เทศน์บนศาลา

อู่อริยธรรม

๒๘ มี.ค. ๒๕๔๕

 

อู่อริยธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจ ตั้งใจฟังธรรมนะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โอกาสได้ฟังไม่ค่อยมีโอกาสมาก แต่ชีวิตเรา ชีวิตเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ชีวิตเราเกิดมาช่วงชีวิตหนึ่ง ชีวิตเกิดมาพร้อมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “สหชาติ” จะได้ยินได้ฟังขณะนั้น ขณะที่อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๘๐ ปี ช่วง ๘๐ ปีนั้นเป็นช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดในพุทธศาสนา แล้วก็ช่วงรุ่งเรืองของครูบาอาจารย์มา เป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา หมดช่วงรุ่งเรืองไปมันก็มีแต่ของแห้ง ของที่เก็บสะสมไว้เป็นของแห้ง

ฟังต่อหน้า เห็นไหม ธรรมะซึ่งๆ หน้า ธรรมะปัจจุบันธรรม กับธรรมะที่เราศึกษามันต่างกัน ต่างกันเพราะประสบการณ์ต่างกัน ต่างกันมากเพราะหัวใจเรา หัวใจเรามีการสะสมการผสมปัจจุบัน ในหลักการ พุทธศาสนาสมัยพุทธกาลกับตอนนี้ คำพูดก็ต่างกัน คำพูดคำสั่งสอนนั้นต่างกัน ต่างกันเพราะว่า เพราะสิ่งแวดล้อม ความเป็นไปของโลกต่างกัน คำพูดมันคำโบราณ

แต่คำโบราณกับคำปัจจุบัน ถ้าเป็นคำปัจจุบัน เราฟังเราจะซึ้งใจของเรา ถ้าเป็นคำของโบราณขึ้นไป เราฟังแล้วเราจะต้องตีความหมายอีกชั้นหนึ่ง นั่นคือฟังธรรม ธรรมนี้จะเข้าถึงหัวใจของเรา จะทำให้ใจของเราเข้าถึงสะเทือนใจ

“อู่วัฒนธรรม” เราแสวงหากัน เราตื่นเต้นกับความเป็นภายนอก อู่วัฒนธรรม ที่ไหนก็มีอู่วัฒนธรรม ความเจริญรุ่งเรืองของศีลธรรมจริยธรรม เราจะตื่นเต้น เราจะไปแสวงหา ไปเที่ยวให้ซึมซับเข้ามาในหัวใจ ไปเที่ยวชมวัฒนธรรมให้เข้ามา

แต่ “อู่อริยธรรม” อู่ของใจ ใจต่างหากเป็นผู้สร้างสมสิ่งนั้น สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ที่มีอยู่นี้ มนุษย์เป็นผู้สร้าง มนุษย์เท่านั้นเป็นผู้สร้าง แล้วมนุษย์นี้ใครเป็นคนสร้างมนุษย์? กรรม กรรมนั้นให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ กรรมนั้นที่สร้างขึ้นมา แต่สร้างในอะไร? สร้างในเรื่องของใจใช่ไหม ใจพาเกิดพาตาย ถ้าไม่มีใจมาเกิดในครรภ์ของมารดา จะไม่มีเป็นร่างของมนุษย์ออกมา แล้วใจมาเกิดในครรภ์ของมารดานั่นล่ะ อู่วัฒนธรรมมันอยู่ตรงนั้น

“อู่อริยธรรม” ถ้าธรรมถึงเป็นอริยธรรม เป็นอริยสงฆ์ขึ้นมาจะเป็นอริยธรรม ถ้าเราเข้าไม่ถึงอู่ของเรา เราทำของเราไม่ได้ มันจะเป็นไปตามประสาทุกข์โลกนี่แหละ เราตื่นเต้นกับสิ่งภายนอก ถ้าไม่มีศาสนาเราจะตื่นเต้นไปอย่างนั้น เราจะเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ สิ่งมหัศจรรย์ของโลก โลกมีอยู่อย่างนั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก แต่ใครเป็นคนสร้างขึ้นมา

แต่สิ่งมหัศจรรย์ของในตัวของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้เป็นมาตรฐาน ทุกดวงใจที่มีดวงใจในหัวใจนั้นสามารถจะทำสิ่งนี้ได้ทั้งหมดเลย สามารถทำสิ่งใด ให้ความเสมอภาคไว้กับเรา สัตว์โลกนี้ให้ไว้กับเรา ให้สามารถ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะทำได้ แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมีความจงใจมีความตั้งใจขนาดไหน ถ้ามีความจงใจมีความตั้งใจ ความจงใจและความตั้งใจของเรา มันจะทำให้เราเริ่มต้นจากการก้าวเดิน

ถ้าเราไม่มีความจงใจ ไม่มีความตั้งใจ ไม่มีความอุตสาหะ มันจะไม่ก้าวเดินของมัน มันจะอยู่ไปวันหนึ่งๆ ความเป็นไปอยู่ไปวันหนึ่งๆ แล้วก็อ่อนเนื้อ อ่อนอกอ่อนใจ ความอ่อนอกอ่อนใจของตัว ว่าตัวนี้ไม่มีอำนาจวาสนา ตัวทำอะไรไม่ได้ เพราะตัวเองไม่คิดถึงว่าคุณค่าของใจของเรา ทำไมเรามาเกิดพบพุทธศาสนา ทำไมเรามีความใฝ่ใจคิดจะออกประพฤติปฏิบัติ ความใฝ่ใจอันนี้มันเป็นคุณค่ามหาศาล คุณค่าที่เรารักษาของเรามา มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจ

แต่การประพฤติปฏิบัติมันแสนยาก ยากเพราะอะไร ยากเพราะเราไม่รู้เราไม่เข้าใจ เรามีความคาดความหมาย วัตถุสิ่งของที่จับต้องได้ ทุกคนสามารถจับพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร หลักวิทยาศาสตร์ การศึกษา การศึกษาการจำมา จำหลักวิทยาศาสตร์มาก็เข้าใจตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น อันนี้ก็เหมือนกัน การศึกษาสุตมยปัญญามา ศึกษาในธรรมะมา ศึกษามาถือว่าเข้าใจ มันเป็นเข้าใจในสุตมยปัญญา เห็นไหม อู่วัฒนธรรมมันอยู่ที่ตรงนั้นเป็นสำคัญ

อู่อริยธรรมอยู่ในหัวใจของเรา “อู่อริยธรรม” มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าเป็นอู่อริยธรรมมันต้องหาอู่อันนั้นให้เจอ มันแปลกนะ เราคิดว่าเราจะหาใจของเราให้เจอ เจออย่างไร เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราว่ามีกายกับใจตามหลักของศาสนาสอน มีกายกับใจมีความพอใจของใจขึ้นมา แล้วจึงว่าใจนี้อยู่ข้างในกายของเรา เราจับในเนื้อตัวของเราสิ จับตรงไหนทำไมก็เป็นเราไปทั้งหมดเลย สรรพสิ่งนี้เป็นเรา ยึดไปหมด ยึดไปข้างหน้า ร่างกายเราก็จัดว่าเป็นเรา สรรพสิ่งนี้เป็นเราหมดเลย

นั่นน่ะมันออกมา อู่รถ รถออกมาจากอู่ วิ่งไป วิ่งไปโดยธรรมชาติของมัน ออกไปธุระปะปัง ออกไปตามสัมมาอาชีวะของเขา เขาวิ่งผ่านไปจบขึ้นมาแล้วเขาก็เข้ามาจอดในอู่ของเขา จอดในอู่ของเขานะ ไปโดยที่ไม่มีประสบอุบัติเหตุก็ไม่มีอะไร ไม่มีอุบัติเหตุ ไม่มีความกระทบกระทั่ง รถนี้ไม่มีบุบ ไม่สลายอะไรมา แต่มันก็ต้องผ่าน ผ่านอากาศ ผ่านสุญญากาศ ผ่านลม ผ่านแดด ผ่านทุกอย่างเข้ามา

นี่เหมือนกัน เวลามันคิดออกไปจากใจ ใจออกไป ความคิดออกไป ขันธ์ออกไป ออกไปจากอู่นั้น แต่ไม่รู้เข้าใจออกไปจากอู่นั้น เข้าไป การทำงานของเรา การศึกษาของเรา การใคร่ครวญของเราเป็นอย่างนั้นตลอด มันออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ แต่มันรับรู้ไปตามหน้าที่ของมัน แล้วประสบอุบัติเหตุ ถ้าออกไปแล้วรถประสบอุบัติเหตุ รถนั้นจะบุบสลาย รถนั้นต้องเป็นแผลขึ้นมา

เหมือนกัน ใจเราไปกระทบกับความไม่พอใจ กระทบกับสิ่งต่างๆ ขึ้นมา กระทบกับความขัดเคืองใจขึ้นมา กระทบกับสิ่งใดขึ้นมา นั้นน่ะ มันออกไปจากอู่แล้ว มันก็ไปกักเก็บสิ่งนั้นเข้ามาสะสมไว้ในความเศร้าหมองใจ ใจเศร้าหมองนะ เราไปกระทบกระเทือนกับเขา แล้วเราเป็นแผลขึ้นมาอย่างนี้ สงสาร ต้องบำรุงรักษาของของเราด้วย แถมยังต้องว่า มีความเจ็บช้ำน้ำใจอยู่ในหัวใจของเราด้วย

นั่นน่ะ มันไม่เห็น ไม่เห็นอู่ของตัว คือมันไม่เห็นความสงบของตัว ไม่เห็นใจของตัว มันจะทำสิ่งใดไม่ได้ ศึกษามาขนาดไหน มันศึกษาเป็นชื่อ ชื่อของรถ ชื่อของอู่ แต่ตัวอู่ ตัวรถเราไม่เคยเห็น เราไม่เคยเห็นตัวอู่ตัวรถของเราเองเลย ตัวอู่ตัวรถของเรา คือตัวใจของเรา มันละเอียดอ่อนขนาดไหน มันจะซับสมเข้ามานะ มันจะปล่อยวางเข้ามาเป็นตัวของมันเอง เป็นตัวของมันเองได้ ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิ

ถ้ามันไม่เป็นสัมมาสมาธิ มันไม่เป็นตัวของมันเอง มันก็เหมือนกับต้องวิ่งออกไปข้างนอกไปรับรู้สิ่งต่างๆ โดยปกติของมัน การทำงานของเขาเป็นอย่างนั้น หน้าที่ของใจที่มันออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ มันจะออกไปโดยธรรมชาติของมัน เป็นอย่างนั้นเลย แล้วก็ไปรับรู้สิ่งต่างๆ เข้ามา สิ่งต่างๆ เข้ามา อันนี้เป็นธรรมชาติที่ว่า การเป็นประโยชน์กับโลกเขามันก็เป็นประโยชน์กันตรงนี้

เรื่องของโลกเขามันก็เป็นเรื่องของโลกเขา แต่เรื่องของธรรม เรื่องของธรรมต้องเรื่องของทำความสงบของใจขึ้นมาก่อน ความสงบของใจขึ้นมา มันก็มีอยู่ในตำรานะ ในชื่อสัมมาสมาธิ เราจะก็ว่า เราจะเป็นสัมมาสมาธิ เราพยายามทำอย่างไรจะให้เป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา เราต้องพยายามทำของเรา ถ้าทำของเรา นั้นคือการปฏิบัติธรรม

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ มีปริยัติขึ้นมาศึกษาเพื่อความเข้าใจ ศึกษาเข้าใจก็ศึกษาชื่อ ศึกษาที่อยู่อาศัย ศึกษาเรื่องนามธรรม ศึกษาเฉยๆ ได้แต่ชื่อเฉยๆ ยังไม่ได้ตัว ได้ตัวขึ้นมาต้องพยายามประพฤติปฏิบัติ พยายามดัดแปลงตน การบังคับตน บังคับตน บังคับตนเพื่ออะไร? ก็เพื่อบังคับใจ เพราะบังคับตน เห็นไหม อยากแล้วไม่ไป ความต้องการทะยานอยาก ต้องการสิ่งใดแล้วเราฝืน สิ่งที่ฝืนนั่น นั่นน่ะ ฝืนใจ ฝืนใจให้ใจมันเป็นอิสระเข้ามา ให้ใจเป็นอิสระ

ทำไมฝืนแล้วถึงเป็นอิสระล่ะ ถ้าปล่อยไม่เป็นอิสระเหรอ? ปล่อยมันก็เป็นตามอารมณ์ เป็นตามวัฏฏะ เป็นตามกรรมของสัตว์โลกที่เป็นไป จริตนิสัยคนต่างกัน ความชอบต่างกัน คนชอบสิ่งใดคือประสบสิ่งนั้นเข้าก็จะติดกับสิ่งนั้น คนไม่ชอบก็บอกว่าสิ่งนี้ไร้สาระ ทำไมคนเขาไปติดกันได้ สิ่งที่โลกเขาเล่นกัน ทำไมมันไปเล่นกันได้ มันไม่มีคุณค่าอะไรสิ่งใดเลย

