เทศน์เช้า

เห็นผิด

๑๓ ม.ค. ๒๕๔๔

 

เห็นผิด
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๔
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ฟังเทศน์ มันเทศน์ปริยัติ ถ้าเทศน์ปริยัตินะเทศน์ไปเรื่อยๆ ได้ เทศน์ปริยัติกับเทศน์ปฏิบัติมันต่างกันนะ ถ้าเทศน์ปริยัติเสียงมันเป็นการศึกษามา มันฟังมา มันจำมาแล้วมันก็พูดไปเรื่อยๆ มันเป็นปริยัติ แล้วฟังดีด้วย เทศน์ปริยัติ แต่เทศน์ปฏิบัติมันต้องมีน้ำหนัก มันจะมีน้ำหนักเบาน้ำหนักนี่ นี่เทศน์ปฏิบัติ

เหมือนกับอาหารนะ ถ้าอาหารพื้นๆ เรากินเข้าไปมันก็เท่านั้นนะ อาหารพื้นๆ แต่ถ้าอาหารรสชาติจัด เห็นไหม อาหารมันจะเริ่มเผ็ดเริ่มเปรี้ยวขึ้นมา รสชาติจัด กิเลสมันก็ต้องเป็นแบบนั้น เวลากิเลสมันจะเอาเข้าไป มันต้องมีหนักมีเบา พอมีหนักมีเบา มันถึงจะชำระมันได้ ถ้าเทศน์เรียบๆ ไปมันก็เป็นปริยัติ

ถ้าเป็นปริยัติ มันก็ฟังกันได้ทั่วๆ ไป ปริยัติไง การศึกษามา การอ่านมา อ่านตามหนังสือไป แต่ถ้ามันเป็นปฏิบัติมันจะพูดอย่างนั้นไม่ได้ ถ้ามันพูดอย่างนั้นไป มันเหมือนกับว่ามันไม่ได้ชำระกิเลส เวลาพูดออกไปนะ เวลาฟังไป ถ้าม้วนต่อไปก็จะมีแบบว่าต้องปัญญาเท่านั้นชำระกิเลส ต้องปัญญาเท่านั้นนะ ถ้าสมาธิไม่สามารถชำระกิเลสได้ ต้องปัญญาเท่านั้น แต่ปัญญาๆ ในอะไร?

เขาบอกปัญญาในการแหวกออก เห็นไหม เพราะว่าเริ่มต้นจะทำความสมาธิขึ้นมาแล้วกลัวมากๆ ทีนี้พอกลัวมากใช้ปัญญาไง ใช้ปัญญาการตัดสินใจว่าจำเป็นจะต้องเข้าสมาธิ เขาว่าอันนี้เป็นปัญญา พอปัญญามันแหวกเข้าไป พอใช้คำปัญญา ใช้ปัญญา เห็นไหม พอเขาบอกว่าถ้าเป็นปัญญา ปัญญาผู้รู้กิเลส ชำระกิเลส

แต่ผู้รู้กับปัญญาการภาวนามยปัญญาเคลื่อน ยังไม่เห็นภาวนาเคลื่อน ถ้าภาวนามยปัญญาเคลื่อนจะไม่พูดอย่างนี้ จะพูดอย่างนี้ได้อย่างไรในเมื่อถ้าตามหลัก อย่างไอน์สไตน์เขาบอก เห็นไหม ไอน์สไตน์เขาบอกเลยว่า “ทฤษฎีสัมพันธ์นี่ เขาอธิบายทฤษฎีสัมพันธ์ได้ แต่เวลาขณะที่ว่าระเบิดขึ้นมา จุดระเบิดของนิวเคลียร์นี่เขาอธิบายไม่ได้”

อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าปัญญามันเกิดในการจุดระเบิดนะ ภาวนามยปัญญามันเกิดขึ้น มันใคร่ครวญขึ้นไป แล้วพอมันเรียบเรียงปัญญาได้ ไอ้ทฤษฎีสัมพันธ์มันสัมพันธ์กัน อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ มันสัมพันธ์กันไป มันอธิบายได้ แต่พอจุดระเบิดออกไปแล้ว มันจะมีส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งพอระเบิดออกไปแล้วเหลืออะไร? พอระเบิดตูมออกไป ระเบิดออกไป ระเบิดกิเลสออกไป มันเป็นนะ

