ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ตามรอยโค

๕ ก.ค. ๒๕๕๒

 

ตามรอยโค

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม  กรกฎาคม ๒๕๕

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เรื่องการภาวนานะ  เรื่องการภาวนามันเป็นสิ่งที่ว่า  ถ้าเราทำได้จริงนะ  ทำไมสังเกตได้ว่าหลวงตาครูบาอาจารย์  เวลาท่านกราบพระพุทธเจ้านะ  กราบจากหัวใจ  กราบด้วยความซาบซึ้ง  กราบด้วยการรู้บุญรู้คุณ  ทั้งๆ ที่เรากับพ่อแม่นะ  พ่อแม่มีบุญคุณมากนะ  ไอ้ความคุ้นชินของเรา  มันยังไม่ค่อยสนิทขนาดนั้นเลย  แต่เวลาใครเห็นธรรมแล้วกราบพระพุทธเจ้านี่

พูดถึงทางวิทยาศาสตร์เห็นไหม  ทางสังคมนิยมเขาบอกเลยนะว่า  พ่อแม่ไม่มีบุญคุณ  เป็นหน้าที่  สังคมนิยมเขาพูดถึงวัตถุนิยม  เพราะเขาสอนเด็กๆ ไงว่พ่อแม่นะไม่ต้องเคารพ  พ่อแม่นี่เป็นหน้าที่  มีหน้าที่ต้องเลี้ยง  เขาพูดกันอย่างนั้นเห็นไหม  เพราะเขาคิดของเขา  เพราะเขาเข้าไม่ถึงความรู้สึกอันนี้  พูดถึงทางโลก  พ่อแม่นี่เป็นหน้าที่  สังคมนิยม

แต่ถ้พูดถึงเรา  เราเข้าถึงความรู้สึกนะ  อย่างเช่นบางคนนะ  โอ้โห  รักพ่อรักแม่นี่  รักแบบโอ้โสุดยอดเลย  เพราะนั่นใจของเขาเป็นธรรม  ความกตัญญูกตเวทเป็นเครื่องแสดงออกของคนดี  แล้วพ่อแม่ของเรา  ถ้าเราไม่ดูพ่อแม่ของเรา  แล้วเราจะไปดูที่ไหน  เพื่อนคบเพื่อน  โอ้ พ่อแม่มันยังไม่เอาเลย  แล้วมันจะเอาเราหรือ  ถ้าพ่อแม่เขาก็ยังไม่ดูแลเห็นไหม  พูดถึงหัวใจ  แต่พวกเราก็คิดอีกล่ะ  ว่าพวกเราทำกันไม่ได้ แต่ยังไม่แก่ไม่รู้หรอก  มันจะกงกรรมกงเกวียนนะ  พอเรามีครอบครัวขึ้นมา  เราแก่ขึ้นมาแล้วใครจะมาดูแลเรา 

แล้วพูดถึงรัฐสวัสดิการเห็นไหม  ก็รัฐสวัสดิการดูแล  ถ้าพูดถึงเข้าถึงศาสนา  มันจะซึ้งบุญซึ้งคุณมาก  แล้วตัวศาสนาถ้าใครภาวนาได้นะ  แล้วการภาวนานี่มันเป็นหนึ่งเดียวมันไม่มีสอง  มันพูดต้องเหมือนกัน  นี่เวลาเขาพูดนะ  อย่างเช่น  โยมถามเมื่อกี้  บอกว่าเวลานั่งภาวนาไป พอจิตมันสงบนะเห็นกาย  เห็นกายนี่มันสะเทือนหัวใจ  นี่พูดถึงคนเห็นใหม่ๆ นะ  มันก็มหัศจรรย์มากนะ 

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่เป็น  มันเริ่มเหมือนกับ  โทษนะ นี่เปรียบเทียบ  เหมือนกับเราเอาสัตว์มาฝึก  ดูวัวควายที่ไถนาเป็น  เขาเรียกวัวเป็นงาน  กับวัวไม่เป็นงาน  ราคาต่างกันมากเลย  วัวที่เป็นงานเขาต้องเอามาบังคับ  เอามาฝึก  ฝึกจนวัวนั้น สัตว์นั้นทำงานได้  สัตว์นั้นจะมีคุณค่ามาก  ราคาจะแพงมาก  แต่ไอ้สัตว์ที่มันทำงานไม่เป็น  เขาเอาไว้กินเนื้อ ไว้เชือดเท่านั้นล่ะ

ใจของคน  ใจของการภาวนา  พอเห็นกาย  จิตสงบนี้เหมือนเราเอาสัตว์มาฝึก  ถ้าเอาสัตว์มาฝึกนะ  มันเห็นการฝึกอันนั้น  มันพัฒนาขึ้นไปอย่างนั้  มันฝึกเป็นขึ้นมาแล้ว  มันจะรู้งานของมัน  นี่เอาสัตว์มาฝึกเห็นไหม  วัวหรือควายเอามาเข้าเทียมแอก  แอกพังเลย  มันตื่น  มันไม่ยอมรับ  มันดิ้นจนแอกพังเลย  จิตของเราจะเอามันสงบนะ  มันจะดิ้นรนมาก  แล้วพอจิตของเรามันเห็นกายอย่างนั้น  เห็นกายอย่างนั้นก็เพียงแต่เอาวัวเอาควายเข้าเทียมแอกได้  ยังไม่ได้บังคับให้มันเดินไปนะ  เอ็งต้องเดินนะ  เอ็งอย่ากระชากนะ  เดี๋ยวเกวียนกูพัง  เอ็งต้องเดินให้ดีนะ  ต้องฝึกไปอีกเรื่อยๆ  นะ นี่การภาวนาไง 

การภาวนาการเริ่มต้นนะ  ถ้าจิตมันไม่สงบ  เราต้องพยายามทำให้สงบ  ถ้าจิตมันสงบแล้วนะ  ถ้าจิตสงบแล้วออกวิปัสสนาออกไป  การกระทำของมัน  มันจะไปอีกแบบหนึ่ง  เราค้านการดูจิตมาตลอดเพราะอะไร  เพราะเขาพูดเป็นวิทยาศาสตร์  เขาพูดเป็นกฎตายตัว  เป็นวิทยาศาสตร์ต้องเป็นอย่างนั้น  แต่เขาไม่พูดถึงธรรมะ  กฎวิทยาศาสตร์นี่เป็นทฤษฎี  ถูกต้องไหม  ถูก  ถูกในทฤษฎี  ถูกในสุตมยปัญญา  แต่การปฏิบัติจะไม่เป็นอย่างนั้น 

 ถ้าเป็นอย่างนั้นนะ  แสดงว่าคนนั้นไม่เคยเห็น  เหมือนกับว่าเขาไม่เคยเอาสัตว์เข้าฝึกฝน  อย่างประสาเราวัยรุ่นนะ  หรือเด็กๆ มันเห็นวัวเห็นควาย  มันก็วัวควายเหมือนกัน  มันไม่รู้ว่าวัวควายตัวไหน  วัวควายที่ใช้งานได้  กับวัวควายที่ใช้งานไม่ได้  แต่ถ้าคนไถนานี่เขารู้เลย  เขาเอาวัวเอาควายเข้าแอกเข้าคันไถนะ  มันดิ้นตายเลยถ้ามันไม่เคยทำ  แต่พอวิทยาศาสตร์  เราเป็นเด็กเห็นไหม  วัวก็คือวัว  วัวมันแตต่างกันตรงไหน  วัวก็คือวัว   แต่มันไม่เป็นนะ  แต่ถ้าคนเป็นนะ  วัวเป็นงาน  กับวัวไม่เป็นงานต่างกัน 

นี่เหมือนกันเวลาพูดถึงธรรมะ  คนที่หัวใจเป็นธรรมะพูดมา  กับคนที่หัวใจไม่เป็นธรรมะพูดมา  ต่างกัน  พูดธรรมะเหมือนกัน  ต่างกันมากเลย  เห็นไหมบอกเลยนะ  เพราะเราเองเราก็พูดบ่อย  เห็นไหมในมหายาน  โธ่ ง่ายๆ นะ  ละชั่วทำดี  ละชั่วทำดีเท่านั้น  ธรรมะสอนเท่านี้  ละความชั่ว ทำความดีเท่านั้นแหละ  แล้วทำได้ไหมล่ะ  พระพุทธเจ้าสอนง่ายๆ เลย  ไม่ทำความชั่ว  ทำแต่ความดี  และในที่สุดทำให้จิตผ่องแผ้ว  ทำแค่นี้แหละ  แต่เวลาทำขึ้นมานะเกือบเป็นเกือบตาย  เพราะอะไร  เพราะกว่าจะเอาเราไว้ในอำนาจของเรา  หัวใจจะเอามันไว้นะ  พอมันดิ้นของมันนะ  มันไปขนาดไหน 

ฉะนั้นพอเรากำหนด  พุทโธ  พุทโธ  พุทโธ  นี่ พอกำหนด  พุทโธ  พุทโธ  เป็นปัจจัตตัง  เป็นสันทิฏฐิโก  พอจิตมันสงบขึ้นมา ความสงบของจิต  คนถ้าจิตสงบ  มันจะพูดเรื่องความสงบถูกต้อง  ถ้าจิตออกใช้ปัญญา  มันจะพูดถึงปัญญาถูกต้อง  แต่นี่เวลาเราจิตเราสงบแล้ว  จิตเราสงบใช่ไหม  พอจิตเราสงบเราเห็นกาย  พอเห็นกายขึ้นมา  พอเห็นกายขึ้นมา  มันสะเทือนหัวใจมาก  นีการสะเทือนหัวใจ 

เรานะ  เรนี่จะฝึกวัวฝึกควาย  เราก็ไปจับวัวจับควาย  จับมันก่อน  ทำความคุ้นเคยกับมันก่อน  ความคุ้นเคยเสร็จแล้ว  เขาพยายามจับเข้ามาเทียมแอกเทียมไถ  เทียมไถแล้วทำอย่างไก่อน  นี่จิตก็เหมือนกัน  พอมันไปเห็นกาย  เราจะจับวัวจับควายเข้าแอกอย่างไ  เราจะจับวัวจับควาเข้าแอกอย่างไร  งงไหม 

อันนี้ในฝ่ายอภิธรรม  ใครเห็นนิมิตนิมิตผิดหมด  ทุกอย่างผิดหมด  เห็นนิมิตก็อย่างหนึ่ง  เห็นจิตก็อย่างหนึ่ง  ถ้าไม่เห็นนิมิต  ต้องเห็นจิต  ต้องเห็นต้องจับต้องต้อง  ถ้าไม่มีการเห็นการจับการต้อง  เราทำอะไร  เห็นไหมเราทำอะไรไม่ได้  จิตมันต้องสงบ  พอจิตมันสงบขึ้นมาแล้วมันจะรู้จักตัวมันเอง  แล้วมันจะเกิดการแก้ไข  นี่พอจิตมันสงบเห็นกายขึ้นมา  แล้วสังเวชนะ  น้ำตาไหลนะ  แล้วมันขนพองสยองเกล้านะ 

