ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

วาสนาคน

๑๗ ก.ค. ๒๕๕๒


วาสนาคน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๗ กรกฏาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


ถาม : ถามเรื่องอานาปานสติกับพุทโธนะ พอเราไปดูลมใช่ไหมครับ มันก็ดูไม่จริงนะฮะ มันก็มีแว้บๆ เข้ามาอยู่ด้วย แต่พอพุทโธนะ มันก็เป็นเหมือนที่หลวงพ่อว่ามันเป็นน้ำดี..นะ แล้วเราก็พุทโธถี่ๆ ความคิดมันก็เลยไม่แทรก แต่มันก็ต้องทนในความอึดอัดบางช่วงหน่อยนะครับ ก็เรื่องสติปัฏฐาน ๔ นะครับ ผมก็พิจารณาดูแล้วมันก็ตามตรรกะนะฮะ มันก็ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อย่างที่เขาทำอย่างที่เขาพูดนี่ โอ้โฮ ทำไมมันง่ายขนาดนั้น แต่ถ้าเกิดทำตามหลวงพ่อนี่มันก็สมควรที่จะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี นะครับ

หลวงพ่อ : มันไม่ง่ายหรอก ไอ้ง่ายไม่ง่ายมันไม่ได้อยู่ที่ตรงนี้ มันอยู่ที่วาสนาของคน ทำไมสามเณร ๗ ขวบเป็นพระอรหันต์ ทุกคนไม่เชื่อนะว่า เด็ก ๗ ขวบเป็น พระอรหันต์ได้อย่างไร การที่เป็นอรหันต์นี่ เขาเป็นอรหันต์นะ ไม่ใช่ลอยมาจากฟ้า เป็นลูกศิษย์พระสารีบุตร เป็นผู้ถือบาตรพระสารีบุตร ตามหลังพระสารีบุตรไปบิณฑบาต

เด็กมันมีเชาว์ปัญญาขนาดนั้น เห็นชาวนาเขาชักน้ำเข้านา เห็นช่างคันศรเขาดัดศร ถามอาจารย์ของตัวเลยว่า “น้ำกับคันศรเนี่ยมันมีชีวิตหรือเปล่า มันมีชีวิตหรือเปล่า” พระสารีบุตรบอก “มันไม่มีชีวิต น้ำมีชีวิตที่ไหน น้ำมันเป็นน้ำ แร่ธาตุอย่างหนึ่งเห็นไหม คันศรมันก็เป็นไม้อย่างหนึ่งแล้วก็ดัดให้มันตรง” เด็กมันคิดนะ

เณรนะ มันคิดเลยว่า น้ำกับคันศรน่ะ มันไม่มีชีวิต คนน่ะมีชีวิต ยังเอามาใช้ประโยชน์ได้ แล้วเรามีชีวิต เรามีความรู้สึก ใจของเรานี่มันก็เป็นสิ่งที่มีชีวิต ทำไมไม่เอา สิ่งนี้มาเป็นประโยชน์ คืนบาตรให้พระสารีบุตร กลับไปเลย อาจารย์ไปบิณฑบาต จิตมันแบบว่าปัญญามันหมุนแล้ว ขอกลับ ให้พระสารีบุตรไปบิณฑบาต ตัวเองกลับเข้าไปในกุฏิมานั่งพิจารณา แล้วมันได้เสียนะพิจารณา

พระพุทธเจ้ามีอนาคตังสญาณ พระสารีบุตรกลับมาแล้วนี่ พระสารีบุตรฉันข้าวเสร็จแล้ว นี่สิ่งที่เหลือเอาให้เณร ได้ไง ก็จะเอาอาหารนี้ไปให้เณร ไปถึง ถ้าไปบอกไปพูดอะไรไป พระพุทธเจ้าเรื่องยังไม่เกิดจะไม่พูด ไปดักรอพระสารีบุตรเลย ถามปัญหาพระสารีบุตรถามเรื่องธรรมะ พระสารีบุตรก็ตอบพระพุทธเจ้า เกรงใจไปไหนไม่ได้ ก็ต้องตอบอยู่นั่นแหละ นั่งถามนั่งตอบอยู่นั่นแหละ

พระพุทธเจ้าก็เล็งญาณพูดไป จิตก็กำหนดดูเลย ว่าเณรเป็นอย่างไร เณรใช้ปัญญา ขนาดไหน พอเณรใช้ปัญญาขนาดพิจารณาไปจนถึงที่สุด กิเลสมันขาดตูม กิเลสขาดตูมนี่ “อ้าว สารีบุตรเธอเอาข้าวไปให้ได้แล้ว” เอาข้าวไปให้นะ พอให้ข้าวเสร็จ ฉันเสร็จ ตะวันคล้อยไปบ่ายสองโมงโน่นนะ ดึงไว้เลยนะ พระพุทธเจ้านี่ใช้ฤทธิดึงไว้หมด ไม่ให้ก่อนเพล นี่เห็นไหม สามเณร ๗ ขวบ

๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เนี่ย มันอยู่ที่วุฒิภาวะของจิตดวงนั้น พระพุทธเจ้าเนี่ย เป็นพระพุทธเจ้าได้นี่ต้องสร้างบุญญาธิการมา พระโพธิสัตว์น่ะ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย พระสีวลี พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ทุกคนสร้างมาเป็นสหชาติหมด เวลาพระพุทธเจ้าตั้งให้พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวา พระ ติเตียนมากเลย ทำไมไม่ตั้งปัญจวัคคีย์ ไม่ตั้งอัญญาโกณฑัญญะเพราะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก พระพุทธเจ้านี่ลำเอียง

พระพุทธเจ้าบอก “ไม่ใช่ เราตั้งตามเนื้อผ้า เราตั้งตามข้อเท็จจริง” เพราะพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เขาปรารถนาของเขามา เขาปรารถนาของเขามา เขาก็สร้างบุญญาธิการของเขามา เวลาเข้ามาเห็นไหม พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ยังไม่ได้เป็น พระอรหันต์เลย พอเดินมา เป็นพระโสดาบันฟังมาจากพระอัสสชิมาน่ะ “อัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาเรามาแล้ว”

ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้บวชนะน่ะ เพราะเขาสร้างของเขามา เขาสร้างของเขามา พอบวชเสร็จแล้วนี่พอมาขอบวช พอบวชพระพุทธเจ้าสอนนะ พระโมคคัลลานะ ๗ วันสำเร็จเลย พระสารีบุตรปัญญามาก พูดอะไรมาต้องคิดก่อน ไม่เชื่อ ไม่เชื่อก็ต้อง ๑๔ วัน สุดท้ายพอเป็นพระอรหันต์แล้ว ตั้งเอตทัคคะแล้ว ถึงตั้งพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา

๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีน่ะ มันไม่ได้อยู่ที่ใครจะมากำหนดได้หรอก มันอยู่ที่คุณสมบัติของจิตที่เราทำมา เรานั่งกันอยู่นี่ เราถามบ่อยมากเลยโยมมาหาเราเนี่ย “เอ็งเกิดมาจากใครว่ะ” ทุกคนบอกว่าเกิดมาจากพ่อจากแม่ นี่ตามวิทยาศาสตร์ตามโลก แต่เราบอก “ไม่ใช่หรอก มึงเกิดมาจากกรรมของมึงเอง” ถ้าไม่จิตปฏิสนธิของมึงนะไม่ไปปฏิสนธิ ในไข่ของแม่นะ เอ็งก็ไม่ได้เกิดเป็นเอ็งหรอก

ถ้าไข่มันเกิดเป็นคน ไข่ของแม่มันเกิดเป็นคน ประจำเดือนขับทิ้งไปแม่กี่ล้านฟอง เกิดมาจากกรรมของเราเองนะ แต่เพราะสายบุญสายกรรม พ่อแม่เนี่ยพ่อแม่เป็นคนพระอรหันต์ของลูก พ่อแม่นะเขาติดกรรมของพ่อแม่เป็นธรรมดา แต่จิตของเรามันมาเกิดในไข่นั้น เนี่ยที่ว่า ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เห็นไหม คำว่า ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีนะมึงเอาอะไร มาบัญญัติวะ

แต่เราเน้นเรื่องตรงนี้บ่อยมาก เวลาเราเทศน์ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะก่อนที่เราบวชนะ ก็เอาตรงนี้เป็นหลัก ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีนะ แล้วดันแม่งไปเรื่อยๆ คือเราเดินจงกรมตลอด เราบวชใหม่ๆ นะ เราคิดของเราเอง ข้าราชการเนี่ยเขาทำงาน ๘ ชั่วโมง ขนาดเขา ทำข้าราชการ ๘ ชั่วโมงนะ เขาเขียนหนังสือเนี่ยหาแดกนี่ยัง ๘ ชั่วโมง แล้วมึงจะฆ่ากิเลสมึงทำน้อยกว่านั้นไปได้อย่างไร เราเดินจงกรมอย่างน้อยวันละ ๘ ชั่วโมงครึ่ง แล้วนั่งสมาธิต่างหาก ถ้าวันไหนเราเดินจงกรมน้อยกว่า ๘ ชั่วโมง มึงทุจริตต่อหน้าที่

เราบวชใหม่ๆ นะ เราอัดอย่างเดียวเลย บวชปีแรกไม่นอน ๓ เดือนนี่ไม่นอนเลยเพราะมันทุกข์มาก ก็คิดอย่างนี้บวชแหละ บวชแล้วก็ดี ทุกอย่างก็ดี แล้วมันแบบว่าภาษาว่า ก็คงจะทำดีมาพอสมควร เพราะตอนที่มันเวลาจะบวชนี่มันมีปัญหา ปัญหาคือกับพ่อแม่นี่แหละ กับภายในบ้านนี่ มันเป็นเรื่องอะไรเกิดขึ้นมา มันก็ต้องไปตกลงที่บวชนี่ล่ะ แปลกอยู่จะมีเรื่องอะไรนะจบลงมึงก็ต้องไปบวชนี่แหละ มึงต้องไปทางนี้ล่ะ

เพราะว่าเราเป็นคนจริงไง พอมันเกิดเรื่องการโต้แย้งกันแล้วเนี่ย อะไรมันจริงวะโลกนี้อะไรมันจริงวะ อะไรมันจริงจะหาของจริง ไอ้ห่าแม่งโกหกกูหมดเลยทุกอย่าง มีแต่หลอกลวงกูทั้งนั้นน่ะ แล้วอะไรมันจริงวะ ไปทางไหนมันก็ไปไม่รอด มันไม่มีอะไรถึงพิสูจน์แล้ว มันไม่มี พอพระบิณฑบาตหน้าบ้าน อื้อ หรือไอ้นี่มันจะจริงวะ เราก็มาลงตรงนี้น่ะ พอลงตรงนี้พอเวลาบวชแล้วนี่ เราเอาตรงนี้มาเป็นประเด็นตลอด ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราอัดแม่งเต็มที่เลย อัดเต็มที่เลย

แล้วนี่อย่างที่พูดนะ ไอ้อย่างสติปัฏฐาน ๔ ก็ส่วนสติปัฏฐาน ๔ อยู่ที่อำนาจวาสนาบารมีของคน อำนาจสายบุญของคน แล้วการกระทำ แล้วภาษาเรานะ เนี่ยเราจะพูดกับพวกลูกศิษย์นี่บ่อยมาก ว่าเรานี่เกิดมานี่โชคดีมากๆ เลย เกิดมาพบพุทธศาสนา พระจอมเกล้านะเป็นลูกของพระเลิศหล้านภาลัย เอาออกบวช พอบวชเข้ามาในศาสนาแล้วนี่ พอดีเลยพระเลิศหล้าก็เสีย พระนั่งเกล้าก็ขึ้น พอบวชแล้วก็ศึกษา ศึกษา เนี่ยมันไม่มีอาจารย์ไง พอศึกษาพระไตรปิฎกไปกับพระที่ทำอยู่ในปัจจุบันนั้น

ในสมัยนั้นมันไม่เหมือนกันเลย ก็เลยรื้อฟื้น รื้อฟื้นๆ ธรรมวินัยขึ้นมาไง หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นนะ ออกมาประพฤติปฏิบัติออกมาบวชแล้วสร้างมา เพราะหลวงปู่มั่น บอกเลยท่านปรารถนาพุทธภูมิมา ถ้าไม่ปรารถนาพุทธภูมิมานะ อ่านไปเถอะพระไตรปิฎก เนี่ยอ่านไปเถอะ เราไม่ใช่ไม่เคารพนะ พระพุทธเจ้าไม่เคารพได้ไง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่นี่มันกระดาษเปื้อนหมึก เอาไปต้มกิน กินหมดเลยมันก็ยังไม่ได้อะไร

มันต้องอยู่ที่เราทำ อยู่ที่เราทำ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีน่ะถูกต้อง เอาตรงนี้เราใช้ประโยชน์ไง สิ่งใดเป็นสิ่งที่ดี เราเอานี้มาใช้เป็นประโยชน์มากระตุ้นพวกเรา ต้องกระตุ้นนะ ไม่กระตุ้นไม่ได้หรอก แล้วเวลาพวกเรากระตุ้นกันนะ ครูบาอาจารย์คอยกระตุ้นเนี่ย ก็บอกก็ดุ เราอยู่ในบ้านเราจะฝึกลูก แล้วพูดก็ว่าดุ จะดุไม่ดุก็ไม่รู้ล่ะ โตขึ้นมา มึงจะเสียใจทีหลังแล้วกันล่ะ

ถาม : แล้วปัญญาอบรมสมาธิล่ะครับหลวงพ่อ มีช่วงอยู่ตอนหนึ่ง อยู่ตอนหนึ่งที่มีโยมเขาถาม เสร็จแล้วหลวงพ่อก็ตอบว่าให้เลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง ปัญญาอบรมสมาธิกับกำหนด พุทโธนะครับ ที่นี้ตอนนั่งภาวนาเราก็ พุทโธๆ ถ้าเกิดเราอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันนี่ทำตามของเรานี่ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิอย่างนี้ถูกไหมครับ

หลวงพ่อ : ถูก ปัญญาอบรมสมาธิ เพราะมันอยู่ที่นิสัยนี่ไง เพราะเราพิจารณาของเราแล้วเราปฏิบัติของเรามาเนี่ย เริ่มต้นนะเราพุทโธไม่ได้หรอก เริ่มต้นนะการปฏิบัตินะ เพราะเราบวชแล้วไปอีสานแล้ว ก่อนบวชไปอีสานแล้วไปถึง โอ้โฮ ๗-๘ กิโลนะ แล้วทางลูกรังทั้งนั้นเลย โอ้โฮ กูจะเดินไหวหรือวะ มันก็เลยกลับมาบวชทางนี้ก่อนไง แล้วมื้อเดียวเนี่ย พอบวชตรงนี่ปั๊บ มันก็พุทโธเพราะไม่มีใครสอน พุทโธไปเรื่อยๆ ไม่นอนเลย พุทโธๆ มันก็ลงอยู่นะ

