เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๒๗ มิ.ย. ๒๕๕๓

 

เทศน์เช้า วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

สัจธรรมนะ.. ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ! มันเป็นวงจรของห่วงโซ่อาหาร นี่เรื่องของธรรมะนะ ธรรมะคือว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติมันจะตรวจสอบกันเอง สิ่งที่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เวลาสัตว์กินเนื้อมันจะเลือกอาหารของมันที่ไม่แข็งแรง เพราะมันจะได้กินอาหารนั้นง่าย เห็นไหม มันเป็นการตรวจสอบกันเพื่อให้พันธุกรรมมันเข้มแข็ง พอเข้มแข็งโลกก็จะเข้มแข็ง พันธุ์สัตว์เห็นไหม สัตว์มันจะกินกันโดยธรรมชาติของเขา

แล้วมนุษย์ล่ะ มนุษย์ก็เป็นสัตว์ประเสริฐ มนุษย์นี่ตัวร้ายเลย กินทุกอย่างที่ขวางหน้า แล้วถ้ามนุษย์ไม่มีศีลธรรมล่ะ ถ้ามีศีลธรรมขึ้นมาเห็นไหม มนุสสเทโว... เป็นมนุษย์แต่หัวใจที่เป็นเทวดาโอบอ้อมอารีนะ ถ้ามนุษย์ที่โอบอ้อมอารี เราก็ร่มเย็นเป็นสุข ร่มเย็นเป็นสุขไปไหน เพราะจิตใจมันไม่ดิ้นรนนะ ถ้าจิตใจดิ้นรน ดูสิ ดูสัตว์ ดูเสือ ดูสิงโตนะ เวลามันหิว เวลามันไม่มีอาหาร มันจะกระวนกระวายแค่ไหน

หัวใจถ้าไม่มีศีลธรรมนะ มันบกพร่องอยู่ตลอดเวลา มันจะเอาอย่างเดียวนะ มันเหมือนสัตว์ที่หิว สัตว์ที่หิวนี่มันกินทุกอย่างเลย แล้วถ้าหัวใจที่มีศีลธรรมขึ้นมา หัวใจมันไม่หิวโหยขนาดนั้น มันมีเครื่องเหนี่ยวรั้งว่าสิ่งนั้นทำไม่ได้นะ สิ่งนี้ไม่สมควรนะ

หัวใจของเรา ถ้ามันไม่หิวโหย มันไม่แสวงหาจนเกินกว่าเหตุ มันจะทำให้ไม่เป็นทุกข์จนเกินไปนัก เวลาสัตว์มันเป็นอาหารของมันใช่ไหม เพราะมันขาดอาหารมันต้องดำรงชีวิตของมัน มันหาอาหารโดยความชอบธรรมของมัน

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ากิเลสตัณหาความทะยานอยาก มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ถ้าสัตว์ประเสริฐใช่ไหม สัตว์ประเสริฐในการกระทำของเรา เพราะเรามีปัญญา ปัญญาของเราวางแผนได้ทั้งนั้น ดูสิ เขามีเครื่องดักสัตว์ มันไปดักไว้มันเดินมาติดบ่วงให้เรากินเลยนะ ด้วยปัญญาของมนุษย์ มันเอามากินได้หมด แต่ถ้ามันมีศีลธรรม เห็นไหม เราสงสารเขา

“ทุกชีวิตเกลียดทุกข์ ต้องการมีความสุข” ทุกชีวิตรักชีวิตของตัวเอง เขาก็รักชีวิตของเขา เราก็รักชีวิตของเรา แต่ถึงกาลถึงเวลาของเขา ถ้าเขาตายของเขาแล้วเป็นอาหารนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น เรามีสติปัญญาของเราอย่างนี้ เป็นมนุษย์ขึ้นมามันจะมีคุณค่าขึ้นมา ถ้ามนุษย์มีคุณค่าขึ้นมา หัวใจของเราๆ รักษาของเราด้วยศีลธรรม