เพราะเราไม่ชอบ มันไม่ตรงกับจริตนิสัยเรา ถ้าวันใดสิ่งที่ตรงจริตนิสัยเรา เราจะชอบสิ่งนั้น เราจะรักสิ่งนั้น เราสงวนสิ่งนั้น เราก็ติดสิ่งนั้น เราก็ติด เราติดสิ่งต่างๆ เหมือนกับเขานั่นแหละ เพียงแต่ความชอบหรือไม่ชอบ คือจริตนิสัยมันต่างกัน ความชอบ ไม่ชอบอันนั้นเข้ามา รวมเข้ามาถึงเรา

ความชอบ ไม่ชอบ นี้เกิดขึ้นมาจากการสะสมของใจ ใจสะสมขึ้นมา สะสมสิ่งต่างๆ ความอยาก ความปรารถนาต่างๆ มันปรารถนา แล้วสมปรารถนาบ้าง ไม่สมปรารถนาบ้าง ก็สะสมลงที่ใจ แล้วใจนี้ก็เวียนตายเวียนเกิด มันตกผลึกลงใจจนถึงเป็นจริตนิสัย ตกผลึกในหัวใจ ใจมันถึงน่าสงสาร น่าสงสารใจดวงนี้มาก ใจดวงนี้จะเป็นนาย ก. นาย ข. นาย ค. แล้วแต่ อันนี้เป็นชื่อสมมุติ แต่นาย ก. นาย ข. นี้มันสมมุติขึ้นมา ซ้ำขึ้นมาเท่านั้น

แต่ใจเวลามันตายไป มันก็เป็นธรรมชาติรู้ ธรรมชาติรู้ เห็นไหม ธรรมชาติสิ่งที่ต้องรู้ ธาตุรู้มันเป็นธาตุ เป็นสสารตัวหนึ่งเลย แต่สสารตัวนี้มหัศจรรย์มาก เพราะมันมีชีวิต มันมีชีวิต เห็นไหม สสารต่างๆ ไป บางอย่างมันไม่มีชีวิต มันเป็นไปตามประสามัน มันรวมตัวขึ้นมามันก็เป็นกลุ่มเป็นก้อน แตกออกไปมันก็ออกไป

แต่ใจดวงมันก็เป็นกลุ่มเป็นก้อนด้วยกิเลส ด้วยกรรม กรรมสิ่งนั้น มันสะสมใจดวงนั้น แล้วสะสมใจ หมุนเวียนตายเวียนเกิด ธาตุรู้สิ่งมันถึงพาไป ตกผลึกในตัวนี้ ถ้าทำความสงบเข้ามา ผู้ที่สงบเข้ามา ถ้าไม่ทำ ไม่เข้าถึงธรรม ไม่เข้าถึงในหลักของอริยมรรค มันก็ยังมีความรู้ความเห็นต่างๆ ได้

ใจดวงมีความมหัศจรรย์มาก จิตของคนสงบนะ นิมิตต่างๆ จะเห็นต่างๆ เห็นความแปลกประหลาด เห็นความมหัศจรรย์ เราจะตื่นกับสิ่งนั้น สิ่งนี้ไม่ควรตื่น สิ่งที่เห็นนั้นเห็นโดยตามความเป็นจริง แต่สิ่งนั้นไม่จริงเพราะมันเป็นอนิจจัง สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง มันเป็นอนิจจัง เพราะสิ่งที่เป็นอนิจจังนี้มันเกิดดับๆ สิ่งที่เกิดดับ มันไม่จริงในความเนื้อหาสาระ

แต่มันจริงในความที่เราประสบ เราสัมผัส เราสัมผัสเราประสบเองนี้มันเป็นความจริงโดยธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของจิต สะสม สัมผัสสิ่งต่างๆ สัมผัสได้ตลอดไป ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ มันโดนวนออก อุปจารสมาธิ เข้าไปรับรู้สิ่งต่างๆ แล้ววนออกมารับรู้ รับรู้แล้ว ถ้าติดก็ติดไป ติดไปก็ตื่นกับสิ่งนั้น ตื่นไปกับความเป็นเห็นของเขา ตื่นไปกับความใจมันปรุงขึ้นมาแล้วหลอกตัวเอง

ขันธ์ของเราเอง ความคิดความปรุงของเราเอง แล้วก็ปรุงขึ้นมา แล้วเราก็หลงตัวเราเอง เราก็ไม่เข้าใจตัวมันเอง นี่รถออกจากอู่ไปมันก็สัมผัส กระทบกระเทือนกับสิ่งต่างๆ สิ่งที่ขวางหน้าขวางอะไร กระทบกันไปตลอด นี่มันเป็นไปอย่างนั้น แล้วก็สะสมเอามานะ มันจะเลอะเทอะไปหมด มันจะมีสิ่งต่างๆ สกปรกโสมมในรถคันนั้นที่วิ่งออกไปแล้วกลับมา ไปเจอฝน เจอแดด เจอลม อะไรต่างๆ มันต้องสัมผัสสิ่งนั้น

หัวใจก็เป็นเหมือนกัน อาศัยขันธ์ออกไปรับรู้ต่างๆ แล้วก็เอาสิ่งต่างๆ สะสมเข้ามา สะสมเข้ามา สะสมอยู่ในใจนั้น แล้วไม่มีการปลดเปลื้องออกไปจากใจนั้นเลย มันปลดเปลื้องออกจากใจไม่ได้เพราะมันไม่รู้วิธีการ มันน่าสงสารที่ว่ามันไม่รู้วิธีการ ทั้งๆ ที่ว่าตัวเองฉลาดนะ ตัวเองนี่มีความรู้มาก ศึกษาเล่าเรียนมาขนาดไหนนั้นเป็นปัญญาของโลกียะ เป็นปัญญาของวิชาชีพ สิ่งที่เป็นวิชาชีพแก้กิเลสไม่ได้หรอก

ถ้าเราถือตัวถือตนว่าเรามีปัญญามาก เราฉลาดมาก นั้นคือคนโง่ โง่ ๒ ชั้น โง่กับกิเลสของตัวเอง กิเลสของตัวเองมันหลอกใช้ตัวเองแล้ว ตัวเองยังยึดมั่นถือมั่นว่าความคิดความเห็นนี้เป็นความเห็นที่ถูกต้อง ความเห็นของเรา นั่นน่ะ มันยึดเข้าไป ๒ ชั้น มันโง่ โง่อย่างนี้ไง แต่ผู้ที่ฉลาด กระทบกับสิ่งใดแล้วปล่อยวางสิ่งนั้นไว้ตามธรรมชาติของเขา รักษาใจของตัวเองให้ได้ ถ้ารักษาใจของตัวเองได้มันจะสงบเข้ามา

นั่นน่ะ มันจะเข้าไปเห็นอู่นั้น มันจะซ่อมรถนั้นได้ ถ้าเราไม่เห็นอู่ของเรา เราจับต้องอู่ของเราไม่ได้ เราจับต้องใจของเราไม่ได้ เราจะซ่อมสิ่งใดไม่ได้เลย เราจะแก้ไขให้เป็นอู่อริยธรรมขึ้นมา อริยธรรมนะ ฟังสิ ธรรมที่เป็นพระอริยเจ้าที่พ้นออกไปจากกิเลสนะ พ้นออกไปจากใจ ใจของเรานี่แหละที่จะพ้นออกไปได้

อู่ คูหาของใจ กิเลส ใจมันอยู่ในคูหา อยู่ในทรวงอก ถ้าเราเข้าจับต้องอู่อันนี้ได้ เห็นไหม อู่อริยธรรมเกิดขึ้นมาตรงนี้ เกิดมาตรงนี้ต้องแสวงหา การแสวงหาเป็นการแสนทุกข์แสนยาก เราเอาผ้าโพกไว้บนศีรษะ แล้วก็หาผ้าไปตลอดไม่เคยเจอผ้านั้นเลย เหมือนกับเราหาใจเรา ใจของเราอยู่กับเราแท้ๆ อยู่กันในหัวใจของเราแท้ๆ อยู่ที่ความรู้สึกเราแท้ๆ แล้วเราก็รู้สึกของเราอยู่ แต่รู้สึกโดยเปลือก รู้สึกโดยความรู้สึก ความรู้สึกกับตัวของใจ

เวลาจิตสงบเป็นสมาธิ คนทำสมาธิขึ้นมา มันจะซึ้งใจมากว่ามันโล่ง มันโถง มันปล่อยวาง...มันรู้เฉยๆ แต่ไม่รู้โดยขันธ์ สิ่งที่เรารู้อยู่ทุกวันนี้เรารู้โดยขันธ์ รู้โดยสังขารปรุงแต่ง สังขารเกิดดับ เกิดดับที่จิต แล้วมันไม่ใช่จิต มันเกิดดับจากจิต มันไม่ใช่จิต แล้วมันก็ฉุดกระชากลากจิตนี้ออกไป ฉุดกระชากให้ไปตามความเห็นของมัน วิญญาณรับรู้ปรุงแต่งเข้าไป แล้วก็หมุนออกไปหมุนออกไปอย่างนั้น นี่คือปัญญาของโลกเขา

ปัญญาของโลกคือปัญญาของมนุษย์ มนุษย์เกิดมามีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ทำงานของมันทำงานอย่างนี้ ถ้าขันธ์ ๕ ทำงาน จะทำงานอย่างนี้ ทำงานไป แล้วก็ไปจำเอาความรู้ต่างๆ การทฤษฎีต่างๆ ที่เขาสอนกัน จำสิ่งนั้นมา แล้วว่าตัวเองรู้ตัวเองฉลาด นั่นน่ะ มันโง่ ๒ ชั้น โง่ตรงนี้ ผู้ที่มีความฉลาด ผู้ที่ยึดมั่นความเห็นของตัว ผู้นั้นโง่หมด

ผู้ใดยึดความรู้ของตัว ยึดความเห็นของตัวว่าความเห็นของตัวถูกต้อง ความเห็นของตัวดี ถ้ามันดีขึ้นมามันก็ปั่นป่วนใจ มันดีขึ้นมามันก็ยึด สิ่งที่ยึดนั้นมันขุ่นอยู่แล้ว ขุ่นในใจ ใจจะขุ่นมัวแน่นอน ผู้ยึดมั่นถือมั่นในเรื่องของความคิดของตัวเอง จะทำให้ใจนี้ฟุ้งซ่าน ใจจะฟุ้งซ่านมาก มันจะให้เติมแต่เชื้อไฟเข้าไป เราจะประพฤติปฏิบัติเพื่อความสงบ แต่มันจะเติมเชื้อไฟเข้าไปในหัวใจ ทำเชื้อไฟเข้าไป เติมเข้าไป จนกว่ามันจะเร่าร้อน มันจะเผาไหม้ใจ อันนั้นเป็นปัญญาประพฤติปฏิบัติเหรอ

มันไม่ใช่ปัญญาประพฤติปฏิบัติ มันเป็นปัญญาของโลกเขา แต่เพราะเราไม่เข้าใจ เห็นไหม มันยาก ยากตรงนี้ ยากเพราะเราไม่เข้าใจเรื่องปัญญาของเรา ไม่เข้าใจว่าในภาคปฏิบัตินั้นปัญญาคืออะไร ปัญญายังไม่เกิดหรอก

“ภาวนามยปัญญา” ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นจากความสงบของใจ แล้วใจนี้ทำงานชอบ ชอบโดยความสุจริตของมัน ชอบโดยความสุจริต แล้วมันทุจริตอย่างไร ทุจริตเพราะมันไปตู่ มันไปตู่ในความเห็น ตู่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นความทุจริตของใจ ใจจะกล่าวตู่ทุกอย่าง ความรู้ของตัวนี้เป็นความรู้ที่ความเห็นตรงตัว ความเห็นของตัว ความรู้ของตัวเป็นความเห็นที่ถูกต้อง เป็นความเห็น นี่คือการงาน

พยายามจะรักษาใจนะ ว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติ แล้วพยายามทำใจให้เกิดปัญญาขึ้นมา...มันเป็นสัญญาที่เราวางหลอกตัวเองไว้ เราหลอกตัวเองไว้แล้วก็ล้มไปกับความเห็นของตัวเอง แล้วอย่างนี้หรือมันเป็นภาวนามยปัญญา มันถึงภาวนามยปัญญาไม่เกิด เพราะความยึดมั่นถือมั่นของตัว ความยึดมั่นถือมั่นของตัว ความเห็นของตัว ความโง่ของตัวเองต่างหากยึดความเห็นของตัวว่าอันนี้เป็นปัญญา มันก็เป็นปัญญาของโลก เป็นปัญญาจริงๆ แต่เป็นสุตมยปัญญา

