ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เหมือนจะรู้

๒๖ ต.ค. ๒๕๕๒

 

เหมือนจะรู้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราจะพูดอย่างหลวงตาว่า พอเวลาเข้าบ้านตาดทำไมต้องกระฉับกระเฉง? ทำไมเวลานั่งหลวงตาบอกว่าไม่ให้นั่งนาน? เพราะนั่งนานปั๊บ มันเหมือนคนจีน คนจีนนี่เราไปนั่งบ้านใครจะไปนั่งนานไม่ได้ เราต้องเกรงใจเขา ยิ่งลูกสาวเราจะไปอยู่บ้านใครไม่ได้เลย ไปถึงบ้านเขาแล้วต้องรีบกลับ นี่ประเพณีของคนจีนเลย ประเพณีเราไปบ้านใครเราจะไปนั่งแช่ไม่ได้ มันต้องเกรงใจเขา อันนี้มันเป็นคนจีน

แต่เวลาปฏิบัติเขาให้เกรงใจธรรมะ เกรงใจเราไง การเคลื่อนไหว การเหยียด การคู้ การอยู่จะต้องมีสติสัมปชัญญะตลอด นี้ใครสอน นี่คนเป็นสอนนะ แต่ถ้าคนไม่เป็นสอนนะ อยู่สบายๆ นะ ค่อยๆ นะ กิเลสมันขี่หัวตายเลย

อันนี้ที่ว่ามันยากๆ อย่างลูกเรานี่เริ่มต้น ลูกเรา เราไม่วางระเบียบวางแนวทางให้ลูกเราเลย แล้วให้ลูกเราไปเผชิญกับมันเองอย่างนี้ มึงว่าไหวไหม? เราเพิ่งฟังเทศน์หลวงตาเมื่อวานนี้ ฟังอยู่ในวิทยุนี่ ท่านพูดท่านเทศน์นะ ท่านท้อใจไง ท่านเทศน์ท่านท้อใจบอกว่า ใครๆ ก็ว่าเราดุ ความจริงเราเมตตาจะตาย

โยม : เออ! ใช่ ท่านเมตตามาก

หลวงพ่อ : เราเมตตา เพราะว่าคำดุนั้นคือการเมตตา ดุคือบอก คอยบอกเราว่ากิเลสมันจะขี่หัวมึงไง เหมือนเรารักลูกเรา เราดูแลลูกเรา แต่ลูกก็ว่าพ่อแม่ดุ พ่อแม่ดุ

ท่านบอกเลยนะ ท่านพูดเองเมื่อวานนี้ ฟังเทศน์เมื่อวานนี้ ฟังแล้วสะเทือนใจ ท่านบอกใครๆ ก็ว่าเราดุ ใครๆ ก็ว่าเราดุ เราดุ แต่ความจริงเราเมตตาจะตาย ท่านพูดคำนี้เลยนะ ความจริงเราเมตตาจะตาย เพราะเราเมตตา ดุด้วยเมตตา ดุคือ บอกด้วยความเมตตา

เด็กๆ นี่บอกมันดีๆ สิ บอกมันนะ หนูอย่าทำอย่างนั้นนะ มันจะเชื่อไหม? มันก็ต้องเสียงดังหน่อยหนึ่ง พอเสียงดังหน่อยหนึ่ง มันจะทำผิดอะไรมันก็ปล่อยได้ ถ้าการดุ ท่านดุเพื่อเหตุนี้

แล้วอย่างที่พูดนะ ว่ามันยากๆ ถ้ามันง่ายนะ ครูบาอาจารย์ท่านจะไม่ปูพื้นฐานให้เรา อาจารย์ท่านเมตตา คือว่าท่านพยายามให้เราเห็นไหม ให้เรา..ท่านจะบอกเลยนะ เวลาถ้าเดินไม่มีสตินะ ท่านบอกว่าซากศพเดินได้ เราเดินกันนี่ ท่านเห็นเหมือนกับศพเดินไปเดินมาเลย

แล้วนี่สะท้อนใจไหม? ถ้ามันสะท้อนใจเรามันก็ต้องอย่างนี้ แล้วยากไหม? ยาก! การปฏิบัติธรรมนี่ยาก ! แล้วพอทำจริงๆ แล้วนะ มันไม่ใช่เรื่องที่เหนือบ่ากว่าแรงเลย สิ่งที่เขาพูดนะ ถูก มันเป็นเส้นผมบังภูเขา คือความเข้าใจผิดนิดเดียวเท่านั้นแหละ แค่พลิกหน่อยเดียวก็จบ แต่มันพลิกแสนยาก

โยม : ใช่ค่ะ มันยากตรงนี้

หลวงพ่อ : นี่มันยากตรงนี้ แต่ถ้าจริงๆ แล้วนะ ไม่ใช่มันจะใหญ่โตเหมือนภูเขาเลากาที่จะเอามึงตายห่า ไม่ใช่ มันเหลื่อมกันนิดเดียว ความคิดเราเหมือนกัน ความคิดอันหนึ่งเป็นโลก ความคิดอันหนึ่งเป็นธรรม ความคิดเหมือนกันนี่แหละ แต่มันก็จะเป็นโลกอยู่ตลอดไปอย่างนี้ พลิกเป็นธรรม ยากจริงๆ ความจริงมันเป็นอย่างนี้

นี่พูดถึง ถ้าพอมันพลิกไปแล้วนะ อย่างที่เวลาหลวงตาท่านอยู่วัดดอยธรรมเจดีย์ มันผ่านไปแล้วเห็นไหม โอ้โฮ! โลกธาตุหวั่นไหว น้ำตาไหลพรั่งไหลพรูนะ มันออกมาจากอะไร? มันไหลพรั่งไหลพรูออกมาเลย แล้วทุกคนจะอุทานเลย ทำไมเราโง่อย่างนี้! ทำไมเราโง่อย่างนี้ ! นิดเดียว ทำไมโง่อย่างนี้ ! แต่เกือบตาย

โยม : แต่ว่าท่านอาจารย์ โยมก็เตือนตัวเองนะคะ ถ้ามึงท้อมึงถอย มึงก็ถูกกิเลสเล่นงาน มึงก็เสร็จเลย

หลวงพ่อ : นิสัยจะต้องเป็นอย่างนี้

โยม : ต้องล่มจมหลวงพ่อ ต้องเตือนมันค่ะ

หลวงพ่อ : ใช่ ต้องเตือน ดูหลวงตานะ ดูหลวงตา ดูหลวงปู่มั่น แล้วก็ดูครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ส่วนใหญ่แล้วจะมีจุดยืน สำคัญที่ตรงจุดยืน จุดยืนนี่นะ ดูชีวิตหลวงตาสิ หลวงตาท่านบอกท่านเป็นฆราวาส เห็นไหมถ้าพ่อสั่งให้ทำอะไร หรือรับปากใครแล้ว จะต้องเสร็จแน่นอน ตรงนี้สำคัญ เราดูสังเกตนิสัยคนอย่างนี้ คนถ้านิสัยอย่างนี้นะมีโอกาส

