป็นสมาธิแล้ว มันเป็นข้อมูล ยังเป็นอดีตเลย แล้วถ้าจิตนี่ยังไม่ตาย เห็นไหม จุตูปปาตญาณ ถ้าจิตนี้ยังไม่ตาย จิตนี้ เวลาถ้ามันออกจากร่าง จิตนี้ถ้ามันยังไม่บรรลุธรรม จิตนี้ยังไม่เป็นพระอรหันต์

ถ้าเวลาจิตมันตายไปแล้ว จิตออกไป จิตยังมีแรงขับอยู่ มันจะเป็นจุตูปปาตญาณ คือยังต้องเกิดอีก เห็นไหม อดีตอนาคตแก้กิเลสไม่ได้ ถึงย้อนกลับมาปัจจุบัน ย้อนกลับมาที่จิตมันสงบ จิตมันสงบ ถึงเป็นอาสวักขยญาณ ถึงทำลายกิเลส แต่ในปัจจุบันที่เราปฏิบัติ เราใช้ความคิดสมอง ความคิดที่จิตมันเคลื่อนออกมาแล้ว มันเป็นไปไม่ได้ๆ มันเป็นโลกียปัญญาไง

นี่ไง โลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม ในการศึกษา พระพุทธเจ้าแบ่งปัญญาไว้ เป็นสุตมยปัญญา ปัญญาแห่งการศึกษา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา นี่ไง ปัญญา ๓ แต่เวลาปฏิบัติ มันมีโลกียปัญญากับโลกุตตรปัญญา ปัญญาที่ปัญญาผ่านจากสมอง เป็นโลกียปัญญาทั้งหมด นี่เราพูดถึงเวลาพูดถึงข้อเท็จจริงนะ

แต่เวลาปฏิบัติมันก็ปฏิบัติอย่างนี้ เวลาปฏิบัติ คนจะหลบเลี่ยงตรงนี้ไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร เพราะการเกิดเป็นมนุษย์นี่ไง การเกิดเป็นสมมุตินี่ไง การเกิดเป็นมนุษย์ การสื่อสารของจิตก็คือธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ทีนี้ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ มันมีอยู่แล้ว มันเป็นสมมุติโดยธรรมชาติ คือมันเป็นสมมุติอยู่แล้ว มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นโลกล้วนๆ มันเป็นโลกหมดเลย ถึงตรึกในธรรมมันก็เป็นโลก

ตรึกในธรรมคือคิดในธรรมะพระพุทธเจ้า ถ้าคิดในธรรมมีสติตามไป มันจะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ คือจะสงบเข้ามา สงบเข้ามาเท่านั้น สงบเข้ามาถึงเป็นตัวใจ ตัวใจคือตัวสมาธิ ตัวพื้นฐานจิต แล้วถ้าเกิด ถ้ามันมีกำลังของมัน แล้วมันออกรู้ๆๆ เห็นไหม จิตออกรู้ ไม่ใช่สมองออกรู้ ไม่ใช่วิญญาณออกรู้

วิญญาณคืออะไร วิญญาณคือวิญญาณในขันธ์ ๕ ไง วิญญาณในขันธ์ ๕ ของเราออกรู้ ถ้าวิญญาณขันธ์ ๕ วิญญาณคืออะไร ส้ม เปลือกส้มไง ขันธ์ ๕ คือเปลือกส้ม ตัวจิตคือตัวเนื้อส้ม แล้วตัวเปลือกส้มมันออกรู้ วิญญาณออกรู้ เห็นไหม เสียงที่กระทบอยู่นี่ เสียงนี่ออกรู้ ออกรู้นี่มันเข้าไม่ถึงจิต มันเป็นโลกียปัญญา

ถ้าออกรู้อย่างนี้ แต่ถ้าจิตออกรู้ เนื้อส้มออกรู้ เนื้อส้ม ตัวเนื้อส้ม มันต้องสงบเข้ามาก่อน พอเนื้อส้มออกรู้ เนื้อส้มออกรู้ คือตัวจิตออกรู้ ถึงเป็นปัจจุบันธรรม ถ้าเป็นปัจจุบัน นี่ไง ที่ว่าปัญญาของจิต ปัญญาของจิต ปัญญาสมองอย่างหนึ่งนะ ปัญญาสมองนี่มันเป็นเรื่องโลก มันเป็นเรื่องสามัญสำนึก เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นเรื่องความคิดจากสมอง

ทีนี้ความคิดจากสมองถ้าเราพุทโธไม่ได้ ถ้าพุทโธๆ ไป พุทโธ เห็นไหม เปลี่ยนความคิดเป็นพุทโธ เพราะความคิดของเรามันธรรมชาติของมัน มันจะออกไปธรรมชาติของมัน เราบังคับ ถ้าคิดเรื่องธรรมะ เรื่องโดยความคิด ความคิดมันจะสืบต่อ เช่น เราคิดแต่เรื่องอะไร เห็นไหม มันจะสืบต่อไปเรื่อยๆ มันเป็นเรื่องกระบวนการของมันไปเลย เป็นเรื่องๆ ไปเลย มันก็จะสืบต่อ

คิดแต่เรื่องอะไรปั๊บ ความคิดมันจะต่อเนื่องไป แต่เราบังคับมันให้นึกพุทโธ พุทโธก็เป็นความคิดนะ พุทโธก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง เพราะเป็นพุทธานุสติ พุทโธๆๆๆๆ นี่เพราะอะไร เพราะเราเปลี่ยนความคิดมาเป็นพุทโธ เห็นไหม ความคิดนี่มันเกิดจากจิตคือตัวพลังงานออกมาเป็น มันเป็นสามัญสำนึก มันมีอยู่แล้ว พุทโธๆๆๆๆๆๆ พุทโธจนพุทโธ

โดยเทคนิคนะ เขาบอกว่าพุทโธจนพุทโธหาย แล้วพวกเรานี่ด้วยความอยาก ด้วยความต้องการ เราก็พยายามพุทโธเบาๆ ให้พุทโธมันหายไป อย่างนี้มันเป็นเหมือนตะกอนมันนอนก้น แต่ถ้าเป็นพุทโธจริงๆ มันจะหายไปโดยธรรมชาติของมัน พุทโธๆๆๆๆๆๆๆ จนจิตมันพุทโธไม่ได้ นั่นคือตัวสมาธิ

ถ้ายังพุทโธได้อยู่ยังเป็นสมาธิไม่ได้เพราะตัวจิตคือตัวพลังงาน ตัวพุทโธๆ คือความคิดมันเป็นสอง เรานึกพุทโธนี่เป็นสองไหม แต่เราว่าเป็นหนึ่ง หนึ่งเพราะเราคิดเอง แต่ความจริงมันเป็นสอง สองเพราะเรานึกพุทโธ พุทโธๆๆ มันมีอยู่ ก็มันมีส้มกับเปลือกส้ม มันซ้อนกันอยู่ แต่ถ้าพุทโธๆๆๆๆ พุทโธจนพุทโธไม่ได้ จนเปลือกส้มมันย่อยสลายเป็นเนื้อส้ม เหมือนส้มไม่มีเปลือกเลย เป็นอันเดียวเลย นั่นก็เป็นจิต นั่นก็เป็นสมาธิ