ถ้าว่าเป็นธรรมธาตุ อันนั้นถึงที่สิ้นสุด ถ้าไม่ถึงธรรมธาตุมันเป็นอกุปปะ ความเป็นอกุปปะคือหัวใจที่เห็นการระเบิดนั้น เข้าใจการระเบิดนั้น พอการระเบิดนั้นมันต้องมีตัวนี้ตัวรู้อยู่ เห็นไหม ถ้าตัวนี้รู้อยู่ มันถึงจะพูดแบบปัญญาของเขาไม่ได้

ปัญญาของเขาคือการรู้ทัน เห็นไหม การรู้ทันแล้วเท่า ถ้ามันขยับเคลื่อนไป มันเป็นตัณหา-วิภวตัณหา ขยับเกินอดีตอนาคต ต้องให้อยู่ปัจจุบัน แล้วอยู่ปัจจุบันปล่อยหนึ่ง สองการเดินไปๆ แล้วจะเบื่อหนึ่ง ถ้าการเดินไปเดินมา ปัญญามันหมุนไปๆ มันเป็นทฤษฎีสัมพันธ์ มันไม่มีการจุดระเบิด

ถ้ามีการจุดระเบิดขึ้นไป พอระเบิดตูมขึ้นมาสิ่งที่เหลือคืออกุปปะ สิ่งที่เหลือแล้วกิเลสออกมา พอกิเลสออกมานี่มันไม่มี ส่วนนั้นมันไม่มี สิ่งที่ขาดไปแล้วกิเลสจะไม่มี แต่สิ่งที่ยังมีอยู่มันยังมีอยู่ตลอดไป สิ่งที่มีอยู่ เห็นไหม อกุปปะมันไม่ถึงกับธรรมธาตุ ธรรมธาตุเหนืออกุปปะขึ้นไปเป็นชั้นๆ ขึ้นไป อกุปปะนี่มันตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป เป็นอกุปปะๆ ขึ้นไป เห็นไหม เป็นอกุปปธรรมก็เป็นชั้นๆ ขึ้นไป

นี้ตอนจุดระเบิด ถ้าตอนจุดระเบิดมีอยู่จะไม่พูดแสดงธรรมแบบนี้ แสดงธรรมที่ว่าความเดินไปก็เบื่อหน่าย แล้วพอม้วนที่ ๒ จะบอกว่าการแหวกจอกแหน เห็นไหม การแหวกจอกแหนคือการแหวกความลังเลสงสัย เหมือนที่ว่าจะเข้าสมาธิแล้วมันลังเลสงสัยอยู่ กลัวตกวูบ ตกเขา ตกเหว ตกบ่อ จะเข้าถึงฐานของตัว จะเข้าถึงฐานแล้วมันจะมีอะไรพยายามทำลายตัวเองอยู่

ความลังเลสงสัยอันนี้ นี้คือปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาในการทำความลังเลสงสัย ถ้าแก้ความลังเลสงสัยได้ เขาบอกแก้กิเลสได้ ลังเลสงสัย ถ้าแก้ความลังเลสงสัยได้นี่เป็นนิวรณธรรม ๕ นิวรณธรรมนี้เป็นเครื่องกั้นไม่ให้เข้าถึงความสงบ ความลังเลสงสัย ความวิตกวิจารอันนี้เป็นนิวรณธรรม

ความลังเลสงสัย เราแก้ความลังเลสงสัยเดี๋ยวเราก็ลังเลสงสัยตัวใหม่ไปตลอดไป เพราะเรายังมีกิเลสอยู่ ความลังเลสงสัยจะมีอยู่ตลอดไป สิ้นสุดของความลังเลสงสัยนั้นคือว่าธรรมธาตุ สิ้นสุดแล้วหายสงสัยทั้งหมด แต่การแก้ความลังเลสงสัย มันแก้ตัวเก่าตัวใหม่ก็เกิดขึ้น ตัวใหม่ก็เกิดขึ้น ความลังเลสงสัย เห็นไหม