แต่ถ้านิสัยของเรานะ ทุกคนนี่ปากเก่งทั้งนั้นแหละ แต่ทำอะไรแล้วไม่จริงจัง ถ้าจริงจังตรงนี้ แล้วหลวงปู่มั่น นิสัยของหลวงปู่มั่นล่ะ แล้วมาดูนิสัยหลวงตาล่ะ แล้วมาดูนิสัยหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะนี่เวลาท่านภาวนา ท่านเล่าให้ฟังเองนะ มึงเป็นหนุ่มวัยรุ่นนะ เรือขนาดไหนมึงก็ถ่อมึงก็พายมาแล้ว แล้วพอบวชมาแล้ว คนเฒ่าคนแก่เขานั่งภาวนาได้ มึงเด็กหนุ่มๆ นี่ ข้าวกี่กระสอบกี่กระสอบก็แบกได้ ทำไมภาวนาไม่ได้ มึงไปตายซะ

โยม : ค่ะ แล้วโยมก็เตือนตัวเองนะคะว่า ถ้ามึงท้อมึงถอย มึงก็ต้องล่มจม ทางโลกมึงทำไมหาเงินได้ ทางนี้ โยมก็..ทางโลกนี้นะคะ เมื่อก่อนก็ใช้หลักที่ว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น โยมก็ท่องอย่างนี้มาตลอดนะคะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรามีอุปสรรคอะไรนี้โยมก็ทำ แล้วมันก็สำเร็จตลอด ทีนี้ทางธรรมนี่มันยากจริงๆ แต่ว่าถ้าท้อถอยจะทำอย่างไรคะ? มันไม่มีทางเลือก โยมฟังธรรมะท่านอาจารย์แล้ว บอกมันไม่มีทางเลือกนอกจากทางนี้ มันก็เลยต้องลุยต่อไป

หลวงพ่อ : โธ่! ถ้ามีทางเลือกนะ ถ้ามีทางไปนะ แล้วเวลาพูดเราก็พูดกันอย่างนี้ แล้วเวลามีครูบาอาจารย์ที่เสนอทางเลือกใหม่ๆ เราต้องแย้งไว้ เราแย้งไว้ทำให้เขาได้ฉุกคิดไง เราจะบอกเลยนะ ถ้ามันมีทางเลือกนะ พระพุทธเจ้าท่านปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ คำว่าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ คือว่ามีเป้าหมาย เตรียมความพร้อมมา แล้วต้องการผลงาน พระพุทธเจ้าต้องการผลงานปั๊บ!

ถ้ามีทางไหนที่มันสะดวกกว่านี้ พระพุทธเจ้าต้องบอกมึงก่อนแล้ว แล้วปัญญาของคน ปัญญาของในสังสารวัฏนี้ ไม่มีใครเท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้ามันมีทางลัด ทางที่เขาบอกมันเรียบง่าย ทางที่มันเป็นไปได้นะ พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว

แล้วทุกคนอ้างอย่างนี้นะ ทุกลัทธิเลย ทุกคำสอนเลยบอกว่า มันเคยมีอยู่ในพระไตรปิฎกแล้วมันหายไป แล้วครูบาอาจารย์นี่มารื้อค้นเจอทุกทีเลย ทุกแนวทางเลยบอกว่ามันเคยมีอยู่ในพุทธศาสนา มีอยู่ในสมัยพุทธกาล แล้วมันได้เลอะเลือนไป แล้วพระไตรปิฎกนี่เขาก็ค้นคว้ากันมานะ ทั่วโลกเขาก็มี พระไตรปิฎกทั่วโลกเขาก็มี แล้วก็มีสมาคมบาลีพยากรณ์ของโลก เขาก็ตรวจทานกันอยู่ แล้วมันหายไปไหนต่อไหนวะ!

เวลาอ้าง อ้างกันอย่างนั้น ว่าของมันเคยมีอยู่แล้วมันหายไป แล้วเจ้าลัทธิ เจ้าลัทธิที่คิดได้มารื้อค้นขึ้นมา แล้วนี่เป็นทางปฏิบัติโดยตรง โอ้ ! เวรกรรมฉิบหายเลย

โยม : เรียบง่ายลัดสั้นไม่มีทางเลย

หลวงพ่อ : เวลาปฏิบัติมา คนไปถามหลวงตาเยอะนะ ไอ้เรื่องเซน ไอ้เรื่องปัญญา วิมุตติ หลวงตาท่านบอกท่านเข้าใจได้ ท่านเข้าใจได้แล้วท่านรู้ได้ เขาทำได้จริง หลวงตาก็พูดอยู่ แต่ทำได้จริงแล้วเราก็ไปศึกษาสิ เพราะมันก็มีไง อย่างหนังสือเว่ยหล่างฮวงโป ไปอ่านเอาสิ เขานั่งกันทีหนึ่ง ๗ วัน ๘ วันนะ เขาทำกันทีชั่วชีวิตนะ เว่ยหล่างเป็นคนตำข้าว อ่านหนังสือไม่ออก แล้วเขาปฏิบัติอยู่ขนาดไหน แล้วไปดูสิ เขาทำเอาจริงเอาจัง

ทีนี้พอได้ยินคำว่าลัดสั้นๆ อย่างนั้นปั๊บ! คำว่าลัดสั้นมันเหมือนกับหลวงปู่มั่น เหมือนกับหลวงตาเรา ท่านพูดให้เราให้มีกำลังใจ เป็นโวหารไง ว่ามันจะมีทางไป มันเหมือนเปิดช่องทางให้เรา เหมือนบอกว่ามึงทำต้องรวยแน่นอน รวยแน่นอนเลย แต่เมื่อไหร่มึงจะรวยล่ะ? มึงรวยแน่นอนเลย มึงทำมึงต้องรวยแน่นอนเลย นี่ลัดสั้นๆ จะให้มึงทำกันไง แต่มันต้องให้มันรวยขึ้นมาจริงๆ สิ ไม่ใช่ลัดสั้นแล้วก็ กูขึ้นเขียนป้ายว่า รุ่นนี้แขวนแล้วรวย รุ่นนี้รุ่นมีแล้วรวย แล้วมึงรวยจริงหรือเปล่าล่ะ?

ความจริงเรามีความรู้สึกอย่างนี้ตลอด แล้วเราพยายามจะพูดให้โยมเข้าใจไง เราพยายามจะพูดให้โยมเข้าใจว่านะ ถ้าเราทำจริงเราจะได้จริง ถ้าเราทำจับจดไปก็จะได้จับจด แล้วเราก็ไปจับจดกัน พอจับจดกันก็บอกว่าสะดวกสบาย สะดวกสบาย

เราบอกว่าธรรมะของเขามันเลื่อนลอยนะ ไม่มีอะไรรองรับ แต่ลูกศิษย์พวกเราที่เคยอยู่กับเขามาก็บอกมี หลวงพ่อมี มีปรัชญารองรับ ปรัชญาคือคนที่ปฏิบัติแล้ว เขาเข้าใจได้ เขารู้ได้ ที่ว่าปฏิบัติแล้วมันสะดวกสบาย ที่มันว่าง เราบอกปรัชญาอย่างนี้มันไม่มีค่าหรอก เพราะมันเป็นปรัชญาของรากหญ้า ปรัชญาของปุถุชนที่ไม่รู้

