ปัญญาขี้เกียจ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์เช้า วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๔
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
คนขี้เกียจปฏิบัติ การปฏิบัติไง เราเริ่มต้นการทำบุญทำกุศลน่ะ เราเริ่มต้นทำบุญกุศล เราก็เริ่มต้นทำบุญเพราะเราศรัทธา เรามีความเชื่อ พอมีความเชื่อเข้าไป ศรัทธาความเชื่อเข้าไป เราทำบุญกุศลขึ้นไป พอทำบุญกุศลขึ้นไปมันก็มีความฉลาดขึ้น ๆ ความฉลาดขึ้นมันทำให้ปลอดโปร่งขึ้น ความฉลาดขึ้นของใจ ถ้าใจมันฉลาดนะ แล้วมันมีธรรมเป็นเครื่องหนุนนะ นี่มีธรรมเป็นเครื่องหนุน ธรรมคือความพอใจ ธรรมคือความถูกต้อง ความถูกต้องว่าเราสละทานเพื่อทาน
แต่ถ้าเราไม่มีศีลธรรมเข้าไปในหัวใจ พอมันฉลาดขึ้นมันจะเห็นแก่ตัวไง ความเห็นแก่ตัว ความคิดว่าจะเอาความฉลาดเป็นทางผ่านของตัวเอง ความฉลาดของตัวเองอันนั้นน่ะที่ว่าขี้เกียจ ถ้าขี้เกียจมันจะเอาทางลัดไง มันจะเอาทางลัดเอาทางความเห็นของมัน อันนั้นคือความเห็นของกิเลสมันหลอก ถ้าคนว่าคนฉลาด คนนั้นฉลาดเอาตัวรอดได้ คนนั้นน่ะกิเลสหลอก
ถ้าคนนั้นฝืน พยายามฝืนทนนะ ฝืนทนทำไปตามหน้าที่ มันประสบการณ์ เห็นไหม ประสบการณ์การทำงาน คนจบมาเป็นผู้คุมงานน่ะ จบตามหลักวิชาการ แต่ทำงานไม่เป็นนะ คนนั้นทำงานไม่เป็น ถ้าคนทำงานเป็น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนเขาน่ะ เขาทำของเขาไปทุกวัน ๆ เขามีประสบการณ์ของเขา เขารู้ของเขานะ แต่ทางวิชาการเขาไม่รู้
นี่ต้องมีปริยัติ การศึกษาเล่าเรียนมาเพื่อความรู้ เห็นไหม ต้องมีการปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่อจะเข้าไปรู้แจ้งความเห็นจริงอันนั้น ความรู้แจ้งถึงมีปฏิเวธะ แต่อันนี้มันไม่ปฏิบัติของตัวเอง ปริยัติมันไม่ได้เรียนมา แต่การศึกษาประสบการณ์ตรงของตัวเอง แล้วความเห็นของตัวเองคิดว่าตัวเองจะถูกต้องไง ถ้าความคิดว่าตัวเองถูกต้อง นั่นน่ะมันเป็นความคิดของกิเลส มันเป็นความจินตนาการ มันเป็นจินตมยปัญญา ความจินตมยปัญญา
แล้วมันจินตมยปัญญาเข้าไปน่ะมันไม่มีหลักยึด มันไม่มีหลักที่จะเกาะไป พอไม่มีหลักที่จะเกาะไปนี่ มันจะหาทางลัด ๆ พอทางลัดไม่ได้ขึ้นไปนี่ มันก็อาศัยความว่างของตัวเองอยู่ไปอย่างนั้น อาศัยสัญญาอารมณ์ของตัวเองเกาะเกี่ยว มันอยู่กับสัญญาอารมณ์ เห็นไหม มันถึงว่ามันไม่ใช่ปล่อยวางสิ่งใดเลย มันปล่อยวางสิ่งหนึ่งมายึดอีกสิ่งหนึ่ง ๆ
ในศาสนาพระพุทธเจ้าสอนว่า การปล่อยวางโดยชอบ มันปล่อยวางแล้วมันจะไม่ไปจับต้องสิ่งใดอีก มันจะปล่อยวางโดยธรรมชาติของมัน การปล่อยวางโดยชอบมันต้องมีการชำระสะสาง มีการเข้าไปจับต้อง แล้วการประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม มันถึงว่าวิปัสสนา ใคร ๆ ก็ว่าเป็นวิปัสสนา ของเขาเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาในอะไร?
