ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

หาธรรมแท้

๑๓ ก.ย. ๒๕๕๒

 

หาธรรมแท้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เอาล่ะเนาะ เราเกิดมาในสังคม ถ้าสังคมเป็นสิ่งที่ดี เห็นไหม “สภาคกรรม” เราเกิดมาในสังคม เวลาเกิดมา หมดพุทธศาสนา นี่หมดกาลไง หมดกาลคือว่าโลกจะปรับสภาพใหม่ ปรับสภาพจนไม่มีวัตถุสิ่งใดที่เป็นของพระพุทธเจ้าองค์เดิม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงจะมาตรัสรู้

มันบริสุทธิ์นะป่าเขา นี่มันเกิดจากอะไร เกิดจากบุญบารมี เกิดจากบุญบารมีของผู้ที่จะมาเกิด เห็นไหม แล้วเราเกิดมานี่ “สภาคกรรม” สิ่งที่กรรมจะพาสภาพสังคม สังคมจะร่มเย็นเป็นสุขขนาดไหน

แล้วเราอยู่ในทางโลก เวลาทำธุรกิจ ดูสิวงจรของมัน แล้วเดี๋ยวนี้ชัดเจนขึ้นมากนะ เมื่อก่อนระยะเวลาจะมากกว่านี้ เดี๋ยวนี้จะสั้นเข้ามาเรื่อยๆ สั้นเข้ามาเรื่อยๆ เพราะคนมันทันกัน ดูอย่างตลาดหุ้นสิ พอนิวยอร์กเป็นอย่างไรปั๊บ มาแล้ว มาแล้ว มันจะสั้นขึ้นเรื่อยๆ นะ ชีวิตของคนสั้นขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นมา สังคมเห็นไหม มันเป็นบุญกุศลนะ แล้วเราเกิดมาด้วยบุญกุศล สังคมไทยนะ เรามองรอบบ้านเราสิ สังคมพุทธศาสนาเหมือนกัน แต่ทำไมไม่ร่มเย็นเป็นสุขเหมือนประเทศไทยเราล่ะ ประเทศไทยร่มเย็นเป็นสุขกว่ารอบบ้านเรา เห็นไหม รอบบ้านเรามีปัญหามาตั้งแต่ไหนแต่ไร รบราฆ่าฟันกันมาตลอด นับถือพุทธเหมือนกัน พระเต็มบ้านเต็มเมืองเหมือนกัน แต่ทำไมมีความร่มเย็นเป็นสุขเฉพาะในพุทธศาสนาในประเทศไทยเราเท่านั้น

เราก็มองกัน ของนี้คือว่าของใกล้ตัวไง ของใกล้ตัว ของที่เรามีอยู่ เราเกิดมาในสังคมอย่างนี้ไง นี่บุญแล้ว บุญพาเราเกิดมาสิ่งที่ดีอย่างนี้ อันนี้บุญพาเกิด แต่พอบุญพาเกิดมาทำไมทุกข์ขนาดนี้ล่ะ

ทุกข์นะ เวลาเราทุกข์ขึ้นมา ชีวิตส่วนตัวทุกคนมีความทุกข์ ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง พอทุกข์เป็นอริยสัจทุกข์เป็นความจริง สิ่งนี้เป็นความจริงอยู่แล้วใช่ไหม พอเราคิดเราย้ำคิดย้ำทำแต่ความคิดของเรา มันก็จะมีทุกข์เรื่อยๆ ไปนั่นล่ะ นี้ทุกข์เป็นความจริง ก็เอาศาสนามาเจือจานตรงนี้ เห็นไหม

หลวงตาบอกว่า “อาหารของกายคือกินข้าวเข้าทางปาก อาหารของใจคือธรรมะ คือศีลธรรม จริยธรรม” แล้วศีลธรรม จริยธรรมนี้ มันจะทุกข์มันจะยากขนาดไหน ถ้าเรามีสัจจะมีความจริง

ดูสิเวลาพระโพธิสัตว์ เห็นไหม เวลาตั้งสัจจะ แล้วทำคุณงามความดี พระอินทร์นี่อาสน์ร้อนเลยล่ะ ต้องแปลงร่างลงมา

มันมี เราอ่านพระไตรปิฎกตอนบวชใหม่ๆ เวลาอ่านในธรรมบท เห็นไหม

ดูสิพระโพธิสัตว์เป็นกระรอก อยู่ริมทะเล เวลาลมพัดมา ลูกกระรอกมันตกลงไปในทะเล เห็นไหม ทีนี้กระรอกมันจะเอาลูกคืนไง เอาหางไปจุ่มน้ำทะเลแล้วขึ้นมาสะบัด เอาหางไปจุ่มน้ำทะเลแล้วขึ้นมาสะบัด จนพระอินทร์ทนไม่ไหว ลงมาถามกระรอก

“ทำอะไรเนี่ย”

“จะเอาหางชุบน้ำทะเลขึ้นมาสะบัด”

“ทำไมล่ะ”

“สะบัดให้แห้งเลย”

“อ้าว.. แห้งเพื่ออะไรล่ะ”

“จะเอาลูก เพราะลูกตกลงไปในทะเล”

นี่ดูความคิดสิ แล้วในความจริงมันเป็นไปได้ไหม เอาหางไปชุบน้ำทะเลขึ้นมาสะบัด ให้น้ำทะเลแห้ง มันเป็นไปได้ไหม เป็นไปไม่ได้แล้วทำไมพระโพธิสัตว์ทำล่ะ ฝืนทำ ตั้งใจทำอยู่อย่างนั้นล่ะ

แล้วมาดูเซนนะ ดูสิในญี่ปุ่น เวลาเขาเจาะภูเขา เห็นไหม ของเราเจาะภูเขาเราระเบิดนะ สมัยโบราณมันไม่มีหรอก มันมีสิ่วกับค้อนเท่านั้นแหละ นั่งทุบ นั่งเจาะไปนี่ เจาะภูเขาเพื่อจะทำอุโมงค์ผ่านไป นั่งเคาะไปอย่างนี้คนเดียว ๓๐ ปี ตีไป ตีเจาะจนทะลุไปได้ ๓๐ ปี

นี่ถ้าเราเอาอย่างนี้นะ แล้วมาเป็นกำลังใจเรา เราลองมองสังคมสิ สังคมมันทุกข์ เวลาเราทุกข์เราร้อนนี่สังคมทุกข์ทั้งนั้นเลย สังคมพาเราทุกข์ สังคมพาเราร้อน

สภาคกรรมนะ เราเกิดมาในสังคมไหน เราเกิดในครอบครัวไหน ครอบครัวของเรานะ พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก พ่อแม่มีคุณมาก ถ้าพ่อแม่เราเป็นสัมมาทิฏฐิ พ่อแม่เราเป็นคนดีนะ โอ้โฮ.. ทำให้ครอบครัวเรานี้เป็นสุข แต่ถ้าพ่อแม่เราเป็นโจรล่ะ พ่อแม่เราอาชีพเป็นโจรปล้นเขากิน ทำลายเขากิน พ่อแม่เราเป็นโจร เราเกิดกับพ่อแม่เรา พ่อแม่ก็เป็นพระอรหันต์ของลูกอยู่วันยังค่ำ เพราะเราเกิดจากพ่อแม่

พ่อแม่ที่ดี เราเกิดมานี้ บุญกุศลพาเกิด เกิดในครอบครัวที่ดี เห็นไหม ถ้าพ่อแม่เราดี เราเกิดมาเราจะมีความสุขมาก เพราะพ่อแม่เราเป็นคนดีอยู่แล้ว แล้วเกิดมา เราเป็นลูก แล้วพระอรหันต์ของเรา เห็นไหม ชีวิตนี้เราได้มาจากท่าน

ถ้าพูดถึงทางธรรมนะ “สิทธิ” ไง เหมือนเราเป็นสิทธิของท่านเลย จะทำอย่างไรก็ได้ แต่เดี๋ยวนี้พอวิทยาศาสตร์เจริญ เห็นไหม “สิทธิเสมอภาค สิทธิเสมอภาค” เถียงกันนะเถียงแล้ว พ่อแม่ก็คือพ่อแม่ไง

กรรมอย่างนี้นะเราเจอมาเยอะ เมื่อก่อนมาใหม่ๆ ลูกศิษย์จากกรุงเทพฯ มาหา มาหมดแหละ มาถึงก็มาบ่นทุกข์บ่นยาก เราย้อนกลับเลย “พ่อแม่มึงอยู่ มึงดูแลพ่อแม่ไหม” พอไม่ดู พ่อแม่ก็ประสาทำมาหากินนั่นแหละ แล้วพอมีลูกขึ้นมาบ้าง เหมือนกันเลย เอาลูกไม่อยู่ไง ทุกข์มาก ทุกข์มาก กงกรรมกงเกวียนนะ กรรมมันมีจริง

นี่ถ้าพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก เห็นไหม สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราดูแลของเรา ชีวิตของเรา นี่พูดถึงพ่อแม่ของเรา

พูดถึงสังคมนะ เราจะบอกสังคม วันนี้เขามาถามปัญหา มาถึงเขาบอกเลยว่า “เขาอยากต้องการธรรมะที่แท้จริง” แหม.. ธรรมะที่แท้จริง พอเขาบอกอยากเจอธรรมะที่แท้จริง

“โยมพูดมาก่อนสิโยมภาวนาอย่างไร”

“พุทโธ พุทโธ” พุทโธมาเลยนะ พอพุทโธแล้วมันก็แยกเป็นส่วน เป็นรูปนี่แยกหมดเลย เรารู้แล้ว เราบอกว่า พุทโธนี้โยมเคยพุทโธมา ถ้าทำพุทโธแล้วมันไม่เป็นอย่างนี้หรอก

ถ้าทำพุทโธมานะ พอจิตมันสงบขึ้นมานี่มันเห็น สภาวะที่เห็นนั้น มันไม่เป็นอย่างที่โยมเป็นหรอก เขาก็ยอมรับ เขาก็บอก “อยู่กับการเคลื่อนไหวค่ะ” อยู่กับความเคลื่อนไหว แต่มันไม่ยอมพุทโธ

สงสัยไปเจอในเว็บไซต์ ถ้าเจอในเว็บไซต์ อัดไว้แรง ต้องพุทโธอย่างเดียวไง มาถึงก็พุทโธเลย

เราก็บอกว่า นี่เห็นไหมที่เขามาพูด เขาบอกว่า เขาต้องการ “ธรรมที่แท้จริง”

เขารู้ ! ในเมื่อเขาทำอยู่เขาก็รู้ ! แต่ในสังคมๆ หนึ่ง เห็นไหม สังคมที่ไม่มีคุณค่า สังคมที่เขาคิดของเขาขึ้นมา เขาบอกว่า “สิ่งนี้เป็นคุณธรรม สิ่งนี้เป็นคุณธรรมไง” แล้วก็ตั้งสังคมขึ้นมา แล้วคิดดูสิกระแสสังคมมันเป็นอย่างนั้นนะ กระแสสังคม เขายอมรับกันว่า “ความรับรู้อย่างนี้เป็นธรรมะ”

มันหางอึ่งนะ นี่เพราะความรับรู้ของเราใช่ไหม รับรู้การเคลื่อนไหว รับรู้ทุกอย่าง แล้วเขาบอกเขาแยกได้ นามรูปแยกได้ แยกกายแยกจิตได้

ใช่ ! คำพูดนี้เป็นของเขาพูด แต่ในความรู้สึกเรานะ เราไม่เคยเชื่อแม้แต่ขี้เล็บ มันเป็นไปได้อย่างไร เวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน เราทุกข์เรายากขนาดไหน กว่าจิตเราจะสงบ กว่าเราจะเริ่มต้นการพิจารณากัน เขาอยู่กันสุขสบาย แล้วก็บอกว่าเขาแยกรูปแยกนามได้ เขาแยกได้หมดเลย เขาแยกธาตุแยกขันธ์ได้หมดเลย

ถ้าพูดอย่างนี้ ถ้าเป็นในวงกรรมฐานเรา นี่พระโสดาบันอย่างต่ำนะ ถ้าพูดอย่างนี้เป็นพระโสดาบันอย่างต่ำ อย่างต่ำถ้าแยกรูปนี่เป็นธรรมชาติของมัน “จิตเป็นจิต กายเป็นกาย ทุกข์เป็นทุกข์ นี่เป็นพระโสดาบันนะ”

คุณสมบัติอย่างนี้คุณสมบัติของพระโสดาบัน แต่เวลาเขามาพูดของเขา เขาบอกเขาแยกรูปแยกนามได้ แยกจิตแยกกายได้ แยกทุกอย่างได้ แล้วมึงเป็นอะไรล่ะ เขาก็ยังสงสัยอยู่ไง อยากได้ธรรมะที่แท้ นี่มาหาหลวงพ่อ ให้หลวงพ่อแนะนำ “ธรรมะที่แท้ทำอย่างไร” เราบอกเลยนะกลับไปพุทโธอย่างเดียว แต่เขาบอกว่าพุทโธเขาทำไม่ได้ เขาดูอัฐิอยู่ เขาดูอะไรอยู่เขาทำได้ เราบอก “อะไรก็ได้ แต่อย่าตัดรากถอนโคนตัวเอง”

ถ้าตัดรากถอนโคนตัวเอง เห็นไหม คือเราไม่กำหนดสติ เราไม่ตั้งใจของเรา เราจะพูดนี่เราเปรียบเทียบสังคมจากข้างนอกเข้ามา เมื่อก่อนนี้วัฏจักรของมัน การเวียนไปของมัน ทางธุรกิจ ทางต่างๆ ทางสังคมนี่มันจะช้ามาก เพราะสังคมเทคโนโลยีมันยังไม่เร็วขนาดนี้ ดูสิสมัยล่าอาณานิคม กว่าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งมาจากยุโรป จะมาถึงอาณานิคมนี่ ๗ วัน ๘ วันนะ ข่าวสารมันจะมาถึงได้ พอมีโทรเลขก็เร็วขึ้นมาหน่อยหนึ่ง

นี่สิ่งที่จะมาได้ แต่เดี๋ยวนี้ทุกอย่างมันเร็วไปหมดเลย พอเร็วไปหมด ความสะดวกสบายมันมีมากขึ้น ความรู้เทคโนโลยีมันมีขึ้นมา เราก็คิดว่าเรามีปัญญากันไง นี้มันเกิดอหังการไง มันเกิดอยากจะควบคุมธรรมชาติไง มันอยากเอาชนะทุกอย่าง

อยากบริหารจัดการได้หมด โลกนี้มันบริหารจัดการได้ ถ้าบริหารจัดการได้ แล้วทำไมเศรษฐกิจมันเป็นอย่างนี้ล่ะถ้ามันบริหารจัดการได้ มันบริหารจัดการไม่ได้ขึ้นมา เพราะมันมีเวรมีกรรม พอมันบริหารจัดการไม่ได้ขึ้นมา เห็นไหม

ดูสิ ดูผลตอบแทนในการลงทุน จะต้องเอามหาศาลเลย เอาส่วนต่างกันจนสร้างส่วนต่างเทียมขึ้นมา พอมีส่วนต่างเทียมขึ้นมา ถึงที่สุดแล้วเป็นอย่างไร ล่มสลายไง นี่มันเป็นส่วนต่างเทียมทั้งนั้นเลย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราว่าเรามีปัญญากัน พอมีปัญญาก็ว่าแยกรูปแยกนาม “นี่มันเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นปรมัตถธรรม สิ่งนี้เป็นคุณธรรม”

นี่เขาคิดกันไป ว่ากันไปนะ แล้วก็สร้างขึ้นมา “นี่ไงธรรมะเทียมๆ” พอธรรมะเทียมๆ ขึ้นมาแล้วมันจะได้อะไรล่ะ พอไม่ได้อะไรขึ้นมา

ถ้าไม่มีคนเสนอออกมานะ สังคมก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ถ้าสังคมเป็นอย่างนั้น แล้วสังคมที่ยอมรับนี่ก็เป็นสังคมอย่างนั้น แต่พอเราเสนอออกมาเห็นไหม

“นี่ต้องการธรรมะแท้”

ถ้าต้องการธรรมะแท้ แล้วธรรมะมาจากไหนล่ะ นี่หลวงตาท่านพูดประจำ “สิ่งที่สัมผัสคุณธรรม สัมผัสธรรมะได้คือความรู้สึกของเรา คือจิตเรานะ”

หนังสือที่เวลาเขาพิมพ์ขึ้นมา หนังสือก็คือหนังสือ หนังสือมันไม่มีชีวิต หนังสือมันไม่มีความรู้หรอก คนไปอ่านหนังสือต่างหากถึงไปเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามา นี่จารึกมา จารึกไว้ให้คนขี้เกียจ

เมื่อก่อนเราต้องค้นคว้านะ เราต้องหาของเราเอง ต้องฟังจากปาก เห็นไหม

พระจำพรรษาที่มี ๔ องค์ขึ้นไป ถ้าสวดปาติโมกข์ไม่ได้เป็นอาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดเลย ในสงฆ์นั้นต้องส่งพระองค์หนึ่งไปเรียนปาติโมกข์จากสำนักไหนก็ได้ เรียนมา แล้วเดี๋ยวนี้มันมีหนังสือปาติโมกข์ใช่ไหม ทุกคนก็ท่องได้ พอมีหนังสือปาติโมกข์ ก็ท่องตามหนังสือปาติโมกข์

แต่เมื่อก่อนหนังสือมันไม่มี จะต้องส่งพระองค์ใดองค์หนึ่งให้ไปเรียนปาติโมกข์จากต่างสำนักขึ้นมา ถ้าเรียนมาไม่ได้ “ถ้าพระ ๔ องค์ขึ้นไปสวดปาติโมกข์ไม่ได้เป็นอาบัติหมดนะ ปรับอาบัติเลย !”