อย่างที่ว่าพอลงอยู่ก็เอาจริงเอาจัง ไม่มีใครสอนหรอกทำไปประสาเรา แบบว่า ตาบอดคลำช้างไปนี่แหละ มีตำรา เอาตำราเป็นอาจารย์ เพราะไปบวชกับอาจารย์ อาจารย์จริงเขาก็ทุกคนนะแอ๊กว่าปฏิบัติทั้งนั้นล่ะ แต่ถ้าคนปฏิบัตินะถ้าไม่เป็นนะ ไปถามปัญหาเขานะงง ไอ้เราก็งงอยู่แล้วนะ ไปถามอาจารย์ๆ แม่งพากูงงอีก กูงงฉิบหายเลย มันก็เลยรู้เลยว่าอาจารย์เป็นหรือไม่เป็นไง เพราะเราคุยให้ลูกศิษย์ฟังบ่อยมาก เพราะเราถามปัญหามาเยอะมาก ตอบเราไม่ได้หรอก

พอตอบไม่ได้นะ เราจะพึ่งใคร ตำรา ไม่ใช่ตำราในพระไตรปิฎกนะ ตำราประวัติครูบาอาจารย์ไง ประวัติหลวงปู่มั่น ปฏิปทาเพื่อเครื่องดำเนินเนี่ย เนี่ยเอาหลักๆนี่เลย ปฏิบัติไปเนี่ยถือเนสัชชิกเลย ไม่นอน พุทโธๆ ไปเรื่อยนะ นั่งสมาธิอยู่มันลง พอลงไปเห็นเป็นก้อนเนื้อเลยนะ ในสมาธินะก้อนเนื้อๆ เหมือนกับเขาย่างลูกวัวเห็นไหม เวลาวัวเนี่ยเขาย่างเขากลิ้งเขาหมุนเห็นไหม มันเป็นก้อนเนื้อกลิ้งเข้ามาหาเราเลย นั่งสมาธิอยู่อย่างนี้ ถ้าจิตไม่ลงเป็นสมาธินะจะเห็นอย่างนั้นไม่ได้

เมื่อก่อนไม่รู้ แต่พอปฏิบัติผ่านไปแล้วเรามาทบทวนเรารู้ ถ้าจิตไม่สงบนะจิตไม่ลงเป็นสมาธินะ จะไม่เห็นก้อนเนื้ออย่างนั้นหรอก เพราะเราไปเห็นจากจิต ไอ้เห็นกับเรานี่เห็นกับเรานี่ เราเห็นด้วยตานี่มันไม่สะเทือนใจเราหรอก เห็นก็คือเห็นแต่ไปเห็นจากจิตนี่มันเหมือนกับ โทษนะเหมือนกับเราเห็นผี เราเห็นผี ใครเป็นคนเห็น ก็เราเป็นคนเห็นกลัวตายห่าเลย ไอ้นี่จิตมันเห็นไง จิตมันลง เพราะจิตมันเป็นคนเห็นเอง สมบัติใครสมบัติมันไง

เห็นไหม เนี่ยของใครของมัน พอจิตมันลงก้อนเนื้อหมุนเข้า หมุนเข้ามา มันจะทับเรา ก็มันจะทับเราในนิมิต มันก็แตกเลย ตกใจ โอ้โฮ ปฏิบัติอยู่ ๒-๓ ปี ก็คิด ว่า ตัวเองจะต้องพิจารณากาย ต้องทำสมาธิอย่างนี้ พิจารณากาย แล้วพอพิจารณาไป พิจารณาไป มันจืดหมดไง มันจืด มันเซ็ง ทำอะไรก็ไม่ก้าวเดิน ทำอะไรไปก็ไม่ไหว สุดท้ายเราก็มาใช้ปัญญาอบรมสมาธินี่ไง ใช้ปัญญาไล่เข้าไปเลย โอ๊ยอย่างนี้ดีโว้ย อย่างนี้ดี อย่างนี้ดี อย่างที่ว่านี่หลวงปู่มั่นมาเลยนะ

พอลงใจว่ากูต้องเดินทางนี้ คราวนี้พุทโธมาก่อนนะ แล้วมาทิ้ง พอทิ้งพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิไป เราก็เข้าใจว่า เราเข้าใจว่ามันต้องถูกแล้วเพราะจิตเรามันดีขึ้น แต่ทุกคนน่ะ ทุกคนน่ะเวลาภาวนาไปแล้ว ใครภาวนาแล้วก็อยากจะถามอาจารย์ให้อาจารย์รับรองอีกทีหนึ่ง พอจิตมันดีขึ้นมานี่ หลวงปู่มั่นมาเลย ในนิมิตนะนั่งอยู่นี่ท่านมายืนต่อหน้ามึง “ เอ่อ นี่ทางมึง” ท่านพูดอย่างนี้เลยนะ

เพราะเราเป็นคนอย่างนี้ คนอย่างไรก็แล้วแต่นิมิตจะตอบตามนิสัย “นี่ทางของมึง” ท่านทำอย่างนี้เลยนะ “ทางของมึง” จำได้เลย “ทางของมึง ทางของมึง” โอ้โฮ คิดในใจนะ โอ้ จะมาบอกได้ ๓-๔ ปี เหนื่อยเกือบตาย พอมันมั่นใจมันก็พุ่งเลยนะ พอพุ่งเลยนี่ใช้ปัญญาอบรมสมาธิจับจิตได้ จับดูได้ทุกอย่างหมด ดูได้ไปเรื่อยๆ เลย พอจับจิตได้ครั้งแรก ตกใจเลย อ้าวไหนว่าเป็นนามธรรม ทำไมมันจับได้

ขึ้นไปถามอาจารย์เลย “ไหนว่าจิตมันไม่มี เป็นนามธรรมไง” “อ้าว ใครบอกมึงว่าไม่มี” เออว่ะ ก็เราคิดเอง ทุกคนอ่าน ทุกคนวิจัย ทุกคนคิดแล้วคิดของมันเองว่า เป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ แต่พอสติมันดี สมาธิมันดี มันจับได้เลย มันจับได้เลย พอจับได้มันเห็นปั๊บ นี่มันแยกเลย พอมันแยก ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ผลั้วะ มันประกาศอยู่กลางหัวอกเลย อื้อเนี่ยใช่ ไม่ต้องมีใคร บอกกูเลย นี่ของจริง ตั้งแต่นั้นก็พุ่งใหญ่เลย ไม่กี่ปี

ถาม : ทีนี่ถ้าเกิดเรามีสติ เราดูความคิด พอมีสติปุ๊บ ความคิดมันก็จะหยุด เราก็ปล่อยให้มันคิดไป แล้วมันก็จะมาดูทีหลังนี่เหรอครับ

หลวงพ่อ : ไม่ สติตามความคิดไปความคิดก็หยุด แต่มันหยุดเดี๋ยวเดียว ก็คิดอีก คิดก็ไล่มันไปอีก ไล่มันไป ไล่มันไป พอไล่มันไปเนี่ย คำว่าไล่ไปนะ ไล่ไปเรื่อยๆ ตามรู้ตามเห็น รู้เท่ารู้ทัน รู้แจ้งแทงตลอด ตามไปเนี่ยจะตามรู้ตามเห็น อย่างพวกเรานี่ตอนเช้าทำอะไรผิดพลาดมานั่งคิด แหมเสียใจฉิบหายเลย เสียใจฉิบหายเลย ก็ยังดี เนี่ยตามรู้ตามเห็น คือเราทำจบแล้ว คิดนะ คิด เราทำไปแล้ว แล้วมาคิดว่าโอ้ไม่ดีเลย ไม่ดีเลย เนี่ยตามรู้ตามเห็น

แต่โดยทั่วไปนะ เวลาเขาคิดเขาทำกันแล้วนะก็แล้วกันไป เขาไม่เอาพฤติกรรม ของเขา ไม่เอาการกระทำของเขา มาเตือนเขาให้เขาดัดแปลงเขา พอเขาเอาพฤติกรรมของเขา เอาความเห็นของเขา เพราะธรรมะคือการชนะตนเอง ธรรมะคือค้นหาตัวเราเองนะ เราไปชนะใครไม่มีประโยชน์อะไรหรอก เพราะเราชนะใครก็แล้วแต่นะเราตายไป เราก็ไปเกิดอีก

แต่ถ้าเราชนะเราได้นะ มันจะรู้ว่ากูเกิดมาจากไหนอย่างที่ว่าเนี่ย เกิดมาจากไหน ทุกคนบอกเกิดมาจากแม่ เอ่อใช่ เกิดมาจากแม่ทางวิทยาศาสตร์ แต่ธรรมะไม่ใช่ ธรรมะเกิดมาจากมึงเองนั่นแหละ เกิดมาปฏิสนธิจิต ยังมีแรงขับอยู่ จุตูปปาตญาณ จะต้องเคลื่อนไปตลอด เนี่ยพอเราตามเข้าไป ตามเข้าไปเนี่ย พอตามเข้าไป ตามรู้ตามเห็น ตามรู้ตามเห็นเห็นไหม ตามรู้ตามเห็น รู้เท่าทัน รู้ทันรู้แจ้งแทงตลอด ตามรู้ตามเห็นเนี่ย ตามรู้ตามเห็นไปก่อนจะรู้เท่าทันรู้ทัน พอรู้เท่ารู้ทัน

รู้เท่ารู้ทันเท่านั้นล่ะ แอ๊ะๆๆๆ มันขู่ความคิดได้เลยนะ เอ๊ย มึงอย่าคิด ยังไม่ได้ ต้องรู้แจ้งแทงตลอด มึงคิดเพราะอะไร ความคิดมาจากไหน ความคิดไม่ใช่จิต ความคิดไม่ใช่จิตนะ ความคิดเกิดจากจิต ถ้าความคิดเป็นจิตนะ เวลาเราไม่ได้คิด เรานั่งเฉยๆ นี่เราตายไปหมดแล้ว แล้วนี่ไม่เห็นตายเลย เรานั่งอยู่เฉยๆ นั่นคือจิต เวลานั่งสบายๆ เห็นไหม เหม่อ เอ่อ เอ่อ นั่นละคือตัวจิต

ตัวจิตคือตัวธาตุรู้ ความคิดเกิดจากจิต ทีนี้โดยธรรมชาติ โดยธรรมชาติมนุษย์นี่ มนุษย์เกิดมามีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เป็นเทวดาเห็นไหมมันมีกายเป็นทิพย์ เป็นพรหม มีจิต ๑ ขันธ์ ๑ เห็นไหม เนี่ยมันถึงธรรมชาติของมนุษย์ ต้องธรรมชาติของเทวดา ธรรมชาติ ของพรหม ธรรมชาติไง ธรรมชาติของสัตว์ ธรรมชาติของนรกอเวจี จิตดวงนี้มันไปเกิดวาระไปเกิดตรงไหน มันก็เป็นคนๆ นั้น

แล้วนี่พอไปเกิดเป็นมนุษย์นี่ มันมีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ธรรมชาติของเรานี่ เราสื่อสารกันด้วยความคิด ด้วยภาษาพูด ภาษาพูด เราสั่งการเนี่ย เนี่ยสัญชาตญาณของมัน เนี่ยมันไม่ใช่กิเลส ทุกอย่างไม่ใช่กิเลสเลย ธาตุ ๔ และ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่กิเลส อะไรไม่ใช่กิเลสเลย กิเลสคือกิเลสคือตัณหาทะยานอยากในใจเรา ที่มันอาศัยสิ่งนี้ไปด้วย อนุสัยนอนเนื่องไปกับความคิดไง

ถ้าความคิดเป็นกิเลสนะ หลวงตาท่านคิดอยู่ ท่านพูดอยู่ ก็เป็นกิเลส หลวงตาท่าน พูดอยู่คิดอยู่นะ เวลาท่านบริหารจัดการเห็นไหม ท่านก็คิดของท่านแต่ความคิดท่านสะอาดบริสุทธิ์ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ แต่ความคิดพวกเราเนี่ย สกปรกหมดเลยเพราะเรา มีอวิชชา เพราะเราไม่รู้จักตัวเราเอง นี่พอเราไม่รู้เนี่ยว่าความคิดมาจากไหน ความคิดมาจากไหน เนี่ยรู้เท่ารู้ทันรู้แจ้งแทงตลอด

เนี่ยพอรู้เข้าไป มันจะเห็นความคิดคิดมาจากไหน แล้วคิดไปแตกดับไปแล้วเหลืออะไร นั่นคือสมาธิ แล้วตัวสมาธินี่มันจะออกรู้อีก ตัวสมาธินี่มันจะออกเห็นความคิด ตรงนี้จะเป็นวิปัสสนา แต่ตอนนี้เรายังไม่เห็นความคิดเลย แต่เราตามความคิดได้ ความคิดหยุดได้ แต่พอจิตมันสงบไปแล้ว ตัวจิตน่ะมันมาดูความคิด ตัวจิตมันเห็นความคิดเพราะความ คิดมันเกิดดับ น้ำเนี่ยน้ำนี่น้ำเย็นนี่เห็นไหม น้ำเย็นอุณหภูมิอย่างหนึ่ง น้ำนี่เราไปต้มขึ้น มานี่น้ำนี่มันร้อนมันจะเป็นอย่างหนึ่ง

จิตคิดกับจิตไม่คิดเห็นไหมคนละอย่าง นี่ความคิดถึงไม่ใช่จิต ถ้าความคิดไม่ใช่จิต จิตมันสงบแล้วนี่ พอไล่ไปจนจิตสงบแล้วนี่แล้วสังเกตุตรงนี้ให้ได้ ถ้าคนสังเกตุตรงนี้ ไม่ได้ จะจับจิตไม่ได้ นี่ที่หลวงปู่ดูลย์สอนไง ที่เขาสอนกันไม่ใช่อย่างนี้ หลวงปู่ดูลย์สอนนะ ความรู้สึกเป็นรูป ความคิดเป็นนาม ความรู้สึกตัวจิต ความรู้สึกเป็นรูป ความคิดเป็นนาม ในเมื่อมีรูปมีนาม นามคือความว่าง มันมีรูปมีนาม มีความเป็นช่องว่าง มีช่องมัน ก็หมุนไป หมุนไป ภพชาติก็เกิด

