ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ห้ามทำสมาธิ

๑ ส.ค. ๒๕๕๒

 

ห้ามทำสมาธิ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบปัญหาธรรม วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาครูบาอาจารย์เราปฏิบัตินะ ท่านต้องพยายามจะเอาตัวท่านให้ได้ก่อน แล้วค่อยออกสอนคนอื่น ถ้าเอาตัวท่านไม่ได้ก่อน ออกไปสอนคนอื่นแล้วมันยุ่งมากเลย แล้วตอนนี้เพียงแต่เขาคิดว่าเขาได้แล้วไง พอเขาได้แล้วเขาต้องออกมาสอน พอออกมาสอนนี่มันยุ่งไปหมดเลย มันยุ่งมากๆ นะ เรื่องการภาวนาดังต่อไปนี้

ประเด็น : เมื่อต้องหัดภาวนา ก็ยังมีเรื่องให้หลงผิดได้อีก ถ้าเปรียบความหลงผิดในขั้นตอนของการฝึกปฏิบัติภาวนานี้เหมือนหลุมพรางล่ะก็ หลุมพรางในช่วงนี้จะถูกพรางเอาไว้อย่างแนบเนียนมาก แถมยังเป็นหลุมลึกมากด้วย ถ้าใครหลงตกลงไปแล้ว ยากจะกลับขึ้นมาได้ กว่าจะช่วยให้กลับขึ้นมาสู่ทางที่ถูกต้องได้ ทำเอาครูบาอาจารย์และกัลยาณมิตรต้องเหน็ดเหนื่อยกันไม่น้อย เรื่องที่มักจะหลงกันมากคือ

หลงเข้าใจผิดว่า ภาวนาคือการทำสมาธิ

หลงเข้าใจผิดไปว่า การทำสมาธิต้องทำจนถึงฌานก่อนแล้วถึงจะเจริญปัญญา

หลงเข้าใจผิดว่า ทำสมาธิแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นเอง

หลงเข้าใจผิดว่า เพียงแต่ทำสมาธิแล้วก็จะหลุดพ้นได้

หลวงพ่อ : เขาบอกหลงไง หลงเข้าใจผิด หลงไปหมดเลย การภาวนาหลงไปหมดเลย แต่ต้องฝึกหัดฝึกดูฝึกรู้ เวลาพูดว่าหลงไปหมดเลย หลงทำสมาธิคือห้ามทำสมาธิเลยล่ะ แต่เวลาเขาพูดกัน เขาพูดอย่างนี้เขาบอกว่าหลง ห้ามทำสมาธิ แต่สุดท้ายเขาก็ไปพูดของเขาเองนะ เราเลยบอกว่ามันเหมือนการตีหัวเข้าบ้าน

ประเด็น : ที่พูดทั้งหมดนี้ ที่พูดมานี้ ไม่ได้บอกว่าห้ามทำสมาธิ ที่พูดทั้งหมดนี้ ไม่ได้บอกว่าห้ามทำสมาธิ ห้ามทำฌานหรอกนะ "ถ้าใครพอใจเพียงทำสมาธิแค่ฌาน และประสงค์จะทำกันแค่นั้นก็ทำตามประสงค์เถิด เพราะการทำแบบนี้เป็นการทำในสิ่งที่เป็นกุศลเหมือนกัน แต่สำหรับคนที่ทำมาหากินหรือเป็นชาวเมือง ไม่มีเวลาในการฝึกหัดทำสมาธิ ทำฌานกัน และประสงค์จะพ้นไปจากทุกข์กันจริงๆ ล่ะก็ ขอให้มาหัดเจริญปัญญาด้วยการหัดรู้หัดดูจิตเถิด"

หลวงพ่อ : ทีแรกก็บอกว่าหลงนะ หลงทำสมาธินี่หลงไปมหาศาลเลย สุดท้ายมาตบ ท้ายบอกว่า ไม่ได้ห้ามทำสมาธินะ แล้วมึงจะเอาอะไร นี่มันตีหัวเข้าบ้านก่อนไง การทำอย่างนี้มันผิด เราจะบอกนะว่า หลวงปู่ดูลย์ ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ฝั้น

หลวงปู่ฝั้น ท่านเป็นมหานิกาย เหมือนหลวงปู่ขาว หลวงปู่ขาวหลวงปู่แหวนนี้เป็นมหานิกายหมด หลวงปู่ดูลย์นี่ท่านเป็นธรรมยุติ เพราะท่านบวชมาก่อน แล้วท่านก็ไปเอาหลวงปู่ฝั้นมาบวช ท่านเทศน์จนหลวงปู่ฝั้นมาญัตติเป็นธรรมยุติ แล้วหลวงปู่ดูลย์ท่านสอนดูจิตใช่ไหม หลวงปู่ฝั้นท่านสอนพุทโธเห็นไหม

“พุทโธผ่องใส พุทโธสว่างไสว” พุทโธเห็นไหม พุทโธผ่องใส พุทโธสว่างไสวของหลวงปู่ฝั้น เมื่อก่อนพุทโธนี่ดังมาก เพราะพุทโธสว่างไสว พุทโธผ่องใส พุทโธครอบโลกธาตุ แล้วพุทโธของหลวงปู่ฝั้น กับดูจิตของหลวงปู่ดูลย์ มันขัดแย้งกันไหม มันไม่ได้ขัดแย้งเลย

เราบอกก็คนรู้จริงเขาไม่ขัดแย้งกัน แล้วสมัยครูบาอาจารย์ท่านไม่ขัดแย้งกันเลย แล้วนี่จะมาบอกว่า ถ้าทำสมาธิ หลงไปหมดเลย หลงไปหมดเลย แล้วมาบอกว่าเป็นการหลงที่ลึกมากด้วย

มันพูดอย่างนี้ เวลาพูดมันไม่เป็นสุภาพบุรุษ ถ้าบอกการทำสมาธิ หรือการประพฤติปฏิบัติทุกๆ แนวทาง มันก็มีผิด มีถูกทั้งนั้นแหละ ถ้าคนภาวนาผิด ก็คือผิดใช่ไหม คนภาวนาถูกก็คือถูกใช่ไหม ทำสมาธิผิดก็มี ถูกก็มี ดูจิตผิดเยอะกว่าถูก ถูกน้อย ผิดเยอะ ดูจิตนี่

เพราะดูจิตโดยหลวงปู่ดูลย์ ที่เราพูด "เรื่องพระสงบ" เขามาถาม เราบอกเรายอมรับหลวงปู่ดูลย์ แต่เราไม่ยอมรับพวกลูกศิษย์ที่สอนนี้ผิดหมด ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะเวลาเราไปคุยกับพวกลูกศิษย์ของท่าน เวลาไปหาหลวงปู่ดูลย์นะ หลวงปู่ดูลย์ให้ดูจิต แล้วลูกศิษย์เวลาไปหาหลวงปู่ดูลย์ สมัยหลวงปู่ดูลย์ยังอยู่

“เห็นจิตแล้วครับ”

“ยัง นี่คืออาการของจิต ไม่ใช่จิต”

“เห็นจิตแล้วครับ”

“ยัง”

การดูจิต กว่าจะเห็นตัวจิตแสนยาก เพราะในการพุทโธๆ เหมือนเราทำงาน เรายืนอยู่บนดินบนแผ่นดินเราทำงานสะดวกไหม ไอ้ดูจิต เหมือนเราตั้งห้างร้านขึ้นไป แล้วเราไปทำงานอยู่บนที่สูง เพราะมันเป็นนามธรรมไง ดูจิตมันเป็นนามธรรม พุทโธไม่ใช่นามธรรม แต่พุทโธมันนึกชัดๆ พุทโธๆๆ มันก็เหมือนเรายืนอยู่บนดิน

โดยธรรมชาติของการทำงานเรายืนอยู่บนที่มั่นคงแข็งแรง การทำงานต้องสะดวกกว่า ต้องมั่นคงกว่าการทำงานในอากาศใช่ไหม การดูจิต บนอากาศ การดูจิต แบบของการดูจิตของหลวงตา ท่านบอกปัญญาอบรมสมาธิ เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ หลวงปู่ดูลย์ใช้คำว่าดูจิต

แต่หลวงตาบอกว่าใช้ปัญญา ท่านเติมปัญญาเข้าไปด้วย แล้วปัญญาอบรมสมาธิก็คือ เพราะถ้ามันเจอความสงบคือถ้าใช้ปัญญาไล่ไปมันก็คือความสงบ ถ้าความสงบอันนั้น แล้วความสงบอันนั้นมันต้องเป็นความจริง ถ้าความสงบอันนั้น มันก็กลับมาที่เป็นสมาธิ

เราบอกว่า การปฏิบัติทั้งหมด การปฏิบัติทั้งหมด ทุกวิธีการปฏิบัติ ผลของมันคือสมถะทั้งหมด ผลของมันเป็นสมาธิทั้งหมด แต่ทีนี้เขาบอกว่า การทำสมาธิจะลุ่มหลง คำว่าลุ่มหลง เขาบอกว่า การทำสมาธิเป็นหลุมพรางจะตกลงไป แต่เราจะบอกมุมกลับว่า

การพูดอย่างนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ!

เพราะถ้าเขาดูจิตนะ เขาหัดรู้หัดดูจนเขาเห็นเป็นสมาธินะ เขาจะไม่พูดอย่างนี้ เขาจะไม่พูดอย่างนี้เพราะอะไร เพราะว่าการหัดดูจิต กว่าจะเห็นจิต ที่อย่างหลวงปู่ดูลย์ อาการของจิต ใครไปหาท่านแล้วบอก “เห็นจิตแล้วครับ” “ไม่ใช่ อาการของจิต อาการของจิต” อาการของจิตคือความคิดไง คือเขาดูความคิด แล้วความคิดมันเกิดดับ หลวงปู่ดูลย์ ท่านบอกการที่จะเห็นจิตนี่ยากนะ

แล้วเราก็ย้อนกลับมาว่าสมัยที่ครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ของเราเป็นพระอรหันต์เป็นพระอริยบุคคลเยอะแยะเลย สายหลวงปู่ดูลย์ได้กี่องค์ แต่เราไม่ได้ค้านหลวงปู่ดูลย์นะ เราไม่เคยค้านหลวงปู่ดูลย์เลย แต่ไอ้พวกนี้ เพราะเขาบอกว่า

การทำสมาธิ เพราะการดูจิต การดูจิต การพิจารณาของเขา ผลของมันคือ ปัญญาอบรมสมาธิ ผลของมันคือปัญญาอบรมสมาธิ แล้วเขาบอกเลยนะ ถ้าไปทำสมาธินะ การทำสมาธิมันจะเป็นปัญญาไปไม่ได้ ถ้าการทำสมาธิ เขาพูดไว้ในหนังสือนี้เยอะมาก ว่าการทำสมาธิถ้าเป็นสมาธิแล้วจะเกิดปัญญาได้เอง เขาใช้คำนี้ว่า สมาธิเกิดปัญญาเองไม่ได้ แน่นอนใช่ไหม คำพูดนี่แน่นอน แล้วเขาพูดอย่างนั้นแน่นอน เพราะตรงนี้เป็นจุดขายของเขา แต่ถ้าคน ถ้ามันเป็นจริง เขาก็จะ เขาพูดอย่างนี้ปั๊บ เขาก็ต้องอยู่ในหลักอันนี้ แต่เขาพูดอย่างนี้เองนะ แล้วดูสิ

ประเด็น : ตามความจริงไปแล้ว ซึ่งเป็นเจริญสติปัญญา ให้ไปจนอินทรีย์แก่รอบแล้ว จิตจะรวมเข้าเป็นอัปปนาสมาธิได้เอง โดยอัตโนมัติ เกิดอริยมรรคขึ้นเอง

หลวงพ่อ : อ้าว ก็ไหนมึงบอกว่า สมาธิจะเกิดปัญญาไม่ได้ ก็มึงโจมตีมาตลอด แล้วมึงก็สรุปเอง ว่าการหัดดูหัดรู้ มันจะเกิดขึ้นเอง เป็นอัปปนาสมาธิโดยเป็นเอง แล้วจะ เป็นโดยอัตโนมัติ แล้วเกิดอริยมรรคขึ้นเอง

อยู่นี่ อยู่นี่ ขีดไว้หลายขีดนะ ขีดไว้เขียวหมดเลย ที่เราบอกว่าของเขาผิดๆๆ เพราะผิดตรงนี้ เราบอกเห็นไหม เวลาเขาพูดบอกว่า ขณะจิตเขาเป็นอย่างนั้นๆๆ เวลาขณะจิตเขาพูดเฉพาะส่วน เหมือนกับเราเป็นช่าง งานเราเสร็จแล้วเราต้องประกอบให้เป็นชิ้นงานขึ้นมาใช่ไหม นี่ถ้าเราไม่เป็นช่าง เราประกอบชิ้นงานนั้นไม่เป็น เวลาพูดเฉพาะส่วนพูดได้ เพราะเราก็ไปศึกษาเฉพาะส่วนมา แล้วนี่ ค้านมาหมดนะ สมาธิทำไม่ได้นะสมาธิเกิดปัญญาเองไม่ได้นะ ทุกอย่างไม่ได้เลย แต่เวลามันบอกของมันเอง

ประเด็น : ถ้าดูจิตไป พอดูจิตแล้ว และจิตก็สามารถตั้งมั่น และเป็นกลางรู้อารมณ์ด้วยความเป็นจริงแล้ว ซึ่งเมื่อเจริญสติปัญญาไปจนอินทรีย์แก่รอบแล้ว จิตจะรวมเข้าเป็นอัปปนาสมาธิได้เอง โดยอัตโนมัติ แล้วเกิดอริยมรรคขึ้นเองงงงงง!

ฉีกทิ้งแม่งเลย!