แล้วถ้าพอไม่ได้ ก็ต้องส่งพระไปเรียนจากสำนักที่เขาจำได้ เห็นไหม “มุขปาฐะ คือเรียนจากปาก” นี่เพราะมันไม่มี มันไม่มีตำรับตำราไง เดี๋ยวนี้ยังมีอยู่นะ ในพม่ามี

เวลาพูดถึงมรรคผลแล้วไม่เชื่อ แต่เวลาพูดถึงพระพม่า เดี๋ยวนี้มีนะพระพม่าที่จำพระไตรปิฎกได้หมดเลย... มี พอจำได้ปั๊บนี่เขาจะมีพัดของเขา แบบว่าถ้าใครจำได้หมด เขาจะมีกรรมการสอบ สอบว่านี่ท่องได้ทั้งตู้

เดี๋ยวนี้ยังมีอยู่ ที่พม่ายังมีอยู่ พอมีอย่างนี้แล้วเขานับถือกัน นี่มันอยู่ที่ประเพณีวัฒนธรรมที่ชุมชนใดเขาส่งเสริมสิ่งใดไง ถ้าชุมชนส่งเสริมสิ่งใด วัฒนธรรมก็จะเป็นอย่างนั้นล่ะ

ทีนี้วัฒนธรรมของเรา เรามีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นท่านเน้นตรงนี้ไง “เน้นตรงการพ้นทุกข์” เน้นตรงการพ้นทุกข์เพราะอะไร เน้นการพ้นทุกข์เพราะท่านได้สร้างบุญญาธิการมา เพราะหลวงปู่มั่นท่านบอกว่าท่านปรารถนาพุทธภูมิมา

ดูสิเวลาท่านสำเร็จขึ้นมาแล้ว คู่ครองของท่านที่ไม่เสวยภพนี่มาต่อว่าเลย ก็ได้สร้างมาด้วยกัน ก็พากันสร้างบุญกุศลมาที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า นี้ก็ปรารถนาเป็นคู่ไป แล้วมาตัดช่องน้อยแต่พอตัวไปอย่างนี้ ก็มาต่อว่าต่อขานนะ

ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บมันก็แบบว่า เวลาพูดธรรมะเป็นวิทยาศาสตร์นะ เวลาพูดเรื่องจิตวิญญาณ ก็ว่าจะพากันไปไหน

“แต่มันเป็นความจริง มันเป็นความจริงของผู้ที่สร้างบุญกุศล”

ดูอย่างพระโพธิสัตว์สิ ท่านบอกท่านปรารถนาพุทธภูมิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปรารถนาพุทธภูมิ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน แต่หลวงปู่มั่นท่านมาละของท่าน ท่านมาลาของท่านเพราะ ! เพราะความเห็นว่า “พระอรหันต์ก็สิ้นกิเลสเหมือนกัน” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สิ้นกิเลสเหมือนกัน

ถ้าผู้ที่สิ้นกิเลสเหมือนกัน แล้วมันต้องทนทุกข์ทรมานไปขนาดนั้น ท่านถึงละของท่าน แล้วท่านมุ่งมั่นของท่าน แล้วท่านพยายามฝึกฝนของท่าน จนผ่านขั้นผ่านตอนมา จนกลับไปแก้หลวงปู่เสาร์ ไปแก้ครูบาอาจารย์ไง

นี่เราเกิดมา คำว่าพระโพธิสัตว์มันก็ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า แต่นี่ “ละ”

“ละ” หมายถึงว่าพระพุทธเจ้ายังไม่พยากรณ์ ก็ละตรงนั้น แล้วมาพยายามศึกษาเข้ามา

นี่สังคมไทยมันมีตรงนี้ไง คือมีครูบาอาจารย์ของเรา พอมีครูบาอาจารย์มันก็ร่มเย็นเป็นสุข

“ร่มเย็นเป็นสุข” หมายถึงว่า เวลาครูบาอาจารย์ท่านเป็นธรรมขึ้นมา อยู่ที่ไหนมันจะดึงดูดเทวดา อินทร์ พรหมต่างๆ อยู่ที่ไหนฟ้าฝนจะตกตามฤดูกาล

เมื่อก่อนในสมัยพุทธกาล ถ้ามีฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะมันไม่มีเขื่อนไม่มีอะไร เพราะสมัยโบราณคนเราใช้แต่ธรรมชาติ เขาจะตรวจสอบเลยว่า กษัตริย์ผู้ปกครองนี่อยู่ในทศพิธราชธรรมหรือเปล่า ถ้าไม่อยู่ทำไมฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ดูนักพรต พระในแว่นแคว้นนั้น ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีปัญหาหรือเปล่า พวกนั้นเขาจะดูอย่างนี้เลย เพราะว่าถ้าพูดถึงแล้งติดกัน ๓ ปี ๔ ปี นะ คิดดูสิสังคมนั้นจะอยู่ได้อย่างไร... อยู่ไม่ได้ ! เห็นไหม

เขาถึงต้องเน้นย้ำถึงศีลธรรม จริยธรรม ถึงความถูกต้องดีงาม ถ้าที่ไหนมีคนที่มีศีลมีธรรมขึ้นมา ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล การเกษตรการกสิกรรมมันจะมีอาหารให้หล่อเลี้ยงประชาชน

นี่สิ่งที่เป็นความถูกต้องความดีงาม เหมือนอย่างหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ ท่านประพฤติปฏิบัติมาของท่าน แล้วท่านสิ้นกิเลสหมด นี่ในสังคมไทยไง แต่ใครจะรู้หรือไม่รู้นี่มันเป็นเรื่องของพวกเรานะ พวกเรานี่เป็นชายขอบไง เป็นชายขอบคือว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครจะมีคุณธรรมในหัวใจ เราจะมองกันว่า “คนเหมือนคน พระเหมือนพระ... แต่ไม่เหมือนกัน”

หลวงปู่ฝั้นท่านบอกประจำ “คนคอกิ่วๆ นี่ไว้ใจใครได้” มันไว้ใจใครไม่ได้ แต่การไว้ใจใครไม่ได้ “นี่กาลามสูตร” คือไม่ให้เชื่อๆ ไม่ให้เชื่อเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการว่าไม่ให้เชื่อนะ แต่ให้พิสูจน์

สิ่งนี้พิสูจน์ได้ เราพิสูจน์ของเราได้ เราเข้าไปสัมผัส เราพิสูจน์ของเราได้.. เราพิสูจน์ได้ !

คนมีคุณธรรม ไม่มีมารยาสาไถ ! ไม่มีมารยาสาไถ ! ความเป็นมารยาสาไถหรือฉ้อฉล อย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นกิเลสหยาบๆ

ถ้ากิเลสหยาบ นี่ “มโนกรรม” สิ่งที่เราทำผิดศีลผิดธรรมกันนี้ เราทำผิดแล้วถึงเป็นความผิด แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีคุณธรรมในหัวใจนะ มโนกรรมไง มันคิดอกุศลได้อย่างไร มันไม่คิดอกุศล มันคิดอกุศลไปไม่ได้ เพราะถ้ามันคิดอกุศลไปนี่มันกระเทือนหัวใจไง

นี่ไงเวลาครูบาอาจารย์ท่านพูด “นี่มันเสวยอารมณ์” คือเหมือนเราจับไปนี่เป็นน้ำหรือไฟ ถ้าจับไปเป็นน้ำมันก็เย็น ถ้าจับไฟมันก็ร้อน แล้วจับไปนี่มันรู้ตัวตลอดเวลาไง

สิ่งนี้มันถึงไม่มีมารยาสาไถ เพราะมันมาจากหัวใจ แต่ด้วยจริตนิสัยภายนอก คำว่า “จริตนิสัย” คืออำนาจวาสนา นั่นก็อีกอย่างหนึ่ง แต่อีกอย่างหนึ่งมันเป็นความเคยชินไง อย่างเช่นครูบาอาจารย์ เห็นไหม อย่างที่ว่าในปัจจุบันนี้เรื่องการสูบบุหรี่ โลกวัชชะโลกติเตียนมาก

มีคนสูบบุหรี่หลายคนมากเลย บอกว่าไม่สูบบุหรี่ก็ได้ แต่ขอให้คีบไว้ คีบไว้เฉยๆ เขาบอกว่าของมันเคยไง คีบไว้เฉยๆ นี่มันเป็นจริตนิสัยเห็นไหม การทำบ่อยครั้งเข้า มันไม่ได้ตั้งใจ ไม่มีความจงใจ แต่มันทำเพราะเป็นจริตเป็นนิสัยไป ไอ้อย่างนี้มันเป็นความเคยชิน แต่เรื่องในหัวใจมันไม่มีนะ

นี่พูดถึงสังคมไง และพูดถึงความเป็นไปของโลก แล้วโลกเขาบัญญัติกันอย่างนั้น แล้วเราเกิดมาในโลกนี้ เห็นไหม เราเกิดมาในโลกนี้ แต่มันยังมีคนดีอยู่นะ มันมีคนดีอยู่ มันมีคนคอยช่วยเหลือสังคมอยู่ ถ้ามีคนคอยช่วยเหลือสังคมอยู่นี่เพราะอะไร เพราะเขาปรารถนาบุญกุศลของเขา

เหมือนพระโพธิสัตว์ไง พระโพธิสัตว์ต้องการให้คนอยู่รอบข้าง คนอยู่ด้วยกัน ให้มีความสุขไง “เพราะความสุขนี้สร้างบารมี” เห็นไหม

เวลาบารมีเกิดขึ้นมา ทุกคนก็อยากให้ตัวเองเป็นคนมีเชาว์ปัญญา ให้เป็นคนทันคน แล้วเชาว์ปัญญานี้มันเกิดจากอะไรล่ะ เชาว์ปัญญามันเกิดจากอะไร

นี่ไงเวลาเชาว์ปัญญามันเกิด เด็กบางคนเวลาเกิดมามีเชาว์ปัญญา มีไอคิวที่โอ้โฮ.. สุดยอดเลย นั่นเป็นบุญของเขานะ แต่บุญของเขานะ ดูอย่างจุลปันถกก็เหมือนกัน

“มหาปันถก จุลปันถก” เวลาบวชเข้ามาแล้วพี่ชายเป็นพระอรหันต์ไง แล้วเวลาเกิดมานี่แม่หนีตามคนใช้ไป เวลากลับมานี่ตาไม่เอา ตาเอาแต่ลูกไม่เอาแม่ ตาก็เอาลูกไว้คืออยู่กับตา พออยู่กับตาแล้วมันสังเวชในชีวิตไง ก็ขอตาบวช พี่ชายบวชคือมหาปันถกบวชแล้ว ได้เป็นพระอรหันต์ก่อน ก็คิดถึงน้องชาย

ชีวิตมันรันทดนะ แม่หนีตามคนใช้ไป พอหนีตามคนใช้ไปแล้วเกิดลูกสองคน ทีนี้มันอยู่ในป่าก็ทุกข์ยากไง ก็อยากจะกลับมาอยู่ด้วยกัน เพราะคิดว่าตาจะต้องให้อภัยแม่ไง ทีนี้ตาก็ทิฐิ ตาก็มีความผูกโกรธใช่ไหม ก็บอกว่า เอาแต่หลานลูกไม่เอา ให้เงินให้ทองไปสร้างตัว เพราะขายหน้า มันทนกระแสสังคมไม่ได้

ทีนี้พอเอาลูกมา เวลาที่ใครถามว่าลูกใคร มันก็สะเทือนใจ ชีวิตรันทดทั้งหมดก็เลยขอบวช พอบวชมาเป็นพระอรหันต์เสร็จแล้ว มีลูกศิษย์ลูกหามากก็คิดถึงน้องชาย ก็เอาน้องชายมาบวช แต่ให้น้องท่องคำๆ เดียวก็ท่องไม่ได้ ให้ท่องอย่างไรก็ท่องไม่ได้ จนบอกให้สึกเลย เพราะอายเขาไง

เพราะตัวเองเป็นพระอรหันต์ด้วย แล้วมีลูกศิษย์ลูกหามหาศาลเลย ก็เลยบอกให้สึก คือไล่ให้ไปสึกเลย พอไล่ให้สึกพระพุทธเจ้าไปดักเลย

“เธอบวชเพื่อใคร”

“บวชเพื่อพระพุทธเจ้า”

“ไม่ต้องสึก มาอยู่กับเรานี่”

มาถึงก็เอาผ้าขาวลูบนะ แล้วบอกว่า “ผ้าขาวหนอ... ขาวหนอ” เห็นไหม

พอบอกว่า “ขาวหนอ... ขาวหนอ” แล้วผ้าขาวกับมือลูบ ผ้ามันจะขาวได้อย่างไรล่ะ มันก็ต้องดำเป็นธรรมดา พอมันดำนี่มันปิ๊งเลยนะ เป็นพระอรหันต์เลย

นี่จะบอกถึงว่าเชาว์ปัญญาไง เพราะว่าเชาว์ปัญญานี่ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เหตุการณ์เกิดมาอย่างนี้ในสมัยพุทธกาล พระนี่เขาต้องวิจารณ์กันตลอด เพราะในหมู่สงฆ์ ในหมู่ผู้ประพฤติปฏิบัติเขาจะรู้กัน เขาจะเห็นกัน ก็วิจารณ์ว่า “ทำไมเป็นพระอรหันต์ แต่ทำไมท่องมนต์คำเดียวก็ท่องไม่ได้ แล้วเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร แล้วทำไมลูบผ้าขาวถึงเป็นพระอรหันต์ล่ะ”

พระพุทธเจ้าบอกว่า เขาเคยมีอำนาจ เขาเคยเป็นกษัตริย์ เขาตรวจพลสวนสนาม แล้วเคยเอาผ้าเช็ดหน้าเช็ดหน้า พอเช็ดหน้าแล้วผ้ามันสกปรกไง เพราะกษัตริย์มันประณีตใช่ไหม เพราะฝุ่น

แล้วสมัยโบราณ พอเอาผ้ามาเช็ดหน้ามันก็สกปรกใช่ไหม ทีนี้มันก็ฝังใจ “นี่ไงมันเป็นเหมือนกรรมฐานที่ฝังอยู่ในจิต”

แล้วสิ่งที่ว่า เวลาพี่ชายบอกให้ท่องคำสองคำนี้ ทำไมถึงท่องไม่ได้ “นั่นมันเป็นกรรมเก่าของเขาเหมือนกัน” เขาเคยบวชเป็นพระชาติหนึ่ง แล้วเวลาเห็นพระที่จะท่องปาติโมกข์ แต่ตัวเองมีปัญญาไง ก็ไปดูถูกเหยียดหยามเขาไง “ทีนี้ความดูถูกเหยียดหยามมันก็เป็นกรรมไง”

มีกรรมมา กรรมที่ว่าเคยเป็นกษัตริย์ตรวจพลสวนสนาม นี่มันเคยมีกรรมฐานฝังใจมาเพราะมันเช็ดหน้า เหมือนเราเห็นสภาพที่มันเป็นอสุภะ แล้วมันติดใจ มันฝังลงที่ใจเลย

นี่บุญกุศลของคน แล้วเราทำไมท่องไม่ได้ล่ะ เห็นไหม มันมีทั้งบุญมีทั้งบาป คนเรานี่เหมือนเหรียญที่มันมีสองด้าน ฉะนั้นเวลาเรามีสิ่งใดที่เกิดขึ้นมากับชีวิตแล้วนี่ มันจะตกต่ำขนาดไหน หรือจะสูงส่งขนาดไหนนะ ให้มีสติสัมปชัญญะไว้

กรรมมันขึ้นๆ ลงๆ ไง ชีวิตของคนเรานี่เห็นไหม นี่ครูบาอาจารย์ท่านบอกเหมือนเราขับรถขึ้นเขาลงเขา เวลาขึ้นเขาอยู่สูงบนเขาเลยนะ เวลามันลงก็ลงมา เดี๋ยวมันก็ขึ้นได้ลงได้ มันไปของมันตามธรรมชาติของมันเห็นไหม บนถนนที่เขาตัดนั่นล่ะ ชีวิตของเรานี่ไปตามบุญตามกรรม ฉะนั้นเวลามีสิ่งใดนี่มันต้องมีสติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะเพื่อจะให้ควบคุมสติของเราได้

ทุกข์นะ เวลาทุกข์เห็นไหม ดูสิเวลาพระบวชเห็นไหม ดูพระบวชจะมีความสุขความสุข แล้วก็คิด เราก็เคยคิด ตอนบวชใหม่นะๆ นึกว่าปฏิบัติไปเถอะ พอสิ้นแล้วนะ แหม..มันจะมีมันจะเลาะไปของมันนะ พอจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ มันไม่ใช่อย่างที่คิดเลย ถึงบอกไงบอกว่าคนเรานี่คิดไม่ได้หรอก คิดว่าจินตนาการมรรคผลไม่ได้หรอก พอมันเป็นจริงมันเป็นที่ไหน แล้วมันเป็นอย่างไร พอสุดท้ายแล้วดูสิพระพุทธเจ้าเห็นไหม พระพุทธเจ้ายังมีหมอชีวกเป็นหมอประจำตัว พระพุทธเจ้ายังเจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนกัน

เรื่องของร่างกายเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรื่องของใจมันเป็นเรื่องสำคัญมาก นี้ใจสำคัญมาก ใจสำคัญเรื่องอะไร ใจเรานี่เห็นไหม ดูสิดูเวลาเขาปล้นนี่ เขาปล้นแบงก์ใหญ่ๆ นี่ ดูสิเขาวางแผนได้อย่างไร เขาวางแผนเป็นซับเป็นซ้อน อู้ฮู.. พูดถึงนะเขาจะทำความชั่ว เขาจะทำบาปอกุศลของเขา เขายังต้องวางแผนขนาดนั้นเลย แล้วเราจะทำความดีนี่ เราจะทำความดี ทำไมเราไม่มีปัญญาของเราขึ้นมาบ้างล่ะ ทำไมเราไม่คิด คำว่าใช้ปัญญาๆ ปัญญาของอะไร ปัญญาของกิเลสทำให้เราไปไหน แล้วปัญญาของเรานี่ปัญญาของโลกนะ บริหารจัดการนี่ บริษัทมหาศาลบริหารได้สำเร็จหมดเลย แล้วเวลาจะตายไปไหนล่ะ เวลาจะตายทำอย่างไร

นี่ไงมันเป็นสมบัติของโลก มันถึงที่ว่าบุญกุศลใครทำดีมาใครทำชั่วมาไอ้นั่นเป็นอีกอันหนึ่งนะ แต่อริยทรัพย์ ทรัพย์จากภายในที่เรามาทำกันเดี๋ยวนี้ นี่เรามาเห็นไหม ดูสิเราตากแดดตากฝนกันเพื่ออะไร? เราตากแดดตากฝนกันเพื่ออะไร? เราทำของเรานี่เราจะฝังเอาไว้ไง พระพุทธเจ้าบอกนะเวลาทำมาหากินมาได้

เงินบาทหนึ่ง นี่ให้ใช้ทำทุนสลึงหนึ่ง ให้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่สลึงหนึ่ง ให้เก็บไว้ใช้เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยสลึงหนึ่ง อีกสลึงหนึ่งฝังดินไว้... ท่านใช้คำว่าฝังดินไว้เลยนะ ฝังดินไว้.. ฝังดินนี่ก็ทำบุญกุศลนี่ฝังดินไว้นะ ดินนี่เป็นดินข้างนอกนะ เราฝังไปนี่ฝังดินไว้นี่ เราเสียสละไปนี่มันฝังไว้ในหัวใจไง ใครเป็นผู้เสียสละล่ะ ฝังดินไว้นี่ ฝังดินไว้เป็นบุญกุศลของเรา

