เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๑๑ ก.ค. ๒๕๕๓

 

เทศน์เช้า วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม.. เรามีโอกาสน้อยนะ เพราะเดี๋ยวทุกคนต้องรีบกลับบ้าน เวลาเรามาทำบุญกุศล เรา ตั้งใจมาอยากได้บุญกุศล เวลาไปหาหลวงตาๆ บอก “เวลามานี่ มารถเปล่า.. เวลากลับให้มีพุทโธกลับไปเต็มรถ”

หัวใจเรามานี่มันว่างเปล่า แต่เวลาเรากลับไปนี่ หัวใจเราชื่นบานไป หรือหัวใจเราได้ความเศร้าหมองไป “กุศล” ทำให้เกิด “อกุศล”

กุศล.. ตั้งใจไปทำบุญกุศล อกุศล.. มีแต่ความเศร้าหมองกลับไป มันไม่สมควร ถ้ากุศลนะ ให้เกิดกุศลเพิ่มเติมขึ้นไป ถ้าเกิดกุศลเพิ่มเติมขึ้นไป เราจะมีความชุ่มชื่นหัวใจ

ความชุ่มชื่นหัวใจ.. “ธรรมะเป็นอาหารของใจ” เราแสวงหาปัจจัยเครื่องอาศัยกันอยู่ ปัจจัยเครื่องอาศัยเราหามาเพื่อดำรงชีวิตนะ แต่ธรรมของเรา เราต้องแสวงหาของเรา ธรรมโดยทั่วไปเห็นไหม สิ่งที่ว่าแสดงธรรมๆ ฟังธรรมๆ เห็นไหม เวลาเขาไปฟังธรรมเขาก็ไปนั่งสัปหงกที่วัดไง แล้วก็ว่าได้บุญกุศล แต่เวลาฟังธรรมมันของเรานี่ มันได้รับความซาบซึ้ง

เวลาฟังธรรม เวลาธรรมะมันขึ้นมาถึงหัวใจ มันจะขนลุกขนพอง.. อันนี้ต่างหากล่ะ เวลาฟังธรรมสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง สิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังแล้ว ฟังทุกวันๆ นี่ สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แต่ ! แต่มันไม่เข้าถึงใจนะ มันก็ผ่านไปผ่านมา แต่ถ้าวันไหนมันเข้าถึงหัวใจนะ ขนลุกขนพอง !! พอขนลุกขนพองนี่ มันจะได้ประโยชน์ไปเห็นไหม

ในสมัยพุทธกาล อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นเศรษฐี สร้างวัดเชตวันนะ เอาเงินนี้มาปูเลย แล้วเลี้ยงลูกมา ก็อยากให้ลูกไปวัด.. ลูกไม่ไปวัด ก็จ้างให้ลูกไปวัด ให้ไปวัดน่ะ.. ไปนอน ไปทำอะไรก็ได้ แล้วให้เงินไป พอไปถึงวัดก็กลับมาก็มารับเงินทุกวันๆ

พอรับเงินทุกวันเห็นไหม ต่อไปนี้.. เวลาไปวัดแล้วนี้ เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์ ให้จำคำหนึ่งคำใด คำไหนก็ได้ จะให้เงินเป็น ๒ เท่า พอไปจำมา ก็ได้เงินเป็น ๒ - ๓ เท่า มันแทงใจไปเรื่อยๆ เห็นไหม พอไปวัดไปวานี่ สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง สิ่งที่ได้ยินได้ฟังซ้ำๆ ซากๆ นี่แหละ แต่มันไม่เข้าถึงหัวใจ

แต่ถ้ามันเข้าถึงหัวใจของเรานะ มันสะเทือนหัวใจ เป็นพระโสดาบัน .. เวลากลับไปนะ วันนั้น อนาถะฯ เอาเงินรอไว้ให้ลูกชายมารับรางวัล ไม่กล้าเข้ามารับรางวัล.. มันละอายใจ ดูสิ พ่อเลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จ้างให้ไปวัดก็ไป ให้จำธรรมะมาก็จำ มันสะเทือนหัวใจนะ ไม่กล้าเอาตังค์นะ มันละอายใจ.. ละอายใจว่าพ่อแม่รักขนาดนี้ แต่ลูกมันไม่รู้เรื่องเห็นไหม มันไม่เข้าใจสิ่งใดๆ เลยเห็นไหม สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ฟังซ้ำฟังซากนี่ล่ะ แต่มันฟังผิวเผิน มันไม่เข้าถึงหัวใจของเรา