มันเป็นเรื่องธรรมดา  เพราะธรรมดาพอจิตมันสงบเข้าไปแล้ว  เหมือนเรา  เราเปรียบอย่างนี้ประจำนะ  โทษนะ  ไม่ใช่ว่าเพชรธรรมดานะ  เรามีโคตรเพชรกัน  แล้วเราเก็บไว้ในตู้เซฟ  แล้วเราลืม  หาไม่เจอ  รู้อยู่ว่ามีเพชรแต่หาไม่เจอ  หาอยู่นัแหละ  หาอย่างไรก็หาไม่เจอ  หาทั้งชีวิตก็หาไม่เจอ 

แล้วพอทำพุทโธๆๆ  หรือกำหนดปัญญาอบรมสมาธินะ  บังเอิญไปทำงานนะ  ไปเปิดเข้าไปเจอเพชร  มันอยู่ตรงหน้าเราเลย  เราจะมีความรู้สึกอย่างไ  เราทำงานอยู่นะ  เราพยายามเสาะหาอยู่  แล้วไปเจอเพชนี่เราจะรู้สึกอย่างไ  พอจิตมันสงบนะ  พอมันไปเห็นกายเห็นต่างๆ นะ  อาการมันจะเป็นอย่างนั้น  มันเห็นปั๊บ เราถึงบอกว่ามันเห็นกิเลสไง  มันเห็นกิเลสเห็นเรา  เราจะบอกเลยนะ  เวลาจิตใครสงบนะ  จิตเห็นอาการของจิต  หรือจิตเห็นกาย  เราจะเปรียบเหมือนกับเห็นไดโนเสาร์  ไดโนเสาร์นะ  มันเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว  มันเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์  แต่เรารู้ได้เพราะมันมีฟอสซิล  มันมีต่างๆ เรารู้ได้  ไอ้นี่ก็เหมือนกัน  จิตของเรา  กิเลสของเรานี่เรารู้ได้  ทุกคนรู้ได้ว่าเรานี้มีกิเลส  เพราะเรามีอวิชชาถึงเกิดมา  แต่เราไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน  เราไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน  แล้วเราไม่รู้ว่าจะทำอย่างไกับมัน 

 แต่พอจิตเราสงบ  แล้วเราไปจับต้องได้  เหมือนกับไปเจอไดโนเสาร์  คำว่าไดโนเสาร์มันเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว  เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์  กิเลสเกิดตาย เกิดตาย ในหัวใจเรามันเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์  จิตดวงนี้โดนมารนี่ครอบอยู่  เกิดตาย เกิดตาย  มาไม่รู้เท่าไหร่นับต้นนับปลายไม่ได้ 

เพราะเอาพระพุทธเจ้าเป็นบรรทัดฐาน  พระพุทธเจ้าเวลาย้อนอดีตชาติไป  นับต้นนับปลายไม่ได้  คือไม่มีที่สิ้นสุด  คือมันสาวไปได้อีกยาวไกล  แต่นี้ถ้าพูดถึงสาวได้ยาวไกล  นี่คือปัญญาของพระพุทธเจ้านะ  ไม่ใช่ปัญญาของพวกเรานะ  ถ้าปัญญาของพระพุทธเจ้า  พุทธปัญญาเป็นอจินไตย  มันมหัศจรรย์มากนะ  ย้อนไปนี่ไม่มีต้นไม่มีปลาย  สาวไปไม่มีที่สิ้นสุด 

ี่ไงเราถึงเปรียบเหมือนไดโนเสาร์ไง  สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว  แต่เรารู้ได้ว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้ว  แต่อวิชชา  มาร  อยู่ในหัวใจเรานี่มันไม่สูญพันธุ์  มันอยู่กับเรา  แล้วมันครอบงำจนเราไปไม่เคยสูญพันธุ์  แล้วพอจิตสงบพอไปเห็นมันนะ  อาการเห็นไหม  โอ้โห น้ำตาไหลพราก  ขนนี้พองหมด  สะเทือนหมด 

นี่การปฏิบัติของครูบาอาจารย์เรา  ท่านจะมีความรู้สึก  มีอาการอย่างนี้  แต่ที่เขาสอนกันในปัจจุบัน  เขาพูดกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง  แจ้วๆๆ นะ  พิจารณากายเห็นกาย  พิจารณาจิตเห็นจิต  เราไม่เชื่อ  เราไม่เชื่อเลยนะ  ในหัวใจนี้ไม่เคยเชื่อ  ไม่เชื่อเพราะอะไร  เพราะเราเคยประสบการณ์มา  เวลาเราประสบการณ์ขึ้นมา  และเมื่อวานไปพระก็มาถามอย่างนี้  เขาว่าประสบการณ์นะ  เขาพูดโอ้โหขึงขังๆ นะ  เราก็ไม่เชื่อ

 เราไม่เชื่อเพราะอะไร  เพราะมันพูดขึงขังไปโดยกิริยาของจิต  กิริยาของจิต  กิริยาคือความองอาจกล้าหาญของจิตของแต่ละคนที่มันมี  อาการอย่างนั้นมันมี  ธาตุอย่างนั้นมันมี  พอมีขึ้นมาเขาก็จับตรงนั้น  แล้วเขาทเป็นองอาจกล้าหาญ  แต่มันไม่มีเหตุไม่มีผลไง  มันไม่มีเหตุผลรองรับ  เหตุผลที่ว่ามันเป็นอย่างนั้นได้อย่างไ  ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้  มันเป็นมันต้องมีเหตุมีผล

ความกล้าหาญนะ  กล้าหาญทำดีก็ได้  ทำชั่วก็ได้  กล้าหาญนี่มันมีอยู่ที่ข้อมูลดีหรือชั่ว  ถ้ามันชั่วมันก็พาชั่วสุดๆ  กล้าหาญนะ  ดูโจรมันปล้นสิ  เราเคยเที่ยวมานะ  นักเลงนี่เวลาเขาเจอกันนะ  เอาปืนกับปืนจ่อหัวกัน  ใครเหนี่ยวไกก่อน  ใจใครเวลาเดินเผชิญหน้ากัน  เอาปืนจ่อหน้ากันเลย  แล้วเดินสวนกันเลย  ยิงตายทั้งคู่  กดเหนี่ยวไกด้วยกันตายทั้งคู่  พิสูจน์ใจกันไง  นี่พูดถึงว่าคนบ้าบิ่น  มันไม่มีประโยชน์อะไรหรอก 

ถ้าบ้าบิ่น  มันต้องบ้าบิ่นเห็นไหม  ดูสิอย่างเช่นเรา  เหตุการณ์วิกฤตเห็นไหม  ดูสิ  เวลาเกิดอุทกภัยต่างๆ  นี่เราฝ่าวิกฤติไปช่วยชีวิตคนอื่น  เราสละชีวิตเรานะ  สละชีวิตเพราะเขาเกิดเหตุวิกฤติ  เขาวิ่งหนีกัน  เขาหนีภัยกัน  เราเผชิญเข้าไปในภัยนั้น  เพื่อจะไปช่วยคนอื่น  เราสละชีวิตเรา  เพื่อตั้งสติปัญญา  เพราะเราต้องตาย  ใครก็ต้องกลัวว่าเราต้องตาย  แต่เราจะเป็นจะตายก็แล้วแต่  เราจะช่วยเหลือคนอื่น  เราเดินเข้าไปในนั้นเพื่อจะช่วยเหลือคนอื่น  เอ้อ  มันมีปัญญาของมัน  มันมีสติของมัน  มันมีการกระทำของมัน

นี่ก็เหมือนกัน  จิตที่มันจะเป็นไป  จิตที่มันพัฒนาของมัน  มันต้องมีเหตุการณ์อย่างนี้  มันต้องมีความเข้าใจอย่างนี้  ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้  มันจะเป็นความจริงนะ  นี่ไม่ใช่พูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง ละชั่วทำดี  ตัวศาสนาสอนอย่างนี่  แต่คนสอนแล้วสอนจริงหรือเปล่า  แต่สอนแล้วดีมันดีของใคร  นี้พูดถึงถ้าจิตนะ  โดยหลักของเรา ดูสิดูมีดเห็นไหม  เวลาทำครัวกัน  มีดเป็นประโยชน์ไหม  มีดนี่เราทำอาหาร  เรามาใช้ทำประโยชน์  ก็เป็นประโยชน์เห็นไหม  มีดเราทำโทษนะ  เราไปทำร้ายใครก็ได้ 

ปัญญาของเรา  เราคิดว่ามันเป็นคุณงามความดี  เราคิดว่าสิ่งนี้มันเป็นวิปัสสนา  มันทำร้ายเรานะ  แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์เห็นไหม  สำคัญมาก  เรามองพระที่การประพฤติปฏิบัติมา  ส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้  มียกเว้หลวงปู่มั่นและพระพุทธเจ้า  เพราะท่านไม่มีอาจารย์ที่สามารถจะชักนำได้  ท่านต้องใช้ชีวิตของท่านผจญภัยเอง  แต่เวลาครูบาอาจารย์เขาเรียกว่าถือนิสสัย  อย่างเราเช่นมีพ่อแม่นี่นะ  ลูกอยู่กับพ่อแม่มนี่  พ่อแม่ทำงานทุกวันลูกก็นั่งดูอยู่นั่นล่ะ  พอลูกนั่งดู  พ่อแม่ไม่ต้องสอนหรอก  ลูกมันจำได้นะ  เช้าขึ้นมาพ่อต้องเข้าครัว  พ่อต้องทำอาหารก่อน  พ่อแม่ต้องทำอย่างนั้นก่อน

 ชีวิตประจำวันมันรู้มันฝึกเอง  มันฝึกโดยธรรมชาติไง  ขอนิสสัยอยู่กับอาจารย์  อาจารย์ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  อาจารย์ทำให้ดูเป็นตัวอย่างนะ  ตื่นตั้งแต่ตีเท่าไร  ทำงานเท่าไร  กำหนดอย่างไ  แล้วเราทำเองนี่เป็นอย่างนั้นไหม  ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น  เถรส่องบาตร  เห็นอาจารย์นะ  เช็ดบาตรเสร็จก็ส่องนะ  ส่องดูว่าอากาศมันมีรอยรูรั่วไหม  ไอ้นี่ก็เห็นยกขึ้นด้วย  พอถึงเวลาเราก็เช็ดบาตรบ้าง  แล้วก็ยกส่อง  ทำให้เป็นเหมือนวิธีกิริยาที่อาจารย์ทำ  แต่ไม่รู้ทำเพื่ออะไร  ไม่รู้  แต่อาจารย์เขาทำเขารู้  เขายกขึ้นมาส่องบาตร  เพื่อให้เห็นรอยรั่วรอยร้าวของมัน  แต่เราเห็นท่านยกเราก็ยกตามนะ  แต่ไม่รู้ส่องไปทำไม