แต่เพราะเราอยากได้กันไปเอง เราสร้างภาพกันเอง ปฏิบัติอย่างไรก็สร้างภาพหมด สร้างภาพจนไม่เป็นความจริง มันเลยเป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉาเพราะอะไร เพราะมันไม่เป็นความจริง มันไม่มีสติไง หรือถ้ามันใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาไล่ตามความคิดไป เวลาคิดน่ะไล่ตามไป แล้วพอคิดไปนะ มันเหมือนปอกเปลือกส้ม มันหยุดได้ มันหยุด มันหยุดได้ๆ

เวลาทำสมาธิใช่ไหม ทำใจให้เราสบายใช่ไหม มันจะตั้งมั่น มันจะเสียสละ สิ่งที่ได้ ได้อย่างนี้ แต่เราไม่เข้าใจกันเลยนะ สิ่งที่จะเป็นจะได้ เราบอกว่าไม่เห็นได้อะไรเลย แต่พอไปรับรู้สิ่งต่างๆ ไปรู้อะไรนะ เขาว่าได้ ไอ้ที่ว่าได้ ว่าได้อะไรน่ะ ไม่ได้อะไรเลย เราสังเวชมาก สังเวชมาก เพราะเขาบอกว่า ปฏิบัติอย่างนี้แล้วไม่เห็นได้อะไรเลย ถึงทิ้งไป

ทิ้งไปปฏิบัติสิ่งที่เพื่อจะให้มันได้ขึ้นมา ได้ขึ้นมามันก็เหมือนสร้างภาพหมด เราจะสร้างสิ่งต่างๆ ของเราขึ้นมา มันไม่เป็นความจริง แต่ถ้าเราทำตามความเป็นจริงนะ รู้เองเห็นเอง แล้ว มันเหมือนกับมันคาดหมายไม่ได้ เราจะคาดหมายไม่ได้ว่าเราจะเป็นอย่างไร เราจะรู้อะไร มันจะเป็นของมัน มันจะเป็นความจริงของมัน

แล้วพอเป็นความจริงของมันปั๊บ เราเข้าไปสัมผัส เรารู้ นี่สันทิฐิโก มันรู้จากจิต พอรู้จากจิตปั๊บ มันรู้เพราะเหตุใด รู้เพราะเรามีสติ รู้เพราะเรามีคำบริกรรม รู้เพราะเราใช้ปัญญา เอาตัวนั้นเป็นตัวตั้ง สร้างเหตุไว้ สร้างเหตุไว้ประจำ พอสร้างเหตุไว้แล้ว ผลของมันคือมันเป็น พอผลของมันเป็น มันจะไปไหน เราไปรักษาสมาธิกัน

เราบอกบ่อยมาก “ถ้าเอ็งรักษาสมาธินะ สมาธิเอ็งเสื่อมหมด แต่ถ้าเอ็งไปรักษาที่สติ เอ็งไปรักษาที่เหตุนั้น สมาธิเอ็งจะไม่หนีจากเอ็งไปเลย”

เวลาหลวงตาท่านพูดให้ฟังนะ น่าคิดมาก ตอนที่ท่านไปอยู่กับหลวงปู่มั่น แล้วจิตมันเสื่อมไง พอจิตมันเสื่อม ไปอุทธรณ์กับหลวงปู่มั่น อุทธรณ์เลย จิตมันเสื่อมหมดเลย แล้วตอนนั้นมันปฏิบัติใหม่นะ ท่านพูดนะ ท่านบอก เหมือนสอนเด็กๆ เลย

“อื้ม ถ้าจิตมันเสื่อมก็ช่างมันเถอะ จิตนี่มันเหมือนเด็ก เด็กมันหนีไปเที่ยว เด็กไปเที่ยว เวลามันหิวมันต้องกินอาหาร ให้นึกพุทโธๆๆ ไว้ พุทโธนี่เหมือนอาหารของมัน พอเดี๋ยวมัน พอมันหิวขึ้นมา มันก็จะมากินอาหารของมันเอง”

ให้นึกพุทโธๆ คือสร้างอาหารมันไว้เยอะๆ ท่านก็พุทโธๆๆ นะ แล้วมันก็สงบ พอสงบขึ้นมาแล้ว อืม จริง แล้วท่าน เวลาท่านภาวนาจนท่านชำนาญมาก ท่านมาย้อนถึงตรงนี้ ท่านพูดเอง เวลาท่านมาเล่าให้ฟังนะ แล้วท่านสังเวชไง บอกว่า เหมือนท่านสอนเด็กๆ เหมือนเด็กมันไม่รู้เรื่อง

เวลาจิตเราเสื่อมเราก็อยากได้ อยากได้มา อยากทุกอย่างเลย มันยิ่งอยากมันก็ยิ่งกระวนกระวาย มันก็ยิ่งส่งออก มันก็ยิ่งทุกข์ไปเรื่อย แต่ด้วยเทคนิคของหลวงปู่มั่น ชั้นยอดเลยนะ อืม จิตนี้เปรียบเหมือนเด็ก เด็กมันออกไปเร่ร่อน ออกไปเที่ยวของมัน เด็กนี้มันต้องกินอาหาร ไม่มีใครให้อาหารมัน มันอยู่ไม่ได้

ฉะนั้นเราพยายามหาอาหาร ตุนอาหารของมันไว้ คือพุทโธๆ นี่มันจะกินพุทโธอยู่ ให้นึกพุทโธไว้ ไอ้ทางนี้ก็มั่นใจ เชื่อด้วยปักใจเชื่อ ก็พุทโธๆ มันก็ไม่วิตกกังวล ไม่ส่งออก ไม่คิดมากไง พุทโธๆๆๆๆๆ แล้วพอพุทโธ เพราะจิตมันนึกพุทโธอยู่ มันไม่คิดเรื่องอื่น มันจะมีอะไรล่ะ มันก็สงบเข้ามา พอสงบเข้ามา จริงเหมือนท่านว่าๆ คือท่านพูดอะไรนะ แล้วทำตามนั้นนะ แล้วผลมันจะตอบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ๆ เปี๊ยะๆๆๆ เลยนะ ถ้าเราพิสูจน์ได้นะ นี่พวกเรามันไม่จริงไง

นี่เวลาท่านสอนท่านบอก เพราะท่านอยู่กัน ๒-๓ องค์มันแบบว่ามันทำด้วยความจริงจัง แต่ทีนี้พอเรามีตัวอย่างปั๊บ เราก็มาเปรียบเทียบ นี่ตัวอย่าง นี่เป็นคตินะ เวลาเราปฏิบัติ มันจะมีตัวอย่างครูบาอาจารย์เยอะมาก เราจะเอามาเป็นคติ เวลาจิตใจมันอ่อนแอ เวลาปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล เวลามันท้อแท้ เราจะเอาคติธรรมอย่างนี้ เอามาคิด

เวลาปฏิบัตินี่มันมีนะ มีเวลาเราท้อแท้ เวลาเคยได้แล้วไม่ได้ มันจะท้อแท้มาก ถ้าท้อแท้อย่างไรเราก็ต้องปลุกใจเราขึ้นมาๆๆ แล้วเราจะเทียบประจำ เวลาเรามีปัญหาขึ้นมา เราจะเทียบถึงพระพุทธเจ้า เทียบถึงหลวงปู่มั่น เวลาหลวงตาท่านพูดบ่อยว่า ความเพียรพวกเราไม่ได้ขี้เล็บหลวงปู่มั่น ไม่ได้ขี้เล็บหลวงปู่มั่น