แล้วคนอื่นอ่าน มันไม่รู้เรื่อง พอเราอ่าน อ่านแต่ล่ะช่วง มันก็น่าฟัง แต่เวลาเขาสรุป เขาสรุปผิดหมด คนไม่เป็นมันจะสรุปผิดหมด หนังสือเขาเอง แล้วเขียนก็ขัดแย้งกันเอง แล้วก็บอกสมาธิทำไม่ได้ สมาธิจะเกิดปัญญาเองไม่ได้ แต่ของมันดู หัดดูจิตไปดูจิตมามันเป็นอัปปนาสมาธิเอง เป็นโดยอัตโนมัติแล้วเกิดอริยมรรคขึ้นเอง

อ้าว ก็ไหนบอก สมาธิเกิดปัญญาไม่ได้ไง แล้วทำไมของมึง ดูไปดูมา เกิดปัญญาขึ้นเองล่ะ เพราะความเข้าใจผิด ถ้าจับตรงนี้นะ จับประเด็นนี้ใช่ไหม เขาก็ไปจับประเด็นที่ว่า เขาใช้ปัญญา ดูจิตคือปัญญา พอเกิดปัญญาขึ้นเอง แล้วดูจิตเป็นปัญญาใช่ไหม เพราะถ้าเป็นพุทโธมันจะไม่เกิดปัญญา เขาถึงคิดว่าการใช้ความคิดนี้คือปัญญา

พอเขาคิดว่าการใช้ความคิดนี้คือปัญญาแล้ว แต่นี้มันหลักเกณฑ์ของพระพุทธเจ้า เห็นไหม สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ถ้าไม่มีสมาธิ มันก็เป็นโลกียปัญญา คือความคิดแบบโลก ความคิดจากความคิดเรา นี่ไง สุตมยปัญญา ปัญญาอย่างนี้คือเรียก โลกียปัญญา ปัญญาทางโลก ถ้าคนภาวนาไม่เป็น มันไม่เห็นตรงนี้ แล้วมันเข้าใจเรื่องตรงนี้ไม่ได้

พอเข้าใจไม่ได้ปั๊บ มันก็เหมารวมมาว่า ความคิดคือปัญญา ปัญญา คือ ปัญญา แต่เขาไม่คิดหรอกว่า ปัญญา มันมีตั้งกี่ชั้น ขณะนี้เรากำลังบอกนะ แม้แต่เป็นโลกียปัญญา กับโลกุตรปัญญา แล้วเวลาใครภาวนาไปแล้วนะ มันจะมีโสดาปัตติมรรค คือ ปัญญาขั้นโสดาบัน ปัญญาขั้นสกิทา ปัญญาขั้นอนาคา ปัญญาขั้นอรหันต์ มันคนละปัญญานะเว้ย

มรรค ๔ ผล ๔ ไง โสดาปัตติมรรคแล้วก็เป็นโสดาปัตติผล สกิทาคามรรคก็เป็นสกิทาคาผล อนาคามรรคก็เป็นอนาคาผล อรหัตตมรรค ก็เป็น อรหัตตผล ฉะนั้นเวลาเขาพูดกัน พระปฏิบัติเขาจะรู้กันเลยว่าคนนี้อยู่ในขั้นไหน เขาพูดอยู่ในขั้นของโสดาบัน ผลของเขาก็เป็นขั้นโสดาบัน เขาพูดอยู่ในขั้นสกิทา เขาพูดอยู่ในขั้นของอนาคา เขาพูดอยู่ในขั้นอรหันต์ อรหัตตมรรค อรหัตตผลนี้ยังไม่ใช่นิพพาน ๑ นะ ครูบาอาจารย์เวลาเขาคุยธรรมะกันเขาคุยกันอย่างนี้ไง

ทำไมหลวงปู่คำดี ท่านเป็นพระอนาคาแล้วท่านอยากจะพ้นจากทุกข์ นี่ท่านภาวนาของท่านท่านเดินจงกรมของท่าน ท่านรู้ว่าท่านหลง ท่านรู้ว่าท่านไปไม่ได้ ท่านติดแล้วท่านแก้ตัวท่านเองไม่ได้ พอท่านแก้ตัวเองไม่ได้ปุ๊ป ท่านก็จุดธูปอธิษฐานเลย บอกให้อาจารย์มหาบัวมาแก้ให้หน่อย อธิษฐานกับเทวดาเลย แล้วหลวงตาท่านอยู่วัดนะ ท่านก็เกิดความคิดว่าท่านอยากจะไปเยี่ยมหลวงปู่คำดี เพราะมันดลใจ ก็ไปหาหลวงปู่คำดี พอไปหาหลวงปู่คำดี

"โอ๋ ท่านมาเร็วแท้"

เห็นไหม หลวงตาเล่าประจำ พอมาเร็วแท้ปั๊บ

"โอ๋ รออยู่นานแล้ว"

ก็นิมนต์เข้าไปคุยกันตัวต่อตัวอยู่ในกุฏิ พอหลวงตาเริ่มอธิบาย หลวงตาเริ่มอธิบายนะ อรหัตตมรรค พอเริ่มอธิบายปั๊บ หลวงปู่คำดี

"โอ๊ะ รู้แล้วๆ"

โอ๊ะ รู้แล้วนั่นคือยังไม่ได้ภาวนานะ โอ๊ะ รู้แล้ว คือ รู้ทันช่องทาง แต่เดิมนั้น มืดเลย ไปไหนไม่รอดเลย แต่รู้อยู่ว่าติด แต่ยังไปไม่ได้ แต่รู้อยู่ รู้อยู่ว่ายังติด แต่ยังไม่มีทางออก พอหลวงตาท่านไปอธิบายถึงทางออก

"รู้แล้ว รู้แล้ว ๆๆๆ"

รู้แล้วนั้น หลวงตาก็ "สาธุ" แล้วหลวงตาก็กลับไง แล้วหลวงตาบอกท่านก็ปล่อยเวลา ปล่อยเวลาให้พอรู้ช่องทางแล้ว ต้องหาช่องทางออก ต้องมีการกระทำ พอมีการกระทำปั๊บ หลวงตาท่านไปเจอหลวงปู่คำดีตลอด ถามว่าผ่านหรือยัง เห็นไหม พอผ่านหรือยัง หลวงปู่คำดีท่านพูด “หูของท่านไม่ค่อยดี ท่านใช้เขียนเป็นกระดาษส่งต่อกัน”

แม้แต่ขั้นของปัญญา มันยังมีขอบเขตของมันเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป แล้วนี่มาพูดว่า เวลาโต้แย้งเขานะ โต้แย้งว่าทำสมาธิเกิดปัญญาเองไม่ได้ ถ้าทำสมาธิแล้วเกิดปัญญาได้เอง อาฬารดาบส ฤๅษีชีไพรเขาเป็นพระอรหันต์กันไปหมดแล้ว

เวลาเขาพูดแล้วนะ อ่านแล้ว โห น่าทึ่ง ว่า สมัยพุทธกาล ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้า ฤๅษีชีไพรเขาจะทำกันได้ยังไง เราไปประพฤติปฏิบัติ เขาก็ไปตีเคลมเอาว่า การทำสมาธิของพวกเรา จะทำแบบฤๅษีชีไพร เพราะเราจับประเด็น ในนี้ เขาจะพูดบ่อย พวกสายดูจิตเขาจะพูด เน้นหนักๆ เลย ไม่ใช่ฌาน ๒ ไม่ใช่ฌาน ๒ ฌาน ๒ ไม่ถูก ถูก ฌาน ๒

สมาธิไม่ใช่ฌาน หลวงปู่มั่น ไม่ได้สอนให้ทำฌาน พระกรรมฐานไม่ได้ทำฌาน ไม่ได้ทำ

ฌานเป็นพวกเอ็งคิดกันเอาเอง ครูบาอาจารย์เราสอนทำความสงบของใจ ไม่มีฌาน! ฌานไม่เกี่ยว!

หลวงตาท่านเอาเต็มที่เลย "ไอ้ฌาน ไอ้แชน อย่ามาพูดกับเรานะ ไอ้ฌานไอ้แชนไปไกลๆ ไม่เกี่ยว"

ไอ้พวกนี้มันนึกเอาเอง มันเคลมกันเอาเองว่าพระกรรมฐานนี้ทำฌาน ไม่ได้ทำฌาน ไอ้พวกทำฌานมันพวกเกจิอาจารย์ พวกพระเกจิ เขาทำฌาน ทำสมาบัติกันเขาจะทำเรื่องเครื่องรางของขลัง พระกรรมฐานไม่ได้ทำฌาน พระกรรมฐานทำความสงบ ครูบาอาจารย์ท่านบอกให้ทำจิตให้สงบก่อน ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ไม่ได้บอกให้ทำฌาน เป็นฌาน ๒ จนติดฌาน ๒ แล้วฌาน ๒ ฌาน ๓ ...

สมาธิกับฌานต่างกันอย่างไรมึงรู้ไหม แล้วฌานคืออะไร สมาธิคืออะไรรู้ไหม แต่เวลาพูดโดยศัพท์ใช่ไหม เราเคยใช้เราพูดบ่อย ฌาน-สมาธิเราใช้ศัพท์แทนกัน คือว่าทำความสงบของใจ แต่ถ้าเป็นทำฌาน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน อากาสานัญจายตนะ สมาบัติ ๘ เวลาทำเห็นไหม

ดูสิ หลวงปู่หลุยประพฤติปฏิบัติ ไปค้นประวัติหลวงปู่หลุยดูสิ เหาะเหินเดินฟ้าเขาทำกันยังไง ครูบาอาจารย์เรา เรื่องอย่างนี้ มันเหาะเหินเดินฟ้า เรื่องฌานสมาบัติมันเกิด ฌานสมาบัตินี้เราอธิบายบ่อย แต่ไม่ได้อวดว่าเรารู้นะ

ฌานสมาบัติ ขั้นตอนของมัน ฌานสมาบัติ เราบอกว่าความว่าง ๘ ขั้นตอน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔ ขั้นตอนของรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อาการของอรูปฌาน ๔ ขั้นตอน มันเป็น ๘ ขั้นตอน

ความว่าง ๘ ขั้นตอนตั้งแต่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ขึ้น อากาสานัญจายตนะ ๘ ขั้นตอน ความว่าง ๘ ขั้นตอนเหมือนบันได ๘ ขั้น เราขึ้นบันไดลงบันไดเห็นไหม จิตมันพัฒนาการของมัน พอมันรีไซเคิลของมัน จิตมันมีกำลังของมัน พอมีกำลังมันก็ออก เรียกว่าส่งออกไง ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้ใช้

ถ้าไม่ได้ใช้ พระพุทธเจ้าเวลาจะปรินิพพานเข้าสมาบัติ เข้าตรงนี้ สมาบัติ ไม่ใช่ความสงบนะ เวลาความสงบของเรา ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ กับฌานสมาบัติ มันคนละเรื่องกัน เพราะฌานสมาบัติมันมีกำลังของจิต จิตมีกำลังแล้วจิตมีกำลังขนาดไหนจะทำประโยชน์อะไร ฉะนั้น สิ่งที่เขาบอกว่า พระกรรมฐานทำฌาน แล้วฌาน ๒ ฌาน ๓ ต้องกลับมา ใช้ปัญญงปัญญา ... ไร้สาระ

ถ้าทำความสงบของใจ ฤๅษีชีไพรเขาทำความสงบของใจแล้วเขาทำสมาบัติของเขาแล้ว เขาเหาะเหินเดินฟ้าได้เขาถือศีล ๘ ของเขา เขาอยู่ในศีลของเขา เพราะมันอยู่ที่อำนาจวาสนาของเขา มันไม่มีใครชี้ให้เขาออกมา

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปฝึกกับเขาแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่า สมาบัติ ๘ อาฬารดาบสรับประกันแล้ว แต่ประกันแล้วมันเข้าออกขนาดไหน จิตมันก็ยังมีกิเลสอยู่เห็นไหม

ทีนี้พระพุทธเจ้าบอกมันไปไม่ได้ เพราะอะไร เพราะว่าเหมือนกับเราเก็บของให้เรียบร้อยขนาดไหนเราก็ต้องใช้มันตลอดไป มันมีของมันอยู่แล้วจะทำยังไงให้มันจบกระบวนการของมัน พระพุทธเจ้าถึงย้อนกลับมา อานาปานสติไง ย้อนกลับมาที่โคนต้นหว้า พอโคนต้นหว้าเสร็จแล้วเข้าไป พระพุทธเจ้าใช้ปัญญาออกมา แล้วปัญญาเห็นไหม ปุพเพนิวาสานุสติญาณ นี้คือความสงบอันหนึ่ง

ความสงบที่เข้าเหมือนกับน้ำขึ้นน้ำลง พอน้ำมันลงไป ในโคลนตมมันมีอะไรล่ะ มันก็มีพวกวัชพืชใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน พอจิตมันเข้าถึงโคลนตม เข้าถึงฐานมันก็เป็น ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ถ้าพอถึงเวลาแล้ว จิตสงบขนาดไหน มันจะเป็นจุตูปปาตญาณ จิตนี่ ในเมื่อมันยังมีกระบวนการของมันอยู่ มันยังต้องมาเกิดอีก

อาสวักขยญาณทำลายให้มันสะอาดขึ้นมา มันไม่เกี่ยวกัน แล้วปัญญาอย่างนั้น ปัญญาอย่างที่พระพุทธเจ้าเป็นอาสวักขยญาณ กับปัญญาอย่างที่เขาพูด เวลาว่าเขานี่นะ บอกมาเลย สมาธิเกิดปัญญาไม่ได้ ทุกอย่างเกิดปัญญาไม่ได้ แต่เวลาของเขาทำนะ อันนี้นะ มันจะไปอยู่ในอริยสัจของ.....ด้วย ของ.....เขาเขียนอย่างนี้

ลักษณะของอรหันต์ แล้วเขาบอกว่าจิตมันจะเป็น ขณะมันจะเป็นอัตโนมัติ อย่างนี้ ถ้าพูดอย่างนี้แสดงว่าเหมือนน้ำขึ้นน้ำลง คือว่า เวลาน้ำมันลงมันก็งวดลงไปเรื่อยๆ ใช่ไหม น้ำลงมันก็งวดลงไป นี่ก็เหมือนกัน ขณะที่เป็นอัตโนมัติ อัตโนมัติคือว่า มันขึ้นลงไง อัตโนมัติ ถ้าพูดคำนี้ปั๊บ พวกนี้ ไม่มีมรรคผลเลย เพราะไม่มีขณะจิตโดยข้อเท็จจริง แต่ขณะจิตที่เขาพูดนั้นคือมันเป็น สัญญา มันเป็นข้อมูลของเขาเอง

ที่เราบอกว่าผิดๆ เราอ่านตรงนี้มาเยอะ แต่พอเราชี้ขึ้นมาพวกโยมจะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเป็นการปฏิบัตินะ หลวงตา เราฟังหลวงตาเมื่อ ๒ วันนี้ก็เพิ่งฟัง ท่านบอกเลย ไอ้ที่ว่าหายไปเฉยๆ ไอ้ที่เป็นเฉยๆ อย่างนี้ อัตโนมัติอย่างนี้ ท่านไม่รับ ท่านไม่เอา ท่านไม่เชื่อ ท่านบอก "ไม่เชื่อเด็ดขาด" ถ้าเป็นอย่างนั้นมันต้องมีสมุจเฉทปหาน มันต้องมีการกระทำของมัน ทีนี้การกระทำของมันที่การกระทำของมันจะเกิดขึ้นได้ยังไง สมาธิเกิดขึ้นมาแล้ว

สมาธิฆ่ากิเลสไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีสมาธิ ปัญญาเกิดไม่ได้

ปัญญาที่เกิดขึ้นมาเขาเรียก โลกียปัญญา ปัญญาโดยสามัญสำนึกของพวกเรานี่ไง ปัญญาในจินตนาการ จินตมยปัญญา เราจินตนาการ จิตมันส่งออกแล้วจินตนาการของเราไป มันเกิดปัญญาอย่างนั้น แล้วพอจินตนาการไปแล้ว เรามีธรรมะพระพุทธเจ้าอยู่แล้วมันทำให้เราเห็นภาพอย่างนั้นได้ พอเห็นภาพปั๊บ มันก็เข้ามากับอุปกิเลส โอภาส สว่างไสว ความว่าง อุปกิเลส ๑๖

โธ่...เวลาเขาพูดมา ว่างๆ ว่างๆ มันจับ อย่างพวกเรา กิเลสหยาบๆ ใช่ไหม เพราะมันอยู่ที่สามัญสำนึก กิเลสพวกเรานี่หยาบมาก กระทบกระทั่งกัน มองหน้ากันจะกินเลือดกินเนื้อกัน กิเลสหยาบๆ แล้วบอกว่า เราเป็นคนดี เราให้อภัยต่อกัน โอ๊ย เราเพื่อนกัน โอ๊ย เรามีเมตตา เห็นไหม

มันก็ไปติดว่าความดีของเรา ดีอันละเอียด พอดีอย่างนั้นนั่นมันอุปกิเลสไง นี่เขาบอกไง เมื่อก่อน อู้หูย ทุกคนนะ ถ้าสายนี้เขาจะบอกเลย เมื่อก่อนเป็นคนก้าวร้าว เมื่อก่อนเป็นคนที่ติดการพนัน เมื่อก่อนเป็นคนกินเหล้าเมายา พอมาปฏิบัติธรรมมาดูจิตเดี๋ยวนี้เป็นคนดีหมดเลย ดีหมดเลย แล้วมันผิดตรงไหนล่ะ ?