แต่ถ้าเป็นอกุปปธรรม วิจิกิจฉามันขาดไป การวิจิกิจฉาขาดไป มันไม่ใช่ไปแก้ที่ตรงนั้น มันต้องแก้ที่จุดระเบิดนั้น มันต้องแก้ที่กายกับใจ แก้ที่อริยสัจตรงนั้น ไม่ใช่ไปแก้ที่ความลังเลสงสัย ความลังเลสงสัยนี่เป็นผลของจิตที่มันลังเลสงสัย ถ้าเราแก้ที่ลังเลสงสัย เห็นไหม แก้เงาของจิต ไม่ได้แก้ตัวจิต

ถ้าแก้ตัวจิต เห็นไหม จิตมันวิเคราะห์ในกายในจิต เห็นไหม ในกาย เวทนา จิต ธรรม มันวิเคราะห์ตรงนั้น ถ้าวิเคราะห์ตรงนั้นมันหลุดๆ ตรงนั้น พอหลุดตรงนั้น ความลังเลสงสัยมันปล่อยไปเอง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส มันจะปล่อยตรงนั้น พอปล่อยตรงนั้นมันก็หลุดออกไปตรงนั้น มันไม่ใช่ไปแก้ที่ลังเลสงสัย มันต้องไปแก้ที่กายกับจิตนั้นต่างหาก

ถ้าพูดถึงตัวลังเลสงสัย เราปล่อยความลังเลสงสัยนั้นเป็นการชำระกิเลส..

ไม่ใช่! ไม่ใช่ เห็นไหม ปัญญานี่ปัญญาในการแหวกออกจอกแหน เป็นปัญญาในการทำความสงบ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันยังไม่เกิดปัญญาตัวที่ว่าเข้าไปเห็น เขาจะต้องรู้เห็นกิเลส มันก็เน้นย้ำอีกแล้ว ต้องรู้เห็นกิเลสถึงจะชำระกิเลสได้ ถ้าไม่รู้ไม่เห็น เห็นไหม ต้องรู้ต้องเห็นนะ ต้องเห็นด้วยปัญญาด้วย

เห็นด้วยปัญญานี่เวลาพูดนี่ถูกหมด เห็นไหม ถึงบอกเป็นภาคปริยัติ เวลาพูดนี่ถูกหมดเลย แต่ถ้าถูกแล้วจะไม่พูดถึงผลแบบนี้ ไม่มีเหตุมีผล ถ้าพูดถึงมีเหตุมีผล เห็นไหม พระอรหันต์ยังมีกิเลสเกิดได้อยู่ ถ้ากิเลสเกิดออกไป ตามทันไปกิเลสจะดับ..

นี่มันยืนยันถึงบอกว่านี่มันเป็นสมถธรรมไง เวลาเราทำความสงบเราจะว่างหมดเลย เราว่าอันนี้เป็นผล เวลาคลายตัวออกมา เห็นไหม กิเลสเท่าเก่า

มันยืนยันนะ เหตุผลที่เขาพูดออกมา มันยืนยันกันเองในคำพูดของเขา ว่าการชำระกิเลสต้องเข้าไปรู้เท่ารู้ทันอย่างนั้น เห็นไหม แล้วว่าเวลามันชำระกิเลสไปแล้ว เวลามันจะออกมามันก็เหมือนอันเก่า สรรพสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติหมด สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสักแต่ว่า เวลากิเลสมันเกิดขึ้นมา เราตามออกไปทันกิเลส กิเลสก็ดับไป

กิเลสมันขาดแล้วมันไม่มีเกิดขึ้นอีก! ในอกุปปธรรมเป็นชั้นๆ เข้าไป จนถึงธรรมธาตุแล้วกิเลสขาดตั้งแต่...คืนวันวิสาขบูชานะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม มันขาดออกไป แล้วกิเลสจะไม่มีอีกในใจดวงนั้น จะเกิดไม่ได้เลย แต่มันเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน คือเศษส่วนของขันธ์ที่มันทำงานอยู่ ใจกับขันธ์ทำงานอยู่ร่วมกัน มันทำงานโดยธรรมชาติของมัน จิตกระเพื่อมออกมาจากธรรมธาตุอันนั้น มันมาผสมกับขันธ์ นี่คือกระเพื่อมออกมา