ครูบาอาจารย์ท่านบอกเลย สมบัติของพระคือศีล คือธรรม นี่คือสมบัติของพระ พระมีศีลมีธรรมเป็นสมบัติ โยมมีบุญกุศลเป็นสมบัติ ถ้าเรามีบุญกุศลแล้วที่มาเสียสละกันก็เพื่อเหตุใด ก็เพื่อความหิวโหยของหัวใจนี่แหละ เพราะหัวใจมันหิวโหย หัวใจมันบกพร่อง เราต้องการให้มันอิ่มเต็มขึ้นมา

ดูสิ วัตถุเห็นไหม เราได้แสวงหามาสิ่งนั้นก็เป็นสมบัติของเรา แต่ในนามธรรมเห็นไหม การเสียสละออกไป เพราะมันตระหนี่ถี่เหนียว มันขัดข้องในหัวใจของมัน เปิดช่อง เปิดออก.. เปิดออก.. พอเปิดออกเห็นไหม มันโล่งออกไป ความกดดันในหัวใจมันไม่มี ถ้าความกดดันในหัวใจมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ความกดดันของหัวใจที่เราสละออกไปเพราะเหตุใด เพราะสิ่งที่เป็นวัตถุ

วัตถุเห็นไหม วัตถุเป็นวัตถุที่เราจับต้องได้ แต่ความตระหนี่ถี่เหนียวของใจ มันตระหนี่ถี่เหนียว มันกอดไว้ แต่พอเราเสียสละวัตถุออกไป มันเปิดหัวใจออกไป หัวใจที่มันตระหนี่มันเปิดออก มันเป็นอุบายไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ฉลาดมาก นี่เหมือนสอนเด็กๆ เด็กๆ มันรู้จะอะไร เด็กๆ มันจะวิ่งเล่นของมันอย่างเดียวเท่านั้นน่ะ เวลาสอนเด็กๆ เห็นไหม นี่ก็เหมือนกัน สอนมันนะทำอย่างนี้ถูกต้องนะ ทำอย่างนี้ดีงามนะ ทำอย่างนี้ไม่ดีนะ ลูกไม่ควรทำอย่างนี้นะ

นี่ก็เหมือนกัน หัวใจนี่มันเด็กๆ บุญกุศลน่ะมันอยากได้ มันอยากได้ความดี แต่ไม่รู้ว่าความดีมันคืออะไร การเสียสละอย่างนี้เป็นความดีหรือ การเสียสละ การทำทาน เป็นความดีตรงไหน ก็เป็นความดีที่หัวใจนี้มันได้ทำไง ใหม่ๆ ถ้ามันขัดข้องของมัน มันก็จะขัดข้องของมันแต่ถ้าเราทำแล้วมันเห็นผลนะ สิ่งที่เราเสียสละออกไป ใช่ ! วัตถุออกจากมือเราไป แต่สิ่งที่ได้มาเห็นไหม การดำรงชีวิตนะ

แม้แต่สัตว์เห็นไหม เราเลี้ยงสัตว์น่ะ สัตว์มันกตัญญูกับเจ้าของมันนะ เราเลี้ยงสุนัขๆ มันจะรักเรามาก มีภัยขึ้นมามันเสียสละชีวิตมันเลย มันป้องกันเราได้เลย มันดูแลเรา เพราะอะไร เพราะเราให้อาหารมัน

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เราเสียสละออกไป มันเป็นประโยชน์กับสังคม เป็นประโยชน์กับโลกทั้งนั้น ถ้ามันเป็นประโยชน์กับโลก แล้วใครเป็นคนเสียสละ..? ก็หัวใจไง ดูสิ ดูความไม่รู้ของมัน หัวใจมันไม่รู้นะว่าเราทำแล้วได้อะไร บุญมันคืออะไร มีแต่ออกไป.. ออกไป.. มีแต่เสียสละออกไปแล้วบอกบุญๆๆ แล้วพระก็บอกว่านี่ให้ทำบุญ.. ทำบุญนะ.. พระก็สะสมๆๆ แล้วก็บอกว่านี่พระให้ทำบุญ

