เทศน์เช้าวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๐
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ธรรมะ เห็นไหม วิสาสะ ภิกษุนี่วิสาสะ ของที่วิสาสะนะเพื่อนกัน เพื่อนกันคุ้นเคยกัน เป็นหมู่คณะกัน วิสาสะนี่ไม่เป็นอาบัติ แต่ถ้าไม่วิสาสะนะ ของนี่เราไปหยิบของเขามา เห็นไหม นี่ค่าเกินบาทนะ ถ้าเขาปรับเป็นอาบัติก็เป็นอาบัติ แต่ถ้าไม่เป็นอาบัติ เห็นไหม นี่วิสาสะ วิสาสะนี่เป็นความสมานฉันท์ ในร่างกายเราถ้าไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายเราอยู่สุขสบายมาก แต่ถ้าเราเจ็บไข้ได้ป่วยที่ไหน เป็นจุดเดียวแต่ร่างกายทั้งร่างกายเลยต้องพิการไปด้วย เพราะสิ่งนั้นมันทำให้เราไม่สะดวก เห็นไหม นี่วิสาสะ
แต่ความคุ้นเคย เห็นไหม เวลาความคุ้นเคย ความคุ้นเคยเป็นเรื่องของกิเลสนะ วิสาสะก็เกิดจากความคุ้นเคยนี่แหละ เพราะอะไร เพราะมันเป็นเรื่องของวินัย เป็นเรื่องความสมานฉันท์ในความเป็นอยู่ แต่ความคุ้นเคยกิเลสจะออกช่องนี้ ช่องของความคุ้นเคยพอเราคุ้นเคยปั๊บ เราสนิทชิดเชื้อ มันจะทำอะไรโดยความสบายใจ ทำอะไรโดยให้อีกฝ่ายกระทบกระเทือนกัน
แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเวลาเราประพฤติปฏิบัตินะ วิสาสะนี่ใช่ เพื่ออะไร เพราะคนเรามีการผิดพลาด ทุกคนการกระทำนี่ด้วยความคาดไม่ถึงความคิดไม่ถึง มันจะมีการกระทบกระเทือนกัน ความกระทบกระเทือนกันนี่วิสาสะ วิสาสะคือว่าให้อภัยต่อกัน
แต่ถ้าเป็นความคุ้นเคยนะ ความคุ้นเคยถ้าเราออกธุดงค์ เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ไปแบบนอแรด ไปแบบนอแรดมันจะไม่วิตกกังวล เห็นไหม ความคุ้นเคยเราไปด้วยกันสองคน หรือพระสององค์ไปธุดงค์ด้วยกัน เวลาจะทำอะไรก็นึกถึงกัน ต้องมีความรับผิดชอบ รับผิดชอบในหัวใจไง อย่างเช่น เราไปไหนคนเดียว ไปในป่าช้าคนเดียว เราจะกลัวมาก ถ้าไปในป่าช้าสองคนเราจะมีเพื่อนแล้ว ความมีเพื่อนอันนี้ เห็นไหม นี่มันคุ้นเคย นี้ออกทางเวลามันจะหาเพื่อน หาผู้ที่ปลอบใจนะ แต่ถ้าเวลากิเลสมันไม่รับผิดชอบ มันโต้แย้งออกไป นี่ความเป็นไป นี่มรรคหยาบมรรคละเอียดอย่างนี้ไง
สิ่งที่เป็นประโยชน์ วิสาสะนี้เป็นประโยชน์นะ เพราะอะไร เพราะคนไม่มีเพื่อนเป็นไปได้อย่างไร คนเราไม่มีเพื่อนเลยเหรอ คนทำความดีนะ กลิ่นของศีลหอมทวนลม ยิ่งดีขนาดไหน ยิ่งหอมทวนลม คนก็ยิ่งใฝ่หา ยิ่งต้องการ เห็นไหม ยิ่งต้องการเราจะหลีกลี้อย่างไร ฉะนั้นขณะที่เรายังต้องการเป็นมรรคเป็นการก้าวเดินอยู่ เห็นไหม การก้าวเดินเราต้องหลีกเร้น นี่การหลีกเร้น อยู่ในโคนไม้ อยู่ในที่สงัด มันไม่พอใจหรอก ใจนี้ไม่พอใจสิ่งต่างๆ อะไรเลย ที่เวลาไปกดดันกิเลสไว้ก่อนนะ ความทำสงบของใจนี่แค่กดดันกิเลส