อยู่กับครูบาอาจารย์เห็นไหม  ท่านทำเป็นตัวอย่าง  เราทำด้วย  เราศึกษาด้วย  เราเข้าใจด้วย  เราจะได้เข้าใจเหตุผลการกระทำ  หรือว่าเหตุผลเหตุที่เกิดขึ้นมาจะแก้อย่างไ  แต่ถ้าเราอยู่กับท่าน  เราทำตามเฉยๆ  แต่เราไม่มีปัญญาเลย  ไม่เข้าใจเลย  อยู่กับครูบาอาจารย์นะ  ถ้าเราทำตามได้ประโยชน์  จะได้ประโยชน์มาก  ถ้าให้เราอยู่กับครูบาอาจารย์นะ  เราทำตามแต่เราไม่ได้ประโยชน์ไง  เราทำเฉยๆ  เราทำไม่ได้ประโยชน์ไง ถ้าเราทำแล้วนะ  มันเกิดจากใจ  ถ้าใจมันเป็นอันเดียวกัน  สิ่งที่เป็นอันเดียวกันเห็นไหม 

ขณะที่เรากำหนดของเรา  พุทโธๆ   หรือปัญญาอบรมสมาธิก็ได้  ที่เขาดูจิต  เราไม่ใช้คำว่าดูจิต  เราใช้ว่าปัญญาอบรมสมาธิ  หลวงตาก็ใช้ว่าปัญญาอบรมสมาธิ  ปัญญาอบรมสมาธิ  ปัญญาใช้ได้ตลอดเวลา  ปัญญาใช้ตั้งแต่เราเคลื่อนไหว  เราตั้งแต่เป็นคฤหัสถ์  เราทำอาชีพต่างๆ  ต้องใช้ปัญญาทั้งนั้น  แต่มันเป็นปัญญาอะไร  เห็นไหมโลกียปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิคือปัญญาโลกๆ  คือปัญญาจากสมอง  ปัญญาจากการศึกษา  ปัญญาจากการค้นคว้า  ปัญญาจากการตรึก  นี่คือปัญญาอบรมสมาธิ  คำว่าปัญญาอบรมสมาธิ  คือสมถะไง  ปัญญาอบรมสมาธิ  ปัญญาใช้ได้ทุกเมื่อ  ปัญญาใช้ได้ตลอดเวลา 

ทีนี้เราคิดว่าต้องจิตสงบก่อนค่อยใช้ปัญญา  จิตสงบก่อนค่อยใช้ปัญญา  เพราะปัญญาอันนั้น  ปัญญาฆ่ากิเลสนั้นเป็นโลกุตรปัญญา  ปัญญาโลกุตรปัญญาที่พ้นจากโลก  ปัญญาที่ทำลายโลก  ทำลายโลกทัศน์  ทำลายทิฐิมานะ  ทำลายตัวตน  ทำลายหัวใจ  ทำลายทั้งหมด  แต่โลกียปัญญา  ปัญญาเกิดจากโลก  ปัญญาเกิดจากเรจะไม่ทำลายเราเลย  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า  ไดมันปั่นออกมา มันส่งไปกระแสไฟฟ้าไปที่ไหน  มันส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างจากข้างนอกนะ  ความคิดที่ออกจากโลก  ปัญญามันออกไปข้างนอกหมดเลย  ปัญญาที่กลับมาฆ่ากิเลสไม่มี 

พอมันไม่มีเราตั้งสติเห็นไหม  เราตั้งสติของเรา  เพราะเราศึกษาธรรมนะ  เราใช้ปัญญานะ  เราใช้ปัญญาอย่างนี้ตามความคิดไง  เพราะมันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหมว่า  ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร  สังขารคือความคิดความปรุงความแต่ง  ถ้าปัญญามันไล่ๆๆ  ความคิดเข้ามาเห็นไหม  ปัญญารอบรู้ในกองสังขารนี้  ปัญญาในศาสนาเห็นไหม  ปัญญาในพระพุทธศาสนา  กับปัญญาทางโลกมันคนละเรื่องกัน  แต่เราใช้ศัพท์เหมือนกัน  แล้วเราเคลมว่าเหมือนกัน  เราคิดว่าใช้ปัญญา  ไม่ใช่!  พอคำว่าไม่ใช่  ไม่ใช่  อะไรยืนยัน  เพราะคำว่าไม่ใช้ปั๊บ  มันเอาเป็นกฎตายตัวไม่ได้ 

คำว่ากฎตายตัวมันจะไปขัดแย้งกับจริตนิสัยของคน  อย่างเช่น เราบัญญัติกันเลยนะ  ว่ามนุษย์เราต้องกินน้ำ  คุณค่าของน้ำ น้ำสะอาดอย่างนั้น  แล้วเราไปดูที่ไม่มีแหล่งน้ำล่ะ  น้ำของเขาอาจจะแบบว่า  ไม่มีคุณค่าไม่สะอาดเหมือนน้ำของเราเห็นไหม  แล้วอย่างนั้นคนที่นั่นต้องตายหมดเลย  เพราะเขากินน้ำไม่ได้  แหล่งน้ำเกิดจากที่ใด  แหล่งน้ำมีคุณภาพขนาดไหน  ชุมชนนั้น เขามีแหล่งน้ำนั้นใช้ประโยชน์  ควรจะใช้ประโยชน์แหล่งน้ำนั้น  แล้วเขาจะมีวิธีการอื่นเพื่อประโยชน์ของเขา 

จริตนิสัยของแต่ละดวงจิต  มันเหมือนกับชุมชน  เหมือนกับสถานที่  จริตนิสัยนี่มันเป็นอันหนึ่งของเขา  เราแก้ไขดัดแปลงเขาไม่ได้  เพราะมันเกิดจากกรรม  เกิดจากการกระทำ  เกิดจากประวัติศาสตร์  เกิดจากอดีตชาติ  เกิดจากสิ่งที่สะสมมา  สิ่งนี้ไม่มีใครแก้ไขได้ มันเป็นปัจจุบันเหมือนกันเห็นไหม ดูสิ  เรานั่งอยู่นี้ ทัศนคติ  ความคิด ความเห็น จริตนิสัยไม่เหมือนกันสักคนหนึ่งเลย  แต่เราเกลียดความทุกข์  เราปรารถนาความสุขเหมือนกันเลย  ทีนี้พอเราตั้งเป้าหมาย คือเราเกลียดความทุกข์  เราจะพยายามเข้าหาความสุขนี่  เราต้องปรับแหล่งน้ำ ปรับต่างๆ ให้มันเป็นประโยชน์กับเรา 

ฉะนั้นไอ้เรื่องที่จะเกิดนิมิต  จะเกิดต่างๆ นี  เราถึงบอกที่ว่าบังคับให้เป็นสูตรสำเร็จ  บังคับให้เป็นสูตรตายตัวไม่ได้  ถ้าใครบอกบังคับเป็นสูตรตายตัว  เรากล้าพูดนะว่าคนนั้นภาวนาไม่เป็น  ถ้าภาวนาเป็นเขาจะต้องรู้ของเขา  เหมือนคนทำงานเป็น  คนเป็นนายช่าง  เราเป็นนายช่าง  เราประมูลงาน  เรารับงานทั่วโลกเลย  ไปทำงานสถานที่หนึ่ง  ดินอ่อน ดินแข็ง ดินดาน  ดินต่างๆ มันต้องรู้สิ  แล้วรากฐานที่วางขึ้นมาเพื่อจะทำการก่อสร้างนี่  มันต้องแตกต่างกัน  ถ้าไม่แตกต่างกันเขาจะสร้างโครงสร้างของเขาขึ้นมาบนสถานที่ก่อสร้างนั้นได้อย่างไร 

จิตใจของคนก็เหมือนกัน  พื้นฐานของจิตมันไม่เหมือนกันทั้งหมดเลย  แล้วบอว่าต้องเหมือนกันหมด  ถ้าเป็นดินอ่อนใช่ไหม  เราลงโครงสร้างพื้นฐานแข็งแรงอันนั้นถูกต้อง  แล้วเราเอาโครงสร้างอย่างนั้น  ไปลงทุนในสถานที่ที่เป็นดินภูเขาอย่างนี้  ที่เขาไม่ต้องลง  มันจะลงทุนสูญเปล่าไปเพื่อประโยชน์อะไร 

นี่ไง  จิตก็เหมือนกัน  ถ้าจิตของคนนั้น  ถ้าดินเราอ่อนใช่ไหม  พื้นที่ของเรา เราต้องลงโครงสร้างแข็งแรง  เราต้องตั้งสติของเราให้ดี  เราจะต้องระลึกของเราให้ดีเพื่อพื้นฐานของเรา  พื้นฐานนะ  เรานะถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญาขนาดนี้  เราทำสิ่งใดก็แล้วแต่  พอเราสร้างโครงสร้างของเราสูงขึ้นมา  แล้วมันล้มไปต่อหน้านี่  เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา เสียทั้งข้าวขอเสียทั้งความรู้สึก เสียหมดเลย  เสียเพราะอะไร  เสียเพราะเรามักง่าย  พื้นฐานโครงสร้างเราไม่ทำให้แข็งแรงก่อน  ถ้าเราทำพื้นฐานแข็งแรงเสียก่อน  เราจะเสียเวลานิดหน่อย  เราจะไม่เสียใจทีหลัง

มันถึงต้องย้อนกลับมา  ถ้าเรามีศรัทธาความเชื่อแล้วมีอยู่ในใจ  เรากำหนดพุทโธ  เราตั้งสติของเรา  เราทำของเรา  มันจะยากมันจะง่ายนะ  มันอยู่ที่การกระทำ  อย่าไปเชื่อใคร  พระพุทธเจ้าสอนกาลามสูตรอยู่แล้ว  ไม่ให้เชื่อแม้แต่พระพุทธเจ้าพูดเลย  พระพุทธเจ้าบอกแม้พระพุทธเจ้าพูดก็อย่าเชื่อ  ให้จับไว้  แล้วพิสูจน์เอาจากการกระทำของเรา  จากความจริงที่เกิดขึ้นมาจากเรา 

ไอ้นี่มันเชื่อตามกันไป  พอเชื่อตามกันไแล้วบอก  ต้องเป็นสูตรสำเร็จ  มันเป็นไปไม่ได้หรอก  แต่พอนานไปนะ  คนที่ทำไปแล้ว  ประสบการณ์ของเขาจะสอนเขาเอง  ว่าสิ่งที่เขาคิดมันเป็นไปไม่ได้  แล้วค่อยๆ กลับตัวไง  เขาจะกลับตัวของเขาเอง  แต่เราคิดว่ามันไม่คุ้มค่าไง  คนที่กลับตัวไม่ทัน  คนที่ตามไปมันจะมีปัญหามาก 

