ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

การฆ่ากิเลส

๑๘ ต.ค. ๒๕๕๒

 

การฆ่ากิเลส
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ปัญหาถามว่านะ นี่มีปัญหา ตอนเช้าเราเทศน์ไปแล้วนี่ เทศน์ให้กำลังใจกัน แต่นี้มันเป็นปัญหาธรรม

ถาม : ๑. ปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องฆ่ากิเลสไหม

๒. ฆ่ากิเลสด้วยการรู้แล้วเบื่อ จึงละกิเลสใช่ไหม

หลวงพ่อ : ไม่ใช่

ถาม : ๓. รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ฆ่ากิเลสตรงไหน

หลวงพ่อ : นี่ไง ไอ้อย่างเขานี่ ไอ้อย่างที่ทำๆ กันไปนี่ เวลาพูดนี่มันแบบว่า ประสาเรานะพูดกับใครก็ได้ แล้วใครจะฟังอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ความจริงเห็นไหม เวลาหลวงตาหรือครูบาอาจารย์ท่านจะฟังของท่าน ว่าใครปฏิบัติจริงหรือไม่จริง แล้วจริงไม่จริงนี่ เวลานะหลวงปู่ฝั้น

แหม..พูดอย่างนี้แล้วเราสะเทือนใจพอสมควรนะ หลวงปู่ฝั้นเห็นไหม “ผู้รู้สว่างไสว ผู้รู้ผ่องใสนี่” หลวงตาท่านก็ฟังอยู่ ฟังอยู่เรื่อย ฟังอยู่เรื่อย นี่ในเทศน์หลวงตาท่านเทศน์เห็นไหม แล้ววันหนึ่ง ท่านไปเผาศพหลวงปู่กงมา ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ แล้วกลับมาพักที่วัดป่าภูธรพิทักษ์

แล้วคืนนั้นท่านไปหาหลวงปู่ฝั้นไง

“ผู้รู้สว่างไสว ผู้รู้ผ่องใส”

“โห นึกว่าไปถึงไหนแล้ว มาตายอยู่นี่เหรอ”

ก็ใส่เลยไง พอใส่ก็ใส่เปรี้ยงเข้ามา เปรี้ยงเข้ามา บอกอ๋อ..รู้แล้ว รู้แล้ว หลวงปู่ฝั้นบอกรู้แล้ว รู้แล้ว พอรู้แล้วนี่ก็ทำไป

นี่เราจะบอกว่าเห็นไหม “ผู้รู้สว่างไสว ผู้รู้ผ่องใส” เราฟังดูมันก็น่าชื่นใจนะ แสงสว่างคืออวิชชา ความสว่างไสว ความผ่องใสคือฐิตีจิต คืออวิชชา ทีนี้ในมหายานเขาบอกเลย เจอพระพุทธเจ้าที่ไหน เจอพุทธะที่ไหน เจอผู้รู้ที่ไหน ต้องฆ่าผู้รู้ที่นั่น ถ้าไม่ได้ฆ่าผู้รู้ที่นั่น เป็นพระอรหันต์ไม่ได้

มโนมิงปิ นิพพินทะติ มโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ มโนคือตัวจิต ตัวมโนเห็นไหม เขาบอกจิตพระอรหันต์ จิตพระอรหันต์ ความจริงพระอรหันต์ไม่มีจิต อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ อาสวะสิ้นไป จิตเป็นผู้วิมุตติเห็นไหม

จิต !จิต ! ตัวจิตมันพลิกกลับ เป็นผู้วิมุตติเห็นไหม เวลานี่จุดและต่อมของจิต แล้วเวลาจิตมันขึ้นมาเป็นสองขั้ว แล้วมันพลิก พลิกขึ้นมา ถ้ามีจิตมีภพ ถ้ามีจิตมีสถานที่ มีจิตมีมโน มีจิตคือมีตัวตน มีจิตคือมีอัตตา มีจิตคือมีผู้รับผิดชอบ มีจิตคือมโนวิญญาณ คือจิตตัวเกิด แต่ถ้าทำลายจิตทั้งหมด ทำลายผู้รู้ทั้งหมดแล้ว จิตไม่มี พระอรหันต์ไม่มีจิต

หลวงตาท่านบอกว่าท่านเป็นธรรมธาตุ ธรรมธาตุ ธรรมะ เอโก ธัมโม ธรรมเป็นธาตุ จิตไม่มี จิตเป็นตัวตน จิตเป็นผู้รู้ เห็นไหม ไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู ไม่ใช่ตัวกูไม่ใช่ของกูนี่มีจิต เพราะอะไรรู้ไหม

ถ้ามีจิตเห็นไหม ถ้าไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู ใครเป็นคนพูด ใครเป็นคนรับรู้ ใครเป็นคนแสดงความไม่มีตัวกู ใครเป็นคนแสดงตัวว่าไม่มีของกู ก็คือตัวจิต แต่ถ้าไม่มีจิตเลยนี่ ตัวของกูมีไหม ไม่มีจิตไม่มีอะไรเลย พอขึ้นมาก็ ไม่มีใครอ้าปาก ไม่มีเสียง ไม่มีสมมุติ ไม่มีบัญญัติ ไม่มีอะไรออกมาจากความเป็นธรรมธาตุเลย ธรรมธาตุคือธรรมธาตุ อึ้บ.. จบ

ถ้าไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู ใครเป็นคนพูด นี่ผู้รู้ พุทธะผ่องใส พุทธะสว่างไสว ใครเป็นคนพูด นี่ไงมันฟังกันออกนะ มันฟังกันได้ มันฟังกันรู้เรื่อง แล้วผู้ที่ปฏิบัติทีเดียว นี่เราบอกว่า ปฏิบัติเพื่อมรรคผล ต้องฆ่ากิเลสไหม การฆ่ากิเลสนี่ ถ้าใครไม่เคยฆ่ากิเลส คนนั้นไม่เคยเห็นกิเลส แล้วคนเห็นกิเลส เห็นอย่างไร คนเห็นกิเลสได้ ถึงจะฆ่ากิเลสได้ คนไม่เห็นกิเลสจะฆ่าใคร

คนไม่เคยเห็นกิเลสจะฆ่ากิเลส กิเลสอยู่ที่ไหน กิเลสเป็นใคร ใครเป็นกิเลส กิเลสมันเกิดจากอะไร ต้นไม้ภูเขาเหล่ากาเป็นกิเลสไหม นี่สรรพสิ่งเป็นกิเลสไหม สัตว์เดรัจฉานมันเป็นกิเลสไหม เป็น มันเป็นโดยตัวมัน

แต่สัตว์เดรัจฉานกับกิเลสเราไม่เกี่ยวกัน กิเลสระหว่างพระ ก. กับพระ ข. พระ ข.มีกิเลสไหม มี แล้วพระ ก.ต้องไปฆ่ากิเลสพระ ข.ไหม ไม่เกี่ยว กิเลสของพระ ข. ก็เป็นกิเลสของพระ ข. กิเลสของพระ ก.ก็เป็นกิเลสของพระ ก.

พระ ก. นะไม่เห็นกิเลสของตัวหรอก แต่เห็นกิเลสของพระ ข.เต็มไปหมดเลย พระ ข.นี่มีกิเลสเยอะแยะ อู้ฮู..พระ ข.นี่ทำตัวผิดพลาด ผิดกฎผิดหมดเลย แต่พระ ก.ไม่เห็นกิเลสของพระ ก.นะ พระ ก.ไปเห็นกิเลสของพระ ข.เห็นไหม พระ ข.ทำความผิด พระ ข.ทำผิดวินัย พระ ข.ทำผิด ผิดหมดเลย พระ ข.ผิดหมดเลย

แล้วพระ ก.ได้อะไร พระ ก.ก็ได้บาปอกุศลไง พระ ก.ก็ไปจับผิดคนอื่นไง พระ ก.ก็ไปดูกิเลสคนอื่นไง พระ ก.เห็นกิเลสตัวเองไหมล่ะ พระ ก.ต้องเห็นกิเลสของตัวของพระ ก. พระ ข.ต้องเห็นกิเลสของพระ ข. มันถึงจะฆ่ากิเลสได้ พระ ข.หรือพระ ก.นี่ เห็นกิเลสของฝ่ายตรงข้าม พระ ก. พระ ข. ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เห็นไหม

อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนจะเป็นประโยชน์ได้ ตนต้องเห็นกิเลสของตัวเองก่อน ถ้าตนไม่เห็นกิเลสของตัวเอง ตนจะฆ่ากิเลสของตัวเองไม่ได้เลย