ดูสิ เวลาเราว้าเหว่ เราหงอยเหงา เราต้องการมีเพื่อนคุย ต้องการ เห็นไหม แต่ขณะที่กิเลสมันว้าเหว่มันทำอะไรล่ะ มันก็หลอกเรา ถ้าเราต้องไปอย่างนั้นๆ มันคาดหมายไปหมดเลย แม้แต่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เวลาคาดหมายต้องเป็นอย่างนั้นๆ เห็นไหม เวลาศึกษาธรรมศึกษาด้วยคุณธรรม ศึกษาแล้วปฏิบัติเพื่อมากดขี่กิเลส มากำจัดกิเลส ปฏิบัติมาเพื่อเอามาเป็นเครื่องมือของกิเลส เห็นไหม
นี่ในพระพระไตรปิฎกบอกนะ การศึกษาธรรมะ ถ้าศึกษาไม่ดีเหมือนกับจับหญ้าคา จับหญ้าคาแล้วถ้าจับไม่แน่น เราจะถอนหญ้าคาแล้วดึง มันจะบาดมือเรามากเลย ถ้าเราจะจับหญ้าคาจับให้แน่น เวลาศึกษาปริยัติต้องศึกษาปริยัติด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาปฏิบัติต้องปฏิบัติด้วยคุณธรรมของเรา ด้วยคุณธรรมของเราให้มันเกิดด้วยสัจจะความจริง เห็นไหม ถ้ามันสงบให้มันสงบขึ้นมาจากสัจจะความจริง ถ้าเป็นปัญญาก็เป็นปัญญาของเรา แต่เป็นปัญญากิเลสมันสอดเข้ามา นี่มันจะขัดแย้งกันตรงนี้ ตรงระหว่างกึ่งดิบกึ่งสุก มันจะมีปัญหา แต่ถ้ามันดิบก็ดิบ เพราะเรานี่ดิบๆ กิเลสมันดิบๆ เลย เราจะทำให้มันควรแก่การงาน เห็นไหม
ถ้าเป็นปุถุชน เห็นไหม ถ้าเป็นสมาธิขึ้นมา นี่ควรแก่การงาน การมันจะสุก วิธีการจะสุกแล้วนี่ เราจะหาอย่างไรเพื่อจะประกอบเป็นอาหารขึ้นมา เห็นไหม อย่างเนื้อสัตว์ อย่างของต่างๆ เราอุตส่าห์แสวงหามา แต่ถ้าเราไม่ดูแล เราไม่รักษานะ มันเน่าเสียได้ การเน่าเสีย แต่ถ้าเราทำประกอบอาหารขึ้นมา เป็นอาหารขึ้นมา
นี่ก็เหมือนกัน เราหามานะ เราหามรรค ๘ ความเห็นชอบ ความเพียรชอบ งานชอบ สติชอบ ระลึกชอบ สิ่งที่ชอบเราก็ต้องแสวงหา เริ่มต้นก็ต้องแสวงหามาแล้ว เห็นไหม มรรคเริ่มหยาบๆ ถ้าละเอียดขึ้นมานี่ เราละเอียดขึ้นมา เราหามาแล้วจิตนี้สงบมาก จิตนี้ปล่อยวางมาก มีความสุขมาก แล้วมันก็เป็นอนิจจังนะ มันเป็นอนิจจังเหมือนกับเนื้อสัตว์ที่เราหามา แล้วก็จะเน่าเสียไปนะ นี่จิตถ้ามันดีขนาดไหนมันก็จะเน่าเสียไปนะ ขณะที่เราก้าวเดินอยู่ เพราะมันยังไม่สำเร็จประโยชน์ขึ้นมา
