เทศน์เช้า

ความเห็น

๑๖ ธ.ค. ๒๕๔๔

 

ความเห็น
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๔
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ความเห็นนะ ความเห็นของพวกเรานี่ ความเห็นของคนแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน พอเห็นแล้วนี่ นักวิชาการศึกษามากความเข้าใจมาก ต้องเกี่ยวกับวิชาการ วิชาการเกี่ยวกับหนังสือนะ หนังสือนี่ที่ว่าเป็นทางผ่านของวิชาการ ถูกต้องเลย แต่หนังสือนี่การศึกษาขนาดไหน มันเป็นสมบัติของคนอื่น

การยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งนั้น เห็นไหม การยึดมั่นถือมั่นกับวิชาการ สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา แต่คนก็ไม่เข้าใจ คนเข้าใจว่าต้องศึกษาให้เข้าใจให้ได้ ถ้าศึกษาเข้าใจให้ได้แล้วค่อยประพฤติปฏิบัติมันจะง่ายเข้า มันง่ายต่อเมื่อเป็นวิชาการนี่ความลังเลสงสัย ความลังเลสงสัยระดับหนึ่ง แต่ความลังเลสงสัยอันละเอียดมันแก้ไขไม่ได้ มันแก้ไขเรื่องกิเลสไม่ได้

พระพุทธเจ้าถึงได้วางปัญญาไว้ ๓ ขั้นตอน สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา การศึกษาแล้วเอาไปใคร่ครวญนั้นเป็นจินตมยปัญญา แล้วมันจะเกิดความรู้อีกอันหนึ่งขึ้นมา แต่เพราะความไม่กล้าปล่อยวาง ไม่กล้าปล่อยวางเพราะอะไร? เพราะตัวเองยังไม่แน่ใจไง ถ้าความแน่ใจของตัวเองมันแน่ใจไม่ได้ มันจะสงสัยตลอดไป ถ้าความสงสัยตลอดไป คิดว่าจะแก้ความสงสัยนี้ด้วยวิชาการ ด้วยการศึกษา ด้วยการอ่านตำรา เป็นไปไม่ได้ วิชาการนี่มันจะแตกแขนงออกไปๆ แล้ววิชาการใหม่มันจะเกิดขึ้นมาตลอดเวลา วิชาการใหม่นะ แต่วิชาการในศาสนาพุทธนี้ไม่มีใหม่ หลักการในพระไตรปิฎกนี้เสมอต้นเสมอปลายแล้วจะไม่มีใหม่อีกเลย แต่ความเห็นของเรามันแตกแขนงออกไปเอง

พระไตรปิฎกเป็นหลักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม แล้วธรรมออกมาอย่างนั้น พระศรีอริยเมตไตรยก็จะมาตรัสอันเดียวกัน มันตรัสอริยสัจเหมือนกัน อริยสัจอันนี้มันจะเป็นความจริงตลอดไป ตลอดไปเลย แต่เพราะความว่าวิชาการมันตีแขนงไป มันเลยพร่ำเพรื่อ มันเลยฟั่นเฝือไง ความฟั่นเฝือของเราคือฟั่นเฝือของกิเลส ความฟั่นเฝือของการวิเคราะห์วิจัย การฟั่นเฝือของการตีความ การตีความจะตีความผิดไป แล้วมันตีความได้ตลอดไปเพราะอะไร

เพราะมันเปรียบเทียบได้ตลอดไป เรารู้สิ่งใดใหม่ๆ ขึ้นไป มันจะเอาสิ่งนั้นมาเทียบเคียงได้ มันจะออกไปขนาดนั้น แล้วมันจะออกไปเรื่อยๆ ของมัน ไปของมันตลอดไปแล้วไม่มีวันจบสิ้น แล้วก็จะสงสัยอย่างนั้น แต่! แต่เราคิดว่าวิธีการอย่างนี้คือการแก้ความสงสัยไง แล้ววิธีการที่ถูกต้องด้วย เพราะอะไร? เพราะเป็นวิชาการ เป็นวิชาการที่ว่าเป็นยึดมั่น กิเลสมันหลอกไง มันหลอกว่าถ้าสิ่งนี้เชื่อไม่ได้แล้วจะเชื่ออะไร ต้องเชื่อสิ่งนี้ก่อน เชื่อผู้รู้ไง แล้วผู้รู้จดจารึกออกมาแล้วอ่านตามของผู้รู้นั้น