ฉะนั้นความทุกข์ความยากของเราไม่ได้ขี้เล็บท่าน ทีนี้ไม่ได้ขี้เล็บท่าน เห็นไหม เราก็จะมุมานะ มันจะตื่นตัวขึ้นมาไง เวลาเราทำแล้วเราก็ว่าเราทำเต็มที่แล้ว เราทำเราลงทุนลงแรงเต็มที่แล้ว แต่พอเราเอาความคิดของเราไปเปรียบเทียบกับครูบาอาจารย์หลวงปู่มั่นอย่างนี้ โอ้โฮ! เราจะไม่ได้ขี้เล็บเลย พอไม่ได้ขี้เล็บปั๊บ มันก็ทำให้เราเกิดแรง ฮึด ขึ้นมา เกิดแรง ฮึด ขึ้นมา

แรงฮึดนี่สำคัญมากนะ เหมือนกองทัพ ขวัญกำลังใจของกองทัพนะ ถ้ากองทัพนั้นไม่มีขวัญกำลังใจ กองทัพนั้นดีขนาดไหนก็แพ้ตลอด กองทัพนั้นไม่ใหญ่โตหรอก แต่กองทัพนั้นมีขวัญ มีกำลังใจ มีชัยภูมิที่ดีสิ่งที่ดี กองทัพนั้นชนะตลอด การปฏิบัติของเราก็เหมือนกัน ต้องให้กระตุ้นให้เรามีกำลัง ให้มีแรงตลอด แล้วมันจะสู้สิ่งนี้ได้

ทีนี้พอเรา เห็นไหม เวลาท่านบอก หลวงปู่มั่นท่านสอน ท่านสอนบอกว่า เด็กมันต้องการอาหารของมัน มันต้องมีอาหารเลี้ยงชีพมัน ถ้ามีอาหารเลี้ยงชีพมัน เราหาอาหารนั้นไว้ นี่ไง ถ้าเราตั้งสติของเราไว้ ตั้งสตินะ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ กำหนดพุทโธๆ บางทีมันไม่ยอมรับ พุทโธๆ นี่ พุทโธๆ เขาเรียกศรัทธาจริต คือมีความเชื่อมั่นสูง พุทโธๆ ได้

แต่ส่วนใหญ่แล้ว ไอ้พุทธจริต ไอ้พวกปัญญาชนนี่พุทโธไม่ได้หรอก เราเองก็ใช้พุทโธ แต่จริงๆ แล้ว เราพุทโธไปสักพักหนึ่ง เราก็พุทโธไปไม่ได้ เราเอาพุทโธไปไม่ได้ จิตสงบขนาดไหนนะ เราออกมาพิจารณา มันก็ไม่ไป มันไม่ใช่ไม่ตรงกับจริต แต่พอเรามาใช้ปัญญา เราใช้ความคิดเรา ใช้ปัญญาแล้วตามไป มันสงบได้

พอสงบได้มันทึ่งนะ ตอนที่เราทำเราค้นคว้าของเราเอง ทึ่งมาก เอ๊ะ ทำไมมันดีขนาดนี้ พอดีอย่างนี้ปั๊บ พอดีมันก็ทำจิตสงบ ลึกๆๆๆ มันมีหลักฐานคือหลวงปู่มั่นมาสอนข้างในด้วย พอหลวงปู่มั่นมารับประกันปุ๊บ นั่นก็พุ่งเลย พอพุ่งเลย มันเหมือนกับเราทำอะไรได้เต็มไม้เต็มมือ ทำด้วยความตั้งใจ ทำด้วยความจริงจัง

พอมันไปเรื่อยๆๆ จิตสงบเรื่อย อย่างเมื่อวานมาถามจิตเป็นอย่างนั้นๆ บอกนี่ถูกแล้วล่ะ กระบวนการของมัน มันต้องมี จากความคิดดิบๆ ความคิดพวกเรานี่ดิบๆ นะ ความคิดของเราทั้งหมด แล้วสมาธิ สติตามเข้าไปๆ มันจะเริ่มหยุด ครั้งแรกเลยมันหยุดเฉยๆ ความคิดนี่หยุด หยุดนี่คือสมาธิแล้วแต่แป๊บเดียว แป๊บ คิดอีกแล้ว ตามเข้าไป ตามเข้าไป

ความหยุดนี่มันจะเริ่มห่างขึ้น คือหยุดได้นานขึ้นๆ พอหยุดได้นานขึ้นปั๊บ สติตามเข้าไป ตามเข้าไป มันจะเห็นเหตุผลแล้ว ไอ้ที่มันทุกข์มันยากนี่นะ ไม่มีใครทำเลย ความคิดเราเองทำร้ายเราเอง แล้วทำไมมึงโง่คิดขนาดนี้ ก็รู้ๆ อยู่นี่แหละ แต่เอาตัวเองไว้ไม่อยู่ มันก็สติตามไปอีก ตามไปอีกๆ ตามจนมันเห็นเหตุเห็นผลนะ

ถึงที่สุดแล้วนะ ความคิดมันหยุดได้อย่างไร มันจะยับยั้งได้อย่างไร มันมีที่มาอย่างไร ไล่เข้าไป จนเห็นหมดนะ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นบ่วงของมาร รูป รส กลิ่นเสียง ข้อมูลที่เรารู้ๆ อยู่คือสัญญา ข้อมูลมันเป็นบ่วงของมาร มันเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันกระตุ้นความคิดเราไง

ทีนี้พอเรามีสติตามไป อ๋อ ก็ไอ้ข้อมูล ไอ้ความรู้เราทุกอย่าง มันมายุแหย่เอง พอมันเห็นทันปั๊บมันตัดนะ ตัดรูป รส กลิ่น เสียง นี่ปุถุชน ปุถุชนคือคนหนา คนที่ไม่สามารถยับยั้ง ไม่สามารถทำสิ่งใดๆ ได้ สิ่งนี้มันจะกระตุ้น กัลยาณปุถุชน เห็นรูป รส กลิ่น เสียง ไม่ใช่จิต ไม่ใช่ข้อมูลของจิต มันแยกได้หมดเลย จิตเป็นจิต ข้อมูลเป็นข้อมูล ทุกอย่างมันปล่อยหมด นี่ไง กัลยาณปุถุชน

ตั้งแต่นั้นมานะ สมาธิทำง่ายขึ้นแล้ว เพราะมันรู้ทันหมดเลย มันรู้ทันมันก็หยุดหมดๆ ทีนี้หยุดหมดมันก็ว่าง ทีนี้ความนิ่งจะควบคุมได้ดีมากขึ้น พอดีมากขึ้น ไล่เข้าไปๆ มันเห็นแล้ว เห็นจิต เปลือกส้ม เห็นส้ม กระทบกับเปลือกส้ม ความคิดขันธ์ ๕ เป็นเปลือกส้ม ตัวจิตคือตัวพลังงานคือตัวส้ม เนื้อส้ม เนื้อส้มกับเปลือกส้ม มันต้องอยู่ด้วยกันเป็นธรรมชาติ ความคิดกับพลังงานมันอยู่ด้วยกันเป็นธรรมชาติ