มันผิดตรงไหน ก็ดีไง แล้วดีแล้วมันจะชั่วอีกไหมล่ะ ดีเดี๋ยวก็ชั่ว เพราะความดีมันยังเปลี่ยนแปลงอยู่ ทุกคนจะเวลามาหาเราเขาจะเอาสีข้างเข้าถูไง บอกว่า เราอิจฉาตาร้อน ไปว่าเขาทำไม แล้วเขาก็ดีอยู่แล้วไง เมื่อก่อนเป็นคนไม่ดีหมดเลย เดี๋ยวนี้พอปฏิบัติแล้วเป็นคนดีหมดเลย

โต๊ะกูดีกว่ามึงนะ

โต๊ะกูเสร็จแล้วตั้งไว้ตรงนี้มันไม่เคยไปเบียดเบียนใครเลย

มันตั้งอยู่ตรงนี้มันไม่เบียดเบียนใคร มันดีที่สุดเลย

ไม่เคยระรานใครไม่เคยไปทำความเดือดร้อนใคร แล้วเป็นประโยชน์กับทุกคนใครมาก็นั่งได้นอนได้ อู๊ย โต๊ะกูดีฉิบหายเลยนะ โคตรดีเลยโต๊ะนี่

ความดีของโต๊ะนะ มันเป็นประโยชน์กับสาธารณะ แต่ถ้าความดีของเรา มันแปรปรวน ดีเดี๋ยวก็ชั่ว ชั่วเดี๋ยวก็ดี ไอ้ดีๆ นะเอาตัวรอดได้ไหม ดีๆ เอาตัวรอดได้ไหม ทีนี้ พอเราปฏิบัติเริ่มเป็นคนดีขึ้นมาเราต้องเอาให้มั่นคงให้มันดีจริงๆ ให้มันดีจริงๆ นะให้มันดีให้ได้ พอดีขึ้นไปแล้วมันจะดียังไงล่ะ ดีโดยการชำระ มันเป็นอย่างนี้ไปไม่ได้หรอก แล้วพอมันเป็นอย่างนี้แล้ว ไอ้อย่างนี้เราถือว่ามันไม่บริสุทธิ์ใจ มันเป็นการตีหัวเข้าบ้าน บอกว่า ทำสมาธิก็ไม่ถูกต้อง เสียเวลาทุกอย่างเลย หลงไปๆ แล้วทำให้คนอื่นเดือดร้อนหมดเลย

หลงเข้าใจผิดว่า การภาวนาคือการทำสมาธิ

อ้าว ใครหลงล่ะ หลงเข้าใจผิดว่า ตัวไม้เลยนะ

หลงเข้าใจผิดว่า การภาวนาคือการทำสมาธิ

แล้วที่เอ็งดูจิต ไม่เป็นสมาธิแล้วเป็นอะไร เป็นมิจฉาด้วย! ทั้งๆ ที่ผลของมันคือสมถะ คือสมาธิ เพราะมันไม่ได้ฆ่ากิเลส พอไม่ได้ฆ่ากิเลสผลของมันคือสมาธิ แต่ด้วยความเข้าใจผิด ว่าคนอื่นทำสมาธิ ผิดพลาด แต่ตัวมันเอง กินขี้สมาธิอยู่มันยังไม่รู้เลย ก็มิจฉาสมาธิไง ก็ว่างๆ ว่างๆ ไง ผลมันไม่มีไง แล้วพอผลมันจะเกิดขึ้นมาก็มันเป็นเองโดยธรรมชาติ

คำพูดอย่างนี้นะ มันฟ้อง มันฟ้องตลอด แล้วพอมันฟ้องตลอด การทำสมาธิ หลงไปว่าการปฏิบัติคือการทำสมาธิ เพราะคำว่า “สมาธิ” เขาดูถูกดูแคลน ว่าสมาธิเป็นสมถะ สมาธิมันชำระกิเลสไม่ได้ แต่หลวงตาบอกกับพระเราตลอด เวลาเทศน์กับพระ

"ใครทำจิตสงบได้พออยู่พอกิน ใครทำสมาธิได้พออยู่พอกิน"

หลวงตาท่านเล่าเอง ว่าตอนท่านปฏิบัติใหม่ๆ ท่านบวชใหม่ๆ ท่านเห็น พระครูที่วัดโยธาพิทักษ์ท่านเดินจงกรม นั่งพุทโธๆ ก็ไปถามว่าทำยังไง ทำยังไงแล้วอยากจะทำบ้าง ท่านบอกว่า พุทโธ เราก็ชอบพุทโธ หลวงตาท่านไปกำหนดพุทโธๆ เห็นไหม ท่านบอกว่า เหมือนจอมแห ความคิด มันเหมือนแห

แล้วพอมันพุทโธๆ แหมันหดเข้ามาๆๆ จนเหมือนจอมแหยกขึ้นมา ท่านบอก โอ้โห มีความสุขมาก แล้วอยากได้มาก พออยากได้ก็ไม่ได้กินเลย เพราะความอยากได้มาก นั่นเป็นสมาธิจริง พอได้สมาธิจริงมันฝังใจมาก มีความสุขมาก แต่ความสุขอย่างนี้ ตอนนั้นท่านเริ่มฝึกหัด แล้วท่านเรียนอยู่ ๗ ปี ท่านบอกเรียนอยู่ ๗ ปี ปฏิบัติอยู่ ๗ ปี เรียนด้วยปฏิบัติด้วย ได้สมาธิอย่างนี้ ๓ ครั้ง ๗ ปี

หลวงตาบารมีขนาดนี้นะ ทำสมาธิ รวมได้ ๓ ครั้ง แล้วบอกว่า เราทำสมาธิ คิดดูซิแล้วพวกเราทำสมาธิ ๑๐ ปี ได้สักหนหนึ่งไหม ๗ ปี ได้ ๓ ครั้ง ไอ้เรา ๑๐ ปีได้หรือเปล่า

ทีนี้พอมันทำยากใช่ไหม มันทำยากเพราะอะไร มันทำยาก เพราะมันเป็นความจริง แต่เขาทำง่ายเพราะอะไร ทำง่ายเพราะมันเป็นความเท็จ

ความเท็จคือการสร้าง การนึกเอา

พอการนึกเอา ความรู้สึกมันก็ต่างกันใช่ไหม ความรู้สึกก็เหมือนอารมณ์ธรรมดาเรานี้แหละ แต่พอสมาธิมันเป็นข้อเท็จจริงนะ มันเป็นอารมณ์อีกอารมณ์หนึ่ง มันเป็นความรู้สึกที่เราไปสัมผัสเอง พอสัมผัสเอง ถ้าใครมีสมาธิ หลวงตาบอกว่า พออยู่พอกิน คือรักษาตัวได้ คือจิตเรามันไม่ฟุ้งซ่านจนเกินไป เราจะรักษาตัวเราเองได้

ทำความสงบของใจคือมีที่อยู่ที่อาศัย พอมีที่อยู่ที่อาศัยแล้ว เราก็ต้องหัดใช้ปัญญา คือเราจะสู้กับกิเลส ไม่ใช่ว่า ดูกันอย่างนี้ แล้วมันจะเกิด ว่าเขานะ ว่าสมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นไม่ได้ หน้า ๒๗ จำเอาไว้แล้วไปเปิดดูเลย แล้วหาว่าเราโกหกอีก หน้า ๒๗ เมื่อพิจารณาจนดูจิตฝึกหัดจนจิตแก่รอบแล้ว จิตมันจะรวมเข้ามาเป็นอัปปนาสมาธิได้เอง

คำว่ารวมเข้าเป็นสมาธิได้เองเราพูดบ่อยมาก เวลาพวกโยมปฏิบัติ แล้วไม่มีสติหรือควบคุมไม่ได้เราใช้คำว่าส้มหล่นหรือฟลุ๊ค คำว่าฟลุ๊คนี่นะ เราใช้ประโยชน์ได้ไหม ชีวิตเรา ไม่ต้องทำงานอะไรเลย รอฟลุ๊ค รอฟลุ๊คแล้วเราจะดำรงชีวิตทั้งชีวิตได้ไหม ไม่ได้ เราต้องมีอาชีพ

ฟลุ๊คนี่นะ เหมือนพ่อแม่ให้ หรือถูกรางวัล ฟลุ๊คในชีวิตหนึ่งจะฟลุ๊คได้สักกี่หน การเข้าได้เอง คือส้มหล่นคือฟลุ๊ค มันเป็นไปได้ มันเป็นไปได้เวลาคนสร้างบารมีมา จิต เวลาปฏิบัติไปมันลงอย่างนี้ได้บ้าง แต่การลงอย่างนี้ได้เอามาใช้ประโยชน์กับเราเองจริงๆ ไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร

เหมือนเงิน เวลาเราได้เงินมาโดยฟลุ๊คเราจะใช้ดำรงชีวิตตลอดชีวิตได้ไหม เราก็ใช้ตอนที่ได้เงินมาใช่ไหม เราถูกล็อตเตอรี่ล้านนึง ผลาญเกลี้ยงเลยนะ แล้วจะเอาล้านที่สองที่ไหนล่ะ ไม่มีหรอก แต่ถ้าเราทำมาหากินเองนะ เรามีล้านที่หนึ่ง ล้านที่สอง ล้านที่สาม ล้านที่สี่ เราจะมีเงินล้านเรื่อยๆ เพราะเราทำเอง ทำสมาธิเพราะเหตุนี้ พอทำสมาธิเราทำสมาธิเอง เราทำความสงบของจิตเอง พอจิตสงบแล้วเรามีทุนเอง เราออกประพฤติปฏิบัติได้เอง นี่ สมาธิมันสำคัญตรงนี้

สำคัญที่ว่า ไม่ใช่ว่า มันจะเป็นไปได้เองโดยอัตโนมัติ โดยอัตโนมัตินี้เป็นไปได้เป็นครั้งคราวแต่ละบุคคลเป็นครั้งเป็นคราว บางคนไม่มีเลย บางคนเป็นได้ครั้งสองครั้งในชีวิต ส้มหล่นเป็นไปได้แต่นานๆ หนหนึ่ง มันจะไม่เป็นอีกเพราะอะไร เพราะเราเคยได้

ใช่ ฉะนั้น พอมันส้มหล่น ถ้ามันเป็นได้เอง หรือมันอัตโนมัติเราจะใช้ประโยชน์กับตรงนี้ว่า คนๆ นี้มีอำนาจวาสนาแค่ไหน แล้วมันเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์ที่ว่าเราเคยสัมผัส พอเราเคยสัมผัสแล้วมันมีเป้าหมาย เหมือนเช่นเราจะเข้ากรุงเทพฯ กัน คนบางคนเข้าใจว่ากรุงเทพฯ ไปทางถูกทาง คนๆ นั้นไปทางเส้นทางที่จะเข้าสู่กรุงเทพฯ

ไอ้เราเป็นคนเข้าใจผิด ว่ากรุงเทพฯ มันอยู่ที่ปัตตานี แล้วเราจะไปกรุงเทพฯ นะ เราขวนขวายไปกรุงเทพฯ เราก็เดินลงปัตตานีไปเราจะถึงกรุงเทพฯ ไหม ไอ้ส้มหล่น ไอ้ฟลุ๊ค มันก็เหมือนกับเราเข้าไปสัมผัสกรุงเทพฯ เหมือนกับเรารู้ว่ากรุงเทพฯ อยู่ตรงไหน การจะไปสู่กรุงเทพฯ มันก็มีเป้าหมายจริงไหม

แต่คนที่ไม่เคยเห็นตัวกรุงเทพฯ แล้วไม่รู้จักกรุงเทพฯ เลย คือคนไม่เคยสัมผัสเลย แล้วนั่งสมาธิก็พุทโธ พุทโธ แล้วพุทโธมันอยู่ไหนวะ แล้วมันจะไปทางไหน เห็นไหม มันต่างกันตรงนี้ไง ถ้ามันฟลุ๊ค มันส้มหล่น เหมือนเราเคยเข้าไปเห็นกรุงเทพฯ กูเคยไปเห็นแล้วแหละ แล้วกูจะไปกรุงเทพฯ กูจะไปยังไง มันได้ประโยชน์ตรงนี้

เวลาเราฟังนะ ฟังของใครเป็นยังไงปั๊บเราจะจับ แล้วเวลาเราสอน เราจะสอนตามนั้น คนเคยไปเห็นกรุงเทพฯ แล้ว แล้วกรุงเทพฯ นะ เอ็งก็เดินนับไม้หมอนเข้าไป ตามทางรถไฟ เดี๋ยวเอ็งจะถึงบางกอกน้อย เดี๋ยวเอ็งจะเข้าถึงกรุงเทพฯ เอ็งนับไม้หมอนไป พุทโธๆๆ เอ็งเดินบนไม้หมอนไป ตามทางรถไฟ เอ็งเข้ากรุงเทพฯ ได้แน่เลย

โยม : ตอนที่ว่าหัดทำสมาธิอยู่ช่วงหนึ่ง มันก็เป็นแบบเมื่อกี้นี้ที่หลวงพ่อว่า คือกำหนดเข้ามา พุทโธๆ แล้วมันก็แนบอยู่อย่างนี้

หลวงพ่อ : นี่ของจริง

โยม : แล้วมันก็ไม่นอน ๒ วัน ๓ วัน

หลวงพ่อ : นั่นแหละ

โยม : มันเป็นแบบนี้ไปได้อย่างไร

หลวงพ่อ : นั่นแหละมันเป็นไปแล้วใช่ไหม มันเป็นอีกแน่นอน! มันเป็นอีกแน่นอน! เพราะสิ่งที่เป็นนั้น มันเหมือนของอยู่ในตู้เซฟ ตู้เซฟนี้คือร่างกายเรา ของที่ซ่อนไว้คือหัวใจ เปิดตู้เซฟแล้วหยิบเอาหัวใจเราออกมา ตู้เซฟนี้มันมีหัวใจอยู่ในนั้น ร่างกายของเราเหมือนตู้เซฟแล้วมีหัวใจอยู่ในนี้ พุทโธ พุทโธ พุทโธ เข้าไปนี่ มันต้องไปชนหัวใจนี้แน่นอน ช้าหรือเร็วเท่านั้น

ของที่อยู่ในตู้เซฟนั้น ถ้าเอ็งเปิดตู้เซฟแล้วเอ็งเอามือเข้าไปหยิบ มันจะไม่เจอของนั้นได้อย่างไร ในเมื่อความรู้สึกนี้มันอยู่ในร่างกายนี้ ความรู้สึกของหัวใจที่อยู่ในร่างกายนี้ แล้วเราเคยพุทโธ พุทโธ เข้าไปเจอมันแล้วนี่ มันจะไม่เจอได้อย่างไร เพียงแต่เราอ่อนแอ เราล้มลุกคลุกคลาน ถ้าเป็นเรานะ เราเจออย่างนี้แล้วนะ กูจะไม่ไปไหนเลย กูจะเอาหัวชนฝากับมัน