เหมือนกับลิงเกาะกิ่งไม้น่ะ จับกิ่งหนึ่งโดดไปจับอีกกิ่งหนึ่ง ๆ นั้นว่าเป็นการวิปัสสนา มันจับกิ่งหนึ่ง ๆ จับกิ่งไปเรื่อย จนไปจับไม้แห้งเข้ามันก็ตกลงมา พอมันตกลงมามันก็ขี้เกียจ มันก็ไม่อยากทำอีก ก็ต้องขึ้นต้นใหม่วิปัสสนาใหม่ ความว่าวิปัสสนาอันนั้นน่ะเป็นของเขาว่าเขาเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาเป็นความคิดของตัวเอง นี่ที่บอก เวลาปฏิบัติแล้วขี้เกียจน่ะมันขี้เกียจตรงนี้ มันขี้เกียจที่ว่ามันไม่มีฐานรองรับ
แต่ถ้ามันปฏิบัติตามความเป็นจริงน่ะ เราเข้าไปตามความเป็นจริงของศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญาจะเป็นบาทฐานส่งตัวเองขึ้นไปไง ส่งกระแสจิตขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป พอส่งกระแสจิตเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปนี่ ประพฤติปฏิบัติไปมันจะปล่อยวางแล้วมันจะโล่ง มันจะโล่งแล้วมันจะปล่อยวาง แล้วต้องขุดคุ้ยหาใหม่อีก
การขุดคุ้ยหาใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมีพื้นฐานรองรับใจไปเรื่อยนี่ มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา มีศีลศีลมันเสื่อมลงมาอย่างไรมันก็เจาะขึ้นไปได้ง่าย เห็นไหม มันต้องเจริญแล้วเสื่อม ๆ โดยธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของจิตนี้เจริญแล้วเสื่อมไปโดยธรรมชาติของมัน มันเป็นอย่างนี้โดยธรรมชาติ ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สิ้นสุด ชีวิตนี้สิ้นสุดมันต้องตายแน่นอน แต่เราจะตายในสภาพแบบไหน เราตายสภาพแบบที่ว่าเราเป็นไปประสาเราอย่างนี้น่ะหรือ? เราจับต้องสิ่งใดไม่ได้ แล้วไม่มีที่พึ่งพาอาศัย มันต้องตายเป็นที่สุด
จิตก็เหมือนกัน มันต้องเสื่อมสภาพโดยที่สุด แต่เสื่อมสภาพโดยสภาพของมัน มันเสื่อมสภาพของมันแล้วเรามีอะไรเกาะยึดเข้าไป มีอะไรหมายถึงว่าให้มันหนุนเข้าไปเป็นความคิดใหม่ หนุนเข้าไป นี่ศีล สมาธิ ปัญญา มันมีเครื่องหนุน มันเป็นพื้นฐานของใจ ยกใจขึ้นเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ถ้าใจเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปมันก็จะเป็นไปตามธรรมชาติของมัน เป็นไปโดยธรรม
สิ่งนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม ธรรมะนี้มีอยู่ในธรรมชาติมีอยู่แล้ว ไม่มีใครสามารถรู้เห็นได้ มันละเอียดลึกซึ้ง แต่เราใช้สัญญาอารมณ์เข้าไปคาดหมาย ทั้ง ๆ ที่ว่ามีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้แล้ว แล้วมีครูบาอาจารย์ชี้นำทางไว้แล้ว มันก็ยังขี้เกียจ เห็นไหม ความขี้เกียจคือว่าความทำไปแล้วมันไม่ได้ผลหนึ่ง ความคิดว่าปัญญาของตัวเองมีปัญญาของตัวเองหนึ่ง ปัญญาของตัวเองเป็นคนที่ฉลาด มันจะสามารถทำได้ ความฉลาดของตัวเองน่ะเอาตัวไม่รอด ถ้าเอาตัวรอดนี่มันต้องยอมรับก่อน ยอมรับตามความจริง เราจะโง่ขนาดไหนฉลาดขนาดไหนวางไว้หมด