นี่ไงปฏิบัติธรรมเพื่อมรรคผลต้องฆ่ากิเลสไหม พระพุทธเจ้าบอกเลยนะ ปานาติปาตา อย่าเบียดเบียนกัน อย่าทำร้ายกัน อย่าพูดจาส่อเสียดกัน อย่าพูดจาทำร้ายกัน อย่าทำร้ายอย่างอื่น ผิดหมดเลย เว้นไว้อย่างเดียว

“การฆ่าที่เป็นประโยชน์ที่สุด คือการฆ่ากิเลส”

ในพระไตรปิฎกไปเปิดได้ การฆ่ากิเลสประเสริฐที่สุด การฆ่าที่พระพุทธเจ้าส่งเสริม พระพุทธเจ้าอนุโมทนาด้วยนะ การทำลายคนอื่นพระพุทธเจ้าห้ามหมดเลย แต่การฆ่ากิเลสนี่พระพุทธเจ้าสาธุ ! พระพุทธเจ้าไชโยเลย แต่ถ้าการทำลายคนอื่น พระพุทธเจ้าห้ามหมดเลย

นี่ไงการฆ่ากิเลสประเสริฐที่สุด แล้วกิเลสมันอยู่ที่ไหน ฉะนั้นปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องฆ่ากิเลสไหม ต้องฆ่าเด็ดขาด แล้วตรงนี้มันเป็นจุดตายของกรรมฐาน ของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ กิเลสเป็นอย่างไร กิเลสมันเป็นตัวอย่างไร แล้วฆ่ามันอย่างไร ถ้าไม่มีการฆ่ากิเลส ไม่มีการเห็นกิเลส ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่เป็นทางพุทธศาสนา พุทธศาสนาไม่เกี่ยวตรงนั้นเลย

นี่อย่างพิธีกรรม ดูสิเราทำบุญกุศลกัน เราทำสิ่งต่างๆ เราทำความดีกัน ความดีอย่างนี้เป็นอามิสนะ เวลาพระพุทธเจ้าปรินิพพานเห็นไหม นี่มัลลกษัตริย์มากราบไหว้บูชานี่ เทวดา อินทร์ พรหม มาบูชามหาศาลเลย พระพุทธเจ้าบอกอานนท์เลย

“อานนท์ เธอบอกเขานะให้ปฏิบัติบูชาเถิด” สิ่งนี้อามิสบูชาอย่างนี้ ประสาเราพระพุทธเจ้าไม่ปรารถนาเลย

แต่ ! แต่มันเป็นประเพณีวัฒนธรรมเพื่อจะได้ฝึกเด็ก เพื่อให้คนเข้าถึงศาสนานี้ การจะเข้าถึงศาสนา เราไม่มีพิธีการ ไม่มีสิ่งใดๆ เลย จะให้คนเข้ามาถึงศาสนา เขาจะเข้ามาได้อย่างไร การจะเข้าถึงศาสนา มันก็ต้องมีเหตุมีผล มีวิธีการ เพื่อเราจะเข้าไปถึงตัวศาสนา

ทีนี้เราจะเข้าถึงศาสนา เอาไว้สอนเด็กๆ เห็นไหม นี่เรามาพูดเล่นๆ บ่อยมากเลย ประเพณีวัฒนธรรมไม่ใช่ธรรม ตัวธรรมมันคืออะไร สมาธิธรรม สติธรรม ปัญญาธรรม ตัวธรรมเห็นไหม ถึงธรรมเห็นไหม ติดดีติดชั่วพ้นจากกิเลสไปไม่ได้ ถึงดีและชั่วก็ต้องผ่านมันไปเห็นไหม ต้องผ่านทั้งดีและชั่วไป

แล้วดีและชั่ว นี่ไงเราไปติดดีกัน ติดดีแก้ยากนะ นี่ทุกคนเป็นคนดีหมดเลย ทุกคนเป็นคนถูกต้องหมดเลย อีกคนตรงข้ามผิดหมดเลย แล้วดีของใครล่ะ มันดีนะมันดีของสัตว์ มันดีของมนุษย์ มันดีของเทวดา อินทร์ พรหม มันดีของโสดาปัตติมรรค มันดีของสกิทาคามรรค มันดีของอนาคามรรค มันดีของอรหัตมรรค

มรรคมันยังหยาบละเอียด มันยังดีเป็นชั้นๆ ชั้นๆ ขึ้นไป แล้วดีของใคร แล้วถ้าจะดีของใคร ถ้าอรหัตมรรคดีที่สุด อรหัตมรรคมาจากไหน อรหัตมรรคนี่ถ้าไม่มีปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค อรหัตมรรคจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร อรหัตมรรคมันจะมาขึ้นมาจากปุถุชน จากคนหนาด้วยกิเลส แล้วมันทำตัวของมันขึ้นมาเป็นกัลยาณปุถุชน มันพัฒนาการของมันเป็นชั้นๆ ขึ้นมา มันถึงจะเจริญขึ้นไปถึงอรหัตมรรคได้

นี่แล้วว่าถ้าอรหัตมรรคมันดีที่สุด อรหัตมรรคดีที่สุด แล้วอรหัตมรรคไม่มีพื้นฐาน แล้วอรหัตมรรคมันจะมาจากไหน มันก็มาจากเรานี่แหละ มันมาจากปุถุชนนี่แหละ มาจากคนหนานี่แหละ แต่คนหนานี่เวลาปฏิบัติไปแล้ว มันเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไป

นี่ไง สิ่งที่ว่ามันต้องฆ่ากิเลสไหม ต้องฆ่า ฉะนั้นไอ้คำว่าต้องฆ่านี่นะ คำว่าต้องฆ่าเหมือนเราทำงาน คนทำงานประสบความสำเร็จ คนเคยทำงานมาแล้ว จะรู้ว่าวิธีการทำงานเป็นอย่างไร คนทำงานบอกประสบความสำเร็จจากทำงานมาแล้ว เขาให้บอกเนื้องาน ก็กูนั่งเฉยๆ นี่มันสำเร็จเอง สบายๆ นี่สำเร็จเอง มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้เลย เป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะตน

พ่อแม่พี่น้อง ปู่ย่าตายาย ครูบาอาจารย์ พระพุทธเจ้าทำให้ไม่ได้ทั้งสิ้น ถ้ามันทำให้ได้ทั้งสิ้นนะ เวลาเกิดขึ้นมา พ่อแม่คนไหนบ้าง ไม่ต้องการให้ลูกเราเกิดมาแล้วรูปร่างดี เป็นคนฉลาด เป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ พ่อแม่คนไหนมีสิทธิ บอกว่าลูกเราเกิดมาต้องได้สมความปรารถนา อย่างที่เราปรารถนา มันเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น

มันเป็นบุญเป็นกรรมของสัตว์ดวงนั้น ของจิตดวงนั้น จิตดวงนั้นเป็นผู้สร้างมา มันเป็นพันธุกรรมทางจิต จิตเป็นผู้สร้างมา แล้วจิตมันจิตดีจิตชั่ว จิตสร้างมา ลูกเรามามืดไปสว่าง มาสว่างไปมืด มันเป็นธรรมชาติของจิตดวงนั้นซะเอง แล้วจิตดวงนั้น คนอื่นจะไปดัดแปลงมันได้อย่างไร ถ้ามันไม่ได้ทำของมันเอง มันทำของมันเองทั้งนั้น ฉะนั้นถึงบอกว่า สิ่งที่ว่าไม่มีใครทำให้ใครได้เลย ไม่มี !