กับสัจธรรมของพระพุทธเจ้า มันต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก ไม่ใช่เอาคนที่ไปปฏิบัติแล้วว่าสบายๆ เป็นหลัก ก็เอ็งเมื่อก่อนนี้เอ็งเคร่งเครียด เอ็งไม่มีทางไปใช่ไหม? พอเอ็งเข้ามาอยู่ในวงจรอันนี้ เอ็งก็สะดวกสบายขึ้นมา เอ็งก็ปลอดโปร่งขึ้นมา แล้วเอ็งก็ว่าเป็นหลัก มันก็เหมือนกับสามล้อถูกหวย เป็นสามล้อทำงานเกือบเป็นเกือบตาย เขาถูกหวยกันที มันก็ดีใจทีหนึ่ง

นี่ไง ก็จิตใจมันเคยฟุ้งซ่านขึ้นมา พอจัดระเบียบให้มันได้หน่อย มันก็ว่ามันพอใจ เอาอย่างนี้มารองรับ มันโง่ฉิบหายเลย แต่เขาก็เชื่อกัน เวลาเราจะพูด อธิบายให้เห็น เพราะเราจะบอกว่าที่เราคุยกันนี่นะ ไม่ใช่คุยด้วยความอิจฉาตาร้อน เราไม่ได้คุยกันว่าเราไม่ยอมรับเหตุผล

เราคุยกันนี่ ธรรมะเห็นไหม หลวงตาท่านสอนประจำว่าเหตุกับผลรวมลงเป็นธรรม เราต้องมีเหตุมีผล และผลที่ตอบสนองมามันมีหรือไม่มี? ทำเสร็จแล้ว เราทำแล้วเราจะได้ประโยชน์สิ่งใดกับชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าชีวิตของเราเกิดมาด้วยบุญกุศลนะ เกิดมา บุญพาเกิด เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาด้วย แล้วก็มาให้ใครก็ไม่รู้เกี่ยวจมูก มาสนตะพายแล้วก็จูงกันไป

มันก็ต้องคิด พูดให้คิดนะ ไม่ใช่อิจฉาหรอก ไม่ใช่อิจฉาตาร้อนไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น แต่มันสังเวช มันสังเวช มันสังเวชคนเราเคยเดินทางมา อย่างพวกเราทำมาหากินมา มันทุกข์ยากแค่ไหน? แล้วมีคนบอกว่านั่งเฉยๆ แล้วรวย นั่งเฉยๆ แล้วรวย เราคิดดูประเทศชาติมันจะไปกันอย่างไร? คนเราเกิดมามันต้องทำงานนะ มึงอยู่เฉยๆ แล้วมึงร่ำรวยกันทุกคนเลย แล้วประเทศชาติมันจะอยู่ได้อย่างไร?

ในศาสนาก็เหมือนกัน ปฏิบัตินะ ถ้าตั้งใจจงใจผิดหมด ต้องอยู่เฉยๆ แล้วพออยู่เฉยๆ ปั๊บ! แล้วมันจะลงของมันเอง ถ้าจงใจเป็นอัตตกิลมถานุโยคทันทีเลย แล้วการว่าจงใจหลวงตาท่านสอนอย่างนี้ ต้องมีสติ ต้องมีความตั้งใจ ต้องมีความเพียร ต้องมีความจงใจ มีจงใจคือมีเจตนา

เขาห้ามตั้งใจ ห้ามจงใจนะ ให้จำสภาวะ การจำสภาวะนี้คือสติ การจำสภาวะคือการจำความเคลื่อนไหวของเราเอง การจำนี้คือสัญญา การจำจะเป็นสติได้อย่างไร? การจำ จำบ่อยๆ จำจนมีความชำนาญเข้าจะเป็นถิรสัญญา จำจนเป็นกระบวนการของปัญญาขึ้นมา เฮ้อ! กูไม่รู้ กูก็พูดไม่ถูกแล้วเว้ย!

โยม : แล้วท่านอาจารย์องค์เดียวจะไปต้านเขาไหวหรือคะ? เวลานี้เขากระจายไปหมดแล้ว เราจะไปต้านเขาไหวหรือ

หลวงพ่อ : เขากระจายไป เราคิดอย่างนี้นะ ไอ้ต้านหรือไม่ต้านมันเป็นกรรมของสัตว์ ไอ้เรานี่ ประสาเรา เราเพียงแต่ว่า.. ถ้าพูดถึงนะความจริงทฤษฎีหรือกระบวนการอย่างนี้ มันไหลไปหมดเลย มันก็เป็นอย่างนั้นใช่ไหม? แต่เราก็เสนอ ถึงบอกว่า ความถูกต้อง คือว่ากระบวนการนี้มันมีจุดบกพร่อง เราก็พูดตรงนี้ไง ทีนี้เราพูดออกไปแล้ว มันก็เป็นทางวิชาการ เป็นไอเดีย อันหนึ่งที่ออกไป เสนอเข้าไปในวงการวิชาการ ในทางการวิจัยเขาเสนอการวิจัยอย่างนี้ออกมา

อันนี้มันกรรมของสัตว์ละ แต่ถ้าเราไม่เสนอมาเลย เราไม่เสนอเลย มันจะมีอยู่แนวทางที่ชัดเจนขึ้นไป มันไป ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย ทีนี้เราเสนอออกไปแล้ว ขนาดเราเสนอออกไปอย่างนี้ เขาก็พยายามจะโจมตีมาที่เรา ก็เหมือนกับว่า เขาคุมสื่อทั้งหมด เขาต้องให้รับข้อมูลเขาข้างเดียว จะให้มีข้อมูลตรงข้ามมาไม่ได้

แต่ปัจจุบันนี้มันมีข้อมูลตรงข้ามขึ้นมา แล้วเราพยายามยืนไว้ อย่างเรานี่ประสาเรานะ อย่างเราสบายมากเลย แต่ทีนี้ไอ้คนที่ทำงานร่วมกับเรานี่สิ เพราะมันโดนแรงเสียดสีแล้วมันหวั่นไหว ไอ้ของเรานี่มันอยู่ตัวแล้วไง มันหวั่นไหวมาจนอยู่ตัวแล้ว

โยม : เดินไม่ไหวแล้ว คลานไหว

หลวงพ่อ : มันโดนกระแทกมาจนเดี๋ยวนี้มันไม่รู้จะเอาอะไรไหวแล้ว มันกลายเป็นหินแกรนิตไปแล้ว มันย่อยสลายไป

ไอ้ของเรา เราคิดของเราอย่างนี้ใช่ไหม ทีนี้เวลาคนที่เข้ามานี่ ไอ้คนที่เข้ามาช่วยเหลือบ้าง อะไรบ้าง เพราะธรรมดาของกระบวนการอย่างนี้ เขาต้องเข้าไปสืบดูด้วยว่ามีใคร แล้วต้องแยกสลายมัน ทีนี้เพียงแต่ว่าตอนนี้เราบอกว่า ถ้าใครเซทเว็บไซต์กูเสร็จแล้วนะ จบละ มึงจะไปไหนก็ไปเถอะ

โยม : แต่ว่ามีพระหลายองค์ ท่านก็เห็นกับท่านอาจารย์ ที่ท่านอาจารย์ออกมาต้าน เพราะว่าเขาเห็นแล้วว่า ถ้าอย่างนี้นะเสร็จแน่เลย ถ้าให้เขาพูดฝ่ายเดียวนะคะ ท่านอาจารย์ออกมาต้าน เขาชอบใจนะ