สุตมยปัญญามันกวนใจ มันจะกวนใจเพราะเรารู้สิ่งต่างๆ เรารู้สิ่งนั้นเราก็รู้ สิ่งนี้เราก็รู้ แล้วก็เทียบเคียงใจเข้ามา เป็นสัญญาเทียบเคียงกับใจ เป็นสัญญาเทียบเคียงเข้ามา แล้วมันได้อะไรขึ้นมา ได้แต่ความว่าเราก็เหนื่อยเปล่า ทำงานแล้วเหนื่อยมาก จิตนี้หมุนไปตามความเห็นของตัวแล้วก็เหนื่อยอ่อนไปตามความเห็นนะ แล้วก็มีแต่ความเศร้าหมอง เศร้าหมองของใจ เพราะมันไม่ทิ้ง มันไม่ยอมละความเห็นผิด

ถ้ายอมละความเห็นผิด ความเห็นผิดมันจะเป็นความเห็นถูกขึ้นมา อันนี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เป็นบาทเป็นฐาน ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราเข้าใจสิ่งนั้น นั่นน่ะ เราจะก้าวเดินเข้ามา เราจะหดตัวเข้ามาถึงที่สุดของเรา ถึงในใจของเราได้ ถ้าเราหดตัวเข้ามา อันนั้นความสงบเข้ามาเกิดขึ้น ความว่างเกิดขึ้นทุกคนก็รู้ รู้นะ ถ้ามันเป็นความว่างสัมผัสใจ แต่รู้ขึ้นมาแล้วก็อยากได้ อยากให้มันเป็นไป อยู่กับเรานานๆ มันเป็นไปไม่ได้

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมนี้ สรรพสิ่งต่างๆ นี้เป็นอนัตตาทั้งหมด ธรรม เห็นไหม ธรรมทุกอย่างเป็นอนัตตา แม้แต่การก้าวเดินมา เราก้าวเดินมา เราจะมาตามถนนหนทาง เราไปตามถนนหนทาง ทุกอย่างเราต้องก้าวเดินไป เราจะยึดถนนเป็นเราไม่ได้ ถนนเป็นถนน เราเป็นเรา คนเดินถนนเป็นคนเดินถนน ถนนนั้นเป็นถนน ไม่ใช่คน ถนนเป็นอันเดียวกัน

สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาวนามยปัญญาก็เหมือนกัน สิ่งที่เป็นสุจริตธรรม มัชฌิมาปฏิปทามันก็เป็นธรรมเข้าไปกำกับกิเลสในหัวใจเหมือนกัน เข้าไปจำกัดกิเลสในใจแล้วไม่ใช่ตัวใจ เพราะเจอตัวใจนี้เป็นตัวใจบริสุทธิ์ผุดผ่องออกมาจากการประพฤติปฏิบัตินั้น ใจนี้ถ้าเข้าถึงความจริงแล้ว มันรู้จริงแล้วมันจะปล่อยวางสิ่งที่เป็นทุกข์ในหัวใจ

ทุกข์เพราะไม่รู้ถึงยึด เห็นไหม ยึดเพราะความเห็น ยึดความเห็นยึดขันธ์เท่านั้นมันก็เป็นทุกข์แล้ว แล้วทำความสงบของใจขึ้นมาไม่ได้ เพราะความเห็นของตัว ความไม่รู้ของตัว แล้วความกลัวตัวเองว่าตัวเองจะไม่รู้ด้วย กลัวตัวเองจะไม่รู้ ตัวเองจะไม่ฉลาด ตัวเองจะไม่ทันกับโลกเขา มันก็เลยเป็นค่ากิเลส กิเลสมันหลอกอย่างนี้ หลอกหัวใจให้หมุนไปในอำนาจของมัน แล้วเราก็ไม่เคยเข้าคูหา เข้าอู่ใจของเราได้เลย

ถ้าเข้าอู่ของใจเราไม่ได้ เราจะไม่สามารถชำระกิเลสได้ เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ

มโนวิญญาณ วิญญาณปฏิสนธิเกิดจากใจ เกิดมาในครรภ์ของมารดา แล้วขึ้นมาถึงได้ร่างกายมนุษย์มา ถึงจะได้ขันธ์ ๕ ได้ความคิดเห็นมา มโนวิญญาณ มโนวิญญาณ แล้วมโนสัมผัสล่ะ สิ่งที่เราสัมผัสอยู่นี่มันเป็นวิญญาณ วิญญาณอายตนะ วิญญาณอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อาศัยใจสัมผัส อาศัยใจเข้าไปรับรู้ด้วย ถึงออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ สิ่งต่างๆ นั้น นี่ธรรมชาติเป็นแบบนี้

แล้วเราก็ไม่เคยเห็นตัวตนของเรา เราไม่เข้ามาศึกษาตัวของเรา เราจะศึกษาเรื่องข้างนอก ศึกษาแต่เรื่องเป็นไปจากข้างนอก ศึกษาสิ่งต่างๆ ศึกษาอยากรู้อยากเข้าใจ ศึกษาธรรมก็ศึกษาอย่างนั้น เพราะธรรมที่ศึกษานั้นเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แล้วก็วางธรรมไว้ให้พวกเราก้าวเดิน ก้าวเดินก็ต้องศึกษาให้เข้าใจก่อน ให้เข้าใจ ให้เข้าใจในวิธีการก้าวเดินนั้นไป

แต่เราศึกษาวิธีนั้น เราก็ยึดว่าเป็นของเรา นั่นน่ะ กล่าวตู่ กล่าวตู่ว่าเป็นสมบัติของเรา มันไม่เป็นสมบัติของเราตามความเป็นจริง มันเป็นสมบัติยืมมา จำของเขามาเป็นของเราได้อย่างไร เพราะจำของเขามา มันจะเป็นของเราขึ้นมามันต้องผุดขึ้นมากลางหัวใจ ต้องทำให้เข้าใจในหัวใจ เห็นไหม นี่ธรรมผุด ผุดอย่างนี้ ผุดขึ้นมากลางหัวใจ กลางใจขึ้นมา ขึ้นมาเห็นแล้ว ความเห็นแล้วมันก็เห็นความฟุ้งซ่าน เห็นความปล่อยวางเข้ามา

นี่มันจะสงบเข้ามาอย่างนี้ จะสงบเข้ามาๆๆ จนถึงจิตตั้งมั่น ถ้าใจตั้งมั่นนะ นั้นควรแก่การงาน ถ้าใจควรแก่การงาน มันถึงจะยกขึ้นวิปัสสนา นี่มันไม่กล่าวตู่ มันเป็นไปตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงที่เราจะประพฤติปฏิบัติ ตามความเป็นจริงที่เราจะก้าวเดินของเราไปได้ เราจะก้าวเดินของเราไปได้ ใจดวงนั้นเป็นผู้ที่จะก้าวเดิน ใจดวงนั้นเป็นผู้ที่ว่าจะพ้นจากกิเลส ใจดวงนั้น อู่ของอริยธรรมอยู่ตรงนั้น เราแสวงหากันต้องแสวงหาตรงนี้

ทำความสงบของใจๆ พยายามทำความสงบของใจ ความสงบของใจเข้ามา มันได้ความสุขอันหนึ่ง เพราะมันลดมันปล่อยวางทิฏฐิมานะของตัว ถ้ามันเกิดยึดทิฏฐิมานะของตัวว่าตัวรู้ ตัวฉลาด มันจะไม่มีความสงบเข้ามาของใจอยู่อย่างนั้น มันจะสงบเข้ามาไม่ได้ เพราะตัวทิฏฐิมานะมันขวางอยู่แล้ว ทิฏฐิความเห็นผิดอันนี้มันจะขวางใจไปตลอด ขวางใจตลอด

ความดำริผิด แล้วมันจะเป็นความชอบได้อย่างไร ถ้าความดำริผิด ดำริในการยึดนั้น มันไม่ได้ดำริในการปล่อยวาง ถ้ามันดำริในการปล่อยวาง รู้แล้ววางๆ สิ่งใดรู้ต้องวางทั้งหมด วางไว้ทั้งหมด วางให้ วางหมด พอวางขึ้นไป รู้เพื่อวางไม่ใช่รู้เพื่อยึด รู้เพื่อวาง วางเข้าไปๆ มันวางเข้าไป มันก็จะปล่อยเข้ามาเรื่อย ปล่อยเข้ามา มันจะรู้ตาม

สติสัมปชัญญะ สติตัวระลึกรู้อยู่ ระลึกรู้ที่ใจทำงานอยู่ ระลึกรู้ตามใจเข้าไปตลอด มันคิดขนาดไหนนะ สิ้นสุดของกระบวนความคิดมันต้องหยุด ความคิดทุกๆ อย่างจะรักสงวนขนาดไหน จะดีจะชั่วขนาดไหนก็แล้วแต่ ความคิดนั้นถึงที่สุดแล้วมันต้องพัก มันจะคิดตลอดไปไม่ได้ เพราะมันเกิดดับ สิ่งที่มันเกิดดับ ถ้ามีสติสัมปชัญญะตามมันรู้ไปอยู่ มันจะรู้เท่าทัน แล้วมันจะเห็นว่านี้คือโทษ

โทษเพราะเราไม่ปล่อยเอง โทษเพราะเราไม่ปล่อย ถึงเราไม่ปล่อย เราหลงมา มันก็คิดมาถึงสิ้นสุดความคิดของมัน มันก็ปล่อย ธรรมชาติของมัน ถ้าสติตามเห็นตรงนี้มันจะเตือนใจตัวเราเอง เตือนใจเราว่า นี่ไง ความจริงมันเป็นแบบนี้ แต่เพราะความยึดของเรา จะให้มันว่า ยึดของเราแล้วจะให้มันหยุด ยึดขนาดไหน คิดขนาดไหน นั่นน่ะ เติมฟืน เติมฟืนเข้าไปในความคิดของตัว ถ้าเติมฟืนเข้าไป มันก็คิดต่อไปๆ

ถึงคิดต่อไปแล้ว ธรรมชาติของมันก็หยุดโดยธรรมชาติของมันเอง พอธรรมชาติของมันหยุด มันก็ยังเห็นได้ ยังเห็นได้ในขณะที่มันหยุด แล้วขณะที่ว่าเราทำให้มันหยุดล่ะ สติเหนี่ยวรั้งไว้ๆ มันต้องหยุดได้ พอมันหยุดได้ขึ้นมา มันก็จะรู้ว่าเป็นผลของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นทำได้ หรือว่าใจดวงนั้นเป็นคุณค่าของใจดวงนั้น มันจะปล่อยวางๆ นี่ปัญญาอบรมสมาธิ

ปัญญาอบรมสมาธิมันเป็นขั้นของสมถะทั้งนั้น จะปัญญาขนาดไหน เป็นความคิดขนาดไหน เป็นของสมถธรรม สมถธรรมทำให้เราพ้นจากวงจรแรงดึงดูดของกิเลส แรงดึงดูดของกิเลส ให้ใจนี้มีอำนาจเหนือใจเรา แล้วมันก็หมุนไปตามอำนาจของมันๆ จนกว่าธรรมะนี้เข้าไปเหนี่ยวรั้ง สติสัมปชัญญะเข้าไปเหนี่ยวรั้งจนมันเป็นอิสระขึ้นมา มันปล่อยวาง มันไม่อยู่ใต้อำนาจของกิเลส ถ้ามันอยู่ใต้อำนาจของกิเลสมันเป็นอิสระชั่วคราวๆ

แต่เดิมรถออกจากอู่ต้องขับเคลื่อนไปโดยกิเลส แต่พอถ้าทำความสงบของตัวอย่างนี้ รถนี้จะขับเคลื่อนไปโดยธรรม ถ้ารถนี้ขับเคลื่อนไปโดยธรรม ความคิดความเห็นมันจะเป็นโดยธรรม ถ้าความคิดความเห็นเป็นโดยธรรม มันคิดเห็นโดยธรรม เห็นโดยความถูกต้อง...