แล้วถ้าเรากลับไปเห็นไหม ความคิดมันเกิดดับเห็นไหม เป็นความว่าง ถ้าเราไปถึงที่สุด เราไปเห็นรูป ไปเห็นตัวจิต นี่ก็คือสมาธิ ตัวรูปมันคิดไม่ได้ ไม่ใช่นาม ความคิดคือนาม ความรู้สึกเป็นรูป นี่ไงดูจิตจนเห็นอาการของจิต เราจะพูดบ่อยว่าหลวงปู่ดูลย์นี่สอนถูก ไอ้ที่สอนๆ อยู่นี่ผิดหมด นี่ถ้าจิตนี่มันไล่เข้าไปๆ มันหยุด หยุดนี่นะทำสมาธิบ่อย ๆเห็นไหม ทำความสงบบ่อยๆ มันเกิดเป็นสมาธิ

ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไป อบรมเข้าไปมันจะหยุด มันจะหยุดนะ แล้วเดี๋ยวคิดอีก หยุดแล้วคิดอีก เนี่ยอย่างนี้เห็นอาการแล้ว เห็นความเกิดดับแล้ว แล้วถ้าเกิดดับบ่อยๆ เข้าจนมันไม่เกิดดับ จนเรารักษาได้ มันเป็นธรรมชาติของมันใช่ไหม ปกติพวกเราเนี่ยมีสมาธิอยู่แล้ว แต่เพราะว่าจิตเรานี่ พลังงานมันส่งออก ความคิดเราคิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่คิดเดี๋ยวสมองมันฝ่อ ต้องคิดตลอดเวลา

พอคิดเนี่ยมันใช้พลังหมดไปเลย สิ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดคือ ตัวความคิด สิ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วนะเนี่ย จิตเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด เร็วกว่าแสง สิ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดแล้ว จับให้มันหยุดต้องหยุดนิ่งได้ สิ่งที่หยุดนิ่งได้ มันจะมีกำลังมาก เพราะมันสิ่งที่เร็วมาก สิ่ง ที่เร็วขนาดไหน ความเร็วขนาดไหนก็แล้วแต่ มันจะไม่เร็วไปกับสติเรา บางคนมาพูดเลยบอก อู้ย ความคิดมันเร็วมากนะ อูย มันอย่างนั้นๆ นะ แล้วใจจะไปทันมัน เอ่อ แล้ว เดี๋ยวมึงจะรู้เอง ถ้ามึงปฏิบัติไป

สติตามมันไป สติตามมันไป แล้วอย่างที่ว่าเนี่ย อย่างที่หลวงปู่ดูลย์พูดนะถูก ทำพุทโธๆ บ้างก็ได้ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิบ้างก็ได้ แต่ทำไปเถอะอย่างใดอย่างหนึ่ง มัน อยู่ที่ความชอบ แล้วถ้าในความรู้สึกเรานะพุทโธๆ เนี่ยศรัทธาจริตมีความเชื่อมั่น แต่พุทธจริต ส่วนใหญ่เนี่ยคนภาคกลาง พวกมีการศึกษาเนี่ยพุทธจริต พุทธจริตเนี่ยหมายถึงว่า ต้องใช้ปัญญา พุทธจริตเนี่ยมันไม่เชื่อหรอก

อะไรวะ อะไรก็พุทโธ อะไรก็โธ่ มึงจะทำอย่างไรวะพุทโธๆ เนี่ย เดี๋ยวเถอะ พุทโธๆ นี่พระอรหันต์กูเยอะแยะเลย อันนี้มันเป็นที่เราเองเนี่ย อะไรวะ อะไรๆ ก็ พุทโธ อะไรๆ ก็พุทโธ แม่งโง่ฉิบหายไม่สอนอะไรเลย สอนแต่พุทโธๆ เนี่ย ตัวเอง แม่งโง่มันไม่ยอมรับว่ามันโง่นะ มันจะบอกว่าอาจารย์สอนมันโง่ มันศรัทธาจริต พุทธจริต โลภะจริต โทสะจริต

ถาม : แสดงว่าแต่ละคนเนี่ย จะปฏิบัติเนี่ยอาจจะเริ่มต้นไม่เหมือนกัน

หลวงพ่อ : ไม่เหมือนกัน ถ้าเหมือนกันเลยเนี่ย ตอนนี้เอามาเลยน้ำพริกถ้วยเดียวที่เอามาตั้งอยู่เนี่ยทุกคนต้องกินอร่อยหมดนะมึง ไม่มีใครชอบหรอก แต่เรานี่ชอบ บอกน้ำพริกอร่อยโว้ย แต่คนอื่นบอก โอ๊ย น้ำพริกเผ็ดแย่เลย แอ๊ ไม่เอาเลย แล้วพอสอนอย่างเดียวแล้วทำอย่างนี้อย่างอื่นทำไม่ได้เลย

กรรมฐาน ๔๐ ห้อง พระพุทธเจ้าเปิดไว้ ๔๐ ทางน่ะ พระพุทธเจ้ารู้ถึงจริตนิสัย ของคนทั้งหมด แล้วถ้าใครทำกรรมไหน พระพุทธเจ้ามีอนาคตังสญาณนะ จะรู้เลยว่า ไอ้นี่ทำกรรมอะไรมา แล้วทำตามนี่ปั๊บมันจะดีมาก ดีมาก แต่นี่พระพุทธเจ้าตายไปแล้ว เราเกิดมาไม่ทันพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า ทำอะไรดีไง ก็ต้องหากันเองเนี่ย กระเสือกกระสนอยู่เนี่ย

ถาม : แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าปฏิบัติแบบไหนแล้วมันจะถูกกับจริตเราคะ

หลวงพ่อ : ถ้าพุทโธๆ พุทโธแล้วมันว่าง พุทโธแล้วมันโล่ง มันสบาย ถูกจริตกับเรา แต่ถ้าพุทโธแล้วมันเครียด พุทโธแล้วมันไม่เอาเลยเนี่ย พุทโธมันโต้แย้งนี่เราก็ลุกขึ้นใช้ความคิด ลุกขึ้นเดินจงกรมก็ได้ ลุกนั่งก็ได้ มันอยู่ที่เราไง นั่งก็ได้ ไอ้เนี่ยปัญญาอบรมสมาธิ นั่งก็ได้ เดินก็ได้ แต่มันไม่อยู่กับพุทโธไง มันใช้ปัญญาไล่ ใช้สตินี่ตามความคิดไป ไล่กับเรา เป็นปัญญาอบรมสมาธิ

มันมีปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา มีเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติเห็นไหม เจโตคือจิตที่สงบ เจโตขยญาณเนี่ย เจโตนี่มันเกิดจากจิต มันเป็นกำลังของสมาธิ พอมันเห็นภาพเนี่ย เห็นนิมิตเนี่ยมันจะแยกวิภาคะ แยกส่วนเห็นกายเห็นต่างๆ เห็นกายไม่ได้ตาเห็นนะ ที่เราเห็นกายนั้นอะไร เดี๋ยวว่าโกหก ที่ว่าเห็นกาย เห็นกายน่ะ มันเป็นจินตนาการ มันเป็นความสัญญา เป็นความคิดของเขา เป็นความคิดของเขา แล้วเขาคิดว่าเขาเห็นกาย เขาว่าถูกต้องเขาว่ามันดีไง มันดีจริงๆ นะ

เราบอกเลยธรรมชาติของมนุษย์นี่ เราเป็นพ่อแม่คนเนี่ย ลูกเรานี่ถ้ามันเกเรมันก็ไม่ดีธรรมดา ถ้าลูกเราดีขึ้นมา เราก็ว่าดีเป็นธรรมดา นิสัยเราก็เหมือนกัน นิสัยใจคอเรานี่มันเกเรเกตุง มันไม่เป็นสิ่งที่ว่าทำความเดือดร้อนให้ตลอดเวลา แล้วบังเอิญ..เราไปฟังธรรมะแล้วมันถูกใจ แล้วเราควบคุมใจเรา แล้วใจเรามันดีขึ้นมาเนี่ย มันก็ธรรมดา นี่พอเขาไม่ค่อยเห็น เขาก็ว่าไม่ธรรมดาไง เขาบอกว่านี่บรรลุธรรม

เนี่ยใจว่างเนี่ยจิตว่าง เขาไปพูดกันอย่างนั้น คนก็เลยฮือฮากันมากนะ เพราะจิตมันว่าง โอ๊ยจิตมันสุดยอดเลย เราบอกว่าใช่ มันธรรมดาไอ้นี่เป็นโลกียปัญญา ปัญญาโลกๆ แต่ธรรมะเราสอนลึกซึ้งกว่านั้น มันถอดถอนอุปาทาน ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นของใจ ถอดถอนเรื่องในใจได้อีกเยอะแยะเลย แต่พวกเราทำเข้าไปไม่ถึงจุดนั้นกัน แล้วก็บอกว่าศาสนาเป็นอย่างนี้ ศาสนาเป็นอย่างนี้ ก็มึงว่าน่ะ ศาสนา คนไม่เป็นพูดก็เป็นอีกอย่างหนึ่งนะ

ศาสนา คนเป็นพูดมันก็ไปอีกอย่างหนึ่ง คนไม่เป็นมันก็จำพระพุทธเจ้ามาพูด ใช่ไหมว่าธรรมะเหมือนกัน บอกว่าธรรมะก็ธรรมะโว้ย เราพูดธรรมะล่ะ เอ้าพูดธรรมะโว๊ย อ้าวก็ธรรมะของใคร อ้าวธรรมะพระพุทธเจ้าก็กูไม่รู้ แต่ถ้าคนรู้นะมันจะบอกเราได้หมด บอกการกระทำบอกต่างๆ มันก็ต้องว่าไปอย่างนั้นแหละ ปัญญาอบรมสมาธิ ก็ได้ สมาธิอบรมปัญญา เพราะว่าอย่างไรก็แล้วแต่นะ การกระทำของเราทั้งหมดน่ะผล ของมันคือสมาธิ ผลของมันคือสมถะ ผลของมันน่ะ

ผลของมัน จนกว่าจิตนิ่ง จนกว่าสมาธิดีแล้วเนี่ย สมาธิออกเห็น ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เพราะมันก็เห็นบ่อยตลอดเวลาเห็นเวทนานี่ เพราะใครนั่งสมาธิ มันต้องมีอาการเจ็บปวดเป็นเรื่องธรรมดา เพราะทำไมรู้ไหม เพราะจิตมันโดนจับขัง แต่เดิม ถ้าเราอยู่บ้านแล้วเราขยับบ่อยๆ แล้วเด็กเนี่ยเด็กมันเล่นเกมส์ มันเล่นได้ทั้งวันเลย ยิ่งนักการพนันนี่มันนั่งได้ที ๗ วัน ๗ คืนเลย นักการพนันเนี่ย เพราะมันเพลินอยู่กับสิ่งที่มันพนันขันต่อกัน จิตมันไม่เข้ามาข้างในเลย

แต่พวกเรานั่งนี่ เราจับมันมาขังไง เราจะพยายามจะหาจิตให้ได้แล้ว พุทโธ ๆเนี่ย พอนั่ง ๕ นาทีมันปวดแล้ว แค่ ๕ นาทีเท่านั้นแหล่ะมันดิ้นแล้ว แต่ถ้าไปนั่งเล่น ไพ่นั่งดูทีวีนะทั้งคืน ยิ่งถ้าให้นั่งนับตังค์ด้วยนะ เอาเงินมากองไว้นี่กองหนึ่ง ใครนับได้ เท่าไร่ก็ของคนนั้น โอ้โฮ มันนับทั้งคืนเลย แต่พอพุทโธมันนั่งไม่ได้ เพราะนี่ไงพอนั่งแล้ว จิตสงบนี่เวทนามันเห็นอยู่แล้ว ถ้าจิตสงบนะ ถ้าจิตไม่สงบนี่เวทนามันเกิดขึ้นมานี่

แล้วพุทโธๆ นี่นักรบ คือดึงจิตเรากลับมาที่เรานี่ เวทนามันจะหายไป แต่ถ้าจิตมีกำลังดีแล้ว เวทนานี่เวทนาเป็นอย่างไรวะ อะไรเป็นเวทนานะ เข้าต่อสู้กับมัน การต่อสู้เนี่ยผลของมันก็คือ สงบเหมือนกัน แต่เราจะบอกว่าการภาวนาเริ่มต้น ผลของมันคือการ ปล่อยวางคือความสงบ มันยังไม่เป็นวิปัสสนา ไม่เป็นวิปัสสนาเพราะอะไร เพราะจิตเนี่ยมันยังสกปรกอยู่ จิตของเรานี่ มันยังไม่รู้ตัวตนของมันอยู่ จิตของเรานี่ มือเรานี่สกปรก หยิบอะไรก็สกปรกหมด เราจะทำอะไรถ้ามือมันสะอาด จับต้องอะไรมันก็สะอาดหมด

จิตเรานี่มันมีอวิชชาอยู่ มันถึงเป็นสมาธิไม่ได้ พอจิตสงบเนี่ยหมายถึงว่าอวิชชาเนี่ยมันวางตัวชั่วคราว เขาเรียกว่าหินทับหญ้าๆ เราบอกว่าหินทับหญ้าก็จริงอยู่นะ แต่พวกมึงไม่เจอหิน และไม่เจอหญ้า มึงเลยทับไม่เป็น จะหินทับหญ้า ก็ขอให้หินทับหญ้าเถอะว่ะ นี่มันพูดสบประมาทกันไง สมาธิก็หินทับหญ้าไม่มีประโยชน์ มึงยังไม่รู้จักหินเลย หินมึงก็ไม่มี หญ้ามึงก็ไม่มี ในหัวใจมึงเลยเดือดร้อนไง

ถ้ามึงมีหินนะแล้วทับหญ้ามึงไว้สักหน่อยนะ หญ้ามึงจะไม่มารบกวนใจมึง หินทับหญ้าๆ หินมึงยังไม่รู้จักว่าหินเลยนะ หินทับหญ้าหรือไม่ทับหญ้าก็แล้วแต่ เราทำของเราไป มันเป็นทางผ่าน มันเป็นทางผ่านที่จิตต้องผ่านไปอย่างนี้ ถ้างั้นมันไปไม่รอดหรอก เพราะมันเป็นโลกียปัญญาไง มันเป็นจินตนาการ แล้วจิตนะมันสำคัญอยู่แล้ว

