เทศน์เช้า

ใจมืด

๑๕ ต.ค. ๒๕๔๔

 

ใจมืด
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๔
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ความมืดของใจ ใจมันมืดมันไม่เข้าใจใจของตัวเองหรอก พอความไม่เข้าใจใจของตัวเอง มันก็ไม่เชื่อ สิ่งที่มืดเห็นไหม คนชี้นำนะ คนชี้นำคนชี้แนะเลย ที่นั่นเป็นอย่างนั้น ความไม่เชื่อของมันมันจะปิดบัง มันจะไม่เชื่อหรอก มันจะไม่เชื่อ นี่ความไม่เชื่ออย่างนี้ไม่เชื่อแบบมีปัญญา แต่พอเข้าไปประสบไปเจอเข้าน่ะมันถึงจะเชื่อ ความเชื่ออย่างนี้ อันนี้ไม่ใช่เป็นกิเลสนะ ความไม่เชื่ออันนี้ พระพุทธเจ้าสอนกาลามสูตรไง ไม่ให้เชื่อตาม ๆ กันไป ไม่ให้เชื่อทุก ๆ อย่าง ต้องให้เชื่อโดยการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ไอ้ความไม่เชื่ออันนี้ไม่ใช่ความผิด

ในหลักของศาสนา เห็นไหม ไม่เชื่อเป็นบาปเหรอ? ไม่ใช่ ไม่บาปนะ พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เชื่อก่อน ไม่ให้เชื่อเลย แต่มีศรัทธา ศรัทธาเห็นไหม ศรัทธาความเชื่อของเรา ศรัทธากับความเชื่อในเหตุผลนั้นต่างกัน ศรัทธาคือความว่าตัวเองนี่เปิดหัวใจ เหมือนกับภาชนะนี่หงายขึ้นมา ทีนี้คนมันปิด ปิดภาชนะของมัน แล้วเอาแต่หมักหมมกับความเห็นของตัวเอง พอความเห็นของตัวเองนี่ความมืดบอดของใจ

แล้วใจมันมืดบอด เห็นไหม ใจนี่เป็นผู้รับรู้ ใจเป็นผู้สัมผัส แล้วใจเป็นผู้ที่เก็บตะกอนของความเห็นอันนั้นไว้ในหัวใจทั้งหมด แล้วหัวใจนี่มันเริ่มความเห็นของตัวเอง ความเห็นผิดน่ะ พอความเห็นผิดเห็นไหม มันสัมผัสกับใจ ใจสัมผัสกับความคิด ความคิดของเรานี่สัมผัสกับใจของเรา ใจของเราคือความรู้สึกเฉย ๆ แล้วความคิดนี้สัมผัสขึ้นมา ความคิดนี้มันเกิดขึ้น ถ้าความคิดมันเป็นอกุศล เห็นไหม มันสัมผัสกัน แล้วมันก็ตกตะกอนลงที่ใจ ๆ ตกตะกอนลงที่ใจจนใจนั้นมืดบอด จนใจนั้นไม่เชื่อสิ่งนั้นเลย แล้วทำตามความเห็นของตัวเอง

แล้วเวลาการศึกษาออกมานี่ ถ้าปริยัตินี่การศึกษาหลักของศาสนา ถ้าการศึกษาหลักของศาสนา การศึกษาครบวงจรแล้วมันสำเร็จเป็นพระอรหันต์ นี่พวก ๙ ประโยคน่ะเขาต้องศึกษา เขาต้องเป็นกันหมด นี่การศึกษาธรรมะ นี่ไง ธรรมะอันนี้เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ความเห็นของตัวเป็นความเห็นของตัว ความเห็นของตัวกับธรรมะนี่สื่อกันไป ไอ้คนฟังมันก็ฟังเข้าใจ เพราะอะไร? เพราะเป็นสมมุติของโลกเขา

โลกเป็นสมมุติไง สื่อกันความเข้าใจได้ก็ตื่นเต้น แต่ผู้ที่ปฏิบัติได้จริงมันสื่อออกมาไม่ได้ มันรู้จริงเห็นจริงแต่มันสื่อไม่ได้เพราะอะไร? เพราะว่ามันสื่อออกมาแล้วไม่เหมือนสิ่งนั้น ไม่เหมือนกับใจที่มันเป็นอยู่ เห็นไหม ใจเป็นผู้สัมผัสกับสิ่งนั้น แล้วใจเป็นผู้รับรู้สิ่งนั้น ใจรับรู้สิ่งนั้นแล้วใจเก็บสิ่งที่เป็นตะกอนรับรู้ความเห็นอันนั้น ความเห็นอันนั้นมันคาใจอยู่ไงว่าความเห็นอันนี้มันไม่เหมือนใด ๆ ในโลกนี้เลย แล้วมันจะสื่ออะไรออกไปในโลกนี้ เวลาสื่อถึงว่ามันสื่อกันไม่ได้