พระพุทธเจ้าถึงรื้อสัตว์ขนสัตว์ พระพุทธเจ้าบอกวิธีการเท่านั้น แล้วเราต้องพยายามรื้อของเขา พยายามรื้อค้นของเราขึ้นมา รื้อค้นของเราขึ้นมานี่ มันก็มีอุปสรรคกันทุกคนแหละ ทุกคนจะมีอุปสรรคไปหมดเลย อุปสรรคแล้วมีกรรมเก่ากรรมใหม่ ต่างๆ มันเกิดขึ้นมาทั้งนั้นล่ะ

ทีนี้สิ่งนี้เกิดขึ้นมาแล้ว เราก็ต้องพยายามต่อสู้ พยายามแก้ไข แล้วมีครูบาอาจารย์ คำว่าครูบาอาจารย์มันตรงไหนล่ะ ครูบาอาจารย์จะเปรียบเทียบไง อย่างเช่นเราทำสมาธิมา เราก็เป็นสมาธิไง บอกอาจารย์ๆ สมาธิของผมเป็นอย่างนี้ๆ อาจารย์ฟังก็รู้แล้วผิดหรือถูก เพราะอาจารย์ผ่านมาก่อนใช่ไหม

นี่ไง อาจารย์มีประโยชน์ตรงนี้ไง เราทำอะไรมาปั๊บเหมือนส่งการบ้านไง นี่เรามีการบ้านนะ การบ้านเรานี่โอ้โฮ..ต้องเต็ม ๑๐ นะ เต็ม ๑๐ เลย อาจารย์บอกว่า กูให้ตัวแดง อาจารย์ไม่ให้เลยนะ ไอ้ลูกศิษย์บอกต้องเต็ม ๑๐ ต้องเต็ม ๑๐ เพราะมันเป็นความคิดเองเห็นไหม

นี่อาจารย์มีประโยชน์ตรงนี้ มีประโยชน์ตรงเทียบเคียง ตรงได้ประโยชน์นี้ แต่การกระทำนี่เราเป็นคนทำมา จะเต็ม ๑๐ ไม่เต็ม ๑๐ นี่ เราก็ต้องเต็ม ๑๐ ไปก่อนทั้งนั้นล่ะ เราถึงบอกว่าปฏิบัติเริ่มต้นมา ผิดทั้งนั้นล่ะ

พระพุทธเจ้า ๖ ปีนี่ผิดหมดเลย พระพุทธเจ้าพยายามอยู่ ๖ ปี เจ้าชายสิทธัตถะพยายามอยู่ ๖ ปีนะ ผิดทั้งนั้นแหละ ผิดจนทิ้งเลย ไม่เอาแล้วเลิกแล้ว ไม่ไหวแล้ว ทรมานตนขนาดไหนไม่เอาแล้ว กลับมาเลย คิดถึงตั้งแต่โคนต้นหว้า ตั้งแต่เป็นเด็กเลย

พระเจ้าสุทโธทนะพาไปแรกนาขวัญไง คิดถึงอานาปานสตินั่น แล้วเอาตัวอานาปานสตินั้นเป็นตัวตั้ง ตั้งกำหนดจิตให้กำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างนั้น แล้วกำหนดลมหายใจเข้าออก กับที่ไปเรียนกับอาฬารดาบสได้สมาบัติ ๘ ได้สมาธิแล้ว ได้สมาบัติแล้ว ทำไมไม่เอาสมาบัติมาพิจารณาเลยล่ะ ทำไมต้องไปกำหนดลมหายใจใหม่อีกล่ะ

ถ้าสมาบัติ ๘ มันเคยใช่ไหม พอเข้าสมาบัติ ๘ เข้าสมาบัติปั๊บมันก็มีกำลังเห็นไหม ดูกาฬเทวิลสิ ระลึกอดีตชาติได้ พอเข้าสมาบัติปั๊บ มันก็เหมือนกับเครื่องยนต์ เครื่องยนต์มันเข้าไปมันก็หมุนเต็มที่ มันก็กระพือของมัน มันสั่นไหวของมัน พอมันเข้าสมาบัติ ๘ มันเหมือนไดร์เห็นไหม มันนิ่งแต่มันหมุนอยู่ มันเรียบง่ายของมัน

นี่มันต่างกัน เพราะสมาบัติ ๘ เวลาเข้าแล้วมันมีกำลังของมัน มันส่งออก มันรับรู้ มันมีกำลังของมัน เครื่องยนต์นะถ้าเราติดเครื่องนะ แล้วเราแท่นเครื่องไม่ดีนะ มันสั่นไหวนะมันกระชากทุกอย่างพังหมดเลย แต่ถ้าไดร์มันหมุนมันมีกำลังของมันไหม มันก็มีกำลังของมัน แต่กำลังของมันนิ่มนวลกว่าเห็นไหม กลับมาอานาปานสติ แล้วเอาอานาปานสตินี่กำหนดจิตสงบแล้ว ค่อยย้อนออกมาวิปัสสนา

วิปัสสนาเห็นไหม ดูสิบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณนี่มันทำลายอย่างไร พระพุทธเจ้ามีตรงนี้ปั๊บนะ พอพระพุทธเจ้ามีตรงนี้เห็นไหม พระพุทธเจ้ามีตรงนี้ ! ตรงนี้ ! ตรงนี้ ! ฟังให้ดีสิ ไปหาปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์นัดกันเลยนะไม่รับ !ไม่รับ !

โอ้โฮ..เมื่อก่อนนะ ๖ ปีนี่ทรมานตน นี่โลกเขามองกันเห็นไหม นี่ธรรมะทุกคนเห็นหมดเลย ต่อสู้กิเลสเต็มที่เลย พอสุดท้ายมาฉันข้าวนะ มากินข้าว โอ้โฮ..ปัญจวัคคีย์บอกเลยนะ นี่มักมาก อ่อนแอแล้ว นัดกันเลยว่าไม่รับ พอไม่รับขึ้นมา ก็นัดกันว่าไม่รับ พระพุทธเจ้ามาไม่รับ

เพราะว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอก ทรมานตนขนาดนี้ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้าเลย แล้วกลับไปกินข้าว กลับไปเสพสุข มันจะเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร?

พระพุทธเจ้ามาถึง เข้ามาด้วยความคุ้นเคยก็ยอมรับ รับเสร็จแล้วพระพุทธเจ้าจะเทศน์เห็นไหม นี่ตรงนี้ตรงที่ว่า การฆ่ากิเลสนี่ต้องมีมรรคมีผล มรรคผลฆ่ากิเลสไหม พระพุทธเจ้าบอก เพราะปัญจวัคคีย์นี่มันดื้อดึง แบบว่ามันมีทิฐิแล้วใช่ไหม ก็แบบนัดกันไม่ฟัง พระพุทธเจ้าบอกเลย

เราอยู่กันมา ๖ ปี สุภาพบุรุษนี่ เราไม่รู้เพราะไม่ได้ฆ่ากิเลส ไม่รู้อะไรเลย ก็ไม่เคยสอนเลยใช่ไหม แต่เพราะมี เพราะอาสวักขยญาณ นี่เพราะมีการฆ่ากิเลส มีการกระทำแล้วนะ เธอจงเงี่ยหูลงฟัง เราไม่รู้เราก็บอกว่าไม่รู้ ในปัจจุบันนี้มันมีกิจญาณ กิจคือกิจญาณ สัจญาณ มันมีกิจ มีการกระทำของจิต

เวลาเทศน์ธรรมจักรเห็นไหม วงรอบของมรรค วงรอบของจิตที่มีการกระทำ มันมีการกระทำของมันแล้ว เมื่อก่อนมันไม่มีวงรอบ ไม่มีการกระทำของจิตเห็นไหม มันอยู่ในความสงบ มันมีแต่ทรมานตัวมันเอง มันไม่มีงานของมัน เราไม่รู้เราก็บอกว่าไม่รู้ แล้วมันไม่มีความจริง เราก็ไม่เคยประกาศความจริง บัดนี้เรารู้แล้ว จงเงี่ยหูลงฟัง

พอเงี่ยหูลงฟังแล้วท่านอธิบายเลยนะ มันมีกิจญาณ กิจญาณเห็นไหม มันมีการฆ่า มีการทำลายนั่นไง แต่ท่านไม่พูดภาษาอย่างนี้ แล้วนี่ท่านพูด ท่านบอกว่ามรรคควรเห็นไหม มันเกิด พอมรรคสามัคคี มรรครวมตัวเห็นไหม มันเกิด ญาณังอุทะปาทิ มันเกิดญาณ เกิดปัญญา เกิดความรู้ เกิดความสว่าง เกิดมรรคเกิดผล มันเกิด

นี่ไงเพราะมีการกระทำ แต่นี้พอเราบอกต้องฆ่ากิเลส ต้องฆ่า ถ้าไม่ฆ่าเป็นไปไม่ได้เลย ทีนี้พอเทศน์ปัญจวัคคีย์ ให้ปัญจวัคคีย์เงี่ยหูลงฟัง พอฟังกันมา นี่พระอัญญาโกณฑัญญะรู้เลย รู้เพราะอะไร อู้ฮู..ปฏิบัตินะ ไม่ต้องทำสมาธิหรอก ปัญญาสายตรง ปัญญาสายตรง ดูสิปัญจวัคคีย์ พระพุทธเจ้าเทศน์ธรรมจักรไม่มีสมาธิเลย นี่มันพูดเอาสีข้างเข้าถูนะ เวลาคนมันโง่นี่