โยม : แต่ตอนนั้นมันไม่รู้เรื่องอะไรนี่คะ

หลวงพ่อ : ตอนนั้นไม่รู้ แต่ตอนนี้รู้แล้วล่ะ

โยม : แล้วเคยไปภาวนาอีกที่หนึ่งมันก็จะ ก็พุทโธๆๆ ไปอย่างนี้ มันก็หายไปเลย

หลวงพ่อ : หายไปเลยนี่ไง นี่มันเป็น ๒ ประเด็น เห็นไหม เวลาพุทโธๆๆ เข้าไปถึงแนบกับจิตเลย มันไปถูกช่องทาง พอพุทโธๆๆ แล้วหายไปเลย พุทโธๆ แล้วสติมันขาดไปเลย

โยม : มันไม่ใช่ค่ะ มันรู้อยู่ แล้วมันเหมือนเราอยู่ในอะไรก็ไม่รู้ แล้วคนก็มาเรียก

หลวงพ่อ : นั่นกรณีหนึ่ง กรณีการปฏิบัติ การเข้าสมาธิแต่ละหน คิดดูซิ อาหารยี่ห้อเดียวกัน คุณภาพเดียวกัน กินวันนี้อร่อย กินบางวันไม่อร่อย กินบางวันดี เห็นไหม ไอ้นี่เรื่องสมาธิก็เหมือนกัน มันจะไม่เหมือนกันทุกครั้งไป สมาธินี้จะไม่เหมือนกันทุกครั้งไปนะ สมาธิคราวนี้ลงอย่างนี้ สมาธิคราวก่อนลงอย่างไร แต่ผลของมันคืออย่างนั้น

แล้วถ้าคนชำนาญแล้วนะ เพราะคนชำนาญ อย่างเราเมื่อก่อน ตอนภาวนา เราไม่กำหนดอะไรเลย เรากำหนดตัวจิต แล้วลงสู่เบื้องหลังตัวจิต พรึ่บ! ลงเลย สมาธิคืออยู่เบื้องหลังความรู้สึก เวลาเรากำหนดของเรา เราไม่เคยพูดคำนี้ออกมา เพราะกลัวคนจะเอาตาม แล้วมันจะหลงทางกันหมด

พุทโธๆ พุทโธไปก่อน พอมันชำนาญแล้ว ไม่ต้องพุทโธ ตั้งสติปั๊บ มันเข้าเลย เพราะสมาธินี้อยู่เบื้องหลังความคิด อยู่เบื้องหลังความรู้สึก คำว่าเบื้องหลัง พอถึงความรู้สึกปั๊บ มันหดเข้ามาถึงตัวมัน พอพ้นจากตัวมันไป มันก็ลงสมาธิ เรากำหนดรู้เฉยๆ เราลงเลย เรานี่

แต่เราไม่กล้าสอนใคร เพราะสอนแล้ว โทษนะ มึงหลงทางกันฉิบหายเลย เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราไม่เคยพูดให้ใครฟังอย่างนี้นะ บางทีเราหลุดนะ เราบอกเลย กำหนดรู้แล้วลงเลย กำหนดที่จิตนี่ กำหนดรู้ๆ พอมันลึกเข้าไปปั๊บ ลงสมาธิเลย

ทีนี้พุทโธๆ ก็เข้ามาสู่ผู้รู้นี่ไง ไอ้นี่มันต้องอยู่ที่ผู้ชำนาญ คนชำนาญทำอะไรก็ได้ แต่คนชำนาญ เอาความชำนาญของเขาไปสอนเด็ก เด็กที่มันไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีอะไรนี่มันทำไม่ได้นะ ฉะนั้นเด็กที่ไม่มีวุฒิภาวะ ต้องให้มันเกาะพุทโธไว้ ให้มันเกาะสิ่งใดไว้เพื่อไม่ให้มันหลุด ไม่ให้มันหลง

เราเองนี่นะ เมื่อก่อน พุทโธๆ ตอนหลังไม่เคยกำหนดพุทโธเลย กำหนดรู้เฉยๆ นะ แล้วให้มันหดเข้ามาอย่างที่พูดประจำ ว่าเวลาเข้าสมาธิเขาบอก การเข้าสมาธิ เราก็นึกว่า เปิดประตูเข้า-ออก ไม่ใช่!

การเข้าสมาธิมันเหมือนกับจิตมันหดเข้ามาๆ แล้วหดเข้ามานี่ บางทีมันหดเข้ามาแล้ว มันจะสว่างขนาดไหน มันจะลงลึกขนาดไหน มันจะลงถึงที่สุดขนาดไหน มันจะควงตัวมันลงอย่างไร โธ่ ถ้าของเราเป็นนะ ถ้าเราเป็นนะ สติมันจะพร้อมนะ แล้วไม่มีการตกใจ เชิญครับ เชิญเลยๆ ตามไปเลย จะลงตรงไหนก็ได้ ทำมาหมดแล้ว ไม่อยากจะพูด เพราะอะไรรู้ไหม

การอวดอุตริ แม้แต่การทำฌานสมาบัติก็อวดอุตริ เพราะมันเป็นธรรมเหนือมนุษย์ ฉะนั้นเราถึงไม่พูด เราไม่เคยพูดและไม่อยากพูด

โยม : ก็เท่ากับว่าเราต้องยึดเจ้าสิ่งนี้ไป

หลวงพ่อ : แน่นอน!

โยม : ถ้ามันจะเป็นอะไรก็ให้มันเป็นไป

หลวงพ่อ : เวลาเราทำ เราทำอย่างนั้น เราพูดนะ บางทีเวลาจิตเราลงนะ เราพูดไปนี่ พวกภาวนาเขาไม่เชื่อ เขามาถามเลยว่า อัพยากฤต คืออะไร เขามีความคิดกันว่า อัพยากฤต นี้เป็นองค์ของพระอรหันต์ เราบอก “ส้นตีน”

อัพยากฤต มันก็สุข-ทุกข์ เห็นไหม สุขเวทนา ทุกขเวทนา อัพยากฤตเวทนาใช่ไหม อัพยากฤต คือ อุเบกขา อุเบกขาคือตัวกิเลสเต็มๆ เลย เพราะอะไร เพราะเราเฉยอยู่ อุเบกขา คือตัวนั้นอยู่ อุเบกขามันจะลงไปซ้ายขวาใช่ไหม เพราะเขาไม่เคยเข้าสมาธิไง เพราะตัวสมาธิไม่ใช่อุเบกขา นี่เราจะเข้าตรงนี้ไง

ถ้าอุเบกขา เราปล่อยเฉยๆ อยู่ ปล่อยเฉยๆ อยู่ ลงสมาธิไม่ได้! ลงสมาธิไม่ได้! จะลงสมาธิได้ก็ต่อเมื่อ พุทโธๆๆ เราเปรียบเหมือน รีไซเคิลน้ำ ถ้าน้ำสกปรก เราอัดออกซิเจนเข้าไป เรากวนมัน น้ำนี่จะสะอาดไหม ทำอยู่อย่างนี้ ใครจะว่ากูบ้า กูก็ทำของกูอย่างนี้ แล้วถ้าไม่เป็นสมาธิ มาเตะกูเลย

นี่ก็เหมือนกัน พุทโธๆๆ นี่ เราพูดบ่อย นิสัยเราเป็นคนอย่างนี้ ถ้ามันจะเอาอะไร มันจะเอาจริง มันจะทดสอบ ไปอยู่กับอาจารย์องค์ไหนนะ ไอ้ฌานสมาบัตินี่ ที่ทำนี่ ทำเพราะหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ท่านบอกว่าต้องทำฌานสมาบัติ ถ้าทำสมาบัติจนชำนาญมาก แค่เคี้ยวหมากแหลก ใครเอาปัญญาอย่างนี้ ถ้ามีสมาบัติอย่างนี้ออกมาแค่เคี้ยวหมากแหลกมาพิจารณา จะเป็นพระอรหันต์เลย เราก็ลอง

ไอ้ที่ใครสอนๆ เราก็ลองหมดนะ ไอ้พุทโธๆๆ เราก็ลอง อานาปานสติ ขณะเรากำหนดลมไปนี่ ถ้าจิตมันเป็นกลาง แต่มันไม่ลงสมาธิ พอจิตเป็นกลางแล้วสมาธินี่ มากำหนดลม ลมเป็นแท่งเลย เขาบอกว่าเป็นไปไม่ได้ๆ คนปฏิบัติไม่เป็น เขาบอกว่าเป็นไปไม่ได้

ลมเป็นแท่งเลย คำว่าลมเป็นแท่งนี่นะ เหมือนเวลาจิตเราสงบ พอจิตเราสงบบางคนจะเห็นเป็นแสงสว่าง เห็นเป็นดวงแก้ว เห็นเป็นอะไร เห็นไหม เห็นนั้นคืออะไร เห็นคือจิตมันมีพัฒนาการของมัน แล้วมันส่งออกไปเห็น ไปรับรู้เหมือนในนิมิต

ฉะนั้นเวลากำหนดลมหายใจ จิตมันไม่ลง คือจิตมันไม่ลงอัปปนาสมาธิ มันรับรู้ของมันอยู่ ทีนี้รับรู้ของมันอยู่ มันแบบ มันกึ่งๆ พอกึ่งจิตเป็นสมาธิอยู่ แต่ไม่ลงลึก พอไม่ลงลึกมันมีกำลังของมัน พอมีกำลังของมันปั๊บ มันมีพลังงานของมัน พลังงานมันก็เห็นสายลมที่เราสูดเข้าจมูกนี่ เป็นลำแท่งเลยนะ เป็นเหมือนเอาบุหรี่แท่งใหญ่ๆ เสียบไว้ปลายจมูกเลยล่ะ ใส

บอกเขา เขาไม่เชื่อนะ เขาบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เราบอกไอ้นี่มันกึ่ง นี่อัพยากฤต กึ่ง ไม่ดีและชั่ว จิตกลางๆ จิตไม่ลงสมาธิลึก แต่จิตก็ไม่ออกมาอยู่กับโลก แต่นี้พอกำหนดไปเรื่อยๆ ทุกอย่างหายหมด ความรู้สึกละเอียดเข้าไป จากกึ่งมันจะเข้าไปสู่ อุปจารสมาธิ จะเข้าไปอัปปนาสมาธิ

พอเข้าอัปปนา กำหนดลมไปเรื่อยๆ มันเริ่มหายเลย เริ่มไม่รับรู้ลม พอไม่รับรู้ลมมันก็ตกใจใช่ไหม เฮ้ย กูไม่ตายเหรอ เฮ้ย สติมันทัน แล้วใครจะตาย พออย่างนั้นแล้วจิตมันก็ไม่กระเพื่อมออก ก็ตามมันไป เฮ้ย เดินไม่ได้ ก็นั่งลง พอนั่งลงปั๊บ มันก็เริ่มละเอียดเข้าไป

ถ้าใช้คำว่าดับ มันก็ไม่ใช่สมาธิ แต่มันเป็นระหว่าง ดับข้างนอกรู้ข้างใน คืออายตนะนี่ดับหมด ความรับรู้ของผิวหนัง ความรับรู้ของความรู้สึกไม่มีเลย แต่ตัวภายในนี่เด่นมาก สักแต่ว่ารู้ เวลาหลวงตามาโพธาราม หลวงตาพูดบ่อย “ไอ้ที่ว่า รวมใหญ่ๆ” แล้วท่านบอกว่า “ถ้าใครไม่รู้เรื่องรวมใหญ่ ไม่เข้าใจหรอก”

ไอ้เรานั่งฟังอยู่นะ แหม แหม ทุกทีล่ะ สังเกตได้ว่า ถ้ามาโพธาราม จะพูดเรื่องนี้ประจำ ไอ้รวมใหญ่ๆ นี่ ไปดูเทป ที่มาโพธารามสิ พูดแต่เรื่องนี้ แล้วเราก็นั่งฟังอยู่ แล้วว่า สมาธิไม่สำคัญ สมาธิแก้กิเลสไม่ได้หรอก

แต่ในเมื่อเราอยู่ในวงการของพระ เราอยู่ในวงการของการปฏิบัติ มันก็เหมือนกับค่าของสมาธิ ค่าของปัญญามันหยาบ ละเอียด แล้วคนมันใช้หลากหลาย เหมือนกับในห้างสรรพสินค้า มันมีสินค้าหลากหลาย ในจริตนิสัยของคน การปฏิบัติของคน ความเห็นของคน จริตนิสัยของคน อำนาจวาสนาของคน มันหลากหลายมาก

ถ้าครูบาอาจารย์ไม่มีปัญญาอย่างนี้ เวลาเขาปฏิบัติมา มันเจอประสบการณ์ของจิตแต่ละดวง มันจะไม่เหมือนกันเลย คนหนึ่งเห็นอย่างหนึ่ง คนนี้รู้อย่างหนึ่ง คนนี้เป็นอย่างหนึ่ง แล้วมึงจะเอาอะไรไปแก้เขา แต่อย่างนี้เวลาของเขา เขาพูดเป็นสูตรสำเร็จเลย พอสูตรสำเร็จแล้วนี่ มันเป็นทางวิชาการ

ทางวิชาการสูตรสำเร็จนี่มันเป็นตรรกะ พอตรรกะพูดไปนี่คนก็รู้ได้ พอทุกคนรู้ได้ก็นี่ อืม ธรรมะที่เข้าใจได้ แต่ถ้าเป็นสมาธิ คนไม่เข้าถึงสมาธิ พูดถึงสมาธิไม่รู้ แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านเอาตรงนี้เป็นพื้นฐาน พอบอกสิ่งนี้เป็นพื้นฐานที่เราจะต้องประพฤติปฏิบัติ

ทุกคนบอกว่า “เมื่อไหร่เราจะได้ปฏิบัติล่ะ? เราไม่ตายไปก่อนเลยเหรอ เราถึงจะได้สมาธินี่ ไม่ใช่เราต้องตายไปแล้วแล้วค่อยได้สมาธิเหรอ?”

ทีนี้ในการปฏิบัติ มันไม่ต้องได้ถึงสมาธิอย่างนั้น อย่างที่เขาพูดเห็นไหม มันใช้ปัญญาไล่เข้าไปก็ได้ ใช้สมาธิ เราปฏิบัติเข้าไป สมาธิจะมากหรือน้อยเราพยายามทำของเราเข้าไป เราฝึกปัญญาของเราเข้าไป ปัญญามันมีตั้งหลายระดับ ปัญญานี้มันกว้างขวางนัก เวลาเข้าถึงขั้นของปัญญา

หลวงตาบอก “ขั้นของปัญญาไม่มีขอบเขต ถ้าขั้นของปัญญามีขอบเขตนะ เราละกิเลสไม่ได้ เพราะกิเลสมันจะไปแอบซุกอยู่ตรงนั้น”

ฉะนั้นเวลาเราไล่ไป โสดาบัน สกิทาคา อนาคา มันจะต้องสะอาดบริสุทธิ์หมด มันจะไม่มีเหลือบ มีซอกที่ไหน ให้กิเลสมันแอบได้เลย แต่เวลาของเขามันเป็นอัตโนมัติ อัตโนมัติมันเหมือนกับเรารับรู้อะไรไม่ได้เลยใช่ไหม มันเป็นไปเอง กิเลสทั้งนั้นเลย! กิเลสทั้งนั้นเลย!