พอกระเพื่อมออกไป ขันธ์นั้นก็ออกไปสื่อความรู้กับโลกเขา มันไม่ใช่กิเลส มันเป็นเศษส่วนที่เหลืออยู่ในหัวใจนั้น พอถึงวันวิสาขะ ครั้งสุดท้ายที่ว่าไปปรินิพพาน เห็นไหม ไปถึงขันธนิพพาน ขันธ์หลุดออกไปเป็นสอุปาทิเสสนิพพานกับอนุปาทิเสสนิพพาน สะคือพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่กับพระอรหันต์ที่ตายไป

แต่ก็ว่าถ้ายังชำระกิเลสแล้ว กิเลสยังเกิดได้อยู่ มันก็มายืนยันกับไอ้ที่ว่าเวลาเราจิตสงบเข้าไป เวลามันผ่อนออกมา เวลาเราคลายตัวออกมา เพราะจิตมันสงบเฉยๆ ไม่ได้ชำระกิเลส กิเลสมันเกิดอย่างนี้ กิเลสมันกระทบอย่างนี้ เพราะออกมาไม่ชำระกิเลส กิเลสยังมีอยู่ พอกระทบอยู่ แต่ด้วยการควบคุมของสติปัญญาเข้าไป มันทันความรู้สึกของตัว มันก็รั้งไว้ได้

ถึงบอกว่าถ้ากิเลสมันเกิด สติมันตามรู้ทัน พอรู้ทันกิเลสมันก็จะดับ มันก็อันเดียวกับอันนี้ไง อันเดียวกับว่ามันเป็นความสงบเฉยๆ มันไม่ใช่กิเลสขาด ถึงบอกว่าเวลาพูดถึงผลนี้ผิดหมด ถ้าพูดถึงเหตุถูกต้อง พูดถึงเหตุเราต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ปัญญา แต่ปัญญาของเขา ถ้าปัญญาเป็นความจริง เป็นภาวนามยปัญญา มันจะเห็นภาวนามยปัญญาเกิดขึ้น แล้วภาวนามยปัญญานี้จะชำระกิเลสออกมา

อย่างที่ว่านะ มันทฤษฎีสัมพันธ์ถึงที่สุดแล้วมันต้องเป็นจุดระเบิด ระเบิดนั้นคือกิเลสทำลายตัวเองมันไป ความรู้อันนั้นเกิดขึ้นนะ “ยถาภูตํ” ความชำระกิเลสทั้งหมด ยถาภูตํ มีเกิดญาณอีกตัวหนึ่ง ถึงว่าเวลาแปลเป็นภาษาไทย เห็นไหม กิเลสขาดแล้ว แล้วยังรู้ว่ากิเลสขาดอีกด้วย ไม่ใช่กิเลสขาดธรรมดานะ มันจะมีส่วนตัวรู้อีกตัวหนึ่งว่าเราขาดแล้ว นี่ธรรมธาตุที่มันมีอยู่ ความรู้อันนี้มันมีอยู่ แล้วมันก็ไปทรงตัวอยู่ของมันอยู่โดยปกติของมัน นี่จิตอ่อนนิ่มมากอยู่ในธรรมชาติของมัน

เวลามันจะเคลื่อนออกมาเป็นประโยชน์ออกมา ถึงว่าต้องกระเพื่อมออกมา ถึงว่าถ้าจิตโดยธรรมชาติของมัน มันจะทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลย มันจะอยู่ของมันโดยทรงตัวของมัน อิ่มพอในตัวของมันเอง แต่ถ้ามันจะเคลื่อนออกมานั้น เคลื่อนออกมาโดยเพื่อประโยชน์