.. พระไม่สะสมหรอก .. ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรานะ ครูบาอาจารย์ที่มีหัวใจเป็นธรรม ท่านบอกมันเป็นภาระทั้งนั้น สิ่งที่เขามาเสียสละของเขานี้มันเป็นภาระ แล้วครูบาอาจารย์ของเราถ้ามีใจเป็นธรรม ของอย่างนี้ถ้าของมันสะสม หรือของมันทำให้เสียหายไป เขามาเห็นเข้าศรัทธาไทยเขาตกร่วง ให้มาแล้วก็ไม่รู้จักใช้ ไม่รู้จักรักษา เขาเห็นแล้วเขาก็รับไม่ได้ พอรับไม่ได้ ความศรัทธามันก็น้อยไป

แต่ถ้าพระที่เป็นครูบาอาจารย์ที่มีหลักมีเกณฑ์ เพราะวินัยบังคับไว้แล้ว ของของสงฆ์ เสียสละมาเป็นของๆ กลาง ภิกษุล้อมลาภสงฆ์มาสู่ตน เป็นของสาธารณะ เขาเอาไว้ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เราจะใช้อยู่คนเดียว มันเป็นอาบัตินะ

นี่ก็เหมือนกัน เสียสละมาเห็นไหม เพียงแต่ว่ามันเป็น “วัตรปฏิบัติ” วัตรปฏิบัติไม่ใช่วัตร ด เด็ก วัด ด เด็กมันวัตถุ วัตรปฏิบัติเห็นไหม เพียงแต่วัตรปฏิบัติมันเป็น อาวุโส ภันเต ครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพศรัทธา ด้วยหัวใจ ก็ให้ครูบาอาจารย์ท่านได้ตักก่อน แล้วก็เลื่อนไป.. เลื่อนไป.. แบ่งกัน.. แบ่งกัน.. แบ่งกันตั้งแต่หัวแถวยันท้ายแถว ให้มันเสมอภาคกัน เพราะคนเราเกิดมามีปากมีท้องเหมือนกัน แต่ความสุขความทุกข์ในใจต่างกันนะ

ความสุขความทุกข์ในหัวใจมันต่างกัน แต่คนมีปากมีท้องเหมือนกัน คนต้องใช้เหมือนกัน สิทธิเสมอภาคด้วยกัน มีปากมีท้อง โรคหิวมันหิวเหมือนกัน เวลาอิ่มหนำสำราญก็อิ่มหนำสำราญเหมือนกัน แต่โรคของหัวใจ โรคของกิเลสมันไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันเพราะคนรักษา คนมีสติปัญญา เขาจะรักษาใจของเขา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ ทาน ศีล เห็นไหม สอนเด็กๆ สอนให้เราเสียสละ สอนให้เราทำบุญกุศลของเรา เพื่อหัวใจของเรา จะรู้หรือไม่รู้ เด็กมันไม่รู้หรอก ทำดีหรือไม่ดีตอนนี้ยังไม่รู้ แต่โตขึ้นมาเขาจะรู้ว่าสิ่งใดดีงาม พอโตขึ้นมาเขาเคารพพ่อแม่ของเขา เพราะพ่อแม่สั่งสอนมาดี หัวใจมันถึงเป็นสาธารณะ

ถ้าพ่อแม่สั่งสอนเรามาไม่ดี หัวใจของเราจะเห็นแก่ตัว .. จะเคารพพ่อแม่ จะนึกซึ้งคุณของพ่อแม่ว่าพ่อแม่สอนเราดี เห็นไหม ให้ลูกมีอิสรภาพ ให้ลูกได้คิดของตัวเอง ให้ลูกไม่มีความกดดันในหัวใจ พ่อแม่สอนเรามาดี