ถ้ามันสำเร็จประโยชน์ขึ้นมา เห็นไหม เราต้องเอามาใช้ประกอบเป็นอาหารขึ้นมา แล้วเรากินเข้าไปในร่างกายของเรามันจะเป็นคุณค่าทางอาหารขึ้นมา เห็นไหม ให้ร่างกายมีอาหารหล่อเลี้ยง พอร่างกายมีอาหารหล่อเลี้ยงขึ้นมา ร่างกายเราก็เติบโตขึ้นมาแล้วก็แข็งแรงขึ้นมา นี่แต่สิ่งที่ได้มา เห็นไหม ความอิ่มความอะไรขึ้นมา สิ่งนั้นเป็นส่วนหนึ่ง อิ่มมันไปแก้โรคหิวโรคทุกข์ไง
นี่ก็เหมือนกัน เราทำความสงบของใจ ถ้ามันว้าวุ่น มันขุ่นมัว เห็นไหม มันฟุ้งซ่าน นี่ก็เป็นความทุกข์ ถ้ามันสงบขึ้นมา เห็นไหม พอจิตมันปล่อยวางเข้ามา มันสงบขึ้นมา เวลาหิวอาหารกินเข้าไปมันก็อิ่มท้อง อิ่มท้องเดี๋ยวก็ต้องกินอีกใช่ไหม ต้องกินอีกมันต้องรักษาตลอดไป เพราะนี่มันเป็นเรื่องธรรมชาติของโลกเขา แต่เราจะทำอย่างไรให้มันถึงกับอยู่ตัวเลย ถ้าอยู่ตัวเลยมันเป็นไปได้ไง นี่มรรคละเอียดมันละเอียดเข้ามาอย่างนี้ เห็นโทษความละเอียด เห็นไหม
รูปราคะ อรูปราคะ เห็นไหม ความว่าง ต่างๆ เราต้องการสมบัติ เห็นไหม ดูสิ ดูทั้งหมดปัจจุบันเขาว่า โรคของโรครวย เรามีเงินมีทอง เราทำลายลูกเรานะ ลูกเราถ้าเราให้มันรู้จักหาอยู่หากินของมัน เห็นไหม โรครวย เราอยากรวยกัน เราอยากมีตังค์ เราอยากรวยกัน ถ้าเราใช้เงินทองเพื่อลูกเราเพื่อหลานเรา ใช้เพื่อการศึกษา เพื่อความเป็นอยู่ของเขาโดยผลประโยชน์ของเขา แต่เราให้เขามากเกินไปๆ มันก็เกิดความเสียหายเหมือนกัน นี่เราไม่เห็นโทษของมันไง
นี่ก็เหมือนกัน รูปราคะ อรูปราคะนี่ สมาบัติมันเป็นความว่างมันก็เป็นโทษ เพราะมันเป็นสังโยชน์ มันเป็นราคะ เห็นไหม ถ้าเห็นความโทษอันละเอียด ละเอียด เห็นไหม นี่ความคุ้นเคย ความคุ้นเคยมันเป็นโดยสัญชาตญาณ มันเป็นโดยธรรมชาติของมัน
นี่ร่างกายของเรา เห็นไหม ร่างกายของเรากับมือคุ้นเคยกันไหม ร่างกายกับศีรษะคุ้นเคยกันไหม เพราะอะไร เพราะมันส่งต่อกัน เห็นไหม มือเป็นผู้หาอาหาร หยิบอาหารใส่ปาก ปากเคี้ยวกินลงไปไปตกถึงกระเพาะ มันก็เป็นอาหารแผ่ซ่านเข้าไปเป็นเลือด เป็นอะไรต่างๆ ก็หล่อเลี้ยงร่างกายขึ้นมา นี่ก็เหมือนกัน ความคุ้นเคยระหว่างมือระหว่างร่างกายเรา นี่ก็เป็นความคุ้นเคยที่มันสัมพันธ์กัน มันเป็นธรรมชาติของมัน
ความคุ้นเคยของสังคม ความคุ้นเคยของสังฆะ เห็นไหม สงฆ์อยู่ด้วยกันเหมือนกับอวัยวะเดียวกัน ครอบครัวเดียวกันก็เหมือนอวัยวะเดียวกัน พ่อแม่ลูกก็เหมือนความคุ้นเคยในบ้าน ถ้าความคุ้นเคยในบ้าน อะไรมันเสียหาย อะไรมันกระทบกระเทือนกันนี่ มันก็ทำให้ร่างกายนั้นมีความกระทบกระเทือนไปด้วย แต่ความคุ้นเคยอย่างนี้มันเป็นความคุ้นเคยของโลกๆ เห็นไหม ความคุ้นเคยของโลกๆ คือว่ามันเป็นอนิจจังไง นี่ธรรมะอย่างหยาบๆ