ถูกต้องสิ คนเราเกิดมา ไม่มีสิ่งใดคงที่ทั้งหมด สิ่งใดมันต้องแปรสภาพทั้งหมด

แต่ความยึดของใจ ใจมันยึดสิ่งที่ว่า ยึดตัวตน ยึดความเห็น ยึดความคิด ความคิดนี่มันยึดมาก ยึดตัวตนยึดความคิดของเราว่าสิ่งนี้เป็นเราๆ สิ่งที่เป็นเรา ลืมคิดไปไงว่าสิ่งที่เรานั้นมีกิเลสอยู่ด้วย สิ่งที่มีกิเลสอยู่ด้วย กิเลสมันปลิ้นปล้อน มันปลิ้นปล้อนมันหลอกลวง มันหลอกลวงให้กับใจดวงนี้เกิดตายๆ มา ไม่มีภพไม่มีชาติ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับไปทางบุพเพนิวาสานุสติญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด ใจดวงหนึ่งไม่มีที่สิ้นสุดเลยว่ามันเกิดตายมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วมันก็หลอกใจเรามาขนาดที่ว่าเกิดตายมาตลอด แล้วในปัจจุบันนี้มันก็หลอกอยู่ มันหลอกอยู่ ถ้ามันหลอก คำว่า “หลอก” เราก็ศึกษาธรรมมา เราต้องเข้าใจสิ

มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่ใช่ปัจจุบันธรรม ไม่ใช่เราเห็นซึ่งหน้าว่าสิ่งนี้หลอกเราอยู่

สิ่งที่เราทำอยู่ ทุกอย่างมันเป็นบ้าตัวหนึ่ง นี่อาจารย์บอก สรรพสิ่ง กิริยาในการทำมันเป็นบ้าตัวหนึ่ง แต่มันถูกในขณะที่ประพฤติปฏิบัติ การยึดต่างๆ มันไม่ปล่อย การประพฤติปฏิบัติ มันเป็นสิ่งที่ว่ามันเป็นความทุกข์อันหนึ่ง เป็นความแสวงหาอันหนึ่ง

มันถูก ถูกในการแสวงหา ถ้าไม่มีเหตุจะเอาผลมาจากไหน ถ้าเราจะคาดหมายแต่ผล ธรรมะนี่มีแต่ผลนะ มรรคผลนิพพานเป็นอย่างนั้นๆ นิพพานนี้มีความปล่อยวางอย่างนั้น เราก็ปล่อยวางแต่เริ่มต้น ปล่อยวางนี่กิเลสมันหลอก มันปล่อยวางได้อย่างไร ปล่อยวางขนาดไหนมันก็เหมือนกับปล่อยวางที่ว่ามันเป็นสมถะ มันไม่ได้วิปัสสนา

มันปล่อยวางด้วยสมถะ คือว่ามันสิ้นสุดมันก็ปล่อยวางโดยธรรมชาติของมัน ทุกข์ขนาดไหนแล้วมันต้องดับ มันเป็นอนัตตาโดยเนื้อหาสาระ แต่มันไม่เป็นอนัตตาโดยความเห็นของเรา เราไม่เห็นอนัตตาในความเป็นจริง แต่เนื้อหาสาระของเขา เขาก็เป็นอนัตตาของเขาอยู่แล้ว สรรพสิ่งในโลกนี้ต้องแปรสภาพทั้งหมด สิ่งที่แปรสภาพอยู่นี่มันต้องแปรสภาพไปโดยธรรมชาติของมัน มันเป็นอนัตตาโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว

แต่คนเมื่อก่อนไม่มีใครเข้าใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเห็นเรื่องอนัตตาจากภายนอก เรื่องความสงบ ตั้งแต่เรื่องนางพิมพาขึ้นมา ตั้งแต่ราหุลเกิดขึ้นมา ความเป็นภาระผูกพันมันเกิดขึ้นแล้ว มันยังมีความแปรปรวนมาตลอดเวลาแล้ว นั่นน่ะ นั้นก็ไม่เข้าใจ แต่เป็นคติให้สามารถทิ้งออกมา ให้สามารถทิ้งสิ่งที่ว่าเป็นภาระรุงรังที่ยึด ยึดให้ตัวเองต้องตกอยู่ในปลักของกิเลสนั้น ทิ้งออกมาเพื่อแสวงหาโมกขธรรม เห็นไหม เพื่อแสวงหาโมกขธรรม นั้นมันเป็นเรื่องของโลกที่ว่ามันหมุนไปโดยเป็นอนัตตาโดยเนื้อหาสาระ แต่ไม่เป็นสัจจะความจริงขึ้นมาในหัวใจ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ตรัสรู้ธรรม ธรรมก็มีอยู่ ธรรมนี้มีอยู่แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปรู้ธรรมเท่านั้น ตรัสรู้ธรรมตามความเป็นจริง ใจนี้เข้าไปรู้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้เข้าใจ

พอรู้ตามความเป็นจริง มีอำนาจเหนือกว่ามันก็ชำระกิเลสได้ สิ่งที่ชำระกิเลสได้ มันจะย้อนกลับมาดูแล้ว มันถึงสลดสังเวช สลดสังเวชกับความเป็นไปของกิเลสไง กิเลสมันยึด แล้วเรากิเลสเต็มหัวใจ เรายึดของเราแล้วเราปล่อยวางของเรา ปล่อยวางด้วยปัญญาความคิดของเรา เราไม่ใช่ปล่อยวางด้วยตามความเป็นจริง

ปล่อยวางตามความเป็นจริงมันต้องยกขึ้นวิปัสสนา จะยกขึ้นวิปัสสนามันต้องมีความสงบของใจเป็นพื้นฐาน ถ้าใจไม่สงบเป็นพื้นฐาน กิเลสเข้าไปใช้งานทั้งหมด กิเลสเป็นเรา เรานี้เข้าไปใช้งานในความเห็นของเราทั้งหมด ถ้าเราใช้ในความเห็นของเรา ความเห็นของเรา เห็นไหม มันก็ต้องน่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ “น่าจะ” เป็นอดีตอนาคต

พอ “น่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้” เพราะเราศึกษาธรรมมา เราคาดหมาย เราคาดหมายว่าธรรมต้องแปรสภาพอยู่แล้ว เราก็แปรสภาพให้เป็นความจริง มันเป็นความสร้างภาพ มันเป็นการสร้างจินตนาการขึ้นมา แล้วสร้างจินตนาการเป็นอย่างนั้น แล้วจะให้เป็นตามความเป็นจริง...ไม่จริงหรอก ไม่เป็นตามความเป็นจริง เพราะมันไม่กระทบตามเป็นปัจจุบัน

ถ้ากระทบปัจจุบันนะ จิตสงบขึ้นมายกขึ้นพิจารณากาย เห็นกายขึ้นมาจะตื่นเต้น ขนพองสยองเกล้านะ การเห็นกายของในดวงตาของธรรม ถ้าธรรมนี้เห็นกาย เห็นจิตขึ้นมา มันจะเป็นอำนาจวาสนา มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นประโยชน์ เพราะมันสามารถจับต้องสิ่งนั้นได้ พอจับต้องสิ่งนั้นได้ นั่นน่ะ มันจะเป็นงานขึ้นมา

เราทำ เห็นไหม เราทำงานของเราขึ้นมา เราต้องหาสถานที่ทำงาน นี่ก็เหมือนกันเราจะพิจารณากายของเรา เราต้องเห็นกายของเรา ถ้าไม่เห็นกายของเรา มันเห็นแต่กายนอกเข้ามา มันเป็นการปลดปล่อย ปล่อยให้จิตนี้เป็นอิสระเข้ามา มันอยู่ในวงของสมถะ มันจะปล่อยวางขนาดไหนมันเป็นวงของสมถะ มันไม่สามารถชำระกิเลส นี่ไง มันถึงไม่เป็นธรรมที่เป็นอริยธรรมขึ้นมาในหัวใจ

ถ้ามันเป็นอริยธรรมขึ้นมา เห็นไหม อกุปปธรรม ธรรม สภาวธรรมอันนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปรสภาพ จะคงที่ไปเลย อริยธรรมเป็นสิ่งที่คงที่ แล้วเป็นสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจ สิ่งที่มีอยู่ในใจเพราะใจนี้เป็นเนื้อของธรรม เป็นเนื้อ แต่ตอนนี้มันโดนกิเลสปกปิดไป เพราะตัวใจเป็นตัวธรรมอันหนึ่ง สรรพสิ่งมันเป็นสสาร เป็นธาตุรู้อันหนึ่งที่สามารถเข้าถึงธรรมได้ เข้าถึงธรรมได้ด้วยการประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่เข้าถึงธรรมได้ด้วยการคาดการหมาย

การคาดการหมายนั้นกิเลสมันหลอก หลอก ๒ ชั้น หลอกว่าเราประพฤติปฏิบัติธรรม หลอกว่าเราศึกษาธรรม หลอกทั้งหมดนะ แล้วมันก็ไม่สมความปรารถนา ไม่สมความปรารถนาของเรา มันก็เป็นสมความปรารถนาของกิเลส กิเลสมันก็พาไป พาหมุนเวียนไปๆ นั่นน่ะ เราเป็นฝ่ายแพ้ ถ้าเราเป็นฝ่ายแพ้ เราจะโดยฉุดกระชากลากไปในความเห็นนั้น ความเห็นนั้นจะกระชากลากเราไปเป็นความเห็นของเขา แล้วเราก็เชื่อเขาไปพักหนึ่ง จนกว่าจะมีเราจะมีสติสัมปชัญญะว่าสิ่งนั้นผิด

ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะมันให้ผลเป็นความทุกข์ ผิดเพราะมันให้ผลเป็นความที่ว่าเราเร่าร้อน มันไม่ใช่ถูกต้องตามธรรม ถูกต้องตามธรรมต้องมีความสงบเย็นใจ ธรรมให้คุณค่าความสงบเย็นของใจ ให้คุณ เห็นความเห็นความถูกต้อง ให้มีความเห็นแล้วมันปล่อยวางสิ่งที่เราชำระล้างสะสางออกจากใจ ชำระล้างสะสางออกจากใจนะ เรื่องใจ เรื่องอำนาจวาสนาเป็นส่วนหนึ่ง เรื่องของกิเลสเป็นส่วนหนึ่ง

พระสารีบุตรเป็นพระอรหันต์ กระโดดข้ามคลองกระโดดอะไร นั้นเป็นจริตนิสัยของพระสารีบุตร แต่กิเลสในหัวใจพระสารีบุตรไม่มีเลย แต่ขณะที่เรามีอยู่ มันจะเป็นสันดาน หรือจะเป็นกิเลสแล้วแต่ เราต้องรวบยอดบังคับทั้งหมด ขณะที่เราก้าวเดินเราต้องบังคับทั้งหมด สิ่งใดฝืนต้องฝืน สิ่งใดเป็นประโยชน์ที่ว่าสิ่งนี้เป็น ฝืน ฝืนในการไม่ทำความเพียรมาทำความเพียร ถ้าเราทำความเพียร สิ่งนั้นเราฝืนจากกิเลส

กิเลสชอบสะดวกสบาย ชอบอยู่เฉยๆ ชอบอยู่ความนอนใจของมัน มันจะนอนใจแล้วมันจะว่าสิ่งนั้นเราทำอยู่แล้ว เรากำหนดก็ได้ เราทำอะไรก็ได้ เรากำหนด เห็นไหม กำหนดอยู่แล้วมันก็เป็นการประพฤติปฏิบัติอยู่แล้ว นั่นน่ะ มันอ่อนด้อย

หลักของใจ ถ้าใจไม่มีหลัก พุทธานุสติเป็นยึดมั่น ถ้ามีพุทโธๆ คำบริกรรมอยู่ หรือมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา นั้นต้องมีหลักของใจ ถ้ามีหลักของใจ การสะสมจากของใจขึ้นไป นั่นน่ะ หลักของใจเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าหลักของใจ ถ้าหลักของใจตั้งมั่น ความตั้งมั่นนั้นจึงเห็นภาพชัด เห็นภาพในอะไร? เห็นภาพในสติปัฏฐาน ๔ ชัดเจน

ถ้าใจไม่ตั้งมั่น มันเป็นการเห็น เห็นเป็นนิมิต เห็นเป็นชั่วคราว แล้วจับต้องสิ่งนี้ไม่ได้ สิ่งนี้มันแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา แปรสภาพไปตามความเห็นของเขา ถ้าแปรสภาพไป เราก็เห็นชั่วครั้งชั่วคราว ก็แวบไปชั่วครั้งชั่วคราว มันได้แล้วก็หลุดมือไป ได้แล้วหลุดมือ นี่นิมิตเป็นแบบนั้น

แต่ถ้าใจตั้งมั่นแล้ว ความเห็นขึ้นมา มันจะเหมือนจอภาพทีวีเลย ภาพนั้นจะคงที่อยู่ ใจนี้จะเห็นกายโดยธรรมชาติของมันๆ แล้วพยายามทรงสิ่งนี้ไว้ เพราะมันเห็นแล้วมีความตื่นเต้น มีความไม่เข้าใจ การรักษาไง การรักษาใจเป็นเรื่องแสนยาก แล้วใจเป็นเครื่องมือเข้าไปสัมผัสธรรม สิ่งที่ไปจับต้องสัมผัสธรรมขึ้นมา เราจับต้องแล้วเราต้องประคองสิ่งนั้นไว้ สิ่งนั้นไว้เพื่อเป็นวิปัสสนา พยายามวิปัสสนาว่าสิ่งนี้มันต้องแปรสภาพโดยธรรมดาของมัน มันแปรสภาพ

ในชีวิตของเรา ๘๐ ปีถึงจะตายไป คนตายไปแล้ว ถึงเวลามันจะเน่าเปื่อย มันต้องใช้เวลากี่วันก็แล้วแต่ แต่ขณะที่จิตมันสงบขึ้นมามันจะเร็วมาก มันจะวิปัสสนาไป มันจะแปรสภาพไปทันทีถ้ากำลังพอ ถ้ากำลังไม่พอ มันไม่เป็นไปในความเห็นของเราหรอก มันไม่เป็นไป พอไม่เป็นไป แล้วมันจะเสื่อม มันจะหลุดมือเราไป เราถึงต้องถอยกลับมาทำความสงบของใจ