มันถึงว่าไม่ใช่กิเลสไง กิเลสขาดแล้วกิเลสเกิดได้อย่างไร? อันนี้หนึ่ง แล้วว่าเวลาความสงบเข้าไป เวลาออกมามันยืนยันถึงความสงบอันนั้น แล้วปัญญาอันนั้นปัญญาเห็นอันนั้น แล้วความที่ว่ากิเลสขาด ในความหมาย เห็นไหม ทำไปเถิด ทำไปแล้วมันจะเบื่อเอง เบื่อหน่ายเอง พอเบื่อหน่ายเองมันจะคลายเอง

มันจะเบื่อหน่ายได้อย่างไร? พอมันมาถึงที่สุด มันเบื่อเหมือนคนเมาเหล้านะ คนเมาเหล้าพอกินเหล้าถึงเต็มที่แล้วก็เบื่อก็อยากจะเลิก แต่เดี๋ยวก็กินอีก เห็นไหม นี่เบื่อแบบโลกเขา โลกเขาเบื่ออย่างนั้น มันไม่ลงมัชฌิมาปฏิปทา มันไม่ใช่เบื่อไม่ใช่หน่ายอะไรทั้งสิ้น! มันรู้แจ้งรู้ตามความเป็นจริง แล้วมันขาดออกไปจากหัวใจตามความเป็นจริงทั้งหมด มันไม่ใช่เบื่อหน่าย เบื่อหน่ายนี่เราสร้างความเบื่อหน่ายก็ได้ มันเห็นจริงเห็นแจ้งเห็นโทษ รู้เห็นเพราะเป็นความโทษ นี้คืองู นึกว่าเป็นปลาจับอยู่ตลอดเวลา พอเข้าใจว่าอันนี้เป็นงู สลัดทิ้ง มันปล่อยวางไปเอง มันจะขาดโดยธรรมชาติของมันเลย พอขาดออกไปแล้วถึงจะรู้อีกอันหนึ่ง อ๋อ.. มันขาดอย่างนี้

เราถึงว่ามันจะไม่มีอีก มันจะต่อเนื่องกันไม่ได้อีก มันขาดไปเลย แต่ต่อเนื่องๆ ด้วยขันธ์บริสุทธิ์ไง “ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา” เห็นไหม ผู้ที่ชำระกิเลสเข้าไป ขันธ์นี้เป็นขันธ์ที่บริสุทธิ์ เป็นภาระเฉยๆ

แต่ถ้าเป็นปุถุชนเราที่ยังไม่ชำระกิเลสนะ เป็นขันธมาร ขันธ์นี้เป็นมารทั้งหมด ขันธ์นี้ดีดดิ้น บีบบี้สีไฟกับจิตทั้งหมด จิตกับขันธ์คนละส่วนกัน แต่มันอยู่ด้วยกันด้วยมาร ด้วยการทำลายกัน มันถึงไม่เข้าใจกัน มันไม่พอดีกันไง ต่างอันต่างจริง ต่างอันต่างปลอมแล้วหลอกลวงกัน ในความคิดของเราหลอกลวงกันเอง แล้วจิตมันก็เชื่อไป นี้คือขันธมาร

แต่ขันธ์ที่เป็นภาระ “ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา” ขันธ์ที่เป็นภาระนี้มันเกิดโดยธรรมชาติของมัน แล้วเราใช้มันโดยธรรมชาติของมัน เห็นไหม มันเป็นมิตรเป็นสหายกัน แต่อยู่ด้วยกันเพราะความเข้าใจกัน ต่างอันต่างจริงแล้วสืบทอดกันโดยเหมือนกับเทคโนโลยี เหมือนคอมพิวเตอร์ มันไม่มีความรู้สึกของมัน แต่มันส่งข้อมูลกันออกมาเป็นภาพเป็นจอภาพ มันไม่รู้เรื่องอะไรของมันเลย นี่ขันธ์ถ้าทำลายแล้วเป็นอย่างนั้น

ขันธ์ไม่ใช่จิตนี่ เวลาสละแล้วขันธ์มันขาดออกไปจากจิต จิตยังหลุดออกไปอีก (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)