แต่พอจิตมันสงบเข้าไปแล้วมันกระทบกับเปลือกส้ม กระทบกับขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด จิตคือจิต ความคิดเป็นความคิด มันคนละอัน อยู่ธรรมชาติ แต่เพราะมีสังโยชน์ รับไว้โดยเราไม่รู้ตัว แต่พอจิตสงบปั๊บมันจะเห็นของมัน พอเห็นของมันปั๊บ จิตมันเห็น มันจับได้ จับความคิดได้

พอจับความคิด จิตจับความคิด เห็นไหมที่เขาดูจิตๆ เราไม่เชื่อ ถ้าหลวงปู่ดูลย์พูดน่ะถูก หลวงปู่ดูลย์บอกว่า “ดูจิตไป จนจิตเห็นอาการของจิต” หลวงปู่ดูลย์น่ะพูดถูก จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นความคิดไง “ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด” มันอยู่คนละอัน ส้มกับเปลือกส้มไม่ใช่อันเดียวกัน

ถ้าจิตสงบ มันจะเห็นของมัน พอเห็นของมัน มันจับได้ พอเห็นปั๊บ เพราะส้มมันเป็นวัตถุ ไม่มีชีวิต พลังงานของเรามันมีชีวิต มีชีวิต แต่เพราะอวิชชา เพราะความโง่ เปลือกส้มกับส้มเลยเป็นอันเดียวกันมาตลอด โดยสามัญสำนึกของมนุษย์ แต่เพราะเราหัดภาวนา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิจนสมาธิมันมี จนสมาธิมันแยกความคิดกับจิตออกจากกัน ก็ยังไม่เห็น เพราะมันแยกด้วยสมาธิ

โดยธรรมชาติ มหายาน ทิเบต เขาจะบอกเลยว่า เวลาถอดจิตมนุษย์นี่นะเหมือนกับปอกกล้วย กล้วย เปลือกกล้วยกับกล้วยไม่ใช่อันเดียวกัน จิตกับร่างกายนี่ไม่ใช่อันเดียวกัน เวลาเขาถอดจิตออกจากร่าง มหายานเขาทำได้ชำนาญมาก

พวกทิเบต พวกลามะ เพราะโพธิสัตว์ ส่วนใหญ่เขาจะชำนาญในฌานโลกีย์ เขาเห็นโดยตามข้อเท็จจริง แต่เขาไม่มีปัญญา เขาเลยรับรู้เรื่องอย่างนี้กันไม่ได้ แต่ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิจนจิตสงบเข้ามา พอตัวจิตมันสงบเข้ามา มันเป็นอิสรภาพของมัน ไอ้ความคิดมันไม่มีไง ถ้าเรามีความคิดอยู่ จิตจะสงบได้อย่างไร เพราะมันฟุ้งซ่าน

พอมันทิ้งความคิดปั๊บมันก็เป็นตัวของมันเอง ไอ้ตัวเปลือกส้มกับส้มมันแยกกัน โดยสมาธิ เห็นไหม คำว่าโดยสมาธินี่ ถ้ากำหนดพุทโธโดยเจโตวิมุตติ โดยพุทโธๆๆ เวลาเป็นอัปปนาสมาธินี่นะ มันสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้มันทิ้งกายหมด กายกับจิต แยกด้วยสมาธิ มันแยกด้วยสมาธิ อย่างนี้ แยกด้วยสมาธิ มันปล่อยวางโดยสมาธิ ไม่ชำระกิเลส ไม่มีอะไรรู้ดีขึ้นมาเลย

แต่ถ้าพอเรามีปัญญา มีสติ เห็นไหม พอมันมีปัญญา มีสติ มันแยก จิตกับความคิดมันแยกโดยธรรมชาติของมัน แต่จับต้องกันไม่ได้ มันเหมือนกับพลังงานกับพลังงาน มันแยกกันออกมา แต่ไม่มีอะไรไปรับรู้มัน แต่เราฝึกฝนบ่อยๆ เข้า เราฝึกฝนบ่อยๆ จนตัวจิตมันมีกำลัง มีสติพร้อม พอมันจะคิด เขาเรียกว่า “จิตเสวยอารมณ์”

จิตเสวยอารมณ์ อารมณ์ เห็นไหม กับจิตมันคนละตัวกัน กาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ ไง กาย เวทนา จิต ธรรม ธรรมารมณ์ๆ อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นธรรม ธรรมารมณ์เป็นสติปัฏฐาน ๔ พอจิต อารมณ์มันแยก แล้วมันเสวยอารมณ์ มันจับได้ พอมันจับได้ ชั๊บ จิตเห็นอาการของจิตแล้วพิจารณามัน หลวงปู่ดูลย์สอนอย่างนี้

“พิจารณาดูจิต จนจิตเห็นอาการของจิต แล้วใช้ปัญญาวิปัสสนามัน วิปัสสนามัน”

หลวงปู่ดูลย์สอนอย่างนี้ แต่เขาไม่ได้สอนอย่างนี้เพราะเขาเข้าไม่ถึงจุดนี้ เขาเข้าไม่ถึงจุดนี้ เขาก็เลยทำสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย แล้วพอจิตมันเสวยอารมณ์พอจับได้ สติปัฏฐาน ๔ เกิดตรงนี้ วิปัสสนาเกิดตรงนี้ จิตถ้าสงบแล้ว จิตเห็นอาการ จิตจับได้ คือตัวจิตกับตัวความคิด ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เห็นไหม

พระอรหันต์ เห็นไหม ธาตุ ๔ ความคิดเป็นขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นภาระๆ เห็นไหม ภาราหเว ปัญจขันธา เป็นภาระ เป็นที่รับผิดชอบ แต่ไม่ใช่กิเลส พระอรหันต์นะ เวลาทำจิตสะอาดแล้วนะ ขันธ์ ๕ ทุกอย่างสะอาดไปหมดเลย นี่ที่ว่าร่างกายทุกอย่างสะอาดไปหมด เพราะอะไร เพราะตัวจิตมันสะอาด

แต่ถ้าตัวจิตมันสกปรก มีอวิชชาครอบงำอยู่ มันสกปรกที่ตัวพลังงาน พอตัวพลังงานสกปรก ทุกอย่างสกปรกไปหมดเลย พอตัวพลังงานสะอาด สิ่งที่จับใช้สอยกันอยู่นี่มันเลยกลายเป็นของสะอาดไปหมดเลย แต่ของสะอาดอย่างนี้ มันก็ต้องพลัดพรากเป็นธรรมดา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานไง

“อานนท์ เราบอกเธอแล้วไม่ใช่เหรอ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา แม้แต่ตถาคตก็จะต้องนิพพานในคืนนี้”

นิพพานๆ นิพพานแต่ธาตุขันธ์ไง ขันธนิพพาน แต่ตอนชนะกิเลส กิเลสนิพพาน ตอนฉันอาหารของนางสุชาดา ถึงซึ่งกิเลสนิพพาน ชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ นี้เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา พอถึงวันจะตายเห็นไหม ขันธ์นิพพาน ขันธ์ที่เป็นภาระ ที่เป็นเศษ ที่ของเหลือ ต้องทิ้งมันไป มันต้องย่อยสลายเป็นธรรมดา