หลวงพ่อ : เราเห็นมาตั้งแต่แรก เห็นมาตั้งแต่แรกเลย พอเริ่มแรกที่เขามา เริ่มตั้งแต่ที่เขายังไม่บวชเลย ว่าสติไม่ต้องฝึก คำพูดคำนี้ใช้ไม่ได้เลย ทั้งหลวงตา ทั้งครูบาอาจารย์ทั้งหมด สตินี่สำคัญมาก ตรงนี้สำคัญมาก แล้วสำคัญมากแล้วบอกไม่ต้องฝึกเลย ถ้าไม่ต้องฝึกเลย แสดงว่าคนไม่เป็น ทีนี้คนไม่เป็นแล้ว ถ้าบอกว่าไม่เป็นมันจะไปสอนใครได้ใช่ไหม ? เราไม่เป็นแต่เราจะบอกว่าเป็น เออ..เราไม่เป็นแต่จะบอกว่าเป็น งงไหม ? เพราะเราไม่เป็นใช่ไหม ? พอเราจะบอกว่าเป็นปั๊บ! เราก็ต้องสร้างสติของเราขึ้นมาสิ

โยม : เพราะตัวเองไม่มีสติ

หลวงพ่อ : ใช่ ถ้าเขาตั้งสติขึ้นมาก็ สติอย่างที่ทำๆ นี้เป็นสติตัวปลอม โอ้! อยู่เฉยๆ อยู่เฉยๆ เผลอปั๊บ! เผลอปั๊บ! สติมาเอง จะเป็นสติตัวจริง เขาว่า โอ้โฮ ! กูก็งงเว้ย ! มีสติตัวจริง

โยม : ที่รู้จริงๆ คือตัวปลอม อ๋อ! เบลอๆ นั่น คือตัวจริง

หลวงพ่อ : ใช่ เขาพูดอย่างนั้น พอเขาพูดอย่างนั้นปั๊บ! มันก็มาถึงเราใช่ไหม ? กูก็บอกว่า มันไม่มีหรอก สติตัวจริงก็ไม่มี สติตัวปลอมก็ไม่มี เพราะสติมันเป็นสมมุติ สติก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง แล้วสติตัวไหนมันคือสติตัวปลอม? ตัวไหนมันคือสติตัวจริง? เห็นไหม

เราจะบอกว่าเรานี่ไม่รู้อะไรเลยแหละ แต่เราอยากจะบอกว่ากูรู้ กูก็ต้องสร้าง ทฤษฎีความรู้ของกูขึ้นมา ทีนี้พอสร้างทฤษฎีความรู้ขึ้นมา ทฤษฎีนี้มันก็เป็นทฤษฎีของกูคนเดียวไง ก็เป็นกบในกะลา มึงเอากะลามาครอบกูไว้ แล้วกูก็บอกว่ากูรู้อย่างนี้ไง พอรู้อย่างนี้ปั๊บ! เสนอออกไปใช่ไหม? ไอ้คนมันก็เสือกเชื่อ ไอ้นี่มันบอกมีสติตัวจริง มีสติตัวปลอม

เขาพูดอย่างนี้คนฟังก็ทึ่งนะ โดยเขาเรียกว่าปรัชญา มันจะมีการพูดให้คนได้คล้อยตามเยอะแยะเลย มีคนพูดให้คล้อยตามเห็นไหม เพราะมันการประชาสัมพันธ์เห็นไหม ปรัชญามันก็เหมือนการโน้มน้าวเห็นไหม แล้วพอการโน้มน้าวนี่นะ มันพูด..

จะพูดจริงทั้งหมด เราก็พิสูจน์ไม่ได้ จะพูดผิดทั้งหมด ก็พิสูจน์ไม่ได้ ก็พูดกึ่งกลางเห็นไหม พอพูดกึ่งนี่ ทุกอย่างมันเป็นไปได้หมดเลย มันเป็นไปได้หมดใช่ไหม? มันชักนำไปได้หมดเห็นไหม นี่สติตัวจริง สติตัวปลอม ไอ้คนฟังก็ทึ่งเลยนะเว้ย !

เออ! เขาบอกว่าไม่มีสติ ไม่มีสติก็เลยจบไปแล้ว อ้าว! เออ..ไม่มีสติ หายไปแล้วใช่ไหม? มันกลายเป็นตัวจริงตัวปลอมแล้ว แล้วเป็นสติตัวจริงตัวปลอมกันแล้ว ทั้งๆ ที่สติตัวจริงตัวปลอมมันไม่มีหรอก มันอุปโลกน์ขึ้นมา เพราะสติเป็นสมมุติ นี่เพราะกูไม่รู้ แต่กูอยากรู้

โลกมันคลาดเคลื่อนกันตรงนี้ไง แล้วพอมันไปแล้วมันไปกันหมดเลยใช่ไหม? พอไปกันหมดเลย พูดบอกว่า อ้าว! ดูกันไปเรื่อยๆ ว่างๆ สบายๆ เขาพูดว่านี่มันมีรองรับนะ เดี๋ยวจิตจะกลวง เดี๋ยวจิตจะกลึง เดี๋ยวจิตมันจะตึงเกินไป ต้องอยู่เฉยๆ ต้องพยายามดูไว้เฉยๆ ห้ามคิด ห้ามน้อม ห้ามนำ คนก็สบายกันไปหมดเลย มันก็ตามกันไปเห็นไหม นี่บอก กูบอกกูไม่รู้ แต่กูจะอวดรู้ กูก็สร้างความรู้ เอาความรู้อันใหม่ขึ้นมา

ทีแรกเราก็เฉย ไม่ยุ่งหรอกเราไม่ยุ่ง เราเห็นเรื่องสตินั้นไร้สาระแล้ว แล้วมันเป็นไปไม่ได้หรอก แล้วมาท้ายๆ นี่ พอท้ายๆ คนเยอะ ลูกศิษย์เขามาคุยให้ฟังเรื่อย คุยให้ฟังเรื่อย ใครปฏิบัติพุทโธ คนปฏิบัติพุทโธนี่นะ หลงใหลมาทั้งชีวิต ชีวิตนี้เมื่อไรจะได้วิปัสสนา แล้วชาติหน้าจะได้วิปัสสนาไหม

มันก็เหมือนคนเรานี่นะ มันจะให้ใครสนใจนะ มันเหมือนประเทศไทยมันมีอยู่แล้วใช่ไหม? มันก็เหยียบย่ำขึ้นมา มันก็เหยียบย่ำประชาชน เหยียบย่ำซากศพขึ้นมา มันถึงยืนอยู่บนซากศพของประชาชน อันนี้ก็เหมือนกัน มันจะพูดถึงทฤษฎีปฏิบัติ มันต้องเหยียบย่ำแนวทางปฏิบัติที่มีมาเก่า เพื่อตัวเองจะขึ้นมายืนบนยอดของแนวทางปฏิบัตินั้น

เราตีความคิด เขาคิดกันอย่างนี้ไง มันต้องเหยียบย่ำพุทโธ เหยียบย่ำครูบาอาจารย์ แล้วหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เราล่ะวางรากฐานไว้ขนาดไหน แล้วมึงมาถึงมึงจะปฏิบัติแนวทางอะไรก็เรื่องของมึงสิ ทำไมมึงบอกว่าพุทโธนี่หลงมาทั้งชีวิต พุทโธนี่ ผู้ปฏิบัติพุทโธเป็นผู้ที่เป็นสมถะ ที่ไม่มีวิชาการ ไม่มีสิ่งใดๆ เลย

เหยียบ! เหยียบ! เหยียบพุทโธขึ้นมา ทั้งๆ ที่พุทโธนี่คือพุทธะ พุทโธนี่เป็นชื่อของพระพุทธเจ้า พุทโธนี่เป็นพุทธานุสติ มึงเป็นชาวพุทธ แล้วมึงเหยียบย่ำพุทโธ แล้วมึงบอกไปดูจิต ดูจิตมันอยู่ในพระไตรปิฎกหรือเปล่า ? มันมาจากไหนในพระไตรปิฎก ?