อันนี้พูดถึงมันต้องเปิดกว้าง  เปิดกว้างถึงจริตนิสัยถึงการกระทำ  นี่เรากำหนดพุทโธๆๆ  ของเราไป  พอมันเห็นนะ  มันมีเยอะนะลูกศิษย์ที่มาที่นี่  เวลาเขานั่งเขาดูเราเทศน์  เขาฟังเราเทศน์เขามองด้วย  เขาเห็นเราเป็นโครงกระดูกหมดเลย  มีด้วยนะ  เขามองมาที่เรา  เขาเห็นเราเป็นโครงกระดูกหมดเลย  เขาไม่เชื่อนะ  เขาขยี้ตาเขาใหญ่เลย  แล้วมองมานะ  อันนั้นคืออะไร

  อันนั้นมันคือวาสนาของเขา  โครงสร้างของเขา  โครงสร้างของเขา  เขาต้องตั้งสติของเขา  ตั้งสติของเขาแล้วอันนี้เตือนตัวเอง  ถ้าอย่างนี้มีอย่างนี้ได้นะ  มันประเสริฐมาก  ประเสริฐที่อะไร  ประเสริฐเพราะว่าเห็นเองไง  ปัจจัตตัง  สันทิฏฐิโก  เราบอกนะ  มีพระมาปฏิบัติ  ทำอย่างไรให้มันถูกต้องล่ะ  เราบอกว่าเอ็งต้องทำก่อนสิ  แล้วเอาตุ๊กตามาคุยกัน  เอาตุ๊กตา  คือเอาสิ่งที่เขาเห็น  สิ่งที่เขาเห็นนะแล้วแก้ไขดัดแปลงกันไป  นั้นตุ๊กตาเกิดแล้วนะ  แต่พวกเราทำอะไรยังไม่เกิดตุ๊กตา  ถ้าไม่เกิดตุ๊กตาเห็นไหม 

แต่ทีนี้พอเรากำหนดพุทโธๆๆ  พอเราจิตสงบ  เห็น  เห็นกันเราก็เปรียบเทียบ  เหมือนเอาวัว  เอาควายเข้ามาฝึกงาน  วัวมันจะดิ้น วัวจะไม่ยอมมันธรรมชาติของมัน  ใจของเรา  เวลาเราเห็นกายเห็นไหม  ทำไมเราสะเทือนใจล่ะ  ทำไมเราเศร้าล่ะ  มันเศร้าเพราะอะไรรู้ไหม  มันเศร้านี่ เราพูดเลยพื้นฐานของพวกเรา  ต้องสำนึกตนให้ได้ก่อน  คนเราถ้าหลงผิดนี่  มันจะทำความผิดไปตลอดเวลา  แต่ถ้ามันรู้ว่าตัวผิดปั๊บ  มันจะเริ่มกลับตัว 

เด็กลูกหลานเรา  ส่วนใหญ่เขาจะเถียงว่าเขาทำถูก  เขาว่าพ่อแม่ปากจัด  พ่อแม่ชอบว่าลูกว่า ลูกทำผิดๆๆ  ไอ้ลูกบอกว่า  หนูทำถูกๆๆๆ  เห็นไหม  เพราะเขาไม่รู้ว่าเขาทำผิด  ถ้าวันไหนเด็กมันรู้ว่ามันทำผิด  มันไม่ทำหรอก  นี้พ่อแม่ก็ต้องบอกว่า  หนูทำผิดอย่างนี้นะ  มันทำผิดอย่างนี้นะ  เพราะเขายังไม่รู้ตัวของเขา  ใจเราก็เหมือนกัน  ถ้ายังไม่สำนึกถึงตัวนะ  แก้ไขตัวเองไม่ได้  ถ้าสำนึกถึงตัวเอง  ก็คือกลับมาที่พื้นฐานของจิต    กลับมาที่สมาธิ  ถ้าพุทโธ นี่มันกลับมาถึงตัวมัน  พอกลับถึงตัวมันปั๊บ  ดูสิพลังงานเห็นไหม  ดูสิความร้อนนะ  ถ้าฟืนกองใหญ่มันจะส่งความร้อนมามาก  ฟืนกองเล็กความร้อนพลังงานมันจะน้อย 

จิตของคนถ้ามันมีกำลังมาก มีวาสนามากเห็นไหม  พอจิตสงบมันจะอย่างที่ว่าเห็นกาย เห็นต่างๆ  อะไร  เห็นนะแล้วมันเห็นแตกต่าง  บางคนเห็นเป็นอวัยวะชิ้นเดียว  บางคนเห็นผิวหนัง  บางคนเห็นเป็นโครงสร้าง  บางคนเห็นทั้งตัว  เห็นหมดนะ  คำว่าเห็น  มันก็เปรียบเหมือนเงินในกระเป๋าเราตอนนี้  จะควักมามีคนละเท่าไร  ฉันมีห้าบาท  ฉันมีสิบบาท  ฉันมีพันหนึ่ง  นี่ไง  เพราะจิตมันมีโครงสร้างเห็นไหม  พลังงานมันมากนะ  พอมันเห็นนะ  เห็นมันจะเห็นภาพ  ภาพที่ใหญ่  ภาพที่ชัดเจน  เรามีห้าบาท  เราก็เห็นแค่เป็นผิวหนัง  เรามีเล็กน้อยนะ  เราก็เห็นเล็กน้อย  เห็นนี้  เห็นนี้มันมาจากอำนาจวาสนาบารมีของคน 

อย่างเช่นเรา  เดี๋ยวนี้นะเราไปไหนเราไม่มีตังค์กันเลย  เรามีการ์ด  มีบัตรพลาสติกคนละใบไว้คอยรูด  นี้เหมือนกัน  จิตเราสงบแล้วไม่เห็นอะไรเลย  เราไม่มีเงินในกระเป๋าเลย  แต่เราก็สามารถใช้เงินได้  เราไม่มีเงินในกระเป๋าเลยนะ  พอเราจิตสงบ สงบเฉยๆ  สงบไม่มีอะไรเลย  สงบไปเฉยๆ  อย่างนั้น  สงบดี  สงบเพราะจิตมันนิ่งเข้ามา  แต่รู้ตัวตลอดเวลา  ไม่เห็นอะไรเลย 

แต่ทีนี้ทางโลก  เขาบอกเลยว่าถ้าเห็นนิมิตนี้คือผิดหมด  จิตสงบต้องไม่เห็นอะไรเลย  เขาถึงว่าจิตจะสงบ  มันถึงจะถูกต้อง  ถึงจะยกขึ้นวิปัสสนาได้  จิตสงบที่ไม่เห็นอะไรเลยเยอะมาก  เพราะธรรมดาห้าบาท  สิบบาท  พันหนึ่ง  คนนั้นเขามีตังค์ในกระเป๋านะ  ไอ้พวกเราส่วนใหญ่นี่ไม่ค่อยมีหรอก  แต่เราเกิดเป็นมนุษย์ด้วยกัน  เกิดเป็นมนุษย์นี่นะ  เราไม่มีตังค์เลยนะ  แต่รัฐสวัสดิการเขาต้องดูแลเรานะ  เราไม่มีตังค์เลยล่ะ  แต่เราก็ดำรงชีวิตได้ 

จิตที่มันสงบมันไม่มีอะไรของมันเลย  เขาก็มีสิทธิของเขา  เขาก็ทำสมาธิของเขา  แล้วเขาก็สามารถพ้นจากกิเลสได้เหมือนกัน  ถ้าเขาทำของเขานะ  นี่จะพ้นจากกิเลส  พอจิตสงบแล้วนะ  จิตมันสงบนี่สำนึกตน  สำนึกเรา  เหมือนทะเบียนบ้าน  เหมือนสิทธิของบุคคล  เราต้องมีทะเบียนบ้าน  เราต้องมีสิทธิส่วนบุคคล  เราถึงจะมีสิทธิตาม  นั้น  ถ้าเราไม่เข้าถึงจิตนะ  เราจะบอกว่าทะเบียนบ้านอะไรต่างๆ มันเหมือนธรรมะ  ธรรมะนี้เป็นสากล  ธรรมะนี้เป็นธรรม  ธรรมะนี้ไม่เป็นของใคร  ไม่มีใครบอกว่าอนุญาตให้ใครเข้าถึงธรรมได้  และไม่อนุญาตให้ใครเข้าถึงธรรมได้  มันตามสิทธิของแต่ละบุคคล  ไม่มีใครสามารถไปบังคัว่า  ให้คนนั้นบรรลุธรรม  หรือให้คนนั้นไม่บรรลุธรรม  มันจะบรรลุธรรม  มันอยู่ที่สิทธิของคนนั้น  ที่เขาทำของเขาตามธรรมชาติของเขา 

ธรรมะที่จะเป็นจริงขึ้นมา  ถ้าธรรมที่เป็นจริงขึ้นมาเห็นไหม  พอจิตมันสงบขึ้นมา  เราออกรู้อย่างไ  ออกกระทำอย่างไ  ออกรู้ออกกระทำ  นี่ถ้าพูดถึงที่เขาพูดๆ กันอยู่  เขาไม่ได้พูดถึงการกระทำอันนี้  เขาไม่เคยพูดถึงการกระทำเลย  เพราะถ้าพูดถึงการกระทำนะ   สมถะกับวิปัสสนามันต่างกันอย่างไร

ดูสิ  ดูครูบาอาจารย์หลวงตาท่านยังพูดเลย  ขั้นของความสงบ  ขั้นของปัญญา  ขั้นของปัญญาจะไม่มีขอบเขต  ขั้นของปัญญาคือ  ปัญญาของคนนี่ไม่มีขอบเขต  ยิ่งออกไปแล้วไม่มีขอบเขตเลย  ตาข่ายของปัญญามันกางไปหมดเลย  เพราะความคิดมันเกิดได้ตลอดเวลา  แต่ความคิดมันเกิดจากอะไร  ถ้าความคิดมันเกิดจากพื้นฐานของการเป็นสมาธิ 

  ความคิดเป็นสมาธิ  มันไม่เข้าข้างตัวมันเอง  ถ้าพื้นฐานเกิดจากเรา  เกิดจากความคิดของเรานี่มันเข้าข้างตัวเอง  เราคิดไปคิดมา  ทุกคนคิดอะไรขึ้นมาได้นะ  อยากจดลิขสิทธิ์เลย  ว่าความคิดนี้มันสุดยอดๆๆ เลย  พอมีความคิดใหม่ขึ้นมานะ  ความคิดเมื่อกี้ใช้ไม่ได้เลย  มันหลงตัวเองไง  เราเวลาคิดขึ้นมา  เราเก่งทั้งนั้น  แต่เอาตัวไม่รอด 