เหมือนกับเราชุบมือเปิบไง แต่ความชุบมือเปิบอันนั้นมันก็เป็นความเห็นของเรา เป็นความเห็นของเรากับความเห็นของเขามาประจวบกัน ว่าจะเข้ากันได้ไหม แต่ความเห็นอันนี้มันก็เคลื่อนออกมา มันไม่ใช่การลงมือภาคปฏิบัติ ถ้าภาคปฏิบัติคิดว่ามันจะต้องปฏิบัติ แต่ต้องรอเวลาก่อน อันนี้ถึงว่าความเห็น ถ้าความเห็นอย่างนี้ขึ้นมาแล้ว เราก็เหมือนกัน ถ้าเรามีความเห็นอย่างนั้น เราอ่านแล้ว เราศึกษาขนาดไหน เราศึกษาเข้าไป ความเห็นของเราก็จะเป็นความเห็นของเราไป ความเห็นของเราก็ยึดอยู่อย่างนั้นไง

ความยึดของความเห็น อินทรีย์ไม่แก่กล้า ถ้าอินทรีย์แก่กล้ามันจะปล่อยวางความเห็นอันนั้นเข้ามา ความเห็นอันนั้นมันต้องปล่อยวางเข้ามาๆ แล้วลงมือภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติ เห็นไหม จินตมยปัญญามันจะเกิดขึ้น มันใคร่ครวญเกิดขึ้น ใคร่ครวญเกิดขึ้นนั่นล่ะความเห็นของเรา ความเห็นของเราคืออาหารของใจ ใจได้ดื่มกินอาหารอันนั้น แต่ถ้าความเห็นของวิชาการนั้น เป็นอาหารของคนอื่น แล้วเรายืมมา เรายืมมาของเราเฉยๆ ยืมมาแล้วเราก็ใคร่ครวญของเราไป ใคร่ครวญไปๆ มันจะเป็นไม่เป็นมันอีกเรื่องหนึ่ง เห็นไหม

ความเห็นของความคิด ความคิดต่างๆ ความเห็นของความคิดกับความเห็นตามความเป็นจริง ความคิดเป็นขันธ์ ความเห็นของความคิดมันคิดแตกแขนงออกไป ความเห็นไปเรื่อย นั่นล่ะมันถึงต้องปฏิบัติ พอปฏิบัติขึ้นมามันถึงเนื้อของใจ มันจะมีความสงบเข้ามา จิตนี้สงบผ่องแผ้วเข้ามาๆ แล้วจิตนี้เป็นไป พระพุทธเจ้าต้องการตรงนี้ไง พระพุทธเจ้าสอนตรงนี้

ถึงว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น ถ้าความเห็นของเราเป็นแบบนั้นมันจะยึดของเรา นั่นล่ะอินทรีย์ไม่แก่กล้า ถึงว่าธาตุขันธ์ไง ความเข้ากันด้วยธาตุ ถ้าธาตุเป็นอย่างนั้นจะเป็นไปด้วยธาตุ แล้วธาตุนี้มันต้องเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงของธาตุ เห็นไหม ความเปลี่ยนแปลงของความเห็น แต่จริตนิสัยมันจะเป็นอยู่อย่างนั้น มันแก้ไขไม่ได้ แต่ความเห็นอันนี้มันย้อนกลับมา ย้อนกลับมาถึงตัวเรา ถ้าเรามีความคิดอย่างนี้เราต้องใคร่ครวญของเรา ความคิดของเรากับความคิดของเขา ประสบการณ์ของใครของมันนะ มันดัดแปลงไง น้ำไปตามน้ำ น้ำมันไปตามน้ำมัน มันจะแยกกันอยู่อย่างนั้น แล้วจะปรับอย่างไรให้มันเข้ากันได้ ถ้ามันเข้ากันได้ไง เข้ากันได้นั่นคือวิธีการ