มันไม่มีสัมมาสมาธิตรงไหน มรรค ๘ นี่ มรรค ๘ ไม่มีสัมมาสมาธิเหรอ มรรค ๘ มันก็มีครบไง แล้วมรรค ๘ มันก็มีครบ เวลาทางวิชาการนี่ ทางธรรมจักรนี่ ท่านก็เทศน์มรรค ๘ อยู่แล้ว แล้วปัญจวัคคีย์นี่ อยู่กันมา ๖ ปี พระพุทธเจ้าทรมานตนอยู่ ๖ ปี ไปอยู่กับอาฬารดาบสได้สมาบัติ ๘ แล้วปัญจวัคคีย์ คิดดูสิคนนั่งสมาธิ คนทำความเพียรอยู่ ๖ ปี เป็นสมาธิไหม แล้วคนสร้างบารมีมา เป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามา ๖ ปี จะทำสมาธิได้ไหม

จิตใจกับพื้นฐานเขาพร้อม ทุกคนมันพร้อม แต่พระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าก็สอนไม่ได้ ปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากอยู่ หัวหน้าไม่รู้ ลูกน้องจะรู้ได้อย่างไร อ้าว..ก็หัวหน้ายังไม่รู้ ลูกน้องมันทิ้งมาก่อน พอลูกน้องทิ้งมาก่อน หัวหน้ารู้แล้ว หัวหน้ากลับมาสอน มันก็พร้อมไง นี่ไงนี่ปัญญาสายตรงเลย

เทศน์ปัญจวัคคีย์ ไม่เห็นพูดถึงสมาธิเลย นี่มันเอาสีข้างเข้าถู เวลามันจะเอาชนะนะ มันเอาสีข้างแม่งถูไปเรื่อยล่ะ มันไม่เอาความจริงพูด

ถ้ามันเอาความจริงมาพูดนะ นี่ถ้าเอาความจริงมาพูด มันต้องพูดความจริงอย่างนี้ ความจริงนี่มันข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงมันเป็นความจริงอย่างไร มันต้องเป็นความจริงอย่างนั้น เป็นข้อเท็จจริงตามความจริงนั้น นี่ต้องฆ่ากิเลสไหม ฆ่าแน่นอน ถ้าไม่ฆ่าพระพุทธเจ้าไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะพระพุทธเจ้าฆ่ากิเลสแล้ว พระพุทธเจ้าถึงปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ ต้องฆ่ากิเลสแน่นอน

ถาม : ๒. ฆ่ากิเลสด้วยการรู้แล้วเบื่อ จึงละกิเลสใช่ไหม

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ ไม่ใช่ การเบื่อ โอ้โฮ..เยอะแยะเลยนะ ไอ้พวกกินเหล้านี่ พอเมาหยำเปนี่เบื่อแล้ว เลิกแล้ว ลูก พ่อจะไม่กินเหล้าอีกแล้ว พ่อเลิกแล้วพ่อเบื่อเต็มที มันเลิกได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้ การฆ่ากิเลสด้วยการรู้แล้วเบื่อ ไม่เบื่อ เบื่อฆ่ากิเลสไม่ได้ มันต้องฆ่าซึ่งๆ หน้า ฆ่าแล้วตายเดี๋ยวนั้น ยถาภูตัง ญาณทัสสนะ

ยถาภูตังคือฆ่ากิเลสแล้ว พอฆ่ากิเลสแล้ว กิเลสมันตาย พอกิเลสตายต้องบอกนิติเวชมาพิสูจน์ นิติเวชต้องบอกว่ามันตายเพราะเหตุใด นิติเวชต้องชมว่ามันตายเพราะเหตุใด มันตายเพราะวิธีการใด พอมันตายเสร็จแล้วต้องพิสูจน์ด้วย พิสูจน์ก็ ยถาภูตัง เกิดญาณทัสสนะว่าฆ่ากิเลสแล้ว

เบื่อ ! เบื่อไม่มีการฆ่ากิเลส เบื่อก็คือกิเลสอันหนึ่ง เอากิเลสแก้กิเลสไม่ได้ ฆ่ากิเลสด้วยการรู้แล้วเบื่อ ไม่มี ! ไม่มี ! การฆ่ากิเลสนะ มันจับมาแล้วนะ จับกิเลสมานะ กว่าจะจับกิเลสได้ คนนี่ไปจับกิเลสนะ พอพูดอย่างนี้นี่ ไอ้พวกนักปฏิบัตินะ มันก็เอาแห เอาสวิง เอาเครื่องดักจะไปดักกิเลสกันนะ มึงดักอีกชาติหนึ่งก็ไม่เจอ ไม่มีทางเลย บอกว่านี่ต้องหากิเลส ต้องฆ่ากิเลสนะ มันก็ตั้งท่าเลยจะจับกิเลส กิเลสมันคืออะไร กิเลสมันอยู่ที่ไหน

กิเลสนะ จิตปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตเกิดในไข่ของมารดา เกิดมาเป็นตัวตนนั่นล่ะ แล้วเกิดมาเป็นใคร เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นมนุษย์นี่เป็นเปลือกหมดเลย แล้วตัวเกิด ใครเป็นตัวเกิด ปฏิสนธิจิตเกิด ปฏิสนธิจิตมันมีอะไร มันมีอวิชชา อวิชชามันอยู่ที่ไหน อวิชชามันอยู่ที่จิต แล้วความคิดความนึกมันมาจากใคร มันมาจากจิต แล้วความคิดความนึกนี่มันมาจากจิต แล้วจิตมันเป็นตัวอวิชชา ความคิดความนึกนี่มันมีอะไรแทรกมา ความคิดความนึก ความรับรู้ต่างๆ นี่ มันมีกิเลสนอนเนื่องมาด้วย ความคิดนี่มันมีกิเลสนอนเนื่องมาด้วย แล้วความคิดมันมีกิเลสนอนเนื่อง ก็ไม่คิดก็จบไง

แล้วมึงจะไปฆ่ากิเลส ไม่คิดก็จบ กิเลสมันก็ไม่ออกมาไง อ้าว..แล้วมึงจะเอากิเลสที่ไหนล่ะ อ้าว..กิเลสมันอยู่ที่ไหนล่ะ ไม่มีทาง ด้วยความคิดความนึกอยู่นี่ โอ๋ย..ปัญญาสายตรง พิจารณาสายตรง มึงพิจารณาไปเถอะ กิเลสมันหัวเราะเยาะ กิเลสมันขี่หัวมึงอยู่นั่นไง มึงพิจารณาไป เดี๋ยวกิเลสมันสร้างภาพให้มึงด้วย เป็นพระอรหันต์แล้ว ว่างหมด ว่างหมด ไม่มีทาง

มันต้องกำหนดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา มันต้องศีลสมาธิ เห็นไหมเกิดสมาธิ ถ้าเกิดทำสมาธิ ถ้าทำสมาธิเข้ามา เห็นไหมทำสมาธิเข้ามานี่จิตมันสงบชั่วคราว ความคิดที่คิดโดยกิเลสนี่แหละ นี่มันเป็นโลกียปัญญา โลกียปัญญานี่เห็นไหมมันจับกิเลส จับกิเลสเอาอะไรมาจับ เริ่มต้นมาจะจับกิเลส

อย่างเรานี่เราปล้นมา เราไปปล้นมานะ เราเป็นหัวหน้าโจร กูไปปล้นธนาคาร ๕๐๐ ล้าน แล้วทางรัฐบาลเขาก็ตั้งกูเป็นกรรมการสอบ เอ็งว่าได้ไหม

อ้าว..กูปล้นธนาคาร กูเป็นหัวหน้าโจรใหญ่ กูปล้นธนาคารนี่กูขนทองมาเต็มเลย แล้วทางรัฐบาลบอกว่า อ้าว..ก็ไอ้คนปล้นนั่นล่ะเป็นพนักงานสอบสวน เป็นเจ้าพนักงานสอบสวน สอบสวนหาคนปล้น โอ้โฮ..กูก็ยิ้มสิ สอบสวนแล้วครับ หาไม่เจอ คนปล้นไม่มี เงินนั้นหายไปโดยธรรมชาติ

นี่ไง ความคิดของเรามันความคิดกิเลส กิเลสมันปล้นมาแล้วไง แล้วก็บอกว่า อู้ฮู..กูนี่วิปัสสนานะ แหม..ปัญญาสายตรง อู้ฮู..เห็นกิเลสหมดเลยนะ พิจารณาจบแล้วไม่มี เป็นพระอรหันต์เรียบร้อย เป็นไปไม่ได้ โดยเบื่อโดยรู้ นี่คนไม่เป็นมันก็พูดกันไปเพ้อเจ้อ แต่ถ้าคนเป็นนะ ธรรมะอันเดียวกันนี่ แต่ตีความต่างกัน กฎหมายเล่มเดียวกัน แต่ตีความกฎหมายคนละแง่คนละมุม

การประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน แล้วการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ดูสิเคารพคนนี่ เคารพคนโง่ๆ ก็ให้พระโง่ๆ มาหลอกกันไป แล้วเชื่อนะ เชื่อนะ เพราะว่าปฏิบัติแล้วได้ผลไง แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ปฏิบัตินะ โอ้โฮ..ข้างนอกเขาร่ำลือนะ ถ้าใครมาหาเรานี่ เขาว่าพวกนั้นโง่ฉิบหาย ไปหาไอ้หงบได้อย่างไร

เขาว่าคนที่มาหาเรานี่โคตรโง่เลยนะ คนที่มานั่งอยู่กับเรานี่ เขาว่าไอ้คนที่มาหาเรานี่โคตรโง่เลย แต่ถ้าคนไปหาทั่วๆ ไปเป็นคนฉลาดนะ ไอ้คนที่มาหาเรา เพราะข้างนอกนี่เขาฟังแต่เสียง กิริยา ฟังน้ำเสียง เขาว่ามันเป็นน้ำเสียงของความโกรธ เป็นน้ำเสียงของอารมณ์ เป็นน้ำเสียงของกิเลสทั้งนั้น นี่เห็นไหม เขาบอกว่าเป็นคนโง่ไง

แต่ไอ้คนฉลาดนี่นะ ให้เขาเอาน้ำเย็นเข้าลูบนี่นะ มันปล้นมาไง แล้วเขาก็ตั้งมันเป็นกรรมการสอบสวนไง มันว่ามันฉลาดไง เราสอบสวนเสร็จแล้วนะ พระอรหันต์เต็มประเทศไทยเลยล่ะ แต่ไอ้คนโง่ๆ นี่ มันมาดูพระอรหันต์ พระอรหันต์ติ๊งต๊องไง ไอ้คนโง่ๆ นี่มันเห็นนะ

มันมีข่าวมาถึงหูเราเยอะแยะ เขาบอกไอ้พวกที่มาหาไอ้หงบนี่มันโคตรโง่เลย โง่ฉิบหายไปหามันได้อย่างไร โง่หรือเปล่า ไปหาไอ้หงบนี่โง่หรือเปล่า ฟังกระแส แล้วมันสังเวชไหม มันสังเวชถึงว่านี่ชาวพุทธนะ แล้วเป็นปัญญาชน มีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โตทั้งนั้น ทำไมเรื่องแค่นี้เอง ไม่มีสติยับยั้ง ไม่มีการจำแนกแยกแยะ อะไรผิดอะไรถูก กาลามสูตรพระพุทธเจ้าก็สอนแล้ว เชื่อได้อย่างไร พระพุทธเจ้าห้ามเชื่อ ไม่ให้เชื่ออะไรเลย ให้เชื่อความสัมผัสของเรา

ถ้าสัมผัสของเราเป็นความจริง ความจริง สัมผัสแล้วยังไม่จริง อย่างที่ว่านี่ เจออาจารย์นะ นี่ถ้ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนั้น คำว่าเป็นอย่างนั้นนี่ โทษนะ ไม่ใช่ว่าดูถูกนะ มันเป็นสามล้อถูกหวยทั้งนั้นแหละ คนเราปฏิบัตินะ พอจิตมันสงบหน่อย จิตมันมีอาการหน่อยนี่มันจะตื่นเต้น คนที่ของไม่เคยเห็น ของไม่เคยเห็น ของไม่เคยสัมผัส ใครไปสัมผัสเข้า มันก็ต้องมีความแปลกใจเป็นธรรมดา พอมีความแปลกใจเป็นธรรมดานี่ มันก็ อู้ฮู..สิ่งนี้สุดยอด สุดยอด

เพราะเราฟังมาจนเบื่อ ใครมานะ ถ้าไม่เคยปฏิบัติก็จะมาบ่นโอดโอยว่ามันยากลำบากมาก แต่พอปฏิบัติไปแล้วนะ อู้ฮู..หลวงพ่อ มันละเอียด อู้ฮู..มันยอดมันยอด เราบอก เออมึงทำไปเถอะ มึงทำไป สามล้อถูกหวยไง มันเพิ่งมาเจอปั๊บมันก็ว่าละเอียดนะ มันจะละเอียดกว่านี้อีกเรื่อยๆ ละเอียดกว่านี้ไปอีกเยอะแยะ ถ้าไม่ละเอียดกว่านี้ พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติไว้ก่อน

สติ มหาสติ ปัญญา มหาปัญญา แม้แต่โลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา แม้แต่ภาวนามยปัญญา มันยังมีมรรคหยาบมรรคละเอียด ปัญญานี้มันยังหลากหลาย หลากหลาย มันเหมือนพันธุกรรม มันเหมือนต้นไม้คนละชนิด จิตมันคนละภูมิ โสดาบัน สกิทาคา อนาคา อรหันต์นี่คนละภูมิ สติปัญญามันคนละชั้นคนละแนวหมดเลย

นี่แล้วพอมันเข้าไปมันก็ อู๋ย..ละเอียดละเอียด ละเอียดก็คือละเอียด ไม่ว่ากันหรอก ใช่ ! มันละเอียดจริงๆ มันละเอียดจริงๆ มันมีการเปลี่ยนแปลงจริงๆ อย่างความรู้สึกความนึกคิดเราทุกคนที่นั่งอยู่นี่ เราคิดว่าความรู้สึกความนึกคิดที่เราติดมันอยู่นี่ แล้วเราโยนมันทิ้ง เราเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดนี่ เราว่าทำได้ไหม เราทำอย่างไร เราไม่มีอะไรจะไปทำมันใช่ไหม แต่เวลาปฏิบัติไป มันทิ้งหมดนะ สิ่งที่เราคิดๆ กันอยู่ มันจะเปลี่ยนหมดเลย จากหน้ามือเป็นหลังมือเลย

เราจะบอกเลยหน้ามือเป็นหลังมือ ความเห็นเปลี่ยนหมด เปลี่ยนจากความเห็นธรรมดานี่เป็นความเห็นของธรรม มันจะเปลี่ยนหมดเลย มันจะเปลี่ยนไปโดยข้อเท็จจริง ไม่ใช่เปลี่ยนไปโดยอยากเปลี่ยน หรือโดยความเบื่อ ที่ว่าพิจารณาแล้วเบื่อ เห็นแล้วเบื่อ ไอ้คำว่าเบื่อนี่ใช้ไม่ได้เลย เพราะในพระไตรปิฎกบอกไว้เลยนะ ตทังคปหาน สมุจเฉทปหาน การปหานนี่มันมีหลากหลายมากในการปหาน ไอ้นี่มันไม่ได้ปหาน ไอ้เบื่อนี่มันไม่ได้ปหานเลย

ไอ้เบื่อคือความเบื่อหน่าย คือความจำเจ แต่ไอ้การกระทำที่ไปรู้ไปเห็นเข้าแล้วทิ้งนี่นะ การทิ้งนี่มันทิ้งด้วยอะไร มันทิ้ง นี่ไปเบื่อไปเบื่อ อาหารกินทุกวันก็เบื่อ เราพูดบ่อยนะ เช่นแหล่งท่องเที่ยว เราไปเห็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม โอ้โฮ..พวกเรามันจะตื่นตาตื่นใจนะ

แต่ไอ้บริกรที่นั่นมันเห็นทุกวัน มันคิดในใจนะ “ไอ้พวกนี้มาทำไมก็ไม่รู้” เพราะมันอยู่จำเจในพื้นที่ไง แต่หน้าที่การงานเขาใช่ไหม ดี มาจะได้ตังค์ แต่โดยความคิดนะ เอ๊ะ..เขามากันทำไม ไอ้เราก็อยู่นี่ทุกวันๆ ไม่เห็นมีอะไรเลย แต่พอไอ้เราไปนะ โอ้โฮ..มันสุดยอด มันสุดยอด

ดูคำว่าเบื่อสิ อะไรที่มันดีขนาดไหนนะ ถ้ามันใช้จำเจมันก็เบื่อ แล้วคำว่ากิเลสมันจะเบื่อ มันจะเบื่อได้อย่างไร มันไม่มีเบื่อหรอก กิเลสไม่มีเบื่อ ยิ่งกิเลสนะ คำว่าเบื่อหรือว่ามันปล่อยวางเองเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คำว่าเป็นไปไม่ได้นี่พูดอย่างนี้นี่เพราะอะไรรู้ไหม เพราะพูดเหมือนประสาเรานี่