แต่ถ้ามันเป็นสมาธิขึ้นมานะ  เวลาเกิดขึ้นมา  มันไม่มีตัวเรา  มันไม่มีสิ่งใดบวกนะ  แล้วถ้าสิ่งนี้มันเกิดขึ้นมานะ  ๑.ไม่มีตัวเรา  ๒.ปัญญาที่เกิดขึ้นสะเทือนหัวใจมาก  ปัญญาที่เกิดขึ้นตามจริงมันจะสะเทือนหัวใจมาก  เวลาเกิดปัญญาขนพองหมดเลย  ความรู้สึกขนพองสยองเกล้าเลย  แล้วใหม่ๆ นะ  พอมันชำนาญขึ้นไป  มันใช้ปัญญานี่หมุนบ่อยครั้งเข้า  นี่จักร  หลวงตาใช้ว่าติ้วๆ  หมุนติ้วๆ  มันไม่มีใครพูดคำนี้นะ  คำที่ว่าปัญญาหมุนติ้วๆๆ  เพราะอะไร  เพราะเขาไม่เคยมี 

ถ้าใครเคยมีปัญญาอย่างนี้นะ  ธรรมจักรมันเกิด  มันจะหมุนออกไป  มันจะกลับมาทำลายตัวมันเอง  กลับมาทำลายความยึดมั่นถือมั่น  กลับมาทำลาย  มันจะปล่อยของมันอันนี้ เพราะเวลาเขาพูดกัน  ที่บอกว่าเขาภาวนาผิดๆ  ใครก็แปลกใจนะ  ว่าเราทำไมว่าคนโน้นภาวนาผิด  ว่าคนนี้ภาวนาผิด  เรามีสิทธิอะไรจะบอกว่าผิดหรือถูก  จริงๆ  ก็บ้านเขาก็บ้านเรา  แม้แต่ร่างกายเรา  ปากท้องเราก็ปากท้องเรานะ  ถ้าเรากินเราก็อิ่ม  เราไม่ได้กินเราก็ไม่อิ่มนะ  เขาจะกินก็เรื่องของเขาสิ  แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเราล่ะ

หลวงตาสอนบ่อย  ใจเขาใจเรา  แต่นี้ที่เราพูดว่าผิด  เรายืนยันว่าผิดตลอด  ผิดตลอดเพราะอะไร  เพราะเขาพูดเป็นวิทยาศาสตร์  เขาพูดเป็นแบบวิทยาศาสตร์  คือว่ามันเป็นสุตมยปัญญาตลอดไป  แต่ถ้าคนภาวนาเป็นนะ  เวลาพูดธรรมะนะ  เราก็พูดเป็นวิทยาศาสตร์  พูดเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อให้พวกเราพิสูจน์ได้  พิสูจน์เรื่องธรรมะ  แต่ธรรมะเหนือวิทยาศาสตร์  เหนือมากเลย  วิทยาศาสตร์พิสูจน์เรื่องอดีตไม่ได้  แต่พิสูจน์ได้ด้วยวัตถุเห็นไหม  ด้วยพวกวรรณคดี  เรื่องอายุเขาพิสูจน์ได้  แต่ที่พิสูจน์ทางจิตวิญญาณไม่ได้  ไม่ได้หรอก

ทีนี้เวลาอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์  ธรรมะอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์เพราะอะไร  เพราะเพื่อให้เราเข้าใจกัน  ให้เราเข้าใจกันว่าฟังธรรมะ แล้วมันจะได้สะเทือนหัวใจ  ความสะเทือนหัวใจนั่นล่ะธรรม  ความสะเทือนหัวใจ  หัวใจคือความรู้สึก  นั่นสะเทือนหัวใจเห็นไหม  พอสะเทือนหัวใจ  พูดธรรมะออกไป  หัวใจแต่ละหัวใจสะเทือนเท่ากันไหม  แล้วฟังธรรมะเหมือนกันนะ  ครั้งนี้มันสะเทือนหัวใจมาก  ครั้งต่อไปทำไมไม่สะเทือนหัวใจเลย  ทำไมมันไม่สะเทือนล่ะ  นี่คือค่าของธรรม  เพราะมันลึกไปเรื่อยๆ  ธรรมะเห็นไหมเวลาพูดถึงที่ว่า  เขาพูดเป็นวิทยาศาสตร์  มันไม่พูดเป็นธรรม  ถ้าพูดเป็นธรรมนะ  เห็นไหมโลกกับธรรมไม่ใช่อันเดียวกัน

  เราป่วย  เราไปโรงพยาบาล  โรงพยาบาลนี่เป็นโลก  เป็นโลกหมายถึงว่าเป็นวิทยาศาสตร์ไง  เราป่วยใช่ไหม  เราก็ต้องไปโรงพยาบาลรักษาใช่ไหม  ถ้าเป็นธรรมล่ะ  เป็นธรรม จิต  เราไปโรงพยาบาลทำไม  เราไปโรงพยาบาลเพราะเราป่วยแล้วใช่ไหม  เรื่องของร่างกายหน้าที่ของหมอ  แล้วหัวใจเราล่ะ  คนเราเกิดมา ความตายเป็นธรรมดา  ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา  ความป่วยเป็นธรรมดา  ทุกอย่างเป็นธรรมดา  ธรรมดาแล้วไปหาหมอทำไมก็มันเป็นธรรมดา  แต่โลกใช่ไหมโรคเขาก็รักษาได้  โลกเขาแก้ไขได้   เราก็ไปทางโลก 

แต่ธรรมะนะ  มันเสื่อม  ทุกอย่างเสื่อมค่าเป็นธรรมดา  ถ้ารักษาหัวใจนี้ได้  หลวงตาสอนประจำ  เวลาใครเจ็บไข้ได้ป่วยให้เจ็บคนเดียว  แต่พวกเราเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย  เจ็บสองคน  ร่างกายก็เจ็บไข้ได้ป่วย  หัวใจก็วิตกกังวล  หัวใจก็ทุกข์ร้อน  หัวใจก็ป่วยไปด้วย  ถ้าหัวใจไม่ทุกข์ร้อน  หัวใจไม่วิตกกังวล  ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย  หัวใจรับรู้ตามความเป็นจริง  หน้าที่ของหมอเขารักษาร่างกายเรา  เราต้องรักษาหัวใจของเรา  ถ้ารักษาหัวใจของเราเห็นไหม  หมอรักษาเราหมอก็รักษาง่าย

ถ้าเราไม่รักษาหัวใจของเรา  หมอรักษาเรา  หมอก็ต้องพยายามให้กำลังใจเรา  ต้องบอกเราเห็นไหม  ป่วยสองคน นี่โลกกับธรรม  แม้แต่เจ็บไข้ได้ป่วย  การรักษานี่เป็นโลก  แต่ธรรมะเรารักษาใจเรา  รักษาใจเราให้เรารู้จักว่าใจเราว่า  ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา  แล้วเราประมาทกับชีวิตไหม  เราจะตั้งใจไหม  เห็นไหม  ธรรมะมันลึกซึ้งกว่า  ถ้าธรรมะอย่างนี้มีโรงพยาบาลไว้ทำไม  ก็ยุบโรงพยาบาลทิ้งไปเลยสิ  นี่ก็พูดแบบโลกๆ  เห็นไหม  พูดแบบโลก  โรงพยาบาลนี่เขารักษาได้  เขาแก้ไขได้  เรื่องร่างกายก็แก้ไขไป

 แต่ถ้าใครมีธรรมะในหัวใจนะ  ไปโรงพยาบาล  เราก็ไปรักษาร่างกาย  เพราะเราไม่ใช่หมอ  เราต้องให้หมอรักษา  แต่เรารักษาใจเรา  แต่ทุกคนต้องตายเป็นธรรมดา  รักษาใจดูใจของเรา  โลกกับธรรมอยู่ด้วยกัน  ถ้าใครเข้าถึงธรรม  เขาจะมีธรรมในหัวใจ  โลกกับธรรมอยู่ด้วยกัน 

องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเดินไปตายนะ  จะเดินไปปรินิพพาน  นายจุนทะถวายข้าวมื้อสุดท้าย  สูกรมัททวะ อาหารที่ย่อยยาก  พระพุทธเจ้าฉันแล้ว  พระพุทธเจ้ารับประเคนแล้วบอกนายจุนทะ  “จุนทะอาหารนี้ภิกษุฉันแล้วมันย่อยยาก  เราไม่เห็นว่ามีใครควรฉันอาหารอย่างนี้เลย  ฉันเข้าไปแล้วเขาจะเกิดเป็นโรคท้องได้  เราตักอาหารจุนทะ  จุนทะเธอเอาไปฝังดินกลบดินเถอะ  อย่าให้ใครฉันเลย” แล้วพระพุทธเจ้าก็ฉันองค์เดียว  พอฉันแล้วท่านก็เป็นโรค ถ่ายท้องมาก  สุดท้ายแล้วท่านกลัวว่า  ประชาชนลูกศิษย์จะติเตียนจุนทะไง  ท่านจึงสั่งพระอานนท์ไว้  “อานนท์  อาหารของเราสองคราว  คราวหนึ่งที่มีบุญมากที่สุด  คือคราวที่นางสุชาดาถวายอาหารเรา  เราฉันอาหารของนางสุชาดาแล้ว  เราถึงซึ่งกิเลสนิพพาน ชำระกิเลสหมด  แล้วอีกคราวหนึ่ง  เราฉันอาหารของนายจุนทะ  เราถึงซึ่งขันธนิพพาน”

  อาหารที่มีบุญมากมีอยู่สองคราว  คราวหนึ่งคือพระพุทธเจ้าฉันของนางสุชาดา  กับฉันของนายจุนทะ  “อานนท์  เธอจงบอกประชาชน  อย่าให้ประชาชนเขาวิตกกังวลว่า  เพราะเราฉันอาหารของนายจุนทะแล้วเราต้องปรินิพพาน  ประชาชนเขาจะไปเพ่งโทษนายจุนทะ”  บอกป้องกันไว้เห็นไหม  แล้วพระพุทธเจ้าจะเดินไปปรินิพพานไง  คนเราจะเดินไปตายนะ  เทศน์ไปตลอดทางเลย  สอนคนตลอดทาง  สุภัททะปริพาชกเห็นไหม  คนจะตายอยู่แล้วนะ  เพราะจะเข้ามาถามปัญหา  พระอานนท์กันไว้เลย  “อานนท์  ปล่อยเข้ามาเถิด  เรามาก็เพื่อเขาคนหนึ่ง”  อานนท์ปล่อยเข้ามา  สุภัททะก็เข้าไปถามปัญหา  เป็นพราหมณ์ไง  บอกว่าศาสนาไหนก็ว่าดี  ศาสนาไหนก็ว่าดี  เขาเป็นพราหมณ์  เขาเป็นคนที่ฉลาดมาก  เขาไม่เชื่อใครง่ายๆ ไง