การก้าวเดินของเรา ต้องก้าวเดินเข้าไปทั้ง ๒ ทาง ก้าวเดินเข้าไป ก้าวเดินทั้งทางสัมมาสมาธิด้วย ก้าวเดินทั้งทางวิปัสสนาด้วย นี่มันถึงเป็นก้าวเดินถูกต้อง ถ้าความก้าวเดินถูกต้อง นั่นน่ะ งานชอบ ภาวนามยปัญญาเกิดตรงนี้ ภาวนามยปัญญาจะเกิด เกิดขึ้นจากการภาวนา เกิดขึ้นจากการเราส่งเสริมขึ้นไป

ไม่ใช่ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นจากปัญญาที่เราศึกษามาแล้ว ศึกษามาแล้วเป็นสุตมยปัญญา เป็นวิชาชีพ เป็นความเห็นของโลก อย่าเอาเข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งนี้ ถ้าเอาเข้ามาเกี่ยวข้อง นี่ปัญญาความโง่เขลาของเรา ปัญญาความโง่ของเรา แต่เป็นปัญญาทางฉลาดของกิเลส กิเลสมันฉลาด มันต้องการให้เราพลัดพราก ต้องการให้เราหลุดมือออกไป หลุดออกไปจากการประพฤติปฏิบัติ มันไม่ต้องการให้เราเข้าถูกทางหรอก มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้เราถูกทาง เห็นไหม นั่นน่ะ อำนาจของกิเลสในหัวใจของเรา

ถ้าเราจะโกรธ เราจะโมโหให้ใคร เราควรจะโกรธ ความจะโมโหให้กับกิเลสของเรา ควรจะโกรธควรจะโมโหให้ว่า สิ่งมันเป็นความหลงผิด แล้วทำไมเราไม่เห็นโทษของมัน ถ้าเห็นโทษของมัน แล้วนอนจมอยู่กับมันได้อย่างไร สิ่งที่นอนจมอยู่กับมัน เรานอนจมอยู่กับมันแล้วเราก็ต้องเกิดตายไปอย่างนี้ สภาวะอย่างนี้ เรายังต้องการอยู่อีกหรือ ถ้าเราไม่ต้องการ ทำไมเราไม่หาทางออก นี่กำลังใจเกิดเกิดอย่างนี้

วิธีการเพิ่มกำลังใจของเรา วิธีการที่จะให้เราได้ริเริ่ม ถ้ามีความริเริ่ม ความใหม่ๆ จะเกิดขึ้น ถ้าเราริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมา เราจะพาประพฤติปฏิบัติของเรา เราจะก้าวเดินออกไป ถ้าเราไม่ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เราสะสมอยู่ของเก่า แล้วมันก็ผิดพลาดไปตลอดๆ สะสมสิ่งใหม่ ไม่ต้องกลัว เราอย่าไปกลัวความผิดพลาด ความผิดพลาดนั้นมีมาทุกคน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประพฤติปฏิบัติถึง ๖ ปี แล้วสะสมมาเพื่อเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญญาบารมีมาขนาดไหนยังมีความผิดพลาด มีความ...จนสุดท้ายแล้วย้อนกลับมาถึงตอนที่ว่า โคนต้นหว้านั่นน่ะ สุดท้ายแล้วมันก็ไม่พ้นจากบุญญาบารมีที่สร้างสมมา เห็นไหม มาที่โคนต้นหว้า นั่งความสงบของโคนต้นหว้า นั่นน่ะ สัมมาสมาธิ อานาปานสติ ทำสัมมาสมาธิ ทำใจให้สงบขึ้นมา

นี่ก็เหมือนกัน เราทำความสงบของเราขึ้นมา ทำใจของเราขึ้นมาจนตั้งมั่น จนวิปัสสนาได้ จนภาวนามยปัญญาเกิด ถ้าภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นมา มันจะแยกแยะ มันจะชำระสะสาง ความสะอาดจะเกิดขึ้นเพราะภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นแล้ว มันจะหมุนไปโดยธรรมจักร จักรนี้ได้เกิดขึ้นในหัวใจของเรา จักรนี้ได้เกิดขึ้นมา มันจะทำอู่อริยธรรมนี้ให้เป็นอู่อริยธรรมขึ้นมาโดยเนื้อหาสาระ โดยความเป็นจริง โดยความเป็นจริง ไม่ใช่โดยความคาดหมายโดยความคาดหมายด้วยการเทียบเคียง

ใจของพระอริยเจ้า ใจของพระองคุลิมาล ใจของพระสารีบุตร ใจของพระต่างๆ สำเร็จที่ไหนๆ นั่นข่าวของเขา ข่าวของเรา ข่าวในการประพฤติปฏิบัติของเรา ข่าวความเห็นของเรามันจะเกิดขึ้นจากเรา เกิดขึ้นจากเราตรงที่ว่าเรามีความวิริยอุตสาหะ แล้วย้อนกลับมากลางหัวใจ เวทีสนามรบอยู่ที่กลางหัวใจของเรา กลางหัวใจของเราที่เราจะศึกษาเราจะต่อสู้กันนี่อยู่ที่กลางหัวใจของเรา

สิ่งต่างๆ ข้อวัตรปฏิบัติเป็นเครื่องดำเนิน สิ่งต่างๆ เป็นเครื่องอยู่อาศัย เครื่องอยู่อาศัยเพื่อดำรงชีวิตนี้ไว้ ชีวิตนี้ไว้เพื่ออะไร? เพื่อการประพฤติปฏิบัติ เพื่อการชำระสะสางกิเลส ถ้ากิเลสหลุดออกไปจากใจ งานจบสิ้นแล้ว นี้คืองานชอบ นี้คือความเห็นถูกต้อง นี้คือสิ่งที่ว่า ชีวิตนี้เป็นอิสระเสรีภาพ แต่ในเมื่อชีวิตนี้ยังเป็นบ่าวของเขา ยังเป็นบ่าวของกิเลสอยู่ ต้องพยายามประคองใจขึ้นมา สร้างสมขึ้นมา ทำความสงบของใจ ต้องทำความสงบของใจ

ใจนี้เป็นบาทฐาน ถ้ามีความสงบของใจ งานนี้จะเป็นงานชอบ

งานวิปัสสนามันจะก้าวเดินขึ้นไปโดยธรรมชาติของมัน ถ้ามันวิปัสสนาแล้วมันโยกมันคลอนแคลน พิจารณาแล้วไม่ขาดตอน มันไม่ขาดออกไป พิจารณาแล้วมันไม่ขาด นั่นน่ะ เราต้องปล่อย กลับมาทำความสงบของใจ ทำความสงบของใจเป็นพื้นฐาน อันนี้เป็นพื้นฐานโดยธรรมชาติเลย

แล้ววิปัสสนาขึ้นไป มันปล่อยวางขึ้นไป มันก็กลับไป กลับเข้าไปถึงความสงบเข้าไป มันปล่อยวาง ปล่อยวางสิ่งนี้ มันไม่เหมือนกับปล่อยวางที่เราทำปัญญาอบรมสมาธิหรอก ปัญญาอบรมสมาธินี่เราปล่อยวางด้วยความข้องใจเฉยๆ ด้วยความเกี่ยวข้องของใจ ด้วยขันธ์กับจิตมันเคยเดินไปด้วยกัน แล้วมันปล่อยวางออกจากกัน เป็นอิสระจากกันชั่วคราว

แต่การปล่อยวางอย่างนี้ เป็นการปล่อยวางสิ่งที่ต่อเนื่อง สิ่งที่เกี่ยวเนื่องระหว่างขันธ์กับจิตที่มันเกี่ยวเนื่องกัน จิตนี่เกี่ยวเนื่องกับขันธ์แล้วมีความเห็นผิดชอบ ความเห็นผิด ความเห็นผิด แล้ววิปัสสนาเข้าไป ให้ความเห็นผิดหลุดออกไป มันปล่อยวางด้วยการชำระกิเลสไปพร้อมกัน มันปล่อยวางพร้อมกับปล่อยกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปๆ

ความปล่อยวางอย่างนี้ต่างหากๆ ปล่อยวางอย่างนี้ถึงปล่อยวางด้วยอำนาจของภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญามีอำนาจเหนือมัน แล้วทำให้มันปล่อยวางได้ ไม่ใช่ปล่อยวางด้วยความเห็น ไม่มีการปล่อยวางด้วยความเห็น ไม่มีการปล่อยวางด้วยความเข้าใจ ไม่มี สิ่งนี้ต่างหากมันเข้าไปชำระสะสางกัน มันมีความถูกต้องขึ้นมาแล้ว มันความเห็นถูกต้อง เห็นถูกต้อง มันความเห็น เห็นด้วยการวิปัสสนา

มันไม่ใช่ความเห็น ความรู้ความเห็นที่ว่า เราเข้าใจศึกษา เข้าใจเทียบเคียงขึ้นมา อันนี้มันความรู้ที่ว่าเราพิจารณาเข้ามาๆ นั่นน่ะ ขั้นของปัญญา ถ้าขั้นของปัญญานี้มันกว้างขวาง เราจะเทียบเคียง เมื่อทีแรกบอกว่า เทียบเคียงไม่ได้ สิ่งที่ว่าเป็นวิปัสสนา สมถะเทียงเคียงไม่ได้ มันเทียบเคียง มันจะไปเทียบเคียงของเขา มันไม่เกิดสัมมาสมาธิขึ้นมา มันไม่ใช่ขั้นของวิปัสสนา

ถ้าขั้นวิปัสสนานี้มันก็กลับเข้าไปเทียงเคียงเหมือนกัน เทียบเคียงว่า มันเทียบเคียงอย่างไร แต่เทียบเคียงด้วยมรรคอริยสัจจัง เทียบเคียงด้วยภาวนามยปัญญาที่มันหมุนตัวไป ความหมุนตัวไปของสัจธรรมอันนี้ นี่ภาวนามยปัญญา หมุนไปจนกว่า...พิจารณาซ้ำซากเข้าไปๆ จนกว่ามันจะขาดออกไปจากใจ สิ่งนี้ขาดออกไปนะ

ความเห็นผิดในกาย สักกายทิฏฐิ ๒๐ เห็นว่ากายเป็นเรา เราเป็นกาย ขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ทุกข์เป็นขันธ์ ๕ สิ่งต่างๆ มันหลุดออกไปจากใจ พ้นออกไปจากใจโดยธรรมชาติเลย นี่อริยภูมิของใจขึ้นมาชั้นหนึ่ง ใจเป็นอู่อริยธรรมขึ้นมา ใจยกขึ้นมาเป็นอริยธรรมชั้นหนึ่ง แล้วยกขึ้นเป็นอริยธรรม

คนเราเคยทำมา มันเห็นผลงานขึ้นมาแล้วมีความสุข มีความสุขมากนะ มันโล่งโถงนะ เดินเหมือนกับลอยไปหลายวันเลย เดินเหมือนกับลอย เหมือนกับไม่ได้เดิน ทั้งๆ ที่เดินอยู่ แต่ใจมันเบา ความเบาของใจ ความที่ว่าหนักอึ้งด้วยกิเลสตัณหามาตลอด ตลอดภพตลอดชาติมา ไม่เคยพบสิ่งนี้ แล้วมันหลุดออกไปจากใจ มันจะเบา มันจะเคลื่อนไปเหมือนลอยไป พักหนึ่ง มีความสุขมาก

สุดท้ายแล้ว เราก็ต้องยกขึ้นวิปัสสนาต่อไป เพราะงานเราเข้าใจว่างานเรายังมีอยู่ งานเรายังมีอยู่ ทำความสงบของใจแล้วยกขึ้นวิปัสสนาต่อ วิปัสสนาเพื่อความเลาะออกไปให้มันลึกเข้าไป ให้ใจมีคุณค่ามากขึ้นไปๆ คุณของความสะดวก คุณของความสะอาด ความสะอาด ความสงบในหัวใจ มันจะละเอียดเข้าไป อย่างนี้มันสงบส่วนหนึ่ง มันปล่อยวางกิเลสได้ส่วนหนึ่ง

แต่ความที่ว่า สิ่งที่ว่ามี สิ่งที่กิเลสมันลึกซึ้งกว่า มันจะอยู่ในชั้นที่ลึกกว่า เราต้องเข้าไปจับต้องให้ได้ ถ้าเข้าไปจับต้องได้ นั่นก็เป็นวิปัสสนาเหมือนกัน ถ้ายังจับต้องไม่ได้ เราก็เดินวนเวียนอยู่นั่น นั่นน่ะ รถออกไปจากอู่เหมือนกัน ชนกับสภาวะต่างๆ ชนไปจนรถนี้แหลกลาญก็ไม่เข้าใจสิ่งนี้ ถ้าไม่จับต้องเข้ามาในกายชั้นใน ถ้าจับต้องเข้ามาในกายชั้นในขึ้นมา มันจะชนกับสิ่งใดๆ มันก็ชนด้วยอำนาจของธรรม

ถ้าธรรมพาชน ชนกับกิเลสๆ กิเลสเป็นนามธรรม รถเราจะไม่สึกหรอไม่ผุกร่อนเลย รถเราจะคงสภาพขึ้นมา แต่กิเลสต่างหากมันจะต้องหลุดลอยออกไปจากใจ แต่ถ้ากิเลสพาชนกับอารมณ์ต่างๆ นั่นน่ะ มันมีความทุกข์ มีความเร่าร้อนของใจ ถ้าพาชนกับสิ่งต่างๆ พาชนกับสิ่งที่ความเห็นผิดของใจ ชนกับกิเลส นั่นน่ะมันเป็นความทุกข์