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาของเราสอนมาดี !! วางธรรมและวินัยไว้นี่เป็นประเพณีวัฒนธรรม เราเกิดมาในสยามเมืองยิ้ม เกิดมาในวัฒนธรรมของชาวพุทธ พุทธศาสนาเห็นไหม ผู้ใหญ่ดูแลเด็ก พ่อแม่ของเรา ศาสดาของเราสอนมาดี ศาสดาของเราทำความตกผลึกไว้ในสังคม

แล้วเราเกิดในสังคมนั้น ศาสดาของเรา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา เราเกิดในพุทธศาสนาเกิดในประเทศอันสมควร เราเกิดมาแล้ว เราเกิดในประเทศอันสมควร แล้วเราจะไปขวางไหม ทัพพีขวางหม้อ เกิดในพุทธศาสนาแล้วไม่รู้จักสิ่งใดเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์เลย ! ทัพพีตักอาหารให้คนอื่นกิน ตัวมันเองไม่ได้กินอะไรเลย มีแต่แช่ไว้ ถ้าเน่าบูด ทัพพีก็แช่ของเน่าบูดนั้นไว้

นี่ก็เหมือนกัน พุทธศาสนาสอนเรื่องของสัจธรรม เรื่องสัจจะ อริยสัจจะ เราเกิดมาเราไม่เป็นทัพพีขวางหม้อ เราเกิดมาในพุทธศาสนาแล้วเราต้องได้ผลประโยชน์จากพุทธศาสนานั้น เราควรทำผลประโยชน์กับเรา ประโยชน์กับเรานะ เวลาทำขึ้นมาประโยชน์กับผู้กระทำทั้งนั้นเลย ไม่ใช่ประโยชน์ของใครเลย เราไปเสียสละขึ้นมาก็เป็นผลประโยชน์ของเราทั้งนั้น

เวลาเสียสละมาเป็นของสาธารณะ ยึดของสาธารณะเป็นของๆ ตน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุน้อมลาภสงฆ์มาสู่ตนเป็นอาบัติปาจิตตีย์ แต่สิ่งที่เป็นของของสงฆ์เห็นไหม เว้นไว้แต่สมมุติ สมมุติให้เป็นคนดูแล เป็นคนเสียสละ เป็นคนเจือจานกันในสังคมเห็นไหม ให้เสมอภาคกัน ทิฏฐิเสมอกัน ความเห็นเสมอกัน ความเป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นชาวพุทธ ศาสนาพุทธสอนให้เราเสียสละร่วมกัน

เราธุดงค์ไปใหม่ๆนะ สายหลวงปู่ฝั้น ท่านจะเสียสละให้กัน ใครได้ของมา ได้บริขารมา คนนู้นก็ให้คนนู้น คนนี้ก็ให้คนนี้ ไม่มีใครเอานะ ! แต่ไปบางวัดนะ ได้อะไรมาก็แอบไว้ซ่อนไว้ อันนี้เป็นของกู ! อันนี้เป็นของกู !

ครูบาอาจารย์ที่ดี หลวงปู่ฝั้น ท่านจะให้เสียสละ ท่านบอกว่า “มีสิ่งใดมา อะไรที่สวยงามที่เป็นของเรา ก็ให้เด็กๆ มันไป ให้เสียสละไป” ไอ้เด็กก็เสียสละต่อ.. เสียสละต่อ.. ท่านฝึกอย่างนั้น สังคมหลวงปู่ฝั้นฝึกอย่างนั้น ให้เสียสละ.. ให้เสียสละ.. ผู้ที่เสียสละคนนั้นคือผู้ที่มีคุณธรรม ต่างคนก็หัดเสียสละกัน บริขารให้คนนี้ คนนี้ให้คนนั้น ไปบางวัดนะไม่มีจะใช้ ไอ้หัวหน้าสะสมไว้ ไอ้ลูกน้องไม่มีจะใช้ นี่การเสียสละเห็นไหม

หลวงปู่ฝั้น ท่านถือเคร่งอยู่ ๒ อัน ในที่เราธุดงค์ผ่านมา

๑.การเสียสละ ให้ดูแลกัน ให้เสียสละกัน ให้เจือจานกัน

๒.คารวะ ๖ ประชุมๆ พร้อมกัน หมั่นประชุมพร้อมกัน เลิกประชุมพร้อมกัน ทุกอย่างประชุมพร้อมกัน แล้วให้เคารพบูชากัน