แต่ตัวธรรมธาตุ ตัวนิพพานอันนั้นสิ อันนั้นไม่ธรรมดา “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับไปเป็นธรรมดา” แต่ตัวนี้ไม่เคยเกิดไม่เคยดับ ตัวนี้เป็นธรรมธาตุอยู่ตลอดไป ถึงที่สุดแล้ว เห็นไหม มันยังต้องทิ้งสิ่งที่เป็นทิ้ง แต่ขณะที่เราเกิดขึ้นมานี่เรามีของเรา พอมี เรามีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เราจะใช้จิตของเรา ใช้สมาธิของเรา ใช้ดูแลรักษาตรงนี้

ทำตรงนี้ให้มันสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมา มันต้องมีการกระทำ ไม่ใช่ว่าไปเพ่งไปดูกันเฉยๆ ที่ว่า ได้ๆๆๆ น่ะ ไม่ได้อะไรเลยนะ แต่ไอ้พวกที่ว่าไม่ได้ๆ ถ้าไม่ได้อะไรเลย เราเป็นคนดีขึ้นมาไหม เราเป็นคนที่มีวุฒิภาวะขึ้นมา เราเป็นคนที่เข้าใจชีวิตขึ้นมา เราเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะขึ้นมา ได้เต็มๆ เลยนะ ธรรมะเป็นอย่างนี้ ธรรมะรู้ปัจจุบันนี่ไง

แต่ถ้าไปได้รู้โน่นรู้นี่นะ ไม่ได้อะไรเลยนะ ไม่ได้เพราะอะไร เพราะไปแบกหามไง ความรู้ความเห็น ความรับรู้น่ะ เป็นวัตถุทั้งหมด ต้องไปแบกหามนะ ต้องทบทวน เดี๋ยวลืม เดี๋ยวลืม ต้องทบทวนตลอดเวลา พระอรหันต์หลงในอะไร หลงในธาตุ ๔ หลงในสมมุติบัญญัติ พระอรหันต์หลงในสมมุติบัญญัติ พระอรหันต์ไม่หลงในอะไร พระอรหันต์ไม่หลงในอริยสัจ สันทิฏฐิโก ปัจจัตตัง ความรู้สึกอันนั้นไม่มีหลง

แต่สมมุติบัญญัติ มันหลงได้ สมมุติไง ภาษาวัยรุ่นมันพูดของมันทุกวัน มันพูดอะไรกูไม่รู้เรื่องหรอก สมมุติขึ้นมา ภาษานี่มันตายไปตลอดเวลา จะมีภาษาใหม่ๆ มาตลอดเวลา ภาษาสมมุติ แล้วนี่บัญญัติ ก็บัญญัติ หลงสมมุติ บัญญัติเป็นความจำน่ะ แต่ไม่หลงในอริยสัจ ไม่หลงในสัจจะความจริง อันนั้นไม่มีหลง ถ้ามันสมมุติบัญญัติน่ะมัน เราไม่เข้าใจมันได้

ทีนี้แต่ถ้าตัวจิตเห็นไหม ดูอย่างการประพฤติปฏิบัติ ชำระเริ่มต้น สติไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่สติ สติต้องฝึกขึ้นมา แต่เวลาพระอรหันต์ทำไมสติกับจิตเป็นอัตโนมัติล่ะ สติไม่ใช่จิต แล้วเวลาปัญญา เห็นไหม ปัญญาพวกเราต้องสร้าง พระอรหันต์ไม่ต้องสร้างนะ เพราะอะไร เพราะปัญญาเป็นปัญญา

พลังงานอะไรก็แล้วแต่ ที่มันขับเคลื่อน โดยวิทยาศาสตร์ พลังงานที่มันขับเคลื่อน มันต้องไหวตัวไหม ไม่ไหวตัวมันขับเคลื่อนได้ไหม ธรรมธาตุที่ออกรู้นี่ มันออกรู้นี่ มันขยับตัวนี่ ถ้าไม่มีสติ มันขยับตัวได้ไหม ทำไมธรรมธาตุ สติไม่เป็นอัตโนมัติ พระอรหันต์ไม่มีหลงหรอก สติพร้อมสมบูรณ์ ขยับตัวรู้ตลอดเวลา

แต่ขณะปฏิบัติมันไม่มี ไม่มี เพราะอะไร เพราะมัน สายบังคับบัญชาไง การบังคับบัญชามันยาวไกลมาก ธรรมธาตุ ธรรมธาตุนะ พอออกมามันเป็นอวิชชา พออวิชชา พอมันทำลายอวิชชา ตรงนี้เป็นพระอรหันต์ นี้ขั้นตอนหนึ่ง ขยับออกมาเป็นกามราคะอีกขั้นตอนหนึ่ง ขยับออกมาเป็นสกิทาอีกขั้นตอนหนึ่ง ขยับมาเป็นพระโสดาบันอีกขั้นตอนหนึ่ง ขยับเป็นปุถุชน

คิดดูสิ คัทเอาต์มีกี่ตัว สายบังคับบัญชาเท่าไร เราไม่มีทางทันหรอก ไม่รู้อะไรเลย แต่พอมันตัดขาดเข้ามาเป็นชั้นๆๆ ชั้นๆ เข้ามา จนถึงตัวมัน ขยับเมื่อไหร่ พร้อมๆๆ หมดเลย นี่ไง ไม่ได้อะไรเลยนะ ปฏิบัติไม่ได้อะไรเลย ไม่ได้อะไรเลย ทำไมมันรู้ ไอ้ที่มันได้ๆๆๆ มันรู้อะไร มันได้อะไร ได้หลงไง ได้หลงไปกับเขา ได้หลงกับที่เขาสร้างขึ้นมา สร้างทฤษฎีขึ้นมานะ ในการปฏิบัติ ถ้าเอาสัจจะความจริงพระพุทธเจ้าปฏิบัติตามจริงนั้น มันจะรู้ตามจริงนั้น

แต่เราไปสร้างมันขึ้นมา เช่นหลวงปู่มั่นเห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านสอนในมุตโตทัย การดื่ม การเหยียด การคู้ ต้องมีสติตลอดเวลา แต่พวกเราปฏิบัติกันนะ เวลาดื่มต้องดื่มหนอ เหยียดหนอ อ้าว! ก็กูเหยียดแล้วทำไมต้องเหยียดหนออีกล่ะ เราเหยียดมีสติ เราก็เหยียดแล้ว แต่ก็เหยียดหนอนี่สร้างอารมณ์ ในความรู้สึกเราอันหนึ่ง แล้วต้องสร้างความรู้สึกอีกอันหนึ่ง

เราดื่มใช่ไหม เราก็รู้แล้วว่ามันดื่ม ทำไมต้องดื่มหนอ คำว่าดื่มหนอนั้นสร้างขึ้นมาหรือเปล่า แล้วเอาความจริงคือการดื่มของเรา เห็นไหม เราจะเปรียบเทียบให้เห็นว่าหลวงปู่มั่น เวลาถ้าคนไม่เข้าใจ ก็คำพูดอันเดียวกัน หลวงปู่มั่นเทศน์ไว้ในมุตโตทัยไปอ่านได้ การดื่ม การเหยียดการคู้ การขยับ ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา แต่เวลาพอการปฏิบัติทางโลก เห็นไหม