อย่างเช่นเรานี่นะ เราไม่มีบาดแผล เราจะมีเลือดไหลออกมาไหม แต่ถ้าเรามีบาดแผล เลือดมันจะไหลออกมาจากผิวหนัง ถ้ามันไม่มีบาดแผล เลือดมันจะออกมาจากผิวหนังได้อย่างไร

กิเลส ถ้าไม่มีการกระทำมัน ไม่มีการได้ทำมัน มันไม่เห็นตัวมัน จะทำอย่างไร คำว่าเบื่อนี่ คำว่าเบื่อเห็นไหม เราไม่ได้พูดถึงผิวหนัง เราไม่ได้พูดถึงเลือด เรามันความเบื่อหน่าย เราไม่เห็นของมัน ไม่เห็นตามข้อเท็จจริงนั้น มันเป็นไปไม่ได้ นี่พูดถึงเราพูดให้เห็นโดยภาพชัดเลยว่า ถ้าไม่มีบาดแผลเลือดจะออกมาไม่ได้ ไม่มีการกระทำ ไม่มีการชำระกิเลส กิเลสฆ่ากิเลสไม่ได้

คำว่าเบื่อมันเป็นคำพูด คำว่าเบื่อ หรือว่าปล่อยวางโดยที่ไม่มีเหตุมีผล พวกนี้นะมันศึกษาธรรมะมาไง มันเป็นปรัชญา มันเป็นการตีความไง มันเป็นการตีความว่า คนปรารถนาคืออยากได้ คนเบื่อหน่ายคือการทอดทิ้ง โอ้โฮ..นี่คือการฆ่ากิเลส มันก็เท่านั้นแหละ แล้วนี่ถ้าอย่างนี้ปั๊บนะ ให้ปรัชญามาอธิบายนะ อธิบายได้ทั้งวันเลย แล้วไอ้พวกวิทยาศาสตร์ฟังนะ เออใช่ ! ใช่ ! ใช่เลย ! บอกสมุจเฉทปหาน ปหานอะไร

คนพูดถูกมันว่าผิดนะ คนพูดเพ้อเจ้อ ทางโลกเขาว่ามันน่าฟังไง คนพูดเพ้อเจ้อนะ ถ้าเบื่อหน่ายนี่มึงจินตนาการไปสิ มึงจะพูดอธิบายอย่างไรก็ได้ ไอ้คนฟังนะ เอ้อ..จริง เพราะอะไร เพราะปรัชญา กับสมมุติ กับสมอง มันไปด้วยกันได้ไง แต่เอาความจริง ธรรมเหนือโลกนี่ พอบอกสมุจเฉทปหาน ปหานอะไร ปหานนี้เป็นกิเลสนะ ปหานนี้เป็นการทำร้ายกันนะ ปหานนี้ไม่ถูกต้องนะ ไม่ถูกต้องพูดไว้ทำไมในพระไตรปิฎก สมุจเฉทปหาน การปหานแบบไม่กลับคืน ปหานแบบว่าไม่มีการตีกลับ พระพุทธเจ้าพูดไว้ทำไม

นี่ไง “การฆ่าอย่างประเสริฐคือการฆ่ากิเลส” แต่คนไม่เข้าใจทั้งนั้นล่ะ คนพูดความจริงเขาว่าโกหก พูดโกหกเขาว่าอันนั้นเป็นธรรม เดี๋ยวนี้โลกเป็นอย่างนี้แล้ว น้ำเต้ามันจะจมน้ำไง กระเบื้องมันจะฟูลอยไง กระเบื้องมันกำลังจะฟูลอย น้ำเต้ามันจะจม การเบื่อกิเลสไม่มี

 

ถาม : ๓. รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ฆ่ากิเลสตรงไหน

หลวงพ่อ : รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ฆ่ากิเลสตรงไหน ฆ่ากิเลสตรงไหน นี่ไงรู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ไม่ได้ฆ่ากิเลสตรงไหนเลยเพราะอะไร เพราะมันพูดผิดไง เพราะมันพูดผิด ถ้ามันพูดผิด มันก็ไม่ได้ฆ่ากิเลสเลยล่ะสิ รู้ทุกข์ รู้อย่างไรถึงรู้ทุกข์ ละสมุทัย มึงเอาอะไรละ แจ้งนิโรธใครเป็นคนรู้ว่าแจ้ง เจริญมรรคใครเจริญ เพราะอะไรล่ะ เพราะคำพูดอย่างนี้มันไม่มีจิต

ที่เราตัดรากถอนโคนจิตนี่เห็นไหม พอมานั่งอยู่นี่ปั๊บนะ อ้าว..เข้าขบวนการเลย ใช้ปัญญา อู้ฮู..วิปัสสนาใหญ่เลย รู้แจ้งหมดเลย นี่พระอรหันต์นั่งอยู่เต็มไปหมดเลย เป็นพระอรหันต์หมดเลย แล้วเป็นพระอรหันต์ตรงไหนล่ะ อ้าว..ก็เป็นกูนึกเอาไง

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์เรานะ กลับมาที่รากเหง้าของเราก่อน พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธนี่ ต้องกลับมาปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา เข้ามาถึงตัวจิต แล้วตัวจิตนี้ออกรู้ เพราะกิเลสมันอยู่ที่จิต ตัวจิตนี้ปฏิสนธิจิต เกิดในไข่ของมารดา ตัวจิตนี้คือตัวตนของเรา

ตัวจิตคือตัวที่เรามาเกิดมาตาย พอมาเกิดมาตายนี่ เพราะกรรมมาเกิดในไข่มันถึงเป็นมนุษย์ กรรมพาเกิดไปในสัตว์ มันจะเกิดไปเป็นสัตว์ กรรมมันพาเกิดไปเป็นเทวดา อินทร์ พรหม มันจะไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหม

นี่กรรมพาเกิด ตัวนี้ตัวเกิดตัวตาย แล้วตัวเกิดตัวตายนี่มันอยู่ของมัน แล้วก็ไปรู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ แล้วใครรู้ล่ะ เครื่องคอมพิวเตอร์มันรู้ไง เพราะพระไตรปิฎกมันอยู่ในคอมพิวเตอร์ ไปกดมันก็อยู่ในคอมพิวเตอร์หมดเลยนะ

ไฟล์อยู่ไหนกด ผลัวะ ! จะเอาของใครล่ะ เอาของมหาจุฬาฯ ก็ได้ เอาของมหามงกุฎฯ ก็ได้ เอาของอะไรก็ได้นี่ มันรู้อยู่ที่นู่นไง อริยสัจมันรู้อยู่ในคอมพิวเตอร์ แต่ในจิตกูนะมีแต่ทุกข์ไง ในจิตนี้มันมีแต่แบกทุกข์ อมทุกข์ แล้วพยายามจะค้นหาอยู่ แล้วก็ค้นหาไม่เป็น ค้นหาไม่ถูก แล้วพอบอกไปนี่ทางวิชาการไง

โอ้โฮ..ใช้ปัญญานะ ไอ้พุทโธ พุทโธนี่เป็นสมถะ โอ้โฮ..ไม่มีปัญญาเลย แล้วแก้กิเลสก็แก้ไม่ได้ แต่ไอ้ตัวเกิดนี่ ตัวนั้นมันเกิดนี่ ไอ้ตัวต้นเหตุมันคือตัวใจนี่ ไอ้ตัวต้นเหตุคือตัวจิตนี่ ไอ้ตัวจิตที่มาเกิดมาตายมาทุกข์อยู่นั้นน่ะ ไอ้ตัวต้นเหตุนี่ แล้วไม่ชำระที่ต้นเหตุ มันจะชำระกันที่ไหน

มันต้องจิตสงบก่อน นี่ไงจิตสงบก่อน พอจิต นี่อย่างที่ว่าจิตนะ ถ้าจิตมันสงบแล้วนี่ จิตสงบ มันสงบอย่างไร จิตสงบเห็นไหม เป็นมิจฉาก็มี เป็นสัมมาก็มี นี่แล้วเป็นมิจฉานะ สงบตกภวังค์ไป ตกภวังค์แล้วหายไปหมดเลย แล้วถ้าจิตสงบ จิตมันสงบขึ้นมา มันคือสงบเล็กน้อย พอสงบเล็กน้อย มันก็ยังหงุดหงิดบ้าง มีอารมณ์ความรู้สึกบ้าง

ถ้าจิตมันอุปจารสมาธิ สงบมากขึ้นมา เอ้อ..ชื่นใจ เย็นใจ ถ้าพุทโธไปเรื่อยๆ นะ มันอัปปนาสมาธินะ อัปปนานี่มันรวมใหญ่ จิตนี้มันปล่อยวางร่างกายเลย