โอ่ ดูนักประพันธ์ดิ มันแต่งเรื่องมาน่ะ ใครอ่านร้องไห้เลย จินตนาการมัน ไปเลย พล็อตเรื่องเนี่ยมันเขียนไปเลย แล้วที่นี่พอจิตมันเป็นเนี่ย โอ้โฮ นิพพานเป็นอย่างนั้นๆ นิพพานเป็นอย่างนั้น โอ้โฮ คุยกันปากเปียกปากแฉะ พอจิตมันเสื่อมแม่งนั่งคอตก ถ้ามันไม่ได้แก้กิเลส มันมีเจริญแล้วเสื่อม ต้องเสื่อมแน่นอนช้าหรือเร็ว เด็ดขาด เว้นไว้แต่กูขี่หลังเสือแล้วใช่ไหม เสื่อมกูก็ทนไว้ กูไม่เสื่อม กูมีความสุข กูมีความสุข หลอกตัวเองน่ะ เป็นไปไม่ได้หรอก คนเราเป็นไข้เนี่ยมันต้องมีอาการ จิตมีอวิชชาอยู่เนี่ยมันต้องแสดงตัว เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้

ถาม : นี่ก็เราดูความคิดไปเรื่อยๆ ดูความคิด ทีนี้ความคิดที่มันเป็นอกุศลเราก็หยุด เราก็ต้องหยุดมันที่ว่าตามทันนะครับ ถ้าจิตเป็นกุศลเราก็ปล่อยๆ ไปตามธรรมชาติ

หลวงพ่อ : ใช่ ถ้าเป็นกุศล ตรึกในธรรมไง ความจริงไม่ได้คิดหรอก คิดเรื่องธรรมะเลย คิดเลย สมมุติมาจากไหน อุปาทานมาจากไหน ตังเมนี่เราต้องดึ๊งออกมา แล้วตัด กิเลสก็เหมือนกัน กิเลสมันอยู่ที่ไหนมันอยู่ที่จิต ต้องดึ๊งมันออกมา แล้วตัดฉั๊บเลย บางทีคนไม่เข้าใจไง เข้าใจว่าพอคิดไปมันว่างแล้วก็สบายไง คิดได้แค่ว่างแล้วตังเมมันยังไม่ดึ๊ง ออกมาเลย

อย่างที่เราพูดอยู่เนี่ย สัญชาตญาณเรามีความคิดอยู่แล้ว แล้วที่เขาทำกันนะก็เพราะเหตุนี่ล่ะ เขาคิดให้มันว่าง ฟังนะ ความคิด คิดแล้วมันฟุ้งซ่าน คิดให้มันว่างก็เป็นความ คิดอันหนึ่ง คิดให้ว่างแล้วตัวความคิดมันว่างแต่ตัวกูไม่ว่าง คิดให้ว่างแต่ตัวกูไม่ว่าง เพราะไปว่างที่ความคิด ไม่ได้ว่างที่ตัวเรา ที่เขาพูดกันนะมันเพราะเหตุนี้ คิดให้มันว่างไง นี่เป็นความคิดนะ อย่าส่งออกนะ ความคิดต้องอยู่เฉยๆ นะ มันไม่ใช่ตัวจิต

แต่เพราะเราแต่ใช้ปัญญาอบรมสมาธิเนี่ยเห็นไหม เราไล่ความคิดไป ไล่ความคิดไปเห็นไหม พอความคิดมันเกิดเราก็รู้ พอความคิดมันดับมันก็ดับ ดับแล้วใครเป็นคนคิดล่ะ เราถึงบอกไงว่า ความคิดมันมาจากไหน นี่ความคิดมาจากไหน ความคิดมาจากจิต แต่ความคิดไม่ใช่จิต เราไล่ความคิดไปเนี่ยพอกระแสไล่กระแส พอไล่ไปเนี่ย พอ ไล่ไปเห็นไหม มันจะไล่ไปเรื่อยๆ ไล่ไปจนถึงตัวจิต พอถึงตัวจิต เออ

คนที่เขาดูจิตกันนะเขาไม่พูดเรื่องนี้ เพราะเขาไม่พูดว่า เออ ไง ถ้าเขาไม่ เออ นี่ คือเขาไม่เห็นตัวเขาเองไง พอเห็นว่า เออ เนี่ย พอ เออ ไปเนี่ยจิตเห็นอาการของจิต แต่เขาบอกอาการของจิตนี้ผิด ทุกอย่างมันเป็นอาการหมด มันทุกข์มันยากหมด มันได้เข้าไปที่ตัวจิต แล้วตัวจิตเข้าไปทำไม เอ็งเข้าไปจิตทำไม ไอ้ที่พูดเมื่อกี้เนี่ยจิตเป็นปฏิสนธิ จิตเป็นตัวกายตัวเกิด เราก็เข้าไปที่จิต เพื่อทำความสะอาดจิต ถ้าทำความสะอาดจิตเนี่ย วิธีทำความสะอาดทำอย่างไร

๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เมื่อกี้นี้ ถ้าไม่มีวิธีการทำความสะอาด จิตมึงจะสะอาดไม่ได้ นี่การทำความสะอาดจิตก็เอาจิต เอาตัวมันเห็นไหม เอาตัวมันน่ะออกมาที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม เพราะอะไร เพราะในตัวมันน่ะ เกิดมาเนี่ย อย่างนี้ๆ เห็นไหม ต้องเข้าฟิตเนตต้องโอ้โฮ เนี่ยไง สักกายทิฏฐิไง เพราะมันติดที่กาย ติดที่เวทนา ติดที่จิต ที่ธรรม เวทนา เวทนาคือความพอใจอยากได้อยากดี ติดที่กาย ติดที่เวทนา ติดที่จิต

ติดตัวจิตนี้มันเศร้าหมอง ผ่องใส ติดที่ธรรม ธรรมคือธรรมารมณ์ ที่ความคิดเกิดขึ้น มันติดของมันเอง ตัวมันเองนี่ มันแสดงตัวเองไม่ได้ พลังงานนั้นแสดงตัวเองไม่ได้ มันแสดงออกโดยการที่ว่า เนี่ยร่างกายนี่เป็นของเรา ทุกคนว่าร่างกายนี่เป็นของเรานะ แต่เราก็บอกเป็นของเราจริงๆนะ เป็นของเราโดยสมมุติ จริงตามสมมุติ ตอบนี่เขาพูดกัน สมมุติคือไม่มี สมมุติคือ คือ เอ๊ย สมมุติมีนะมึง เพราะไม่มีสมมุติ กูไม่มีชีวิตนะ

ถ้าไม่มีสมมุติก็ไม่มีคนเนี่ย คนนี่สมมุติชั่วเวลาหนึ่ง อายุหนึ่งก็คือสมมุติ มันมีจริงตามสมมุติ สมมุติมันมีนะโว้ย เพราะมันเป็นสมมุติไง เราเอาสมมุตินี่ มาทำให้มันเป็นธรรม พอเป็นธรรมแล้วนี่ออกวิปัสสนาไปเนี่ย สมมุติเนี่ยมันจะเปลี่ยนเป็นวิมุตติ เนี่ยพอเริ่มต้นนะ โน่นก็สมมุติ นี่ก็สมมุติ ถ้ามึงสมมุติมึงก็อย่ามาเกิดดิ มึงก็อย่าทุกข์ดิ มึงอย่าร้องไห้นะ ร้องไห้ก็สมมุติ ร้องไห้ทำห่าอะไรกัน ก็สมมุติไง

เวลาจะเจ็บก็บอก สมมุตินะ สมมุติ เลิกเลย เลิกเลย มันเลิกไม่ได้ เพราะอะไร เพราะจิตมันมีตัณหา นี่ไงตัวที่จิตมันไม่สะอาดเนี่ย พอจิตมันไม่สะอาด พอจิตมันไม่สะอาดใช่ไหม พอไม่สะอาด นี้พอมันละเอียดปั๊บ มันเป็นเราทุกอย่างเป็นเราทั้งหมด มันก็แสดงตัวออกมา เราก็ไม่รู้เรื่อง ธรรมะเนี่ยถึงบอกว่า ถ้าเราไปทำอะไรกัน เราทำไม่ถูก

ธรรมะเนี่ย ธรรมพระพุทธเจ้า อริยสัจมันถึงบอกว่าเนี่ย ถ้ามันสงบแล้วเห็นไหม ให้มันออกรู้ไง ออกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม ให้รู้ตามธรรม ไม่ให้รู้ตามสมมุติ นี่พวกเราเห็นไหม รักษาก็รู้ ดีไปหมด แต่ถ้าเป็นธรรมขึ้นมา จิตมันสงบนะ มันเห็นนิมิตนะ พิจารณากายได้ ๒ ประเด็น ประเด็นหนึ่งพิจารณากายโดยเจโตวิมุตติคือเห็นกาย พิจารณากายโดยปัญญาวิมุตติไม่เห็นกาย ใช้ปัญญา ปัญญาใคร่ครวญว่า ในร่างกายของเรานี่มันมีอะไร ในร่างกายของเรานี่

ถ้าพูดถึงครูบาอาจารย์ท่านคิดนะ ในร่างกายของเรานี่ ร่างกายของสัตว์มันยังมีประโยชน์นะ ร่างกายของมนุษย์นี่ มันกินแต่สัตว์จนเต็มท้องมันเนี่ย มันก็ต้องเอาของเน่าของเสียเนี่ย เวลาธรรมะของครูบาอาจารย์นะ เขาบอกมนุษย์นี่กินขี้ เพราะอะไรข้าวก็ขี้นะเพราะมันเกิดมาจากดิน คนนี่กินขี้ บอกกินขี้โกรธอีก กูกินข้าวกินขี้ได้ไง ก็มันเกิดจากขี้ดินไง มันต้องเอาของมัน เอาธาตุ ๔ เข้าไปเลี้ยงมันไง มันต้องมีอาหาร แล้วเอามาจากไหนนี่ ใช้ปัญญาคิดดิ

โธ่หลวงตาท่านพูดถึงหลวงปู่มั่นนะ เวลาท่านสอนพระนะ ถ้าเกิดว่าร่างกายมีของสกปรกนี่ ถ้าไม่เชื่อนะ ไม่เชื่อนะ เอานิ้วเนี่ยแยงเข้าไปในทวารหนักเลย ออกมาเหม็นหมดเลย ถ้าไม่เชื่อ แต่บอกนี่หยาบมากนะ คือสอนแบบหยาบๆ สอนแบบวิทยาศาสตร์คือ วัตถุๆ จับต้องกันเลยล่ะ

แต่ถ้าจิตเราสงบมันเป็นอย่างนั้น จิตมันสงบมันจะคิดของมันนะ มันจะใคร่ครวญของมัน ถ้ามันใคร่ครวญมันเพื่อประโยชน์อะไร โดยธรรมชาติจิตใต้สำนึกนี่ มันถึงบอกว่าของนี้ยังเป็นของเราเลย เราซื้อมาเอามาถวายพระ ยังเป็นของๆ เราเลย แล้วร่างกายกูนี่อยู่กับกูนี่ ไม่ใช่ของเราได้อย่างไร ก็ของกูธรรมดาไม่งั้นกูจะอาบนี้ทำไม ไม่งั้นกูจะขัดทำไม อู้ กูต้องรักก็มันของกูนี่ไง ไอ้กูนี่คือจิตใต้สำนึก

แล้วพอมันพิจารณาของมันไปนะ พิจารณาไป พอมันปล่อยนะ กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่กาย แยกพั๊บเลย พอแยกออกพั๊บนะ ก็อันเดียวกันนี่แหละ ก็อยู่เป็นปกตินี่แหละ แต่จิตใต้สำนึก อุปาทาน สังโยชน์อยู่ที่ใจมันถอนพรวดเลย ทิฏฐิความเห็นอันนี้ เออ นี่เหรอเอาจริงตามสมมุติแล้ว แล้วนี่มันก็เกิดในเราจริง ก็จริงตามสมมุตินี่แหละ

แต่ใจเรามันปล่อยได้ พอใจมันปล่อยเข้าไปเนี่ย แล้วพิจารณาซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไปนะ จากที่เราเป็นนี่ จิตใจและร่างกายเรานี่เป็นอันเดียวกัน พอใจมันปล่อยนี่ปั๊บนี่ กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กายเนี่ย ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่มันอยู่ด้วยกัน โดยสมาธินะ ในสมาธิเนี่ย เวลาเรานั่งสมาธิเนี่ย จิต อัปปนาสมาธินะ พุทโธๆๆๆ พิจารณาอารมณ์ต่างๆ จิตมันสงบหมดเลยนะ พอมันดับหมดเลย พอมันดับหมดนี่แสดงว่ามันไม่รับรู้อะไรแล้ว กายกับใจนี่คนละอันจริงๆ กายกับใจนี่คนละอันจริงๆ

แต่พอเราเกิดมา เราเกิดมานี่ เหมือนรถนี่ เราแยกออกดิ รถนี่ ตรงไหนเรียกว่ารถ อันนั้นก็เหล็ก อันนั้นก็ยาง อันนั้นก็สายไฟ อะไรเรียกว่ารถ พอประกอบเข้าก็เป็นรถ จิตก็เหมือนกัน เนี่ยพอมันประกอบเข้ามาว่า กายกับเราเป็นอันเดียวกัน พอมันใช้ปัญญาแยกออกหมดแล้ว เฮ๋อ เราไม่มีนี่หว่า กายก็ไม่มีนี่หว่า มันปล่อยพั๊บ พอปล่อยแล้วนะ รถก็คือรถ ก็เป็นอะไรไป รถก็รถของเราก็เป็นอะไรไป พอมันปล่อยแล้ว กายก็คือกาย แต่ใจเนี่ยมันเข้าใจ ตามความเป็นจริงแล้ว เพราะเราได้แยกรถออกทั้งหมดแล้ว แล้วประกอบขึ้นมาเป็นรถ จิตนี้โดยกรรมเนี่ย มันประกอบมาเป็นเรา แต่ธรรมะเนี่ยเข้าไปแบ่งแยก เข้าไปเปิดเผย จนจิตมันเห็นจริงหมด มันถอนสังโยชน์ผลั๊วะเลย

ถาม : ก็เป็นแบบย้ำคิดย้ำอะไรให้มัน...