การขยับ การเหยียด การคู้ เราต้องรู้ซ้อน ต้องรู้อารมณ์นั้นอีกทีหนึ่ง แต่ถ้าเวลาการปฏิบัติของเราเห็นไหม พวกเราเดินจงกรม จะขยับเขยื้อน เราจะปล่อยธรรมชาติ แต่เรามีสติพร้อมไป มีสติเราก็จะไม่พลั้งเผลอ นี่คือข้อเท็จจริง แต่ถ้าเราสร้างวัตถุขึ้นมาอีกอันหนึ่ง หยิบหนอ จับหนอ รู้หนอ ไอ้เราก็ปวดหัว ก็การดำรงชีวิตของเราก็ปัจจุบันอยู่แล้ว ทำไมต้องสร้างอาการอีกอาการหนึ่งขึ้นมาซ้อน แล้วว่าได้ ก็ได้ไง ก็ว่างๆ ก็บังคับให้มันทำ ทำไมมันจะไม่ว่างล่ะ

ก็ปล่อยมันตามความเป็นจริงสิ มันรู้สึกตัวตลอดเวลาก็ให้มันรู้สึกตัวไปสิ เพราะมันรู้สึกขึ้นมาแล้วนะ ภาพสร้างน่ะมันภาพตายตัวแต่ความจริงมันละเอียดลึกซึ้ง เหมือนน้ำ การใช้น้ำมากไป น้ำมันจะน้อย หดตัวลง ยุบตัวลง เพราะเราใช้ไป จิตมันเป็นปกติ เวลาลงสมาธิมันจะยุบลงตัวมันเอง มันจะลึกเข้าไปในตัวของมันเอง

แต่ถ้าเราไปสร้างภาพไว้ เหมือนกับมาตรวัด วัดให้มันคงที่ มันจะลดตัวลงได้ไหม ไม่ได้ แต่ของเขามันว่างๆ เพราะอะไร เพราะภาพสร้าง นี่ไง เราถึงบอกว่าไปแบกรับวัตถุไว้อันหนึ่ง แต่ยังไม่รู้ว่าแบกรับไว้นะ ไปแบกรับ ไปแบกไปยึดไว้อันหนึ่ง ไปผูกอารมณ์ให้ว่าง แต่ความว่างจริงอยู่ไหม มันถึงไม่เกิดกำลัง ไม่เกิดพลังงาน พลังงานคือตัวจิตสงบ มันจะมีพลังงานของมัน

อย่างเช่น ที่ว่าจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกาย จิตเห็นจิต รู้จิตเป็นไป เขาไม่มี เพราะล็อกไว้ ให้รู้ว่าง.. ว่างก็สร้างภาพว่างอยู่แล้ว นี่พูดโดยข้อเท็จจริง แล้วอยู่ที่ว่าอยู่ที่ใครจะปฏิบัติไง แล้วมาตามความเป็นจริง มันก็บอกว่าไม่เห็นได้อะไรเลย ไม่ได้อะไรเลยแต่มันจะพัฒนาการของมัน วิวัฒนาการมันจะเกิดนะ

แต่ถ้ารู้อะไรของมัน รู้ตายตัวอย่างนี้ รู้ตายตัว ตายตัวเพราะอะไร เพราะเราไปศึกษาธรรมะกันว่า ธรรมะ นิพพานคือความว่าง ทุกอย่างเป็นความว่าง แต่เราจะพูดอย่างนี้ เราพูดบ่อยมาก ความว่างที่มีเจ้าของกับความว่างที่ไม่มีเจ้าของ ความว่างที่มีเจ้าของคือจิตมันรู้ตัวมันเองว่าง ความว่างที่ไม่มีเจ้าของ อากาศ อวกาศ สรรพสิ่งมันว่างด้วยตัวมันเอง แต่มันไม่รู้สึก ไม่มีประโยชน์อะไรเกิดกับมัน แต่เราไปสร้างความรู้สึกอย่างนั้น

แต่ถ้าความรู้ที่มีเจ้าของ ว่าง ต้องมีเจ้าของว่าว่าง นี่พูดถึงว่างเฉยๆ นะ นี่สมาธินะ ไม่ได้แก้กิเลสอะไรเลย แล้วพอถึงเวลาจะแก้กิเลส เห็นไหม

“โมฆราช เธอจงมองดูโลกนี้เป็นความว่าง แล้วกลับมาถอนอัตตานุทิฐิ”

ถอนที่รู้ผู้รู้ เราถึงพูดเห็นไหม “ไม่มีตัวกูของกูคือกู”

ไม่มีตัวกู ไม่มีของกูใครรู้ ก็กูรู้ไง ไม่มีตัวกู ไม่ใช่ของกู คือกูไง โมฆราช กลับมาถอนอัตตานุทิฎฐิ ผู้รู้ตัวนั้น โมฆราช เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง แล้วกลับมาถอนอัตตานุทิฎฐิ อัตตานุ อัตตา อัตตารู้ อัตตารู้ ตัวอัตตาที่รู้ว่าว่าง

เพราะว่างปั๊บไม่พูดแม้แต่คำเดียว อ้าปากผิดหมด ไม่มีตัวกูไม่มีของกู ใครเป็นคนพูด ใครเป็นคนรับรู้ ไม่มีตัวกู ไม่ใช่ของกูคือกู กูไง ก็กูพูดไง แต่ไม่มีอะไรเลย ว่าง เม้มปากไว้ แต่มันไม่กล้าเม้ม มันกลัวว่าเขาไม่รู้ว่ามันฉลาด มันกลัวว่าเขาไม่รู้ว่ามันมีปัญญาไง โอ้ กิเลสร้ายนะ

ทีนี้ความว่างก็มีเจ้าของ ทีนี้คำว่าความว่างก็มีเจ้าของมันคือสมาธินะ ถ้าความว่างจริงมันว่างอย่างไร เพราะความว่างจริงมันต้องมีเหตุมีปัจจัย มีผู้กระทำให้มันว่าง แล้วถ้าใครเป็นคนกระทำให้ว่าง ก็ทำได้ว่างระดับไหน ความว่างของโสดาบัน ความว่างของสกิทา ความว่างของอนาคา ความว่างของพระอรหันต์

เราจะบอกว่าความว่างนี่มีขอบเขต ความว่างที่ระดับของความว่าง แล้วอยู่ที่วาสนาบารมี พระโสดาบันบางองค์ ๗ ชาติ ๓ ชาติ เห็นไหม พระอรหันต์ พระโสดาบันแต่ละองค์ บารมีก็ไม่เท่ากัน การผลตอบสนองมันจะเยอะกว่า แต่! แต่เหตุปัจจัยที่เข้าถึงขณะจิตที่เป็นความว่าง คือจะไม่แตกต่างกันเลย ผลของมันเป็นพระโสดาบัน จะพูดถึงขั้นของพระโสดาบันถูก สกิทา อนาคา อรหันต์นี่ถูก ถ้าไม่เป็น พูดร้อยหนก็ผิดร้อยหน