จิตกับกายเหมือนส้มกับเปลือกส้ม เหมือนกล้วยเห็นไหม กล้วยกับเปลือกกล้วย ถ้ากายนี่เหมือนเปลือกกล้วย ตัวจิตนี่มันตัวเนื้อกล้วย เวลาเขาปอกเปลือก พอจิตมันสงบเข้ามา กล้วยกับเปลือกกล้วยนี่มันแยกออกจากกัน นี่ไงมันไม่ได้พูดเรื่องกายได้ จิตมันสงบเข้ามานะ เรื่องร่างกายนี่เหมือนไม่มีเลยนะ จิตรู้เฉย นิ่งอยู่นั่นล่ะ สติพร้อมนะ สักแต่ว่ารู้ นิ่งอยู่อย่างนั้นล่ะ

นี่ไงจิตหนึ่งไง เขานึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่ ! นี่คือสมาธิ แล้วบอกนี่สมถะ สมถะไม่มีประโยชน์อะไร สมถะได้เกิดให้นิมิต สมถะ ตัวสมถะคือตัวตนของเรา ตัวสมถะคือตัวหนี้สิน คือตัวเจ้าทุกข์ คือตัวที่มันเกิดมันตายเห็นไหม ถ้ามันเข้ามาถึงตัวจิตเห็นไหม เข้าถึงมาถึงจิต

ถ้ามันเป็นสัมมานะ เวลาออกรู้นี่เห็นไหม รู้ทุกข์ ทุกข์มันเกิดที่ไหน เราพูดประจำ ไอ้คนฟังทุกวันๆ นี่ก็เบื่อ บอกว่าทุกข์มันเกิดที่ไหน เราทุกคนบอกว่า นี่เสียใจร้องไห้แล้วทุกข์ๆ ๆ ไม่ใช่ไง พวกโยมเสียใจร้องไห้กันอยู่นี่ เขาเรียกว่าอาการของทุกข์

ทุกข์คือความเจ็บปวดหัวใจ แล้วมันแสดงออกมาเป็นอารมณ์ความรู้สึก แล้วก็นั่งร้องไห้ไง ทุกข์ควรกำหนด ทุกข์มันอยู่ที่ไหน หลวงตาพูดประจำ หลวงตาบอกนะ กิเลสนะ มันขี้ใส่หัวใจเรานะ แล้วมันไปแล้ว นี่ไงทุกข์ไง เห็นไหมหลวงตาพูดประจำ

กิเลสนะมันขี้บนหัวใจ กิเลสมันขี้บนหัวเราแล้ว แล้วกิเลสมันกลับบ้านไปนอนแล้ว พอกิเลสกลับบ้านไปนอนนะ ขี้มันเหม็นบนหัวไง โอ๋ย..เหม็นขี้ พอเหม็นขี้ ขี้เป็นอะไรนะ โอ๋ย..มันถ่ายเหตุผลของมันไว้แล้ว มันไม่พอใจ พอมันไม่พอใจ เราก็ไปรับรู้อาการ รับรู้ไม่พอใจ พอรับรู้อาการแล้วมันก็เสียใจ

นี้คืออาการของทุกข์นะ เราถึงไม่เห็นทุกข์ไง ใครว่ารู้ทุกข์รู้ทุกข์ กูอยากรู้จักคนไหนรู้ทุกข์ ถ้าคนไหนรู้ทุกข์นะ คนนั้นจะระวังตัวเต็มที่ ระวังตัวไม่ให้ทุกข์มันเกิด ทุกข์มันอยู่ที่ไหน ทุกข์มันอยู่ที่จิต ทุกข์คืออะไร

ชาติปิ ทุกขา การเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง การมีสถานะ ฐิตีจิตนี่ การมีเรามีตัวตนคือทุกข์อย่างยิ่ง คือมี มโนมิงปิ นิพพินทะติ มีผู้รู้ ผู้รู้สว่างไสว ผู้รู้ผ่องใส นี่มีผู้รู้ ผู้รู้นี่มันเป็นที่อยู่ของ กิเลสมันสร้างภาพไว้ที่นี่ พอรับรู้ปั๊บ มันก็เกิดความขัดข้องหมองใจ คนติฉินนินทา คนว่าคนร้าย คนไม่พอใจเห็นไหม

ทุกข์มันเกิดที่นี่ แต่เราไป เขามาว่าเขาไม่พอใจ มันไม่ได้ดูที่ทุกข์นะ มันไปดูที่ไอ้ ก.มันว่ากูน่ะ มันจะไปฆ่าไอ้ ก.นู้นไง มันทุกข์แล้วน่ะ ร้องห่มร้องไห้ แต่ไอ้ตัวทุกข์มันไม่เห็นไง

ทุกข์ควรกำหนด เรากำหนดทุกข์กันไม่ได้ เรากำหนดทุกข์กันไม่ได้ เอ็งจะไปละสมุทัยที่ไหน สมุทัยมันอยู่ที่ไหน ละสมุทัยนะ ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ สมุทัยคืออารมณ์ไง สมุทัยคืออารมณ์ คือความขัดข้องหมองใจ สมุทัยคือตัณหาความทะยานอยาก

ถ้าทุกข์มันเกิดปั๊บ สมุทัยเห็นไหม สมุทัยมันขย้ำเลย สมุทัยมันให้ผลทันทีใช่ไหม ใครว่าอะไร สมุทัยมันจะให้ค่าตัณหา ตัณหามันคือความไม่ต้องการให้เกิด กับสิ่งที่ไม่พอใจ สิ่งที่อยากได้ ที่ไม่มีอยากได้ สิ่งที่ไม่มี สิ่งที่ไม่พอใจ จะผลักไส นี่คือตัวสมุทัย

สมุทัยควรละ สมุทัยนี่มันละด้วยอะไร มันละด้วยมรรค พอมรรคญาณมันปัญญาญาณ สติปัญญามันไล่ทัน ไล่ความคิดนี้ทัน มันละด้วยมรรค พอมรรค กระบวนการของมรรคมันได้ทำงานของมันแล้วมันเกิดอะไร มันเกิดนิโรธ เกิดความปล่อยวาง

นี่การฆ่ากิเลส รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ฆ่ากิเลสตรงไหน มันฆ่ากิเลสกระบวนการของมรรคญาณ มันฆ่ากิเลสโดยมรรคญาณในหัวใจ เห็นไหม เวลามรรคนี่ มรรคของฆราวาส นี่โยมประกอบสัมมาอาชีวะ นี่สัมมาอาชีวะ มรรคของฆราวาส

มรรคของพระเห็นไหม จะเลี้ยงชีพชอบด้วยปลีแข้งไง เช้าขึ้นมา นี่เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง เดินบิณฑบาตนี่เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง นี่เลี้ยงร่างกายนะ

แต่ถ้ามรรคมันเกิดนะ มรรคมันเกิดอย่างที่ว่านี่ รู้ทุกข์ จะรู้ทุกข์ได้ต้องมีเจ้าภาพก่อน เจ้าภาพ ! เจ้าภาพ ! คือมีจิตก่อน จิตที่สงบก่อน แต่ไปตัดรากถอนโคน เอาอารมณ์ดิบๆ อย่างนี้ เอาความรู้เปลือกๆ นี่ เอาเปลือกกล้วยนี่ไปกินกัน เอาเปลือกกล้วย กูมีกล้วย กูมีกล้วย กินแต่เปลือก โอ้โฮ..เปลือกหวาน กล้วยหอมนี่หวานมาก หวานมาก

ไอ้คนนั่งดูอยู่มันสังเวชนะ มึงกินเปลือกกล้วยกันอยู่นี่ แล้วมึงบอกกล้วยหวานกล้วยหวาน เนื้อกล้วยแม่งโยนทิ้งกัน โง่ฉิบหาย ! ก็ปอกเปลือก เขากินกล้วย เขาไม่กินหรอกเปลือกนี่ เปลือกเขาโยนทิ้ง

นี่ก็เหมือนกัน อู้ฮู..มันใช้ปัญญาๆ ปัญญามึงอยู่ไหน ปัญญาที่ใช้กันนี่เขาเรียกว่าโลกียปัญญา ปัญญาสัญชาตญาณ เราเกิดมาเป็นคน มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มนุษย์มีภาษาสื่อสาร สิ่งที่ภาษาสื่อสาร มันเป็นสัญชาตญาณที่เราใช้กันโดยธรรมชาติ แล้วสิ่งนี้ กิเลสมันเอาสิ่งนี้อ้างอิง แล้วมันก็ออกหาเหยื่อโดยสัญชาตญาณเรานี่ กิเลสมันก็ตามมาด้วย