กับเราเอาธรรมพาชน พาชนกิเลสนี้มันถึงจะเป็นความสุขเข้ามา เป็นความสุขเข้ามานะ เป็นความปล่อยวางสิ่งนั้นต่างๆ เข้ามา ถ้ามันความชนแล้วมันเข้าใจ จับต้องสิ่งนั้นแล้ววิปัสสนา วิปัสสนาทำความเห็นของเรา ขันธ์เป็นขันธ์ ไม่ใช่จิต จิตนี้เป็นจิต แต่มันอาศัยกันอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว แล้วมันก็เป็นไปตามอย่างนั้น มันเป็นไปตามอย่างนั้นโดยธรรมชาติของเขา

เหมือนกัน ขันธ์จะเป็นครบวงจรได้ อารมณ์จะเกิดขึ้นมา ขันธ์ ๕ เป็นรูปของจิต รูปของจิตหมุนไป มันจะหมุนตัวออกไป หมุนออกไปๆ ออกไปเอาอะไร? ออกไปเอาอารมณ์สิ่งต่างๆ เอาความเข้ามาหมักหมมใจ เอาสิ่งที่หมักหมมใจเข้ามาฝังในใจไว้ แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นมาในหัวใจ มันก็ต้องเกิดความเศร้าหมอง เกิดความเศร้าหมอง

ถ้าเราวิปัสสนาเข้าไป เราทำความเข้าใจของเราไป มันจะเกิดอะไร? มันจะเกิดความผ่องใส เกิดความผ่องใส เกิดความปล่อยวางสิ่งนั้น มันปล่อยวางจะปล่อยวางขึ้นมาด้วยอำนาจของธรรม ด้วยอำนาจของธรรม ไม่ใช่ด้วยอำนาจของความคาดหมาย อำนาจของความคาดหมายมันเป็นการคาดการหมายไป อำนาจของธรรมเกิดจากความเป็นจริง เกิดจากการประพฤติปฏิบัติของเรา สะสมสิ่งนั้นเข้ามา

สะสม เห็นไหม สะสมความเพียรขึ้นมา ถ้าความเพียรเราสะสมขึ้นมามันเจริญขึ้นไปได้ เด็กอ่อน ผู้ใหญ่ก็มาจากเด็ก เด็กมาจากไหน? เด็กเกิดมาจากปฏิสนธิ อันนี้ก็เหมือนกัน เราตั้งตัวขึ้นมา เรายืนขึ้นมาได้แล้ว เราพยายามสะสมขึ้นไป ให้เราเป็นผู้ใหญ่ขึ้นไป ให้เราเป็นคนที่มีอำนาจวาสนามากขึ้นไป

เราต้องย้อนกลับเข้ามาวิปัสสนา วิปัสสนา วิปัสสนาในสิ่งที่กระทบกระเทือนใจ จับสิ่งนี้กระทบวิปัสสนาไปเลย จับสิ่งนี้มาตั้งแล้วแยกแยะออก มันแยกแยะได้ ถ้ามันรวมตัวขึ้นมา มันก็ดึงเราไปตามอำนาจของมัน ถ้าเราแยกแยะไป เห็นไหม ธาตุเป็นธาตุ จิตเป็นจิต ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันแยกออกจากกันได้ วิปัสสนาไปมันจะกลับไปคืนสภาวะเดิมของเขา

ธรรมมันแปลก แปลกตรงนี้ แปลกตรงที่ว่า ถ้าเราเห็น มันเห็นสภาวะอย่างนั้นได้อย่างไร ถ้าคนเห็นจริงนะ เพราะเห็นเป็นกายขึ้นมาใช่ไหม ถ้าเห็นเป็นกายขึ้นมา ให้มันแปรสภาพออกไป น้ำกลับคืนสภาวะน้ำ ไฟ ธาตุไฟ ธาตุลมออกไปก่อน แล้วดินกลับไปสภาพความเป็นดิน มันไม่มีอะไรนี่ ร่างกายนี้มันไม่มีอะไร ธาตุ ๔ นี้มันคืนสภาวะเดิม แล้วเราไปติดในอะไร

มันเห็นจริงอย่างนั้น นี่ถ้าพิจารณากาย มันจะเห็นจริงตามสภาวะนั้นเลย พอเห็นจริงมันก็ต้องปล่อย มันปล่อย มันปล่อยๆ ปล่อยซ้ำๆ เข้า มันก็ขาด พอขาด ใจก็เป็นใจ กายก็เป็นกาย แยกออกจากกัน แยกออกจากกันโดยธรรมชาติของมันเลย สิ่งนี้อยู่กันโดยเก้อๆ เขินๆ ต่างอันต่างจริงอยู่ด้วยกัน อยู่ด้วยกันก็อยู่ด้วยจริง

อู่อริยธรรมขึ้นมามันมีขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง อีกชั้นหนึ่งว่า เขาอยู่ของเขา ต่างฝ่ายต่างอยู่ เขาไม่รวมตัวกันแล้วสร้างรวมตัวกันให้เป็นความทุกข์กับเรา ถ้าเขารวมตัวกันนะ เมื่อก่อนเขารวมตัวกัน เขาก็มีอำนาจเหนือเรา เขาหมุนไป นั่นน่ะ อำนาจของกิเลส กิเลสสมานสิ่งนี้ สมานเรื่องของธาตุขันธ์ ให้ยึดมั่นถือมั่นเป็นเรา

สิ่งที่เป็นเราเพราะมันยึดมั่นด้วยความเห็นผิด แต่ในเมื่อธรรมเข้าไปชำระล้างแล้ว มันปล่อยออกไปหมด มันจะขาดออกไปจากใจ เวิ้งว้างจิตจะเวิ้งว้าง ปล่อยวางโล่งโถงไปตลอด ติดได้ สามารถติดได้เลยว่าสิ่งนี้เป็นผล แต่ความจริง กายถ้าไม่ละเอียดยังจับต้องไม่ได้ ถ้าจับกายที่ไม่ละเอียด ระยะทางการก้าวเดิน เราจะเดินเข้าไปถึงจุดหมายปลายทางของเรา เราเดินจากเริ่มต้นเข้าไป ระยะทางตรงนี้ครึ่งทาง

สิ่งที่ถึงครึ่งทางแล้ว ครึ่งทางข้างหน้า เราเคยทำงานมาใช่ไหม เราเคยเดินมาแล้ว ร่างกายเราต้องเหนื่อย ทุกอย่างเราต้องใช้พลังงานไปแล้ว แล้วข้างหน้าจะทำอย่างไรต่อไป พลังงานมันจึงต้องใช้งานมาก มันถึงต้องพยายามทำความสงบของใจ ทำความสงบของใจ ย้อนความสงบอันนั้น ย้อนความเวิ้งว้างอันนั้น ย้อนกลับเข้ามา

ใจมันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์นะ ถ้ามันคิดถึงสิ่งใด มันเชื่อสิ่งใด มันจะยึดมั่นถือมั่นสิ่งนั้น ความเห็นก็เหมือนกัน ถ้าเห็นว่าเราสิ้นแล้ว เห็นว่าสิ่งนี้เป็นผลของเรา มันจะติดอยู่ตรงนั้น มันไม่ย้อนกลับ สิ่งที่ย้อนกลับคือย้อนกลับเข้ามา ใจนี้ย้อนกลับได้เหมือนกระแสไฟ ไฟ ไฟฉายส่งออกไป แล้วเราทวนกระแสไฟนั้นย้อนกลับเข้ามา

มันจะย้อนกลับเข้ามาจับตัว ตัวธาตุอันละเอียด ตัวธาตุอันละเอียดนั้นเป็นอสุภะ-อสุภัง ตัวร่างกายอันละเอียด ถ้าร่างกายอันละเอียด เห็นไหม ธาตุอันละเอียด แต่ถ้าจับต้องจิต มันก็จับต้องเวทนา จับต้องความรู้สึกของจิตนั้นได้ ตัวนี้เป็นตัวกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะนี้ฝังอยู่ที่ใจ สิ่งที่เป็นกามราคะนี้ ถ้าเป็นความสะดวก มันเป็นความสวยงาม

สิ่งที่เป็นความสวยงามฝังอยู่ที่ใจ ย้อนกลับมาจับตรงนี้ได้ ขนพองสยองขวัญ มันจะมีความตื่นเต้น มีความตื่นเต้นในหัวใจของเรา ขนพองสยองเกล้า จับสิ่งนี้ได้จะขนพองสยองเกล้า แล้วมีอำนาจ เห็นไหม การต่อสู่ ถ้าในการต่อสู้กันมันจะมีอำนาจเหนือเรามาก สิ่งต่างๆ เริ่มการต่อสู้ อำนาจของกามราคะนะ สิ่งที่เป็นกามราคะ สิ่งที่โลกนี้เกิดขึ้นมา มันเป็นเรื่องของโลกที่หมุนเวียนไปทั้งหมด

กามราคะนี้พาให้คนเกิดคนตายนะ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติอยากจะก้าวรอด ไม่รอด ก็ตรง ตรงที่ข้ามโอฆะของใจให้ได้ ถ้าข้ามโอฆะของใจเราได้ พ้นจากตรงนี้ไป แล้วปลอดโปร่ง ปลอดโปร่งเพราะอะไร เพราะผ่านตรงนี้ได้ ผ่านขั้นกามได้นะ มันจะผ่านขั้นกามไป มันไปเกิดบนพรหมโดยธรรมชาติของมัน ถึงอย่างไรมันก็ต้องสุกไปข้างหน้า

แต่ถ้าไม่ถึง ไม่ผ่านกาม มันยังเกิดในกามภพอยู่ สิ่งที่เกิดในกามภพอยู่ก็ต้องเกิดเป็นมนุษย์อีก เราจะไม่ไปเกิดในครรภ์ จิตนี้จะไม่ปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาอีก จะไม่นอนในอู่ ในอู่ของครรภ์ของมารดา แต่พยายามจะนอนในอู่ของใจ พลิกอู่ของใจให้ได้ ถ้าพลิกอู่ของใจได้ก็ไม่ต้องเข้าไปอู่ของครรภ์ของมารดา

ถ้าพลิกอู่ของใจได้ เห็นไหม จับตรงนี้ให้ได้แล้ววิปัสสนาเข้าไป วิปัสสนาเข้าไป ความหลอกลวงของใจ ความหลอกลวงของกิเลส กิเลสจะมีอำนาจกำลังของมันมหาศาล กำลังของมันมหาศาล จะทำสิ่งนี้ลากถูไป เราหาต้นทุนนะ เราหาต้นทุนของเรา เราจะทำสิ่งใดต่างๆ เราต้องทำการค้า เราต้องมีต้นทุน อันนี้ก็เหมือนกัน เราสร้างความสงบของใจ แล้วย้อนกลับมาจับสิ่งนี้ได้ นี่เป็นต้นทุน

แล้วในการทำธุรกิจ ในการทำธุรกิจการค้าขาย มันต้องมีการซื้อขายแลกเปลี่ยน ต้องมีวิธีการใช้ไหม อันนี้ก็เหมือนกัน ในการที่เราจะพลิกแพลงให้ชนะกิเลสให้เข้าใจเรื่องของกิเลส กิเลสมันจะผลักไสเต็มที่ มันจะมีวิธีการของมันจะทำให้เราหลงไป ทำให้เราคล้อยตามมันไป สิ่งที่คล้อยตามมันไป เราก็เดินตามกิเลสตลอด

การต่อสู้นี่มีการต่อสู้อย่างมหาศาลในหัวใจของเรา มันจะต่อสู้กัน ต่อสู้ด้วยอำนาจของธรรม ถ้าธรรมนะมีอำนาจ จนบางทีมันต่อสู้จนมันหมุนไปนะ จนทำความสงบไม่ได้ มันต่อสู้เพราะมันเห็นคุณค่าที่ว่าเราจะเอาผลงานไง เอาผลงาน มันจะต่อสู้มากใช้พลังงานไปมาก จนไม่ได้ทำความสงบของใจ ความสงบของใจไม่พอ มันทำไปโดยแบบคนที่ไม่มีแรง

เหมือนกับที่ว่าเราทำไปโดยที่ว่าเราล้ามาก เราอ่อนล้าแล้วเราก็จะทำงานของเราไป ถ้าทำงานของเราไป งานนั้นจะไม่เป็นผล มันจะไม่สมประกอบเพราะเราอ่อนล้ามาก มันต้องย้อนกลับมาพักความสงบ แต่มันพักยาก แต่เดิมเราทำความสงบของใจทำแสนยาก มันจะคิดด้วยปัญญาโลกียะ คิดไปอยู่อย่างนั้น แล้วเราพยายามผ่านประสบการณ์ของเราขึ้นมา ๒ ชั้น ๓ ชั้นขึ้นมา

จนถึงปัจจุบันนี้ เรากำลังต่อสู้กับกามราคะอยู่ เราทำไมเราพักความสงบของเราไม่ได้ เหมือนกัน มันจะทำความสงบของเราไม่ได้ พื้นฐานของเรามันดึงไปไง กิเลสมันดึงไปสิ่งนั้น น้ำป่ามันดึงใจไป ใจจะหมุนไปกับสิ่งนี้ เวียนไปๆ สิ่งนั้น จนอ่อนล้าเต็มที่เลย จะต้องพยายามกำหนดพุทโธๆๆ จนต้องทำใหม่ ทำเหมือนคนหัดปฏิบัติก็ต้องทำอย่างนั้น เพื่อทำให้ใจสงบเข้ามาให้ได้

ถ้าใจมันสงบเข้ามา มันถึงจะมีกำลังพอจะฟันตรงนี้ให้ขาด ถ้าใจของเราสงบไม่พอ มันก็หมุนเวียนไปอย่างนั้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ความทุกข์มาก การประพฤติปฏิบัติ ในการประพฤติปฏิบัติ ในการทำความเพียร คนทำความเพียรขึ้นมาแล้ว ถ้าก้าวสูงขึ้นไปมันจะมีความสุขขึ้นไป...