วิธีการในการประพฤติปฏิบัติ ทำความสงบของใจ ใจมันสงบได้ ใจสงบไม่ได้ สงบได้ ถ้าวิชาการมันไม่ปล่อยมันจะสงบตรงไหน มันติดตรงนั้นมันจะปล่อยเข้ามาได้ยังไง ในเมื่อมันติดตรงนั้น มันหยาบนี่ ความหยาบของเราแต่เราเข้าใจว่าละเอียดเพราะอะไร? เพราะเราไม่เคยพบเห็นสิ่งนี้ไง พอศึกษาเข้าไปนี่ มันเป็นไปได้ยังไง ความเห็นอย่างนี้เป็นยังไง ทำไมเราพึ่งรู้ เราเข้าใจอย่างนี้ได้ยังไง

เห็นไหม นั่นล่ะมันคิดว่าความละเอียดอ่อนของมัน ใจที่พบเห็นมันคิดว่าความละเอียดอ่อน แต่ความจริงมันยังเป็นความหยาบอยู่เพราะอะไร? เพราะมันเป็นของยืม เป็นของคนอื่น เห็นไหม แต่ความเห็นของตัวรู้อย่างนี้ได้ยังไง รู้นั่นคือรู้สมบัติของคนอื่น แล้วที่ว่ามันทำเนื้อของใจ ความศรัทธาของเรามันปล่อยวางอย่างนี้ได้อย่างไร นั่นล่ะความปล่อยวาง ความเข้าใจ ความลิ้มรสของใจมันรู้ได้อย่างไร มันรู้ได้อย่างนี้มันรู้ได้ภาคปฏิบัติ เห็นไหม ภาคปฏิบัติเข้าไปแล้ว ปฏิบัติเข้าไปแล้วนี่มันจะให้ศึกษาแล้วจะไม่ให้ผิดเลยนี่มันเป็นไปไม่ได้ การตีความยังผิด แล้วพอเราศึกษามาขนาดไหนมาปฏิบัติ เห็นไหม

พระสารีบุตรมีปัญญามาก เห็นไหม มีปัญญามากยังต้องใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญอีก ความใคร่ครวญของพระสารีบุตร ถึงได้ ๑๕ วัน เห็นไหม พระโมคคัลลานะ ๗ วันเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา พระสารีบุตร ๑๕ วันถึงจะได้เป็นพระอรหันต์เพราะว่าความใคร่ครวญ แล้วเวลาพระพุทธเจ้าเทศน์ก็ไม่ได้เทศน์สอนพระสารีบุตรซะด้วย เทศน์สอนหลาน เห็นไหม แต่ตนเองได้ธรรมะอันนั้นเข้ามา เพราะมันดึงเข้ามา มันดึงเข้ามา นี่ปัญญามากมันเป็นแบบนั้น

นักวิชาการเราไม่เชื่อใครไง จะไม่เชื่อใคร คิดว่าตำรานั้นถูกต้อง แต่ตำรานั้นถ้าพิมพ์ผิดนะ ความเห็นของคนผิด แต่ถ้าตำราพระไตรปิฎกไม่ผิด ไม่ผิด แต่มันก็ผิดในการตีความของเรา พระไตรปิฎกนั้นไม่ผิดหรอก แต่การตีความของเราผิด เพราะเราตีความผิด เห็นไหม ผู้ใดเห็นธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เราไม่สมควรแก่ธรรม ความเห็นของเราธรรมะนั้นสมควร แต่ความเห็นของเราไม่สมควร เห็นไหม ความเห็นเราไม่สมควรเราก็จับต้องสิ่งนั้น เราจับต้องสิ่งนั้นแล้วพิจารณาสิ่งนั้นเข้าไป ความเห็นของเราผิด มันถึงไม่เข้าหลักของธรรม ถ้าเข้าหลักของธรรมความเห็นของเราก็ถูกต้อง