แต่ถ้ามันเข้าถึงหัวใจของเรานะ นี่ไง.. “ธรรมะเป็นอาหารของใจ” แต่ใจมันไม่เคยกิน ใจไม่หงายภาชนะ ถ้าหงายภาชนะขึ้นมาแล้วนี่ สิ่งใดหงายภาชนะขึ้นมาแล้วนี่ สิ่งนั้นมันมีคุณประโยชน์ มันมีคุณค่าขนาดไหน ถ้ามีคุณค่าขนาดไหน เราได้รสรับของธรรม สิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้วนี่ สิ่งที่ลังเลสงสัย.. มันแก้ความลังเลสงสัย ถึงสุดท้ายแล้วจะทำให้จิตใจนี้ผ่องแผ้ว นี่การฟังธรรม !

ธรรมะเป็นธรรมที่สะอาดบริสุทธิ์ แต่ธรรมะเห็นไหม ธรรมโลกๆ ที่เราเข้าใจ เราฟังธรรม ! ฟังธรรมนะ.. เขาบอกว่า “โอย.. พระองค์นี้เทศน์ดีมากๆ เลย” ทำไมจะไม่ดี.. เทศน์ของพระพุทธเจ้า ธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่ศึกษาได้เทศน์ดีทั้งนั้นแหละ แต่พอเราไปรู้เบื้องหลังเข้า เราเสียใจที่หลังนะ “โอย..เทศน์ดี๊ดี.. ทำไมทำตัวอย่างนั้น” เห็นไหม นี่เทศน์ดี๊ดี..

นี่ใครก็ว่าเทศน์ดี.. ดีทั้งนั้นแหละ ธรรมะของพระพุทธเจ้าทำไมจะไม่ดี พระไตรปิฎกใครก็จำมาได้ แต่ความจริงเห็นไหม ดูสิ คนของเรา พวกเรานี่โดนขังไว้ในคุก ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขังไว้นี่ สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง ใครมีการศึกษามาทางวิชาชีพใด มันก็มีมุมมองไปทางวิชาชีพนั้น นี่มันขังไว้ด้วยความคิดของตัวไง

มันขังไว้.. ขังไว้ด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก นี่มันขังไว้.. แต่พูดธรรมะนะ ธรรมะอยู่ที่เปลือกเห็นไหม นี่มันพูดธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่กิเลสมันขังตัวมันเองไว้ ถ้ากิเลสมันขังตัวมันเองไว้ จะเอาอะไรไปแก้ไขมันล่ะ ถ้ามันแก้ไขมัน นี่เราทำบุญกุศลเห็นไหม เสียสละสิ่งใดที่เราได้มา..

เงินทองหายากนะ ปัจจัยเครื่องอาศัยเราต้องหามา แล้วเรามีใจเป็นบุญกุศล เราไปแลกปัจจัยเครื่องอาศัยมาไปถวายพระเห็นไหม สิ่งนี้ใครไม่รักบ้าง สมบัติของใครๆ ไม่หวงแหน มันก็ต้องหวงแหนเป็นธรรมดา ทุกคนมันก็ต้องมีความตระหนี่ มีกิเลส นี่กิเลสเห็นไหม สิ่งที่ฟังธรรม ! ฟังธรรม ! นี่ฟังธรรมโดยขังใจเราเอาไว้

แต่เวลาที่เราเสียสละ เราทำทานของเราเห็นไหม แล้วเรามีศีลของเรา ความปกติของใจ ใครไปขอศีล อาราธนาศีลก็ให้อาราธนาไปเถอะ เขาเอาเทปกดแล้วกดอีก แต่เราวิรัติของเราขึ้นมา เราจะมีศีลของเรา ความปกติของใจ ใจเราปกติ ถ้ามีศีลขึ้นมานี่ความปกติของใจ