นี่ก็เหมือนกัน ที่เรามาขุดดิน เรามาขุดดินนี่มันก็เพื่อบุญกุศลของเรา ถ้าบุญกุศลของเรานะ เราทำของเรา เราจะบอกเลยนะ ถ้าอีก ๕ ปี ๑๐ ปีข้างหน้า แล้วเรามาดูกัน ดูถึงความร่มเย็นของมัน แล้วทุกคนที่เขามาใช้อาศัยนี่ มาอาศัยในแรงงานของเรานี่ เราได้ปลูกเราได้รักษาของเราไว้ แล้วทุกคนมาอาศัยร่มเงาของมัน เราคอยดูตรงนั้นสิ เพราะอะไร เพราะเรื่องนี้เราเห็นมา เพราะเวลาหลวงตาท่านไปวัดโพธิสมภรณ์ ท่านไปไหน เวลาท่านพูดกับพระนี่นะ

“ต้นนี้เราปลูกไว้ ต้นนี้เราปลูกไว้” ต้นมะพร้าวนี่ต้นใหญ่มากเลย ท่านปลูกตั้งแต่บวชใหม่ๆ เดี๋ยวนี้ยังอยู่นี่ไง... มันเห็นนะ มันเห็นมันรู้ของมันได้

นี่ก็เหมือนกันเราทำของเรา เราทำของเราไม่มีใครรู้หรอก แต่เรานี่รู้ เรารู้เราเห็นของเรา นี่ฝังดินไว้ ! ฝังดินไว้ คุณงามความดีของเรานี่ฝังดินไว้ แม้แต่พระเราปฏิบัติเห็นไหม เวลาเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนานี่ นี่มันทุกข์ไหม มันจะทุกข์ตอนไหนรู้ไหม มันจะทุกข์ตอนที่ว่าเราเดินนี่เดิน ๕ วัน ๗ วัน เดือนหนึ่ง ๒ เดือน ปีหนึ่ง ๕ ปี ๑๐ ปี

ดูสิหลวงตาท่านเดินจงกรมทุกคืนเลย ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วยังเดินจงกรมอยู่ล่ะ... วิหารธรรม ! เวลาเดินจงกรมนี่เป็นวิหารธรรม เหมือนรถเลย เครื่องยนต์นี่ถ้าพูดถึงเราได้อุ่นเครื่องมัน เราได้ดูแลมันนะมันจะทนมาก ถอยรถมาเลยนะ ใส่น้ำมันไว้หมดเลย ดับมันไว้อย่างนั้นแหละ มันผุหมดเลย เครื่องเสียหายหมดเลย นี่ไงร่างกายของเรา ยิ่งออกกำลังกายยิ่งบริหารจัดการมัน ร่างกายของเรานี่จะอยู่สุขสบายมาก เพราะอะไรรู้ไหม

“ภารา หเว ปัญจักขันธา มันเป็นภาระอย่างยิ่ง”

ความคิด... ความคิดกับร่างกายนี่เป็นภาระอย่างยิ่ง ความคิดเห็นไหม ความคิดอยากสร้างเพื่อทำประโยชน์โลกอยากต่างๆ นี่ความคิดเห็นไหม พอคิดแล้วเราก็ต้องทำตามมัน ร่างกายนี้มันเสื่อมสภาพเป็นธรรมดา

ร่างกายเสื่อมสภาพ เป็นภารา หเว ปัญจักขันธา จิตมันพ้นไปแล้ว... แต่จิตพวกเรามันไม่พ้น จิตพวกเราไม่พ้นนี่มันเป็นอันเดียวกัน ! มันเป็นอันเดียวกันเห็นไหม เวลาพุทโธ พุทโธ นี่มันจะให้ พุทโธ พุทโธ พุทโธ เราทำปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา เห็นไหม มันจะปล่อยวางจากกัน มันจะแยกออกจากกันได้ ถ้าจิตสงบจริงๆ นะ จิตสงบจนไม่รับรู้เรื่องของกายเลยมันก็ปล่อยได้ นี่ไงมันมีปฏิกิริยาของมัน เห็นไหม

โดยธรรมชาติเวลาเกิดขึ้นมาแล้วนี่ เราได้มาด้วยบุญด้วยกรรม มันเป็นสัญชาตญาณ มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ไง มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ แต่เวลากำหนดพุทโธนี่ พอจิตหนึ่งไม่มี จิตหนึ่งไม่มีนี่มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าพุทโธ พุทโธ... ถ้าจิตมันสงบ สงบคืออัปปนาสมาธินี่มันปล่อย ขณะที่มันปล่อย มันปล่อยกายเลย จิตมันอยู่ในร่างกายเรานี่แหละ แต่มันไม่รับรู้ร่างกายของเราเลย มันอยู่โดยสภาพของมันนี่ มันอยู่โดยสภาพของมันโดยธรรม โดยสติโดยปัญญาของเรา โดยปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา มันมีความมหัศจรรย์นะ

นี่ไงเวลาเขาบอกว่าต้องการธรรมะแท้... ธรรมะแท้ ธรรมะแท้ของใคร ธรรมะแท้ที่ว่าธรรมะแท้ ธรรมะแท้จำพระพุทธเจ้ามา ปรมัตถธรรมไง ธรรมะแท้เพราะอะไร เพราะพวกเรานี่ไม่กล้ายืนขึ้นมาโดยขาของตัวเอง พวกเราไม่กล้ายืนขึ้นมาให้เรามีความเข้มแข็งขึ้นมาเอง นี่แล้วอย่างเราเกิดมาเห็นไหม เราเกิดมาเราอาศัยพ่อแม่ จะให้พ่อแม่เลี้ยงไปจนตายเลย นี่เกิดมาในธรรมพระพุทธศาสนา จะให้พระพุทธเจ้าดูแลไปจนตายนะ

อู๋ย... ปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม... อะไรจะผิดจากธรรมพระพุทธเจ้าไปหมดเลย ตัวเองก็เลยกลายเป็นเด็กอ่อนจนตาย โตขึ้นมาไม่ได้ แต่เวลาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พอจิตมันมีปฏิกิริยาไง นี่เห็นไหมมันจะมีปฏิกิริยา มันจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นนี่ มันเป็นปฏิกิริยาของมัน ปฏิกิริยาของมันเห็นไหม ถ้าไม่มีปฏิกิริยาของมัน ทำไมอารมณ์ปกติของเรานี่อารมณ์ปุถุชนนี่

“ปุถุชน.. กัลยาณปุถุชน...”

กัลยาณปุถุชน ! กัลยาณปุถุชนนี่เจริญโสดาปัตติมรรค ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชนมันเจริญโสดาปัตติมรรค ทำไมถึงเป็นกัลยาณปุถุชนล่ะ คนๆ เดียวกันอยู่ นี่คนๆ เดียวกันเห็นไหม เป็นบุคคล ๘ จำพวก ! คนๆ เดียวนี่เป็นบุคคล ๘ คน คนๆ เดียวนี่แหละจิตใจมันเปลี่ยนแปลง จิตใจตั้งแต่ที่มันเป็นปุถุชนเห็นไหม มันเป็นปุถุชน มันเป็นกัลยาณปุถุชน มันเจริญโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

นี่ไงบุคคล ๘ จำพวก บุคคลที่ ๑ เป็นบุคคลขึ้นมาแล้ว บุคคลที่ ๑ ในสังฆคุณไง แต่นี้เราเป็นใครล่ะ เราเป็นสวะ เราเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่า แล้วเราบอกเราเป็นนักปฏิบัติไง นี่เราไม่มีสิ่งที่มีคุณค่าสิ่งใดเลย เราไม่เป็นบุคคลสักคนเดียวในสังฆคุณ ในบุคคล ๘ จำพวกนั้น แต่ถ้าจิตเราสงบขึ้นมานะ พอจิตเราสงบเห็นไหม นี่ไงที่ว่าธรรมะแท้ ธรรมะแท้ เขาต้องการธรรมะแท้

ธรรมะแท้เพราะเขาปฏิบัติกันมา เขาปฏิบัติกันมาแล้วมันไม่มีใครบอก ไม่มีใครยืนยัน เห็นไหม ก็สังคมๆ นั้น สังคมๆ นั้นแยกรูปแยกนามแล้วนี่ มันปฏิบัติไปเป็นวิปัสสนา ปัญญาสายตรงๆ สายตรงแล้วมันได้อะไรขึ้นมา ได้ความลังเลสงสัย... ได้ความลังเลสงสัยแต่อยู่ในชนกลุ่มหนึ่งของเขา ชนกลุ่มของเขา ในเมื่อเขามีการรับรองกัน เขามีการเกื้อกูลกัน เขาก็ว่าสิ่งนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมที่เขาได้ผลของเขา

แต่เวลามีคนโต้แย้งขึ้นไป เห็นไหม มีผู้เสนอมุมมองขึ้นมาเนี่ยตกใจ... ตกใจไง มันเป็นอย่างนี้ด้วยเหรอ อย่างนี้มีด้วยเหรอ อ้าว... ก็ทำกันมาอย่างนี้ ทุกอย่างก็ว่างๆ นี่มันแยกกันได้อยู่แล้วนี่ อย่างนี้ก็ปล่อยมาหมดแล้ว

นี่ไงพอมีผู้เสนอความจริงออกมา ถึงบอกว่าต้องการธรรมะแท้ พอต้องการธรรมะแท้ เห็นไหม แล้วเวลาพูดนะ เวลาพูดพวกเรานี่ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไม่มีคุณงามความเป็นจริงจากหัวใจ นี่มันพูดไม่ออกไง เวลาเขาดูถูกเหยียดหยามไง พุทโธ พุทโธนี่ไอ้พวกสมถะนี่ ไอ้พวกไม่มีปัญญา เนี่ยโง่.. หลับตามันจะรู้อะไร...

เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะพูดบ่อย ไอ้พวกที่ว่าหลับตาไม่รู้อะไรเลยนี่ แล้วไอ้ลืมตามันรู้อะไรล่ะ ไอ้ลืมตามันรู้อะไร... ใช้ปัญญาสายตรงมันรู้อะไรล่ะ... มันไม่รู้อะไรเลย ชิงสุกก่อนห่าม ! แล้วได้ความรู้มาก็เป็นความรู้ที่ไม่จริง

แต่ถ้าธรรมะจริง เห็นไหม พุทโธ พุทโธนี่แหละ พุทโธ พุทโธ เหมือนพวกเรานี่รักษาร่างกายเราให้เข้มแข็ง เวลาเราทำอะไรก็ทำได้ นี่เราไปห่วงแต่สมบัติข้างนอก ร่างกายนี่ปล่อยให้มันอ่อนแอ ร่างกายนี่ปล่อยให้เจ็บไข้ได้ป่วยนะ ร่างกายมันก็เหมือนกับจิตใจ ถ้าจิตใจนี่ถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิขึ้นมา ถ้าจิตใจนี้มันเป็นอิสรภาพเข้ามา อิสรภาพจากอะไร

เราเป็นเรา เราไม่เป็นอิสรภาพอยู่เหรอ... ไม่เป็น เราตกอยู่ใต้กฎของพญามาร เราตกอยู่ในการปกครองของมารทั้งหมด เราตกอยู่ในการปกครองของอวิชชา จิตดวงนี้อยู่ใต้การปกครองของอวิชชา ไม่เคยเป็นอิสรภาพขึ้นมาแม้แต่วินาทีเดียวเลย แต่เราพุทโธ พุทโธ พุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิขึ้นไปจนมันเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้ามันเป็นอิสรภาพของมันขึ้นมา เห็นไหม แล้วพอเป็นอิสรภาพของมันขึ้นมานี่ มันไม่อยู่ในใต้ปกครองของมารชั่วคราว เพราะจิตมันสงบ

พอจิตมันสงบนี่เพราะว่า นี้มันหินทับหญ้านี่มันเป็นการเตือนกัน ว่านี่มันเป็นหินทับหญ้า... หินทับหญ้า เราทำ แต่หินทับหญ้าทำไม ก็หินทับหญ้านั่นแหละมันจะเป็นประโยชน์ขึ้นมา เพราะหินทับหญ้า หญ้ามันก็ไม่ขึ้นใช่ไหม หญ้าไม่ขึ้น ตรงที่หินทับไว้มันก็โล่ง มันก็ไม่มีหญ้าขึ้น ไอ้ตรงที่ไม่มีหินทับไว้มันก็หญ้ารกชัฏมันก็เต็มไป ในความคิดของเราที่มันฟุ้งซ่านอยู่ ความคิดของมารอยู่ มันก็หญ้ารกชัฏอยู่ ไอ้ที่มันกดไว้หญ้าก็ไม่ขึ้นเว้ย ตรงนี้มันโล่งเว้ย ตรงนี้มันไม่มีหญ้าไง

นี่ไงนี่พูดถึงจะหินทับหญ้าขนาดไหน แต่ถ้ามันเป็นอิสรภาพขึ้นมา มันเป็นความจริงขึ้นมา เวลาออกมาวิปัสสนา ออกมาดูกายดูเวทนาดูจิตดูธรรม มันไม่เป็นอย่างที่เขาบอกแยกรูปแยกนาม แยกได้... แยกได้มึงปากพูด ถ้ามึงแยกด้วยความเป็นจริงนะ มันสะเทือนหัวใจมากกว่านี้

คำว่าสะเทือนหัวใจมากกว่านี้ พอถ้าสะเทือนหัวใจมากกว่านี้นะ ฟังเว็บไซต์ของเรา ฟังซีดีเรานี่ แหม... แหม... มันอันเดียวกันไง เหมือนเรานี่ไปจุดใดจุดหนึ่งมา แล้วเรารู้อยู่คนเดียว มันไม่มีใครรู้กับเรา นี้ถ้ามีคนที่สองเคยไปที่นั่นมา แล้วมาคุยมาบอกว่า แหม.. ได้ไปตรงนั้นมาเห็นมา สองคนคุยกันลื่นเลย แต่ถ้ารู้อยู่คนเดียวนี่ รู้อยู่คนเดียวก็พูดอยู่คนเดียว ไอ้คนที่ไม่เคยรู้ก็ไม่เคยเห็น นี่ไม่เคยเห็น

นี่ไงเวลาพูด เพราะเราถึงบอกว่าแยกรูปแยกนามนี่เขาพูดของเขา มีคนๆ หนึ่งเขาไปสถานที่หนึ่ง เขาไปเห็นสภาพนั้นมีความร่มเย็นเป็นสุขมาก แต่อีกคนๆ หนึ่ง มันได้เคยดูแต่ภาพไง เขาไปถ่ายมาให้ดู มันก็ว่าแยกรูปแยกนาม ดูตามภาพนั้นไง พูดคนละเรื่องนะ นี่พูดกันไปคนละเรื่อง

แต่ถ้าเขาเป็นความจริงของเขา เขาดูแลของเขา เขาพยายามของเขา ความพยายามของเราเห็นไหม ที่บอกพุทโธไม่มีปัญญา พุทโธนี่สมถะไม่มีปัญญา สมถะนะมันถึงฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งกิเลส ฐานที่ตั้งแห่งการเกิด ฐานที่ตั้งแห่งปัญหาทั้งหมด นี่เห็นไหม โลกนี้มีเพราะมีเรา เพราะมีเราเราก็ทุกข์ เพราะมีเราเราก็ต้องแบกทุกอย่างเลย แล้วมีเราเราจะทำร้ายตัวเราเองก็ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าไม่บอกอย่างนั้น

นี่ไงที่ว่ามัชฌิมาปฏิปทาไง โลกนี้มีเพราะมีเรา โลกมันมีอย่างนั้นล่ะ มึงเกิดมึงตาย... มึงไม่ได้เกิดได้ตาย แล้วก็เป็นอยู่อย่างนี้

โลกนี้มีเพราะมีเรา... แล้วเราคืออะไร เราคือตัณหาความทะยานอยาก ทำลายตัณหาความทะยานอยาก โลกนอกโลกใน โลกนี้มีเพราะมีเรา โลกนอกมันก็มีของมัน แล้วโลกใน โลกทัศน์ล่ะ ความเห็นล่ะ ความเป็นไปของภพ ความเป็นไปของความทุกข์ล่ะ ถ้ามันทำลายหมดแล้วนะ อ้าว..โลกนี้มีก็มีของโลก ไอ้โลกในเราก็ว่างหมด ไอ้โลกในเราก็สะดวกสบาย ไอ้โลกในมันเข้าใจหมดไง แรงดึงดูดระหว่างวัฏฏะหมด เห็นไหม

นี่ที่ว่าธรรมะเหนือธรรมชาติ เพราะธรรมชาติคือวัฏฏะ สิ่งที่แรงดึงดูดของอวิชชา สิ่งที่มีมารอยู่ในหัวใจ มันยังหมุนของมันไป แกนของโลกมีอยู่ โลกมันจะหมุนของมันไปอย่างนี้ นี่แกนมันจะเคลื่อนขนาดไหน แกนของโลกเห็นไหมเอียงขนาดไหน นี่โลกมันจะหมุนไปทางไหน นี่ก็เป็นอันหนึ่ง แต่แกนของเรานี่ ถ้ามันยังมีภพมีชาติอยู่นี่ มันยังวัฏฏะนี้มี

นี่ไงธรรมชาติ... ธรรมชาติคือวัฏฏะ ! ธรรมชาติคือวัฏฏะ.. ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ ศึกษามาไง ศึกษามาเห็นไหม ดูสิมนุษย์เขาจะเอาควบคุมธรรมชาติ ไอ้นี่ศึกษามาแล้วนี่ เพราะไม่มีภูมิรู้ ธรรมะถึงเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติต่อเมื่อ เห็นไหม โลกนอก โลกนอกธรรมชาติมันจะเคลื่อนไหวของมันไปอย่างนั้น

นี่เห็นไหม “พระโมฆราช เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง แล้วกลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ” เห็นไหม

มองดูโลกนี้เป็นความว่าง โลกนี้เป็นธรรมชาติของมัน หมุนไปตามธรรมชาติของมัน แล้วโลกในเอ็งยึดไหมล่ะ โลกในเอ็งยังข้องมันอยู่อีกหรือเปล่า ถ้าโลกนอกนี้ธรรมชาติมันหมุนของมันไปอย่างนี้แล้ว โลกนี้เป็นอจินไตยอยู่แล้ว สสารมันมีของมันไปอย่างนี้ มันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ แล้วโลกในของเราล่ะ ไม่เห็น... ไม่เห็นเพราะอะไร เพราะไม่มีสมถะ โลกไม่เห็นเพราะไม่ทำความสงบของใจเข้ามา