ธรรมะที่เราเห็นจริง เห็นไหม สิ่งที่เราเห็นจริงเราจับต้องได้จริง มันเป็นความเห็นของเรา ถ้าความเห็นของเราจริง มันจะจริงเหมือนกัน แล้วมันจะไปถึงอันเดียวกัน นี่เข้าถึงทางมันต้องเข้าเหมือนกัน เข้าถึงทางเข้าถึงจุดหมายแล้วมันจะได้ลิ้มรสเหมือนกัน ลิ้มรสเหมือนกันแล้วความละเอียดอ่อนเข้าไปๆ นี่เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป มันจะพัฒนาขึ้นไปๆ ถ้าไม่พัฒนาขึ้นไปมันก็ติด นี่ความติด เห็นไหม รู้แล้วก็ยังติด ไม่รู้ก็สงสัย ไม่รู้สงสัยก็กลัวตัวเองจะผิดพลาด

นี่ความผิดพลาดนี่มันจะปฏิเสธไม่ได้ มันต้องยอมรับความผิดพลาด ความผิดพลาดอันนั้นจะเป็นครูสอนเรา สอนในใจของเรา ถ้าเราไม่มีใครสอนนะ ความผิดพลาดอันนี้มันจะให้ผลในการผิดพลาด แล้วพอผิดพลาดมันจะเสื่อมออกไป แล้วมันให้ผลมา มันไม่เป็นตามความเป็นจริง ไม่ตามความเป็นจริงนี่แล้วมันจะคลายตัวออกมา แล้วมันจะมีความรู้สึกของใจ ใจมันหลอกกันไม่ได้ นี่ปัตจัตตัง รู้จำเพาะตน เห็นไหม รู้จำเพาะตนทั้งความผิดและความถูกด้วย ความเร่าร้อนของจิตมันก็เป็นไปความเร่าร้อนของจิต

แต่กิเลสมันหลอกให้มีความสงบได้ กิเลสมันจินตนาการขึ้นมาได้ มันสร้างความสะสมขึ้นมาได้ มันสร้างความเป็นไปอันนั้นให้มันเป็นไป พอกิเลสมันสร้างให้ความเป็นไป เราก็เป็นไปตามกิเลสอันนั้น ความเป็นไปกิเลสอันนั้นเราไม่รู้ กิเลสอย่างละเอียดมันหลอก เห็นไหม มันสร้างให้เวิ้งว้างขนาดไหนก็ได้ สร้างให้ว่างขนาดไหนก็ได้ สร้างหลักการขึ้นมาแล้วปล่อยวางหลักการนั้นก็ได้ หลักการ เห็นไหม หลักการขึ้นมา...

คำว่าปล่อยวางแล้วคือเราปล่อยวาง แต่มันพยายามสิ่งที่สร้าง แต่มันเข้าไปเห็นหลักความจริงมันถึงว่าสติปัฏฐาน ๔ เห็นไหม กิเลสมันสร้างไม่ได้ กิเลสมันสร้างเวทนาขึ้นมาไม่ได้ กิเลสมันสร้างกายไม่ได้ กิเลสมันสร้างธรรมารมณ์ ความจิตนี้มันสร้างไม่ได้ สิ่งนั้นกิเลสมันอาศัยใช้ต่างหาก อาศัยสิ่งนี้หลอกลวงไปแล้วเราจับสิ่งนี้พิจารณา คือจับเหตุที่มันอาศัย จับของที่มันอยู่อาศัยพิจารณาใคร่ครวญมัน ใคร่ครวญในตัวของมัน เห็นไหม มันโดนความสะอาดเข้าไปชำระล้างแล้วมันต้องหลุดออกไปจากสติปัฏฐาน ๔ เห็นไหม กาย เวทนา จิต ธรรม มันก็มีอยู่ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ก็มีอยู่ ผู้ที่สำเร็จแล้วมันก็มีอยู่อย่างนั้น แต่มันถึงว่าผู้ที่สกปรก ถ้าผู้ที่ยังไม่ชำระ มันสกปรกด้วยกิเลสที่ว่ามันอาศัยสิ่งนี้ออกหากิน กับผู้ที่ชำระแล้วมันสะอาดเหมือนกัน