มีคนเอาหนังสือมาให้ดู มีคนมาฟ้อง โอ้โฮ! มาเกือบทั่วทั้งประเทศ ใครๆ ก็เอาหนังสือมาให้ดู หลวงพ่อมันเป็นอย่างนี้ หลวงพ่อมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ปั๊บ!นะ กูใส่แล้ว กูเริ่มใส่แล้ว กูบอกเลยสิ่งที่ว่าพุทโธๆ นี่นะ มันมาจากรากเหง้าตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แล้ววางธรรมมาเป็นประเพณีวัฒนธรรม ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาเห็นไหม ตั้งแต่อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรศาสนาพุทธมันต่อเนื่องกันมา

มันต่อเนื่องกันมาขนาดนี้ มันมาจากรากเหง้า แล้วมึงมากำหนดของมึง กำหนดนามรูป กำหนดดูจิต มึงตัดรากเหง้า คือมันตัดรากเหง้าจากวัฒนธรรมของชาวพุทธออกไปเลย ถ้ามึงมารากเหง้านะ เพราะอะไร? เพราะเรานึกพุทโธนี่มันเป็นการนึก นึกมาจากไหน? นึกมาจากจิต ถ้าเราไม่ระลึกพุทโธ พุทโธคือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ เรานึกพุท กำหนดนึกขึ้นมา นึกนี่คือพุท พุทโธๆ นึกขึ้นมา วิตกขึ้นมาเห็นไหม มันก็มีวิจาร พุทโธๆ

อันนี้มันมาจากไหน มันมาจากรากเหง้า มาจากความรู้สึก มาจากจิต ถ้ากำหนดพุทโธๆๆ พุทโธเห็นอาการนึก เขาบอกจิตกับความคิด เขาบอกว่าดูจิตๆ เขาดูความ

คิดเขาบอกไม่รู้เรื่อง แต่เวลากำหนดนึกพุทโธ เขาบอกพุทโธมันเป็นสัญญาอารมณ์

ใช่ ! หลวงตาบอกว่า จิตกับสัญญาอารมณ์มันเป็นสอง หลวงตาจะบอกประจำว่าเรานี่อยู่อารมณ์สอง ความรู้สึกเรากับความคิด พุทโธๆ พุทโธๆ จนมันเป็นหนึ่งได้เห็นไหม เป็นสมาธิได้ พอเป็นสมาธินี่รากเหง้า รากเหง้าเพราะอะไร ? เพราะปฏิสนธิจิต จิตมันมีตัวเกิดตัวตาย จิตมันคือเรา แต่เขาปฏิเสธจิต

เขาไปรู้กันที่ความคิด เพราะเขาเป็นปรัชญา เขาคิดไม่ถึงไง เขาคิดด้วยความคิดของเขา เขาคิดด้วยทางวิชาการได้ เขาคิดเป็นทางวิทยาศาสตร์ได้ เป็นกรอบได้ แต่เขาเข้าไม่ถึงตัวจิตนี้ ถ้าเขาเข้าไม่ถึงตัวจิตนี้ เขาก็ตัดรากเหง้า คือตัดพืชและผลไง

แต่ว่าเราพุทโธ ๆ เราอธิบายให้เขาฟังประจำนะ คนที่มาฟัง ทำไมต้องพุทโธ เราบอกพุทโธนี่ โดยความคิดของพวกเรา มันเป็นความคิดปกติ มันเป็นความคิดของน้ำเสีย คือความคิดด้วยความคิดของเราใช่ไหม? พอเราเปลี่ยนความคิดเป็นพุทโธๆ ใช้ความคิดเหมือนกัน มันรีไซเคิลความคิดไง มันรีไซเคิลน้ำไง พุทโธๆ พุทโธๆ พุทโธๆ จนน้ำมันสะอาดขึ้นมาได้ มันเป็นตัวจิตขึ้นมาได้ นี่คือตัวรากเหง้าไง เราถึงบอกว่านี่ พุทโธมันมีเหตุผลอย่างนี้

ไม่พุทโธ ไม่พุทโธ ถ้าจิตไม่สงบก่อนมันจะเอาอะไรไปวิปัสสนา ที่ว่าวิปัสสนาวิปัสสนาสายตรงมันวิปัสสนาความคิด ความคิดไง พอเวลาทุกข์มันก็เกิดความทุกข์นะมันมีความคิด เวลาดูความคิด ดูนามรูป ดูการเกิดดับ แล้วมันก็เกิดดับที่ความคิด แล้วมันแก้กิเลสได้ไหม? มันถึงได้มิจฉาใช่ไหม ?

แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราดูความคิด ดูความคิดใครเป็นคนดู? จิตเป็นคนดู ต้องมีสติมีจิตเป็นคนดู ถ้าจิตสติเป็นคนดู ผลที่ตอบสนองคือถ้ามันสงบ มันปล่อยวาง มันปล่อยวางกลับมาที่จิตไง เพราะจิตเป็นคนปล่อยวางไง ถ้าจิตเป็นตัวปล่อยวางมันก็เป็นหนึ่งใช่ไหม ? เป็นหนึ่งก็เป็นความสงบใช่ไหม ? พอเป็นความสงบแล้วจิตออกวิปัสสนา นี่ไงจิตออกวิปัสสนาไง

แต่มันไม่มี มันไม่มีเลยเห็นไหม ดูสิมันไม่มีที่ว่านี่ กำหนดดูไปนะ ดูเฉยๆ พอดูเฉยๆ นี่มันเป็นการวิปัสสนา ใช้ปัญญาแต่ละลักษณะไป จนเป็นสามัญลักษณะ คือวิปัสสนาใช้ปัญญาทั้งหมดเป็นสามัญลักษณะ เป็นปัญญาทั้งหมดแล้ว มันจะรวมลงสู่ อัปปนาสมาธิ แล้วจิตจะรู้เอง มันฟ้องเลย