ถูกต้องนะ อย่างเช่นอริยภูมิชั้นแรกๆ มีความสุข มีความสุขมาก ที่ว่าตัวนี้เหมือนกับลอยไปตลอดเลย แต่มันก็เป็นความสุขช่วงนั้น แต่กิเลสที่มันมีความละเอียดกว่าในหัวใจ มันก็ให้ความเร่าร้อนมา เราก็พยายามสร้างสมขึ้นมา จนมันเห็นเป็นธาตุเป็นขันธ์มันปล่อยวางออกไป นั้นก็เป็นอีกชั้นหนึ่ง

อันนี้ก็เหมือนกัน เห็นเป็นกามราคะต่อสู้อยู่ ว่ามันจะเป็นความสุข มันแสนทุกข์แสนยาก การประพฤติปฏิบัติที่มันทุกข์ มันทุกข์ตรงนี้ ทุกข์มาก ทุกข์จริงๆ ทุกข์แสนสาหัสเพราะอะไร เพราะเป็นการต่อสู้ที่จะเอาชนะกิเลสให้ได้ จะเอาชนะกามราคะไง มันการเชือดเฉือนการต่อสู้กัน ที่ว่าถ้ามันขาดขึ้นมา เราจะไม่มาเกิดในกามภพอีกเลย มันต่อสู้ขนาดนั้น นั่นน่ะ ถ้าทำได้ขนาดนั้น มันจะเห็นคุณค่าของมัน เห็นงานในการต่อสู้ เห็นคุณค่าของเรา เห็นพลังงานของเรา เห็นความเพียรของเรา

ความเพียรที่ถูกต้อง ในการต่อสู้มีการต่อสู้ที่ถูกต้อง มรรคอริยสัจจังที่ถูกต้อง มันเป็นการใส่เข้าไปทั้งชีวิตจิตใจนะ เอาตายนี้เข้าแลกเลย แต่ไม่ตายหรอก กิเลสมันหลอก มันจะหลอกว่าตายเอย มันจะหลอกว่าเราเป็นคนที่ขี้ทุกข์ขี้ยาก คนอื่นเขามีความสุขมากกว่าเรา ทำไมเขาไม่ต้องทำความเพียรแบบเรา ทำไมเขามีความสุขในโลก เห็นไหม นี่กิเลสมันหลอก มันหลอกอย่างนั้น

มันจะหลอกให้ความเพียรนี้ล้มไปๆ ถ้าล้มไปมันกำลังจะได้เสียกัน กำลังจะชนะหรือแพ้กัน เราจะเป็นฝ่ายแพ้ เราจะต้องเป็นฝ่ายแพ้ เราจะเป็นฝั่งท้อถอยออกมา ท้อถอยออกมา ขณะที่มันต่อสู้อยู่นี่ใครจะเป็นเครื่องเตือนใจล่ะ มันไม่มีอะไรเตือนใจ เราสู้โดยตัวของเราเอง เวลามันแพ้ขึ้นมามันก็น้อยเนื้อต่ำใจ มันก็ถอยออกมาๆ แต่สุดท้ายแล้วมันก็ต้องก้าวเดินตรงนี้ มันต้องผ่านตรงนี้ ต้องก้าวเดินผ่านเข้าไป ถ้าไม่ผ่านเข้าไป การประพฤติปฏิบัติของเราก็จะไม่เจริญก้าวหน้า

ถ้าการประพฤติปฏิบัติของเราจะเจริญก้าวหน้า เราจะต้องผ่าน ในกามราคะ เราต้องผ่านความเห็น ผ่านเข้าไปให้ได้ ผ่านเข้าไปด้วยการเห็นโทษของมัน กามราคะนี้เป็นเรื่องความสุภะ-อสุภะ เป็นความสวยงามเป็นความติดข้องของใจ ความพอใจ ความเห็นใจ ใจรักสงวนตัวเอง นั่นเป็นเพราะสิ่งนั้น สิ่งที่สวย สิ่งที่มีคุณค่า สิ่งที่งาม เราจะเก็บรักษาไว้ สิ่งที่ไม่มีคุณค่า สิ่งที่เป็นสิ่งที่ไม่สวยงาม สิ่งที่ว่าเราไม่พอใจ เราจะทิ้งไป

ถ้าธรรมะเกิดขึ้นมา ฝ่ายตรงข้าม สุภะนี้มันเป็นความคาดหมายต่างหาก มันเป็นความหลงผิดของใจต่างหาก มันไปความเห็นว่าสิ่งนี้เป็นอสุภะนี้เป็นสุภะต่างหาก แล้วธรรมเข้าไปเห็นว่าสิ่งนี้เป็นอสุภะ มันไม่ใช่สุภะ

มันเป็นสุภะเพราะความคาดความหมาย ความจินตนาการของเรา มันพอใจของเรา เราจะต้องว่าเราดี เราจะว่าตัวเราถูกต้อง เราจะต้องว่าตัวเราทำอะไรแล้วมันจะเป็นความที่ว่าเราต้องรักษาตัวเอง เรารักตัวเอง ตัวเองต้องถูกต้อง ตัวเองต้องดีหมด

นี้ก็เหมือนกัน ความเห็นของเราเป็นความเห็นผิด พอเห็นผิดมันก็ต้องยึดความเห็นของเราว่าความเห็นของเราถูกต้อง ความเห็นของเราดี เห็นไหม นี่วิปัสสนาเป็นธรรมเข้าไปจะเห็นเป็นอสุภะ เห็นเป็นความแปรสภาพ เห็นเป็นความเน่าเปื่อย เห็นเป็นความที่ว่า ไม่เป็นความจริงของมันเอง มันเป็นโดยธรรมชาติของมัน เป็นธรรมชาติเพราะอะไร เพราะเวลาคนตายไปแล้วหรือสิ่งต่างๆ มันต้องแปรสภาพตลอด มันจะสู่สภาวะใหม่ตลอดไป มันซ้อนกัน สภาวะเดิมกับสภาวะใหม่มันซ้อนกันตลอดไป แล้วเราไม่เห็นมันเป็นอดีตอนาคต

แต่ถ้าสภาวธรรมมันเจริญขึ้นมา มันจะเห็นความทันเข้าไป ทันสิ่งนั้นคือยับยั้งมันได้

น้ำป่า เริ่มยับยั้งน้ำป่าได้ น้ำป่านั้นจะปล่อยวางลง ปล่อยวางลง ปล่อยวาง เริ่มเป็นฝ่ายชนะบ้าง แพ้บ้าง ชนะบ้าง แพ้บ้าง จนกว่ามันจะถึงที่สุด มันจะต้องขาดออกไป กามราคะ นี่ขันธ์ของจิตกับจิตจะขาดกันตรงนี้ ขันธ์ ๕ กับจิตขาดกันขาดกันหมดเลย พอขาดตรงนี้ นี่ไม่ไปเกิดในกามภพอีกแล้ว ไม่ไปเกิดในเทวดาอีกแล้ว สิ่งนี้จะไม่เกิดเป็นเทวดา เพราะเทวดาก็มีขันธ์เหมือนกัน

พอสิ่งนี้ขาดออกไป เหลือแต่ใจล้วนๆ ตัวใจล้วนๆ นั้น นั่นน่ะ คือตัวอู่ของใจ ตัวใจคือตัวอู่โดยธรรมชาติของมัน ตัว อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อยู่ตรงนั้น ต้องย้อนกลับเข้าไปตรงนั้น อู่อริยธรรม ถ้าใจนี้ทำใจให้เป็นธรรมขึ้นมา ตัวอู่อริยธรรมคือตัวของใจ ถ้าตัวในอู่นี้ยังเป็นตัวอวิชชาอยู่ ตัวอู่ตัวนี้มันก็ยังต้องไปเกิดบนพรหม

แต่ตัวอู่นี้เราได้เห็นหน้าของอู่แล้ว เราได้เห็นอู่ของเราเอง เราได้เห็นใจของเราเอง พยายามย้อนกลับสิ่งนี้เข้ามา ย้อนกลับเข้ามา สังเกตความเศร้าหมอง ความผ่องใส สังเกตความรู้สึกของใจ ใจมันจะรู้สึกขนาดไหนมันก็จะมีความพอใจและไม่พอใจในหัวใจนั้น มันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก

กิเลสแต่เดิมขึ้นมามันเป็นความหลงผิด เพราะว่ามันอาศัยจากอวิชชาไปในขันธ์ ความหลงผิดไปมันมีสิ่งกระทบ มันยังหลงผิดได้

แต่ตัวของใจไม่มีสิ่งกระทบ มันเป็นตัวของมันล้วนๆ ขึ้นมาโดยอิสรภาพของมัน อิสรภาพของมัน เห็นไหม แต่อิสรภาพโดยอำนาจของอวิชชา รู้ตัวเอง แต่รู้แล้วรู้สิ่งต่างๆ รับรู้สิ่งต่างๆ แต่ไม่รู้ตัวเอง “รู้” แต่ไม่รู้จักตัวเอง จนกว่าธรรมนี้จะเข้าไปให้เขาหันกลับไปจับตัวเขาเองได้ ถ้าหันกลับไปจับตัวเองได้ นั้นคือย้อนกลับเข้ามาจับตัวอวิชชา ถ้าจับตัวอวิชชาได้นั้นก็เป็นงานเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นงานเกิดขึ้น เป็นวิปัสสนาเกิดขึ้น วิปัสสนาเกิดขึ้นตรงนั้น เห็นไหม วิปัสสนาอย่างนี้มันไม่ใช่วิปัสสนาแบบขันธ์ ๕

ถ้าขันธ์ ๕ ขันธ์กับจิต การต่อสู้กันมันจะกระทบกระเทือนกัน วิปัสสนาไป ปัญญามันจะหมุนเวียนไป แต่อันนี้มันเป็นความละเอียดอ่อน มันเป็นญาณ ญาณหยั่งรู้เข้าไปจับรู้สิ่งนั้น เหมือนกับราหูอมจันทร์ ราหูอมจันทร์ เห็นไหม อมจันทร์เข้าไปๆ อันนี้ก็เหมือนกัน ให้ธรรมมันอมใจเข้าไป วิปัสสนาเป็นญาณ ญาณนี้ละเอียดเข้าไป กลืนกินใจเข้าไป จนมันพลิกคว่ำปั๊บ หมด

“อู่อริยธรรม” คือเรื่องของหัวใจ ใจนี้เป็นธรรมทั้งแท่ง ใจที่เป็นธรรมทั้งแท่งเป็นอู่ของอริยธรรม อู่ของอริยธรรมภายนอกนั้นเป็นความเห็นเกิดขึ้นจากเรื่องของใจ เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ใจนี้เป็นผู้ที่มีความสุข มีความละเอียดอ่อน เป็นผู้มีศิลปะ เป็นผู้ประดิดประดอยขึ้นมา แต่ใจดวงนี้ก็เป็นผู้ทำขึ้นมา

แต่ใจของเรา มันเป็นความพ้นจากกิเลส พ้นจากกิเลสออกไป แล้วเอาความสุขของใจเข้ามาให้อยู่ในหัวใจของเรา ถ้าในหัวใจของเรา เห็นไหม อันนี้เป็นความสุขอันหนึ่ง เป็นความสุขอันหนึ่ง แล้วการสั่งสอน การบอกกล่าว อันนั้นเป็นศิลปวัฒนธรรมที่จะกล่าวสอนได้ มันอยู่ที่ใจของแต่ละดวง ถ้าได้สะสมมา การแสดงธรรม การแสดงออกมันจะทำให้เข้าใจได้

แต่ถ้าไม่ได้สะสมสิ่งนี้มา เห็นไหม ชำระกิเลสออกจากใจ แล้วก็ออกจากใจเฉยๆ จะเทียบเคียง...บอกว่ารู้ไหม? รู้ แต่อธิบายอย่างไร? อธิบายออกไปไม่ได้ๆ การสื่อความหมายออกไปไม่ได้