ทีนี้พระพุทธเจ้าจะนิพพาน  ข่าวก็ออกไป  ก็รู้อยู่แล้วถ้าไม่ถามคราวนี้ก็อด  ก็เข้ามาถาม  พอเข้ามาถาม  พระพุทธเจ้าบอกว่า  เธออย่าถามให้มากไปเลยสุภัททะ  เพราะเวลาของเรามีน้อยเห็นไหม  ศาสนาไหนไม่มีมรรค  มรรค    ดำริชอบ  งานชอบ  เพียรชอบ  ระลึกชอบ  สติชอบ  สมาธิชอบ  ถ้าศาสนาไหนไม่มีมรรค ๘  ศาสนานั้นไม่มีผลหรอก  ไม่มีรอยเท้าบนอากาศ  เธออย่าถามให้มากไปเลย  สุภัททะบวช  พระอานนท์บวชให้  แล้วเดินจงกรมคืนนั้นเลย  คืนนั้นสุภัททะเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา  จะบอกว่าคนจะตาย  คนจะตายทำประโยชน์ตลอดเวลา  ไม่ตื่นเต้นไปกับความเป็นความตายของตัวเลย  เราว่าจะตายนะ  โอ้โห นอนไม่หลับ ทำอะไรไม่ถูกแล้ว  นี่คนจะตายนะ ยังทำได้ทั้งนั้น  นี่พูดถึงถ้าใจมันเป็นธรรมเห็นไหม  โลกกับธรรม  จะตายอยู่แล้วยังทำประโยชน์ตลอดเวลา 

เวลาพูด โลกกับธรรมนะ  พูดเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน  คนที่เป็นธรรมฟังออกฟังรู้  แล้วจะบอกว่าผิดเพราะอะไรบอกมาสิ  ก็ผิด พูดผิด  พูดคำเดียวกันแต่ผิด  เด็กมันพูดเหมือนกัน  ผู้ใหญ่พูดถูก  เด็กพูดผิด  ถ้าเราบอกว่า  เอ้าดำหรือขาวผิด  เขาจะบอกว่าดำผิด  ขาวถูก  เขาจะบอกว่าขาวๆๆ  เขาจะไม่พูดถึงดำเลย แต่เราบอกว่า ดำผิดขาวถูก  พอเขาพูดขาว  เราว่าขาวก็ผิดอีกล่ะ  เพราะเขาไม่รู้ว่าสีขาวคืออะไร  เขาพูดว่าขาวๆๆ  แต่เขาไม่รู้ว่าสีขาวคือสีอะไร  แต่ถ้าคนรู้ว่าสีขาวสีดำเห็นไหม  สีดำก็ถูก  สีขาวก็ถูก  สีดำก็ใช้ประโยชน์อย่างหนึ่ง  สีขาวก็ใช้ประโยชน์อย่างหนึ่ง  ใช้ประโยชน์กับสิ่งที่ถูกต้อง  มันก็ถูกทั้งนั้น

ถ้าคนถูกพูดจะถูกหมด  คนผิดพูดอะไรก็ผิดหมด  แต่นี่คนผิดมันเป็นตรรกะใช่ไหม  ตรรกะที่เราเข้าใจง่าย  เรารู้ง่าย  แล้วมันก็เป็นไปตามนั้น  แต่ถ้าเป็นความจริงนะ  เราทำของเราอย่างนี้  เวลาความจริงเกิดขึ้นมาเห็นไหม  เราเห็นกาย  เราเห็นอะไรก็แล้วแต่  เราเห็นแล้วเราเข้าใจได้ไหม  มันสะเทือนใจนะ  น้ำตาไหลเลยล่ะ  บางทีโอ้โหย สะเทือนหัวใจมากเลย  แต่ออกมาแล้ว  เอ๊อะ  ไม่รู้ว่าอะไรนะ  ไม่รู้  มันไม่รู้เรื่องโลกไง  แต่มันรู้เรื่องหัวใจไง  มันรู้เรื่องสะเทือนหัวใจไง  แล้วมันจะขวนขวายนะ  มันจะทำคุณงามความดี  เราจะบอกว่าคุณงามความดีของหัวใจนะ  เงินทองซื้อไม่ได้  มันคนละดีกันไง  ถ้าดีของโลก  มันจะได้มีผลประโยชน์  มันจะดีของมันเห็นไหม  อำนาจเห็นไหม  มีลาภ  เสื่อมลาภ  มียศ  เสื่อมยศ  มีคู่กับไม่มีทั้งนั้นเลย 

แต่เวลาเราไปเห็นธรรม  คือไปเห็นนิมิต  ไปเห็นความรู้สึกต่างๆ   เห็นธรรม  คือธรรมอย่างหยาบๆ  แต่พอเห็นแล้วมันสะเทือนอะไร  มันสะเทือนหัวใจมาก  ธรรมสังเวช  เห็นธรรมะ  แล้วจิตใจมันสะเทือนมาก  มันสังเวชมาก  อารมณ์ความรู้สึกความสังเวชอย่างนี้นะ  ถ้าเราทรงอันนี้ได้นะ  เราจะเป็นคนดีตลอดไป  เราจะไม่คิดเรื่องที่ไม่ดีๆ เลย  จะคิดทำไมเรื่องที่ไม่ดี  เพราะอารมณ์อย่างนี้มันสุขมาก  มันมีคุณค่ามาก  แต่มันอยู่กับเราไม่ได้นาน 

มันอยู่ไม่ได้เพราะอะไร  เพราะอารมณ์จะเกิดขึ้นมา  เพราะมันมีเหตุ  เหตุทำให้เกิดความรู้สึกอย่างนี้  เหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างนี้  เพราะเรากำหนดพุทโธๆๆ เห็นไหม  พอจิตสงบไป  มันรู้มันเห็นของมัน  มันมาจากเหตุ  ทีนี้พอมาจากเหตุ  เราต้องการอารมณ์ความรู้สึกอย่างนี้  เพื่อเป็นอาหารของเรา  เราต้องกลับมาที่เหตุ  ตั้งสติไว้  แล้วพยายามทำ  พยายามทำของเราขึ้นมา  สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วนี่ได้พิสูจน์ว่า  สิ่งนี้เกิดขึ้นมา  สิ่งนี้มันเกิดขึ้นมากับเราใช่ไหม  เราก็ทำของเรา  รักษาที่เหตุ

เราจะบอกเลยนะ  เงินทองของเรา  เราไม่ได้ปั๊มเงินทองนะ  เราทำงานแล้วเราได้เงินทองนี้มา  แต่ถ้าสมมุติเราเป็นคนขี้โกง  เราไม่ทำงานเลย  เราจะซื้อเครื่องปั๊มมาปั๊มแบงก์  เราโดนจับทันทีเลยล่ะ  ใช่ไหม  คนเราหาเงินหาทองไม่ใช่ไปหาแบงก์นะ  เขาไปทำงานแล้วแลกเปลี่ยนได้แบงก์นั้นมา  ไม่ใช่ไปพิมพ์แบงก์มา  ทำงานแล้วได้แบงก์มา

นี่ก็เหมือนกัน  เราจะได้เห็นนิมิต  เราจะเกิดจิตสงบขึ้นมา  เราต้องลงทุนตั้งสติเห็นไหม  ตั้งสติแล้วกำหนดพุทโธคำบริกรรม  แล้วจิตสงบ  จิตไปรู้ไปเห็นเห็นไหม  มันมีเหตุมีปัจจัยมา  มันถึงก้าวเดินมาจนเป็นผลเห็นไหม  ผลที่จิตเราสงบ  ผลที่เรารู้เราเห็นมันเกิดจากอะไร  นี้มันไม่มีเหตุ  เหตุมันไม่เป็นธรรม  ผลที่เกิดขึ้นมาจินตมยปัญญาเห็นไหม  หรือการศึกษา  เราไปศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้า  เราไม่ได้ศึกษาธรรมของเรา  ไม่ไช่รู้ขึ้นมาจากหัวใจของเรา 

ถ้าเรารู้ขึ้นมาจากหัวใจของเรานะ  อย่างที่เขาใช้ปัญญากัน  เราบอกว่าผิดๆ  อย่างเมื่อวานที่เราไปนี่  พระมาหานะ  เขาก็กำหนดพุทโธเหมือนกัน  แล้วจิตก็สงบเหมือนกัน  ทำไมเราก็ว่าผิด  คือเราบอกว่า  ที่เราพูดว่าสติปัฏฐาน    ผิดเห็นไหม  ผิดเพราะอะไร  ผิดเพราะเรามีอวิชชา  ผิดเพราะเรามีความไม่รู้  พอมีความไม่รู้ขึ้นมา  อย่างเช่นมือเราสกปรก  มือเรานี่เลอะ  ยิ่งเลอะสารพิษนะ  มือเรานี่มีสารพิษไปหยิบอาหาร  อาหารนี่เป็นพิษหมดล่ะ  จิตใจเรามีอวิชชา  รู้อะไรไปก็รู้ผิดหมดล่ะ

แต่ถ้าจิตเราสงบ  ล้างมือสะอาด  พอล้างมือสะอาด  แล้วมือสะอาดไปจับอะไรเข้าเห็นไหมของนั้นก็ถูกหมด  ถ้าทำจิตสงบ  จิตมันมีหลักมีเกณฑ์  เพราะไม่มีอวิชชาบวก  พอไปรู้อะไรเข้า  มันก็ถูกขึ้นมา  ถูกขึ้นมาเห็นไหม  เราบอกสติปัฏฐาน    ที่บอกว่าผิด  ผิดเพราะอะไร  ผิดเพราะมันจินตนาการ  มันเป็นความรู้ผิดทั้งนั้นล่ะ ถ้าสติปัฏฐาน    ผิดนั้น  แล้วเราบอก ที่อันแรกบอกสติปัฏฐาน    ผิดใช่ไหม 

แล้วบอกครูบาอาจารย์อะไรสอนอย่างนี้  นี้มือเราสกปรกใช่ไหม  พอเรามือเราสกปรก  เราจะล้างมือเราให้สะอาด  เราไปล้างมือนี่  ขณะที่เราล้างมือ  มือเราเกลี้ยงหรือยัง  มือเราสะอาดหรือยัง  ยังใช่ไหม  เราล้างอยู่มือเราสะอาดหรือยัง  เราล้างเสร็จแล้วมือถึงสะอาดใช่ไหม  นี่เหมือนกัน  ท่านสอนให้เราล้างมือ  สอนให้เราทำ  แล้วบอกเป็นสติปัฏฐาน    ของพระป่าเห็นไหม 

ถ้ามันเป็นจริง  เราบอกว่าถ้าเป็นสติปัฏฐาน ๔  ที่เป็นสติปัฏฐาน    ที่พระพุทธเจ้าปรารถนา  หรือเป็นสติปัฏฐาน    ที่เป็นจริง  ต้องเป็นพระโสดาบัน  สกิทาคา  อนาคา  โดยความเป็นจริง  ทีนี้สกิทาคา  อนาคา  ที่เขาพูดกันบ่อยว่าจิตของเขาเป็นอย่างนั้น  ไม่เชื่อ  เราไม่เชื่อเลยนะ  แล้วเราอยากจะคุยด้วย  เมื่อวานเราคุยกับพระ  หูย  พูดองอาจกล้าหาญไปเลย  เวลาเราถามขึ้นมานะ  อึ้กเลยนะ  เขาบอกเขาพิจารณาปั๊บ  โห เห็นกายปล่อย  เขากระทืบดินใหญ่เลย 