โยม : ท่านอาจารย์ โยมอ่านของเขานะ เขาสอนเลื่อนลอย โยมอ่านนะคะเขาบอกว่า ขันธ์ ๕ แต่ขันธ์ที่ละยากที่สุดคือจิต จิตนี่ไม่ใช่ขันธ์นะ จริงๆ นี่ ขันธ์ก็เป็นขันธ์ จิตก็เป็นจิต ใช่ไหมคะ? เพราะว่าเราปฏิบัติธรรมกันอยู่นี่นะ ไอ้จิตนี้มันไปดูอาการของขันธ์ ขันธ์นี่ไม่ใช่จิต แต่เขาบอกว่าขันธ์ ๕ ทั้งหมดนี่นะ ที่ละยากที่สุดคือจิต นี่ก็ผิดแล้วล่ะ

หลวงพ่อ : ที่เราพูดเรื่องจิตส่งออก ก็อันนี้แหละ เขาก็บอก หลวงปู่ดูลย์บอกว่าจิตส่งออก จิตส่งออกเป็นสมุทัย จิตส่งออกนะ ความคิดทั้งหมดที่ส่งออกเป็นสมุทัยให้ผลเป็นทุกข์ เห็นไหม ต้องหยุดความคิด ผลที่จิตส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัยให้ผลเป็นทุกข์

ถ้าจิตเห็นจิตเห็นไหม ถ้าจิตเห็นจิตส่งให้เป็นมรรค ผลมันเป็นมรรค ทีนี้เขาบอกว่าจิตส่งออกนี่ จิตส่งออกทั้งหมด หลวงปู่ดูลย์บอกจิตส่งออกทั้งหมด ความคิดที่ส่งออกทั้งหมด ผลมันเป็นสมุทัย ผลเป็นความทุกข์

ถ้าจิตเห็นจิตมันเป็นมรรค ผลจะออกมาเป็นนิโรธ เขาบอกจิตส่งออกไม่ได้ แล้วเขาอธิบายตรงนี้บอกว่า จิตนี้ส่งออกไม่ได้ มันจะส่งออกด้วยสัญญาอารมณ์ สัญญาอารมณ์คือความคิดไง เราถึงบอกว่าพวกนี้ไม่เคยเห็นจิต เขาเคยเห็นแต่ความคิด สัญญาอารมณ์ก็เป็นความคิด สิ่งที่ส่งออกคือความคิด คือสัญญาอารมณ์ จิตส่งออกไม่ได้ แล้วก็ตรงนี้เพราะจิตเป็นขันธ์

โยม : เอ้อ ! เขาว่าจิตเป็นขันธ์

หลวงพ่อ : เพราะจิตเป็นขันธ์ ขันธ์คือตัวทุกข์ ตัวทุกข์ส่งออกไม่ได้

โยม : เขาแยกไม่ออกว่า อะไรคือขันธ์ ? อะไรคือจิต ? เขาแยกไม่ออก

หลวงพ่อ : เมื่อวานเราพูดเลย ต้นข้าวกับต้นหญ้ามันยังไม่รู้จักเลย มันยังแยกต้นข้าวกับต้นหญ้าออกจากกันไม่เป็นเลย แล้วมันบอกมันเป็นชาวนา มันเป็นเกษตรกร

โยม : ค่ะ เลื่อนลอย

หลวงพ่อ : ถ้าโยมว่าเลื่อนลอย แต่สำหรับเรา เราฟังคำพูดอย่างนี้แล้ว แสดงว่าคนนี้ ในบ้านของโยม สมบัติอะไรโยมเก็บไว้ที่บ้านโยมจะรู้หมด เพราะโยมเป็นคนเก็บ แล้วถ้าเราอยู่ในบ้านเดียวกัน เราจะรู้ว่าสมบัติอยู่ที่ไหน

จิตของเรา ถ้าเราเข้าถึงจิตเรา เราจะรู้เลยว่าจิตของเราเป็นอย่างไร? ถ้าบอกว่าขันธ์เป็นจิตนี่ มันผ่านหน้าบ้านไปผ่านหน้าบ้านมา มันไม่เคยเข้าไปในบ้าน มันถึงไม่รู้ว่าขันธ์กับจิตเป็นอย่างใด ขันธ์ไม่ใช่จิต จิตเป็นจิต ขันธ์ ๕ เป็นขันธ์ ๕ มันเหมือนกับที่ หลวงตาพูดนิพพานเป็นนิพพานไง เขาเถียงกันว่านิพพานเป็นอัตตา หรือนิพพานเป็นอนัตตาเห็นไหม เพราะเขาเถียงกันที่อัตตาและอนัตตา แต่เขาไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร

นี่ก็บอกว่าเขาพูดเรื่องขันธ์ ขันธ์นี่พิสูจน์ได้ ขันธ์ ๕ นี่พิสูจน์ได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมันพิสูจน์ได้ มันเป็นความคิดมันพิสูจน์ได้ แต่พลังงานมันพิสูจน์ไม่ได้ เพราะคนไม่เคยเข้าสมาธิ ถ้าคนเคยเข้าสมาธิ มันผ่านจากขันธ์เข้าไปถึงตัวพลังงาน ตัวพลังงานเห็นไหม เปลือกส้มกับเนื้อส้ม เข้าไปถึงตัวเนื้อส้ม

ฉะนั้นเขาบอกว่า เพราะเขาไม่มีประสบการณ์ตามความจริงอย่างนี้ เขาถึงอธิบายถึงตัวจิตไม่เป็น เพราะอธิบายถึงตัวจิตไม่เป็น พอหลวงปู่ดูลย์บอกว่าจิตส่งออกทั้งหมด ผลของการส่งออกทั้งหมดเป็นทุกข์ จิตส่งออกคือความคิดไง แล้วจิตอะไรมันส่งออกวะ!

แต่ถ้าความคิดกูส่งออก เออมี ก็เลยบอกว่า การส่งออกก็คือสัญญาอารมณ์ส่งออกต่างหาก จิตส่งออกไม่ได้ เขาถึงเถียงว่าจิตนี้ส่งออกไม่ได้ไง เราถึงได้พูดจิตส่งออกไปเห็นไหม ก็จิตส่งออก จิตต้องส่งออกโดยธรรมชาติของมัน เพราะจิตนี้เป็นพลังงาน

พลังงานความร้อนมันจะคลายตัวตลอดเวลา มันเป็นพลังงานของมันอยู่แล้ว ทีนี้พลังงานนี่พลังงานเฉยๆ แต่ขันธ์ ขันธ์คือความคิด พลังงานเหมือนไฟฟ้า ไฟฟ้ามันเคลื่อนตัวอยู่แล้ว แต่ไฟฟ้ามันจะเข้าไปใช้ในเครื่องไฟฟ้าใช้ประโยชน์กับอะไร? อุตสาหกรรม หรือว่าเข้าคอมพิวเตอร์อะไรนี่ ความคิดคิดเรื่องอะไร? คิดเรื่องร้อยแปดเลย