เห็นไหม กิเลสมันหลุดออกไปจากตรงนั้น กิเลสมันออกไปจากสติปัฏฐาน ๔ กิเลสมันกลั่นออกมาจากอริยสัจ สิ่งพวกนี้เป็นสมมุติทั้งหมด ถ้าวิมุตตินะเข้าใจสิ่งนี้แล้ววางสิ่งนี้ไว้ตามความเป็นจริง วางไว้ตามความเป็นจริงถึงจะปล่อยวางสิ่งนั้นเข้ามาได้ ปล่อยวางความเห็นผิดของเรา ถ้าเรายังเห็นผิด เราเข้าใจของเราอย่างนั้น มันก็ยังติดข้องอยู่อย่างนั้น ความเห็นของเราเป็นอย่างนั้น

ถ้าความเห็นเรายังไม่ยอมปล่อยวางเข้ามา เราจะไม่ได้ประโยชน์ อยู่แต่ปากทาง เริ่มจะเดินเมื่อไหร่ แต่เพราะความยึดมั่นถือมั่น ไม่กล้าเดินไง คิดว่าจะต้องศึกษาให้รู้ศึกษาให้เข้าใจให้หมด ถ้ามันยังลังเลสงสัยอยู่ เห็นไหม ถ้าลังเลสงสัยอยู่ก็ยังไม่กล้าก้าวเดิน จะต้องไม่ให้มีความลังเลสงสัย ทำไปแล้วจะไม่มีความผิดพลาดเลย มันเป็นเรื่องของวิชาการทางโลก ถ้าวิชาการทางโลกเราเข้าใจแล้วทุกอย่าง โครงการนี้เข้าใจหมดเลย แต่ถ้ามีผู้ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วบอกว่า ของเราผิด เราก็เริ่มต้องคิดแล้วว่าเราจะผิดหรือไม่ผิด ทั้งๆ ที่มันถูกหรือมันผิดก็ยังไม่รู้เลย เห็นไหม

นั่นน่ะโครงการมันเป็นอย่างนั้น แล้วจะทำให้มันจบสิ้นในความสงสัย มันเป็นไปได้ยังไง เพราะความสงสัย ความอาลัยอาวรณ์มันเป็นกิเลสตัวสุดท้าย เห็นไหม กิเลสตัวสุดท้ายในความอาลัยอาวรณ์ของใจ ใจมันจะอาลัยอาวรณ์ตลอด แล้วมันจะสงสัยสิ่งนี้ไปตลอด มันจะสงสัยเป็นที่สุด แม้แต่พระอนาคามีก็ยังสงสัย เห็นไหม ยังสงสัยว่ามันเป็นยังไงหนอ มันเข้าใจยังไงหนอ มันคิดยังไง นี่พระอนาคามียังมีความสงสัยเพราะยังมีกิเลสอยู่ในหัวใจ ถ้ามีกิเลสในหัวใจความสงสัยไม่สิ้นสุด แล้วมันจะรอขนาดไหน

พระอนาคามีกับปุถุชน เห็นไหม คนหนาด้วยกิเลสก็มีความสงสัยมาก พระอนาคามีก็สงสัยสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้ไง สงสัยในปมของพระอรหันต์ สงสัยว่าสิ่งนั้นมันทำยังไง ถ้ารู้ว่าตัวเองยังไม่ถึงนะ แต่ถ้าเข้าใจว่าตัวเองถึงแล้วมันจะไม่สงสัย มันจะเอาความหมายของตัวเองว่าเป็นธรรมไง เอาความหมายของตัวเอง เอาความหมายของเราว่าเป็นธรรม แล้วมันจะอยู่ตรงนั้น มันจะไม่สงสัยสิ่งใดๆ เลย ไม่สงสัยเพราะมันไม่รู้ กับสงสัยเพราะความรู้เข้าใจ เห็นไหม