ทั้งๆ ที่จำธรรมะพระพุทธเจ้ามาพูดก็ผิดเท่าที่พูด ผิดเท่าที่พูด เพราะคนไม่รู้พูด พูดกี่คำก็ผิดเท่านั้นคำ แต่เวลาพูดธรรมะพระพุทธเจ้า ใช่ เห็นไหม บอกพุทธพจน์ พุทธพจน์ห้ามเถียง เถียงพุทธพจน์ไม่ได้ ไม่ได้เถียงพุทธพจน์ เถียงคนพูดพุทธพจน์ ไม่เคยเถียงพุทธพจน์เลย พุทธพจน์พูดถูก แต่คนพูดพุทธพจน์ คนที่พูดถึงพุทธพจน์ เถียงคนนั้น แต่ตัวพุทธพจน์ไม่เถียง เถียงคนพูดพุทธพจน์ พุทธพจน์ไม่ผิด แต่คนพูดผิด เพราะคนพูดไม่รู้ เพราะคนพูดไม่รู้จริง พูดอย่างไรก็ผิด

เวลาธรรม เห็นไหม ตรงนี้สำคัญ อาทิตย์ที่แล้วเขาจะกลับ แล้วมาพูด บอกเพื่อนเขามาปฏิบัติแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย เขาก็เลยไปปฏิบัติร้อยแปดพันเก้าอย่างนั้น ฟังแล้วมันก็สะเทือนใจ ประสาเรานะ มาถูกทางแล้วน่ะ ไพล่ไปเอาสิ่งที่มันสะดวกง่าย เยอะมากนะ กรรมฐานม้วนเสื่อไง

พอปฏิบัติๆ ไปแล้วไม่ได้ผล แต่ความจริงได้ เพราะคำว่าไม่ได้ผล เขารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา เขารู้สึกตัวตลอดเวลาว่าเขาทำ เขาไม่ได้ เขาไม่ได้อะไร ไม่ได้อะไรเลยก็มันไม่มีสิ่งใดติด มันเป็นโทษกลับมาเลย มันได้ปฏิบัติแล้วใช่ไหม ได้บุญแล้วใช่ไหม ได้ทุกอย่างพร้อมเลย แล้วมันอยากจะอยากได้

เราเห็นในทางปฏิบัติ ในทางฆราวาสนะ เขาไปสร้างสำนักปฏิบัติกัน เขาเขียนตำราเลย แล้วเขาไม่บอก เขาก็ให้เรานั่งทำสร้างความว่างกัน พอว่างเสร็จแล้ว เขาจดตำราให้เลย ให้ได้ว่างเหมือนกัน เขามาเล่าให้ฟังนะ เราฟังแล้วก็เศร้า คือตอนนี้เขาแบบว่าไปเปิดทาง ไปเปิดการสอน แล้วก็แบบว่าให้เข้ามาเรียนกันไง แล้วเขาเขียนตำราไว้เลย แล้วก็ให้เราปฏิบัติ พอว่างๆ เขาก็โยนตำรา ผลัวะ! นี่ถูก

ก็ตำราเขาเขียนเอง ก็เราเขียนของเราไว้ แล้วเอ็งทำมา ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่า โดยธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนี้ โดยธรรมชาติของจิตของคนมีฟุ้งซ่าน แล้วก็มีปล่อยวาง นะ ถ้าไม่มีปล่อยวาง เหมือนเรานี่ เรามีตื่นกับหลับ ไม่หลับ เราไม่ได้นอนหลับเราตายนะ เรามีตื่นนอนกับนอนหลับ ตื่นมาเพื่อเป็นปัจจุบันแล้วก็นอนหลับ

จิตก็เหมือนกัน ถึงเวลาเต็มที่แล้วมันก็พักของมัน แล้วถึงเวลามันก็คิดอีก แต่เราคุมมันไม่ได้ แต่เราทำสมาธินี่เราควบคุมได้หมดเลย แล้วรักษาของเราเลย ให้มันต่อเนื่อง เหมือนไฟ สันตติมันเกิดดับๆ อยู่ต่อเนื่อง มันสว่างตลอดเวลา มันเป็นของมันธรรมชาติ ของมันมีอยู่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ ในร่างกายในจิตใจเรา

แล้วพระพุทธเจ้านี่ท่านฉลาดมาก ไปรื้อไปค้นไปเห็นเข้า แล้วเอาสิ่งที่เราอยู่เราเป็น เรามีเราเป็นอยู่นี่ มาพลิกแพลงดัดแปลงให้มันเป็นธรรมะขึ้นมา แต่พวกเราไม่ใช่ พวกเราเอาธรรมะพระพุทธเจ้ามาสวมเข้ามาเป็นของเรา แต่เรายังไม่ได้เป็นอะไร แต่ถ้ามันเป็นมันเป็นที่เรา ใจเราเป็นอย่างนั้น เป็นเหมือนพระพุทธเจ้าบอกเลย อื้ม พุทธพจน์ ใช่

แต่ถ้าเราไม่ได้เป็น พูดมาเท่าไรก็ผิดเท่านั้น พุทธพจน์น่ะใช่ แต่มึงน่ะไม่ใช่ พุทธพจน์น่ะใช่ แต่คนพูดน่ะไม่ใช่ มันยังพูดของมันผิดๆ ถูกๆ อย่างนั้น มันถึงว่าสังคมไทยนะ เราเชื่อมั่นมากนะ เพราะเราเชื่อที่ว่าพระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้แล้ว กึ่งพุทธกาล ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง แล้วเราไปดูประวัติหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่าเจริญตั้งแต่สมัยพระจอมเกล้าฯ

พระจอมเกล้าฯ มาเป็นผู้รื้อฟื้นทฤษฎีขึ้นมา ให้เข้ามาเพราะพระจอมเกล้าฯ พอจะบวชแล้วมันไม่มีทางไป พอบวชแล้ว พระนั่งเกล้าฯ ขึ้นก็ต้องอยู่เป็นพระ ก็ต้องเอานิพพาน พอนิพพานปฏิบัติไปแล้วนี่ อ้าว! ทำไมทฤษฎีกับพฤติกรรมคนไม่เหมือนกันล่ะ ก็เลยรื้อค้นใหญ่เลย รื้อค้นก็พยายามสร้างขึ้นมา สร้างขึ้นมา ให้พวกเราเข้าไปใกล้ชิดศาสนามากขึ้นๆๆ

ไปเอาทฤษฎีมาแล้วบังคับตัวเองเข้าไปไง แต่ถึงสุดท้ายแล้วท่านไม่ถึงที่สุด เพราะท่านมีภาระใช่ไหม ท่านสึกไปเป็นพระจอมเกล้าฯ หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น ถึงที่สุด พอถึงที่สุดแล้ว เห็นไหม ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญในใจของหลวงปู่มั่นก่อน

พระพุทธเจ้าอยู่ที่โคนต้นโพธิ์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ที่หัวใจพระพุทธเจ้าก่อน นั่งอยู่โคนต้นโพธิ์ๆ แต่หัวใจพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ไม่ใช่ร่างกายและโคนต้นโพธิ์นั้นไม่ใช่ หัวใจของพระพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่ที่โคนต้นโพธิ์ ก็เลยเผยแผ่ศาสนามารอบหนึ่ง หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นไปแก้หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นตรัสรู้ธรรม รู้ธรรมขึ้นมาตามความเป็นจริง

นี่ ชักนำให้ศาสนาเจริญอีกหนหนึ่ง กึ่งกลางพระพุทธศาสนา แล้วต่อไปนี้ผู้ที่มีบุญญาธิการจะทำได้ขนาดนี้ ก็พระศรีอริยเมตไตรยข้างหน้า ในปัจจุบันนี้มีครูบาอาจารย์ของเรา แล้วก็จะเสื่อมถอย เสื่อมถอยเพราะใจของพวกเราด้าน ตัวศาสนาไม่เสื่อม ใจของคนปฏิบัติเสื่อม ใจของคนเสื่อม ไม่ใช่ศาสนาเสื่อม