ธรรมะอย่างหยาบๆ ครอบครัวมีความร่มเย็นเป็นสุข พ่อแม่มีความสุข ลูกมีความสุขต่างๆ นี่บุญกุศลคือครอบครัวมีความร่มเย็นเป็นสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ใช่เงิน นี่เราหาเงินหาทองกันจนเป็นปัญหา มันก็เดือดร้อนกันไปหมด เห็นไหม นี่สิ่งที่เดือดร้อนไปหมดนี่ส่วนหนึ่ง แล้วเวลาชีวิตเราก็เหมือนกัน สิ่งต่างๆ นี่โลกเป็นสภาวะแบบนี้ แล้วสิ่งที่โลกหน้าล่ะ โลกหน้าจิตนี่มันไปไหน จิตเกิดจากไหน เกิดแล้วตายไปอย่างไร ทำไมเราไม่ศึกษาสิ่งนี้ ธรรมะละเอียดเป็นสภาวะแบบนี้ไง
แล้วมันเกิดมาจากไหนล่ะ เกิดมาจากปัญญานะ เกิดมาจากความเห็น เห็นสิ่งต่างๆ ที่มันมีโทษไง ถ้าไม่มีโทษมันปล่อยวางไม่ได้ ถ้าไม่เห็นโทษของมันนะ อย่างโทษของมัน เห็นไหม อย่างเกิดมาเริ่มต้นอริยทรัพย์ มนุษย์สมบัติสำคัญที่สุด เพราะมีเราเราถึงมีสมบัติ เพราะมีเราเราถึงมีสิทธิต่างๆ ตามมาตลอดเลย เราตายลงตูม เห็นไหม สิ่งที่ตกไว้ถ้าเป็นวัตถุก็เป็นมรดกตกทอดต่อไปกับคนอื่น เราจะหมดสิทธิ์ไปเลย เพราะมันอยู่คนละโลก ตายไปแล้วหมดภาระไปแล้ว สิ่งนี้มันภาระ มันเป็นความเห็นใช่ไหม แล้วถ้าเกิดชีวิตนี้มาจากไหน สิ่งต่างๆ เกิดจากไหน แล้วเรามาทำคุณประโยชน์กับเรา เห็นไหม สิ่งที่สมมุติ สมมุติคือว่ามันอยู่กับความจริงของมัน โลกมันเป็นความจริงของมันสภาวะแบบนี้
แต่ใจนี่มันเป็นสิ่งที่ว่ามันมีอยู่แล้วมันต้องต่อไป ธรรมะจะเข้าไปชำระตรงนี้ไง ถ้าธรรมะเข้าไปชำระตรงนี้ เห็นไหม แม้แต่ความคิดความต่างๆ มันเห็นเป็นเรื่องสัจจะความจริงของสมมุติ สมมุติบัญญัติ บัญญัติธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บัญญัติ ที่เราศึกษากันนี่เป็นบัญญัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ นี่เป็นธรรมของเรา ธรรมของเราแล้ว เพราะธรรมของเราแก้กิเลสเรา ธรรมของเราแก้ความลังเลสงสัยของเรา ถ้าแก้ความลังเลสงสัยของเรา เราจะติดไหม นี่มรรคหยาบมรรคละเอียดอย่างนี้ไง ถ้าเรายังติดอยู่ เราศึกษาแล้ว เรารู้แล้ว เห็นไหม