เราถามว่าแล้วเอ็งกระทืบมันทำไม  เอ็งดูหมากูสิเวลาขี้เสร็จมันก็กระทืบ  งงเลยนะ  อึ้กเลย  เขานึกว่าเขาพิจารณาแล้วเขาไปกระทืบดิน  เขาบอกว่าเขาสะใจนะ  บอกเอ็งดูหมา  เห็นหมาขี้ไหม  พอมันขี้เสร็จมันก็ตะกุยใหญ่เลย  หมากูก็ทำอย่างนั้น  เงียบเลยนะ  นั่นเขาคิดของเขาว่าเขาทำถูกแล้วดีไง  แล้วเขาก็ยึดของเขา

แต่เวลาเราพูดมันไม่มีเหตุผล  ถ้ามีเหตุผลมันอยู่ที่มรรค  อยู่ที่ปัญญากับจิตที่มันสัมปยุต  วิปยุตกัน  จิตนี่มันสัมปยุต  วิปยุตนะ  สัมปยุตนะคืออาการของจิตมันเป็นสมาธิ  มันเป็นปัญญา  มันรวมเข้าไป  มันสัมปยุตเข้าไป  ปัญญาญาณมันหมุนเข้าไป  สัมปยุตเข้าไป  ทำลายชำระกิเลส  มันคายออกวิปยุตคายออก  คายออกมาแล้วเหลืออะไร  พูดไม่เป็นหรอก  แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นมาอย่างนี้  มันต้องมีการฝึก

เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา  ขิปปาภิญญาหมายถึงผู้ที่สร้างอำนาจวาสนาบารมีมามาก  เวลาเกิดอาการเป็นไปตามความสมดุลของมัน  เพราะมันสร้างมาดี  มันจะเหมือนน็อตเลย  น็อตตัวผู้ น็อตตัวเมีย  เกลียวอันเดียวกัน  มันหมุนเข้าไปมันเข้ากันพอดี  มันขันแน่นเปรี๊ยะใช้ได้ประโยชน์เลย  น็อตเกลียวซ้าย เกลียวขวาเอามาจับขันใส่กันนะ  นั่งหมุนทั้งวันเลยไม่เข้า  ไม่เข้า  แล้วน็อตเกลียวหยาบ  เกลียวละเอียด  เอามาใส่กันก็ไม่ได้

นี่เหมือนกัน  วิปยุต สัมปยุต  จิตมันจะมีมรรคของมัน  มันจะเป็นไปของมัน  ขณะจิตที่เป็นแล้วมันคลายตัว  มันจบสิ้นกระบวนการของมันอย่างไร  นี่ไม่เป็นอย่างนั้น  พูดกระทืบดินๆ  เราฟังแล้วเรานั่งขำในใจนะ นั่งขำ  แต่เขา โห ฮึดฮัดๆ เลยนะ  นี่เราจะบอกเห็นไหม  เราไม่ได้บอกใช้ปัญญาทุกอย่างจะผิด  แล้วพุทโธๆ มันจะถูกหมดหรอก  เราบอกสติปัฏฐาน      ถ้าจิตมันยังมีกิเลสอยู่  มันก็ผิดด้วยกันทั้งนั้นแหละ  คำว่าผิด  แต่คนเราฝึกงาน หัดงานมันไม่ผิดมาเลย  มันจะเอาถูกมาจากไหน 

คนเรานะ  ครูบาอาจารย์ท่านดูแล  ขอนิสัย  ขอนิสัยครูบาอาจารย์  ครูบาอาจารย์ท่านปกป้องดูแลพวกเรา  ก็พวกเราอยากจะฝึก อยากจะสอน อยากทำให้พวกเราเป็นงานขึ้นมา  ทำงานเป็นขึ้นมาเพื่อดีขึ้นมา  พอดีขึ้นมา  เดี๋ยวสติปัฏฐาน    ไม่ต้องบอก  ลูกศิษย์จะอธิบายให้ฟังเลย  เป็นอย่างนั้นๆๆ  อาจารย์ก็ฟัง เออถ้าถูกต้อง  อืมๆ  ทำไปเรื่อยๆ นะ  ตบแต่งตรงนี้ให้ดีขึ้น  ทำตรงนี้ให้ดีขึ้น  ตรงไหนบกพร่องก็สร้างขึ้นมา  เดี๋ยวสติปัฏฐาน    สมบูรณ์  พั้วะ  ขาดเลย  สติปัฏฐาน    จะเป็นที่จิตมันสรุปแล้วมันเป็นจริง  นั้นถึงจะเป็นสติปัฏฐาน    ที่สมบูรณ์

แต่สติปัฏฐาน    ของเรานี้เหมือนกับคนพิการ  ก็ยังเดินไม่ปกติ  แต่สร้างมันขึ้นมา  เดี๋ยวสมบูรณ์  เดี๋ยวดีขึ้นมา  จิตเข้มแข็งขึ้นมา จิตดีขึ้นมา  แล้วพูดเหมือนกัน  ถูกต้อง!  แต่ฟังแล้วมันไม่มีเหตุมีผล  มันถึงไม่เป็นไป  นี่อธิบายให้ฟังจากการเห็นกายเนอะ  ถ้าเห็นกายมันเป็นอย่างนั้น  เรายังมีปัญหาอยู่นะ  แต่ยังไม่อยากจะพูด  ต้องรอให้เจ้าของปัญหามาก่อนค่อยอธิบาย 

เดี๋ยววันสองวันต้องมา  เพราะอะไรรู้ไหม  พวกนี้เอาไปเขียนในเว็บไซต์  แล้วพอไปเจอคำถามคำตอบที่มันน่าทึ่งนะ  ตอบไม่ได้นะ  งงนะ  มาหาเรา  เราบอกว่าในคำตอบของเขานั้น  มีข้อบกพร่อง  แล้วจะพูดหรือไม่พูดเท่านั้น  เมื่อก่อนเราไม่พูดนะ  เดี๋ยวนี้ว่าจะพูดไปเรื่อยๆ  จะพูด  เพราะมันสมควรแล้ว  เมื่อก่อนบางอย่างไม่พูด  คำพูดคำเดียวกันนี้แหละ  แต่อีกคนหนึ่งมองเห็นว่าถูก  แต่เรามองเห็นว่าผิด

เห็นว่าผิดเพราะอะไร  เพราะมันพูดไม่ถูกกาลเทศะ  กาลเทศะหมายถึงเริ่มต้นพื้นฐาน  กาลเทศะนะ  การสร้างบ้านไม่ได้สร้างจากหลังคาลงมา  ต้องขุดจากโคนขึ้นไป  การสร้างต้องขุดหลุม  ต้องมีอะไรขึ้นไป  ต้องตั้งฐานขึ้นไป  แต่ถ้าการสร้างบ้าน  สร้างจากหลังคาลงมา  หลังคาเอาลอยไว้ก่อน  แล้วหาเสามาค้ำ  (หัวเราะ)  ที่ว่าผิดมันผิดตรงนี้  มันพูดต่างกันไง  กาลเทศะมันไม่ถูกต้อง 

ถ้าถูกต้อง  มันต้องขุดหลุมเนาะ  ต้องปรับพื้นที่ ต้องสร้างโครงสร้างขึ้นมา   จะมุงหลังคาก่อนก็ไม่เป็นไร  แต่ต้องมีเสาที่มั่นคง  แต่เขาบอกว่าเอาหลังคาลอยไว้ก่อน  แล้วเอาเสามาค้ำทีหลัง  ไอ้ที่เราว่าผิดส่วนใหญ่มันผิดตรงนี้แหละ  ผิดตรงที่มันผิดกาลเทศะ  คำพูดเหมือนกันนี่แหละ  แต่พูดผิดที่ผิดทาง  พูดไม่สมควร  พูดไม่ถูกต้อง  ถ้าคนทำไม่เป็น  มันก็คงไม่เห็น 

แต่ถ้าคนเป็นนะ  พูดทีเดียวรู้เลย  เรื่องผิดถูกมันอยู่ตรงนั้นไง  เริ่มต้นผิดมาทั้งนั้น  นี่พูดให้ละเอียดขึ้นไป  เดี๋ยวจะหาว่าคำพูดไหนผิด  จะยกเอาคำพูดผิดไปคุยให้เขาฟังไง  นี่พูดประสาเรา  เพราะฉะนั้นตั้งใจ  เราพุทโธของเราไปอย่างนี้  พอเราพุทโธไปอย่างนี้ปั๊บนี่  มันเห็นกายหรือไม่เห็นกายนะ  บางทีจิตสงบเข้ามา  มันไม่เห็นกาย  แล้วบางทีเราจะให้พุทโธเป็นสมาธิอบรมปัญญา 

ถ้าเราเป็นปัญญาชน  ส่วนใหญ่ปัญญาชนนี่  มันใช้พุทโธ  มันต้องมีศรัทธา มีความมั่นใจ  ถ้าเราไม่มีความมั่นใจ  เราก็ใช้ความคิด  คำว่าใช้ความคิด  มันเป็นที่หลวงตาสอนว่า  เป็นปัญญาอบรมสมาธิ  เวลาเราคิดไปเห็นไหม  สติตามความคิดไป  ตามความคิดเรานี่นะ  เราคิดเรื่องดีที่สุดเลย  คิดเลยว่ากลับบ้านนะจะซื้อของเอาไปให้แม่  อู้ฮู  ซื้อให้เต็มเลยนะจะเอาใจแม่ไง

  แล้วเราถามซิว่าถูกต้องไหม  ถูกหรือผิด  ทำดีนี่แหละ  คิดเรื่องดีๆ  เอาสติตามไป  เราไม่เคยซื้อของไปให้แม่เลยสักวันหนึ่ง  บทจะคิดดีขึ้นมานะ  วันนี้จะซื้อของไปให้แม่นะ  แม่ตกใจ  แม่ไม่กล้ารับ  เราจะซื้อของไปให้แม่ใช่ไหม  เราก็ไปหาแม่บ้างนะ  ซื้อสิ่งนั้นมาสิ่งนี้มา  ซื้อไปให้แม่  แม่ก็เออคุ้นเคย  ไม่เคยซื้ออะไรเลยนะ  วันนี้นะ แหม ซื้อของขวัญให้แม่เต็มไปหมดเลย  แม่ตกใจเลยนะ  เอ๊ะ วันนี้มันเกิดอะไรขึ้นมา  (หัวเราะ)  วันนี้มันเกิดอะไรขึ้นมา  พ่อแม่ตกใจหมดเลย 