“ศีล คือ ความปกติของใจ” ใจไม่ฟุ้งไม่ซ่าน ใจไม่คิดสอดส่ายไปข้างนอก ใจมันมีหลักมีเกณฑ์ของมันเห็นไหม มันมีศีลในตัวมันเอง

นี่หลวงปู่ฝั้นบอกเลย ศีล ๕ .. หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ .. ศีล ๕ มีอยู่แล้วตั้งแต่เราเกิดมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปขอศีลจากใคร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ศีล ๘ .. ศีล ๘ นี่ ฤๅษีชีไพรเขามีศีล ๘ อยู่ ฤๅษีชีไพรเขาถือศาสนาพุทธหรือเปล่า ทำไมเขามีศีล ๘ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปขอศีลมาจากใคร.. ศีลมันมีอยู่ที่ตัวเรา

แต่ขณะที่เราไปฟังธรรม ! ฟังธรรม ! พวกเราขึ้นต้นกันไม่ถูก ทำอะไรไม่ถูก ศีลพระพุทธเจ้าก็วางไว้ อาราธนาศีล ขอศีล แล้วศีลนี่วิรัตเอา แล้วอธิศีล คำว่าศีลมันเกิดเพราะใจมันมีอยู่แล้ว หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ น่ะศีล ๕ แล้วศีล ๘ ล่ะ ศีล ๒๒๗ ล่ะ นี่มันเป็นศีลในตัวมันเองมันอยู่แล้ว

เพียงแต่เราไปขอกติกา ไปขอกฎหมายไง ก็ไปศึกษากฎหมายมา เราทำผิด หรือไม่ทำผิดอีกเรื่องหนึ่ง กฎหมายไม่ให้นิรโทษกับเรานะ นี่ปกติของใจ ใจนั้นเป็นปกติเห็นไหม ทาน ศีล ภาวนา ถ้าเรารักษาของเราเป็น เราจะได้ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยใครเลย เราอยู่ป่าอยู่เขาที่ไหนก็ได้ มีพระหรือไม่มีพระ เราก็วิรัติของเราเองขึ้นมาได้ เราก็วิรัติของเราขึ้นมา

ถ้าเรามีศีลขึ้นมานี่ ศีลทำให้ปกติของใจ ใจที่มันปกติ กับใจที่มันฟุ้งซ่าน มันเห็นแล้วล่ะ เวลาที่เราทุกข์เรายาก มันฟุ้งซ่านนี่ อะไรมันบีบคั้นเรา เวลาจิตมันปกติขึ้นมานี่มันปกติเพราะเหตุใด ปกติมันก็มีสติไง เรามีสติ เราไม่ได้ขอพระเลย พระขอก็ให้ไม่ได้

แต่มันเกิดขึ้นมาจากเรา เราสัมผัสเอง .. ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก .. มันปัจจัตตัง มันเป็นขึ้นมาในหัวใจ แล้วถ้ามันเกิดปัญญาขึ้นมาล่ะ ถ้ามันเกิดปัญญานี่ เราแยกแยะสิ ศีลมันมีปกติของใจแล้วนี่ ดูสิ คนที่ยืนนิ่งอยู่ มองภาพอะไรมันมองได้ชัดเจน คนเคลื่อนไหวอยู่ มองภาพเห็นอยู่ แต่ไม่ชัดเจน

นี่ก็เหมือนกัน จิตมันฟุ้งซ่านอยู่ มันก็คิดได้ ธรรมะของพระพุทธเจ้ามันสุดยอด.. สุดยอด.. สุดยอดสิ ! ธรรมะของพระพุทธเจ้า แต่พฤติกรรม ความเป็นไปของจิตมันเป็นไหม ถ้ามันไม่เป็นขึ้นมานี่ นี่เรานิ่งอยู่แล้วเราเห็น..