พอทำความสงบของใจเข้ามา เห็นไหม ถ้าคนมีจุดยืนอย่างเรานี่มาเถอะ ใครจะมาดูถูกพุทโธ ใครจะมาดูถูกอะไร ก่อนหน้านั้นเวลาบอกพุทโธนี่ หลับหูหลับตาพุทโธนี่ หลวงตาเวลาใครๆ มาพูดท่านจะนั่งแคะฟันเฉยเลยล่ะ เพราะมันพูดไปมันไม่มีประโยชน์ไง แต่สังคมนี่มันกำลังแปรปรวนกันอยู่ เราถึงออกมาพูด แล้วพูดแล้วไม่กลัว เพราะพูดแล้วนี่มีเหตุมีผล

จะถามมาเหตุผลว่า “ทำไมต้องพุทโธ... ทำไมต้องพุทโธ” เราบอกไม่ต้องพุทโธ “กรรมฐาน ๔๐ ห้อง” อะไรก็ได้แต่ต้องมี เพราะจะเข้าไปถึงรากเหง้าของมัน ถ้าไม่ถึงรากเหง้าของมัน เพราะความคิดจากข้างนอก เห็นไหม คำว่าปัญญาอบรมสมาธิคือความคิดของเขานั่นแหละ นี่ดูคิดนามรูปคิดต่างๆ มันคิดออกไปข้างนอก ไปเอาสิ่งข้างนอก ปัญญาอบรมสมาธิ ฟังสิว่าปัญญาอบรมสมาธิ อบรมเข้าไปที่ไหนล่ะ ก็อบรมเข้ามาที่ความสงบนี้

ถ้ามันมี เหมือนเรานี่เรามีเป้าหมาย เรามีโครงการแล้วเราทำสู่เป้าหมายนั้น เราก็ทำงานสำเร็จใช่ไหม เราไม่มีเป้าหมายอะไรเลย เห็นเขาทำก็เฮกัน เขาทำอะไรนี่ เถรส่องบาตรไง นี่อาจารย์เอาบาตรขึ้นมาส่อง เพื่อจะดูว่าบาตรมันจะรั่วหรือเปล่า เห็นอาจารย์ส่องบาตรเราก็ยกขึ้นมาส่อง ทุกวันต้องทำพิธีอย่างนั้น ต้องยกบาตรขึ้นมาจบอยู่บนหัวแต่ไม่ได้ส่องนะ ไม่ได้ดู ไม่รู้ว่าดูอะไรเพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ แต่ถ้ามันรู้มันมีเป้าหมายเห็นไหม ยกบาตรขึ้นมาเพื่อดู เพราะพอยกขึ้นมานี่มันส่องแสง แสงถ้ามันทะลุเข้ามามันเห็นของมัน

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีปัญญาอบรมสมาธิ เรารู้เป้าหมาย... เป้าหมายว่าเราจะทำอะไร ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามีเป้าหมายมีฐาน มีเป้าหมายของเรา เราถึงเป้าหมายนั้นได้ เห็นไหม มันเข้าถึงได้ กำหนดพุทโธก็เหมือนกัน เรารู้ถึงเป้าหมายของเราว่ากำหนดพุทโธเพื่ออะไร เพราะกำหนดพุทโธแล้วมันจะไม่ได้สมาธิ ไม่ได้อะไรเลย มันธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของกิเลสเป็นอย่างนั้น แล้วที่ว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ! ธรรมะเป็นธรรมชาติ ! กิเลสก็ธรรมชาติ ! กิเลสมันก็ขวางหมดทุกเรื่อง กิเลสขวางทุกเรื่อง

“ธรรมะเป็นธรรมชาติ กิเลสก็เป็นธรรมชาติ” ถ้ากิเลสเป็นธรรมชาติกิเลสมันก็ขวาง กิเลสมันก็ทำลายอยู่ตลอดเวลา แล้วบอกธรรมะเป็นธรรมชาติ แล้วเวลาจะขืนก็ขืนไม่ได้ คำว่าจะขืนไม่ได้นะ ขืนคือว่านี่คืออัตตกิลมถานุโยค การต้านการฝืนไม่ได้ ต้องไปตามมันหมดเลย

นี่เวลาพูด เพราะเขาคิดว่าธรรมะของพระพุทธเจ้ามันได้มาโดยความสำนึกอย่างนั้นได้... ไม่ได้ ! ธรรมะพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าต้องต่อสู้มา ต้องมีการกระทำมา ธรรมะของเรานี่ เราศึกษามาแล้วนี่ เราก็ต้องต่อสู้ ต้องต่อสู้กับเรา มันเกิดกับเราไง

นี่ทางโลกนะ ทางโลกมีการเจือจานกันได้ มีการช่วยเหลือเจือจานกันได้ ในการประพฤติปฏิบัติ พระพุทธเจ้ายังช่วยใครไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าเป็นคนชี้นำเป็นคนบอกเท่านั้น เป็นคนชี้นำ ทุกอย่างเราต้องลงทุนลงแรง ด้วยน้ำพักน้ำแรงเราทั้งนั้นล่ะ แล้วถ้าน้ำพักน้ำแรงของเรา เห็นไหม มือไม่ถึงนะ ถ้ามือถึงเราทำอะไรมันก็ได้ประโยชน์ แต่มือไม่ถึงนี่ …

นี่ก็เหมือนกัน จะทำถึงสมาธิก็ไม่ถึง จะใช้ปัญญาฆ่ากิเลสก็ไม่ถึง มันเป็นปัญญาสามัญสำนึก มันเป็นปัญญาอัตโนมัติ ปัญญาสมองสถิต มันไม่เป็นปัญญาเกิดจากจิต ปัญญาเกิดจากจิต ปัญญาเกิดจากจิตสงบนะ ปัญญาอันนั้นจะสำคัญมาก ถ้าปัญญานั้นเกิดขึ้นมานี่มันจะเป็นปัญญาที่ฆ่ากิเลส นี่เราถึงบอก เวลาพอถ้าใครปฏิบัติได้ ปฏิบัตินี่ไม่ต้องไปศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้า ไม่ต้องไปศึกษาธรรมวินัยเลย มันรู้ขึ้นมา พอรู้ขึ้นมานี่มันจะรู้เลย เวลาครูบาอาจารย์เทศน์เห็นไหม นี่เวลาเทศน์ขึ้นมานี่ เพราะความจริงมันมีอยู่ในใจ

เหมือนกับที่เขาบอกว่าพระพุทธเจ้านี่สอนได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าสอนไม่ได้ สอนได้ทั้งคู่ พระพุทธเจ้าก็สอนได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าก็สอนได้ เป็นพระอรหันต์สอนไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก แต่พระพุทธเจ้าเป็นผู้บัญญัติศัพท์ วางธรรมและวินัยไว้ได้ แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านี่รู้ขึ้นมา แต่บัญญัติไม่ได้ บัญญัติไม่ได้ก็บอกกันโดยความสามัญสำนึกนี่ไง ว่าควรทำอย่างนี้ควรทำอย่างนั้น พยายามจะพูดออกมา เราไม่ได้บัญญัติศัพท์ออกมา นี่พระพุทธเจ้าบัญญัติศัพท์ได้ แต่ศัพท์นี่ธรรมและวินัยมันมีอยู่แล้วนี่ เราปฏิบัติขึ้นมาเราก็รู้เหมือนกัน ถ้าเรารู้จริงเราก็รู้ ทำไมจะพูดไม่ได้ แล้วมันพูดได้ดีด้วยเพราะอะไร เพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติศัพท์ไว้แล้ว

นี่ธรรมวินัยไง นี่ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่แล้วมันรู้จริงอยู่ในหัวใจ แต่คำพูดที่มันลึกซึ้งนี่เห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูด หลวงตาท่านพูดประจำ สิ่งที่อยู่ในหัวใจเอาพูดออกมาหมดไม่ได้ มันพูดออกมาไม่ได้ ! มันพูดออกมาไม่ได้ ! แต่ก็พูดธรรมะพระพุทธเจ้านี่ไง มันพูดออกมาไม่ได้ ! ความรู้นี้มันพูดออกมาไม่ได้ ! แต่ท่านก็พูดออกมา พูดออกมาพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้วเห็นไหม

นี่ถ้าเราปฏิบัติไป พุทโธ พุทโธที่ว่าไม่รู้ๆ นี่เวลามันรู้จริงขึ้นมาเห็นไหม มันพูดออกมาไม่ได้ สมาธิก็เอ้อะๆ สมาธิไงสมาธิ ไอ้นี่ว่างๆ ว่างๆ ... ว่างๆ นั่นมันเป็นสัญญา มันเป็นความที่เราสร้างภาพ เห็นไหม ว่างๆ ก็อากาศว่างไง เราพูดบ่อย ว่างๆ ก็ในตุ่มในไหไง ในไหมันก็ว่าง ในตุ่มในไหนี่นะมันไม่มีชีวิตนะ แต่ในตุ่มในไหนี่ถ้าไม่มีของใส่อยู่มันก็ว่างเห็นไหม ความว่างแบบนั้นเราต้องการไหม เราจะเอาร่างกายนี่เปลือกเรานี่เป็นตุ่มเป็นไหเหรอ แล้วในโครงจากใต้ผิวหนังเรานี่มันว่างเหรอ

แต่ถ้าเป็นสมาธินะ โอ้โฮ... มันรู้ของมัน มันซึ้งของมัน นี่ทุกคนเวลาเขาพูดถึงนี่มันก็เหยียดหยามเสียดสีกัน พอเหยียดหยามเสียดสีเราก็ไม่กล้า แล้วเวลาประพฤติปฏิบัตินี่ มันก็เราปฏิบัติลงทุนลงแรงไปแล้วนี่ มันไม่ได้เป็นดังใจอย่างนั้น พอไม่เป็นอย่างนั้นนี่บอกว่าไปทางอื่นดีกว่า ทางอื่นดีกว่านี่ มันทำให้เราเสียโอกาส แต่ถ้าเราเอาจริงขึ้นมานะ เอาจริงๆ นี่เพื่อประโยชน์กับเรา เพื่อความเป็นจริงกับเรา

เพราะมันไม่มีปัญหามันก็ต้องพูดยาวหน่อย เห็นไหม ถ้ามีปัญหามันก็เข้าปัญหาเลยนี่ อันนี้เอาปัญหานี้

 

ถาม : หุงข้าวใส่บาตร ลูกไม่ทราบไปตักข้าวมาทาน ข้าวที่เหลืออยู่ในหม้อจะใส่บาตรพระได้หรือไม่คะ

หลวงพ่อ : ถ้าพูดถึงนี่ถ้ามันมีทางเลือกได้มันก็ ถ้าลูกไปตักมาทานนี่นะ เราคิดว่ามันตักแบ่งออกมาเนาะ มันไม่สมควรทำหรอก เพราะมันทำแล้วนี่มันเสียความเคารพไง การที่พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้มันเพื่อความเคารพ มันเสียความเคารพใช่ไหม ถ้าแบบว่าใครมาตักก่อนนี่ เพราะอะไร เพราะเวลาบริหารทิศ

พระพุทธเจ้านะเวลาเผยแผ่อยู่นี่ มันมีพวกพราหมณ์นี่เขาบริหารทิศ เขาจะกราบ กราบทิศทุกทิศเลย พระพุทธมาถึงก็ถามว่า “ทำอะไรนี่” “บริหารทิศ กราบทิศ” พระพุทธเจ้าบอกเราก็บริหาร เห็นไหม

พระพุทธเจ้านี่มีอะไรปั๊บนะพระพุทธเจ้าจะโต้แย้งเลย พระพุทธเจ้าบอกเราก็บริหารทิศ แต่เราบริหารโดยสมณะชีพราหมณ์อาจารย์ของเราอยู่บนหัว พ่อแม่ของเราอยู่ข้างหน้า หมู่คณะเพื่อนฝูงของเรา บ่าวไพร่อยู่ข้างล่าง เราจะบริหารอย่างไรให้สังคมเราร่มเย็นเป็นสุข ทีนี้สมณะชีพราหมณ์เราอยู่บนศีรษะ

ทีนี้ความเคารพใช่ไหม ถ้าเอาลูกเอาหลานมาอย่างนั้นนี่มันเสียความเคารพ ไอ้เรื่องกรรมเรื่องเวรนี่นะ เราตักแบ่ง เราจะบอกว่าถ้าเหตุการณ์มันวิกฤติ เหตุการณ์มันจำเป็นนี่ เราก็ตักแบ่งตักใส่ได้ แต่ถ้าพูดถึงถ้ามันควบคุมได้มันก็ไม่ควรทำใช่ไหม มันไม่ควรทำหรอก ไม่ควรทำหมายถึงว่าเราไม่ควรตักกินก่อน ไม่ควรตักอะไร เราควรจะตักเว้นไว้ก่อน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเวลาพระก็เหมือนกัน เวลาพระนี่ มันมีพระอานนท์ พระอานนท์นี่เวลาให้ของกับนักบวช ให้ของกับนักบวชเขา นักบวชก็ไปโพทะนาข้างนอกไงว่าพระอานนท์แจกทานไง

แล้วคนก็กินเดน เวลาฉันเสร็จแล้วก็เหลืออาหารใช่ไหม ก็แจกพวกโยมนี่ แจกพวกโยม เขาก็แจก มีนักบวชมาเขาก็แจกไปด้วยไง เขาแจกทาน แต่นักบวชเขาไปคุยข้างนอกไง เขาบอกพระอานนท์ นี่ดูพระสิ ลูกศิษย์สมณโคดมยังเคารพเราเลย ยังให้เราเลย พระพุทธเจ้าเลยบัญญัติห้ามไง พวกเราห้ามทำอย่างนั้น ห้ามทำอย่างนั้นหนึ่ง แล้วเรื่องข้าวนี่ เวลากินเดนนี่ พระนี่สิ่งที่โยมเขาเซ่นไหว้แล้ว เขาเคารพของเขาแล้ว เอามาถวายพระนี่ถือว่าเป็นเดน

สิ่งที่เป็นเดนมันแบบว่า พระพุทธเจ้าจะตั้งให้พระเรานี่ให้สำรวมระวัง ให้เป็นที่เคารพให้เป็นที่เลื่อมใสของคฤหัสถ์ไง ให้เป็นที่เลื่อมใส มันต้องมีระยะตรงนี้ไง สิ่งใดที่เอาไปเคารพบูชาที่อื่นแล้ว เห็นไหม ของเป็นเดนแล้วเอามาถวายพระ

อย่างเช่นที่ว่าของไหว้เจ้าแล้ว เอามาถวายพระได้ไม่ได้ ไอ้ตรงนี้มันมีวินัยบังคับไง ไม่ใช่พระเล่นตัวนะ ไม่ใช่พระจะแบ่งแยก พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้มองที่อาหารนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้มองที่นี่นะ พระพุทธเจ้ามองถึงหัวใจคนนะ

พระพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์... นี่รื้อสัตว์ขนสัตว์ไม่ใช่มาอุ้มโยมไปหรอก พระพุทธเจ้าจะเอาหัวใจไป เวลาเราพูดเห็นไหม เราถึงสะเทือนใจมาก เวลามีปัญหาอะไรขึ้นมานี่ เราบอกเลยโยมจะเอาเงินไปให้เขา จะขนอะไรก็ไปเถอะ แต่ที่เราเสียดาย เราเสียดายหัวใจโยมต่างหากล่ะ เขาจะมาขโมยหัวใจโยมไปไง !

ไอ้ข้าวของเงินทองข้างนอกนะ มันไม่เท่ากับหัวใจเรานะ ถ้าหัวใจนี่มันเคารพศรัทธาแล้วนะมันให้หมด ยิ่งกว่าข้าวของเงินทอง มันให้ชีวิตนี่ ให้ชีวิตของเรานี่เป็นสมบัติของเขา เป็นบริษัทบริวารไง เป็นหมู่คณะเป็นบารมีของเขา

ฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้าถึงห้าม ห้ามไม่ให้แบบว่ากินเดนแล้วมา เพราะอะไร เพราะให้พวกลูกศิษย์ให้พวกพระนี่ หรือพวกโยมนี่ ให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะว่าถ้าจิตใจเข้มแข็ง จิตใจที่มีดีงามขึ้นมานี่ มันจะมีโอกาสภาวนาไง พระพุทธเจ้าไม่ปรารถนาให้เราเฉพาะเกิดตายที่นี่นะ พระพุทธเจ้าต้องการให้สิ้นจากทุกข์ รื้อสัตว์ขนสัตว์ไง การรื้อสัตว์ขนสัตว์คือเอาพ้นไปจากกิเลสให้หมดไง เอาพวกเรานี่ให้พ้นจากกิเลสไป แล้วเขาจะพ้นจากกิเลส อะไรจะพ้นจากกิเลสถ้าไม่ใช่หัวใจของสัตว์โลก

ถ้ามันตรงนั้น ตรงที่หัวใจสัตว์โลกนี่มีคุณค่าที่สุด มันจะพ้นก็พ้นที่นั่น ปฏิสนธิวิญญาณ ปฏิสนธิจิต จิตตัวนั้นนี่ ทุกข์ยากก็ตัวนั้น ตัวที่มาเกิดมันก็ตัวนั้น แล้วตัวที่จะพ้นก็ตัวนั้น นี้ตัวที่จะพ้นตัวนั้นนี่ นี่ไงพ้นตัวนั้น ต้องเอาตัวนั้นให้เข้มแข็งขึ้นมาก่อน ถ้าเข้มแข็งขึ้นมาก่อนเห็นไหม ระยะตรงนี้ถึงบอกว่าห้ามไง ในวินัยมันมี ในวินัยห้ามไว้ ทีนี้ในวินัยห้ามไว้ เห็นไหม นี่ธรรมและวินัย เราถึงเคารพ.. เคารพตรงนั้น !