นี่มันจะทำดีก็ทำไม่เป็น  จะเอาใจแม่ก็เอาใจไม่เป็น  เอาใจไม่ถูก  จะเอาใจแม่ทำให้แม่ตกใจ  จะเอาใจแม่ก็ต้อง  เออ ค่อยๆ ทำเนอะ  ทำให้แม่คุ้นเคย  ทำให้แม่ไม่คิดว่า  เอ๊ะวันนี้ลูกมันมาเอาใจนี่มันจะขออะไร  ใช้ปัญญาตามความคิดไป  ใช้ปัญญาตามความคิดไป  เห็นผิดเห็นถูก  มันจะหยุด  จะหยุดนี่คือปัญญาอบรมสมาธิ  แล้วโดยธรรมชาติของมัน  จิตที่คิดอยู่  มันหยุดโดยธรรมชาติของมัน  เราคิดอะไรก็แล้วแต่  พอคิดถึงสุดแล้วนี่มันจะหยุดของมัน  คิดจนเหนื่อยมันก็หยุด  พอมันเพลียมันจะหยุดของมัน  คิดจนสิ้นสุดแล้วสะใจแล้วก็หยุดของมัน  โดยธรรมชาติมันหยุดของมันอยู่แล้ว  แต่เราไม่เคยเห็น  เราไม่เคยได้ผลประโยชน์จากการหยุดนั้น

พอสติมันตามความคิดไป  พอตามความคิดนี้ไป  พอมันเห็นความคิด  ความคิดมันหยุดต่อหน้า  เอ๊อะ  ความคิดก็หยุดได้  พอความคิดหยุดได้  เราเคยเห็นมันหยุดได้  เหมือนเราตามรอยโคไป  พอเราเจอตัวโค  เราจะไม่สงสัยรอยโคเลย  เราไม่เคยเห็นตัวโคเลยนะ  เห็นแต่รอยย่ำเต็มไปหมดเลยนะ  อืม วัดรอยใหญ่เลยนะ  โคตัวใหญ่เท่าไหร่  โอ  ขาหน้าขาหลังมันยาวเท่าไหร่  โอ หนึ่งเมตร  แสดงว่าตัวมันต้องยาวเท่านั้น  วัดอยู่นั่น  ความคิดมันเกิดตลอด  เราไม่เคยเห็นตัวมัน

ถ้าวันไหนเราไปเห็นตัวโคนะ  โอ้โฮ โคตัวนี้นะที่มันเหยียบย่ำรอยไว้เต็มไปหมดเลย  นี่ไงพอเราไปจับความคิดได้นะ อ้อ  ก็ความคิดอย่างนี้ที่มันให้โทษเราตลอดเวลาไง  ความคิดคือรอยมัน  เหยียบย่ำในหัวใจ  มันเหยียบมาตลอดไง  พอไปเห็นปั๊บ  เห็นตัวโคปั๊บ  ไอ้ความคิดหายสงสัยเลย  หายสงสัยในความคิดที่มันคิดกับเรา  หายหมดเลย  พอหายหมดปั๊บนี่  สติมันทันใช่ไหม  พอมันคิดมันทันหมด  นี่คือปัญญาอบรมสมาธิ ที่เขาทำกัน  นี่คือปัญญาอบรมสมาธินะ  ถ้าดูอยู่เฉยๆ เห็นแต่รอยโคก็ตามรอยโคไป  มึงเห็นโคก็ย่ำรอยโคไป  แต่ไม่เคยเห็นตัวโค  ถ้าเห็นตัวโคไม่พูดอย่างนี้

ใครจิตสงบแล้ว  ใครปัญญาอบรมสมาธิเห็นจิตสงบนะ  เอ๊อะ  เฮ้ย  จิตมันสงบได้หรือ  โอ จิตนี้นามธรรมนี้เป็นรูปธรรมเลยหรือ  อู้ฮู จิตเป็นอย่างนี้หรือ  แล้วพอเห็นจิตเป็นอย่างนี้นะ  พอจิตเป็นอย่างนี้สำนึกตน  ตัวตนมี  ตัวตนนี้สามารถทำงานได้  ตัวตนนี้สามารถออกวิปัสสนาได้  จิตเห็นอาการของจิต  ถ้าจิตสงบแล้วจิตเห็นอาการของมัน  คือจิตเห็นความคิดล่ะ  เพราะจิตมันสงบ  จิตเป็นตัวพลังงาน  จิตเป็นตัวพลังงานคือจิตเป็นสถานที่  ตัวภพ  พอตัวภพเห็นปั๊บ  ตัวภพออกไปจากความคิด  ตัวภพ  ตัวเรา 

ตัวเรากับความคิดมันคนละอัน  พอจับได้เอาความคิดมาขึงพืดเลย  มึงคิดทำไม  มึงคิดเรื่องอะไร  ทำไมถึงคิด  โทษนะจับความคิดมาเขกหัวเลย  โอยควบคุมความคิดได้หมดล่ะ  แล้วเปลี่ยนแปลงได้ แก้ไขได้ สิ้นขบวนการ  ความคิดไม่ใช่เรา  เราไม่ใช่ความคิด  คือขันธ์  ๕ ไม่ใช่เรา  เราไม่ใช่ขันธ์ ๕  ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕  พระโสดาบัน  ความคิดมันอยู่ในขันธ์ ๕ ไง  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ตัวสังขารความคิดความปรุงแต่งมันอยู่ในขันธ์ ๕   วิญญาณก็อยู่ในขันธ์      สัญญาคือข้อมูล  ไม่มีข้อมูลก็คิดไม่ได้  ไม่มีสิ่งเปรียบเทียบคิดไม่เป็น  ต้องมีสัญญาก่อนถึงมีสังขาร  มีสังขารต้องมีความรู้สึกเวทนา  มีวิญญาณรับรู้  มันก็เป็นรูปขึ้นมา  พอจับอาการมันได้  มันก็มีการกระทำ  ไอ้นี่ไม่มีอะไรเลยก็พูดกันไปแจ้วๆๆ  ก็รอยโคนั่นไง 

นี่ไงสมาธิอบรมปัญญา  ปัญญาอบรมสมาธิ  ไม่มีสูตรสำเร็จ  ใช้สมาธิอบรมปัญญาก็ได้  ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้  ผลัดกันทำ  คนเรามีสองเท้านะ  เท้าซ้ายและเท้าขวา  คนมีเท้าเดียวมึงเดินไปไม่ได้นะ  เรามีสองเท้า  เท้าซ้ายก้าวไป  ต้องก้าวเท้าขวาไป  ยกเท้าซ้ายก้าวไป  ยกเท้าขวาก้าวไป  มันถึงพัฒนาไป  จิตก็เหมือนกัน  ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้  ใช้สมาธิอบรมปัญญาก็ได้  เราใช้คำว่าก็ได้  คำว่าก็ได้คือเราเปลี่ยนเท้า  เราเปลี่ยนการก้าวเดินไป  มันจะก้าวเดินไปข้างหน้า  มันจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ  มันจะเป็นไปได้  ไม่ใช่ว่ามัดเอามาเลยนะ  วิ่งกระสอบไง  เอากระสอบใส่แล้วกระโดดไป  จับเท้ามัดให้หมดเลยนะ  กูต้องเดินอย่างนี้  กูต้องเป็นอย่างนี้  ก็กลิ้งไปไง  ไอ้กลิ้งไปนี่มันยังไปได้นะ  แต่ภาวนานี่มันไปไม่ได้  มันไปไม่ได้หรอก

พูดแล้วบางทีมันเศร้าใจนะ  เพราะอะไรรู้ไหม  เพราะประสาเราแล้ว  คนที่รู้จริงมันน้อยแต่คนรู้จริงมี  เพราะฉะนั้นคนที่พูด  เขาจะกลัวคนรู้จริง  เพราะคนรู้จริง  เหมือนมวยมันรู้ทางแก้  นักมวยดูสิ นักมวยที่เขาเป็นแชมป์ๆ นี่  เขาต่อยแต่ละคราวเขาต้องเอาเทปอันเก่ามาศึกษา  เขาจะแก้ทางมวยกันอย่างไร  ที่เขาเป็นแชมป์ๆ กันเขาต้องแก้ทางมวยนะ  แก้ทางมวยให้ถูก  แล้วแก้ทางมวยถูกทีเดียวนะเขาชนะเลย  แล้วเขาแก้นี่มันอยู่ที่ปัญญาไง 

ไอ้ภาวนานี่ก็เหมือนกัน  จะเอาแต่สูตรสำเร็จๆ  มันเป็นไปไม่ได้หรอก  มันต้องแก้ มันต้องมีวิธีการเอาชนะตัวเองให้ได้  คราวนี้ทำไมแพ้ตัวเอง  คราวนี้ทำไมจนมุมกับมัน  แล้วจะหาทางต่อสู้ยังไง  โอ้โฮ  ใช้เปรียบเทียบ ใช้ความคิด ใช้ต่อสู้นะแล้วเราจะทำของเราได้ 

ฉะนั้นการเห็นอย่างนั้น  เห็นนิมิต  เห็นกาย  ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว   แต่..  แต่มันเป็นเมื่อวานนี้  เมื่อวานนี้มีได้ก็เป็นคติให้เราได้เปรียบเทียบ  แต่เมื่อวานนี้มันจะไม่มีประโยชน์อะไรกับเราเลยนะ  เราจะมีวันนี้กับพรุ่งนี้นะ  เมื่อวานนี้มันก็เป็นเพียงแต่เราเปรียบเทียบว่า  เมื่อวานเราทำผิด  ทำดีหรือทำชั่ว  ถ้าเราทำแล้วถ้าสิ่งที่ดี เราก็เอานี่เป็นตัวอย่าง  คือเราจะบอกว่าเป็นอดีตไปแล้ว  อย่าไปวิตกกังวล

ทำปัจจุบันนี้ให้ดีที่สุด  เราจะมีแต่ปัจจุบันนี้กับอนาคตนะ  อนาคตเรามีโอกาสนะ  แต่เมื่อวานนี้ได้แต่คิดแล้วเสียใจไง  เมื่อวานทำผิด  เมื่อวานทำผิด  นั่งเสียใจอยู่คนเดียว  แล้วทำอย่างไรล่ะก็เป็นเมื่อวานนี้  เรามีโอกาสไปแก้ไขมันไหม  มีอย่างเดียวทำผิดก็ไปขอโทษเขา  นี่เรามีปัจจุบันนี้กับอนาคต  ฉะนั้นก็คือสิ่งที่เห็นแล้วก็เห็นไป  แล้วตั้งสติไว้  แล้วทำต่อๆ ไปเนาะ 

ใครมีอะไรอีกไหม  เดี๋ยวกลับไปบ้านแล้วจะเสียใจที่ไม่ได้ถามนะ  จบเนอะ  เอวัง