สิ่งนั้นต้องวางไว้หมด แล้วไปปฏิบัติเป็นประสบการณ์ตรงว่ามันจะเข้าไปประสบสิ่งใด นั้นน่ะเป็นปัจจัตตัง เป็นปัจจัตตังรู้จำเพาะสิ่งนั้น สิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้วรู้จำเพาะสิ่งนั้น ให้เป็นไปตามสิ่งนั้น แล้วประพฤติปฏิบัติไปตามสิ่งนั้นเข้าไป ตามสิ่งนั้นนะ สิ่งนั้นคือว่ามันเป็นจริตนิสัยของแต่ละบุคคล คนของเราเกิดมาประพฤติปฏิบัตินี่มันไม่เหมือนกัน จริตนิสัยของคนต่างกัน ความเห็นความชอบถึงต่างกัน ถึงว่าแต่ละคน ๆ ปฏิบัติไปมันจะไม่เหมือนกัน ให้ไม่เหมือนกัน ไม่ต้องไปให้เหมือนใคร แล้วต้องไม่ต้องให้ใครเหมือน
แต่ถ้ามันจะคล้ายคลึงกัน มันมาทางเดียวกัน ทางเดียวกันมันก็ยังมีความสูงความต่ำ มีหยาบละเอียดต่างกัน ความหยาบละเอียดต่างกันนี่เราไม่ต้องไป ขออย่างเดียวขอให้มันปล่อยตามธรรมชาติของมัน ขอให้มันประพฤติปฏิบัติเข้าไป แล้วตามความเป็นจริง ชีวิตนี้มันจะเป็นประโยชน์ประโยชน์ตรงนี้ไง ประโยชน์ตรงที่เราได้ประพฤติปฏิบัติ เราได้แก้ไขของเรา
ชีวิตนี้ไม่ใช่ปล่อยไปตามสวะ เหมือนสวะลอยน้ำไป ชีวิตนี้ไปตามกระแสของมัน ชีวิตนี้ปล่อยไปตามกระแส ให้กระแสกรรมพัดไป กรรมมันพัดไปนี่ การกระทำความพอใจของตัวเองน่ะมันก็ขี้เกียจ ขี้เกียจตรงนี้ไง มันปล่อยไปแล้วมันสบายใจ น้ำมันพัดไป ลอยไปตามกระแสน้ำ ประพฤติปฏิบัติก็รอวันจะเป็นไป รอวันที่มันจะเป็นไปอย่างนั้น ประพฤติปฏิบัติไป
มันไม่มีอุบายวิธีการอันใหม่ มันไม่ทวนกระแส ทวนกระแสใช้อุบายวิธีการใหม่พลิกแพลงไป พลิกแพลงจิตของเราขึ้นมา พลิกแพลงจิตของเรานี่ให้กำลังใจตัวเองขึ้นมา เห็นไหม ปัญญาอะไร ปัญญาอย่างนี้ปัญญากิเลสพาใช้ ถ้าปัญญากิเลสพาใช้มันจะเอาแต่ทางลัด มันจะเอาแต่ผลไง มันเอาผล มันคาดหมายผล นี่มันเป็นตัณหาซ้อนตัณหา
แต่ถ้าเป็นปัญญาในการประพฤติปฏิบัตินะ มันเป็นปัญญาที่ว่ามันเจอสิ่งนั้นโดยความเป็นจริง นี่เจอสิ่งอะไร? เจอกาย เจอเวทนา เจอจิต เจอธรรม เจอธรรมารมณ์ เจอทางพบอารมณ์ ความขุ่นข้องหมองใจนั่นน่ะมันกระทบอารมณ์ของใจแล้ว ความขุ่นข้องหมองใจนี่ เราจะทำอย่างไรให้มันหลุดพ้นออกไปจากหัวใจ เห็นไหม มันก็จับต้องสิ่งนั้น แล้วว่าสิ่งนี้มันเกิดขึ้นจากอะไร สิ่งนี้กระทบ เขาว่าไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ เขาว่านี่ เราเพิ่งรู้ใช่ไหม พอเรารู้ก็เกิดอารมณ์ขึ้นมา แล้วก่อนที่เขาว่ามานี่ ที่เราไม่รู้นี่ อารมณ์เราไม่เกิด เห็นไหม