หลวงพ่อ : ต้องทำตลอด ไอ้ย้ำคิดย้ำทำเนี่ย ถ้าย้ำคิดย้ำทำเป็นทางโลก เขาเรียกว่าเป็นจิตเภท คนนี้มันจะบ้า คิดจนบ้าเลย แต่ของเราย้ำคิดย้ำทำ ยิ่งย้ำคิดย้ำทำยิ่งดี ดีเพราะอะไร ดีเพราะกูมีสติ กูไม่ใช่คนบ้า ถ้ากูไม่มีสติ กูทำสมาธิไม่ได้ เพราะกูทำสมาธิได้เห็นไหม กูถึงเป็นปุถุชน กัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนเพราะมันควบคุมจิตได้ดี เพราะควบคุมจิตให้เป็นกัลยาณปุถุชนนี่ ยกขึ้นเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นั้นคือโสดาปัตติมรรค ย้ำคิดย้ำทำด้วยมรรคด้วยผล

ไม่ใช่ย้ำคิดย้ำทำแบบด้วยทุกข์ ด้วยยาก ด้วยจิตเภทไง ย้ำคิดย้ำทำเพราะปัญญา การใช้ปัญญาต้อง หลวงตาบอกการใช้ปัญญา มันจะกว้างขวางมาก ไม่มีขอบเขต มันเหมือนเรดาร์มันจับหมดเลย จับหมดเลยว่าความคิดมันจะโผล่มาอย่างไร ตรงไหนมันจะโผล่ขึ้นมาในกลางหัวใจเรานี้

ย้ำคิดย้ำทำในทางที่ดี ต้องย้ำคิดย้ำทำ เพราะไม่ย้ำคิดย้ำทำนะ วันนี้พิจารณาแล้วปล่อย โอ้โฮ สบายมากเลยนะ โอ๊ย ปล่อยเลยนะ โอ๊ยสบายๆ ทิ้งไว้ ๕ วัน ๑๐ วันมาทำอีกทีทำไม่ได้แล้ว ทิ้งไม่ได้เลย พอไล่ไปเลย เราเคยเดินจงกรมเนี่ย วันๆ นี่มันปล่อยที บางทีเนี่ยลงที ๕ หน ๖ หน คือมันพิจารณาจนปล่อยเนี่ย ปล่อย เดี๋ยวเอาอีกปั๊บอีก ปล่อย ปั๊บอีก ปล่อย เนี่ยตทังคปหาน มันปล่อยชั่วคราว มันไม่มีบทสรุป

บทสรุปถ้าปล่อยมันขาด สมุจเฉทปหาน ผลั๊วะ หลวงตาพูดชัดเลยนะ กายกับจิต แยกเป็น ๓ ทวีปเลย แล้วจะมารวมอีกไม่ได้ เพราะหลวงตาท่านผ่านตรงนี้ด้วยเวทนา นั่งตลอดรุ่งเลย โอ้โฮ มันปวด เวลามันลงแล้วนะ ๒-๓ ชั่วโมงก็คลายออกมาอีก พอคลายออกมาก็ต้องต่อสู้อีก ลงไปอีก พอ ๒ คืน ๓ คืนไปเนี่ย มันขาด ท่านสรุปในใจท่านเลยล่ะ เพราะคนมันจะตายมันก็เวทนากันแค่นี้ ต่อไปนี้มันจะเอาเวทนาที่ไหนมาหลอกกูวะ

มันจะเอาเวทนาที่ไหนมาหลอกกูอีก ในเมื่อเวทนาสู้กับเวทนา จนเวทนาสักแต่ว่าเวทนา เวทนาเป็นเวทนา จิตเป็นจิต กายเป็นกายเนี่ย แยกแล้วเนี่ย แล้วมันจะเอาเวทนาหน้าไหนมาหลอกเราอีกวะ จิตมันมีอิสระขนาดนั้นเลย ตั้งแต่นั้นมาสบายมากทำอะไรก็ได้ เนี่ยพอมันมีพื้นฐานนะ ไปได้เรื่อยๆ เลย ไปได้เรื่อยๆ บางทีมันก็ติด อย่างที่ไปติดสมาธิ ๕ ปีเนี่ย หลวงปู่มั่นต้องเอาออก เพราะความเข้าใจผิด

แล้วเราปฏิบัตินี่คนเข้าใจผิดเยอะนะ เวลาบอกไปทางใดทางหนึ่ง มันก็สุดโต่งไป เลยนะ มันไม่เลี้ยวกลับมาเลยนะ ไม่ได้สนใจด้วย แม่งพอวนไปสุดขอบฟ้าแล้วค่อยเลี้ยวกลับมา เอ่อ กูผิดว่ะ มันมี เวลาปฏิบัติไปน่ะ บางทีมันสุดโต่งไปเลยนะ ถูกต้อง กูนะแม่งดันไปเลยนะ มันไม่รู้จักจบว่ะ เอ๊ เป็นเพราะเหตุใด หันกลับมา อ้อ ผิดอย่างนี้ ผิดอย่างนี้ แก้ไปเรื่อย

การปฏิบัติตรงนี้มันมีเยอะ ถ้าอาจารย์ไม่เป็นนี่ มันก้าวเดินไปไม่ได้ มีคนมาหาตอนนี้ ซีดีนี่แปลกนะออกไปเยอะ กรณีนี้กลับมาเยอะมาก คนกลับมาซีดีเนี่ยกลับมา เยอะมากเลย อื้อ เขาจะต้องไปฟังก่อน พอฟังเสร็จแล้วเขาต้องไปคำนวณดูว่า จริงไม่จริงว่ะ แล้วพอเข้ามานะ อื้อ หลวงพ่อพูดถูกหมดเลย ใครมาก็หลวงพ่อพูดถูกหมดเลย เพราะเราเน้นย้ำเลย ถ้าไม่มีสมาธิ มรรค ๘ ไม่มี สมาธิเนี่ยมันไม่ได้แก้ที่เรา มันไป แก้ที่ความคิด สมาธิคือเรา ถ้าไม่มีสมาธิเนี่ยมันไม่ได้แก้ที่เรา มันไปแก้ที่เงา เราไปยืนกลางแดดสิ แล้วเราจัดเงาให้ดี แล้วตัวเราอีกเรื่องหนึ่งเลย ถ้าเป็นสมาธิคือตัวเรา

ถาม : แก้ที่เหตุของความคิดคือความคิด..

หลวงพ่อ : ใช่ ไล่ความคิดไปก่อน ธรรมดาเนี่ยพวกอภิธรรมเนี่ย เขามาถามเราว่านามรูปกับปัญญาอบรมสมาธิต่างกันอย่างไร นามรูปเนี่ยเขาดูผลกระทบ ดูผลกระทบกับรูปนาม ดูผลกระทบ ผลกระทบนั้นคืออะไร คือจิตออกรู้ แต่เราไปกับสมาธิเนี่ย มันย้อนกลับเข้าจิต ความคิดมาจากไหน ความคิดมาจากจิต แล้วไล่ความคิดเข้าไป มันก็กลับไปที่จิต แต่ของเขาๆ ไม่กลับมาไล่ที่จิต เขาออกมารับรู้ข้างนอก เราบอกสัญญาอารมณ์ไง คิดให้ว่างไง รู้เท่าทันหนอ ปล่อยวางหนอ ดีหนอๆ

แต่ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิเกิดเกิดที่ไหน แล้วดับไปอยู่ที่ไหน แล้วจิตจะเกิดอีกอย่างไร สังเกตดูดิ มันก็กลับมาที่ต้นขั้ว เพราะอะไร เพราะความคิดนี่ถ้าคนภาวนาเป็นมันจะรู้เลย เวลาคนนอนฝันทำไมมันไม่ตาย ฝันคือจิตออกไปเที่ยว แล้วพอบอกว่าเอาจิตกลับไม่ได้ บอกไม่ต้องกลัวหรอก สายบุญสายกรรมนะ มันมีกระแสกลับมา

คราวนี้เวลาความคิดนะ ความคิดมันเกิดมาจากจิตน่ะ มันก็มีความรู้สึกออกมาจากจิต แล้วเราตัดสั้นเข้ามาเนี่ย มันจะไปไหนเห็นไหม มันตัดสั้นเข้ามากลับมาที่จิต แต่คนที่ส่งออกหมดนี่ ส่งออกไปแล้วก็บอกว่า นามรู้ รู้ รู้ รู้ทุกอย่างเลย แต่ไปรู้นู่นดาวอังคารนู่นน่ะ แล้วตัวมันเองมันไม่รู้ แล้วมันต่างกันอย่างไร ก็ต่างกันตรงนี้ไง ต่างกันตรงที่ว่าเริ่มต้นผิด

หลวงปู่มั่นบอกว่าต้นคดปลายตรงไม่มี ต้นโด่ออกไปแล้วคดเนี่ย พอคดไปแล้วมันไปไหนน่ะ เนี่ยเริ่มต้นเนี่ยมันคด เราถึงบอกเราถึงว่าไม่ต้องไปดูมากเลย เพราะมันคด คนถ้าเป็นนักวิชาการ คนที่เป็นผู้ที่รู้จริงเนี่ย พื้นฐานเขายังบอกผิดเนี่ย เขาจะสอนกันไปไหน แล้วบอกนี้เป็นอภิธรรมนะ ใช่ อภิธรรมของพระพุทธเจ้า แต่คำพูดน่ะ มึงพูดเอง ไม่ใช่อภิธรรม

ถาม : ถ้าเกิดดูอาการเกิดดับด้วยล่ะครับ

หลวงพ่อ : ได้หมด เราจะบอกว่าได้หมด แล้วไม่ใช่ได้หมดธรรมดาด้วยนะ เพราะว่าเวลาพอเราภาวนาไปเนี่ย เราตามสิ่งใดไปปั๊บ พอมันคุ้นชินปั๊บ กิเลสมันจะบิดหมด มันจะหลบออกไง

ถาม : แล้วที่เขาว่าอย่างนี่ล่ะค่ะ รู้เท่าทันจิตตัวเอง

หลวงพ่อ : เนี่ยรู้เท่าทันจิต เนี่ยมันก็รู้เท่าทันจิตใช้ได้ ถ้ามีสตินะ ดูว่าเกิดดับ ถ้ามันเกิด เนี่ยเวลามันเกิดดับแล้วนี่ เกิดดับแล้ว เราไม่พอใจแค่นั้นไง เรายังต้องว่ามันเกิด มาจากไหน ถ้าไม่ดูคำว่าเกิดมาจากไหนนะ เราจะไม่เห็นจิต จิตเห็นอาการของจิตเนี่ย มัน เกิดมาจากไหน พอมันเกิดมาจากไหน แวบ วันนั้นเมื่อวันสองวันนี้ ไอ้เกิดดับนี่ ไอ้หมอนั้นมา เขาเห็นของเขาไง เขาดีใจใหญ่ เขามาหาเราเลย อธิบายมา

เนี่ยนะเกิดเห็นแล้วนะ เวลาคนเห็นนะ พอคนเห็นแล้วมันตื่นเต้นมาก จิตเห็นอาการของจิต เราเห็นครั้งแรกเรายังตกใจเลย ก็โดยที่ว่าสามัญสำนึก นึกอะไรนึกว่ามันเป็นนามธรรมต้องไม่มีไง พอจับเข้าไป อ้าว ขึ้นไปหาอาจารย์เลย “อาจารย์ไหนว่าจิตมันไม่มีไง” “ใครบอกมึง” อื่อ ก็ความคิดพวกเราเองนี่แหละ พอจับได้นะ แวบ ถามสิทำได้อีกไหม เขาบอกโอ้โฮ ยากมากเลย ยากมาก พยายามตั้งใจมากเลย

แล้วเขาเคยเป็นสมาธินี่หนหนึ่ง แล้วเขานึกว่าเป็นสมาธิ แล้วตอนนี้มาใช้ปัญญาพอเห็นอาการ แล้วเขาต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องทำอย่างนี้ พอทำไปแล้วนะพอคนเราทำมันจะชำนาญมากขึ้น มันจะละเอียดมากขึ้น ยากไหม ยาก ประสาเราเลย เคี้ยวข้าวก็ยากว่ะ เวลามันเคี้ยวนี่อื้อฮือ แหม..ก็ยากโว้ย ไอ้นี่งานไม่ยากได้ไงว่ะ เคี้ยวข้าวแม่งยังต้อง เนอะ ออกแรงนะ อื้อ

แต่พอมันจับได้สักหนหนึ่งนี่ เหมือนช่องทางน่ะ ช่องทางไหนที่เราเคยไป เราเคยเดินเส้นทางไหนแล้ว เดินบ่อยๆ มันจะชำนาญมาก การว่าที่เราไปจับต้องได้ หรือว่าเราไปเห็นได้นี่ นี่เราจับได้แล้วครั้งแรก จะมีครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ จะง่ายกว่าครั้งที่แรก เราต้องขยัน พอขยันเข้าไปนี่ มันจะเริ่มสั้นเข้ามาๆๆๆ จนถึงตัวจิตนะ ถึงตัวจิตปั๊บนะ ดูที่มันออกนี่ ถ้าออกจับปั๊บได้นี่ เพราะมัน...จิตเห็นอาการของจิตนี่ มันไม่เหมือนกัน ที่เราเห็นนี่เราใช้ธรรมะพระพุทธเจ้าไง

คือแบบเราเล่นเทนนิสน่ะ หัดเล่นเทนนิส เขาจะตีลูกเทนนิสเข้ากำแพง มันจะเด้งกลับมา เห็นไหมไปด้วยจิต กำแพงเราไม่เห็น มันชนกำแพงก็เด้งกลับมา ความคิดก็เหมือนกัน มันออกมาจากจิต นี้เราไม่ห็น เราก็ใช้สติไล่เข้าไปๆ เดี๋ยวหัวมันจะไปชนกำแพง ก็หัวมันจะชนจิต พอชนกำแพงอยู่กำแพงนี่ อื้อ ไปถึงกำแพงก็ โอ้โฮ โล่งว่าง ไม่เห็นกำแพงจิตอีก กำแพงกับกูเป็นอันเดียวกันอีก ต้องไล่เข้าไปๆ พอเห็นปั๊บเขาเรียกว่าจิตเสวยอารมณ์ จิตเสวยความคิด

ถ้าไม่มีพลังงาน ความคิดเกิดไม่ได้หรอก โดยธรรมชาติของมันนะ ความคิดมัน เกิดมาจากไหน แล้วภาษาเรานะ ความคิดเรากับความคิดโยมนี่ อ้าว ความคิดเราก็ต้อง เกิดจากจิตเรา อ้าว ความคิดโยมก็ต้องเกิดจากจิตโยม อ้าว ความคิดเราจะไปเกิดจากจิตโน้นได้อย่างไร อ้าว ก็ความคิดใครความคิดมันไง จิตใครจิตมันไง อ้าวทางโน้นคิด แล้วก็บอกว่าผมคิดอะไรบอกมาสิ อ้าวก็มึงคิดไอ้ห่ามึงมาถามกูทำไม อ้าวก็มึงคิด มึงคิดก็คิดมาจากจิตมึงนะเด่ะ