นี้พอจิตส่งออกไป ก็ส่งพลังงานนี้ออกไป มันก็เป็นทุกข์อยู่แล้ว แต่เขาไม่รู้ พอเขาไม่รู้แล้ว ไม่รู้ ไม่รู้เปล่านะ ไม่รู้แล้วยังบอกว่าอาจารย์สอนผิดอีก รู้ก็รู้คลาดเคลื่อนอีก โอ้โฮ ! เรายิ่งอ่านนะมันยิ่ง อื้อฮือ ! ถ้าเป็นมรดกตกทอดของครูบาอาจารย์ของเรา ถ้าเรายังเข้าไม่ถึงนะ อย่างพ่อแม่ให้ลายแทงมา ให้บัญชีมาให้เบิกสตางค์ แต่กูเบิกไม่เป็น มันด่าพ่อแม่มันนะว่าให้อะไรกันมาไม่รู้ พ่อแม่ให้บัญชีมานะ บอกว่าให้ไปเบิกสตางค์ในธนาคารกูมีให้มึงร้อยล้าน แต่กูไปเบิกไม่ได้ กูถืออยู่ร้อยล้าน ก็ด่าพ่อแม่กูเลวทรามเลวทราม ไม่ว่ามึงเลวทราม เขาให้แล้วแม่งเสือกเบิกไม่ถูก

หลวงปู่ดูลย์พูดไว้ถูกต้องหมดแล้ว แต่มันบอกว่าหลวงปู่ดูลย์คลาดเคลื่อน เพราะอะไรรู้ไหม ? เพราะมันไม่รู้จักจิต ไม่รู้จักขันธ์ มันพูดแค่นี้เรารู้ เพราะขันธ์นี้ไม่ใช่จิต ถ้าขันธ์เป็นจิตนะ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ สักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐินี่ ความเห็นผิดของขันธ์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ถ้าขันธ์ ๕ เป็นจิต พระโสดาบันเกิดไม่ได้ พระสกิทาคามีเกิดไม่ได้ พระอนาคาเกิดไม่ได้ เพราะจิตมันละขันธ์ จิตกับขันธ์ตัดขาดออกจากกัน

หลวงตาบอกว่าเวลาขันธ์กับจิตแยกออกจากกันเหมือน ๓ ทวีป ทวีปนี้แยกออกจากกันเลย แล้วถ้าทวีปมันแยกออกจากกัน ขันธ์มันแยกออกจากจิตได้ แล้วถ้าขันธ์เป็นจิต จิตเป็นขันธ์ มันจะแยกออกจากกันได้อย่างไร ?

ผลของมันคือเขาไม่ได้เป็นพระโสดาบัน ถ้าเขาเป็นพระโสดาบัน เขาพูดคำนี้ไม่ได้ มันฟ้องหลายอย่าง คำพูดคำเดียวมันฟ้องเยอะเลย ฟ้องว่าสมาธิก็เข้าไม่เป็น ถ้าเข้าเป็น สมาธิ อัปปนาสมาธินี่มันแยกเลยระหว่างกายกับจิต แยกออกจากกันโดยธรรมชาติเลยนะ แล้วยิ่งถ้าพิจารณาไป พระโสดาบันนะขันธ์นี่ขาดเลย

ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ สังโยชน์ ๓ ตัวไง สักกายทิฏฐิ ๒๐ นะ สักกายทิฏฐิ ๒๐ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ เนี่ยพระโสดาบัน พระโสดาบันจะเห็นขันธ์ ๕ กับจิตแยกออกจากกันขาด แล้วพระสกิทาคามีขันธ์อย่างกลางขาด พระอนาคาขันธ์ละเอียดขาด ขันธ์ละเอียดเห็นไหม ปฏิฆะ กามราคะ

กามราคะนี่นะมันเกิดจากข้อมูล เกิดจากสเปก ถ้าไม่ถูกสเปกมันไม่เอา สเปกนี่คือปฏิฆะ ข้อมูลของจิต ขันธ์อันละเอียด แล้วมันพอใจในตัวมันเองคือกามฉันท์ จิตเสพจิตนะ เวลาเรากามราคะเราเสพกันข้างนอก ถ้าจิตมันไม่มีข้อมูลของมัน ไม่มีสเปกของมันนะ สเปกกูชอบอย่างนี้ อื้อฮือ! อย่างนี้อย่าเข้ามาใกล้กูเลยนะ แหม ! เสร็จกูเลยนะ

แต่ถ้าไม่ถูกสเปกมันนะ ให้อย่างไรก็ไม่เอา ถ้าสเปกมันมี แล้วสเปกไม่ได้ตามใจมัน มันจะเกิดปฏิฆะ มันจะเกิดปฏิฆะคือความผูกโกรธ ถ้าถูกใจมัน มันจะเกิดกามราคะ มันพอใจ พอใจแล้วมันก็เกิดความกระตุ้นตัวเราก่อน กระตุ้นตัวเราก่อนมันก็อยากกระตุ้นข้างนอก

นี่ไงขันธ์อย่างละเอียด เพราะมันไม่รู้จัก มันไม่รู้จัก มันไม่เคยเห็น มันไม่รู้เรื่อง มันถึงได้จิตเป็นขันธ์ ขันธ์เป็นจิต แล้วพอขันธ์เป็นจิตแล้วนะมันเคลมเลย ตัวจิตคือตัวทุกข์ พ้นจากทุกข์ก็คือเป็นพระอรหันต์ อันนี้มันพระอรหันต์ในกะลา กะลาของมันนั่นแหละ คำพูดคำเดียวนี่มันฟ้องมาหมดเลย

ทีนี้เพียงแต่เราจะอธิบายให้โลกเขาเข้าใจได้ มันต้องมีที่มาที่ไปไง เราจะพูดอย่างนี้ไป เขาจะบอกว่าเราใช้แต่อารมณ์ไง อะไรๆ ก็ผิด ไอ้ผิดนี่เพราะอิจฉาตาร้อน มันไม่ได้ผิดด้วยเหตุด้วยผลไง ทีนี้พอเราอธิบาย แล้วแต่จะยกประเด็นอะไรขึ้นมาอธิบาย ผิดหมด ถ้ามันผิดมันถูกมาตั้งแต่ต้น คนถูกนี่อย่างเราทำงานเป็น เริ่มต้นพื้นฐานเราต้องวางถูกมาเลย เหมือนช่าง

ถ้าเราจะปลูกบ้านนะ ถ้าศูนย์มันเคลื่อนไปโครงสร้างมันจะเป็นอย่างไร ? ถ้าคนเป็นนะ เราจะจัดระดับ เขาเรียกระดับ ถ้าคนเป็นนะระดับนี่สำคัญมากเลย ถ้าระดับมันตรงนะ ระดับมันดีนะ โอ้โฮ ! โครงสร้างมันจะไป ทำงานเป็นมันจะง่าย แต่ถ้าระดับมันเสียนะ เริ่มต้นเรา เฮ้ย ! ไม่ต้อง ปักๆ ปักๆ ไป เดี๋ยวกูทำให้มึงเสร็จเลย โอ้โฮ ! แล้วพอขึ้นมานะกลายเป็นงานศิลปะ หอเอียง หอเอียงยังดีที่ทำเสร็จนะ แล้วถ้าทำขึ้นมามันทำไม่ได้จะทำอย่างไร ?