เราจะบอกว่าใครมีสมาธิ ใครมีหลักของใจ มันตรึกในธรรมนี่ มันจะซาบซึ้งแตกต่างกัน มันจะซาบซึ้งนะ มันละอายใจนะ

ดูสิ ลูกชายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่รับตังค์เลย รับตังค์ตอนที่ใจไม่เป็นธรรมนะ โอ๋.. พ่อนี้โง่น่าดูเลย เอาเงินมาปูพื้นนะ ซื้อวัดเชตวันถวายพระพุทธเจ้า พ่อนี่เอาเงินไปทำบุญนะ โอ้โหย.. ทำบุญกับพระ พ่อนี้โง่น่าดูเลย แล้วยังให้เงินอีกนะ.. เวลาจิตมันเป็นกิเลสมันคิดอย่างนั้น

แต่พอจิตเราเป็นธรรมนะ มันละอายใจ มันไม่กล้าเข้าไปเอา เศษ !! เงินน่ะมันเป็นของเศษทิ้ง ดูสิ สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ที่นิพพานแล้ว ร่างกายนี้เป็นเศษ สอุปาทิเสสนิพพาน สะคือเศษส่วน ร่างกายนี่เป็นของเหลือทิ้ง เหลือทิ้งเพราะอะไร เพราะจิตที่มันสกปกนี่ จิตที่มันเป็นเรานี่ มันก็ยึดว่าทุกอย่างเป็นเราใช่ไหม

พอจิตมันสะอาดบริสุทธิ์แล้ว มันก็อาศัยร่างกายเรา แต่ร่างกายที่เป็นเศษเหลือทิ้งแล้ว แต่พวกเราไม่ใช่เศษเหลือทิ้ง นี่เป็นของเราหมดเลย ขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ เวลาตายไป ตายไปพร้อมขันธ์ ๕ ตายไปเพราะสัญญานะ

ใครตาย.. ก็เราตาย เรามีพี่มีน้อง.. มันก็เป็นสัญญาทั้งหมดล่ะ ตายไปพร้อมกับขันธ์ ตายไปพร้อมกับความยึดมั่นถือมั่น แต่เวลากิเลสมันตายไปแล้ว นี่ธรรมธาตุ.. ธรรมธาตุ.. ธรรมที่สะอาดบริสุทธิ์ในหัวใจ นี่เศษเหลือทิ้ง..

ดูสิ ขนาดร่างกาย ของที่ยังอยู่กับเรานี่ มันยังเศษเหลือทิ้ง มันเป็นผลของวัฏฏะ มนุษย์เกิดมาจากไหน.. เกิดมาจากปฏิสนธิจิต เกิดในไข่ ไข่คืออะไร ไข่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไข่ของแม่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สเปริ์ม ก็เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วมันออกมา มันก็มากิน ดิน น้ำ ลม ไฟ อาหารนี้ก็คือดิน น้ำ ลม ไฟ มันเป็นผลของวัฏฏะใช่ไหม มันเป็นเรื่องของธาตุที่มันต้องหมุนไปในวัฏฏะ

แล้วหัวใจล่ะ หัวใจที่มันมีอวิชชา มันก็มาปฏิสนธิวิญญาณ มันก็มาเกิด เวลาที่มันชำระสะสางไปแล้วเห็นไหม นี่เศษเหลือทิ้งเป็นผลของวัฏฏะใช่ไหม แต่หัวใจที่มันพ้นไปแล้วนี่ มันเป็นธรรมใช่ไหม

เวลาลูกชายของอนาถะฯ พอจิตเป็นพระโสดาบัน มีดวงตาเห็นธรรม.. ไม่กล้ารับน่ะ ก่อนหน้าเห็นว่ากระดาษนี่ ปัจจัยนี่ โอ้โฮ .. มันมีค่ามากนัก โอย.. พ่อนี้โง่เง่านะ โอย.. ทำบุญกุศล ทำดีโน่นทำดีนี่ อูย.. เอาเงินไปแจกเขานะ โง่น่าดูเลย.. ไม่เก็บรักษาไว้ เพราะเห็นคุณค่าของมัน เห็นของเศษทิ้ง แต่พอใจเป็นธรรมขึ้นมา ใจมันเหนือ.. ใจมันเหนือเศษทิ้งนั้นนะ

“ไม่เอา”

“ทำไมไม่เอาล่ะ.. ทำไมไม่เอา..”