ดูอย่างวิชาการสิ นี่ธรรมะเป็นอย่างนี้ ปล่อยวางแล้วก็ปล่อยวาง ปล่อยวางโดยกิเลสหลอกก็มี แล้วจะยึดธรรมะเกินไปก็ยึดเป็นกรอบ เห็นไหม มันติดกรอบอยู่ คนเราคิดในกรอบ กรอบกิเลสมันเป็นคนสร้างขึ้นมาให้ กรอบความคิดนี่กิเลสสร้างขึ้นมาให้แล้วเราคิดในกรอบของกิเลส แม้ว่าเป็นธรรมๆ อยู่นี่ เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันแก้กิเลสได้ไหม เพราะคิดในกรอบ กิเลสมันขี่กรอบไว้ แค่คิดอยู่อย่างนี้ ก็เหมือนอยู่กรงขัง มันไปไหนไม่ได้หรอก เหมือนติดคุกเลย ติดคุกความคิดไง ขันธ์ ๕ เป็นความคิดของเรา แล้วเราติดคุกความคิดของเรา มันจะชำระสะอาดได้อย่างไร
แต่ถ้าเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมและวินัย เป็นผู้ชี้ทางเข้ามา เป็นแผนที่เครื่องดำเนิน เห็นไหม เคารพบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีธรรมเราก็ไม่มีเครื่องจะให้เริ่มต้นจากเป็นอย่างที่เราคิดขึ้นมา ให้เราเป็นสมบัติขึ้นมา ให้ต่อยอดขึ้นมา เห็นไหม ถ้าต่อยอดขึ้นมานี่มันเป็นภาคปฏิบัติแล้ว ภาคปฏิบัติเป็นของเราแล้ว มรรคละเอียดเกิดจากเราแล้ว เห็นไหม
สมาธิก็เป็นสมาธิจริงๆ นะ ไม่ได้เป็นสมาธิแต่ชื่อ ชื่อสมาธิในพระไตรปิฎก เห็นไหม ชื่อสมาธิขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อสมาธิของครูบาอาจารย์ บอกสมาธิเป็นอย่างนั้น ปัญญาเป็นอย่างนั้น เราก็คิด ปัญญาของเราปัญญากิเลสพาใช้ทั้งหมดเลย นี่มันไปคุ้นเคยไง มันไปคุ้นเคยความคิดของตัว กิเลสมันพาให้คุ้นเคย คุ้นเคยกับตัวเรา มันเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรานะ ปฏิบัติก็เป็นเรา หิวก็เป็นเรา ทุกข์ก็เป็นเรา ปฏิบัติก็เป็นเรา เวลาภาวนาก็เป็นเรา เป็นเราไปหมดเลย เรานั่นล่ะคือตัวตน เรานั่นล่ะคือกิเลส กิเลสมันสอดเข้ามา เห็นไหม ถ้ามันเป็นเราอยู่ มันก็เป็นสมาธิขึ้นมาไม่ได้
แต่ถ้าเราสงบตัวลง เห็นไหม ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ เห็นไหม ถ้าอุปจารสมาธิพอจิตสงบขึ้นมาเห็นนิมิตต่างๆ การเห็นต่างๆ การเห็นต่างๆ พอจิตมันออกรับรู้ นั่นก็เรา เห็นไหม แต่เราเห็นล่ะ เรารู้ล่ะ เราสัมผัสล่ะ มือเอาอาหารใส่ปากล่ะ ปากได้เคี้ยวกินล่ะ นี่จิตมันเริ่มกิจจญาณ มันมีความเป็นไปของมัน นี่มรรคละเอียด ถ้าปฏิบัติไปจะเป็นอย่างนี้จริงๆ เห็นอย่างนี้จริง การกระทำจริงๆ นี่กิจจญาณในใจเป็นอย่างนี้จริงๆ ไม่ใช่ว่าเพ้อฝันๆ กันว่าปฏิบัติธรรม เพ้อๆ ฝันๆ กันนะ มันไม่ได้เรื่องหรอก
ถ้าเป็นความจริง เห็นไหม กิจจญาณเกิดขึ้นมา นี่สัจจญาณ สัจจะความจริง ใจดวงนี้มันโง่ ใจดวงนี้มันโดนหลอก ใจดวงนี้โดนความคิดในกรอบมันหลอก เห็นไหม แม้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็หลอกตัวมันเอง มันจะย้อนกลับเข้ามาๆๆ มันปล่อยวาง