กิเลสของคนนี่มีความชอบมีความไม่ชอบต่างๆ มันก็ออกมาตามสัญชาตญาณนี่แหละ แล้วถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธเห็นไหม เราพยายามกดสัญชาตญาณ กดความเป็นตัวตนของเราให้สงบตัวลง ถ้ามันสงบตัวลง มันก็เกิดสัมมาสมาธิ

เกิดสัมมาสมาธิเห็นไหม เกิดสัมมาสมาธิ คำว่าสัมมาสมาธิคือเกิดตัวตน คือเกิดสัญชาตญาณของเรา พอเกิดสัญชาตญาณ มันก็เป็นสากล จิตเป็นหนึ่งเห็นไหม พอจิตเป็นหนึ่ง จิตออกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าจิตออกรู้กาย เวทนา จิต ธรรมเห็นไหม นี่มันจะไปละสมุทัยตรงนี้ ละสมุทัยตรงนี้ มันเห็นตามข้อเท็จจริงของธรรม มันไม่ใช่เห็นข้อเท็จจริงตามหนังสือ ไม่ใช่เห็นข้อเท็จจริงในความรับรู้สึกของเรา มันเห็นตามข้อเท็จจริงของธรรม

คำว่าของธรรม มันเป็นปัจจุบันธรรม ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น ของจิตดวงนั้นล่ะ ของจิตดวงที่สงบนี่ ของจิตดวงที่เห็นนี่ ของปฏิสนธิวิญญาณนี่ จิตปฏิสนธิที่มันเศร้าหมอง ที่มันผ่องใส ที่มันมีสิ่งใดตกผลึกในหัวใจของมันนี่ แล้วถ้ามันสงบ แล้วมันรู้ของมัน มันเห็นของมัน ปัญญามันเกิดของมัน นั่นมันจะไปละสมุทัยตรงนั้นไง

มันต้องมีการ ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ แล้วมันแจ้งด้วยนิโรธ มันแจ้งด้วยมรรคญาณ มรรคญาณที่คนทำเป็น คนรู้เป็น คนทำจริง มันรู้จริงของมันนี่ มันจะเข้าใจว่ามรรคญาณเป็นอย่างไร ไอ้นี่มันพูด กิเลสก็ละด้วยการเบื่อ กิเลสก็ไม่ได้ฆ่า รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ แล้วก็เจริญมรรค นิพพาน ไอ้นี่อภิธรรมไง นกแก้วนกขุนทอง เห็นไหม

เราพูดบ่อยนะ เวลานกแก้วนกขุนทองนี่ให้กล้วยมันนะ บอก “แม่จ๋า” ให้กล้วยคำหนึ่ง มันก็บอกว่า “แม่จ๋า” มันก็ได้กล้วยคำหนึ่ง ถามนกขุนทองสิว่า มึงรู้จักแม่ไหม มันว่าคำว่าแม่จ๋าคือกล้วยนะ มันเหมือนกับขอกล้วยกินนี่ เราก็ให้กล้วยใช่ไหม แม่จ๋าก็ให้รางวัลคือให้กล้วย มันก็เข้าใจว่ากล้วยนั้นคือแม่จ๋า

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ไอ้นกขุนทองไง ไอ้นี่มันท่องมา ไอ้นี่มันท่องตำรามา แล้วก็เอาตำรานี่มาวิเคราะห์วิจัยให้พวกมึงฟัง มันท่องตำรามา แล้วเอาตำรานี่มาแยกแยะด้วยปรัชญา แต่ถ้ามันเป็นรู้จริงนะ นกขุนทองมันกินกล้วยมันก็รู้ว่ากล้วย มันจะกินอาหาร มันก็รู้ว่าอาหาร นกขุนทองมันจะรู้ตามข้อเท็จจริงของมันว่าอะไรเป็นอะไร

จิตที่มันมีความสงบของใจ จิตที่มันสงบเข้ามา จิตที่มีการกระทำของมันนี่ มันจะทำของมัน จิตที่มันไม่เข้าใจอะไรเลย จิตที่มันไม่รับรู้สิ่งใดๆ เลย มันก็ไปท่องเอา ก็นกแก้วนกขุนทองมันก็กินกล้วยไง มันพูดผิดนะ ถ้าแม่จ๋าก็ได้กินกล้วยนี่ แม่จ๋าก็ได้กินกล้วย มันว่ากล้วยนั่นคือแม่จ๋า กล้วยนั่นชื่อว่าแม่จ๋าไง เพราะแม่จ๋าก็ได้กินทุกที แม่จ๋าก็ได้กินทุกที มันเข้าใจผิดของมัน

นี่ก็เหมือนกัน นี่ชื่อมันบอกถูก นี่ไงอริยสัจ ใช่อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคนี่เป็นอริยสัจใช่ไหม ใช่ แต่การกระทำล่ะ ข้อเท็จจริงในการที่เป็นอริยสัจเป็นอย่างไร นี่เห็นไหม เวลาปฏิบัติผู้ที่ปฏิบัติไม่ปฏิบัตินี่ เขาวัดกันตรงนี้ไง ถ้าพูดถึงอริยสัจถูกนะ การกระทำถูกนะ คนนั้นเคยทำเป็น

อย่างรถนี่ รถยนต์จอดอยู่ เราขับรถไม่เป็น ให้เราขึ้นไปขับรถนะ เราก็เก้ๆ กังๆ อยู่ตรงพวงมาลัยนี่ กูจะเอารถออกอย่างไรวะ กูเอาออกไม่ได้ไง แต่คนขับรถเป็นนะ เข้าไปปั๊บ ออกตัวได้เลย รถจะเคลื่อนได้ทันทีเลย ขับออกไปได้เลย

จิต ถ้ามันไม่มีการกระทำ เหมือนคนขับรถไม่เป็น แล้วขึ้นไปนั่งอยู่ในตำแหน่งคนขับรถ แล้วรถนั้นออกไม่ได้ ออกได้มันก็แบบว่านั่งอยู่ในที่ราบชันไง ปล่อยให้มันไหลลงไปนี่ อย่างนั้นนี่ได้ ไหลลงไปนะ เดี๋ยวมันลงข้างทาง เพราะว่ากูบังคับไม่ได้

นี่ไม่รู้ว่าเอามาจากไหนคำถามนี้ แต่มันคงจะเป็นคำเทศน์ของเขานี่ เห็นแล้วมันสังเวช มันสัมพันธ์กันนะนี่ ๓-๔ ข้อนี่ มันสัมพันธ์กันว่า ถ้าคนไม่รู้นี่ มันพูดผิดตั้งแต่ต้นจนจบไง พูดข้อแรกว่า เรื่องปฏิบัติต้องฆ่ากิเลสไม่ฆ่ากิเลสนี่ แล้วการฆ่ากิเลสด้วยความเบื่อนี่ แล้วนี่มัน เห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์เราไปฟังเทศน์นี่ท่านจะฟังตรงนี้ ถ้าเป็นข้อเท็จจริงนะ

เวลาคนอธิบาย หลวงตาท่านพูดบ่อย ถ้าคนเป็นนะมันมีหนักมีเบา ตรงไหนควรเน้นต้องเน้น ตรงไหนเบาต้องเบา ธรรมะนี่ไม่ใช่เรียบๆ เหมือนทฤษฎี ทฤษฎีที่พูดนี่มันจะเป็นเหมือนเพลงมีคีย์เดียว ไม่มีหนักไม่มีเบา แต่ถ้าเป็นความจริงจะมีหนักมีเบา แล้วหนักเบานี่มันสำคัญจริงๆ ด้วย สำคัญมากเลยว่า มันตรงไหนควรหนัก แล้วมันจะหนักอย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน การกระทำนี่ ตรงไหนมันจำเป็นอย่างไร จำเป็นแล้วมันเป็นประโยชน์ตรงไหน มันเป็นประโยชน์อย่างไร แล้วผลมันจะตอบอย่างไร ถ้าผลมันมีนะจะพูดได้ ถ้าผลมันไม่มี เป็นอย่างนี้แหละ แต่ทางโลกฟังแล้วดี

อย่างที่ว่านั่นล่ะ ใครมาหาไอ้หงบนี่โง่ฉิบหายเลย มาให้มันด่าทุกวันเลย กูไม่ได้ด่าใครเลยนะมึง กูด่ากิเลสคนนะมึง กูไม่ได้ด่าคน แต่ถ้าไปเชิดชูกันนี่เขาชอบใจ เนาะ เอาแค่นี้แหละเนาะ เอวัง