แต่ไอ้เนี่ยเวลาถ้ามันไล่เข้าไปเห็นไหม นี่ธรรมะส่วนบุคคล ธรรมะใครธรรมะมัน มันจะไล่เข้าไปเลย จิตใครจิตมันจะไล่เข้าไป แล้วไปแก้จนจิตนี้สะอาด พระพุทธเจ้าถึงบอกไงว่า งานของแต่ละบุคคล งานของใครนี่ไม่มีใครทำแทนใครได้ พ่อแม่ลูกยังโอนมรดกให้ลูกได้นะ

ธรรมะนี่โอนไม่ได้หรอก คนไหนตายก็ตายไปกับใจดวงนั้นน่ะ อย่างไรธรรมะดวงนี้จะโอนให้ดวงโน้นน่ะ โอนให้เขาแม่งเขาเสือกไม่เอาอีก เขาหาว่าเอาขี้ไปป้ายเขาอีก เพราะคนกิเลสนะ มันเห็นแก่ตัว แล้วบอกเขาให้เสียสละนี่ มันจะฟังไหม โอนให้มัน มันนึกว่ามรดกไง นึกเงินเยอะๆ ไง ที่ไหนได้ โอนให้มึงรับผิดชอบสังคมไง ให้มึงเสียสละไง ไม่เอา ไม่เอา อย่างนี้ไม่เอา แต่ถ้าโอนมาเป็นเงินเป็นทองคำเยอะๆ นะ เอา มันต่างกัน

ถาม : มีที่โยมถามเรื่องในซีดีนะครับ ที่พูดว่าโยนความคิดให้จิตมันคิดนะ ทีนี้เรานั่งภาวนา ก็เหมือนเราโยนความคิด คือเราพิจารณากาย เอาให้จิตมันพิจารณากายขึ้นมา

หลวงพ่อ : ใช่ มันบอกโยน เขาพูดเลยว่าพุทโธอย่างหนึ่ง แล้วโยนความคิดคือให้จิตทำงานไง นี่ดีมากเลยนะ เพราะถ้ามันว่าง มันไม่มีอะไรเนี่ย ความจริงมันมีรู้ไหม แต่กิเลสนี่มันฉลาด พอมันรู้ว่าเราสติดีปั๊บ เขาเรียกว่ากิเลสมันบังเงาไง มันหลบ ว่างไม่มีอะไรเลย ก็อย่างที่เขาพูดตังเมเมื่อกี้นี้ ต้องดึ๊งมันออกหมด ดึ๊งออกมาทำ โยนความคิดให้จิตทำงาน

ถาม : ถ้าพิจารณากายก็คือนับข้อกระดูกแบบหลวงปู่เจี๊ยะนี่..

หลวงพ่อ : ได้ การพิจารณากายของหลวงปู่เจี๊ยะ มันเป็นสองประเด็น อย่างที่ว่าหลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดเอง เราฟังหลวงปู่เจี๊ยะบ่อยในเสียงธรรมนี่ นับตามข้อกระดูก ท่านบอกเลยเป็นสมถะ ถ้าจิตมันอยู่ในข้อกระดูกได้เป็นชั่วโมงๆ แล้วพอจิตมันสงบแล้ว มันเห็นข้อกระดูกแล้ว ถึงจะเป็นวิปัสสนา การพิจารณากายนั้นเป็นสมถะนะ การพิจารณากายนี่คือพุทโธ การดูข้อกระดูก เปลี่ยนจากพุทโธมาเป็นข้อกระดูก เพราะจิตยังไม่สงบ

แต่พอดูข้อกระดูกบ่อยๆๆ พอจิตมันอย่างที่ว่านะ ใครเป็นคนดู จิตเป็นคนดู พอดูขึ้นมา มันเดินอยู่ได้ สติอยู่ได้นี่ มันจะย้อนกลับมาที่จิต จิตก็เริ่มละเอียดลงๆ พอละเอียดลง จิตสงบตั้งมั่นแล้ว ดูข้อกระดูกเหมือนกัน แต่ดูข้อกระดูกนี่ เป็นวิปัสสนา ดูข้อกระดูกนี่ เป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา พิจารณาจิตก็เหมือนกัน ปัญญาอบรมสมาธิก็เหมือนกัน เป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา เป็นได้ทั้งสมถะคือผลของมันคือสมาธิ

เรายันตลอดเลย การทำปฏิบัติทุกๆ วิธีการ ผลของมันคือสมาธิ แต่เขาบอกว่ามันเป็นธรรมะ บรรลุธรรม คือว่ามันตัดตอน เสียดายมาก ตัดตอนว่าจิตมันจะแช่อยู่อย่างนั้น แล้วมันจะเสื่อมตลอดไป วิธีการทำทั้งหมด วิปัสสนาไม่มี เราถึงพูดสติปัฏฐาน ๔ นี่โกหกหมด ไม่มี ไม่มีเพราะอะไร ไม่มีเพราะจิตเราสกปรก สติปัฏฐาน ๔ จะเกิด นี่หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ ครูบาอาจารย์นี่ สติปัฏฐาน ๔ จะเกิด คือมันสะอาดแล้วขาดพลั้วเลย นั่นสติปัฏฐาน ๔ จริง

แต่สติปัฏฐาน ๔ ของเรานี่ สติปัฏฐาน ๔ นึก เป็นสติปัฏฐาน ๔ เนาะ สติปัฏฐาน ๔ เราสร้างขึ้นน่ะ แต่ก็ต้องสร้างขึ้น ถ้าไม่สร้างขึ้น เราจะทำงานเป็นเหรอ เราถึงบอกมันยังไม่สะอาดบริสุทธิ์ไง บอกเป็นสติปัฏฐาน ๔ ไอ้โน่นเป็นสติปัฏฐาน ๔ มึงอย่ามาพูด มึง ก็ผิดกูก็ผิด มึงก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔ กูก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔ ไม่มีใครมีสติปัฏฐาน ๔ จริงหรอก ถ้าจิตยังไม่สงบ

เราจะเน้นย้ำกับพวกที่เขาบอกว่า ถ้าปัญญาสายตรงจะเป็นสติปัฏฐานไง แล้วพวกไอ้ พุทโธ ไอ้พวกสมถะนี่ จะไม่ใช่สติปัฏฐานไง เราบอกว่ามึงก็ผิดกูก็ผิด เพราะอะไร เพราะมึงก็ตาบอด กูก็ตาบอด เรากำลังคลำช้างกันอยู่ แต่เดี๋ยวกูตาดีขึ้นมานะ กูจะเป็นสติปัฏฐาน ๔ จริงๆ ฉะนั้นไม่ต้องไปห่วงว่าจะผิดหรือถูก

อย่างที่หลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะ ท่านพูดตรงนี้แหละ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อายตนะกาย ใจ เป็นได้ทั้งสมถะเป็นได้ทั้งวิปัสสนา เป็นได้ทั้งสมถะ บางอาจารย์จะสอนเลย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้ท่อง เว่อร์ การท่องนั้นมันจะเป็นวิปัสสนาได้อย่างไร ท่องนั้นก็เพื่อให้จิตสงบ มันถึงเป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา หลวงปู่เจี๊ยะนี่ท่านพูดเองเลย ดูตามข้อนี้เป็นสมถะ แต่ดูไปเรื่อยๆๆ ท่านพูดบ่อย ถ้ามันอยู่ในกายนี่เป็นชั่วโมงๆได้นั้นน่ะ จิตสงบแล้ว

ถ้าจิตมันไม่สงบมันอยู่ไม่ได้ มันดิ้นออก คิดเรื่องข้อ เรื่องข้อ โอ๊ย กูเบื่อโว้ย กูไปคิดเรื่องขนมจีนน้ำยากูดีกว่า เดี๋ยวค่อยกลับมาคิดเรื่องข้อใหม่เห็นไหม เบื่อกูแล้ว นั่นน่ะมันไม่สงบ มันไม่นิ่ง แต่ถ้ามันนิ่งนะ อ้าว ข้อก็ข้อดิโว้ย เอ้อ ข้อของคนน่ะมันอยู่นะ ท่านต้องบอกมันอยู่เป็นชั่วโมงๆ อยู่ได้ แล้วพออยู่ได้ปั๊บจิตมันมั่นคง คนจะเห็นต่างเองเลยนะ ถ้าวิปัสสนานะกระดูกก็แยกได้ขยายได้ อุคคหนิมิต วิภาคนิมิต วิภาคะนี่เพราะจิตมันมีหลักมีเกณฑ์ พอจิตมันมีหลักมีเกณฑ์นี่มันขยายส่วนไง จากข้อขยายส่วน

หลวงปู่กิมนี่ท่านบอกเลย เส้นผมเส้นหนึ่งนี่ ท่านขยายออกมาเป็นท่อนซุงเลย เส้นผมเส้นหนึ่งนี่ขยายออกมาเป็นท่อนซุงเลย พอขยาย เป็นท่อนซุงปั๊บนี่ ระหว่างท่อนซุงนี่มันเหมือนกับท่อน้ำ ในเส้นผมมันมีสารอาหารผ่านเข้าไปในเส้นผมนั้น นี่ไงจิตมันมีหลักนะเส้นผมเส้นเดียวนี่ ให้มันใหญ่ขยายออก เหมือนกล้องจุลทรรศน์เลย ก็ใช้ในทางพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ แต่นี่จิตมันสงบจิตมันเห็นแล้วเส้นผมของเรา โอ้โฮมันเห็นแล้วมันทิ่มเข้าหัวอกเลยนะ แล้วหัวอกนี่ ตู้ม ระเบิดเลย

ถาม : แล้วนิมิตที่มันเป็นแสงสีละครับ

หลวงพ่อ : ไม่เอา

ถาม : บางทีมันจะเป็นสีเขียวแล้วหมุน เมื่อก่อนก็เข้าไปในนิมิต ให้มันหมุนซ้าย หมุนขวานี่ แต่จริงๆ มันก็ต้องกลับมาที่พุทโธ

หลวงพ่อ : ใช่

ถาม : แล้วพอไป ปุ๊บ มันก็จะตกไปที่นิมิต แป๊บเดียวมันก็จะมาดูตรงนี้ขึ้นมาทุกทีไง

หลวงพ่อ : ไม่เอาไง เราจะบอกเลยนะประสาเราน่ะ ใครไปดูนิมิตอย่างนั้นนะเป็นคนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แล้วจะสร้างเนื้อสร้างตัวไม่ได้ เห็นนิมิตใครเป็นคนเห็น จิตเป็นคนเห็น แล้วพอจิตสงบเข้าไปเห็นไหม ก็เหมือนใช้จ่ายออกไป โอ๊ยสิ้นเปลือง กูหาเงินเกือบต๊าย แม่มึงก็ใช้ไปหมดเลย แล้วอยู่ได้ห่าอะไร นิมิตไม่เอา เอาอย่างเดียวเห็นกาย ถ้านิมิตเห็นกายมันเป็นแบบว่า พอเห็นกายเห็นไหม มันจำเป็นต้องใช้ เวลาเราจำเป็นต้องใช้เงินใช้ทอง เพื่อซื้ออาหารเลี้ยงชีวิต เราก็ต้องใช้ แต่ถ้าเราใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยที่ไม่ได้ดำรงชีวิตนะ มันใช้จ่ายโดยที่ไม่เป็นประโยชน์

ถ้าออกไปเห็นนิมิตอย่างนั้นน่ะ เหนื่อยตายเลย คือต้องทำให้จิตสงบถึงจะเห็น แล้วพอจิตสงบก็ทิ้งแม่มันไปเลย ก็จ่ายไปหมดแล้ว แล้วก็มานั่งอีกสงบอีกก็ไปดูอีก มันก็เป็นวังวนอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วมันได้อะไรขึ้นมา ไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย แล้วไปอวดกัน โอ๊ยเห็นนี่เขียวเลย โอ๊ยแดงเลย โอ๊ยเขียวแดงนี่กูก็เห็นนี่ ถ้าไม่ใช่นิมิตของกูเห็นหมดเขียวแดงเนี่ย กูนั่งอยู่นี่กูก็เห็น นี่เวลาแก้ลูกศิษย์นี่

มีพระเขาบอกอู้ย เวลานั่งเห็นหลวงปู่มั่น ของกูบอกกูไม่ต้องนั่งกูก็เห็นน่ะ เห็นไม่เห็น มันเป็นจริตนิสัยของคน เห็นไม่เห็นนี่ ถ้าพูดอย่างนั้นปั๊บเขาเกิดทิฏฐิไง โอ๊ย กูแจ๋ว กูเก่ง พอกูแจ๋ว เก่ง หลงตัวเอง พอหลงตัวเองนี่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย มึงต้องนั่งจนเกือบเป็นเกือบตายเห็นหลวงปู่มั่น กูไม่ต้องนั่งเลย เงียบเลยนะ ใครมาเจอเราเนี่ยหักคอไก่หมด คือพูดอย่างนี้เพื่อไม่ให้เกิดทิฏฐิมานะ ไม่ให้คิดว่า โอ้ฮูย เป็นอย่างงั้นๆ

แล้วไอ้เรื่องนิมิตนี่นะ เราจะบอกว่าเวลาเขาดูถูกไอ้พวกปฏิบัตินี่ว่าเกิดนิมิต พุทโธนี่มันเป็นสมถะ แล้วมันเป็นนิมิต มันไม่ก้าวหน้า บอกมันไม่ใช่ มันเป็นจริตนิสัยของจิต เพราะเรานั่งอยู่นี่นะน่ะ ไอ้คนกำหนดนามรูป อภิธรรม เพราะอภิธรรมน่ะเขาใช้ปัญญา เขาไม่เกิดนิมิต เป็นปัญญาสายตรง

อภิธรรมนี่เกิดนิมิต มาหาเราเยอะแยะเลย พอมันพิจารณานามรูปนี่แหละ มันเห็นโน่นๆ เต็มไปหมด เพราะอะไร เพราะมันเป็นการยืนยันกันว่า มันไม่ใช่การอยู่วิธีการใดวิธีการหนึ่ง ผิดหรือถูกหรอก มันอยู่ที่คุณภาพของจิต ก็จิตมันสร้างนิสัยมาอย่างนั้น ถ้าจริตนิสัยสร้างมาอย่างนั้น มึงกำหนดอะไรก็เกิดนิมิต นี่พอเกิดนิมิตแล้ว มันอยู่ที่ครูบาอาจารย์เป็นหรือไม่เป็น ถ้าเป็นก็ต้องแก้อย่างที่ว่า