ฉะนั้นสิ่งนี้มันเลยเป็นประเพณี มันเป็นประเพณีว่าไปตักก่อนอะไรก่อน เราจะพูดตรงนี้ออกมาจะบอกว่า จะบอกว่ามันจะเป็นบาปเป็นกรรมนี่ ใช่ มันไม่สมควร เพราะมันผิด ผิดประเพณีวัฒนธรรม

แต่ถ้าเวลามันจำเป็นเนาะ เด็กมันก็ไม่รู้ไง ฉะนั้นเด็กไม่รู้แล้ว ไม่ใช่ว่าโอ้โฮ... พอทำขึ้นมาแล้วนี่ เวลาเราไปทำ โทษนะ เราไปสำมะเลเทเมาไม่เป็นไรนะ พอลูกมาตักข้าวกินนี่โอ้โฮ... จะฆ่ากันตายเลย นี่มันคนละเรื่องไง

เวลาเราไปทำผิดอย่างอื่นมันมหาศาลเลย แหม.. เวลามันมีเหตุผลอย่างนี้คือเด็กมันไม่เข้าใจ เด็กไม่รู้ก็คือเด็กไม่รู้นะ แต่ถ้ามันรู้ก็ไม่ควรทำไง ไม่ควรทำ ไม่ใช่ว่าที่ข้าวนั้น ไม่ควรทำที่ว่ามันเสียความเคารพ

เรานี่ถ้าเคารพบูชาเห็นไหม ดูสิเวลาหลวงตาท่านพูดว่าท่านลงใคร จิตใจท่านลง ท่านเคารพบูชา แล้วพอเราเคารพบูชา นี่พระพุทธรูปเห็นไหม อะไรนะไผ่แดงใช่ไหม อู้ฮู.. เคารพบูชามากเลยพระพุทธรูปนี่ ห้ามเข้าไปหลังพระนะ พอไปหลังพระ พระนี่ก็คืออิฐหิน ทราย ปูน โอ้โฮ... หมดเลยนะ แหม.. เคารพศรัทธามาตั้งนาน พอไปดูหลังพระดูนะ ที่เอ็งเคารพกันอยู่ก็เคารพทรายเคารพหินเคารพปูน โอ้โฮ.. ทุกข์ใหญ่เลย

นี่คือพล็อตเรื่องที่เขาเขียนมา แต่ความจริงนี่อิฐหินทรายปูนมันเป็นสมมุติ เขาปั้นรูปเคารพขึ้นมาแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อิฐหินทรายปูนมันก็รู้ตั้งแต่กราบแล้ว กราบข้างหน้าก็รู้ เพราะกูก็มีตาเว้ย ไม่ต้องไปดูที่หลังพระนั่นหรอก กูก็รู้ว่านี่มันอิฐหินทรายปูน แต่เขาปั้นขึ้นมาเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นตัวแทนเว้ย นี่รูปเคารพเห็นไหม รูปเคารพเพื่อให้หัวใจเรามีที่กราบ นี่ก็น้อมลงมาที่ใจ

พุทธศาสนา... ศาสนาพระพุทธเจ้านี่ลงมาที่ใจหมด อะไรก็แล้วแต่ต้องทำให้ใจนี่ เพราะถ้าเราเป็นคนหยาบอยู่ เราก็ไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวแทน เราก็ต้องมีรูปเคารพเพื่อจะกราบไหว้ว่ากราบตรงนี้ นี่กราบพระพุทธเจ้า กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่เวลาเราธุดงค์กันอยู่ในป่านี่ เราไปกราบที่ไหนล่ะ เห็นไหม ในป่าไม่มีอะไรเลย ตานี้เป็นเทียน มือนี้เป็นธูป นึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วกราบเลย เห็นไหม กราบจากหัวใจ พระกรรมฐานถึงไม่ติด...

เพราะยิ่งไม่ติดนะ ไม่ติดไม่ใช่ไม่เอานะ ไม่ติดยิ่งเคารพนะ เคารพบูชา เคารพบูชาจากหัวใจไง แต่ทีนี้สังคมเรานี่มันมีเด็กเข้ามามันมีอะไรเข้ามานะ เวลาเด็กมานี่เห็นไหม เด็กมา แล้วมาทำไมล่ะ.. มานั่งกันเฉยๆ อย่างนี้เหรอ.. ไม่เห็นมีอะไรเลย.. มันก็ต้องมีประเพณีวัฒนธรรมเพื่อฝึกเด็กขึ้นมา เห็นไหม อะไรควรไม่ควร พอฝึกเสร็จแล้วก็จบ

นี่มีคนมาถามบ่อย เวลามาวัดแล้วจะต้องกรวดน้ำไหม ต้องอะไรไหม เราบอก เอ้ย... กรวดน้ำนี่มันเด็กเล่นขายของ เขาเอาไว้หลอกเด็ก พอมาวัดเห็นไหม อู๋ย.. มาทำบุญ แล้วบุญคืออะไรล่ะ ไม่รู้จักบุญนะ อ้าว.. พระให้พรแล้วก็ต้องกรวดน้ำ แล้วกรวดทำไมล่ะ โอ๋ย.. กรวดแล้วได้บุญ ถ้ากรวดแล้วได้บุญนะ แม่น้ำเจ้าพระยามันได้บุญมากที่สุดเลย มันไหลทั้งวันเลย มึงไม่ทำบุญแล้วเอาน้ำอะไรมากรวด

แต่การกรวดน้ำนั่นก็เพื่อให้เรามั่นคง เห็นไหม ถ้าธรรมดาคนเราจิตใจมันวอกแวกวอแว จิตใจคนเรามันไม่มั่นคงใช่ไหม พอบอกว่ากรวดน้ำขึ้นมา นี่เอาน้ำมามันก็เพ่งที่น้ำใช่ไหม มันก็ตั้งใจ อู้ฮู.. กรวดน้ำจะได้บุญเว้ย อู้ฮู.. จงใจเลย มันได้บุญได้ตรงจงใจนั้นแหละ มันไม่ได้ที่ตรงน้ำนั้นหรอก

น้ำนี่เป็นอุบายเห็นไหม แต่พอเราฝึกฝนเราเก่งขึ้นมา เราชำนาญขึ้นมา เรามั่นคงขึ้นมานะ ก็กรวดน้ำใจกัน... นี่มาถึงก็ทำบุญ เสร็จแล้วพอพระให้พรก็ โอ้โฮ.. นี่ความสุขความรับรู้ จิตนี้ได้บุญกุศล สร้างมโนกรรม กรรมสิ่งนี้สิ่งที่ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวร ญาติโกโหติกาเขาได้รับความรู้สึกอย่างนี้ ใจสู่ใจนะ นี่ อทาสิเม อกาสิเมฯ

เวลาญาติเราตายนะ อู้ฮู.. ญาติร้องไห้ใหญ่เลย สมัยก่อนกราบฟ้ากราบดินกราบภูเขากัน อู้ฮู... ขอให้ญาติเรานี้ไปเกิดเป็นสุข พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนะ อทาสิเม อกาสิเมฯ เวลาสวดศพนี่เห็นไหม เวลาสวดมนต์นี่ เธออย่าเสียใจ ญาติตายไปแล้วอย่าเสียใจ ความเสียใจ ร้องไห้ขนาดไหน มันก็เป็นสัจจะมันเป็นอย่างนี้ ให้ทำคุณงามความดีถึงกัน คุณงามความดีนี่เห็นไหม คิดถึงพ่อ พ่ออยู่กับเจ้า คิดถึงคุณงามความดี คิดถึงหัวใจนี่ คุณงามความดี จิตถึงจิตไง

นี่ก็เหมือนกัน ทำคุณงามความดี เราสร้างบุญกุศลแล้วนี่ นี่อุทิศน้ำใจอันนี้ไปให้สู่ญาติของเรา ไอ้น้ำที่เขาเอามากรวดๆ กันนั่นเขาหลอกกันไง เขาหลอก ! เขาหลอก ! มันเป็นประเพณีจากข้างนอก จริงๆ ดูเป้าหมายสิ เป้าหมายเขาก็ต้องการให้เรามั่นคง มันเป็นประเพณีวัฒนธรรม ไม่ใช่ธรรม วัฒนธรรมไม่ใช่ธรรม วัฒนธรรมประเพณี แต่ตัวธรรมคือความรู้สึก แต่มันต้องเอาเปลือกเข้ามา เอาเปลือกเข้ามา ดูอย่างเช่นพุทโธ พุทโธนี่เห็นไหม เพื่อให้จิตสงบเพื่อให้เป็นไป

ถาม : ขณะที่ภาวนาพร้อมฟังวิทยุด้วย แต่ขณะที่จิตแวบเห็นภาพคนได้ถูก... เราก็แผ่เมตตาให้

หลวงพ่อ : ถูกต้อง.. เวลาจิตแวบจิตอะไรนี่ บางที่นะ เพื่อนเราธุดงค์ไป พระด้วยกันนี่แล้วปักกลดไปเรื่อย เขาแปลกอยู่ ตรงที่จะเข้าเมืองจันท์สมัยโบราณ ตรงเข้าเมืองจันท์ตรงสุขุมวิทสายเก่า ตรงนั้นมันจะลงจากเขาไป แล้วหักศอกเลยเห็นไหม ตรงนั้นรถมันไปชนกันเยอะ แล้วเขาไปปักกลดแถวนั้น เขาบอกว่าเขานั่งอยู่กลางคืนนะ ฉิ่งฉับฉิ่งฉับฉิ่งฉับ มันได้ยินนะ ไอ้พวกนี้มันยังฉิ่งฉับกันอยู่เลยนะ ไอ้ตรงนั้นนี่เขาได้ยินตลอดเลย ไอ้ทัวร์ฉิ่งฉับมันยัง ฉิ่งฉับฉิ่งฉับ ตายไปแล้วนะนั่นน่ะ

นี่เราถึงบอกแวบขึ้นมา สถานที่ไหน สถานที่สิ่งใด มันมีอยู่ จิตวิญญาณที่เราไม่เห็น ฉะนั้นถ้าจิตมันสัมผัสได้อะไรได้ เราก็อุทิศส่วนกุศลดู ถ้าจิตสัมผัสไม่ได้ การว่าสัมผัสได้นี่มันเป็นสายบุญสายกรรมไง สายบุญสายกรรมของใคร เวลาเขามา คนเรามันทุกข์นะ สัมภเวสีนี่ เวลาเกิดอุบัติเหตุไป มันเหมือนเทียน เทียนถ้าเราจุดทั้งเล่ม เหมือนเราหมดอายุขัย คือเราจุดเทียนหมดเล่ม พอหมดเล่มใช่ไหม หมดไปใช่ไหม มันก็หมดอายุขัยมันก็ไปเกิดใหม่ แต่ถ้าอายุขัยของเรานี่มันจุดเทียนได้ครึ่งเล่ม แล้วมันโดนลมพัดดับไป เทียนเล่มนั้นนี่เมื่อไรมันจะเผาหมดล่ะ

เวลาจิตวิญญาณ เวลามันเกิดตายเป็นสัมภเวสีในแต่ละภพแต่ละชาติ เวลามันไม่เท่ากันไง อย่างอายุขัยเราก็ ๑๐๐ ปี เห็นไหม อายุขัยของแมลงมันก็ ๗ วันใช่ไหม อายุขัยของเทวดา อินทร์ พรหมเห็นไหม เรา ๑๐๐ ปีเท่ากับเขา ๑ วัน แล้วคำนวณชีวิตของเขาสิ ถ้าเราไปอยู่ในภพอย่างนั้น กาลเวลาอย่างนั้นนี่มันต้องใช้เวลามาก ฉะนั้นถึงว่าฉิ่งฉับฉิ่งฉับอะไรนี่มันยังมีอยู่นะ

หลวงปู่มั่นพูดไว้ในประวัติหลวงปู่มั่น เวลาท่านภาวนาขึ้นไป มันจะมีพวกนี้พวกญาติโยมต่างๆ ของเขา เขาบอกว่า ให้ไปบอกญาติพี่น้องให้ทำบุญให้หน่อย... นี่หลวงปู่มั่นท่านพูดนะ ถ้าบ้านไหนเขายังอยู่ก็ไปบอกเขา แต่บางทีนี่มันเก่าแก่ไง คือว่าคนที่ตายไปแล้วนี่บางทีเขาไปค้างอยู่นั่นใช่ไหม ไอ้ญาติโยมโหติกาตายไปหมดแล้ว เขาตายไปอีกรอบหนึ่งแล้วนะ แต่ไอ้ที่ไปค้างอยู่มันมีนะ แล้วจะมาบอกญาติ ญาติก็ไม่มีไง

พอญาติไม่มี อย่างพระปฏิบัติอย่างเช่นเรามาที่นี่ แล้วพอมีจิตวิญญาณอะไรมานี่ เขาก็บอกเขาอยู่ที่นั่นๆ เขามีลูกหลานอยู่ที่นั่น นี้เวลาเราบิณฑบาตไปหรือเขามาคุยธรรมะกันนี่ เราจะเสนอว่าบ้านนั้นมีไหม คนนี้มีไหมนี่ คนที่เขามีวุฒิภาวะเขามีปัญญา เขาต้องพูดอย่างนี้นะ ถ้าไปพูดตรงๆ นี่มันไม่ได้ เพราะ ทำให้ชาวบ้านที่เขาไม่เชื่อเขาสบประมาทเอา ก็เป็นกรรมเกิดอีกแล้ว คนเชื่อก็มี คนไม่เชื่อก็เยอะ แล้วไปพูดให้เขาฟังนี่ มันจะมีประโยชน์กับใคร

ทีนี้คนที่เขารู้เห็นตามความเป็นจริง เขาใช้เผดียงเอา คนนั้นอยู่ไหม คนนี้มีไหม ตระกูลนั้นมีไหม ตระกูลนั้นคนนี้มีหรือเปล่า แล้วถ้าคนๆ นี้นิสัยเป็นอย่างไร ควรพูดไม่ควรพูด อู้ฮู.. หลวงปู่มั่นนี่ท่านผ่านมาอย่างนี้มาเยอะ ท่านทำของท่าน ท่านรู้จริงของท่าน แต่ท่านไม่เคยโอ้อวด ไม่เคยกระโชกโฮกฮาก ไม่เคยเอามาตีแผ่ เพราะ ! เพราะท่านรู้อยู่คนเดียวไง เราเคยไปเห็นที่นั่นมาคนเดียวนี่จะไปพูดกับใคร

เหมือนพ่อแม่ พ่อแม่นี่เป็นคนหาเลี้ยงลูก จะต้องไปบอกลูกไหมว่านี่อู้ฮู.. เงินหามายากมากเลย... เพราะอะไร เพราะพ่อแม่หามาคนเดียวใช่ไหม เด็กไม่รู้เรื่องหรอก

วุฒิภาวะของจิตของคน นี่พวกหัวดำๆ ไม่รู้เรื่องหรอก แต่ถ้าคนภาวนาเป็น คนเขาไปเจออะไรขึ้นมานี่ เขาจะไปสร้างประโยชน์อย่างไรไง คือเห็นแล้วรู้แล้ว แล้วจะทำประโยชน์อย่างไรกับโลกด้วย แล้วเขาไม่รู้กับเราหรอก ทำไปเขาก็ไม่รู้ ทำจบแล้วตายแล้วมันยังไม่รู้เลย แล้วพูดแล้วมันจะรู้ไหม นี่ผู้มีสติปัญญาเขารู้ นี่ไงอย่าดูถูกความนิ่งอยู่ของพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าเขานิ่ง เขานิ่งเขารู้เขาเห็นของเขา แล้วควรไม่ควร บอกไปแล้วมันจะบวกหรือลบ

แต่เวลาจิตวิญญาณที่เขาทุกข์เขามาขอ นี่หลวงปู่มั่นเล่าให้หลวงตาฟัง หลวงตาท่านมาพูดในเทปบ่อยๆ แล้วท่านพูดออกมานี่ ใจเราเวลาเราฟังแล้วนี่เราใช้ปัญญาเราใคร่ครวญตามเห็นไหม ใคร่ครวญตาม เราไม่ได้ฟังเฉยๆ นะ หลวงตาท่านเล่าเอง เรื่องนี้ท่านเล่าบ่อย เราถึง แล้วก็หลวงปู่มั่นก็บอกไปที่นั่น เพราะหลวงตาท่านอยู่ใกล้ชิด อยู่ใกล้ชิดหมายถึงว่ากลางคืนท่านไปนวดเส้นอะไรนี่ มันจะอยู่กันเป็นส่วนตัวนี่ เรื่องนี้ท่านจะพูดเฉพาะส่วนตัว

นี่พูดถึงเวลามันแวบรู้นู้นรู้นี่ แต่ถ้าบอกว่าถ้าเป็นวิทยาศาสตร์มันไม่มี เราก็พูดวิทยาศาสตร์นะ ลูกศิษย์มาบางคนนี่จิตใจเขาโอนเอียงไปทางนี้ เราบอกว่า เฮ้ย... คิดให้เป็นวิทยาศาสตร์สิ คิดให้เป็นวิทยาศาสตร์... ถ้าคิดเป็นวิทยาศาสตร์นี่จิตใจเราเข้มแข็งขึ้นมาไง มันมีอยู่ ของมันเป็นอย่างนั้นแหละ แต่เราไม่ตกใจหวั่นไหวไปกับมัน

คิดให้เป็นวิทยาศาสตร์ คิดให้เป็นวิทยาศาสตร์... ขณะคิดให้เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อเราไง แต่มันมีไหม... มี ! แต่ถ้าเรามันมีอย่างนั้นด้วย เราคิดวิทยาศาสตร์นะ คิดว่าเป็นญาติโกโหติกานะ เราเจ็บช้ำน้ำใจไปกับเขานะ แล้วมันแก้อะไรได้ บางอย่างนี่คิดเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อจุดยืน เพื่อความมั่นคงของเรา แล้วสิ่งนั้นเราก็อุทิศส่วนกุศลไป อุทิศไป เพราะว่ามันคนละมิติกันอยู่แล้ว แต่สายบุญสายกรรมมี

นี่พูดถึงเรื่องสะดุ้งเนาะ

ถาม : กราบเรียนหลวงพ่อค่ะ โยมภาวนาจะมีบางครั้งที่จิตมีอาการสะดุ้ง แต่โยมก็กลับมาที่พุทโธ ไม่ทราบว่าสาเหตุที่จิตสะดุ้งเกิดจากอะไร

หลวงพ่อ : มันเกิดเยอะมาก มันมีเหตุมามาก นี่คำว่าจิตสะดุ้ง ถ้ามันตกใจหรือมันสะดุ้งสิ่งใดมันจะฝังใจไว้ แล้วผู้ที่ปฏิบัติ นี่เราบอกพุทโธ พุทโธ เราอานาปานสติ สิ่งต่างๆ เรา การปฏิบัตินี่ เวลามันเกิดเหตุการณ์ เกิดอาการของใจ เกิดการสะดุ้ง เกิดอาการเหงื่อไหลไคลย้อย เกิดการโยกการคลอนนี่ สิ่งนี้มันเกิดธรรมดา มันต้องเกิด นี่ไงเวลาที่เราปฏิบัติกัน เราต้องการครูบาอาจารย์เพราะเหตุนี้ไง มีครูบาอาจารย์ขึ้นมาท่านจะแก้ไขเราได้ไง