ใจของคนเสื่อม เพราะอำนาจวาสนาเข้าไม่ถึง เข้าไม่ถึงไง เข้าไม่ถึงเพราะอะไร เพราะทิฐิมานะ เพราะข้างในมันต่อต้าน เพราะข้างในมันดูถูกเหยียดหยาม มันดูถูกเหยียดหยามธรรมะ ยกตัวเองขึ้นสูง กดธรรมะให้ลงต่ำ แต่ถ้าเรามีคุณธรรมเราจะกดตัวให้ลงต่ำ แล้วค้นคว้าธรรมะให้ขึ้นมา นี่ศาสนาจะเจริญ กึ่งพุทธกาลนะ

ในพระไตรปิฎกว่ากึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง แล้วในปัจจุบัน ในปัจจุบันตั้งแต่หลวงปู่มั่นหลวงปู่เสาร์มา จนถึงครูบาอาจารย์ของเรา จนถึงพวกเรา แล้วถ้าเราไม่สนใจ เราไม่ค้นคว้านะ อายุเราก็ไล่เลี่ยกัน เรานี่อาจจะตายพร้อมๆ กันก็จบกันไป แต่คนที่มีครูบาอาจารย์ ตายแล้วท่านไม่กลับมาอีก

แต่ถ้าเรากลับมาอีก เรากลับมาอีก เราไปเจออะไร แต่ถ้าคิดอย่างนั้นปั๊บนะ เราก็ต้องขวนขวายตั้งแต่บัดนี้ๆ จะได้มากได้น้อยก็อยู่ที่มือเรา อยู่ที่การกระทำของเรา เพื่อประโยชน์ของเรานะ เพื่อตัวของเรา ไม่อย่างนั้นถ้าไปเกิดใหม่อีกรอบหนึ่ง เกิดแน่นอนๆ แล้วเกิดแน่นอน แล้วคิดดูว่าสังคมมันจะไม่มั่นคงอย่างนี้

กฎหมายสังคมเอาคนไม่อยู่หรอก ศีลธรรมจริยธรรมเอาคนอยู่นะ เพราะพวกเรานี่มีความละอาย มีความหิริโอตตัปปะในหัวใจ สังคมอยู่กันด้วยศีลธรรมนะ ศีลธรรมความละอายทำให้พวกเราอยู่ในกรอบอยู่ในเกณฑ์ แต่กฎหมายเอาเราไม่อยู่หรอก กฎหมายบังคับแต่คนดีได้ ไอ้คนชั่วๆ มันไม่ฟังหรอก กฎหมายนี่มันปลิ้นไปตามกฎหมาย

ทีนี้ศีลธรรมจริยธรรมมันเสื่อม โลกมันจะร้อนขนาดไหน เราว่าโลกร้อนขนาดไหน อำนาจรัฐจะปกครองๆ อำนาจรัฐอ่อนแอ อำนาจรัฐควบคุมไม่ได้ แล้วเราไปเกิดสมัยอย่างนั้นนะจะทุกข์มาก แล้วเรา ถ้าอย่างปัจจุบันนี้เราถึงต้องเข้มแข็ง เขาว่าไม่ได้ ไม่ได้น่ะคือได้ ไม่ได้น่ะคือได้ เพราะอะไร มันเป็นนามธรรม มันเป็นความรู้สึกอยู่ในใจ

เราจะไปเอาหยิบเอาวัตถุอะไร ความคิด ความคิดความเห็นนิมิตวัตถุหมด หลานพระสารีบุตรไปต่อว่าพระพุทธเจ้าเห็นไหม ว่าไม่พอใจที่เอาพระสารีบุตรมาบวชที่เขาคิชฌกูฎ พระพุทธเจ้าบอกเลย

“ถ้าเธอไม่พอใจ เธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์ความรู้สึกของเธอก็คือวัตถุอันหนึ่ง”

ความคิดนี่เป็นวัตถุอันหนึ่ง พระพุทธเจ้าพูดไว้ชัดเจนมาก ความคิดความรู้ความเห็นปัญญามึง มันเป็นวัตถุอันหนึ่ง แล้วมึงไปแบกหามมันทำไม ถ้ามึงไม่พอใจอะไรมึงก็ต้องไม่พอใจความคิดมึงด้วยสิ ความคิดอารมณ์มึงน่ะทิ้งให้ได้ ถ้ามึงทิ้งตัวมึง ทิ้งอารมณ์มึง มึงจะไม่พอใจอะไร

ตรงนี้มันควบคุมได้ วัตถุอันหนึ่ง ความรู้ความเห็นของเรา วัตถุอันหนึ่งเลย แล้วถ้ามีสติปัญญาเราแก้ไขได้ จับได้ พูดอย่างนี้ชัดเจนมากเพราะอะไร เพราะคนพิจารณาจิตนี่มันจะจับอารมณ์ความรู้สึกนั้นหมดเลย ในอารมณ์ความรู้สึกความคิดเรานี่มันเป็นอารมณ์

พอจับธรรมารมณ์ได้ปั๊บ ในอารมณ์นั้นน่ะมันมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ขันธ์ ๕ นะ ความคิดนี่มันแบ่งแยก มัน โอ้โฮ! ซอยแยกย่อย มันแยกเข้าไป มันทำลายเข้าไป จะเห็นชัดเจนมาก ถ้าไม่เห็นชัดเจนมันจะละไม่ได้ มันจะละขันธ์ ๕ ไม่ได้ แล้วขันธ์ ๕ ก็มีขันธ์ ๕ อย่างหยาบ โสดาบัน ขันธ์ ๕ อย่างกลางพระสกิทา ขันธ์ ๕ อย่างละเอียดพระอนาคา

ตัวจิตพลังงานเฉยๆ ตัวอวิชชา ไม่ใช่ขันธ์ ๕ มันเป็นปัจจยาการ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ เป็นปัจจยาการ เป็นวิญญาณัง มันไม่ใช่ขันธ์ ไม่ใช่กอง มันเป็นพลังงานที่มันขยับตัว สืบต่อ ชัดเจนมาก ทำลายชัดเจนมาก ทำลายๆๆๆๆๆ จนถึงที่สุด สังโยชน์ขาดหมด แล้วตัวมันเอง ตัวเองมันผ่านออกไป

อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ เห็นไหม ตัวจิตเป็นตัวนิพพาน เราบอกตัวจิตจะเข้านิพพานไม่ได้ ถ้าตัวจิตเข้านิพพาน อัตตามันเข้ามา อัตตาเข้าไปอยู่ในนิพพาน ก็เหมือนเรานั่งขวางมันอยู่นี่ นิพพานกูขวางมึงอยู่เป็นนิพพานเหรอ ก็กูขวางมึงอยู่ ทีนี้ตัวจิตเป็นตัวนิพพาน ถ้าตัวจิตเข้านิพพาน ผิด นิพพานไม่มีจิต ไม่มีภพ ไม่มีสิ่งต่างๆ ทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเลย แต่มีตัวธรรมธาตุ ตัวที่มันรู้จริง เอวัง