ถ้านิมิตแสงสีเสียงมันไม่มีประโยชน์ แต่นิมิตมันเป็นเครื่องหมายบอกได้ว่า จิตคนนี่ถ้าไม่สงบเห็นนิมิตไม่ได้ ถ้าจิตมันดีขึ้นเห็นนิมิตได้ นี่จิตคนดีขึ้นเหมือนเรามีเงิน นี่เอ็งใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทำไม ถ้าเอ็งมีเงินเอ็งเก็บเงินไว้ๆ พอจิตมันมั่นคงขึ้น สมาธิมันจะดีขึ้น พอดีขึ้น เรารำพึงให้เห็นกาย ถ้าจิตมันสร้างมา จิตเราคนเราสร้างมา มันมีบุญมีคุณ พอจิตสงบปั๊บกายมันมาเลย

ถ้าจิตเราสร้างมาไม่เหมือนกัน กูก็เป็นคนเหมือนกันน่ะ แต่กูไม่มีเงินเหมือนมึงน่ะ พอจิตสงบแล้วมันไม่เห็นอะไรเลย สงบเฉยๆ ถ้าสงบอย่างนั้นรำพึงถึงกายขึ้นมา รำพึงไปที่กาย รำพึงคิดในสมาธินี่ รำพึงให้เห็นกาย กายๆ จะขึ้นมา ไอ้นี่มันใช้ลงทุนหน่อย คนเรานี่มันอยู่ที่ต้นทุน ต้นทุนต่ำ ต้นทุนสูง ต้นทุนต่ำก็ต้องลงทุนลงแรงหน่อย ต้นทุนปานกลาง ต้นทุนสูง

อู้ ปฏิบัติยังมีอีกเยอะแยะ นี่ครูบาอาจารย์นี่ต้องฟัง ต้องจับว่าไอ้คนนี้มันมีต้นทุนต่ำต้นทุนสูง ต้นทุนมันไปทางไหน แล้วต้นทุนนี้มันจะมาสร้างระบบอย่างไร จะให้มันเดินก้าวไปได้ ให้มันเลี้ยงตัวมันเองได้ เลี้ยงตัวได้คือภาวนาเป็น นี่ครูบาอาจารย์ของแท้ ถ้าของจริงมึงมาใช้ไหม หนังสือเขาบอกว่าพิจารณากาย พิจารณากายๆ แล้วพิจารณากายอย่างไร นี่ไงก็พิจารณากายสิ พิจารณากายสิก็ตำรามันบอก แต่กูไม่รู้ อย่างนั้นไปน่ะเราเสียเวลาเปล่า

ถ้ามึงบอกอย่างนั้น กูดูหนังสือ กูก็ดูได้ กูก็เห็น พิจารณากายกูก็รู้ แต่กูทำไม่ได้กู ถึงมาถามไง๊ แล้วมึงก็บอกกูมาสิว่าทำอย่างไร พูดตามตำรานี่มันพูดเป็นสูตรสำเร็จ มันไม่บอกถึงเทคนิค แล้วเทคนิคของคนน่ะ เทคนิคใช้ได้อีกคนหนึ่ง อีกคนหนึ่งใช้ไม่ได้ คนหนึ่งใช้เทคนิคได้ อีกคนหนึ่งใช้ไม่ได้ ไม่เหมือนกัน ไอ้คนนี้ใช้แล้วดีมากเลย เราเอาไปใช้ ก็เห็นเขากินอร่อย ดูไปเขากินอร่อยก็ไปกิน โอ้โฮ ขมฉิบหายเลยอร่อยได้ไงว่ะ เห็นไหม แล้วเหล้าขวดเป็นแสนเลย กูไปกินแล้วแม่ง บ้าฉิบหาย ขมก็ขม ฝาดก็ฝาด ซื้อมาทำห่าอะไรก็ไม่รู้ ขวดเป็นแสน กูถุ้ย แต่เขาอร่อยกันนะ

อื้อฮือๆ ไอ้กูเอ๊ย โง่ฉิบหายเลย กินน้ำอร่อยๆ ดีกว่า ไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันหรอก ฉะนั้นเวลาปฏิบัติ เราถึงคัดค้านทางฝ่ายอภิธรรม เพราะของเขาปฏิบัติปั๊บ นี่เขาปฏิบัติให้เหมือนกันหมดเลย เขาตั้งแถวเหมือนกองทหารเลย ของเราเป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้หรอก

ถ้าเป็นไปได้นะ คนเรามันเกิดมาเนี่ย มันต้องเป็นคนดีเหมือนกัน คนชั่วเหมือนกันหมด มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เอ็งลองตั้งเป็นแถวเลยนะ เดินเป็นแถวๆ เลยนะ ไอ้คนคิดดีก็มี ไอ้คนคิดชั่วก็มีนั้นน่ะไอ้ตั้งเป็นแถวนี่ กูมานี่กูจะมาขโมยนะมึง เดี๋ยวมึงเผลอนี่ กูหยิบตรงนั้นก่อน ตรงนั้นก่อน

ความคิดน่ะ ความรู้สึกมันต่างกัน แล้วมันสอนอย่างนั้น มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พอคนที่สอนสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เราตีค่าเลยว่าคนสอนไม่เป็น ถ้าคนสอนเป็นจะไม่สอนแบบนี้ เหมือนเราพ่อแม่ มึงสอนลูกให้เป็นโจรไปปล้นนี่ มึงเป็นพ่อแม่เขาหรือเปล่า ไปปล้นอะไร ไปปล้นธรรมะไง ไปปล้นความคิดเขามาไง เราเป็นพ่อแม่คน เราก็ต้องสอนลูกเราให้เข้มแข็งขึ้นมา ให้ลูกเราทำมาหากินขึ้นมา ให้ลูกเราเป็นคนดีขึ้นมา เอ็งจะฉลาดเอ็งจะโง่ขนาดไหน เอ็งก็คิดดัดแปลงใจมึงขึ้นมา มึงจะหาอยู่หากินมึงได้

แล้วจะโง่ฉลาดขึ้นมามึงจะมาน้อยใจทำไมล่ะ ก็มึงทำมาอย่างนี้ล่ะ อ้าวก็มึงทำของมึงมา ถ้ามันทำของมันมาอย่างนั้นแล้ว มันก็อยู่ที่ต้นทุนของมัน ไอ้อย่างนี้ไม่มีใครเอาเปรียบใคร ไม่มีใครเหนือกว่าใคร อยู่ที่ว่าคนเรานี่มันจะเข้าถึงหลักธรรมไหม แล้วจะทำประโยชน์ ทำประโยชน์กับตัวเรานะ

นี่มาถวายๆ เนี่ยประโยชน์โยมหมดน่ะ เพราะไอ้นี่มันเป็นวัตถุ แต่ไอ้ใจที่เอามานั่นนะ ใจที่คิดนั่นนะ ตรงนั้นล่ะตรงนั้นเป็นบุญ ไอ้นี่กองอยู่นี่นะ เดี๋ยวก็ย่อยสลายหมดแล้ว เพราะคนใช้หมด แต่ในใจของโยมที่คิดตรงนี่นะ อีก ๑๐ ปี ก็คิดเหมือนนี่หมดไม่เคยบุบสลายเลย คิดถึงทำบุญเมื่อวันที่แล้วๆ มาสิ อู้ย ข้าวยังควันกรุ่นๆ อยู่เลยนะ แต่ข้าวเรากินไปแล้วนะ แต่ลองคิดดูดิ คิดจะไปทำบุญดิ โอ๊ย มันยังกรุ่นๆ อยู่เลยเห็นไหม นี่มันเป็นทิพย์ มันอยู่ที่ใจ

ถ้าพวกทำมานี่มันอยู่ที่นั่น มันทำของมันมา สมบัติมันตกลงที่นั่น พอตกที่นั่นปั๊บนี่ เวลาภาวนานี่มันก็ออกไปจากจิต ฉะนั้นเวลาภาวนานี่ ใครจะน้อยใจเสียใจนี่ ถ้าประสากูนะกูจะสมน้ำหน้า ก็มึงทำของมึงมาอย่างนี้น่ะ แล้วมึงจะมาตีโพยตีพายเอากับใคร

ถาม : บางทีภาวนาไปแล้ว กล้ามเนื้อมันเกร็ง มันเหมือนกับไปเพ่งมากเกินไป หรือเปล่า มันเหมือนเน้น

หลวงพ่อ : ไม่หรอก มันเป็นเรื่องระบบของจิต จิตเรานะ ลูกศิษย์เยอะมาก บางคนมาภาวนาปั๊บ น้ำลายจะออกทันทีเลย บางคนภาวนาจุดหนึ่ง อื่อ เหงื่อมันจะแตกเลย พอเหงื่อจะแตกเลยนี่ จิตมันไปรับรู้ แผ่นเสียงเนี่ย คอมพิวเตอร์นี่มันเก็บข้อมูล พอเก็บข้อมูลปั๊บๆ มันจะให้ข้อมูลนี่ตลอด งั้นก็ค่อยๆ แก้ไปเรี่อยๆ

ลูกศิษย์บางคนนั่งๆๆ เหงื่อแตกๆ อย่างเรานี่ปกติก็ไม่กลืนน้ำลายเลย พอมานั่งปุ๊บ อึ้กเลยนะ ก็อยู่เฉยๆ นี่ไอ้ห่า ยิ่งอึ้กยิ่งเอาจิตไปรับรู้มันนะ มันยิ่งชัดเจนไง กล้ามเนื้อก็เหมือนกัน ทุกอย่างก็เหมือนกัน มันจะไม่หาย พอมีอะไรปั๊บนี่ จิตนี่มันจะซับข้อมูลปั๊บเลย จิตนี่เอาเก็บข้อมูลแล้ว คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลไว้แล้ว แล้วพอนั่งไปข้อมูลนี่ก็ออกทันทีเลย

ทีนี้การแก้นะ ถ้าพุทโธ ก็พุทโธไปเรื่อยๆ ถ้าปัญญาอบรบสมาธิ มันจะเป็นอะไรให้มันเป็นไป ข้อมูลนี่มันโดนล้างด้วยสติ โดนล้างด้วยปัญญา ข้อมูลนี้ค่อยๆ จางไป มันจะไม่หายปุ๊บปั๊บหรอก แต่ถ้าข้อมูลอย่างนี้มันเก็บลงที่ใจแล้ว แล้วมันเก็บคนละจังหวะนะ บางคนก็เก็บอย่างหนึ่ง บางคนก็เก็บอย่างหนึ่ง พอนั่งไปมันจะมีปัญหา เนี่ยคือผลร้ายของกิเลสของเราเอง กิเลสคือสิ่งที่เป็นตัณหาทะยานอยาก ตัณหาทะยานอยากคือความพอใจ ความยึดมั่นของมัน แล้วไปเก็บข้อมูลนี้เข้ามา แล้วบอก อู้ เนี่ยมันเกร็ง มันเกร็ง มันจะเกร็งอะไร้ มึงนะเกร็งที่ใจ

ถาม : พอช่วงหลังๆ นะครับ พอจิตมันจะเริ่ม ไม่รู้ว่ามันจะสงบหรือเปล่า แต่มันก็คล้ายๆ มันจะลง มันก็จะมีกล้ามเนื้อกระตุกขึ้นมา

หลวงพ่อ : ไม่เป็นไร อุปสรรคของคนมีหมดนะ แล้วอุปสรรคมาก อุปสรรคน้อย ถ้าอุปสรรคอย่างนี้ อุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ ค่อยๆ โธ่ เวลาจิตมันลงที ตกจากเหวนะ วูบ มันควงอย่างไร มันลงอย่างไรนะ ใหม่ๆ ก็ต้องตกใจหมดล่ะ แต่พอเราชำนาญแล้วนี่ๆ จะเป็นอย่างไรนะ สบายมาก เหมือนเรานี่เห็นอะไรจากจิต เราเป็นช่างนะ ของมันจะเสียจะหายช่างมัน เดี๋ยวกูแก้ได้หมดล่ะ พอจิตมันจะมีอะไรไปปั๊บนี่ เราจะมีสติของเราไว้ นี่มันอะไรเดี๋ยวเราแก้เอง เดี๋ยวเราแก้เอง

เรานี่เวลาจิตจะลงเชิญเลย ไปเลย เอาเลยตามสบาย ไม่ค่อยไปกวนมัน บางทีอยู่อย่างนี่นั่งเฉย จะเป็นอย่างไรก็เป็นไป เหมือนเราควบคุมรักษา ไม่ต้องไปวิตกทุกข์ร้อน ไปวิตกทุกข์ร้อนขนาดไหนมันจะดึงออก แต่นั่งสมาธิ พอนั่งปั๊บเลยนี่ อะไรจะเสียช่างมันเดี๋ยวกูแก้ทีหลัง พอนั่งสมาธิแล้ว นู้นก็ยังไม่ได้ทำ นี่ก็ยังไม่ได้ทำ แหม..มันจะออกหมด ถ้ามันจะ เอ่อเดี๋ยวกูแก้ทีหลัง กูรู้อยู่เดี๋ยวจะไปทำเอง

ถาม : พอเวลานั่งๆ อยู่มันจะชอบกังวลว่า นั่งนานหรือยัง นั่งพอหรือยังอะไร อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อ : ไม่ นั่งสมาธิเพื่อเอาความสงบ เราทำงานอย่างอื่น นะเราทำมาหมดแล้ว อันนี้มันเป็นกังวลไปเอง เพราะธรรมดามันเหมือนเราดูเขาเล่นละคร ดูหนัง ดูได้ตลอดล่ะ แต่ถ้าเราเล่นเอง แหมเราวิตกวิจารไปหมดเลย นี่ก็เหมือนกัน พอนั่งนะก็เอาแล้ว ได้เท่าไร พอนั่งหลับตาแล้วนี่ ๒ นาทีแล้วเท่ากับ ๒ วันน่ะ นานฉิบหายเลย โอ้ คงนานเต็มทีแล้วมั้ง ลืมตาเถอะ ๒ นาที แต่ถ้าลืมตาอยู่นี่ ไปได้ทั้งวันนะ พอหลับพอได้ ๒ นาที อู้ นานมากๆ น๊าน นานจริงๆ งานไม่เคยทำไง ถ้างานเคยทำ นี่จะกี่นานก็แล้วแต่เต็มที่เลย ไปเลย ทำได้ยากนะ