นี่มันเกิดเพราะเรา ๆ เราไปกระทบสิ่งนั้นขึ้นมานี่ธรรมารมณ์ ๆ อารมณ์ที่เป็นธรรม มันเป็นธรรมารมณ์ อารมณ์ด้วย เป็นธรรมด้วย กระทบกันไง เป็นสัจจะความจริง ธรรมเกิดขึ้นแล้ว แต่เราไม่สามารถจับสิ่งนี้มาเป็นประโยชน์ได้ เราปล่อยสิ่งนี้ให้มันเป็นข้าศึก มันกดถ่วงหัวใจ มันกดว่า เขาว่าเรา เห็นไหม มันเป็นความเจ็บปวดขึ้นมาในหัวใจ มันเป็นความขัดข้องมาในหัวใจ
นั่นน่ะมันควรจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถ้าจับต้องสิ่งนี้ได้นี่ เรายับยั้งสิ่งนี้ได้ มันจะต้องใช้อะไร? ต้องใช้สมาธิ ต้องใช้สติ ต้องใช้สติสัมปชัญญะยับยั้งมัน ถ้ายับยั้งมันก็จับต้องมันได้ ก็พิจารณามันได้ อันนี้ถึงเป็นวิปัสสนาไง ถ้าเป็นวิปัสสนามันต้องเป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม ถ้าเป็นธรรมารมณ์นี้มันจับต้องมันพิจารณาอารมณ์เข้าไปเรื่อย ๆ มันจะจับต้องแล้วพิจารณาเข้าไป ว่าสิ่งนี้ไม่มีคุณค่า อันนั้นมันเป็นสัญญาอารมณ์ เห็นไหม
แล้วถ้าเป็นเนื้อของขันธ์ล่ะ? เนื้อของขันธ์นี่สัญญามันจับต้องก่อน สังขารมันปรุงไป เขาว่าดีว่าชั่วนี่สังขารมันปรุงมันแต่ง เวทนามันเกิดขึ้นไป นี่จับต้องสิ่งนี้แล้วพิจารณาสิ่งนี้ แยกแยะสิ่งนี้ออก ถ้ามันแยกแยะสิ่งนี้ออกมันจะเห็น นี้ถึงจะเป็นวิปัสสนา วิปัสสนามันต้องจับต้องสิ่งนี้ขึ้นมาได้ ถ้าจับต้องได้มันเป็นงานขึ้นมา พอเป็นงานขึ้นมามันก็เป็นงานของเรา
แต่นี้มันไม่ใช่จับต้องเนื้อ เห็นไหม จับต้องสัญญาอารมณ์ จับต้องขันธ์ แล้วถึงว่ามันละเอียดเข้ามาเป็นชั้น ๆ เข้าไป มันจะละเอียด มันส่งตัวขึ้นไปเป็นชั้น แต่นี่เราตามออกไป ตามกระแสออกไปเป็นสวะที่ตามลอยน้ำไป เขาว่าแล้วมันเป็นอารมณ์ซ้อนอารมณ์ออกมาข้างนอก อารมณ์ออกมาข้างนอกก็ตามออกไปข้างนอก หมุนออกไปตามข้างนอก ตามมันไป แล้วมันก็ไป หายวับไป พอมันจับต้องสิ่งใดไม่ได้มันถึงหมดอารมณ์ไง ถึงขี้เกียจไม่อยากประพฤติปฏิบัติ
ถ้ามันได้ผลงานขึ้นมามันจะขยันหมั่นเพียร ความขยันหมั่นเพียรนี่มันได้ผลงานขึ้นมา มันปล่อยวางขึ้นมา มันโล่งมันสบายใจขึ้นมา งานอันนั้นมันก็เป็นประโยชน์ขึ้นมา พอเป็นประโยชน์ขึ้นมามันก็มีกำลังใจขึ้นมา มันจะสาวเดินเข้าไปถึงที่สุดของมัน ถึงที่ถึงใจได้ ถึงฐานของกิเลสที่มันเกิดขึ้นมาได้ ไม่ใช่ไหลไปตามกระแส ไหลไปตามกระแสแล้วก็ขี้เกียจขี้คร้าน ขี้เกียจขี้คร้านเพราะมันไม่มีผลงานของตัวเอง มันจับต้องมันว่างเปล่า มันไม่มีฐานรองรับ นี่ปัญญาที่ว่ามันฉลาด คนที่ฉลาดถึงเอาตัวรอดไม่ได้