ทีนี้ ถ้าอย่างเรานี่เราปฏิบัติ... ปฏิบัติไปนี่พอเกิดเหตุ ปกติก็ไม่มีอะไร แต่พอปฏิบัติไปนี่เกิดอะไรเอียงไปแล้วนี่มันมีความฝังใจนี่ นี่มันซับแล้ว แล้วพอภาวนาครั้งต่อไปนะ พอภาวนาไปนะมันจะเอียงๆ อย่างนี้ มันจะเป็นอย่างนี้ตลอดเลย แล้วทำอย่างไรล่ะหลวงพ่อ ทำอย่างไรล่ะ ก็ดึงกลับมามันก็หาย แต่ทำอย่างไรดี ทำอย่างไรดี เดี๋ยวมันก็ลงไปเรื่อยๆ ไง

เราจะบอกว่าจิตมันร้ายกาจนัก จิตเราเองนี่มันสร้างเรื่องขึ้นมา พอมันสร้างเรื่องขึ้นมาแล้วมันก็จำเรื่องนั้น พอจำเรื่องนั้นพอปฏิบัติแล้ว มันก็เอาเรื่องนั้นนี่มาหลอกลวงเรา จิตเราทั้งนั้นนะ แล้วเราไม่รู้ไง อ้าว.. นี่เราใช้คำว่า ลูกศิษย์มาเราจะบอกว่าแผ่นเสียงตกร่อง ! แผ่นเสียงตกร่อง บางคนนะเวลานั่งไปถึงจุดหนึ่งนี่เหงื่อจะแตกพลั่กเลย มันก็ฝังใจใช่ไหม พอนั่งไปถึงจุดนั้นปั๊บ พอนั่งไปนะอุ่นๆ แล้วนะ เหงื่อเราจะมาแล้ว อุ่นๆ แล้วนะ เหงื่อเริ่มแตกแล้วนะ แล้วพอแตกก็พลั่กเลย เฮ้อ.. เลิกดีกว่า

เหตุการณ์อย่างนี้มันมีเกือบทั้งนั้นแหละ นี่ไงเวลาพุทโธ พุทโธเขาจะบอกว่าอย่าไปทำพุทโธ เราถึงบอกว่าพวกนามรูปพวกนี้เขาบอกว่าใช้ปัญญาสายตรง นี่เขาบอกว่ากำหนดพุทโธ กำหนดสิ่งต่างๆ แล้วนี่มันจะมีนิมิต มันจะเสียหายนี่ เราจะบอกว่าจะมีนิมิตไม่มีนิมิตนี่มันก็ต้องต่อสู้ มันก็ต้องตามข้อเท็จจริงนั้น อย่างเช่น เราจะกินน้ำพริก น้ำพริกมันเผ็ด บอกจะกินน้ำพริกแต่ห้ามเผ็ด มันเป็นไปได้ไหม อ้าว... จะกินน้ำพริกแต่ไม่เผ็ด เขาก็ตำปลาให้กินสิไม่ตำน้ำพริกหรอก

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อกินน้ำพริกมันต้องเผ็ด ในเมื่อจิตมันมีสติปัญญา มันจะเข้าถึงสมาธิ มันต้องผ่านอาการเข้าไป มันต้องผ่านจิตสามัญสำนึกนี้เข้าไปเป็นสมาธิ สิ่งที่เป็นจิตสามัญสำนึกนี้ เป็นจิตปกตินี้ไม่ใช่สมาธิ มันเป็นสมาธิของปุถุชน มันเป็นสมาธิของความเป็นจริงของมัน ที่ว่าว่างๆ ว่างๆ

ว่างๆ นี่ปากพูด แต่สมาธิไม่เป็นอย่างนี้ ! สมาธิไม่เป็นอย่างนี้... ทีนี้สมาธิไม่เป็นอย่างนี้ปั๊บ มันก็ต้องพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไปถึงสมาธิ โอ้โฮ ! โอ้โฮ ! รสของธรรม.. รสของสมาธิธรรม...

ฉะนั้นพอจิตมันสะดุ้งมันจะอะไรก็แล้วแต่ มันสะดุ้งเพื่อมันจะเปลี่ยนแปลง ที่เราพูดบ่อยมากว่าจิตมันมีการเปลี่ยนแปลงของมัน แล้วจิตกับกายนี่โดยสามัญสำนึก โดยการเกิดมาแล้ว มันเป็นสิ่งที่มีชีวิตใช่ไหม มันมีร่างกายกับจิตใจ แล้วเวลาจิตใจ สภาพของจิตใจ มันก็ต้องอยู่ของมันโดยการเกี่ยวเนื่องกัน

อย่างเช่นสมองกับจิต นี่สมองคิดไม่ได้.. สมองคิดไม่ได้.. เขาบอกว่าสมองคิดสมองคิด.. สมองคิดไม่ได้ ! สมองเป็นสสาร... สมองเป็นเนื้อ.. สมองคิดได้อย่างไร

สมองต้องใช้พลังงานจากจิต ถ้าสมองมันคิดได้ คนตายมันต้องคิดได้ มันคิดของมันโดยธรรมชาติของมันไม่ได้ มันเกี่ยวเนื่องกันเพราะมันมีพลังงาน เพราะมันมีจิต สมองมันถึงคิดได้ โดยสามัญสำนึกของกายกับจิตนี่มันอยู่ด้วยกัน โดยเหมือนสมองที่มันคิด สมองที่มันคิดโดยอัตโนมัตินี่แหละมันเร็ว แต่มันต้องใช้พลังงานของมัน ถ้ามันไม่มีจิต สมองคิดไม่ได้หรอก แม้แต่เวลามันเจ้าชายนิทราก็ยังคิดไม่ได้ สมองก็ยังมีอยู่นี่ยังคิดไม่ได้เลย

ฉะนั้นพอโดยธรรมชาติของมัน มันเกี่ยวเนื่องกันอย่างนั้น พอเราจะให้มันสงบเข้ามานี่มันจะปล่อยวางมันเข้ามาไง มันจะแยกของมันเข้ามา พอมันแยกของมันเข้ามานี่ มันต้องมีการเปลี่ยนแปลง เห็นไหม

ขณิกสมาธิ.. อุปจารสมาธิ... อัปปนาสมาธิ.. นี่จิตมันต้องมีการเปลี่ยนแปลงของมัน เพราะจิตมันจะไปสู่อีกระดับหนึ่งของสามัญสำนึกของมนุษย์โดยธรรมดา ที่ว่าจิตหนึ่งไม่มี จิตหนึ่งไม่มี หาจิตหนึ่งไม่ได้ หาจิตหนึ่งไม่ได้เพราะมันไม่เคยภาวนา

จิตหนึ่งใช่ไหม นี่จิตต้องร้อยแปดดวง ร้อยแปดดวงนี่มันอาการของจิตทั้งนั้นแหละ มันจะเกิดพลังงาน นี้คำว่าสะดุ้ง การแก้สะดุ้งนี่มันมีที่มามาก ทีนี้พอถ้ามันมีที่มามาก คำว่าสะดุ้งนี่มันมีอะไรฝังใจล่ะ ถ้ามีอะไรฝังใจแล้วเราค่อยๆ เคลียร์มันไง ค่อยๆ พุทโธ พุทโธ พุทโธสะดุ้งนี่ อะไรมาก็ไม่รู้แหละ เอาพุทโธไว้ก่อนแหละ แล้วพุทโธ พุทโธ ถ้ามันจะสะดุ้งนี่ พุทโธ สะดุ้งเอาใหม่ พุทโธ พุทโธ แล้วเวลาออกแล้วนี่อุทิศส่วนกุศลไง

อุทิศส่วนกุศล เพราะมันสะดุ้งหรือว่าสิ่งต่างๆ จากเวรกรรมก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเวรกรรมอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าเป็นเวรกรรมนะยิ่งดีใหญ่เลย เพราะมันเป็นเรื่องอดีตเรื่องที่เก่าแก่เห็นไหม มันเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ มันเวรกรรมก็แบบว่าสาธุให้มันไป แต่ถ้าเป็นจิตหลอกสิ จิตหลอกนี่จิตมันสร้างภาพ จิตมันมีอะไรฝังใจนี่ก็ค่อยๆ เคลียร์ คือเหตุการณ์ทุกอย่างแก้ไขได้ เวรกรรมทุกอย่างแก้ไขได้ ถ้าแก้ไขไม่ได้พระพุทธเจ้าไม่ได้เกิดมาหรอก

พระพุทธเจ้ามีนางพิมพา สามเณรราหุลเกิดแล้วนะ ถ้าแก้ไม่ได้มันก็รักลูกรักเมีย เขาไม่ให้ออกหรอก ออกมาไม่ได้หรอก แต่พระพุทธเจ้าไม่ไปดูหน้าราหุลเลย ไม่ไปดูเลย เห็นไหม ถ้าไม่ฝืน ไม่ฝืนไม่ออกจากราชวังมา จะไม่มีพระพุทธเจ้า จะไม่มีศาสนา นี่ฝืนออกมาจากลูกจากเมียเลยนะ ไอ้นี่ฝืนใจแค่สะดุ้งนี่ มันเลยกลายเป็นปัญหาขี้หมาเลยเห็นไหม

นี่เอามาเทียบไง เวลาเราจะเทียบอย่างนี้ เพราะว่าทุกอย่างแก้ไขได้ ทุกอย่างปัญหามีให้แก้ไข การแก้ไขนี่การภาวนา การวิปัสสนาคือการแก้ไข มันสะดุ้งอย่างไรเราค่อยๆ แก้... ค่อยๆ แก้ ตั้งสติให้ได้.. ตั้งสติ มันสะดุ้ง ตั้งสติก็สะดุ้ง พอสะดุ้งขึ้นมานะมันจะเบาลง ครั้งแรกสะดุ้งแรงเลย เราก็ตั้งสติไว้ มันสะดุ้งเราก็ตั้งสติไว้.. พยายามตั้งสติไว้

การทำนี่มันค่อยๆ เจือจานไป เหมือนตกภวังค์ การตกภวังค์ การที่จิตมันมีอาการนี่ต้องค่อยๆ แก้ เราใช้คำว่าแผ่นเสียงตกร่อง ถ้าสะดุ้งแล้วก็จะสะดุ้งๆ ยิ่งสะดุ้งยิ่งเสียใจ ยิ่งสะดุ้งยิ่งคับแค้น โอ้โฮ.. ร่องมันจะเยอะใหญ่ๆ ร่องมันจะมากขึ้นเรื่อยๆ ทีนี้ไม่ต้องตกหรอก มันไหลไปเลย แต่ถ้าเราพยายามทำให้ร่องนั้นเล็กลง พยายามเคลียร์พื้นที่นั้นให้มันเสมอ คือทำให้ดีขึ้นดีขึ้นเห็นไหม มันจะดีขึ้นของมัน

เราต้องแก้ไขของเรา ชีวิตของเรานะทุกอย่างเป็นของเรา เราต้องแก้ไข เราต้องทำ ทำได้ เราแก้ไขได้ ถ้าแก้ไขไม่ได้พระพุทธเจ้าไม่สอน พระพุทธเจ้าสอนคนมีกิเลส นี่ในนามรูปนี่เขาบอกว่าต้องไม่มีความอยากไม่มีอะไรเลยนะ เออ.. อย่างนั้นพระพุทธเจ้าสอนพระอรหันต์ ต้องหาพระอรหันต์แล้วไปเรียนกับเขา เพราะมันไม่มีความอยากไง ไม่มีอะไรเลย มันเป็นไปได้ไหม

โธ่ ! คนไม่มีความอยากมันเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้หรอก คนมีกิเลสทั้งนั้น มีความอยาก แต่ ! แต่หลวงตาบอกว่าอยากที่เป็นมรรคมันมี อยากที่จะต่อสู้ อยากที่จะกระทำ เอาความอยากนี้มาเปลี่ยนแปลง เหมือนกับเอาความเจ็บช้ำน้ำใจเปลี่ยนเป็นโอกาส เอาความเจ็บช้ำน้ำใจเปลี่ยนเป็นพลังงาน เปลี่ยนเป็นการต่อสู้ไง

นี่พูดถึงสะดุ้ง ทีนี้มันก็ค่อยๆ เคลียร์ไป ค่อยๆ เคลียร์ไป หลักมันเป็นอย่างนี้ หลักมันนี่ค่อยๆ เคลียร์ ตั้งสติ ! ตั้งสติ ถ้ามันสะดุ้งใช่ไหม อ้าว..คราวนี้สะดุ้ง ถ้ามันนั่งแล้วสะดุ้ง อ้าว..เดินจงกรม เดินจงกรมให้ดีๆ ตั้งสติให้ดี แล้วมันจะสะดุ้งอีก มันสะดุ้งแต่มันจะน้อยลง น้อยลง น้อยลง น้อยลงจนหายไป แล้วยิ่งประสาเราเลยนะ สะดุ้งไม่เอา... สะดุ้งไม่เกี่ยวกับกู.. ว่าอย่างนั้นเลยนะ

เวลาจะนั่งนี่หลวงตาสอนอย่างนี้ เวลานั่งนี่นะโลกนี้ไม่มี มีแต่เรากับพุทโธเท่านั้น.. มีเรากับพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ มีเรากับพุทโธเท่านั้น ไม่มีอะไรเลย โลกนี้เป็นเรื่องของเขา เรื่องของเรา เราต้องเอาใจเราให้ได้ นี่เวลาหลวงตาท่านสอนนะ

เราจะดูว่าอันนี้มันจะมีอะไรมากไหม อันนี้ๆ คิดมาก เพราะมันตอบเป็นธรรมกับตอบเป็นโลกไง

ถาม : หากในขณะที่ตั้งครรภ์ ทราบว่าลูกในครรภ์พิการ หมอบอกว่าสามารถเอาเด็กออกได้ ในกรณีนี้ควรทำตามที่คุณหมอแนะนำหรือไม่คะ

หลวงพ่อ : เพราะวิทยาศาสตร์เจริญ เพราะเราไปตกอยู่ใต้กฎของวิทยาศาสตร์ เพราะเมื่อก่อนเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลูกในครรภ์เราจะเป็นหญิงหรือเป็นชาย เดี๋ยวนี้ทุกอย่างพิสูจน์ได้หมด พิสูจน์ได้ขนาดที่ว่าลูกเราเกิดมานี่มันจะพิการหรือไม่พิการ แต่เมื่อก่อนถ้าไม่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างนี้พิสูจน์นี่ มันก็เกิดไปตามกรรมใช่ไหม แล้วเกิดขึ้นมา ลูกเราจะพิการขนาดไหน ลูกเราจะมีอะไรนี่ เราจะตัดใจได้ไหม

มันมีนะ นี่ลูกศิษย์ที่มาที่นี่คนหนึ่ง ลูกเขานี่ เอ๋อ เขาบอกว่าการแก้ลูกของเราก็ต้องแก้ที่หัวใจแม่ก่อน เขาบอกเขาเลี้ยงลูกเขานี้อย่างมีความสุข เขาเลี้ยงลูกเขาอย่างมีความสุข ลูกของเขานี่นะ ออทิสติกนี่เนาะ มันอยู่กับเด็กธรรมดาไม่ได้ แต่เขาส่งลูกเขาเรียนกับเด็กธรรมดา เขาส่งลูกเขาเรียนกับเด็กธรรมดา เขาไปดูแลลูกเขาอย่างดี นี่เราพูด อย่างนี้เป็นเวรเป็นกรรมไหม ทั้งชีวิตนะ เราจะอยู่กับเขาไปทั้งชีวิตเลย

นี่ถ้าพูดถึงคำว่าเป็นเวรเป็นกรรม เห็นไหม เราควรที่จะทำตามคำแนะนำของหมอไหม ตอนนี้เราก็ต้องกลับมาที่ชีวิตเรา กลับมาชีวิตเรา ใช่ ในเมื่อโลกเขารู้กันแล้วนี่ เขาทำอย่างนั้น แต่เรื่องเวรเรื่องกรรมไง... เรื่องเวรเรื่องกรรม นี้การเกิดเห็นไหมมันบาลานซ์กันนะ บาลานซ์กัน

นี่ดูอย่างยายกั้งเห็นไหม ยายกั้งที่จะไปเข้าท้องหลาน การเกิดนี่มันก็เวียนตายเวียนเกิด มันสับเปลี่ยนกันมานี่แหละ นี่ถ้าเวียนตายเวียนเกิดนี่ เรามีความสามารถจะรับได้ไหม ว่าอย่างนั้นเลย

ถ้านี่พูดถึงอย่างนั้นนะ แต่ถ้าพูดถึงทางธรรม... ทางธรรมนี่มันผิดหมดแหละ เพียงแต่ว่า ทีนี้เราจะบอกว่าอย่างนั้นจะเชื่อเรา แล้วจะแบบว่าพิการก็อย่างนี้ ทั้งชีวิตตัวเองรับได้ไหม คือมันมีโอกาสตัดสินใจได้ไง คือเจ้าตัวนี่มีโอกาสตัดสินใจ ว่าเรานี่จะรับสภาพนี้ได้ไหม ถ้ารับสภาพนี้ได้ หมอแนะนำอย่างไรก็เรื่องของหมอนะ

แต่ถ้าธรรมะ.. ธรรมะนี่มันเป็นกรรมไหม..เป็น ! มันเป็นบาปไหม... เป็น ! แต่นี่หมอเขาต้องคิดอย่างนั้น เพราะอาชีพของหมอนี่เขาอยู่ในวงการอย่างนั้น อยู่ในวงการสาธารณสุขใช่ไหม เขาเห็นมามากไง

เพราะพี่สาวเคยป่วย เราไปวิ่งเต้นกับหมอ อู้ฮู.. หมอบอกเลยนะ เงินนี่เก็บไว้เถอะ หมด ! พี่สาวเป็นโรคไต แล้วจะเปลี่ยนไตตอนนั้นไง เงินกี่แสนๆ นี่พี่น้องหากันมาเพื่อจะไปเปลี่ยนไง แล้วเราจะตัดไตเราให้เลยตอนนั้น สุดท้ายแล้วมันไปติดที่พ่อแม่ พ่อแม่ไปพูดกรอกหูพี่สาวว่าต้องการลูกป่วยคนเดียว ไม่อยากป่วยหลายคน ถ้ามันตัดแล้วมันจะป่วยหลายคนไง แล้วเราก็ไม่รู้ว่าพ่อแม่ไปคุยอย่างไรไม่รู้ มันเลยไม่ยอม ไม่ยอมเซ็นชื่อ ไม่ยอมผ่า ก็เลยจบกันไป