ธรรมะนี้สื่อกันไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปัญญาขนาดไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ปัญญาเห็นไหม พุทธวิสัย รู้ไปหมด รู้ทุกอย่างเลย แต่ท่านบอกเลยที่เทศน์ออกมาที่สอนออกมานี่ ใบไม้ในกำมือ แต่ความรู้จริงเห็นจริงนี่เหมือนกับใบไม้ในป่า กับใบไม้ในกำมือ คือว่าสื่อออกมาเพื่อจะเข้าใจกัน เพื่อความเข้าใจ เพื่อเป็นหนทาง เป็นทางชี้นำ แต่การชี้นำนั้นก็ต้องปฏิบัติเข้าไป แล้วรู้จริงตามความเป็นจริงนั้นอีกทีหนึ่ง

นั่นน่ะใจมันมืดบอด พอใจมันมืดบอดมันก็ทำตามความเห็นของตัว พอทำตามความเห็นของตัวก็เป็นอย่างนี้ ความเห็นของตัว ธรรมะของตัว ใจมืดบอด พอมืดบอดแล้วการกระทำออกไปนี่ เพราะความมืดบอดแล้วมันก็ไม่เชื่อ เพราะมันไม่เห็นแล้ว พอไม่เชื่อเรื่องโทษ เรื่องบุญเรื่องกรรม ถ้าไม่เชื่อเรื่องบุญเรื่องกรรมก็ทำแต่อกุศลเข้าไป แล้วอกุศลนี่มันทำแล้วมันแบบว่า ไฟนี่จุดในที่แจ้งมันก็สว่าง มันก็มีความร้อน จุดในที่ลับมันก็มีความร้อน ไปทำกันในที่ลับมันก็มีความร้อน มันก็รู้อันนั้นเหมือนกัน ความรู้อันนั้นน่ะมันเป็นไฟ มันจะเผาตัวเองตลอดเวลา แต่ตัวเองมันปิดบังไว้ไง

แล้วกรรมมันจะให้ผล ถ้ากรรมมันให้ผลมันจะให้ผลตลอดไป ถ้ากรรมมันให้ผลถึงอันนั้นแล้ว ผลอันนั้นมันจะทำให้ความเข้าใจของตัวเอง นี่มันเป็นการสอนด้วยกฎสัจธรรม ความสัจจริงไง อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องมีการดับไปเป็นธรรมดา สิ่งใดการสะสมมาเป็นวัฏฏะ วิวัฏฏะ เห็นไหม กรรมใครเป็นผู้สร้าง แล้ววิบากผลอันนั้นเกิดขึ้นมาจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะรับผลดวงนั้นไป นี่มันรู้แจ้งตรงนี้ รู้แจ้งต่อเมื่อเราไปรับผล

แต่ถ้ากรรมมันตามทันตรงนี้มันก็รับผลตรงนี้เลย แต่ถ้ากรรมไม่ทันตรงนี้ เห็นไหม คนเราจะปิดบังไว้ได้ตลอดไป จนกว่ามันจะตายไป ตายไปนี่ใจดวงนั้นน่ะมันไปรับผลเอาข้างหน้า มันก็ไม่รู้ผลข้างหน้า คนเรามันต้องตายเกิด ๆ ตลอดเวลา บุญกุศลทำให้เกิดดี อกุศลทำให้เกิดชั่ว แล้วถ้ามันตามไม่ทันเพราะอะไร? เพราะว่าเราทำคุณงามความดีไว้แต่ชาติปางไหนก็ไม่รู้ ไอ้คุณงามความดีนี่มันทรงสถานะไว้

“ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” นี่พูดกันอย่างนั้นนะ แต่เราไม่เชื่อ ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่วเด็ดขาด ทีนี้ทำดีแล้วมันยังไม่ได้ดีนี่ มันทำดีของเรา ดีขนาดนี้ แต่ความดีของเรามันยังไม่ส่งผล เห็นไหม แต่ทำในความดีของเรา เรามันคิดจินตนาการเกินไป แต่ความจริงที่เราทำดีมันได้ดีโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เช่น ทำความดีคนไม่มีแผลนี่สบายใจมากเลย ปลอดโปร่งโล่งใจ เห็นไหม

นี่คือว่าผู้มีศีลองอาจกล้าหาญในทุกสถานที่ องอาจกล้าหาญในทุกสถานที่เลย แต่ผู้ทุศีลนี่ไม่องอาจเพราะอะไร? เพราะใจของมันมันมีแผลใจ ถ้าใจมันมีแผลใจอันนี้มันทำให้เราไม่สามารถเป็นไป ถ้ามันเป็นอย่างนั้นไป ถ้าทำผลของบุญกุศลมันสะสม ๆ ไป มันทำคุณงามความดีขึ้นมาได้ มันก็เป็นคุณงามความดีขึ้นมา แต่คนมันทำความเป็นอกุศลขึ้นไปนี่ มันปิดเป็นอกุศล ทีนี้กรรมมันตามทัน ถ้ากรรมมันตามทันนี่มันก็ให้ผลเดี๋ยวนั้น