เพราะหลวงตาบอกว่า ทุกอย่างมันจบลงที่ภาวนา ทาน ศีล ก็ต้องภาวนา ถ้าไม่ภาวนานี่มันก็เหมือนน้ำมัน โยมเติมรถมา ต้องเติมตลอดไป คือทำบุญกุศลเราก็สร้างเพื่อชีวิตที่ดี สิ่งที่ดีๆ แต่มันก็ใช้ไปตลอด แต่ถ้าภาวนานี่ รถเรานี่เดี๋ยวนี้เขาใช้ไฮบริดเห็นไหม เดี๋ยวนี้ใช้ไฟฟ้าเลย ไม่ต้องใช้พลังงานอะไร นี่คือสำคัญ ใจมันไม่ต้องเติมอีกเลย อ้าวเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนไง เพราะจิตมันภาวนาแล้วมันก็จบ

ถาม : อย่างนี้เวลาเราพุทโธ เราต้องนับไหมคะท่านอาจารย์

หลวงพ่อ : แล้วแต่ บางคนก็พุทโธ ๑ พุทโธ ๒ มันก็ดีมันทำให้สติดีขึ้น บางคนก็พุทโธไปเรื่อยๆ ไอ้อย่างนี้เราต้องเก็บเป็นข้อมูลไว้ วันไหนภาวนาดีก็พุทโธธรรมดา ถ้าวันไหน จิตมันฟุ้งซ่าน พุทโธไม่อยู่ ก็พุทโธ ๑ พุทโธ ๒ เอาไว้ต่อสู้เวลาจิตมันฟุ้งซ่านไง เทคนิควิธีการเนี่ย เราต้องมีไว้หลายหลาก เอาไว้สู้กับมัน ไม่ใช่เจอเสือก็ใช้มีด เจอหมาก็ใช้มีด อ้าว กูจะสู้อะไรกับมึงวะ แล้วกูถือปืนมึงก็ใช้มีด อ้าว เจอเสือนะ เราก็หลบมัน อ้าว เจอปืนนะกูไม่สู้กับมึง กูไปเอาตำรวจมาจับ มันต้องมีเทคนิค นี่เขาเรียกว่าเทคนิคนะ

เทคนิคของเราต้องหลากหลาย ถ้าทำอยู่ซ้ำๆ ซากๆ นะ กิเลสมันหวานเลย มันจะบอกนะ โอ้ ยายนี่โง่น่าดูเลย ให้กูหลอกทุกวั๊น ทุกวัน ยังไม่รู้ตัวอีกน่ะ กิเลสมันจะเยาะเย้ยเลยนะ แต่ถ้าเราเปลี่ยนวิธีการบ่อยๆ นะ โอ่ ไอ้กิเลสนี่ เอ่อ ยายนี้ฉลาดนะพลิกไปพลิกมานี่กูหาไม่เจอเลย กูจะคุมไม่ได้ล่ะ มันอยู่ที่เรา เขาเรียกอุบายนี่ เราต้องใหม่ หลวงตาบอกต้องใหม่ ต้องสด ถ้าเราทำของเก่าอยู่นี่กิเลสมันยิ้มเลย เมื่อกี้มันก็มาช่องนี่นะกูก็หลอกมันแล้วทีหนนึ่ง คราวนี้มันก็มาให้กูหลอกอีกแล้ว เอ่อทำไมคนนี้มันไม่มีหัวเลย กิเลสมันจะว่าอย่างนั้นเลยนะ

ถาม : แล้วง่วงนอนล่ะคะ เวลานั่งๆ อยู่นี่มันรู้สึกง่วง

หลวงพ่อ : ง่วงนี่เราต้องค่อยๆ แก้ไขไง ถ้าเป็นพวกเราง่วงๆ นี่ เราจะบอกว่าหนึ่ง ถ้าแก้ง่ายๆ นะ ข้าวอย่ากินตอนเย็น ก่อนนั่งอย่าเพิ่งกินข้าว ข้าวนี่ทำให้ง่วง ทำไมพระต้องถือศีล ๘ ล่ะ พระเรานี่อดอาหารกันประจำเลย อดอาหารหิวไหม หิว แต่ร่างกายนี่มันจะไม่มีพลังงานที่เหลือใช้ โซ โหลงเหลงเลยนะเวลาอดอาหารนี่ แต่นั่งภาวนาดี นี่เราไม่คิดตรงนั้นไง เราคิดแต่นั่งภาวนากับนั่งภาวนาไง เราไม่คิดกับสิ่งแวดล้อมน่ะ ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เราทำให้ดีขึ้นนะ ต้องกลับไปดูตรงนั้นด้วย กลับไปดูที่อาหารการกิน กลับไปดูที่ชีวิตประจำวัน

ถาม : เปลี่ยนเวลาเป็นช่วงเช้าดีกว่าไหม

หลวงพ่อ : เอ่อ ใช่ มันต้องสับเปลี่ยน นี่อุบายไง

ถาม : แล้วบางทีเหมือนกับเวียนหัวด้วยนะ นั่งๆ เวียนหัวนี่ทำไมมันเป็น..

หลวงพ่อ : นั่นกิเลสหลอกแล้ว นั่นล่ะ หัวปั่นเลยนะ บางทีถ้าสมาธิมันจะลง ควงก็ได้ อะไรจะเกิดขึ้นมาก็แล้วแต่ อย่างพูดตั้งแต่เริ่มต้นมานี่แหละ ว่าจริตของคน ไม่เหมือนกัน กรรมของคนไม่เหมือนกัน อะไรก็แล้วแต่ที่เกิดขึ้นกับเรา เราต้องแก้ไข อะไรก็แล้วแต่ที่เกิดขึ้นกับเรา เพราะเราต้องการทำคุณงามความดี เราต้องการให้จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นมีประโยชน์ อะไรที่เกิดขึ้นก็แล้วแต่ เราต้องแก้ไข เพราะมันเป็นบุญเป็นกรรมของเรา เป็นเวรเป็นกรรมของเรา

โรคล่ะเวลาเกิดกับเราน่ะ ยังเกิดคนละอย่างเลย จะเหมือนโรคเหมือนกันที่ไหน เกิดจากอะไร เกิดจากพฤติกรรมในการดำรงชีวิต พฤติกรรมที่เราทำอยู่นี่ มันจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บกับเรา แล้วพฤติกรรมคนก็ไม่เหมือนกัน คนหนึ่งชอบอย่างหนึ่ง คนหนึ่งชอบอย่างหนึ่ง โรคเกิดมันก็ไม่เหมือนกัน จิตก็เหมือนกัน จิตมันมาแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน จิตไม่เหมือนกันแล้ว เราต้องแก้ไขไป จะง่วง จะเงิ่งนี่ เอ๊ะ ทำไมเราง่วงอยู่คนเดียว คนอื่นไม่ง่วง อ้าวก็เขาไม่เหมือนเรา

เราง่วงเราก็ต้องแก้ไข แก้ไข ต้องแก้ไข ทุกอย่างต้องแก้ไข แก้ไขเพื่อให้มันดีขึ้น เราจะมาแก้ไขจิต แก้ไขให้เราดีขึ้น แก้ไขเรานะ แล้วพอแก้ไขไป แก้ไขไปนะ มันจะเห็น แล้วมันจะรู้ แล้วมันจะซาบซึ้ง ซาบซึ้งตรงไหนรู้ไหม อู้ กูเกิดมาเป็นคนแล้ว กูไม่เสียเที่ยวเสียชาติเกิดเว้ย ไม่ซาบซึ้งอะไรหรอก มันซาบซึ้งถึงชีวิตนี้ แหม กูเกิดเป็นคนแล้วนะกูได้รู้จักคน เอ็งยังไม่รู้จักหรอก พ่อแม่ตั้งให้ ไปอยู่ที่เขตเลยเปลี่ยนชื่อก็เปลี่ยนแล้ว แขนเป็นของเราเหรอ แขนเป็นมะเร็งตัดทิ้งมันไม่เอานะ ตัดทิ้งเลย ของมึงแล้วไปตัดทิ้งทำไม

แล้วพอมันเข้ามาเห็นนะ ถ้าใครปฏิบัติใครรู้จริงเห็นจริงนะ แต่ยากนะยอมรับว่ายาก ยากมาก ถ้าง่ายๆ แหม คนก็ทำกันหมดแล้ว มันยากของดีมันก็ต้องยากเป็นธรรมดา เพชรยังแพงกว่าทุกอย่างเลย หัวใจก็ต้องแพงกว่าทุกอย่าง แล้วเราต้องแก้ไข นี่วัดคือครูบาอาจารย์ที่ท่านทำก็เพื่อเหตุนี้ไง ชีวิตเป็นตัวอย่างทำให้เขาดู แล้วถ้าเขาทำได้นะมันจะเป็นประโยชน์กับเขา แล้วจริงๆ ถ้าทำได้ เขาเรียกว่าธรรมะ

เอาชนะตนเองเขาเรียกว่า ปัจจัตตัง รู้เองเห็นเอง เราแพ้ตัวเองเราก็รู้ เนี่ยเสียยกทุกวันน่ะ โดนมันขี่ แล้วพอเวลาเราชนะมันน่ะ ห่า เหยียบหัวแม่งอยู่นี่เลย มึงตายคาตีนกูเนี่ย แหม ฮึกเหิมมาก เหยียบหัวมันเลย ง่วงเงิ่งนี่หายหมด แหม เหยียบหัวมันไว้เลย เราชนะเราเห็นไหม ไม่ต้องให้ใครมาให้คะแนน ไม่ต้องให้ใครมาชมเชย ไม่ต้องให้ใครมายกย่องสรรเสริญ มันเรื่องของเขา มึงดูของกู กูทำเอง แล้วต้องเข้มแข็ง ดีแต่พูด พูดแต่ปาก

ถ้าพูดแต่ปากก็อย่างว่าล่ะสูตรสำเร็จ เวลาเขาถามเราตอบไม่ได้หรอก เพราะอะไรรู้ไหม คนที่จะภาวนามาได้ มันต้องผ่านวิกฤตมาตั้งแต่พื้นๆ นี่แหละ เดี๋ยวเข้าสมาธิทำอย่างนี้แหละ ถ้าตรงนี้ยังทำไม่ได้ ธรรมะสูงๆ ไม่ต้องคุยให้กูฟัง ถ้าพื้นฐานทำได้มันจะเริ่มดีขึ้นๆ แล้วมันจะพูดเป็นชั้นๆๆ ขึ้นไปเลย แล้วต้องถูกหมด ธรรมะมีหนึ่งเดียว อริยสัจมีหนึ่งเดียว

พระอรหันต์ทุกองค์เหมือนกันหมด วิธีการแตกต่าง แต่ผลอันเดียวกันเพราะไม่เกิดไม่ตายเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าใครจะจริตมันเป็นอย่างนั้น เออ พูดมึงพูดมาสิ จริตเป็นอย่างไร แล้ววิธีการทำอย่างไหนมึงพูดมา ถ้าเอ็งพูดผิด ไม่มึงผิดก็กูผิดคนหนึ่ง ต้องผิด ต้องผิด ถ้ามึงถูกกูผิด จะเป็นอะไรไป กูผิดได้ไม่ต้องกลัว เพราะทำไปแล้วมันจะมีเทคนิค เทคนิคนี่มันมี แต่ความลับไม่มี เพราะทุกคนทำได้หมด เทคนิคมันมี ที่นี้เอ็งทำ ไม่เป็น เอ็งบอกเทคนิคที่ไม่ถูกต้อง

โธ่ เราบอกขับรถนี่นะ คนขับรถไม่เป็น มันออกรถไม่เป็นหรอก ถ้าคนขับรถเป็นตั้งแต่สตาร์ทเครื่องแล้ว ยิ่งคนดีๆ โชเฟอร์ดีๆ นะ เขาไม่สตาร์ทหรอก เขาต้องดูน้ำดูน้ำมันดูทุกอย่างก่อน เขาไม่ติดเครื่องหรอก เขาจะตรวจรถสภาพของเขาดีก่อน แล้วเขาค่อยๆ ติดเครื่องรถ แล้วมันออกรถอย่างไร มันขับอย่างไร โอ๊ยรู้หมดล่ะ จิตเหมือนกันเวลาภาวนา เวลาพูดน่ะเริ่มต้นนะ โอ๊ย รถกูไม่ได้ทำอะไรเลยนะ มันวิ่งได้ทั้งวันทั้งคืนเลยนะ ไม่รู้รถอะไรของมึงวะ กูก็ไม่เคยเห็น มันก็พูดของมันไปเนาะ

เวลาฟังคุยธรรมะกันนะคุยอย่างนี้ บางคนมา โอ้โฮ พูดน้ำไหลไฟดับเลยนะ แต่เราฟังแล้วน้ำท่วมทุ่ง เสียเวลากูฉิบหาย เวลากูก็ไม่มี มึงก็มาโม้ให้กูฟังอยู่ เราบอกว่าพอแล้วๆ อาจารย์ฟังให้จบก่อนสิ แหมกูเบื่อฉิบหาย ก็ยังพูดไม่จบเลยอาจารย์อย่าเพิ่งตัดสินสิ โอ ถ้าเป็นของจริงนะมันน่าฟังนะ วิทยานิพนธ์ชีวิตของแต่ละคน เขาไปปฏิบัติทั้งชีวิตของเขามาเลย แล้วเขาเล่าประสบการณ์ชีวิตของเขา มาให้เราฟัง โอ้โฮ

ถ้าปฏิบัติมันจริงๆ นะ มันเป็นเรื่องชีวิตทั้งชีวิต ที่เขาทดสอบชีวิตของเขามาเลย แล้วเขามาคุยให้เราฟังนะ เราไม่ต้องเสียเวลาเป็นร้อยปีเลย กูฟังนะทีเดียวจบเลย ถ้าของจริงนะ แหม ที่นี้มันมาเนี่ยบางทีนะ เดี๋ยวนี้มันไปกันเยอะ บางทีมาเนี่ยเข้าเจ้าเข้าทรงออกไปทางนู้นน่ะ แล้วนึกมันบอกภาวนานะ แล้วมาเล่าให้ฟังนะ กูก็รู้แล้วๆ แล้วเมื่อไหร่มึงจะจบวะ

เอ่อ มีนะเวลาบางคนมาแต่งตัวมาเลย เหมือนเจ้าเข้าทรงเลยล่ะ แล้วก็มาคุยเรื่องธรรมะ เราก็นั่งคิดในใจ กูไปฟังเหี้ยอะไรของมึงวะ แต่เขาก็ยังพูดให้ฟัง เพราะว่าเดี๋ยวนี้เขาจะมาเอาเครดิตไง มาเอาว่าเราเห็นด้วย บางทีน่าเบื่อ พอมาพูดให้เราฟังเสร็จ แล้วเขาจะบอกเลย ไปบอกอาจารย์สงบแล้ว อาจารย์สงบเห็นด้วย อย่างนี้ก็ไม่เอา แค่นี้ไม่มีอะไรอีกแล้วเนาะ จบแล้ว