ไม่เอาเพราะใจมันสูงกว่า.. ไม่กล้าไปรับ.. แล้วละอายใจมาก.. นี่หัวใจของคน ถ้ามันพัฒนาขึ้นมาแล้ว มันเห็นคุณค่าแล้วนะ สิ่งนั้นมันจะเข้าใจ แต่ถ้าหัวใจยังต่ำต้อยอยู่ มันเอาสิ่งนั้นยึดมั่นสิ่งนั้น ยึดมั่นปัจจัยเครื่องอาศัย แก้วแหวนเงินทองมีคุณค่าไปหมดเลย เราไม่พรากจากเขา เขาก็พรากจากเรานะ

แต่เพราะความยึดมั่น เพราะความอยากได้ ไปเอามันมากอดไว้ นั่นของเรา นี่ของเรานะ มันเป็นของเราจริงไหมล่ะ.. ของเราทำไมไม่ประดับไว้ล่ะ.. มันเป็นของชั่วคราว

สิทธิตามกฎหมายมีนะ ดูสิ สิทธิตามกฎหมายที่เวลาตามกฎหมายให้สิทธิ ให้คุ้มครอง สิ่งนั้นมีอยู่.. ใช่ ! มันเป็นของเราโดยสิทธิตามกฎหมาย โดยสิทธิ.. สิทธิ.. สิทธิที่มันเป็นสิทธิของเรา แต่มันเป็นของจริงหรือเปล่าล่ะ จริงตามสมมุติไง สมมุติทางโลกเขาอยู่กับโลก โลกกับธรรมอยู่ด้วยกันนะ

เราเกิดมาต้องมีปัจจัยเครื่องอาศัยใช่ไหม เราต้องมีอาหารการกินใช่ไหม เราต้องมีที่อยู่อาศัยใช่ไหม เราต้องมีเครื่องนุ่งห่มใช่ไหม นี่ปัจจัยเครื่องอาศัย

แต่ถ้ามีธรรมแล้ว สิ่งนี้มันเป็นเศษ มันเป็นเครื่องอาศัยธรรมดา แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องอาศัยเราก็ไปทุกข์ร้อนนะ ความทุกข์ร้อนนะ มีหรือไม่มี นั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าหัวใจของเรา ถ้าไม่ติดยึดมั่นมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เห็นไหมแค่หัวใจของเรามันหลุดพ้นไปได้ นี่อาหารของใจ.. อาหารของใจ ธรรมะ.. ธรรมะนี่

ธรรมะเห็นไหม เราว่าธรรมะนี่เทศน์ดีมาก เทศน์ดีขนาดไหนนะ มันก็เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะในกึ่งพุทธกาลนี้ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พฤติกรรมการกระทำ แล้วแยกแยะธรรมไง เวลาครูบาอาจารย์ท่านมาเห็นไหม ท่านตั้งประเด็นขึ้นมา หรือเราภาวนาขึ้นมา แล้วมันมีปัญหาขึ้นมา นั้นนะท่านจะแยกแยะเราได้

เหมือนหมอ เวลาวินิจฉัยโรคได้ โรคนี้เป็นอย่างนี้ ควรรักษาอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นธรรมะดีมากๆ นะ โรคไม่สบาย.. ไม่สบายก็คือไม่สบาย กินยาก็หาย แล้วยาอะไรล่ะ นี่ไง เขาแยกแยะไม่ได้ ถ้าไม่ใช่ความจริงนี่ มันวินิจฉัยไม่ได้ วินิจฉัยว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง ข้อเท็จจริงอย่างนั้นวินิจฉัยไม่ถูกหรอก

แต่เวลาพูดนะใครก็พูดได้ ไม่สบายก็ไปหาหมอ.. หมอให้ยาก็จบ.. แล้วก็หาย.. ก็เรียบร้อย แล้วยาอะไรล่ะ แล้วทำอย่างไรล่ะ เห็นไหม

นี่ถ้าการกระทำอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ของเราท่านคอยชี้นำเราเห็นไหม เราซาบซึ้งนะ ซาบซึ้งหมายถึงว่า เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราหาอยู่หากินทุกข์ไหม.. ทุกคนบ่นว่าทุกข์ทั้งนั้นล่ะ แต่เราบังคับใจเรา มันทุกข์มากกว่านั้นนะ แล้วครูบาอาจารย์ของเรานี่ ท่านผ่านวิกฤตอย่างนี้มา