โยม: หลวงพ่อคะคืออย่างนี้เราเถียงตอนแรกคือว่าอินทรีย์เราอยู่ข้างในอย่างนี้ใช่ไหมค่ะ

หลวงพ่อ : อินทรีย์นี่อินทรีย์แก่กล้า อินทรีย์มันเป็นพละ อินทรีย์มันก็เหมือนใจ อินทรีย์เห็นไหม จักขุนทรีย์ ฆานินทรีย์ อินทรีย์คือความรับรู้โดย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จักขุนทรีย์เห็นไหม มันมีของมัน แล้วนี่ในสัมโพชฌงค์ ในปัญญาของการพ้นจากกิเลส มันต้องมีอินทรีย์แก่กล้า

คำว่าอินทรีย์แก่กล้า พละ พลังของที่ว่า เหมือนวุฒิภาวะเราได้ตำแหน่งอะไร อย่างเรานี่ ให้เราเป็นผู้อำนวยการ แต่ในสมองมีแต่ขี้เลื่อย โอ้ องค์กรกูล่มแน่ๆ เลย นี่อินทรีย์ไม่พอไง คือวุฒิภาวะ ความรู้เราไม่มี แต่ถ้าอินทรีย์เราแก่กล้านะ โธ่ ทาสเป็นกษัตริย์ สมัยก่อน ทาสทั้งนั้นนะ ทาสเป็นกษัตริย์ รวมพลขึ้นมาแล้วเปลี่ยนแปลงการปกครอง นั่นเขาพร้อมของเขา ปัญญาของเขา แน่นของเขา นี้มันเป็นโดยอำนาจวาสนา

ฉะนั้นอย่างเราเวลาปฏิบัติ เราจะเอาทฤษฎีเป็นตัวตั้ง แล้วเราจะทำให้ครบบริบูรณ์อย่างนั้น มีลูกศิษย์มาหาเยอะมาก เราพูดถึงมรรคสามัคคี มรรคเวลาชำระกิเลส ทุกคนจะบอกว่า แล้วใช้สมาธิน้ำหนักเท่าไร ปัญญาน้ำหนักเท่าไร สติน้ำหนักเท่าไร แล้วเอามาชั่งรวมกัน มันเหมือนแกงไง ให้มันเป็นแกงขึ้นมา มันเป็นไปไม่ได้หรอก

อ้าว เอ็งกินแกงส้ม เรากินแกงเผ็ด ไอ้นั่นกินแกงจืด แล้วแกงใครถูกล่ะ แล้วมึงจะเอาน้ำหนักอะไรมาชั่ง มันจะกินแกงจืด เราบอกต้องใส่พริกแกงเยอะๆ แกงจืดใส่พริกแกงได้หรือเปล่า อ้าว แกงจืดเขาก็ไม่ต้องใส่พริกแกง นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติมันของใครของมัน

เราไม่ต้องตั้งทฤษฎีแล้วจะทำเพื่อเข้าไปสู่ทฤษฎีนั้น เราต้องตั้งที่ความทุกข์ ตั้งที่เกจของเรา แล้วเราจะชำระล้างมันตรงไหน เราไม่ได้ตั้งที่ทฤษฎีนะ เราตั้งที่อริยสัจ ตั้งที่ความจริงกลางหัวอกเรานี่ เราติดขัดอะไร เราไม่พอใจอะไร สิ่งใดทำให้เราเป็นทุกข์ เอาตรงนั้นเป็นตัวตั้ง แล้วสู้กับตรงนั้น จะอ่อนจะแก่จะหนักจะเบา แล้วแต่อำนาจของคน

บางคนเห็นไหม ของทุกข์เล็กๆ น้อยๆ นี่ฝังใจ โอ้โฮ มันฝังใจไปจนวันตาย บางคนทุกข์ใหญ่ยังกับภูเขาเลยนะ เขาเข้าใจปั๊บ เขาทิ้งได้เลย แล้วมึงจะเอาตรงไหนเป็นตัวตั้ง เอาทุกข์ประจำใจของเราเป็นตัวตั้ง ทฤษฎีของพระพุทธเจ้า สาธุ! วางไว้ ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนคนหลากหลาย สอนคนทั่วโลกธาตุ เอาอริยสัจของพระพุทธเจ้า ให้เราทำตามนั้น แล้วเอาความทุกข์เอาเรื่องของเราเป็นตัวตั้ง

อัตตาหิ อัตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แล้วทำของตน เอาตรงนี้ แล้วเวลาทำของเรา เราปฏิบัตินะ อย่างเช่นเรานี่นะ พอได้สัมผัสอะไร มันเป็นนิสัยของคน ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า นักปฏิบัติห้ามพูดมาก ห้ามคุยกัน ห้ามทุกอย่างเลย เพราะการคุยกันมันเป็นการพูดออกมาจากความรู้สึก และพอพูดออกไปแล้ว คนจะเห็นกับเราหรือไม่เห็นกับเรานี่ เราจะเกิดความหวั่นไหว แล้วมันจะสะเทือนหัวใจให้มันเสื่อม

แต่สำหรับเรานะ นิสัยเราแปลก ไม่เหมือนใครอื่น ถ้าไปบอกว่ากูได้สมาธินะ กูต้องทำสมาธิ กูจะอยู่ได้ตลอดไป ถ้าไม่อย่างนั้นถือว่ากูโกหก ถ้ากูไปพูดกับใครว่ากูได้อะไรนะ กูต้องทำให้ได้อย่างนั้น ถ้ากูไม่ทำอย่างนั้นแสดงว่ากูโกหก กูเป็นอาบัติ นิสัยเราแปลกกว่าเขา ถ้าเราทำอะไรได้แล้วนะ เราถึงจะบอกว่าเราได้อย่างนี้ๆ แล้วอย่างนี้เราต้องรักษาของเราได้ด้วย

ถ้าเราไม่ได้อย่างนี้แสดงว่าเราพูดไม่จริง แต่เราอยู่ในวงกรรมฐาน เราอยู่ในวงปฏิบัติ เราเห็นเยอะ เวลาพระคุยกัน พระไปบอกถึงการปฏิบัติแล้วเสื่อม เยอะมาก เพราะพระจะรู้กันก็เวลามาปรับทุกข์กัน เวลามานั่งปรับทุกข์กัน เพราะมันจะอยู่ด้วยกันตลอดเวลาใช่ไหม

เดี๋ยวคนนู้นมาปรึกษาเรื่องนั้น เดี๋ยวเราคุยกันกับอาจารย์องค์นู้น เฮ้ย ทำไมจิตกูเป็นอย่างนี้ ทำไมวันนี้มันเป็นอย่างนี้ล่ะ พระเรานี่จะคุยกันตลอด แล้วพอเวลาใครคุยกันเราจะจับประเด็น อ๋อ ไอ้นี่จะเสื่อมอย่างนี้ ไอ้นี่จะเป็นอย่างนี้ ไอ้คนนี้จะเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเราพูดนะ เราต้องรักษาสิ่งที่เราพูดได้ ถ้ารักษาไม่ได้แสดงว่าเราโกหก เออ มันแปลกกว่าเขา เราเคยเอาตรงนี้มาพิจารณาของเรา

ฉะนั้น ไอ้อย่างที่ว่า ทฤษฎีๆ นี่ จริงๆ ธรรมพระพุทธเจ้า หลวงปู่มั่นท่านก็ สาธุ แล้วเราก็พูดนะ สิ่งที่มันขัดแย้งกันๆ มันเป็นเพราะว่า ปริยัติกับปฏิบัติมันมารวมกัน เราไม่เคยคัดค้านปริยัติเลย ถ้าเราคัดค้านปริยัตินะ เรามีวัดอยู่ ๗ วัด ในทุกวัดของเราจะมีตู้พระไตรปิฎกทุกวัดเลย

ถ้าเราขัดแย้งกับทฤษฎีนะ เราจะไม่เอาพระไตรปิฎกมาไว้ในวัดเราหรอก ในวัดเราทุกวัด จะมีตู้พระไตรปิฎก มีหนังสือพระไตรปิฎก มีบุพสิกขา มีวินัยมุข มีทุกอย่างเลย เพราะเราต้องการให้พระเราค้นคว้า ถ้าพระเราเวลาปฏิบัติไป มันติดขัดอะไร ให้มาค้นคว้า เราไม่ได้ปฏิเสธปริยัติเลยนะ แต่ปริยัตินี่เอาไว้ค้นคว้า

พวกอภิธรรมนี่ปริยัติ พอปฏิบัติเสร็จแล้วต้องทบทวนๆ อภิธรรมพอปฏิบัติเสร็จแล้วต้องไปหาอาจารย์เพื่อให้อาจารย์คอยสอบอารมณ์คอยทบทวน นี่คือปริยัติ ถ้าเอ็งเผลอเอ็งก็เปิดหนังสือดูได้

แต่ปฏิบัติไม่เป็นอย่างนั้น ปฏิบัติมันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นอริยสัจ มันอยู่ที่ความรู้สึก เวลามันขยับ ขยับพร้อมไปกับอริยสัจ มันขยับไปพร้อมกับสมาธิ ขยับไปพร้อมกับปัญญา มันเป็นเรา อริยสัจนี้มันอยู่บนหัวอก ไม่มีการทบทวน จิตนี้เป็นอริยสัจ จิตนี้เป็นความจริง จิตนี้รู้จริง ไม่ใช่ปริยัติ

ปริยัติมันหลงมันลืม แต่อริยสัจนี้ไม่มีลืม หลวงตาท่านบอก เดี๋ยวนี้จำอะไรไม่ได้ ลืมหมดเลยๆ ลืมนี่เป็นเรื่องสมอง ใครไปถามปัญหาการปฏิบัติท่านสิ ปัญหาการปฏิบัติ ปัญหาอริยสัจมันอยู่กลางหัวอกท่าน แต่เรื่องวันเวลา เรื่องของสมมุติ เรื่องของชื่อ เรื่องของนาม

ไก่เปลี่ยนชื่อ ไก่ตัวนี้มันตีชนะ มันชื่อไอ้สองแสน พอมันไปตีชนะสนามล้านหนึ่ง มันชื่อไอ้ล้าน จากสองแสนมันเปลี่ยนเป็นไอ้ล้านแล้ว ชื่อสมมุติมันเปลี่ยนทุกวัน พอมันเปลี่ยนแล้ว คราวนี้เจอ โยมชื่อ นาง ก. พออยู่บ้านไปเปลี่ยนเป็น นาง ข. ทำนิติกรรมหมดเลย เปลี่ยนทุกอย่าง สมุดฝากเงินเปลี่ยนเป็น นาง ข. หมดแล้ว

พอมาหาเรา เราเรียก นาง ก. อยู่นะ เราไม่รู้หรอก เพราะเรารู้จักว่า ก. แต่เขาไปเปลี่ยนชื่อใช่ไหมเป็น ข. เปลี่ยนเสร็จเขาต้องไปเปลี่ยนสมุด เปลี่ยนทุกอย่างเป็น ข. หมดเลย เขาเรียกกัน ข. เรายังเรียก ก. อยู่เลย นี่สมมุติเห็นไหม ลืมได้ไหม แต่อริยสัจลืมไม่ได้ อริยสัจคือความจริง ความรู้สึกอันจริงนั้น ไม่มีลืม ใจมันเป็น นี่ปฏิบัติ

ฉะนั้นสิ่งที่เป็นทฤษฎีเราพยายามทำให้เหมือนนะ ไม่ใช่หรอก ทีนี้สิ่งที่เขาพูด ปริยัติ ปฏิบัติมันมารวมกัน มันก็เลยยุ่ง แล้วคนที่ปฏิบัติไม่เป็น มันจะออกอย่างนี้บ่อยๆ คนที่ปฏิบัติไม่จริง เวลาพูดออกไปแล้วมันจะหลุด นี่ขนาดเป็นหนังสือตรวจทานด้วยนะ ตรวจพรูฟด้วยนะ เวลาติบอกว่าสมาธิเกิดปัญญาเองไม่ได้ มีเหตุมีผลอธิบายพร้อมเลย บทสรุปของตัวเอง จิตรวมลงเป็นอัปปนาสมาธิได้เองโดยอัตโนมัติ แล้วเกิดอริยสัจขึ้นเอง อ้าว เวร! ก็มึงบอกเขาผิดมาหมดเลย แต่ผลของมึงที่ทำ ก็เหมือนกับที่มึงบอกว่าผิด

โยม : เขาเอามาให้หลวงพ่อตรวจสอบใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ก็ไม่อยากให้เขาเป็นอย่างนั้น ทำในสิ่งที่ถูกที่ผิดใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ไม่ใช่! คือว่า พวกนี้ลูกศิษย์ มาจากชลบุรี เขาก็ลูกศิษย์กรรมฐาน แล้วพอมาเจอหนังสืออย่างนี้ปั๊บ เขาก็รวนเร พอมาเจอหนังสืออย่างนี้ปั๊บเขาบอก ทำสมาธิก็ผิด หลงเข้าไปในดงรกชัฏเลย แล้วยังนี้ แล้วเขาปฏิบัติอยู่ เขาก็งง แล้ววันนั้นมาเราไม่มีเวลา แล้วหนังสืออย่างนี้มาหาเราเยอะมาก แล้วไม่ใช่เล่มนี้ ไอ้ที่ว่าเป็นได้เองๆ อริยสัจเอย ทางเอกเอย เป็นอย่างนี้ทั้งนั้น เราอ่านมาหมดแล้ว แล้วเขาก็ไปพูดในเว็บไซต์

พระสงบ ไม่เคยอ่านหนังสือครบเลย พระสงบ ไม่รู้เรื่องเลย เอ็ดเขาอย่างเดียว

กูไม่ต้องอ่านทั้งเล่มหรอก กูอ่านไฮไลท์มัน ตรงจำเป็นที่จิตมันจะเปลี่ยนแปลง พระปฏิบัตินะ เขาจะรู้กันว่าทำอย่างใด สำคัญตรงไหน ตรงไหนมันเปลี่ยนแปลง เหมือนกับ ผ่านจากอนุบาลขึ้นประถม มันออกจากอนุบาลไปเข้าประถม มันต้องมีเอกสาร

ออกจากประถมไปเข้ามัธยม มันก็ต้องมีเอกสาร ออกจากมัธยมไปเข้าอุดมศึกษามันก็ต้องมีเอกสาร เขาดูตรงนี้ มึงบอก มึงจบมหาวิทยาลัย แต่ใบประกาศประถม มัธยมมึงไม่มีสักใบ มึงทุจริตมาจากไหน มันเป็นไปไม่ได้ ถ้ามันเป็นไปได้ ไฮไลท์ของการปฏิบัติมันอยู่ตรงนี้

หลวงตาถึงบอกว่า “ไม่รู้พูดไม่ได้” คนจะพูดนี่คนต้องรู้ แล้วคนที่ไม่รู้มันพูด มันผิดตลอดไป แล้วหนังสือของเขาเป็นอย่างนี้ตลอดนะ ที่มาหาเรา เราเผาหมด เขาส่งมา พระเขาส่งมาเหมือนกัน พระทั่วไป เขาคิดว่าพระเมืองไทย โง่หมด ถ้าเอาหนังสือเขาแจกไป อ่านแล้วทุกคนจะเชื่อหมด แต่เขาลืมไปว่า พระที่เขารู้จริงนี่ มันมี คนรู้จริงมันมีนะ