ท่านบอกว่า “การคารวะนี่นะ ถ้าไม่มีปฏิสันถารศาสนาจะเสื่อม” หลวงปู่ฝั้นถือตรงนี้มาก ศาสนาจะมั่นคงต่อเมื่อมีภิกษุอาคันตุกวัตรมา อาจริยวัตรมา จะตอบสนอง จะดูแลรักษากัน มันจะไม่เคอะไม่เขินเห็นไหม พระไปมาหาสู่กันท่านจะให้รับ ถ้าไม่รับนะ เรื่องอาคันตุกวัตร อาจาริยวัตร หลวงปู่ฝั้นท่านถือมาก

ท่านบอกว่า เขาจะมา ใครก็แล้วแต่ การต้อนรับไง ต้อนรับเขามาแล้วเขาจะอบอุ่นของเขา แล้วมันไม่เคอะไม่เขินเห็นไหม แต่ถ้ามาแล้ว มาหนหนึ่งไม่ต้อนรับ ไม่ดูแล เขาก็ไม่มา ถ้าเขาไม่มา ทีนี้พระก็ต่างคนต่างอยู่ใช่ไหม มันก็เริ่มแตกออกไปใช่ไหม แล้วมันจะมั่นคงตรงไหนล่ะ คารวะ ๖ นวโกวาทในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าสอนไว้ แล้วแต่ครูบาอาจารย์เอาอันใดมาเป็นประเด็นไง เวลาเที่ยวไป ธุดงค์ไป มันจะเห็นนะ

ถ้าพ่อแม่ดี พ่อแม่จะสอนลูกที่ดี เวลาโลกเวลาเขาติฉินนินทาเห็นไหม “ไอ้ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน” พอลูกมันผิดก็ “ไอ้ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน” เจ็บนะ ! นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นพระขึ้นมา ครูบาอาจารย์ของเราไม่สั่งสอน ไม่บอก ไม่คอยเตือน ไม่คอยบอก มันจะรู้ได้อย่างไรล่ะ ตัวหนังสือน่ะเวลากิเลสมันหนา มันก็บอกของกูๆ ถูกหมดน่ะ อ่านมาแล้วมันน้อมเข้าตัวเองหมดน่ะ

โอปนยิโก.. เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม เวลาจิตเราสงบขึ้นมา เวลาปัญญาเราเกิดขึ้นมาเห็นไหม โอปนยิโก เรียกร้องสัตว์มาดูธรรม เวลาเราเรียกร้องคนอื่นมาดูนะ แต่ไม่เรียกใจเราดูเลย แต่ถ้าใจเราดูนะ จิตเราเป็นสมาธินะ โอ้โฮ.. มีความสุข จิตมีปัญญาขึ้นมานะ เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม โอปนยิโก

แต่นี่เวลาถ้ามันเป็นกิเลส มันก็ตีความเข้าข้างตัวเองหมดเลย จะตีความเข้าข้างตัวเองหรือไม่เข้าข้างตัวเอง ผลมันตอบนะ ผลเวลามีการกระทำขึ้นมา มันเป็น “ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก” มันจะรู้ของมัน

ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่จริงมันจะเสื่อมของมัน เรารู้เอง มันจะรู้เวลามันเสื่อมนะ เวลาจิตใจเราชุ่มชื่น จิตใจเราดีงาม เราจะมีความสุขมาก เวลาจิตใจของเรามันคับแค้นในใจ จะมีความสุขมาจากไหน ปั้นหน้าเข้าหากัน อู้ย..ว่างๆ ว่างๆ ไม่เชื่อนะ !

คนเกิดมาในโลกนี้ ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริง ทุกข์ทั้งนั้น !