คนที่ว่าวางความฉลาดวางความโง่ของตัวเอง วางไว้ตามความเป็นจริงแล้วประพฤติปฏิบัติตามเนื้อของงาน ถ้าทำตามเนื้อของงานเข้าไปมันจะเป็นเนื้อของงานขึ้นมา แล้วมันจะเป็นผลของเราขึ้นมา อันนี้ถึงว่าเป็นหลัก ชีวิตนี้มันถึงมีคุณค่า ถ้าชีวิตนี้ปล่อยไปตามสวะ ปล่อยไปตามกระแสความคิดของตัวเอง วันคืนล่วงไป ๆ แล้วมันก็ต้องพลัดพรากไปที่สุดนะ มันต้องตายไปแน่นอน แล้วตายไปก็อาศัยบุญกรรมนี่ มันเป็นอามิส ถึงจะเป็นอามิส อาศัยอำนาจวาสนาไป กับการประพฤติปฏิบัตินี่ มันดัดแปลงหัวใจของตัวเอง มันไม่ตายได้ไง มันดัดแปลงจนไม่เกิดไม่ตาย หัวใจนี่ไม่เกิดไม่ตาย อยู่ในหัวใจของเรา
ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราเข้าใจตรงนี้ เราจะมีคุณค่าของเราขึ้นมา ถ้ามีคุณค่ามันมีกำลังใจไง ผลงานอันประเสริฐขึ้นมาในหัวใจของเราอันนี้ มันสามารถเข้าไปถึงได้ แล้วมันสามารถก้าวเดินเข้าไปได้ มันสามารถก้าวเดินเข้าไปได้เพราะเรามีชีวิต มีหัวใจ มีกำลังใจอยู่ มันก้าวเดินเข้าไป ไม่ใช่ปล่อยตามสัญญาอารมณ์เข้าไป ปล่อยตามสัญญาอารมณ์ไปหมุนเวียนไปตามสัญญาอารมณ์อันนั้น มันก็ปล่อย ถ้าปล่อยมันเป็นอย่างนั้น
ถ้าฝืนขึ้นมาปั๊บนี่มันมีงานมีการขึ้นมา มันมีงานมีการแล้วมันมีสิ่งที่ว่าเรามีกำลังใจขึ้นมา มีกำลังใจขึ้นมามันก็ทำได้ ชีวิตนี้มันเป็นคุณค่าขึ้นมาเลย ชีวิตมันมีอย่างนี้ แล้วเราจะทำอย่างไร เกิดตายไปตามกระแสของมัน หรือจะเกิดตายไปตามธรรม ถ้าเกิดตายไปตามธรรม เห็นไหม ถ้าประพฤติปฏิบัติไม่ถึงที่สิ้นสุด มันต้องเกิดต้องตายตาม... เห็นไหม มันก็เป็นไปตามธรรม ๗ ชาติ! พระโสดาบันเกิดอีก ๗ ชาติเท่านั้น ๗ ชาตินี่การเกิดการตาย ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นไป นี่สกิทา อนาคาขึ้นไป จนไม่เกิดอีก พระอนาคาไปเกิดบนพรหมเท่านั้น แล้วสิ้นไปนี่
หัวใจเหมือนกัน หัวใจที่จะก้าวเดินไปได้นี่ หัวใจของสัตว์โลกนี่ มันจะเป็นไปตามอำนาจของเรา ถ้าเราก้าวเดินไปมันจะเป็นแบบนี้ เป็นตั้งแต่มีเกาะมีดอน มีที่เกาะที่เหยียบขึ้นไป จนถึงที่ไม่เกิดไม่ตาย กับเกิดตายไปตลอด แล้วก็ขี้เกียจขี้คร้านไป เพียงแต่ว่าอ้างอิงไง นี่กิเลสมันหลอกว่าอ้างว่าเราประพฤติปฏิบัติธรรม เราเป็นชาวพุทธ เราเป็นผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว เรามีบุญกุศล เราสร้างบุญกุศลของเรา มันนอนใจ
พอความนอนใจขึ้นไปนี่ มันเป็นประโยชน์กับเราไหม มันเป็นประโยชน์กับเราไม่เป็นประโยชน์กับเรา เพราะความนอนใจนี่กิเลสมันเข้าไปในวงการประพฤติปฏิบัติ กิเลสมันเข้าไปในวงของเรา วงในหัวใจไง หัวใจควรจะเป็นธรรม แล้วก็นอนเนื่องไปอย่างนั้น ซับสมนอนไป...
(เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)