ถ้าคนรู้จริงมันมี ไอ้คนรู้จริง เขาก็รู้จริงมันรู้ภายใน คำว่ารู้จริง ความรู้อย่างนี้กับทางโลกนี่มันไม่เหมือนกัน ความรู้อย่างนี้ มันจะรู้มีสักกี่คน หลวงตาพูดบ่อย คนรู้จริงมี แต่คนรู้จริง มันรู้เก็บไว้ข้างในไง ก็พูดออกมาแล้วมันสื่อความหมายกันไม่ได้ คือคนของเขาจะรู้กับเราไม่ได้ เขาจะรู้อะไรกับเรา แล้วพออธิบายไป อธิบาย จนปากเปียกปากแฉะ แล้วมันรู้ไหม

มันทนฟังอยู่นี้แหละ แต่จะให้รู้มันรู้ด้วยไม่ได้หรอก รู้ด้วยไม่ได้ เราถึงพูดคำนี้แล้วคนไปพูดว่าเราพูดด้วยการเล่นแง่ เราบอกว่ามันเป็นปัญญาคนละมิติ คนเขาฟังกันเขาว่าเราเล่นแง่ แต่ความจริงไม่ได้เล่นแง่ ความจริงมันเป็นทางลึก ทางลึกของจิต ความคิดของสมอง

ความคิดโดยสามัญสำนึกเป็นความคิดของปุถุชน ความคิดในการรักษาตนได้ เป็นความคิดของกัลยาณปุถุชน ความคิดของพระโสดาบัน โสดาปัตติมรรค ความคิดที่ว่าจิตเห็นอาการของจิต แล้วเรารับประกันได้ด้วยการดูจิตของเขา ไม่เคยเห็น "จิตเห็นอาการของจิต" ถ้า "จิต เห็นอาการของจิต" เขาจะไม่พูดแบบนั้น

อย่างเช่นเรา พวกหมอ เราฉีดยาเขา ยาน้ำกลั่น ได้ผสมตัวยา แล้วฉีดไป ในยานั้นมันจะมีคุณภาพ แต่ถ้าเราเอาน้ำกลั่น มาดูดน้ำกลั่น แล้วฉีดเฉพาะน้ำกลั่นเข้าไป ยานั้นจะมีคุณภาพไหม การฉีดน้ำกลั่น กับการฉีดยา ก็คือการฉีดเหมือนกัน แต่ให้ผลในคุณภาพของยา แตกต่างกัน

ความคิด! ความคิดโดยสามัญสำนึกพวกเรา มันเป็นน้ำกลั่น มันเป็นธรรมชาติเป็นสามัญสำนึกของมนุษย์ มันไม่มีความสงบของจิต ความสงบของจิตถ้าจิตมันสงบเข้าไปแล้ว ความคิดที่มันเกิดขึ้นมา มันเป็นความคิดที่น้ำกลั่นผสมยา มันไม่ใช่ความคิดของน้ำกลั่นเฉยๆ

ความคิดของน้ำกลั่นกับยาที่ผสมกันแล้วมันเข้าไปทำลายพวกเคมีของยาพวกตัวยามันเข้าไปทำลายเชื้อโรค มันมีของมันนะ เพราะถ้าคนเป็นอย่างนั้น อย่างเช่น พวกหมอ เวลาเขาจะให้ยา เขาผสมยา เขาฉีดยา เขารู้ว่าเขาจะให้ยาอะไร

แต่เราเป็นครูพักลักจำ เห็นเขาฉีดยา กูก็จะฉีด เห็นเขาดูดน้ำกลั่นกูก็ดูด แต่กูไม่ได้ผสมเพราะกูไม่รู้ว่าจะผสมอะไร กูก็อัดน้ำกลั่นมึงไว้ทุกวัน กูก็อัดน้ำกลั่นให้มึงตลอด แล้วคนไข้กูหายได้นะ อ้าว คนไข้กูหายได้ด้วย หายแล้วเดี๋ยวก็ตายไง เราอ่านหนังสือของเขาทั้งหมด มันเป็นอย่างนี้มาโดยตลอด! มันเป็นอย่างนี้มาตลอด! แต่เราไม่พูด

เราเคยพูดไปครั้งแรกเลย เราพูดเรื่องสติ เขาบอก สติไม่ต้องฝึก มันฟ้องถึงว่า คนๆ นี้ ภาวนาไม่เป็น หลวงตาบอกว่า การฝึกทุกอย่างสติเป็นตัวเริ่มต้น สติ เป็นตัวฐาน ขาดสติ คนขาดสติเหมือนกับไม่ได้ปฏิบัติ สักแต่ว่าปฏิบัติ จะไม่ต้องปฏิบัติเลย แต่เขาบอกว่า สติไม่ต้องฝึก ถ้าฝึกสติแล้ว มันจะเป็นเรื่องของโลก มันจะเป็นเรื่องของการสร้างมันต้องเป็นไปเอง

เราก็ค้านไปว่า ถ้ามันไม่ต้องฝึก ทำไมมีสติ มีมหาสติ มีสติอัตโนมัติ สติมันเติบโตอย่างใด เขาก็แก้ไขมา เขาแก้ไขมาตลอด เขาจะส่งคนมาถาม พอเราตอบแล้วเขาก็จะแก้ไขหนังสือเขามาตลอด เราเห็นทางเอก แก้ไขมาตลอด แค่บทนำ แก้ไขหลายที แล้วพอมีการอย่างนี้ปั๊บ เราไม่เคยเชื่อถือเลย เพราะหลวงปู่มั่นบอกว่า

ถ้าเป็นธรรม ต้อง! ต้อง! ต้อง! ต้อง! คือ ไม่มีการคลาดเคลื่อน ธรรมะของหลวงปู่มั่น ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่เคยคลาดเคลื่อนมาตั้งแต่สองพันกว่าปีมาแล้ว ธรรมะของพวกนี้มันเป็นนิยายธรรมะ มันแต่งใหม่ มันแก้ไขใหม่ มันเขียนใหม่ ทุกเล่มที่พิมพ์ใหม่ ไม่เคยเชื่อ ไม่เชื่อ เอาปืนมายิงทิ้งก็ไม่เชื่อ!

นี้พอไม่เชื่อขึ้นมา เหตุผลอะไรถึงไม่เชื่อ เหตุผล พอเราอธิบายขึ้นมา เราอธิบายถึงเหตุผล มันก็ไม่เห็นเป็นไรเลยหลวงพ่อ มันก็คล้ายๆ กัน มันก็เหมือนๆ กัน มันเหมือนๆ กัน เพราะมิติของพวกเราความคิดมันระดับเดียวกันไง แต่คนที่มีวุฒิภาวะที่ความคิดเขาลึกกว่า เขาเห็นถึงความเสียหายเลยนะ

เห็นถึงความเสียหายอะไร นี้คือการชักนำให้หลงทาง เขาบอกว่าการปฏิบัติสมาธิคือเป็นการหลงอย่างหนึ่ง หลงอย่างนั้นนะ หลงนับทางหมอนรถไฟเข้ากรุงเทพฯ หลงอย่างนั้นมันมีโอกาสถึงกรุงเทพฯ นะ พุทโธๆๆ มันจะหลงขนาดไหนนะ ถ้าเอ็งนับไม้หมอนเข้ากรุงเทพฯ ถ้าเอ็งไม่แยกออกไปทางเมืองกาญจน์ เอ็งจะเข้าถึงกรุงเทพฯ นะโว้ย

แต่ถ้ามึงทำอย่างนี้นี่นะ ไม่นับไม้หมอนนะ แล้วเข้าใจว่ากรุงเทพฯ อยู่ปัตตานีนะ มึงเดินไปอีก ๑๐๐ ชาติ ทำสมาธิว่าหลงๆ มีโอกาสถึงกรุงเทพฯ นะมึง ทำสมาธิว่าหลงๆ มึงมีโอกาสเข้าถึงกรุงเทพฯ นะ แต่ถ้ามึงหัดฝึกจิตดูจิต มึงจะอ้อมโลก มึงต้องออกไปฟิลิปปินส์ มึงต้องออกไป นอกประเทศเลย แล้วมึงถึงจะเข้ามา หลงอย่างนั้นยิ่งไปใหญ่เลย

ประเด็น : หลวงพ่อ..... เทศน์เมื่อ ๒๑ ปี ๔๙ ว่า การทำกรรมฐานอะไรก็ได้ เพื่อให้คอยหัดรู้สภาวะ การเปลี่ยนแปลงของจิตใจตัวเอง เช่น ใจเกิดอะไรขึ้นก็ให้รู้ทัน จิตเพ่งจิตหนีให้หัดรู้คอยดู (จะนั่งก็ได้ จะเดินจงกรมก็ได้) เห็นซ้ำไปนานๆ สติจะเกิดเอง

หลวงพ่อ : ไม่เชื่อ สติจะเกิดเอง เวลาอ่านยังงี้ปั๊บ สะดุดใจเราแล้ว

ประเด็น : สติจะเกิดเอง พอจิตเผลอปั๊บ สติก็เกิดเอง

หลวงพ่อ : พอจิตมันเผลอปั๊บ สติมันก็หายปุ๊บ มันก็คิดไปนอกเรื่องแล้ว พอนี่ไง เห็นซ้ำไปนานๆ สติจะเกิดเอง พอจิตเผลอปั๊บ สติก็เกิดเอง เวลาเราหลับในนะ แล้วเราจะฟื้นเอง ขับรถไปนี่หลับในนะ หลับในแล้วตื่นตัวเอง สติเกิดเองเวลาเราอ่าน แล้วมันทุเรศทุกทีนะ ทำไมคนมันเชื่อได้วะ แปลกฉิบหาย

ประเด็น : สติเกิดจากจิตที่จำสภาวะได้ สติเป็นอนัตตา

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ ไม่ใช่ สติเป็นสติ

ประเด็น : สติเป็นอนัตตาสั่งไม่ได้ มีเหตุสติก็เกิด แต่จิตจำสภาวะได้

หลวงพ่อ : นี่ค้านมากเลย ค้านสุดๆ เลย สติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้ มีเหตุสติก็เกิด แล้วเวลาคนมันจะฆ่าตัวตาย มันยิงหัวมันโป้ง สติมันเกิดตอนไหนวะ อ้าว คนฆ่าตัวตายนะ เอาปืนจ่อหัวแล้วยิงโป้งตายไปแล้ว สติเกิดตอนไหนล่ะ

ประเด็น : มีเหตุสติก็เกิด เพราะจิตจำสภาวะได้ สติตัวจริงเกิด

หลวงพ่อ : สติ ไม่มีจริง สติ ปลอมหมด เพราะสติเกิดจากจิต สติต้องฝึก ถ้าสติตัวไหนจริงจับมันมาขันไว้กับจิตเอาน็อตขันไว้ มันได้จริงตลอดไปไง สติมันเกิดดับ ไม่มีสติตัวไหนจริง ตัวไหนปลอม สติปลอมหมด! สติตัวจริงไม่มี! เว้นไว้แต่พระอรหันต์ พระอรหันต์ สติกับจิตมันเป็นอันเดียวกัน สติตัวจริงสติตัวปลอมกูขำฉิบหายเลย ไอ้อย่างนี้ มันต้องไอ้นั่น อะไรนะ เจมส์บอนด์ แล้ว ถ้ามีสติตัวจริง สติตัวปลอม มันต้องสืบหาว่าตัวไหนตัวจริงตัวไหนตัวปลอม

ประเด็น : จิตจะโปร่ง ใจโล่งเบา ใจจะตั้งมั่นอยู่ที่ตัวสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิเกิดเลย สติเกิดมีความสุข จิตที่มีความสุขทำให้สมาธิเกิดขึ้น สมาธิจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา พอมีสติรู้สึกที่กายใจ จิตตั้งมั่น มีสมาธิตั้งอยู่ที่กายภายใน ตั้งไปนานๆ รู้ไปบ่อยๆ ในที่สุดเราจะเห็นความเป็นจริงของกาย ปัญญาก็คือ การที่เราเห็นความเป็นจริงของร่างกาย ว่ากายนี้เป็นทุกข์เป็นวัตถุธาตุ จิตใจไม่เที่ยงบังคับไม่ได้ เห็นเป็นอนัตตา ดูกายใจในที่สุดเห็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา แล้วได้โสดาบัน

หลวงพ่อ : โอ้โหเว้ยรับไม่ได้เลย เฮ้ย จริงเหรอวะถ้าอย่างนี้ได้โสดาบันนะ แล็บหรือห้องแล็บมันเป็นโสดาบันหมดเลย ถ้าการดูอย่างนี้เราจะบอกว่าดูแบบวิทยาศาสตร์ไง นี่เขาว่าได้

ถาม : ผมทำสมาธิไปถึงจุดหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นจุดที่แคบแล้ว มันมีความฟุ้งซ่านรุนแรงมาก ใจก็รู้สึกตัว ต้องฉีกออกจากมัน แต่มันรุนแรงมาก จนมันเหมือนจะเป็นบ้าให้ได้ เป็นอย่างนี้ชัดๆ มา ๒ ครั้งแล้ว กลัวมากครับ กลัวติดสิ่งนี้ด้วย การปฏิบัติของผม ก็จะปฏิบัติเรื่อยๆ ไปเช่นนั้น จะทำเพื่อความสงบและปัญญาบ้าง

หลวงพ่อ : ไอ้อย่างนี้น่าเห็นใจ อันนี้สิมีคุณค่า ไอ้ข้างบนนี้ มันโกหกทั้งหมด ถ้าพิจารณากายเห็นกายตามความเป็นจริง ว่า กายนี้เป็นทุกข์ ถ้ามันพิจารณาอย่างนี้ มันก็พิจารณาแบบหมอ ความจริงหมอเขาเข้าใจเรื่องร่างกายหมดนะ แล้วถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็เป็นโสดาบัน ที่เราพูดเมื่อกี้ปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาสามัญสำนึกไง มันแก้กิเลสไม่ได้หรอก

ปัญญาอย่างนี้แล้วก็บอกอย่างนี้เป็นโสดาบัน ก็พวกนี้ ปริยัติกับปฏิบัติเอามารวมกันไง เอาความรู้ความเห็นของเรา อย่างโยม เข้าใจเรื่องทุกข์ไหม เข้าใจเรื่องนี้ไหม โสดาบันแล้วล่ะ เราถึงบอก โสดาบันเต็มบ้านเต็มเมืองเพราะอย่างนี้ไง ถ้าใครตรึกเรื่องร่างกายเรื่องความรู้สึกของเราเข้าใจได้ก็เป็นโสดาบัน

แต่เวลาเป็นโสดาบันตามข้อเท็จจริงในการปฏิบัติเราไม่เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างนี้ เอาไว้ต่อไปเราจะเทศน์อีกรอบหนึ่ง เอาเรื่องเป็นโสดาบันยังไงเลย อย่างนี้ไม่เป็นหรอก

แต่ถ้าพูดถึง สมมุติว่าคนที่เข้ามาศาสนาใหม่ๆ ไม่เคยเข้าใจอะไรเลย พอมาฟังนะ ธรรมะพระพุทธเจ้าสอนใช่ไหม บอกให้พิจารณากายเข้าใจกายทั้งหมดเป็นโสดาบันใช่ไหม แล้วเขาก็คิดว่าเราก็ใช้ปัญญากันอย่างนี้ไง แล้วเราเข้าใจไหม เราเข้าใจนะ เอามาติวกันได้เลย เหมือนเด็กๆ เอามาติวกันได้เลย