คนนะถ้ามันฉลาดขึ้นมาเห็นโทษไง เห็นไหม รูปราคะ อรูปราคะนี่สมาบัติมันก็เป็นโทษ ความว่างก็เป็นโทษ เพราะอะไร เพราะใจมันเป็นผู้รู้ว่าว่าง เพราะใจมันเป็นโทษอยู่ เพราะใจมันเป็นกิเลสอยู่ใจมันก็รู้ว่าว่าง มันก็ไปติดความว่างอีก เห็นไหม ความว่างก็เป็นเรา เราใช้สมาบัติ เราก็มีความว่าง มันก็เป็นนิพพานอีก มันก็ไม่ใช่อีกล่ะ นี่ความคิดในกรอบของกิเลสไง นี่คุ้นเคย ความคุ้นเคยกับกิเลส คุ้นเคยกับเรา
ถ้ามันปล่อยวางปัญญา มันหมุนบ่อยครั้งเข้าๆ จนถึงที่สุดมันต้องสมุจเฉทปหานนะ ตทังคปหานคือปล่อยวางชั่วคราว การปล่อยวางชั่วคราวนี่ลมพัดไปมา เห็นไหม พายุเกิดขึ้นมามันก็ต้องดับ สรรพสิ่งเป็นอนิจจังทั้งหมด แล้วมันปล่อยวางชั่วคราว มันปล่อยวางโดยธรรมชาติของเขาแล้ว มันได้ประโยชน์อะไรเราขึ้นมา
ถ้าปล่อยวางโดยเรา เราชำระมัน เราทำลายมัน เราตัดกิเลสออกจากใจนี่ มันปล่อยวางจากใคร ปล่อยวางจากมรรคญาณไง ปล่อยวางจากจิตของเรา นี่ปล่อยวางไม่คุ้นเคยกับกิเลสของเรา ไม่คุ้นเคยกับความรู้ของเรา ไม่คุ้นเคยกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่คุ้นเคยกับสิ่งใดๆ ทั้งหมดเลย แล้วมันจะเป็นธรรมขึ้นมา ถ้าคุ้นเคยไปแล้วมันจะทำพาให้ติดกับกิเลสตลอดไป เห็นไหม ไม่คุ้นเคยกับสิ่งต่างๆ ทั้งนั้นเลย แล้วมันเป็นธรรมขึ้นมาเอง มันชำระของมันเอง มันเป็นธรรมเอง
ธรรมของใจ ใจเป็นธรรมเองจากหัวใจดวงนี้ เห็นไหม ก็นี่มรรคละเอียดเป็นสภาวะแบบนี้แล้วจะรู้ไปหมดเลย ถ้าไม่รู้แจ้ง ถ้าไม่เป็นสันทิฏฐิโกจะรู้อะไร ถ้าไม่รู้อะไรแล้วจะไปพูดอะไรมันก็พูดในกรอบของกิเลส กิเลสก็เอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอ้างอิง เห็นไหม แล้วก็เชือดคอเรานะ ทำแล้ว ปฏิบัติแล้ว ทุกอย่างสมควรแล้ว ทุกอย่าง... มันก็นอนจมกับกิเลสนี่ มันเลยไม่รู้ตัวเลย
แต่ถ้ามันชำระออกไปๆ เราเป็นคนชำระ เราเป็นคนเห็น เราเป็นคนสมุจเฉทปหาน เราเป็นคนทำลาย แล้วจิตเป็นธรรม ธรรมของเรา ธรรมอันนี้จะเห็นการกระทำของมันแล้ว นี่สมบัติของเรา มันเกิดจากไหนนะ ก็เกิดจากจิตนี่ เกิดจากหัวใจเรานี่ นี่จิตแก้จิต ธรรมแก้ธรรม ธรรมที่สะอาดชำระธรรมที่หยาบๆ เข้ามาไง ต้องเป็นธรรมที่ละเอียดชำระสิ่งที่หยาบขึ้นมา ปล่อยวางขึ้นมาจนถึงมันเป็นธรรมเสียเอง ใจนี้เป็นธรรม นี่วิมุตติสุข เอวัง