หลวงปู่มั่นท่านพูดคำนี้ซาบซึ้ง แล้วเราพูดบ่อยมาก “หมู่คณะให้ปฏิบัติมา การแก้จิตนี่แก้ยากนะ ผู้เฒ่าตายไปแล้วไม่ใครแก้ว่ะ..” ผู้เฒ่าคือความจริงตายไปแล้วนะ .. ไอ้คนแก้มันก็งูๆ ปลาๆ ใช่ไหม มึงมา.. กูก็งู มึงก็ปลาอยู่นั่นล่ะ ไอ้แก้งูๆ ปลาๆ มันก็ว่ากันไปน่ะ

ไอ้คนโดนแก้มันก็งูๆ ปลาๆ มันก็เลยกลายเป็น งูๆ ปลาๆ ไปหมดเลย .. “แก้จิตแก้อยากนะ แก้ยาก.. เพราะมันต้องแก้ตามข้อเท็จจริงนั้น” .. ไม่ใช่ งูๆ ปลาๆ !! มันเป็นความจริง ! ถ้าความจริงนั้น ตามการกระทำนั้น มันจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินั้น ไม่มีประโยชน์กับผู้สอนนะ เพราะผู้สอนมันผ่านวิกฤตอย่างนั้นมาแล้ว

แต่ผู้รับ ! เราเป็นผู้รับ เราเป็นชาวพุทธ พุทธศาสนาเห็นไหม เราเกิดมากึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองมาก เราจะให้เจริญรุ่งเรืองในหัวใจของเรา เวลาเจริญรุ่งเรืองทางโลกเห็นไหม เขาเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ ดูสิ เขาสร้างปราสาท.. สวยงามมาก แล้วก็ต้องตั้งงบประมาณมา หาเงินมาคอยซ่อมแซมมัน มันเป็นวัตถุนะ

แต่ถ้าเป็นธรรมในหัวใจของเรานะ ไม่มีอะไรซ่อมแซมมันนะ มันคงที่ตลอดไป อกุปปธรรม..

สัพเพ ธัมมา อนัตตา เห็นไหม กุปปธรรม..

สัพเพ ธัมมา อนัตตา สภาวธรรมเป็นอนัตตา.. แต่ผลของมันนี่อกุปปธรรม.. ไม่ใช่อนัตตา !

อกุปปธรรม อฐานะที่มันจะเสื่อมสภาพ มันจะคงที่ของมันตลอดไป ทั้งๆ ที่เป็นนามธรรมนี่ ทั้งๆ เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกนี่แหละ แต่มันคงที่ของมัน แล้วไม่มีสิ่งใดเข้าไปฉาบทา เข้าไปกระทำให้สิ่งนี้เคลื่อนไหวได้เลย

แล้วมันอยู่ไหนน่ะ.. ก็อยู่กลางหัวอกเราทุกคนน่ะ กลางหัวอกที่มันแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้นะ เราจะไปน้อยเนื้อต่ำใจที่ไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติพ้นไปแล้ว แล้วเราไม่มีสิทธิ์ ไม่มีโอกาส ทุกข์อยู่ทำไม แล้วมีความรู้สึกทำไม ไอ้ความรู้สึกในหัวใจน่ะ

กลับมาที่นี่ ตั้งสติของเราขึ้นมา แล้วพยายามสร้างคุณสมบัติของเราขึ้นมา เราจะได้คุณสมบัติอันนั้นนะ คุณสมบัติน่ะ เราไปมองคุณสมบัติทางโลก ประโยชน์ทางโลกนะ เราไม่มองคุณสมบัติของเรา ประโยชน์ของเราในหัวใจของเรานะ

ทำยากไหม.. แสนยาก ครูบาอาจารย์ของเรา พระพุทธเจ้าทำมาขนาดไหน แล้วครูบาอาจารย์น่ะ เอาฟากตายเข้ามา เพราะเอาใจของเรานี่แสนยาก.. แต่ทำได้ ทำได้เพราะอะไร.. ทำได้มันยืนยัน เพราะใจเรานั่นนะ

ใจเรามันทุกข์.. มันก็ทุกข์ แล้วถ้าใจเรามันพ้น.. มันพ้นได้ ใจเราพ้นได้ แต่ให้พ้นตามความเป็นจริง ไม่ใช่พ้นด้วยความลูบคลำ งูๆ ปลาๆ แล้วก็สอนกันแบบ งูๆ ปลาๆ นะ เอวัง