ร่างกายจะเป็นอย่างนี้นะ มันจะเน่าอย่างนั้นนะ มันจะแปรสภาพอย่างนั้นนะ พอเราเข้าใจก็เป็นโสดาบัน ความเข้าใจของเขาเข้าใจกันอย่างนี้ไง เข้าใจทางวิทยาศาสตร์ที่เราบอกว่าผิดๆ การปฏิบัติผิดๆ เพราะเป็นวิทยาศาสตร์

เพราะวิทยาศาสตร์เป็นสูตรที่มีทฤษฎีตายตัว แต่ถ้าเป็นธรรมะไม่เป็นอย่างนั้น เป็นธรรมะนี่มันยอกใจ มันจะทิ่มเข้าไปในหัวใจของเรา หัวใจของเรามันมีอุปาทานปักเสียบอยู่ แล้วพอปัญญามันเข้าไป มันสำรอก สำรอกสิ่งที่ปักเสียบอยู่ในหัวใจออก

พอสำรอกออกมาบ่อยครั้ง มันเป็นตทังคปหาน คือมันสำรอกออกมาแต่มันไม่ถอนรากถอนโคน มันถอนรากถอนโคนยังไม่ได้ มันแค่สำรอก สำรอกจากความฝังใจนี้ออกมา พอสำรอกที มันก็ว่างทีหนึ่ง พอสำรอกทีเราก็มีความสุขกันทีหนึ่ง พอสุขทีหนึ่ง พวกที่ปฏิบัติ ถ้าอินทรีย์อ่อน คือ ฐานความคิดอ่อน พอสำรอกที ก็นึกว่าเป็นโสดาบันนะ

พอโสดาบันก็คิดว่าตัวเองเป็นโสดาบัน พออยู่นานไปโสดาบันจะเสื่อม พอเสื่อมไปก็มานั่งร้องไห้ คนเรา เวลาพิจารณากายจนแบบว่า มีอารมณ์รุนแรงมาก จนปล่อยวางได้หมดเลย จนมีความสุข แล้วก็คิดว่าตัวเองเป็นโสดาบัน แล้วพอหยุดสักพักหนึ่งนะ พออารมณ์กระทบรุนแรงนะ ไอ้โสดาบันมันสั่นไหวนะ ไอ้โสดาบันมันร้องไห้แล้ว เอ๊อะ กูไม่ใช่โสดาบันนี่หว่า เวลาคนปฏิบัติไป วงการปฏิบัติเราจะมีอย่างนี้เยอะมาก

ฉะนั้นมาบอกว่าอย่างนี้ ถ้าคำพูดอย่างนี้ มันเหมือนคำพูดเด็กๆ เด็กๆ นี่มันศึกษาธรรมะ พอศึกษาธรรมะแล้วมันก็จะเอาความรู้ของมันไปเทียบค่า ที่พระพุทธเจ้าพูด พอเทียบค่าพระพุทธเจ้าพูด เห็นไหม ดูกายจนที่สุดจะไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา แล้วเป็นโสดาบัน (หัวเราะ)

อย่างนี้นักศึกษาธรรมะวันอาทิตย์เป็นโสดาบันหมดเลย ไอ้นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เป็นโสดาบันหมดแล้ว เพราะมันเข้าใจหมด

คนเรานี่นะพอมันเข้ามาศึกษาศาสนาใหม่ๆ มันก็คิดว่าเข้ามาในศาสนาแล้วมันลึกซึ้งไง แต่ไม่เข้าใจว่าในวงการศาสนาเรา มีการศึกษา ธรรมะศึกษาวันอาทิตย์ นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เขาศึกษามาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นตา รุ่นยาย เขาศึกษากันมาเป็นหลายชั่วโคตรแล้ว แล้วนี่เพิ่งจะเข้ามา พอเข้ามาศึกษาอย่างนี้ ก็ว่าตัวเองใช่

ถาม : ผมทำสมาธิไปถึงจุดหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นจุดที่แคบแล้ว แล้วมีความฟุ้งซ่านรุนแรงมาก ใจรู้ว่าทุกข์ ถึงต้องถีบตัวออกมาจากมัน มันรุนแรงมาก จนเหมือนจะเป็นบ้าให้ได้ เป็นอย่างนี้ชัดๆ มา ๒ ครั้งแล้ว กลัวมาก กลัวติดนิสัยด้วย

หลวงพ่อ : นี่ไง พอมันรุนแรง พอจิตมันลงไปแล้ว มันไปกระทบอะไรของตัวเองแล้วมันออกมา มันเหมือนกับว่า เรากินพริก พอเรากินพริกเผ็ดมาก มันจะร้อนปาก ร้อนกระเพาะไปหมดเลย มันจะให้ผลกับร่างกายเรา จิตใจของเรามันมีสิ่งที่ฝังใจอยู่ พอจิตมันสงบเข้าไป มันไปกระทบสิ่งนี้ นี่มันเป็นจริตนิสัยของคน

ครูบาอาจารย์เวลาท่านภาวนาไป ท่านจะแก้ปัญหานี้ ปัญหานี้ต้องแก้ พอจิตมันลงไปแล้ว มันจุดจะแคบ เราก็พุทโธๆ ถ้าถึงจุดนี้แล้ว เรารักษาพุทโธของเราไว้ รักษาไปนี่ มันมีความฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านมันออก ความรุนแรง ความฉุนเฉียว มันเป็นจริต มันเป็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจ

แล้วพอเราเข้าไปกระทบ อย่างพวกเราในการประพฤติปฏิบัติ พวกเราจะแก้ไขใจเราเอง ทุกคนจะมีพ่อมีแม่ เราเป็นลูกมา พ่อแม่สอนมาขัดใจเราตลอดเวลา พ่อแม่พูดอะไร ขัดใจเราทั้งนั้น พ่อแม่ไม่รักเรา พ่อแม่ว่าเราทั้งนั้น นี้คือพ่อแม่ว่านะ นี่คือข้างนอก

แต่เวลาตั้งสติพุทโธเข้าไป ไม่ใช่พ่อแม่ ธรรมะ สัจธรรม! สัจธรรมมันจะสอนจิต พอเข้าไปสอนจิตมันจะเข้าไปกล่อม ให้จิตนี้เป็นคนดี แล้วนิสัยของจิตที่มันมี อะไรฝังรากอยู่นี่ มันจะแสดงออก พอแสดงออกมามันจะต่อต้าน นี่ไงปัจจัตตัง แล้วเราจะแก้ไขมันอย่างไร

ถ้าเราจะแก้ไข เราตั้งสติของเราไว้ พุทโธๆๆ ตั้งสติไว้ สิ่งที่มันแสดงออกมา เปิดให้มันออกไป ตั้งสติไว้ พอมันออกไปแล้ว เห็นไหม เราตั้งสตินะ แล้วเรามาทบทวน เราเคยเป็น ตอนเราภาวนาจัดๆ นี่ เราไปเที่ยวอยู่ที่หนึ่ง เขามีการก่อสร้าง เราก็ไปนั่งพุทโธๆ ของเรา จิตมันจะลง นี้การก่อสร้าง เขาเทปูน เสียงมันดังขึ้นมา

เราก็นั่งสมาธิลงๆ นี่ เราผลุนผลันออกไปเลย เรานี่พุ่งออกไปเลยนะ พอพุ่งออกไป คือจะไปต่อว่าเขาไง คือมันคิดว่า เราทำความดีขนาดนี้นะ แหม ทำไมมันทำลายขนาดนี้ พอมันลุกพรวดออกมา สติมันทันนะ สติเราทัน ทันทีเลยนะ เพราะเป็นเรื่องของเราเอง

สติมันถึงถามตัวเอง มันด่าตัวเอง มึงจะบ้าเหรอ พอมึงจะบ้าปั๊บมันก็ฟื้น พอฟื้น ปัญญามันทัน พอปัญญามันทันมันก็คิดเลยนะ เขาเป็นกรรมกรก่อสร้าง เขาทำงานตามหน้าที่เขา เขารู้ได้อย่างไรว่ามีพระมานั่งภาวนาอยู่ที่นี่ เขาทำตามหน้าที่ของเขา เขาไม่ได้จงใจกลั่นแกล้งใครเลย

เขาเป็นกรรมกรก่อสร้าง เขาสร้างโบสถ์ เขาทำตามหน้าที่เขา เขาไม่ได้แกล้งใคร แล้วเรานี่เวลากระทบ เราจะไปฉุนเฉียวใคร เราจะไปโกรธใคร เราจะภาวนาอยู่ ทำไมเราไม่หาที่สงบสงัด แล้วเรามาภาวนาจิตมันจะลงหรือ แล้วเขาทำงานตามหน้าที่ของเขาแล้วมันมากระเทือนเรา มันเป็นเรื่องกรรมของสัตว์

มันด่าตัวเองนะ โห มันลงเลยนะ ใจนี่มันพุ่งออกมาเลยนะ ธรรมดาใช่ไหม พระกับโยม พระต้องมีสถานะมากกว่าโยม แล้วโยมเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในวัด มันก็เป็นเบี้ยล่างของพระอีกชั้นหนึ่งใช่ไหม แล้วมารับจ้างในวัดด้วยนี่ เขายิ่งเป็นเบี้ยล่างเข้าไปใหญ่ใช่ไหม แล้วพระมีสิทธิ์ที่จะโกรธเขาใช่ไหม

พอไม่พอใจนี่ มันพุ่งจะไปกินเขาเลยนี่ พอสติมันทันเข้ามาปั๊บ มึงจะบ้าหรือ เขาทำตามหน้าที่เขา เขาไม่รู้เรื่องอะไรกับเราเลย เราต่างหากไปโกรธเขาเอง เราต่างหากจะไปกินเขาเอง จิตฟุ้งซ่าน จิตที่มันคับแคบ รุนแรงนี้ก็เหมือนกัน

เวลาพุทโธๆ เข้าไปถึงจุดหนึ่ง ถ้าเรามีสติถึงตรงนั้น เราถามมันสิ เราจับมันขึ้นมาพิจารณา มันรุนแรงอะไร เราเอาความดีความชอบมาให้ใจ แล้วใจมันขัดขืนทำไม ใจที่ขัดขืนนั้นคือกิเลสใช่ไหม สิ่งที่ขัดขืนดื้อดึงต่อต้านธรรมะนี่ มันเป็นความดีหรือความชั่ว

ถ้ามันเป็นความชั่ว ความชั่วมันอยู่ในใจเรา เราจะแก้ไขไหม ถ้าเราจะแก้ไข เราจะดูแลมันอย่างไร เราจะต้องดูแล ต้องแก้ไข ไม่ใช่ว่าเราทำความดีไปแล้ว กิเลสมันจะบอกว่า ทำความดีแล้วจะสาธุ ไม่มี ทำความดีกิเลสต่อต้านทุกๆ กรณี

กิเลสไม่เคยปล่อยให้เราทำความดีหรอก กิเลสมันจะหาเหตุหาผล นั่งสมาธิไป เดี๋ยวก็จะเป็นไข้ เดี๋ยวกระดูกจะหัก เดี๋ยวเอ็นจะขาด เดี๋ยวพรุ่งนี้จะไม่มีเวลาทำงาน เดี๋ยวมันจะเจ็บไข้ได้ป่วย กิเลสตัวไหนบ้างที่ทำดี แล้วมันบอกว่า สาธุ มันไม่มี พอไม่มี เราต้องมีปัญญากล่อมมัน ต้องมีปัญญาคอยแก้ไขมัน

เราก็เคยเกิดเคยตายมาจนป่านนี้ ทำงานกรรมกรแบกหาม เขาบอกมีพระองค์หนึ่ง เขาบอกเขาจะเห็นความทุกข์ เขาก็แบกก้อนหินวิ่งขึ้นเขาลงเขานะ แล้วก็มาหาเราถามว่า เขาทำถูกไหม เราบอกว่าถ้าเอ็งแบกก้อนหินวิ่งขึ้นเขาลงเขา ถ้าเป็นทุกข์นะ ไอ้กรรมกรแบกข้าวที่ท่าเรือ มันเป็นพระอรหันต์หมดแล้ว กรรมกรแบกข้าวที่ท่าเรือมันแบกขึ้นเรือทีเป็นลำเรือๆ เลยล่ะ มันเห็นทุกข์ไหม มันไม่เห็นหรอก

นี่ไงที่เขาบอกเขาเห็นทุกข์กันนะ พระองค์หนึ่ง เขามาหาเราจริงๆ เขาบอกเขาอยากจะเห็นทุกข์นะ เขาเอาก้อนหินก้อนหนึ่งแบกไว้ แล้วก็ขึ้นเขา แล้วก็ลงเขา แล้วก็ขึ้นเขา แล้วก็ลงเขา เขาอยากเห็นทุกข์ ไม่มีทาง อวิชชามันปิดตาบังตาไว้ มันแบกหามนี่มันทุกข์ข้างนอก มันทุกข์ที่ร่างกาย

จิต จิตคือตัวรูป ความคิดเป็นนาม ความคิดว่าสุขว่าทุกข์นี่มันเป็นที่ความคิด พอความคิดเสร็จแล้ว มันก็ออกมาที่ร่างกาย ร่างกายไปแบกหาม มันบังไว้ ๓ ชั้น ๔ ชั้น มันจะไปเห็นตัวทุกข์ที่จิต ไม่เห็นหรอก แต่เราพุทโธๆๆ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไป

ถ้าตัวความคิด ตัวทุกอย่าง มันสงบลงไปถึงตัวจิต ตัวทุกข์มันอยู่ที่จิต เพราะมีสภาวะมีภพ มันถึงมีตัวทุกข์ ตัวสภาวะแบกหามความสุขความทุกข์มันอยู่ที่จิตหมดเลย จิตเป็นคนรับรู้ จิตเป็นคนมีข้อมูล จิตเป็นคนดิ้นรน จิตเป็นอวิชชา จิตเป็นคนซื่อบื้อ รู้แบบไม่รู้ รู้แบบโง่ รู้แบบทำลายตัวเอง แล้วก็ว่าตัวเองฉลาดนะ

พุทโธๆๆ ไปจนถึงตัวมัน ไปเห็นมัน แล้วเอามันออกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม แต่เพราะเขาไม่ถึงตัวจิต เขาปฏิเสธสมาธิ เขาไม่ถึงตัวภพฐีติจิต เขาถึงไม่เห็นจิต เห็นอาการของจิต จิตเห็นความคิด ความคิดที่ยึดมั่นถือมั่น มันอยู่ที่ความคิด แต่ตัวกิเลสมันอยู่ที่จิต

เวลาเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ หรือสมาธิอบรมปัญญา เพราะตัวสมาธิ คือตัวจิต ตัวสมาธิมันจะทะลุความคิดเข้ามา ความคิดนี่เป็นขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตัวความคิดนี่คือเปลือกส้ม เปลือกส้มกินไม่ได้ ใครกินส้มเขาต้องปอกเปลือกทิ้ง ปอกเปลือกทิ้งแล้วกินตัวส้ม การจะแก้กิเลสมันต้องไปแก้กันที่จิต แต่ อย่าไปคิดตาม เดี๋ยวงง มันเป็นอย่างนี้โดยข้อเท็จจริงเลย

แต่การปฏิบัติมันจะเห็นได้ยาก พอเห็นได้ยาก เราก็เห็นร่องเห็นรอย คือทำความสงบของใจ พยายามหาความสงบ เขาเรียกหาร่องหารอย หาช่องทางเข้าไปก่อน ไม่ใช่ใครทำแล้วว่า ทำสมาธิเมื่อไหร่จะได้วิปัสสนา ทำสมาธิต้องเป็นสมาธิก่อนแล้วค่อยวิปัสสนา ตายแล้วเกิดมายังไม่ได้วิปัสสนาเลย เห็นไหม เพราะการคิดว่าต้องเข้าถึงตัวจิตแล้วค่อยออกวิปัสสนาไง