มันไม่ใช่มีเท่านี้ มันจะมีมากกว่านี้ มีมากกว่านี้เพราะอะไร? เพราะต้องย้อนกลับไปเรื่องของกิเลส ถ้าไม่ชำระกิเลสก่อนนะ ไม่ทำใจของตัวเอง เอาใจของตัวเองไว้ให้ได้ก่อนนี่ เรื่องอย่างนี้มันเหมือนกับมดกับน้ำตาลน่ะ มันเห็นแล้วมันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน แล้วมันจะยับยั้งอย่างไร มดกับน้ำตาลเห็นไหม ถ้ามดกับน้ำตาลนี่ น้ำตาลมีที่ไหนมดมันต้องไปที่นั่น

อันนี้ก็เหมือนกัน ความสื่อออกมานี่สมมุติมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามมา มันถึงเป็นเรื่องที่ว่าลำบากมากในการดำรงพรหมจรรย์ของภิกษุ ภิกษุต้องระวังสิ่งนี้ พระอานนท์ถามพระพุทธเจ้า เห็นไหม

“ถ้าเจอผู้หญิงให้ทำอย่างไร?”

“อย่าพูด อย่ามองเลยน่ะดี”

“แล้วถ้าจำเป็นจะต้องพูด จะต้องมองล่ะ?”

“ถ้าจำเป็นจะต้องพูด จะต้องมอง ให้ตั้งสติไว้”

ให้ตั้งสติไว้ เห็นไหม ให้ตั้งสติไว้ ระลึกสติไว้ มันถึงเวลามันชักลากไป นี่เป็นว่าพระอานนท์ห่วงเรื่องนี้แล้วบอกมา แล้วมันก็เป็นกรรมของสัตว์โลก เป็นกรรมของผู้กระทำนะ ถ้าทำความยับยั้งสิ่งนั้นได้ ทำสิ่งนั้นได้มันก็จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ถ้ามันเป็นโทษกับตัวเอง เห็นไหม ถ้าเป็นโทษกับตัวเองก็เป็นโทษของเขาไป เป็นโทษกับตัวเองเพราะตัวเองเป็นผู้กระทำ

สัจธรรมให้ผลแน่นอน ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ไอ้ที่เขาพูดว่า “ทำดีไม่ได้ดี” นั้นมันเป็นความคิดของเขา แต่ความจริงแล้วในหัวใจลึก ๆ น่ะ อย่างเช่นเรานี่ ทุกคนเลย บอกเลย ลึก ๆ ในหัวใจกลัวผี ทำไมถึงกลัวผีล่ะ นี่ลึก ๆ ในใจมันกลัวผี อันนี้ก็เหมือนกัน ปากพูดไปอย่างนั้นน่ะ แต่ความจริงมันรู้ ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ไอ้กลัวผีนี่เรากลัวเพราะว่า มันมีความกลัวเป็นเรื่องของใจ อาการของใจไม่ใช่ใจ ใจมันสะสมมาอย่างนั้น มันก็มีความเกรงกลัวในหัวใจ

อันนี้ก็เหมือนกัน ทำความชั่วขึ้นไปนี่มันทำไปเพราะว่า มันจำเป็นต้องทำหนึ่ง เพราะจำเป็นต้องทำคือว่า คนเรามันถึงสถานะอย่างนั้นมันต้องเอาตัวรอดให้ได้ นี่จำเป็นต้องทำความชั่วเพื่อเอาตัวรอดหนึ่ง กับทำความชั่วลงไปโดยที่ว่าทำบ่อยเข้า ๆ มันชินชา มันจะทำของมันไป พอทำของมันไปนี่ มันก็นึกว่าทำไปแล้วมันตกกระไดพลอยโจนไป

นี่ผลของกิเลสไง พระพุทธเจ้าถึงสอนว่ากิเลสนี่เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เรื่องของกิเลสนี่มันอยู่ในหัวใจของสัตว์โลกทั้งหมดเลย แล้วจะทำอย่างไรให้มันชำระล้างออกไป อย่างเราทำบุญกุศล เห็นไหม เรามาสร้างบุญกุศลนี่ มันจะมีอุปสรรคขนาดมากเลย มีอุปสรรคทุก ๆ อย่างที่เราจะทำคุณงามความดี แล้วจะประพฤติปฏิบัติทำไมไม่มีอุปสรรค อุปสรรคในหัวใจ...

(เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)