เพราะเราไปคุยกับหมอเยอะ เพราะหมอเขาประสบการณ์ เขาพยายามดูแลเราไง เขาบอกว่าเขาเห็นมาเยอะนะ เวลาพ่อแม่ป่วยนี่ ก็รักลูกไง ก็อยากจะอยู่อยากจะอยู่ มันก็รักษาไปเท่าไรจนหมดเลย สุดท้ายก็ตาย พอตายไปแล้ว ลูกไม่มีเหลืออะไรเลย แต่เขาบอกว่าถ้าตอนนั้นเขาไม่รักษานะ ลูกจะมีบ้านมีทุกอย่างพร้อม แต่ก็ขายเพื่อมารักษานี่แหละ นี่เรื่องความละล้าละลังนี่มันจะฉุดลากกันไป เขาอยู่ในวงการหมอ เขาเห็นเรื่องอย่างนี้มาเยอะ.. เยอะมาก ฉะนั้นพอเห็นมานี่ เขาเห็นมาไง ขึ้นต้นอย่างนี้จบอย่างนั้น ขึ้นต้นอย่างนี้จบอย่างนั้น เขาเลยแนะนำเลย แต่พวกเราทำใจกันได้หรือเปล่า พวกเราทำใจได้ไหม

นี่กรณีอย่างนี้ก็เหมือนกัน กรณีถ้าลูกในครรภ์ เพราะเดี๋ยวนี้วิทยาศาสตร์เจริญไง คือว่าเราไม่ขวางโลก เราไม่ขวาง ถ้าเราคิดกันอย่างไร เราใช้ดุลพินิจอย่างไร นั่นมันอยู่ที่ว่าเรารับได้หรือไม่ได้ เพราะชีวิตโยมนะ แต่ถ้าเป็นเวรเป็นกรรมนั่นอีกเรื่องหนึ่ง จะให้เราแนะนำนี่เราจะบอกว่าต้องให้โยมกลับไปใช้ดุลพินิจ

เรื่องนี้นะ เรื่องกรรมเรื่องเวรนี่ แหม... มันสุดวิสัย บางทีมันสุดวิสัย อุบัติเหตุคือกรรม กรรมคืออุบัติเหตุ นี่ทางวิทยาศาสตร์ไง กรรมไม่มี ทุกอย่างเป็นอุบัติเหตุ มันเกิดโดยอุบัติเหตุ แล้วทำไมต้องมาเกิดเฉพาะเราล่ะ ดูสิในกรุงเทพฯ เดินๆ มานี่เหล็กหล่นใส่หัวเลย แล้วมันทำไมต้องหล่นใส่เฉพาะคนนั้นล่ะ มันแปลกอยู่ อุบัติเหตุคือกรรมนะ แล้วทำอะไรไว้

นี่ย้อนกลับมาอย่างหลวงปู่ชอบนี้ หลวงปู่ชอบนะเวลาท่านเจ็บไข้ได้ป่วย หลวงปู่ชอบนี่เป็นคนที่เข้มแข็งมาก นี่เวลาไปธุดงค์ไม่มีใครไปธุดงค์ด้วยเลยล่ะ โอ้โฮ... ลุยอย่างเดียวเลย เวลาท่านป่วยขึ้นมาเห็นไหม ลูกศิษย์ก็แหม..พยายามเอายานะ เอายาเวลาท่านเริ่มเป็นอัมพาต เอายานี่ใส่เข้าไปในกล้วยนะเวลาท่านฉัน นี่ไม่ให้ท่านรู้นะ พอท่านฉันกล้วยนะ พอลิ้นมันรู้ว่าเป็นยานี่ดุนทิ้งเลย แล้วท่านบอกว่านี่เป็นกรรมของท่าน

ตอนเป็นเด็กๆ เห็นไหม เวลาเด็กบ้านนอกมันก็ธรรมดาใช่ไหม จับหอยจับปูจับปลามา เวลามันจะหนีก็หักหมดไง จับปูมาก็หักขา หักขาเก็บไว้ เพราะมันปล่อยมันก็หนีไง นี่เพียงแต่ว่ามันมาทันหรือมาไม่ทัน นี่หลวงปู่ชอบท่านพูดเองนะ นี่เวรกรรมมันมีของมัน แล้วท่านการรักษา...

ไอ้นี่พูดถึงเรานะ นี่พูดถึงธรรมะ ถ้าพูดถึงธรรมะ อันนี้มันอยู่ที่โยมจะตัดสินใจนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะชีวิตของพวกโยม เพราะทางหมอเขาพูดนี่ หมอเขาแนะนำ เออ..หมอเขาแนะนำ เพราะเขาไม่ต้องการให้แบบว่าเราต้องมาดูแลทุกข์ยากขนาดนั้น อันนี้ขอตอบแค่นี้ เพราะเราเป็นพระ

ภิกษุชักนำให้หญิงชายเป็นสามีภรรยากัน เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุพูดจาให้สามีภรรยาแตกแยกกัน เป็นอาบัติสังฆาทิเสส แล้วภิกษุนี่การฆ่านี่ ปาราชิก ๑ นะ ภิกษุทำให้ชีวิตตกร่วง ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นเขาทำก็ดี มันเป็นอาบัติ เห็นไหม อาบัติอย่างแรงด้วยนี่ แล้วนี่หมอแนะนำอย่างนี้ ฉะนั้นไอ้กรณีนี้เราค่อยใช้ดุลพินิจ

ต่อ... พูดแล้วมันเศร้าใจเนาะ พูดแล้วมันหงอย มันสะเทือนใจ เราก็สะเทือนใจ เราก็เห็นนะเห็นสะเทือนใจพอสมควร

 

ถาม : ๑. ถ้าเพื่อนสนิทของเราเกิดบรรลุธรรมขึ้นมาภายในชาตินี้ แล้วสิ่งที่เราเคยหยอกเพื่อน ทั้งเตะทั้งต่อยกัน ทั้งด่าทั้งว่า กรรมนี้จะมีผลกับเราไหมคะ การเล่นหยอกกับเพื่อนส่งผลไหมคะ

หลวงพ่อ : โอ้โฮ... ข้อ ๑.” ถ้าเพื่อนสนิทเราเกิดบรรลุธรรม” ตรงนี้จะเอาตรงนี้ก่อน แล้วบรรลุจริงหรือเปล่าล่ะ แล้วใครเป็นคนบอกว่าบรรลุล่ะ ตอนนี้พระอรหันต์จะเดินชนกันตายในสังคมไทยเลย ใครเป็นคนบอกว่าบรรลุธรรม กรณีนี้ก่อนนะ ๑. กรณีนี้เรายกไว้ก่อน แต่ ! แต่ถ้าเพื่อน เอาตามข้อเท็จจริงนะ ไอ้เรื่องที่ว่าเพื่อนเราบรรลุธรรมนี่เราวางไว้ก่อน เราไม่ค่อยเชื่อ เราต้องพิสูจน์ก่อน

ถาม : ฉะนั้นถ้าเพื่อนเราบรรลุธรรมขึ้นมาจริงในชาตินี้ แล้วสิ่งที่เราเคยเตะเคยต่อยมา ทั้งด่าทั้งว่ากันมาในยามที่เป็นเพื่อนกัน จะมีผลไหมคะ

หลวงพ่อ : ไม่มี... ถ้าเพื่อนของเรา เราหยอกเราเล่นกันมาก่อนที่เขาจะบรรลุธรรมนะ แต่ถ้าบรรลุธรรมแล้ว เรารู้ว่าเขาบรรลุธรรมนี่เป็นอริยบุคคล เราก็ไม่ทำอย่างนั้นอยู่แล้ว ทีนี้ขณะที่ยังไม่บรรลุธรรมนี่ มันก็ปุถุชนด้วยกันทั้งนั้นนี่ นี้การเล่นกัน คำว่าเล่น... คำว่าหยอกเล่น คำว่าเล่น นี่เวลาเขามีผลมีกรรมต่อกันนี่ มันอยู่ที่การอาฆาตแค้น ถ้าไม่อาฆาตแค้นนะผลนั้นจะน้อย มันไม่อาฆาตไง

อย่างเช่นนะเวลาลูกศิษย์มาที่นี่ เวลาขับรถมา มาถึงก็ หลวงพ่อทำบุญ ชนหมาตาย เราบอกไม่ใช่หรอก หมาชนรถมึงตาย อ้าว..แล้วขับรถมาด้วยกันนี่ แล้วหมาวิ่งมาตัดหน้า มันสุดวิสัยอย่างนี้ เราไปเจ็บอยู่คนเดียวไง ว่าเราขับรถชนหมาตาย ขับรถชนหมาตาย อู้ฮู..ทุกข์ๆ ร้อนๆ เลย แล้วมึงไม่รู้ว่าหมามันวิ่งมาชนรถมึงตายบ้างล่ะ อ้าว..มันก็กรรมของมัน มันต้องหมดอายุของมัน มันพรวดพราดออกมาเลยนี่ใครยับยั้งได้ มันยับยั้งไม่ได้เห็นไหม นี่ยับยั้งไม่ได้นี่มีกรรมไหม นี่พูดถึงมันเหตุสุดวิสัยใช่ไหม

อันนี้ก็เหมือนกัน อันนี้คราวนั้นเป็นเพื่อนเล่นกันนี่ เราไม่รู้นี่อันนั้นอีกเรื่องหนึ่งนะ แต่ถ้ารู้แล้วเราก็ไม่ทำ มันเรื่องธรรมดา ถ้าเรารู้แล้วนะว่าเพื่อนเราบรรลุธรรมจริงนี่ ถ้าเพื่อนเราบรรลุธรรมจริงเราก็ไม่ทำสิ่งนั้น แต่ที่ทำมาแล้ว

เราจะบอกว่า ธรรมะพระพุทธเจ้าบอกเลยนะ “สิ่งใดทำแล้วคิดทีหลังเสียใจสิ่งนั้นไม่ดีเลย”

นี่ก็เหมือนกันเพราะเราไม่รู้ แต่ถ้ารู้เราก็จะไม่ทำ ที่ถามมานี่มันอาจจะมีอะไรตกค้างในใจ ก็อโหสิกรรมต่อกันไง ขอขมาลาโทษก็คือจบไง เห็นไหม เดี๋ยวออกพรรษานี่ พระจะทำมหาปวารณา ใครที่มีโทษมีกรรมต่อกัน ขออภัยต่อกันเห็นไหม นี่ทางออกก็ขออภัย ยิ่งถ้าทำตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นะ รีบสาธุ.. สาธุเลย.. เอาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาเลย จะได้ไม่มีเวรมีกรรม เห็นไหม

แล้วนี่สิ่งที่มันเกิดขึ้นมาแล้วนี่อย่างหนึ่ง แล้วถ้าบรรลุธรรม... บรรลุธรรมนี่ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ไม่ค่อยเท่าไรนะ แต่ตอนหลังนี่มันเห็นเขาบรรลุกันเยอะก็เลยชักงงๆ อยู่เหมือนกัน พักหลังนี่ไม่เชื่อนะ งงๆ อยู่ งงว่าเขาเป็นพระอรหันต์นะ

ถาม : ๒. จะทำอย่างไรเมื่อต้องอยู่กับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ยอมรับความเป็นจริงว่าตัวเองก็มีส่วนผิด แต่พากันเข้าข้างกลุ่มเพื่อนที่ตัวเองทำความผิด ต้องถูกประเมินงาน ว่าไม่สามารถเข้ากับเพื่อนร่วมงาน งานที่ได้เป็นประเมินพฤติกรรม ทุกวันนี้ไม่มีความสุขในที่ทำงาน และเพราะเพื่อนร่วมงานบางส่วนก็ไม่ยอมเปิดใจ

หลวงพ่อ : อ่านแล้วมึนหัวตาลาย เอาแค่นี้แหละเอาจับความ จับความนะมีเยอะมากที่ผู้ใต้บังคับบัญชา เวลามาพูดถึงพูดว่าผู้บังคับบัญชานี่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นธรรม นี้ผู้ใต้บังคับบัญชานี่ ผู้บังคับบัญชาของเรานี่ เวลามาอยู่ในราชการนี่ ไม่กี่ปีเขาก็ต้องย้ายออกไป ถ้าเราไปเกิดได้ผู้บังคับบัญชาที่ดีเห็นไหม เราก็สร้างบุญสร้างกรรมมา แล้วผู้บังคับบัญชาที่ดีก็อยู่กับเรากี่ปี มันก็ต้องมีการย้ายไป

ทีนี้ในเพื่อนร่วมงานนี่ เพื่อนร่วมงาน นี้มันเป็นเวรเป็นกรรมนะ ถ้ามันเป็นเวรกรรมที่ดีนี่ เราจะเจอเพื่อนที่ดี นี่สภาวะกรรม เกิดมามืดไปสว่าง เกิดสว่างไปมืด เกิดมามืดไปมืด เกิดมาสว่างไปสว่าง สองสิ่งนี้เราเลือกไม่ได้

พระพุทธเจ้าเห็นไหมเวลาบิณฑบาตนี่ นางจิญจมาณวิกา จ้างคนมาด่าเลยนะ “หัวโล้น ! นี่หัวโล้น” จนพระอานนท์ทนไม่ไหวบอกหนีเถอะหนีเถอะ.. พระพุทธเจ้าบอกว่าหนีไปไหนล่ะ จะหนีไปไหน ถ้าไปเมืองอื่น เมืองอื่นแล้วเขาด่าอีกทำอย่างไรล่ะ แล้วไปข้างหน้าเขาด่าทำอย่างไร เราจะบอกว่าที่ทำงานนี่ทุกที่เป็นอย่างนี้หมด ทุกที่ก็เป็นอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ

คน... คนสองคนอยู่ด้วยกันมันต้องมีปัญหาอยู่แล้ว แก้ง่ายๆ คือแก้เข้ามาในใจของเรา หลวงตาสอนอยู่ให้ดูใจเรา อย่างเรานี่โดนบ่อยมาก เมื่อก่อนถ้ามานี่เวลาเราเสียงดังขึ้นมานี่ ใจตัวเราไม่ดู ใจตัวนี่ เวลาฟ้องนี่ฟ้อง ฟ้องว่าไอ้นั่นมันผิดไอ้นี่มันผิดนี่ แล้วทำไมไม่ดูใจตัว มันผิดมันถูกก็เรื่องของเขา ถ้าเราไม่มีโอกาสแก้ไข

แต่ถ้าเราเป็นเจ้าขององค์กร เราเป็นพ่อเป็นแม่ของลูก ลูกผิดลูกถูกเราก็ว่าได้ใช่ไหม แต่ถ้าเรามีเพื่อนฝูงนี่ เราเข้าบ้านเรานี่ เราเป็นพ่อเป็นแม่คนนี่เราก็ดูแลลูกเราได้ แต่เราเข้าไปที่ทำงานนี่ เขาเป็นอะไรกับเราล่ะ เขาเป็นอะไรกับเรา เราจะบริหารเขาได้อย่างไร ถ้าเราบริหารเขาไม่ได้เราก็ต้องดูใจเราล่ะ

ดูใจเราหมายถึงว่า นี่กรรมมันเป็นมาอย่างนี้ ถ้าสิ่งใดเราทำสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้ความดีที่สุด เพื่อหน้าที่การงานของเรา แล้วคนของเรานี่ถ้าทำดี ไปเจอเจ้านายที่ดีเจอสิ่งที่ดีนี่ ความดีนั้นจะให้ผลตอบสนองเรา ถ้าเราไปเจอเจ้านายที่ไม่ดีเห็นไหม เราทำดีขนาดไหนนะ ไอ้เพื่อนเราก็เอาความดีนี่ไปเป็นความดีของมันหมดเลย

นี่ทุกวงการ เราจะพูดอย่างนี้ขึ้นมาว่าทุกวงการ เราจะได้ไม่เสียใจน้อยใจไง แล้วทำไมมาเจอเขาล่ะ... มีลูกศิษย์มาเยอะมาก ทำไมหลวงพ่อหัวหน้าไม่ดีเลย แล้วทำไมมาเจอหัวหน้าอย่างนี้ล่ะ ทำไมเรามาเจอล่ะ ทำไมเศษกรรมมันพัดมาให้เจอกัน

เราเกิดมาในวัฏฏะ ! วัฏวน เห็นไหม ผลของวัฏฏะ.. เราเกิดมานี่เป็นผลของวัฏฏะนะ วัฏฏะมันฟัดมันเหวี่ยงเรามากันนะ ผลบุญผลกรรมนี่มันฟัดเหวี่ยงมาให้เกิดในวัฏฏะ วัฏวนเกิดมาแล้วนี่ เราจะปฏิเสธสิ่งที่เกิดมา เกิดการกระทำมาได้อย่างไร ในเมื่อเราโดนเศษบุญเศษกรรมมันฟัดเหวี่ยงเรามา เราหมุนมาอย่างนี้ เราหมุนมาอย่างนี้ แล้วเรามาเจอเพื่อนอย่างนี้ เรามาเจอคนร่วมงานอย่างนี้

“นี่ผลของวัฏฏะนะ ! ผลของวัฏฏะ”

พระในพุทธกาลเวลามีปัญหาขึ้นมานี่ เขาบอกว่านี่เขาโทษกันบอกว่า พระอรหันต์บอกไม่ใช่ ไม่ถือโทษโกรธเคือง มันเป็นผลของวัฏฏะ ผลของวัฏฏะ ผลของบุญของกรรมที่มันซัดเรามา มันต้องย้อนไปดูที่ทำไมมันซัดเรามา ถ้าซัดเรามาอยู่อย่างนี้แล้วนี่ โทษนะ เราจะตีโพยตีพายอย่างไร

เราพูดบ่อย เวรกรรมนี่ก็กูกำมาเอง.. กรรมก็กูทำไง.. การกระทำไง.. กรรมคือการกระทำ ทำดีทำชั่วมา ทำดีก็ได้ดีมา ทำชั่วก็ได้ชั่วมา แล้วทำมาได้มาอย่างนี้นี่ ทำมาจนได้มานั่งกันอยู่นี่ แล้วโทษใคร โทษใคร เราโทษใครไม่ได้ใช่ไหม เราโทษใครไม่ได้

นี่พระพุทธเจ้าถึงสอนให้กลับมารื้อกันที่นี่ไง ! กลับมาทำนี่ แบมันสิ.. อย่ากำ.. แบๆ นี้พอแบขึ้นมา นี่แบหัวใจไง กลับมาแบหัวใจเรา..