แต่ถ้าเราปฏิบัติ เราต้องหาร่องหารอย หาช่องหาทาง หาการเข้าไปกำจัดมัน นี้การเข้าร่องเข้ารอย เราทำความสงบขนาดไหน เราใช้ปัญญาได้ทั้งนั้น คนเราต้องหาร่องหารอย จะเอาลูกเสือในถ้ำเสือ ต้องเข้าถ้ำเสือ กิเลสนี่มันอยู่ในถ้ำ มันอยู่ในคูหาของจิต แล้วเราไปแก้กันอยู่ที่ชายป่า ไปแก้กันอยู่ที่ห่างไกลจากถ้ำ เป็นไปไม่ได้หรอก การจะทำ จะปฏิเสธสมาธิ ถ้าใครปฏิเสธสมาธิ

ทีนี้เพียงคำว่าสมาธินี่ พระพุทธเจ้าบอก ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้บอกสมาธิคือตัวจิต ไม่ได้บอกสมาธินี่คือตัวสภาวะรับรู้ทุกข์

โยม : แล้วไอ้ทางที่เราดูอยู่มันหลายซ้อนค่ะ

หลวงพ่อ : หลายซ้อน

โยม : แล้วอย่างนี้คนเรามันจะลื่นไหลไปยังไงมันก็ขึ้นอยู่กับไอ้ตัวนี้

หลวงพ่อ : ตัวนี้

โยม : อยู่แต่ไอ้ร่างกาย

หลวงพ่อ : ไม่มี ก็ในทางวิทยาศาสตร์ ทางจิตวิทยา เขาบอกคนเราดีชั่วด้วยสิ่งแวดล้อม เราบอกมันก็มีส่วน แต่ตามธรรมะพระพุทธเจ้า ดีชั่วมันอยู่ที่จิต สิ่งแวดล้อมนี้มีผลบ้าง แต่ลูกมหาโจรเป็นคนดีเยอะแยะเลย ลูกของนักปราชญ์เป็นโจรก็เยอะ สิ่งแวดล้อมที่ดีคนชั่วก็มี สิ่งแวดล้อมที่ชั่ว ในคนชั่วที่เป็นคนดีก็มี แล้วทางวิทยาศาสตร์บอกว่าคนดีคนชั่ว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม เรายอมรับว่ามีผลบ้าง แต่ข้อเท็จจริงของเราจะดีจะชั่ว อยู่ที่จิต

ทีนี้สิ่งแวดล้อมมันก็มีผล ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเช่นไร เราก็จะคล้อยตามสิ่งนั้นไป ฉะนั้นเวลาแก้ไข เราจะบอกว่าหาร่องหารอย จะเข้าไปถึงตัวจิตแล้ววิปัสสนาเป็นโสดาบันเลยนี่ ยาก เพียงแต่พวกเราต้องปรับพื้นที่ ต้องหาช่องทาง ต้องพยายามฝึกฝนตัวเอง มันต้องทำมาจากตรงนั้น

การที่จะได้เป็นอริยบุคคลแต่ละชั้นแต่ละตอน ไม่ใช่เรื่องของง่าย แต่ไม่สุดวิสัยมนุษย์ที่เราจะทำ แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเขา หรือแบบทางวิทยาศาสตร์ การบวก หนึ่งบวกหนึ่ง เป็น สอง การปฏิบัติ การเข้ามาทำแล้วต้องได้โสดาบัน ต้องได้สกิทาคา ต้องได้อนาคา อันนี้มันเป็นปริยัติ แจกใบประกาศกันไง อบรม แล้วเข้าแถว รับใบประกาศนียบัตร

แต่การปฏิบัติไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้านะ ยังทำอย่างนี้ไม่ได้เลย มันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงนะ อันนี้คำถามทั่วไปนี้สำคัญมาก ไอ้คำที่ว่ามีความรุนแรง มีสิ่งต่างๆ เราค่อยๆ แก้ของเราไป แก้ด้วยวิธีการกำหนด พุทโธ ตั้งสติไว้ หลวงตาจะสอนว่าอยู่กับสติ อยู่กับผู้รู้ สิ่งใดที่เกิดขึ้น มันเป็นอาการของจิต มันเหมือนกับอาการของไข้

พอไข้มันโดนยาเข้าไป มันไปทำปฏิกิริยาที่จะทำให้ไข้นั้นหาย คนเรามีอาการแพ้ยา คนมีอาการอ่อนเพลีย คนมีอาการต่างๆ จิต ถ้ามีการกระทำเข้าไป มันมีอาการของมัน แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่ละบุคคลการกระทำของจิตมันมีหลากหลายไม่เหมือนกัน สิ่งที่เหมือนกัน แล้วมันแสดงออกมาอย่างไรแล้วนี่ เราจะต้องแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้เป็นปกติ

ศีล คือความปกติของใจ ใจปกติ ใจมั่นคง แล้วค่อยเอาใจปกติ ใจมั่นคงนี้ ออกทำงาน ออกรื้อ ออกถอนอุปาทาน ออกถอนความฝังใจ ถ้าถอนสิ่งนี้ออก เห็นไหม โสดาบันเกิดตรงนี้ โสดาบันไม่ใช่ว่าไปเห็นพิจารณากายแล้วเป็นโสดาบันหรอก

อย่างนี้นะ ไอ้วิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นโสดาบันหมดเลย เพราะทุกอย่างในร่างกายมนุษย์เขาต้องให้วิทยาศาสตร์การแพทย์มันทดสอบ วิทยาศาสตร์การแพทย์เขาจะรู้หมดเลยว่า เชื้ออะไร เพาะเชื้ออย่างไร ไอ้นั่นพวกวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นโสดาบันหมดเลย ไอ้พวกเราไม่ได้เป็น เพราะเราไม่รู้

เพราะเขาไปคิดกันเอง ว่าความคิดของเขา ปัญญาของเขา คือปัญญาในศาสนา ปัญญาในศาสนานี่นะ มันมีปัญญา ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ มันมีโลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา เพราะเขาไม่มีหลักอย่างนี้ เราไม่ได้ว่านะ เพราะลูกศิษย์เรามา ทางวิชาการ เขามีความรู้มากทั้งนั้นแหละ แล้วเขาก็ไปอบรมพวกอภิธรรม แล้วก็มาหาเรา “หลวงพ่อ พุทโธ เขาเลิกใช้กันหมดแล้วล่ะ เขาใช้ปัญญาสายตรง”

เราก็ถามกลับว่า “แล้วปัญญาพวกมึงเรียนมาจากไหน” พวกนี้เขาก็เรียนมาจากต่างประเทศกันทั้งนั้นใช่ไหม เราบอก “ต่างประเทศพระพุทธเจ้าไม่มี เอ็งยังเรียนมาได้เลย ไม่มีพระพุทธเจ้าเอ็งก็เรียนมาได้”

ปัญญาอย่างนี้พระพุทธเจ้าไม่ต้องสอน คฤหัสถ์เขาสอนกันได้ โลกเขาสอนกันได้ แต่พระพุทธเจ้าไม่ต้องการปัญญาอย่างนี้เลย ปัญญาของพระพุทธเจ้าคือ ปัญญารอบรู้ความคิด ปัญญาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่า ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร สังขารคือความคิด ความปรุง ความแต่ง แล้วมีปัญญาเข้ามารอบรู้ในความคิด รอบรู้ในความรู้สึกของเรา

ปัญญาในศาสนา คือ ปัญญารอบรู้ความคิด ความเห็นของเรา รอบรู้ในการเกิดและการตายของเรา ปัญญาอย่างนี้คือ ภาวนามยปัญญา ปัญญาอย่างนี้ฝึกเอาไม่ได้ หาเอาไม่ได้ มันจะเกิดขึ้นจากการกระทำของจิต แล้วถ้าปัญญาอย่างนี้ มันเป็นปัญญาที่ส่งทอดกันได้ เศรษฐี มหาเศรษฐี มันจะซื้อปัญญาอย่างนี้ไปหมด

เศรษฐี มหาเศรษฐี เขาจะเอาเงินซื้อปัญญาอย่างนี้ เพื่อให้เขาพ้นจากกิเลส เพื่อให้เขาไม่ต้องเกิดต้องตาย ปัญญาอย่างนี้ซื้อขายหาแลกเปลี่ยนไม่ได้ เป็นปัญญาเฉพาะบุคคล เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานพระอานนท์ร้องไห้มาก พระพุทธเจ้าบอกว่า

“อานนท์เราไม่ได้เอาสมบัติของใครไปเลยนะ เราเอาสมบัติของเราไปคนเดียว เอาสมบัติส่วนตัวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ไปกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

ปัญญาของแต่ละบุคคล ของพระสารีบุตร ของพระโมคคัลลานะ มันก็เป็นของแต่ละบุคคลไม่ใช่ของใครเลย ปัญญาอย่างนี้ซื้อหา แลกเปลี่ยนไม่ได้ ไม่มีใครทำให้ใคร ใครฝึกให้ใคร ไม่มี ปัญญาอย่างนี้เกิดจากการกระทำของเรา เกิดจากทำสมาธิ เกิดจากปัญญาเกิดขึ้นมาจากเรา ปัญญาอย่างนี้ถึงจะเป็นปัญญาฆ่ากิเลส เพราะปัญญาเกิดจากจิต ปัญญาเข้าไปชำระกิเลสในจิต

ปัญญาเกิดจากสังขาร เกิดจากความคิด เกิดจากของเรา มันเกิดมาจากการแสวงหามาจากข้างนอก มันแก้กิเลสไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย นี่การปฏิบัติมันเป็นอย่างนี้ เราเห็นเขาปฏิบัติกัน เขาทำกัน เราถึงเห็นแล้ว จริงๆ นะ มันเหมือนกับว่า ทางศาสนาเป็นทางอย่างนี้ เขาชักจูงกันไปอีกทางหนึ่ง แล้วเขาก็บอกว่านั่นเป็นทางศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธเพราะเขาอ้างพุทธศาสนา แต่เขาไม่ได้ทำตามพระพุทธเจ้าสอน

ที่พระพุทธเจ้าบอก คนอยู่ชนบทประเทศ แต่ปฏิบัติตามเราเหมือนอยู่กับเรา คนกอดเราอยู่เลย นี่ก็พุทธพจน์ คำก็พุทธพจน์ สองคำก็พุทธพจน์ เราจะบอกเลยว่า กูไม่เถียง พุทธพจน์ แต่กูเถียงคนพูดพุทธพจน์ ไอ้คนพูดพุทธพจน์ จากความเห็นของมัน แต่คำพูดพุทธพจน์นั้นมันถูก ศัพท์นั้นถูก แต่ความเห็นของคนพูดมันผิด กูไม่เชื่อมึง กูเชื่อพุทธพจน์แต่กูไม่เชื่อคนพูดพุทธพจน์

นี่ก็เหมือนกัน คนปฏิบัติแล้วมันผิดหมดเลย นี่สติจะเกิดเอง ถ้าสติมันเกิดเอง เรานั่งกันอยู่นี่ นั่งเฉยๆ เดี๋ยวจะเป็นพระอรหันต์กันหมดเลย เดี๋ยวสติมันเกิดขึ้นมา แล้วเดี๋ยวปัญญามันก็จะเกิด เพราะพูดกันอย่างนี้ แล้วทำกันอย่างนี้ เรายังคิดนะ ถ้าอย่างนี้แล้ว มันจะมีคนหลุด คนบ้าบ้าง

จะดูสิว่า เวลาบ้าๆ ขึ้นมากันแล้ว จะแก้กันอย่างไร เวลามันหลุดขึ้นมาจะแก้กันอย่างไร ทีนี้จะไม่หลุดเพราะอะไรรู้ไหม พวกนี้จะไม่หลุด เพราะเขาใช้ความคิดสมอง เขาใช้ความคิดสามัญสำนึกนี่แหละ ความคิดเขาไม่ลึก

แต่ถ้าพวกเราจะหลุดเพราะอะไร เพราะจิตเราลงลึก พอลงลึกไปแล้ว จิตเรามันไม่ทัน พอไปเห็นแล้วมันตกใจ แต่พวกนี้ไม่ค่อยหลุดนะ เพราะจิตมันไม่ลงลึกไง อย่างเช่นเราไปดำน้ำ เราอยู่ผิวน้ำ เราไม่กลัวอะไรหรอก เอ็งลองดำน้ำไปสิ ไปเจออะไรก็ไม่รู้ใช่ไหม

ไอ้พวกเรา ดำน้ำลงไปเจอฉลามอย่างนี้ โอ้โฮ ขนหัวตั้งเลย แต่เขาอยู่ผิวน้ำ ก็ความคิดเขาพื้นๆ ไง ไม่หลุดหรอก แต่ถ้าหลุดแล้วจะรู้เลยนะ ว่าสติมันจะเกิดเอง จะดูสิว่า หลุดแล้วจะแก้อย่างไร จะกลับมาได้อย่างไร เห็นอย่างนี้นะ ยิ่งเห็นยิ่งเศร้า จริงๆ นะ เศร้าใจมากนะ

อย่าว่าแต่อนุบาลเลยนะ นี่มันออกนอกไปเลย สติเกิดเอง โอ๊ย เป็นไปไม่ได้เลยล่ะ เพราะมันจำสภาวะนั้นได้ วันนั้นที่พวกนั้นมาก็อย่างนี้ ผมอยู่กับสภาวธรรม ถ้าเป็นความคิดที่ไม่มีอารมณ์ความรู้สึก มันเป็นสภาวธรรม ถ้ามีอารมณ์ความรู้สึกมันไม่ใช่สภาวธรรม มันเป็นกิเลส

เราบอกมันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะความคิดมัน คำว่าสภาวธรรม มันมีรสชาติแล้ว เพราะมันไม่มีขันธ์ ๕ มันไม่มีเวทนา มันไม่มีการรับรู้ ความคิดเกิดไม่ได้ แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิเราเข้าไป ถ้ามันทันปั๊บ ความคิดหยุดหมด ถ้าปัญญาอบรมสมาธิความคิดหยุด เห็นไหม เราถึงบอก การกระทำทุกๆ อย่าง ผลของมันคือ สมาธิ แต่เขาเข้าใจผิดว่า การหยุดหรือการปล่อยวางนั้น คือธรรมะ คือมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่! ไม่ใช่มรรคผลนิพพาน!

มรรคผลนิพพานเกิดจากอาสวขยญาณ เข้าไปทำลายกิเลส แล้วฆ่ากิเลสสังโยชน์ขาดเห็นชัดๆ เราเทศน์ไว้ เก่าๆ ไปดูสิ “พลิกศพกิเลส” กิเลสต้องพลิกศพมันเลยนะ ชันสูตรศพนะ เราเทศน์ไว้ตั้ง ๒๐-๓๐ ปีที่แล้ว เดี๋ยวเว็บไซต์ออกแล้ว เอาของเก่าๆ มาออก “พลิกศพกิเลส” “ขุดคุ้ยหากิเลส” เราเทศน์มา ๒๐-๓๐ ปีแล้ว

แล้วนี่บอกว่า ลอยๆ แล้วกิเลสฆ่า เวรกรรมๆ มากเลย

ชั่วโมงกว่าแล้ว ไม่มีอะไรก็ เอวัง