ทุกข์น่ะมันขัดแย้งอยู่ในใจทั้งนั้น ไม่มีทางน่ะ ว่างๆ ว่างๆ บอกสุขๆน่ะ ไม่จริง !! ไม่เชื่อ !! แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมาเห็นไหม พอหัวใจพอมันเป็นขึ้นมา เป็นสันทิฏฐิโก มันสัมผัสของมัน ธรรมะมันเป็นตรงนี้

สิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระ ที่ว่าเป็นเนื้อหาสาระ ไอ้นั่นมันเป็นทฤษฎี มันเป็นกิริยา เป็นพิธีการ แต่ความจริงถ้ามันเป็นความจริงแล้วทฤษฎีนั้นมันจะไม่ผิดหรอก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะถ้าความจริงมันเกิดขึ้นมามันเกิดจากอะไร เกิดจากวิธีการนั้น ถ้าวิธีการนั้นถูก ผลมันจะถูก ถ้าผลมันมีแล้ววิธีการมันจะผิดมาได้อย่างไร

แต่เวลาพูดถึงวิธีการอยู่ ผลมันไม่มี ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆนั้นบอกใคร.. ว่างๆ นั้นบอกใคร.. ความจริงบอกออกมาสิว่ามันเป็นอย่างไร ความรู้สึกมันเป็นอย่างไร หัวใจมันมั่นคง มั่นคงอย่างไร เห็นไหม

สิ่งนี้จะเป็นสมบัตินะ เวลาเราเสียสละ เราทำบุญกุศลมันเป็นอามิส มันเป็นบารมี ผู้ที่เสียสละ เป็นผู้ที่ใจสาธารณะ สังคมจะยอมรับคนนั้นเป็นคนดี คนดีหรือคนไม่ดีก็เกิดตายเหมือนกัน แต่เวลาจิตใจเป็นคุณธรรมขึ้นมา เป็นสมาธิขึ้นมา เป็นปัญญาขึ้นมาไม่มีใครรู้ใครเห็นกับเรานะ สังคมรู้เห็นกับเราไม่ได้

แต่เราจะรู้เห็นกับเราด้วยโอปนยิโก เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม เรียกร้องหัวใจของเรามันตีแผ่ออกมา มันเห็นผลของมัน มันรับรู้ของมันเห็นไหม อันนี้ธรรมะเหนือโลก แล้วถ้ามันเป็นธรรม จิตใจสาธารณะเขายังชื่นชมบูชา แล้วจิตใจเป็นธรรมมันจะไปเบียดเบียนใคร มันมีแต่ความเมตตา

มันมีแต่ความเมตตาตรงไหน “จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง” ใจดวงนี้มันเคยทุกข์มันร้อนมา ใจดวงนี้มันเคยโดยเหยียบย่ำมา แล้วใจดวงนี้มันเป็นอิสรภาพมา เพราะเหตุใด ! เอาเหตุอันนั้นมาชักนำกัน มาบอกกัน เพื่อจะเราเข้าสู่ความจริงอันนั้น

ถ้ามามีความจริงอันนี้ก็พูดกันไป เด็กๆ เล่นขายของน่ะ ว่างๆ ว่างๆ ไร้สาระ ! ธรรมะสัจจะมันมีอยู่จริง แต่ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน เพราะลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอนมันทำอะไรไม่เป็น มันเอาแต่ใจมัน ว่างๆ ว่างๆ เอาแต่ความสะดวกสบาย เอาแต่ทิฏฐิมานะ ไม่เป็นความจริงสักอันหนึ่งเลย

ถ้าเป็นความจริงขึ้นมานะ ความจริงสู่ความจริงมันต้องเหมือนกัน คำว่าเหมือนกัน “อริยสัจมีหนึ่งเดียว” ความสุขความทุกข์เห็นไหม ถ้ามันถึงที่สุดมันเป็นอันเดียวกัน ต้องมีที่มาที่ไป เพื่อประโยชน์กับเรา เพื่อประโยชน์กับสังคม เพื่อประโยชน์กับชีวิตของเรานะ เอวัง