หลวงพ่อไม่ต้องพูดหรอก พระก็เทศน์อย่างนี้กันทุกคนเลย บอกให้ดูใจดูใจนี่ แล้วจะแก้กันอย่างไรล่ะ พูดอย่างนี้มันก็ แหม.. พูดเทศน์บอกแล้วเหมือนไม่ได้บอกเลยไง มันเป็นปัญหาที่แท้จริง มันเป็นของจริงที่จะแก้ไขตรงนี้ ถ้าบอกไปคิดอย่างอื่นมันแก้ไขไม่ได้ อย่างที่ว่านี่ทำดีนะ จริงๆ มันทำใจยาก มันทำใจยาก เราก็รู้ว่ามันทำใจยาก กิเลสมันยังฆ่ายากเลย แล้วอยู่ดีๆ ศักดิ์ศรีนี่ ศักดิ์ศรีของเรานี่จะไปให้เขาเหยียบย่ำ

นี่แพ้เป็นพระ เห็นไหม ดูสิแพ้เป็นพระ คำว่าแพ้เป็นพระนี่ แพ้เป็นพระหมายถึงว่า เราเข้าใจใจเราไง เรารู้ทันเขา เรารู้ทุกอย่างแหละ มันเอาเปรียบกู มันแกล้งกูมันทำกูนั่นล่ะ แต่เราก็ทำใจเรา แล้วก็ขอบคุณ นี่ทำความดีกับเขา เขาจะว่าเราเซ่อเราโง่นี่มันก็แล้วแต่เวรแต่กรรม ถ้าเขาคิดได้มันก็คิดได้นะ อย่างถ้าอโหสิกรรมต่อกันนี่ เราทำคุณงามความดีให้กับเขานี่ ถ้าเขาคิดได้ เขาเห็นคุณงามความดีของเรา มันก็กรรมไง

กรรมที่สร้างมานี่มันอาฆาตมาดร้าย คนมันอาฆาตมาดร้ายกันมานี่นะ มันผูกเวรผูกกรรมกันมา เราอโหสิกรรม เราทำดีขนาดไหนเขาก็ไม่ยอม แต่ถ้าบางคนนะต่างคนต่างมีคุณธรรม สิ่งที่มันผิดพลาดไป เราอโหสิกรรมต่อเขานี่ เขาก็โอเคต่อกันนะ สังคมมันก็มีความร่มเย็นเป็นสุข ศาสนาสอนอย่างนี้ แล้วความจริงเป็นอย่างนี้ ความจริงเป็นอย่างนี้ ศาสนาสอนไม่สอนนี่ความจริงมันเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แต่พระพุทธเจ้ามารู้อย่างนี้แล้วสอนอย่างนี้

ฉะนั้นมันหลีกเลี่ยงหนีเขาไม่พ้น แต่ถ้าเราดื้อเราขืนเราดึงไปนี่มันก็ปะทะ พอยิ่งปะทะนะ แผลมันก็ยิ่งลึก แผลใจนี่ ไม่เคยเห็นหน้ากันเลยนะ ไม่เคยเห็นหน้ากันเลยมาเจอหน้ากัน ผลัวะ ! เดียวนะ โอ้โฮ..เหม็นหน้าน่าดูเลย นี่มันมองหน้ากันไม่ติดเลย ไม่เคยเห็นหน้ากันเลย แล้วมาเจอหน้า ผลัวะ ! โอ้... คนนี้ทำไมมันดูดดื่มนะ คนนี้ทำไมมันหน้าตา ทำไมมันแบบว่ามันมีความผูกพันเนาะ

นี่เวรกรรมเห็นไหม เวรกรรมนี่มันฟ้องเลยล่ะ ไม่เคยเห็นหน้ากันมาเลย เพิ่งมาเคยเจอหน้ากันนี่ โอ้โฮ..เจอหน้านี่ร้อนเป็นไฟเลย ไม่เอาไอ้นี่ไม่เอา ไม่เอา พอเจอหน้ามันที ไอ้อย่างนี้มันเป็นโดยกรรมเก่ากรรมใหม่ไง กรรมเก่าก็มี... กรรมใหม่ก็ปัจจุบันนี้.. แล้วปัจจุบันนี้เจอพุทธศาสนา อย่า ! อย่าให้มันบาดลึกไปกว่านี้ไง อย่าให้ชีวิตเจ็บปวดไปกว่านี้ สิ่งนี้มันก็เจ็บปวดพออยู่แล้ว ยังไปทำกัน

นี่ถึงบอกเลยอยากให้ผู้วิเศษ อย่างเรานี่ให้เราเอาน้ำมนต์ไปพรมเลย แล้วดีกันทั้งหมดเลย โอ้โฮ..มันก็ดีน่ะสิ มันเป็นไปไม่ได้ มาถึงนี่เอาน้ำมนต์มาพรมหมดเลย ทุกคนให้ดีกันหมด ทุกคนให้รักกันหมด โอ้โฮ.. อย่างนั้นมันในหนังไงในหนัง

มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นะ สิ่งที่เป็นไปได้ก็นี่รักษาใจเรา หลวงตานี่กระหนาบบ่อย “ใจตัวล่ะไม่ดู ! ใจตัว นี่ไปดูแต่ความผิดคนอื่น.. ใจตัวนี่ดูให้ดี”

เพราะถ้ามันพูดแล้วมันเยิ่นเย้อ หลวงตาท่านพูดกระชับพูดง่ายๆ แต่เวลาออกมาก็เป็นอย่างนี้ คือถ้าอธิบายไปยาวก็ยาว เหมือนลูกเรานี่ไม่รู้เรื่อง เราอธิบายบอกอะไรผิดอะไรถูกนะ พูดไปเถอะมันไม่รู้เรื่องหรอก

ถาม : เวลาที่นั่งแล้วสงบลงจะมีอาการกระตุก แต่ยังรู้ว่ามีสติอยู่ พยายามดึงกลับมาที่พุทโธแล้ว แต่ก็ยังมีอาการอยู่ สามารถแก้ไขได้อย่างไร

หลวงพ่อ : อาการกระตุกนี่ มันมีเรามีพระเพื่อนอยู่องค์หนึ่ง เขาบอกว่าอาจารย์นี่เขาเก่งมาก เวลานั่งสมาธินะ อาจารย์เขามาสะกิดบอกเลยว่าถูกผิดตลอดเวลา เราก็บอกว่า เฮ้ย.. ระวังผิดนะมึง ระวังผิด..

ทีนี้อาการกระตุก... อาการกระตุกโดยธรรมชาตินะ โดยธรรมชาติของมันร่างกายนี่มันกระตุกได้ ร่างกายนี่เวลามันสิ่งต่างๆ มันมีของมันอยู่ แล้วนี้อาการกระตุกอะไรต่างๆ ให้ตั้งสติไว้ แล้วอย่างที่ว่ารับรู้นี่มันอันเดียวกับเมื่อกี้ที่ว่าสะดุ้งเลย ถ้ารับรู้ ถ้าหัวใจรับรู้ชัดเจนนี่มันจะตกร่องนะ แล้วกระตุกนี่มันจะมีไปเรื่อยๆ อาการกระตุกอาการต่างๆ

นี้การทำความสงบ การเข้าไปสู่บ้านเรือนของเรา เข้าไปสู่จิต การเข้าไปสู่จิตเห็นไหม ดูสิบ้านเรือนของเรานี่เวลาเปิดประตูนี่ เปิดมันจะมีอากาศถ่ายเทออกมาใช่ไหม เวลาเปิดบานประตูจะมีอากาศออกมา

นี่ก็เหมือนกันในการเข้าไปสู่ใจ ในการเข้าไปสู่ใจนี่มันจะมีอาการกระทบทั้งนั้น มันจะมีอาการกระทบ แต่ขณะที่ว่าคนสร้างบุญมานะ จิตสงบนิ่งๆ ลงนิ่งๆ นี่มันก็รับรู้ได้ รับรู้ได้... สติรับรู้ได้ ถ้าสติรับรู้ไม่ได้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ จิตเราเป็นสมาธิขั้นหยาบหรือขั้นละเอียด เรารู้หมดแหละ ถ้าชำนาญแล้วมันรู้หมด

ทีนี้เราจะย้อนกลับมาที่กระตุก... ที่กระตุกนี้เรารักษาจิตของเรา รักษาจิตของเรา นี่แล้วอย่างที่ว่านี่ เจ้ากรรมนายเวรอุทิศหมด อุทิศหมดเพราะอะไร เวลาธรรมะพระพุทธเจ้าแล้วครูบาอาจารย์เช่นหลวงปู่ชอบอีกแหละ หลวงปู่ชอบท่านอยู่เพชรบูรณ์ เวลาสวดมนต์ นะโมตัสสะ ภะคะวะโตนี่ อู้ฮู.. ท่านสวดพระอยู่องค์เดียว ธุดงค์ไปองค์เดียว ก็สวดมนต์ธรรมดานี่แหละ เวลาทำวัตรไง สวดมนต์เย็นนี่แหละ แล้วเวลาท่านจะย้ายหนีนี่ ท่านนั่งจิตท่านสงบเทวดาจะมาไง เทวดาบอกอู้ฮู..ไม่อยากให้หลวงปู่ชอบไปไหนเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเวลาหลวงปู่ชอบสวดมนต์สวดพรนี่อู้ฮู.. มันกังวานมันเพราะ มันมีความสุข สังคมเทวดาร่มเย็นเป็นสุขมาก ไม่อยากให้ไปไหนเลย

นี่เห็นไหม เทวดาอินทร์พรหมนี่เขามาดูแล เขามาดูแลเวลาจิตเราสงบจิตเราเป็นคนดีนี่ เทวดาอินทร์พรหมเขาอยากได้บุญกุศลเหมือนกัน ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐินะ ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิมันก็อย่างที่ว่าหลวงปู่มั่นอีกแหละ เห็นไหมเดินอย่างกับม้าแข่ง เดินช้าๆ ก็ว่าเดินอย่างคนป่วย นี่มันก็จับผิดตลอดไป เทวดาก็มีสัมมาทิฏฐิ.. มิจฉาทิฏฐิ..

คำว่ามิจฉาทิฏฐิ อ้าว..แล้วเป็นเทวดาได้อย่างไร.. เป็นสิ ! อย่างเรานี่เป็นคนที่พาลพาโลมากเลย แต่เราทำบุญกับครูบาอาจารย์ที่ดีๆ เยอะมาก เห็นไหมเราไปเกิดเป็นเทวดา แต่เราเป็นคนพาลพาโล มิจฉาทิฏฐิ.. คือว่ามิจฉาทิฏฐิก็ไปเกิดเป็นเทวดามิจฉาทิฏฐินี่แหละ ไปเกิดเป็นเทวดาก็ไปแกล้งเขานั่นไง เทวดาก็ไปล่อเขาอยู่อย่างนี้ เพราะนิสัยมันไม่ดี

นี่ไงเทวดาก็มีมิจฉาทิฏฐิ.. สัมมาทิฏฐิ... ทุกวงการ พรหมก็มี ทุกอย่างก็มี มีทั้งนั้นแหละ มนุษย์ก็มี

ฉะนั้นสิ่งที่มีเห็นไหม สิ่งที่ว่าเราอุทิศส่วนกุศลถึงนี่ เพื่อจะให้ความกระตุกนี้มันน้อยลงไง ความกระตุกนี่มันเป็น ฉะนั้นเวลาปฏิบัติเวลาจะเข้าสู่จิต เวลาจิตสงบนี่มันมีอาการมีอะไรเป็นไป ตรงนี้มันเป็นข้อเท็จจริง เพราะตรงนี้เป็นข้อเท็จจริงเห็นไหม แล้วการปฏิบัติของคน ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ปฏิบัติยากรู้ยาก มันเป็นตามข้อเท็จจริง แล้วข้อเท็จจริงนั้นต้องพยายามทำของผู้ปฏิบัตินั้นให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงนั้น แล้วมันจะเข้าไปถึงสมาธิของข้อเท็จจริงนั้น เห็นไหม

นี่ความว่าง... ฌานเป็นอจินไตย เป็นอจินไตยเลย อจินไตยคือว่ามันคาดหมายไม่ได้เลยว่าของใครๆ นี่จะเหมือนกันไม่ได้เลย แล้วพอเหมือนกันไม่ได้ เวลาปฏิบัติเห็นไหม ดูสิที่เขาปฏิบัติกันนี่ เป็นคณะเป็นหมู่คณะเป็นอะไร เราเห็นแล้วมันเป็นเรื่อง

จริงๆ เราไม่เชื่อนะ ที่เขาปฏิบัติกัน อู้ฮู..เป็นขั้นเป็นตอน อู้ฮู.. เป็นคอร์ส เป็นอะไรต่างๆ กูไม่เชื่อ พวกกูไป ๕ องค์ ๖ องค์ในป่า กูภาวนากัน แม่งกูยังทำกันไม่ได้เลย ไม่เชื่อหรอก มันเป็นการเล่นขายของ

แต่ถ้าเราปฏิบัติตามความจริงนี่ เราทำความเป็นจริงของเรา ถ้าเราจะลงหรือไม่ลงนี่ เวลามันเป็นเราต้องแก้ไขของเราไง นี่ปฏิบัติมันต้องเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นความจริงขึ้นมาไง นี้ว่าเอาธรรมะแท้เอาธรรมะจริง เอาสมาธิจริง เอาหลักการจริง เอาจิตที่มันเป็นจริง แล้วจิตได้ออกวิปัสสนาจริง ให้มันเกิดความจริงขึ้นมา มันเป็นของใครของมัน มันเป็นเฉพาะบุคคล สงบคือเราสงบ ไม่มีใครจะมาทำแทนเราได้ เราไปทำแทนคนอื่นไม่ได้ ยกเว้นแต่เราเคยทำได้แล้ว เราจะไปบอกแนะนำใครได้บ้าง บอกเกื้อกูลใครได้บ้าง

ฉะนั้นสิ่งนี้เราค่อยๆ แก้ไขของเราไป มันจะกระตุกอย่างไร แล้วพอกระตุกปั๊บก็น้อยใจ นี่เออ..เรากระตุกเนาะ แล้วคนอื่นทำไมไม่เป็นแบบเรา แล้วถ้าคนที่เป็นหนักกว่าเราล่ะ คนที่เป็นหนักกว่าเราก็มี คนที่ไม่เป็นก็มี เพราะเขาก็สร้างบุญของเขามาเหมือนกัน ฉะนั้นปัญหาเกิดขึ้นมากับเราแล้ว เราก็ต้องแก้ ไม่ต้องไปเสียใจน้อยใจนะ มันเป็นการกระทำของเรามาเอง แล้วพอการกระทำของเรามาเองนี่ ในปัจจุบันนี้เราก็อย่าไปฝังใจ มันจะกระตุกมันจะอะไรก็แล้วแต่นี่ต้องแก้ได้ ต้องแก้ได้

ดูสิบางคนนี่เห็นไหม บางคนนั่งภาวนาไม่ได้เลย นั่งภาวนาไม่ได้ก็ยืนสิ บางคนบอกว่ายืนไม่ได้ต้องนอน อ้าว..นอนก็นอน ดีกว่าไม่ทำ แต่เราทำมันจะได้ผลไม่ได้ผลนั่นอีกเรื่องหนึ่ง ทำแล้วได้ผลหรือไม่ได้ผลนะ ถ้าทำดีมันจะได้ผลดีของมันดี เราตั้งใจของเรา เราทำของเรา อย่าน้อยใจ

เพราะ จริงๆ เรานี่นะ เรื่องอย่างนี้เวลาพูดนี่เราพูดถึงเราประจำ พระเพื่อนมาหา อยู่ที่โพธารามอยู่ข้างใน เรานี่โดนอู้ฮู.. ทุกรูปแบบเลย แล้วเพื่อนเขามานี่เขาพูดกับเราบอกว่ามึงนี่ดีนะ มึงยังภาวนามีหลัก ไม่มีหลักมึงเป็นบ้าไปแล้วล่ะ แล้วเวลาทำข้อวัตร เฮ้ย... เขาเลิกกันแล้ว ไม่ต้องทำหรอก... แต่เราก็พอใจทำ

นี่เห็นไหม เราไม่น้อยใจไง เราไม่น้อยใจ... เราไม่น้อยใจเลยว่าเราจะโดนเขารังแกขนาดไหน เขาจะทำอะไรเราไม่น้อยใจ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะถ้าเราไม่โดนรังแก เราก็ไปซะสิก็จบไง ก็สิทธิของเราใช่ไหม เก็บบาตรเดี๋ยวนี้กูก็ไปได้เดี๋ยวนี้แหละ แต่ทำไมเราอยู่กับเขาล่ะ เราไม่น้อยใจเพราะอะไร เพราะมีเป้าหมายไง

ถ้าเรามีเป้าหมาย... คำว่าเป้าหมายของเรา เราต้องการสิ่งใด แล้วเราทำเพื่อสิ่งนั้นเห็นไหม มันจะมีผลกระทบ ผลกระทบมันจะมี เราจะไม่ทำอะไรกันเลยนะ จะไม่มีผลกระทบอะไรกันเลย พอเราตั้งใจจะทำนี่ ดูสิอยู่ฝั่งนู้นนี่ พูดภาวนานี่ ลองใครบอกเนสัชชิกสิ เดินกลางคืนสิ ไอ้คนนั้นก็เหลียวมอง คนนี้ก็เหลียวมองกันแล้ว ถ้าต่างคนต่างนอนนะ ต่างคนต่างปิดกุฏินอน โอ๋ย... สบาย จะไม่มีอะไรเลย ไม่มีผลกระทบเห็นไหม

นี่ก็เหมือนกัน ทำดีมันจะมีผลกระทบ ทีนี้ผลกระทบนี่เราจะนั่งสมาธิมันจะมีกระตุกอย่างไร ผลกระทบอันนี้มันเกิดจากจิตของเรา มันมีอยู่แล้วเราต้องแก้ไข อย่าไปน้อยใจอย่าเสียใจ ไม่ต้องน้อยใจ ถ้าเราน้อยใจนี่มันเหมือนกับเราทอนกำลังใจเราเอง แล้วก็มาเสียใจนะ ทำดีแล้วไม่ได้ดี นี่กรรมดีทั้งนั้นเลย ใครเขาก็ว่าทำดีหมดแหละ แล้วไม่เห็นได้ดีเลย เราก็ทำดีนี่ ทำไมกูโดนด่าทั่วประเทศไทยอยู่นี่ ใครๆ เขาก็ด่า กูก็ว่ากูไม่ได้ทำไม่ดีเลย ทำไมกูโดนด่าเยอะฉิบหายเลย เห็นไหม

ก็พอใจ... พอใจเพราะ ! เพราะเรามีหลักมีเกณฑ์ เราจะยืนหลักการที่ถูกต้อง ไอ้คำประสาเรานี่เขาขึ้นมาไม่ถึง เขามองว่าเรานี่เป็นคนบ้า ใครจะด่าก็ด่า แต่ถ้าเราไม่ยืนหลักการมันจะไม่เหลือ มันจะไม่เหลือ ฉะนั้นใครจะด่าให้มันด่าไปเนาะ...

มีอะไรอีกไหมฝนมาแล้ว เอวัง จบแล้ว