แต่ถ้าการสื่อความหมายออกไปได้ ทั้งรู้ ทั้งสื่อได้ ทั้งรู้แต่สื่อไม่ได้ กับที่ว่าไม่รู้แล้วสื่อ พระอานนท์เป็นพระโสดาบัน กล่าวสอนให้พระผู้ปฏิบัติเป็นพระอรหันต์ขึ้นมามหาศาลเลย เป็นพระโสดาบันนะ “รู้” รู้แค่โสดาบัน แต่สิ่งต่อไปนี่รู้จากจำมา แต่ก็สั่งสอนได้เหมือนกัน นั้นเป็นพระอานนท์เพราะสร้างสมบารมีมา

แต่ในปัจจุบันผู้รู้จริงในหัวใจ อู่อริยธรรมเกิดขึ้นมาจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะเป็นใจที่ประเสริฐ ใจดวงนั้นเป็นใจที่พ้นจากกิเลส ใจดวงนั้น แล้วก็ครองร่างครองขันธ์ไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาอีก ๔๕ ปีใช้ธาตุใช้ขันธ์นั้น เพื่อประโยชน์ของโลกเขา

นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อกิเลสพ้นออกไปจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นไม่มีกิเลสในหัวใจเลย ใจดวงนั้นพ้นออกไปจากกิเลสแล้ว ใจดวงนั้นมีความสุขในใจดวงนั้น ใจดวงนั้นผู้เป็นสร้างโลก สร้างพระต่อไปข้างหน้า ถ้าทำสร้างพระต่อไป สร้างผู้ที่เข้าใจตามธรรมนั้น นั่นน่ะ แล้วใจของเราก็มี ใจของเราก็สามารถเป็นไปได้

สิ่งที่จะก้าวเดินขึ้นไปมันต้องความละเอียดอ่อน มันเป็นความลึกลับซับซ้อนนะ เรื่องของใจนี้เป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์ มันจะซับสมสิ่งใดขึ้นมา มันจะสะสมสิ่งใดเข้ามาในหัวใจมันก็สะสมได้ ความคิดความเห็นสะสมเข้าไปไม่มีวันที่จะสิ้นสุด ขนาดไหนมันก็ศึกษาเล่าเรียน การศึกษาเล่าเรียนทางโลกนี้ไม่มีวันจบสิ้นนะ ศึกษาเข้าไปเถอะไม่มีวันจบวันสิ้น ศึกษาจนตายก็ยังมีศาสตร์ให้ศึกษาต่อไป แต่ศึกษาเข้ามาแล้วมันก็สะสมลงที่ใจ แล้วก็เป็นความเห็นของใจ

แต่ถ้าเราศึกษาธรรมนี่มันต่างกัน ศึกษาธรรมขึ้นมามันจบสิ้น จบสิ้นจนใจนี้สะอาด ถ้าใจสะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่อง นี่ไง ปล่อยวาง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยวาง สอนให้ปล่อยวางอย่างนี้ ปล่อยวางตามความเป็นจริง ไม่ใช่สอนให้คนที่มีกิเลสให้ปล่อยวาง ถ้าคนที่มีกิเลสนี้ต้องยึด ยึดในมรรคอริยสัจจัง ยึดในการประพฤติปฏิบัติเข้าไป

ถ้าเราปล่อยวางตั้งแต่ทีแรก มันก็เหมือนกับสวะที่อยู่ในน้ำนั่นน่ะ มันปล่อยวางตัวมันเองไหม มันก็ลอยไปตามน้ำ สวะนี่พาไปตามน้ำ แต่ถ้าเราจะปล่อยวางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทวนกระแส เราต้องเป็นปลาเป็น ปลาที่เป็นว่ายทวนน้ำ ไม่ใช่ปลาตาย ปลาตาย คนที่ไม่มีคุณค่า คนที่ไม่มีความคิดเห็นของตัว ปล่อยไปตามสวะเหมือนกับปลาตายลอยไปตามน้ำ นั้นไปตามกระแสโลก แต่ถ้าเราว่ายทวนน้ำขึ้นไป นี่มันว่ายทวนน้ำ

ถ้าเรื่องของโลก คนทำคุณงามความดีส่วนใหญ่โลกจะติว่าทำไมต้องทำ เราก็อยู่ในโลกมีความสุขประสาโลกเขาแล้ว ทำไมต้องไปหาเรื่องเดือดร้อนมาให้ตัวเองเดือดร้อน เขาไม่เข้าใจ นี่มันละเอียดอ่อน มันลึกซึ้ง มันต่างกัน ต่างกันตรงนี้ ความหยาบของโลกเขา เห็นว่าสิ่งประสบความสำเร็จเหล่านั้นเป็นความสำเร็จของเขา

แต่ถ้าความเห็นของคนมีธรรมในหัวใจ ความสำเร็จของเราคือต้องความสำเร็จจากภายใน

เรื่องของโลกเป็นเรื่องปัจจัยเครื่องอยู่อาศัย เป็นเครื่องอยู่อาศัยนะ แม้แต่ร่ายกายเราก็ไม่ใช่ของเรา แม้แต่ร่ายกายเรา เราก็อาศัยชั่วอายุขัยของเรา เราต้องทิ้งร่ายกายของเราไปโดยธรรมชาติของมัน ร่างกายนี้ต้องพลัดพรากจากเราแน่นอน

สัตว์ ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด ชีวิตนี้เราต้องตายเป็นที่สุดแน่นอน ต้องตายจากกันไป หัวใจกับกายนี้ ทั้งๆ ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์สมบัตินี้ว่ามีคุณค่ามาก มีคุณค่ามากเพราะได้มาประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติก็มีคุณค่ามากขึ้นมาเหมือนกัน เพราะเกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นภพชาติกลาง เป็นผู้ที่มีอิสระ ทำความดีก็ได้ จะทำความชั่วขนาดไหนถ้าจิตใจมันปรารถนาจะทำ มันก็ทำได้ แต่ทำความดีมันก็ให้บุญเป็นกุศล ให้กุศล ให้บุญกุศลนั้นเป็นเครื่องอยู่ของใจไป ทำบาปอกุศลมันก็ต้องให้เป็นความทุกข์กับใจดวงนั้นไป มันต้องให้เป็นความทุกข์เศร้าหมองไปกับใจดวงนั้น

แล้วประพฤติปฏิบัติธรรม มันทุกข์ยากขนาดไหนมันก็ทุกข์ยาก แต่มันก็พยายามฝืนไง ฝืนความเห็นของตัว ฝืนความเห็นของกิเลส ฝืนออกไป

แล้วต้องให้ถามตัวเองนะ ถามตัวเองว่าเราทำอย่างนี้พอหรือยัง เราทำอย่างนี้ถูกต้องหรือยัง ถ้าเราถามตัวเอง เห็นไหม เหมือนกับเราตรวจสอบตัวเองตลอดเวลา ถ้าเราตรวจสอบตัวเอง สรรพสิ่งโลกนี้เป็นความผิดของใครแล้วแต่ มันจะผิดมากผิดน้อย มันเป็นเรื่องของเขา เรื่องของใจดวงนั้นนะ ใจดวงนั้นจะมีความผิดความถูกของเขา มันเป็นโทษของเขา คุณของเขา

แต่คุณของเรามีไหม? คุณของเราไม่มี ความเห็นของเราไม่ถูกต้อง ความเห็นของเราไม่มี ถ้าความเห็นของเราถูกต้อง ความเห็นของเราจะดีขึ้นมา มันจะเป็นคุณของเรา ถ้าคุณของเรามี มันต้องย้อนกลับมา มันต้องแก้ไขที่เรา ไม่ใช่แก้ไขที่คนอื่น เรื่องของคนอื่นเป็นเรื่องของหมู่คณะ เรื่องของที่อยู่อาศัย ปัจจัย ๔ เห็นไหม สัปปายะ ๔ หมู่คณะ ถ้าสัปปายะมันดี มันทำให้เราปฏิบัติได้ แต่มันก็ต้องเป็นบุญกุศลด้วยสิ ถ้าเรามีบุญกุศล เราสร้างสมขึ้นมา เราจะไปเจอหมู่คณะดี เจอสัปปายะสิ่งที่ดี ถ้าเราไม่ได้สร้างบุญกุศลมา จะขนาดไหนเราก็ต้องสร้างของเราไป

ดูอย่างองคุลิมาลสิ สร้างมาขนาดไหน ไปโดยอาจารย์หลอก หลอกให้ฆ่าคน ๙๙๙ ศพ แต่ก็ยังกลับมาหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทรมานกลับมาได้ จนชำระกิเลสออกไป ออกไปจากใจได้ แต่ชำระกิเลสออกไปจากใจ ไปบิณฑบาตขนาดไหนเขาก็ขว้างปาเอา เขากลัว เขาต้องขว้างปาเอา นั่นน่ะ เป็นสัปปายะ

ในเมื่อสัปปายะเป็นอย่างนั้น ในเมื่อสร้างบุญ สร้างกุศลมาอย่างนั้น มันต้องรับบุญกุศลของตัวเอง รับบาปอกุศลของตัวเอง ใจเราปรารถนา เราปรารถนาเราต้องดูกรรมของเราด้วย ว่ากรรมของเราสร้างสิ่งใดมา ถ้ากรรมของเราสร้างสิ่งที่ว่ามันสมปรารถนามา มันจะสมความปรารถนาของใจเรา นั่นมันเป็นสิ่งสัปปายะ สัปปายะเป็นเครื่องปัจจัย เครื่องอาศัยใช่ไหม

สัปปายะนี้เพื่ออะไร? ก็เพื่อปฏิบัติ สัปปายะจะดีหรือไม่ดี มันส่วนเรื่องของสัปปายะ เรื่องของหัวใจจะลุ่มๆ ดอนๆ ก็ปฏิบัติ จะลุ่ม จะสะดวกสบายอย่างไรก็ปฏิบัติ ถ้าเรามีความปฏิบัติอยู่ นี้คือหลักการ หลักการคือความปฏิบัติที่ถูกต้อง หลักการคือว่าเราพยายามทำของเรา หลักการคือเราไม่ทิ้งเรื่องของใจของเรา หลักการเราไม่ทิ้งเรื่องของสัมมาสมาธิของเรา เราแสวงหาของเราตลอดไป

เรื่องสิ่งนอกๆ นั้นมันเป็นเรื่องสิ่งภายนอกนะ ถ้ายึดสิ่งภายนอกนั้น ไม่มีคุณค่าของตัว ตัวเองลดคุณค่าของตัวเอง ลดคุณค่าของเรา เรานี้ไม่มีคุณค่าในสิ่งใดๆ เลย สิ่งข้างนอกมันถึงมีค่าเหนือเรา ถ้าตัวเรามีคุณค่า สิ่งข้างนอกจะไม่มีคุณค่าเหนือเรา มันเป็นเครื่องที่อาศัย มันเหมือนของที่เก้อๆ เขินๆ อยู่ข้างนอก มันไม่สามารถสะเทือนหัวใจของเราได้ ถ้าเราเห็นคุณค่าของเรานะ ถ้าเราไม่เห็นคุณค่าของเรา มันมีอำนาจเหนือเรา ทำไมเราปล่อยให้สิ่งภายนอกที่มีคุณค่าอย่างนั้นให้มีคุณค่าเหนือเราได้อย่างไร ทำไมเรามีคุณค่าน้อยขนาดนั้น

ถ้าย้อนกลับมาดูใจของตัว มันก็จะเข้าใจสิ่งนี้ เข้าใจว่าเราต้องมีคุณค่าของเรา จะทุกข์จะยากมันเป็นเรื่องการประพฤติปฏิบัติ การชำระกิเลส มันก็เป็นอย่างนี้แหละ

สิ่งที่พอใจชำระกิเลส ถ้าเราพอใจชำระกิเลส เราก็จะชนะกิเลส ถ้าเราไม่พอใจชำระกิเลส เราจะเป็นขี้ข้ากิเลสตลอดไป กิเลสจะมีอำนาจเหนือใจของเรา แล้วก็ผลักไสให้ใจดวงนั้นเป็นขี้ข้ามันไป เป็นขี้ข้าไปไม่แต่เฉพาะชาตินี้ ยังต้องเกิดต้องตายแน่นอน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้แล้วว่าต้องเกิดต้องตาย จุตูปปาตญาณ สัตว์เกิดมาแล้วต้องตายทุกตัว ต้องไปเกิด เว้นไว้แต่ผู้ที่สิ้นจากกิเลส ผู้ที่มีอู่อริยธรรมเป็นที่อยู่แทน ไม่ใช่อู่ของวัฏฏะ วัฏวนเป็นอู่ เป็นที่อยู่ของใจ ใจจะหมุนเวียนไปในวัฏฏะ แต่เรามีอู่อริยธรรมอยู่กันแล้ว เราจะไม่ไปอู่อื่นอีกเลย เราจะอยู่ในอู่ของเรา เป็นความสุขสมหมาย สมความปรารถนาของใจ เอวัง