มันเหมือนกัน มันเหมือนกันตรงที่เป็นสติไม่ต้องฝึก อะไรก็ไม่มี แต่ถ้าเราเป็นงานช่างนะ ระดับนี้สำคัญมาก ถ้าระดับมันขึ้นมามันจะเป็นโครงสร้างขึ้นมา มันจะเป็นของมันขึ้นมา แล้วคำพูดของเขาตั้งแต่พื้นฐานเลย ระดับนี่ไม่มีเลย อะไรก็ไม่มีเลย

โยม : ท่านอาจารย์ ตอนที่เขายังไม่ได้บวชนะคะ เขาไปบ้านเพื่อน บ้านเพื่อนเขาเป็นคนโพธารามนะคะ เพื่อนก็เลยเรียกโยมไป แล้วก็นั่งโต๊ะกันอย่างนี้ เขาก็นั่ง เขาอ้วนๆ นี่นะ กินไป ซูชิ ลองสิ เนี่ยซูชิ ลองสิ เขาชี้ๆ แหม..โยมฟังแล้วโยมรำคาญ มันสอนประสาอะไรของมันนะ

หลวงพ่อ : อ้าว.. แล้วพอเขาพูดอย่างนั้นปั๊บ! ทุกคนฟังแล้วทุกคนทึ่ง แต่สำหรับเรานะ เวลาเรานะ เราบอกเลย เราบอกลูกศิษย์เลย บอกเขาไปนะ แบบว่าประสาเราพูดแรง เราบอกคิดด่า.. แล้วให้มันทายมา ไม่มี ไม่มีใครทายได้เลย บอกให้ไปนั่งเลย

โยม : แล้วโยมคิดอยู่ว่า เมื่อได้ส่งจิตออกไปดูคนอื่นแล้ว แล้วมึงไปว่าคนอื่นส่งจิตออก โยมคิดอยู่ในใจ รำคาญ

หลวงพ่อ : รำคาญ.. เราจะพูดอย่างนี้ โดยธรรมชาติ พระอาทิตย์เห็นไหมแสงพระอาทิตย์ การเดินทางของแสง โดยธรรมชาติของความรู้สึก มันธาตุรู้ ธาตุสิ่งที่มีชีวิตมันคลายตัวตลอด เรื่องพลังงานนี่มันมีกำลังตลอด มันส่งออกทั้งนั้น ทั้งนั้น แล้วธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ ส่งออกหมดล่ะ ชี้หน้าได้ทุกตัวเลย ส่งออกหมด แล้วผิดไหม ?

โยม : ตามรูปรสกลิ่นเสียง ใช่หรือเปล่าคะ ?

หลวงพ่อ : ส่งออกคือคิดไง ส่งออกคือความรู้สึกออกไป แล้วความรู้สึกเรามีความคิดไหม ? มีความรู้สึกไหม ?

โยม : ก็ส่งออกมาฟังท่านอาจารย์นี่ไง

หลวงพ่อ : แล้วส่งออกหรือยังล่ะ ?

โยม : ส่งออกมาฟังท่านอาจารย์

หลวงพ่อ : แล้วมีใครบ้างไม่ส่งออก? แล้วมันคิดอะไร? มันจะผิดอีกไหม? แล้วไปคิดอะไรกับมัน? เราพูดเยอะมาก แต่คนมันฟังแล้วไม่เข้าใจ พลังงาน พลังงานนะพลังงานของจิต พัฒนาการของจิต มันมี ๒ อย่างนะ พลังงานของจิตอันหนึ่ง พัฒนาการของจิตอันหนึ่ง

พัฒนาการของจิตมันพัฒนาการของมัน คือแบบว่าเราพัฒนาให้ดีขึ้นเห็นไหม จิตมันพัฒนาได้ กับพลังงานของมัน กับธรรมชาติของมัน จิตมันเป็นวิทยาศาสตร์เลย ของอย่างนี้มันเป็นวิทยาศาสตร์เลย มันเป็นความจริงของมันอยู่แล้ว แต่เราจะทำอย่างไร? ใช้ประโยชน์มันอย่างไร?

นี่ครูบาอาจารย์ท่านสอน พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ไง แต่เขาเข้ามาเขาบอกว่านี่มันส่งออกๆ แล้วไปส่งออกใครเขาเชื่อ ใครเขาเชื่อ เราบอกต้องให้หลวงปู่มั่นสิเว้ย!

หลวงปู่มั่นลงจากเขาถ้ำสาริกาเห็นไหม นี่หลวงตา ท่านเป็นหลวงตาใช่ไหม? ท่านมีครอบครัวมาก่อนใช่ไหม ? ท่านก็มาบวช พอบวชแล้วก็คิดถึงครอบครัวไง

หลวงปู่มั่นก็ส่งไปดู ดูตอนหัวค่ำก็ยังคิดถึงครอบครัว ส่งไปอีกทีเที่ยงคืนก็ยังคิดถึงครอบครัว ส่งไปถึงตอนเกือบสว่างแล้วก็ยังคิดถึงครอบครัว เช้าลงมาบิณฑบาตเห็นไหม หลวงตาแต่งงานกับคู่ครองคนเก่าเมื่อคืนทั้งคืนเลย มันเป็นอย่างไรล่ะ ?

ถ้ามึงจะดูว่าจิตส่งออก มึงต้องพูดอย่างนี้ว่ามึงคิดอะไร โยมคิดนี่คิดเรื่องอะไร ถ้าคิดอะไร ถ้าพูดอย่างนี้กูเชื่อมึง ไอ้นี่ส่งออก ส่งออก โอ้ย! คิดแล้วคิดแล้ว แล้วกูคิดเรื่องอะไรล่ะ ? กูด่ามึงนี่กูคิดเรื่องอะไรล่ะ ?

กูส่งคนไปทำอย่างนี้เยอะ แล้วกลับมาหากูเลย หลวงพ่อเขาไม่รู้หรอก ไม่รู้หรอก

โยม : อ้า..ลูกศิษย์เขาบอกไม่รู้หรอก เขาบอกลูกศิษย์เยอะ เขาเลยไม่มีเวลาตอบ แก้ตัวเฉยๆ

หลวงพ่อ : นี่ไง ไอ้พวกโดนล้างสมองมันเป็นอย่างนี้ เพราะสมองมันโดนล้างไปแล้ว ทีนี้เราต้องคิดด้วยข้อเท็จจริงสิ มันมีลูกศิษย์หลายคนนะ บางคนนี่มัน ๕๐-๕๐ ไง เขาบอกไปนั่งอยู่นั่น ยกมือทั้งวันเลย มันไม่ชี้ล่ะ เหมือนกับชี้หน้าม้า ชี้แต่พวกที่เขาคุยกันได้

โยม : อ๋อ พวกที่คุยกันได้

หลวงพ่อ : ใช่ พวกลูกศิษย์เราไป เขาบอกยกอย่างนี้นะ ชี้ไปชี้มา ไม่ชี้หรอก ไม่ชี้ ไม่ชี้หรอก ชี้แต่คนที่พูดรู้เรื่อง ไอ้คนนี้แม่งยก ๒ที ๕ ทีไม่ชี้

โยม : ชี้พวกหน้าม้า

หลวงพ่อ : พวกเรานี่เขาเรียกว่าศรัทธา ความเชื่อมันบังตา มันบังตาไง แล้วทุกคนในสังคม พอเวลาที่ไหนมีคนเยอะกระแสเยอะ ที่คนเยอะแล้วก็จะไอ้นั่น..

โยม : ตามกระแส

หลวงพ่อ : ตามกระแสไป ไม่มีปัญหาหรอกนะ เอาแค่นี้ก่อนนะ