อันนี้ก็เหมือนกัน ความรู้ความเข้าใจ ความศึกษาขึ้นมา มันก็สงสัย พอสงสัยแล้วก็ไม่ยอมก้าวเดิน ไม่ยอมก้าวเดิน เป็นความเห็นของตัว อันนี้มันเป็นธาตุขันธ์ของใคร อินทรีย์ยังอ่อนอยู่มันก็เป็นอย่างนั้น ถ้าอินทรีย์แก่กล้าใครจะก้าวเดินขึ้นมาก็เป็นอำนาจวาสนาของแต่ละบุคคล

นี่พูดถึงธาตุขันธ์ ความลังเลสงสัย ความเห็นของเรา ความเห็นของเรา เขาเห็นอย่างนั้นให้เขาเห็นอย่างนั้น ความเห็นของคนมันพัฒนาขึ้นมาได้ แล้วพอเราพัฒนาขึ้นมาแล้วเราเห็นเขาเราก็สงสารเขา แต่ถ้าเราไม่พัฒนาขึ้นมานะ พูดไปเถิด ถ้ายังไม่ถึงเวลาพูดไปมันเหนื่อยเปล่า เหนื่อยมากๆ แล้วจะไม่ได้ประโยชน์ แต่ถ้ามันถึงเวลาแล้วเขาจะเห็นของเขาแล้วเขาจะพัฒนาขึ้นมา เราเพียงแต่ชี้นำหน่อยเดียวมันก็จะเข้ามา อย่างนี้มันถึงว่าอินทรีย์แก่กล้า อินทรีย์ควรแก่การงาน กับอินทรีย์ยังอ่อนอยู่ มันแล้วแต่จริตนิสัย แล้วแต่การสร้างสมมาของใจ แล้วเราพัฒนาของเราขึ้นมาเราต้องภูมิใจของเรานะ เราภูมิใจในตัวเราที่เราพัฒนาของเราขึ้นมาเรื่อยๆๆ วุฒิภาวะของใจสูงขึ้นมาเรื่อยๆ สูงขึ้นมาแล้วพัฒนาต่อไปจนกว่ามันจะสิ้นสุด

ถ้ามันสิ้นสุดมันก็จบสิ้น ถ้าไม่สิ้นสุดเราต้องทำไป แล้วย้อนกลับไปนี่คือว่าเราจะไม่ได้ประโยชน์ เราทำแล้วเราไม่ได้ประโยชน์ เราทำแล้วเราทำไม่ได้ แล้วคนที่เขายังไม่ได้ทำเลย เห็นไหม ผู้ที่ยังไม่ได้ทำเลย ผู้ที่ยังคิดอยู่ ยังก้าวเดินอยู่ ยังสงสัยอยู่ นั่นน่ะเขายิ่งต่ำต้อยกว่าเรา เขายิ่งไม่มีสิ่งใดๆ เลย เขายิ่งทำอะไรแล้วเขายังว้าเหว่อยู่ แล้วเขาก็มีความทุกข์ แต่เขาไม่เห็นความทุกข์ของเขา เห็นไหม

มันน่าสงสารตรงนี้ ตรงที่เขาไม่เห็นความทุกข์ของเขาเลย เขาไม่เห็นความผิดพลาดของเขาเลย เขาเห็นความผิดพลาดของผู้ก้าวเดิน เห็นความผิดพลาดของเรา ทำไมต้องกระเซอะกระเซิง ทำไมต้องทำสิ่งนั้น ทำไมต้องวิ่งหา ทำไมต้องแสวงหา สู้เขาอยู่เฉยๆ เขามีความสุขของเขาแล้ว เห็นไหม นั่นล่ะความหยาบ แต่กิเลสมันหลอกว่าเป็นความละเอียดอ่อน เป็นความเข้าใจ ว่าตัวเองมีความสุข ตัวเองเข้าใจสิ่งต่างๆ แล้วมีความสุขอยู่กับตัวเอง เห็นไหม ไม่ต้องดิ้นรน ไอ้คนที่...(เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)